เรื่องเด่น "จบของการทำบุญ อธิษฐานรับพร " หลวงปู่ดู่

ในห้อง 'หลวงปู่ดู่ และ หลวงตาม้า' ตั้งกระทู้โดย ษิตา, 19 พฤศจิกายน 2017.

  1. ษิตา

    ษิตา ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    10,209
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,230
    ค่าพลัง:
    +34,711
    maxresdefault (1).jpg

    " จบของการทำบุญ อธิษฐานรับพร "


    ก่อนที่ท่านมีศรัทธาทั้งหลายจะถวายของเเก่ภิกษุสงฆ์ มักจะมีการอธิษฐานหรือที่เรียกว่าจบของ บางคนจบนานบางคนจบช้า หลวงปู่ท่านให้ข้อคิดว่า ก่อนที่เราจะถวาย ให้จบมาเสียก่อนจากบ้าน เนื่องจากพอมาถึงวัด มักจะจบไม่ได้ เรื่องคนมากมายเดินไปเดินมาจะหาสมาธิจากไหน เราจะทำอะไรก็ตามอธิษฐานไว้เลยเวลาถวาย จะได้ไม่ช้าเสียเวลาคนอื่นเขาอีกด้วย บางคนก็ขอไม่รู้จบให้ตัวเองไม่พอให้ลูก ให้หลานจิตเลยส่ายหาบุญไม่ได้
    การที่หลวงปู่ให้จบก่อนนั้น มีความประสงค์ให้ตั้งเจตนา ให้ดีบุญที่ได้รับจะมีผลมากญาติโยมจึงกราบเรียนถามหลวงปู่ ว่าควรอธิษฐานอย่างไร หลวงพ่อตอบว่า " อธิษฐานให้พ้นทุกข์ หรือขอให้พบเเต่ความดีตลอดไปจนพ้นทุกข์ ถ้าเป็นภาษาบาลีก็คือ สุทินนัง วะตะเม ทานัง อาสวะขะยาวะหัง นิพพานัง ปัจจะโย โหตุ คนเราจะพ้นทุกข์ได้ ต้องพบกับความดี มีความสุขใช่ไหม ไม่ต้องอธิษฐานให้ยืดยาวหรอก "
    เมื่อทำบุญเเล้วจะมีการขอพรจากพระ มีการกรวดน้ำ บางทีไม่ได้เตรียมไว้ตัองวิ่งหากันวุ่นวาย หลวงปู่บอกว่า " ใช้น้ำใจ น้ำจิต ของเรากรวดก็ได้เขาเรียก กรวดเเห้ง ไม่ต้องกรวดเปียก เรื่องการกรวดเปียกเขาเริ่มจากสมัยพระเจ้าพิมพิสาร เมื่อถวายของพระพุทธเจ้าเเล้วท่านกรวดน้ำ ให้เปรต ญาติพี่น้องที่มาร้องขอบุญจากท่าน ตอนเเรกท่านไม่รู้เลยทูลถามพระพุทธเจ้า ที่เขาเรียก ทุสะนะโส คือหัวใจเปรตนั้นเเหละ " หลวงปู่ท่านตอบเพื่อให้คลายกังวลสำหรับผู้ที่ไม่ค่อยมี เวลากรวดน้ำเช่น คนที่รีบใส่บาตรก่อนจะไปทำงานเป็นต้น
    ส่วนการอธิษฐาน การรับพรนั้นท่านเเนะนำว่า " ตั้งจิตว่า ข้าพเจ้าขอรับพรที่ได้นี้ ขอให้ติดตัวข้าพเจ้าตลอดไปในชาตินี้ชาติหน้า " เเล้วก็อธิษฐานเรียกพระเข้าตัว เวลาเขามีพิธีอะไร อย่างเช่นเวลาเขาปลุกเสกพระ เราก็สามารถรับพรจากพระองค์ไหนๆก็ได้ทั้งนั้น
    การสำรวมกาย วาจา ใจ จึงเป็นสิ่งสำคัญ เมื่อมีพิธีการทางสงฆ์ เพราะบ่อยครั้ง ขณะที่พระให้ศีลหรือให้พร ญาติโยมบางคนเริ่มคุยเเข่งกับพระ เสียงโยมเมื่อรวมกันเสียงดังกว่าเสียงพระเสียอีกตนเองไม่ได้บุญยังไม่พอ เเต่กลับไปสร้างความรำคาญให้ผู้อื่นเรียกว่า เป็นการขัดบุญที่ผู้อื่นจะพึงได้รับ

    หลวงปู่เคยพูดว่า" ระวังให้ดี เดี๋ยวจะเกิดเป็นตะเข้ขวางคลอง "
    CR.. อนุโมทนาสาธุ กับ Facebook : Kuntana Satterrawut



    ขอบคุณที่มา :
     

แชร์หน้านี้

Loading...