~คติธรรมคำสอนของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ~^^

ในห้อง 'หลวงปู่ดู่ และ หลวงตาม้า' ตั้งกระทู้โดย @^น้ำใส^@, 25 ตุลาคม 2009.

  1. @^น้ำใส^@

    @^น้ำใส^@ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    2,330
    ค่าพลัง:
    +4,674
    หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ

    [​IMG]
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>




    ชาติภูมิ

    หลวงพ่อดู่ พรหมปัญโญ ท่านเกิดเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 ตรงกับวันศุกร์ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะโรง เป็นวันเพ็ญวิสาขปุรณมี ณ บ้านข้าวเม่า ตำบลข้าวเม่า อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โยมบิดาชื่อ พุด โยมมารดาชื่อ พ่วง นามสกุล หนูศรี มีพี่น้องร่วมมารดาเดียวกัน 3 คน ตัวท่านเป็นคนสุดท้อง เมื่อหลวงพ่อถือกำเนิดได้ไม่นาน มารดาของท่านก็เสียชีวิต และเมื่อท่านอายุได้ 4 ปี บิดาของหลวงพ่อก็เสียชีวิตอีก ทำให้หลวงพ่อกำพร้าตั้งแต่วัยเยาว์ ท่านจึงได้อาศัยอยู่กับยาย และ พี่สาวชื่อ สุ่ม เป็นผู้ดูแลเอาใจใส่ เมื่อท่านถึงวัยที่ต้องศึกษา ก็ได้ศึกษาเล่าเรียนที่ วัดกลางคลองสระบัว วัดประดู่ทรงธรรม และวัดนิเวศธรรมประวัติ ตามลำดับ


    เมื่อตอนที่ท่านยังเป็นทารกมีเหตุอัศจรรย์ที่ทำให้เชื่อว่าท่านจะต้องเป็นผู้มีบุญวา สนามาเกิด คือในช่วงหน้าน้ำหลาก คืนหนึ่งขณะที่บิดาและมารดากำลังทำขนมอยู่นั้น มารดาท่านได้วางตัวท่านไว้บนเบาะนอกชานบ้าน แต่ไม่ทราบด้วยเหตุใดตัวท่านได้กลิ้งตกลงไปน้ำ แต่เป็นที่น่าอัศจรรย์ที่ตัวท่านกลับไม่จมน้ำ กลับลอยน้ำไปติดอยู่ข้างรั้ว กระทั่งสุนัขที่บ้านเลี้ยงไว้ มาเห็นเข้าจึงเห่าและวิ่งกลับไปกลับมา มารดาท่านจึงสงลัยว่าคงจะมีเหตุการณ์ผิดปกติ จึงได้ตามสุนัขออกมาดู ก็พบท่านลอยน้ำอยู่ติดกับข้างรั้ว



    อุปสมบท

    เมื่อท่านอายุได้ 21 ปี ก็ได้บรรพชาอุปสมบท เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2468 ตรงกับวันอาทิตย์แรม 4 ค่ำ เดือน 6
    ณ อุโบสถวัดสะแก ตำบลธนู อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมี หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อแด่ เจ้าอาวาสวัดสะแก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อฉาย วัดกลางคลองสระบัว เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับ ฉายาว่า “ พรหมปัญโญ ”



    ศึกษาธรรม

    ในพรรษาแรกๆ นั้น หลวงพ่อดู่ ได้ศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัด ประดู่ทรงธรรม (ในสมัยนั้นเรียกว่าวัด ประดู่โรงธรรม) โดยศึกษากับ ท่านเจ้าคุณเนื่อง พระครูชม หลวงพ่อรอด (เสือ) เป็นต้น

    ในด้านการปฏิบัติ วิปัสสนากรรมฐาน นั้น หลวงพ่อดู่ ได้ ศึกษา กับ หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม ผู้เป้นพระอุปัชฌาย์ และ หลวงพ่อเภา ซึ่งเป็นศิษย์องค์สำคัญของหลวงพ่อกลั่น และ มีศักดิ์เป็นอาของท่าน เมื่อท่านบวชได้พรรษาที่ 2 ประมาณปลายปี พ.ศ. 2469 หลวงพ่อกลั่นก็ได้มรณภาพ ท่านจึงได้ศึกษากับหลวงพ่อเภาเป็นหลัก นอกจากนี้ยังได้ศึกษาจากตำราที่มีอยู่ จากชาดกบ้าง ธรรมบทบ้าง และด้วยความที่ท่านเป็นผู้รักการศึกษา ท่านจึงได้เดินทางไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจาก พระอาจารย์อีกหลายท่าน ที่ จังหวัดสุพรรณบุรี สระบุรี ฯลฯ

    เมื่อพ.ศ. 2486 ครั้นออกพรรษาแล้ว หลวงพ่อก็ออกเดินธุดงค์ จากวัดสะแก มุ่งหน้า สู่ป่าเขาแถบจังหวัดกาญจนบุรี ในระหว่างทาง ก็แวะนมัสการสถานที่สำคัญต่างๆ ทางพุทธศาสนา



    นิมิตธรรม

    ในคืนหนึ่ง ในช่วงก่อน ปี พ.ศ.2500 เล็กน้อย หลังจากที่ท่านสวดมนต์ทำวัตรเย็น และเข้าจำวัดแล้วนั้น เกิดนิมิตไปว่าได้ฉันดาว ที่มีแสงสว่างมากเข้าไป 3 ดวง ขณะที่ฉันนั้นรู้สึกว่า กรอบๆ ดี เมื่อฉันหมดก็ตกใจตื่น ท่านจึงได้พิจารณานิมิตที่เกิดขึ้น ก็เกิดความเข้าใจในนิมิตนั้นว่า ดาวสามดวง ก็คือ ดวงแก้วไตรสรณาคมน์ นั้นเอง ท่านจึงท่อง

    “ พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ ” ก็เกิดปิติขึ้นในจิตท่านอย่างท่วมท้น เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง และมั่นใจว่า การยึดมั่นพระไตรสรณาคมน์ เป็นวิธี ที่เข้าสู่แก่นแท้ เป็นรากแก้วของพระพุทธศาสนา ท่านจึงกำหนดเอา พระไตรสรณาคมน์ เป็นองค์บริกรรมภาวนา



    เมตตาธรรม

    หลวงพ่อดู่ท่านให้การต้อนรับแขกอย่างเสมอเท่าเทียมกันหมด ไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะ ท่านจะพูดห้ามปรามหากมีผู้เสนอตัวเสนอหน้าคอยจัดแจงเกี่ยวกับแขกที่มาหาท่าน เพราะท่านทราบดีว่ามีผู้ใฝ่ธรรมจำนวนมากที่อุตสาห์เดินทางมาไกล เพื่อนมัสการและซักถามข้อธรรมจากท่าน หากมาถึงแล้งยังไม่สามารถเข้าพบได้โดยสะดวก ก็จะทำให้เสียกำลังใจ เป็นเมตตาธรรมอย่างสูงที่หลวงพ่อมีให้ศิษย์ทั้งหลาย และหากมีผู้สนใจการปฏิบัติกรรมฐาน มาหาท่าน ท่านจะเมตตาสนทนาธรรมเป็นพิเศษอย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย



    หลวงปู่ทวด

    ท่านให้ความเคารพในองค์หลวงปู่ทวด วัดช้างไห้ เป็นอย่างมากทั้งกล่าวยกย่อง ว่าหลวงปู่ทวดท่านเป็นผู้ที่มีบารมีธรรมเต็มเปี่ยม เป็นโพธิสัตว์จะได้มาตรัสรู้ ในอนาคต ให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลาย ยึดมั่น และระลึกถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อติดขัดในระหว่างการปฏิบัติธรรม หรือประสบปัญหาทางโลกท่านว่า หลวงปู่ทวดท่านคอยที่จะช่วยเหลือทุกคนอยู่แล้ว แต่ขอให้ทุกคนอย่าท้อถอย หรือละทิ้งการปฏิบัติ



    สร้างพระ

    หลวงพ่อดู่ท่านมิได้ตั้งตัวเป็นเกจิอาจารย์ การที่ท่านสร้าง หรืออนุญาตให้สร้างพระเครื่องหรือพระบูชา ก็เพราะเห็นว่า บุคคลจำนวนมากยังขาดที่ยึดเหนี่ยงทางด้านจิตใจ เพราะศิษย์ หรือ บุคคลนั้น มีทั้งที่ใจใฝ่ธรรมล้วนๆ กับ ยังต้องอิงกับวัตถุมงคล ท่านเคยพูดว่า “ติดวัตถุมงคลยังดีกว่า ที่จะไปให้ติดวัตถุอัปมงคล” แม้ว่าหลวงพ่อดู่ท่านจะรับรองในความศักดิ์สิทธิ์ของพระเครื่องที่ท่านอธิฐานจิตให้ แต่สิ่งที่ท่านยกไว้เหนือกว่านั้นก็คือการปฏิบัติ การภาวนา นี้แหละ เป็นสุดยอดแห่งเครื่องรางของขลัง บางคนมาหาท่านเพื่อต้องการของดีเช่นเครื่องรางของขลัง ซึ่งมักจะได้รับคำตอบจากท่านว่า “ ของดีนั้นอยู่ที่ตัวเรา พุทธัง ธัมมัง สังฆัง นี่แหละของดี ”



    ปัจฉิมวาร

    นับตั้งแต่ พ.ศ. 2527 เป็นต้นมาสุขภาพหลวงพ่อเริ่มทรุดโทรม เนื่องการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ด้วยเหตุจากการที่ต้องต้อนรับแขก และบรรดาศิษย์ทั่วทุกสารทิศ ที่นับวันก็ยิ่งหลั่งไหลกันมานมัสการท่านมากขึ้นทุกวัน แม้บางครั้งจะมีโรคมาเบียดเบียนอย่างหนัก ท่านก็อุตส่าห์ออกโปรดญาติโยมเป็นปกติ พระที่อุปัฏฐากท่าน เล่าว่า บางครั้งถึงขนาดที่ท่านต้องพยุงตัวเองขึ้นด้วยอาการสั่น และมีน้ำตาคลอเบ้า ท่านก็ไม่เคยปริปากให้ใครต้องเป็นกังวลเลย ภายหลังตรวจพบว่า หลวงพ่อ เป็นโรคลิ้นหัวใจรั่ว แม้ว่าทางคณะแพทย์ จะขอร้องท่านให้เข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล แต่ท่านก็ไม่ยอมไป


    ประมาณปลายปี พ.ศ.2532 หลวงพ่อดู่พูดบ่อยครั้ง เกี่ยวกับ การที่ท่านจะละสังขาร ซึ่ง ในขณะนั้นหลวงพ่อดู่ท่านได้ใช้หลักธรรม ขันติ คือความอดทนอดกลั้นระงับ ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นจากโรคภัย จิตของท่านยังทรงความเป็นปรกติสงบเย็น จนทำให้คนที่แวดล้อมท่านไม่อาจสังเกตเห็นถึงปัญหาโรคภัยที่คุกคามท่านอย่างหนัก
    วันอังคารที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2533 ช่วงเวลาบ่ายนั้น มีนายทหารอากาศผู้หนึ่งมากราบท่านเป็นครั้งแรก หลวงพ่อท่านได้ลุกขึ้นนั่งตอนรับ ด้วยใบหน้าที่สดใส ราศีเปล่งปลั่งเป็นพิเศษ จนบรรดาศิษย์ เห็นผิดสังเกต หลวงพ่อยินดีที่ได้พบกับศิษย์ผู้นี้ ท่านว่า “ต่อไปนี้ ข้าจะได้หายเจ็บไข้เสียที ” คืนนั้นมีคณะศิษย์มากรายท่าน ท่านได้พูดว่า “ ไม่มีส่วนใดในร่างกายที่ไม่เจ็บปวดเลย ถ้าเป็นคนอื่นคงเข้าห้อง ICU ไปนานแล้ว ” พร้อมทั้งพูดหนักแน่นว่า “ข้าจะไปแล้วนะ” และกล่าวปัจฉิมโอวาทย้ำให้ทุกคนตั้งอยู่ในความไม่ประมาท “ถึงอย่างไรก็ขอให้อย่าได้ละทิ้งการปฏิบัติ ได้ชื่อว่าเป็นนักปฏิบัติ ก็เหมือนนักมวย ขึ้นเวทีแล้วต้องชก อย่ามัวแต่ตั้งท่า เงอะๆ งะๆหลังจากคืนนั้นหลวงพ่อก็กลับเข้ากุฏิ และละสังขารไปด้วยอาการสงบด้วยโรคหัวใจ ในกุฏิท่านเมื่อเวลาประมาณ 5 นาฬิกา ของ วันพุธที่ 17 มกราคมพ.ศ. 2533 รวมสิริอายุได้ 85 ปี 8 เดือน 65 พรรษา ยังความเศร้าโศกและอาลัยแก่ ศิษยานุศิษย์เป็นอย่างยิ่ง อุปมาดั่งดวงประทีปที่เคยให้ความสว่าง ดับไป แต่เมตตาธรรมและคำสั่งสอนของท่านยังปรากฏ อยู่ในดวงใจของ ศิษยานุศิษย์ตลอดไป

    จึงขอยกธรรมคำสอนของหลวงพ่อที่สอนให้ศิษย์ เข้าถึงธรรมด้วยการสร้างคุณงามความดีให้เกิดขึ้นที่ตนเองดังนี้

    ตราบใดก็ตาม ที่แกยังไม่เห็นความดีในตัวเอง
    ก็ยังไม่นับว่า แกรู้จักข้า
    แต่ถ้าเมื่อใด แกเริ่มเห็นความดีในตัวเองแล้ว
    เมื่อนั้นข้าว่า แกเริ่มรู้จักข้าดีขึ้นแล้วล่ะ”

    ---------------------------

    คัดลอกจากหนังสือตามรอยธรรมย้ำรอยครู หลวงปู่ดู่ พรหมปัญ


    มีต่อนะคะ ({)



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ตุลาคม 2009
  2. หงษ์

    หงษ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    474
    ค่าพลัง:
    +821
    ร่วมอนุโมทนาสาธุกับกระทู้นี้ค่ะ กราบนมัสการหลวงดู่เจ้าค่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 49.jpg
      49.jpg
      ขนาดไฟล์:
      20.8 KB
      เปิดดู:
      215
    • -14.jpg
      -14.jpg
      ขนาดไฟล์:
      35.9 KB
      เปิดดู:
      252
  3. อิทธิปาฏิหาริย์

    อิทธิปาฏิหาริย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,834
    ค่าพลัง:
    +1,472
  4. @^น้ำใส^@

    @^น้ำใส^@ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    2,330
    ค่าพลัง:
    +4,674
    1.สมมุติและวิมุตติ


    ในวันสิ้นปีเมื่อหลายปีก่อน ผู้เขียนได้มาค้างคืนอยู่ปฏิบัติที่วัดสะแกและได้มีโอกาสเรียนถามปัญหาการปฎิบัติกับหลวงปู่เรื่องนิมิตจริงนิมิตปลอมที่เกิดขึ้นภายในจากการภาวนา ท่านตอบให้สรุปใจความได้ว่า

    ต้องอาศัยสมมุติขึ้นก่อน จึงจะเป็นวิมุตติได้ เช่นการทำอสุภะหรือกสิณนั้น ต้องอาศัยสัญญาและสังขารน้อมนึกเป็นนิมิตขึ้น ในขั้นนี้ไม่ควรสงสัยว่านิมิตนั้นเป็นของจริงหรือของปลอม มาจากภายนอกหรือมาจากจิต เพราะเราจะอาศัยสมมุติตัวนี้ไปทำประโยชน์ต่อ คือยังจิตให้เป็นสมาธิแน่วแน่ขึ้น แต่ก็อย่าสำคัญมั่นหมายว่าตนรู้เห็นแล้ว หรือดีวิเศษแล้ว

    การน้อมจิตตั้งนิมิตเป็นองค์พระ เป็นสิ่งที่ดีไม่ผิด เป็นศุภนิมิต คือนิมิตที่ดี เมื่อเห็นองค์พระ ให้ตั้งสติคุมเข้าไปตรงๆ (ไม่ปรุงแต่ง หรืออยากโน้นนี้) ไม่ออกซ้าย ไม่ออกขวา ทำความเลื่อมใสเข้า เดินจิตให้แน่วแน่ สติละเอียดเข้า ต่อไปก็จะสามารถแยกแยะหรือพิจารณานิมิตให้เป็นไตรลักษณ์จนเกิดปัญญา สามารถจะก้าวเข้าสู่วิมุตติได้

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ตุลาคม 2009
  5. Nu_Ni

    Nu_Ni เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2008
    โพสต์:
    219
    ค่าพลัง:
    +2,782
    ตามคุณน้ำใสมาติด ๆ จากเวปเก่า ฮี่ๆๆๆ
     
  6. มังกรบูรพา

    มังกรบูรพา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,539
    ค่าพลัง:
    +9,407
    กิเลศตัณหามองไม่เห็น ปัญญาก็ไม่เกิด

    อนุโมทนากับ จขกท และคุณน้ำใส
     
  7. @^น้ำใส^@

    @^น้ำใส^@ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    2,330
    ค่าพลัง:
    +4,674
    :cool: สวัสดีค่ะพี่ ^^
     
  8. @^น้ำใส^@

    @^น้ำใส^@ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    2,330
    ค่าพลัง:
    +4,674
    2. อุปมาศีล สมาธิ ปัญญา


    ครั้งหนึ่งได้มีโอกาสสนทนาธรรมกับหลวงน้าสายหยุด ท่านได้เมตตาเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า หลวงพ่อเคยเปรียบธรรมะของพระพุทธเจ้าเหมือนแกงส้ม แกงส้มนั้นมี 3 รส คือ เปรี้ยว เค็มและเผ็ด ซึ่งมีความหมายดังนี้

    รสเปรี้ยว หมายถึง ศีล ความเปรี้ยวจะกัดกร่อนความสกปรกออกได้ฉันใด ศีลก็จะขัดเกลาความหยาบออกจากกาย วาจา ใจ ได้ฉันนั้น

    รสเค็ม หมายถึง สมาธิ ความเค็มสามารถรักษาอาหารต่างๆ ไม่ให้เน่าเสียได้ฉันใด สมาธิก็สามารถรักษาจิตของเราให้ตั้งมั่นอยู่ในคุณความดีได้ฉันนั้น

    รสเผ็ด หมายถึง ปัญญา ความเผ็ดร้อนโลดแล่นไป เปรียบได้ดั่งปัญญา ที่สามารถก่อให้เกิดความแจ้งชัด ขจัดความไม่รู้ เปลี่ยนจากของคว่ำเป็นของหงาย จากมืดเป็นสว่างได้ ฉันนั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ตุลาคม 2009
  9. @^น้ำใส^@

    @^น้ำใส^@ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    2,330
    ค่าพลัง:
    +4,674
    3. หนึ่งในสี่


    ครั้งหนึ่งหลวงพ่อได้ปรารภธรรมกับผู้เขียนว่า...

    "ข้านั่งดูดยา มองดูซองยาแล้วก็ตั้งปัญหาถามตัวเองว่า เรานี่ปฏิบัติได้ 1 ใน 4 ของศาสนาแล้วหรือยัง? ถ้าซองยานี้แบ่งเป็น 4 ส่วน เรานี่ยังไม่ได้ 1 ใน 4 มันจวนเจียนจะได้แล้ว มันก็คลาย เหมือนเรามัดเชือกจนเกือบจะแน่นได้ที่แล้วเราปล่อย มันก็คลายออก เรานี่ยังไม่เชื่อจริง ถ้าเชื่อจริงก็ต้องได้ 1 ใน 4 แล้ว"

    ต่อมาภายหลังท่านได้ขยายความให้ผู้เขียนฟังว่า ที่ว่า 1 ใน 4 นั้น อุปมาดั่งการปฏิบัติธรรมเพื่อให้บรรลุมรรคผลในพุทธศาสนาซึ่งแบ่งเป็นขั้นโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี และอรหัตตผล อย่างน้อยเราเกิดมาชาติหนึ่งชาตินี้ ได้พบพระพุทธศาสนาซึ่งเปรียบเสมือนสมบัติอันล้ำค่าแล้ว หากไม่ปฏิบัติธรรมให้ได้ 1 ใน 4 ของพระพุทธศาสนาเป็นอย่างน้อย คือ เข้าถึงความเป็นพระโสดาบันปิดประตูอบายภูมิให้ได้ ก็เท่ากับว่าเราเป็นผู้ประมาทอยู่เหมือนเรามีข้าวแล้วไม่กิน มีนาแล้วไม่ทำ ฉันใดก็ฉันนั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ตุลาคม 2009
  10. @^น้ำใส^@

    @^น้ำใส^@ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    2,330
    ค่าพลัง:
    +4,674
    4. อานิสงส์การภาวนา


    หลวงพ่อท่านเคยพูดเสมอว่า

    "อุปัชฌาย์ข้า (หลวงพ่อกลั่น) สอนว่า ภาวนาได้เห็นแสงสว่างเท่าปลายหัวไม้ขีด ชั่วประเดี๋ยวเดียว เท่าช้างกระดิกหู งูแลบลิ้น ยังมีอานิสงส์มากกว่าตักบาตรจนขันลงหินทะลุ"

    พวกเรามักจะได้ยินท่านคอยให้กำลังใจอยู่บ่อยๆ ว่า

    "หมั่นทำเข้าไว้ หมั่นทำเข้าไว้ ต่อไปจะได้เป็นที่พึ่งภายหน้า"

    เสมือนหนึ่งเป็นการเตือนให้เราเร่งความเพียรให้มาก การให้ทานรักษาศีลร้อยครั้งพันครั้งก็ไม่เท่ากับนั่งภาวนาหนเดียว นั่งภาวนาร้อยครั้งพันครั้ง กุศลที่ได้ก็ไม่เท่ากุศลจิตที่สงบเป็นสมาธิเกิดปัญญาเพียงครั้งเดียว


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ตุลาคม 2009
  11. @^น้ำใส^@

    @^น้ำใส^@ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    2,330
    ค่าพลัง:
    +4,674
    5. แสงสว่างเป็นกิเลส?


    มีคนเล่าให้หลวงพ่อฟังว่า มีผู้กล่าวว่าการทำสมาธิแล้วบังเกิดความสว่างหรือเห็นแสงสว่างนั้นไม่ดีเพราะเป็นกิเลส มืดๆ จึงจะดี

    หลวงพ่อท่านกล่าวว่า

    "ที่ว่าเป็นกิเลสก็ถูก แต่เบื้องแรกต้องอาศัยกิเลสไปละกิเลส (อาศัยกิเลสส่วนละเอียดไปละกิเลสส่วนหยาบ) แต่ไม่ได้ให้ติดในแสงสว่างหรือหลงแสงสว่าง แต่ให้ใช้แสงสว่างให้ถูก ให้เป็นประโยชน์ เหมือนอย่างกับเราเดินผ่านไปในที่มืดต้องใช้แสงไฟ หรือจะข้ามแม่น้ำ มหาสมุทรก็ต้องอาศัยเรือ อาศัยแพ แต่เมื่อถึงฝั่งแล้วก็ไม่ได้แบกเรือแบกแพขึ้นฝั่งไป"

    แสงสว่างอันเป็นผลจากการเจริญสมาธิก็เช่นกัน ผู้มีสติปัญญาสามารถใช้เพื่อให้เกิดปัญญาอันเป็นแสงสว่างภายใน ที่ไม่มีแสงใดเสมอเหมือน ดังธรรมที่ว่า "นัตถิ ปัญญา สมา อาภา แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี"


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ตุลาคม 2009
  12. @^น้ำใส^@

    @^น้ำใส^@ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    2,330
    ค่าพลัง:
    +4,674
    [​IMG]

    6. ปลูกต้นธรรม


    ครั้งหนึ่งหลวงพ่อเคยเปรียบการปฏิบัติธรรมเหมือนการปลูกต้นไม้

    ท่านว่า... ปฏิบัตินี้มันยาก ต้องคอยบำรุงดูแลรักษาเหมือนกับเราปลูกต้นไม้

    ศีล.......คือ ดิน
    สมาธิ....คือ ลำต้น
    ปัญญา...คือ ดอก ผล

    ออกดอกเมื่อใดก็มีกลิ่นหอมไปทั่ว การปฏิบัติธรรมก็เช่นกัน ผู้รักการปฏิบัติต้องคอยหมั่นรดน้ำพรวนดินระวังรักษาต้นธรรม ให้ผลิดอก ออกใบ มีผลน่ารับประทาน

    ต้องคอยระวัง ตัวหนอน คือ โลภ โกรธ หลง มิให้มากัดกินต้นธรรมได้

    อย่างนี้...จึงจะได้ชื่อว่าผู้รักธรรม รักการปฏิบัติจริง



    ----------------------------------


    7. วัดผลการปฏิบัติด้วยสิ่งใด?


    มีผู้ปฏิบัติหลายคน ปฏิบัติไปนานเข้าชักเขว ไม่ชัดเจนว่าตนปฏิบัติไปทำไม หรือปฏิบัติไปเพื่ออะไร ดังครั้งหนึ่ง เคยมีลูกศิษย์กราบเรียนถามหลวงพ่อท่านว่า

    "ภาวนามาก็นานพอสมควรแล้ว รู้สึกว่ายังไม่ได้รู้ได้เห็นสิ่งต่างๆ มีนิมิตภายนอก แสดงสีต่าง เป็นต้น ดังที่ผู้อื่นเขารู้เห็นกันเลย"

    หลวงพ่อท่านย้อนถาม สั้นๆ ว่า

    "ปฏิบัติแล้ว โกรธ โลภ หลง ของแกลดน้อยลงหรือเปล่าล่ะ ถ้าลดลง ข้าว่าแกใช้ได้"




    ------------------------------
     
  13. @^น้ำใส^@

    @^น้ำใส^@ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    2,330
    ค่าพลัง:
    +4,674
    8. เทวทูต 4


    ธรรมะที่หลวงพ่อยกมาสั่งสอนศิษย์เป็นประจำ มีอยู่เรื่องหนึ่ง คือเทวทูต 4 ที่เจ้าชายสิทธัตถะพบก่อนบรรพชา คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ

    ความหมายของคำว่าเทวทูต 4 หลวงพ่อท่านหมายถึง ผู้มาเตือน เพื่อให้ระลึกถึงความไม่ประมาท ซึ่งเป็นเรื่องที่ควรคิด แต่คนส่วนใหญ่มักมองข้าม

    หลวงพ่อปรารภอยู่เสมอว่า แก่ เจ็บ ตาย เน้อ..หมั่นทำเข้าไว้ มีความหมายโดยนัยว่า เมื่อเราเกิดมาแล้ว เราก็ย่อมก้าวเข้าสู่ความชราความแก่เฒ่าอยู่ตลอดเวลา มีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดาและเราจักต้องตายเหมือนกันทุกคน

    การเห็นสมณะหรือนักบวช จึงเป็นนิมิตหมายที่ดีที่จะชักจูงให้เราก้าวล่วงความพ้นทุกข์ได้ในที่สุด โดย "ผู้มาเตือน" ทั้ง 4 นี่เอง


    ---------------------------------


    9. อารมณ์อัพยากฤต


    เคยมีผู้ใหญ่ท่านหนึ่งได้กราบเรียนถามหลวงพ่อว่า อารมณ์อัพยากฤตไม่จำเป็นต้องมีได้เฉพาะพระอรหันต์ ใช่หรือไม่?

    ท่านตอบว่า "ใช่ แต่อารมณ์อัพยากฤตของพระอรหันต์ท่านทรงตลอดเวลา ไม่เหมือนปุถุชนที่มีเป็นครั้งคราวเท่านั้น"

    ท่านอุปมาอารมณ์ให้ฟังว่า เปรียบเสมือนคนไปยืนที่ตรงทางสองแพร่ง ทางหนึ่งไปทางดี (กุศล) อีกทางหนึ่งไปในทางที่ไม่ดี (อกุศล) ท่านว่า อัพยากฤตมี 3 ระดับคือ

    - ระดับหยาบ คือ อารมณ์ปุถุชนที่เฉยๆ ไม่คิดดี ไม่คิดชั่ว ซึ่งมีเป็นครั้งคราวเท่านั้น

    - ระดับกลาง มีในผู้ปฏิบัติสมาธิ มีสติ มีความสงบของจิต วางอารมณ์จากสิ่งที่ดีที่ชั่ว ดังที่เรียกว่า อุเบกขารมณ์

    - ระดับระเอียด คือ อารมณ์ของพระอรหันต์ ซึ่งไม่มีทั้งอารมณ์ที่คิดปรุงไปในทางดี หรือในทางไม่ดี วางอารมณ์อยู่ได้ตลอดเวลา เป็นวิหารธรรมของท่าน


    ------------------------------


    10. ตรี โท เอก


    ครั้งหนึ่ง ผู้เขียนจะจัดทำบุญเพื่อเป็นกตัญญูกตเวทิตาธรรมน้อมถวายแด่หลวงพ่อเกษม เขมโก เนื่องในโอกาสที่หลวงพ่อท่านมีอายุครบ 74 พรรษา เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528

    ผู้เขียนได้เรียนถามหลวงพ่อว่า

    "การทำบุญอย่างไร จึงจะดีที่สุด"

    หลวงพ่อท่านได้เมตตาตอบว่า

    "ของดีนั้นอยู่ที่เรา ของดีนั้นอยู่ที่จิต จิตมี 3 ชั้น ตรี โท เอก ถ้าตรีก็ต่ำหน่อย โทก็ปานกลาง เอกนี่อย่างอุกฤษฏ์


    มันไม่มีอะไร...ก็ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตัวอนัตตานี่แหละเป็นตัวเอก ไล่ไปไล่มา ให้มันเห็นสังขารร่างกายเรา ตายแน่ๆ คนเราหนีตายไปไม่พ้น ตายน้อย ตายใหญ่

    ตายใหญ่ก็ตายหมด ตายน้อยก็หลับ ไปตรองดูให้ดีเถอะ..."


    --------------------------------
     
  14. @^น้ำใส^@

    @^น้ำใส^@ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    2,330
    ค่าพลัง:
    +4,674
    [​IMG]

    11. ต้องสำเร็จ

    หลวงพ่อเคยสอนว่า... "ความสำเร็จนั้นมิใช่อยู่ที่การสวดมนต์อ้อนวอนพระเจ้ามาประทานให้ หากแต่ต้องลงมือทำด้วยตนเอง ถ้าตั้งใจทำตามแบบแล้วทุกอย่างต้องสำเร็จ ไม่ใช่จะสำเร็จ พระพุทธเจ้าท่านวางแบบเอาไว้แล้ว ครูบาอาจารย์ทุกองค์มีพระพุทธเจ้าเป็นที่สุด ก็ได้ทำตามแบบ เป็นตัวอย่างให้เราดู อัฐิท่านก็กลายเป็นพระธาตุกันหมด เมื่อได้ไตร่ตรองพิจารณาให้รอบคอบแล้ว ขอให้ลงมือทำทันที ข้าขอรับรองว่า ต้องสำเร็จ ส่วนช้าหรือเร็วนั้น อยู่ที่ความเพียรของผู้ปฏิบัติ"

    ขอให้ตั้งปัญหาถามตัวเองว่า " สิ่งนั้น บัดนี้เราได้ลงมือทำแล้วหรือยัง?"
     
  15. @^น้ำใส^@

    @^น้ำใส^@ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    2,330
    ค่าพลัง:
    +4,674
    12. จะเอาโลกหรือเอาธรรม

    บ่อยครั้งที่มีผู้ถามปัญหากับหลวงพ่อ โดยมักจะนำเอาเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวกับหน้าที่การงาน สามี ภรรยา ลูกเต้า ญาติมิตร หรือคนอื่นๆ มาปรารถให้หลวงพ่อฟังอยู่เสมอ

    ครั้งหนึ่งท่านได้ให้คติเตือนใจผู้เขียนว่า

    "โลกเท่าแผ่นดิน ธรรมเท่าปลายเข็ม"

    ซึ่งต่อมาท่านได้เมตตาขยายความให้ฟังว่า

    "เรื่องโลกมีแต่เรื่องยุ่งของคนอื่นทั้งนั้น ไม่มีที่สิ้นสุด เราไปแก้ไขเขาไม่ได้ ส่วนเรื่องธรรมนั้นมีที่สุด มาจบที่ตัวเรา ให้มาไล่ดูตัวเอง แก้ไขที่ตัวเราเอง ตนของตนเตือนตนด้วยตนเอง

    ถ้าคิดสิ่งที่เป็นธรรมแล้ว ต้องกลับเข้ามาหาตัวเอง ถ้าเป็นโลกแล้ว จะมีแต่ส่งออกไปข้างนอกตลอดเวลา เพราะธรรมแท้ๆ ย่อมเกิดจากในตัวของเรานี้ทั้งนั้น"
     
  16. @^น้ำใส^@

    @^น้ำใส^@ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    2,330
    ค่าพลัง:
    +4,674
    13. แนะวิธีปฏิบัติ


    เคยมีสุภาพสตรีท่านหนึ่งมีปัญหาถามว่า นั่งปฏิบัติภาวนาแล้วจิตไม่รวม ไม่สงบ ควรจะทำอย่างไร ท่านแก้ให้ว่า

    "การปฏิบัติ ถ้าอยากให้เป็นเร็วๆ มันก็ไม่เป็น หรือไม่อยากให้เป็น มันก็ประมาทเสีย ไม่เป็นอีกเหมือนกัน อยากเป็นก็ไม่ว่า ไม่อยากเป็นก็ไม่ว่า ทำใจให้เป็นกลางๆ ตั้งใจให้แน่วแน่ในกัมมัฏฐานที่เรายึดมั่นอยู่นั้น แล้วภาวนาเรื่อยไป

    เหมือนกับเรากินข้าวไม่ต้องอยากให้มันอิ่ม ค่อยๆ กินไปมันก็อิ่มเอง ภาวนาก็เช่นกัน ไม่ต้องไปคาดหวังให้มันสงบ หน้าที่ของเรา คือ ภาวนาไป ก็จะถึงของดี ของวิเศษในตัวเรา แล้วจะรู้ชัดขึ้นมาว่าอะไรเป็นอะไร ให้หมั่นทำเรื่อยไป"
     
  17. @^น้ำใส^@

    @^น้ำใส^@ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    2,330
    ค่าพลัง:
    +4,674
    14. การบวชจิต - บวชใน


    หลวงพ่อเคยปรารภไว้ว่า...

    จะเป็นชายหรือหญิงก็ดี ถ้าตั้งใจประพฤติปฏิบัติ มีศีล รักในการปฏิบัติ จิตมุ่งหวังเอาการพ้นทุกข์เป็นที่สุด ย่อมมีโอกาสเป็นพระกันได้ทุกๆคน มีโอกาสที่จะบรรลุมรรคผล นิพพาน ได้เท่าเทียมกันทุกคน ไม่เลือกเพศ เลือกวัย หรือฐานะแต่อย่างใด ไม่มีอะไรจะมาเป็นอุปสรรคในความสำเร็จได้ นอกจากใจของผู้ปฏิบัติเอง

    ท่านได้แนะเคล็ดในการบวชจิตว่า...

    ในขณะที่เรานั่งสมาธิเจริญภาวนานั้น คำกล่าวว่า

    พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ... ให้นึกถึงว่าเรามีพระพุทธเจ้า เป็นพระอุปัชฌาย์ของเรา
    ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ ... ให้นึกว่าเรามีพระธรรม เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    สังฆัง สรณัง คัจฉษมิ ... ให้นึกว่าเรามีพระอริยสงฆ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    แล้วอย่าสนใจขันธ์ 5 หรือร่างกายเรานี้
    ให้สำรวมจิตให้ดี มีความยินดีในการบวช
    ชายจะเป็นพระภิกษุ หญิงก็เป็นพระภิกษุณี
    อย่างนี้จะมีอานิสงส์สูงมาก จัดเป็นเนกขัมบารมีขั้นอุกฤษฏ์ทีเดียว
     
  18. @^น้ำใส^@

    @^น้ำใส^@ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    2,330
    ค่าพลัง:
    +4,674
    ๑๕. ควรทำหรือไม่


    ครั้งหนึ่ง มีลูกศิษย์หลวงพ่อผู้สนใจธรรมปฏิบัติกำลังนั่งภาวนาเงียบอยู่ ไม่ห่างจากท่านเท่าใดนัก บังเอิญมีแขกมาหาศิษย์ผู้นั้นแต่ไม่เห็น ก็มีศิษย์อีกท่านหนึ่งเดินเรียกชื่อท่านผู้กำลังนั่งภาวนาอยู่ด้วยเสียงอันดัง และเมื่อเดินมาเห็นศิษย์ผู้นั้นกำลังภาวนาอยู่ก็จับแขนดึงขึ้นมาทั้งที่กำลังนั่งภาวนา

    เมื่อผู้นั้นห่างไปแล้ว หลวงพ่อท่านจึงเปรยขึ้นมาว่า

    "ในพุทธกาลครั้งก่อน มีพระอรหันต์องค์หนึ่งกำลังเข้านิโรธสมาบัติ ได้มีนกแสกตัวหนึ่งบินโฉบผ่านหน้าท่านพร้อมกับร้อง "แซก" ท่านว่านกแสกตัวนั้นเมื่อตายแล้วได้ไปอยู่ในนรก แม้กัปนี้พระพุทธเจ้าผ่านไปได้พระองค์ที่สี่แล้ว นกแสกตัวนั้นยังไม่ได้ขึ้นมาจากนรกเลย"
     
  19. @^น้ำใส^@

    @^น้ำใส^@ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    2,330
    ค่าพลัง:
    +4,674
    [​IMG]

    ๑๖. การอุทิศส่วนกุศลภายนอกภายใน


    มีบางท่านเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตายของหลวงพ่อ ซึ่งท่านเมตตาทำเป็นปกติ จึงมีความหวังว่าเมื่อตนตาย หลวงพ่อท่านจะเมตตาให้บุญส่งวิญญาณ ส่งจิตไปสวรรค์ ไปนิพพานได้ ด้วยตนเป็นผู้เข้าวัดทำทานและปรนนิบัติหลวงพ่อมานาน หลวงพ่อท่านก็เมตตาเตือนว่า

    "ถ้าข้าตายไปก่อน แล้วใครจะส่ง(บุญ)ให้แกล่ะ"

    ด้วยความไม่เข้าใจ ท่านผู้นั้นจึงมีคำตอบว่า

    "ขอให้หลวงพ่ออยู่ต่อไปนานๆ ให้พวกผมตายก่อน"

    นี่เป็นจุดชวนคิดในคำเตือนของท่านที่บอกเป็นนัยว่า การไปสุคติหรือการหลุดพ้นนั้น ต้องปฏิบัติ ต้องสร้างด้วยตนเองเป็นสำคัญ มิใช่หวังพึ่งบุญพึ่งกุศลผู้อื่น การอาศัยผู้อื่นเมื่อตายแล้วนั้นเป็นเพียงส่วนน้อยที่อาจจะได้ อีกทั้งยังเป็นความไม่แน่นอนด้วย สู้ทำด้วยตัวเองไม่ได้ เป็นแง่คิดให้คิดว่า ต้องปฏิบัติตนให้มั่นใจในตนเองตั้งแต่ก่อนตาย เมื่อถึงเวลาจำต้องทิ้งขันธ์จะไม่ต้องมัวกังวลต่อภพชาติภายหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิบัติให้รู้แจ้งในธรรมตั้งแต่ปัจจุบันนี้เป็นดียิ่งทีเดียว
     
  20. @^น้ำใส^@

    @^น้ำใส^@ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    2,330
    ค่าพลัง:
    +4,674
    ๑๗. สติธรรม


    บ่อยครั้งที่พวกเราถูกหลวงพ่อท่านดุในเรื่องของการไม่สำรวมระวัง ท่านมักจะดุว่า

    "ให้ทำ (ปฏิบัติ) ไม่ทำ ทำประเดี๋ยวเดียว เดี๋ยวออกมาจับกลุ่มกันอีกแล้ว ทีเวลาคุย คุยกันได้นาน"

    ปฏิปทาของท่านต้องการให้พวกเราตั้งใจปฏิบัติ ตั้งใจทำให้จริง มีสติ สำรวมระวัง แม้เวลากินข้าว ท่านก็ให้ระวังอย่าพูดคุยกันเอะอะเสียงดัง

    สติ นั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่จะทำให้เราได้หยุดคิด พิจารณาก่อนที่จะทำ จะพูด และแม้แต่จะคิดสิ่งใดสิ่งหนึ่งว่าสิ่งนั้นดีหรือชั่ว มีคุณประโยชน์หรือเสียหาย ควรกระทำหรือควรงดเว้นอย่างไร เมื่อยั้งคิดได้ก็จะช่วยให้พิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างละเอียดประณีต และสามารถกลั่นกรองเอาสิ่งที่ไม่เป็นสาระไม่เป็นประโยชน์ออกให้หมด คงเหลือแต่เนื้อที่ถูกต้องและเป็นธรรมซึ่งเป็นของควรคิด ควรพูด ควรทำแท้ๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...