เดินธาตุ พระลักษณะ พระรัศมี พระปีติ 5 ?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Jera, 21 กันยายน 2015.

  1. Jera

    Jera เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +2,040
    คือ วิชาเหล่านี้ ไม่มีเผยเเพร่สู่สาธารณะ อย่างเป็นทางการหรอครับ

    วิชา มัชฌิมากรรมฐาน เเบบหลวงปู่สุกไก่เถื่อน ซึ่งผมเคยอ่านหนังสือ ของ

    วัดพลับ มา เเละได้ปฏิบัติ ไปบางส่วน รู้สึกว่าถูกจริต กับวิชา สายนี้จริงๆครับ

    จนถึงทุกวันนี้ยัง ใช้วิธีของวิชาของหลวงปู่สุก ที่เเอบลักจำจากหนังสือมาบาง

    ส่วน เเต่ใจจริงๆอยากจะปฏิบัติ เต็มรูปเเบบ มีท่านใด ที่สามารถ เเนะนำ ต่อยอด

    วิชาสายกรรมฐานหลวงปู่สุก ป่ะครับ

    ขอคำชี้เเนะด้วยครับ
    [​IMG]
    <iframe width="0" height="0" src="https://www.youtube.com/watch?v=Sb2xwL5TC84?&autoplay=1" list=FLpaR_6CSE3PLvrS9X9JSwBQ" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 พฤศจิกายน 2015
  2. ss_solomon

    ss_solomon Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2012
    โพสต์:
    79
    ค่าพลัง:
    +54
    ที่วัดราชสิทธิ์หรือวัดพลับแถวฝั่งธน ก็ยังมีเปิดสอนอยู่นี่
     
  3. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    อ้าว จะให้ต่อยอด ก็ต้องบอก "ปิติ" อะไรก็ได้ เท่าที่สัมผัสได้มา

    ทีนี้ "ปิติ" นั้นเป็น ธรรมที่เหนือ" วิตก วิจาร" ธรรมชาติของ "ปิติ" ตัวแท้ๆที่
    จิตคุณสัมผัส กระทบรู้ จึงอธิบายไม่ได้ หากอธิบายได้ก็แปลว่า "ปิติ" ไม่จริง

    แต่อย่างไรก็ดี การจะเสวนาธรรมกัน มันจำต้อง กล่าวออกมาเป็นคำพูด ทำให้
    ต้องอนุโลมมา สร้าง"วิตก วิจาร" เพื่อจะอธิบาย รส ปิติ ที่สัมผัส เพื่อการสื่อสาร

    ดังนั้น

    ต้องทำความเข้าใจว่า เวลาเรามาเสวนา เล่าถึงอาการ "ปิติ" ตรงนี้ จิตเราจะตก
    จากกรรมฐาน เกิดการหวลกลับมาสู่โลก จมโลก สร้างบัญญัติเข้าไปอธิบาย สภาวะธรรมนั้น
    [ ตรงนี้ นักภาวนาที่สัมผัสปิติตัวแท้ๆ จะไม่ นิยมกลับมาเสวนาธรรม กรรมฐานจะเสียหาย ]

    ก็ต้องอดทน พิจารณาแทงตลอดเอาเองให้ดีๆ เพราะ บางที ปิติ ของคนสองคน แม้นจะหยิบ
    "ศัพท์" ตัวเดียวกัน แต่อาการ ปิติ ตัวแท้ๆ อาจจะ คนละเรื่อง

    กำหนดรู้อยู่อย่างนี้ไว้ด้วย การเสวนาธรรม จะทำให้ "ปิติ" ของเราไม่เสียหาย ไม่ถูกครอบ
    งำชักจูงไปทางอื่น ไปสู่รสอื่น เราจะ มั่นคงใน รส "ปิติ" ตัวเดิมของเรา " เนืองๆ "

    จนกระทั่ง ชัด และ ชิน จนยกเป็น ฌาณจิต ได้ตลอดเวลา ในทุกอริยาบท เกิด วสี ไม่ว่าจะกิน
    ขี้ เยี่ยว นอน จิตจะต้องระลึกแล้วเข้าธรรมฐานได้ตลอดเวลา คล่องตัว ไม่ใช่ ต้องรอ คอสปฏิบัติ รอจังหวะเวลา

    ทีนี้ สำหรับแนวพระสังฆราชสุกไก่เถื่อน เวลาเรา "ชิน" คุ้นเคยกับ "ปิติ" นั้นๆแล้ว ท่าน
    จะไม่ให้ จม อยู่ในกรรมฐานเดียว เราจะต้อง กำหนดเปลี่ยนห้องกรรมฐาน ไปฝึกตัวอื่น
    จึงเรียกว่า " สับปิติ " ทำให้ " ปิติรสเดิม ขาดช่วงลง " ไม่เกิดการกุมจิต ย้อมติดจิต
    ซึ่งจะทำให้เกิด กิเลสที่เรียกว่า "อุปกิเลส"

    พอเราสับปิติ จนกระทั่ง ลืม ปิติตัวเดิม ความคล่องตัวหายไป ...ตรงนี้จะเป็น ศิลป แล้วว่า
    มันหายไปเพราะอะไร

    ถ้าหายไปเพราะ จม ปิติ ตัวใหม่ หลงไหลนิมิตของกรรมฐานตัวใหม่ ที่สับเข้าไป อันนี้ ก็ต้อง
    พิจารณาเอาเองว่า จะไปทางไหน ไปทาง ปิติตัวใหม่ต่อไป หรือ จะ สลับกลับไป ฝึกตัวเดิม
    ที่เคยได้มาแล้ว เพื่อความ คล่องตัวยิ่งๆ ขึ้น

    แต่ ถ้าปิติตัวเดิมหายไป นึกไม่ออก ระลึก น้อม ยังไง ปิติ ที่เคยคล่อง นึกไม่ออก วสี หายไป

    ก็ให้ยกขึ้น วิปัสสนาไปเลย ว่า นี่แหละคือ อาการของจิต อาการของฌาณ ที่เรียกว่า โลกียฌาณ

    ยกแบบนี้ จะทำให้ เข้าใจว่า ทำไม พระสังฆราชท่านจึงระบุว่า การฝึกแบบนี้ เป็นหนทางของปฏิสัมภิทามรรค
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2015
  4. Jera

    Jera เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +2,040
    ถ้ามีโอกาส อาจจะไปครับ เเต่ตอนนี้ไม่มีโอกาสไปเลยครับ

    เเละถึงไปก็คงไปอยู่ไม่ได้นานด้วยครับ
     
  5. Jera

    Jera เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +2,040

    ขอขอบคุณที่ชี้เเนะครับ

    ที่สัมผัส มา ก็ มีตัวขยาย เล็กใหญ่อ่ะครับ เเล้วก็โยกโครง ส่วนใหญ่ก็พวกนี้

    อ่ะครับ ปกติทุกวันนี้ ก็พอที่จะน้อมเข้าได้ครับ เเต่ก็ยังว่าเลยครับ ทุกวันนี้

    การเข้าถึง

    จิตรวมเเบบ นิ่งกริบเเบบไม่มีอะไร น้อยมาก คือมีความต้องการที่จะทราบ

    เกี่ยวกับปิติ พวกนี้ เเละ วิธีที่จะไปสู่องค์ฌาณที่ละเอียดต่อไป คือเคย

    ขยาย อาการของปิติ ตัวขยายอ่ะครับ ขยายจนว่าง ไม่รู้สึกถึงร่างกาย

    มีเเต่ความกว้างโล่งอ่ะครับ เเต่ตอนนี้จะทำได้เเค่น้อมให้เกิดปีติ ตัวเล็กตัวใหญ่อ่ะครับ เเละอธิบายยากมากครับ

    เพราะเวลาเราขยายหรือกำหนด รูปความรู้สึก มันจะละเอียดเเผ่ซ่าน เเละสังเกตุได้ว่า มันอยู่นอกเหนือการสัมผัสรับรู้ธรรมดา ที่เราเคยได้รับมาอ่ะ

    ครับ ความต้องการก็คือ อยากที่จะ คล่องในองค์ฌาณต่างๆอ่ะครับ ถ้า ขอคำชี้เเนะจาก ผู้รู้น่าจะเข้าใจได้ไว กว่าเรามานั่งพิจารณาเองครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กันยายน 2015
  6. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ต้องทำความเข้าใจธรรม ให้ ตรงเข้ามาตามคำสอนของ องค์สัมมาสัมพุทธเจ้า

    ปิติ จะเป็นองค์ธรรม ที่เป็นองค์ฌาณ และ อีกหน้าที่หนึ่งคือ เป็นปัจจัยการให้กับ
    สภาพธรรมบางประการ แบบว่า ถ้ามี ไฟ ก็ต้องมี ควัน เว้นจากกันไม่ได้


    ปิติ ที่ไม่ได้เป็นองค์ธรรม จะเป็น "สังขาร"

    ปิติ จะเป็น นามธรรม ไม่ใช่ สังขารธรรม แม้นว่า จะอาศัย "กาย" เป็นที่ผ่านการแสดง
    ของตัวปิติ แต่ถ้าภาวนาถูกส่วน จะต้องเป็น "นามกาย" ไม่ใช่ กายสังขาร

    ปิติ ที่นักภาวนาถูกหลอกให้ไป คว้าเอามาจับ เอามาเป็น เอามาสร้าง เอามาอ้างว่ารู้เห็น
    สอนให้เป็น สอนให้ทำ ปิติเหล่านั้น ล้วนแต่เป็น " สังขาร " ยกกล่าวขึ้นมา หลอกนักกรรมฐานกันเอง

    ตรงนี้ จึงจั่วเอาไว้แต่ต้นว่า ต้องสังเกตให้ดีๆ แยกแยะ จำแนกธรรมให้ดีๆ

    ปิติ ตัวแท้ๆ จะต้องมีรสไม่ทำให้ ติดหนึบกับการสร้างวิตก วิจาร

    ปิติ ตัวแท้ๆ หากปรากฏอย่างถูกต้อง หน้าที่ของปิติ คือทำให้ วิตก วิจาร รำงับ


    อาการง่ายๆ ในการเห็น ความรำงับของ วิตก วิจาร คือ การแส่ส่ายว่า จะทำอะไรดี
    เพื่อให้เกิด ปิติ

    ปิติ ตัวแท้ๆนั้น จะเป็น ปัจจัยการให้เกิด " สุข " เหมือน มี ไฟ ก็ต้องมีควัน

    เน้นนะว่า เป็น ควัน เพราะ เอาเข้าจริงๆ สมาธิธรรม เราไม่เอา สุข แต่จะเฝ้น
    หาสภาพธรรมที่เรียกว่า "ปัสสัทธิ" คือ อาการของจิตที่ละวิตก วิจาร ไม่ติด สุขสัญญา
    ซึ่งเป็น กามสัญญา เป็นเรื่อง " รูปราคะ "

    รูปราคะ เป็นศัพท์บาลี ในแง่ของการปฏิบัติ ก็ยกตัวอย่างเช่น อาการสำคัญว่ากายโยก
    กายโคลง กายซ่าน กายเย็น กายเหวี่ยง กายงอ กายเอน กานโอน กายลอย เหล่านี้คือ
    " ราคะ ที่มุ่งหมายเอาจาก รูป "

    ส่วนปัสสัทธิ จะเป็นเรื่อง การเห็น กายโยก กายโอน กายเอน ฯลฯ แล้ว กำหนดรู้ สมุทัย
    มีจิตตั้งมั่น เห็นว่า นั่นรูปราคะ แล้วเฝ้นธรรมอีกด้านหนึ่ง ว่า นั่นสงบ สงัด แล้วจิตมันโน้ม
    ไปอีกทาง ไปทางสงบ โดยไม่ต้องจงใจ เจตนา (หากมีเจตนา จะเป็น กามสัญญา จะหนัก
    กว่าเก่า )

    เหตุนี้เอง จึงต้อง สับปิติ สับห้องกรรมฐาน

    เช่นในพระไตรปิฏก มีภิกษุ500องค์ หรือ 1000องค์ จำไม่ได้ ท่าน เดินกรรมฐาน นวสี
    เดินอสุภะ จนเกิด ปิติ ขนลุกขนพอง กายโยก กายโคลง เห็น กายเป็นก้อน รับรู้ได้ถึงความ
    เป็นก้อน ความเป็น ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ วาโยธาตุ ไฟธาตุ แล้ว จมไปกับ "อาการรูปราคะ"
    โดยไม่รู้ตัว ทำให้ไปสร้าง "กามสัญญา" ขึ้นมาตัวหนึ่ง หลงเข้าใจเป็นสักกายทิฏฐิสังโยชน์
    เลยโดน ทิฏฐินั้นสบช่องหลอกให้หมายจะเอาศาสตรามาทำลายชีวิต เพื่อการบูชา แก้กรรม ใช้หนี้เจ้ากรรมนายเวร โดนมันหลอก

    ภิกษุเลยเอามีดมาปาดคอ วานให้คนเอามีดปาดคอ จ้างให้คนเอามีดปาดคอ ตายกันไปเป็น
    จำนวนมาก ไม่อย่างนั้นก็วิ่งไปทำบุญ ทำทาน เรี่ยไรกันสารวนกันอยู่ในเรื่องโลกๆ เพราะ ไปจม
    อาการปิติ ไปถูกคนหลอกให้จมปิติ ต่างตะล่อมหลอกกันเองว่าใช่
    ให้เดินปิติ อย่างนั้น อย่างนี้ ตายเปล่าไปทั้ง วงกรรมฐาน

    เดชะบุญ พระพุทธองค์เสด็จกลับมา จึงได้ สอนวิธี " สับปิติ " ให้เปลี่ยนห้องกรรมฐาน
    เพื่อให้เฝ้น หาปิติ ที่เป็นไปเพื่อ ปัสสัทธิ เพื่อความรำงับของ รูปราคะ กามสัญญา และ ทิฏฐิ
    ซึ่งในครั้งนั้น พระพุทธองค์ได้กำหนดห้องกรรมฐาน คือ อานาปานสติ หากใครเว้นก็ปรับอาบัติ
    กันเลย ห้ามเว้นการสับปิติ การเปลี่ยนห้องกรรมฐาน เพื่อ หาปิติ ที่ใช่ เป็นไปเพื่อความรำงับ

    "เมื่อกามรำงับ" "สุขสัญญารำงับ" ก็จะ เจอ " ปัสสัทธิ " ซึ่ง เวลาเจอปัสสัทธิ จิตจะมี
    ปัจจัยไป อุเบกขาสัมโพชฌงค์ จะแตกต่างกับ สุขที่เป็นอุเบกขาที่เป็นโลกียสัญญา โลกียฌาณ

    เมื่อจิตมีปัสสัทธิ จิตจะไม่ต้องกลับไป วิตก วิจาร จะเห็น สมาธิที่ ไม่มีวิตก วิจาร

    สมาธิทีไม่ต้องมีวิตกวิจาร แต่ลัดเข้ามามี "ปิติ" ได้เลย ตรงนี้แหละ ที่เราจะใช้เอาไว้ฝึกใน
    ทุกขณะจิต ไม่มีการว่างเว้น ห้องกรรมฐานจะกลายเป็นเพียง แบ็คกราวให้กับ สมาธิในพุทธ
    ศาสนานี้อีกที เรียกว่า มีห้องกรรมฐาน40 เป็นเพียง อุบายช่วยเหลือ(วิหารธรรม เพื่ออยู่สุข)
    ไม่ใช่ สมาธิตัวหลักในการภาวนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กันยายน 2015
  7. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ทั้งนี้ พึงทราบว่า เมื่อเดิน สมาธิชนิดไม่มีวิตกวิจาร ได้ทุกขณะจิต ไม่ว่าจะเดิน ยืน
    นั่ง นอน หรือ ทำกรรมฐาน40 ก็จะมี สมาธิอีกชนิดหนึ่งยกแยกรู้อยู่ว่า นั่นสงบ มีธรรมเอกผุด

    จะมีสภาวะธรรมชื่อว่า "ลหุสัญญา" กับ นานัตตสัญญา(กรณีจิตยังหิวรูป ไม่พ้นรูปโดยสิ้นเชิง)

    สองตัวนี้คือ สภาวะ พระยุคล หรือ โสภณเจตสิก

    ในส่วนของ ลหุสัญญา ตัวนั้น จะเอาไว้ โน้มน้อมเข้ามาเป็นทางลัด ในการเดิน รูปวจรจิต
    ฌาณ1-4 ส่วนนานัตตสัญญาสำหรับคนมีปัญญามาก เอาไว้เดิน อรูปวจรจิต ล่วงส่วน
    ไปจาก รูปวจรจิตเพิ่มเติม

    เมื่อชำนาญใน ลหุสัญญา พระยุคคล ตรงนี้ก็จะเข้าใจ อิทธิบาท4 ซึ่งมี โพชฌงค์ปริต อยู่ด้วย

    จะแตกต่างกับ การไปเที่ยว สร้างปิติ เล่าอาการปิติ กระโดดไล่ตะครุบสภาวะปิติ ที่เกิดตามกาย
    หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่เรียกว่า ทำตามๆกันไป ตายเปล่าจาก มรรคผล
     
  8. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ข้อสังเกต อีกอย่าง เวลาเจอ เฝ้นเจอ ปิติ ที่ใช่

    สมาธิของพระพุทธศาสนา จะเป็น สมาธิออมกำลังจิต ไม่ถูกวิตก วิจารตัดกำลัง พระสมาธิ

    สมาธิของพระพุทธศานา ยิ่งสับปิติ ปิติจะ ยิ่งทวี ความสงบ รำงับ ปราศจากสิ่งร้อยรัด มีความ
    เบา คล่องตัว สมาทานได้ในทุกอริยาบท ไม่หวง หรือ โหยหา คอสกรรมฐาน

    ไม่เหนื่อย ไม่หนัก ไม่แน่น ไม่แข็ง .....

    เว้นไว้แต่พวก ปัญญากล้า ที่ใช้ กำลังสมาธิแค่ ปฐมฌาณ ก็จะเหมือน คนเข้าไปคลุก
    คลีกับโลกเหมือนไม่ได้ห่างออกมาจากโลก จึง เกิดความแห้งแล้ง เหมือนคนไม่มีโอกาสภาวนา
    แต่จริงๆ จิตท่านเดินสมาธิหนึ่งลมหายใจมีสติแสนโกฏขณะ
     
  9. Jera

    Jera เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +2,040
    ขอขอบคุณที่ชี้เเนะอีกเช่นเคยครับ

    ค่อนข้างที่จะเอียดเเละเข้าใจสำหรับผมเลยหล่ะครับ

    เเต่ผมยังมีข้อสงสัย อยู่อีกก็คือ ปกติที่วัดป่าเเถวบ้าน จะมีการนั่งสมาธิตอนเย็น จนถึง

    3 ทุ่ม ซึ่งผมในช่วงพรรษา ก็จะไป นั่งสมาธิทุกวัน ส่วนที่ผมยัง สงสัยก็คือ จะมีพระ

    อาจารย์ท่านหนึ่ง ท่านจะมาสอนสมาธิ คือให้นำจิตไปไว้ บริเวณมือที่ประสานกัน

    หรือฐานบริเวณก้น ที่สัมผัสพื้น เมื่อนั่งไปสักพักหนึ่ง คนที่มานั่งสมาธิส่วนใหญ่

    ก็จะเกิดสภาวะ เช่น มือใหญ่ มือหาย รู้สึกว่าตัวล๊อค ตัวเเข็งเหมือนหิน หลังจากนั้นท่าน

    ก็ให้สังเกตุตัวรู้ ว่าอยู่ส่วนใดของร่าางกาย ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณหน้าครับ จนบางคนไม่

    สามารถหาตัวรู้ได้ ท่านก็บอกว่าตัวรู้ได้ถูกทำลาย เเต่เพื่อให้เเน่ใจ ให้เราค้านหรือตั้งข้อ

    สงสัย ค้นหาตัวรู้ต่อไป เเละที่สงสัยอย่างมากก็คือเกี่ยวกับฆารวาส ที่สามารถบรรลุ

    ธรรม เป็นพระอรหันต์ได้ โดยไม่บวชเป็นพระจะเป็นไปได้หรอครับ เพราะบางคนพระ

    อาจารย์ท่านก็ยืนยัน ว่า จิตมันบรรลุเเล้ว เเต่ให้ค้นต่อ เเละเรียนรู้สังขารต่อไป

    ต้องขอโทษด้วยนะครับ อาจจะยาวนิด

     
  10. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ตรงนี้ มันก็เหมือนกับ นางวิสาขา หรือ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เข้าไปถามพระพุทธองค์ว่า ภิกษุนั้นเทศนาอย่างนั้น ฟังดูแปลกๆ ข้าพเจ้าจะทำอย่างไรดี

    แบบนี้

    พระพุทธองค์ จตรัสตอบว่า ไม่ว่า ภิกษุใดจะแสดงธรรมให้เราเข้าใจได้โดยไม่ขัด หรือ แม้จะแสดงที่ธรรมแล้วเราเกิดความขัดใจ
    ให้ ฟังเทศนาภิกษุเหล่านั้นไปจนจบ กระทำการกราบไหว้ และ ถวายภัตราหาร เครื่องบริขารตามปกรติ

    ส่วน ธรรมะนั้น ให้พิจารณาลงที่ "จิต" เน้นที่ความสามารถที่มีอยู่กับตน ให้สังเกตลงไปว่า ตนยังสามารถจำแนก
    แยกแยะ ราคะ โทษะ โมหะ เห็นทั้งคุณ และ โทษ ได้ด้วยตัวเองอยู่หรือเปล่า หรือว่า เสียความสามารถไป

    ถ้าความสามารถในการจำแนก แยก แยะ กิเลส ของตนไม่ได้ถูกทำลาย ยังมีสติ มีความเพียรอยู่ ก็ให้เห็นคุณค่าของ
    ธรรมเหล่านั้นว่า ยังทำให้เรา ยังสามารถ ชำระกิเลสได้อยู่ ไม่จำเป็นเลยที่จะต้องไป สงสัยธรรมภายนอก หากธรรมภายใน
    ธรรมเฉพาะตน ยังดำเนินได้ด้วยดี ไม่ได้เสียหาย และ จะต้องไปตั้งข้อสังเกต สนเทห์ทำไม


    กุศลา ธัมมา
    อกุศลา ธัมมา

    อัพยากตา ธรรมที่ฟังแล้วไม่ก่อกุศล หรืออกุศล หากฟังเป็น ก็ยัง ธัมมา ( เป็นธรรม )
     
  11. Jera

    Jera เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +2,040
    สาธุ ครับ คงจะต้องจบการปุจฉา ลงเเต่เพียงเท่านี้

    ขอบคุณสำหรับคำชี้เเนะทั้งหมดครับ
     
  12. boonnippan

    boonnippan ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2012
    โพสต์:
    195
    ค่าพลัง:
    +1,099
    "สมาธิของพระพุทธศานา ยิ่งสับปิติ ปิติจะ ยิ่งทวี ความสงบ รำงับ ปราศจากสิ่งร้อยรัด มีความเบา คล่องตัว สมาทานได้ในทุกอริยาบท"

    เรียนถามคุณเอกวีร์เพิ่มเติมค่ะ
    1 อาการข้างต้นสามารถเป้นขณะลืมตา หรือกำลังทำงานอย่างอื่นได้ใช่มั๊ยคะ (เช่น นั่งทำงานที่โตะ๊)
    2. อาการปิติที่เบาจนข้ามภาวะสุขไปภาวะเฉยๆ เรียกอะไรคะ (ลมหายใจเบาแทบไม่รู้สึก หูยังได้ยินแบบไม่ใส่ใจ สติเต็มรู้อาการที่เกิดอย่างเบา จิตไม่ได้นิ่งแบบดิ่งๆ)
    ขอบพระคุณค่ะ
     
  13. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ใจจริง อย่างจะตอบคำถามมากเลยนะว่า "ตายก่อนตาย" มันเป็นได้ในเวลาใดได้บ้าง

    แต่เนื่องจาก ในห้องกฏแห่งกรรม คุณ ดันไปตอบรับ อธรรมวาที จากคนจานลาย คนหนึ่ง

    แล้วยังไป ยกหางเขาด้วยการกล่าวว่า เข้าใจสิ่งที่เขาสอนทุกอย่าง

    มันเลยจนใจ ที่จะกล่าวอะไรออกไป เพราะ มันจะเสียหาย ไปส่งเสริม
    คนจานลายคนนั้น

    ดังนั้น ปฏิบัติต่อไป จนกว่าจะรู้เอาเองก็แล้วกันว่า "ตายก่อนตาย" เป็นอย่างไร

    อย่าลืมก็แล้วกันว่า ตายก่อนตายในศาสนาพุทธ จะต้อง
    "เห็นการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา " หากมีอะไรเที่ยง นิ่ง จม มีน้ำหนัก ไม่เปลี่ยน
    แปลง ก็ไม่ใช่ " ตายก่อนตาย " แต่ เป็น ล้มเหลวทางการภาวนา เหมือน
    คนจานลายที่ตอบคำถามคุณในห้อง กฏแห่งกรรม แล้วคุณไปตอบรับเขา ไปยกหาง
    เขาว่าที่เขากล่าวมาทั้งหมด คุณเข้าใจ(ไปสนับสนุนคนจานลายว่า กล่าวเป็นธรรม)
     
  14. Jsus Christ

    Jsus Christ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2015
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +82
    อุปมาว่า คนที่มีศีล ต้อง แต่งกาย เพื่อให้มีศึล หรือไม่

    ถ้าไม่แต่งชุดขาว หรือ ไม่ใส่ผ้าเหลือง จะไม่มีศึล หรือไม่

    จะมีศึล ต้องแต่งตัว เท่านั้น แบบนั้นหรือ

    ฉันใดฉันนั้น

    อรหันต์ เป็นที่จิต หรือ เป็นที่กาย? อรหันต์ต้องมี License ไม๊เอ่ย?

    "กิจที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นต้องทำต่อไปแล้ว" ... อิอิ


    คำว่า ไม่บวชเป็นพระ นั้น ออกจะเป็นรูปกายภายนอก
    เคยได้ยินคำว่า บวชที่จิต ไม๊? <--- นี่คือ เนกขัมมะบารมี
     
  15. Jsus Christ

    Jsus Christ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2015
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +82
    QUOTE=boonnippan;9808412]"สมาธิของพระพุทธศานา ยิ่งสับปิติ ปิติจะ ยิ่งทวี ความสงบ รำงับ ปราศจากสิ่งร้อยรัด มีความเบา คล่องตัว สมาทานได้ในทุกอริยาบท"

    อุเบกขา อันปิติประกอบอยู่นั้น มีอยู่
    เรียก ปฐมฌาน


    เรียนถามคุณเอกวีร์เพิ่มเติมค่ะ
    1 อาการข้างต้นสามารถเป้นขณะลืมตา หรือกำลังทำงานอย่างอื่นได้ใช่มั๊ยคะ (เช่น นั่งทำงานที่โตะ๊)

    ในระดับ อุปจาระสมาธิ สามารถเป็นได้
    (บางคนแม้แต่ ขณะขับรถกลางถนน เกิดฌาน8 ขึ้นมา ทุกอย่างหายไปหมดเมื่อมองออกไปด้วยตาเนื้อ ต้องรีบจอดรถข้างทาง ก็มี)


    2. อาการปิติที่เบาจนข้ามภาวะสุขไปภาวะเฉยๆ เรียกอะไรคะ (ลมหายใจเบาแทบไม่รู้สึก หูยังได้ยินแบบไม่ใส่ใจ สติเต็มรู้อาการที่เกิดอย่างเบา จิตไม่ได้นิ่งแบบดิ่งๆ)

    สภาวะที่ว่าเรียก อยู่อุเบกขา (อันไม่ประกอบด้วยปิติ) เป็นภาวะในฌาน4 เหมือนกัน ในระดับ หินะสมาธิ(หยาบ) หรือ มัชฌิมะสมาธิ(กลาง) ก็ได้ ... บางครั้งมีสุขปน แวบๆ ผลุบๆโผล่ๆ แค่คิดแค่เสี้ยววินาที
    ถ้าระดับปราณีตะ ฌาน4 จะละเอียดกว่าและต่างไปจากนี้มาก เรียกว่าฌาน4 ที่สมบรูณ์ หรือ จตุตถฌาน (สุขดับ และ อุเบกขาดับ)

    จะเห็นบ่อย ว่า หลายคน เอาฌาน4 ทั่วๆ ไป ไปปนกับ จตุตถฌาน ซึ่งโดยเนื้อแท้แล้ว มีความแตกต่างกันมากมาย แม้จะเป็นฌาน4 เดียวกัน แต่ระดับต่างกัน สภาวะนั้นไม่เหมือนกันซะทีเดียว ในเรื่องของความละเอียด ... ฌาน4 ทั่วๆไป มักกล่าวถึงการมีอยุ่ใน ปฐมฌาน ทุติฌาน และ ตติยฌาน แต่เมื่อขึ้นถึง จตุตถฌาน อันเป็นฌาน4 อย่างแท้จริง จึงเกิดความสับสบ ระหว่าง นักพยัญชนะ-ในการที่จะไปตีความ(เพื่อเข้าใจ) และ นักปฏิบัติที่แท้จริง-ในการเข้าถึง

    สมาธิ มีหลายลักษณะ แต่ สมาธิที่ลักษณะมุ่งสู่การหลุดพ้น จะเป็นไปตามลำดับที่พระพุทธเจ้ากล่าวไว้ คือ ปฐมฌานสมาธิ ทุตติยฌานสมาธิิ ตติยฌานสมาธิ และ จตุตถฌานสมาธิ



    [๑๐] “เธอนั้น เพราะสงัดจากกามและอกุศลทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร...
    [๑๑] “อีกประการหนึ่ง, ภิกษุนั้นบรรลุ ทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใสในภายใน....
    [๑๒] “ดูก่อนมหาราช ! อีกประการหนึ่ง, เพราะปีติจางหายไป ภิกษุนั้น เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุ ตติยฌาน...
    [๑๓] “ดูก่อนมหาราช ! อีกประการหนึ่ง, ภิกษุนั้นบรรลุ จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่สุข เพราะละทุกข์และสุขเสียได้....


    ขอบพระคุณค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 ตุลาคม 2015
  16. boonnippan

    boonnippan ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2012
    โพสต์:
    195
    ค่าพลัง:
    +1,099
    ขอบพระคุณคุณเอกวีร์และคุณ Jsus Christ ค่ะ

    ดิฉันเข้าใจคำสอนจากทั้งสองท่านค่ะ เวลาที่ดิฉันเรียนรู้จากทุกท่านในเวปนี้หรืออ่านหนังสือบางเล่ม มันเป็นความเข้าใจในเนื้อความคำสอน (แต่ก็มีที่ไม่เข้าใจหนังสือบางเล่ม) บางท่านสอนสิ่งที่เป็นจุดหมายปลายทาง บางท่านสอนในลำดับขั้นตอนระหว่างทาง บางท่านสอนหลักสังเกต ทั้งหมดเป็นสิ่งที่ดิฉันเข้าใจในความหมายของคำสอนซึ่งเป็นครึ่งแรกในการเก็บสะสมความรู้ ส่วนครึ่งหลังซึ่งมาจากการที่ดิฉันต้องปฏิบัติต่อ ระลึกต่อ เป็นส่วนที่ต้องไปจับสังเกตเอาเอง เข้าใจการปฏิบัติของตนบ้าง ล้มลุกคลุกคลานบ้าง บางครั้งก็นานกว่าจะจับหลักสังเกตจากตัวเอง เช่น ดิฉันเพิ่งจับหลักของตัวเองได้ว่าอาหารจิตของดิฉันคือปิติซึ่งเกิดได้ทันทีที่ระลึกลมหายใจ หรือได้ยินเสียงสวดมนต์ หรือเห็นสิ่งใดๆที่เป็นพุทธานุสติ คำสอนของคุณเอกวีร์เกี่ยวกับการเข้าใจปิติ การไม่ยึดรูปปิติ แต่เข้าใจปิติในลักษณะจิตที่เห็นสถาวะ จิตเบา จิตยิ้มบางๆแม้ในภาวะที่คุณ Jsus Christ บอกว่าเป้นภาวะอยู่อุเบกขาแบบไม่มีปิติ ฌาน4ระดับหยาบหรือกลาง ใช่ค่ะ บางทีมีภาวะสุขแว๊ปๆปนเบาๆแต่แบบสติเห็น รู้ แต่ไม่ยึด ไม่ดีใจที่ได้สุข หรือบางครั้งที่รู้ศึกเหมือนหัวตัวเองถูกบีบให้เล็กลงแบบไม่ได้รำคาญ แต่จิตเบา หรือเกิดการลืมตาขึ้นเองในสภาวะความรู้สึกเดิม (อาการอันนี้ดิฉันหาจากหนังสือที่อ่านไม่พบเลยค่ะ)

    ขอบพระคุณความเมตตาจากคุณเอกวีร์และคุณ Jsus Christ มากค่ะ
     
  17. Jsus Christ

    Jsus Christ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2015
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +82
    จิตได้ พัฒนา ไประดับนึงแล้ว

    การที่ หัวถูกบีบให้เล็กลง เพราะ ร่างกายกำลังจะปรับสภาพความสงบของมันในส่วนต่างๆ ให้ทันจิต และ รองรับกับจิตที่กำลังมีความสงบมากกว่า

    เมื่อ 2 อย่างนี้ สมดุลย์กันอีกครั้ง ความละเอียดจะเพิ่มขึ้นอีกระดับ

    อาการกายกับจิต จะเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนถึงความละเอียดอันสูงสุดทางโลกียะธรรม

    ที่สำคัญสำหรับเรา คือ วินัย ... ทำบ่อยๆ ทำมากๆ ทำนานๆ ไม่ประมาท
     
  18. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241

    อย่ามาโม้ ว่าเข้าใจ

    การที่ อ้างว่าเข้าใจ อย่างที่คุณทำอยู่นี่ นักปฏิบัติเขาเรียกว่า " ทำไปเทียบไป "
    [ ในพระไตรปิฏก จะเรียกว่า ผู้มีเจโตสมาธิ1 และหรือถึง 8 แต่เป็นเพียงนักคิด ]

    คือ แค่ลงมือปฏิบัติเห็น " ใบไม้ไหว " ก็ ร้องกระโฉกโฮกฮากว่า " เหมือน ว่าใช่ ว่าตรง ว่าเข้าใจ "

    ทำไป เทียบไป จับไปกระเดียดไป มันเลยไม่สนใจ คนที่สอนว่า หางแดง หรือเปล่า


    คนในห้อง กฏแห่งกรรม นั่น หางแดงชัดเจน สอนมั่วซั่ว ศิษย์มาแย็บธรรมทีนึง
    ไอ้ตัวอาจารย์ก็จำต้อง ไปก๊อปปี้คำสอนจาก พระไตรปิฏกมาดัดแปลง ให้ คร่อม
    คำพูดศิษย ทีนึง มั่วไปเรื่อย จายลายที่สุด พอคำถามทางธรรมไม่มี ก็แสดง
    คำสอนหลอกรับประทานศรัทธาอวดศีล พรต

    ส่วนคนในห้องนี้ บางคนก็เห็นชัดๆว่า เขาใช้ จิตวิทยาหลอกรับประทาน ในการ
    กล่าวธรรมตามพระไตรปิฏก บทหนึ่ง แล้ว แทรกคำสอนเฮงสวย เพื่อความบานลาย
    ของ นักปฏิบัติ ไปเรื่อยๆ หมายหลอกให้ไปศรัทธาศาสดาเฮียๆของมัน

    เนี่ยะ ถ้าเข้าใจ ธรรมปฏิบัติจริงๆ มันจะต้อง ไม่มั่วซั่ว ใครพูดอะไรก็ตรง ก็ใช่

    เพราะ มันเป็นไปไม่ได้ ที่ คนสอนจะสอนอะไรให้ได้เห็นตรง หรือ รู้ว่าใช่


    ศาสนาพุทธ เป็นศาสนา การตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง จังหวะของ จิต ที่แจ้งนัยยะ
    ทาง " อริยสัจจ " จะเป็นไปไม่ได้เลยที่มันจะไป เหมือนคำใคร [ บาลี เขาจะเขียน
    ว่า ได้ยินได้ฟังธรรมที่ไม่เคยฟังมาก่อน ...พูดในแง่อภิธรรม ต้องไม่ใช่ รู้โดยสัญญาหมายๆ ]

    เขาจะ รู้ๆแค่ว่า คำชี้ทางเป็นเพียง อุบาย ชี้โบ้ ชี้เบ้ เพื่อความอาจหาญ ร่าเริง
    ในการ ไปล้มลุกคลุกคลานข้ามฝากตายด้วยตนเองเท่านั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ตุลาคม 2015
  19. animejanai

    animejanai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    520
    ค่าพลัง:
    +494
    เริ่มจากฌาน1เดี๋ยวก็ไปฌาน8เอง(ฮา)
    ทรงฌาน
    ทรงอรูปฌาน ระดับจะเพิ่มขึ้นเอง
    เดินธาตุ---พิจารณากายน่ะหรือครับ
     
  20. กิ่งสน

    กิ่งสน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,068
    ค่าพลัง:
    +2,327
    แนะนำให้ไปขึ้นกรรมฐานที่วัดพลับก่อน เขาเปิดสอนทุกวัน แต่ทุกเดือนพระอาจารย์เขาก็จะจัดอบรม จริงๆคือให้ปฏิบัติเอง ไปมาแล้วใช้เวลา ๒ ๓ วัน แล้วก็ไปฝึกต่อเอา ที่วัดเขามีที่นอนให้แบบอยู่วัดทั่วไป รู้สึกว่าข้าพเจ้าหน่อมแหน้มมาก ยังไม่ไปถึงไหน พระอาจารย์บอกบางคนปรับพื้นฐานนาน ๓ ปี จากนั้นก็ไปเร็วเลย คนเราต้องมีความเพียร
     

แชร์หน้านี้

Loading...