สำนักวัดนาป่าพงคึกฤทธิ์และสาวกพลาด! สร้าง" พุทธวจน " ปลอม

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย เสขะปฎิสัมภิทา, 7 กรกฎาคม 2015.

  1. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ สพฺพรสํ ธมฺมรโส ชินาติ
    สพฺพรตึ ธมฺมรติ ชินาติ ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ


    การให้ธรรมทาน ชนะการให้ทั้งปวง
    รสแห่งธรรม ชนะรสทั้งปวง
    ความยินดีในธรรม ชนะความยินดีทั้งปวง
    ความสิ้นไปแห่งตัณหา ชนะทุกข์ทั้งปวง
    ผู้ใดให้ธรรมเป็นทาน ผู้นั้นชื่อว่าให้พระนิพพานแก่คนทั้งหลาย

    ทรงจำแนกสอน"แก่น"ธรรม" แตกต่างกันที่หัวข้อวัตรปฎิบัติ ระหว่าง พระธรรมคำสั่งสอนที่เป็นทางสายกลาง และ นอกเหนือจากหลักธรรมที่ทรงแสดง ซึ่งเป็นที่น้อมนอมให้เหล่านักบวชนอกพระศาสนาพิจารณาเห็น"แก่น ธรรม" ที่พราหมณ์ไม่มีและถึงมีก็เป็นอย่างอื่นไม่เหมือนกัน ตามพระดำรัส

    ซึ่งเป็นพระธรรมคำสั่งสอนที่จำเป็นแก่เราและท่านบัณฑิตผู้เจริญทั้งหลาย ทั้งที่ต่างสถานะฯ และฐานะธรรมจะต้องทราบและต้องรู้อย่างยิ่ง

    นั่นก็เพื่อปรามตนเองและผู้อื่นที่หลงเข้าใจผิด ไม่รู้จุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนานั้นด้วย


    "ตรัสแก่พระภิกษุ"
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้เราประพฤติมิใช่เพื่อ
    หลอกลวงคน มิใช่เพื่อเรียกร้องคน (ให้มานับถือ) มิใช่เพื่ออานิสงส์ ลาภ
    สักการะ และความสรรเสริญ มิใช่เพื่ออานิสงส์เป็นเจ้าลัทธิและแก้ลัทธิอย่าง
    นั้นอย่างนี้ มิใช่เพื่อให้คนรู้จักตัวว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ที่แท้พรหมจรรย์นี้
    เราประพฤติเพื่อสังวร เพื่อปหานะ (ความละ) เพื่อวิราคะ (ความหายกำหนัด
    ยินดี) เพื่อนิโรธะ (ความดับทุกข์)

    "ตรัสแก่พราหมณ์"
    ดูก่อนพราหมณ์ พรหมจรรย์นี้
    ไม่ใช่มีลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นอานิสงส์
    ไม่ใช่มีความถึงพร้อมแห่งศีลเป็นอานิสงส์
    ไม่ใช่มีความถึงพร้อมแห่งสมาธิเป็นอานิสงส์
    ไม่ใช่มีญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์
    พรหมจรรย์นี้ มีเจโตวิมุติอันไม่กำเริบ
    เป็นประโยชน์
    เป็นแก่น
    เป็นที่สุด


    พระธรรมคำสั่งสอน ไม่ใช่ของอวด ของแข่งดีแข่งเด่น กับศาสนาอื่น ต่างชาติบ้านเมือง แต่เป็นไปเพื่อความสุขของเหล่าเวไนยสัตว์ที่มีความรักและศรัทธา ในพระรัตนตรัยอันเป็น แก้วสามประการ ของ พระพุทธศาสนา

    " ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ ".
    " เป็นสิ่งที่พึงรู้ได้เฉพาะตน "
    .

    ตามความหมายแล้ว หมายถึง การทำได้และเข้าถึงของคนคนเดียวเท่านั้น ให้ใครบรรลุธรรมแทนเราก็ไม่ได้ เป็นมรดกตกทอดก็ไม่ได้
    ใครทำใครได้ นอกเหนือจากผู้ที่บรรลุธรรมในระดับเดียวกันหรือสูงกว่าแล้ว...ผู้ที่ได้บรรลุธรรมคนนั้นนั่นแหละ เป็นผู้ที่รู้และเข้าใจสภาวะธรรมที่ตนทำได้และเข้าถึงได้ดีกว่าใครอื่นที่ยังไม่ได้บรรลุธรรมทั้งหมด เมื่อบรรลุธรรมแล้ว เข้าใจแล้วก็สามารถนำความรู้ความเข้าใจนั้นมาอบรมสั่งสอนคนอื่นให้เข้าใจตามได้ ทุกแง่ทุกมุม ทั้งขั้นตอน วิธีการ เรียงลำดับก่อนหลัง มีที่มาที่ไปอย่างไร ผลที่ได้เป็นอย่างไร ก็สามารถนำมาบอกกล่าวกันได้

    “ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ เป็นคุณอันลึก เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก
    เป็นธรรมสงบ ประณีต ไม่หยั่งลง สู่ความตรึก ละเอียด
    เป็นวิสัยของบัณฑิตจะพึงรู้แจ้ง
    ฐานะคือความที่อวิชชาเป็นปัจจัยแห่งสังขารเป็นต้นนี้
    เป็นสภาพอาศัยปัจจัยเกิดขึ้นนี้ แม้ฐานะคือธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง
    เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิท
    หากิเลสเครื่องร้อยรัดมิได้ นี้ก็แสนยากที่จะเห็นได้
    ก็ถ้าเราจะพึงแสดงธรรม สัตว์เหล่าอื่นก็จะไม่พึงรู้ทั่วถึงธรรมของเรา
    ข้อนั้นจะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยเปล่าแก่เรา
    จะพึงเป็นความลำบากเปล่าแก่เรา”


    คึกฤทธิ์แห่งสำนักวัดนาป่าพง อาศัยฐานะอะไร?ไปวุ่นวายกับการพิจารณา ดอกบัวของพระพุทธเจ้า นี่เป็นการวิสัชนาธรรมในเรื่องการรู้แจ้งใน ฐานะและอฐานะ ที่จะมีจะได้จะเป็นในมรรคผลคำสั่งสอนของพระองค์ท่าน ระหว่างพระพุทธเจ้าและท้าวสหัมบดีพรหม
    ว่าพระองค์ทรงตรัสรู้เห็นจริงลึกซึ้งยิ่งกว่า ที่ท้าวมหาพรหมแสดงมาเพื่อให้ทูลขอทรงเปิดประตูอริยมรรคพระนิพพาน

    ใช่หน้าที่เหรอ มีหรือเปล่า ปฎิสัมภิทาญาน น่ะ ไม่มีแล้วไปวุ่นวายไป รบกวนหมิ่นการพิจารณาพระองค์ท่านทำไม ?เกี่ยวอะไรด้วย?


    ฐานะบุคคลประเภทอื่นก็มี อะไรทำไมจึงมาตกม้าตายกับบัว ๓ เหล่า ๔ เหล่า ตีความก็ไม่เป็น นั่นเรื่องของพระพุทธเจ้า เรื่องของสาธุชนคือตั้งใจ ศึกษาพระธรรม



    บุคคลที่เปรียบเป็นดอกบัว ของพระพุทธเจ้ามีความกว้างขวางมากมายนัก สำนักที่ไม่มีปฎิสัมภิทา ๔ แต่ไปรวมรวบพระพุทธวจน ตีความอย่างผิดๆ

    สำนักนั้นคิดว่าสัตว์ทั้งหมดสอนได้สินะ ! ทำลายพระพุทธวจนเองยังไม่พอ ยังสอนให้ผู้อื่นเชื่อตาม มีจิตคับแคบไม่กว้างขวางในโลก


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
    ๔ จำพวกเป็นไฉน คือ อุคฆฏิตัญญู ผู้อาจรู้ธรรมแต่พอท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง ๑
    วิปจิตัญญู ผู้อาจรู้ธรรมต่อเมื่อท่านอธิบายความแห่งหัวข้อนั้น ๑ เนยยะ
    ผู้พอแนะนำได้ ๑ ปทปรมะ ผู้มีบทเป็นอย่างยิ่ง ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ

    ไม่มีปทปรมะ ก็ไม่มีผู้ที่มีมิจฉาทิฎฐิ ไม่มีคนว่ายากสอนยาก หรือไม่มีคนที่สอนไม่ได้ ไม่มีผู้ที่ได้รู้จักพระพุทธศาสนาแต่ไม่ได้ถือพระรัตนตรัย ไม่มีผู้ที่ได้รู้จักพระศาสนาแต่ก็ให้ความอนุเคราะห์ช่วยเหลือ และก็ต้องไม่มีคนนอกศาสนาอันไกลโพ้นที่ไม่เคยรู้จักพระพุทธศาสนาเลย โลกของบัว ๓ เหล่าในสำนักนั้น จึงเป็นโลกที่ไม่มีศาสนาอื่น มีแต่พุทธหนึ่งเดียวในโลก เป็น ภวทิฏฐิ และ วิภวทิฏฐิ อันมี สัสสตทิฏฐิ และ อุทเฉททิฏฐิ เป็นต้นฯ


    เพราะจริตธรรมยังอ่อนนักในการพิจารณาถึงบัวขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า " ฟังคำ อ่านคำไทย อย่างซื่อๆ แต่ไม่ถึงภาษาธรรม "

    จึงไม่มีทางเห็นบัวเหล่าอื่นที่ทรงสอนออกมาพร้อมกัน เพราะเห็นแต่บัว บางเหล่า แต่ไม่เอา บัวที่ไม่ทรงสงเคราะห์ลง ในบัว
    โดยเฉพาะคำว่า บางเหล่า นี่ แสดงว่ามีเยอะแยะมากมาย กว้างขวางมาก เมื่อไม่รู้ศัพท์ภาษายิ่งไปคิดว่าภาษาไทยระบุชัดว่าเป็น ๓ เหล่าจริงๆ ก็จะไม่ใช่ฐานะที่จะนำมาแย้งกันได้ในกรณีนี้

    บัวที่ไม่เอ่ยถึง(เนยยัตถะ) บัวที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า(เนยยัตถะ) ต้องไขความ
    บัวที่มองด้วยใจ(นียัตถะ) บัวที่กล่าวถึงแล้วโดยธรรม(นียัตถะ)ไม่ต้องไข

    ในพระสูตรนี้จริงๆแล้ว บัวมีเพียงสองประเภทใหญ่ๆ บัวที่เป็นนียัตถะ และ บัวที่เป็นเนยยัตถะ

    พุทธะเวไนย "สารีบุตร เธอไม่สามารถให้กรรมฐานลูกศิษย์ที่เป็นพุทธเวไนยะ ได้พวกนี้ ต้องฟังจากตถาคตเท่านั้น "

    ครั้นเมื่อพระโพธิสัตว์เจ้าทรงบำเพ็ญเพียรจนได้บรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ทรงเข้าถึงความเป็นพระพุทธเจ้าตรัสรู้ชอบ โดยพระองค์เองในวันรุ่งเดือน ๖ ณ ใต้ร่มมหาโพธิบัลลังก์ ทรงหมดสิ้นซึ่งอาสวะกิเลส เมื่อพระพุทธองค์ทรง บรรลุเป็นพระ
    สัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ได้ทรงเสวยวิมุตติสุขเนิ่นนานอยู่ ทรงคำนึงว่าธรรมที่พระองค์ตรัสรู้นี้ ล้ำลึกนัก ยากที่สัตว์อื่นจะรู้ตาม
    จึงท้อพระทัยที่จะสั่งสอนสัตว์ ฝ่ายท้าวสหัมบดีพรหมทรงวิตกว่า พระพุทธองค์จะทรงละเลยกิจที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายใน
    อดีตได้ทรงปฏิบัติ คือ ทรงจะแสดงพระสัทธรรมโปรดหมู่เวไนยสัตว์ในภพทั้งหลาย (พรหมภูมิ สวรรค์ภูมิ มนุษย์ภูมิ) ด้วยเมื่อ พระโพธิสัตว์ทรงบรรลุธรรมแล้วจะทรงน้อมพระทัยไปสู่การเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน เหตุนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม จึงได้ชักชวน
    หมู่พรหมและทวยเทพในภพสวรรค์ เสด็จมาชุมนุมต่อหน้าพระพักตร์สมเด็จพระบรมศาสดา แล้วกล่าวคำทูลอารธนาให้ทรง แสดงธรรมว่า

    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าได้โปรดแสดงธรรมเถิด”

    พระพุทธองค์ทรงพิจารณาหมู่เวไนยสัตว์

    พระพุทธองค์ได้ทรงตรึกตรอง ทรงคำนึงว่าธรรมที่พระองค์ตรัสรู้นี้ ลึกซึ้งมาก ยากที่สัตว์อื่นจะรู้ตาม จึงยังทรงมิได้รับคำทูล
    อาราธนาทีเดียว แต่ได้ทรงพิจารณาโดยพระญาณก่อนว่า เวไนยสัตว์นั้นจำแนกเหล่าใดที่จะรองรับพระสัทธรรมได้เพียงใด จำนวนเท่าใด ทรงจำแนกด้วยพระญาณว่าเหล่าเวไนยสัตว์บุคคลที่จะรับพระสัทธรรมได้ และไม่ได้มีอยู่ ๔ จำพวก เปรียบได้
    ดังดอกบัวสี่เหล่า อันหมายถึง ปัญญา วาสนา บารมี และอุปนิสัย ที่สร้างสมมาแต่อดีตของบุคคล ซึ่งบัว ๔ เหล่านั้นคือ

    ๑. ดอกบัวที่พ้นน้ำแล้ว รอแสงพระอาทิตย์จะบานวันนี้
    ๒. ดอกบัวที่ปริ่มน้ำ จะบานวันพรุ่งนี้
    ๓. ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ ยังอีก ๓ วันจึงจะบาน
    ๔. ดอกบัวที่เพิ่งงอกใหม่จากเหง้าในน้ำ จะยังไม่พ้นภัยจากเต่าและปลา

    บุคคลที่เปรียบได้กับดอกบัวดอกที่ ๑,๒,๓ นั้นสามารถให้อนุศาสโนวาทแล้วสามารถบรรลุมรรค ผล นิพพาน ได้เร็วช้าต่างกัน
    ก็ด้วยปัญญา วาสนา บารมี และอุปนิสัยที่ต่างกัน ซึ่งจำแนกเป็น พุทธเวไนย์ สาวกเวไนย์์ ธาตุเวไนย์ ตามลำดับ ส่วนบุคคลซึ่ง เปรียบเป็นบัวประเภทที่ ๔ ไม่สามารถบรรลุอะไรได้ในชาตินี้ ด้วยขาดซึ่งปัญญา แต่จะเป็นอุปนิสัย วาสนา บารมีต่อไปในภาย ภาคหน้า เมื่อทราบด้วยพระญาณดังนั้นแล้ว ด้วยพระกรุณาคุณ ทรงเล็งเห็นว่าโลกนี้ผู้ที่พอจะรู้ตามได้ก็คงมีอยู่บ้าง เมื่อเล็งเห็น เหตุนี้ จึงตกลงพระทัยจะสอนธรรมให้แก่สัตว์ทั้งปวง จึงรับอารธนาของท้าวสหัมบดีพรหม

    เมื่อหลงเชื่อว่าบุคคลมีเพียง๓ประเภท จะขัดกับพระสูตรอื่น ที่กล่าวถึง อฐานะ ทั้งหมดฯ
    เป็นโคเดินตามโค อย่าคิดว่าเป็นลูกโคแล้วจะเก่ง เดินไม่ดูทาง เขาขโมยเชือดพ่อโคทิ้ง ลูกโคจะหลงทาง หาทางกลับคอกไม่ถูก


    อรรถกถาอุคฆฏิตัญญุสูตรที่ ๓
    พึงทราบวินิจฉัยในอุคฆฏิตัญญุสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-
    พึงทราบความต่างกันแห่งบุคคลแม้ ๔ จำพวกด้วยสูตรนี้ ดังนี้
    อุคฆฏิตัญญูเป็นไฉน?
    บุคคลตรัสรู้ธรรมขณะที่ท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง เรียกว่าอุคฆฏิตัญญูบุคคล.
    วิปจิตัญญูบุคคลเป็นไฉน?
    บุคคลตรัสรู้ธรรมต่อเมื่อท่านแจกแจงความโดยพิสดาร เรียกว่าวิปจิตัญญูบุคคล.
    เนยยบุคคลเป็นไฉน?
    บุคคลต้องเรียน ต้องสอบถาม ต้องใส่ใจโดยแยบคาย ต้องคบหา อยู่ใกล้กัลยาณมิตร จึงตรัสรู้ธรรมตามลำดับขั้นตอน
    เรียกว่าเนยยบุคคล
    ปทปรมบุคคลเป็นไฉน?
    บุคคลฟังมากก็ดี พูดมากก็ดี ทรงจำมากก็ดี สอนมากก็ดี ยังไม่ตรัสรู้ธรรมในชาตินั้น เรียกว่าปทปรมบุคคล.
    จบอรรถกถาอุคฆฏิตัญญุสูตรที่ ๓
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มีนาคม 2016
  2. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ในยุคนี้จะมีบัวอะไรที่ใด จะไปสุดวิเศษอย่างบัวสามเหล่าสุดตระการตา แห่งสำนักวัดนาป่าพงได้

    เกิดมาคงพึ่งจะได้ยินได้เจอบัว

    พอได้เรตติ้งสุดมหัศจรรย์พันลึก อะเมซิ่งอภิมหาภารตะฟันธง ก็ทำมาขายแดก คึกไม่เกี่ยวแต่คึกรู้แต่ไม่ได้ห้าม ไม่ได้ปราม เห็นว่าเป็นพุทธพาณิชย์ พวกปรุงแต่งมาก เขาทำอะไร? เขาทำสื่อพุทธวจน ฮ่าๆ

    เอาดอกบัวพระพุทธเจ้ามาขายกิน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มีนาคม 2016
  3. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    "พระพุทธองค์ทรงแสดงพระสัทธรรมเพื่อหงายของที่คว่ำ ส่วน ไอ้คึกฤทธิ์แสดงอสัทธรรมคว่ำของที่หงาย"

    มันจะเจ็บไข้ได้ป่วยอะไรนักหนา ผักหม้อแกงหม้อแยกสารประกอบกันไปเลย อาหารสารพัดอย่างมันก็ล้วนแต่มีสรรพคุณทางยาทั้งนั้น บ้างก็มีโทษ
    กิเลสตัณหาของพวกสำนักวัดนาป่าพงนี้มีมากแม้แต่ในการบริโภค อิ่มตลอดคืนสบายจัง ไม่มีอด


    https://youtu.be/xF81LaCGeDU
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ถึงจุดจบง่ายๆครับ แค่ตัวนี้เป็นการกล่าวหาตู่และกล่าวหาศาสนาอิสลามได้เลย

    ถึงกับสำนักล่มได้เลยนะครับ จะบอกให้ ได้ออกข่าวเวียนทั่วโลกแน่ ถ้ามีข้อมูลนี้จริง

    "ศาสนาอิสลามจะไม่ตั้งภาคีหรือส่งเสริมยินดีกับคำสอนของศาสนาอื่นนะครับ ลองตรวจสอบดู ว่าข้อมูลนี้อยู่ตรงไหน เรื่องนี้อาจเป็นการกล่าวอ้าง ตู่ศาสนาอิสลามนะครับ สำนักวัดนาป่าพง" ได้ฉิบหายเลยนะครับ เพราะไปบอกว่าอิสลาม เห็นดีเห็นชอบด้วยเรื่อง หลักความเป็นจริงของมนุษย์ ผิดหลักรุก่นของศาสนาครับ เท่ากับว่า คนที่เป็นศาสนาอิสลามทั้งโลกที่ได้ฟังคึกฤทธิ์ แล้วยอมรับ ไม่ปฎิเสธคำสั่งสอนของศาสนาพุทธ และไม่มีใครสามารถปฎิเสธได้ บอกว่าคนศาสนาอิสลามชอบมากขนาดนำไปออกทีวีอิสลามทั่วโลก "

    จะเกิดความอื้อฉาว ให้กับศาสนาพุทธในประเทศไทย ฉิบหายกันเลยนะครับ เพราะไปบอกว่าอิสลาม เห็นดีเห็นชอบด้วยเรื่อง หลักความเป็นจริงของมนุษย์ ผิดหลักรุ่ก่นครับ เท่ากับว่า คนที่เป็นศาสนาอิสลามทั้งโลกที่ได้ฟังคึกฤทธิ์ ยอมรับไม่ปฎิเสธคำสั่งสอนของศาสนาพุทธ

    ใครรู้จัก เจ้าของกระทู้ใน พันทิป จัดเลยครับ ถามให้ที ว่ามาจากวีซีดีหรือหนังสือเล่มไหน ของสำนักคึก สำนักนี้กล่าวเท็จ กล่าวมั่วไปหมด ถึงกลับไปกล่าวตู่ศาสนาอื่นเลยหรือไง ศาสนาพุทธที่มันอาศัยผ้าเหลืองหากินมันยังบิดเบือนและสร้างปัญหาไม่พอยังลามไปสร้างปัญหากับศาสนาอื่นอีก

    จากพราหมณ์ ไปอิสลาม ไปคริสต์ เอาล่ะสิทีนี้

    อยู่ดีไม่ว่าดี

    ยามประจำ-เฉลิมศักดิ์-วงกลม คนเหล่านี้น่าจะรู้จักกันดี ฯลฯ
    http://topicstock.pantip.com/.../07/Y10803815/Y10803815.html


    ในเสี่ยววินาที มีการลบกระทู้ ไปเรียบร้อย จากระบบ เพื่อป้องการติดตาม ขอให้ติดต่อไปที่ สมาชิกใกล้เคียง เจ้าตัวผู้โพส ระบุชื่อ อย่ามารู้จัก เดี๋ยวจะหลงรักผม พันทิป

    ผมกำลังติดตาม ท่านใดเป็นสมาชิก พันทิป พิมหาเนื้อความ ชื่อยูสเซอร์เลยครับ หรือถามๆ ดูจากสมาชิกอื่นที่สนทนา ตอนนี้พวกนั้นกำลัง พยายามปิดสื่อนี้ครับ งานนี้เอาจริง ส่งให้คณะกรรมการอิสลามแน่ครับ
    ไม่กี่นาทีเองครับ ที่โพส พวกสำนักวัดนาป่าพง มันพยายามหาทางลบกันวุ่นเลย!


    แต่พอเอาจริงๆดิ้นกันยังกะไส้เดือนโดนขี้เถ้า


    อัพเดท ไม่รอดฝีมือผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค ดึงกระทู้กลับมายังอุ่นอยู่เลย เสียใจด้วย

    http://web.archive.org/web/20121019...s/topicstock/2011/07/Y10803815/Y10803815.html
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มีนาคม 2016
  5. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ประกาศเป็นศิษย์สายตรง หลวงปู่ชาแห่งวัดหนองป่าพงเสียด้วย บวชตอนเป็นเณรอยู่เดือนเดียว

    อหังการเปิดสำนักเหยียบถึงถิ่น

    ทำกรรมกับวัดหนองป่าพงจังหวัดอุบลแล้วยังไปเสนอหน้าจัดตั้งสำนักอยู่อุบลอีก ไอ้คึกนี่เลวบรรลัยจริงๆ ไปหลอกชาวบ้านชาวเมืองเขา พระที่นี่ก็โง่โดยสันดานจริงๆ

    ข่าวพุทธวจนอุบลราชธานี:วันที่ 23 ม.ค. 59 - สำนักสงฆ์พุทธวจนศรีค้อหวาง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับความเมตตาจากพระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตถิผโลและคณะสงฆ์เมตตาเดินทางมาเยี่ยม ยังให้เกิดความปลาบปลื้มยินดีแก่ชาวพุทธวจนอุบลกันถ้วนหน้า และในโอกาสนี้ยังได้ร่วมสาธยายพระสูตรปฏิจจสมุปบาทโดยพร้อมเพรียงกันอีกด้วย

    https://www.facebook.com/buddhawaja...8738577216197/922037214552995/?type=3&fref=nf
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    การเสวนาครั้งนี้ ไม่ได้เป็นที่ยอมรับนะครับ ในโลกอิสลาม ทั้งในประเทศนี้ด้วย สำหรับศาสนาพุทธ ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของผู้ที่เลื่อมใสแล้ว และโดยที่แท้ การกระทำของคึกฤทธิ์และพรรคพวกนั้น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้การกระทำของคึกฤทธิ์และพรรคพวกนั้นเป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนยังที่ไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของคนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว

    สิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจ
    ประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑
    เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑

    ทำไมจึงยังมีผลอยู่จนถึงปัจจุบัน ศาสนาอิสลาม คริสต์จะรู้ไหม?ครับว่า สำนักวัดนาป่าพง นำเอาการเสวนาเช่นนี้ มาแอบอ้างยกตนว่า ศาสนิกอื่นต้องยอมรับไม่อาจถกเถียงปฎิเสธสิ่งที่คึกฤทธิ์นำมาแสดงได้ เป็นการหมิ่นศาสนาอื่น และสนตะพายจมูกสัตตานังที่โง่เขลาที่น้อมตัวตนเข้าศิโรราบแทบเท้าของไอ้คึก


    อวดอ้างเป็นผู้นำศาสนาพุทธแสดงปาฐกถาร่วมกับศาสนิกอื่นแล้วยกตนว่า สามารถทำให้ลัทธิอื่นซูฮกในการแสดงธรรมของตนเองได้ จนถึงขั้นนำมาเป็นจุดขายในปัจจุบัน ซึ่งจริงๆในวงการศาสนาเขาไม่ยอมรับครับ เคยดูแล้ว. คอยๆ

    ดูคลิปเสวนา ศาสนา

    https://youtu.be/dcnCI7WALxc
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มีนาคม 2016
  7. Busaniisa

    Busaniisa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +103
    คำสารภาพ
    มันทั้งเยอะทั้งยาวทั้งแยะประเด็น อ่านเฉพาะ พาดหัวแต่ละเม้น สรุปใจความได้ว่า.... แยกให้ออกระหว่างศรัทธากับงมงาย .... และสู้ต่อไปค่ะ จะเอาใจช่วยอยู่ห่างๆ
     
  8. อริยะบุคคล

    อริยะบุคคล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    110
    ค่าพลัง:
    +476
    จิตขุ่นมัว กิเลส กิเลส ดีไม่ดี ใช่ไม่ใช่ เราเท่านั้นรู้ ไม่ปฎิบัติแล้วจะเถียงกันทำไม ว่าใครถูก ผิด ศาสดาไม่อยู่แล้ว สาธุ
     
  9. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    อานนท์ ! ความคิดอาจมีแก่พวกเธออย่างนี้ว่า “ธรรมวินัยของพวกเรามีพระศาสดา ล่วงลับไปเสียแล้ว พวกเราไม่มีพระศาสดา” ดังนี้.
    อานนท์ ! พวกเธอ อย่าคิดอย่างนั้น. อานนท์ ! ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แก่พวกเธอทั้งหลาย ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดา
    ของพวกเธอทั้งหลาย โดยกาล ล่วงไปแห่งเรา.


    ท่านอริยะบุคคลกัลยาณมิตรธรรม ข้าพเจ้าทำตามภาระหน้าที่อันได้รับมอบหมายมาโดยบริสุทธิธรรม หาใช่มีเจตนาก่ออธิกรณ์ด้วยความจำนงค์จิตของตนเองไม่ คึกฤทธิ์ก็เฉกเช่นเดียวกัน ต้องบุพกรรมที่จะต้องเป็นโฆฆะบุรุษในชาตินี้

    เราสนทนากับสหายเพื่อยกเพื่อนกัลยาณมิตรทั้งหลายออกจาก อสัทธรรม

    เพื่ออรรถรส คุณลักษณะในการรับชม ย่อมต้องใช้การแสดงศาสตร์และวาทะศิลป์ ในการอุปมาอุปไมย ที่ปัญญาชน สามารถไตร่ตรองตาม เห็นจริงได้ เปรียบประดุจ หากปราถนาจะทำการบรรเลงทาสี ดูดกลืนกินทับถมพื้นที่เก่า ที่มีสีดำอ่อนๆจางๆ ย่อมต้องใช้สีดำสนิท ที่มีความเข้มข้นลึกล้ำยิ่งกว่า มาระบายวาดสี ในอรรถเหล่านี้ ผู้ใดมีดวงตาและจิตใจ ที่ไม่มืดบอด ย่อมเล็งเห็นประโยชน์ เห็นดีเห็น ไม่ดีและสามารถ รู้จักแยกแยะ พิจารณาดีหรือชั่วได้อย่างละเอียด ตามความเพียรปัญญาของตน เสมือนคนร่อนกรวดหา แร่ทองและเพชรพลอย ที่อยู่ในโคลนตม ย่อมได้ซึ่งแร่ธาตุและอัญมนีนั้นฯ เราเองก็มิได้โกรธเกลียด อะไรเขาดอก ทำไปพรรณนั้นๆแหละ! อุปมา:ดุจเพชฌฆาต ผู้ทำหน้าที่ประหารชีวิตนักโทษ แม้มิได้มีเรื่อง โกรธเคืองใจกันมาก่อน ก็ต้องจำใจประหารชีวิตนั้น

    สาธุฯ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • -14-1.jpg
      -14-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      43.8 KB
      เปิดดู:
      201
  10. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    มามุกเก่าอีกแล้ว สาปแช่งให้ลงนรก นี่หรือ สำนักพุทธวจน
    "เต็มที่เลยจะได้ลงนรกขุมลึกๆหน่อย" ฯลฯ


    ว่าแต่มาให้กำลังใจกันแบบนี้ เขินแย่เลย
    ฮ่า ๆไอ้พวกไม่รู้จักนรก มาสาปแช่งให้ลงนรกนี่ตลกจริงๆ แต๊งกิ้วสำหรับเครดิตภาพนรกฯลฯ


    "สำหรับพวกลัทธิสำนักวัดนาป่าพง ที่ชอบสาบแช่งให้ผู้ไม่เห็นด้วยกับมานะทิฐิของแนวทางชั่วๆของสำนักของตน ลงนรกอยู่บ่อยๆ "
    นรกก็มีหน้าที่ของนรก นรกไม่ดีตรงไหน สรรพสัตว์ทั้งหลายฯ ล้วนแต่เคยเป็นพ่อแม่พี่น้องผองเพื่อน ญาติทั้งนั้นที่เวียนว่ายตายเกิด มีแต่ท่านเมตตาสงสารฉุดช่วย เราไม่เคยเห็น คำสอนใดๆของพระรัตนตรัย ที่จะทรงกระทำย่ำยีแดนนรกเลย มีแต่โปรดและฉุดช่วย และเกรงกลัวหวาดกลัวว่าตนเอง และผู้อื่นจะได้รับผลกรรมอย่างนั้น
    น่าสงสารจริงๆ ที่เข้าใจนรกผิดๆ แบบนี้ก็เท่ากับ สาปแช่งรากเหง้าบรรพบุรุษตระกูลของตนเองและผู้อื่นไปด้วย ช่างน่าเวทนา ทั้งที่อยู่ในนั้นมีผู้มีบุญจะมาเกิดแล้วพ้นทุกข์มากมายเป็นพ่อแม่พี่น้อง ผองเพื่อนญาติ มิตร ของตนเองมาก่อนก็มี อริยบุคคลเป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าตั้งมากมาย
    มีแต่คนบ้าเท่านั้นที่ย่ำยีแดนนรก ท่านพญามัจจุราช ท่านว่ายังไง ? โปรดฟังจิตที่เรากล่าวถึงเรื่องนี้ ถูกหรือไม่?
    จิตใจคนเรานี่ช่างดื้อด้านจริงแท้ นรกยังไม่อยากต้อนรับนี่สิ ต้องไปที่ไหน? ขุมพิเศษสงสัยจะมี แบบนรกไม่ต้องการ พวกอมีบ้า แบคทีเรีย สัตว์เซลล์เดียว เชื้อโรค กลากเกลื้อน ตัวเสนียด ฯลฯ อืม เข้าใจละ แบบนี้ น่ากลัวจัง! เป็นคนดีๆไม่ชอบ ชอบแบบไม่เป็นผู้เป็นคน กรรมแท้ๆ น่าสงสารจริงๆ ช่างน่าเวทนา อาดูร
    ส่วนเราหมดโอกาสไปซะแล้ว นรก ไม่ใช่ฐานะ ไปในที่นี้คือไปเสวยทุกขเวทนา ไม่เกี่ยวกับการไปโปรดสัตว์ ต้องอธิบายไว้ เดี๋ยวตัวที่จะเป็นแบคทีเรียฯลฯคิดไม่ทัน
    ทุกข์ของเราหมดไปตั้งแต่ได้เจอพระพุทธเจ้าแล้ว ทุกข์ใหม่ไม่มีอีก ผู้ที่พบแล้วไม่รู้ว่าเป็นพระพุทธเจ้านี่สิ ต้องรอต่อไป


    {O}นิรมาณกาย{O}
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มีนาคม 2016
  11. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    วันนี้ ๒๓-๓-๒๕๕๙ ผมได้มีโอกาสคุยกับ ท่าน อาจารย์ ดร.บรรจง โซะมณีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ท่านไม่ทราบ และไม่นึกไม่ฝันว่า จะว่ามีการเอาท่านไปกล่าวอ้างอย่างนี้ มันเป็นการสร้างความเสียหายสร้างเงื่อนไข ทำลายความมั่นคง และทำลายสถาบันศาสนา ให้เสื่อมเสียชื่อเสียง

    ผมก็ทนไม่ได้เหมือนกันที่ สำนัก "พุทธวจน" วัดนาป่าพงไปทำอย่างนี้
    สรุปจากหลักฐานที่มี คำกล่าวอ้างที่พาดพิงศาสนาอิสลามเพื่อยกระดับของตนเอง โดยการหมิ่นศาสนาอิสลามนี้ เป็นความเท็จครับ ไม่มีอิสลามคนใด รวมทั้งผู้ที่ได้ร่วมเสวนาในครั้งนี้ก็ไม่ได้ให้การส่งเสริมใดๆไม่มีส่วนรู้เห็น หรือชอบพอใดๆ ตามที่คึกฤทธิ์เขียนกล่าวอ้างมา และมีความยินดีที่จะให้ความร่วมมืออย่างเต็มทีครับ ซึ่งข่าวนี้ก็กำลังกระจายไปสู่กลุ่มต่างๆมากมาย นี่ก็คงเป็นหายนะในการประกาศเป็นศัตรูแก่ศาสนาอิสลาม เป็นการประทุษร้ายสกุลโดยแท้ โฆฆะบุรุษผู้นี้


    "เป็นการหมิ่นศาสนาอิสลามอย่างตั้งใจและชัดเจนครับ เพื่อที่จะยกยอตัวเอง"

    คืนความเป็นธรรมให้กับศาสนาอิสลามด้วยครับ

    ท่าน ดร. บรรจง โซะมณี ออกตัวเลยนะครับ ท่านไปร่วมเสวนาเพื่อให้ความรู้ ไม่ได้ไปโต้วาที ไม่ได้ไปเอาชนะกันด้วยการพูดอวดโอ้โชว์ศาสนา ไม่นึกว่าท่านจะถูกโหนกระแส พลอยทำให้ท่านเสียหายและทำให้ชาวมุสลิมและศาสนาอิสลามทั้งในและนอกประเทศ ถูกดูหมิ่นไปด้วย เรื่องนี้หากนำเอกสารมาท่านพร้อมยินดีไปทวงคืนความยุติธรรมโดยชี้หน้าถามไถ่คึกฤทธิ์ทำไมจึงทำกันเยี่ยงนี้

    ด้วยเหตุนี้ นับเป็นการทำให้เกิดความแตกแยกและสร้างความวุ่นวายแก่ชาติ ศาสนา อันเป็นสถาบันหลักของชาติจริงๆ ใครจะรับผิดชอบ

    ก็ต้องมาดูกันเมื่อหนังสือและข้อมูลต่างๆ ถูกหยิบยกไปสู่สาธารณะชน มูลนิธิ นักเรียนนักศึกษา และ คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดต่างๆ ตลอดจนถึง จุฬาราชมนตรี จะเป็นอย่างไรต่อไป


    สนทนาธรรมยกระดับจิตวิญญาณ นำโดยผู้ทรงคุณวุฒิทางศาสนาพุทธ คริสต์ และอิสลาม ร่วมชี้มุมมองการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขโดยการใช้หลักธรรมนำชีวิต หนึ่งในบรรยากาศการเสวนาบนเวทีระดับชาติ ในงานสานจิตรเสวนา : มหกรรมความรู้การพัฒนาจิต ที่จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค บางนา ผู้เข้าร่วมเสวนาประกอบด้วย พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล วัดนาป่าพง อาจารย์บรรจง โซ๊ะมณี มูลนิธิเพื่อคุณธรรม และ รศ.สิวลี ศิริไล ดำเนินรายการโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ซึ่งงานมหกรรมฯ นี้ได้รับการสนับสนุนโดยแผนงานพัฒนาจิตเพื่อสุขภาพ มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (มสส.) โดยความร่วมมือจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

    ดูคลิปเสวนา ๓ ศาสนา
    https://youtu.be/dcnCI7WALxc
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มีนาคม 2016
  12. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,465
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    [​IMG]. .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    《新少林寺》主题曲 《悟》 刘德华 无量心 生福报 无极限
    wú liàng xīn shēng fúbào wú jíxiàn
    อู๋ เลี่ยง ซิน เซิง ฝูเป้า อู๋ จี๋เสี้ยน
    ดำรงในพรหมวิหาร ผลบุญสนองไพศาลไร้ขอบเขต
    无极限 生息息 爱相连
    wú jíxiàn shēngxī xī ài xiānglián
    อู๋ จี๋เสี้ยน เซิงซี ซี อ้าย เซียงเหลียน
    การเกิดดับอันไม่สิ้นสุดต่างผูกโยงไว้ด้วยความรัก
    为何君视而不见 规矩定方圆
    wèi hé jūn shì’ér bú jiàn guījù dìng fāngyuán
    เว่ย เหอ จวิน ซื่อ เอ่อร์ ปู๋ เจี้ยน กุย จวี้ ติ้ง ฟาง เอวี๋ยน
    เหตุใดท่านเห็นแล้วจึงมองข้าม ว่าล้วนเป็นกฏเกณฑ์นี้กำหนดโลก
    悟性 悟觉 悟空 心甘情愿
    wù xìng wù jiào wùkōng xīn gān qíngyuàn
    อู้ ซิ่ง อู้ เจี้ยว อู้ คง ซิน กัน ฉิง เอวี้ยน
    รู้ ตื่น เบิกบาน ด้วยความยินยอมพร้อมใจ
    放下 颠倒梦想 放下云烟
    fàng xià diān dǎo mèngxiǎng fàng xià yúnyān
    ฟ่าง เซี่ยะ เตียน เต่า เมิ่ง เสี่ยง ฟ่าง เวี่ยะ อวิ๋นแยน
    ละอุปาทาน ละหมอกควันอันลวงตา
    放下 空欲色 放下悬念
    fàng xià kōng yù sè fàng xià xuán niàn
    ฟ่าง เซี่ยะ คง อวี้ เซ่อ ฟ่าง เซี่ยะ เสวียน เนี่ยน
    ละตัณหาในรูปธาตุอรูปธาตุ ละความห่วง
    多一物 却添了 太多危险
    duō yí wù què tiān le tài duō wēi xiǎn
    ตัว อี๋ อู้ เชวี่ย เทียน เลอ ไท้ ตัว เวย เสี่ยน
    เพิ่มหนึ่งสิ่ง กลับพอกพูนซึ่งภยันตราย
    少一物 贪嗔痴 会少一点
    shǎo yí wù tān chēn chī huì shǎo yì diǎn
    ส่าว อี๋ อู้ ทาน เฉิน ชือ ฮุ่ย ส่าว อี้ เตี่ยน
    ลดหนึ่งสิ่ง โลภ โกรธ หลง ลดลงตาม
    若是缘 再苦味也是甜
    ruòshì yuán zài kǔ wèi yě shì tián
    ยั่วซื่อ เอวี๋ยน จ้าย ขู่ เว่ย เย่ ซื่อ เถียน
    หากมีวาสนา แม้ขื่นขมยังคงหอมหวาน
    若无缘 藏爱 在心田
    ruò wú yuán cáng ài zài xīn tián
    ยั่ว อู๋ เอวี๋ยน ฉาง อ้าย จ้าย ซิน เถียน
    หากไร้วาสนา เพียงเก็บความรักเอาไว้ในดวงใจ
    尘世 藕断还丝连 回首一瞬间
    chén shì ǒu duàn hái sī lián huíshǒu yí shùn jiān
    เฉิน ซื่อ โอ่ว ต้วน ไห ซือ เหลียน หุย โส่ว อี๋ ซุ่น เจียน
    เรื่องทางโลก แม้ตัดบัวยังเหลือใย สามารถหวนกลับชั่วพริบตา
    种颗善因 陪你走好每一天
    zhòng kē shànyīn péi nǐ zǒu hǎo měi yì tiān
    จ้ง เคอ ซ่านอิน เผย หนี โจ่ว ห่าว เหม่ย อี้ เทียน
    ปลูกสร้างความดี เป็นเพื่อนเคียงข้างเธอไปในทุกวัน
    唯有 心无挂碍 成就大愿
    wéiyǒu xīn wú guà’ài chéngjiù dà yuàn
    เหวย โหย่ว ซิน อู๋ กว้า อ้าย เฉิง จิ้ว ต้า เอวี้ยน
    มีเพียง ใจพ้นความกังวล ปนิธานบรรลุ
    唯有 心无故 妙不可言
    wéiyǒu xīn wú gù miào bù kě yán
    เหวย โหย่ว ซิน อู๋ กู้ เมี่ยว ปู้ เข่อ แหยน
    มีเพียง ใจไร้เหตุปัจจัย จึงงดงามเกินเอ่ย
    算天算地 算尽了 从前
    suàn tiān suàn dì suàn jìn liao cóng qián
    ซ่วน เทียน ซ่วน ตี้ ซ่วน จิ้น เหลียว ฉง เฉียน
    ทำนายชะตาฟ้าดิน ทำนายสิ้นถึงอดีต
    算不出 生死 会在哪一天
    suàn bù chū shēng sǐ huì zài nǎ yì tiān
    ซ่วน ปู้ ชู เซิง สื่อ ฮุ่ย จ้าย หน่า อี้ เทียน
    มิอาจทำนาย วัน เกิด-ดับ จะมาถึงในวันใด
    勿生恨 点化虚空的眼
    wù shēng hèn diǎn huà xu kū kōng de yǎn
    อู้ เซิง เฮิ่น เตี่ยน ฮว่า ซวี คู คง เตอ แหย่น
    ไร้ความโกรธ แววตาฉายแววว่างเปล่า
    勿生怨 欢喜 不遥远
    wù shēng yuàn huān xǐ bù yáo yuǎn
    อู้ เซิง เอวี้ยน ฮวาน สี่ ปู้ เหยา เอวี่ยน
    ไร้ความแค้น ความสุขอยู่ไม่ไกล
    缠绕 欲望的思念 善恶一瞬间
    chán rào yù wàng de sī niàn shàn’è yí shùn jiān
    ฉาน เย่า อวี่ ว่าง เตอ ซือ เนี่ยน ซ่าน เอ้อ อี๋ ซุ่น เจียน
    พันธนาการความคิดปรารถนา ดี-เลวห่างกันเพียงพลิกฝ่ามือ
    心怀忏悔 陪你走好每一天
    xīnhuái chànhuǐ péi nǐ zǒu hǎo měi yì tiān
    ซินไฮว๋ ช่าน หุ่ย เผ่ย หนี โจ่ว หาว เหม่ย อี้ เทียน
    ใจขออโหสิกรรม เป็นเพื่อนเคียงข้างเธอไปในทุกวัน
    再牢的谎言 却逃不过天眼
    zài láo de huǎngyán què táo bú guò tiān yǎn
    จ้าย เหลา เตอ ฮว่าง แหยน เชวี่ย เถา ปู๋ กั้ว เทียน แหย่น
    ต่อให้คำมดเท็จหนักแน่นเพียงใด ล้วนหนีไม่พ้นเนตรสวรรค์
    明日之前 心流离更远
    míng rì zhī qián xīn liú lí gèng yuǎn
    หมิง ยื่อ จือ เฉียน วิน หลิว หลี เกิ้ง เอวี่ยน
    ก่อนถึงวันพรุ่งนี้ ดวงใจจากจรไปยิ่งไกล
    浮云霎那间 障眼 人心渐离间
    fúyún shà nà jiān zhàng yǎn rén xīn jiān lí jiàn
    ฝู อวิ๋น ซ่า น่า เจียน จ้าง แหย่น เหยิน ซิน เจียน หลี เจี้ยน
    เมฆหมอกบดบังตา ใจคนแตกแยก
    集苦连连 不断的出现
    jí kǔ lián lián bú duàn de chū xiàn
    จี๋ ขู่ เหลียน เหลียน ปู๋ ต้วน เตอ ชู เสี้ยน
    ความทุกข์ระทมก่อเกิดไม่หยุดหย่อน
    无量心 生福报 无极限
    wú liàng xīn shēng fúbào wú jí xiàn
    อู๋ เหลียง ซิน เซิง ฝู เป้า อู๋ จี๋ เสี้ยน
    ดำรงในพรหมวิหาร ผลบุญสนองไพศาลไร้ขอบเขต
    无极限 生息息 爱相连
    wú jíxiàn shēngxī xī ài xiānglián
    อู๋ จี๋เสี้ยน เซิงซี ซี อ้าย เซียงเหลียน
    การเกิดดับอันไม่สิ้นสุดต่างผูกโยงไว้ด้วยความรัก
    凡人却视而不见 规矩定方圆
    fán rén què shì’ér bú jiàn guījù dìng fāngyuán
    ฝาน เหยิน เชวี่ย ซื่อ เอ๋อร์ ปู๋ เจี้ยน กุยจวี้ ติ้ง ฟาง เอวี๋ยน
    ปุถุชนต่างมองข้าม ว่าล้วนเป็นกฏเกณฑ์นี้กำหนดโลก
    悟性 悟觉 悟空 心甘情愿
    wù xìng wù jiào wùkōng xīn gān qíngyuàn
    อู้ ซิ่ง อู้ เจี้ยว อู้ คง ซิน กัน ฉิง เอวี่ยน
    รู้ ตื่น เบิกบาน ด้วยความยินยอมพร้อมใจ
    简简单单 陪你走好每一天
    Jiǎnjiǎn dāndān péi nǐ zǒu hǎo měi yì tiān
    เจี๋ยน เจี่ยน ตานตาน เผย หนี โจ่ว หาว เหม่ย อี้ เทียน
    ผ่านชีวิตอย่างเรียบง่าย เป็นเพื่อนเคียงข้างเธอไปในทุกวัน


    https://youtu.be/rEbJxJpuEkk


    อยากจะปล่อยวาง แต่ยังไม่ถึงเวลา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มีนาคม 2016
  14. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,465
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    [​IMG]
    . .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Patisumpitayan4.jpg
      Patisumpitayan4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      89.6 KB
      เปิดดู:
      1,219
    • Sadhuuu.jpg
      Sadhuuu.jpg
      ขนาดไฟล์:
      3.9 KB
      เปิดดู:
      300
  15. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ลูกศิษย์สายวัดนาป่าพง ไม่รู้จักปฎิสัมภิทาญาน ก็โง่ตามคึกฤทธิ์อย่างนี้แลฯ
    Ritti Janson: อภิธรรม คือ โพธิปักขิยธรรม

    ธรรมอันยิ่ง หรือ บทธรรมอันยิ่ง นั้น คือ ปฎิสัมภิทาญาน อันเป็นสถานะเข้าสู่ องค์กำเนิดธรรม พระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บท พระสัทธรรม พระธรรมราชา ทิพยวิเศษบริสุทธิธรรม

    {O}ผู้เห็นธรรมมีเพียง ๓ สถานะ{O}เท่านั้น (เป็นเรื่องอจินไตยหากจะกล่าวถึงการกำเนิดของพระธรรมคัมภีร์)

    " ผู้เห็นธรรม๑ คือเห็นธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์,พระปัจเจกพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้เห็นโดยตรง" ซึ่ง"พระธรรมแม่บท"โดยปฎิสัมภิทาญาน"
    " ผู้เห็นธรรม๒ คือการพิจารณาธรรมตามพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยตรงด้วยพระประสงค์ให้เห็นตามด้วยพระทศพลญาน
    " ผู้เห็นธรรม๓ คือการพิจารณาธรรมตามพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่สืบทอดจารึก ท่องจำมุขปาฐะตีพิมพ์กันมาด้วยความเพียรพยายาม ด้วยสภาวะบุญอันเข้าถึงในอดีตชาติที่สั่งสมการพิจารณาใคร่ครวญปฎิบัติมาดีแล้ว

    ผนวก

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=13&A=3865&Z=3980
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • R631-1.jpg
      R631-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      49.3 KB
      เปิดดู:
      98
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มีนาคม 2016
  16. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรทำความเพียร
    ในอภิธรรม ในอภิวินัย เพราะคนผู้ถามปัญหา ในอภิธรรมและในอภิวินัย กะภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์มีอยู่. ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ถูกถามปัญหา ในอภิธรรม ในอภิวินัยแล้วจะให้ความประสงค์ของเขาสำเร็จไม่ได้ จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านผู้นี้ถูกถามปัญหา ในอภิธรรมในอภิวินัยแล้ว ยังความประสงค์ของเขาให้สำเร็จไม่ได้ จะมีประโยชน์อะไรด้วยการอยู่เสรีในป่าแก่ท่านผู้นี้ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้นภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ จึงควรทำความเพียร ในอภิธรรม ในอภิวินัย.


    พระธรรมคำสั่งสอนทั้งมวล คือ อภิธรรม
    พระพุทธบัญญัติศีลข้อวัตรต่างๆ คือ อภิวินัย
    พวกนี้ ไม่รู้จัก อภิธรรม จึงคิดแค่ว่ามีเพียง โพธิปักขยธรรม ๓๗ คือ พระ อภิธรรม คือนำกล่าวเอาแต่หัวข้อมาว่าเป็นใหญ่ แต่หารู้หรือไม่ว่า

    โพธิปักขิยธรรม คือ ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ ประกอบด้วยธรรมะ ๗ หมวด คือ สติปัฏฐาน ๔, สัมมัปปธาน ๔, อิทธิบาท ๔, อินทรีย์ ๕, พละ ๕, โพชฌงค์ ๗, มรรคมีองค์ ๘ รวมเป็น ๓๗ จึงเรียกว่า โพธิปักขิยธรรม ๓๗


    ๑.) สติปัฏฐาน ๔ คือ การเจริญสติระลึกรู้
    ๑. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การหมั่นคิดใคร่ครวญโดยเน้นที่เรื่องรูปธรรม
    ๒. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การหมั่นคิดใคร่ครวญโดยเน้นที่เรื่องนามธรรมในส่วนความรู้สึกจากสัมผัส
    ๓. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การหมั่นคิดใคร่ครวญโดยเน้นที่เรื่องนามธรรมในส่วนของการรับรู้
    ๔. ธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การหมั่นคิดใคร่ครวญโดยเน้นทุกเรื่องทั้งรูปธรรมและนามธรรม

    ๒.) สัมมัปปธาน ๔ คือ ความเพียรพยายาม
    ๑. สังวรปธาน คือ เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น
    ๒. ปหานปธาน คือ เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
    ๓. ภาวนาปธาน คือ เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมีขึ้น
    ๔. อนุรักขนาปธาน คือ เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่น

    ๓.) อิทธิบาท ๔ คือ ทางแห่งความสำเร็จในกิจอันเป็นกุศล
    ๑. ฉันทะ คือ ความพอใจและเต็มใจ
    ๒. วิริยะ คือ ความเพียรพยายาม
    ๓. จิตตะ คือ ความเอาใจใส่ จิตใจจดจ่อ ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่าน
    ๔. วิมังสา คือ ปัญญาที่พิจารณาใคร่ครวญ หาเหตุผล เพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น

    ๔.) อินทรีย์ ๕ คือ ธรรมที่ทำหน้าที่เป็นใหญ่ในอารมณ์
    ๑. สันธินทรีย์ คือ ความศรัทธาเป็นใหญ่
    ๒. วิริยินทรีย์ คือ ความเพียรเป็นใหญ่
    ๓. สตินทรีย์ คือ สติที่ระลึกรู้ในอารมณ์ปัจจุบันเป็นใหญ่
    ๔. สมาธินทรีย์ คือ การทำจิตให้เป็นสมาธิตั้งมั่นจดจ่ออยู่ในอารมณ์กรรมฐาน
    ๕. ปัญญินทรีย์ คือ ปัญญาทำหน้าที่เป็นใหญ่ด้วยการรู้แจ้ง

    ๕.) พละ ๕ คือ ธรรมอันเป็นกำลังที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรค
    ๑. สัทธาพละ คือ ความเชื่อ เลื่อมใส ศรัทธาที่เป็นกำลังให้อดทน และเอาชนะธรรมอันเป็นข้าศึก เช่น ตันหา
    ๒. วิริยะพละ คือ ความเพียรพยายาม เป็นกำลังให้ต่อสู้กับความขี้เกียจ
    ๓. สติพละ คือ ความระลึกได้ในอารมณ์สติปัฏฐาน อันจะเป็นกำลังให้ต้านทานความประมาทพลั้งเผลอ
    ๔. สมาธิพละ คือ ความตั้งมั่นจดจ่ออยู่ในอารมณ์กรรมฐาน ทำให้เกิดกำลังต่อสู้เอาชนะความฟุ้งซ่าน
    ๕. ปัญญาพละ คือ เป็นกำลังปัญญาที่เข้มแข็ง ซึ่งทำให้เอาชนะโมหะ คือความโง่ ความหลง

    ๖.) โพชฌงค์ ๗ คือ ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้
    ๑. สติสัมโพชฌงค์ คือ ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง
    ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ คือ ความเฟ้นธรรม ความสอดส่องสืบค้นธรรม
    ๓. วิริยสัมโพชฌงค์ คือ ความเพียร
    ๔. ปีติสัมโพชฌงค์ คือ ความอิ่มใจ
    ๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ คือ ความสงบกายใจ
    ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ คือ ความมีใจตั้งมั่น จิตแน่วในอารมณ์
    ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ คือ ความมีใจเป็นกลาง เพราะเห็นตามเป็นจริง

    ๗.) มรรคมีองค์ 8 คือ หนทางปฏิบัติที่นำไปสู่การบรรลุมรรคผลนิพพาน
    ๑. สัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาเห็นชอบ หมายถึงเห็นถูกตามความเป็นจริงด้วยปัญญา
    ๒. สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ หมายถึง การใช้สมองความคิดพิจารณาแต่ในทางกุศลหรือความดีงาม
    ๓. สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ หมายถึงการพูดสนทนา แต่ในสิ่งที่สร้างสรรค์ดีงาม
    ๔. สัมมากัมมันตะ คือ การประพฤติดีงาม ทางกายหรือกิจกรรมทางกายทั้งปวง
    ๕. สัมมาอาชีวะ คือ การทำมาหากินอย่างสุจริตชน
    ๖. สัมมาวายามะ คือ ความอุตสาหะพยายาม ประกอบความเพียรในการกุศลกรรม
    ๗. สัมมาสติ คือ การไม่ปล่อยให้เกิดความพลั้งเผลอ จิตเลื่อนลอย ดำรงอยู่ด้วยความรู้ตัวอยู่เป็นปกติ
    ๘. สัมมาสมาธิ คือ การฝึกจิตให้ตั้งมั่น สงบ สงัด จากกิเลศ นิวรณ์อยู่เป็นปกติ


    ทางนี้เป็นทางแห่งปฏิสัมภิทาได้ เพราะเหตุไร? ก็พึงมีวิสัชนาว่า เพราะเป็นเทสนาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยประเภท เป็นเทสนาอันนำมาซึ่งปฏิสัมภิทาญาณ.
    จริงอยู่ ธรรมทั้งหลายมีประเภทต่างๆ เทสนาก็มีประเภทต่างๆ ย่อมให้เกิดประเภทแห่งปฏิสัมภิทาญาณ แก่พระอริยบุคคลทั้งหลายผู้สดับฟัง และเป็นปัจจัยแก่การแตกฉานในปฏิสัมภิทาญาณแก่ปุถุชนต่อไปในอนาคต.

    พระธรรมคำสั่งสอนทั้งมวล คือ อภิธรรม
    พระพุทธบัญญัติศีลข้อวัตรต่างๆ คือ อภิวินัย
    พวกนี้ ไม่รู้จัก อภิธรรม จึงคิดแค่ว่า โพธิปักขยธรรม ๓๗ คือ พระ อภิธรรม


    แล้วอยากจะถามจริงๆ พระธรรมคำสั่งสอนตลอดจนพระสูตรไม่ว่าทั้งหมดใน นวังคสัตถุสาสน์ สุตฺตํ เคยฺยํ เวยฺยากรณํ คาถา อุทานํ อิติวุตตกํ ชาตกํ อพฺภูตธมฺมํ เวทลฺลํ มีอย่างไหนอะไรบ้างที่ไม่ได้อยู่ในหมวดของ โพธิปักขยธรรม ๓๗


    ที่นี้เอาให้มึนหรือตาแจ้งกันไปเลย แล้ว อภิวินัย คืออะไร? ...คิดสิ ภาษาศัพท์ต้นรากไม่เข้าใจ บทธรรมอันยิ่ง, ปฎิสัมภิทาญาน, ก็ไม่เข้าใจว่าคืออะไร? แต่ตีความกันมั่ว

    อภิ ก็คือใหญ่ วิเศษ เหนือโลก อัศจรรย์ ฯลฯ

    เมื่อคนอื่นเขาถามว่า ท่านภิกษุ อภิธรรม หรือ ธรรมอันวิเศษยิ่งที่ท่านรู้ท่านมี มีอะไรบ้าง เราอยากรู้ ?
    เมื่อไม่รู้จะจักตอบเขาได้ยังไง เหตุนี้ จึงให้เรียน อภิธรรม และอภิวินัย อันเป็นคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนานั่นเอง บวชแล้ว ปริยัติก็ไม่เรียน ปฎิบัติก็ไม่เอา แต่จะเอาปฎิเวธ หรือ เอาเพียงอย่างหนึ่งอย่างใด แล้วจะไปตอบกับเขาได้อย่างไร? ศีลจริยาวัตรมารยาทก็ไม่มี ไม่ไ่รู้ จะไปสอนอะไรใครได้ ท่านจึงให้เรียนปริยัติธรรม

    "ภิกษุทั้งหลาย ก็โพธิปักขิยธรรมเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ เป็นโพธิปักขิยธรรมย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ วิริยินทรีย์ ... สตินทรีย์ ... สมาธินทรีย์ ...ปัญญินทรีย์ เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้."


    "ภิกษุทั้งหลาย บรรดาสัตว์ดิรัจฉานทุกจำพวก สีหมฤคราช โลกกล่าวว่า เป็นยอดของสัตว์เหล่านั้น เพราะมีกำลัง มีฝีเท้า มีความกล้า ฉันใด บรรดาโพธิปักขิยธรรม ทุกอย่าง ปัญญินทรีย์ เรากล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความ ตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน."

    "ภิกษุเป็นผู้มีธรรมงามอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วย ความเพียรในการเจริญโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการเนืองๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีธรรมงามอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีศีลงาม มีธรรมงาม ด้วยประการดังนี้ ฯ"



    โพธิปักขิยธรรม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสามัคคีธรรมมี ๓๗ ประการคือ

    ๑. สติปัฏฐาน ฐานเป็นที่กำหนดของสติ ๑.๑การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย (กายานุปัสสนา) ๑.๒การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา(เวทนานุปัสสนา) ๑.๓การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต (จิตตานุปัสสนา) ๑.๔การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม (ธรรมานุปัสสนา)

    ๒.สัมมัปปธาน หลักในการรักษากุศลธรรมไม่ให้เสื่อม ๒.๑การเพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในตน (สังวรปธาน) ๒.๒การเพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว(ปหานปธาน) ๒.๓การเพียรสร้างกุศลให้เกิดขึ้นในตน(ภาวนาปธาน) ๒.๔การเพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ไม้ให้เสื่อมไป(อนุรักขปธาน)

    ๓.อิทธิบาท เป้าหมายของความเจริญ ๓.๑ความชอบใจทำ พอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น(ฉันทะ) ๓.๒ความแข็งใจทำ เพียรหมั่นประกอบในสิ่งนั้น(วิริยะ) ๓.๓ความตั้งใจทำ เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น ไม่ทอดทิ้งธุระ(จิตตะ) ๓.๔ความเข้าใจทำ การใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองหาเหตุผลในสิ่งนั้น(วิมังสา)

    ๔.อินทรีย์ ๔.๑ให้เกิดความเชื่อ (ศรัทธา) ๔.๒ให้เกิดความเพียร (วิริยะ) ๔.๓ให้เกิดความระลึกได้ (สติ) ๔.๔ให้เกิดความตั้งมั่น (สมาธิ) ๔.๕ให้เกิดความรอบรู้ (ปัญญา)

    ๕.พละ กำลัง ๕.๑ความเชื่อ (ศรัทธา) ๕.๒ความเพียร (วิริยะ) ๕.๓ความระลึกได้ (สติ) ๕.๔ความตั้งมั่น (สมาธิ) ๕.๕ความรอบรู้ (ปัญญา)

    ๖.โพชฌงค์ องค์แห่งการตรัสรู้ ๖.๑มีความระลึกได้ (สติ) ๖.๒มีความพิจารณาในธรรม (ธัมมวิจยะ) ๖.๓มีความเพียร (วิริยะ) ๖.๔มีความอิ่มใจ (ปีติ) ๖.๕มีความสงบสบายใจ (ปัสสัทธิ) ๖.๖มีความตั้งมั่น (สมาธิ) ๖.๗มีความวางเฉย (อุเบกขา)

    ๗.มรรค หนทางดับทุกข์ ๗.๑ใช้เพื่อเห็นชอบ คือ เห็นอริยสัจ (สัมมาทิฏฐิ) ๗.๒ใช้เพื่อดำริชอบ คือ ดำริละเว้นในอกุศลวิตก (สัมมาสังกัปปะ) ๗.๓ใช้เพื่อเจรจาชอบ คือ เว้นจากวจีทุจริต(สัมมาวาจา) ๗.๔ใช้เพื่อทำการงานชอบ คือเว้นจากกายทุจริต (สัมมากัมมันตะ) ๗.๕ใช้เพื่อทำอาชีพชอบ คือ เว้นจาก การเลี้ยงชีพในทางที่ผิด(สัมมาอาชีวะ) ๗.๖ใช้เพื่อเพียรชอบ คือ สัมมัปปธาน (สัมมาวายามะ) ๗.๗ใช้เพื่อระลึกชอบ คือ ระลึกในสติปัฏฐาน ๔(สัมมาสติ) ๗.๘ใช้เพื่อตั้งใจมั่นชอบ คือ เจริญฌานทั้ง ๔ (สัมมาสมาธิ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มีนาคม 2016
  17. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระได้เลือกพระจำนวน ๑,๐๐๐ รูปเฉพาะท่านที่ทรงพระปริยัติ (เล่าเรียนพระธรรมวินัย) แตกฉานในปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานมี ๔ คือ ๑. แตกฉานในอรรถ ๒. แตกฉานในธรรม ๓.แตกฉานในนิรุกติคือ ภาษา ๔. แตกฉานในปฏิภาณ) และชำนาญในวิชชา ๓ ประชุมกันทำสังคายนาครั้งที่ ๓ ขึ้นที่อโศการามเมืองปาฏลีบุตร ภายใต้พระบรมราชูปถัมภ์ของพระเจ้าอโศกมหาราช ประเด็นสำคัญในตติสังคายนาคือ
    ๑. พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเป็นประธาน มีสังคีติกาจารย์เข้าร่วม ๑,๐๐๐ รูป ทำที่อโศการาม เมืองปาฏลีบุตร พระเจ้าอโศกมหาราชเป็นองค์อุปถัมภ์ เริ่มทำปีพุทธศักราช ๒๓๔
    ๒. พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ได้ยกเอาวาทะของนิกายต่าง ๆ ที่เผยแพร่กันในสมัยนั้นขึ้นวิพากย์เกือบ ๓๐๐ ข้อ ถือว่าเป็นความเห็นผิดจากพระพุทธศาสนา เป็นเหตุให้เกิดคัมภีร์ "กถาวัตถุ ในพระอภิธรรมปิฎก" ขึ้นทำให้คัมภีร์ในอภิธรรมปิฏกสมบูรณ์ในคราวนี้เอง
    ท่านพระโมคคัลลีบุตรติสสะเถระ และพระภิกษุรูปอื่นที่ร่วมพิจารณาธรรมเป็นผู้มี ปฎิสัมภิทาญาน
    ล่วงรู้และเห็นพระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บท
    ฝากเรื่องนี้ไว้ด้วยครับ ให้ผู้ที่ไม่รู้และไร้ปัญญาธรรม เข้าใจเสียใหม่


    แม้แต่ อาจารย์เสถียร โพธินันทะ ยังกล่าวถึง ปฐมสังคายนาผู้ที่ได้ปฎิสัมภิทาญานเพียงเท่านั้น ที่สามารถรจนาแต่งพระสูตรหรืออรรถกถาธรรมต่างๆได้ สรุป ไม่รู้จัก ปฎิสัมภิทาญาน
    http://www.dhammaster.com/th/index....m&id=2228:คัมภีร์กถาวัตถุ-ตอนที่-1&Itemid=284


    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14797

    พระบรมศาสดาได้เสด็จขึ้นไปแสดงพระธรรม เทศนาโปรดพระพุทธมารดาและจำพรรษา ณ ดาวดึงส์พิภพเป็นเวลา 3 เดือน แล้วจะเสด็จพระราชดำเนินกลับสู่โลกในวันมหาปวารณาออกพรรษา ไอ้พวกวัดนาป่าพง ไม่เอาพระอภิธรรม แล้วมันจะเอาช่วงเข้าพรรษา กรานกฐินไปทำไม จะเอาวันมหาปวารณาออกพรรษา ไปทำไม เพราะทั้งสองอย่างนี้เกี่ยวเนื่องกัน ถึงระเบียบการหรือพระวินัยในการอยู่จำพรรษานั่นด้วย
    เห็นไหม? บอกแล้ว ว่า ไม่ใช่มีแต่เพียง โพธิปักขิยธรรม ว่าคือ พระอภิธรรม “อภิธรรมที่พระพุทธเจ้าได้แสดงติตด่อกัน ๓ เดือนนั้น เป็นอนันต์ (ไม่รู้จักจบสิ้น) ไม่อาจคำนวณได้ จะเรียนสักร้อยปีพันปี ก็เรียนไม่จบ

    คือพระธรรมคำสั่งสอนทั้งหมด ตลอดจนใบไม้ในพระหัตถ์และนอกพระหัตถ์ก็อาจมีด้วย ที่เป็นไปเพื่อเกื้อกูลเหล่าเทพพรหมเทวดา สอนเทวดา จะเอา คำสอนมนุษย์แบบเดียวกันในทุกอย่างเหมือนเปี๊ยบได้ มีมาจักที่ไหน กายก็กายละเอียด อายุขัย อาหารฯลฯ
    ทั้งหมดที่สามารถแสดงออกมาได้ อภิธรรม คือ การรวบรวม นวังคสัตถุสาสน์ ทั้งหมดที่สามารถเกื้อกูลแก่เหล่าผู้มีกายทิพย์ และกายเนื้อ ทั้งหลายฯ รวมถึง มฤตยูหรือ อมนุษย์ด้วย ทั้งอดีตตังญาณ ปัจจุปันนังสญาณ อนาคตังสญาณ

    การเทศนาสั่งสอนครั้งใหญ่นั่นเอง มีอะไรก็งัดมาหมดเท่าที่จะงัดออกมาได้ ในระยะเวลา ๓ เดือน นี่แหละ พระ อภิธรรม ส่วนโพธิปักขิยธรรมเป็นหัวข้อหลักเป็นหมวดหลักๆ ในการเจริญสู่การตรัสรู้ธรรม พระธรรมคำสั่งสอนทั้งมวล คือ อภิธรรม
    พระพุทธบัญญัติศีลข้อวัตรต่างๆ คือ อภิวินัย
    พวกนี้ ไม่รู้จัก อภิธรรม จึงคิดแค่ว่า โพธิปักขยธรรม ๓๗ คือ พระ อภิธรรม

    แล้วอยากจะถามจริงๆ พระธรรมคำสั่งสอนตลอดจนพระสูตรไม่ว่าทั้งหมดใน นวังคสัตถุสาสน์ สุตฺตํ เคยฺยํ เวยฺยากรณํ คาถา อุทานํ อิติวุตตกํ ชาตกํ อพฺภูตธมฺมํ เวทลฺลํ มีอย่างไหนอะไรบ้างที่ไม่ได้อยู่ในหมวดของ โพธิปักขยธรรม ๓๗ นั่นคือการสงเคราะห์แยกแยะกันอีกที ในพระธาตุกถาและพระมหาปัฏฐาน เป็นต้น

    ส่วน “สารีบุตร วันนี้เราจะแสดงธรรมประมาณเท่านี้
    เธอจงไปบอกสอนพวกภิกษุ ๕๐๐ รูป ที่เป็นศิษย์ของเธอ” ท่านก็เอาออกมาสั่งสอนเฉพาะเท่าที่จำเป็นแก่พระสงฆ์สาวก
    อย่าลืมว่า ใบ้ไม้ในมือ ของพระองค์ใบนั้น ใหญ่มาก สิ่งที่อยู่ในนั้น ก้ล้วนแต่เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับทุกข์ ไม่ได้เป็นเพื่ออะไรอย่างอื่น


    ที่นี้เอาให้มึนหรือตาแจ้งกันไปเลย แล้ว อภิวินัย คืออะไร? ...คิดสิ ภาษาศัพท์ต้นรากไม่เข้าใจ บทธรรมอันยิ่ง, ปฎิสัมภิทาญาน, ก็ไม่เข้าใจว่าคืออะไร? แต่ตีความกันมั่ว

    อภิ ก็คือใหญ่ วิเศษ เหนือโลก อัศจรรย์ ฯลฯ

    เมื่อคนอื่นเขาถามว่า ท่านภิกษุ อภิธรรม หรือ ธรรมอันวิเศษยิ่งที่ท่านรู้ท่านมี มีอะไรบ้าง เราอยากรู้ ?
    เมื่อไม่รู้จะจักตอบเขาได้ยังไง เหตุนี้ จึงให้เรียน อภิธรรม และอภิวินัย อันเป็นคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนานั่นเอง บวชแล้ว ปริยัติก็ไม่เรียน ปฎิบัติก็ไม่เอา แต่จะเอาปฎิเวธ หรือ เอาเพียงอย่างหนึ่งอย่างใด แล้วจะไปตอบกับเขาได้อย่างไร? ศีลจริยาวัตรมารยาทก็ไม่มี ไม่ไ่รู้ จะไปสอนอะไรใครได้ ท่านจึงให้เรียนปริยัติธรรม

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรทำความเพียรในอภิธรรม ในอภิวินัย เพราะคนผู้ถามปัญหา ในอภิธรรมและในอภิวินัย กะภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์มีอยู่. ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ถูกถามปัญหา ในอภิธรรม ในอภิวินัยแล้วจะให้ความประสงค์ของเขาสำเร็จไม่ได้ จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านผู้นี้ถูกถามปัญหา ในอภิธรรมในอภิวินัยแล้ว ยังความประสงค์ของเขาให้สำเร็จไม่ได้ จะมีประโยชน์อะไรด้วยการอยู่เสรีในป่าแก่ท่านผู้นี้ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้นภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ จึงควรทำความเพียร ในอภิธรรม ในอภิวินัย.

    จบ เจอ อภิวินัย เข้าทีนี้มันจะไปหา อภิวันัยมาจากไหน สงสัย ก็คงจะตัดเหลือ แค่ 150 ข้อ ฮ่าๆ แล้วบอกถือ ศีล 2400 ข้อ ไอ้คึกพาโง่พวกสาวกบัญญัติ หรือสาวกภาษิตก็คือพวกไอ้คึกนี่แหละไม่ใช่ใครอื่น ถ้าเป็นพวกสาวกในพระศาสนา อภิวินัยสำนักวัดนาป่าพง

    มันพากันมั่วมาต้องแต่ต้น บั้นปลายก็มั่วไปหมด มันจะถูกได้ยังไงไอ้พวกสำนักวัดนาป่าพง แมลงมุมสางใยพันตนเอง

    แม้พระไตรปิฏกธรผู้ทรงจดจำ ก็ไม่สามารถเห็นธรรมนั้น และไม่สามารถสงเคราะห์เหล่าธรรมต่างๆ เพื่อแยกแยะแจกแจง ลงได้ในมหาปัฏฐานปกรณ์และธาตุกถาโดยหลักในพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ได้แม้แต่เพียงผู้เดียว ในโลกนี้ตอนนี้ไม่มีผู้สามารถทำเช่นนั้นได้ ถือว่าเป็นงานที่ยากที่สุดและมีคุณค่าความหมายเป็นที่สุด นี่จึงเป็นการแสดงการแจกแจงแสดงพระสัทธรรมทั้งมวลฯ อันยอดเยี่ยมยิ่งขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงแสดงธรรมโปรดต่อพระพุทธมารดาและเหล่าเทพยดาเทวาทั้งหลายฯ

    การแสดงบทธรรมอันยิ่งทั้งหลายทั้งมวลฯ

    นี่แหละ พระอภิธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มีนาคม 2016
  18. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    สรุป

    Ritti Janson ไม่รู้จักปฎิสัมภิทาญาน ก็โง่ตามคึกฤทธิ์และบุคคลอื่นๆด้วยอย่างนี้แลฯ
    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรทำความเพียร
    ในอภิธรรม ในอภิวินัย เพราะคนผู้ถามปัญหา ในอภิธรรมและในอภิวินัย กะภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์มีอยู่. ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ถูกถามปัญหา ในอภิธรรม ในอภิวินัยแล้วจะให้ความประสงค์ของเขาสำเร็จไม่ได้ จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านผู้นี้ถูกถามปัญหา ในอภิธรรมในอภิวินัยแล้ว ยังความประสงค์ของเขาให้สำเร็จไม่ได้ จะมีประโยชน์อะไรด้วยการอยู่เสรีในป่าแก่ท่านผู้นี้ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้นภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ จึงควรทำความเพียร ในอภิธรรม ในอภิวินัย.
    ไหนขอจุดธูปอัญเชิญหน่อย ถามย้อนไว้ก่อน " ใครที่ว่า โพธิปักขิยธรรม ๓๗ คือ พระอภิธรรม หาพระสูตรมากล่าวอ้างดูหน่อยสิว่า สมเด็จพระบรมมหาศาสดา ทรงตรัสว่า โพธิปักขิยธรรม คือพระอภิธรรม "
    อภิธรรม ธรรมอันยิ่ง คืออะไร? มีอะไรบ้าง
    ที่นี้เอาให้มึนหรือตาแจ้งกันไปเลย แล้ว อภิวินัย คืออะไร? วินัยอันยิ่งคืออะไร? มีอะไรบ้าง ...คิดสิ ภาษาศัพท์ต้นรากว่าด้วยการอุปมาอุปไมยก็ไม่เข้าใจ
    ไม่แปลกหรอกที่ไอ้คึกฤทธิ์แห่งสำนักวัดนาป่าพงนี้ ไปเด็ดดอกบัวของพระพุทธเจ้าเหลือแค่สามดอก ไม่มีปทปรมะ ก็ไม่มีผู้ที่มีมิจฉาทิฎฐิ ไม่มีคนว่ายากสอนยาก หรือไม่มีคนที่สอนไม่ได้ ไม่มีผู้ที่ได้รู้จักพระพุทธศาสนาแต่ไม่ได้ถือพระรัตนตรัย ไม่มีผู้ที่ได้รู้จักพระศาสนาแต่ก็ให้ความอนุเคราะห์ช่วยเหลือ และก็ต้องไม่มีคนนอกศาสนาอันไกลโพ้นที่ไม่เคยรู้จักพระพุทธศาสนาเลย โลกของบัว ๓ เหล่าในสำนักนั้น จึงเป็นโลกที่ไม่มีศาสนาอื่น มีแต่พุทธหนึ่งเดียวในโลก เป็น ภวทิฏฐิ และ วิภวทิฏฐิ อันมี สัสสตทิฏฐิ และ อุทเฉททิฏฐิ เป็นต้นฯ
    "ยังไม่ต้องอ้างกล่าวถึงเรื่องพระพุทธเจ้าแสดงอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา "
    Ritti Janson: อภิธรรม คือ โพธิปักขิยธรรม ถ้าเข้าใจอย่างนั้น มาธรรมสากัจฉากันหน่อย
    http://rittijanson.blogspot.com/…/05/pantipcom-y9915529.html
    พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระได้เลือกพระจำนวน ๑,๐๐๐ รูปเฉพาะท่านที่ทรงพระปริยัติ (เล่าเรียนพระธรรมวินัย) แตกฉานในปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานมี ๔ คือ ๑. แตกฉานในอรรถ ๒. แตกฉานในธรรม ๓.แตกฉานในนิรุกติคือ ภาษา ๔. แตกฉานในปฏิภาณ) และชำนาญในวิชชา ๓ ประชุมกันทำสังคายนาครั้งที่ ๓ ขึ้นที่อโศการามเมืองปาฏลีบุตร ภายใต้พระบรมราชูปถัมภ์ของพระเจ้าอโศกมหาราช ประเด็นสำคัญในตติสังคายนาคือ
    ๑. พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเป็นประธาน มีสังคีติกาจารย์เข้าร่วม ๑,๐๐๐ รูป ทำที่อโศการาม เมืองปาฏลีบุตร พระเจ้าอโศกมหาราชเป็นองค์อุปถัมภ์ เริ่มทำปีพุทธศักราช ๒๓๔
    ๒. พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ได้ยกเอาวาทะของนิกายต่าง ๆ ที่เผยแพร่กันในสมัยนั้นขึ้นวิพากย์เกือบ ๓๐๐ ข้อ ถือว่าเป็นความเห็นผิดจากพระพุทธศาสนา เป็นเหตุให้เกิดคัมภีร์ "กถาวัตถุ ในพระอภิธรรมปิฎก" ขึ้นทำให้คัมภีร์ในอภิธรรมปิฏกสมบูรณ์ในคราวนี้เอง
    ท่านพระโมคคัลลีบุตรติสสะเถระ และพระภิกษุรูปอื่นที่ร่วมพิจารณาธรรมเป็นผู้มี ปฎิสัมภิทาญาน
    ล่วงรู้และเห็นพระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บท
    ฝากเรื่องนี้ไว้ด้วยครับ ให้ผู้ที่ไม่รู้และไร้ปัญญาธรรม เข้าใจเสียใหม่

    ติดตามและพิจารณาได้ที่ https://www.facebook.com/groups/161...885/?comment_id=1709984739260786&notif_t=like
     
  19. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    งานเยอะ ค่อยหาเวลามาเรียบเรียง สรุป
     
  20. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ขอบคุณที่ไม่ลบครับ ท่านผู้ดูแล
     

แชร์หน้านี้

Loading...