สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,472
    สมาธิทำให้ไม่ง่วงซึม แต่ทำไมทำสมาธิครั้งใดต้องง่วงนอนทุกครั้งไป ?

    -------------------------------------

    ตอบ:



    ท่านมหาบอกว่า สมาธิทำให้ไม่ง่วงซึม ทำไมดิฉันทำสมาธิครั้งใดต้องง่วงนอน ทุกครั้งไป ?

    อันนี้เป็นคำถามที่ดีครับ   โปรดเข้าใจว่าจิตใจที่กำลังจะเป็นสมาธิที่แนบแน่น กับจิตใจที่กำลังจะหลับ มีอาการคล้ายกัน   จิตใจที่ก่อนจะตายด้วย  จิตใจที่กำลังจะเกิด จะดับ (คือตาย) จะหลับจะตื่น  จะมีอาการอย่างนี้คือ  จิตดวงเดิมจะตกศูนย์ไปยังศูนย์กลางกาย ตรงระดับสะดือพอดี    จิตดวงใหม่จะลอยเด่นขึ้นมาทำหน้าที่ต่อไป   เช่นถ้าคนนอนหลับก็อาจจะทำหน้าที่ฝัน   ถ้าคนจะตายก็ไปเกิด   เพราะฉะนั้นอาการของใจคนที่จะเป็นสมาธิก็มีว่า  จิตดวงเดิมที่ขุ่นมัวด้วยกิเลสนิวรณ์ก็จะตกศูนย์    จิตดวงใหม่ที่ผ่องใสปราศจากกิเลสนิวรณ์ก็จะลอยปรากฏขึ้นมาตรงศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ  ในอาการเดียวกันกับคนจะหลับ    จิตดวงเดิมก่อนหลับก็จะตกศูนย์   ใจที่จะทำหน้าที่หลับ  แล้วไปทำหน้าที่ฝันก็จะลอยขึ้นมา   อาการตรงนี้จะมีอาการเคลิ้มๆ  แต่ความเคลิ้มนั่นเพราะใจมารวมหยุดนิ่งโดยอัตโนมัติโดยธรรมชาติ    ถ้ามีสติสัมปชัญญะอยู่นั่นเป็นสัมมาสมาธิ   แต่ถ้าเผลอสติมันก็หลับ    เพราะฉะนั้น อาการหลับกับอาการที่สมาธิกำลังจะเกิดแนบแน่น เป็นอาการเดียวกัน    ต่างกันที่สติสัมปชัญญะ  ยังอยู่หรือว่าเผลอสติ   ถ้าเผลอสติก็หลับ เช่น เราตั้งใจว่าเราจะหลับ เราบริกรรมภาวนาสัมมาอรหังๆ   เราตั้งใจจะหลับ   เราปล่อยใจให้เผลอสติพอจิตรวมกันหยุดเป็นจุดเดียวกันที่ศูนย์กลางกายที่นี่ก็จะหลับเลย

    เพราะฉะนั้นวิธีแก้โรคคนที่ใจฟุ้งซ่านนอนไม่หลับ   ให้บริกรรมภาวนาเอาใจไว้ที่ศูนย์กลางกาย สัมมาอรหังๆๆ   ให้ใจรวมลงหยุดที่ศูนย์กลางกาย    พอรวมแล้วเรากำหนดในใจว่าเราจะหลับ   สติจะเผลอแล้วก็จะหลับได้โดยง่าย

    เพราะฉะนั้น  คนทำสมาธิแล้วง่วง  เพราะตรงนี้เผลอสติ  ถ้าไม่เผลอสติ  ทำใจให้สว่างไว้   ให้รู้สึกตัวพร้อมอยู่  จิตดวงเดิมจะตกศูนย์จะรู้สึกมีอาการเหมือนหวิว  นิดหน่อย   แล้วใจดวงใหม่  จะปรากฏใสสว่างขึ้นมาเอง  แล้วใจก็หยุดนิ่งกลางดวงใสสว่างนั่น   ก็จะใสสว่างไปหมดเลย  ไม่ง่วง  ไม่ซึม  เข้าใจนะ    ถ้าใครนั่งง่วงหลับงุบงับๆ แล้วก็ให้พึงเข้าใจว่า  ใจไม่เป็นสมาธิแล้วนะ    กำลังเผลอสติจะหลับแล้ว    ต้องพยายามอย่าเผลอสติ  ให้มีสติสัมปชัญญะ  รู้เท่าทันกิเลสนิวรณ์อยู่เสมอ

    แต่ถ้าประสงค์จะทำสมาธิเพื่อให้หลับสนิท   ก็กำหนดใจไปว่า  เราจะหลับก็หลับ   เมื่อทำบ่อยๆ แล้วเราจะกำหนดได้แม้แต่ว่าจะตื่นภายใน 1 ชั่วโมง    เราจะตื่นภายใน 15 นาที   เราจะ ตื่นภายในเวลาเท่าไร  ก็จะเป็นไปตามนั้น
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,472
    ธรรมรักษาผู้ประพฤติธรรม

     
     [​IMG]



    12 มกราคม 2497

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)

    ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ
    ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ
    เอสานิสํโส ธมฺเม สุจิณฺเณ
    น ทุคฺคตึ คจฺฉติ ธมฺมจารีติ.
    มากอยู่แล้วพวกที่ปฏิบัติใช้ได้ทีเดียว  ที่ใช้ไม่ได้อย่างสูงนั้น  ผู้เทศน์ต้องคอยคุม   ถ้าไม่คุมละก้อ ไปสูงไม่ได้  มารมันปัดลงต่ำเสีย   มันแนะนำให้วางเป้าหมายใจดำเสีย  ไม่จรดอยู่ที่เป้าหมายใจดำ   ที่ผู้เทศน์คอยคุมไว้ละก้อ  ถูกเป้าหมายใจดำ    ตรงกันข้ามกับพวกพญามาร  ถ้าว่าไม่คุมไว้แล้ว  เป็นลูกศิษย์พญามารเสียแล้ว  มารเอาไปใช้เสียแล้วอย่างนี้มาก   เหตุนั้นเมื่อมาพบของจริงเช่นนี้แล้ว  ทั้งพระ ทั้งเณร ทั้งอุบาสก อุบาสิกา ควรปล่อยชีวิต  ค้นเอาของจริง   รักษาของจริงไว้ให้ได้   เมื่อได้แล้วละก็  จะยิ้มในใจของตัวอยู่เสมอไป   ไม่มีความเดือดร้อนใดๆ

    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา ว่าด้วย ธรรมรักษาผู้ประพฤติธรรม    ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา  ตามมตยาธิบาย  กว่าจะยุติลงโดยสมควรแก่เวลา 

    เริ่มต้นแห่งธรรมที่รักษาผู้ประพฤติธรรม  ตามวาระพระบาลีว่า ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ ธรรมนั่นแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม    ธมฺโม สุจิณฺโน สุขมาวหาติ ธรรมที่บุคคลสั่งสมไว้ดีแล้ว  นำความสุขมาให้   เอสานิสํโส ธมฺเม สุจิณฺเณ ข้อนี้แหละเป็นอานิสงส์ในธรรม   น ทุคฺคตึ คจฺฉติ ธมฺมจารี ผู้ประพฤติธรรมดีเรียบร้อยไม่ไปสู่ทุคติ    นี่เนื้อความของพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษาได้ความเพียงแค่นี้

    ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบายขยายความว่า   ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมนั้นเป็นไฉน   เพราะธรรมคือความดี  จะขีดขั้นลงไปเพียงแค่ไหน   ความดีไม่มีความชั่วเข้าเจือปนเลย   นี่ก็เป็นโลกุตตรธรรมแท้ๆ  ข้ามขึ้นจากโลก  เป็นวิราคธาตุวิราคธรรมแท้ๆ  ไม่เกี่ยวข้องด้วยสราคธาตุ สราคธรรมทีเดียว   นี้ส่วนหนึ่ง คำว่าธรรมแยกออกเป็นหลายประการ   ท่านแสดงไว้เป็นหลักเป็นประธาน  แก้ในศัพท์ว่าธรรม  ธมฺโม คำว่าธรรมนั้นแยกออกไปถึง 4 คือ คุณธรรม เทศนาธรรม ปริยัติธรรม นิสสัตตนิชชีวธรรม   แยกออกไปเป็น 4

    คุณธรรมให้ผลตามกาล   ฝ่ายดีก็ให้ผลเป็นสุข  ฝ่ายชั่วก็ให้ผลเป็นทุกข์   นี้ก็เป็นคุณธรรมฝ่ายดีฝ่ายชั่ว  หรือดีฝ่ายเดียวให้ผลเป็นสุขฝ่ายเดียวนั้นก็เรียกว่าคุณธรรม
    เทศนาธรรมที่พระองค์ตรัสเทศนา  ไพเราะในเบื้องต้น  ไพเราะในท่ามกลาง  ไพเราะในเบื้องปลาย  ท่านวางหลักไว้   ไพเราะในเบื้องต้นคือศีล  บริสุทธิ์กายวาจาเรียบร้อยดีไม่มีโทษ  ตลอดจนกระทั่งถึงดวงศีล   ไพเราะในท่ามกลางคือสมาธิ ตลอดจนกระทั่งถึงดวงสมาธิ   ไพเราะในเบื้องปลายคือปัญญา ตลอดจนกระทั่งถึงดวงปัญญา นี้ก็คือเทศนาธรรม
    ปริยัติธรรม ข้อปฏิบัติอันกุลบุตรจะพึงเล่าเรียนศึกษา  ตั้งต้นแต่นักธรรมตรี-โท-เอก เปรียญ 3-4-5-6-7-8-9 หลักสูตรวางไว้ในประเทศไทย    การศึกษาปริยัติธรรมมีเท่านี้  นี่ที่เรียกว่าปริยัติธรรม
    นิสสัตตนิชชีวธรรม   ยกเอารูปออกเสีย  กับวิญญาณออกเสีย   เหลือแต่เวทนา สัญญา สังขาร 3 อย่างนี้ท่านจัดเป็นนิสสัตตนิชชีวธรรม  ไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่ชีวิต  แสดงหลักไว้ดังนี้
    แสดงธรรมออกไปเป็น 4 คือ คุณธรรม เทศนาธรรม ปริยัติธรรม นิสสัตตนิชชีวธรรม แสดง 4 ดังนี้ ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม   แต่คำว่าธรรมนี้ แสดงตามแบบปริยัติ   ไม่ใช่หนทางปฏิบัติ   แบบทางปฏิบัติ ศาสนามี 3 ทาง คือ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ

    ถ้าแบบทางปฏิบัติ   คำว่าธรรม  กล่าวถึงดวงธรรมทีเดียว   ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์  ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่  เป็นดวงธรรมทีเดียว  เป็นธรรมแท้ๆ  ธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์-มนุษย์ละเอียด   กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด   กายรูปพรหม-กายรูปพรหมละเอียด   กายอรูปพรหม-กายอรูปพรหมละเอียด   กายธรรม-กายธรรมละเอียด   กายโสดา-กายโสดาละเอียด   สกทาคา-สกทาคาละเอียด   อนาคา-อนาคาละเอียด  อรหัต-อรหัตละเอียด  เรียกว่า ธมฺโม  นี่ทางปฏิบัติ   เป็นดวงใสบริสุทธิ์   ธรรมดวงนั้นเป็นธรรมสำคัญ  ทว่าหลักก็ธรรม  อันนั้นเป็นธรรมทีเดียว

    ธรรมนั้นถ้าว่าจะแยกออกไป   ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ที่จะได้ธรรมดวงนั้นมา   ต้องกล่าวเริ่มแรก  มนุษย์หญิงชายทุกถ้วนหน้า   ทั้งคฤหัสถ์ บรรพชิต บริสุทธิ์สนิททั้งกาย วาจา จิต  ไม่มีผิดจากความประสงค์ของพระพุทธเจ้าอรหันต์เลย  บริสุทธิ์สนิททั้งกาย วาจา จิต ไม่ฆ่าสัตว์  แต่เวทนาปรานีต่อสัตว์   ลักทรัพย์สมบัติก็ไม่มี   มีแต่ให้สมบัติของตนแก่คนอื่น   ประพฤติล่วงผิดในกามก็ไม่มี  หรือประพฤติล่วงอสัทธรรมประเพณีก็ไม่มีดังนี้   สนิททีเดียว  พูดจริงทุกคำไม่มีปด  เสพสุรายาเมาเป็นที่ตั้งของความประมาทไม่มี    วัตถุที่ทำให้เมาเป็นที่ตั้งของความประมาทก็ไม่ใช้สอย  ในศีลทั้ง 5 นี้ตลอด  ศีล 8 ศีล 10 ศีล 227 ตลอด   สะอาดสะอ้านทั้งกาย   กายก็ไม่มีร่องเสีย   วาจาก็ไม่มีร่องเสีย  ใจก็ไม่มีร่องเสีย  ใช้ได้ทั้งกาย วาจา ใจ ตรงกับบาลีกล่าวไว้ว่า

    สพฺพปาปสฺส อกรณํ ชั่วด้วยกาย วาจา ใจ ไม่กระทำเป็นเด็ดขาด
    กุสลสฺสูปสมฺปทา ดีด้วยกาย วาจา ใจ ทำจนสุดสามารถ
    สจิตฺตปริโยทปนํ ทำใจของตนให้ผ่องใส
    อันนี้เมื่อบริสุทธิ์ทั้งกาย วาจา ใจ ไม่มีร่องเสียแล้ว  นี้เรียกว่าธรรมโดยทางปริยัติ   ยังไม่ใช่ทางปฏิบัติ ถ้ากลั่นเข้ามาถึงเจตนา   เจตนาก็บริสุทธิ์  บังคับกายบริสุทธิ์  บังคับวาจาบริสุทธิ์  บังคับใจบริสุทธิ์  นั่นก็เป็นทางปริยัติอยู่เลย   ยังไม่ใช่ทางปฏิบัติ   เข้าถึงทางปฏิบัติ เข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์  สำเร็จมาจากบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ  สำเร็จมาจากบริสุทธิ์ เจตนา เป็นดวงใสเท่าฟองไข่แดงของไก่  ใสเป็นกระจกส่องเงาหน้า  เท่าฟองไข่แดงของไก่   นี่  ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์เป็นดวงๆ  ไปอย่างนี้  

    ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดโตขึ้นไปอีกเท่าหนึ่ง
    ธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์โตขึ้นไปอีกเท่าหนึ่ง
    ธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียดโตขึ้นไปอีกเท่าหนึ่ง
    ธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมโตขึ้นไปอีกเท่าหนึ่ง
    ธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียดโตขึ้นไปอีกเท่าหนึ่ง
    ธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมโตขึ้นไปอีกเท่าหนึ่ง
    ธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียดโตขึ้นไปอีกเท่าหนึ่งเป็น 8 เท่าฟองไข่แดงของไก่นั้น  เรียกว่าเป็นธรรมทั้งนั้น
    ธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมหน้าตักวัดผ่าเส้นศูนย์กลาง กลมรอบตัว
    ธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมละเอียดโตขึ้นไปอีก 5 วา
    ธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดา 5 วา กลมรอบตัว
    ธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดาละเอียด 10 วา  กลมรอบตัว
    ธรรมที่ทำให้เป็นกายพระสกทาคา 10 วา กลมรอบตัว
    ธรรมที่ทำให้เป็นกายพระสกทาคาละเอียด 15 วา กลมรอบตัว
    ธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอนาคา 15 วา กลมรอบตัว
    ธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอนาคาละเอียด 20 วา กลมรอบตัว
    ธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอรหัต 20 วา กลมรอบตัว เป็นลำดับกันไปอย่างนี้
    นั้นแหละเรียกว่า ธมฺโม ลึกอย่างนี้ นี่ทางปฏิบัติเห็นปรากฏชัด  เข้าถึงธรรมดังกล่าวแล้วนี้ ตั้งแต่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ไปจนกระทั่งถึงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอรหัตทีเดียว  นั่นแหละคำที่เรียกว่า ธมฺโม ละ   นั่นแหละธาตุธรรมอันนั้นแหละรักษาผู้ประพฤติธรรมละ  ถ้าเห็นเข้าแล้วก็รักษาผู้นั้นไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว   อย่าทิ้งท่านก็แล้วกัน   อย่าผละจากท่าน   ถ้าว่าห่างจากธรรมนั้นไม่รับรอง   ถ้าติดอยู่กับธรรมนั้น รับรองทีเดียว ทั้งกาย วาจา ใจ บริสุทธิ์  ไม่มีร่องเสียกัน เสียไม่มีกัน   ถ้าว่าไปเสียเข้าดวงธรรมนั้นเศร้าหมอง ขุ่นมัว ไม่ผ่องใส   ลงโทษเอาเจ้าของผู้ประพฤติผู้กระทำ  ถ้าไม่ล่วงล้ำแต่อย่างหนึ่งอย่างใดสะอาดสะอ้าน ก็ใสหนักขึ้นทุกที   ใจหยุดนิ่งหนักขึ้น ใสหนักขึ้น นั่นแหละ    ธมฺโม ละ คำที่เรียกว่าธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมดวงนั้น    ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมดวงนั้น

    เมื่อเข้าใจดังนี้แล้วจะแสดงต่อไป   ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ ธรรมดวงนั้นแหละ   ถ้าว่าสั่งสมได้ดีแล้วสะอาดหนักขึ้น เสมอตัว   สะอาดหนักขึ้นใสหนักขึ้น เสมอตัว   ใสไปแค่ไหน เสมอตัวไปแค่นั้น  ใสหนักขึ้นไปแล้วเสมอตัวไปแค่นั้น    ใสหนักขึ้นไปเสมอตัวไปแค่นั้นอีก   อย่างขนาดอย่างนี้เรียกว่าสั่งสมดีจริง ธรรมอันบุคคลสั่งสมดีแล้ว   สุขาวหาติ นำความสุขมาให้  ถ้าอยู่กับใครขนาดนี้ ใจก็เบิกบานรื่นเริงบันเทิงชื่นแช่มแจ่มใส   ไม่มีความทุกข์เศร้าหมองขุ่นมัวใดๆ  เพราะธรรมนั้นนำความสุขมาให้  นี่หลักของธรรมที่แสดงไว้แค่นี้   เอสานิสํโส ธมฺเม สุจิณฺเณ นี้เป็นอานิสงส์ในธรรมที่ประพฤติดี  ประพฤติดีขนาดนี้ก็ได้อานิสงส์ในธรรมที่ประพฤติดี   ประพฤติดีขนาดนี้ก็ได้อานิสงส์แล้วก็เป็นสุขทีเดียว    น ทุคฺคตึ คจฺฉติ ธมฺมจารี ประพฤติไปอย่างนั้น มั่นคงอย่างนั้น ไม่ไปสู่ทุคติ    ผู้ประพฤติเรียบร้อยเช่นนั้นดี สะอาดสะอ้านเช่นนั้น ไม่ไปสู่ทุคติเด็ดขาดทีเดียว   ตายแล้วก็ไปสู่สวรรค์  เป็นมนุษย์อยู่ก็ไม่ได้รับทุคคติ มีแต่ สุคติฝ่ายเดียว  นี่แหละเลือกเอาเถอะ   ให้รู้จักหลักจริงอย่างนี้   

    รู้จักหลักจริงอันนี้ เราเป็นภิกษุก็ดี สามเณรก็ดี อุบาสกก็ดี อุบาสิกาก็ดี  ประพฤติดีจริงตรงเป้าหมายใจดำ   [ถ้า] เห็นดวงแก้วใสเช่นนี้ ไม่ค่อยจะได้ ภิกษุหรือสามเณรก็เลอะเลือนไป  อุบาสกอุบาสิกาก็เหลวไหลไป ไม่อยู่กับธรรมเนืองนิตย์   ความสุขเราปรารถนานัก แต่ว่าความประพฤติไขว้เขวไปเสียอย่างนี้   อย่างนี้หลอกตัวเองนี่    ถ้าลงหลอกตัวเองได้  มันก็โกงคนอื่นเท่านั้น  ไม่ต้องไปสงสัย

    หลอกตัวเองเป็นอย่างไร   ตัวอยากได้ความสุข   แต่ไปประพฤติทางทุกข์เสีย   มันก็หลอกตัวเองอยู่อย่างนี้ละซิ  ตัวเองอยากได้ความสุขแต่ความประพฤตินั่นหลอกตัวเองเสีย   ไปทางทุกข์เสีย   มันหลอกอยู่อย่างนี้นี่   ใครเข้าใกล้ มันก็โกง  โกงทุกเหลี่ยมนั่นแหละ   ถ้าลงหลอกตัวเองได้   มันก็โกงคนอื่นได้  ไว้ใจไม่ได้ทีเดียว  เหตุนี้พุทธศาสนาท่านตรง   ตรงตามท่านละก้อ   มรรคผลไม่ไปไหน อยู่ในเงื้อมมือ  อยู่ในกำมือทีเดียว  พุทธศาสนาท่านตรง  แต่ว่าผู้ปฏิบัติไม่ตรงตามพุทธศาสนา   มันก็หลอกลวงตัวเอง  โกงคนอื่นเท่านั้น  นี่หลักจริงเป็นอย่างนี้   ให้จำไว้ให้มั่น  ท่านได้ยืนยันอีกในอัคคัปปสาทสูตร ว่า  

    อคฺคโต เว ปสนฺนานํ
    อคฺเค พุทฺเธ ปสนฺนานํ
    อคฺเค ธมฺเม ปสนฺนานํ
    อคฺเค สงฺเฆ ปสนฺนานํ
    อคฺคสฺมึ ทานํ ททตํ
    อคฺคํ อายุ จ วณฺโณ จ
    อคฺคสฺส ทาตา เมธาวี
    เทวภูโต มนุสฺโส วา อคฺคํ ธมฺมํ วิชานตํ
    ทกฺขิเณยฺเย อนุตฺตเร
    วิราคูปสเม สุเข
    ปุญฺญกฺเขตฺเต อนุตฺตเร
    อคฺคํ ปุญฺญํ ปวฑฺฒติ
    ยโส กิตฺติ สุขํ พลํ
    อคฺคธมฺมสมาหิโต
    อคฺคปฺปตฺโต ปโมทตีติ.
    นี่วางหลักอีกหลักหนึ่ง  แปลเป็นภาษไทยว่า   เมื่อบุคคลรู้จักธรรมอันเลิศ  เลื่อมใสแล้วด้วยความเป็นของเลิศ เลิศอย่างไร ?   รู้จักธรรมอันเลิศนั้น  ธรรมอะไร ?   ธรรมอันเลิศคือธรรมที่แสดงมาแล้วเป็นธรรมอันเลิศทั้งนั้น  ถ้าว่าเลื่อมใสโดยความเป็นของเลิศ  ไม่ปล่อยไม่วางไม่ละกันละ  เข้าถึงก็จรด  ไม่ปล่อยไม่วางกันละ  จรดไม่วางไม่ปล่อย   วางกึกลงไปตั้งแต่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์   ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดเรื่อยเข้าไป   จนกระทั่งได้ขึ้นไปถึงแค่ไหน   ดวงไหนไม่ปล่อยไม่ละกันละ ใจจรดอยู่กลางดวงนั่นแหละ  ถ้าจรดอยู่ขณะนั้นละก้อ  เลื่อมใสโดยความเป็นของเลิศละ   ของเลิศก็ต้องไม่ปล่อย  ถ้าปล่อยมันก็ไม่เลิศ  ไม่ปล่อยกันละ  คว้ากันแน่นทีเดียวดวงนั้น   ตลอดตั้งแต่ดวงต้นจนกระทั่งถึงดวงพระอรหัต  ได้แค่ไหนยึดแค่นั้น  มั่นเป็นขั้นๆ ไป   เมื่อรู้จักธรรมอันเลิศ   เลื่อมใสแล้วโดยความเป็นของเลิศ   ทีนี้ก็เป็นชั้นๆ ไป

    อคฺเค พุทฺเธ ปสนฺนานํ  ทกฺขิเณยฺเย อนุตฺตเร เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ คือ ธรรมกายทีเดียว ธรรมกายโคตรภู-ธรรมกายโคตรภูละเอียด   ธรรมกายโสดา-โสดาละเอียด   ธรรมกายสกทาคา-สกทาคาละเอียด   ธรรมกายอนาคา-อนาคาละเอียด   ธรรมกายอรหัต- อรหัตละเอียด  นั่นแหละ ธรรมกายนั่นแหละพระพุทธเจ้าผู้เลิศละ  เลื่อมใสแล้วในพระพุทธเจ้านั้น   เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ ทกฺขิเณยฺเย อนุตฺตเร   ซึ่งเป็นทักขิไณยบุคคลอย่างยอดเยี่ยม  ทักขิไณยบุคคลเป็นอย่างไร  ถ้าใครได้ไปทำบุญทำกุศลกับท่านเข้า   ผลได้ในปัจจุบันทันตาเห็น  ได้เป็นเศรษฐีคหบดีทีเดียว  ได้เป็นกษัตริย์เศรษฐีทีเดียว  ได้สมบัติในปัจจุบันทันตาเห็นทีเดียว  นั่นแหละเป็นทักขิไณยบุคคลอย่างยอดเยี่ยมอย่างนั้น

    อคฺเค ธมฺเม ปสนฺนานํ เลื่อมใสในธรรมอันเลิศ    วิราคูปสเม สุเข ซึ่งเป็นธรรมปราศจากยินดี  สงบสุข  สงบเป็นสุข  นั่นแหละ  ดวงนั้นตลอดขึ้นไปนั่นแหละ    อคฺเค ธมฺเม ปสนฺนานํ เลื่อมใสในธรรมอันเลิศ ซึ่งเป็นธรรมอันปราศจากกำหนัดยินดีสงบสุข   เมื่อเข้าไปอยู่ในกลาง ดวงนั้นแล้ว หมดความกำหนัดยินดี  สงบ ระงับ เป็นสุขแสนสุขทีเดียว  ทุกดวงไป ตั้งต้นแต่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์  เมื่ออยู่กลางดวงนั้นแล้วความกำหนัดยินดีไม่มี  สงบ ระงับ  เป็นสุขทีเดียว   ถ้าว่าต้องการสุขละก้อ ไปอยู่นั่น  ถ้าว่าต้องการทุกข์ละก้อ  ออกมาเสีย   ก็ได้รับทุกข์   ต้องการสุขก็เข้าไปอยู่กลางดวงธรรมนั่น ทุกดวงไปเป็นสุขแบบเดียวกันหมด  ที่ปรากฏว่า วิราคูปสเม สุเข ซึ่งเป็นธรรมปราศจากยินดี สงบระงับ เป็นสุข

    อคฺเค สงฺเฆ ปสนฺนานํ เลื่อมใสในพระสงฆ์อันเลิศ   ธรรมกายละเอียด กายมนุษย์ละเอียด-กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหมละเอียด-กายอรูปพรหมละเอียด   นี่เป็นหมู่ของชน  เป็นหมู่ของมนุษย์    ธรรมกายละเอียดของโคตรภู ธรรมกายละเอียดของโสดา   ธรรมกายละเอียดของสกทาคา  ธรรมกายละเอียดของอนาคา  ธรรมกายละเอียดของพระอรหัตนี่แหละ  อคฺเค สงฺเฆ ปสนฺนานํ เลื่อมใสในพระสงฆ์อันเลิศ   ปุญฺญกฺเขตฺเต อนุตฺตเร ซึ่งเป็นบุญเขตอย่างยอด   พระสงฆ์เป็นบุญเขตอย่างยอด   ถ้าใครได้บริจาคกับพระสงฆ์หรือได้ไปเลื่อมใสใน  พระสงฆ์เข้าก็ได้ผลปัจจุบันได้ผลเป็นมหัศจรรย์ทีเดียว   เป็นทักขิไณยบุคคลอย่างยอด  อคฺคสฺมึ ทานํ ททตํ ได้ถวายทานในท่านผู้เลิศแล้ว  อคฺคํ ปุญฺญํ ปวฑฺฒติ บุญอันเลิศย่อมเจริญ   ได้ถวายทานในพระพุทธเจ้า  ได้ถวายทานในธรรม   ได้ถวายทานในพระสงฆ์   ในท่านผู้เลิศเหล่านั้น   บุญอันเลิศย่อมเจริญ  ได้สมบัติปัจจุบันทันตาเห็น  ไม่อย่างนั้นละโลกนี้ไปแล้วก็ได้สมบัติในเทวโลก พรหมโลก สมมาดปรารถนา ได้ผลทีเดียว    อคฺคํ อายุ จ วณฺโณ จ ยโส กิตฺติ สุขํ พลํ อายุ วรรณะ  อายุ คือมีอายุยืน  วรรณะ ผิวพรรณวรรณะแห่งร่างกายงดงามเป็นของที่เลิศ ย่อมเจริญแก่เขาที่ได้ถวายทานนั้น    ยศ เกียรติคุณ ความสุขและกำลังอันเลิศ ก็ย่อมเจริญแก่เขา   อคฺคสส ทาตา เมธาวี ผู้มีปัญญาได้ถวายทานแก่ท่านผู้เลิศแล้ว อคฺคธมฺมสมาหิโต ตั้งอยู่ในธรรมอันเลิศ   เทวภูโต มนุสฺโส วา จะไปเกิดเป็นเทวดาหรือว่าจะไปเกิดเป็นมนุษย์   อคฺคปฺปตฺโต ปโมทติ ย่อมถึงเป็นผู้เลิศบันเทิงอยู่   เกิดเป็นเทวดาก็ได้เกิดในวิมานทีเดียว   จะเกิดเป็นมนุษย์  ก็เกิดในปราสาททีเดียว   ถึงซึ่งความเป็นผู้เลิศบันเทิงอยู่   ไม่ต้องทำไร่ไถนา ค้าขายใดๆ   เกิดในกองสมบัติทีเดียว   นี่เป็นหลักยืนยันว่าธรรมนั่นแหละ ย่อมรักษาผู้ประพฤติได้จริงอย่างนี้   ไม่คลาดเคลื่อน  อย่าไปต้องสงสัยอะไรเลย   อย่าระแวงอะไรเลย   ถ้าไม่สงสัย ก็ให้มั่นอยู่ในธรรม  จะทำอะไรก็ช่าง  

    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสหรือไม่
    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ใสหรือไม่   ถ้าใสเข้าอยู่เวลาใด  ได้เวลานั้น
    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ใสหรือไม่   ถ้าใส เข้าอยู่เวลาใดได้เวลานั้น
    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด ใสหรือไม่   ถ้าใส เข้าอยู่เวลาใดได้เวลานั้น
    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ใสหรือไม่   ถ้าใส
    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด ใสหรือไม่  ถ้าใส
    ดวงธรรมที่ทำให้ เป็นกายอรูปพรหมใส หรือไม่ ถ้าใส
    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด ใสหรือไม่ ถ้าใส
    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมใสหรือไม่ ถ้าใส เข้าอยู่ในเวลาใด ได้เวลานั้น
    ตลอดกายธรรมละเอียด กายธรรมโสดา-โสดาละเอียด  กายธรรมสกทาคา-สกทาคาละเอียด  กายธรรมอนาคา-อนาคาละเอียด กายธรรมพระอรหัต-อรหัตละเอียด   นี่แหละเรียกว่า ธมฺมวิหารี ผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ หรือ สุขธมฺมวิหารี ผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุข  อยู่ในกลางดวงธรรมนั้น   จะปฏิบัติให้ถูกหลักพระพุทธศาสนา หลักพระพุทธศาสนาอยู่ในกลางดวงธรรมนั้น  ไม่ได้อยู่ที่อื่น   หลักพระพุทธศาสนาไม่มีอื่น  มีดวงศีล สมาธิ ปัญญา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา   เมื่อจัดออกมาทางกายวาจาไปอีกเรื่องหนึ่ง   จัดไปทางเจตนาก็อีกเรื่องหนึ่ง  ถ้าจัดเข้าไปในดวงธรรม  ก็คือดวงศีลทีเดียว   เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ใสบริสุทธิ์สนิท  เมื่อเป็นมนุษย์ก็ปฏิบัติอยู่ในดวงธรรม   ดวงศีลนั่น  ที่จะเข้าถึงดวงศีลต้องเข้าถึงดวงธรรมก่อน   ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน  หรือ ดวงปฐมมรรค หรือ ดวงเอกายนมรรค  เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เหมือนกัน และหยุดอยู่กลางดวงธรรมนั่นแหละ   นี่จะปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาละ  ปฏิบัติทางธรรม  ได้หลักแล้ว  ได้หลักศาสนาแล้ว  ปฏิบัติทางธรรมต่อไป   ปฏิบัติทางธรรมก็ต้องให้มั่นคง

    ใจนิ่งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์  พอถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    ใจหยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พอหยุดก็หยุดในกลางดวง ของกลาง กลางของกลางๆๆๆ พอถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงศีล
    หยุดอยู่กลางศีล พอถูกส่วนเข้า ก็กลางของกลางใจที่หยุดนั่นแหละ ก็เข้าถึงดวงสมาธิ
    หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ พอหยุดเข้า กลางของหยุด กลางของกลางๆๆๆ พอถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงปัญญา
    หยุดอยู่กลางดวงปัญญา เข้ากลางของหยุด กลางของกลางถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงวิมุตติ
    หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ  พอหยุดเข้าก็กลางของกลางๆๆ พอหยุดถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
    หยุดอยู่ศูนย์กลางของดวงวิมุตติญาณทัสสนะ  พอถูกส่วนเข้ากลางของกลางๆๆๆๆๆ  ก็เห็นกายมนุษย์ละเอียด
    ดำเนินไปในกายมนุษย์ละเอียดแบบนี้แหละ  ก็จะเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรม-กายธรรมละเอียด เป็นลำดับขึ้นไปทั้ง 18 กาย ถึงตลอดแบบเดียวกันนี้

    นี่ปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา คือ ไปทางศีล สมาธิ ปัญญา ปฏิบัติเข้าไปข้างใน   ถ้าปฏิบัติถอยออกมาข้างนอก ก็กายวาจาบริสุทธิ์ ว่ากันเจตนาบริสุทธิ์ไปอีกกว้างๆ     เป็นปริยัติไป   ถ้าปฏิบัติต้องเดินให้ตรงเข้าไปข้างใน   นั่นเป็นทางปฏิบัติ   เมื่อเข้าถึงปฏิบัติแล้ว  ก็ปฏิเวธเป็นชั้นๆ เข้าไป

    เมื่อเข้าถึงกายมนุษย์หยาบนี้  เข้าไปในทางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ในศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ  เข้าไปถึงกายมนุษย์ละเอียด   พอถึงกายมนุษย์ละเอียด  ก็เป็นตัวปฏิเวธอยู่แล้ว เห็นกายมนุษย์ละเอียดเข้าแล้ว  นั่นเป็นตัวปฏิเวธอยู่แล้วตามส่วน   เข้าไปในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด  จนกระทั่งถึงกายทิพย์ก็เป็นปฏิเวธอยู่แล้ว เห็นกายทิพย์เข้าแล้ว   เห็นกายทิพย์ละเอียดก็เป็นปฏิเวธ   เห็นกายรูปพรหมก็เป็นปฏิเวธ เห็นกายอรูปพรหมก็เป็นปฏิเวธ   เห็นกายอรูปพรหมละเอียดก็เป็นปฏิเวธเป็นชั้นๆ เข้าไป   เข้าถึงกายธรรม เข้าถึงกายธรรมก็เป็นปฏิเวธ   เข้าถึงกายธรรมละเอียดก็เป็นปฏิเวธ   แบบเดียวกันนั่นแหละ  จะปฏิบัติไปอย่างไรก็ว่าไปเถอะปริยัติ   เมื่อเข้าถึงปฏิบัติแล้ว ก็เข้าถึงปฏิเวธ เป็นลำดับไป  เข้าถึงโสดา-โสดาละเอียด  สกทาคา-สกทาคาละเอียด  อนาคา-อนาคาละเอียด  อรหัต-อรหัตละเอียด เป็นลำดับไป  ไม่เคลื่อนละ ไม่เคลื่อนหลัก   เอาหลักมาปรับดูเถอะ   ปริยัติเอามาปรับดูเถอะ   แต่ว่าผู้เรียนปริยัติ  ผู้เรียนบาลีท่านไม่เห็น   ท่านก็เรียนตามศัพท์ของท่านไป   เมื่อท่านเห็นท่านก็เรียนตามความเห็นของท่าน นี่เรื่องนี้สำคัญ

    เพราะเหตุนั้น การปฏิบัติศาสนาหรือนับถือศาสนา  ถ้าว่าศึกษาไม่ได้หลักพระพุทธศาสนาแล้ว  จะนับถือไปสัก 50 ปีก็เอาเรื่องไม่ได้   ถ้าได้หลักแล้ว จึงจะเอาเรื่องได้   เพราะฉะนั้น วัดปากน้ำได้หลักแล้ว   ต่อไปหมดประเทศไทย  จะต้องถือเอาวัดปากน้ำนี้เป็นหลักทางปฏิบัติ   ในทางปฏิบัติ ปฏิเวธ   ส่วนปริยัติน่ะไม่ต้องเอาวัดปากน้ำ  วัดปากน้ำต้องไปเอาเขามาอีก   เอามาจากตำรับตำราที่เขาตั้งไว้เป็นหลักสูตรในประเทศไทย  ถึงกระนั้นปริยัติวัดปากน้ำ  ก็ไม่แพ้ฝั่งพระนคร   ชนะฝั่งพระนครหลายวัด   เหลือไม่กี่วัดที่จะล่วงล้ำไป  แต่ส่วนปฏิบัตินั้น ชนะหมดทั้งประเทศไทย   วัดใดวัดหนึ่งสู้ไม่ได้   เพราะวัดใดวัดหนึ่งสั่งสมพวกมีธรรมกายมาก  ไม่ได้เหมือนวัดปากน้ำ   วัดปากน้ำสั่งสมมากเวลานี้ ขนาด 100   ขาดเกินไม่มาก  ทั้งอุบาสก อุบาสิกา พระเณร 100 ขาดเกินไม่มาก  หรือจะกว่าก็ไม่รู้   แต่ว่ายังไม่ได้สำรวจถี่ถ้วน  แล้วจะ สำรวจให้ดูว่ามีเท่าใด  มากอยู่แล้วพวกที่ปฏิบัติใช้ได้ทีเดียว  ที่ใช้ไม่ได้อย่างสูงนั้น  ผู้เทศน์ต้องคอยคุม   ถ้าไม่คุมละก้อ ไปสูงไม่ได้  มารมันปัดลงต่ำเสีย   มันแนะนำให้วางเป้าหมายใจดำเสีย  ไม่จรดอยู่ที่เป้าหมายใจดำ   ที่ผู้เทศน์คอยคุมไว้ละก้อ  ถูกเป้าหมายใจดำ    ตรงกันข้ามกับพวกพญามาร  ถ้าว่าไม่คุมไว้แล้ว  เป็นลูกศิษย์พญามารเสียแล้ว  มารเอาไปใช้เสียแล้วอย่างนี้มาก   เหตุนั้นเมื่อมาพบของจริงเช่นนี้แล้ว  ทั้งพระ ทั้งเณร ทั้งอุบาสก อุบาสิกา ควรปล่อยชีวิต  ค้นเอาของจริง   รักษาของจริงไว้ให้ได้   เมื่อได้แล้วละก็  จะยิ้มในใจของตัวอยู่เสมอไป   ไม่มีความเดือดร้อนใดๆ   เห็นว่าพระพุทธศาสนานี่เป็นนิยานิกธรรมจริง   นำสัตว์ออกมาจากทุกข์  ได้จริงในปัจจุบันทันตาเห็นทีเดียว   เมื่อรู้จักหลักอันนี้นี่แหละ  ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ  ธรรมย่อมรักษาผู้ที่ประพฤติธรรม   ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ ธรรมนั่นแหละ สั่งสมไว้ดีแล้ว  นำความสุขมาให้แท้ๆ  

    เหตุนี้แหละที่ได้ชี้แจงแสดงมาแล้วนี้   เพื่อเป็นปฏิการสนองประคองศรัทธา ประดับสติปัญญาคุณสมบัติของท่านผู้พุทธบริษัท ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิต บรรดาสโมสรในสถาน ที่นี้ถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา    เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัจที่อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้   สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดี จงบังเกิดแด่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า   อาตมภาพชี้แจงแสดงมา พอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมมีกถาโดยอรรถนิยมความแต่เพียงเท่านี้    เอวํ ก็มีด้วย ประการฉะนี้.
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,472
    รตนัตตยคมนปณามคาถา

    [​IMG]



    6 มีนาคม 2492

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)

     

    อิจฺเจตํ รตนตฺตยํ
    นานาโหนฺตมฺปิ วตฺถุโต
    เอกิภูตมฺปนตฺถโต
    ธมฺโม สงฺเฆน ธาริโต พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ จาติ
    อญฺญมญฺญาวิโยคาว
    พุทฺโธ ธมฺมสฺส โพเธตา
    สงฺโฆ จ สาวโก พุทฺธสฺส
    อิจฺเจกาพุทฺธเมวิทนฺติ.
    ผู้ที่จะเข้าถึงพระรัตนตรัย   ต้องเอาใจของตนไปจรดอยู่ที่ศูนย์กลางกายของตนนั้น   แล้วทำใจให้หยุด  หยุดในหยุด หนักเข้าไปทุกทีไม่ให้คลายออก    ทำไปจนใจไม่คลายออก   ใจนั้นหยุดในหยุดหนักเข้าไปทุกที นี้เป็นทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์   ไม่ใช่ทางไปของปุถุชน    ทางไปของปุถุชนไม่หยุด  ออกนอกจากหยุด  ออกจากทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์อยู่เสมอ   จึงได้เจอะเจอพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ยากนัก

     

    อาตมาขอโอกาสแด่ท่านมหาชนทั้งหลาย  ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตบรรดามีศาสนาเป็นภารกิจ หวังปฏิบัติให้ถูกสนิทตามศาสนาของตนๆ   จึงได้อุตส่าห์พากันทรมานร่างกายในเวลาทำกิจทางศาสนา    ทุกๆ ศาสนาล้วนแต่สอนให้ละความชั่วประพฤติความดีสิ้น ด้วยกันทุกชาติทุกภาษา

    ส่วนในทางพระพุทธศาสนา  เวลาเช้าเวลาเย็นไหว้พระบูชาพระ  และสวดสังเวคกถา  ปสาทกถา ตามกาลเวลาเสร็จแล้ว  ที่มีกิจเรียนคันถธุระก็เรียนไป  ที่มีกิจเรียนวิปัสสนาธุระก็เรียนไป ฝ่ายพระเถรานุเถระก็เอาใจใส่ตักเตือนซึ่งกันและกันตามหน้าที่  เพื่อจะได้รักษาเนติแบบแผนอันดีของสาธุชนในพุทธศาสนาไว้  ให้เป็นตำรับตำราสืบสายพระศาสนาไป

    บัดนี้ขอเชิญชวนท่านทั้งหลาย  ฟังปณามคาถา ความนอบน้อมพระรัตนตรัยในอดีต อนาคต ปัจจุบัน และถึงเป็นที่พึ่ง  โดยย่อ

    ความนอบน้อมมาจาก “นโม”    “นโม” แปลว่า นอบน้อม    เป็นบุคลาธิษฐาน คือ นอบน้อมด้วยกาย   นอบน้อมด้วยวาจา นอบน้อมด้วยใจ  นอบน้อมในพระผู้มีพระภาค  เมื่อพระองค์มีพระชนมายุอยู่ อุบาสกอุบาสิกาเข้าไปสู่ที่เฝ้าแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาค  ด้วยเบญจางคประดิษฐ์  คือกราบพร้อมด้วยองค์ 5 เข่าและศอกทั้ง 2 ต่อกัน   ฝ่ามือทั้ง 2 วางลงให้เสมอกัน  ก้มศีรษะลงให้หน้าจรดพื้นในระหว่างมือทั้ง 2 นั้น  หรือในระหว่างที่เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่นั้น   คอยฟังพระโอวาทานุสาสนีของพระองค์   ไม่ส่งใจไปในที่อื่น   ไม่เปล่งวาจาออกในระหว่างที่พระองค์ทรงรับสั่งอยู่   เป็นการรบกวนพระองค์ด้วยวาจา  ให้เป็นที่ระแคะระคายพระทัย

    อนึ่ง  เมื่อเข้าไปสู่ที่เฝ้า   ไม่นั่งให้ไกลนัก  จะเป็นการเบียดเบียนพระองค์ ด้วยต้องออกพระกำลังเสียงในเวลารับสั่ง   ไม่นั่งให้ใกล้นัก จะเป็นการเบียดเบียนพระองค์ด้วยกายอันเป็นของปฏิกูล  จะเป็นที่รำคาญพระนาสิกในเวลากลิ่นกายฟุ้งไป ไม่นั่งในที่เหนือลม  ด้วยเคารพพระองค์ กลัวจะลมพัดเอากลิ่นกายที่ฟุ้งออกไปมากระทบพระนาสิกของพระองค์ ไม่นั่งในที่ตรงพระพักตร์นัก   กลัวจะเป็นที่รำคาญพระเนตรทั้งสองของพระองค์   ไม่นั่งในที่เบื้องหลังนัก เกรงว่าพระองค์จะต้องหันพระพักตร์มากไปในเวลาจะทรงรับสั่ง    ต้องนั่งในที่สมควรนอกจากที่ๆ แสดงมาแล้ว ในเวลาอยู่ในที่เฝ้า ไม่ส่งใจไปในที่อื่น ไม่เปล่งวาจาให้เป็นที่รำคาญพระทัยแด่พระองค์   ดังนี้แล นอบน้อมด้วยกายในพระองค์

    ในเมื่อพระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว ยังเหลือแต่เจดีย์ 4 เหล่า คือ  บริโภคเจดีย์ ธาตุเจดีย์ ธรรมเจดีย์  อุทเทสิกเจดีย์   พุทธศาสนิกชนไปถึงที่เช่นนั้นเข้าแล้ว  ในเมื่อกั้นร่ม ควรลดร่มลง   ห่มผ้าปิด 2 บ่า ควรลดออกเสียบ่าหนึ่ง   ในเมื่อสวมรองเท้าเข้าไป ควรถอดรองเท้าเสีย และเข้าไปในที่นั้นไม่ควรแสดงอึงคะนึงและไม่เคารพ แต่อย่างใดอย่างหนึ่ง    ต้องแสดงเคารพอย่างจริงใจ ไม่ทิ้งของที่สกปรกลงไว้  เช่น ก้นบุหรี่ หรือชานหมาก น้ำลาย น้ำมูก อุจจาระ ปัสสาวะ ในที่บริเวณนั้น เมื่อเข้าไปในที่นั้นเห็นรกปัดกวาดเสีย ถากถางเสีย   เห็นไม่สะอาด ทำให้สะอาด   เห็นผุพัง ควรแก้ไข ซ่อมแซมปฏิสังขรณ์ได้ก็ยิ่งดี   ดังนี้เป็นความนอบน้อมพระผู้มีพระภาคด้วยกาย โดยบุคลาธิษฐาน

    อนึ่ง  นำเรื่องของพระรัตนตรัยไปสรรเสริญในที่นั้น แก่บุคคลนั้นอยู่เนืองๆ ดังนี้  ก็ชื่อว่า นอบน้อมด้วยวาจา

    และคิดถึงพระรัตนตรัยอยู่เนืองๆ  ไม่ยอมให้ใจไปจรดอยู่กับอารมณ์สิ่งอื่นมากนัก   คอยบังคับใจให้จรดอยู่กับพระรัตนตรัยเนืองๆ  ดังนี้ ชื่อว่า นอบน้อมพระรัตนตรัยด้วยใจ

    ความนอบน้อมของข้าพเจ้าจงมีแด่พระผู้มีพระภาคผู้เป็นองค์อรหันต์  ตรัสรู้แล้วเองโดยชอบ บรรดาพุทธศาสนิกชนทั้งหลายต้องว่าดังนี้   ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลายในเวลาทำศาสนกิจทุกครั้ง เช่น พระเถรานุเถระกระทำสังฆกรรม  และอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายจะสมาทานศีล ก็ต้องว่า “นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส” ถึง 3 หน   จะว่าแต่เพียงหนหนึ่งหรือสองไม่ได้   หรือได้เหมือนกันแต่ว่าไม่เต็มรัตนตรัยทั้ง 3 กาล   จะให้เต็มหรือถูกรัตนตรัยทั้ง 3 กาลแล้ว ต้องว่าให้เต็ม 3 หน  หนที่ 1 นอบน้อมพระรัตนตรัยในอดีต   หนที่ 2 นอบน้อมพระรัตนตรัยในปัจจุบัน   หนที่ 3 นอบน้อมพระรัตนตรัยในอนาคต   ทั้งหมดต้องว่า 3 หน จึงครบถ้วนถูกพระรัตนตรัยทั้ง 3 กาล

    รัตนตรัย แบ่งออกเป็น 2 คือ รัตนะ 1  ตรัย 1,    รัตนะ แปลว่า แก้ว   ตรัย แปลว่า 3   รัตนตรัยรวมกันเข้า แปลว่า แก้ว 3     พุทธรัตนะ แก้วคือพระพุทธ   ธรรมรัตนะ แก้วคือพระธรรม   สังฆรัตนะ แก้วคือพระสงฆ์ ทำไมจึงต้องเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์มาเปรียบด้วยแก้ว   ที่ต้องเปรียบด้วยแก้วนั้น เพราะแก้วเป็นวัตถุทำความยินดีให้บังเกิดแก่เจ้าของผู้ปกครองรักษา   ถ้าผู้ใดมีแก้วมีเพชรไว้ในบ้านในเรือนมาก  ผู้นั้นก็อิ่มใจ ดีใจ ด้วยคิดว่าเราไม่ใช่คนจน  ปลื้มใจของตนด้วยความมั่งมี   แม้คนอื่นที่ไม่ใช่เจ้าของเล่า เห็นแก้วเห็นเพชรเข้าแล้ว  ที่จะไม่ยินดีไม่ชอบนั่นเป็นอันไม่มี   ต้องยินดีต้องชอบด้วยกันทั้งนั้น ฉันใด   รัตนตรัยแก้ว 3 ดวง คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ทั้ง 3 นี้ ก็เป็นที่ยินดีปลื้มใจของเทวดาแลมนุษย์ทั้งหลาย ฉันนั้น

    พระรัตนตรัยเป็นแก้วจริงๆ   หรือเปรียบด้วยแก้ว   ถ้าเป็นทางปริยัติเข้าใจตามอักขระแล้ว เป็นอันเปรียบด้วยแก้ว   ถ้าเป็นทางปฏิบัติเข้าใจตามปฏิบัติแล้ว  เป็นแก้วจริงๆ   ซึ่งนับว่าประเสริฐ เลิศกว่าสวิญญาณกรัตนะและอวิญญาณกรัตนะ  ซึ่งมีในไตรภพ ลบรัตนะในไตรภพทั้งหมดสิ้น

    จะกล่าวถึงรัตนะในทางปฏิบัติ    “ปฏิปตฺติ” แปลว่า ถึงเฉพาะ   ผู้ปฏิบัติถึงเฉพาะซึ่งพระรัตนตรัย  การถึงรัตนตรัยของผู้ปฏิบัติในยุคนี้ต่างๆ กัน   ผู้ไม่ได้เล่าเรียนศึกษาก็ถึงรูปพระปฏิมาในโบสถ์วิหารการเปรียญ  ถึงพระธรรมในตู้ในใบลาน  ถึงพระสงฆ์สมมติทุกวันนี้    ผู้ได้เล่าเรียนศึกษา รู้พุทธประวัติ ก็ถึงพระสิทธัตถราชกุมารที่ได้ตรัสรู้ใต้ควงไม้ศรีมหาโพธิ์ ที่ได้มาโปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน   ถึงพระธรรมก็คือปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร กับธรรมที่พระองค์ทรงสั่งสอนปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ให้ได้บรรลุมรรคผล ทั้งสิ้น   ถึงพระสงฆ์ก็คือพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 จนถึงสุภัททภิกษุซึ่งเป็นปัจฉิมสาวกเวไนย

    ผู้มีสติปัญญา เป็นผู้เฒ่าเหล่าเมธา  เล่าเรียนศึกษามาก   การถึงรัตนตรัยของท่านลึกล้ำ ท่านคิดว่า “พุทธ” ก็แปลกันว่า  ตรัสรู้    ตรัสรู้เป็นภาษาเจ้า  เพราะพระพุทธเจ้าท่านเป็นเจ้า จึงแปลว่า “ตรัสรู้”   ภาษาสามัญก็แปลว่า “รู้” เท่านั้น   ท่านก็ทำขึ้นในใจของท่านว่ารู้นั่นเอง เป็นพระพุทธเจ้า ท่านก็ถึงความรู้ของท่านที่ถูกดี ถึงธรรมของท่านความดีไม่มีผิด  ถึงสงฆ์ของท่าน “สงฺเฆน ธาริโต” พระสงฆ์ทรงไว้ ตัวของเรานี้เองที่รักษาความรู้ถูกรู้ดีไม่ให้หายไป เป็นสงฆ์

    การถึงพระรัตนตรัยดังแสดงมาแล้วนี้ก็ถูก   เหมือนต้นไม้  เอานิ้วไปจรดเข้าที่กะเทาะ  ก็ถูกต้นไม้ เอานิ้วไปจรดเข้าที่เปลือกก็ถูกต้นไม้   เอานิ้วไปจรดเข้าที่กระพี้ก็ถูกต้นไม้   ถูกแต่ กะเทาะ เปลือก กระพี้ เท่านั้น หาถูกแก่นของต้นไม้ไม่

    การถึงพระรัตนตรัย   ต้องเอากาย วาจา ใจ ของเราที่ละเอียด จรดเข้าไปให้ถึงแก่นพระรัตนตรัยจริงๆ รัตนตรัยซึ่งแปลว่า แก้ว 3   แก้วคือพระพุทธ 1, แก้วคือพระธรรม 1, แก้ว คือพระสงฆ์ 1   ได้ในบทว่า สกฺกตฺวา พุทฺธรตนํ  กระทำตนให้เป็นแก้วคือพุทธ    สกฺกตฺวา ธมฺมรตนํ กระทำตนให้เป็นแก้วคือธรรม    สกฺกตฺวา สงฺฆรตนํ กระทำตนให้เป็นแก้วคือสงฆ์

    การเข้าถึงพระรัตนตรัย   ต้องใช้กายวาจาใจที่ละเอียด   ที่หยาบเข้าไม่ถึง   กายที่ละเอียดซึ่งได้กับกายสังขาร วาจาที่ละเอียดซึ่งได้กับวจีสังขาร   ใจที่ละเอียดซึ่งได้กับจิตสังขาร   กายสังขารคือลมหายใจเข้าออกซึ่งปรนเปรอกายให้เป็นอยู่   วจีสังขารคือความตรึกตรองที่จะพูด   จิตสังขารคือความปรุงของจิตสำหรับใช้ทางใจ    กายสังขารหยุด วจีสังขารก็หยุด จิตสังขารก็หยุด เป็นจุดเดียวกัน  อยู่ที่ตรงศูนย์กลางของกายมนุษย์   มีธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์   เป็นดวงใสเท่าฟองไข่แดงของไก่   ใสดังกระจกส่องเงาหน้า    กายวาจาใจที่ละเอียดจรดลงที่ศูนย์กลางของธรรมนั้น  ก็หยุดพร้อมทั้งกายสังขาร  วจีสังขาร จิตสังขาร   นับว่าหยุดเป็นจุดเดียวกัน  ได้ชื่อว่าสังขารสงบ    การสงบสังขารชนิดนี้  เด็กในท้องมารดาก็สงบ   จึงอยู่ในที่แคบเป็นอยู่ได้   เทวดาใน 6 ชั้นทำได้   รูปพรหมและอรูปพรหมทำได้ เด็กในท้องก็นับว่าสังขารสงบ   เทวดาก็นับว่าสังขารสงบได้   รูปพรหมและอรูปพรหมก็นับว่าสังขารสงบได้  การสงบสังขารเสียเป็นสุข   สมด้วยคาถา 4 บาท ในบาทเบื้องปลายว่า “เตสํ วูปสโม สุโข”   สงบสังขารเหล่านั้นเสียได้ นำมาซึ่งความสุข   นี้สงบสังขารได้ตามสมควร เป็นทางทำตนให้เป็นพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ชั้น 1

    กายสังขารสงบคือลมหายใจหยุด  วจีสังขารสงบคือความตรึกตรองหยุด   จิตสังขารสงบคือใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์  ชื่อว่า สันติ    ลมหยุดลงไป ในที่เดียวกันชื่อว่า อานาปาน ซึ่งแปลว่าลมหยุดนิ่งหรือไม่มี    เมื่อสังขารทั้ง 3 หยุดถูกส่วนเข้าแล้ว เรียกว่า  กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ด้วยส่วนหนึ่ง    เมื่อสังขารสงบมีความสุขเกิดขึ้น เรียกว่า  เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน   จิตคิดว่าเป็นสุขเรียกว่า จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน   ในเมื่อสติปัฏฐานทั้ง 3 ถูกส่วนพร้อมกันเข้า เกิดเป็นดวงใสขึ้นเท่าฟองไข่แดง หรือเท่าดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์   ใสบริสุทธิ์สนิทเหมือนกระจกส่องเงาหน้านั่นแหละ  ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน   ดวงนี้บางท่านเรียกว่าพระธรรมดวงแก้ว   โบราณท่านใช้แปลในมูลกัจจายน์ว่า “ปฐมมรรค” ธรรมดวง นี้แหละคือ ดวงศีล   เพราะอยู่ในเหตุว่างของธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์ไม่มีราคี    ตาของกายทิพย์เห็น  ต้องเอาใจของตนจรดลงที่ตรงกลางของดวงศีลนั้น   ทำใจให้หยุดนิ่ง แต่ พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงศีล ดวงศีลก็ว่างออกไปเห็นดวงสมาธิ เอาใจหยุดนิ่ง ลงไปที่กลางดวงสมาธิ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงสมาธิ ดวงสมาธิก็ว่างออกไป   ตาของกายทิพย์ก็เห็นดวงปัญญาที่อยู่ในกลางดวงสมาธินั้น แล้วเอาใจของตนจรดเข้าที่ศูนย์ กลางดวงปัญญา ทำให้ใจหยุดนิ่ง แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติ ก็ว่างออกไป   ตาของกายทิพย์ก็เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะที่อยู่ในกลางดวงวิมุตตินั้น แล้วเอาใจของตนจรดเข้าที่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ทำใจให้หยุดนิ่ง แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ดวงวิมุตติญาณทัสสะก็ว่างออกไป     ตาของกายทิพย์ก็เห็นตนของตนเองอยู่ในศูนย์กลางของดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั้น เหมือนตาของกายมนุษย์ เห็นตัวของกายมนุษย์ฉะนั้น ที่ได้แสดงมาแล้วนี้ ก็เป็นวิธีทำตัวให้เป็นพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ชั้น 1

    ทำต่อไป ทำใจให้หยุดอยู่ที่ศูนย์กลางของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ แต่พอถูก ส่วนเข้า ก็เห็นดวงศีล   ให้ใจหยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงศีล ดวงศีลก็ว่างออกไป เห็นดวงสมาธิอยู่ในกลางดวงศีล ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงสมาธิ   แต่พอถูกส่วนเข้า  ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงสมาธิ   ดวงสมาธิก็ว่างออกไป  เห็นดวงปัญญาอยู่ในกลางดวงสมาธิ  ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงปัญญา   แต่พอถูกส่วนเข้า  ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงปัญญา   ดวงปัญญาก็ว่างออกไป  เห็นดวงวิมุตติอยู่ในกลางดวงปัญญา   ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ   แต่พอถูกส่วนเข้า  ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติ  ดวงวิมุตติก็ว่างออกไป  เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะอยู่ในกลางดวงวิมุตติ ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ   แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็ว่างออกไป   ตาของกายรูปพรหมก็เห็นตนของตนเองอยู่ในศูนย์กลางของดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั้น เหมือนตาของกายทิพย์เห็นตนของกายทิพย์เองฉะนั้น    ที่ได้แสดงมานี้ก็เป็นวิธีทำตัวให้เป็นพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ชั้น 1

    ทำต่อไป  ทำใจให้หยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม   แต่พอถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงศีล ให้ใจหยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล   ถูกส่วนเข้า   ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงศีล  ดวงศีลก็ว่างออกไป  เห็นดวงสมาธิอยู่ในกลางดวงศีล   ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางของดวงสมาธิ  แต่พอถูกส่วนเข้า  ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงสมาธิ   ดวงสมาธิก็ว่างออกไป  เห็นดวงปัญญาอยู่ในกลางดวงสมาธิ  ให้ใจหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงปัญญา   แต่พอถูกส่วนเข้า   ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงปัญญา  ดวงปัญญาก็ว่างออกไป  เห็นดวงวิมุตติอยู่ในกลางดวงปัญญา   ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ   แต่พอถูกส่วนเข้า  ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติ   ดวงวิมุตติก็ว่างออกไป   เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะอยู่ในกลางดวงวิมุตติ ให้ใจหยุดอยู่ในศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ   แต่พอถูกส่วนเข้า   ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะก็ว่างออกไป   ตาของกายอรูปพรหมก็เห็นตนของตนเองอยู่ในศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั้น  เหมือนตาของกายรูปพรหมเห็นตนของกายรูปพรหมเองฉะนั้น   ที่แสดงมานี้ก็เป็นวิธีทำตัวให้เป็นพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ชั้น 1

    ทำต่อไป ทำใจให้หยุดนิ่งที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม    แต่พอถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงศีล ให้ใจหยุดนิ่งอยู่ที่กลางดวงศีล  ถูกส่วนเข้า  ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงศีล   ดวงศีลก็ว่างออกไป เห็นดวงสมาธิอยู่ในกลางดวงศีล   ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงสมาธิ   แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงสมาธิ   ดวงสมาธิก็ว่างออกไป   เห็นดวงปัญญาอยู่กลางดวงสมาธิ  ให้ใจหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงปัญญา   แต่พอถูกส่วนเข้า   ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงปัญญา   ดวงปัญญาก็ว่างออกไป  เห็นดวงวิมุตติอยู่ในกลางดวงปัญญา   ให้ใจหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ  แต่พอถูกส่วนเข้า  ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติ   ดวงวิมุตติก็ว่างออกไป  เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะอยู่ในกลางดวงวิมุตติ    ให้ใจหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ  แต่พอถูกส่วนเข้า   ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติญาณทัสสนะ  ดวงวิมุตติญาณทัสสนะก็ว่างออกไป ตาของกายธรรมก็เห็นกายของพระองค์เองอยู่ที่ศูนย์กลางของดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั้น  เหมือนตาของกายอรูปพรหม   เห็นตนของตนเองฉะนั้น    ที่ได้แสดงมานี้เป็นวิธีที่ทำตัวให้เป็นพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ชั้น 1

    เมื่อทำมาถึงกายธรรมหรือธรรมกายดังนี้แล้ว ก็รู้จักตัวตนชัดเจนโดยไม่ต้องสงสัย   เพราะกายทั้ง 5 บอกตัวของตัวเอง     กายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม ทั้ง 4 กายนี้ บอกตัวเองอยู่ว่าไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวเป็นแต่สมมติเท่านั้น   รู้ได้เองว่ากายมนุษย์มาเกิดเป็นมนุษย์แล้ว  ก็ชั่วคราวตามอายุขัยและวัย  สิ้นปัจจัยคือบุญและบาปแล้วก็แตกสลายไป    รู้ได้จริงๆ อย่างนี้   ไม่ใช่แต่รู้เห็นด้วยตาของตนทุกๆ คนด้วยกันทั้งนั้น

    ส่วนกายทิพย์ หรือ รูปพรหม อรูปพรหม    สิ้นอำนาจของบุญกรรม และรูปฌาน อรูปฌานแล้ว ก็แปรไปเหมือนกายมนุษย์   ต่างกันแต่ช้าและเร็วเท่านั้น

    ส่วนกายธรรมหรือธรรมกายเป็นตัวยืนบอกความจริงว่าเที่ยง เป็นสุข เป็นตัว   ส่วนกาย ทั้ง 4 เป็นตัวยืนบอกเท็จว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัว   เท็จต่อความจริงอย่างนี้   เมื่อไม่รู้เห็นจริง จะรู้เห็นเท็จได้อย่างไร   ต้องรู้จริงเห็นจริงเสียก่อน   จึงย้อนมารู้จักเท็จได้ดังนี้

    ธรรมกายนี้เองเป็นพุทธรัตนะ  ซึ่งแปลว่าแก้วคือพุทธะ   เมื่อรู้จักพุทธรัตนะแล้ว ก็ควรรู้จักธรรมรัตนะเสียทีเดียว  ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม อรูปพรหม เป็นธรรมรัตนะ แต่เป็นส่วนโลกีย์ ส่วนธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมนั้นเป็นโคตรภู    ต่อเมื่อใด ธรรมกายเลื่อนขึ้นไปเป็นพระโสดาแล้ว ธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายพระโสดานั้นเองเป็นโลกุตตระ

    ส่วนศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ที่อยู่ในศูนย์กลางของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม แลกายอรูปพรหมเป็นโลกียมรรค   เพราะกายทั้ง 4 นั้นเป็นโลกีย์   ธรรมจึงเป็นโลกีย์ไปตามกาย ส่วนศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ที่อยู่ในศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายเป็นโลกุตตระ เพราะธรรมกายของพระโสดาเป็นโลกุตตระ   ธรรมจึงเป็นโลกุตตระไปตามกาย    ธรรมที่ทำให้เป็นกายต่างๆ นี้เอง เป็นธรรมรัตนะ  ซึ่งแปลว่า แก้วคือธรรม   เมื่อรู้จักธรรมรัตนะแล้วก็ควรรู้จักสังฆรัตนะเสียทีเดียว   ธรรมกายหรือกายธรรมหมดทั้งสิ้น  ยกธรรมกายของพระสัพพัญญู และธรรมกายของพระปัจเจกพุทธเจ้าออกเสีย  นอกจากนั้นเป็นธรรมกายของสาวกพุทธทั้งสิ้น   มีมากน้อยเท่าใดเป็นสังฆรัตนะ แก้วคือสงฆ์

    การที่จะเข้าถึงพระรัตนตรัยที่ถูกแท้นั้น  ต้องเอาใจของตนจรดลงที่ศูนย์กลางของธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เป็นดวงใสบริสุทธิ์เท่าๆ ฟองไข่แดงของไก่   ตั้งอยู่ศูนย์กลางของกายมนุษย์  มีเหมือนกันหมดทุกคน  จำเดิมแต่อยู่ในท้องมารดา   ใจของกุมารกุมารีจรดจี้หยุดนิ่งอยู่ตรงศูนย์กลางของดวงธรรมนั้นทุกคน  ตรงศูนย์กลางของดวงธรรมมีว่างอยู่ประมาณเท่าเมล็ดโพธิ์หรือเมล็ดไทร ใจของกุมารหรือกุมารีก็จรดอยู่ศูนย์กลางนั้น

    ผู้ที่จะเข้าถึงพระรัตนตรัย   ต้องเอาใจของตนไปจรดอยู่ที่ศูนย์กลางกายของตนนั้น   แล้วทำใจให้หยุด  หยุดในหยุด หนักเข้าไปทุกทีไม่ให้คลายออก    ทำไปจนใจไม่คลายออก   ใจนั้นหยุดในหยุดหนักเข้าไปทุกที นี้เป็นทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์   ไม่ใช่ทางไปของปุถุชน    ทางไปของปุถุชนไม่หยุด  ออกนอกจากหยุด  ออกจากทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์อยู่เสมอ   จึงได้เจอะเจอพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ยากนัก  ขอผู้จงรักภักดีต่อตนของตนที่แท้แล้ว   จงตั้งใจแน่แน่ว   ให้ถูกทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์เถิดประเสริฐนัก    พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ในอดีต อนาคต ปัจจุบัน ไปทางเดียวเหมือนกันทั้งหมด

    เพราะฉะนั้นพวกเราที่จะเข้าถึงพระรัตนตรัย   จึงต้องทำใจให้หยุดให้นิ่ง  ให้ตรงต่อทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์  จึงจะถูกหลักฐานในพุทธศาสนา   ทั้งถูกตำราของสัตว์ผู้ไปเกิดมาเกิดด้วย    สัตว์ผู้ไปเกิดมาเกิดเข้าสิบไม่ถูก ก็ไม่ตกศูนย์   เมื่อไม่ตกศูนย์ก็ไปเกิดมาเกิดไม่ได้    ธรรมดาของเกิดแลตาย ต้องมีสิบศูนย์เป็นเครื่องหมายเหมือนกันทั้งหมด ทั้งในภพ และนอกภพ    การที่จะเข้าถึงพระรัตนตรัยก็เหมือนกัน ต้องเข้าสิบศูนย์เป็นชั้นๆ ไป จึงจะเข้าถึงพระรัตนตรัยได้   ดังแสดงมาตั้งแต่ต้นเป็นชั้นๆ มาแล้วทุกประการ

    รัตนะทั้ง 3 นี้ เป็นแก้วจริงๆ จังๆ     แก้วที่มีในไตรภพนี้มีคุณภาพไม่เทียมทัน   ส่วนแก้วในไตรภพที่มนุษย์ใช้อยู่บัดนี้   เพชรเป็นสูงกว่า  หรือแก้วที่มีรัศมีเป็นของหายาก  ไม่มีใครจะใช้กันนัก แก้วชนิดอย่างนั้น มีสีต่างๆ    ถ้าสีนั้นเขียว ใส่ลงไปในน้ำ น้ำก็เขียวไปตามสีแก้วนั้น    ถ้าสีเหลือง น้ำก็เหลืองไปตาม   ถ้าแดง น้ำก็แดงไปตามสีแก้ว   ตกว่าแก้วสีอะไร น้ำก็เป็นไปตามสีแก้วนั้นๆ  นี้เป็นรัตนะที่สูงในโลก   สูงยิ่งกว่านี้ขึ้นไป   ก็ต้องเป็นแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ์

    พระเจ้าจักรพรรดิ์มีแก้ว 7 ประการคือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว คหบดีแก้ว ปรินายกแก้ว    แก้ว 7 ประการนี้เกิดขึ้นในโลกกาลใด    มนุษย์ในโลกได้รับความสุข  ปราศจากการไถและหว่าน สำเร็จความเป็นอยู่   อาศัยแก้ว 7 ประการของพระเจ้าจักรพรรดิ์   ให้เป็นอยู่ได้โดยตลอดชีวิต ไม่ต้องทำกิจการใดๆ ทั้งสิ้น   พระเจ้าจักรพรรดิ์สอนให้ตั้งอยู่ในศีล 5  กรรมบถ 10   ครั้นสิ้นชีพแล้ว ไปบังเกิดในสุคติโดยส่วนเดียว   ไม่มีตกไปอยู่ในทุคตติเลย

    แก้วทั้งหลายในโลกพิเศษถึงเพียงนี้แล้ว    ยังไม่มีพิเศษเท่าแก้ว คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ แก้วคือพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ นั้น ถ้าผู้ใดเข้าไปได้เข้าไปถึงแล้ว   ลืมแก้วลืมสวรรค์ลิบๆ ในโลกหมดทั้งสิ้น

    ผู้ที่จะเข้าไปได้ถึงแก้วทั้ง 3 นี้ ต้องดำเนินไปตามต้น กาย วาจา ใจ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขาร ดังแสดงมาแล้วในเบื้องต้น จนถึงธรรมกาย คือให้ดำเนินไปตามโพธิปักขิยธรรม 37   ตั้งต้นแต่ กาย เวทนา จิต ธรรม ไป    แต่พอถึงธัมมานุปัสสนา ก็เห็นเป็นดวงใส ที่เรียกว่าดวงศีล   ต่อแต่นั้นก็ถึงสมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ซึ่งนับว่าเป็นที่รวมพระไตรปิฎก   พระไตรปิฎกรวมอยู่ในศูนย์กลางของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นี้ทั้งสิ้น   เมื่อจับที่รวมของกายมนุษย์ได้แล้ว  กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม กายธรรม ก็เหมือน กันดังแสดงมาแล้ว

    ที่ได้แสดงมาแล้วนี้   เป็นวิธีให้เข้าถึงรัตนะทั้ง 3 คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ มีอาการต่างๆ กัน   ในเมื่อจับหลักยังไม่ได้   ต่อเมื่อจับหลักคือธรรมกายเสียได้แล้ว  จะเห็นว่าไม่ต่างกัน เนื่องเป็นอันเดียวกันแท้ๆ

    สมด้วยกระแสบาลีในเบื้องต้นว่า  “หมวด 3 ของรัตนะนี้ คือ พุทโธ ธัมโม สังโฆ หรือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ”   แม้ต่างกันโดยวัสดุ แต่เนื้อความเป็นอันเดียวกัน   เป็นของเนื่องซึ่งกันและกัน พระพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้พระธรรม พระธรรมพระสงฆ์ทรงไว้ พระสงฆ์เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า เนื่องเป็นอันเดียวกันเป็นบรรทัดฐาน ดังแสดงทุกประการ    พอสมควรแก่เวลา ด้วยประการฉะนี้.
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,472
    สติปัฏฐานสูตร
     
     

    [​IMG]

    3 ตุลาคม 2497


    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)


    อิธ   ภิกฺขุ   กาเย   กายานุปสฺสี   วิหรติ   อาตาปี   สมฺปชาโน   สติมา   วิเนยฺย   โลเก   อภิชฺฌาโทมนสฺสํ.   เวทนาสุ   เวทนานุปสฺสี   วิหรติ   อาตาปี   สมฺปชาโน   สติมา   วิเนยฺย   โลเก   อภิชฺฌาโทมนสฺสํ.   จิตฺเต   จิตฺตานุปสฺสี   วิหรติ   อาตาปี   สมฺปชาโน   สติมา   วิเนยฺย   โลเก   อภิชฺฌาโทมนสฺสํ.   ธมฺเมสุ   ธมฺมานุปสฺสี   วิหรติ   อาตาปี   สมฺปชาโน   สติมา   วิเนยฺย   โลเก   อภิชฺฌาโทมนสฺสํ.  

     

    ณ บัดนี้   อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา   แก้ด้วยเรื่องธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย   เป็นธรรมที่แน่แท้ในพระพุทธศาสนา   จะแสดงตามคลองธรรมของสติปัฏฐานสูตร   ที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้เป็นหลักเป็นประธาน   มหาสติปัฏฐานสูตรนั้นเป็นโพธิปักขิยธรรม   เป็นไปในเรื่องฝ่ายเครื่องตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์เหมือนกันหมด   ปรากฏดังนี้   เหตุนั้นตามวาระพระบาลีแห่งมหาสติปัฏฐานสูตรที่ได้ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นว่า   อิธ  ภิกฺขเว  ภิกฺขุ   กาเย กายานุปสฺสี  วิหรติ   อาตาปี  สมฺปชาโน  สติมา  วิเนยฺย  โลเก  อภิชฺฌาโทมนสฺสํ.   ว่า  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ผู้ศึกษาพระธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้  กาเย  กายานุปสฺสี  วิหรติ  เห็นกายในกายเนืองๆ   อยู่   อาตาปี มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลสให้เร่าร้อน   สมฺปชาโน รู้สึกตัวพร้อมอยู่เสมอ   สติมา มีสติไม่เผลอ   วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ พึงกำจัดความดีใจเสียใจในโลกเสียให้พินาศ   เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี วิหรติ   อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก  อภิชฺฌาโทมนสฺสํ  เห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่   มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลสให้เร่าร้อน   มีความรู้สึกตัวพร้อมอยู่เสมอ   มีสติไม่เผลอ   พึงกำจัดอภิชฌาโทมนัสในโลกเสียให้พินาศ   จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ   อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ เห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่   มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลสให้เร่าร้อน   มีความรู้สึกตัวพร้อมอยู่ เสมอ   มีสติไม่เผลอ   พึงกำจัดอภิชฌาโทมนัสในโลกเสียให้พินาศ   ธมฺเมสุ ธมฺมานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ เห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่   มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลสให้เร่าร้อน   มีความรู้สึกตัวพร้อมอยู่เสมอ   มีสติไม่เผลอ   พึงกำจัดความเพ่งอยากได้  ความเสียใจในโลกเสีย   นี้เป็นเนื้อความของวาระพระบาลีในมหาสติปัฏฐานสูตร   แสดงหลักไว้ตามจริงดังนี้   รับรองหมดทั้งประเทศไทยว่าเป็นข้อที่ถูกต้องแน่นอนแล้ว   ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบายขยายความเป็นลำดับไป

    พิจารณาจะแสดงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย   นี้เป็นข้อที่ลึกซึ้ง   ของยาก   ได้ไม่ยาก   แต่ว่าไม่ง่าย   ไม่ยากแก่บุคคลที่ทำได้   ไม่ง่ายสำหรับบุคคลที่ทำไม่ได้   ตำราได้กล่าวไว้ว่า  เห็นกายในกายเนืองๆ อยู่   เห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่   เห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่   เห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่ 4 ข้อ

    เห็นกายในกาย น่ะเห็นอย่างไร   บัดนี้กายมนุษย์ที่ปรากฏอยู่   นั่งเทศน์อยู่นี่   นั่งฟังเทศน์อยู่นี่   นี่กายมนุษย์แท้ๆ   แต่ว่ากายมนุษย์นี่แหละเวลานอนหลับฝันไปก็ได้   พอฝันออกไปอีกกายหนึ่ง   เขาเรียกว่า กายมนุษย์ละเอียด   นี่รู้จักกันทุกคนเชียวกายนี้   เพราะเคยนอนฝันทุกคน   รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร   เป็นเหมือนมนุษย์คนนี้แหละ   คนที่ฝันนี่แหละ   นุ่งห่มอย่างไร   อากัปกิริยาเป็นอย่างไร   สูงต่ำอย่างไร   ข้าวของเป็นอย่างไร   ก็ปรากฏเป็นอย่างนั้น   ก็ปรากฏเป็นคนนี้แหละ   แบบเดียวกันทีเดียว   คนเดียวกันก็ว่าได้   แต่ว่าเป็นคนละคน   เขาเรียกว่า กายมนุษย์ละเอียด   เวลานอนหลับสนิทถูกส่วนเข้าแล้ว ก็ฝันออกไป   ออกไปอีกคนหนึ่ง   ก็เป็นกายมนุษย์คนนี้แหละ   รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างนี้แหละ   ถึงได้ชื่อว่าเป็นกายมนุษย์ละเอียด   กายมนุษย์คนที่ฝันออกไปนั่นแหละเขาเรียกว่า กายมนุษย์ในกายมนุษย์   นี่แหละ กายในกาย หละ   เห็นจริงๆ อย่างนี้   ไม่ใช่เห็นตามเหลวไหล   เห็นอย่างนี้   ก็เป็นหลักเป็นพยานได้ทุกคน   เพราะเคยนอนฝันทุกคน   นี่เห็นในกาย   เห็นอย่างนี้นะ   เมื่อเห็นกายในกายอย่างนี้แล้ว

    เห็นเวทนาในเวทนา ล่ะ   ก็ตัวมนุษย์คนนี้มีเวทนาอย่างไรบ้าง   สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์   ดีใจ เสียใจ   เวทนาเป็นอย่างนั้นมิใช่หรือ   ก็ส่วนกายที่ฝันออกไปนั้นก็มีสุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์   ดีใจ เสียใจ เหมือนกัน   แบบเดียวกันกับกายมนุษย์คนนี้แหละ   ไม่ต่างอะไรกันเลย

    จิตล่ะ   เห็นจิตในจิต ก็แบบเดียวกันกับเวทนาในเวทนา  เห็นจิตในจิตนี่  ต้องกล่าว “เห็น” นะ   ไม่ใช่กล่าว “รู้” นะ   เห็นจิตในจิต   ดวงจิตของมนุษย์นี้เท่าดวงตาดำข้างนอก   อยู่ในเบาะน้ำเลี้ยงหัวใจ   ตำรับตำรากล่าวไว้ว่า หทยคุหา  จิตฺตํ  สรีรํ  จิตฺตํ  เนื้อหัวใจเป็นที่อยู่   แล้วก็กล่าวไว้อีกหลายนัย   ปกติมโน ใจเป็นปกติ   ภวงฺคจิตฺตํ ใจเป็นภวังคจิต   ตํ ภวงฺคจิตฺตํ อันว่าภวังคจิตนั้น   ปสนฺนํ อุทกํ วิย   จิตเป็นดังว่าน้ำ   จิตนั่นแหละเป็นภวังคจิต   เวลาตกภวังค์แล้วใสเหมือนกับน้ำที่ใส   จิตดวงนั้นแหละเป็นจิตของมนุษย์   ที่ต้องมีปรากฏว่า จิตในจิต   นั่นแหละอีกดวงหนึ่งคือ จิตของกายมนุษย์ละเอียด   ที่ฝันออกไปนั้นเรียกว่า จิตในจิต

    ธรรมในธรรม   เห็นธรรมในธรรมเนืองๆ เป็นไฉนเล่า   ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์  มีอยู่ในศูนย์กลางกายมนุษย์   ขนาดเท่าฟองไข่แดงของไก่   ติดอยู่ในกลางกายมนุษย์   นี่เห็นธรรมในธรรมหละ   ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดมีอยู่   ไม่เท่าฟองไข่แดงของไก่   2 เท่าฟองไข่แดงของไก่   อยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดนี่แหละ   2 เท่าฟองไข่แดงของไก่   นั่นเป็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด   นั่นอีกดวงหนึ่ง  นั่น เห็นอย่างนี้   “เห็น” หรือ “รู้” ล่ะ   รู้กับเห็นมันต่างกันนะ   เห็นอย่างหนึ่ง รู้อย่างหนึ่ง นะ   ไม่ใช่ เอา “รู้” กับ “เห็น” มาปนกัน ไม่ได้

    กาเย กายานุปสฺสี เห็นกายในกาย   เห็นเหมือนอะไร   เห็นเหมือนนอนฝันอย่างนั้นซี   เห็นจริงๆ อย่างนั้น   ตากายมนุษย์นี่เห็นหรือ   ตากายฝันมันก็เห็นละซี   จะไปเอาตากายมนุษย์นี่เห็นได้อย่างไรล่ะ   ตากายมนุษย์นี่มันหยาบนี่   อ้ายที่เห็นได้นั่นมันตากายมนุษย์ละเอียดนี่   มันก็เห็นกายโด่ๆ อย่างนั้น

    เห็นเวทนาในเวทนา เล่า   ถ้าว่าเมื่อทำถูกส่วนเข้าเช่นนั้นละก้อ   เห็นเวทนาจริงๆ   สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์   ดีใจ เสียใจ  เวทนา 3 หรือ เวทนา 5  เห็นจริงๆ  เป็นดวง  เป็นดวงใส   เวทนา  เวทนาแท้ๆ  สุขก็ดวงใส  ทุกข์ก็ดวงข้นดวงขุ่น  ไม่สุขไม่ทุกข์ก็ดวงปานกลาง   เห็นชัดๆ  เป็นดวงขนาดไหน   ถ้าเต็มส่วนมันเข้าก็เท่ากับดวงจันทร์ดวงอาทิตย์นั่น   ดวงเวทนาขนาดนั้น   ถ้าลดส่วนลงไปก็โตได้เล็กได้   นั่นเห็นเวทนาในเวทนา   เห็นอย่างนั้นเชียว   เห็นเหมือนนอนฝัน   กายละเอียดทีเดียว   เห็นเวทนาเป็นดวงทีเดียว   แต่ว่าสุขก็อยู่ในสุขของมนุษย์นี่   ทุกข์ก็อยู่ในทุกข์ของมนุษย์นี่   ไม่สุขไม่ทุกข์ก็อยู่ในไม่สุขไม่ทุกข์ของมนุษย์นี่   ดีใจ ก็อยู่ในดีใจของมนุษย์นี่   เสียใจก็อยู่ในเสียใจของมนุษย์นี่   เขาเรียกว่า เวทนาในเวทนา   เป็นดวงพอๆ กัน  เท่าๆ กัน

    เห็นจิตในจิต ล่ะ   ดวงจิตตามส่วนของมันก็เท่าดวงตาดำข้างนอก   ถ้าไปเห็นเข้ารูปนั้น   มันขยายส่วน   วัดเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เหมือนกัน   ดวงจิตก็ขนาดเดียวกัน   ไปเห็นจริงๆ   เข้าเช่นนั้น   ขยายส่วนเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์   ปรากฏอยู่ในดวงจิตกายมนุษย์หยาบนี่แหละ   แต่ว่าเป็นดวงจิตของกายมนุษย์ละเอียด   อยู่ในกายมนุษย์ละเอียดโน่น   แต่ว่าล้อมอยู่ข้างในนี่แหละ

    เห็นธรรมในธรรม ล่ะ   ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์  ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่   เมื่อไปเห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดเข้าแล้ว   ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ก็ขยายส่วนได้   โตได้ขนาดดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เหมือนกัน   ขนาดๆ เดียวกัน  ขยายส่วนออกไป   นั้นได้ชื่อว่า เห็นธรรมในธรรม  คือในกายมนุษย์นั้นเอง   ในกายมนุษย์ละเอียดนั้น   นี่รู้จักชั้นหนึ่งละนะ

    เมื่อเห็นเข้าเช่นนี้เราจะทำอย่างไร   ตำรากล่าวไว้ว่า อาตาปี เพียรให้กลั่นกล้าอาจหาญทีเดียว   เพียรไม่ย่อไม่ท้อไม่ถอยทีเดียว   เป็นเป็นเป็น ตายเป็นตายทีเดียว   เพียรกันจริงๆ   ต้องใช้ความเพียรประกอบด้วยองค์ 4 ทีเดียว   ประกอบด้วยองค์ 4 นั่นอะไรบ้างล่ะ   เนื้อ เลือด กระดูก หนัง   เนื้อเลือดจะแห้งเหือดหมดไปไม่ว่า   เหลือแต่กระดูกหนังช่างมัน   ไม่ละล่ะ   ใจต้องจรดอยู่ทีเดียว   ในกาย เวทนา จิต ธรรมนั้น   ไม่เคลื่อนล่ะ  ใจจะต้องจรดอยู่ทีเดียว  ไม่ปล่อยกันละ   ฝันไม่กลับกันละ   ฝันกันเรื่อย   แม้จะกลับมาก็เล็กน้อย   ฝันมันอีก   ฝันไม่เเลิกกันละ   ให้ชำนาญทีเดียว     นั่งฝันนอนฝัน   นั่งก็ฝันได้   นอนก็ฝันได้   เดินก็ฝันได้   ยืนก็ฝันได้   ขี้เยี่ยวฝันได้ทีเดียว   นี่เขาเรียกว่า อาตาปี เพียรเร่งเร้าเข้าอย่างนี้   สมฺปชาโน สติมา รู้อยู่เสมอ   ไม่เผลอ   เผลอไม่ได้   เผลอหายเสีย    ถ้าได้ใหม่ๆ ละ ถ้าเป็นใหม่ๆ เป็นใหม่ๆ เผลอไม่ได้ หายเสีย  ไม่เผลอกันทีเดียว   ไม่วางธุระ  เอาใจใส่    ไม่เอาใจไปจรดอื่น   จรดอยู่ที่กาย เวทนา จิต ธรรม ในกายนั่น

    จรดอยู่ที่กายในกาย  เวทนาในเวทนา  จิตในจิต  ธรรมในธรรม   4 อย่างนั่นจรดได้หรือจรดตรงไหนละ   ที่จรดเขามี   ที่ตั้งของใจเขามี   ที่จรดเขามี   แต่ว่าที่ 4 อย่างนั้นจะดูเวลาไรเห็นเวลานั้น เหมือนกายมนุษย์นี่   ถ้าว่ามีความเห็นละก็ ก็จะเห็นปรากฏ    ทีนี้ไม่มีความเห็น มีแต่ความรู้   กายของตัวเห็นอยู่เสมอ   เวทนาของตัวก็รู้สึกอยู่เสมอ   จิตของตัวก็รู้สึกอยู่เสมอ จะคิดอะไร    ธรรมของตัวก็รู้อยู่เสมอ   ความดีของตัวไม่มีชั่ว ไ่ม่เจือปน   มนุษย์รู้ได้เท่านี้    ส่วนกายมนุษย์ละเอียดเห็น เห็นปรากฏ   เมื่อเห็นปรากฏดังนี้ละก็   นี่แหละ ความจริงในพระพุทธศาสนา   รู้จักเท่านี้แหละ และก็เมื่อรู้จักเท่านี้    อย่ารู้จักเพียงกายในกาย   เวทนาในเวทนา  จิตในจิต  ธรรมในธรรม แต่เพียงเท่านั้นนะ   ยังมีอีกหลายชั้น   นับชั้นไม่ถ้วน    นี่ชั้นหนึ่งละนะ  เข้าไปอีกชั้นหนึ่ง กายในกายนั่น เขาเรียกว่า ฝันในฝัน ยังไงล่ะ    ฝันในฝัน   ไอ้กายที่ฝันไปน่ะไปทำการงานเหนื่อยเข้า  ไปแสดงฝันเต็มเปรมของการฝันเข้า    เหนื่อยก็ไปนอนหลับเข้า    นอนหลับฝันเข้าอีกแน่ะ   ไอ้กายฝันก็ฝันเข้าอีก   นี่เขาเรียกว่า ฝันในฝัน     ฝันในฝันมันเป็นยังไงล่ะ   ลุกออกไปอีกกายหนึ่งน่ะซิ   ออกไปอีกกายก็เป็นกายทิพย์   อันนี้เป็นกายทิพย์   ออกไปอีกกาย เป็นกายทิพย์     กายทิพย์ก็เห็นโด่อีกนั้นแหละ   เหมือนกับกายมนุษย์ที่ฝันนั่นแหละ   แบบเดียวกัน   ไม่เปลี่ยนไม่แปลงอะไรกัน  หน้าตา   เอากระจกคันฉ่องมาส่องเงาหน้า  เอามาเทียบกันดู   จำได้ทีเดียว   นีคนเดียวกัน  ไม่ใช่แยกจากคนนี้ไป คนเดียวกัน   เมื่อรู้จักเช่นนั้นน่ะ เห็นกายในกายที่ 3 เข้าไปแล้ว   ไม่ใช่ที่ 2 แล้ว   เวทนาก็แบบเดียวกัน   เห็นอย่างเดียวกัน   เวทนาตั้งอยู่ตรงไหน   ถ้าเขาถามว่าเวทนาตั้งอยู่ตรงไหน ที่เห็นน่ะ   อยู่กลางกาย   กายที่ฝันในฝันนั่นแหละ   กายที่ 3 นั่นแหละ   อยู่กลางกายนั่นแหละเวทนา จิตในจิตล่ะ จิตก็อยู่ในกลางเวทนานั่นแหละ   ธรรมในธรรมก็อยู่กลางจิตนั่นแหละ   ธรรมในธรรมน่ะไม่ได้อยู่ที่ไหนหรอก   เป็นดวงเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์   บริสุทธิ์สนิทเท่าๆ กัน   นี้เหมือนฝันในฝัน ตัวจริงอย่างนี้   ไม่ใช่คลาดเคลื่อน   ที่วัดปากน้ำดำเนินปฏิบัติ   น่ะไม่ได้เอาเรื่องอื่นมาเหลวไหล    ค้นเข้าไปตัวจริงในตัวอย่างนี้   นี่ก็เป็น 2 กายละนะ   เข้าไป 3 กายแล้ว  กายฝันในฝันแล้ว  ได้เท่านี้ก็พอแล้วนี่    ได้เท่านี้ก็พอเอาเป็นตัวอย่างได้แล้ว   ทีนี้ก็เดินไปในแนวนี้ตำรานี้ อย่าถอยหลังก็แล้วกัน   มันจะมีสักกี่ร้อยพันกายก็ไปเถอะ    กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม เข้าไปอย่างนี้แหละ   ไม่คลาดเคลื่อนทีเดียว   แต่ว่าที่จะเข้ารูปนี้น่ะ   แสดงไว้วานแล้ว  แสดงไว้เมื่อวันพระแล้ว   แสดงไว้แล้วตั้งแต่ เอกายนมรรค มาโน่้น   ยังค้างอยู่   กายในกายยังไม่ได้อธิบายให้กว้างออกไป   ก็รึจะอธิบายให้กว้างออกไปว่า ได้ความอย่างนี้   กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม   อย่างนี้แหละ นี่เป็นกายที่ 3

    กายที่ 4    กายทิพย์น่ะฝันอีก ฝันในฝันเข้าไปอีก  เป็น 3 ชั้น  3 ฝันแล้ว    แบบเดียวกัน  พอเห็นกาย ก็เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม แบบเดียวกัน   แบบเดียวกันน่ะแหละ  แล้วกายทิพย์ละเอียดนั่นแหละฝันเข้าไปในฝันเข้าอีก   เป็น 4   ฝัน 4 ชั้นเข้าไป   ก็เห็นกาย เวทนา จิต ธรรม อีก   ก็มีความเพียรไปอีก   อย่าเผลอ ไม่ได้นะ   เพียรไว้ มีสติไว้เสมอ   ไม่เผลอ    เพียรไว้ มีสติไว้เสมอ   นำอภิชฌาโทมนัสในโลกเสีย   อย่าให้ความดีใจเสียใจแลบเข้าไปได้นะ   ถ้าความดีใจเสียใจแลบเข้าไปได้เดี๋ยวก็ต้องเลิกฝันละ ต้องตื่นหละ   ต้องกลับมาแล้ว   ฝันไม่ได้ซะแล้ว   ความดีใจแลบเข้าไป   แลบเข้าไปยังไงล่ะ   แลบเข้าไปมันลึกซึ้งนัก   กำลังฝันๆ อย่างนั้นแหละ   ความดีใจ จะให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้เข้าไปแต่งแล้ว  เสียใจ มันก็ไม่ได้สมเจตนาก็เสียใจละ   พอดีใจเสียใจแวบเข้าไปก็ขุ่นมัวทีเดียว   ประเดี๋ยวก็ต้องถอยออก   ต้องฝันไม่ได้ ต้องเลิกฝันกัน   เพราะฉะนั้นความดีใจเสียใจนี่ร้ายนัก   ไม่ใช่ร้ายแต่เมื่อเวลาปฏิบัติธรรมะ   เห็นธรรมะอย่างนี้นะ   ถึงเวลาเราดีๆ อยู่   อ้ายความดีใจเสียใจนี่แหละ ตีอกชกใจน่ะ กินยาตาย   ผูกคอตาย  โดดน้ำตาย    ดีใจเสียใจนี่แหละมันเต็มขีดเต็มส่วนของมันเข้า บังคับอย่างนี้   เพราะฉะนั้นความดีใจเสียใจนี่เป็นมารร้ายทีเดียว   ถ้าว่าใครให้เข้าไปอยู่ในใจบ่อยๆ แล้วก็หน้าดำคร่ำเครียดซิ   กายไม่สดชื่นซิ   ไม่เศร้าหมองไม่ผ่องใสหรอก   เพราะอะไร  มันดีใจเสียใจ บังคับใจมัน เดือดร้อนมัน   หน้าดำคร่ำเครียดทีเดียว   ก็บางคนไม่อ้วนทีเดียว   ผอม ผอมเกลียวทีเดียว   ไอ้นี่มันเอาความดีใจเสียใจหมกมาทุกวัน   ไม่ปล่อยมันออกไป   ถ้าว่าทำใจให้สบาย  ให้ชื่นมื่น ให้เย็นอกเย็นใจ  สบายใจ   จะมั่งมีดีจนอะไรก็ช่าง   ทำใจให้เบิกบานไว้   ทำใจให้สบายไว้  ร่างกายมันก็ชุ่มชื่นสบาย   นี่อ้ายดีใจเสียใจมันฆ่ากายมนุษย์อย่างนี้   กายมนุษย์ละเอียดก็ฆ่า   กายทิพย์ก็ฆ่า   กายทิพย์ละเอียดก็ฆ่า   ฆ่าทั้งนั้น   ทุกกาย   ดีใจเสียใจน่ะคอยระวังไว้   ท่านจึงได้สอนนักว่า นำความดีใจและเสียใจในโลกเสียให้พินาศ

    ดีใจเสียใจในโลกนี่นะ   ดีใจเสียใจในอัตตภาพร่างกาย   โลกน่ะคือ ขันธ์ 5 นี้แหละ ร่างกายอันนี้แหละมันตัวโลกสำคัญละ   เขาเรียกว่า สัตว์โลก    โอกาสโลก  ขันธโลก สัตว์โลก     โอกาสโลก  ว่างๆ   ที่ว่างๆ อยู่นี้    ที่ว่างๆ เปล่า ดิน น้ำ ไฟ ลม วิญญาณ อากาศ นี่เขาเรียกว่าโอกาสโลก     ขันธโลก ที่มันรวมเป็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเดียว   สัตวโลก ไอ้ที่อาศัยขันธ์นั่นแหละไปเกิดมาเกิด ไอ้ที่เป็นกายๆ เข้าไปในข้างใน นี่เป็นสัตว์ทั้งนั้น    เป็นกายเข้าไปข้างใน เป็นชั้นๆๆ เข้าไป   สัตวโลกเป็นชั้นๆ เข้าไป   สัตวโลกทั้งนั้น   เมื่อเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรมของกายมนุษย์ละเอียดแล้ว  กายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละฝันในฝันเข้าไปอีก เป็นข้อที่ 4 ออกไปอีกกาย

    ธรรมในธรรมของกายมนุษย์-กายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียดแล้ว,   กายทิพย์ละเอียดนั่นแหละ ฝันในฝัน เป็นข้อที่ 4 ออกไปอีกกาย

    เป็นกายที่ 5 ก็คือ กายรูปพรหม   กายรูปพรหมก็มีกาย เวทนา จิต ธรรม เหมือนกัน ปรากฏดังกล่าวแล้ว   ไม่ต้องอธิบาย   เวลาจะไม่พอ   ย่นย่อพอควรแก่กาลเวลา   กายรูปพรหมนั่นแหละ ฝันในฝันเข้าไปได้อีกเหมือนกัน ออกไปอีกกาย   เป็น รูปพรหมละเอียด   [ก็เห็น]กาย เวทนา จิต ธรรม อีกแบบเดียวกัน   กายรูปพรหมละเอียด ฝันในฝันเข้าไปอีก ได้อีกเหมือนกัน   ออกไปอีกกาย   เรียกว่า กายอรูปพรหม   มี กาย เวทนา จิต ธรรม แบบเดียวกัน   กายอรูปพรหมฝันออกไปอีกได้เหมือนกัน  ออกไปอีกกายเรียกว่า กายอรูปพรหมละเอียด   มี กาย เวทนา จิต ธรรม แบบเดียวกัน   กายอรูปพรหมละเอียดนั่นแหละ ฝันในฝันเหมือนกัน  ออกไปอีกกายหนึ่ง  เรียกว่า กายธรรม

    กายธรรม   ก็มี กาย เวทนา จิต ธรรม เหมือนกัน    กายก็คือ ธรรมกาย  เวทนาก็คือ เวทนาของธรรมกายนั้น   จิตก็จิตของธรรมกายนั้น   ธรรมก็เป็นธรรมของธรรมกายนั้น   ขยายส่วนแน่ะ    ดวงใหญ่ วัดผ่าเส้นศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกาย   ธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมนั่น   นั่นดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายเท่าหน้าตักธรรมกาย   ธรรมกายนั่นแหละฝันได้อีกเหมือนกัน   ออกไปอีกกาย  เรียกว่า กายธรรมละเอียด   ใหญ่ออกไป   หน้าตัก 5 วา  สูง 5 วา   เกตุดอกบัวตูม   ใสหนักเข้าไป   มี กาย เวทนา จิต ธรรม เหมือนกัน

    ธรรมกายละเอียดนั่นแหละฝันออกไปอีกเหมือนกัน   ออกไปอีกกาย   มีกายพระโสดา   เป็น กายพระโสดา   หน้าตัก 5 วา  สูง 5 วา   เกตุดอกบัวตูม  ใสหนักขึ้นไป   กายพระโสดานั่นแหละ   พอประกอบธาตุธรรมถูกส่วนเข้า   ออกไปอีกกาย  แบบฝันนั่นแหละ  ออกไปอีกกาย   เป็น กายพระโสดาละเอียด   หน้าตักกว้าง 10 15วา   สูง 10 15วา   มี กาย  เวทนา  จิต  ธรรม  เหมือนกัน

    ธรรมกายละเอียดของพระโสดานั่นแหละ  ฝันเข้าไปอีกเหมือนกัน   ออกไปอีกกายหนึ่ง   เรียกว่า ธรรมกายพระสกิทาคา   หน้าตัก 10 วา   สูง 10 วา เกตุดอกบัวตูม  ใสหนักขึ้นไป   มี กาย เวทนา จิต ธรรม แบบเดียวกัน   มีกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม แบบเดียวกัน    พระสกทาคาก็ฝันเข้าไปอีก  ออกไปอีกกายหนึ่ง   เป็น กายพระสกทาคาละเอียด   หน้าตัก 15 วา   สูง 15 วา   มี กาย เวทนา จิต ธรรม แบบเดียวกัน   มี กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม แบบเดียวกัน

    กายพระสกทาคาละเอียดฝันไปอีกเหมือนกัน   ออกไปอีกกายหนึ่ง   เรียกว่า  กายพระอนาคา   หน้าตัก 15 วา  สูง 15 วา  ธรรมกายพระอนาคาฝันไปอีกเหมือนกัน  ออกไปอีกกายหนึ่ง   เรียกว่า กายพระอนาคาละเอียด   หน้าตัก 20 วา  สูง 20 วา

    ธรรมกายพระอนาคาละเอียดฝันไปได้อีกเหมือนกัน  ออกไปอีกกายหนึ่ง   เรียกว่า กายพระอรหัต   หน้าตัก 20 วา  สูง 20 วา   เกตุดอกบัวตูม   ใสหนักขึ้นไป   กายพระอรหัต นั้นแหละฝันไปอีกเหมือนกัน  ออกไปอีกกายหนึ่ง   เรียกว่า กายพระอรหัตละเอียด   ใหญ่หนัก ขึ้นไป   มี กาย  เวทนา  จิต  ธรรม  แบบเดียวกัน   ฝันออกไปอย่างนี้แหละ   มี กายพระอรหัต-พระอรหัตละเอียดๆๆ   นับอสงไขยไม่ถ้วน

    ฝันออกไปอย่างนี้แหละ   ตรวจกายพระอรหัต   มีกายพระพุทธเจ้าอีกก็ได้   กายในกาย   กายในๆๆๆๆ   มันอย่างนี้แหละ  ผู้เทศน์นี้ได้ทำวิชชานี้ 23 ปี   ออกพรรษา   วันออกพรรษานี้   ก็ 3 เดือนเต็มล่ะ   ยังไม่หมดกายละเอียดเหล่านี้เลย   ไม่ได้ถอยกลับเลย   ยังไม่หมดกายละเอียดเหล่านี้เลย   ยังไม่ถึงที่สุด   ไปทูลถามพระพุทธเจ้าองค์เก่าองค์แก่ที่เข้านิโรธเข้านิพพานไปแล้ว   ถอยเข้าไปหากายละเอียดนี้นะ   ไปถึงแล้วหรือยัง   ยังไม่มีใครรู้เลยว่าไปถึงหรือไม่มีใครไปถึง   เอาละซิคราวนี้   นี่ศาสนาตัวจริงของกายมนุษย์เป็นอย่างนี้   เมื่อเป็นพระอรหันต์ขึ้น   ก็ต้องไปตรวจของตัว   เข้านิพพานแล้วต้องไปตรวจของตัว   เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าขึ้นแล้ว   เข้านิพพาน  ก็ต้องไปตรวจกายของตัวอย่างนี้แหละ ว่าที่สุดอยู่ที่ไหน   ต้องไปถึงที่สุดให้ได้   ต้องไปบอกที่สุดให้ได้   นี่ความจริงเป็นอย่างนี้   เมื่อรู้จักความจริงอย่างนี้แล้วละก็ อย่าเหลวไหล   อย่าเลอะเทอะ   ที่อื่นไม่ใช่ของตัว   ให้เอาใจจรดจี้อยู่ในตัว   ไม่มีถอยกลับ   ให้เข้าไปถึงกายที่สุดให้ได้  ว่ากายที่สุดของตัวอยู่ที่ไหน   เมื่อไปถึงที่สุดของตัวได้ละก้อ ตัวก็รักษาตัวได้   ไม่มีใครมาเป็นอิสระ   ไม่มีใครมาบังคับบัญชา   ถ้ายังไม่ถึงที่สุดของตัวแล้วก็อย่าหมายเลย   เขาจะต้องบังคับบัญชาแต่ท่าเดียวเท่านั้นแหละ   แกจะต้องเป็นบ่าวเป็นทาสของเขา   เวลามีพญามารมาบังคับ  ใช้ให้เป็นบ่าวเป็นทาส   ให้ทำอะไรทำได้   ให้ด่า ให้ตี ให้ชก ให้ฆ่า ให้ฟันกันก็ได้   ธรรมกาย อ้า! มาร  (ฝ่ายอกุศล)  บังคับ   มันบังคับได้อย่างนี้   ให้เป็นบ่าวเป็นทาสเขา   ให้เลวทรามต่ำช้า   ให้เป็นคนจนอนาถาติดขัดทุกสิ่งทุกอย่าง   เครื่องกินเครื่องใช้ขาดตกบกพร่อง   เครื่องกินเครื่องใช้มากมีมูลมอง   จะใช้สอยก็มี   ทำได้   มารเขาทำได้   บังคับได้   เมื่อเป็นเช่นนี้  เพราะตัวไม่เป็นอิสระในตัว   เพราะตัวไม่เป็นใหญ่ในตัว   เพราะตัวไม่รู้จักที่สุดของตัว   นี่มนุษย์โง่ขนาดนี้ เห็นไหมล่ะ   ไม่ใช่มนุษย์โง่เท่านั้น   พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ท่านก็ไปไม่ถึงที่สุดเหมือนกัน   ถ้าใครไปยังไม่ถึงที่สุดก็ยังไม่ฉลาดเต็มที่   ต่อเมื่อใดไปถึงที่สุดกายของตัว   ไม่มีสุดต่อไปแล้วนั่นฉลาดเต็มที่แล้ว   ตัวของตัวเองเป็นที่พึ่งแก่ตัวเองได้แล้ว   นี้เป็นข้อสำคัญอย่างนี้นะ   นี่เจอพุทธศาสนานี่แหละเป้าหมายใจดำ   อย่าไปทำแง่อื่น   อย่าไปหลงเน้อ   อย่าไปหลง   เลอะเทอะเหลวไหล   เอ้า! ต่างว่ามีครอบครัวแล้ว   ได้อะไรบ้าง   ได้ลูกคนหนึ่ง   แล้วเอามาทำไมล่ะ   เอามาเลี้ยง   เด็ก 10 คน   เอ้า! เอาไว้เลี้ยงอย่างไงก็เลี้ยงไป   บ่นโอ๊กแล้ว   เด็ก 10 คนนั่นแหละ   เอ้าได้ 50 คน   เอ้า! เอาละซิทีนี้   เอ้า! เปะปะไปซี   เอ้า! อยากได้ลูกใช่ไหมล่ะ   ไม่จริง   เหลว!   โกหกตัวเอง   โกงตัวเอง   พาให้เลอะเลือน   ไม่เข้าไปค้นกายของตัวให้ถึงที่สุด   ไม่ให้ตรวจตัวถึงที่สุด   เป็นมนุษย์กับเขาทั้งที   เพราะเชื่อกิเลสเหลวไหลเหล่านี้แหละพาให้เลอะเลือน   จะครองเรือนไปสักกี่ร้อยปีก็ครองไปเถิด   งานเรื่องของคนอื่นเขาทั้งนั้น   เรื่องของพญามารทั้งนั้น   ไม่ใช่เรื่องของตัว   ไม่ใช่งานของตัว   ไปทำงานให้พญามารเขาทั้งวันทั้งคืน   เอาเรื่องอะไรไม่ได้

    เพราะอะไรล่ะ  เพราะไม่รู้อิโหน่อิเหน่   เกิดมาพบอย่างไงก็ไปอย่างนั้นแหละ   เพราะไม่ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์   นี่ไม่ได้ฝึกใจในธรรมของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์   ไม่ได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ   ไม่ได้ฝึกใจของสัตบุรุษ   ความเห็นก็พิรุธเหลวไหลไปดังนี้   เมื่อรู้จักหลักอันนี้แล้ว   นี่แหละ เป็นความจริงทางพระพุทธศาสนาตัวจริงทีเดียว   นี้เป็นข้อที่ลึกซึ้ง

    ให้หนึ่งไว้ในใจว่า   ต่อแต่นี้ไปเราจะต้องเข้าให้ถึงที่สุด   เข้าไปในกายที่สุดของเราให้ได้   เป็นกายๆ ออกไป   เมื่อเป็นกายๆ เข้าไปแล้ว   ถ้าทำเป็นแล้ว   ไม่ใช่เดินท่านี้นะ   เดินในไส้ทั้งนั้นๆ   ไส้เห็น ไส้จำ ไส้คิด ไส้รู้  ในกำเนิดดวงธรรมที่ทำให้เป็นสุดหยาบสุดละเอียด  เถา ชุด ชั้น ตอน ภาค พืด...  เดินไส้ทั้งนั้น  (หยุดในหยุด กลางของหยุดในหยุดๆๆๆ)   เดินไส้ ไม่ใช่ เดินท่าอื่น   เดินในกลางดวงปฐมมรรค  มรรคจิต  มรรคปัญญา  เดินไปในกลางดวงศีล  สมาธิ  ปัญญา  วิมุตติ  วิมุตติญาณทัสสนะ  นั้นเป็นทางเดินของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์   เดินไปในไส้  ไม่ใช่เดินไปในไส้เพียงเท่านั้น   ในกลางว่างของดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน  ของดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ  ว่างในว่างเข้าไป   ในเหตุว่างในเหตุว่าง  เหตุเปล่า  ในเหตุดับ  เหตุลับ  เหตุหาย  เหตุสูญ  เหตุสิ้นเชื้อไม่เหลือเศษในเหตุไม่เหลือเศษ  หล่อเลี้ยง  เป็นอยู่  ปราสาท  เหตุรส  เหตุชาติ  เหตุไอ  เหตุแก๊ส  เหตุแก๊สกรด  หนักเข้าไป  เหตุสุดในเหตุสุด  ในแก๊สกรดหนักเข้าไปอีก   ไม่มีถอยหยุดกลับ   นับอสงไขยไม่ถ้วน   นับชาติอายุบารมีไม่ถ้วน1  ไม่มีถอยกลับกัน   เดินเข้าไปอย่างนี้นะ   พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ไม่ใช่เดินโลเลเหลวไหลนะ   ที่เรากราบที่เราไหว้เรานับถือนะ   ท่านวิเศษวิโสอย่างนี้   นี่แหละเป็นผู้วิเศษแท้ๆ   นี่แหละเป็นที่พึ่งของสัตว์โลกแท้ๆ   ท่านเป็น ผู้รู้จริง เห็นจริง ได้จริง   เราจึงเอาเป็นตำรับตำราได้   เมื่อรู้จักหลักธรรมอันนี้แล้ว   อย่าเข้าใจว่าได้ฟังง่ายๆ นะ   ตั้งแต่เราเกิดมาเป็นภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา น่ะ   อย่างนี้ไม่เคยได้ฟังเลยไม่ใช่หรือ   ไม่เคยฟัง   ได้ฟังแล้วจำเอาไว้   ทำให้เป็นเหมือนอย่างแสดงนี้ทุกสิ่งทุกประการ   ไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา

    ที่ได้ชี้แจงแสดงมานี้   ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา   ตามมตยาธิบาย  พอสมควรแก่เวลา   เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้น จนอวสานนี้   สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า   อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา  สมมติว่ายุติธรรมมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้   เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.

    1 มีรายละเอียดอยู่ในหนังสือ "วิชชามรรคผลพิสดาร" (สำหรับผู้ถึงธรรมกายที่สามารถเจริญวิชชาขั้นละเอียดด้วยเจโตสมาธิแล้ว) เป็นการทำวิชชาสะสางธาตุธรรม โดยเข้าให้ถึงต้นๆ ธาตุ ต้นๆ ธรรม เพื่อเก็บอวิชชาธรรมฝ่ายดำ หรือดับอวิชชา อันเป็นมูลรากฝ่ายเกิดทุกข์ทั้งมวล ให้เหลือเป็นแต่เฉพาะบุญกุศล และแก้ธาตุธรรมสายกลางให้กลับเป็นฝ่ายขาวด้วย จึงเป็นวิชชาที่คมกล้ายิ่งนัก ที่ให้ผลเป็นความบริสุทธิ์แก่ ทั้งฝ่ายผู้เจริญ กับทั้ง ผู้ที่ถูกแก้ไข ตามส่วน   เพราะเหตุนี้ พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ จึงได้เคยกล่าวไว้ว่า "ธรรมกายคนหนึ่ง [ที่สามารถเจริญวิชชาขั้นละเอียดได้] ช่วยคนได้ครึ่งเมือง"
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,472
    การแสดงตนเป็นพระพุทธเจ้าต้นธาตุต้นธรรม เป็นไปได้หรือไม่ ?

    ถาม


    ถ้ามีพระภิกษุผู้สอนธรรม ได้แสดงแก่ผู้มาปฏิบัติธรรม ให้เป็นที่เข้าใจในหมู่ศิษยานุศิษย์ว่า ท่านเป็นพระพุทธเจ้าองค์ต้นธาตุต้นธรรมที่สุด จะให้ธรรมหรือจะให้ธรรมกายแก่ผู้ใด หรือไม่ให้ก็ได้ แล้วแต่ท่าน จะเป็นไปได้หรือไม่เพียงใดครับ ? และถ้าไม่จริงอย่างนั้น พระภิกษุผู้ที่พูดหรือแสดงให้เป็นที่เข้าใจในหมู่ผู้เข้ามาศึกษาและปฏิบัติธรรมเช่นนั้น จะถือว่าท่านมุสาหรือเปล่าครับ ?

    ตอบ:

     
     
    ปัญหานี้อาตมาจะขอแยกตอบเพียง 2 ประเด็นใหญ่ๆ   ก็คงจะพอเข้าใจได้ตลอด  คือ

    ถ้ามีพระภิกษุแสดงว่าท่านเป็นพระพุทธเจ้าองค์ต้นธาตุต้นธรรมที่สุด  จะให้ธรรมหรือจะให้ธรรมกาย หรือจะไม่ให้แก่ใครก็ได้แล้วแต่ท่าน
    ข้อนี้ตอบได้เลยว่า ไม่จริง  เป็นไปไม่ได้   แม้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งตรัสรู้แล้วเองโดยชอบ  เป็นผู้ทรงคุณอันประเสริฐสูงสุด  เป็นที่ประจักษ์แก่พระสงฆ์สาวกผู้ศึกษาและปฏิบัติตามพระธรรมของพระองค์ท่าน ก็ยังไม่เคยแสดงพระองค์ว่าเป็นผู้ให้ธรรมหรือธรรมกายแก่ใคร    มีแต่ทรงแสดงว่า พระพุทธองค์เป็นแต่ผู้บอกหรือชี้ทางให้   ธรรมเป็นเรื่องที่แต่ละบุคคลจะพึงบรรลุและรู้เองเห็นเอง

    มีพระพุทธพจน์ตรัสไว้ชัดเจนว่า “... พราหมณ์  เราจะทำอย่างไรได้   ตถาคตเป็นเพียงผู้บอกหนทางให้...” (พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ คณกโมคคัลลานสูตร ว่าด้วยการศึกษาและการปฏิบัติเป็นขั้นตอน ข้อ 101-103)

    และโปรดดูในบทสรรเสริญพระธรรมคุณที่พุทธศาสนิกชนสวดกันเป็นประจำที่ว่า "สนฺทิฏฺฐิโก" อันผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง และ "ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ" อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

    พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ  พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)   ก็ไม่เคยปรากฏว่าท่านเคยแสดงไว้เช่นนั้น มีแต่ท่านแสดง (จากข้อความที่ถอดเทปไว้) ว่า  ท่านศึกษาและปฏิบัติธรรมมาตั้งแต่บวชมิได้หยุดเลย   บัดนี้ (ขณะที่สอนและบันทึกเทปนี้) ทั้งเรียนและทั้งสอนด้วย   ไม่เห็นว่าท่านได้เคยแสดงว่าท่านบรรลุธรรมสูงสุดแต่ประการใด

    แล้วยิ่งถ้าเป็นพระภิกษุที่มาบวชในพระพุทธศาสนานี้ เพิ่งจะได้มาเรียนรู้ธรรมปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกายของพระพุทธเจ้าแต่เพียงครึ่งๆ กลางๆ บางส่วน  จากที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำท่านได้สั่งสอนถ่ายทอดไว้ดีแล้วทุกแง่ทุกมุม   จะไปวิเศษวิโสกว่าพระพุทธเจ้า หรือแม้แต่กว่าพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ  ซึ่งท่านได้ถ่ายทอดวิชชานี้เอาไว้ก่อนแล้วได้อย่างไร

    ถ้าถึงขั้นจะให้ธรรมหรือให้ธรรมกาย หรือจะไม่ให้แก่ใครๆ ก็ได้   เช่นนั้นก็นับว่า พระภิกษุรูปนั้นทรงคุณวิเศษสูงกว่าพระพุทธเจ้าเสียอีก

    ถ้าเช่นนั้นลองขอให้ท่านเหาะเหินเดินอากาศให้ดูหน่อยปะไร   เอาแค่คุณธรรมเพียงเศษธุลีพระพุทธเจ้าเท่านั้นแหละ หรือลองสังเกตภิกษุรูปนั้นดูว่า  กิเลสประเภทโลภ โกรธ หลง เพียงขั้นหยาบๆ นี้แหละ ว่ายังมีอยู่ หรือว่าหมดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหานแล้ว    ถ้าเห็นว่ายังมีโลภ โกรธ หลงอยู่  ก็อย่าได้ไปหลงเชื่อ   ถ้ามีพระภิกษุประเภทนี้นะ โกหกทั้งเพ

    ถ้าเป็นพระภิกษุได้แสดงออกให้ใครก็ตามที่เป็นผู้ใหญ่รู้เดียงสาแล้ว ให้ได้ยิน ได้ฟัง ได้รู้ และเข้าใจความ ตามที่พระภิกษุนั้นกล่าวแสดงเช่นนั้นออกไปแม้เพียงครั้งเดียว   ไม่ว่าจะเป็นการแสดงออกหรือการปฏิญญาโดยตรง  หรือว่าจะเป็นการใช้เล่ห์ กโลบาย และการแนะนำธรรมในเชิงชี้นำให้ศิษยานุศิษย์เห็นเป็นเช่นนั้น ด้วยเจตนาจะอวดอุตตริมนุษยธรรมอันไม่มีจริงในตน ตามพระวินัยพุทธบัญญัติ  ภิกษุรูปนั้นย่อมต้องอาบัติปาราชิก ในฐานอวดอุตตริมนุษยธรรมอันไม่มีจริงในตนไปทันที ณ บัดนั้น.
    (ผู้ถาม: คุณโอภาส เครือวัลย์ 2530)
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,472
    สำหรับผู้เจริญภาวนาได้ถึงธรรมกาย


    และได้ฝึกสับกาย-ซ้อนกาย เจริญฌานสมาบัติ ดีพอสมควร และได้พิจารณาสติปัฏฐาน 4 พอให้มีพื้นฐานทั้งสมถะและวิปัสสนาดีพอสมควรแล้ว ให้ฝึกเจริญฌานสมาบัติพิจารณาอริยสัจ 4 เข้ามรรคผลนิพพานต่อไป









    ให้รวมใจของทุกกายอยู่ ณ ศูนย์กลางธรรมกายอรหัตที่ละเอียดที่สุด



    เอาใจธรรมกายอรหัตเป็นหลัก


    เจริญฌานสมาบัติ (รูปฌาน 4) หมดพร้อมกันทุกกายหยาบกายละเอียด




    โดยอนุโลมและปฏิโลม 1-2-3 เที่ยว ให้ใจผ่องใสจากกิเลสนิวรณ์ อ่อนโยน ควรแก่การงาน



    แล้วธรรมกายพระอรหัตที่สุดละเอียด ทำนิโรธ ดับสมุทัย คือพิสดารธรรมกายอรหัตในอรหัตออกจากฌานสมาบัติ (ไม่ต้องพิจารณาอารมณ์ฌาน)

    ผ่านศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม อันเป็นที่ตั้งของธาตุ-ธรรม และเห็น-จำ-คิด-รู้ อันเป็นที่ตั้งของกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ของกายโลกียะ สุดกายหยาบกายละเอียด (มนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหม)ปหานอกุศลจิตของกายในภพ 3



    ให้เป็นแต่ใจ คือญาณรัตนะของธรรมกายที่บริสุทธิ์ล้วนๆ จนสุดละเอียด


    ปล่อยอุปาทานขันธ์ 5 และความยินดีในฌานสมาบัติได้ (แม้ชั่วคราว) เป็นวิกขัมภนวิมุตติ โคตรภูจิตยึดหน่วงพระนิพพานเป็นอารมณ์อยู่แล้วนั้น







    1.ใช้ตา (ญาณ) พระธรรมกายพิจารณาอริยสัจที่กลางกายมนุษย์ เห็นแจ้งแทงตลอดอริยสัจเหล่านี้พร้อมกับเดินสมาบัติ เมื่อถูกส่วนเข้า พระธรรมกายก็ตกศูนย์เป็นดวงใส วัดผ่าศูนย์กลาง 5 วา ในไม่ช้าศูนย์นั้นก็กลับเป็นพระธรรมกาย หน้าตักกว้าง 5 วา สูง 5 วา เกตุดอกบัวตูม นี้เป็นธรรมกายพระโสดา กล่าวคือ

    เมื่อผู้ปฏิบัติภาวนาสามารถเจริญปัญญารู้แจ้งในพระสัจจธรรมดังกล่าวแล้ว ธรรมกายโคตรภูละเอียดก็ตกศูนย์ แล้วธรรมกายพระโสดาปัตติมรรคก็ปรากฏขึ้นปหาน (ละ) สังโยชน์เบื้องต่ำ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และ สีลัพพตปรามาสได้แล้ว ธรรมกายพระโสดาปัตติมรรคก็ตกศูนย์ ธรรมกายพระโสดาปัตติผลก็จะปรากฏขึ้นเข้าผลสมาบัติ พิจารณาปัจจเวกขณ์ 5 คือ พิจารณามรรค, ผล, กิเลสที่ละได้, กิเลสที่ยังเหลือ และ พิจารณาพระนิพพาน ได้บรรลุมรรคผลเป็นพระโสดาบัน และก็จะเห็นธรรมกายพระโสดาปัตติผลใสละเอียดอยู่ตลอดเวลา ไม่กลับมัวหมองหรือเล็กเข้ามาอีก





    2.แล้วธรรมกายพระโสดานั้นเข้าฌาน พิจารณาอริยสัจของกายทิพย์ ให้เห็นจริงในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ทำนองเดียวกับที่กล่าวมาแล้ว เมื่อถูกส่วนเข้า ธรรมกายพระโสดาก็ตกศูนย์เป็นดวงใส วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ 10 วา ในไม่ช้า ศูนย์นั้นก็กลับเป็นพระธรรมกาย หน้าตักกว้าง 10 วา สูง 10 วา เกตุดอกบัวตูม นี่เป็นธรรมกายพระสกิทาคามี กล่าวคือ





    เมื่อธรรมกายพระสกิทาคามิมรรคปรากฏขึ้นกำจัดสังโยชน์ และสามารถละโลภะ โทสะ และ โมหะ จนเบาบางลงมากแล้ว ก็จะตกศูนย์ และปรากฏธรรมกายพระสกิทาคามิผลเข้าผลสมาบัติ และพิจารณาปัจจเวกขณ์ 5 ได้บรรลุมรรคผลเป็นพระสกิทาคามี และท่านก็จะเห็นธรรมกายพระสกิทาคามีใสละเอียดอยู่ตลอดเวลา



    3.แล้วธรรมกายพระสกิทาคามีนั้นเข้าฌาน ดูอริยสัจของกายรูปพรหมให้เห็นจริงในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เมื่อถูกส่วนเข้า ธรรมกายพระสกิทาคามีก็ตกศูนย์เป็นดวงใส วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ 15 วา ในไม่ช้า ศูนย์นั้นก็กลับเป็นพระธรรมกาย หน้าตักกว้าง 15 วา สูง 15 วา เกตุดอกบัวตูม นี่เป็นธรรมกายพระอนาคามี กล่าวคือ

    เมื่อธรรมกายพระอนาคามิมรรคปรากฏขึ้นปหานกามราคานุสัยและปฏิฆานุสัยได้อีก แล้วก็จะตกศูนย์ ปรากฏธรรมกายพระอนาคามิผล เข้าผลสมาบัติ และพิจารณาปัจจเวกขณ์ 5 ได้บรรลุมรรคผลเป็นพระอนาคามีบุคคล และท่านจะเห็นธรรมกายพระอนาคามีใสละเอียดอยู่ตลอดเวลา







    4.แล้วธรรมกายพระอนาคามีนั้นเข้าฌาน ดูอริยสัจของกายอรูปพรหมให้เห็นจริงในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เมื่อถูกส่วนเข้า ธรรมกายพระอนาคามีก็ตกศูนย์เป็นดวงใส วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ 20 วา เกตุดอกบัวตูม นี่เป็นธรรมกายพระอรหัตแล้ว กล่าวคือ

    เมื่อธรรมกายพระอรหัตตมรรค ปรากฏขึ้นปหานสังโยชน์เบื้องสูงอีก 5 ประการ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และ อวิชชาได้โดยเด็ดขาดแล้ว ก็ตกศูนย์ ธรรมกายพระอรหัตตผลก็จะปรากฏขึ้น เข้าผลสมาบัติ และพิจารณาปัจจเวกขณ์ 4 คือ พิจารณามรรค ผล กิเลสที่ละได้หมด และพิจารณาพระนิพพาน ได้บรรลุมรรคผล เป็นพระอรหันตขีณาสพ แล้วท่านจะเห็นธรรมกายพระอรหัตของท่านใสละเอียดและมีรัศมีสว่างอยู่ตลอดเวลา ไม่กลับมัวหมองหรือเล็กลงอีก และก็จะมีญาณหยั่งรู้ว่าท่านได้บรรลุพระอรหัตตผลแล้ว

    เมื่อได้กายพระอรหัตนี้แล้ว ก็ให้ซ้อนสับทับทวีกับพระนิพพานต้นๆ ไปจนสุดละเอียด แล้วหยุด ตรึกนิ่ง เพื่อฟังตรัสรู้ในธรรมที่ควรรู้อีกต่อไป





    การเจริญสมาบัติพิจารณาพระอริยสัจทั้ง 4 นี้ เมื่อกำหนดรู้ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และ มรรค ด้วยสัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ แล้ว ญาณทั้ง 3 กลุ่มนี้เองที่เป็นปัญญาผุดรู้ขึ้นมาเองในระหว่างการปฏิบัติ เป็นปัญญาที่ทำให้รู้ว่าสัจจธรรมนั้นมีจริง ถ้าเพียรปฏิบัติอย่างถูกต้อง ไม่ท้อถอย ก็จะพ้นจากทุกข์ได้ ญาณทั้ง 3 กลุ่ม รวม 12 ญาณของอริยสัจ ในตอนนี้ เปรียบเหมือนจอบเสียมที่นำมาใช้ในการขุดพื้นดิน เพื่อกระแสธารปัญญาจะสามารถไหลไปสู่นิพพิทาญาณ ทีนั้น ญาณทั้ง 12 ญาณของอริยสัจ จะวิวัฒนาการเป็นความเห็นแจ้งในปฏิจจสมุปบาทธรรม 12 ทำให้สามารถกำหนดรู้อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และ สมุทัย ซึ่งเป็นต้นทางให้กำหนดรู้อริยสัจ และ พระไตรลักษณ์ขั้นละเอียด ว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา และ สพฺเพ ธมฺมา (สังขาร/สังขตธรรม ทั้งปวง) อนตฺตา ซึ่งเป็นธรรมาวุธอันคมกล้า ปหานสังโยชน์พินาศไปในพริบตา





    ญาณทั้ง 3 กลุ่ม คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ อันให้เห็นแจ้งในอริยสัจ 12 นี้ จะเห็นและกำหนดรู้ได้เป็นอย่างดี โดยทางเจโตสมาธิ หรือ วิชชาธรรมกาย ด้วยประการฉะนี้แล ในพระไตรปิฎกมีระบุไว้อย่างชัดแจ้ง ไว้ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ปฐมเทศนา พระวินัยปิฎก ข้อ 15 และ 16 ว่า เป็นญาณทัสสนะมี รอบ 3 มีอาการ 12
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,472
    ธรรมปฏิบัติ 9 ภาษาใช้ประโยชน์อะไร กับพระเทพญาณมงคล เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรม

    [​IMG]

    ชมรายละเอียดที่ ...........

    https://youtu.be/YYp8dlSq7Uk


    ............................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 999.JPG
      999.JPG
      ขนาดไฟล์:
      73.3 KB
      เปิดดู:
      225
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 กรกฎาคม 2015
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,472
    [​IMG]

    - เมื่อเจริญภาวนาวิชชาธรรมกายชั้นสูงแล้ว มีวิชชาที่ไขอายุให้ยืนยาวขึ้น แต่มีความคิดว่าเมื่ออายุยาวแล้วจะเป็นภาระของคนอื่น จึงตั้งจิตอธิษฐานขอให้มีอายุเพียง 70 ปี อยากทราบว่าจะผิดหรือถูก ?




    ตอบ:

    เรื่องวิชชานั้น ถ้าทำถูกทำดีก็มีผล แต่จะมีผลมากหรือผลน้อยขึ้นอยู่ที่ผู้ทำวิชชานั้นทำถูกเพียงไร ที่พูดมิได้มีเจตนาอวดอุตตริมนุษยธรรมนะครับ พระพุทธเจ้า เคยตรัสกับพระอานนท์ว่า ถ้าพระอานนท์ได้ทูลขอชีวิตของพระองค์ไว้ให้ยืนยาวแม้เป็นกัปป์ ถ้าพระองค์ทรงรับ ก็ทรงมีพระชนมายุยืนยาวได้ด้วยการเจริญอิทธิบาท 4ในระดับฌาน นั่นหมายถึงว่า วิชชาลึกๆ ของพระพุทธเจ้าทรงมีอยู่ จึงตรัสอย่างนั้นว่า มีได้เป็นได้...
    แต่สำหรับท่านผู้ถามมานี้ ได้ขอไว้ว่าจะขอมีอายุเพียง 70 ปี ได้ใหม ? ไม่มีปัญหา ก็ต้องลองดูซิ และท่านถามว่าจะดีไหม ? ก็ตอบว่า ดี แต่ให้เฉลียวใจสักนิดว่า ถ้าท่านลองอธิษฐานโดยไม่จำกัดเวลา แต่อธิษฐานให้มีชีวิตอยู่ถึงเท่าที่สามารถจะช่วยตัวเองได้โดยไม่เป็นภาระของคนอื่น ก็อาจจะได้ผลอยู่ว่า การอธิษฐานแม้เพียงเล็กน้อย ก็มีได้เปรียบกับเสียเปรียบภาคมาร ภาคมารเขาคอยสอดละเอียดอยู่เรื่อย ระวังนะข้ออธิษฐาน แต่ก็แล้วแต่ความพอใจของท่าน สมมติว่า ถ้าเป็นอาตมา อาตมาจะอธิษฐานว่า “ขอให้มีอายุอยู่ทำประโยชน์แก่ตนเองและประโยชน์กับผู้อื่นให้มากที่สุด ให้ยืนยาวที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยที่สังขารร่างกายนี้ อย่าให้ถึงขั้นต้องลำบากจนช่วยตนเองไม่ได้ และต้องเป็นภาระแก่ผู้อื่นมากมายเลย” ถ้าอธิษฐานอย่างนี้ก็กว้างๆ ดี เป็นอันว่าเราก็ไม่ต้องไปคิดว่าจะตายเมื่อไหร่ อธิษฐานไว้ก็แล้วแต่บุญแต่กรรม ไม่ต้องไปคิดว่าจะให้ตายเมื่อนั้นเมื่อนี้อย่างนี้ ก็คงจะดีกว่า
    สมมติว่าทำได้จริง สมมติว่าท่านทำได้ถึงอายุ 90 ปี โดยที่ไม่ต้องให้ใครพยุงลุกพยุงนั่ง สามารถทำประโยชน์ตนประโยชน์ท่านได้มาก ไม่เอาหรือ ? เพราะว่าสังขารร่างกายของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน คือบางคนแม้จะมีอายุมากก็ยังแข็งแรงพอใช้ได้อยู่
    ดังตัวอย่างครั้งเมื่อยังเป็นฆราวาส อาตมาเคยไปทอดกฐิน มีโยมคนหนึ่งอายุ 93 ปี นั่งอยู่ใกล้อาตมา เพียงแต่หูตึงไปหน่อยเท่านั้น แก่ปูนนั้นยังสามารถขึ้นบันไดไปพร้อมกับอาตมา ไปวัดหลวงปู่สิม ที่ถ้ำผาปล่อง บันไดเป็นร้อยขั้น แกก็ขึ้นได้ แถมยังสูบบุหรี่ซิการ์ตัวยาว เรานั่งใกล้แก พ่อคุณเอ๊ย เราเมาซิการ์ไปด้วยเลย แกสูบซิการ์ตัวโต พ่นควันขโมง พูดเสียงดัง ทำไมถึงพูดเสียงดัง แกบอกว่าหูมันตึง กลัวคนอื่นไม่ได้ยินเหมือนที่แกไม่ค่อยได้ยินคนอื่นพูด แต่เดินกระฉับกระเฉง เพราะฉะนั้นอย่าไปคาดคะเนว่าแก่เกิน 70 แล้วจะแย่เสมอไป นี้เอาแน่ไม่ได้ ควรตั้งจิตอธิษฐานกว้างๆ ให้มีประโยชน์สูงสุดเอาไว้ คิดให้รอบคอบก่อนอธิษฐาน เวลาจะอธิษฐานอะไร จงคิดให้รอบคอบก่อน จะได้ไม่เสียท่าภาคมารเขา
    การอธิษฐานนี่ดีนะ เวลาเราทำบุญก็จงอธิษฐานว่า ขอจงเป็นพลวปัจจัยให้ถึงมรรคผลนิพพานที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ทั้งปวง ที่เป็นบรมสุข ก็จะเป็นอานิสงส์ส่งผลประคับประคองการดำเนินชีวิตของเรา ให้มุ่งตรงต่อมรรคผลนิพพาน ให้ตรงแน่วอย่างนี้ดีทั้งนั้นแหละ...



    ***พระเทพญาณมงคล (หลวงป๋า) วัดหลวงพ่อสดฯ
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,472
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,472
    ขันธปริตร

     

    [​IMG]
     



    6 มิถุนายน 2497

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)

    วิรูปกฺเขหิ เม เมตฺตํ เมตฺตํ เอราปเถหิ เม
    ฉพฺยาปุตฺเตหิ เม เมตฺตํ เมตฺตํ กณฺหาโคตมเกหิ จ
    อปาทเกหิ เม เมตฺตํ เมตฺตํ ทิปาทเกหิ เม
    จตุปฺปเทหิ เม เมตฺตํ เมตฺตํ พหุปฺปเทหิ เม
    มา มํ อปาทโก หึสิ มา มํ หึสิ ทิปาทโก
    มา มํ จตุปฺปโท หึสิ มา มํ หึสิ พหุปฺปโท
    สพฺเพ สตฺตา สพฺเพ ปาณา สพฺเพ ภูตา จ เกวลา
    สพฺเพ ภทฺรานิ ปสฺสนฺตุ มา กิญฺจิ ปาปมาคมา
    อปฺปมาโณ พุทฺโธ   อปฺปมาโณ ธมฺโม  อปฺปมาโณ สงฺโฆ   ปมาณวนฺตานิ สิรึสปานิ   อหิ วิจฺฉิกา สตปที อุณฺณานาภี สรพู มูสิกา    กตา เม รกฺขา    กตา เม ปริตฺตา    ปฏิกฺกมนฺตุ ภูตานิ    โสหํ นโม ภควโต    นโม สตฺตนฺนํ สมฺมาสมฺพุทฺธานนฺติ.



    ณ บัดนี้ อาตมภาพจะได้แสดงธรรมีกถา แก้ด้วย ขันธปริตร คำว่า ปริตร แปลว่า ความรักษา ขันธปริตร แปลว่า รักษาขันธ์ ความรักษาขันธ์ ความคุ้มครองขันธ์ ความป้องกัน ขันธ์ เรียกว่า “ขันธปริตร” ขันธปริตรนี้เป็นวิชชาในพระพุทธศาสนา สัตว์ต่างๆ มีมากมาย หลายประการ มนุษย์บางพวกไม่อาจจะสู้สัตว์เดรัจฉานเหล่านั้นได้ บางพวกอาจสู้สัตว์ เดรัจฉานทั้งหลายเหล่านั้นได้ พวกที่สู้สัตว์เดรัจฉานทั้งหลายเหล่านั้นไม่ได้ ต้องใช้ความ อ่อนน้อมเป็นสามัคคีน้ำหนึ่งใจเดียวกับสัตว์เดรัจฉาน ถ้าว่าอาจจะสู้สัตว์เดรัจฉานเหล่านั้น ได้ ไม่ต้องอ่อนน้อม ไม่ต้องสามัคคีกับสัตว์เดรัจฉาน ปราบสัตว์เดรัจฉานเหล่านั้นวอดวาย ไปหมด ถ้าว่าไม่อาจจะสู้สัตว์เดรัจฉานเหล่านั้นได้ ต้องใช้อ่อนน้อม เพราะฉะนั้น มนุษย์ หญิงก็ดี ชายก็ดี คฤหัสถ์ บรรพชิต หญิง ชาย ไม่ว่า ถ้าอ่อน ให้อ่อนละมุนละไม ใช้ได้ ถ้าแข็ง ให้แข็งเป็นเหล็กก็ดี ใช้ได้ ใช้ในโลกได้อย่างดีแท้ ถ้าแข็ง แข็งอย่างเหล็ก ถ้าอ่อน อ่อนอย่าง สำลี ใช้ได้ดีอย่างนี้ สำลีนะ ใช้ได้ดีนัก ทั้ง 2 อย่างนี้ดีที่สุด อ่อน อ่อนอย่างสำลีดีที่สุด แข็ง แข็งอย่างเพชรที่ดีที่สุด เด็ดเดี่ยว ทีเดียว 2 อย่างนี้แหละ จำไว้เป็นตำรา ถ้าจะเป็นคนอ่อน อ่อนให้ใช้ได้ ถ้าจะเป็นคนแข็ง แข็งให้ใช้ได้เหมือนกัน อย่างนี้เรียกว่าคนมีปัญญา ทาง พระพุทธศาสนาก็ใช้เช่นนั้น

    ส่วนพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่อ่อนน้อมต่อผู้ใด แข็งจริงๆ ไม่ใช่แข็งพอดี พอร้าย สัตว์ใดจะมาปล้นพระองค์เป็นไม่มีเด็ดขาด อย่าว่าแต่มนุษย์ แม้แต่สัตว์เดรัจฉาน เช่น พญานันโทปนันทนาคราช มาแข็งกระด้างต่อพระองค์เข้า พระองค์ก็ปราบพญานันโทปนันทนาคราชเสีย หรือ อาฬวกยักษ์ พระองค์ไม่สามารถจะลดหย่อนให้ผู้หนึ่งผู้ใด แข็งเป็นเพชรทีเดียว ปราบอาฬวกยักษ์เสีย ให้อยู่เป็นสาวกของพระองค์ ให้อยู่ในความ ปกครองของพระองค์เสีย นี่ท่านแข็งดีอย่างนี้ จึงเรียกว่าแข็ง ให้แข็งเป็นเพชร ถ้าอ่อน ให้ อ่อนเป็นสำลี อ่อนเป็นสำลีใช้เป็นผ้าห่มกันหนาวก็ได้ ใช้เป็นหมอนหนุนก็ได้ ใช้ปั่นเป็นผ้า ทำนุ่งทำห่มได้ สำเร็จประโยชน์แก่มนุษย์ นี้อ่อนเป็นสำลีอย่างใช้ได้ เพราะฉะนั้น เราท่าน ทั้งหลาย หญิงชายทุกถ้วนหน้า เมื่อจะฟังในขันธปริตร ขันธปริตรนี้ แปลว่า ความคุ้มครอง ป้องกันขันธ์ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของมนุษย์นี้ ไม่คุ้มครองป้องกันไม่ได้ อันตรายมากนัก อันตรายมากทีเดียว

    สัตว์ในมนุษย์โลก ถูกอสรพิษกัดในปีหนึ่งๆ หมดสิ้นเท่าไร ตั้งร้อย ไม่ใช่ร้อยสองร้อย ถูกงูเด็ดชีวิตเสีย ประหารเสีย นี่งูร้ายนัก งูเล็กๆ น้อยๆ ไม่ร้ายเท่าพญานาค พญานาคตัว ใหญ่ๆ ร้ายนัก พ่นพิษตายทีเดียว นี่อันตรายมากมายทีเดียว เพราะฉะนั้น อันตรายทั้งหลาย เหล่านี้ เราจะสู้ด้วยวิธีใด ทางพระพุทธศาสนาสอนไว้ว่า ในขันธปริตร แปลเป็นภาษาไทย ว่า วิรูปกฺเขหิ เม เมตฺตํ ให้ตั้งใจลงไปว่าความเป็นมิตรของเรา จงมีแก่พญานาคทั้งหลาย สกุลวิรูปักข์ด้วย เมตฺตํ เอราปเถหิ เม ความเป็นมิตรของเรา จงมีแก่พญานาคทั้งหลาย สกุลเอราบถด้วย ฉพฺยาปุตฺเตหิ เม เมตฺตํ ความเป็นมิตรของเรา จงมีแก่พญานาคทั้งหลาย สกุลฉัพยาบุตรด้วย เมตฺตํ กณฺหาโคตมเกหิ จ ความเป็นมิตรของเรา จงมีแก่พญานาค ทั้งหลาย สกุลกัณหาโคตมกะด้วย อปาทเกหิ เม เมตฺตํ ความเป็นมิตรของเรา จงมีแก่สัตว์ ทั้งหลายที่ไม่มีเท้า เมตฺตํ ทิปาทเกหิ เม ความเป็นมิตรของเรา จงมีแก่สัตว์ทั้งหลายที่มี เท้าสองด้วย จตุปฺปเทหิ เม เมตฺตํ ความเป็นมิตรของเรา จงมีแก่สัตว์ทั้งหลายที่มีเท้า 4 ด้วย เมตฺตํ พหุปฺปเทหิ เม ความเป็นมิตรของเรา จงมีแก่สัตว์ทั้งหลายที่มีเท้ามากด้วย มา มํ อปาทโก หึสิ ขอสัตว์ไม่มีเท้าอย่าเบียดเบียนเราเลย มา มํ หึสิ ทิปาทโก ขอสัตว์มีเท้าสอง อย่าเบียดเบียนเราเลย มา มํ จตุปฺปโท หึสิ ขอสัตว์มีเท้า 4 อย่าเบียดเบียนเราเลย มา มํ หึสิ พหุปฺปโท ขอสัตว์มีเท้ามากอย่าเบียดเบียนเราเลย สพฺเพ สตฺตา สพฺเพ ปาณา สพฺเพ ภูตา จ เกวลา ขอสรรพสัตว์ทั้งหลาย ที่มีชีวิตทั้งหลาย ที่เกิดแล้วทั้งสิ้นทั้งหมด สพฺเพ ภทฺรานิ ปสฺสนฺตุ ขอจงเห็นความเจริญทั้งหลายทั้งนั้นด้วย มา กิญฺจิ ปาปมาคมา ขอความลามก อย่ามาถึงแก่สัตว์เหล่านั้นเลย อปฺปมาโณ พุทฺโธ พระพุทธเจ้าทรงพระคุณล้นพ้น อปฺปมาโณ ธมฺโม พระธรรมเจ้าทรงพระคุณล้นพ้น อปฺปมาโณ สงฺโฆ พระสงฆ์เจ้าทรงพระคุณล้นพ้น ปมาณวนฺตานิ สิรึสปานิ อหิ วิจฺฉิกา สตปที อุณฺณานาภี สรพู มูสิกา ขอสัตว์ทั้งหลาย คือ งู แมงป่อง ตะเข็บ ตะขาบ แมงมุม และหนู ล้วนมีประมาณ กตา เม รกฺขา กตา เม ปริตฺตา ปฏิกฺกมนฺตุ ภูตานิ โสหํ นโม ภควโต นโม สตฺตนฺนํ สมฺมาสมฺพุทฺธานํ อันความรักษาอันเรา กระทำแล้ว ความคุ้มครองอันเรากระทำแล้ว ปฏิกฺกมนฺตุ ภูตานิ ขอพวกสัตว์ที่เกิดแล้วจง หลีกไป ความนอบน้อมเรานั้นมักกระทำความนอบน้อมแก่พระพุทธเจ้าอยู่ ความนอบน้อม ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ทั้งเจ็ดพระองค์ ด้วยประการดังนี้ นี้เนื้อความของพระบาลี ชี้ความเป็นสยามภาษาได้ดังนี้

    ในขันธปริตร ใจความของขันธปริตร ข้อเนื้อความย่อ ขนฺธ แปลว่า “ขันธ์” ขันธ์ 5 มีมาก ไม่ใช่มีน้อย ปริตฺตํ แปลว่า “ความปกครองป้องกัน” ความคุ้มครองป้องกัน เรียกว่า “ปริตร” ขันธ์ 5 มีมาก ขันธ์ 5 ของมนุษย์ ก็ต้องมีความคุ้มครองป้องกัน ของมนุษย์ละเอียด ก็ต้องมีความคุ้มครองป้องกัน ขันธ์ 5 ของทิพย์ ก็ต้องมีความคุ้มครองป้องกัน ขันธ์ 5 ของ ทิพย์ละเอียดก็ต้องมีความคุ้มครองปัองกัน ขันธ์ของรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด อรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด ก็ต้องมีความคุ้มครองป้องกัน ไม่ใช่แต่เพียงเท่านั้น ขันธ์ 5 ของธรรม ธรรมขันธ์ ธรรมกายทั้งหยาบทั้งละเอียด โสดาทั้งหยาบทั้งละเอียด สกทาคาทั้งหยาบ ทั้งละเอียด อนาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด อรหัตทั้งหยาบทั้งละเอียด มีความคุ้มครองป้องกัน ทั้งนั้น

    อันตรายเป็นข้อสำคัญ เพราะเหตุนั้น สัตว์เดรัจฉานอย่างวิรูปักข์ สกุลนาคชื่อว่า วิรูปักข์ สกุลนี้เป็นสกุลสำคัญ มีฤทธิ์มีเดช เหาะเหินเดินอากาศได้ ถอดกายมาเป็นมนุษย์ ก็ได้ พญานาคมีฤทธิ์ขนาดนี้ เมื่อครั้งพุทธกาล ใครๆ ก็กลัว บัดนี้ใครๆ ก็กลัวเหมือนกัน พญานาคไม่ใช่ของพอดีพอร้าย ใครๆ ก็กลัวทั้งนั้น พญานาคชื่อว่าเอราบถ ตระกูลเอราบถ ก็แบบเดียวกัน มีฤทธิ์มีเดชมากมาย ถอดกายเหาะเหินเดินอากาศได้ เป็นมนุษย์ก็ได้ เป็น พญานาคก็ได้ มาปนอยู่ในมนุษย์ ไม่รู้จักแผลงฤทธิ์แผลงเดชมาได้ เรียกว่า เอราบถ ตระกูล พญานาคมีอีก ฉัพยาบุตร ตระกูลใหญ่ๆ ทั้งนั้น ตระกูลพญานาคเหล่านี้เป็นตระกูลสำคัญ แผลงฤทธิ์แผลงเดชได้ดุจเดียวกัน ตระกูลพญานาคที่ 4 เรียกว่า กัณหาโคตมกะ ตระกูล พญานาคพวกนี้เหาะเหินเดินอากาศได้ จำแลงแปลงกายมาเป็นมนุษย์ก็ได้ เป็นภิกษุก็ได้ เป็นอุบาสกอุบาสิกาก็ได้ เป็นมนุษย์คนใดก็ได้ นั่งอยู่ในพวกนี้ไม่มีใครรู้จัก พญานาคแปลงได้ เช่นนั้น ถ้ามีธรรมกายจึงจะรู้จัก ถ้าไม่มีธรรมกายก็ไม่รู้จัก จะเด็ดชีวิตคนหนึ่งคนใดแล้วก็ไม่ ยากนัก มีฤทธิ์มีเดชขนาดนี้

    สกุลเหล่านี้ ผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด บุคคลผู้อ่อนเห็นมีฤทธิ์มีเดชขนาดนี้แล้ว จะทำ อย่างไรกัน ก็ตั้งใจตีสนิทชิดชมกับเขา ประกาศตนลงไปว่า ขอความเป็นมิตรของเราจงมีแก่ พญานาคทั้ง 4 ตระกูลนั้นเถิด นี่อ้อนวอนเขานะ ขอความเป็นมิตรของเรา จงมีแก่พญานาค ทั้ง 4 ตระกูลนั้นเถิด เราไม่อาจสามารถจะสู้ได้ ตีสนิทเข้าไปเป็นมิตร เพื่อเขาจะได้ละเว้นชีวิต ให้ ไม่ประสงค์อะไร เขาจะได้ละเว้นชีวิตให้ เพราะเกรงกลัวต่อเขา นี่พวกหนึ่ง อีกพวกหนึ่ง ดุจสัตว์ไม่มีเท้า สัตว์ 2 เท้า สัตว์ 4 เท้า สัตว์เท้ามาก แมงป่อง ตะเข็บ ตะขาบ เหล่านี้ แมงมุมอย่างนี้ สัตว์เท้ามากทั้งนั้น นี่ก็ให้ร้ายเหมือนกัน ให้ปวดร้ายเหมือนกัน มีฤทธิ์เหมือน กัน ไม่ใช่พอดีพอร้าย สัตว์ 4 เท้า เสือ ราชสีห์ หมี เม่น เหล่านี้ สัตว์มีพิษร้ายทั้งนั้น นี่สัตว์ 4 เท้า สัตว์ 2 เท้า มนุษย์ร้ายกว่าใครๆ ทั้งหมด ประเทศต่อประเทศรบกันทีเดียว นี่ร้ายนัก มนุษย์ร้ายกว่าใครๆ ทั้งหมด สัตว์ไม่มีเท้า พวกคืบคลานต่างๆ บริวารของพญานาคเหล่านั้น เป็นสัตว์ไม่มีเท้า เท้าเหี้ยน ในสัตว์จำพวกนี้แหละ เราก็ต้องเกรงเขาอยู่เหมือนกัน มนุษย์ ตายเพราะสัตว์พวกนี้ไม่ใช่น้อย ปีหนึ่งๆ ให้นึกดูเถอะ เพราะฉะนั้น ผู้ที่ประพฤติตัวอ่อน ต้องยอมเป็นมิตรกับเขาเสีย กับสัตว์พวกเหล่านี้ ต้องยอมเป็นมิตรกับเขาเสีย ไม่ทำเขา เขาจะได้ไม่ทำเราต่อไป ขอเป็นมิตรกันเสีย เป็นเพื่อนสหายกันเสีย เขาจะได้ไม่ทำลายชีวิตเรา นี่ผู้ประพฤติอ่อน ประพฤติอย่างนี้อ่อนน้อมต่อเขา ขอเป็นมิตรต่อเขา จึงได้ขอในตอนท้าย ว่าขอสัตว์ไม่มีเท้าจงอย่าเบียดเบียนเราเลย ขอสัตว์มีเท้าสองอย่าเบียดเบียนเราเลย ขอสัตว์ มีเท้า 4 อย่าเบียดเบียนเราเลย ขอสัตว์มีเท้ามากอย่าเบียดเบียนเราเลย สพฺเพ สตฺตา สพฺเพ ปาณา สพฺเพ ภูตา จ เกวลา สพฺเพ ภทฺรานิ ปสฺสนฺตุ ว่า สพฺเพ สตฺตา สพฺเพ ปาณา สพฺเพ ภูตา จ เกวลา ขอสัตว์ทั้งสิ้นที่เกิดทั้งหมด สพฺเพ ภทฺรานิ ปสฺสนฺตุ จงเห็นความเจริญ ทั้งหลายทั้งนั้นด้วย มา กิญฺจิ ปาปมาคมา ความลามกอะไรๆ อย่ามาถูกต้องกระทบสัตว์ ทั้งหลายเหล่านั้นเลย

    บทก่อนแปลเมตตาในเมตตานิสังสกถาโน้น ในขันธปริตรนี้ก็เหมือนกับเมตตา แต่ว่า ไม่เชิงนัก แต่ว่าแสดงความเป็นมิตร นั่นแสดงความเมตตา นี่แสดงความเป็นมิตร ต่างกัน เท่านั้น สัตว์ทั้งหลายมีมากน้อยเท่าใด อปฺปมาโณ พุทฺโธ พระพุทธเจ้าทรงพระคุณไม่มี ประมาณ อปฺปมาโณ ธมฺโม พระธรรมทรงพระคุณไม่มีประมาณ อปฺปมาโณ สงฺโฆ พระสงฆ์ ทรงพระคุณไม่มีประมาณ ปมาณวนฺตานิ สิรึสปานิ อหิ วิจฺฉิกา สตปที อุณฺณานาภี สรพู มูสิกา ขอสัตว์ทั้งหลาย คือ งู แมงป่อง ตะเข็บ ตะขาบ และแมงมุม และตุ๊กแก หนู สัตว์ เหล่านั้นมีประมาณเท่านั้น พระรัตนตรัย พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ เหล่านี้ ทรงพระคุณไม่มี ประมาณ สัตว์ที่เกิดแล้วทรงพระคุณไม่มีประมาณ ความรักษาอันเรากระทำแล้ว ความ คุ้มครองอันเรากระทำแล้ว สัตว์ที่เกิดแล้วทั้งหลาย หมู่สัตว์ที่เกิดแล้วขอจงหลีกออกไป เรานั้นเป็นผู้นอบน้อมพระผู้มีพระภาคอยู่ การกระทำนอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย ทั้งเจ็ดพระองค์เหล่านั้น อันนี้เป็นความนอบน้อมให้เราระลึกถึงพระพุทธเจ้า สัตว์ทั้งหลาย เหล่านี้ จะทำอันตรายอะไรไม่ได้

    เมื่อพระพุทธเจ้าทรงพระคุณไม่มีประมาณ ชักตัวอย่างเป็นประธาน ดังในห้อง พุทธคุณ พระธรรมทรงพระคุณไม่มีประมาณ ชักตัวอย่างโดยย่อดังบาลีที่ปรากฏในห้อง ธรรมคุณ พระสงฆ์ทรงพระคุณไม่มีประมาณ ชักตัวอย่างดังในห้องสังฆคุณ ว่า อิติปิ แม้ดังนี้ โส ภควา พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น อรหํ ผู้ไกล ผู้ควร ผู้หักเสียซึ่งกงแห่งสงสารจักร สมฺมาสมฺพุทฺโธ ตรัสรู้แล้วเองโดยชอบ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน บรรลุวิชชา 3 วิชชา 8 จรณะ 15 สุคโต ดำเนินงาม ตามอริยมรรคทั้ง 8 โลกวิทู รู้แจ้งโลก อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ เป็นสารถี ผู้ฝึกบุรุษ หาผู้ใดผู้หนึ่งเสมอถึงมิได้ สตฺถา เทวมนุสฺสานํ เป็นศาสดาสั่งสอนเทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย พุทฺโธ เป็นผู้ตื่นแล้ว ภควา เป็นผู้จำแนกธรรมแก่สัตว์ทั้งปวง อปฺปมาโณ พุทฺโธ พระพุทธเจ้าทรงพระคุณไม่มีประมาณ

    สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงดีแล้ว อันพระผู้มี พระภาคเจ้ารับสั่งดีแล้ว สนฺทิฏฺฐิโก ใครได้ ใครถึง ใครปฏิบัติ ก็ได้ด้วยตนเอง อกาลิโก เป็นของไม่มีกาลเวลา เอหิปสฺสิโก เรียกบุคคลอื่นให้เข้าดูก็ได้ อย่างวิชชาที่ปฏิบัติกันที่ วัดปากน้ำนี้ เรียกบุคคลให้เขามาดูก็ได้ ให้คนเรียกเข้าดูก็ได้ แสดงได้หลายประการ โอปนยิโก เป็นของน้อมใส่ใจได้ตามความปรารถนา ไม่ขัดข้อง ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหีติ รู้ได้เฉพาะตน อปฺปมาโณ ธมฺโม พระธรรมทรงพระคุณ ไม่มีประมาณ

    สุปฏิปนฺโน ผู้ปฏิบัติดี อุชุปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติตรง ญายปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติออก จากภพ สามีจิปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติชอบยิ่ง รุดหน้าฝ่ายเดียวไม่ถอยหลัง ภควโต สาวกสงฺโฆ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า จตฺตาริ ปุริสยุคานิ จัดเป็นคู่ 4 อฏฺฐ ปุริสปุคฺคลา จัด คู่แห่งบุรุษได้ 8 อาหุเนยฺโย เป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ปาหุเนยฺโย เป็นผู้ควรแก่ของต้อนรับ ทกฺขิเณยฺโย เป็นผู้ควรแก่ทักษิณาทาน บุคคลผู้ต้องการกุศลในโลกน้อมนำมาถวาย อญฺชลีกรณีโย เป็นผู้ควรคำอัญชลีกรรม นบนอบกราบไหว้ อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส เป็นเขตบุญ ของโลก ไม่มีเขตอื่นยิ่งขึ้นไปกว่านี้ ดังนี้ นี้เป็นเนมิตตกนาม เป็นคุณของพระสงฆ์ อปฺปมาโณ สงฺโฆ พระสงฆ์ทรงพระคุณไม่มีประมาณ

    พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์นี้ บุคคลที่เข้าถึงแล้ว ถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ถึงพระพุทธเจ้า ก็คือตัวธรรมกาย ถึงธรรมกายก็เหมือนถึงพระพุทธเจ้า ถึงธรรมกาย ได้ ธรรมกาย ไปกับธรรมกายได้ ไปนรก สวรรค์ ไปนิพพานได้ ผู้เข้าถึงไตรสรณคมน์ ถึง พุทธรัตนะเช่นนี้ละก็ จะรู้จักคุณพุทธรัตนะว่า ให้ความสุขแก่ตัวแค่ไหน บุคคลผู้ใดเข้าถึง แล้วก็ปลาบปลื้มเอิบอิ่มตื้นเต็ม สบายอกสบายใจ เพราะพุทธรัตนะบันดาลสุขให้แล้ว ส่ง ความสุขให้แล้ว ถึงว่าจะให้ความสุขสักเท่าไร มากน้อยเท่าไร ตามความปรารถนา สุขกาย สบายใจ เรามีอายุยืนเจริญหนักเข้า มีอายุยืน ทำหนักเข้า ทำชำนาญหนักเข้า ในพุทธรัตนะ มีคุณอเนก เวลาเจ็บก็ไม่อาดูรเดือดร้อนไปตามกาย เวลาจะตายก็นั่งยิ้มสบายอกสบายใจ เห็นแล้วว่า ละจากกายนี้ มันจะไปอยู่โน้น เห็นที่อยู่ มีความปรารถนา นี่คุณของพุทธรัตนะ พรรณนาไม่ไหว นี้เรียกว่า คุณพระพุทธเจ้า คือ ธรรมกาย

    คุณของพระธรรม คือ ธรรมรัตนะ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย นั่นอเนกอนันต์ ทีเดียว เข้าอยู่ในกลางดวงนี้แล้วละก็ สุขก็ต้องอยู่กลางดวงนั่น จะทำอะไรต้องอยู่กลาง ดวง ต้องหยุดอยู่กลางดวงนั่น ถ้าไม่มีดวงพระธรรมแล้ว พุทธรัตนะก็ไม่มีฤทธิ์เหมือนกัน พุทธรัตนะมีฤทธิ์ก็เพราะอาศัยดวงพระธรรมนั้น ธรรมรัตนะนั้น นี่นับประมาณไม่ไหว ทีเดียว อเนกอนันต์ทีเดียว จะทำอะไรก็ได้ทุกสิ่งทุกประการ ไม่เหลือวิสัย ทำได้ทีเดียว เป็นชั้นๆ ขึ้นไป

    สังฆรัตนะเล่า สังฆรัตนะต้องรักษาธรรมรัตนะไว้ ถ้าสังฆรัตนะไม่รักษาธรรมรัตนะ ไว้แล้ว พุทธรัตนะก็อยู่ไม่ได้ ธรรมรัตนะไม่มี ธรรมรัตนะไม่มีแล้ว สังฆรัตนะก็อยู่ไม่ได้ อญฺญมญฺญสมานา อาศัยซึ่งกันและกัน พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ นี้ วัดปากน้ำ เวลานี้ กำลังแจกพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ต่อสมถวิปัสสนาทุกวัน ทุกวันพฤหัสฯ ถ้าว่าจะแจกพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ นี้ นี่แหละเพื่อจะแจก พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ นี้แหละ อโห พุทฺโธ อโห ธมฺโม อโห สงฺโฆ ทีเดียว นี้เป็นข้อสำคัญ วัดปากน้ำกำลังแจกอยู่ ทีเดียว

    พระพุทธศาสนามีแกนอยู่เท่านี้ ไม่มีอื่นกว่านี้ อื่นกว่านี้จะเลอะเทอะ ใช้ไม่ได้ นี่แหละ มีแกนอยู่เท่านี้ ถ้าได้เท่านี้ละก็ เป็นโคตรภูบุคคลก่อน พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ จะให้เข้าถึงพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ เป็นโสดา มีคุณภาพสูงสุดหนักขึ้นไปอีก จะให้เข้าถึงพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ของพระสกทาคา มีคุณภาพสูงหนักขึ้นไปอีก จะให้เข้าถึงพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ของพระอนาคา มีคุณภาพสูงหนักขึ้นไป ไม่มีประมาณ จะให้เข้าถึงพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ จนกระทั่งนับอสงไขยชั้น ไม่ถ้วน นี้ วัดปากน้ำได้พยายามทำอยู่แล้ว 22 ปี เดือน 8 ข้างหน้านี้ กลางเดือน 8 ครบ 23 ปี เต็มเดือนเต็มวันทีเดียว นี้ต้องการพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ อย่างนี้หนา

    เมื่อเข้าถึงพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ อย่างนี้แล้วละก็ ไม่ต้องอ้อนวอนพวก สัตว์เดรัจฉาน พญานาค หรือสัตว์ต่างๆ ก็ช่าง จะทำอะไรก็ช่าง ไม่มีกลัวอะไร ไม่ครั่นคร้าม ต่ออะไร พญานาคมีเท่าไรปราบหมด หรือเทวดามีฤทธิ์มีเดชเท่าไรปราบหมด หรือรูปพรหมมีฤทธิ์มีเดชเท่าไรปราบหมด หรืออรูปพรหมมีฤทธิ์มีเดชเท่าไร เข้าถึงพระรัตนตรัย เสียแล้ว ปราบได้หมด ไม่ต้องกลัวอะไรสักอย่าง เป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้า เก่งกาจขนาดนั้น เพราะฉะนั้น เมื่อใครเข้าถึง พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ได้ชื่อว่า เข้าถึงซึ่งแก้วสารพัดนึก เพราะฉะนั้น ดูตัวอย่างตำราเป็นสำคัญ ที่วัดปากน้ำกำลังปรุงขึ้นอยู่นี้ เวลานี้มีพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ พระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ตั้ง 150 กว่าแล้วนะ ยังไม่ได้ สำรวจอีก 150 กว่าแล้ว นี่แหละตัวจริงในพระพุทธศาสนา ถ้าได้ตัวจริงอย่างนี้แล้ว จะเป็นหญิง เป็นชาย เป็นภิกษุ สามเณร ไม่ว่า มีฤทธิ์มีเดชเป็นมหัศจรรย์นัก ด้วยอานุภาพ พระรัตนตรัย อปฺปมาโณ พุทฺโธ พระพุทธเจ้าทรงคุณไม่มีประมาณ อปฺปมาโณ ธมฺโม พระธรรมทรงคุณไม่มีประมาณ อปฺปมาโณ สงฺโฆ พระสงฆ์ทรงคุณไม่มีประมาณ ด้วย อานุภาพพระรัตนตรัย ซึ่งทรงคุณไม่มีประมาณนี้ จงดลบันดาลความสุขสวัสดิ์อุบัติบังเกิด มีแก่ขันธ์แห่งพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ ทุกถ้วนหน้า ด้วยอำนาจสัจจวาจาที่ได้อ้างธรรมเทศนา ตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุข สวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจง แสดงมา พอสมควรแก่เวลาโดยอรรถนิยมความเพียงนี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,472
    ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ

    ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ
     
     


    [​IMG]





    31 ตุลาคม 2497

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)

    เย ธมฺมา เหตุปพฺภวา เตสํ เหตุํ ตถาคโต
    เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํวาที มหาสมโณ
    อวิชฺชาทีหิ สมฺภูตา รูปญฺจ เวทนา ตถา
    อโถ สญฺญา จ สงฺขารา วิญฺญาณญฺจาติ ปญฺจิเม
    อุปฺปชฺชนฺติ นิรุชฺชนฺติ เอวํ หุตฺวา อภาวโต
    เอวํ ธมฺมา อนิจฺจาติ ตาวกาลิกตาทิโต
    เอตฺตกานมฺปิ ปาฐานํ อตฺถํ อญฺญาย สาธุกํ
    ปฏิปชฺเชถ เมธาวี อโมฆํ ชีวิตํ ยถาติ.





    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา เริ่มต้นแต่ความย่อย่นธรรมเทศนาของ พระบรมศาสดา พระองค์ได้รับสั่งด้วยพระองค์เองว่า ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ ไม่มีเหตุแล้ว ธรรมก็เกิดไม่ได้ นั้นเป็นข้อใหญ่ใจความทางพระพุทธศาสนา ผู้มีปัญญาจะพึงได้สดับในบัดนี้ ตามวาระพระบาลีที่ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นว่า เย ธมฺมา เหตุปพฺภวา เตสํ เหตุ ํ ตถาคโต เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํวาที มหาสมโณ ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าทรงตรัสเหตุ ของธรรมเหล่านั้น และความดับเหตุของธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณเจ้าทรงตรัสอย่างนี้

    นี่เนื้อความของพระบาลีแห่งพุทธภาษิต คลี่ความเป็นสยามภาษา อรรถาธิบายว่า คำว่าเหตุนั้น ในสังคหะแสดงไว้ ฝ่ายชั่วมี 3 ฝ่ายดีมี 3 ดังพระบาลีว่า โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ, อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ มีเหตุ 3 ดังนี้ เพราะท่านแสดงหลักไว้ตามวาระ พระบาลีที่ยกขึ้นไว้นะ ท่านแสดงหลัก ยกเบญจขันธ์ทั้ง 5 มี อวิชชาเป็นปัจจัย วางหลักไว้ ดังนี้ อวิชฺชาทีหิ สมฺภูตา รูปญฺจ เวทนา ตถา อโถ สญฺญา จ เวทนา วิญฺญาณญฺจาติ ปญฺจิเม เบญจขันธ์ทั้ง 5 เหล่านี้ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เกิดพร้อมแต่ ปัจจัยทั้งหลาย มี อวิชชา เป็นต้น เกิดอย่างไรเกิดแต่เหตุ เกิดพร้อมแต่ปัจจัยทั้งหลาย มี อวิชชาเป็นต้น ดังในวาระพระบาลีที่ท่านวางเนติแบบแผนไว้ว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร ดังนั้นเป็นต้น อวิชชาความรู้ไม่จริง มันก็กระวนกระวาย นิ่งอยู่ไม่ได้ ความรนหา ความไม่รู้จริงนั่นแหละ มันก็เกิดเป็นสังขารขึ้น รู้ดีรู้ชั่ว รู้ไม่ดีไม่ชั่ว เข้าไปว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้เกิด วิญญาณ ความรู้ เมื่อมีความรู้ขึ้นแล้ว วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป มันก็ไปยึดเอา นามรูปเข้า นามรูปเป็นปัจจัยให้เกิดสฬายตนะ มีนามรูปแล้วก็มีอายตนะ 6 เข้าประกอบ อายตนะ 6 เป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ เมื่อมีอายตนะ 6 เข้าแล้วก็รับผัสสะ ผัสสะเป็นปัจจัย ให้เกิดเวทนา เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา ความอยากได้ ดิ้นรน กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหามีขึ้นแล้ว เป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน ความยึดถือ อุปาทานมีขึ้นแล้ว เป็นปัจจัยให้เกิดภพ ก็ยึดถือภพต่อไป กามภพ รูปภพ อรูปภพ ภพเป็นปัจจัยให้เกิด ชาติ เมื่อได้ภพแล้วก็เกิดเป็นมนุษย์ก็ดี เป็นสัตว์เดรัจฉานก็ดี 4 กำเนิด เกิดด้วยอัณฑชะ เกิดจากสังเสทชะ เกิดด้วยชลาพุชะ อุปปาติกะ อัณฑชะ เกิดเป็นฟองไข่ สังเสทชะ เกิด ด้วยเหงื่อไคล ชลาพุชะ เกิดด้วยน้ำพวกมนุษย์ อุปปาติกะ ลอยขึ้นบังเกิดอย่างพวกเทวดา สัตว์นรกนี่ อุปปาติกะนี้ที่เกิดขึ้นได้เช่นนี้ ก็เพราะอวิชชานั่นเอง ไม่ใช่อื่น ถ้าอวิชชาไม่มีแล้ว เกิดไม่ได้ อวิชชานะเป็นเหตุด้วย แล้วเป็นปัจจัยด้วย นี่เราท่านทั้งหลายเป็นหญิง เป็นชาย เป็นคฤหัสถ์บรรพชิต เกิดมาได้อย่างนี้

    ความเกิดอันนี้แหละเกิดแต่เหตุ ไม่ได้เกิดแต่อื่น ไม่ว่าสิ่งอันใดทั้งสิ้น ต้องมีเหตุเป็น แดนเกิดทั้งนั้น ถ้าไม่มีเหตุ เกิดไม่ได้ นี่พระองค์ทรงรับรองไว้ตามวาระพระบาลีในเบื้องต้นนั้น

    เมื่อเป็นเหตุเกิดขึ้นเช่นนี้ ท่านวางหลักไว้อีกว่า อุปฺปชฺชนฺติ นิรุชฺฌนฺติ มีดับ มีเกิด เกิดดับนี่เป็นตัวสำคัญ ไม่ใช่เกิดฝ่ายเดียว มีเกิดแล้วมีดับด้วย ความดับนั้น อวิชชาไม่ดับ สังขารก็ดับไม่ได้ สังขารไม่ดับ วิญญาณก็ดับไม่ได้ วิญญาณไม่ดับ นามรูปก็ดับไม่ได้ นามรูปไม่ดับ อายตนะ 6 ก็ดับไม่ได้ อายตนะ 6 ไม่ดับ ผัสสะก็ดับไม่ได้ ผัสสะไม่ดับ เวทนาก็ดับไม่ได้ เวทนาไม่ดับ ตัณหาก็ดับไม่ได้เหมือนกัน ตัณหาไม่ดับ อุปาทานก็ดับ ไม่ได้ อุปาทานไม่ดับ ภพก็ดับไม่ได้ ภพไม่ดับ ชาติก็ดับไม่ได้ ชาติเป็นตัวสำคัญ ไม่หมด ชาติ หมดภพ นี่เขาต้องดับกันอย่างนี้ เมื่อดับก็ดับเป็นลำดับไปอย่างนี้ ได้วางตำราไว้ว่า อวิชฺชายเตฺว อเสสวิราคนิโรธา สงฺขารนิโรโธ อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับไปโดยไม่เหลือ ด้วยมรรคคือวิราคะ สังขารจึงดับ วิญญาณดับกันเรื่อยไป จนกระทั่งถึงชาติโน่น ดับกันหมด ท่านจึงได้ยกบาลีว่า อุปฺปชฺชนฺติ นิรุชฺฌนฺติ ย่อมเกิดย่อมดับดังนี้ อุปฺปชฺชนฺติ นิรุชฺฌนฺติ เกิด ดับหมดทั้งสากลโลก เกิดดับเรื่องนี้ พระปัญจวัคคีย์รับว่าได้ฟังพระปฐมเทศนาธัมมจักกัปปวัตตนสูตรของพระบรมศาสดา รับรองทีเดียวตามวาระพระบาลีว่า อายสฺมโต โกณฺฑญฺญสฺส วิรชํ วีตมลํ ธมฺมจกฺขุํ อุทปาทิ ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ ว่า วิรชํ วีตมลํ ธมฺมจกฺขุํ อุทปาทิ เห็นธรรมอันปราศจากธุลีปราศจากมลทินได้เกิดขึ้นแล้วแก่ผู้มีอายุชื่อว่า อัญญาโกณฑัญญะ เห็นอะไร เห็นเกิดดับนั่นเอง ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา ถ้าย่นลงไป แล้วก็มีเกิดและดับ นี่ตรงกับ อุปฺปชฺชนฺติ นิรุชฺฌนฺติ เกิดดับอยู่อย่างนี้ เมื่อเกิดดับดังนี้แล้ว เอวํ หุตฺวา อภาวโต เอเต ธมฺมา อนิจฺจาติ ตาวกาลิกตาทิโต รูปธรรมนามธรรมเหล่านั้น ไม่เที่ยง เพราะความมีแล้วหามีไม่ รูปธรรมนามธรรมเหล่านั้นไม่เที่ยง เพราะความเป็น เหมือนดังของขอยืม เป็นต้น เหมือนเราท่านทั้งหลายบัดนี้ มีเกิดมีดับเรื่อยไป รูปธรรม นามธรรมที่ได้มานี้ มีแล้วหามีไม่ เพราะความเป็นดังของขอยืมเหมือนกันทุกคน ต้องขอยืม ทั้งนั้น ผู้เทศน์นี่ก็ต้องคืนให้เขา เราๆ ทุกคนก็ต้องคืนทั้งนั้น ขอยืมเขามาใช้ ไม่ใช่ของตัวเลย ความเป็นจริงเป็นอย่างนี้

    เมื่อรู้ความของมันเป็นอย่างนี้แล้ว ท่านจึงได้รับสั่งในคาถาเป็นลำดับไปว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา เมื่อใด บุคคลเห็นตามปัญญาว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง เมื่อนั้นย่อมเหนื่อยหน่ายในทุกข์ เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา นี่เป็นหนทางหมดจดวิเศษ ให้ปัญญาจรดลงตรงนี้นะ ว่าสังขารทั้งหลาย ทั้งปวงไม่เที่ยง ถ้าจริง ไม่เที่ยงอยู่แล้วละก็ ยึดด้วยความไม่เที่ยงนั้นไว้ อย่าให้หายไป ตรึก ไว้เรื่อย สังขารทั้งปวงน่ะ ถ้ามันอยากจะโลดโผนละก้อ สังขารของตัว ปุญญาภิสังขาร สังขารที่ เป็นบุญ อปุญญาภิสังขาร สังขารที่เป็นบาป อเนญชาภิสังขาร สังขารที่ไม่หวั่นไหว กายสังขาร ลมหายใจเข้าออกปรนปรือกายให้เป็นอยู่ วจีสังขาร ความตรึกตรองที่จะพูด จิตสังขาร ความ รู้สึกอยู่ในใจเป็นจิตสังขาร สังขารทั้งหลายเหล่านี้ไม่เที่ยง ไม่เที่ยงจริงๆ แล้วเอาจรดอยู่ที่ ความไม่เที่ยง ตัวก็เป็นสังขารดุจเดียวกัน แบบเดียวกันหมด ปรากฏหมดทั้งสากลโลก ล้วนแต่อาศัยสังขารทั้งนั้น เห็นจริงเช่นนี้แล้ว ก็จะเหนื่อยหน่ายในทุกข์ทีเดียว พอเหนื่อยหน่าย ในทุกข์ ก็รักษาความเหนื่อยหน่ายนั้นไว้ไม่ให้หายไป ช่องนั้นแหละ ทางนั้นแหละหมดจด วิเศษ ระงับความทุกข์ได้แท้ๆ

    แล้วคาถาตามลำดับไปรับรองว่า ปุนปฺปุนํ ปิฬิตตฺตา อุปฺปาเทน วเยน จ เต ทุกฺขาว อนิจฺจา เย อตฺถสนฺตตฺตาทิโต สังขตธรรมทั้งหลายเหล่าใดไม่เที่ยง เมื่อเห็นว่าไม่เที่ยงแล้ว สังขารธรรมทั้งหลายเหล่านั้นเป็นทุกข์แท้ เพราะความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเบียดเบียน อยู่ร่ำไป และเป็นสภาพเร่าร้อน เป็นต้น ไม่เยือกเย็น เป็นสภาพที่เร่าร้อน พระคาถาหลัง รับสมอ้างอีกว่า สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์ เมื่อนั้นย่อม เหนื่อยหน่ายในทุกข์ นี่เป็นวิสุทธิมรรค หนทางหมดจดวิเศษ นี่ให้เห็นว่าสังขารทั้งปวงเป็น ทุกข์ อ้ายสิ่งที่ไม่เที่ยงนั้นแหละเป็นทุกข์แท้ๆ ไม่ใช่เป็นสุข ถ้าว่าเป็นสุขแล้ว มันก็ต้องเที่ยง นี่มันไม่เป็นสุข มันจึงไม่เที่ยง เมื่อมันไม่เที่ยงแล้ว มันเป็นสุขได้อย่างไร มันก็เป็นทุกข์เท่านั้น

    เมื่อรู้จักชัดเช่นนี้แล้ว วเส อวตฺตนาเยว อตฺตวิปกฺขภาวโต สุญฺญตฺตสฺสามิกตฺตา จ เต อนตฺตาติ ญายเร สังขารธรรมทั้งหลายเหล่านั้น บัณฑิตรู้ว่าไม่ใช่ตัว ว่าเป็นอนัตตา เพราะ ความเป็นสภาพไม่เป็นไปตามอำนาจเลย อตฺตวิปกฺขภาวโต เพราะเป็นปฏิปักษ์แก่ตน สุญฺญตฺตสฺสามิกตฺตา จ เป็นสภาพว่างเปล่า เราก็ว่างเปล่า เขาว่างเปล่า ว่างเปล่าหมดทั้งนั้น เอาอะไรมิได้ หาอะไรมิได้เลย ต้นตระกูลเป็นอย่างไร หายไปหมด ว่างเปล่าไปหมด หาแต่ คนเดียวก็ไม่ได้ ว่างเปล่าอย่างนี้ไม่มีเจ้าของ เอ้า! ใครล่ะมาเป็นเจ้าของเบญจขันธ์ คนไหนเล่า เป็นเจ้าของเบญจขันธ์ เป็นเจ้าของไม่ได้เลย ของตัวก็ต้องทิ้ง เอาไปไหนไม่ได้ ทิ้งทั้งนั้น ยืนยัน ว่าเหมือนของขอยืมเขาใช้ทั้งนั้น แล้วก็ต้องส่งคืนทั้งนั้นเอาไม่ได้ เอาอะไรไม่ได้ทั้งนั้น เมื่อรู้จัก หลักจริงดังนี้ ให้ตรึกไว้ในใจ ท่านจึงได้ยืนยันเป็นตำรับตำราไว้ว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ

    เมื่อกี้พูดถึงขันธ์นะ พูดถึงสังขาร นี่มาพูดถึงธรรมเสียแล้ว สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ อถ นิพพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา เมื่อใดบุคคลเห็นตาม ปัญญาว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวงมิใช่ตัว เอ้า! มาเรื่องธรรมเสียแล้ว เมื่อกี้พูดสังขารอยู่ ธรรม ทั้งปวงมิใช่ตัว เมื่อนั้นย่อมเหนื่อยหน่ายในทุกข์ นี้เป็นมรรคาวิสุทธิ์ หรือวิสุทธิมรรค หนทางหมดจดวิเศษ

    นี่ธรรมละ ธรรมทั้งปวงมิใช่ตัวหละ สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ธรรมทั้งปวงมิใช่ตัว นี่ มันอื่นจากสังขารไป มันสังขารคนละอย่าง สังขารอันหนึ่ง ธรรมอันหนึ่ง ไม่ใช่อันเดียวกัน ธรรมทั้งปวงมิใช่ตัว ธรรมที่ทำให้เป็นตัวนะ ที่จะเป็นมนุษย์นี่ก็ต้องอาศัยมนุษยธรรม ที่จะ เป็นกายมนุษย์ละเอียดนี่ก็อาศัยมนุษยธรรม ธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ ธรรมที่เป็นกายทิพย์ อาศัยทิพยธรรม เป็นกายทิพย์ละเอียด อาศัยทิพยธรรม ที่เป็นกายรูปพรหมก็อาศัยพรหมธรรม ที่เป็นกายรูปพรหมละเอียดก็อาศัยธรรมละเอียด ธรรมที่ทำให้เป็นพรหม ที่เป็น อรูปพรหมก็อาศัยธรรมของอรูปพรหม คือ อรูปฌาน ถึงละเอียดก็เช่นเดียวกัน ธรรมนะ เป็นอย่างไร สังขารเป็นอย่างไร ต่างกันหรือ ต่างกัน ไม่เหมือนกัน คนละอัน เขาเรียกว่า สังขารธรรมอย่างไรล่ะ นั่นอนุโลม ความจริง คือ ธรรมน่ะไม่ใช่ตัว ธรรมน่ะไม่ใช่ตัว เราจะ ค้นเข้าไปเท่าไรในตัวเรานี่แน่ะ ค้นเท่าไรๆ ก็ไปพบดวงธรรม

    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ อยู่กลางกายมนุษย์ ใสนักทีเดียว ธรรมดวงนั้นแหละ เราได้มาด้วยกาย วาจา ใจบริสุทธิ์ ถ้าว่าไม่บริสุทธิ์แล้ว ไม่ได้ธรรมดวงนั้น ธรรมดวงนั้นเราเรียกว่าธรรมแท้

    ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละอียด ก็ได้แบบเดียวกัน บริสุทธิ์ของมนุษย์ ธรรมที่ ทำให้เป็นมนุษย์ละเอียด ดวงโตขึ้นไปกว่าธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์เท่าตัว 2 เท่าฟองไข่แดง ของไก่

    ธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ 3 เท่าฟองไข่แดงของไก่

    ธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด 4 เท่าฟองไข่แดงของไก่

    ธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมโตกว่าอีกเท่าหนึ่ง 5 เท่าฟองไข่แดงของไก่

    ธรรมที่ทำให้เป็นรูปพรหมละเอียด ก็โตขึ้นไปอีกเท่าหนึ่ง อย่างเดียวกัน เป็นดวงใส อย่างเดียวกัน 6 เท่าฟองไข่แดงของไก่

    ธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม โตขึ้นไปอีก 7 เท่าฟองไข่แดงของไก่

    ธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด โตขึ้นไปอีก 8 เท่าฟองไข่แดงของไก่

    นั่นดวงนั้นเป็นธรรม พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ที่ได้สำเร็จ ท่านเดินในกลางดวงธรรม นี้ทั้งนั้น เดินด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ในกลางดวงธรรมนี่ทั้งนั้น ไม่เดินในกลางดวงธรรมนี้ สำเร็จไม่ได้ ไปถึงกายเป็นลำดับไปไม่ได้ ดวงธรรมนี้เป็นธรรม สำคัญ ท่านจึงได้ยืนยันว่า ธรรมทั้งปวงเหล่านี้ไม่ใช่ตัว แต่ธรรมถึงไม่ใช่ตัว ก็ธรรมนั่น แหละทำให้เป็นตัว ตัวอยู่อาศัยธรรมนั่นแหละ ตัวก็ต้องอาศัยดวงธรรมนั้นแหละ จึงจะมา เกิดได้ ถ้าไม่อาศัยดวงธรรมนั้น มาเกิดไม่ได้ กายมนุษย์ ดวงธรรมนั้นได้ด้วยบริสุทธิ์กาย วาจา ตลอดถึงใจ เป็นอัพโพหาริกไปด้วย บริสุทธิ์ด้วยกาย วาจา ใจ ได้ธรรมดวงนั้น ธรรม ที่ทำให้เป็นเทวดาทั้งหยาบทั้งละเอียด ต้องเติมทาน ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา ไปในความ บริสุทธิ์กาย วาจา ใจ อีก มันก็ได้ธรรมที่ทำให้เป็นกายเทวดาเป็นลำดับไปทั้งหยาบ ทั้งละเอียด ธรรมที่ทำให้เป็นพรหมละ ได้ด้วยรูปฌานทั้ง 4 ได้สำเร็จรูปฌานแล้ว ให้ สำเร็จธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ธรรมเป็นอรูปพรหมเล่า ทั้งหยาบทั้งละเอียด ก็ได้ด้วย อรูปฌาน อากาสานัญจายตนะ วิญญานัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน นั่นแหละสำหรับเติมลงไป ในธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ในธรรมที่ ทำให้เป็นกายอรูปพรหมอีก จึงจะได้ธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมขึ้น ทั้งหยาบทั้งละเอียด ดังนี้

    นี่แหละว่า ธรรมทั้งปวงมิใช่ตัว ไม่ใช่ตัวจริงๆ ตัวอยู่ที่ไหนล่ะ เออ! ธรรมทั้งปวง นี่ไม่ใช่ตัว แล้วตัวไปอยู่ที่ไหนละ ตัวก็ง่ายๆ กายมนุษย์นี่แหละเป็นตัว กายมนุษย์ละเอียด ก็เป็นตัว แต่เป็นตัวฝันออกไป กายทิพย์ก็เป็นตัว กายทิพย์ละเอียด ที่กายทิพย์นอนฝัน ออกไปก็เป็นตัว กายรูปพรหมก็เป็นตัว กายรูปพรหมละเอียดก็เป็นตัว กายอรูปพรหมก็เป็น ตัว แต่ว่าตัวสมมติ ไม่ใช่ตัววิมุตติ ตัวสมมติกันขึ้น เป็นตัวเข้าถึงกายธรรม กายธรรมก็เป็น ตัว เข้าถึงกายธรรมละเอียด กายธรรมละเอียดก็เป็นตัวอีกนั่นแหละ เป็นชั้นๆ ขึ้นไป นั่น เข้าถึงกายธรรม กายธรรมละเอียดก็เอาตัวที่เป็นโคตรภู เข้าถึงกายธรรมพระโสดา-พระโสดาละเอียด นั่นเป็นตัวแท้ๆ ตัวเป็นอริยะ เรียกว่า อริยบุคคล พระองค์ทรงรับรองแค่กายธรรม โคตรภูนี่ ภควโต สาวกสงฺโฆ พระสาวกของพระตถาคตของพระผู้มีพระภาค กายธรรม ที่เป็นโสดา-โสดาละเอียด, สกทาคา-สกทาคาละเอียด, อนาคา-อนาคาละเอียด, อรหัต-อรหัตละเอียด ทั้งมรรคทั้งผล นั่นเรียกว่า อริยบุคคล 8 จำพวก นั้นเรียกว่า อริยบุคคล

    นี่แหละ ภควโต สาวกสงฺโฆ สาวกของเราตถาคต ท่านปราฏในโลก แล้วท่านที่ แสวงหาพวกนี้ ถ้าได้แล้วก็ต้องจัดเป็นพวกของท่านทีเดียว ถ้ายังไม่ถึงกระนั้นท่านลดลงมา ถ้าบุคคลผู้ใดได้ถึงกายธรรม กายธรรมละเอียดนั่นก็ ภควโต สาวกสงฺโฆ เหมือนกัน เรียกว่า พระพุทธชินสาวก ไม่ใช่อริยสาวก เป็นพระพุทธชินสาวก หรือปุถุชน ลดลงตามส่วนลงมา ตามนั้น ประพฤติดีถูกต้องร่องรอยที่จะเข้าถึงธรรมกาย-ธรรมกายละเอียดขึ้นไป ไม่ได้เคลื่อน เลยทีเดียว ทางนั้นไม่คลาดเคลื่อน ท่านก็อนุโลมเข้าเป็นพุทธชินสาวกด้วยเหมือนกัน หรือจะ ผลักเสียเลยไม่ได้ ถ้าผลักเสียเลยละก้อ ที่จะเป็นโคตรภู ธรรมกายละเอียดก็ไม่มีเหมือนกัน อาศัยความบริสุทธิ์ของพวกเราที่เป็นคฤหัสถ์บรรพชิต บริสุทธิ์จริงๆ นั่นเป็นปุถุชนสาวก ของพระบรมศาสดา นี่เป็นตำรับตำรา

    บัดนี้ เราจะเป็นพระสาวกของพระศาสดาบ้าง ก็ต้องขาดจากใจนะ พิรุธจากกาย พิรุธจากวาจา ไม่ให้มีทีเดียว ให้บริสุทธิ์กาย บริสุทธิ์วาจา บริสุทธิ์ใจจริงๆ ด้วยใจของตน จะค้นลงไปสักเท่าไร ตัวเองจะค้นตัวเองลงไปเท่าไร หาความผิดทางกาย วาจา ใจ ไม่ได้ คนอื่นพิจารณาด้วยปัญญาสักเท่าหนึ่งเท่าใด ก็หาความผิดทางกาย วาจาไม่ได้ หรือท่านมี ปรจิตตวิชชา รู้วาระจิตของบุคคลผู้อื่น ให้พินิจพิจารณาค้นความพิรุธทางกาย วาจา ใจ ของบุคคลผู้บริสุทธิ์เช่นนั้นไม่ได้ นั้นเรียกว่าปุถุชนสาวก ถ้าว่าเข้าธรรมกายแล้ว เป็นโคตรภู ทีเดียว ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่อริยะ ที่จะถึงอริยะต้องอาศัยโคตรภู แต่ว่ายังกลับเป็นปุถุชนได้ ยังกลับเป็นโลกียชนได้ จึงได้ชื่อว่าโคตรภู ระหว่างปุถุชนกับพระอริยะต่อกัน ถ้าเข้าถึงโคตรภู แล้ว ที่จะเป็นโสดาก็เป็นไป ที่จะกลับมาเป็นปุถุชนก็กลับกลาย ที่จะเป็นโสดาก็ถึงนั้นก่อน จึงจะเป็นไปได้

    เมื่อรู้จักหลักอันนี้นี่แหละ ท่านจึงได้วางบาลีว่า ผู้ใดเห็นตามปัญญาว่า ธรรมทั้งปวง ไม่ใช่ตัว เหมือนธรรมทั้งสิ้นไม่ใช่ตัว เมื่อนั้นย่อมเหนื่อยหน่ายในทุกข์ ไม่ใช่ตัวแล้วจะไปเพลิน อะไรกับมันเล่า มันของยืมเขามาหลอกๆ ลวงๆ อยู่อย่างนี้ เพลินไม่สนุก ปล่อยมัน อ้ายที่ ปล่อยไม่ได้ ก็เข้าใจว่าตัวเป็นของตัว จงปล่อยมัน เมื่อปล่อยแล้วนั่นแหละ หนทางหมดจด วิเศษ หนทางบริสุทธิ์ทีเดียว นั้นเป็นหนทางบริสุทธิ์แท้ๆ วิสุทฺธิ สพฺพเกฺลเสหิ ความหมดจด จากกิเลสทั้งหลาย วิสุทฺธิ สพฺพเกฺลเสหิ โหติ ทุกฺเขหิ นิพฺพุติ เจตโส โหติ สา สนฺติ ความ หมดจดจากกิเลสทั้งหลาย ความดับจากทุกข์ทั้งหลาย ทุกข์ดับไปแล้ว จิตก็สงบ หลุดไปจาก ทุกข์ทั้งหมด นิพฺพานมีติ วุจฺจติ นักปราชญ์กล่าวว่าเป็นความดับ คือนิพพาน แต่ว่าความ สงบนี่เป็นต้นของมรรคผลนิพพานทีเดียว ถ้าเข้าความหยุดความสงบไม่ได้ บรรลุมรรคผล ไม่ได้ ความหยุดความสงบเป็นเบื้องต้นมรรคผลนิพพานทีเดียว จะไปนิพพานได้ ต้องไปทางนี้ มีทางเดียว ทางสงบอันเดียวกันนี้แหละ ท่านจึงได้ยืนยันต่อไปว่า นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ สุขอื่น นอกจากหยุดจากนิ่งไม่มี หยุดนิ่งกันให้หมดทั้งสากลโลก ไม่เอาธุระ นั่นเป็นทางบริสุทธิ์ นั่น เป็นทางไปสู่มรรคผลนิพพานแท้ๆ รู้แน่เช่นนี้แล้ว ย่อสั้นลงไป ท่านจึงได้ยืนยันว่า เย จ โข สมฺมทกฺขาเต ธมฺเม ธมฺมานุวตฺติโน เต ชนา ปารเมสฺสนฺติ มจฺจุเธยฺยํ สุทุตฺตรํ ก็ชนเหล่าใด ประพฤติตามธรรม ในธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวดีแล้ว ชนทั้งหลายเหล่านั้นจักถึงฝั่ง คือ นิพพาน อันเป็นที่ตั้งของมัจจุสุดจะข้ามได้ คือนิพพานนั่นเอง ชนทั้งหลายเหล่านั้นจักถึงซึ่ง ฝั่งอันเป็นที่ตั้งแห่งมัจจุ สุทุตฺตรํ แสนยากที่จะข้ามได้ ในสากลโลกที่จะข้ามไปถึงฝั่ง นิพพาน นะ แสนยาก ไม่ใช่เป็นของง่ายเลย

    พระพุทธเจ้าทรงสร้างบารมี 4 อสงไขยแสนกัปป์ 8 อสงไขยแสนกัปป์ 16 อสงไขย แสนกัปป์ จึงจะข้ามวัฏฏสงสารได้ ถ้าคนข้ามได้บ้าง ก็แสนยากที่ข้ามได้ ท่านจึงได้วางตำรา ไว้เป็นเนติแบบแผนไปเป็นลำดับๆ แต่ว่าในท้ายพระคาถา กณฺหํ ธมฺมํ วิปฺปหาย สุกฺกํ ภาเวถ ปณฺฑิโต บัณฑิตผู้มีปัญญาละธรรมดำเสีย ไม่ประพฤติเลยทีเดียว ยังธรรมขาวให้ เจริญขึ้น เด็ดขาดลงไป เหมือนภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิก พอบวชเป็นพระเป็นเณร ขาดจากใจ ความชั่วไม่ทำเลย ถ้าว่าชีวิตตายเป็นตายกัน ชีวิตจะดับดับไป ทำความดีร่ำไป นี่พวกละธรรมดำ ประพฤติธรรมขาวแท้ๆ

    อุบาสกอุบาสิกล่ะ เมื่อจะเป็นอุบาสกอุบาสิกาดีๆ แท้ๆ นะ พอเริ่มเป็นอุบาสก อุบาสิกา ก็ขาดจากใจ ความชั่วกาย วาจา ใจ ละเด็ดขาด ไม่ทำ ชีวิตดับๆ ไป เอาความ บริสุทธิ์ใส่ลงไป เอาความบริสุทธิ์ใส่ได้ไปสวรรค์ ไม่ต้องทุกข์กับใคร แน่นอนใจทีเดียว นี้ อย่างชนิดนี้ ละธรรมดำเสีย ยังธรรมขาวให้เจริญขึ้น นี่พระโพธิสัตว์เจ้าสร้างบารมีเป็นสอง ชาติดังนี้ ละธรรมดำจริงๆ เจริญธรรมขาวจริงๆ ไม่ยักเยื้องแปรผันไป

    ตามวาระพระบาลีว่าคาถาข้างหลังรับรองไว้ สทฺธาย สีเลน จ ยา ปวฑฺฒติ ปญฺญาย จาเคน สุเตน จูภยํ สา ตาทิสี สีลวตี อุปาสิกา อาทิยตี สารมิเทว อตฺตโน อุปาสิกาใดเจริญ ด้วยศรัทธา ความเชื่อมั่นในขันธสันดาน ละชั่วขาดแล้ว ไม่กลับกลอกแล้ว เหลือแต่ดีแล้ว ฝ่ายเดียวแล้ว เจริญด้วยศีล เจริญด้วยปัญญา และเจริญด้วยจาคะ เจริญด้วยสุตะ นี่ก็ เป็นฝ่ายดี อุบาสิกานั้นชื่อว่าประพฤติเป็นระเบียบเรียบร้อยดี มั่นในพระรัตนตรัยแท้ มั่นใน พระรัตนตรัย อาทิยตี สารมิเทว อตฺตโน ยึดแก่นสารของตนไว้ได้

    ตรงนี้หลักต้องจำไว้ ยึดไว้ให้มั่นเชียว ไม่ให้คลาดเคลื่อนได้ ชีรนฺติ เว ราชรถา สุจิตฺตา อโถ สรีรมฺปิ ชรํ อุเปติ สตญฺจ ธมฺโม น ชรํ อุเปติ ปุญฺญานิ กยิราถ สุขาวหานิ ราชรถอันงดงามย่อมถึงซึ่งความเสื่อมทรามไป แม้สรีระร่างกายของเราท่านทั้งหลายนี้ละ สรีระร่างกายก็ย่อมเข้าถึงความทรุดโทรม ไม่ยักเยื้องแปรผันไปข้างไหน ทรุดโทรมหมด เหมือนกัน หมดเป็นลำดับๆ ไป ย่อมเข้าถึงซึ่งความทรุดโทรม ธรรมของสัตบุรุษย่อมหาเข้า ถึงซึ่งความทรุดโทรมไม่ ดำรงคงที่อยู่ดังกล่าวมาแล้วนั้นเป็นธรรมของสัตตบุรุษ ไม่ถึงซึ่ง ความทรุดโทรม ไม่สลาย ไม่เสียหาย ไม่เข้าถึงซึ่งความทรุดโทรม เมื่อรู้ชัดเช่นนี้ ควร กระทำเถิดซึ่งบุญ ควรกระทำเถิดซึ่งบุญทั้งหลาย สุขาวหานิ อันนำความสุขมาให้ เมื่อทำ บุญทั้งหลายแล้วนำความสุขมาให้ อจฺเจนฺติ กาลา กาลย่อมผ่านไป ตรยนฺติ รตฺติโย ราตรี ก็ย่อมล่วงไป วันก็ผ่านไป วโยคุณา อนุปุพฺพํ ชหนฺติ กาลผ่านไป ราตรีย่อมล่วงไป ชั้นของ วัยย่อมละลำดับไป ชั้นของวัยเป็นไฉน เด็กเล็กๆ ละลำดับเด็กเรื่อยมา เป็นคนโตๆ เป็น ลำดับมา หนุ่มสาวละเป็นลำดับมา แก่เฒ่าละเป็นลำดับมา อีกหน่อยก็หมด ละลำดับอย่างนี้ มาเรื่อย เหมือนอย่างกาลเวลาล่วงไปไม่กลับมา กาลเวลานะ อดีตกาลปีที่ล่วงไปแล้ว ปัจจุบันกาลปีที่เป็นปัจจุบันนี้ อนาคตกาลปีที่จะมีมาข้างหน้า ผ่านไปหมด นี่แหละกาลผ่าน ไป วันเวลาวันนี้ผ่านไปบ้างแล้ว ผ่านไปแล้วเป็นอดีตที่กำลังปรากฏ ฟังเทศน์อยู่นี้เป็น ปัจจุบัน วันที่จะมีมาข้างหน้าเป็นอนาคต นั่นแหละเรียกว่ากาลเวลาผ่านไปๆ ราตรีล่วงไป วันหนึ่งคืนหนึ่งผ่านไป ไม่ถอยกลับมาเลย ชั้นของวัยเด็กเล็กๆ เป็นหนุ่มสาว เป็นแก่เป็น เฒ่า ก็ละลำดับเรื่อยไป ไม่ได้หยุดอยู่เลยสักนิด ไม่รอใครเลย เอ็งจะรออย่างไรก็ตามเถิด ข้าไม่รอเจ้า ความจริงเป็นอย่างนี้ ก็ต้องละลำดับไป เอตํ ภยํ มรเณ เปกฺขมาโน ผู้มีปัญญา เห็นเหตุนั้น เป็นภัยในความตายทีเดียว ไอ้กาลเวลาผ่านไป ราตรีล่วงไป ชั้นของวัยละลำดับ ไป นั้นเป็นภัยในความตายเทียวนะ ตัวตายทีเดียว ไม่ใช่ตัวอื่นละ เมื่อรู้ชัดเช่นนี้ เมื่อรู้ชัด จริงลงไปเช่นนี้แล้ว อย่ามุ่งอื่น มุ่งแต่บำเพ็ญการกุศลไปที่จะนำความสุขมาให้แท้ๆ ไม่ต้องไป สงสัย เอตฺตกานมฺปิ ปาฐานํ อตฺถํ อญฺญาย สาธุกํ ปฏิปชฺเชถ เมธาวี อโมฆํ ชีวิตํ ยถา ผู้มี ปัญญาได้รู้เนื้อความของบาลีแม้เพียงเท่านี้ก็ดีแล้ว พึงปฏิบัติชีวิตตนที่ยังประโยชน์ให้สำเร็จ ผู้มีปัญญารู้ความของบาลีเพียงเท่านี้ก็ดีแล้ว พึงปฏิบัติชีวิตของตนไม่ให้ไร้ประโยชน์ พึง ปฏิบัติตามเป็นอยู่ของตนในวันหนึ่งๆ ให้มีประโยชน์อยู่ร่ำไป ไม่ให้ไร้ประโยชน์ ถ้าปล่อย ความเป็นอยู่ของตนให้ไร้ประโยชน์ละก้อ เป็นลูกศิษย์พญามาร เป็นบ่าวของพญามาร ไม่ใช่ เป็นลูกศิษย์พระ บ่าวพระ เป็นลูกพญามาร เป็นบ่าวพญามาร พึงปฏิบัติชีวิตของตนไม่ให้ ไร้ประโยชน์ ไม่ให้เปล่าประโยชน์จากประโยชน์ทีเดียว ให้มีประโยชน์อยู่เสมอ ในความบริสุทธิ์ ในธรรมที่ขาวอยู่เสมอไป ไม่ให้คลาดเคลื่อน นี่พระองค์ได้เตือนเราท่านทั้งหลาย แม้เสด็จ ดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้วตั้งนาน ก็ยังเตือนเราท่านทั้งหลายอยู่ชัดๆ อย่างนี้ เราพึงปฏิบัติ ตามเถิด สมกับพบพระบรมศาสดา

    ที่ได้ชี้แจงแสดงมาตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอ สมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่อ้างธรรมปฏิบัติมาตั้งแต่ต้นจน อวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดามา สโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติยุติธรรมีกถาเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,472
    [​IMG]



    มื่อตั้งอยู่ในพรหมวิหารเช่นนี้แล้ว ได้ชื่อว่าไม่มีอภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิเข้าแทรกแซง ได้ชื่อว่าดำเนินตามร่องรอยของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์แล้ว แล้วที่ยังมีอภิชฌา
    พยาบาท มิจฉาทิฏฐิอยู่ นั่นดำเนินตามร่องรอยพญามารแล้ว นี่ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ นี่เป็นทางไปของมารเสียแล้วอย่างนั้น คนอย่างชนิดนั้นรวยไม่ได้ มั่งมีไม่ได้
    คนจะรวยได้ จะมีได้ ต้องประกอบด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ดังกล่าวแล้ว นั่นแหละเป็นทางไปของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ เป็นทางไปของพระแท้ๆ

    จาก พระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ ๔๕
    เรื่อง โอวาทปาฏิโมกข์
    ๒๐ ตุลาคม ๒๔๙๗
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,472
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,472
    การอาศัยพระของขวัญ เพื่อเข้าถึงธรรมภายใน


    https://youtu.be/AQEQR655RsA
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,472
    การไปทำบุญที่วัดแห่งหนึ่ง เขาจะกลั่นเครื่องไทยทาน ดอกไม้ ธูป เทียน อาหาร หวานคาว ของสาธุชนทุกท่านขึ้นไปถวายพระพุทธเจ้าบนนิพพาน แล้วสาธุชนก็จะได้บุญใหญ่มหาศาล กล่าวคือ เราทำบุญตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย โดยไม่เคยเว้นแม้เพียงวันเดียว ก็ยังไม่ได้บุญใหญ่เท่านั้นเลย จริงหรือไม่ครับ ? และวัดปากน้ำกับวัดสระเกศเคยทำไหมครับ ? กรุณาชี้แจงให้สว่างด้วยครับ ?

    ตอบ:

     
     
    เรื่องนี้อาตมาขอแยกตอบเป็น 3 ประเด็น ดังต่อไปนี้คือ

    ประเด็นที่ว่า  กลั่นเครื่องไทยทานแล้ว นำไปถวายพระพุทธเจ้าในนิพพานนั้น   จะถึงหรือไม่ ?
    แล้วสาธุชนผู้มาร่วมในการถวายเครื่องไทยทานนั้น จะได้บุญมหาศาล   กล่าวคือ แม้จะเคยได้ทำบุญตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย  โดยไม่มีเว้นเลยสักวันเดียว  ก็ยังไม่ได้บุญใหญ่เท่านั้น  จริงหรือไม่ ?
    ที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพฯ   และที่วัดสระเกศ   เคยทำอย่างนี้บ้างหรือไม่ ?
    อาตมาขอเจริญพรว่า เครื่องไทยทานนั้นไม่ถึงพระพุทธเจ้าในอายตนะนิพพานที่แท้จริงแต่ประการใด  แม้จะมีผู้ติดตามดูและเห็นตามได้ก็ตาม    ทั้งนี้เพราะ

    ธรรมชาติทุกอย่างในอายตนะนิพพานนั้น  เป็นแต่ธาตุล้วนธรรมล้วน ซึ่งไม่ประกอบด้วยปัจจัย (เช่น ธาตุน้ำ ดิน ไฟ ลม) ปรุงแต่ง   ที่พระท่านเรียกว่า อสังขตธาตุ อสังขตธรรม หรือเรียกว่า “สังขาร” ในภพ 3 นี้แต่ประการใดเลย    เพราะฉะนั้น ธรรมชาติใดๆ ที่ เป็นสังขารกล่าวคือที่มีปัจจัยปรุงแต่ง ย่อมเข้าไม่ถึงอายตนะนิพพานอย่างแน่นอน

    ธรรมชาติในอายตนะนิพพานที่ว่าเป็นอสังขตธาตุ อสังขตธรรม  อันไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง แม้ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ก็ไม่มีในอายตนะนิพพานนั้น   มีหลักฐานในพระไตรปิฎก ในนิพพานสูตรที่ 3 ว่า  “ภิกษุทั้งหลาย   อายตนะ (นิพพาน) นั้น มีอยู่,  ที่ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่มีแล,  อากาสานัญจายตนะก็ไม่ใช่  วิญญานัญจายตนะก็ไม่ใช่  อากิญจัญญายตนะก็ไม่ใช่  เนวสัญญานาสัญญายตนะก็ไม่ใช่ ...”  และ  “ภิกษุทั้งหลาย   ธรรมชาติที่ไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้แล้ว   มีอยู่..”

    แต่เครื่องไทยทาน (อันได้แก่ดอกไม้ ธูป เทียน อาหารหวานคาว) ซึ่งถ้าผู้ทรงวิชชานั้น ยังเป็นแค่โคตรภูบุคคล มิใช่พระอริยบุคคลวิชชานั้น ก็เป็นแต่เพียงโลกิยวิชชา แม้จะกลั่น (เครื่องไทยทานนั้น) ให้เห็นใสละเอียดยิ่งกว่าของหยาบที่มีผู้นำมาถวายก็เป็นได้เพียงแค่ของทิพย์ ซึ่งยังจัดเป็น “สังขาร” อันเป็นส่วนประกอบของธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม อยู่

    เพราะฉะนั้นเครื่องไทยทานนั้น แม้จะกลั่นให้ดูเป็นของทิพย์ ดูเห็นใสละเอียด ก็ตาม ย่อมจะเข้าไม่ถึงอายตนะนิพพานที่แท้จริงได้เลย

    แม้กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหมของผู้กลั่น  และผู้นำเครื่องไทยทานไปถวายพระพุทธเจ้านั้น ก็ถึงอายตนะนิพพานที่แท้จริงไม่ได้   เพราะยังเป็นสังขารที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งอยู่อีกเช่นกัน

    แต่มูลเหตุที่ทั้งผู้ทำวิชชาเช่นนั้น  และผู้ติดตามดู  สามารถเห็นสมจริงได้ว่า เห็นท่านผู้นั้นๆ นำเครื่องไทยทานที่กลั่นใสละเอียดแล้วไปถวายพระพุทธเจ้าในอายตนะนิพพานได้    ก็เพราะเหตุผล 2 ประการคือ

    จิตของผู้ทรงโลกิยวิชชา “ปรุงแต่ง” ขึ้น  เป็นมโนมยิทธิ คือ อิทธิฤทธิ์ทางใจ  ที่นึกจะ “ให้เห็น” อะไร หรือ “ให้มี” อะไร ที่ไหน ก็จะ “เห็น” หรือ “มี” สิ่งนั้น ด้วยใจที่กำลังทรงโลกิยวิชชานั้นอยู่ได้
    ท่านที่ปฏิบัติได้ถึงธรรมกายแล้ว  ลองคิดให้เห็น “ด้วยใจ” เป็นอะไร  ณ ที่ใด  ก็จะสามารถเห็นได้    นี้เป็นข้อพิสูจน์เบื้องต้น   โลกิยวิชชานี้แหละที่ยังจัดเป็น “อภิสังขารมาร” กล่าวคือเป็นคุณธรรมที่ให้มีความสามารถเหนือผู้อื่นในหมู่ชาวโลกด้วยกัน   แต่ยังต้องตกอยู่ในอาณัติแห่งไตรลักษณ์ คือ ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตาอยู่   มีคุณค่าเหมือนโลกิยทรัพย์ที่มีคุณอนันต์หากรู้จักธรรมชาติของมันและรู้จักใช้ให้เกิดแต่ประโยชน์อันปราศจากโทษ   แต่มีโทษมหันต์ถ้าไปหลงติดด้วยตัณหาและทิฏฐิคือความหลงผิดเข้า
    โดยเหตุนี้  ผู้มีปัญญาเขาจึงอาศัยอภิสังขารมารนั้นแหละเป็นฐานของการบำเพ็ญบารมีเจริญภาวนา ทำนิโรธดับสมุทัยไปให้ใสละเอียดเป็นประจำ   เพื่อแยกพระแยกมาร   กล่าวคือ  ใช้ประโยชน์ของโลกิยวิชชานี้แหละเป็นพื้นฐานในการทำวิชชาไปสู่โลกุตตรวิชชาเพื่อความเข้าถึงและเป็นธาตุล้วนธรรมล้วนของพระพุทธเจ้าต้นธาตุต้นธรรมที่บริสุทธิ์ที่สุด
    หลวงพ่อ พระภาวนาโกศลเถร ท่านจึงได้กล่าวกับศิษยานุศิษย์ของท่านเสมอๆ ว่า “เพียงแต่ปฏิบัติได้ธรรมกายในระดับโคตรภูบุคคลนั้น  ยังไม่อาจวางใจได้ว่าจะเอาตัวรอดได้” 

    อายตนะภายใน (กล่าวคือเครื่องรู้เห็นและสัมผัส) ของกายในกาย ณ ภายใน จากสุดหยาบของกายมนุษย์ ไปจนสุดละเอียดของกายธรรม ของท่านผู้กลั่นเครื่องไทยทานไปถวายพระพุทธเจ้าและของผู้ติดตามดูนั้น มีศูนย์กลางตรงกันหมดทุกกาย    แม้กายในกาย ณ ภายในในระดับโลกิยะ (กายมนุษย์ มนุษย์ ละเอียด, ทิพย์ ทิพย์ละเอียด, รูปพรหม รูปพรหม ละเอียด และอรูปพรหม อรูปพรหมละเอียด) จะเข้าไม่ถึงอายตนะนิพพานที่แท้จริงได้    แต่ก็อาศัยที่ว่าอายตนะภายในของกายเหล่านี้ไปตรงกับของ “ธรรมกาย” ที่สุดละเอียด ซึ่งสามารถเข้าไปถึงอายตนะนิพพาน และไปรู้เห็นและสัมผัสอายตนะนิพพานได้ โดยการให้ใจของธรรมกายเจริญภาวนาดับหยาบไปหาละเอียดจนสุดละเอียดเสมอกับอายตนะนิพพาน และอวิชชาทำอะไรไม่ได้ชั่วคราว  เรียกว่า “ตทังคนิโรธ” หรือ “วิกขัมภนนิโรธ”   กล่าวคือ หลุดพ้นด้วยการข่มกิเลส (ชั่วคราว)   ภาพที่เห็นด้วยอายตนะภายในของธรรมกายที่สุดละเอียด ซึ่งเข้าถึงและเห็นความเป็นไปในอายตนะนิพพานนั้น จึงเป็นภาพเชิงซ้อนกับเครื่องไทยทานและอาหารที่นำไปถวายที่เป็นทิพย์   จึงให้เห็นสมจริงว่า กลั่นเครื่องไทยทานนำไปถวายพระพุทธเจ้าในอายตนะนิพพานได้  
    อาตมายืนยันโดยหลักฐานในทางปริยัติและหลักปฏิบัติว่า   สิ่งที่เป็นสังขารไม่อาจจะเข้าถึงหรือไปสัมผัสถึงอายตนะนิพพานซึ่งเป็นธาตุล้วนธรรมล้วนที่สุดละเอียดนั้นได้เลย เพียงแต่ว่าความรู้เห็นและสัมผัสของธรรมกายที่สุดละเอียดนั้น มีศูนย์กลางตรงกันกับของกายในภพ 3   อันให้สามารถเชื่อมต่อหรือสื่อถึงกันได้โดยอัตโนมัติเท่านั้น
    ผู้ปฏิบัติภาวนาที่ยังไม่บรรลุมรรคผลนิพพาน  จึงต้องพึงสังวรระวังไว้ให้เข้าใจทั้งหลักปริยัติและหลักปฏิบัติให้ถ่องแท้แน่นอน   มิฉะนั้นจะถูกอภิสังขารมารหลอกเอาให้เข้าใจไขว้เขวผิดไปได้   จงระลึกไว้เสมอว่าวิชชาในระดับโลกิยะของผู้ที่ไม่บรรลุมรรคผลนิพพาน ยังจัดเป็นอภิสังขารมาร ซึ่งเป็นความปรุงแต่งให้มีดีเหนือผู้อื่นในระดับโลก   แต่ยังมีสภาวะที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ผู้ใดหลงยึดมั่นถือมั่นด้วยตัณหาและทิฏฐิแล้วเป็นทุกข์
    อานิสงส์ของผู้ไปร่วมถวายเครื่องไทยทานแด่พระพุทธเจ้าเช่นนั้น   มีคล้ายๆ กับการถวายข้าวพระพุทธหรือบูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้ธูปเทียนธรรมดา  ในฐานะของผู้ที่ระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าโดยทั่วไป    แต่มิใช่ว่าจะได้บุญใหญ่มหาศาลยิ่งกว่าการที่เราทำบุญตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย  โดยไม่เคยเว้นแม้เพียงวันเดียวแต่ประการใด   เพราะ

    จากประเด็นแรก   เครื่องไทยทานที่กลั่นเป็นของทิพย์ (โดยผู้ทรงโลกิยวิชชา)  ซึ่งจัดเป็นสังขารธรรมนั้น  ไม่ถึงพระนิพพาน คือธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผลแล้ว ของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ขีณาสพ ซึ่งเข้าอนุปาทิเสสนิพพานและไปปรากฏอยู่ในอายตนะนิพพานแล้วนั้น อย่างแน่นอน
    การทำบุญ (ทานกุศล) กับพระพุทธเจ้า พระอรหันต์สาวกของพระพุทธเจ้า และพระภิกษุสงฆ์ ฯลฯ กายเนื้อ เป็นมหากุศลหรือบุญกุศลตามส่วน   ก็เพราะท่านได้บริโภคขบฉันใช้สอยหรือทำประโยชน์จากเครื่องไทยทานนั้นเพื่อยังชีวิต (กายเนื้อ) ของท่านให้เป็นไป หรือดำเนินไปได้
    ส่วนพระนิพพานนั้นมิได้ปรารถนาที่จะบริโภคขบฉันใช้สอยหรือทำประโยชน์ จากเครื่องไทยทานทิพย์เช่นนั้น เพื่อหล่อเลี้ยงชีวิตของพระองค์ท่านแต่ประการใดเลย เครื่องไทยทานทิพย์เช่นนั้นจึงมีค่าไม่แตกต่างอะไรจากเครื่องไทยทานธรรมดา ซึ่งมีผู้นำไปบูชาพระพุทธรูปโดยทั่วไป  แล้วจะไปเอาหรือได้บุญมหาศาลจากไหน ?    และหากหลงผิดคิดว่า ได้บุญมหาศาลเช่นนั้น   ก็ยังกลับจะได้ “โมหะ” บาปอกุศลติดตนเป็นของแถมเสียอีก
    จึงขอเจริญพรเพื่อทราบว่า สิ่งที่หล่อเลี้ยงธรรมกายจากสุดหยาบไปจนถึงพระนิพพานที่สุดละเอียดในอายตนะนิพพานถอดกายและอายตนะนิพพานเป็นนั้น  มิใช่เครื่องไทยทานอันเป็นอามิสทานของหยาบ  ซึ่งจัดเป็นสังขารธรรม (สังขตธาตุ สังขตธรรม) แต่ประการใด    หากแต่เป็น “บุญ”  ซึ่งได้กลั่นตัวจนแก่กล้าแล้ว เป็นบารมี อุปบารมี ปรมัตถบารมี รัศมี กำลัง ฤทธิ์ อำนาจ (ในการปกครองธาตุธรรม) สิทธิ สิทธิเฉียบขาด ฯลฯ ซึ่งเป็นอสังขตธาตุ อสังขตธรรม คือธาตุล้วนธรรมล้วนไปจนถึงธาตุธรรมที่สุดละเอียดของอายตนะนิพพานเป็น นั้นแล
    ผู้ทำนิโรธดับสมุทัยและเจริญภาวนาวิชชาธรรมกายชั้นสูงอยู่เสมอ   เขาทราบเรื่องนี้ดีว่า  การทำนิโรธให้แจ้ง และการทำมรรคให้เจริญเท่านั้นจึงเป็นธรรมปฏิบัติที่จะสามารถกำจัดอวิชชา อันเป็นเหตุเป็นปัจจัยของสังขาร-วิญญาณ-นามรูป-ตัณหา-อุปทาน-และภพ-ชาติ-ชรา-มรณะ-ทุกข์ ให้ถึงพระนิพพาน (อสังขตธาตุ อสังขตธรรม) ที่แท้จริงได้
    มีปรากฏหลักฐานเอกสารในที่มากแห่งในพระไตรปิฎกว่า บุคคลผู้ทำบุญด้วยใจศรัทธากับพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ขีณาสพผู้มีอาสวะกิเลสสิ้นแล้ว และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในขณะที่ท่านเพิ่งออกจากนิโรธสมาบัติใหม่ๆ นั้น ได้รับผลบุญในปัจจุบันทันตาเห็นมากมาย...  นี่ว่าแต่เฉพาะที่ทำบุญกับพระพุทธเจ้าองค์เดียว กับพระอรหันต์จำนวนหนึ่งเท่านั้น... แล้วถ้าทำบุญกับพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ขีณาสพเจ้าเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ซึ่งประทับเข้านิโรธสมาบัติมาโดยตลอดเช่นนั้นได้ถึงจริงละก็   ป่านนี้ผู้ที่ไปร่วมพิธีถวายเครื่องไทยทานทั้งหลายจะมิได้รับผลบุญในปัจจุบัน และกลายเป็นเศรษฐีมหาเศรษฐีทันตาเห็นกันไปหมดหรือแทบจะหมดทุกคน   ยิ่งกว่าตัวอย่างของบุคคลผู้ทำบุญ (ทานมัย) กับพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ขีณาสพเจ้าในสมัยพุทธกาล ละหรือ ?
    ท่านลองถามตัวเองดูซิว่า   ตั้งแต่มีการทำบุญเช่นนั้นเป็นต้นมา   มีใครร่ำรวยเป็นเศรษฐีมหาเศรษฐีขึ้นมาทันตาเห็นบ้าง ? (แม้ผู้ทำบุญไม่ปรารถนาผลบุญเช่นนั้นตอบแทน   บุญก็ทำหน้าที่ของเขา เป็นทั้งโลกิยสมบัติและโลกุตตรสมบัติเองอยู่ดีแหละ)
    วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพฯ   ซึ่งเป็นสถานที่ต้นธาตุต้นธรรมของวิชชาธรรมกาย    เขาจึงไม่ได้ทำเช่นนั้น   ที่วัดสระเกศ ซึ่งผู้ให้การอบรมพระกัมมัฏฐานผู้เป็นศิษย์ผู้ได้รับการถ่ายทอดวิชชาธรรมกายมา  ก็มิได้ทำเช่นนั้น เพราะพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ  พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ซึ่งเป็นต้นวิชชาธรรมกายก็มิได้เคยสั่งสอน หรือแนะนำให้ศิษยานุศิษย์คนใดให้ทำเช่นนั้น   และท่านก็ไม่เคยรับรองหรืออนุมัติวิชชาถวายเครื่องไทยทาน โดยการถือว่ากลั่นเป็นของทิพย์นำขึ้นถวายพระพุทธเจ้าในอายตนะนิพพาน  แล้วมีผลเป็นกุศล มหาศาลยิ่งใหญ่กว่าการทำบุญตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย โดยไม่เคยเว้นแม้เพียงวันเดียว แต่ประการใดเลย

    แต่ถ้าใครอยากทำ  ก็ไม่มีใครเขาห้าม  และก็เป็นความดีส่วนหนึ่ง    เพียงแต่ความจริงมีอยู่ว่า

    ไม่ถึงพระพุทธเจ้าในอายตนะนิพพานที่แท้จริง
    ไม่ใช่จะได้บุญใหญ่มหาศาลเช่นนั้น และ
    ถ้าทำไปเพราะหลงเข้าใจผิดจะได้ “โมหะ” เป็นบาปอกุศลแถมติดตัวติดใจไปด้วยตามส่วน
    ใจ “หยุด” ใจ “นิ่ง” ที่ตรงศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมของกาย ทุกกาย สุดหยาบสุดละเอียด ซึ่งตรงกับศูนย์กลางของพระนิพพาน และอายตนะนิพพานนั้นแหละที่ เป็น บุญใหญ่ กุศลใหญ่ จริงๆ
    การทำมรรคให้เจริญ  และทำนิโรธให้แจ้งอยู่เสมอ (เท่าที่จะทำได้) นั้นแหละ ที่ดับ “สมุทัย”  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อวิชชา ซึ่งเป็นเหตุแห่งสังขาร-วิญญาณ-นามรูป-สฬายตนะ-ผัสสะ-เวทนา-ตัณหา-อุปาทาน-ภพ-ชาติ-ชรา-มรณะ-ทุกข์ได้จริง และจะสามารถเข้าถึงธาตุล้วน ธรรมล้วน (อสังขตธาตุ อสังขตธรรม)  ของพระพุทธเจ้าต้นธาตุต้นธรรมที่บริสุทธิ์ที่สุดได้  และ ให้สามารถรู้ว่าอะไรคือของปลอม ของจริง ตามที่เป็นจริงได้แล



    (ผู้ถาม: สมาชิกชมรมผู้ปฏิบัติธรรม "ลานโพธิ์" วัดบึงบวรสถิตย์ ชลบุรี ในการอบรมพระกัมมัฏฐานแด่พระสงฆ์ รุ่นที่ 10 พฤษภาคม 2529 ณ สถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย หรือวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี)
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,472
    การยึดถือกายที่เข้าถึงเป็นแบบ ถูกหลักมัชฌิมาปฏิปทาหรือไม่ ?

    
    ขอกราบนมัสการและขอความเมตตาจากหลวงพ่อช่วยตอบปัญหาด้วยค่ะ ดิฉันเคยปฏิบัติเจริญภาวนาธรรมในสายอื่นที่สอนให้ปล่อยวางสิ่งต่าง ๆ แม้เพียงตัวตนของเรา ก็ไม่ให้ยึดมั่นถือมั่น ตามขั้นตอนของการพิจารณาดูสังขารในสติปัฏฐาน 4 แม้เพียงนิมิต ก็ไม่ให้เอาเป็นอารมณ์หรือยึดติด แต่เมื่อเข้ามาปฏิบัติ ณ สถานที่แห่งนี้ กลับตรงกันข้าม แม้เพียงเอกสารสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่ให้มาก็มีข้อความเป็นโดยนัยลักษณะเดียวกัน อย่างนี้จะไม่เป็นการสอนให้ยึดมั่นถือมั่นหรือค่ะ เช่น ในหนังสือหลักการเจริญภาวนา (เล่มสีฟ้า) หน้า 22 ระหว่างบรรทัดที่ 1 ถึงบรรทัดที่ 18 เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม เข้ากลางกายแต่ละกาย ผู้ปฏิบัติจะต้องยึดกายที่เข้าถึงเป็นแบบ ไปอย่างนี้เรื่อย ๆ จะถึงกายธรรมอรหัตละเอียด ดิฉันสงสัยว่า จะถูกทางที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ในหลักของมัชฌิมาปฏิปทา และการปล่อยวางต่างๆ หรือไม่ ?

    ตอบ:

     
     
    ก่อนอื่นต้องขอทำความเข้าใจ คำว่า "ยึดมั่น หรือ ยึดติด" คำว่า "ตัวตน" คำว่า "นิมิต" และ "ปล่อยวาง" ให้ดีเสียก่อน ก็จะเข้าใจความหมายคำของหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้ง่าย กล่าวคือ

    การปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน ในพระพุทธศาสนานั้นมุ่งที่จะอบรมจิตใจให้สงบและผ่องใสจากกิเลสนิวรณ์ (ธรรมชาติเครื่องเศร้าหมองอันเป็นเครื่องกั้นปัญญา)ควรแก่งานแล้วพิจารณาสภาวะของธรรมชาติที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ อุปาทินนกสังขาร (สังขารที่มีวิญญาณครอง) และอนุปาทินนกสังขาร (สังขารที่ไม่มีวิญญาณครอง) ทั้งปวง ให้เห็นตามธรรมชาติที่เป็นจริง ว่า ไม่เที่ยง (อนิจฺจํ) เป็นทุกข์ (ทุกขํ) และมิใช่ตัวตน ของใครที่ถาวรแท้จริง (อนตฺตา) เพื่อให้คลายอุปาทานความยึดถือ(ยึดมั่น ยึดติด) ว่าเป็นตัวตน (มีแก่นสารสาระของความเป็นตัวตนที่แท้จริง) ว่าเป็น บุคคล เรา-เขา ของเรา-ของเขา ด้วยตัณหาและทิฏฐิ ความหลงผิด (ความคิดว่าเป็นตัวตน) นั้นเสีย

    เพราะอุปาทาน คือความยึดถือสังขารธรรมทั้งปวงที่ไม่มีแก่นสารสาระในความเป็นตัวตนที่แท้จริงของใครนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ด้วยตัณหา และทิฏฐิ(ความหลงผิดว่าเป็นแก่นสารสาระในความเป็นตัวตน บุคคล เรา-เขา) นั้น เป็นทุกข์จริงๆ แท้(ทุกขสัจ) ตามส่วนแห่งความยึดถือนั้น ยึดมาก ก็ทุกข์มาก ยึดน้อย ก็ทุกข์น้อย ไม่ยึดเลย ก็ไม่ทุกข์เลย

    "อุปาทาน ความยึดมั่น" ณ ที่นี้หมายถึง ความรู้สึกเป็นเจ้าของเมื่อไปมีอุปาทาน(ความยึดถือ) คือมีความรู้สึกเป็นเจ้าของในสิ่งที่ไม่มีแก่นสารสาระ ในความเป็นตัวตนที่เป็นเองโดยธรรมชาติไม่เที่ยงต้องเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยที่ปรุงแต่งอยู่เสมอ ด้วยตัณหา(ความทะยานอยาก) และทิฏฐิ(ความหลงผิด) จึงเป็นทุกข์ดังตัวอย่างพระบาลีว่า สงฺขิตฺเตนปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา กล่าวว่าโดยสรุป อุปาทานเบญจขันธ์เป็นทุกข์

    ได้เคยมีบางท่านกล่าวว่า"เพราะบุคคลมีอุปาทาน จึงมีอัตตา ถ้าไม่มีอุปาทาน อัตตาก็ไม่มี" คำกล่าวเช่นนี้ ไม่ถูกต้อง

    ฉะนั้นการพิจารณาดูสังขารในสติปัฏฐาน 4 ก็เพื่อให้เห็นแจ้งด้วยปัญญาอันเห็นชอบ คือ เห็นถูกต้อง ตามพระพุทธดำรัสต่อไปนี้ ว่า

    สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ฯ  สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง

    สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ ฯ  สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์

    สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ฯ   ธรรม (สังขารธรรม) ทั้งปวงมิใช่ตนคือไม่มีแก่นสารสาระในความเป็นตัวตน

    และว่า ยถา ปญฺญาย ปสฺสติ   อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโควิสุทฺธิยา ฯ

    "เมื่อใดที่พระโยคาวจรเห็นด้วยปัญญา ว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ และ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตาแล้ว  เมื่อนั้น ย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์  นั่นเป็นทางแห่งความหมดจด"

    คำว่า ธรรมทั้งปวง ณ ที่นี้หมายเอาสังขารธรรมมีเบญจขันธ์เป็นต้น เท่านั้นที่เป็น "อนัตตา"เพราะไม่มีแก่นสารสาระในความเป็นตัวตนที่ถาวรแท้จริงของใคร  และนี้ก็เป็นพระพุทธดำรัสในลำดับ "นิพพิทาญาณ"  ซึ่งเป็นขั้นตอนของการยกเอาสังขารมีเบญจขันธ์เป็นต้น ขึ้นพิจารณาเพื่อให้เห็นแจ้งแทงตลอดพระไตรลักษณ์ อันจะนำไปสู่วิราคะ วิมุตติ วิสุทธิ สันติ นิพพาน จึงยังไม่มีพระนิพพานเป็นอารมณ์เพราะเหตุนั้นพระพุทธดำรัสว่า "สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา" ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา นี้ จึงหมายเอา "สังขารธรรมทั้งปวง" หรือธรรมชาติที่เป็นไปในภูมิ 3 (กามภูมิ-รูปภูมิ-อรูปภูมิ)ทั้งหมดเท่านั้น

    ที่หลวงพ่อ (หลวงพ่อวัดปากน้ำ) ท่านสอนว่าให้เข้ากลางของกลางแต่ละกาย แล้วให้ผู้ปฏิบัติยึดกาย ที่เข้าถึงเป็นแบบไปอย่างนี้เรื่อยๆ จนถึงธรรมกายอรหัตละเอียด นั้นหมายความว่าเมื่ออบรมใจให้หยุดให้นิ่ง จนบริสุทธิ์ผ่องใสจากกิเลสนิวรณ์ด้วยและจิตใจไม่ปรุงแต่งด้วย จึงยิ่งบริสุทธิ์จากกิเลสเครื่องเศร้าหมองและจึงถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายต่อๆ ไปอย่างนี้จนสุดละเอียดก็จะถึงกายในกายที่บริสุทธิ์ผ่องใส ณ ภายใน ต่อๆ ไปตามลำดับ คือต่อจากกายมนุษย์หยาบ ก็จะถึงกายมนุษย์ละเอียด เมื่อถึงแล้ว ไม่ใช่ให้ดู คือเพียงแต่เห็นเฉยๆ ถ้าเพียงแต่เห็นเฉยๆ ธรรมก็ไม่ก้าวหน้าแต่ให้ดับหยาบไปหาละเอียดคือ ให้ละอุปาทานกายหยาบ ได้แก่ ละความรู้สึกทั้งหมดอันเนื่องด้วยกายมนุษย์หยาบ เข้าไป (สวมความรู้สึก) เป็นกายมนุษย์ละเอียดเพื่อให้ใจของกายมนุษย์ละเอียดที่บริสุทธิ์ยิ่งกว่าของกายมนุษย์หยาบนั้น ทำหน้าที่เจริญภาวนาต่อไปให้สมบูรณ์เต็มที่ เพื่อความเข้าถึง รู้ - เห็น และเป็นกายในกาย(รวมเวทนา-จิต-ธรรม) ที่บริสุทธิ์ยิ่งๆ ขึ้นไปตามลำดับ

    การเข้าถึง รู้-เห็น และเป็นกายละเอียด (กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม เป็น ณ ภายใน)เป็นขั้นๆ ไปอย่างนี้ "ดับหยาบไปหาละเอียด" จนสุดละเอียดถึงธรรมกายต่อๆ ไปจนสุดละเอียด ถึงธรรมกายอรหัต เป็นขั้นๆ ไปอย่างนี้ แหละที่หลวงพ่อท่านอธิบายว่า เมื่อปฏิบัติถึงกายละเอียด(กายในกายที่ละเอียดและบริสุทธิ์) แล้ว ต้องยึดกายละเอียดที่เข้าถึงนั้นเป็นแบบ คือเป็นแนวทางปฏิบัติภาวนาให้ถึงกาย และธรรมที่ละเอียดๆ ที่บริสุทธิ์ ผ่องใสยิ่งกว่าเดิมต่อๆ ไปตามลำดับ ในทางธรรมปฏิบัติจึงเป็นการละอุปาทาน (ความยึดถือ) สังขารธรรมที่ไม่บริสุทธิ์เพื่อความเข้าถึง รู้-เห็น และเป็นธรรมที่บริสุทธิ์ยิ่งๆ ขึ้นไป จนถึงธรรมกายอันเป็นกายที่พ้นโลกพ้นความปรุงแต่ง (สังขาร) อันเป็นธรรมชาติที่บริสทุธิ์ผ่องใส โดยไม่ใช่ให้ยึดติด

    ที่ว่า "ให้ยึดกายที่เข้าถึงเป็นแบบ" นั้น หมายถึงให้เอาเป็นแนวทาง เป็นพื้นฐานในการเจริญภาวนาให้ถึงธรรมที่บริสุทธิ์ยิ่งขึ้นต่อๆ ไป เหมือนการขึ้นบันไดทีละขั้นๆ ไปถึงชั้นบนบ้านได้ก็ต้องอาศัยบันไดขึ้นต่ำที่เราขึ้นไปถึงแล้วนั้น ก้าวขึ้นไปสู่บันไดขั้นสูงยิ่งขึ้นต่อๆ ไป ตามลำดับจึงเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องที่สุด

    ถ้ามัวแต่ไปเพ่งที่คำพูด แต่ไม่เข้าใจถึงความเป็นไปอันแท้จริงของธรรมปฏิบัติจึงไขว้เขวได้อย่างนี้มีเยอะ มีแต่นักอ่าน นักพูดนักวิจารณ์ แต่ไม่เข้าใจถึงความเป็นไปอันแท้จริงของธรรมปฏิบัติก็ไขว้เขวได้มาก อย่างนี้ ยิ่งคนดังๆ พูดแล้วคนก็เชื่อมากเสียด้วย เพราะฉะนั้นให้พยายามปฏิบัติต่อไปให้เข้าถึงกายที่ละเอียดๆ (เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม) ถึงธรรมกายต่อๆ ไปให้สุดละเอียดถึงพระนิพพานก็จะเข้าใจได้อย่างลึกซึ้งไปเอง

    เรื่อง"นิมิต"นั้นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้แสดงไว้ เป็นขั้นตอนของการเจริญสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานเพื่อทำนิพพานให้แจ้ง มีปรากฏในพระสุตตันตปิฎก ฉบับ พ.ศ. 2521 ฉักกนิบาต อังคุตตรนิกาย (องฺ ฉกฺก. 22/39/430-431)ว่าดังนี้

    "ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ที่พอใจในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ ยินดีในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ ตามประกอบความพอใจในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ เป็นผู้พอใจในหมู่, ยินดีในหมู่, ตามประกอบความพอใจในหมู่, อยู่แล้วหนอ; เธอนั้นจักมาเป็นผู้โดยเดี่ยวยินดียิ่งในความสงัดเงียบนั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้.

    เมื่อไม่เป็นผู้โดดเดี่ยวยินดียิ่งในความสงัดเงียบแล้ว จักถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิต วิปัสสนาจิตได้นั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้.

    เมื่อไม่ได้ถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิตแล้วจักยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์นั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้.

    เมื่อไม่ทำสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์แล้ว จักยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์นั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้.

    เมื่อไม่ทำสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์แล้ว จักละสัญโญชน์ทั้งหลายนั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้.

    เมื่อไม่ละสัญโญชน์ทั้งหลายแล้ว จักทำนิพพานให้แจ้งนั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้เลย.

    ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ที่ไม่พอใจในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ ไม่ยินดีในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ ไม่ตามประกอบความพอใจในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ ไม่เป็นผู้พอใจในหมู่, ไม่ยินดีในหมู่, ไม่ตามประกอบความพอใจในหมู่,อยู่แล้วหนอ; เธอนั้น จักมาเป็นผู้โดดเดี่ยว ยินดียิ่งในความสงัดเงียบนั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.

    เมื่อเป็นผู้โดดดี่ยวยินดียิ่งในความสงัดเงียบแล้ว จักถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตและวิปัสสนาจิตได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.

    เมื่อถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตและวิปัสสนาจิตได้แล้ว จักยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบรูณ์ได้นั้นข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.

    เมื่อทำสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้แล้ว จักยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.

    เมื่อทำสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์ได้แล้ว จักละสัญโญชน์ทั้งหลายได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.

    เมื่อละสัญโญชน์ทั้งหลายได้แล้ว จักทำนิพพานให้แจ้งได้นั้นข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้แล.

    (คำแปลจากหนังสือขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ ของคณะธรรมไชยา พ.ศ.2514 หน้า 285-286)

    กล่าวโดยสรุป "นิมิต" เป็นขั้นตอนของการเจริญสมถภาวนาเพื่อกำจัดกิเลสนิวรณ์เครื่องกั้นปัญญาให้จิตใจผ่องใสควรแก่งานและ เป็นขั้นตอนของวิปัสสนาภาวนา คือ ยกสังขารนิมิต มีเบญจขันธ์ เป็นต้น ทั้ง ณ ภายนอก (ส่วนหยาบ) และทั้ง ณ ภายใน (ส่วนละเอียด) ขึ้นพิจารณาให้เห็นแจ้ง รู้แจ้ง สภาพความปรุงแต่งและ ลักษณะอันเป็นเอง ของสังขารธรรมที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ว่าเป็นสภาพ ไม่เที่ยง (อนิจฺจํ) เป็นทุกข์ (ทุกฺขํ) และ มิใช่ตัวตนที่แท้จริงของใคร (อนตฺตา)

    ในขั้นสมถภาวนา เมื่อสามารถถือเอาปฏิภาคนิมิตได้ ก็จะได้สมาธิจิต ในระดับอัปปนาสมาธิอันเป็นเบื้องต้นของปฐมฌานมรรคจิตอันประกอบด้วยสัมมาสมาธิ จึงจะเริ่มสามารถทำหน้าที่ได้สมบูรณ์ เพราะฉะนั้น ถ้าใครปฏิเสธนิมิตเสียตั้งแต่สมาธิจิตยังสมาธิ อันเป็นเบื้องต้นของปฐมฌาน มรรคจิตก็ย่อมจะยังไม่เจริญขึ้นสมบูรณ์ให้สามารถทำหน้าที่ปหานสัญโญชน์ได้เต็มกำลัง เพราะขาดสัมมาสมาธิ(การเจริญรูปฌานตั้งแต่ปฐมฌาน-จตุตถฌาน) อันเป็นไปเพื่อเจริญปัญญาเห็นแจ้ง รู้แจ้งในสภาธรรมและอริยสัจจธรรมตามที่เป็นจริงได้

    อนึ่ง เมื่อสมาธิจิตเป็นฌานจิต ตั้งแต่ปฐมฌานและเจริญขึ้นไปตามลำดับฌานนั้น ย่อมละองค์แห่งฌานที่หยาบ หรือเรียกว่า"ดับหยาบไปหาละเอียด" ไปเองโดยอัตโนมัติ อย่างสงสัยเลย

    ในขั้นวิปัสสนาภาวนาถ้าไม่ยกสังขารนิมิต อันตัณหาปวัตติ (ปรุงแต่งให้เป็นไป) ให้เห็นแจ้งสภาพความปรุงแต่ง และลักษณะอันเป็นเองตามธรรมชาติของสังขารธรรมทั้งหลายทั้งปวง ว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตาอย่างไรแล้ว ภาวนามยปัญญา(ปัญญาแจ้งชัดจากการเจริญภาวนาจริงๆ ) จะเกิดได้อย่างไร ? ก็จะได้แต่เพียงสุตามยปัญญา และ จินตมยปัญญา จากสัญญา คือความจำได้หมายรู้จากตำรา หรือจากที่ฟังเขาว่ามาเท่านั้นเอง

    ใครสอนให้ละ"นิมิต"ตั้งแต่ขั้นแรกของสมถและวิปัสสนากัมมัฏฐาน ก็เท่ากับสอนให้ละฐานสำคัญที่จะให้เกิดสมาธิจิตในระดับปฐมฌานขึ้นไป อันจะนำไปสู่การเห็นแจ้งรู้แจ้งสภาวะของสังขารธรรม และสัจจธรรมตามที่เป็นจริง การเจริญสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานก็จะมีสภาพเป็น "วิปัสสนึก (เอาเอง)"เท่านั้น ถึงแม้จะเป็นอุบายให้ได้รับผลเบื้องต้นในระดับหนึ่งแต่มรรคจิตก็ไม่สมบูรณ์พอจะปหานสัญโญชน์โดยเด็ดขาดได้  ต่อเมื่อถึงฌานจิตตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป จึงจะมีพลังพอที่จะปหานสัญโญชน์โดยเด็ดขาดได้ จึงขอให้ทบทวนพระพุทธดำรัสข้างต้นนี้ให้ดี จะได้ไม่หลงทางปฏิบัติ วนอยู่แต่ในวิธี "ขุดบ่อไม่ถึงตาน้ำ"
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,472
    ธรรมะบรรยายโดย
    หลวงป๋า วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม จ.ราชบุรี
    จำโดยเนื้อความว่า
    .
    "ท่านที่ชอบทำทาน รักษาศีล แล้วไม่เจริญ(ภาวนา)ปัญญา
    เวลาปุญญาภิสังขารส่งผลให้สุข จนหลงสุข ติดในสุข มันก็น่ากลัวและส่งผลร้ายต่อตัวท่านอย่างมากเหมือนกันนะ เพราะทำให้ติดในภพในชาติ เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏไม่จบไม่สิ้น"
    ................
    ขอคัดลอกข้อความพี่ Surin Temudom มาลงเพิ่มครับ
    .
    "หลวงป๋า" เคยเล่าว่า ...
    .
    มารตัวสำคัญ ที่คนส่วนมากนึกไม่ถึงก็คือ อุปาทานในอภิสังขารมาร
    "อภิสังขารมาร" ที่ว่านี้ก็อย่างเช่น
    ความร่ำรวย ความอยู่ดีมีสุข ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข (ที่ทำให้หลงยึดติด)
    บางคนถึง "ธรรมกาย" แล้ว
    แต่จิตใจยังเป็นโลกียะอยู่
    วิชชาที่เกิดขึ้นยังเป็น "โลกียวิชชา"
    แล้ว "หลงในวิชชา" นึกว่าตัวเองเก่งแล้ว
    ทั้งหมดนี้เรียกว่า ...
    " อุปาทานในอภิสังขารมาร"
    .
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,472
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,472
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,472
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 กันยายน 2015
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...