ฉันทะกับตัณหา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย เปลือกไม้, 15 กุมภาพันธ์ 2008.

  1. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +38,355
    อยากให้เพื่อนนักปฏิบัติได้ช่วยอธิบายถึงความแตกต่างโดยละเอียดสำหรับคำว่า ฉันทะซึ่งแปลว่าความพอใจอันเป็นฝ่ายกุศล และคำว่า ตัณหาซึ่งหมายถึงความอยากอันเป็นฝ่ายอกุศล
    ซึ่งตามความเข้าใจของผมคิดว่าฉันทะคือความพอใจ เช่นพอใจที่ได้ปฏิบัติ.สวดมนต์..โดยไม่คำนึงถึงผล ส่วนตัณหาคือความอยากเช่นอยากทำอยากปฏิบัติ อยากเห็นนรกสวรรค์อภิญญาคือทำแล้วต้องการผลตอบแทนด้วย
    ไม่ทราบว่าถูกหรือผิดประการใด เพราะบางครั้งในการปฏิบัติเราก็ย่อมต้องการผลของการปฏิบัติด้วยเป็นธรรมดา ดังนั้นในการปฏิบัติให้ถูกต้องเราควรจะทำเช่นไรจึงจะเกิดมรรคผลโดยไม่เนิ่นช้า
     
  2. panuwat_cps

    panuwat_cps เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    105
    ค่าพลัง:
    +433
    เคยอ่านเจอบทความประมาณว่า "ให้ใช้ตัณหาความอยากนั้นแหละในการปฏิบัติก่อนเพื่อให้ถึงจุดหมายและเมื่อใกล้ถึงจุดหมายก็ให้ตัดความอยากนั้นเสีย เช่น เมื่อเราจะพิจารณาสิ่งใดๆ ก็ตามแรกๆ เราต้องใช้สัญญา(ความจำ)นำขึ้นพิจารณาก่อนจึงจะเกิดปัญญาขึ้นมาได้ เมื่อเกิดปัญญาแล้วก็ให้ละความอยากนั้นเสีย"
     
  3. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    สาธุ คุณเปลือกไม้

    คราวนี้ผมขอพาดู ฉันทะ กับ ตัณหา ในมุมนี้บ้าง

    สมมติเราเป็นคนช่างโกรธ แน่นอนละ ตัวโกรธ นี้ตามเป้าหมายเราต้องให้
    มันสะอาดไปจากจิตเรา คราวนี้มาดูกันว่า อะไรคือ ฉันทะ อะไรคือ ตัณหา

    ถ้าเป็น ตัณหา เราจะไม่อยากเป็น เพราะเราอยากดี อยากทำให้จิตเราสะอาด
    ดังนั้น เราจะถูกตัณหาสร้างความคิดต่างๆ เหตุผลต่างๆ ให้เราลด และ ละ การ
    โกรธที่ไม่ดีนั้น เมื่อฝึกบ่อยๆ ดีที่โกรธนั้นจางลง แต่ตัณหาทำงานเต็มสูบ จน
    เราเผลอมองไปเลยว่า ตัณหา กิเลสอีกตัวทำงานอยู่ แถมยังยึดว่านั้นคือทาง

    ถ้าเป็น ฉันทะ เราจะไม่สนใจผล(ยืมคำของคุณมาตรงๆ) เราจะเห็นว่าเรานั้น
    โกรธแล้ว แต่เราไม่สนใจผลจริงไหม แบบนี้ คุณคิดว่า การโกรธนั้นจะ
    ดำเนินต่อไปโดยไม่อาจคาดเดาผล หรือ ผลมันจะไม่เกิดเลยเนื่องจากสิ้นความ
    สนใจผลใดๆที่จะได้จากการโกรธนั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 กุมภาพันธ์ 2008
  4. คนมีกิเลส

    คนมีกิเลส เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,973
    ค่าพลัง:
    +19,431
    ตัณหา มี ๓ อย่าง
    ๑. กามตัณหา อยากในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์
    ๒. ภวตัณหา อยากเป็นนั่นเป็นนี่ อยากได้นั่น ได้นี่ ตัวนี้มีอาการดึงเข้ามาหาตัว
    ๓. วิภวตัณหา ไม่อยากเป็นนั่นเป็นนี่ ไม่อยากได้นั่นได้นี่ ตัวนี้มีอาการผลักไสออกจากตัว

    ขออนุโมทนาบุญจากการร่วมสนทนาธรรมของทุกๆท่านนะครับ
    สาาาาา...ธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2008
  5. คีตเสวี

    คีตเสวี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2007
    โพสต์:
    980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +750
    ในบางครั้งผู้มีปัญญาอาจจะไม่ได้สอนธรรมเราตรง ๆ แต่อาจมาในรูปตั้งคำถามเพื่อให้เราได้ใช้ปัญญาในการตอบก็ได้นะ



    ความหมายชัดเจนในตัวอยู่แล้วตามที่ท่านได้เขียนไว้
    เนื้อหาคำถามในกระทู้ก็คือเพื่อได้เห็นว่าการปฏิบัติที่ไปผิดทางหรือมัวแต่ไปแวะข้างทางเรื่องฤทธิ์ อภิญญา จะทำให้การทำนิพ่พานให้แจ้งเนิ่นนานออกไปโดยไม่จำเป็นนั่นเอง ท่านต้องการให้เห็นว่าอยากให้เพื่อนนักปฏิบัติธรรมที่ต้องการคลายทุกข์ สิ้นกิเลสตัณหา เห็นสัทธรรมความจริงว่าการบำเพ็ญภาวนาสมถะกรรมฐานก็ดี วิปัสสนากรรมฐานก็ดี เป้าหมายสุดยอดคือความสิ้นทุกข์ สิ้นกิเลส ตัณหา อุปาทาน มิจฉาทิฐิ อกุศลกรรมชั่วทั้งปวงเพื่อให้ได้ความสงบเย็น สุขอย่างยิ่งคือนิพพาน ไม่ใช่บำเพ็ญภาวนาสมถวิปัสสนาเพื่ออิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ความอยากเด่น อยากดัง ด้วยเดรัจฉานวิชา ด้วยฤทธิ์ของอำนาจฌานสมาบัติ ส่วนการได้วิชชา 3 อภิญญา 6 ปฏิสัมภิทาญาณ 4 นั้นเป็นรางวัลพิเศษของแต่ละท่านที่จะเกิดขึ้นเองเมื่อสำเร็จจอรหันต์ แต่ถ้าหากไม่ได้ญาณวิเศษดังกล่าวก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญอะไร เพราะความสำคัญที่สุดคือ จิตที่หลุดพ้นจากกิเลสตัณหา มีความสุขอย่างยิ่ง รู้แจ้งนิพพานต่างหาก



    เรื่องการปฏิบัติเพื่อมรรคผลโดยไม่เนิ่นช้านี่เป็นคำถามที่หินมากครับอันนี้ผมขออ่านความเห็นท่านอื่นดีกว่า
    แต่ถ้าเอาข้อปฏิบัติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามากล่าวก็คือ

    <LI class=style15>สัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาเห็นชอบ
    <LI class=style15>สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ
    <LI class=style15>สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ
    <LI class=style15>สัมมากัมมันตะ คือ ทำการงานชอบ
    <LI class=style15>สัมมาอาชีวะ คือ เลี้ยงชีพชอบ
    <LI class=style15>สัมมาวายามะ คือ เพียรชอบ
    <LI class=style15>สัมมาสติ คือ ระลึกชอบ
    <LI class=style15>สัมมาสมาธิ คือ ตั้งใจชอบ
    แต่ก็ยังมีปัญหาสำหรับการปฏิบัติในบางท่านเนื่องจากว่าท่านท่องมรรค 8 ไม่ได้ เรียงลำดับไม่ถูกต้องซึ่งเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยมาก ๆ เพราะผมเองก็เคยมีปัญหานี้มาแล้วเช่นกัน ​

    แต่ถ้าท่านเข้าใจ ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นก็คือท่านเข้าใจมรรค 8 นั่นเอง โดยแจกแจงได้เป็น
    ข้อ3-4-5 เป็น ศีล (สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ)
    ข้อ6-7-8 เป็น สมาธิ (สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ)
    ข้อ1-2 เป็น ปัญญา (สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ)
    ขอทุกท่านเจริญในธรรม​
     
  6. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +38,355
    ถ้าเราปฏิบัติแบบสมถะ เวลาเกิดตัณหาเราก็จะใช้กำลังสมาธิกดใว้เช่นถ้าโกรธก็ใช้กสิน ถ้าเกิดราคะก็ใช้อสุภะ ก็ทำให้ระงับได้ซึ่งเมื่อปฏิบัติต่อไปโดยพิจารณากาย ผลก็ทำให้เกิดปัญญาทำให้เกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัดลงได้
    แต่ถ้าเราเจริญสติ ก็เพียงแต่ตามรู้ตามดูสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นเช่นเมื่อเกิดความโกรธขึ้นก็ให้รู้ เมื่อตามรู้ตามดูบ่อยๆก็ทำให้เกิดสติรู้เท่าทันต่ออารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นได้ ก็ทำให้เกิดปัญญารู้เท่าทันว่าทุกสิ่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป
    วิธีการปฏิบัติก็คงต้องเลือกเอาตามใจผู้ปฏิบัตินั่นเองเพราะความชอบคงไม่เหมือนกัน สุดแต่ว่าใครจะชอบเดินทางทางไหน
    ขออนุโมทนาและยินดีที่ได้สนทนาธรรมกับทุกท่านครับ (good)
     
  7. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +38,355
    ตัณหาทั้งหลายเกิดจากจิต..ใจ ของเรานั่นเอง
    เเล้วเราจะทำอย่างไรให้ชนะกิเลสตัวนี้ได้
    เมื่อ จิตเป็นอนัตตา
    ขออนุโมทนาด้วยเช่นกันครับ
     
  8. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +38,355
    ศีล สมาธิ ปัญญา รวมความแล้วก็คือ สติ ครับ
    <LI class=style15>ถ้ามีสติ ก็จะทำให้ศีลดี ทุกขณะที่มีสติเราจะมีสมาธิด้วย และก็จะทำให้เกิดปัญญาครับ
    <LI class=style15>ขอบคุณนะครับที่ช่วยชี้แนะ ผมก็พยายามปฏิบัติโดยเน้นเรื่องจิตอยู่ครับ
    <LI class=style15>ขออนุโมทนาครับ
     
  9. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075

    ถูกล่ะ ถูกล่ะ.. สติกำกับ เห็นปุ๊บ ดับปั๊บ

    กระทู้ดีครับ

    คุณเปลือกไม้
    (good)
     
  10. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    สาธุ คุณเปลือกไม้ คุณมีความเป็นกลางน่านับถือ

    แต่ขอช่วยไขปัญหาคาใจผมหน่อยครับ

    เรื่อง ฉันทะ กับ ตัณหา เหมือนเดิม แต่เปลี่ยนปัจจัย

    ปัจจัยตัวใหม่คือ เห็นนรก สวรรค์

    ถ้าการเห็นเป็นไปด้วยฉันทะ เห็นแล้ว ก็ไม่สนใจให้ค่าว่าไม่มี

    กับการเห็นเป็นไปด้วยตัณหา เห็นแล้ว ให้ความสนใจให้ค่าว่ามี

    อันนี้ผมกล่าวผิดกล่าวถูกตรงไหนอย่างไร แบบไหนควรวางอย่างไร
     
  11. บัวใต้น้ำ

    บัวใต้น้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2004
    โพสต์:
    891
    ค่าพลัง:
    +1,937
    ฉันทะ เป็นการอธิบายในแง่มุมของ ธรรม ที่เป็นองค์ประกอบไปสู่ความสำเร็จทั้งทางโลกและทางธรรม จะทำอะไรเพื่อให้ประสบผลสำเร็จ ก็ต้องปลูกความพอใจในสิ่งที่เราเชื่อหรือศรัทธาไว้ เช่นคนทั่วไปที่ไม่สนใจธรรม เขาไม่สนใจนั่งกรรมฐานกัน แต่เราสนใจ เพราะเรามีความพอใจที่จะนั่ง เราถึงลงมือนั่ง

    ส่วนตัณหา เป็นการมองสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามากระทบจิตใจ ทั้งความอยากได้ อยากเป็น ความไม่อยากได้ ไม่อยากเป็น ถ้าเรามองเห็นตัณหาที่เข้ามากระทบจิตใจได้ทัน ฒัณหานั้นก็จะดับลง แต่ถ้ามันปรุงตัณหาอันใหม่มา เราก็ต้องเห็นใหม่ ไม่อย่างนั้นก็ถูกมันครอบงำ

    บางครั้งมี ความพอใจโผล่เข้ามาในจิตใจ เราก็รู้ได้เท่าทัน ทำให้เราไม่หลงความพอใจ เพราะในเมื่อเรารู้เท่าทันความพอใจแล้ว เราก็ลองใครครวญดูว่าสิ่งๆนั้น เป็นสิ่งที่สมควรทำหรือไม่ ทำให้การกระทำนั้น ไม่ตกเป็นทาสของกิเลส
     
  12. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +38,355
    จริงๆแล้วฉันทะซึ่งเป็นตัวหนึ่งในอิทธิบาท4 ซึ่งเมื่อเรามีความพอใจในการปฏิบัติก็จะทำให้เราเกิดความเพียรตามมา แต่ตามปกติแล้วถ้าเราจะเห็นนรกสวรรค์ ซึ่งอาจเป็นภาพนิมิตหรือเห็นด้วยมโนมยิทธิ ก็เพียงแต่สักว่ารู้สักว่าเห็น คือรู้แล้วก็เฉยไว้ไม่ได้เอาใจยินดีเข้าไปปรุงแต่ง แต่ผมคิดว่าถ้าปฏิบัติด้วยตัณหาแล้ว แค่อยากทำใจให้สงบยังไม่สงบเลยแล้วจะเห็นนรกสวรรค์ได้อย่างไร
    ผมเคยฝึกมโนมยิทธิ เพื่อพิสูจน์ความจริงทางพุทธศาสนาเมื่อรู้แล้วเห็นแล้วมั่นใจในคำสั่งสอนขององค์พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ปัจจุบันผมก็ไม่ได้ปฏิบัติไปในแนวนี้อีก ปัจจุบันผมคิดว่าทางใดที่เป็นหนทางแห่งมรรคผลก็ควรไปในทางนั้นโดยตรง ไม่ได้แวะข้างทางอีก เพราะเราก็ไม่รู้ว่าจะกลับบ้านเก่าเมื่อไร แล้วจะได้ไปอยู่หลังไหน
    ปัญญาของผมก็คงอธิบายได้เพียงเท่านี้ครับ ยินดีที่ได้สนทนาธรรมครับ
    ขออนุโมทนา
     
  13. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    สาธุ สาธุ คุณเปลือกไม้ คุณมีความเป็นกลางน่านับถือยิ่ง

    แต่ขอช่วยไขปัญหาคาใจผมอีกหน่อยครับ

    เรื่อง ฉันทะ กับ ตัณหา เหมือนเดิม แต่เปลี่ยนปัจจัย

    ปัจจัยตัวใหม่คือ เห็นนิพพาน

    ถ้าการเห็นเป็นไปด้วยฉันทะ เห็นแล้ว ก็ไม่สนใจให้ค่าว่าไม่มี

    กับการเห็นเป็นไปด้วยตัณหา เห็นแล้ว ให้ความสนใจให้ค่าว่ามี

    อันนี้ผมกล่าวผิดกล่าวถูกตรงไหนอย่างไร แบบไหนควรวางอย่างไร
     
  14. คีตเสวี

    คีตเสวี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2007
    โพสต์:
    980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +750
    ผมมีแนวทางหนึ่งมาร่วมแสดงความคิดเห็นในเรื่องแล้วเราจะปฏิบัติอย่างไรให้เข้าใกล้มรรค ผล นิพพานโดยไม่เนิ่นช้า
    ที่ได้กล่าวไว้ในเบื้องต้นแล้วก็คือ เริ่มต้นด้วยปฏิบัติศีลให้บริสุทธิ์เสียก่อน
    แล้วควรเจริญสมาธิให้ได้ผลพอสมควรอย่างน้อยควรให้เกิด อุปจาระสมาธิ หรือ ท่านที่มีอิทธิบาท 4 เข้มแข็ง หรือท่านที่ดำรงอินทรีย์ 5 ได้ดีก็ควรเจริญสมาธิให้ยิ่ง ๆ ขึ้นๆไป เนื่องจากปัญญาในการพิจารณาจะชัดเจนมากตามสมาธิที่เกิดขึ้น ในเรื่องเดียวกัน พิจารณาในสมาธิตื้นลึกต่างกัน ความชัดเจนของปัญญาที่เกิดขึ้นก็เป็นไปตามลำดับสมาธิ ครูบาอาจารย์ท่านจึงไม่ให้ละเว้นการทำสมาธิและยังแนะนำให้ทำสัมมาสมาธิให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
    เมื่อสมาธิดีเราจึงนำสมาธิมาพิจารณาให้เกิดปัญญา ซึ่งธรรมะที่เราควรน้อมมาพิจารณาเป็นอย่างยิ่งคือให้เห็นชัดในเบ็ญจขันธ์ ซึ่งเป็นขันธ์ที่เรายึดอย่างเหนียวแน่นว่าเป็นเราว่าของเราประกอบด้วยความเห็นชัดเจนในรูป เวทนา สังขาร วิญญาน และสัญญา
    พิจารณาจนเห็นการเกิดดับ ความเป็นสามัญลักษณะในการเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปหาที่เที่ยงแท้และมีตัวตนมิได้ของขันธ์ทั้ง 5
    เห็นให้ชัดว่าเมื่ออารมณ์ภายนอกมากระทบทางทวารใดก็ตามการรับรู้ก็จะเกิดขึ้น
    เช่นการเห็นภาพทางจักขุวิญญาน แยกให้ทันว่าลำดับการต่อมาความจำได้หมายรู้หรือสัญญาจะแสดงให้เรารู้สึกได้จำได้ว่าเป็นผู้หญิงผู้ชาย คนสัตว์สิ่งของเคยทำสิ่งใดที่เป็นที่พอใจหรือแค้นเคืองให้กับเราบ้าง แล้วสังขารการปรุงแต่งจะมาระดมกระหน่ำให้เรื่องราวบานปลายร้ายดีตามแต่กิเลศความเห็นความหลงผิดหรือกุศลจะพาไป เห็นให้ชัดเจนต่อไปว่าถ้าปรุงมาก เวทนาจะมากทุกข์สุขจะมาก ถ้าปรุงน้อยเวทนาจะน้อย แต่ทุกอย่างทุกลำดับในที่สุดก็ดับไปอีก ไปพบเรื่องใหม่ ไปปรุงเรื่องใหม่อีก ไปทุกข์เรื่องใหม่อีก มันวนอย่างนี้จริง ๆ หาแก่นสารมิได้เลย
    เมื่อเราเห็นชัดเจน เข้าใจในขันธ์ทั้ง 5 ที่เรายึดเอาถือเอาอย่างถ่องแท้ ญาณความรู้ปัญญาจะเกิดแก่เรา เมื่อเราพิจารณาต่อเนื่องไปความรู้ของเราจะชัดเจนขึ้นจนเราเห็นชัดในอริยสัจน์ตามลำดับจะเกิดขึ้นแก่เรา
    เราจะเห็นชัดในทุกข์ เบื่อหน่ายในทุกข์ในภพในชาติที่ไม่มีวันจบสิ้น เห็นสาเหตุการทำงานของขันธ์ 5 จนเกิดทุกข์ จนความสงบระงับเกิดขึ้นเฉพาะหน้าให้เราเห็นชัด เห็นภาวะที่ดับไม่เหลือแม้แต่จิตใจซึ่งถอดถอนได้ยากที่สุด และพบทางที่จะเดินไปให้ออกจากทุกข์นี้ย่างชัดเจน เมื่อนั้นความปลอดโปร่งโล่งอย่างไม่เคยมีจะประจักษ์ ความสว่าง สงบ เบา จะปรากฏ เมื่อนั้นเราจะสามารถพิจารณาปัญญาที่เกิดขึ้นย้อนทบทวนเห็นชัดเจนและเข้าใจอย่างถ่องแท้ในกระบวนการทำงานของขันธ์ทั้ง 5
    มีข้อดีของปัญญาที่เกิดจากการพิจารณาเห็นชัดเจนนี้คือเราจะมีความแจ่มใสมั่นคงในพระรัตนไตรไม่เสื่อมคลายอีกต่อไป ความสงสัยในคุณพระรัตนไตรหมดไป ความเห็นตรงตั้งใจตรงจะเกิดอยู่กับเราไม่เสื่อมคลายอีกเลย
    ผู้ใดปฏิบัติเองเห็นเองเชื่อมั่นคงเป็นที่พึ่งได้ในปัญญาที่เห็นได้ของตนเอง แม้ผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติเองจะให้ผู้อื่นมาดึง มาฉุด มาจูงให้ได้เห็นธรรมเป็นไม่มี
    พิจารณาให้เห็นในธรรม ธรรมจึงปรากฏ
    อย่าเชื่อโดยที่ท่านไม่ได้พิจารณา ผมไม่ใช่คนเก่ง และไม่ได้เก่ง เพียงสิ่งเหล่านี้เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าประทานมอบแด่ผู้ที่เจริญในธรรมทั้งหลาย
    ขอร่วมแสดงความเห็นในธรรมเพียงเท่านี้ครับ
    เจริญในธรรมครับ
     
  15. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    ตามความเข้าใจของผมคือฉันทะเป็นความพอใจที่จะกระทำในสิ่งที่ยังไม่ได้กระทำเป็นการน้อมใจไปในสิ่งนั้นๆ อาจใช้กับทั้งสิ่งที่เป็นกุศลเช่น ฉันทะในอิทธิบาท4 หรือใช้กับสิ่งที่เป็นอกุศลเช่น กามฉันทะ

    ส่วนตัณหานั้นเปรียบเหมือนยางเหนียวในพืช หรือเป็นความอยากที่ถูกสะสมหมักหมมเอาไว้ในตัวของแต่ละคน ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 ประเภทดังกล่าว อาจจัดได้ว่าเป็นขั้นตอนที่พัฒนามาจากฉันทะน่ะครับ

    ส่วนปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละตัณหานั้น ผมขอยกพระสูตรมาดังต่อไปนี้ครับ:



    <CENTER>ความดับอกุศลธรรม
    </CENTER>[๔๕๘] ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในรูปที่น่ารัก ย่อมไม่ข
    [๔๕๘] ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในรูปที่น่ารัก ย่อมไม่ขัดเคืองในรูปที่น่าชัง เป็นผู้มีสติในกายตั้งมั่น และมีจิตหาประมาณมิได้อยู่ ย่อมทราบชัดเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับหมดแห่งอกุศลธรรมอันลามกตามความเป็นจริง.

    เธอละความยินดียินร้ายอย่างนี้แล้ว เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ดี ก็ไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนานั้น

    เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลายก็ดับไป เพราะความเพลิดเพลินดับ อุปาทานก็ดับ เพราะอุปาทานดับ ภพก็ดับ เพราะภพดับ ชาติก็ดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ
    ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสของภิกษุนั้นก็ดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้นย่อมมีได้ อย่างนี้.

    ภิกษุนั้น ได้ยินเสียงด้วยโสต ... ดมกลิ่นด้วยฆานะ ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ย่อมไม่ขัดเคืองในธรรมารมณ์ที่น่าชัง เป็นผู้มีสติในกายตั้งมั่น และมีจิตหาประมาณมิได้อยู่ ย่อมทราบชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับหมดแห่งอกุศลธรรมอันลามกตามความเป็นจริง.

    เธอละความยินดียินร้ายอย่างนี้แล้ว เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ก็ไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนานั้น เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจ เวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้ง หลายก็ดับไป เพราะความเพลิดเพลินดับอุปาทานก็ดับ ภพก็ดับ เพราะภพดับ ชาติก็ดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ โทมนัส
    และอุปายาสของภิกษุนั้นก็ดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ อย่างนั้น.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงทรงจำตัณหาสังขยวิมุตติโดยย่อของเรานี้ อนึ่ง พวกเธอจงทรงจำสาติภิกษุผู้เกวัฏฏบุตรว่า เป็นผู้สวมอยู่ในข่ายตัณหา และกองตัณหาใหญ่ ดังนี้.

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.


    ที่มา:
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=8041&Z=8506
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 17 กุมภาพันธ์ 2008
  16. สุรีย์บุตร

    สุรีย์บุตร https://youtu.be/8qf8khXqUjU

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,561
    ค่าพลัง:
    +2,122
    แหม มีตอบหมดแล้วเลยไม่รู้จะตอบอะไรเลย -"-.
    โมทนาละกัน - -

    ไม่ต้องอยาก ปฏิบัติไปเรื่อยๆ อย่าอยาก แล้วจะพบ เฉยๆเองครับ
     
  17. เด็กอนุบาล

    เด็กอนุบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    689
    ค่าพลัง:
    +4,156
    ฝึกมโนมยิทธิแล้วแค่พอพิสูจน์นรก สวรรค์ได้แล้วก็เลิกไป ทำไมถึงไม่ทำประโยชน์ให้เกิดสูงสุดตามที่ครูบาอาจารย์ต้องการคือ ส่งจิตไปที่พระนิพพานบ่อยๆ ไปกราบพระท่าน รับข้อธรรมโอวาทจากพระท่านบ่อยๆ จิตคุณจะได้เกิดความเคยชินในอารมณ์พระนิพพาน ตายเมื่อไร คุณก็ไปพระนิพพาน
    "ธรรมทุกอย่างมีใจเป็นใหญ่เป็นหัวหน้า สำเร็จได้ด้วยใจ"

    ครูบาอาจารย์ท่านวางแบบง่ายๆ ได้มรรคผลง่ายๆให้เราแล้ว เราไม่เดินเอง ทำไมถึงบอกว่าแนวทางของครูบาอาจารย์เป็นการแวะข้างทางละครับ ผมว่าตรงจนไม่รู้จะตรงยังไงแล้วนะ

    ส่วนคนที่ใช้วิชชาของครูบาอาจารย์ไปติดภพภูมิทั้งหลายนั้นนะ เค้าไม่ทำตามคำสอนครูบาอาจารย์เองครับ
     
  18. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +38,355
    พุทธองค์สอนให้เราตามรู้ตามดูสภาวะต่างๆตามความเป็นจริง คือเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง ปัญญาผมยังไม่ถึงขั้นนั้น คงไม่สามารถแก้ปัญหาให้คุณได้ แต่ผมก็มีฉันทะคือความพอใจในนิพพานเป็นอารมณ์(แต่ไม่ต่อเนื่อง)ซึ่งผู้ฝึกมโนมยิทธิต้องมีทุกคนจึงจะเห็นนิพพานได้ คงต้องขอความอนุเคราะห์ผู้รู้ท่านอื่นช่วยวิสัชชนาให้ครับ ขอบคุณที่ทำให้ผมเห็นทุกข์ครับ
    ขออนุโมทนา
     
  19. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +38,355
    ขอบคุณคุณเด็กอนุบาลครับ
    ตอนผมเริ่มฝึกมโนมยิทธิครั้งแรกผมก็บอกครูว่าผมเป็นแค่เด็กอนุบาล แต่ครูว่าผมอาจจะเกาะอยู่แค่นอกรั้วโรงเรียน ก็คงจะเป็นเช่นนั้น เพราะผมฝึกได้แค่นั้นไม่สามารถไปรับฟังโอวาทจากพระท่านได้ เพราะหน้าที่ที่รัดตัว ทำให้ไม่มีเวลาฝึกต่อเนื่อง คิดว่าวาสนาผมไม่ถึงเอง และผมก็เห็นด้วยตามที่คุณว่านั่นแหละไม่ได้ว่าแนวทางนี้ล่าช้าบังเอิญข้อความอยู่บรรทัดเดียวกันครับ ต้องขอกราบขมาต่อองค์หลวงพ่อพระราชพรหมญาน วัดท่าซุงและขอโทษลูกหลวงพ่อทุกท่านด้วยครับ
     
  20. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +38,355
    ขอบคุณคุณคีตเสวี ที่แนะแนวทางปฏิบัติและคุณWit ที่ได้ยกพระสูตรมาให้ศึกษากันครับ คิดว่าคงจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เข้ามาศึกษาในกระทู้นี้ครับ
    ขออนุโมทนา
     

แชร์หน้านี้

Loading...