ชีวิตแบบพอเพียง-เริ่มต้นที่โต๊ะอาหาร ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ

ในห้อง 'พุทธศาสนากับคนดัง' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 2 กรกฎาคม 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,489
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=567 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top></TD></TR><TR><TD class=Text_Story vAlign=top><!-- [​IMG][/IMG] -->[​IMG]


    "ถ้าใครรับประทานอาหารไม่หมดจาน สมเด็จพระศรีนครินทราฯ จะรับสั่งเลยว่า ตักมาแล้ว ต้องรับประทานให้หมด เพราะเหลือทิ้งขว้างไม่ดี คนอื่นที่ยากจน มีมากกว่าเราตั้งเยอะแยะ เราก็ควรจะรับประทานให้เพียงพอ เท่าที่จำเป็น ไม่ใช่กินทิ้งกินขว้าง"



    นี่คือพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระหว่างทรงร่วมโต๊ะเสวยพระกระยาหาร ซึ่ง ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ กรรมการและเลขานุการโครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดบวรนิเวศวิหาร ในพระบรมราชูปถัมภ์ บอกว่า "ไม่เคยลืม เพราะเป็นการใช้ชีวิตแบบพอเพียงเบื้องต้น ที่ใครๆ ก็สามารถทำได้ทุกวัน"
    ที่ผ่านมา ท่านผู้หญิงบุตรีถวายงานและตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาตลอด ภาพความประทับใจของท่านผู้หญิงบุตรี คือ พระองค์ท่านโปรดที่จะใช้ดินสอในการทรงงาน เนื่องจากลบง่าย และเมื่อพระองค์ท่านเสด็จฯ เยี่ยมราษฎร ก็จะทรงใช้แผนที่เป็นสื่อในการรับสั่งกับราษฎร แผนที่จากกรมแผนที่ทหารทำมานาน และบางครั้งเป็นภาพถ่ายทางอากาศ ซึ่งไม่มีความละเอียดเพียงพอ ทิศทางของน้ำอาจไม่ตรงกับแผนที่ ดังนั้นต้องตัดต่อทำแผนที่เอง และทรงปรับกับแผนที่ของกรมแผนที่ทหาร เพื่อจะทรงช่วยเหลือราษฎรได้ทำมาหาเลี้ยงชีพ โดยจะรับสั่งอยู่เสมอว่า
    "ต้องประหยัด แบบพออยู่พอกิน"


    [​IMG]


    ท่านผู้หญิงบุตรี บอกว่า การถวายงาน ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาตลอด รู้สึกว่าเป็นความยิ่งใหญ่ของชีวิตแล้ว คงไม่ต้องการอะไรอีกแล้ว การดำเนินชีวิตทุกวันนี้ไม่ต้องการลาภยศสรรเสริญใดๆ ไปมากกว่านี้ ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ดำเนินชีวิตอย่างมีสติ มีสมาธิก็ทำให้ชีวิตเรามีความสุขได้ไม่ยากเลย ยิ่งมีอาจารย์ที่เป็นฆราวาสสอนให้ทำสมาธิ โดยที่ไม่ได้บอกรายละเอียดอะไรเลย บอกเพียงว่า ให้ไปฝึกเอาเอง เมื่อลองนั่งสมาธิอยู่ที่บ้านเป็นประจำ สังเกตได้ว่าช่วยให้จิตใจของเราสงบ คนเราไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ก็สามารถทำสมาธิได้
    สมัยก่อน การงานไม่ค่อยยุ่งเหมือนปัจจุบัน จะตามรุ่นพี่ที่อยู่ป่าไม้ไปนั่งสมาธิบนภูเขา รู้สึกว่าจิตใจเราสงบมาก นั่งแล้วทำให้เราอยู่เหนือทุกอย่าง ที่กรุงเทพฯ มีแต่สิ่งจอแจ ผู้คนวุ่นวาย บ้านตัวเองก็จะสั่นสะเทือนทุกครั้งที่มีคนโยนเหล็กสร้างคอนโดข้างบ้าน การทำสมาธิจึงไม่ค่อยประสบความสำเร็จ แต่ถ้าเป็นไปได้ ไม่ว่าจะทำงานอะไรอยู่ ลองทำสมาธิเพียง ๕ นาที ก็จะรู้สึกว่าตัวเองเย็นลง
    "จริงๆ การนั่งสมาธิ หมายความว่า ให้เราสงบสติอารมณ์ ไม่จำเป็นต้องบรรลุไปถึงโน่น ไปไกลอะไร เพียงแค่เราทำจิตใจให้สงบเพียง ๕ นาที ให้สมองเราหยุดนิ่งๆ นี่ก็ถือเป็นสมาธิแล้ว ยิ่งทำงานเรามีจิตใจฝังอยู่กับงานที่เรากำลังทำก็เป็นสมาธิ ทำให้เราไม่ได้ยินคนพูดกัน เราทำได้ตรงนี้ เพราะว่าเรามีสตินั่นเอง" ท่านผู้หญิงบุตรี กล่าว
    สำหรับพระเครื่องที่ท่านผู้หญิงบุตรีแขวนติดตัวประจำ มีหลายองค์ ท่านผู้หญิงบุตรี บอกว่า ถ้าต้องการให้มีเงินเข้าองค์กรมากๆ ก็จะแขวนพระสิวลี หรือบางครั้งก็แขวนพระรอด ลำพูน และพระหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ แต่ถ้ามีงานพระราชพิธีที่เกี่ยวกับวัดบวรนิเวศ ก็จะแขวนเหรียญทรงพระผนวช องค์นี้ปลื้มใจมากเพราะได้รับพระราชทานจากพระองค์ท่าน ซึ่งท่านคงเห็นว่าเราเป็นเด็กไม่ดี ก็เลยให้พระเอาไว้เตือนสติตัวเอง ไม่ให้ใช้คำพูดด้วยวาจาที่ไม่ดี
    ส่วนวันนี้ มาทำงานที่วัดบวรนิเวศ แขวนพระไพรีพินาศ บางคนบอกว่า แขวนพระแล้วทำให้ยิงไม่เข้า ต่างก็แสวงหากัน ต้องเสียเงินเช่าบูชาเป็นเงินแสนเงินล้านบาท ตรงนี้เราไม่ว่ากัน เพราะเป็นความศรัทธาของคนที่แตกต่างกัน แต่ตนเองแขวนพระก็เพื่อต้องการให้เตือนสติว่า เรากำลังทำอะไร และเราต้องทำในสิ่งที่ถูกต้อง สิ่งที่สบายใจมากคือ ตั้งแต่แขวนพระมา ไม่เคยเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงเลย ตรงนี้ก็ถือว่าเป็นบุญของเราอย่างมาก
    ท่านผู้หญิงบุตรี บอกด้วยว่า ในฐานะที่เป็นผู้บริหารอุทยานเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี ที่ซอยสมเด็จเจ้าพระยา ๓ คลองสาน จะนิมนต์สมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม มาเทศน์ให้ประชาชนฟังทุกปี ระยะหลังท่านผ่าตัดหัวใจ ก็สงสารท่าน จึงทำเพียงถวายสังฆทาน แต่ยังได้รับแจกหนังสือธรรมะให้อ่านกัน พออ่านแล้วก็นำมาใช้ในการทำงานอยู่เสมอๆ

    หลักธรรมที่ว่านี้ พยายามปฏิบัติตาม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ ทศพิธราชธรรม ๑.ทาน
    ๒.ศีล
    ๓.บริจาค
    ๔.ความซื่อตรง
    ๕.ความอ่อนโยน
    ๖.ความเพียร
    ๗.ความไม่โกรธ
    ๘.ความไม่เบียดเบียน
    ๙.ความอดทน
    ๑๐.ความเที่ยงธรรม

    ทศพิธราชธรรม ไม่ได้ใช้กับพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวเท่านั้น แต่ประชาชนของพระองค์ก็สามารถนำมาปฏิบัติได้ ทศพิธราชธรรม เป็นคำโบราณ เป็นธรรมะของพระราชา คนที่เป็นผู้นำจะต้องน้อมนำมาปฏิบัติกันทุกคน
    "ถึงแม้ตัวเองจะโมโห หรือมีอารมณ์ร้อนอยู่ จะทำให้จบในเวลานั้น จะไม่นำกลับมาคิดให้ปวดหัว เราเองจะต้องรู้จักปล่อยวาง เมื่อเราปล่อยวางได้ ใจเราเองนั่นแหละเป็นสุข ไม่เป็นทุกข์ เพราะธรรมะเหล่านี้ เราต้องทำให้อยู่ในใจเราให้ได้เสียก่อน ถ้าทำได้เพียงเท่านี้ ก็สำเร็จแล้ว สำเร็จในที่นี้ไม่ต้องรู้จักธรรมะไปมากกว่านี้ ทุกวันนี้ไม่อยากเห็นคนเข้าวัดกันแล้ว แต่ยังมีจิตใจ โลภ โกรธ หลง สิ่งสำคัญต้องทำบุญ แต่อย่าไปหวังผล เมื่อถึงเวลา สิ่งเหล่านั้นจะมาเอง" ท่านผู้หญิงบุตรี กล่าวทิ้งท้าย



    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    ที่มา : [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กรกฎาคม 2006
  2. สังสารวัฏ

    สังสารวัฏ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    562
    ค่าพลัง:
    +5,382

แชร์หน้านี้

Loading...