ครอบครัว ..กองกันภัย.. กับหลายเหตุผลเข้าวัดกันดีกว่า

ในห้อง 'พุทธศาสนากับคนดัง' ตั้งกระทู้โดย paang, 25 มิถุนายน 2006.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,326
    [​IMG]

    วัดเป็นสถานที่แห่งสุดท้ายที่คิดจะไป" อาจยังเป็นความคิดของคนจำนวนไม่น้อย ณ เวลานี้ แต่สำหรับครอบครัว 'กองกันภัย' ยกขบวนเข้าวัดกันตั้งแต่ยังมีเรี่ยวแรงเข้มแข็งกันดีอยู่ ทั้งหัวหน้าครอบครัวอย่าง พิษณุ กองกันภัย และศุภานัน ภรรยาคู่ชีวิตของเขา รวมถึงลูกๆ วัยกำลังซนทั้ง 4 คนอีกด้วย


    สองสามีภรรยาครอบครัวนี้ ช่วยกันบริหารกิจการของตัวเองคือ บริษัท ทเวนตี้โฟร์ แจน กรุ๊ป จำกัด (มิเลนเนียม) จำกัด บริษัทนำเที่ยวที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ ปี 2538 นำเที่ยวต่างประเทศทั่วโลก และนำนักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวมาเมืองไทย นอกจากนี้ 'พิษณุ' ยังรั้งตำแหน่งนายกสมาคมการท่องเที่ยวอเมริกา (ประเทศไทย) หรือ แอสต้า

    "มีเรี่ยวแรงดีอยู่ ก็เดินเข้าวัดกันดีๆ ดีกว่า ไม่ต้องรอให้คนมาแบกมาหามเข้าวัดตอนวาระสุดท้ายของชีวิต" หัวหน้าครอบครัว เล่าว่า ความสนใจต่อเรื่องธรรมะของเขาเกิดขึ้นเรื่อยๆ ต่อเนื่องตลอดชีวิตที่ผ่านมา

    พิษณุ เล่าว่า เขาสนใจเรื่องธรรมะมาตั้งแต่เด็ก เริ่มจากชอบไปวัด ทำบุญตักบาตร พอโตขึ้น ก็มีคนแนะนำให้เรียนรู้เรื่องธรรมะแนวทางหนึ่งที่เรียกว่าธรรมะเปิดจักรวาลของชาวเวียดนาม ต่อมามีโอกาสได้ศึกษาการเจริญสติ วิปัสสนากรรมฐานหลักสูตรของคุณแม่สิริ กรินชัย และมีโอกาสได้ปฏิบัติธรรมที่วัดศรีมหาโพธิ์วิปัสสนาราม ลพบุรี ตามแนวทางของพระอาจารย์ อภิมหาวิสุทธิ์ ญาณวรปัญโญ ศิษย์เอกหลวงปู่คง วัดเขาสมโภชน์

    ฝ่ายหัวหน้าครอบครัวยังเป็นคนที่มีพื้นฐานใจเย็น การเข้าสู่การปฏิบัติธรรมยังไม่เป็นเรื่องน่าแปลกใจเท่าฝ่ายผู้เป็นภรรยา ศุภานัน เล่าว่า เธอกับสามีเรียนจบเมืองนอก ใช้ชีวิตอย่างคนทั่วๆ ไป มีกิจการบริหารงานเอง ชอบสังสรรค์ ชอบดื่มไวน์ พื้นฐานนิสัยของตัวเธอเป็นคนใจร้อน ส่วนเรื่องธรรมะหรือการไปวัดไม่เคยอยู่ในความคิด จนกระทั่งช่วงที่ต้องเลี้ยงลูก 4 คน แล้วเริ่มเกิดความเครียด
    "ดิฉันเป็นคนไม่อยู่เฉย ไม่นั่งสมาธิ สมัยก่อนเป็นสาวเปรี้ยวมาก ไม่เคยใส่ใจเรื่องวัด แต่พอมีลูก 4 คน เครียดมาก เพราะเลี้ยงลูกเอง แล้วเป็นคุณนายสะอาด ใครจะจับลูกไม่ได้ นมก็ให้ทานนมตัวเองทั้ง 4 คน พอเขาเริ่มโต คนนั้นจะเอาอย่างนี้ คนนี้จะเอาอย่างโน้น อีกคนก็วี๊ดๆ ทำให้เครียด พอเครียดก็แว้ดใส่ลูก แล้วก็เครียดอีก เพราะไม่อยากให้ลูกจำ ก็ปรึกษาเพื่อน เพื่อนแนะนำให้ศึกษาเรื่องการเจริญสติ เริ่มจากคุณแม่สิริ ซึ่งก็ดีขึ้นมาก เป็นพื้นฐานการปฏิบัติธรรม ต่อมามีเพื่อนรุ่นน้องแนะนำให้ไปวัดป่าศรีมหาโพธิ์ฯ ฟังแล้วก็อยากไป ก็ชวนสามีไป"

    มีเหตุผลหลายประการที่ทั้งคู่ติดใจการปฏิบัติธรรม อย่างหนึ่งเป็นประสบการณ์ที่น่าประทับใจขณะปฏิบัติ และที่สำคัญก็คือ รู้สึกสงบ เย็น เกิดขึ้นในใจของคนทั้งคู่ ทั้งจากการวิปัสสนากรรมฐานในอิริยาบถต่างๆ ไม่ว่า นั่ง เดิน นอน และยืน ทั้งคู่จดจำความเจ็บปวดในการฝึกครั้งแรกๆ ได้เป็นอย่างดี

    "ต้องยืนบนหิน เป็นกรวดเล็กๆ แหลมคม เจ็บมาก ต้องยืนให้เท้าแนบกับหินตลอดเวลา แรกๆ ยืน 1 ชั่วโมง รู้สึกว่าเจ็บเหมือนจะตาย ก็เพิ่มเรื่อยๆ ปฏิบัติบ่อยๆ ก็ทำได้ เคยยืนนานถึง 7 ชั่วโมง" ศุภานัน เล่า

    พิษณุ ช่วยเล่าต่อว่า นอกจากการฝึกสติในอิริยาบถต่างๆ ตอนยืนกรรมฐานก็ได้ฝึกความอดทนด้วย ถ้าทนเจ็บได้ เมื่อต้องออกมาเผชิญสังคมโลก หลายเรื่องก็กลายเป็นเรื่องเล็ก ความเครียดหรือความกดดันไม่มีครั้งไหนที่มีได้มากเท่ากับตอนยืนบนหินอีกแล้ว ถ้าจะอธิบายกันในทางธรรมะการยืนกรรมฐานทำให้แยกรูปแยกนามได้

    "รูปคือกายเรา ไม่ใช่ของเรา ที่เจ็บนั้นไม่ใช่ของเรา นามเป็นจิต จับต้องไม่ได้ เจ็บก็บอกว่าเจ็บหนอ เจ็บหนอ พอแยกรูปแยกนามได้ เราจะไม่เจ็บเลย ตอนแรกก็เจ็บมาก เจ็บปางตาย ถามว่าดีหรือไม่ ก็ต้องว่าดี" พิษณุ เล่าถึงส่วนดีของการฝึกสติ เพราะนำไปเทียบกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น

    นอกจากการสวดมนต์ การฝึกวิปัสสนากรรมฐานแล้ว การได้ลงทำสวนในวัด ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สองสามีภรรยาได้เรียนรู้และนำกลับมาพัฒนาชีวิตและจิตใจ

    พิษณุ เล่าว่า วัดที่เขาปฏิบัติธรรมจะให้คนที่ฝึกเจริญสติแล้วระดับหนึ่งได้ลงมือทำสวน ระหว่างการถอนวัชพืช เขาก็นึกเปรียบเทียบ สวนก็เหมือนกับการใช้ชีวิตหรือการทำงาน ต้องมีอุปสรรคเกิดขึ้นเหมือนอย่างวัชพืช ทำงานก็ต้องเจอปัญหา เมื่อเจอก็ถอนทิ้งไปเหมือนถอนวัชพืช ไม่ต้องคิดหงุดหงิดใจเพราะเป็นเรื่องธรรมดาเหมือนทำสวนก็ต้องมีหญ้าขึ้น ใช้ชีวิตหรือทำงานก็ต้องเจอกับปัญหาอุปสรรค

    "ลงไปทำสวน ไปถอนหญ้าทิ้ง ก็ได้ถอนอัตตา ลดตัวตนไปด้วย" ศุภานัน เล่าว่า หลังปฏิบัติธรรมแล้ว เธอมองเห็นตัวเองเป็นคนใหม่ ใจเย็นขึ้น ถือดีน้อยลง และเห็นแก่ตัวน้อยลง

    นอกจากการไปวัดปฏิบัติธรรม และอ่านหนังสือธรรมะ ทั้งสองยังน้อมนำเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต มาปรับมาแต่งให้ชีวิตดำเนินไปในทางดี

    "แต่ก่อนไปวัดก็จริง แต่ก็ชอบดื่มไวน์ ทานเนื้อสัตว์กันเป็นปกติ มีอยู่ครั้งหนึ่งเราสองคนได้รับเชิญให้ไปพูดเรื่องธรรมะให้เจ้าหน้าที่เขตบางคอแหลม จำนวน 120 คนไปปฏิบัติธรรม เขาต้องการวิทยากรพูดเรื่องธรรมะกับครอบครัว เพราะครอบครัวเราลูก 4 คนปฏิบัติธรรมทุกคน ก็ไปพูดเรื่องธรรมะกับครอบครัว พอพูดจบคนชอบ ก็ทำให้เรานึกว่า โอโห เราบรรยายธรรมะสอนคนอื่น แล้วจะไปนั่งกินไวน์เหรอ ก็เลยเลิกเลย และเลยไปถึงเนื้อสัตว์ด้วย ก็อาจเป็นธรรมะจัดสรร เป็นจังหวะที่เราได้ขึ้นไปบนเวทีนั้น"

    พฤติกรรมหรือการกระทำไม่ใช่เรื่องของการจัดระเบียบร่างกายภายนอกเท่านั้น หากข้างในไม่เปลี่ยน ไม่ผ่องใส ก็ไม่สามารถจะพบกับกิริยามารยาทที่น่ารักหรือคำพูดที่สุภาพอ่อนโยนได้

    "คำพูดคำจาที่ดีที่ไพเราะ คนที่ไม่มีเมตตา ทำไม่ได้หรอก" พิษณุว่า เป็นนายจ้างเป็นหัวหน้า พูดดีๆ พูดเพราะๆ กับลูกน้อง เป็นความเมตตาอย่างหนึ่งกับลูกน้อง และต้องมีเมตตาต่อครอบครัวตัวเองด้วย

    คนที่ใกล้ชิดกับครอบครัวนี้ ก็จะรู้ดีว่าพิษณุจะเรียกภรรยาของเขาว่า 'แม่จ๋า' ศุภานันก็เรียกสามีว่า 'พ่อจ๋า' พูดจากันแบบนี้ ก็นึกไม่ออกว่าเขาจะทะเลาะกันอย่างไร

    ธรรมะก็คือหลักยึดเหนี่ยวจิตใจ เพื่อทำให้คนหมู่มากอยู่กันได้ด้วยดี หัวหน้าครอบครัวกองกันภัย บอกว่า ครั้งหนึ่งในที่ประชุมมีคนลุกขึ้นต่อว่าเขาต่อหน้าคนหลายสิบคน ถ้าเป็นเมื่อก่อนเขาต้องเถียงทันที ไม่ทันคิดไตร่ตรองอะไร แต่การฝึกสติก็ทำให้เขาทัน

    "คนที่มาต่อว่าเราอย่างนั้น จะต้องมีอะไรในใจ ก็จะปล่อยให้เขาได้พูด ได้ระบายความในใจนั้นออกมา การที่เราจะทนฟังได้ ก็ต้องเมตตาได้ก่อน เมตตาฟังเขาแล้วอโหสิกรรม เป็นทานถวายพระพุทธเจ้า" พิษณุ ว่า ต้องฟังเขาก่อนถึงจะรู้เหตุของความไม่พอใจที่เขามีต่อเรา ถึงจะแก้ไขปัญหาได้ บางทีเขาอาจจะเข้าใจผิด จะฟังคนด่าได้ก็ต้องอดทน จะอดทนได้ก็ต้องเมตตา และไม่ต้องอายที่ถูกด่า คนที่ต้องอายคือคนที่มาด่า มาเกรี้ยวกราดใส่เรา

    เมตตาอีกอย่างหนึ่งที่พิษณุปฏิบัติคือ เขามีนโยบายให้พนักงานในบริษัทไปปฏิบัติธรรมได้ปีละหนึ่งครั้ง โดยไม่ต้องลา ให้นับวันปฏิบัติธรรมเป็นวันทำงาน จะเดินทางไป 3 - 7 วันก็ได้ แล้วแต่ความพอใจ ไปแล้วขึ้นเงินเดือนให้อีก
    "เขาไปปฏิบัติธรรม วัดสอนให้เขาทำดี นอกจากได้กับตัวเองแล้ว เขายังเป็นคนดี มีความรับผิดชอบ งานเขาก็ดีขึ้น เห็นเพื่อนได้ดี ก็มุทิตาจิต ไม่ต้องมานั่งปัดแข้งปัดขากัน" พิษณุ พูดถึงหลักคิดเมื่อนำธรรมะมาใช้ในการทำงาน

    ************

    หมายเหตุ : นับตั้งแต่ปี 2541ที่วัดป่าศรีมหาโพธิ์วิปัสสนาราม และมูลนิธิพุทธศาสตร์อเนกประสงค์ ได้ร่วมกันพัฒนาศูนย์วิปัสสนา เพื่อให้ภิกษุสงฆ์สามเณร ญาติธรรมจากไทยและต่างประเทศ ได้มาปฏิบัติธรรม มีอาจารย์และพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำ แบ่งเป็นปฏิบัติธรรม 3 วัน (ศุกร์ เสาร์และอาทิตย์) และปฏิบัติธรรม 7 วัน ขณะนี้มีแผนงานสร้างศูนย์ปฏิบัติธรรม (ศูนย์พัฒนาจิต) เพื่อรองรับผู้ปฏิบัติธรรมได้มากขึ้นถึง 1,500 คน สอบถามรายละเอียดที่ได้ 0-2993-7020 หรือ 0-5817-2391
     
  2. marine24

    marine24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    2,223
    ค่าพลัง:
    +15,632
    ผมก็มีประสบการณ์ที่คล้ายๆกัน ผมเคยเป็นทหาร เราถูกฝึกให้รบแบบกล้าตาย ตอนเป็นนักเรียนทหารให้ท่องไว้เสมอว่า "ภารกิจของเรา คือการฆ่าและทำลายล้างศัตรูแบบไร้ความปราณี "และ" การเป็นนักฆ่าชั้น 1 เมื่อพบศัตรูต้องฆ่าก่อนและฆ่าให้ได้มากที่สุด ก่อนที่จะถูกฆ่า" เราได้รับการฝึกให้ใช้อาวุธและยุทธวิธีในการล่าสังหารและดักสังหารหลายรูปแบบ แต่พอไปปฏิบัตการที่ชายแดน 3 ปี เห็นทหารล้มตายไปหลายคน จึงเกิดความคิดว่า สงครามมันให้อะไรแก่มนุษย์ เรารบเพื่ออะไร ทำไมทหารบางคนต้องมาตายก่อนวัยอันควร บางคนลูกยังเล็กอยู่ บางคนภรรยากำลังตั้งครรภ์ เห็นพ่อแม่ลูกเมียเขามาร้องไห้ในศาลาสวดศพ ถ้าไม่มีสงครามเขาคงไม่ต้องพลัดพรากจากกัน ผมจึงศึกษาค้นคว้าทางธรรมะ จากแนวทางปฏิบัติของพระอริยสงฆ์สายวิปัสสนากรรมฐาน จึงเริ่มฝึกสมาธิจนได้เข้าใจและปฏิบัติธรรมสมาธิเรื่อยมาจนทุกวันนี้
     

แชร์หน้านี้

Loading...