คำว่า อนุโมทนา และ สาธุ ต่างกันอย่างไร ?

ในห้อง 'ธรรมทาน - วิทยาทาน' ตั้งกระทู้โดย Dharaya, 3 กันยายน 2021.

  1. Dharaya

    Dharaya ศรัทธาอันประณีต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2020
    โพสต์:
    166
    ค่าพลัง:
    +53
    0e66be87232b1e408f43056e933fcad5.md.jpg

    หลายคนอาจมีข้อสงสัยว่า คำว่า อนุโมทนา กับคำว่า สาธุ นั้นแตกต่างกันอย่างไง วันนี้ทางธาราญาจะมาอธิบายความหมายของคำทั้งสอง เพื่อให้ทุกคนได้ทราบถึงความหมาย และการใช้คำทั้งสองนี้
    อนุโมทนา
    อนุโมทนา หมายถึง การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ การอนุโมทนานั้นอาจทำได้ด้วยการพูด เขียนหนังสือ หรือแสดงกิริยาก็ได้ เช่น เมื่อได้ยินเสียงย่ำฆ้องกลองที่วัดในตอนเย็น แสดงว่าพระท่านทำวัตรเย็นจบ ก็ยกมือขึ้นประนมไหว้ เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญ แล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วก็ยกมือขึ้นสาธุ เป็นการอนุโมทนาบุญของเขาด้วยเรียกการพูดแสดงความยินดีในความดีของผู้อื่นว่า “อนุโมทนากถา” เรียกหนังสือรับรองการบริจาคที่วัดออกให้แก่ผู้บริจาคทรัพย์ทำบุญว่า “อนุโมทนาบัตร หรือใบอนุโมทนา” เรียกบุญที่เกิดจากการอนุโมทนาตามตัวอย่างข้างต้นว่า “อนุโมทนามัยบุญ” และการที่ภิกษุกล่าว สัมโมทนียกถา อันแปลว่า ถ้อย คำอันเป็นที่บันเทิงใจ ใช้เรียกการที่ภิกษุพูดแสดงความขอบคุณหรือกล่าวถึงประโยชน์และอานิสงส์ของ ความดี ของบุญกุศล ที่ทายกทายิกาได้ทำ เช่น ถวายอาหาร สร้างกุฏิ สร้างหอระฆัง เป็นต้น ไว้ในบวรพระพุทธศาสนา บางทีเรียกว่า อนุโมทนากถา

    ส่วนพิธีอย่างอื่นนอกจากนี้ควรจะอนุโมทนาต่อหน้าเสมอไปจึงจะสมควร พิธีอนุโมทนาแบ่งออกเป็นหัวข้อใหญ่ๆ ได้ 2 หัวข้อคือ
    1. สามัญอนุโมทนา คือ การอนุโมทนาที่นิยมใช้ปฏิบัติกันโดยทั่วไป ไม่จำกัดงานหนึ่งงานใด ก็คงใช้คำอนุโมทนาแบบเดียวกัน
    2. วิสามัญอนุโมทนา คือ การอนุโมทนาด้วยบทสวดพิเศษคือ อนุโมทนาเฉพาะทาน เฉพาะกาล และเฉพาะเรื่อง

    สาธุ
    สาธุ แปลว่า ดีแล้ว ชอบแล้ว มาจากรากศัพท์ว่า สาธฺ (หรือ สธฺ) ในความหมายว่า สำเร็จ เมื่อเวลาที่เราได้ทำบุญใดๆ แล้วหากมีคนเห็นการกระทำดีของเราแล้วเขากล่าว “สาธุ” ด้วยความศรัทธาด้วยความปีติยินดีที่ได้เห็นเราทำบุญ เขาคนนั้นก็ได้บุญไปด้วยอย่างไม่น่าเชื่อ เหมือนการจุดเทียนแล้วมีคนมาขอต่อเทียนฉันใดฉันนั้น นี่คือบุญในรูปแบบของการโมทนาบุญเอาจากการเห็นผู้อื่นทำความดี ดังนั้นการเปล่งวาจาว่าสาธุก็เพื่อแสดงความเห็นชอบด้วยชื่นชม หรือยกย่องสรรเสริญ เพื่ออนุโมทนาในบุญ หรือความดีที่ผู้อื่นทำนั่นเอง สาธุในภาษาไทยมีความหมายอย่างน้อย 5 อย่าง ดังนี้

    1. สาธุหมายถึง อนุโมทนา แสดงความยินดี ตกลง เห็นด้วย เช่น เวลาเราเห็นด้วยกับใครตกลง โอเค เราก็บอกสาธุ เห็นด้วย ๆ สมมุติว่าเราเลือกตั้งเห็นคะแนนเสียงเราก็บอกสาธุไม่ต้องปรบมือกราว ๆ เพราะปรบมือเป็นของฝรั่งเขาของไทยคือสาธุเห็นด้วยเหมาะสมแล้ว หรืออาจารย์รู้ว่าลูกศิษย์กราบสวยอาจารย์ก็บอกสาธุดีแล้วอนุโมทนายินดีด้วย

    2. สาธุหมายถึง ยังประโยชน์ให้สำเร็จ คือให้สำเร็จประโยชน์ เช่นได้ยินคำว่า มัตตัญยุตตา สทา สาธุ ความรู้จักประมาณให้สำเร็จประโยชน์เสมอ

    3.สาธุหมายถึง ขอให้สมพรปากกับคำอวยพรที่ท่านให้ อย่างเช่น อันนะภาระในครั้งสมัยพุทธการเป็นคนยากจนเข็ญใจทำบุญกับพระปัจเจกพุทธเจ้า ได้อธิฐานว่าคำว่าจนอย่าได้มีและจงได้รู้ธรรมอย่าง ท่านพระปัจเจกพุทธเจ้าได้ให้พรว่า อิจฉิตัง ปัตถิตัง ตุมหัง ขิปปะเมวะ สะมิชฌะตุ สัพเพ ปูเรนตุ สังกัปปาจันโท ปัณณะระโส ยะถา มะณิ โชติระโส ยะถา แปลว่า ขออิฏฐผลที่ท่านปรารถนาแล้วตั้งใจแล้วจงสำเร็จโดยฉับพลัน ขอความดำริทั้งปวงจงเต็มที่ เหมือนพระจันทร์วันเพ็ญ เหมือนแก้วมณีอันสว่างไสวควรยินดี ฯ จึงรับว่าสาธุขอให้สมพรปากท่าน

    4. สาธุหมายถึง ขอโอกาส อันนี้เป็นสำนวนของพระ อย่างสมมุติว่าจะอาราธนาศีลก็จะขึ้นว่า สาธุ สาธุ มะยัง ภันเต เคยได้ยินบ้างไหม เหมือนกับว่าคนเป็นครูบาอาจารย์จะทำอะไรก็ขอโอกาส พระเถระเสียก่อนเช่น จะเปิดหน้าต่างก็ ขอโอกาสท่านอาจารย์ครับผมจะเปิดหน้าต่าง ทำอะไรต้องบอก ผู้ใหญ่เสียหน่อย ไม่ใช้ทำพรวด ๆ ไปขาดความเคารพ การทำขอโอกาสอย่างนี้ท่านเรียกว่าสาธุภาษาบาลี ภาษาไทยว่าขอโอกาส

    5. สาธุหมายถึง แสดงความต้อนรับแสดงความยินดีไชโยโห่ร้องกราบไหว้ ยกตัวอย่าง เวลาสมเด็จสังฆราชหรือใครก็ตามเสด็จไปต่างประเทศ ต่างประเทศเช่นเนปาลเขานิยมเวลามาต้อนรับเขาจะร้องสาธุตลอดทาง ที่มาต้อนรับ สาธุตัวนี้ก็คือขอยินดีต้อนรับ

    โดยสรุปแล้วการอนุโมทนา หรือสาธุ เป็นสิ่งที่เกิดจากการทำดี ซึ่งถ้าหากเราทำแต่ความดีเราก็ย่อมได้รับผลบุญอันจะส่งผลให้เรามีแต่ความสุขนั่นเอง
     

แชร์หน้านี้

Loading...