สมถะ - วิปัสสนา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย aronn, 19 กรกฎาคม 2014.

  1. aronn

    aronn Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    37
    ค่าพลัง:
    +47
    เฉพาะในส่วนการปฏิบัติ ต่างกันอย่างไร ปฏิบัติแบบไหนเป็นสมถะ แบบไหนเป็นวิปัสสนา ช่วยยกตัวอย่างด้วยครับ เช่น กสิณ เป็นสมถะ ฯลฯ
     
  2. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    สมถะ=สมาธิ วิปัสสนา=ปัญญา
     
  3. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    google ช่วยได้
     
  4. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ"ภิกษุทั้งหลาย ในบรรดาบุคคลสี่จำพวกนั้น 1 บุคคลผู้ได้เจโตสมถะในภายใน แต่ไม่ได้อธิธัมมวิปัสนา นั้น บุคคลนั้น พึงเข้าไปหาบุคคลผู้ได้ อธิปัญญาธัมวิปัสนา แล้ววถามว่า ท่านผู้มีอายุ เราควรเห็นสังขารกันอย่างไร ควรพิจารณาสังขารกันอย่างไร ควรเห็นแจ้งสังขารกันอย่างไร ดังนี้ ผู้ถูกถามนั้นจะพยากรณ์ตามที่ตนเห็นแล้ว แจ่มแจ้งแล้วอย่างไร แก่บุคคลนั้น ว่า ท่านผู้มีอายุ สังขารควรเห็นกันอย่างนี้อย่างนี้ สังขารควรพิจารณาอย่างนี้อย่างนี้ สังขารควรเห็นแจ้งกันอย่างนี้อย่างนี้ สมัยต่อมาบุคคลนั้น ก็ จะได้เป็นผู้ไดทั้งเจโตสมถะในภายใน และ อธิธัมวิปัสนา....................2 ภิกาุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้อธิธัมวิปัสนา แต่ไม่ได้เจโตสมถะในภายใน นั้น บุคคลนั้น พึงเข้าไปหา บุคคลผู้ได้เจโตสมถะในภายใน แล้วถามว่า ท่านผู้มีอายุ จิตเป็นสิ่งที่ควรดำรงไว้(สณฐเปตพพ)อย่างไร ควรถูกชักนำ(สนนิยาเทตพพ)ไปอย่างไร ควรทำให้จิตมีอารมณ์เดียวอย่างไร(เอโกทิกตตพพ) ควรทำให้ตั้งมั่น(สมาทหาตพพ)อย่างไร ดังนี้ ผู็ถูกถามนั้นจะพยากรณ์ ตามที่ตนเห็นแล้ว แจ่มแจ้งแล้วอย่างไร แก่บุคคลนั้น ว่า ท่านผู้มีอายุ จิตเป็นสิ่งที่ควรดำรงไว้ ด้วยอาการอย่างนี้อย่างนี้ ควรถูกชักนำไปด้วยอาการอย่างนี้อย่างนี้ ควรทำให้จิตมีอารมณ์อันเดียว ด้วยอาการอย่างนี้อย่างนี้ ควรทำให้ตั้งมั่นด้วยอาการอย่างนี้อย่างนี้ ดังนี้ สมัยต่อมา บุคคลนั้นก็จะได้เป็นผู้ได้ทั้ง อธิธัมวิปัสนา และ เจโตสมถะในภายใน............(อริยสัจจากพระโอษฐ์ ท่านพุทธทาสหน้าที่ 1466)......:cool:
     
  5. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    .............เจโตสมถะ และ อธิธัมวิปัสนา..:cool:
     
  6. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    ฝึกทำสมาธิบ่อยๆเป็นการดี ทำให้สติสัมปชัญญะดี รู้เหตุ-รู้ผล การแสดงออกทางกาย วาจา ใจ ปรกติ ภาคปัญญาคือการพิจรณาธรรมะของพระพุทธองค์ ต้องอ่านก่อน ปุจฉา-วิสัชณาก่อน เจียดเงินทำบุญด้วย และผู้ปฏิบัติธรรมจำแนกโดยทฤษฎีหนึ่งแบ่งได้ 2 ประเภทคือ ตัณหาบุคคล๑ และทิฏฐิบุคคล๑ ผมเป็นตัณหาบุคคล แล้วท่านๆล่ะ เป็นแบบใด
     
  7. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    ในส่วนการปฏิบัติต่างกับการจดจำมาจากตำรา และพระอริยครู
    การปฏิบัติ จึงเป็นเรื่องของการลงมือกระทำ ไม่ใช่ภาษาพูดภาษาเขียน
    แต่เป็นเรื่องของจิตล้วน ๆ การปฏิบัติในบ้านนี้เมืองนี้ ส่วนใหญ่
    ก็เป็นแค่สมถะกรรมฐาน ไม่ว่าจะเป็นอานาปานสติ หรือวิธีการใดก็ตาม

    ถ้าไม่เกิดจิตรวมใหญ่แบบมรรคสมังคี(เกิดแสงสว่างที่สามารถทำลายความไม่รู้ออกไปได้) ก็จะสำคัญผิดไปว่า เข้าวิปัสสนาญาณ และแทบทุกรายพยากรณ์ตนเองเป็นพระอริยไปเรียบร้อย ถ้าคนที่ไม่เคยผ่านการเกิดมรรคสมังคีมาก่อน จะไม่เข้าใจ เพราะเป็นขั้นที่จิตสามารถถอนสังโยชน์ออกไปได้
    ให้สังเกตกิริยาอาการของจิต ถ้ามีผู้ปฏิบัติจิตรวมต่างจากที่ผมแสดงมา
    จะไม่สามารถถอนความลังเลสังสัยได้ แม้นแต่โสดาบันก็ยังไม่ได้

    ความจริงเป็นเรื่องเจ็บปวด ให้เจ็บปวดตอนนี้กว่าหลงตัวว่าเป็นพระอริย
    แล้วเอาความคิดไปไล่แทงคนอื่น

    กสิณ ไม่ว่าเป็นรูปฌาน หรือ อรูปฌาน ก็ยังตกอยู่ในภูมิสมถะ
    ยกเว้นท่านที่ดับรูปนามได้แล้ว
    จำพวกนี้ ไม่ว่าจะทรงรูปฌาน หรือ อรูปฌาน ท่านเหล่านี้ก็อยู่ในโลกุตตระฌาน
    กลุ่มชั้นนี้จัดเป็นวิปัสสนาจารย์
     
  8. Aunyadham

    Aunyadham ธรรมใด เกิดขึ้นเพราะเหตุใด ย่อมดับที่เหตุนั้นแล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2012
    โพสต์:
    441
    ค่าพลัง:
    +627
    ทานศีล งามในเบื้องต้น สมถะวิปัสสนางามในท่ามกลาง มหานิพพานงามในเบื้องปลาย
    สมถะคือการทำให้สงบ วิปัสสนาคือการพิจารณาในขณะที่สงบ ทำควบคู่กัน ได้ผลดีมากคือพิจารณาอาการ 32 มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น ทำเช่นนี้ย่อมเรียกได้ว่าได้ทั้ง สมถะและวิปัสสนาไปในตัว เมื่อทำจนถึงที่สุดแล้ว จะเกิดความเบื่อหน่ายทางร่างกาย ทำมากๆเข้าจะเบื่อหน่ายทางความคิด พอเบื่อหน่ายทางความคิดแล้ว จึงมาเพ่งสติให้เกิดกำลังสติ ที่เรียกว่าสตินทรีย์ฌาน ทำให้มากเข้าๆ จึงใช้ตัวสตินี้เป็นหนทาง สมบูรณ์แล้วในสติมหาปัฎฐาน เป็นทางเอกนำสู่ทางพ้นทุกข์ได้จริง
     
  9. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    เจาะและฝังอย่างเดียวไม่พอ ต้องถอนด้วย ไม่งั้นมันคา ปวดแย่
     
  10. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,608
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,017
    ตามนี้ได้เลยครับคุณ jarunn ใน link ข้างล่างนี้มีบทเรียนของเรื่องนี้ครับ ตามข้างล่างนี้ครับ

    พระอภิธรรม on line บทที่ 9 สมถกรรมฐาน 40

    บทที่ 10 วิปัสสนากรรมฐาน

    download 2 เล่มนี้ไปอ่านได้ครับ หรือจะ download ไปอ่านทุกบทเรียนเลยก็ได้ครับ 10 บทนี้ เป็นแก่นหลักของธรรมะครับ อนุโมทนาครับ สวัสดีครับ

    download หนังสือบทเรียนพระอภิธรรม on line 10 บท free ได้ที่นี่ครับ ( บทเรียนดีมาก ๆ เป็นแก่นหลักของธรรมะโดยตรง )

    http://palungjit.org/threads/downlo...ียนดีมาก-ๆ-เป็นแก่นหลักของธรรมะโดยตรง.561649/
     
  11. อินทรี

    อินทรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +562
    ภาวนาก็เหมือนกับไม้ท่อนเดียว วิปัสสนาอยู่ปลายท่อนทางนี้

    สมถะอยู่ปลายท่อนทางนั้น ถ้าเรายกไม้ท่อนนี้ขึ้น

    �������ԧ�ػ���ػ��� 08 ��ǧ��ͪ� ���ѷ��/
    ตัวอย่าง สวดมนต์เป็นสมถะ ส่วนใหญ่ทุกวิธีแทบจะเป็นสมถะซะส่วนใหญ่ ต่างกันที่ผลลัพธ์ครับ

    สมถภาวนาจึงเปรียบหินลับมีดส่วนวิปัสสนาภาวนาเปรียบกับ
    มีดที่ลับคมดีแล้วย่อมมีอำนาจถากถางฟันกิเลสทั้งหลายให้ขาดพังลงได้
    ���·�Ѿ�����ͷ�Ѿ�������
     
  12. okใช่เลย

    okใช่เลย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2015
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +44
    สีลปริภาวิโต สมาธิ มหปฺผโล โหติ มหานิสํโส สมาธิที่ศีลหล่อเลี้ยงแล้ว ด้วยความระเวียงระวัง หิริโอตตัปปะ รักษาศีลของตนให้บริสุทธิ์แล้ว การบำเพ็ญสมณธรรม คือสมาธิธรรม ย่อมมีความสงบร่มเย็นได้ง่าย

    สมาธิปริภาวิตา ปญฺญา มหปฺผลา โหติ มหานิสํสา ปัญญาที่สมาธิเป็นเครื่องหนุนหล่อเลี้ยงอยู่เสมอ เพราะสมาธิคือความอิ่มใจ อิ่มอารมณ์ ไม่ส่ายแส่ ไม่หิวโหย อยากรู้อยากเห็น อยากได้ยินได้ฟัง ที่เรียกว่าความอยาก อยากไม่มีประมาณ เมื่อสมาธิมีความสงบใจ ที่เรียกว่าใจอิ่มอารมณ์ ไม่อยากคิดปรุงแต่งต่างๆ ในเรื่องที่เป็นภัยต่อจิตใจ เพราะจิตใจอิ่มตัวด้วยสมาธิธรรม มีความสงบเย็น มีธรรมเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง แล้วปัญญาย่อมเดินได้สะดวกคล่องตัว ท่านแปลไว้ทางปริยัติว่า ปัญญาอันสมาธิอบรมแล้วย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก แปลให้ตรงเข้าไปสู่ตัวเลยทีเดียวก็ว่า ปัญญาเมื่อมีสมาธิเป็นเครื่องหนุนแล้ว ย่อมเดินคล่องตัว คืออิ่มอารมณ์ คิดทางปัญญาก็เป็นปัญญาล้วน ๆ ไปเลย


    ปญฺญา ปริภาวิตํ จิตฺตํ สมฺมเทว อาสเวหิ วิมุจฺจติ จิตที่ปัญญาซักฟอกเรียบร้อยแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงโดยชอบ คือจิตนี้จะหลุดพ้นด้วยปัญญา ปัญญาเป็นเครื่องซักฟอกจิตให้หลุดพ้น ท่านจึงว่า ปญฺญา ปริภาวิตํ จิตฺตํ สมฺมเทว อาสเวหิ วิมุจฺจติ จิตที่ปัญญาซักฟอกเรียบร้อยแล้วย่อมหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงโดยชอบ นี่ธรรม ๓ ประการ คือศีล สมาธิ ปัญญา ก้าวเดินโดยลำดับ สำหรับนิสัยผู้อยู่ในขั้นที่ควรจะพิจารณาโดยลำดับ แต่ท่านผู้ที่เป็น ขิปปาภิญญา นั้นมีน้อยมาก คือศีล สมาธิ ปัญญานี้ไปพร้อม ๆ กัน เป็นผู้รวดเร็ว อุคฆฏิตัญญู พวกนี้รวดเร็ว ไปเร็วๆ แต่ก็ไม่เคยพ้นไปจากศีล สมาธิ ปัญญานี้ไปได้ อันนี้พร้อมแล้ว หนุนผึงไปได้เลย นี่เป็นขั้นเป็นตอน ไม่ใช่จะเป็นขั้นเดียวตอนเดียว

    ( พระธรรมเทศนา หลวงตามหาบัว )
     
  13. pinit417

    pinit417 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2016
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +165
    ในเชิงปฏิบัติ ตามที่ผมเข้าใจ
    สมถะ: คุณใช้ลมหาย บวกกับคำภาวนาอะไรก็ได้ หรือจริงๆจะไม่ใช้คำภาวนาใดๆเลยก็ได้ คำภาวนาเป็นเพียงอุบายลวงให้จิตมีที่ยึดเหนี่ยว หมายถึงคือ ทำให้จิตเป็นสมาธิโดยง่าย เช่นหายใจเข้าพุท หายใจออก โธ คุณทำอย่างนี้ไปเรื่อย อย่างมีสติแค่ที่ลมหายใจกับคำภาวนาเท่านั้น ในระหว่างที่ทำอาจจะมีบ่อยครั้งที่ จิตคิดเรื่องอื่น คุณก็ตั้งสติดึงจิตกลับมาที่คำภาวนาและลมหายใจ และอาจจะมีบ่อยครั้งที่คุณรู้สึกปวดเมื่อยหรือคัน คุณก็อย่าไปสนใจดึงจิตกลับมาที่คำภาวนาและลมหายใจเหมือนเดิม สรุปไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น คุณอยู่ที่ลมหายใจกับคำภาวนาของคุณ สุดท้ายเมื่อจิตมีสมาธิเข้าถึงระดับฌานแต่ฌานไหนไม่ทราบนะ จิตจะสงบมาก คำภาวนาจะหายไป ลมหายใจจะชัดเจน สภาวะข้างในจะเงียบสงัด ในระหว่างที่เราหลับตากลับรู้สึกว่าเราเห็นรอบข้างแต่เหมือนปิดไฟอยู่ จุดศูนย์กลางจะเหมือนเปิดไฟอ่อนๆ อ่อนกว่าเทียนไขหน่อยนึงมั้ง.... หลังจากนั้นก็ไม่รู้แล้วครับ ผมถึงตรงนั้น แต่สิ่งที่ผมปฏิบัติต่อคือ สติที่ลมหายใจเข้าออกอย่างเดียว ไม่สนใจสภาวะภายนอกที่เหมือนรู้สึกว่าเห็นได้ คำภาวนาก็ไม่ภาวนาด้วย... ผิดหรือถูกอันนี้ผมก็ไม่รู้
     
  14. pinit417

    pinit417 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2016
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +165
    ส่วนวิปัสสนา: อันนี้ก็ตามที่ผมเข้าใจอีก คุณก็ทำคล้ายสมถะ คือ สติอยู่ที่ลมหายใจเข้าออก ทำอยู่สักพัก จนรู้สึกว่าจิตสงบดีแล้ว คุณก็เริ่มสำรวจร่างกายตัวเองว่ามีเวทนาที่ไหนบ้าง ตัวอย่างของเวทนาก็คือ อาการคัน อาการปวดเมื่อย อันนี้เวทนาอย่างหยาบที่รู้สึกได้ง่าย เกิดขึ้นตลอดเวลา เมื่อเจอเวทนา ก็ให้เจริญสมถะแล้วก็สังเกตุเวทนานั้นไปด้วย แรกๆจะลำบากหน่อย เพราะพอสังเกตเวทนา ก็จะทำให้เวทนานั้นแรงขึ้น คือ ถ้าคันก็จะรู้สึกคันมากขึ้น อันนี้น่าจะปกติ ก็สังเกตเวทนานี้ไปเรื่อยๆจนเวทนาอื่นที่หนักกว่าโผล่ขึ้นมา เช่น คันแขนอยู่ แต่ปวดขาขึ้นมา ก็ไปจับเวทนาตรงนั้นพร้อมสมถะไปด้วย ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จะทำให้คุณรู้ว่า จริงๆเวทนาไม่ได้หายไปไหน มันอยู่บนร่างกายเราตลอดทุกที่ เพียงแต่ถูกเวทนาอย่างอื่นที่หนักกว่า แรงกว่าบดบังไว้.... หลังจากนี้ไปยังไงต่อผมก็ไม่รู้ แต่คิดว่า มันอาจจะทำให้จิตเข้าใจว่า ทุกอย่างมันมีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป อะไรประมาณนั้นมั้ง....

    ก็หวังว่าจะพอทำให้คุณเข้าใจถึงความต่างระหว่างทั้งสองได้บ้าง
     
  15. Prasit5000

    Prasit5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    301
    ค่าพลัง:
    +228
    ....สมถะ ก็คือ เอกัคคตาจิต จิตที่มีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว

    ....วิปัสสนา คือการเห็นด้วยญาณ เกิดวิปัสนาญาณ ว่าขันธ์ห้าเป็นไตรลักษณ์ การเห็นดังกล่าวก็เรียกว่าวิปัสสนาญาณ เมื่อเห็นแล้วจึงเกิดปัญญาในการหลุดพ้น

    ..... ตัวอย่างการทำสมถะ เช่น การเพ่งกสิณ จิตจะจดจ่อแต่ภาพนิมิต, การทำอานาปานสติ จิตมีอารมณ์เดียวกับลมหายใจเข้าออก

    .....การทำวิปัสสนา ต้องอาศัย การทำสมถะประกอบกัน จึงจะทำได้


    .....วิธีทำวิปัสสนา ก็คือต้องทำตามแนวสติปัฏฐานสี่นั้นแหละ เช่นอ การทำอานาปานสติ การกำหนดสติรู้ลมหายใจเข้าออก ก็คือการบังคับจิตให้มีอารมณ์เดียว (เอกัคคตาจิต) ขณะที่กำหนดสติกับลมหายใจ ก็จะฝึกให้เกิดสัมปชัญญะอยู่ตลอด ให้มีการเกิดควบคู่กันตลอด

    ....จิตที่เป็นเอกัคคตาจิต ก็จะก้าวไปสู่การเกิดฌาน ขจัดนิวรณ์ได้ ส่วน สัมปชัญญะที่ต่อเนื่อง ก็จะการไปสู่การเกิดญาณ

    ....จิตที่ได้ศึกษาว่าขันธ์ห้า เป็นไตรลักษณ์ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นของไม่ใช่ตัวเรา ไม่มีเราในจิต จิตไม่มีในเรา ข้อมูลเหล่านี้จะป้อนสู่ ตัวญาณให้เกิดการรับรู้


    ......." [๖๙๖] ย่อมตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและญาณในขณะแห่งโลกุตรมรรค
    อย่างไร ฯ
    ในขณะโลกุตรมรรค จิตเป็นใหญ่ในการให้เกิดขึ้น และเป็นเหตุ
    เป็นปัจจัยแห่งญาณ จิตอันสัมปยุตด้วยญาณนั้น มีนิโรธเป็นโคจร ญาณเป็นใหญ่
    ในการเห็น และเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งจิต ญาณอันสัมปยุตด้วยจิตนั้น มีนิโรธ
    เป็นโคจร ย่อมตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและด้วยญาณ ในขณะแห่งโลกุตรมรรค
    อย่างนี้ ฯ


    ......จิตเป็นใหญ่ในการให้เกิด เป็นปัจจัยแห่งญาณ
    ......จะเห็นได้ว่า ตัวจิตนี้สำคัญในการบังคับให้เกิด ตัวญาณก็คือ ตัวคงที่ ก็คือตัวนิพพานธาตุนั้นเองครับ เมื่อนิพพานแล้วตัวจิตก็ดับ เหมือน การส่งจรวด ให้พ้นแรงโน้มถ่วงของโลก เมื่อพ้นแรงโน้มถ่วง ก็ทิ้งตัวขับเคลื่อน นั้นเอง

    .....ตัวจิตต้องมีสมถะ คือจิตที่เป็นเอกคตาจิต เพื่อที่จะน้อมให้เกิดวิปัสนาญาณ

    ...." [๒๕] เธอ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน
    ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหว
    อย่างนี้แล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่อญาณเครื่องรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย มอง-
    *เห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม
    ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ทราบชัดหมู่สัตว์ผู้
    เป็นไปตามกรรมได้ว่า สัตว์ผู้กำลังเป็นอยู่เหล่านี้ ประกอบแล้วด้วยกายทุจริต
    วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยะ เป็นมิจฉาทิฐิ เชื่อมั่นกรรมด้วยอำนาจ
    มิจฉาทิฐิ เมื่อตายไป จึงได้เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์ผู้กำลัง
    เป็นอยู่เหล่านี้ ประกอบแล้วด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียน
    พระอริยะ เป็นสัมมาทิฐิ เชื่อมั่นกรรมด้วยอำนาจสัมมาทิฐิ เมื่อตายไป จึงได้
    เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เธอย่อมมองเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว
    ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์
    ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมทราบชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม เช่นนี้ ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่า ความพยายามมีผล ความเพียรมีผล ฯ


    .....จิตเป็นสมาธิ จึงเป็นจิตที่บังคับให้เกิดวิปัสนาญาณ
     
  16. เงาเทวดา

    เงาเทวดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    397
    ค่าพลัง:
    +314
    ที่ใดมีฌาน ที่นั่นมีญาณ ที่ใดมีญาณ ที่นั่นมีฌาน (พุทธ)

    สมถะ สงบก่อน จะได้รู้
    วิปัสนาดู รู้แจ้ง ก็สงบ
    เป็นทางเข้า สมาธิ ของผู้พบ
    ถึงความจบ รู้สงบ ได้ครบองค์

    สุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบไม่มี (พุทธ)

    แปลว่า สมถะ เป็นฝั่งเจโตวิมุติ(สงบก่อน แล้วจึงใช้ความสงบเพ่งในธรรมที่ตนอยากรู้ จะได้รู้แจ้ง)

    วิปัสนา เป็นฝั่ง ปัญญาวิมุติ (พิจรณาธรรมนั้นๆ ก่อน จนรู้คำตอบจนแจ้งชัด ถูกต้อง จิตก็จะสงบ เป็นจ้า...)
     
  17. นิพพิชฌน์55

    นิพพิชฌน์55 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2016
    โพสต์:
    185
    ค่าพลัง:
    +31
    เอาง่าย ๆ สั้น ๆ ได้ใจความ

    สมถะ เป็นอุบายให้ใจความสงบ
    วิปัสสนา เป็นอุบายแห่งความรู้แจ้งหรือให้เกิดปัญญา (แต่ยังอยู่ในปัญญาโลกีย์)

    ส่วนปัญญาในระดับโลกุตตรนั้นจะยังไม่เกิดเพราะ "สติยังไม่ดับ" "ปัญญายังไม่ัดับ" นั่นเอง ... แต่ก็ถือว่าดีมาก เพราะอยู่ในธรรมเบื้องต้นที่ควรมีเป็นพื้นฐานให้แน่นก่อน

    ทั้งสองนี้จะเป็นทางตันสำหรับการบรรลุมรรคผลนิพพานจะยังไม่ถึงแม้แต่พระโสดาบัน ... ตรงนี้ขอให้เข้าใจ และฝากให้พิจารณา
     

แชร์หน้านี้

Loading...