เชิญทำบุญสร้างบารมีปีใหม่ครับ ทำบุญโดยโอนเงินเข้าบัญชี ชื่อ สมทบทุนสร้างพระพุทธรูปสมเด็จองค์ปฐม ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.)/ (ออมทรัพย์) สาขาร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช บัญชีเลขที่ ๙๑๕
เรื่อง torrent ...ผมขอโทษที่พึ่งตอบครับ ...ไม่ได้เข้ามาเช็ค ไฟล์ torrent นั้น เอาจากลิงค์ที่ผมระบุไว้เลยครับ ...จริงๆ แล้วไฟล์วิดีโอมาเอาจากเครื่องผมเอง อยู่ในไทย ...ผมจะเปิดทิ้งไว้ ...ยาวเลยครับ (แม้ว่าอาจช้าบ้าง แต่ปล่อยยาว)
สวัสดีและขออนุโมทนา...ด้วยครับ ข้อที่ 1. ปฏิภาคนิมิตที่ปรากฏนั้นยกเว้นอาโลกกสิณ กสิณทั้ง 9 กองนั้นเมื่อตรึก ระลึก นึกถึง พอ นิ่ง หยุดของจิตแลใจถูกส่วนเข้าหรือเข้าสู่สมาธิที่ลึกเข้าไป นิมิตที่ปรากฏจะเปลี่ยนสีเอง จากสีอื่นก็จะค่อยๆเป็นขาวแล้วเปลี่ยนเป็นใส เป็นแก้ว เป็นอย่างนี้เหมือนกันหมดยกเว้น อาโลกกสิณ เพราะใสเป็นแก้วอยู่แล้วและเป็นกรรมฐานตรงต่อการฝึก ทิพยจักษุหรือตาทิพย์ (ซึ่งมี 3 อย่างคือ อาโลกกสิณ,เตโชกสิณ,โอทาตกสิณ) ส่วนที่ว่าต้องกำหนดให้เป็นแก้วเองนั้น โดยมากก็เป็นผู้ฝึกอาโลกกสิณ (แสงสว่างหรือตรึก ระลึก นึกถึงดวงแก้วใส) ส่วนถ้าคล่องหรือ ชำนาญแล้ว(โดยผ่านขั้นตอนการฝึกขั้นต้นจนชำนาญ) ก็สามารถตรึกระลึก นึกถึง ดวงแก้วใส นั้นเลยก็ได้ ไม่ต้องย้อนกลับไปกลับมา เพราะสามารถกำหนดให้เป็นไปตามต้องการ...... หรือพึงประสงค์แล้ว (สุดท้ายกสิณทุกกองก็ต้องใสเหมือนกันหมด) ข้อที่ 2. กสิณที่เป็นรูปพระสงฆ์ตามที่เข้าใจนั้นก็จะยึดถือตามวรรณะของกสิณ เช่นเห็นเป็น สีเหลืองก็เป็นปีตกสิณ คือยึดตามวรรณะของกสิณนั้นๆเป็นหลัก....และได้กรรมฐานกองของ สังฆานุสสติกรรมฐานด้วย ซึ่งโดยมากถ้าฝึกกรรมฐานกสิณกองใดกองหนึ่งก็ต้องฝึกให้ชำนาญ เสียก่อน แล้วจึงค่อยข้ามไปฝึกกสิณกองอื่น มิเช่นนั้นแล้วจะสับสน จับต้นชนปลายไม่ถูกและจะ เกิดกสิณโทษได้โดยง่ายเช่นฝึกโลหิตกสิณ สีแดงฝึกไปเรื่อยๆสีอื่นปรากฏเข้ามา ชันเจนดีก็ไปจับ สนใจสีอื่น อย่างนี้ถือว่าเป็นกสิณโทษและจะไม่บังเกิดผลสัมฤทธิ์ ผลสำเร็จต่อการฝึก ยกเว้น ท่านจะชำนาญในกสิณนั้นๆ จับหลักหรือวิชชาได้แล้วก็สามารถสลับข้ามกองเปลี่ยนไปมาได้ ก็ต้องค่อยฝึกไป อย่าใจร้อน ให้อยู่กับหยุดกับนิ่งในนิมิตของกสิณที่เราใช้ฝึกไปเรื่อยๆ พอถูกส่วน หรือชำนาญเข้า เราก็จะเป็นเอง รู้เอง ต้องใจเย็นๆ ฝึกแบบสบายๆ ผ่อนคลายไปในตัวด้วย ข้อที่ 3. การฝึกกสิณจะตามลมไปด้วยก็ได้ ไม่ตามหรือกำหนดลมหายใจไปด้วยก็ได้ ขึ้นอยู่กับ ตัวของเราหรือผู้ฝึกเอง เพราะการกำหนดรู้ลมหายใจเป็นกรรมฐานของอานาปานุสสติกรรมฐาน สุดท้ายนั้นลมหายใจจะหายไปเอง ซึ่งการใช้ควบคู่กันหรือแม้นกระทั่งกรรมฐานกองอื่นก็ขึ้นอยู่ กับตัวผู้ฝึกเองทั้งสิ้น แต่ที่นิยมกันมักจะใช้ตอนฟุ้งซ่านไม่ค่อยสงบระงับของจิตแลใจ...ตามปกติ ธรรมดาทั่วไปก็จะจับภาพของนิมิตเพียงอย่างเดียว เพราะถ้าเข้าสมาธิลึกหรือสูงขึ้นไปก็ต้องละ ต้องวางลมหายใจนั้น (เป็นเพียงเครื่องมือของการผูกโยงจิตแลใจเท่านั้น) ถ้ามั่วยึดถือ ยึดลมหายใจ ด้วยนั้นก็จะไม่ไปไหน ส่วนที่ว่าพุทโธนั้นถ้าฝึกอานาปานุสสติ รู้ลมหายใจเข้าออกก็ว่าตามนั้น พอสงบระงับดีแล้วจะเปลี่ยน มาฝึกกสิณก็ต้องว่าตาม กรรมฐานของกสิณของกองนั้นๆเช่นฝึกเตโชกสิณ ก็ต้องเปลี่ยนมาเป็นคำ บริกรรมภาวนาว่า เตโชกสินัง เตโชกสินัง ๆ ๆ (ข้าพเจ้าเป็นคนแปลกอยู่หน่อยมักฝึกออกแนวนอก ตำรับตำรา เพราะการฝึก มั่วแต่ยึดแต่เกาะตำราก็ไม่ไปไหนแล้วและข้าพเจ้าก็ไม่ได้ออกแนวเป็น ทำนองที่ว่ากันคือ หนอนตำราแต่อย่างใด) ซึ่งจะไม่บริกรรมคำภาวนาด้วยก็ได้ ให้ใช้..ส่งใจแนบติด เบาๆ สบายๆ กับกลางดวงนิมิตนั้น ให้มีสติ สัมปชัญญะ จดจ่ออยู่อย่างนั้น นิ่ง เฉย หยุด ไม่ส่ายแส่ จิตไปไหน ประคับประคองจิตแลใจไว้ให้ดี ทำอยู่อย่างนี้ พอชำนาญเข้า นึกปุ๊บ ก็เห็นปั๊บ แล้วประคับ ประคอง ตรึก ระลึก นึกถึงอย่างนี้ ไป ที่สำคัญต้องน้อมนำดวงนิมิตนั้นไว้ภายในตัวของเรา แนะนำว่าให้เอาไว้ที่ศูนย์กลางกายของเรา อยู่เหนือสะดือ 2 นิ้วมือแล้วประคับประคองให้อยู่ตรงนั้น ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ตกอกตกใจ ทำกิจธุระอะไร ทั้งหน้าที่การงาน หรือเรียนหนังสือ ให้วางไว้ที่ตรงนั้น ไม่ว่าจะฝึกกสิณกองไหนก็ให้วางไว้ที่ตรงนั้นเหมือนกันหมด (ข้าพเจ้าก็ฝึกหลายกองเหมือนกัน ที่ใช้ประจำก็อาโลกกสิณกับเตโชกสิณ แต่เตโชฯผลข้างเคียงค่อนข้างมีอยู่เหมือนกัน....) ข้อที่ 4. เวลาตรึกระลึกนึกถึง ให้นึกแบบสบายๆ ไม่เคร่งเครียด จะชัดหรือไม่ชัด จะมืด จะเห็นก็ให้ นึกว่ามีอยู่อย่างนั้นเป็นดวงกลม (สีวรรณะตามที่เราฝึก)วางไว้ตรงศูนย์กลางกายหรือที่เราใช้เป็นฐาน ที่ตั้งของกรรมฐานที่เราใช้ฝึก พอถูกส่วนนิมิตนั้นก็จะปรากฏขึ้นมาเอง ให้รับรู้รับทราบว่าอยู่ตรงนั้น เพราะเราก็ต้องฝึกทั้ง ยืน เดิน นั่ง นอน ทำกิจธุระอะไรก็ฝึกได้หมดซึ่งสมาธิก็มีทั้งฟูและแฟ๊บ ไม่แน่ไม่นอน วันนี้ไม่ได้ พรุ่งนี้เอาใหม่ สักวันก็จะชัดจะเจนขึ้นมาของเขาเอง ที่สำคัญก็ต้องหมั่นฝึก หมั่นทำ นิมิตนั้นมีอยู่แล้วในตัวของเรา อยู่ที่เราจะค้นหาหรือประคับประคองไว้ได้หรือไม่ ก็ตรึก ระลึก นึกถึงแบบนี้ไปเรื่อยๆ เนื่องจากข้าพเจ้าฝึกมาหลายสำนัก หลายวิชชาแล้วก็หลายปีเหมือนกัน ทั้งก็บวชเรียนมาแล้ว สรุปเป็นว่า การฝึกล้วนแล้วแต่ขึ้นอยู่กับตัวเราทั้งสิ้น ได้หรือไม่ได้สำเร็จหรือไม่สำเร็จ เราก็ต้องมี อิทธิบาทสี่ ความมุ่งมั่น มุ่งหมาย ทำจริง ผลถึงจะบังเกิดขึ้นจริงตามอัตภาพผลของการฝึก ของเรา ก็ต้องอย่าท้อแท้หรือท้อถอย ก็ขอเป็นกำลังใจให้ ส่วนผลการฝึกของข้าพเจ้า ก็ได้ผลบ้าง ตามอัตภาพธรรมดาทั่วไปของผู้ฝึกกสิณ ซึ่งก็ต้องฝึกฝนต่อไป อย่างที่ว่ามีดก็ต้องลับต้องฝน ถึงจะคม ดินสอก็ต้องเหลาถึงจะแหลม