ก่อนปฎิบัติต้องทำความเข้าใจเรื่อง "ทาน ศีล ภาวนา รวมถึงการแผ่เมตตา และการอุทิศบุญ"

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย tsukino2012, 30 พฤษภาคม 2013.

  1. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,311
    ค่าพลัง:
    +3,090
    [​IMG]

    ก่อนปฏิบัติต้องทำความเข้าใจเรื่อง " ทาน ศีล ภาวนา รวมถึงการแผ่เมตตา และการอุทิศบุญ"


    บทความนี้ อยากให้ผู้ที่ยังไม่เคยปฏิบัติ หรือเพิ่งเริ่มปฏิบัติ แต่ไม่เข้าใจว่าเราจะปฏิบัติไปทำไม ได้อ่าน
    และเป็นบทความที่เขียนจากประสบการณ์ตรงของผู้เขียนเอง ใช้วิจารณญาณในการอ่านด้วยครับ


    “ทาน”
    องค์ประกอบของการให้ทาน มี ๓ ประการ

    ๑.วัตถุทาน
    คือสิ่งใดๆไม่ว่าจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรม ที่เราสละหรือส่งต่อให้กับผู้ที่ประสงค์จะให้
    วัตถุทานนั้น ควรจะเป็นวัตถุที่บริสุทธิ์ เป็นสิ่งที่ไม่ให้โทษ เป็นสิ่งที่ได้มาโดยสุจริต
    ไม่ได้นำพามาด้วย การขโมย ยักยอก หลอกลวงผู้ใดมา วัตถุทานที่บริสุทธิ์มากนำพามา
    ซึ่งอานิสงส์และกุศลผลบุญมาสู่ตัวเรามาก เช่น หนังสือธรรมะ วัตถุที่ไม่บริสุทธิ์ก็นำพามา
    ซึ่งอานิสงส์และอกุศลผลกรรมที่ไม่ดีสู่เรา เช่น เหล้า อาวุธ และสิ่งที่จะสะสมไว้ในตอนมีชีวิต
    ก็คือกุศลผลบุญ และเมื่อตายลงกุศลผลบุญที่สะสมไว้นั้นแล จะเป็นตัวชี้นำดวงจิตของเราไปสู่ที่ที่ดีๆ
    ตรงกันข้ามถ้าสะสมอกุศลกรรมไว้มากๆ ก็จะไปที่ที่ไม่ดี

    ๒.ผู้ให้
    กุศลผลบุญที่จะได้รับ ขึ้นกับเจตนาที่เป็นเรื่องของจิต ที่สามารถแบ่งได้เป็น ๓ ช่วง
    คือก่อนจะให้ กำลังให้ และหลังให้ไปแล้ว เมื่อเกิดความตั้งใจที่จะให้ทาน
    จิตเกิดเป็นกุศล แม้ยังไม่ทันได้ให้ แต่ตัวกุศลผลบุญเกิดขึ้นแล้ว
    เช่น ตั้งใจจะตักบาตรพรุ่งนี้เช้า รีบซื้อวัตถุดิบมาทำอาหาร จิตใจเบิกบานจะได้ทำบุญ
    เป็นกุศลจิต ได้บุญไปแล้ว และช่วงที่กำลังให้ทานนั้น ยังมีจิตที่ปลื้มปิติกับการให้นั้นๆ
    จิตก็ยังคงเป็นกุศล ก็เกิดตัวบุญขึ้นอีก เช่น ช่วงที่ตักข้าวใส่บาตรพระ
    ใบหน้ายิ้มแย้มหัวใจชื่นบาน รับไปอีกหนึ่งบุญ และสุดท้าย เมื่อเราได้ให้ทานสำเร็จลงไปแล้วนั้นเอง
    เรายังกลับมาคิด นึกถึงบุญนั้น แล้วเกิดความปิติมีความสุข ยินดีกับผลของทานในครั้งนั้นอีก
    จิตเกิดเป็นกุศล ก็จะได้อีกหนึ่งบุญ เท่ากับให้ทานครั้งเดียว ได้สามบุญ
    แต่ถ้าเรามาคิดถึงการให้ทานที่สำเร็จลงไปแล้วนั้นบ่อยๆ ทำให้จิตมีสุข
    ปิติยินดีได้เหมือนช่วงที่เรากำลังให้ในครั้งนั้น เราจะได้บุญทุกครั้งที่เราระลึกถึง


    ในทางตรงกันข้าม ถ้าจิตของผู้ที่จะให้ทาน เศร้าหมอง โดนบังคับ ไม่อยากทำ ไม่เต็มใจ
    เกิดเป็นความอึดอัด ขุ่นเคือง มีความยินดีปิติกับการให้ทานนั้นๆน้อย หรือไม่ยินดีเลย
    ก็อาจจะไม่ได้หรือได้รับบุญจากการให้ครั้งนั้นน้อย เช่น เห็นเขาทำก็ทำตามเขา
    ทำเพราะอยากได้หน้าบ้าง ทำเพื่ออยากเอาชนะบ้าง
    ตัวอย่าง ขอทานให้ทานด้วยความศรัทธาทั้ง ๒๐ บาท ได้บุญมากกว่ามหาเศรษฐีพันล้าน
    ที่ถวายเงินเข้าวัดหนึ่งแสนเพื่อจะแลกกับหน้าตาชื่อเสียง เพราะตัวบุญที่ได้นั้น
    ไม่ได้วัดที่จำนวนวัตถุทานที่ให้ แต่บุญเกิดจากจิตที่เป็นกุศล ขอทานนั้นมีจิตศรัทธา
    จิตเกิดกุศลมาก ก็ได้รับบุญมาก เศรษฐีพันล้านไม่มีจิตที่อยากจะทำบุญจริงๆ
    เอาเงินจำนวนที่มีค่าน้อยสำหรับตนเองมาแลกกับชื่อเสียง กุศลจิตอาจเกิดเพียงประมาณหนึ่ง
    หรืออาจจะไม่มีเลย ผลบุญที่ได้รับจึงต่างกันมาก


    การโมทนาบุญก็เช่นกัน เป็นการโน้มนำกุศลให้เกิดที่จิตจากการให้เหมือนกัน
    เพียงแต่การให้นั้นๆเรามิได้เป็นผู้ลงมือให้ด้วยตนเองเท่านั้น แต่อาศัยการยินดีของจิต
    ในการทำดีของผู้อื่น เมื่อเรามีความยินดีปิติ บุญก็เกิดเช่นกัน เทียบเท่ากับการทำเองเลย
    เผลอๆได้มากกว่า ถ้าเรามีความยินดีในการให้นั้นๆมากกว่าเจ้าตัวผู้ทำ
    เช่น เศรษฐีมอบเงินถวายวัดสร้างส้วม และขอให้แปะชื่อตนไว้ด้วยเพื่อเอาหน้าไม่มีศรัทธา
    ไม่ได้ให้ทานด้วยความอนุเคราะห์ แต่เรายินดีกับการให้ของเขาจนมีความปิติมาก
    บุญจากการโมทนาด้วยจิตที่มีความศรัทธาที่บริสุทธิเลยได้บุญมากกว่า


    ๓.ผู้รับ
    หรือเรียกกันว่า เนื้อนาบุญ เมื่อผู้รับมีความดีมาก อานิสงส์ก็ยิ่งมาก
    เรื่องของอานิสงส์ต่างจากตัวบุญ เป็นเหมือนผลตอบแทนในสิ่งที่เรากระทำ
    เปรียบดั่งการเอาเมล็ดมะม่วงมาปลูก ก็ต้องได้ต้นมะม่วงเอาไว้เก็บผลมะม่วงกินนั่นเอง
    เช่น เมื่อเราตักบาตร อานิสงส์ของการตักบาตร คือการให้กับพุทธศาสนาเพื่อให้ดำรงอยู่ต่อไป
    มีผลให้เราเป็นผู้มีอายุยืน ไร้โรคร้ายมาเบียดเบียน ตามกฎแห่งเหตุปัจจัย ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
    ปลูกต้นมะม่วง ย่อมได้ผลมะม่วง เรื่องของอานิสงส์ผลตอบแทนจากการให้ทานมีกล่าวไว้มาก
    แต่ไม่ใช่จุดที่สำคัญอะไร จะไม่ขอกล่าวถึงในบทความนี้

    เวลาที่เราได้ให้ทานกับผู้ใด จะมีสายบุญเชื่อมกับผู้นั้น เช่นเราได้ให้ทานกับพระรูปหนึ่ง
    เมื่อพระรูปนั้นได้ไปเทศนาและมีคนเห็นธรรม อานิสงส์นั้นจะมาสู่ตัวเราด้วย
    อุปมาเหมือนการซื้อปลาที่จะถูกฆ่ามาปล่อย และปลาที่เราปล่อยมีชีวิตรอด
    สามารถไปแพร่พันธุ์ได้จำนวนมากมาย เท่ากับว่าผลจากการให้ทาน ( ชีวิต )
    กับปลาเพียงตัวเดียว ได้ให้โอกาสกำเนิดชีวิตอีกมากมาย
    อานิสงส์จากการให้ชีวิตลูกปลาเหล่านั้น รวมถึงตัวที่เราปล่อย ก็ย่อมต้องมาถึงเราเช่นกัน
    เขาเรียกอานิสงส์ไม่จบสิ้น ตามกฎแห่งเหตุปัจจัย เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงมี
    มีเราในวันนั้น เขาจึงมีวันนี้ ดังนั้นความสำเร็จใดๆของเขาทั้งหลาย ย่อมมาสำเร็จสู่เรา


    เนื้อนาบุญที่ดี เปรียบดั่งดินดี หว่านอะไรไปก็งอกงาม เนื้อนาบุญที่ไม่ดี เปรียบดั่งดินที่ไม่ดี
    หว่านอะไรไปก็ไม่งอกงาม ที่คำสอนของพุทธองค์ว่าไว้ ให้ทานกับสัตว์ดิรัจฉาน ร้อยครั้ง
    ได้อานิสงส์ไม่เท่ากับให้ทานกับ มนุษย์ผู้ทุศีลเพียงครั้งเดียว ให้ทานกับมนุษย์ทุศีล ร้อยครั้ง
    ก็ยังได้รับอานิสงส์ไม่เท่ากับ ให้ทานกับมนุษย์ผู้มีศีล ๕ เพียงครั้งเดียว
    ไล่ไปตามลำดับสูงขึ้นจนถึงระดับอริยบุคคล โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์
    จนถึงทานที่ถวายแก่ศาสนาที่มีพุทธองค์เป็นประธาน ทำไมล่ะ ก็เพราะ การให้ทานกับดิรัจฉาน
    ซึ่งมีชีวิตอยู่ไปวันๆไม่ได้ทำประโยชน์อะไร แต่มนุษย์ยังสามารถไปคิดดีทำดีช่วยเหลือคน
    หรือทำสิ่งที่ดีๆได้อีกมากมายและผลจากสิ่งเหล่านั้นแล จะมีอานิสงส์มาถึงเราเสมอ
    การให้ทานมากๆ ทำให้เรามีสายบุญเชื่อมกับผู้คนมากมาย นอกจากเกิดอานิสงส์ไม่รู้จบแล้ว
    ถือเป็นการสร้างบารมีอย่างหนึ่ง พออ่านมาถึงตรงนี้ งั้นก็ไปให้ทานกับเฉพาะพระสงฆ์
    ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอย่างเดียวดีกว่า ท่านมีศีลตั้ง ๒๒๗ ข้อ คิดเช่นนั้นไม่ถูก
    แน่นอนเราได้อานิสงส์แต่ด้วยจิตคิดหวังแต่อานิสงส์จึงเป็นจิตที่ไม่บริสุทธิ์
    จะทำให้การให้ทานนั้นได้กุศลผลบุญน้อยหรือไม่ได้เลย
    ฉะนั้นเมื่อโอกาสอำนวยในการให้ทาน ไม่ควรที่จะรีรอหรือเลือกให้ทานเฉพาะกับเนื้อนาบุญที่ดีเลิศ
    เพราะเท่ากับตัดหนทางการสะสมผลบุญของตัวเองไป และกลายเป็นคนใจแคบโดยไม่รู้ตัว


    การให้ทาน ดีอย่างไร
    ๑.ได้บุญกุศล และได้รับอานิสงส์จากเนื้อนาบุญที่เราให้
    ๒.ตัดความรู้สึก ที่จะนำเราสู่อบายภูมิ คือ ความยึดมั่น ความตระหนี่ ความหวงแหนในทรัพย์

    เมื่อเราให้ทานเป็นประจำ จะตัดความยึดมั่นอย่างไร มาดูกัน
    ยกตัวอย่าง เราให้ทานสม่ำเสมอด้วยเงิน ๑๐๐ บาท วันหนึ่งกระเป๋าเงินหาย
    สูญเงินไป ๑๐๐๐ บาท เราก็เศร้าเสียใจ เมื่อเราให้ทานสม่ำเสมอ
    และเพิ่มจำนวนขึ้นทีละนิด ตามกำลัง จากเดิมให้ ๑๐๐ บาท วันนี้ให้เป็น ๒๐๐ บาท
    จนเดี๋ยวนี้ให้ทานเป็นปรกติ ด้วยจำนวน ๑๐๐๐ บาท วันหนึ่งกระเป๋าเงินเราหาย
    เราสูญเงินไป ๑๐๐๐ บาท เราก็ไม่เสียใจ เพราะคิดซะว่าทำทาน
    อย่างนี้เราได้ชื่อว่าตัดความยึดมั่นในทรัพย์ไปได้ ๑๐๐๐ บาท
    แต่เมื่อวันใดวันหนึ่งกระเป๋าเงินหาย สูญเงินไป ๒๐๐๐ บาท
    เราก็กลับมาเศร้าเสียใจอีก

    ฉะนั้น การให้ทานให้มากขึ้นเพื่อละความยึดมั่น ต้องค่อยๆเป็นค่อยๆไปตามกำลัง
    คือให้ทานแล้วไม่เบียดเบียนตนเอง มิใช่ให้ทาน ๑๐๐๐ ทั้งๆที่ใจเรายังตัดความยึดมั่น
    ได้แค่ ๑๐๐-๒๐๐ บาท มิฉะนั้น จากที่จะได้ตัดความยึดมั่น ความตระหนี่ ความหวงแหน
    จะกลายเป็นทำให้เกิดทุกข์ขึ้นมาแทน


    [​IMG]

    "ศีล"
    คือ การสำรวม ระวัง และการละเว้น เหมือนเป็นการสร้างเกราะป้องกัน
    เพื่อป้องกันตัวของเราไม่ให้หลงไปสร้างอกุศลกรรม เพื่อเสริมสร้างความเมตตาให้กับตนเอง
    ด้วยศีล ๕ ที่เป็นพื้นฐานของมนุษย์ ต้องพยายามรักษาศีล ๕ ให้บริสุทธิ์เท่าที่จะทำได้
    อย่างศีลข้อปาณา คือ ละเว้นจากการเบียดเบียนชีวิต คือต้องไม่เบียดเบียนไม่ทำร้ายหรือฆ่า
    แม้แต่ความคิดที่จะฆ่าก็ต้องละเว้น ต้องลบออกไปจากใจ ตรงกันข้าม
    ต้องเกิดเป็นจิตที่หวังอนุเคราะห์ให้เขามีชีวิตรอดต่อไป และพร้อมที่จะเข้าช่วยเหลือเขาเมื่อสบโอกาส
    นี่เองคือหนทางการเจริญเมตตา การรักษาศีลนี้เองที่จะทำให้เราเป็นคนที่รู้จักเอื้อเฟื้อ
    ช่วยเหลือผู้อื่นที่ตกทุกข์ได้ยาก ซึ่งจะทำให้จิตใจของเรานั้นชื่นบานเกิดกุศล
    อีกทั้งยังส่งผลไปถึงการให้ทาน เมื่อให้ด้วยจิตบริสุทธิ์มากกุศลผลบุญและอานิสงส์ก็ยิ่งมาก


    ถามว่าเหยียบมดตายบาปหรือไม่ ถ้าเราไม่มีเจตนา เราไม่คิดจะฆ่าเขา
    แต่มันเป็นเหตุสุดวิสัย คือไม่ตั้งใจ ไม่เป็นบาป แต่ยังไงซะเขาก็ตาย ผลกรรมจากการกระทำ
    ไม่ว่าจะเจตนาหรือไม่เจตนา เรายังต้องชดใช้ และผลกรรมนั้นจะไปรอเราในอบายภูมิ
    แต่ถ้าเรามีเจตนาจะฆ่าเขา เช่น จงใจไปเหยียบเขาตาย คิดจะฆ่าเขาให้ตาย
    เป็นอกุศลจิต ผิดตั้งแต่เริ่มคิดแล้ว เมื่อจิตไปโน้มนำเอาความคิดที่เป็นอกุศลมา
    บาปอกุศลก็จะมาสู่ตัวเราแม้เรายังไม่ลงมือกระทำ แต่ถ้าเราลงมือกระทำด้วยแล้ว
    นอกจากจะได้บาปอกุศลมาแล้ว ยังได้เจ้ากรรมนายเวรเป็นของแถม หรือแม้แต่เราไม่ตั้งใจเหยียบเขา
    แต่เราเสียใจและเศร้าหมองกับสิ่งที่เราพลาดทำลงไป ถึงแม้ไม่เกิดเป็นเจ้ากรรมนายเวรเพราะเราไม่ตั้งใจ
    แต่จิตเราไปโน้มนำเอาความเศร้าเสียใจซึ่งเป็นจิตฝ่ายอกุศล บาปอกุศลก็เกิดเหมือนกัน
    ฉะนั้นการรักษาศีล คือการละเว้นที่ระดับของจิต เพื่อไม่ให้คิดถึงอกุศลกรรมต่างๆ
    ทำใจให้บริสุทธิ์ไม่เศร้าหมอง ทำได้อย่างนี้ก็ไม่ต้องกลัวว่าเราจะต้องตกลงสู่อบายภูมิไปชดใช้กรรม


    [​IMG]

    "ภาวนา"
    ภาวนา คือการทำสมาธิ ระลึกรู้ตัว รู้สติ พิจารณาไตร่ตรอง สิ่งต่างๆรอบตัว
    การภาวนาแบ่งเป็นสองแบบ คือแบบ สมถะ กับ วิปัสสนา


    สมถะถาวนา คือการข่มจิตให้นิ่ง ปล่อยวางจากกิเลสชั่วขณะ เช่น การสวดมนต์และการนั่งสมาธิ
    ก็เป็นสมถภาวนา คือ เมื่อเลิกจากการปฏิบัติกิเลสก็กลับมาเหมือนเดิม กิเลสอยู่ครบไม่ได้หายไปไหนเลย
    เปรียบกิเลสเป็นเสือ สมถภาวนาก็คือ การจับเสือใส่กรงเพื่อไม่ให้มันออกมาทำร้ายเราได้
    สมถภาวนาฝึกปฏิบัติยาก แต่จะได้ผลไว ผลลัพธ์คือ ทำให้เกิดญาณหยั่งรู้ระดับโลกียอภิญญา
    คือ ตาทิพย์ หูทิพย์ เป็นต้น


    วิปัสสนาภาวนา คือการพินิจพิจารณาตามความเป็นจริง เพื่อให้เห็นถึงโทษของกิเลสและเกิดความเบื่อหน่ายขึ้น
    ระงับเสียที่ต้นตอความคิดที่เป็นตัวไปยึดติดกับกิเลส เปรียบดั่งการที่เราค่อยๆฆ่าเสือทิ้ง
    เมื่อมันตาย มันก็ไม่สามารถออกมาก่อกวนได้อีกต่อไป วิปัสสนาภาวนานั้นฝึกปฏิบัติได้ง่าย
    แต่ได้ผลช้ามาก เพราะกิเลสอันมี อวิชชา ตัณหา และอุปาทาน มิได้จัดการได้ง่ายๆ
    ต้องใช้ระยะเวลามาก แต่ผลลัพธ์ที่ได้ คือการปล่อยวางจากกิเลสเข้าสู่นิพพาน หลุดพ้นอย่างถาวร


    เราจะรู้ได้อย่างไรว่าที่เรากำลังฝึกอยู่นั้น เป็นแบบสมถะหรือเป็นแบบวิปัสสนา
    เพราะไม่ว่าจะเป็นการ นั่งขัดสมาธิก็ดี เดินจงกรมก็ดี สามารถฝึกได้ทั้งสองสาย
    และส่วนใหญ่ก็มักจะปฏิบัติควบคู่กันไป วิธีแบ่งสายให้ดูที่อารมณ์จิตในขณะนั้น
    เช่น การนั่งสมาธิ กรณีที่เป็นสมถะจะฝึกโดยการให้จิตไม่คิดฟุ้งซ่าน จนเกิดความนิ่ง
    เป็นอารมณ์ของฌาน เพื่อให้สงบจากกิเลส แต่กรณีที่เป็นวิปัสสนา
    ภายในจิตจะครุ่นคิดพิจารณาเป็นหลัก เช่นการพินิจพิจารณาเวทนาความเจ็บปวด
    ปวดหนอ มีกายก็เป็นทุกข์ ไม่มี ไม่เอาเสียดีกว่า หรือแม้แต่การพิจารณากายในกาย
    ให้เป็นของน่าเกลียด เพื่อการปล่อยวาง ขน หนัง ฟัน เล็บ น้ำเลือด น้ำหนอง
    ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ล้วนคือวิปัสสนาทั้งสิ้น การเดินจงกรมก็เหมือนกัน
    ถ้าเดินแล้วมีการภาวนาตามการก้าวเท้า ซ้ายย่างหนอ ขวาย่างหนอ
    คือการทำจิตให้นิ่งโดยการกำหนดจิตที่การก้าวเท้า เกิดเป็นสมาธิถือเป็นสมถะ
    แต่การเดินจงกรมด้วยการกำหนดรู้ความรู้สึก ระหว่างที่ ยก ย่าง วาง เหยียด
    กำหนดรู้สัมผัสที่เกิดขึ้น ถือเป็นวิปัสสนา ทั้งสองแบบนั้นสามารถปฏิบัติผสมผสานควบคู่กันได้
    เช่นการนั่งสมาธิ เข้าสมถะเพื่อสมาธิ คือบริกรรมพุทโธตามลมหายใจ
    แต่เมื่อเกิดเวทนาขึ้น จิตไม่นิ่งแล้ว ไม่สามารถเข้าฌานได้ ก็เปลี่ยนมาพิจารณาที่เวทนา
    กำหนดรู้เท่าทันเวทนาแทน เมื่อเวทนาดับไปก็กลับไปฝึกแบบสมถะกำหนดตามลมหายใจต่อ
    และเมื่อจิตนิ่งจากสมถะระดับที่จิตไม่ฟุ้งซ่าน ก็จะใช้กำลังสมาธิที่ทรงอยู่นั้นมาวิปัสสนา
    สรุปคือสมถะเพื่อสมาธิ วิปัสสนาเพื่อปัญญานั่นเอง


    ผลที่ได้จากการภาวนา ( อานิสงส์ ) ที่สังเกตุเห็นได้ทันที คือ มีสติอยู่กับตัวมากขึ้น
    เกิดปัญญาไตร่ตรองสิ่งต่างๆหรือปัญหาได้ดีกว่าเดิม อารมณ์สงบเย็น ไม่ขี้โมโห ไม่หวาดระแวง
    ไม่โลภ ไม่อาฆาต เพราะเราคิดและพิจารณาดีชั่วอยู่ทุกขณะจิต เมื่อจิตคิดดีไม่เครียด
    ผิวพันธุ์ก็เปล่งปลั่งสุขภาพกายก็ดีตามไปด้วย หน้าตาก็สดใส เกิดความรู้สึกดีๆแก่ผู้พบเห็น
    คนที่เกลียดก็จะกลับมาดีด้วย คนที่ดีกับเราอยู่แล้ว ก็ยิ่งดียิ่งๆขึ้นไปอีก
    การภาวนาทำให้เรามีสติมีสมาธิมากขึ้นเกิดปัญญา และนั่นจะเป็นตัวเกื้อหนุน
    ทั้งการให้ทานและการรักษาศีลให้ดีขึ้นเอง


    [​IMG]

    ทำไมต้องอุทิศบุญ

    ทำไมต้องอุทิศส่วนกุศลผลบุญ ก็เพราะเราได้เวียนว่ายตายเกิดมานับชาติมิได้และได้สร้างอกุศลกรรมเอาไว้มากมาย
    มีเจ้ากรรมนายเวรมาก การตายแล้วเกิดชาติหนึ่งๆ ก็ยังมิสามารถชดใช้กรรมที่ทำมาทั้งหมดได้
    เพราะผลของกรรมมีหลายรูปแบบ บางชนิดส่งผลแบบข้ามภพข้ามชาติ บางชนิดส่งผลตั้งแต่เกิดมา
    บางชนิดส่งผลครั้งเดียว รูปแบบกรรมมีหลากหลาย และการรับกรรมก็มีลำดับคิว
    ฉะนั้นผลกรรมที่เรายังไม่ชดใช้ก็ต้องมาชดใช้เอาสักชาติใดชาติหนึ่งอยู่ดี แต่กรรมนั้นมีสองส่วน คือ

    ๑. กฎแห่งกรรม
    คือ ไปทำกรรมใดกับใครไว้ ต้องได้รับผลกรรมนั้น จะว่าเป็นอานิสงส์ก็ไม่ผิด เช่น ไปตีหัวเขา
    ผลกรรมจะนำพาให้เราต้องถูกตีหัวอย่างแน่นอน เมื่อถึงวาระ แต่บางคนมีคิวรับกรรมไม่เหมือนกัน
    หลายคนทำชั่วแต่ยังไม่ได้รับผลกรรม เพราะสร้างกรรมดีไว้มาก ต้องเสวยสุขก่อน
    แต่บางคนไม่เคยทำกรรมดีเลย พอไปทำกรรมชั่ว ผลก็สนองทันตา

    ๒.เจ้ากรรมอาฆาต
    คือ ไปสร้างกรรมกับเขาไว้ แล้วเขาโกรธมาก จะเอาคืนให้ได้ กลายเป็นวิญญาณบ้าง กลับมาเกิดมาเจอกันบ้าง
    เพื่อรอเวลาแก้แค้น เช่นไปตีเขาจนพิการ พอเขาตายกลายเป็นวิญญาณตามเอาคืน
    เมื่อใดที่ถึงคิวรับผลกรรมที่เราไปตีเขา วิญญาณเจ้ากรรมก็จะเสริมแรงกรรม ทำให้เราโดนหนักยิ่งขึ้น
    ทั้งๆที่กฎแห่งกรรมที่เราต้องชดใช้ อาจจะไม่รุนแรงมากมาย แต่เจ้ากรรมนายเวรที่อาฆาตมากๆ
    อาจจะเสริมแรงให้ถึงตายได้ ซึ่งก็ถือว่าเจ้ากรรมนายเวรนั้นสร้างกรรมใหม่ คือกรรมที่ทำให้เราตาย
    ไม่ได้ถือเป็นการแก้แค้นเอาคืนแล้วหายกัน


    เมื่อเรามีเจ้ากรรมนายเวรตามอยู่อย่างมากมาย คอยตามจองเวรเพื่อหาโอกาสแก้แค้น
    การจะทำให้พวกเขาเหล่านั้นอโหสิกรรม เลิกอาฆาตก่อกรรมต่อกัน ก็ต้องอาศัยบุญความดีที่เราได้กระทำ
    และส่งไปถึงจิตพวกเขาให้พวกเขาปล่อยวางจากความโกรธ ปลดปล่อยตนเองไปตามภพภูมิที่สมควร
    เพราะการจองเวรทำให้ไม่ได้ไปผุดเกิด และตราบใดที่พวกเขาไม่อโหสิ อุทิศบุญไปเท่าใดพวกเขาก็ไม่รับ
    เราต้องแสดงให้พวกเขาเห็นความตั้งใจที่จะกลับตัวเป็นคนดี และหมั่นสร้างกุศลผลบุญอย่างสม่ำเสมอ
    ซึ่งกว่าเขาจะอโหสิกรรมให้เราก็ใช้เวลามากน้อยต่างกันตามแต่ภูมิจิตภูมิธรรมของเจ้ากรรมนายเวรนั้นๆ


    เมื่อเขาอโหสิกรรมให้เราเพราะเห็นความดีและความสำนึกในบาปของเราแล้ว สิ่งที่ควรทำคือการอุทิศบุญ
    เพื่อให้เขามีกำลังที่จะไปเกิดได้ เพราะพวกเขาเหล่านี้ไปเกิดเองไม่ได้ ถึงต้องคอยตามโมทนาบุญจากเรา
    เพื่อสะสมบุญจนมีกำลังมากพอที่จะพาตนเองไปเกิดได้ และการอุทิศบุญให้เขาก็ต้องให้สม่ำเสมอ
    แค่ครั้งเดียวอาจไม่สามารถส่งเขาไปได้ แม้เจ้ากรรมนายเวรนั้นๆจะไปเกิดแล้วก็ตาม
    กรรมนั้นๆที่เราทำกับเขาไว้ใช่ว่าจะโมฆะ เรายังต้องรับผลกรรมนั้นอยู่ แต่พอไม่มีเจ้ากรรมนายเวรแล้ว
    กรรมนั้นก็ไม่ได้ถึงกับหนักหนาสาหัสอะไร


    [​IMG]

    วิธีการอุทิศบุญ

    วิธีการอุทิศบุญ มี ๓ แบบ คือ

    ๑.อุทิศบุญสด
    อุทิศสด ณ ที่บุญนั้นสำเร็จ คือตอนที่เรากำลังสร้างบุญ ตอนตักบาตร ระหว่างกำลังใส่บาตร
    จิตมีความสุขโสมนัสเป็นกุศลตัวบุญมันเกิด และกำหนดจิตนึกถึงผู้รับ บุญครั้งนั้นก็จะไปถึงผู้รับด้วยเช่นกัน
    การกำหนดจิตคือ การบอกให้เขารู้ว่าเรากำลังสร้างกุศลอยู่นะ แบบนี้นะ ให้โมทนารับ
    หรือจะตั้ง นะโม ๓ จบ ให้พุทธองค์เป็นประธานส่งบุญแทนเรา ก็คือที่เรามักทำกันบ่อยๆที่เรียกว่าการ “จบของ” นั่นเอง
    เพราะมีความเชื่อว่าบารมีของพุทธองค์ไม่ว่าอยู่ภพใดภูมิใดก็สามารถส่งบุญไปแสดงให้ผู้รับได้ทั้งนั้น


    ๒.อุทิศด้วยจิต
    อุทิศตอนที่เรากำลังทำสมาธิแบบสมถภาวนา เช่น สวดมนต์ หรือ นั่งสมาธิ
    ถ้าการนั่งสมาธิ อาศัยช่วงที่จิตเริ่มปราศจากนิวรณ์ทั้ง ๕ กำหนดนึกถึงผู้รับ
    ถ้ารู้จักก็นึกหน้าของเขา ถ้าไม่รู้จักก็กำหนดจิตเป็นคำพูด ขอให้บุญกุศลที่เกิดจากการทำสมาธิในครั้งนี้
    ไปสู่พวกเขาเหล่านั้น พวกเขาก็จะได้รับรู้และโมทนากับเราได้เต็มที่ ถ้าเป็นการสวดมนต์ก็
    หลังจากสวดมนต์จบใหม่ๆจิตจะยังมีสมาธิมาก แต่สมาธิจะทรงอยู่ไม่นานควรรีบสวดแผ่เมตตา
    และก็มิใช่สักแต่ว่าสวด ให้โน้มนำความรู้สึกเมตตาที่อยากให้เขามีความสุข เพื่อให้จิตเป็นกุศลที่สุด
    แล้วถึงค่อยสวดบทอุทิศบุญ คือใช้กำลังสมาธิจากการสวดมนต์ยาวๆในตอนแรก
    ให้จิตนิ่งประกอบกับแผ่เมตตาโน้มนำจิตกุศลเพื่อสร้างตัวบุญ และระหว่างสวดบทอุทิศส่วนกุศล
    ก็ให้กำหนดจิตนึกถึงผู้รับเพื่อให้เขาโมทนาเพื่อสร้างบุญกุศลให้ตัวเอง


    ๓.เบิกบุญ
    สองวิธีแรก อย่างน้อยต้องมีการสร้างกุศลก่อนถึงจะอุทิศบุญได้ แต่วิธีนี้สามารถทำได้ ทุกเวลา ทุกสถานที่
    ทุกอิริยาบถ ไม่จำกัดจำนวนครั้ง เริ่มด้วยการตั้ง นะโม ๓ จบ หรือจะแค่กำหนดนึกภาพพุทธองค์ก็ได้
    การทำแบบนี้เป็นการอาราธนาพุทธองค์มาเป็นองค์ประธาน ด้วยบารมีพุทธองค์สามารถเบิกบุญของเราทั้งหมด
    มาให้ผู้รับโมทนาได้ในคราวเดียว และยังสามารถอุทิศบุญไปถึงใครก็ได้ ไม่มีประมาณ แม้สัตว์นรกในอเวจี
    ก็ส่งบุญให้ได้ กรณีนี้ คือ เราไม่ได้ อุทิศบุญด้วยตัวเอง แต่ฝากพุทธองค์ช่วยไปโปรด
    ใช้วิธีกำหนดจิตคิดในใจหรือจะกล่าวออกเสียงเลยก็ได้

    “ด้วยอำนาจบารมีพุทธองค์ ขอทรงหยิบยกบุญกุศลที่ข้าพเจ้านั้นเคยได้ทำ”
    “ตั้งแต่อดีตชาติ ทุกภพชาติ มาแสดงให้...( ผู้รับ ) ได้โมทนาทุกๆบุญที่ข้าพเจ้าเคยทำ”
    “เพื่อให้เกิดความยินดีในบุญทั้งหมดและเกิดเป็นกุศลจิต”
    “สร้างกุศลให้ตัวเขาเทียบเท่ากับที่ข้าพเจ้าเคยได้รับเถิด”

    วิธีนี้ ดีที่สุด เพราะทำได้ทุกที่ทุกเวลา ทำได้บ่อยเท่าที่ต้องการ และไม่เสียทรัพย์ใดๆ


    อุทิศบุญให้ถูกจุด

    ทำไมถึงมีคนพูดว่า ฉันก็ปฏิบัติ สำนึกผิดแล้ว ทานก็ทำบ่อย ศีลก็รักษา แผ่เมตตาก็ประจำ
    ทำไมยังต้องทุกข์ทรมานจากเจ้ากรรมนายเวรอีกล่ะ เหตุผลมันก็มีอยู่ว่า เราอาจจะอุทิศบุญไม่เป็นหรือไม่ถูกจุด
    ยกตัวอย่างเปรียบเจ้ากรรมนายเวรเป็นเด็กขอทาน ๓๐ คน คนหนึ่งขี่คอเรา ให้ปวดไหล่ อีกคนเกาะขาเราให้เดินลำบาก
    เปรียบบุญที่เรามี คือเงิน ๓๐ บาท การอุทิศบุญ โดยใช้คำว่า ให้กับเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย
    คือการให้แบบไม่เจาะจง คือการที่เราให้เงินที่เรามีกับเด็กทุกคน เมื่อเรามีเงินอยู่ ๓๐ บาท กับเด็ก ๓๐ คน
    เมื่อต้องให้ทุกคน จะได้คนละบาท ซึ่งเอาไปซื้ออะไรไม่ได้เลย เขาย่อมไม่พอใจ ไม่เอา
    การให้แบบนี้จึงล้มเหลวทุกครั้งไป การอุทิศบุญ โดยใช้คำว่า ให้กับเจ้ากรรมนายเวรที่เสวยข้าพเจ้าให้เป็นทุกข์ในขณะนี้
    เป็นการให้แบบเจาะจงตัวผู้รับ จะเท่ากับเราเอาเงินที่มีทั้งหมด ให้กับเด็กที่ขี่คออยู่ เมื่อเขาได้รับไป ๓๐ บาท
    ก็เอาไปซื้อข้าวกิน เมื่อเขาอิ่มเขาพอใจเขาก็จากไป คอเราก็หายปวด แต่อาจจะกลับมาปวดอีก
    ถ้าเด็กคนอื่นมาขี่คอเราต่อ เราก็อุทิศไปเรื่อยๆแบบเจาะจง ค่อยๆสลัดเจ้ากรรมให้หลุดไปเรื่อยๆ
    วันละนิดวันละหน่อย ไม่ต้องกลัวว่าให้บุญเขา เราจะหมด เพราะการอุทิศคือการหยิบยกเอาบุญ
    ความดีที่เราเคยทำ มาบอกให้เขาโมทนา พอเขาโมทนา จิตเขายินดีในบุญที่เราได้เคยทำมาจิตเขาจะเกิดกุศลแล้ว
    สร้างบุญขึ้นมาเอง และได้บุญเท่าๆกับที่เราหยิบยกให้เขาโมทนานั่นแล และการอุทิศบุญให้เขาโมทนา
    ถ้าใจเราบริสุทธิ์ เกิดความยินดีที่ได้ให้เขา ทำให้เขามีกำลังที่จะไปเกิดได้ เราก็ได้บุญเพิ่มอีก เพิ่มจากจิตที่เป็นกุศลนั่นแล
    นี่แหละที่เขาว่ายิ่งให้ก็ยิ่งเพิ่ม แต่มีกรณีที่เขาโกรธมากจนไม่ยอมโมทนาบุญก็มี จะเอาคืนอย่างเดียว
    เราก็ทำได้แค่หมั่นทำแต่สิ่งดีๆ ให้เขาเห็น ให้เขารู้ว่าเราตั้งมั่นในความดีแล้ว จะไม่ทำผิดอีกแล้ว
    เชื่อว่าสุดท้ายการอโหสิกรรมต้องเกิด



    สรุปว่า
    การให้ทาน ทำเพื่อสะสมบุญกุศลลดความตระหนี่ลดความยึดมั่นถือมั่นในทรัพย์ ที่เป็นเหตุแห่งทุกข์
    การรักษาศีล ทำเพื่อรักษาจิตใจให้สะอาดแจ่มใสเกิดเมตตา และป้องกันเราให้ห่างจากกรรมชั่ว
    การภาวนา เพื่อฝึกจิตให้เกิดปัญญามีสติ อีกทั้งยังเป็นการสร้างบุญโดยไม่ต้องสละทรัพย์อีกด้วย
    การอุทิศบุญ เพื่อขออโหสิกรรม นอกจากลดวิบากกรรมแล้ว ก็ยังถือเป็นการให้ทานอย่างหนึ่ง


    หากเราขาดการให้ทาน
    เราก็จะไม่มีกุศลผลบุญไปอุทิศให้เจ้ากรรมนายเวร และเมื่อสิ้นอายุขัย มีโอกาสลงสู่อบายภูมิ


    หากเราขาดการรักษาศีล
    เราก็จะสร้างกรรมไปเรื่อยๆไม่จบสิ้น แผ่เมตตาไม่มีประมาณไป เจ้ากรรมนายเวรก็ไม่หมด


    หากเราขาดการภาวนา
    เราจะขาดปัญญาที่จะมองว่า สิ่งใดสมควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ ทำให้ก้าวไปสู่ความประมาท


    หากเราขาดการอุทิศบุญ
    ชีวิตที่สร้างกุศลไปมากมาย ทำดีก็อาจจะไม่ได้ดี เพราะเจ้ากรรมนายเวรตามทวงไม่หยุดหย่อน






    [​IMG]


    รวมบทความ

    นั่งสมาธิแล้วได้อะไร(ประสบการณ์ตรงจากการบวชพระ1พรรษา)

    ก่อนปฎิบัติต้องทำความเข้าใจเรื่อง "ทาน ศีล ภาวนา รวมถึงการแผ่เมตตา และการอุทิศบุญ"

    วิธีฝึก วิธีคิด สำหรับผู้อยาก"บวชใจ"

    รักษาศีลให้บริสุทธิ์ที่สุดต้องรักษาให้ถึงใจ

    ความหมายแท้จริงของการทาน "เจ"

    วิธีฝึกจิต รับรู้สภาวะ

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤศจิกายน 2013
  2. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,311
    ค่าพลัง:
    +3,090
  3. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,311
    ค่าพลัง:
    +3,090
    เร็วๆๆๆเข้า มาอ่านๆๆๆ อ่านกันเยอะๆๆ
     
  4. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    ขอแนะนิดหนึ่ง
    แม้แต่การคิดพิจารณา ก็ยังเป็นสมถะอยู่
    ถ้าไม่พิจารณา ถึงความ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น

    สมถะนั้น ถ้าศึกษาครบทั้ง ๔๐ รวมทั้งมหาสติปัฏฐาน ๔ จะเข้าใจได้ง่ายว่าอะไรคือสมถะ
    ส่วนวิปัสสนา นั้นพลิกจากสมถะมานิดเดียว
    และระวังให้ดี บางทีที่คิดว่านี่คือวิปัสสนา
    แต่จริงๆแล้วมันเป็นอารมณ์ของอรูปก็มีนะ
    ผมเคยอ่านเจอ หลายครั้งแล้วที่อธิบายวิปัสสนา
    แต่จริงๆแล้วที่อธิบายนั้นยังอยู่ในขั้นของอรูปฌาน (ที่ยังไม่ถึงฌาน)
    เพราะอรูปฌานนั้นใกล้วิปัสสนามาก สะกิดนิดเดียวก็เข้าวิปัสสนาทันที และง่ายด้วย


    ส่วนเรื่องอื่นๆดูจะนอกตำราไปมาก ก็ขอให้ระวังแล้วกันนะครับ
    บอกถูกได้บุญกุศล บอกผิดก็ลงอเวจี บุญใหญ่บาปหนัก
     
  5. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,311
    ค่าพลัง:
    +3,090


    ผมปฎิบัติตามตำรา และผลการปฎิบัติมันออกมาแบบนี้
    ตำราไม่ได้บันทึกผลลัพที่จะออกมาตรงเปะๆ
    ผู้ที่ไม่เคยคิดจะปฎิบัติย่อมไม่รู้ และได้แต่เดา
    และคิดได้แค่ว่าผู้อื่นออกนอกตำรา

    ที่ทุกวันนี้ปฎิบัติกันไม่ก้าวหน้าก็เพราะยึดติดตำรากันมากเิกินไป
    ตำราเป็นเพียงเครื่องมือที่พาเราข้ามจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง
    เหมือนเรือที่เราต้องพายข้ามฝั่ง
    เมื่อเราถึงฝัง ไม่ควรที่จะแบกเรือไปด้วย เราต้องก้าวเดินแล้ว
    คำวิพากวิจารของพวกที่ยังมัวพายเรือวนอยู่ในน้ำ
    มันก็ไปได้แค่ในตำรา ภาดปฎิบัตินั้นต่างๆจากตำรามากมาย
    แค่อารมณ์อรูปฌาน กับ วิปัสสะนา ยังแยกไม่ออก
    แสดงว่าผู้พูดไม่ได้ปฎิบัติ ถ้าปฎิบัติต้องรู้
    เหมือนอาหาร ถ้าเรากินข้าวมันไก่ แล้วไปกินข้าวมันไก่ทอด
    เราย่อมต้องรู้ความต่าง แต่หากเรากินแค่ข้าวมันไก่
    ไม่เคยกินข้าวมันไก่ทอด ก็เลยได้แต่เดารสชาติของมัน
    ว่ามันมีไก่ มีข้าวมัน เหมือนกัน รสชาติน่าจะเหมือนกัน

    ผู้ตอบต้องคิดพิจารณาให้หลุดพ้นจาก ตรรกะที่ตนคิด
    ตรรกะที่ถูกวางเอาไว้ เป็นกลลวงให้เราติดกับทางความคิด

    เมื่อมีคนโยนเหรียญ แล้วเปิดให้ดูว่าด้านที่หงายเป็นหัว
    ถามเราว่าอีกด้านเป็นอะไีร
    ด้วยตรรกะที่เรามี เราก็ตอบว่าเป็นด้านก้อย
    เราก็ดีใจกับความคิดที่เราคิดว่าถูก ด้วยตรรกะของตนเอง
    ทั้งที่เหรียญนั้น อาจจะเป็นเหรียญที่มีแต่หัวทั้งสองด้านก็ได้
    แต่เราก็หลงไปกับความคิด หลงไปกับตรระกะ
    ที่มีผู้อื่น จัดฉากให้เรา จะคิดหาเหตุผลอย่างไรก็จะวนอยู่ในกรอบ
    ไม่สามารถออกจากกรอบที่ถูกขีดไว้ได้

    ถ้าอยากมีชีวิตอยู่เป็นคนดีระดับธรรมดา
    ก็ทำทานรักษาศีลให้เป็นปรกติไป ทำสมาธิโดยตรรกะของตนไป
    ถ้าอยากหลุดพ้นอยากก้าวหน้า ต้องหลุดออกจากตรรกะที่ครอบเราไว้
    ให้ได้เสียก่อน

    ได้ไปอ่านเรื่องของท่านนึงในเวบ ขออนุญาิติหยิบยกมาใช้

    เป็นเรื่องราวของครอบครัวเด็กแฝด ที่ชอบปั่นจักรยานแข่งกัน
    ไม่ยอมแพ้กันเรื่องความเร็ว พ่อของเด็กเห็นเด็กๆชอบชิงดีชิงเด่นกัน
    ไม่ยอมแพ้กัน ก็เลยออกอุบายแกล้ง บอกลูกๆว่า

    จักรยานของใครเข้าทีหลัง จะให้รางวัลเป็นขนม เพื่อให้เด็กหยุดคะนอง
    และไม่กล้าเข้าเส้นชัย เพราะกลัวแพ้และอดขนม จะได้ไม่ปั่นจักรยานเร็วๆ

    ผลปรากฎว่า ภาพที่เห็นเด็กทั้งคู่ยังตั้งหน้าตั้งตาปั่นจักรยานเต็มสปีด
    หวังเข้าเส้นใจก่อนเป็นคนแรกอยู่ดี

    ทำไม่ล่ะ ทำไมเด็กพวกนั้นถึงทำเช่นนั้น
    ตรรกะและความคิดในกรอบที่สะสมมาอาจจะตอบคำถามนี้ไม่ได้
    ต้องลองมองให้ลึก และตรรกะของแต่ละคนก็ต่างกัน


    หรือแม้แต่เรื่องที่ ไอสไตน์เคยสอน

    "มีคนซ่อมปล่องไฟสองคน กําลังซ่อมปล่องไฟเก่า
    พอพวกเขาออกมาจากปล่องไฟ
    ปรากฏ ว่า คนหนึ่งตัวสะอาด
    อีกคนตัวเลอะเทอะ เต็มไปด้วยเขม่า
    ขอถามหน่อยว่า คนไหนจะไปอาบน้ำก่อน"

    นักเรียนคนหนึ่งตอบว่า
    " ก็ต้องคนที่ตัวสกปรกเลอะเขม่าควันสิครับ "

    ไอสไตน์ พูดว่า
    " งั้นเหรอ คุณลองคิดดูให้ดีนะ
    คนที่ตัวสะอาด เห็นอีกคนที่ตัวสกปรกเต็มไปด้วยเขม่าควัน
    เขาก็ต้องคิดว่าตัวเองออกมาจาก ปล่องไฟเก่าเหมือนกัน
    ตัวเขาเองก็ต้องสกปรกเหมือนกันแน่ๆ เลย

    ส่วน อีกคน เห็นฝ่ายตรงข้ามตัวสะอาด ก็ต้องคิดว่า
    ตัวเองก็สะอาดเหมือนกัน
    ตอน นี้ ผมขอถามพวกคุณอีกครั้งว่า
    ใครที่จะไปอาบน้ำก่อนกันแน่ "

    นัก เรียนคนหนึ่งพูดขึ้นมาด้วยความตื่นเต้นว่า
    " อ้อ ! ผมรู้แล้ว พอคนตัวสะอาดเห็นอีกคนสกปรก
    ก็นึกว่าตัวเองต้องสกปรกแน่ แต่คนที่ตัวสกปรก
    เห็นอีกคนสะอาด ก็นึกว่าตัวเองไม่สกปรกเลย
    ดังนั้น คนที่ตัวสะอาดต้องวิ่งไปอาบน้ำก่อนแน่เลย
    ..... ถูกไหมครับ...."

    ไอ สไตน์มองไปที่นักเรียนทุกคน นักเรียนทุกคน
    ต่างเห็นด้วยกับคําตอบนี้
    ไอ สไตน์ ค่อยๆ พูดขึ้นอย่างมีหลักการและเหตุผล
    " คําตอบนี้ก็ผิด ทั้งสองคนออกมาจากปล่องไฟเก่าเหมือนกัน
    จะเป็นไปได้ไงที่คนหนึ่งสะอาด อีกคนหนึ่งจะสกปรก
    นี่แหละที่เขาเรียกว่า " ตรรก " "
    เมื่อความคิดของ คนเราถูกชักนําจนสะดุด
    ก็จะไม่สามารถแยกแยะและหาเหตุผล
    แห่งเรื่องราว ที่แท้จริงออกมาได้ นั่นคือ " ตรรก "

    จะหาตรรกได้ก็ต้อง กระโดดออกมาจาก " พันธนาการของความเคยชิน "
    หลบเลี่ยงจาก " กับดักทางความคิด "
    หลีกหนีจาก " สิ่งที่ทําให้หลงทางจากความรู้จริง "
    ขจัด " ทิฐิแห่งกมลสันดาน "

    จะหา ตรรก ได้ก็ต่อเมื่อ คุณสลัดหมากทั้งหมด
    ที่คนเขาจัดฉาก วางล่อคุณไว้


    ปล.เด็กขี่จักรยานที่ว่าข้างต้น เด็กทั้งคู่เปลี่ยนจักรยานของกันและ
    หวังปั่นให้จักรยานของอีกฝ่ายเข้าเส้นชัยไปก่อน เพื่อจักรยานของตน
    จะได้ช้ากว่า และชนะไปในที่สุด



    ฉะนั้น ก่อนจะพูดว่าติจะว่าอะไร ควรพิจารณาดูความจริงให้กระจ่าง
    ถ้าตัวเองยังหลุดออกนอกกรอบความคิดตนเองไม่ได้
    มันก็ยึดติดอัตตาของตน และมองคนอื่นด้วยความอคติไป
    โทษจากการบิดเบือนตำรามันก็มี
    โทษจากการปรามาส มันก็มี
    ไม่ได้ยิ่งย่อนไปกว่ากันเลย
     
  6. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,311
    ค่าพลัง:
    +3,090
  7. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    ปฏิบัติตามตำรา ได้ผลออกมา ก็ต้องอ้างอิงตำรา ว่าตรงมั้ย
    ถ้าไม่ตรงต้องตรวจสอบนะครับ ว่าผิดตรงไหน
     
  8. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,311
    ค่าพลัง:
    +3,090
    มาบอกว่าผมนอกตำรา แล้วมันยังไง
    ในส่วนที่นอกตำราก็คือส่วนที่ปฎิบัติมา
    ที่เรียกว่า ปัจจัตตัง
    ก็ปฎิบัติตามตำรามาก่อน
    และไปเจอที่ไม่มีในตำรา
    แล้วจะบอกว่ามันเป็นสิ่งที่ไม่ถูกก็ใช่ที่
    ถ้าในหนังสือมีเขียนว่า ๒+๒=๔
    แล้วไปเจอที่อื่นบอกได้ว่า ๑+๓=๔
    ก็ไปแย้งเขารึ ว่าเขาผิด????
    ไปบอกเขาว่า นอกตำรา ????
    ควรไหมนั่น ????

    อยากจะตรวจสอบก็ตรวจไปให้พอใจ
    การปฎิบัติจะให้ไปมัวอ้างอิง
    ทำอะไรก็ต้องไปตามหาที่มา
    เหอ...เป็นความคิดที่ถูกปลูกฝังลงลึก

    ถ้าไม่ชอบใจ ไม่ได้ว่าอะไร ไม่ต้องปฎิบัติตาม
    ไม่มีใครบังคับเราได้ เลือกจะเชื่อแล้วกัน ใช้ปัญญาพิจารณา

    แต่อยากจะหาที่มาก็ไปอ่านพระไตรปิฏกก็ได้
    หรือจะเป็นตำราของพระอริยสงฆ์ที่เขาศึกษามาอีกทอดก็ได้
    เรื่องเกี่ยวกับ ทาน ศีล ภาวนา
    ผมก็แค่ ไปศึกษามาจากหลายๆที่ แล้วก็นำมาปฎิบัติ
    หยิบยกเอาความรู้ที่ได้ มาเรียบเรียงเป็นภาษาที่อ่านเข้าใจง่ายๆก็เท่านั้นเอง
     
  9. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,311
    ค่าพลัง:
    +3,090
    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...