"จาลิกบรรพต" สถานที่พระพุทธเจ้าทรง "พยากรณ์โลก" อยู่ที่ไหน?

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย เอกอิสโร, 15 กุมภาพันธ์ 2012.

  1. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    เรื่องนอก พระไตรปิฎก ที่คนส่วนใหญ่ ไม่เชื่อว่า จะเป็นเรื่องที่ตรัสไว้โดยองค์สมเด็จบรมครู นั่นก็คือ "พุทธพยากรณ์โลก" เพราะ คนส่วนใหญ่ จะคุ้นเคยแต่เรื่อง การทำนายมหาสุบิน ๑๖ ข้อ ของพระเจ้าปเสนทิโกศล

    แต่ ใน ตำนานพระเจ้าเลียบโลก ไม่ว่า จะเป็นสำนวนมอญ ไทยเหนือ ลาว และอีสาน จะมีรายละเอียด อยู่ยืดยาว

    ขึ้นต้นว่า...

    เอกํ สมยํ ภควา จาลิกปพฺพเต วิหรติ สกฺโก เทวานมินฺโท วิทิตฺวา เตสํ ปุญญํ...

    เป็นเรื่องที่ท้าวสักกะ คือพระอินทร์ ไปเข้าเฝ้าเพื่อทูลถามถึงอานิสงค์ของการทำบุญ ซึ่งครั้งนั้น เป็นพรรษาที่ ๒๐ ซึ่งคงจะเป็นช่วงออกพรรษาที่ ๑๙ หรือก่อนเข้าพรรษาที่ ๒๐

    เนื้อหา คือ การที่พระพุทธเจ้าพยากรณ์โลก ใน ๕,๐๐๐ ปีข้างหน้านับแต่พระองค์ปรินิพพาน โดยแบ่งเป็นช่วงๆ ละ ๑,๐๐๐ ปี
    ซึ่งช่วงเวลาที่เรา กำลังสนทนากันอยู่นี้ คือช่วง "พันปีที่สาม"

    กระทู้นี้ ไม่ได้ตั้งใจจะพูดถึง "พุทธพยากรณ์โลก"

    แต่อยากถามว่า "จาลิกบรรพต" สถานที่พระพุทธเจ้าพยากรณ์โลกอยู่ที่ไหน?

    ใครตอบได้บ้างยกมือ ขอเสียงหน่อยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กุมภาพันธ์ 2012
  2. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    ตัวอย่างพุทธพยากรณ์โลก ในช่วงพันปีที่สาม ก็คือ ช่วงเวลาปัจจุบันที่เรากำลังดำเนินชีวิตอยู่นี้


    [FONT=&quot]พุทธทำนายเหตุการณ์ในพันที่สาม แต่เพียงโดยย่อๆ[/FONT]



    [FONT=&quot]เอกํ สมยํ ภควา จาริกปพฺพเต วิหรติ สกฺโก เทวานมินฺโท วิทิตฺวา เตสํ ปุญญํ ปจฺฉิตวา เทวโลกโต โอตริตวา ภควนฺตํ อภิวาเทตฺวา สตฺถารํ ปุจฉิ[/FONT]
    [FONT=&quot]ดูราสัปปุริสาเจ้าทั้งหลาย ยังมีในกาลครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าก็อยู่สำราญเข้าพรรษาในจาริกบรรพต พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าได้ ๒๐ พรรษา นั้นเอง ในกาลยามนั้น พระยาอินทราธิราชได้ยินยังพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าแล้ว ก็รู้ว่าการทำบุญในพระศาสนาของพระพุทธเจ้ามัอานิสงค์มากนัก จึงใคร่อยากรู้อานิสงค์ของคนทั้งหลายที่ได้ทำบุญนี้ จึงเสด็จมาจากชั้นฟ้าตาวติงสา (ดาวดึงส์) แล้วเข้าไปสู่สำนักพระพุทธเจ้า อันอยู่ในดอยจาริกบรรพตที่นั้น แล้วไหว้ถามว่า ภฺนเต ข้าแต่พระพุทธเจ้า คนแลเทวดาทั้งหลายกระทำบุญเป็นต้นว่า ให้ทาน รักษาศีล ฟังธรรม เมตตา ภาวนาอยู่เนืองๆ ได้กระทำเมื่อพระพุทธเจ้ายังมีพระชนม์อยู่ก็ดี ได้กระทำเมื่อนิพพานไปแล้วก็ดี ยังจะมีผลาอานิสงค์เป็นอย่างไรบ้างหนอ ในกาลครั้งนั้น พระพุทธเจ้าได้ยินปัญหานั้นแล้ว เมื่อจะแสดงให้แจ้งแก่พระยาอินทร์ จึงกล่าวเป็นคาถาว่า[/FONT]
    [FONT=&quot]ปญฺจวสฺสสหสฺสานิ สาสนํ มม ติฏฐติ ดั่งนี้เป็นต้น ดูกรมหาราช ตถาคตจักเทศนายังคุณและโทษอันมีในศาสนาทั้งมวลแก่ท่านในบัดนี้[/FONT]
    [FONT=&quot]ปรินิพุเต ในเมื่อตถาคตนิพพานแล้วจักตั้งศาสนาตราบต่อเท่า ๕,๐๐๐ วัสสา เพื่อจักโปรดคนและเทวดาทั้งหลาย[/FONT]

    [FONT=&quot]...[/FONT]


    [FONT=&quot]ในเมื่อกูตถาคตนิพพานไปแล้วได้สองพันปลายปีหนึ่ง คือเข้าเขต ๓ พันวัสสานั้นไปได้เถิงกลาง ๕ พันวัสสา แลในกาลยามนั้นหมากน้ำเต้าจักจมน้ำไป ก้อนหินพอยเล่าฟูขึ้นมาตั้งอยู่เหนือน้ำ...ดูรามหาราช ท้าวพระยาทั้งหลาย ในชมพูทวีปทั้งมวลมีใจอันหยาบช้า บ่ไต่ตามทศพิธราชธรรม ๑๐ ประการ อันหนึ่งจักละเสียเสนาอามาตย์ ผู้เฒ่าผู้แก่ฮู้กิจพิจารณา ยังราชกิจตามเบาตามหนักเสีย แล้วจักยกเอาเสนาผู้หนุ่มผู้น้อย ตั้งไว้ในที่พิจารณาราชกิจ ลวดกะทำตามโลภตัณหาหิงสาฮาวี ข้าไทยไพร่เมืองให้วินาศฉิบหายไปแล ในกาลเมื่อท้าวพระยาเสนาอามาตย์ บ่ประกอบชอบธรรมดั่งนั้น เทวดาทั้งหลายฝูงฮักษาโลกทั้งมวล ก็จักเคียดสุ้มเสียดผิดใจ จักแต่งกรรมอันบ่วุฑฒิจำเริญ แม่นคนหญิงชายทั้งหลายก็จักกะทำกรรมอันบ่ชอบธรรม ตามท้าวพระยาเสนาอามาตย์ทั้งหลายฝูงนั้นแล ยามนั้นเทวดาทั้งหลาย ก็จักแต่งให้กาลควรฝนตกก็จักแล้ง กาลควรแล้งก็ให้ฝนตกซะแล[/FONT][FONT=&quot]อันว่ารส[/FONT][FONT=&quot]แผ่นดินก็จักลงไปภายใต้พื้นแผ่นดิน พืชข้าวกล้าถั่วงาของปลูกทั้งมวล ลวดบ่ละงอกงามขึ้นมาได้ ก็เป็นเหี่ยวแห้ง ด้วงแมงทั้งหลาย ก็มาขบมาย้ำฮากแห่งกอพืชข้าวกล้า มียอดมีลำอันเป็นด้วงเป็นแมงเสีย บางพ่องก็ตายเสีย อันหนึ่งต้นไม้เครือเขาเถาวัลย์ อันมีในบ้านแลในป่าก็ดี กาลบ่ควรเป็นดอกก็จักเป็นดอก กาลบ่ควรเป็นลูกก็จักเป็นลูกเป็นหมากซะแล เมื่อพืชข้าวกล้าถั่วงาเกิดเป็นแล้ว เทวดาทั้งหลายก็จักเอาพิษง้วนสารมาใส่ในเม็ดข้าวลูกไม้หัวมันทั้งลูกส้มลูกหวานทั้งหลาย ก็กลายเป็นด้วงเป็นแมงเถิงกาลเมื่อคนทั้งหลายไปเกี่ยวเอานั้น คนเคยได้หลายก็จักได้น้อย คนได้น้อย ก็ลวดจิบหายเสียซะแล ในเมื่อคนทั้งหลายหากกินยังข้าวลีบแมงแตงเต้า ลูกไม้หัวมันทั้งหลายฝูงนั้น พิษง้วนอันเทวดาใส่ไว้ในก็ซาบอาบไปในกายในเอ็นในไส้ในท้อง สัตว์ คนทั้งหลายก็ลวดบังเกิดเป็นพยาธิต่างๆ บ่นับอ่านได้ ก็จักบังเกิดเป็นตุ่มเป็นฝี สรรพพยาธิทั้งหลายต่างๆ แล้วก็จักตายไปจักมีมากซะแล... ประการหนึ่ง ดูราอินทราธิราช ในกาละยามนั้น ขงเขตอันเดียวกันเคิ่งเมืองหนึ่งฝนตก เคิ่งเมืองหนึ่งฝนบ่ตก ก็จักมียามนั้นซะแล [/FONT]

    [FONT=&quot]ดูรามหาราชตนเป็นเจ้าแก่เทวดาทั้งหลาย ปคฺคยห ตุมฺเหปิ ท่านจงเล็งดูยังศาสนากู อย่าประมาท ท่านจงอาณัติยังเทวบุตรตนประกอบชอบธรรมนั้นลงมาเกิดแลตนๆ ในพันวัสสาแลอันๆ เพื่อให้ยกยอยังศาสนากูพระตถาคต ใน ๕ พันวัสสานี้ให้ฮุ่งเฮืองไปเถิ่นว่าอัน วันนั้นแล ตํ สุตวา พระอินทาธิราชได้ยินธรรมเทศนาแห่งพระพุทธเจ้าเยื้องนั้นแล้ว บังเกิดโสมนัสยินดีมากนักแล้ว ก็ไหว้นบเคารพยำแยงพระพุทธเจ้าแล้วเสด็จเมือสู่เมืองฟ้าอันเป็นที่อยู่แห่งตนแล้ว อาทาย ก็ถือเอา ทิพฺพปลฺลวํ ยังดอกสีลาคำทิพย์ต้นหนึ่ง โรเปตฺวา ก็มาติดไว้ ปพฺพตมตฺถกสฺมึ เหนือยอดดอย สิมนฺตเรกสฺส อันเป็นสิมันตริกเขตแดน โยนกรฏฐวสนฏฐานานํ แห่งที่เป็นที่อยู่แคว้นอันเป็นเมืองโยนกโลกที่นั้นแล้ว ก็มาบอกถ้อยคำอันพระพุทธเจ้าเทศนาทำนายไว้แก่เจ้ารัสสีตนหนึ่ง ชื่อว่า อภิสัมภาร อันอยู่ในดอยที่นั้น[/FONT]

    [FONT=&quot]...[/FONT]


    [FONT=&quot]ข้าแต่เจ้ารัสสีสูจงฟังบุพพนิมิต ฮ้อยเอ็ดจำพวกนี้แล้ว จงบอกกล่าวแก่คนทั้งหลายภายหน้าเถิ้น บุพพนิมิตฝูงนั้น คือว่า ม้ากินหญ้าดอมหมู่วัวควายเมื่อใด คนทั้งหลายถือกูบกั้นหัวหุ้มหน้ามีเมื่อใด มือลูบลากปกุตามีเมื่อใด คนทั้งหลายถือถงพายจับด้ามอันยาวฮั้วค่าวนามีเมื่อใด คนทั้งหลายถือลานหยาวกันหมามีเมื่อใด นักปราชญ์บ่ฮู้คองบุญมีเมื่อใด ฝูงเป็นขุนบ่ฮู้ตกแต่งมีเมื่อใด คนทั้งหลายเอาผ้า ๔ แจ่งเป็นถงเมื่อใด ฝนตกบ่ใช่ฤดูเมื่อใด ฝูงนักปราชญ์เบื่อคองธรรมมีเมื่อใด คนบ่ยำนักบวชมีเมื่อใด พาลาโจทก์อาจารย์มีเมื่อใด ผิดบูฮาณแต่งไว้มีเมื่อใด คนผู้ขี้ไฮ้เกิดเป็นดีเมื่อใด หญิง ๑๐ ปีมีซู้ท่านบ่นับมีเมื่อใด คนมักขังฝูงชะนีจากที่มีเมื่อใด สายฟ้าควีเมือฮุ่งมีเมื่อใด ฝูงนักบวชบ่เฮียนธรรมเงินคำถูกว่าเบี้ยมีเมื่อใด ชาวเมืองฮู้ช่างล่ายมีเมื่อใด ผู้น้อยหมายกินเมืองมีเมื่อใด ขุนนางเฮืองไถ่ข้ามีเมื่อใด ฟ้าฮ้องดั่งเสียงลวามีเมื่อใด แฮ้งกาตอมอากาศ คนพยาธิอ้างหาผีมีเมือใด ฝูงเป็นชีพอยไก่ก้ามีเมือใด ฝูงพ่อค้าช่างลักมีเมือใด คนทั้งหลายบ่ยำผู้เฒ่ามีเมื่อใด ฝูงเจ้ามักมือกุบคะโยงมีเมื่อใด ฝูงชีโถงพายดาบถือหาบค้าหาบเงินมีเมือใด [/FONT]

    [FONT=&quot]บ่เหิงนานจักหม่นเศร้าต้นข้าวฮาบเสียฮวง ทั้งท่งหลวงตายแล้ง น้ำบ่แห้งใค่ขอด พื้นแผ่นดินปานไฟไหม้ คนใบ้จักหาลักกัน เสียงนี่นันอากาส ฟ้าจักหยาดลงมา แผ่นดินหนาไหวหวั่น จักมาปั่นไปมา อัคคินา ไฟจักไหม้โลก[/FONT][FONT=&quot]คนค้านสวดสวดคำพอง คนจักตีปองเป็นหลากนานา เหื่อจักย้อยหน้าพระสัตถา สองไหล่พระหลับอยู่ เจดีย์วู่ลูกเป็นควัน แผ่นดินนัยยะแตก เสียงฟ้าลงแถกคนตาย [/FONT][FONT=&quot]...เมื่อฝูงใดไผหมดเมี้ยนแล้วพระยาอินทร์ตนผ่านแผ้ว แลตนพระยาธรรมมิกราชตนมีอานุภาพ จักมาผาบพื้นฟื้นสากลชมพู เลิกยกยอศาสนาสัพพัญญูเฮียบฮาบ ตั้งอยู่ตราบยืนนานยามกางที่เขิงในที่เกิด ๓๐๐๐ วัสสา สืบปะรัมปะราแต่เค้าตาบต่อเท้าชุมนุมธาตุเป็นเจ้าเป็นปริโยสานพุ้นซะแล[/FONT]

    [FONT=&quot]สกฺโก เทวราชาปิ วตวา จ ปน สคฺคํ นิวตฺตติ สฺกโก อันว่าพระอินทาธิราชตนเป็นเจ้าแห่งเทวดาทั้งหลาย คันว่าบอกว่าก่าวคำท่อนั้นแก่พระรัสสี ตนซื่อว่าอินทรสมภาร ตนอยู่ดอยเขาคำหลวงในเมืองหริภุญไชยนครนั้นแล้ว ก็เสด็จเมือสู่ชั้นฟ้า อันเป็นที่อยู่แห่งตน ก็มีวันนั้นแล ทสมปาทธาตุกณฺฑํนิฏฺตํ ก่าวตำนานธรรมพระบาทแลธาตุพระเจ้าถ้วน ๑๗ ก็สำเร็จบรบวนควรแล้วท่อนี้ก่อนแล.[/FONT]

    [FONT=&quot](คัดจาก [/FONT][FONT=&quot]พระเจ้าเลียบโลก ฉบับพิศดาร สำนวนภาคอีสาน แสดงพุทธทำนาย พระพุทธบาท และพระธาตุ [/FONT]
    [FONT=&quot]เจดีย์[/FONT][FONT=&quot] กัณฑ์ที่ ๑๗[/FONT][FONT=&quot] พิมพ์ที่โรงพิมพ์ ลูก ส.ธรรมภักดี พ.ศ. ๒๕๒๙)[/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กุมภาพันธ์ 2012
  3. น้ำใหลนิ่ง

    น้ำใหลนิ่ง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +79
    คุณเอกครับ ผมยังไม่ปฎิเสธแนวความคิดของคุณที่จะพิสูจน์ว่าพุทธศาสนาเกิดในไทย
    เพียงแต่คุณเอกต้องพิสูจน์ให้ได้ และเท่าที่ติดตามงานของท่านจะอ้างอิงไปยัง

    "
    ตำนานพระเจ้าเลียบโลก"

    ขอให้คุณเอกพิจารณาในความน่าเชื่อถือของเอกสารด้วยครับว่า ตำนานพระเจ้าเลียบโลก มีน้ำหนักในการอ้างอิงมากเพียงใหน อันนี้เป็น[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]ส่วนหนึ่งของการศึกษาวิจัยเรื่อง “ตำนานพระเจ้าเลียบโลก : การศึกษาพื้นที่ทางสังคมและวัฒนธรรมล้านนา” ในกรอบของโครงการวิจัยเขตเศรษฐกิจวัฒนธรรมภาคเหนือตอนบน ทุนวิจัยเมธีวิจัยอาวุโส สกว. และทุนสนับสนุนจากฝ่ายชุมชนและสังคม สกว. ประจำปีงบประมาณ 2548[/SIZE][/FONT] ครับ

    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][SIZE=-1]ตำนานพระเจ้าเลียบโลก : วรรณกรรมทางศาสนาที่ว่าด้วยภูมิภาคและท้องถิ่นศึกษา*

    ตำนานพระเจ้าเลียบโลก เป็นวรรณกรรมทางศาสนาที่มีการแพร่กระจายอยู่บริเวณดินแดนล้านนา สิบสองปันนา รัฐฉาน และล้านช้าง ตลอดจนถึงบางพื้นที่แถบภาคอีสานอีกด้วย โดยเนื้อหาสำคัญของวรรณกรรมเรื่องนี้ กล่าวถึงการเสด็จมาเผยแผ่พระศาสนาของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพุทธสาวก ซึ่งมีการพรรณนาถึงสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เชื่อมโยงเข้ากับตำนานของแต่ละ ภูมิภาคและท้องถิ่น อันประกอบด้วยเมือง ชุมชน ผู้คน ชาติพันธุ์ รวมถึงระบบการค้าที่รวมเรียกว่าสังคมและวัฒนธรรมอย่างน่าสนใจยิ่ง


    โดยแก่นของเรื่องดังกล่าวนี้ ได้มุ่งเน้นการสถาปนาศาสนสถานที่สำคัญเอาไว้กับท้องถิ่นต่างๆ ที่เรื่องราวได้ดำเนินมาถึงด้วยการประดิษฐานรอยพระบาทและพระเกศาธาตุ พร้อมพุทธพยากรณ์ว่าพื้นที่อันเป็นภูมิสถานศักดิ์สิทธิ์ โดยมีสิ่งสำคัญทางความศรัทธาประดิษฐานเอาไว้นั้นจะได้มีความเจริญรุ่งเรือง ในภายหน้าด้วยพระศาสนา ซึ่งนับว่าเป็นวรรณกรรมที่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องราวของท้องถิ่นในภูมิภาค แถบนี้อย่างชัดเจนยิ่งกว่าวรรณกรรมทางศาสนาเรื่องอื่นๆ อีกทั้งยังได้สะท้อนถึงความสัมพันธ์ของเรื่องราวและขนบในการประพันธ์ตำนาน พระบาทและพระธาตุ ที่แพร่หลายอยู่ในดินแดนแถบนี้นัยว่าเป็นการสร้างความเลื่อมใสศรัทธาของผู้ คนในท้องถิ่น อีกทั้งเป็นการยึดโยงความสัมพันธ์ภายใต้คติความเชื่อเดียวกันของพุทธ ศาสนิกชนโดยเฉพาะกลุ่มชนเผ่าไทในภูมิภาคแถบลุ่มแม่น้ำโขง




    ตำนานพระเจ้าเลียบโลก : วรรณกรรมทางศาสนาที่ว่าด้วยภูมิภาคและท้องถิ่นศึกษา




    บทนำ


    บทความ เรื่อง ตำนานพระเจ้าเลียบโลก : วรรณกรรมทางศาสนาที่ว่าด้วยภูมิภาคและท้องถิ่นศึกษา เป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาวิจัยเรื่อง “ตำนานพระเจ้าเลียบโลก : การศึกษาพื้นที่ทางสังคมและวัฒนธรรมล้านนา” ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยของ สกว. ในโครงการวิจัยเขตเศรษฐกิจวัฒนธรรมภาคเหนือตอนบน ซึ่งได้ดำเนินมานับตั้งแต่ปลายปี 2546 โดยมีกำหนดสิ้นสุดของโครงการในปี 2549 นี้ โดยผู้วิจัยได้รับมอบหมายให้ศึกษาค้นคว้าถึงความสำคัญของตำนานเก่าแก่ ที่รู้จักกันเป็นอย่างดีของผู้คนในสังคมวัฒนธรรมล้านนาและบริเวณใกล้เคียง ซึ่งก็นับว่าเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจในการที่จะได้หยิบยกเอาตำนานทางพุทธ ศาสนา ที่มีเนื้อหาและเรื่องราวอันมีความโดดเด่นด้วยการกล่าวถึงพื้นที่ในภูมิภาค แห่งนี้ รวมถึงได้เสนอถึงความสัม พันธ์ของผู้คน ชุมชน ชาติพันธุ์ที่อยู่อาศัยร่วมกันมาช้านาน ที่ยังปรากฏร่องรอยของหลักฐานเมื่อครั้งบุพกาลให้ได้ศึกษาจวบถึงปัจจุบัน


    ดังนั้นจึงเป็นความสนใจที่ว่าตำนานพระเจ้าเลียบโลก น่าจะเป็นเอกสารวรรณกรรมทางพุทธศาสนา ที่สามารถสะท้อนถึงแนวความคิดในการพยายามที่จะเรียงร้อยเรื่องราวภายใต้ความ ศรัทธาเดียวกันของสังคมและวัฒนธรรมที่มีความหลากหลาย ก่อให้เกิดเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ในอุดมคติ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการผสมผสานแนวความคิดทางปรัชญากับมิติของการศึกษาถึงความ เป็นท้องถิ่นด้วยการสร้างคำอธิบายถึงสิ่งต่างๆ ซึ่งมีความสัมพันธ์กันอยู่กับสิ่งที่เกิดขึ้นผ่านตัววรรณกรรมตำนานทางศาสนา อันจะได้เป็นองค์ความรู้ในเรื่องท้องถิ่นศึกษาที่เชื่อว่าน่าจะยังคงมีความ หมายและคุณค่าในการที่จะหันกลับมาพิจารณาถึงสภาพสังคมปัจจุบัน นอกเหนือจากความหมายของการเป็นตำนานโบราณที่เก่าแก่และคราคร่ำ ตามความเข้าใจของผู้คนในสังคมปัจจุบันนี้


    สาระและเรื่องราวของตำนานพระเจ้าเลียบโลกฉบับสมบูรณ์


    ตำนานพระเจ้าเลียบโลก ฉบับวัดกู่คำ ต. วัดเกตุ อ. เมือง จ. เชียงใหม่ มีทั้งสิ้น 12 ผูกประกอบด้วย 470 หน้าลาน โดยผูกที่ 1 – 11 เนื้อหากล่าวถึงพุทธตำนานตลอดจนถึงตำนานพระ ธาตุและพระบาท ซึ่งในผูกสุดท้ายเข้าใจว่าเป็นการเขียนเพิ่มเติมในภายหลัง อย่างไรก็สาระ สำคัญของตำนานฉบับนี้มีความน่าสนใจอยู่มากอันมีเนื้อหาประกอบด้วยดังนี้


    ผูกที่ 1 กล่าวถึงพระพุทธเจ้าเสวยชาติเป็นพระโพธิสัตว์จนถึงเจ้าชายสิทธัตถะและพระสม ณโคดม จากนั้นได้เสด็จออกจากเมืองพาราณสี ชมพูทวีปมาสู่เขตเมืองลี้ แคว้นหริภุญไชย โดยมีพุทธพยากรณ์และที่มาของชื่อ “หริภุญไชย” ที่มีความรุ่งเรืองต่อด้วยการเสด็จไปยังอุฉบรรพต อภินวนคร ปากน้ำแม่สา พระบาทผาชะแคง เมืองเชียงดาว อีกทั้งกล่าวถึงเมืองวิเทหะนคร หรือหนองแส อุตรปัญจนคร หรือแสนหวี จากนั้นจึงเสด็จพร้อมด้วยพระอรหันต์ 500 รูป มายังดอยเวภารบรรพต หรือรังรุ้ง ซึ่งเป็นพื้นที่รอยต่อของ 3 อาณาจักรสำคัญ คือ โกสัมพี(แสนหวี) หริภุญไชย(ล้านนา) และเมืองแพรหลวง(จีน)


    ผูกที่ 2 กล่าวถึงพระเจ้าอโศกมหาราชกับการอุปถัมภ์พระศาสนา ตลอดจนถึงเรื่องราวของพระเกศาธาตุ ณ ดอยสิงคุตร เมืองหงสาวดี(มอญ)


    ผูกที่ 3 กล่าวถึงพระพุทธองค์พร้อมทั้งพระอานนท์เสด็จเข้าสู่สุสวรรณภูมิ สมัยอาณา จักรทวารวดีแล้วขึ้นมาถึงเมืองเชียงราย เชียงตุง เมืองยอง เป็นต้น


    ผูกที่ 4 กล่าวถึงพระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นไปยังเมืองห้อ(พื้นที่ทางจีนตอนใต้) เมืองลื้อ(เขตสิบสองปันนา) และเมืองแข่(พื้นที่ทางจีนตอนใต้)


    ผูกที่ 5 กล่าวถึงพระพุทธองค์ทรงประทับรอยพระบาทไว้ที่เมืองต่างๆ ในเขตสิบสองปันนา เช่น เมืองลาเหนือ เมืองลาใต้ เมืองเชียงแข็ง เป็นต้น


    ผูกที่ 6 กล่าวถึงพระพุทธองค์ทรงสอนชาวพื้นเมืองให้รู้จักการทำยนต์หมุนผันน้ำ(ยนต์ ผัด) หรือ หลุก(กังหัน) เพื่อทำการปลูกข้าว


    ผูกที่ 7 กล่าวถึงพระพุทธเจ้าทรงปราบอาฬวกยักษ์ เมืองอาฬวี(เชียงรุ่ง) โดยให้ถือศีลห้าและพระรัตนตรัย หลังจากนั้นเสด็จเข้าสู่เขตเมืองเขมรัฐ หรือเชียงตุง


    ผูกที่ 8 กล่าวถึงพระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่อาณาจักรโยนกนคร เช่น เมืองเชียงแสน เมืองเชียงราย เมืองพะเยา เมืองลำปาง เป็นต้น


    ผูกที่ 9 พระพุทธเจ้าเสด็จเลียบแม่น้ำปิงมีพุทธพยากรณ์ว่าในกาลข้างหน้าจะเกิดมีอาราม ในเมืองนี้ 8 แห่งที่สำคัญ คือ วัดบุปผาราม(สวนดอก) วัดเวฬุวันอาราม(กู่เต้า) วัดบุพพาราม วัดอโศการาม(ป่าแดง) วัดพีชชอาราม(ศรีเกิด) วัดสังฆาราม(เชียงมั่น) วัดนันทาราม และวัดโชติอาราม(เจดีย์หลวง) และยังกล่าวถึงนักบวชชาวพม่า 2 รูป ตลอดจนเรื่องราวของชาวละว้า หรือลัวะ ที่ช่วยกันสร้างพระพิมพ์ดินเผาถวายพระพุทธองค์แล้วโปรดให้ขุดหลุมฝังเอาไว้ ใต้ดิน


    ผูกที่ 10 กล่าวถึงพุทธพยากรณ์ความเจริญและความเสื่อมของพระศาสนาในช่วง 5000 ปีและจะเกิดกลียุคจากความเสื่อมนั้นเนื่องจากการกระทำของมนุษย์ในแต่ละช่วง เวลา


    ผูกที่ 11 กล่าวถึงการเสด็จไปยังดินแดนสิบสองปันนา และการเสด็จเข้าสู่มหาปรินิพพาน การถวายพระเพลิงพุทธสรีระ กล่าวถึงพระบรมธาตุต่างๆ การสังคายนาครั้งสำคัญๆ ความเป็นมาของพระพุทธบาทและพระธาตุ โดยให้รายละเอียดว่าจำนวนพระบรมธาตุในอาณาจักรมอญหงสาวดีมี 52 แห่ง อาณาจักรหริภุญไชยมี 23 แห่ง รอยพระบาท 12 แห่ง และพระธาตุเมืองลื้อมี 70 แห่ง ซึ่งตอนท้ายกล่าวถึงการจารต้นฉบับนี้ว่าคัดลอกเมื่อ จ.ศ. 885 ปี พ.ศ. 2066 โดยบางฉบับที่มีถึง 12 ผูก นั้นก็จะเป็นการเขียนเพิ่มเติมในภายหลัง ที่มีการกล่าวถึงคติความเชื่อเรื่องพระธาตุประจำปีเกิดว่าคนเกิดปีใดต้องไป สักการะพระธาตุองค์ใด




    การกำหนดอายุของตัวตำนาน


    หลักฐานการกำหนดอายุของช่วงเวลาที่มีการเขียนตำนานเรื่องนี้ เท่าที่ผ่านมาได้มีผู้ศึกษาก่อนหน้านี้แล้วพบว่าเขียนขึ้นเมื่อราวพุทธ ศตวรรษที่ 21 จากการเดินทางมาแสวงบุญตามเส้นทางอันเป็นที่ตั้งของศาสนสถานที่สำคัญ คือ พระธาตุและพระบาท นับตั้งแต่ลังกาทวีปขึ้นมาสู่ดินแดนมอญและพม่า จนเข้ามาสู่ทางตอนบนอันเป็นดินแดนอาณาจักรล้านนา ฉาน และสิบสองปันนา ซึ่งเส้นทางดังกล่าวถูกสมมุติขึ้นเป็นเส้นทางการเสด็จโปรดสรรพสัตว์ขององค์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งแท้ที่จริงแล้วก็คือ การเดินทางจาริกแสวงบุญของพระ ภิกษุ ผู้ประพันธ์เรื่องราวพุทธตำนานหรือที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางว่า “ตำนานพระเจ้าเลียบโลก” อันเป็นเส้นทางที่ท่านได้เดินทางผ่านบ้านเมืองน้อยใหญ่เท่าที่มีกำลังและ เวลาในขณะนั้น


    สำหรับนามของผู้ประพันธ์นั้นได้ปรากฏอยู่ตอนท้ายของเรื่องราว กล่าวถึงพระธรรมรส หรือ พระธรรมรโสภิกษุชาวมอญ ในราวปี พ.ศ. 2050 ที่ได้รับการอุปถัมภ์จากกษัตริย์แห่งหงสาวดีให้เดินทางไปศึกษางานพระศาสนา พร้อมกับได้รับรู้เรื่องราวของการประดิษฐานพระธาตุ และพระบาทในดินแดนต่างๆโดยเฉพาะพื้นที่ราชอาณาจักรมอญและใกล้เคียง อันประกอบด้วย ล้านนา ฉาน และสิบสองปันนารวมถึงทางตอนใต้ของจีน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการบันทึกเอาไว้อยู่ก่อนแล้ว ณ สำนักพระหิน หรือมหาเสลอาราม กรุงลังกา โดยอาจเป็นการรวบรวมรายชื่อจากการแจ้งถึงพื้นที่ตั้งศาสนาสถานที่สำคัญในแต่ ละท้องถิ่น ของเหล่าบรรดาพระภิกษุทั่วทุกสารทิศที่ได้มีโอกาสเดินทางไปศึกษางานพระศาสนา ยังลังกาในก่อนหน้านี้ ต่อมาภายหลังจากที่พระธรรมรสเดินทางกลับจากลังกา จึงได้เดินทางจาริกแสวงบุญต่อขึ้นมาตามที่ปรากฏรายชื่อที่ตั้งของพระธาตุและ พระบาท ทั้งในราชอาณาจักรมอญตลอดจนถึงดินแดนต่อเนื่องใกล้เคียงเท่าที่จะสามารถเดิน ทางไปถึงได้ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2060 – 2066 ซึ่งก็น่าจะเป็นเวลาที่ภาย หลังจากกลับจากลังกามาแล้ว โดยใช้เวลาเดินทางจาริกต่อในดินแดนต่างๆ อีกราว 6 ปีแล้วจึงเริ่มเขียนงานชิ้นนี้ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2066


    ตำนานพระเจ้าเลียบโลกหรือพุทธตำนาน เป็นวรรณกรรมทางพุทธศาสนาที่ได้มีการประพันธ์โดยพระภิกษุชาวมอญ ประกอบด้วยเนื้อหาจำนวน 11 ผูกหรือที่เรียกกันว่าฉบับความพิสดาร หรือฉบับสมบูรณ์ และพบว่าในยุคหลังมีการเขียนเพิ่มขึ้นอีก 1 ผูกรวมเป็น 12 ผูก นอกจากนี้ยังมีฉบับความย่อที่กระจายอยู่ทั่วไปในท้องถิ่นภาคเหนือ สำหรับในภาคตะวันออก เฉียงเหนือซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลวรรณกรรมเรื่องดังกล่าวมาจากอาณาจักรล้าน ช้าง ดังปรากฏว่ามีเอกสารตำนานนี้อยู่ในพื้นที่เขตจังหวัดขอนแก่น อุบลราชธานี และมหาสารคาม ซึ่งเข้าใจว่ามีการเผยแพร่อย่างกว้างขวางในดินแดนภูมิภาคแห่งนี้ที่พุทธ ศาสนาเถรวาทนิกายลังกาวงศ์ ได้เข้ามาฝังรากอย่างแนบแน่น จากความสัมพันธ์ทางด้านประวัติศาสตร์และทางศาสนาในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 21


    โดยเฉพาะดินแดนล้านนาแล้ว ถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางที่สำคัญทางด้านพุทธศาสนาในภูมิภาคแห่งนี้ดังมีหลัก ฐานสำคัญที่รองรับก็คือ มีการจัดสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 8 ของโลกจากการสนับสนุนของพระเจ้าติโลกราช(พ.ศ. 1985 – 2030) แห่งนครเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2020 ณ มหาโพธาราม หรือวัดเจ็ดยอด นอกจากนี้ในราวรัชสมัยของพระเมืองแก้ว(พ.ศ. 2039 –2069)ราชปนัดดาของพระเจ้าติโลกราช ซึ่งถือได้ว่าเป็นยุครุ่งเรืองของการเขียนวรรณกรรมทางพุทธศาสนาในล้านนา


    ซึ่งในราวพุทธศตวรรษที่ 21 นั้นพระเถระนักปราชญ์ต่างได้มีการเขียนเอกสารและวรรณ กรรมทางศาสนากันอย่างมากมาย โดยที่ถือว่าเป็นวรรณกรรมที่สำคัญและได้มีการศึกษาสืบต่อกันมาจวบจนถึง ปัจจุบันอยู่หลายเรื่อง อาทิ ชินกาลมาลีปกรณ์ โดยพระรัตนปัญญาเถระ ตำนานมูลศาสนา โดยพระพุทธพุกามและพระพุทธญาณ จามเทวีวงศ์และสิหิงคนิทาน โดยพระโพธิรังสี มังคลัตถทีปนี โดยพระสิริมังคลาจารย์ เป็นต้น โดยในระหว่างนี้ก็ได้มีการเขียนตำนานพระธาตุและพระบาทต่างๆ เกิดขึ้นแล้ว ดังเช่น ตำนานพระธาตุดอยตุง ตำนานพระธาตุแช่แห้ง ฯลฯ


    อาจกล่าวได้ว่า ตำนานพระเจ้าเลียบโลก นับว่าเป็นงานประพันธ์อีกชิ้นหนึ่งที่มีความโดดเด่นของเนื้อหา ด้วยลักษณะของการเป็นวรรณกรรมที่เข้าถึงสังคมท้องถิ่นอย่างน่าสนใจ เนื่องจากเรื่องราวของตำนานยังสามารถปรับหรือดัดแปลงให้เป็นลักษณะของมุข ปาฐะหรือเรื่องเล่าปรัมปราในแต่ละท้องถิ่นได้ โดยอาศัยการยึดหลักเค้าโครงเรื่องหรือไวยกรณ์ที่เป็นแบบแผนอยู่[1] ซึ่งรายละเอียดปลีกย่อย ตัวบุคคล เหตุการณ์และสถานที่ อันเกิดเป็นประโยคเป็นสิ่งที่เปลี่ยนได้หากแต่ระบบไวยกรณ์หรือโครงสร้าง เบื้องลึก(deep structure)[2] ของเรื่องราวนั้นยังคงอยู่ไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นในท้องถิ่นต่างๆ ถึงแม้ว่าไม่มีปรากฏของเอกสารลายลักษณ์เกี่ยวกับเรื่องตำนานพระเจ้าเลียบโลก ที่มักพบอยู่ตามวัด แต่ก็จะมีเรื่องราวที่เล่าขานเกี่ยวกับภูมินามตลอดจนที่ตั้งของสภาพแวดล้อม ของชุมชน ซึ่งเป็นการอธิบายพื้นที่ในแต่ละท้องถิ่นด้วยโครงเรื่องของตำนานพระเจ้า เลียบโลกอยู่เสมอ ซึ่งจะพบเรื่องราวดังกล่าวนี้ได้ทั่วไปในเขตท้องถิ่นภาคเหนือ[3]


    โดยศิราพร ณ ถลาง ได้สรุปสาระหลักๆ หรืออธิบายคำนิยาม ที่ โคลด เลวี่-เสตราส์ นักมานุษยวิทยาชาวฝรั่งเศส เรียกพฤติกรรมที่มีลักษณะซ้ำๆ ว่า mytheme จากตำนานปรัมปราที่กระจายอยู่ในวัฒนธรรมต่างๆ ซึ่งจัดจำแนกเอาไว้เป็น 4 ประการคือ


    1. การยอมรับความเชื่อดั้งเดิมเกี่ยวกับอำนาจเหนือธรรมชาติ เช่น ตำนานขุนลู-ขุนไล ของไทอาหม หรือขุนหลวง-ขุนหลาย ของไทใหญ่ เล่าถึงพระเจ้าสร้างโลกแล้วส่งขุนลู-ขุนไล หรือ ขุนหลวง-ขุนหลาย ไต่บันไดจากสวรรค์ลงมาปกครองโลก พร้อมทั้งสอนให้มนุษย์ทำนาปลูกข้าวในฤดูฝน


    2. การพยายามปฏิเสธอำนาจเหนือธรรมชาตินั้น เช่น ตำนานน้ำเต้าปุง ของลาว เล่าว่าแถนสั่งให้มนุษย์เซ่นสรวงบูชาด้วยข้าวปลาอาหาร แต่มนุษย์ละเลยไม่ทำตามแถน จึงบันดาลให้เกิดน้ำท่วมโลก


    3. การปะทะสังสรรค์และความขัดแย้งระหว่างความเชื่อดั้งเดิมกับความเชื่อที่รับ เข้ามาใหม่คือพุทธศาสนา เช่น ตำนานปู่แสะ-ย่าแสะ และตำนานพญาคันคาก รวมถึงตำ


    นานพระธาตุที่สะท้อนให้เห็นถึง “ความขัดแย้ง” และ “การต่อสู้” ของระหว่างความ


    เชื่อทั้งสองระบบผ่านสัญลักษณ์พฤติกรรมการแสดงอิทธิฤทธิ์และปาฏิหาริย์


    4. การผสมผสานบูรณาการความเชื่อดั้งเดิมกับพุทธศาสนาเข้าด้วยกัน เช่น ตำนานพระธาตุและพระบาท โดยเป็นตำนานฝ่ายพุทธที่ได้สะท้อนร่องรอยการปะทะสังสรรค์ระหว่างตัวละครซึ่ง เป็นตัวแทนของความเชื่อดั้งเดิมกับพระพุทธเจ้า ด้วยการบูรณาการทางความ เชื่อทั้งสองระบบเข้าด้วยกันในลักษณะของ “การยอมรับ” และ “การประณีประนอม” จากการผสมผสานความเชื่อเข้าด้วยกันส่วนใหญ่เป็นตำนานทางฝ่ายพุทธ และยังเป็นตำนานที่เป็นสำนวนลายลักษณ์ มักพบในวัด[4]




    พระเจ้าเลียบโลก : ตำนานการสำรวจดินแดนพุทธศาสนาในอุษาคเนย์


    ดินแดนที่ตำนานกล่าวถึงพระพุทธเจ้าและพุทธสาวกได้เสด็จมาเผยแพร่พระศาสนา ในเนื้อหาของตำนานระบุเอาไว้ว่าเป็นดินแดนตอนในของภาคพื้นทวีป นับจากมอญ พม่า ล้านนา สิบสองปันนา รัฐฉาน และล้านช้าง โดยเชื่อมโยงกันเป็นพื้นที่กว้างไกลอยู่ในมิติของห้วงเวลาเมื่อครั้งสมัย พุทธกาล ซึ่งก็นับเป็นพื้นที่บริเวณประเทศพม่า ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย และตอนใต้ของจีนในปัจจุบันเป็นหลัก


    โดยเนื้อหาและคำสั่งสอนในหลักศาสนานั้น ได้มีการแบ่งออกเป็นหมวดใหญ่ที่สำคัญอยู่ 3 หมวดที่เรียกกันว่าพระไตรปิฏก อันประกอบด้วย พระสุตันตปิฏก พระอภิธรรม และพระวินัย สำหรับทางด้านวรรณกรรมในพุทธศาสนาส่วนใหญ่แล้ว มักเป็นเรื่องราวที่กล่าวถึงการกล่อมเกลาทางด้านศีลธรรมโน้มน้าวเข้าสู่วิถี ปฏิบัติอันเป็นหนทางสู่การหลุดพ้น ด้วยแบบแผนและโครงสร้างของการประพันธ์ประเภทชาดกต่างๆ ทั้งประเภทชาดกในนิบาต เช่น เวสสันตรชาดก หรือชาดกนอกนิบาต อันได้แก่ สุวรรณหอยสังข์ ก่ำกาดำ แสงเมืองหลงถ้ำ คัทธนกุมาร เป็นต้น นอกจากนี้ก็จะมีวรรณกรรมประเภทวังสปกรณ์[5] อันเป็นเรื่องราวที่กล่าวถึงเหตุการณ์ในบริบทของพุทธศาสนา ทั้งที่เป็นตำนานจากฝ่ายวัดและตำนานจากฝ่ายเมือง ซึ่งได้เชื่อมโยงความสัมพันธ์กันอยู่ระหว่างพุทธจักรและอาณาจักร


    โดยตำนานพระเจ้าเลียบโลก หรือพุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก ก็นับเป็นอีกเรื่องราวหนึ่งของพุทธศาสนาที่ปรากฏอยู่ทางตอนบนในภูมิภาคอุษา คเนย์ ที่ได้กล่าวถึงดินแดนบ้าน เมืองใหญ่น้อยบริเวณนี้เอาไว้อย่างชัดเจน นัยว่าเป็นการสมมติให้พระพุทธองค์เป็นผู้สำรวจยังดินแดนเหล่านี้ พร้อมทั้งเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนมาสู่ผู้คนที่หลากหลายชาติพันธุ์ในแต่ละ ท้อง ถิ่นเป็นต้นว่า ชาวบ้าน ฤาษี ยักษ์ นาคหรือคนป่า และมิลักขะ(ทมิละ/ทมิฬ) ซึ่งได้หมายถึงชนชาวพื้นเมืองอันได้แก่ ลัวะ[6] นอกจากนี้ยังมีชนชาวลื้อ ชาวเขิน ชาวม่าน(พม่า) ตลอดจนถึงชาวห้อ(จีนทางตอนใต้) เป็นต้น





    ดินแดนที่ตำนานพระเจ้าเลียบโลกกล่าวถึงอันเป็นที่ตั้งของแหล่งวัฒนธรรมต่างๆ


    ในแถบทางตอนบนลงมานับจากสิบสองปันนา ฉาน ล้านนา พม่าและมอญ






    โดยหลักฐานทางประวัติศาสตร์พุทธศาสนาพบว่าบริเวณดังกล่าว ได้เป็นดินแดนที่รับและนับถือพุทธศาสนามหายานและเถรวาทมาช้านานแล้ว ดังเช่นหริภุญไชย ซึ่งมีหลักฐานจากเอกสารและทางโบราณคดีรองรับอยู่ หรือแม้แต่ดินแดนที่ปรากฏเหลือเพียงในตำนานอันได้แก่เมืองโยนกนาคพันธุ์ หากแต่ได้มีการผสมผสานเข้ากับคติความเชื่อดั้งเดิมของแต่ละท้องถิ่นหรือแม้ แต่คติความเชื่อที่เนื่องในลัทธิพราหมณ์ จนกลายเป็นพุทธศาสนานิกายพื้นเมืองมาโดยตลอดเกิดมีพัฒนาการของสังคมและ วัฒนธรรมขึ้นมาเป็นบ้านเมือง หรือแม้กระทั่งรัฐขนาดใหญ่อีกระดับหนึ่งศาสนาก็ได้รับการสนับสนุนจากผู้ ปกครองและสังคมนั้น ยังผลให้เกิดนักปราชญ์ทางศาสนาขึ้นมาจากการฝึกฝนตนเองและการศึกษาเล่าเรียน ทั้งจากภายในท้องถิ่นล้านนาและดิน แดนภายนอก ดังเช่น มอญ พม่า และลังกา เป็นต้น


    ซึ่งการเดินทางเพื่อที่เสาะแสวงหาความรู้จากสำนักความคิดและปรัชญาคำสอนทาง พุทธศาสนานั้น จำเป็นต้องมีการเดินทางไปตามเส้นทางสัญจรที่เหล่าพ่อค้าวานิชใช้กันอยู่ ระหว่างบ้านเมืองต่างๆ อันมีเมืองศูนย์กลางสำคัญๆ กระจายกันอยู่โดยตลอดเส้นทาง สำหรับตำนานพระเจ้าเลียบโลกก็ได้อธิบายที่ตั้งของพื้นที่ของอาณาจักรหรือดิน แดนต่างๆ เหล่านั้นเอาไว้อย่างน่าสนใจ ดังเช่น ทางตอนล่างมีอาณาจักร “สวนตาลละโว้” และ “อโยธิยาทวาร” ซึ่งพบว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำสาขา อันเป็นการกล่าวถึงดินแดนที่ตั้งของวัฒนธรรมละโว้ อโยธยา และทวารวดี หากจะจัดช่วงเวลาการกำเนิดและความเสื่อมดับของแต่ละอาณาจักรแล้ว ก็จะได้ความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องทางสังคมวัฒนธรรมได้ดังนี้ คือ ทวารวดี ละโว้ และอโยธยา ตามลำดับ


    สำหรับดินแดนทางตะวันตกแถบอ่าวเบงกอล ในตำนานพระเจ้าเลียบโลกก็ได้กล่าวถึงอาณาจักรมอญ อันเป็นรากฐานที่สำคัญของพัฒนาการอย่างสูงสุดของอาณาจักรพม่าในเวลาต่อมา นอกจากนี้ความรุ่งเรืองในดินแดนทางตอนบนยังได้ปรากฏถึงที่ตั้งของอาณาจักร หริภุญไชยแถบลุ่มแม่น้ำปิงและอาณาจักรโยน หรือโยนกแถบลุ่มแม่น้ำโขง จากนั้นขึ้นไปทางเหนือเป็นที่ตั้งของชาวเขินหรือไตขืนแห่งเขมรัฐเชียงตุง อาณาจักรไตลื้อสิบสองปันนา และอาณาจักรหนองแสอันเป็นถิ่นอาศัยของชนชาติห้อบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของจีน


    เนื้อหาอย่างกว้างๆ ของตำนานเรื่องนี้ถึงแม้ว่าจะเป็นเอกสารวรรณกรรมทางพุทธศาสนา แต่ก็แสดงถึงเรื่องราวอันเกี่ยวข้องกับทางโลกทั้งทางด้านการค้า อาชีพ และเทคนิควิทยาต่างๆ ทั้งการจัดการเรื่องระบบน้ำ ตลอดจนถึงการเพาะปลูกได้อย่างน่าสนใจยิ่ง จึงนับว่าเป็นเอกสารวรรณกรรมศาสนา ที่เข้าถึงสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์วัฒนธรรมของท้องถิ่นโดยเข้าใจว่าผู้ ประพันธ์ได้มีความรู้และการรวบรวมข้อมูลจากทั้งเอกสารเก่าและจากการสำรวจ ด้วยการเดิน ทางจาริกไปเผยแผ่พระศาสนา ตลอดจนการไปนมัสการบูชาพระธาตุและพระบาทแห่งสำคัญตามบ้านเมืองและเส้นทางที่ ตนเองได้มีโอกาสเดินทางสักการะ โดยมีเค้าโครงเรื่องราวอันได้รับอิทธิพลแบบแผนลังกาคติที่ว่าด้วยเรื่องราว พระพุทธองค์ครั้งสมัยพุทธกาล ที่ได้เสด็จจากชมพูทวีปมาเผยแผ่พระศาสนายังเกาะลังกา ดังปรากฏในวรรณกรรมเก่าแก่ของลังกา ดังเช่น คัมภีร์ทีปวงส์ และมหาวังสะ[7] เป็นต้น


    อาจกล่าวได้ว่าตำนานพระเจ้าเลียบโลกมีความหมายและความสำคัญถึงการอธิบาย สังคม วัฒนธรรมอุษาคเนย์ภายใต้กรอบแนวความคิดและความเชื่อทางพุทธศาสนา โดยพระเถระนัก ปราชญ์ในท้องถิ่น ที่มีความรู้ในรอบด้านตลอดจนความชำนาญบนเส้นทางโบราณและความแตกฉานทางด้าน ภาษาบาลี ที่เป็นผู้ประพันธ์วรรณกรรมพุทธศาสนากับความเป็นท้องถิ่นขึ้นมา โดยได้ส่งอิทธิพลแนวความคิดดังกล่าวนี้ไปยังพื้นที่ต่างๆ เป็นบริเวณกว้าง จึงนับว่าตำนานพระเจ้าเลียบโลก ได้ทำหน้าที่และมีบทบาทในการเรียงร้อยและเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของเหล่า บรรดาผู้คนสังคมและวัฒนธรรม ที่มีความหลากหลายแถบนี้เข้าด้วยกันอย่างเป็นปึกแผ่นและมั่นคงภายใต้ความ เชื่อและความศรัทธาเดียวกัน




    พระเจ้าเลียบโลก : ตำนานพระธาตุและพระบาทวรรณกรรมสะท้อนพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์


    องค์ความรู้ในตำนานเรื่องพระเจ้าเลียบโลก ดูจะมีความเกี่ยวเนื่องกันอยู่กับตำนานพระธาตุและพระบาทแห่งต่างๆโดยเฉพาะใน ดินแดนล้านนาและพื้นที่ใกล้เคียงรายรอบ ซึ่งความสัม พันธ์ระหว่างตำนานดังกล่าว นับได้ว่าเป็นสิ่งแสดงถึงร่อยรอยความเกี่ยวเนื่องหรือโยงยึดเข้าด้วยกัน ระหว่างพื้นที่กับความคิดหรือโลกทัศน์ของผู้คนโดยผ่านตัวตำนานเหล่านี้


    ถ้าหากนำเนื้อหาของตำนานพระธาตุและพระบาท มาเรียงร้อยประกอบกันเป็นเรื่องราว เดียวกัน เราจะพบว่าตำนานได้ให้ภาพของการเสด็จมาเผยแผ่พระศาสนาโดยองค์สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้าเช่นเดียวกันกับเรื่องราวในตำนานพระเจ้าเลียบโลก ซึ่งโครงสร้างของเนื้อหาที่ต่างก็ได้รับอิทธิพลมาจากแบบแผนลังกาคติ หากจะแตกต่างกันไปบ้างในส่วนที่เป็นรายละเอียด ของตำนานแต่ละแห่งและแต่ละสำนวน นับจากเรื่องราวการเสด็จมาถึงยังบ้านเมืองต่างๆ แล้วได้มีการพยากรณ์ถึงอนาคตกาลของพื้นที่แห่งนั้น ว่าจะได้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธองค์ ภายหลังจากที่ทรงเสด็จสู่ปรินิพพานไปแล้วและจะมีความรุ่งเรืองด้วยพระศาสนา โดยทรงมอบพระเกศาธาตุเอาไว้ก่อนให้กับชาวพื้นเมืองที่พบในเวลานั้นซึ่งเป็น ทั้งยักษ์ นาค มิลักขะ ทมิละ ฯลฯ เป็นผู้ดูแลรักษาจนกว่าจะมีบุคคลสำคัญมาบูรณะและอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ส่วนต่างๆ มาประดิษฐานเพิ่มเติมต่อไปในภายหลัง ตำนานก็มักจะกล่าวอ้างถึงพระยาอโศกธรรมิกราชจะเป็นผู้มาสถาปนาพระธาตุแห่ง นั้นๆ อันอาจหมายถึงกษัตริย์ผู้ที่เป็นองค์อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาเปรียบประดุจดัง เช่นพระเจ้าอโศกแห่งชมพูทวีปนั่นเอง


    ถ้าหากตำนานมีการเขียนขึ้นจากหลักฐานและประวัติการแรกสร้าง ก็จะระบุนามของผู้ที่สถาปนาองค์พระธาตุนั้นโดยตรงดังเช่น พระธาตุดอยสุเทพในตำนานมูลศาสนาที่ระบุถึงการได้มาในรัชสมัยของพญากือนา โดยพระสุมนเถระแห่งศรีสัชนาลัยสุโขทัยเป็นผู้อัญเชิญขึ้นมา แต่สำหรับเอกสารตำนานพระธาตุดอยสุเทพ ที่มีการประพันธ์ตามขนบของตำนานพระธาตุและพระบาทตามอย่างลังกาคติ ก็จะได้มีโครงสร้างที่กล่าวถึงครั้งสมัยพุทธกาลตลอดจนถึงการพยา กรณ์และการประดิษฐานดังเช่นตำนานพระธาตุองค์อื่นๆ แล้วจึงค่อยมาเชื่อมเรื่องราวเหตุการณ์ครั้งสมัยพญากือนาทรงสถาปนาพระธาตุ ดอยสุเทพเข้ามาอีกส่วนหนึ่ง[8]


    สำหรับพื้นที่แห่งใดที่ในอนาคตข้างหน้า ไม่อาจจะมีความรุ่งเรืองขึ้นถึงระดับเป็นศูนย์ กลางของบ้านเมืองได้ ก็จะทรงประทานรอยพระบาทเอาไว้ให้ผู้คนแถบนั้นได้ทำการสักการะ บูชา ทั้งนี้เนื้อหาของตำนานยังกล่าวถึงรายละเอียดของการปฏิบัติบูชาตลอดจนระบุ ถึงผู้มีหน้าที่ดูแลรักษาซึ่งก็ได้แก่ เทวดา กุมภัณฑ์ นาค ตลอดจนเครื่องป้องกันด้วยอำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่เรียกว่า “ยนต์” โดยตำนานได้พรรณนาถึงรูปแบบต่างๆ เช่นว่า ยนต์น้ำ ยนต์ไฟ ยนต์จักร[9] เป็นต้น


    ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เป็นการให้ความสำคัญต่อพื้นที่อันจะเป็นเสมือนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ โดยมีพระธาตุและพระบาทเป็นศาสนสถานสำคัญแสดงอยู่ทั่วทั้งดินแดน ซึ่งมีวิถีปฏิบัติที่คล้ายคลึงกันของในแต่ละท้องถิ่น ดังจะเห็นได้จากการกำหนดเวลาจัดงานบุญประเพณีประจำปีในการสักการะบูชา นับจากภายหลังการออกพรรษาจนกระทั่งเข้าสู่เทศกาลเข้าพรรษาอีกครั้งหนึ่งที่ เรารู้จักกันดีว่าเป็นงาน “ประเพณีขึ้นธาตุ” ในช่วงเดือนแปด(เหนือ) หรือหก(ใต้)[10] หรือช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี ที่สังคมวัฒนธรรมล้านนามีการกำหนดจัดงานบุญประเพณีสรงน้ำพระธาตุองค์สำคัญใน ท้องถิ่น เช่น พระธาตุหริภุญไชย และพระธาตุดอยสุเทพ[11] เป็นต้น


    ซึ่งลักษณะดังกล่าวก็ได้ถือปฏิบัติกันอยู่ทั่วไปในสังคมวัฒนธรรมทั้งมอญ พม่า ล้านนา ฉาน สิบสองปันนา และล้านช้าง ดังจะเห็นได้ว่าศาสนสถานในดินแดนดังกล่าวมานี้ให้ความ สำคัญเป็นพิเศษต่อองค์พระธาตุและพระบาทอยู่เสมอ โดยล้วนแต่มีขนบธรรมเนียมประเพณี พิธีกรรมการปฏิบัติมารองรับอยู่ทั้งสิ้น ยังผลให้วัฒนธรรมในคติการบูชาพระธาตุและพระบาทของท้องถิ่นดังกล่าวมีการสืบ ทอดนับแต่อดีตจวบจนกระทั่งปัจจุบันนี้


    อาจกล่าวได้ว่าพื้นที่อันเป็นที่ประดิษฐานพระธาตุและพระบาทนั้น เสมือนดั่งเป็นดิน แดนศักดิ์สิทธิ์ภายใต้โลกทัศน์หรือทัศนะในการมอง “โลก” ในชุดเดียวกันของบริบททางพุทธศาสนา อันเกิดจากแนวความคิดที่สืบเนื่องมาจากลังกาคตินับตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 - 21 อันเป็นยุครุ่งเรืองทางด้านพระพุทธศาสนาในเวลานั้น โดยอุดมการณ์ดังกล่าวได้ใช้ความศรัทธา ในพระพุทธศาสนา ให้เกิดมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดภายใต้ความแตกต่างทางชาติพันธุ์หรือ แม้แต่ความคล้ายคลึงกันของสังคมวัฒนธรรม ถึงแม้ว่าในเวลานั้นขอบเขตของอำนาจการปกครองไม่อาจสามารถเป็นสิ่งที่มองเห็น อย่างชัดเจนได้ หากแต่ขอบเขตของความศรัทธานั้นกลับขยายแผ่ไพศาลออกไป ด้วยการยึดโยงด้วยระบบคติความเชื่อและความศรัทธาเดียวกันของทั้งศาสนถานที่ สำคัญ ตลอดจนถึงตำนานพระธาตุและพระบาทอันเรียงร้อยกันอยู่เป็นเครือข่ายทั่วทั้ง ดินแดนแถบนี้


    มิติของกรอบคิดเรื่องภูมิภาคและท้องถิ่นศึกษา


    การกล่าวถึงพื้นที่ต่างๆ ของตำนานพระเจ้าเลียบโลก หากจะมองในมิติของความศรัทธา ก็มีลักษณะที่มีความเป็นไปได้ด้วยเหตุที่พระพุทธเจ้าเป็นบุคคลพิเศษ สามารถจะแสดงพุทธานุภาพด้วยปาฏิหาริย์ต่างๆ เพื่อจุดมุ่งหมายในการจะสร้างความศรัทธาโน้มน้าวและการเผยแผ่คำ สั่งสอนแก่สรรพสัตว์ในโลกนี้แตกต่างกัน โดยจะเลือกที่จะมีการแสดงพุทธานุภาพในลักษณะต่างๆ ตามแต่จะทรงเล็งเห็นว่าบุคคลที่จะสั่งสอนนั้น มีพื้นฐานทักษะการรับรู้ในพุทธปรัชญาและคำสั่งสอนได้มากน้อยแค่ไหนดังที่ได้ ทรงเปรียบเสมือนดอกบัวสี่เหล่า ดังนั้นการแสดงพระธรรมคำสั่งสอนจึงมีหลายลักษณะ ซึ่งก็มักจะปรากฏอยู่เป็นวรรณกรรมหรือคัมภีร์ต่างๆ ในพุทธศาสนาที่มีอยู่หลายระดับนับตั้งแต่ง่ายไปถึงยากและละเอียดซับซ้อน


    ตรงจุดนี้นักปราชญ์ผู้เขียนวรรณกรรมทางศาสนา จึงเล็งเห็นความสนใจของผู้คนในท้อง ถิ่นมีต่อการที่จะรับรู้และเข้าใจถึงความเป็น “พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์” ที่กระจายกันเป็นภูมิภาคอันกว้าง ไกลหากแต่ได้โยงยึดไว้ด้วยความเชื่อและความศรัทธาเดียวกัน ดังนั้นวรรณกรรมชิ้นนี้จึงเกิด ขึ้นบนฐานการรับรู้และความเข้าใจจากทั้งผู้สร้างและผู้รับ ซึ่งก็หมายถึงผู้ประพันธ์กับผู้เลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนาที่ขยายแนวความคิด ดังกล่าวนี้เป็นบริเวณกว้าง ถึงแม้ว่าตำนานจะกล่าว ถึงดินแดนบริเวณพม่า มอญ ฉาน ล้านนา สิบสองปันนา และยูนนานทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน แต่ในรายละเอียดแล้วตำนานก็ยังได้อธิบายถึงสภาพท้องถิ่นต่างๆ ที่เรื่องราวดำเนินอยู่อย่างค่อนข้างชัดเจน ทั้งสภาพที่ตั้งบ้านเมือง องค์ประกอบอื่นๆ อันเป็นที่มาของชื่อบ้านนามเมืองต่างๆ นอกจากนี้ยังกล่าวถึงวิถีชีวิต เศรษฐกิจการค้าและการทำมาหากินด้วยเทคนิควิทยาที่มีปรากฏอยู่เป็นวัฒนธรรม ทั้งมอญ พม่า ล้านนา ฉาน และสิบสองปันนา เป็นต้น


    สำหรับพื้นที่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง อันเป็นที่ตั้งของวัฒนธรรมล้านช้างและอีกทั้งพื้น ที่แถบภาคอีสานของไทย ถึงแม้ว่าจะมีปรากฏถึงเอกสารตำนานพระเจ้าเลียบโลกเช่นเดียวกับทางฝ่ายล้านนา ดูเหมือนว่าตัวเอกสารตำนานพระเจ้าเลียบโลกที่เป็นลายลักษณ์กับท้องถิ่นแถบ นั้นไม่ได้มีความสัมพันธ์กันเท่าใดนัก แต่ด้วยการรับหรือการแพร่กระจายของงานวรรณกรรมดังกล่าวโดยผ่านการเผยแผ่พระ ศาสนาในก่อนหน้านี้ ทำให้เรื่องราวตำนานพระเจ้าเลียบโลกถูกนำไปถ่ายทอดในต่างถิ่นเหล่านั้นด้วย อันเป็นที่รู้จักกันในเรื่องชื่อของ ตำนานพระเจ้าเลียบโลก ลำพระเจ้าเลียบโลก และลำพระเจ้าเยี่ยมโลก ซึ่งพบว่าเอกสารตำนานปรากฏแพร่กระจายอยู่ในพื้นที่ทั่วไปแถบจังหวัดขอนแก่น อุบลราชธานี และมหาสารคาม เป็นต้น


    โดยแท้ที่จริงแล้วเอกสารตำนานหรือเรื่องราวปรัมปรา อันมีโครงสร้างคล้ายกันกับตำ นานพระเจ้าเลียบโลกของฝ่ายล้านนา หากแต่ได้กล่าวถึงท้องถิ่นแถบสองฟากฝั่งของแม่น้ำโขงนั้นมีปรากฏเป็นเอกสาร ลายลักษณ์ที่เรารู้จักกันดีก็คือ ตำนานพระธาตุพนม(อุรังคนิทาน) หรือตำนานอุรังคธาตุนั่นเอง ซึ่งถือเป็นวรรณกรรมที่ได้รับอิทธิพลสืบเนื่องมาจากทางฝ่ายล้านนาเมื่อราว พุทธศตวรรษที่ 21 จากความสัมพันธ์ทั้งทางประวัติศาสตร์ ศาสนา เครือญาติ ชาติพันธุ์ การเมืองการปกครองและเศรษฐกิจ ประการสำคัญคือการศาสนาในช่วงรัชสมัยพระเมืองแก้ว(พ.ศ.2038 -2068) ที่พุทธศาสนาถือว่าเป็นยุคเจริญรุ่งเรืองสูงสุด จนกระทั่งถึงรัชสมัยพระเจ้าไชยเชษฐา(พ.ศ. 2091-2115) ซึ่งเป็นผู้ที่สืบสายเชื้อวงศ์จากทั้งระหว่างเมืองเชียงใหม่และหลวงพระบางใน เวลานั้น โดยได้เป็นบุคคลสำคัญที่นำพามาสู่ความสัมพันธ์ระหว่างสองอาณาจักรที่ชัดเจน ที่สุดเท่าที่มีปรากฏอยู่ในประวัติศาสตร์ล้านนาและล้านช้าง


    สำหรับตัวตำนานอุรังคธาตุ หรืออุรังคนิทานเองนั้น เราสามารถนำมาใช้ทำการศึกษาเปรียบเทียบในส่วนของโครงสร้างเนื้อหาและการ กำหนดอายุของตัวตำนานเองได้ กล่าวคือเนื้อหาโครงสร้างหลักของเรื่องนั้นมีแบบแผนเช่นเดียวกันกับตำนานพระ เจ้าเลียบโลก หากแต่รายละเอียดที่มีความเป็นท้องถิ่นได้มีการกล่าวถึงความร่วมมือของพระยา ทั้ง 5 เมือง ได้แก่ พระยาสุวรรณภิงคาร เมืองหนองหานหลวง พระยาจุลนีพรหมทัต เมืองแกวสิบสองจุไท พระยาคำแดง เมืองหนองหานน้อย พระยาอินทปัต เมืองเขมร และพระยานันทเสน เมืองศรีโคตรบูร[12]ที่มาช่วยกันสร้างองค์พระธาตุพนมแห่งนี้ขึ้นมา แท้ที่จริงแล้วแสดงถึงการเป็นตำนานซึ่งเขียนขึ้นภายหลัง ซึ่งได้กำหนดเอาศาสนสถานในคติพราหมณ์ - ฮินดูโบราณของวัฒนธรรมจามหรือขอมมาแต่เดิม โดยปรับเปลี่ยนมาเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาเถรวาทด้วยลักษณะของพระธาตุเจดีย์ อันเป็นแบบหรือรูปทรงของพระธาตุพนมในราวพุทธศตวรรษที่ 21 ที่กลายเป็นเอกลักษณ์ของงานสถาปัตยกรรมแถบลุ่มแม่น้ำโขง


    จะเห็นได้ว่า ตำนานให้ภาพความสัมพันธ์ของผู้นำจากดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำโขงทั้ง 5 เมือง ซึ่งสองเมืองฝั่งขวาของแม่น้ำโขงก็คือ เมืองหนองหานน้อยกับเมืองหนองหานหลวงเป็นพื้นที่บริเวณอุดรธานีและสกลนคร ส่วนอีกสามเมืองนั้นประกอบด้วยเมืองแกวสิบสองจุไทในดินแดนเวียดนาม เมืองศรีโคตรบูรหรือมรุกขนครในดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง และเมืองอินทปัตในดินแดนเขมร โดยล้วนแสดงถึงการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์เหนือดินแดนพุทธศาสนา อันมีการกำหนดให้พระธาตุพนมประดิษฐานอยู่ ณ ภูกำพร้า ซึ่งถือว่าเป็นศูนย์กลางระหว่างรอยต่อระหว่างวัฒนธรรมและดินแดนต่างๆ ลุ่มแม่น้ำโขงเหล่านั้น ซึ่งผู้เขียนตำนานสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในมิติต่างๆ ของท้องถิ่นเข้าไว้ด้วยกันอย่างน่าสนใจ ทำให้เกิดเป็นภาพความสัมพันธ์ของสังคมวัฒนธรรมขนาดใหญ่ครอบคลุมภูมิภาคกว้าง ไกลในบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง อีกทั้งรายละเอียดของตำนานยังได้มีการโยงยึดลงไปสู่ความเป็นท้องถิ่นใน บริเวณนั้นอีกมากมาย ดังจะพบว่ามีตำนานพระธาตุและพระบาทแห่งสำคัญแถบนั้นต่างก็ได้อ้างถึงตำ นานแม่บทก็คือ อุรังคนิทาน[13]เอาไว้เฉกเช่นเดียวกันกับที่ตำนานทางฝ่ายล้านนามักจะเชื่อม โยงถึง “ตำนานพระเจ้าเลียบโลก” อยู่เสมอนั่นเอง




    บทส่งท้าย


    อาจกล่าวได้ว่าทั้งตำนานพระเจ้าเลียบโลก หรือแม้แต่ตำนานอุรังคนิทาน ต่างก็เปรียบ เสมือนวรรณกรรมที่เกิดขึ้นจากกรอบความคิดเรื่องศรัทธาที่ผสานกับเรื่องราว ของท้องถิ่น ที่ได้เสนอภาพของความสัมพันธ์ทั้งในระดับภูมิภาคและในระดับท้องถิ่น โดยทั้งนี้เราจำเป็นจะต้องทำหน้าที่เป็นผู้อ่านตำนานประกอบพื้นที่ทางกายภาพ รวมถึงการศึกษาค้นคว้าถึงพัฒนาการทางสังคมวัฒนธรรมของแต่ละภูมิภาคและท้อง ถิ่นควบคู่กันไป จึงจะสามารถมองเห็นภาพของบท บาทและความสำคัญของตำนาน ที่นอกเหนือจะได้ทำหน้าที่โน้มน้าวความเลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนาเหนืออาณา บริเวณอุษาคเนย์แล้ว ตำนานพระเจ้าเลียบโลกยังได้สะท้อนโลกทัศน์หรือการมองพื้นที่ของโลกในตำนาน กับโลกที่ปรากฏมองเห็นด้วยสายตา ที่ผสานกันเป็นหนึ่งเดียวด้วยมิติของเวลาทั้งในห้วงอดีต ปัจจุบัน และอนาคตกาลได้อย่างน่าอัศจรรย์ อันเกิดเป็นภูมิความรู้และปัญญาที่ปราชญ์ท้องถิ่น ได้พินิจถึงพื้นที่ด้วยความเข้าใจอย่างลึกซึ้งผ่านแกนของความศรัทธาเดียวกัน ในภูมิภาคแห่งนี้ ให้สมกับจุดมุ่งหมายที่จะได้เป็นพื้นที่ศักดิ์แห่งพุทธจักรซึ่งจะได้ยืนยาว จวบจนกระทั่งครบวาระถึงห้าพันปีในศาสนาของพระศาสดาสมณโคดมนั่นเอง






    บรรณานุกรม


    กตัญญู ชูชื่น. “พระเจ้าเลียบโลกฉบับล้านนา : บทวิเคราะห์” วิทยานิพนธ์ปริญญา


    มหาบัณฑิตสาขาวิชาจารึกภาษาไทย ภาควิชาภาษาตะวันออก


    มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2525.


    ตรีศิลป์ บุญขจร. “พุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก : เรื่องเล่าชนเผ่าไท” วารสารไทย


    ศึกษา. ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 กุมภาพันธ์ – กรกฏาคม 2548.


    เธียรชาย อักษรดิษฐ์. “ชุธาตุ : บทบาทและความหมายของพระธาตุในอนุภูมิภาค


    อุษาคเนย์ กรณีศึกษาความเชื่อเรื่องพระธาตุปีเกิดในล้านนา”


    วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภูมิภาคศึกษา


    บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2545.


    บาลี พุทธรักษา. รายงานการวิจัย มหาวังสมาลินีวิลาสินี : การสอบชำระเชิงวิเคราะห์


    วรรณกรรมพุทธศาสนาภาษาบาลีจากเอกสารตัวเขียนและแปลต้นฉบับ


    ภาษาไทย. สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2544.


    รัตนาพร เศรษฐกุล. ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมหลากหลายชาติพันธุ์ในแอ่ง


    เชียงใหม่-ลำพูน. เอกสารประกอบการสัมมนาเสนอผลงานประจำปี


    ทุนเมธีวิจัยอาวุโส สกว. และทุนสนับสนุนจากฝ่ายชุมชนและสังคม


    สกว. วันที่ 29 กันยายน – 1 ตุลาคม 2547 ณ โรงแรมอิมพีเรียล


    เชียงใหม่รีสอร์ท จ.เชียงใหม่.


    ศิราพร ณ ถลาง. ทฤษฎีคติชนวิทยา วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตำนาน-นิทานพื้นบ้าน.


    โครงการเผยแพร่เอกสารทางวิชาการ คณะอักษรศาสตร์


    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548.


    หนังสือตำนานพระพุทธเจ้าเลียบโลก. เชียงใหม่ : สมพรการพิมพ์, 2541.






    --------------------------------------------------------------------------------


    * บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิจัยเรื่อง “ตำนานพระเจ้าเลียบโลก : การศึกษาพื้นที่ทางสังคมและวัฒนธรรมล้านนา” ในกรอบของโครงการวิจัยเขตเศรษฐกิจวัฒนธรรมภาคเหนือตอนบน ทุนวิจัยเมธีวิจัยอาวุโส สกว. และทุนสนับสนุนจากฝ่ายชุมชนและสังคม สกว. ประจำปีงบประมาณ 2548 ผู้เขียนขอขอบคุณ คุณพรพิไล เลิศวิชา หัวหน้าโครงการวิจัยเขตเศรษฐกิจวัฒนธรรมภาคเหนือตอนบน ที่กรุณาให้คำชี้แนะและให้การสนับสนุนในการศึกษาวิจัยเรื่องดังกล่าวนี้


    ** อาจารย์ประจำภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


    [1] สามารถดูการอธิบายความหมายของโครงสร้างเพิ่มเติมได้ในงานของ ศิราพร ณ ถลาง เรื่อง “บทนำ : การศึกษานิทานเชิงโครงสร้าง” ไวยากรณ์ของนิทาน : การศึกษานิทานเชิงโครงสร้าง. ศิราพร ณ ถลาง, บรรณาธิการ. ศูนย์คติชนวิทยา และโครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544, หน้า 1-2.


    [2] ดูใน ศิราพร ณ ถลาง เรื่อง “ไวยากรณ์ของนิทาน” ทฤษฏฎีคติชนวิทยา : วิธีวิทยาในกสนวิเคราะห์ตำนาน-นิทานพื้นบ้าน. ศิราพร ณ ถลาง, โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548, หน้า 175.


    [3] ในท้องถิ่นหลายๆ แห่งในภาคเหนือ มักมีตำนานปรัมปรา หรือมุขปาฐะ ที่เล่าถึงสภาพที่ตั้งของชุมชน ดอย แหล่งน้ำ ต่างๆ โดยอ้างอิงถึงการเสด็จมาของพระพุทธเจ้าแล้วกลายเป็นที่มาของชื่อสถานที่ ต่างๆ ในท้องถิ่นนั้นๆ เช่น ตำนาน ดอยยักษ์นอนในพื้นที่แจ้ซ้อนและเมืองปาน จ. ลำปาง โดยมีโครงเรื่องคล้ายกันกับตำนานปู่แสะย่าแสะของเมืองเชียงใหม่ที่มีการประ ทะประสานอำนาจผี หรือยักษ์ กับพุทธานุภาพของพระพุทธเจ้า


    [4] ดูใน ศิราพร ณ ถลาง เรื่องเดิม, หน้า 298-312.


    [5] บาลี พุทธรักษา อธิบายว่า หนังสือว่าด้วยวงส์ ความหมายโดยตรงมี 3 ประการคือ


    1. เรื่องพงศาวดาร ซึ่งมีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์มาทรกบ้าง เช่น ทีปวงส์ มหาวงส์ จูฬวงส์ ฯลฯ


    2. เรื่องตำนานปูชนียสถานและปูชนียวัตถุ เช่น มหาโพธิวงส์ ตำนานต้นมหาโพธิ์เมืองอนุราชปุระ และหรือ ทาฐาวงส์ ตำนานพระทันตธาตุ เป็นต้น


    3. เรื่องในอนาคต โดยเล่าถึงอนาคตพุทธะที่คาดว่าจะมาเกิดในอนาคต ซึ่งมีเริ่องเดียวคือ อนาคตวงส์


    แม้ว่าคัมภีร์ที่ไม่มีคำว่า วังสะ หรือ วงส์ อยู่ในชื่อเรื่อง แต่สาระเนื้อหาก็แสดงประวัติเหตุการณ์ทางศาสนาและบ้านเมือง รวมทั้งประวัติพระพุทธรูปประวัติการเขียนคัมภีร์ และหรือ บุคคลสำคัญทางศาสนาคล้ายกับงานกลุ่มแรก อาทิ คัมภีร์ทันตธาตุนิทาน สิหิงคนิทาน ชินกาลมาลีปกรณ์ มูลศาสนา สัทธัมมสังคหะ พุทธโฆสนิทานเป็นต้น


    [6] รัตนาพร เศรษฐกุล อธิบายถึง ประวัติศาสตร์ของลัวะผ่านเนื้อหาของตำนานดึกดำบรรพ์และหลักฐานทางโบราณคดี โดยกระจายอยู่เป็นบริเวณกว้างในแอ่งเชียงใหม่-ลำพูน นอกจากที่จะปรากฏถึงการเป็นชนพื้นเมืองที่จัดอยู่ในกลุ่มตระกูลภาษามอญเขมร ที่มีถิ่นฐานตั้งแต่ทางตอนบนของแม่น้ำโขงลงมาแล้ว


    [7] โปรดดูใน บาลี พุทธรักษา. รายงานการวิจัย “มหาวังสมาลินีวิลาสินี : การสอบชำระเชิงวิเคราะห์วรรณกรรมพุทธศาสนาภาษาบาลีจากเอกสารตัวเขียนและแปล ต้นฉบับเป็นภาษาไทย” สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2544.


    [8] โปรดดูเพิ่มใน เธียรชาย อักษรดิษฐ์. “ชุธาตุ : บทบาทและความหมายของพระธาตุในอนุภูมิภาคอุษาคเนย์ กรณีศึกษาความเชื่อเรื่องพระธาตุปีเกิดในล้านนา” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภูมิภาคศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2545.


    [9] “ยนต์น้ำ” มีลักษณะของการใช้น้ำกรดเป็นเครื่องป้องกันผู้ที่บุกรุกเข้าเขตต้องห้าม ส่วน “ยนต์ไฟ” มีลักษณะของการกำหนดให้เพลิงและความร้อนเป็นเครื่องป้องกันผู้ที่ล่วงล้ำ และ “ยนต์จักร” เป็นลักษณะของการใช้อาวุธและสิ่งมีคมเป็นกลไกโดยจะหมุนอยู่ตลอดเวลาด้วย อำนาจพิเศษป้องกันสกัดผู้ที่ละเมิดเข้าสู่สถานที่สำคัญและศักดิ์สิทธิ์ได้ โดยง่าย


    [10] การนับเดือนทางจันทรคติของทางฝ่ายล้านนา(เหนือ)และภาคกลาง(ใต้) โดยทางเหนือจะนับไวกว่าและมีการเหลื่อมกันอยู่ 2 เดือน


    [11] ส่วนพระธาตุองค์อื่นๆ มีการกำหนดช่วงงานบุญนมัสการพระธาตุในวันเพ็ญนับตั้งแต่เดือนยี่(เหนือ) ภายหลังจากการออกพรรษาจนถึงเดือนแปด(เหนือ) และเดือนเก้า(เหนือ) หลังจากนั้นจะถือกันว่าพระธาตุจะได้จำพรรษา 3 เดือนเช่นเดียวกับพระสงฆ์ตามวัดวาอาราม และ ผีอารักษ์ในล้านนาที่จะได้มีการจำพรรษา ณ ถ้ำดอยหลวงเชียงดาว โดยปกติแล้วช่วงเวลาการเข้าพรรษาจะมีอยู่ 3 เดือน คือ เดือนสิบ(เหนือ)ถึงเดือนอ้าย(เหนือ) หรือเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม แต่สำหรับพระธาตุจอมทอง ซึ่งเป็นพระธาตุที่มีประเพณีปฏิบัติพิเศษจะต้องเข้าพรรษานานถึง 9 เดือน นับตั้งแต่เดือนสิบ(เหนือ)ถึงเดือนสี่(เหนือ) ที่เริ่มจากเดือนกรกฎาคมถึงราวเดือนกุมภาพันธ์หรือต้นเดือนมีนาคมขึ้นอยู่ กับปฏิทินทางจันทรคติ


    [12] ดูเพิ่มเติมใน “พระธาตุในวัฒนธรรมล้านช้างพุทธศตวรรษที่ 19-24” เธียรชาย อักษรดิษฐ์. “ชุธาตุ : บทบาทและความหมายของพระธาตุในอนุภูมิภาคอุษาคเนย์ กรณีศึกษาความเชื่อเรื่องพระธาตุปีเกิดในล้านนา” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภูมิภาคศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2545, หน้า 65 – 86.


    [13] ตำนานอุรังคธาตุ หรือ อุรังคนิทาน เป็นเสมือนแม่บทของวรรณกรรมตำนานพระธาตุและพระบาทในล้านช้างและแถบลุ่มแม่ น้ำโขงทั้งสองฟากฝั่ง ดังจะพบว่ามีการอ้างอิงในเรื่องราวของตำนานเรื่องนี้อยู่ อาทิเช่น ตำนานพระธาตุพังพวน ตำนานพระธาตุภูเพ็ก ตำนานพระธาตุนารายณ์เจงเวง ตำนานพระธาตุเชิงชุม ตำนานพระธาตุตุมไก่ ตำนานพระธาตุเขี้ยวฝาง ตำนานพระธาตุเรณูนคร ตำนานพระธาตุเขาหลวง ตำนานพระธาตุขามแก่น ตำนานพระพุทธบาทบัวบก ตำนานพระพุทธบาทบัวบาน ตำนานพระพุทธบาทคูภูเวียง ตำนานพระพุทธบาทภูควายเงิน ตำนานพระพุทธบาทเวินปลา ในพื้นที่ภาคอีสานตอนบน นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันอยู่ในเรื่องราวของตำนานพระธาตุหลวง เวียงจันทร์ ตำนานพระธาตุศรีโคตรบอง ตำนานพระธาตุอิงฮัง ในเขตฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง อีกด้วย




    [/SIZE][/FONT]

     

แชร์หน้านี้

Loading...