เรื่องเด่น ขอเชิญชวน ร่วมใจสวดมนต์ สาธยายรัตนสูตร ทั่วไทย สร้างขวัญกำลังใจ ขจัดโรคภัย ทุกประการ

ในห้อง 'ประกาศจาก เว็บพลังจิต' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 12 มีนาคม 2020.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,020
    สวดมนต์1.jpg สวดมนต์.jpg สวดมนต์2.jpg


    ขอเชิญชวน ''ร่วมใจสวดมนต์ สาธยายรัตนสูตร ทั่วไทย สร้างขวัญกำลังใจ ขจัดโรคภัย ทุกประการ''

    ในวันเสาร์ที่ 28 มีนาคม 2563 เวลา 18.30 น.
    ณ วัดต่าง ๆ (ช่วงทำวัตรเย็น) บ้านพักที่อาศัยของตนเอง ที่ทำงาน ฯลฯ พร้อมกัน ทั่วไทย


    โดยความร่วมมือของภาคีเครือข่าย
    กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม อนุกรรมการฝ่ายกิจกรรมมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สภาศิลปินส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย มูลนิธิธรรมดี
    มูลนิธิพุทธจักษุวิชชาลัย เว็บพลังจิต
    และ สมาคมสภาพุทธศาสนนิกสัมพันธ์
     
  2. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,020

    Buddha-Weekly-Buddha-Teaching-Buddhism.jpg


    ไฟล์เสียง บทสวด รัตนสูตร - สมเด็จพระญาณสังวรฯ

    รัตนสูตร เป็นพระสูตรที่พระพุทธองค์ทรงสอนแก่พระอานนท์ เพื่อใช้สวดขจัดปัดเป่าภัยพิบัติร้ายแรงทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับชาวกรุงเวสาลี มีทั้งโรคระบาด อันตรายจากภูตผีปีศาจ ความอดอยากล้มตาย
    พระพุทธองค์ทรงแนะนำให้พระอานนท์เถระรำลึกถึงคุณพระรัตนะ คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ ทำสัจกิริยาประพรหมน้ำพระพุทธมนต์ให้เกิดความสุขสวัสดีแก่ชาวกรุงเวสาลี ด้วยอานุภาพแห่งพระรัตนสูตรนี้ ภัยพิบัติร้ายแรงได้ระงับลงอย่างฉับพลัน

    ปัจจุบันนิยมสวดรัตนสูตรทุกครั้งที่มีการทำน้ำพระพุทธมนต์ ทั้งยังมีอานุภาพป้องกันจากโจรผู้ร้าย นายผู้ปกครอง อาวุธ เคราะห์กรรม สัตว์ร้ายและภัยธรรมชาติอีกด้วย


    ที่มา sombool2012
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,020
    พระคาถา รัตนสูตร


    ระตะนะสุตตัง

    ยานีธะ ภูตานิสะมาคะตานิ
    ภุมมานิวา ยานิวะ อันตะลิกเข,
    สัพเพ วะ ภูตา สุมะนา ภะวันตุ
    อะโถปิสักกัจจะ สุณันตุ ภาสิตัง,
    ตัส๎มา หิภูตา นิสาเมถะ สัพเพ
    เมตตัง กะโรถะ มานุสิยา ปะชายะ,
    ทิวา จะ รัตโต จะ หะรันติเย พะลิง
    ตัส๎มา หิเน รักขะถะ อัปปะมัตตา ฯ
    ยังกิญจิวิตตัง อิธะ วา หุรัง วา,
    สัคเคสุวา ยัง ระตะนัง ปะณีตัง,
    นะ โน สะมัง อัตถิตะถาคะเตนะ,
    อิทัมปิพุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง,
    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิโหตุฯ

    ขะยัง วิราคัง อะมะตัง ปะณีตัง
    ยะทัชฌะคา สัก๎ยะมุนีสะมาหิโต,
    นะ เตนะ ธัมเมนะ สะมัตถิกิญจิ,
    อิทัมปิธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง,
    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิโหตุฯ
    ยัมพุทธะเสฏโฐ ปะริวัณณะยีสุจิง
    สะมาธิมานันตะริกัญญะมาหุ,
    สะมาธินา เตนะ สะโม นะ วิชชะติ,
    อิทัมปิธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง,
    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิโหตุฯ
    เย ปุคคะลา อัฏฐะ สะตัง ปะสัฏฐา
    จัตตาริเอตานิยุคานิโหนติ
    เต ทักขิเณยยา สุคะตัสสะ สาวะกา,
    เอเตสุทินนานิมะหัปผะลานิ,
    อิทัมปิสังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง,
    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิโหตุฯ

    เย สุปปะยุตตา มะนะสา ทัฬ๎เหนะ
    นิกกามิโน โคตะมะสาสะนัมหิ,
    เต ปัตติปัตตา อะมะตัง วิคัย๎หะ
    ลัทธา มุธา นิพพุติง ภุญชะมานา,
    อิทัมปิสังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง,
    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิโหตุฯ
    ยะถินทะขีโล ปะฐะวิง สิโต สิยา
    จะตุพภิวาเตภิอะสัมปะกัมปิโย,
    ตะถูปะมัง สัปปุริสัง วะทามิ
    โย อะริยะสัจจานิอะเวจจะ ปัสสะติ,
    อิทัมปิสังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง,
    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิโหตุฯ
    เย อะริยะสัจจานิวิภาวะยันติ
    คัมภีระปัญเญนะ สุเทสิตานิ
    กิญจาปิเต โหนติภุสัปปะมัตตา
    นะ เต ภะวัง อัฏฐะมะมาทิยันติ,

    อิทัมปิสังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง,
    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิโหตุฯ
    สะหาวัสสะ ทัสสะนะสัมปะทายะ
    ต๎ยัสสุธัมมา ชะหิตา ภะวันติ
    สักกายะทิฏฐิวิจิกิจฉิตัญจะ
    สีลัพพะตัง วาปิยะทัตถิกิญจิ,
    จะตูหะปาเยหิจะ วิปปะมุตโต
    ฉะ จาภิฐานานิอะภัพโพ กาตุง,
    อิทัมปิสังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง,
    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิโหตุฯ
    กิญจาปิโส กัมมัง กะโรติปาปะกัง
    กาเยนะ วาจายุทะ เจตะสา วา
    อะภัพโพ โส ตัสสะ ปะฏิจฉะทายะ,
    อะภัพพะตา ทิฏฐะปะทัสสะ วุตตา,
    อิทัมปิสังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง,
    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิโหตุฯ

    วะนัปปะคุมเพ ยะถา ผุสสิตัคเค
    คิมหานะมาเส ปะฐะมัส๎มิง คิมเห,
    ตะถูปะมัง ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ
    นิพพานะคามิง ปะระมัง หิตายะ,
    อิทัมปิพุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง,
    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิโหตุฯ
    วะโร วะรัญญูวะระโท วะราหะโร,
    อะนุตตะโร ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ,
    อิทัมปิพุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง,
    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิโหตุฯ
    ขีณัง ปุราณัง นะวัง นัตถิสัมภะวัง
    วิรัตตะจิตตายะติเก ภะวัส๎มิง,
    เต ขีณะพีชา อะวิรุฬ๎หิฉันทา
    นิพพันติธีรา ยะถายัมปะทีโป,
    อิทัมปิสังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง,
    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิโหตุฯ

    ยานีธะ ภูตานิสะมาคะตานิ
    ภุมมานิวา ยานิวะ อันตะลิกเข,
    ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง
    พุทธัง นะมัสสามะ สุวัตถิโหตุฯ
    ยานีธะ ภูตานิสะมาคะตานิ
    ภุมมานิวา ยานิวะ อันตะลิกเข,
    ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง
    ธัมมัง นะมัสสามะ สุวัตถิโหตุฯ
    ยานีธะ ภูตานิสะมาคะตานิ
    ภุมมานิวา ยานิวะ อันตะลิกเข,
    ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง
    สังฆัง นะมัสสามะ สุวัตถิโหตุฯ

    ความหมายรัตนสูตร ในขุททกปาฐะ

    [๗] ภูตเหล่าใด ประชุมกันแล้วในประเทศนี้ก็ดี หรือภุมมเทวดา เหล่าใดประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี ขอหมู่ภูตทั้งปวงจงเป็นผู้มีใจดี และจงฟังภาษิตโดยเคารพ ดูกรภูตทั้งปวง เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายจงตั้งใจฟัง ขอจงแผ่เมตตาจิตในหมู่มนุษย์ มนุษย์เหล่าใด นําพลีกรรมไปทั้งกลางวันทั้งกลางคืน เพราะเหตุนั้นแล

    ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาทรักษามนุษย์เหล่านั้น ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่ง ในโลกนี้หรือในโลกอื่น หรือรัตนะใดอันประณีตในสวรรค์ ทรัพย์และรัตนะนั้น เสมอด้วยพระตถาคตไม่มีเลย

    พุทธรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วย สัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

    พระศากยมุนีมีพระหฤทัยดํารงมั่น ได้บรรลุธรรมอันใดเป็นที่สิ้นกิเลส เป็นที่สํารอกกิเลส เป็นอมฤตธรรมอันประณีต ธรรมชาติอะไรๆ เสมอด้วยพระธรรมนั้น ย่อมไม่มี

    ธรรมรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

    พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ทรงสรรเสริญแล้วซึ่งสมาธิใดว่าเป็นธรรมอันสะอาด บัณฑิตทั้งหลายกล่าวซึ่ง สมาธิใด ว่าให้ผลในลําดับ

    สมาธิอื่นเสมอด้วยสมาธินั้นย่อมไม่มี ธรรมรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

    บุคคล ๘ จําพวก ๔ คู่ อันสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญแล้ว บุคคลเหล่านั้นควรแก่ทักษิณาทาน เป็นสาวกของพระตถาคต ทานที่บุคคลถวายแล้วในท่านเหล่านั้น ย่อมมีผลมาก สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีตด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

    พระอริยบุคคลเหล่าใด ในศาสนาของพระ โคดม ประกอบดีแล้ว [ด้วยกายประโยคและวจีประโยคอันบริสุทธิ์ มีใจมั่นคงเป็นผู้ไม่มีความห่วงใย [ในกายและชีวิต]

    พระอริยบุคคลเหล่านั้น บรรลุอรหัตผลที่ควรบรรลุหยั่งลงสู่อมตนิพพาน ได้ซึ่งความดับกิเลสโดยเปล่า เสวยผลอยู่ สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะ อันประณีต ด้วยสัจจะวาจานี้ขอความสวัสดีจง มีแก่สัตว์เหล่านี้

    เสาเขื่อนที่ฝังลงดินไม่หวั่นไหวเพราะลมทั้งสี่ทิศ ฉันใด ผู้ใดพิจารณาเห็นอริยสัจทั้งหลาย เราเรียกผู้นั้นว่า เป็นสัตบุรุษผู้ไม่หวั่นไหวเพราะโลกธรรมมีอุปมาฉันนั้น สังฆรัตนะนี้ เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจะวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

    พระอริยบุคคลเหล่าใด ทําให้แจ้งซึ่งอริยสัจทั้งหลาย อันพระศาสดาทรงแสดงดีแล้ว ด้วยปัญญาอันลึกซึ้ง พระอริยบุคคลเหล่านั้น ยังเป็นผู้ประมาทอย่างแรงกล้าอยู่ก็จริง ถึงกระนั้น ท่านยอมไม่ยึดถือเอาภพที่ ๘ สังฆรัตนะแม่นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจะวาจานี้ ขอความสวัสดี จงมีแก่สัตว์เหล่านี้

    สักกายทิฏฐิและวิจิกิจฉา หรือแม้สีลัพพต ปรามาส อันใดอันหนึ่งยังมีอยู่ ธรรมเหล่านั้น อันพระอริยบุคคลนั้นละได้แล้วพร้อมด้วยความถึงพร้อมแห่งการเห็น [นิพพาน] ทีเดียว

    อนึ่ง พระอริยบุคคลเป็นผู้พันแล้วจากอบาย ทั้ง ๔ ทั้งไม่ควรเพื่อจะทําอภิฐานทั้ง ๖ [ คือ อนันตริยกรรม ๕ และการเข้ารีด] สังฆรัตนะแม่นี้เป็นรัตนะ อันประณีต ด้วยสัจจะวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

    พระอริยบุคคลนั้นยัง ทําบาปกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา หรือด้วยใจก็จริง ถึงกระนั้นท่านไม่ควร เพื่อจะปกปิดบาปกรรมอันนั้น ความที่บุคคลผู้มีธรรมเครื่องถึงนิพพาน อันตนเห็นแล้ว เป็นผู้ไม่ควรเพื่อปกปิด บาปกรรมนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว สังฆรัตนะแม้นี้ เป็นรัตนะอันประณีตด้วยสัจจะวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

    พุ่มไม้ในป่ามียอดอันบานแล้วในเดือนต้น ในคิมหันตฤดู ฉันใดพระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐยิ่ง เป็นเครื่องให้ถึงนิพพาน เพื่อประโยชน์เกื้อกูลมีอุปมา ฉันนั้นพุทธรัตนะ แม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจะวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

    พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ทรงทราบธรรมอันประเสริฐ ทรงประทานธรรมอันประเสริฐ ทรงนํามาซึ่งธรรมอันประเสริฐ ไม่มีผู้ยิ่งไปกว่า ได้ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐ พุทธรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีตด้วยสัจจะวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

    พระอริยบุคคลเหล่าใดผู้มีจิตอันหน่ายแล้ว ในภพต่อไป มีกรรมเก่าสิ้นแล้ว ไม่มีกรรมใหม่เครื่องสมภพพระอริยบุคคลเหล่านั้น มีพืชอันสิ้นแล้ว มีความพอใจไม่งอกงามแล้ว เป็นนักปราชญ์ ยอมนิพพาน เหมือนประทีปอันดับไป ฉะนั้น สังฆรัตนะ แม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจะวาจา นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

    ภูตเหล่าใดประชุมกันแล้ว ในประเทศนี้ก็ดี หรือภุมมเทวดาเหล่าใดประชุมกันแล้ว ในอากาศก็ดี เราทั้งหลาย จงนมัสการ พระพุทธเจ้า ผู้ไปแล้วอย่างนั้น ผู้อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บูชาแล้ว ขอความสวัสดี จงมีแก่สัตว์เหล่านี้

    ภูตเหล่าใดประชุมกันแล้ว ในประเทศก็ดี หรือภุมมเทวดาเหล่าใดประชุมกันแล้ว ในอากาศก็ดี เราทั้งหลาย จงนมัสการ พระธรรม อันไปแล้วอย่างนั้น อันเทวดาและมนุษย์ บูชาแล้ว ขอความสวัสดี จงมีแก่สัตว์เหล่านี้

    ภูตเหล่าใดประชุมกันแล้ว ในประเทศนี้ก็ดี หรือ ภุมมเทวดาเหล่าใดประชุมกันแล้ว ในอากาศก็ดี เราทั้งหลาย จงนมัสการ พระสงฆ์ ผู้ไปแล้วอย่างนั้น ผู้อันเทวดาและมนุษย์ บูชาแล้ว ขอความสวัสดี จงมีแก่สัตว์เหล่านี้

    จบ รัตนสูตร ฯ — อ้างอิง พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ- ธรรมบทอุทาน – อิติวุตตกะ- สุตตนิบาต หน้าที่ ๓ – ๖ หัวข้อที่ ๗



    ที่มา https://palungjit.org/threads/710495
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มีนาคม 2020
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...