ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    รัสเซียจ่อขึ้นบัญชีดำห้าม “จอร์จ โซรอส” เข้าประเทศ หลังพบหลักฐาน “สมคบคิดโอบามา” หนุนปลุกระดมต้านปูติน โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 12 กรกฎาคม 2558 05:06 น. (แก้ไขล่าสุด 12 กรกฎาคม 2558 11:07 น.)

    [​IMG]

    เอเจนซีส์ / ASTV ผู้จัดการออนไลน์ - รัฐบาลรัสเซียอาจ “ขึ้นบัญชีดำ” ห้ามพ่อมดการเงินชื่อก้องโลก “จอร์จ โซรอส” เข้าประเทศ และอาจขับเจ้าหน้าที่องค์กรเอ็นจีโอการกุศลของพ่อมดการเงินรายนี้ออกจากแดนหมีขาวฐานมีพฤติกรรมเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ

    รายงานข่าวล่าสุดยืนยันว่ารัฐบาลรัสเซียภายใต้การนำของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน เตรียมพิจารณา “ขึ้นบัญชีดำ” แก่จอร์จ โซรอส พ่อมดการเงินชื่อก้องโลกชาวอเมริกันเชื้อสายยิว-ฮังกาเรียน ซึ่งจะมีผลให้โซรอสในวัย 84 ปี ถูกห้ามเดินทางเข้ารัสเซียเป็นการถาวร

    แหล่งข่าวทางการทูตในกรุงมอสโกเผยว่า ความเคลื่อนไหวล่าสุดของรัฐบาลรัสเซียมีขึ้นหลังหน่วยข่าวกรองแดนหมีขาวพบหลักฐานที่ยืนยันได้ว่าโซรอสได้ให้เงินสนับสนุนแก่กลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชนหลายแห่งในรัสเซีย ให้เคลื่อนไหวปลุกระดมชาวรัสเซียให้ลุกฮือขึ้นต่อต้านระบอบการปกครองของประธานาธิบดีปูติน และให้หันมาเลื่อมใสศรัทธาแนวคิดเรื่องประชาธิปไตยและเสรีภาพแบบอเมริกัน

    หน่วยข่าวกรองรัสเซียระบุว่า รัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้การนำของประธานาธิบดีบารัค โอบามา “รู้เห็นเป็นใจ” กับโซรอสมาโดยตลอดในเรื่องนี้ และเปิดทางให้โซรอสสามารถโยกย้ายถ่ายโอนเงินออกนอกประเทศได้เกินกว่าที่กฎหมายของสหรัฐฯ กำหนดไว้สำหรับนำเงินมาใช้ในภารกิจนี้ซึ่งมีจุดมุ่งหมายโดยตรงเพื่อ “บ่อนทำลายความมั่นคง” ของรัสเซีย

    รายงานข่าวระบุว่า นอกจากรัสเซียจะขึ้นบัญชีดำห้ามจอร์จ โซรอสเดินทางเข้าประเทศแล้ว ทางการแดนหมีขาวยังเตรียมลงดาบเชือดองค์กรพัฒนาเอกชนอีก 12 แห่ง ซึ่งรวมถึงมูลนิธิ “โอเพน โซไซตี ฟาวเดชัน” และ “โซรอส ฟาวเดชัน” ซึ่งต่างก่อตั้งขึ้นโดยโซรอส ด้วยการเนรเทศเจ้าหน้าที่ชาวต่างชาติขององค์กรเหล่านี้ออกจากรัสเซียด้วยเช่นกัน

    ก่อนหน้านี้ รัฐบาลมอสโกขู่จะบล็อกเว็บไซต์กูเกิล, เฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์ซึ่งต่างก็เป็นโซเชียลเน็ตเวิร์กสัญชาติอเมริกันหลังพบการเผยแพร่ข้อมูลที่เข้าข่ายบ่อนทำลายความเป็นเอกภาพของรัสเซียผ่านเว็บไซต์เหล่านี้


    http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000078575
     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Mahanthanut Vithitdhiranun

    [​IMG]

    12/07/15
    >>
    สำนักข่าวซินหัวสื่อรัฐบาลจีนรายงานว่า กระทรวงความมั่นคงสาธารณะของจีนยืนยันในวันนี้ว่า ผู้อพยพโดยผิดกฎหมายทั้งหมด 109 คนที่ถูกส่งตัวจากไทยเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา อยู่ระหว่างการเตรียมตัวเดินทางไปยังตุรกี, ซีเรีย หรืออิรักเพื่อร่วมกับกลุ่มก่อการร้ายในตะวันออกกลาง
    http://www.matichon.co.th/online/2015/07/14366278381436627954l.jpg
    รายงานได้อ้างข้อมูลจากกระทรวงความมั่นคงฯว่า จากการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจจีนสามารถเปิดโปงกลุ่มนอกกฎหมายในตุรกีที่ทำการจัดหาสมาชิกใหม่เพื่อเข้าร่วมกลุ่มก่อการร้ายได้หลายกลุ่มและยังพบว่าเจ้าหน้าที่ทางการทูตตุรกีในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บางประเทศได้ให้ความสะดวกแก่การเคลื่อนย้ายผู้คนโดยผิดกฎหมายเหล่านี้
    ในบรรดาผู้อพยพ 109 คนที่ถูกส่งตัวกลับ มี 13 รายที่หลบหนีจากจีนหลังเข้าไปเกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายและอีก 2รายที่หลบหนีการควบคุมตัว โดยกลุ่มจัดหาสมาชิกใหม่กลุ่มต่างๆได้นำเอาแนวคิดทางศาสนาแบบสุดโต่งมาโน้มนำให้ประชาชนเดินทางไปยังซีเรียและอิรักเพื่อทำสงครามศาสนา
    ผู้อพยพโดยผิดกฎหมายเมื่อเดินทางถึงตุรกีหลายคนนำโดยกลุ่มขบวนการอิสลามเตอกิสถานตะวันออก (ETIM) จะเดินทางไปยังซีเรียเพื่อทำการร่วมรบส่วนใครที่ไม่ได้เดินทางไปถึงซีเรียก็เข้าร่วมการก่อการร้ายไม่ว่าที่ใดก็ตามที่ตัวเองหยุดพัก โดยยกตัวอย่างเหตุการณ์การโจมตีในมณฑลยูนนาน เมื่อวันที่ 1 มีนาคม ปี 2014ว่าเป็นฝีมือของผู้ก่อการร้ายที่ไม่สามารถหลบหนีออกจากจีนได้โดยผิดกฎหมาย
    เจ้าหน้าที่ตำรวจยังพบว่า มีกลุ่มหัวรุนแรงที่ได้รับการปลูกฝังโดยETIM และถูกนำไปฝึกในซีเรียและอิรักก่อนกลับมายังจีนเพื่อขยายเครือข่ายก่อการร้าย และยังเข้าไปเกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายหลายครั้ง ทั้งนี้จากแถลงการณ์ของกระทรวงความมั่นคงฯ
    โดย CCTV สื่อโทรทัศน์ของรัฐบาลจีนยังได้เผยแพร่ภาพของกลุ่มชาวอุยกูร์ที่ถูกส่งตัวไปจากประเทศไทย ซึ่งจากภาพชาวอุยกูร์เหล่านี้ถูกปฏิบัติราวกับเป็นนักโทษร้ายแรงโดยมีการใช้ผ้าสีดำคลุมศรีษะขณะควบคุมตัวไว้ด้วย
    ก่อนหน้านี้ พลเอกธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่าผู้อพยพที่ถูกทางการไทยส่งไปยังประเทศจีนนั้นทางจีนยืนยันว่าจะดำเนินไปตามกระบวนการยุติธรรมไม่มีการประหารชีวิต ใครไม่เกี่ยวก็จะจัดสรรที่ทำกินให้ และดูแลอย่างดี ทั้งนี้ไทยตอบรับคำเชิญในการไปตรวจสอบชาวอุยกูร์พร้อมเชิญองค์กรต่างๆไปดูด้วย
    อย่างไรก็ดี ตามประมวลกฎหมายอาญาของจีน ในหมวดว่าด้วยอาชญากรรมอันเป็นอันตรายต่อความมั่นคงสาธารณะนั้น ในหลายความผิดได้ระบุโทษสูงสุดถึงประหารชีวิตไว้ด้วย
    ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ไทยและจีนถูกโจมตีอย่างหนักจากนานาชาติและองค์กรระหว่างประเทศ เช่นสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติที่ออกมาแสดงความกังวลต่อกรณีนี้ โดยระบุว่า ชาวอุยกูร์ที่ถูกผลักดันกลับโดยไม่สมัครใจกลุ่มนี้เผชิญความเสี่ยงอย่างสูงที่จะถูกทรมาน ซึ่งเป็นการละเมิดหลักการห้ามผลักดันกลับโดยไม่สมัครใจ (non-refoulement principle) ซึ่งรับรองไว้ในมาตรา 3 ของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และย่ำยีศักดิ์ศรี ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิก การส่งชาวอุยกูร์กลุ่มนี้กลับไปประเทศจีนทำให้ประเทศไทยละเมิดต่อพันธกรณีภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Mahanthanut Vithitdhiranun

    [​IMG]

    11/07/15
    >> อุยกูร์ คือใคร. (1)
    อุยกูร์ ในมุมมองนักตะวันออกลางศึกษา
    "อุยกูร์" เป็นกลุ่มเชื้อชาติในกลุ่มชาติพันธุ์"เตอร์กิช" หรือกลุ่มเชื้อชาติที่ใช้ภาษาตุรกี เช่นเดียวกับชาวตุรกีซึ่งก็ได้กระจัดกระจายไปพื้นที่ต่างๆ ในแถบเอเชียกลางบางประเทศก็อยู่เป็นชนกลุ่มน้อย แต่บางประเทศก็มีประชากรจำนวนมาก โดยเฉพาะในเขตปกครองซินเจียง-อุยกูร์ของจีน มีประชากรมากถึง 45% หรือ ประมาณ 10 ล้านคน ของประชากรในเขตปกครองซินเจียง-อุยกูร์
    เขตปกครองตนเองซินเจียง-อุยกูร์อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ถือเป็นเขตปกครองตนเองที่ใหญ่ที่สุดในจีนหรือมีขนาด 1/6 ของพื้นที่ทั้งประเทศ
    โดยมีชายแดนติดกับ 8 ประเทศ คือ มองโกเลีย รัสเซีย คาซัคสถาน เคอร์ดิสถาน ทาจิกิสถาน อัฟกานิสถาน ปากีสถาน และอินเดีย[1]
    [1]http://www.thairath.co.th/content/510556
    ชาวอุยกูร์มีความแตกต่างกับชาวจีนทั้งภาษา วัฒนธรรม ชาติพันธุ์ ที่เป็นชาติพันธุ์ ภาษา และวัฒนธรรมของประเทศจีน จึงทำให้ความขัดแย้งระหว่างเรื่องราวของความต่างกันเกิดขึ้นได้อย่างไม่ต้องสงสัย ผมจะทำความเข้าใจก่อนว่า ชาวอุยกูร์มีความสัมพันธุ์อย่างไรกบชาวตุรกีและประชากรในกลุ่มภาษาเดียว
    ชาติพันธุ์เตอร์กิซคือใคร
    กลุ่มชนเตอร์กิก (อังกฤษ: Turkic peoples) เป็นกลุ่มชนยูเรเชียที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนเหนือ กลาง และตะวันตกของยูเรเชียผู้พูดภาษาที่อยู่ในตระกูลภาษากลุ่มเตอร์กิก[24] ชนในกลุ่มชนเตอร์กิกมีลักษณะวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์บางอย่างร่วมกัน คำว่า “เตอร์กิก” เป็นคำที่ใช้แทนกลุ่มชาติพันธุ์/ภาษา (ethno-linguistic group) ของชาติพันธุ์ของสังคมที่ยังคงมีอยู่ในปัจจุบันเช่นชาวอาเซอร์ไบจาน, ชาวคาซัคสถาน, ชาวตาตาร์, ชาวคีร์กีซ, ชาวตุรกี,ชาวเติร์กเมน, ชาวอุยกูร์, ชาวอุซเบกิสถาน, ชาวฮาซารา, และรวมทั้งประชาชนในรัฐและจักรวรรดิเตอร์กิกในอดีตเช่นฮั่น, บัลการ์, คูมัน, ชนอาวาร์, เซลจุค, คาซาร์, ออตโตมัน, มามลุค, ติมูริด และอาจจะรวมทั้งซยงหนู (Xiongnu)
    กลุ่มภาษาเตอร์กิกเป็นกลุ่มของภาษาที่แพร่กระจายจากยุโรปตะวันออก ผ่านทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปถึงไซบีเรียและจีนตะวันตก และจัดเป็นส่วนหนึ่งของสมมติฐานตระกูลภาษาอัลไตอิก กลุ่มภาษานี้มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ราว 180 ล้านคน ถ้ารวมผู้ที่พูดเป็นภาษาที่สองด้วยมีราว 200 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นผู้พูดภาษาตุรกี ซึ่งคิดเป็น 40%ของผู้พูดกลุ่มภาษานี้ทั้งหมด
    เป็นเวลาหลายศตวรรษที่ผู้พูดกลุ่มภาษาเตอร์กิกได้เคลื่อนย้ายอย่างต่อเนื่อง และได้ติดต่อกับภาษาที่อยู่ใกล้เคียง ทั้งกลุ่มภาษาอิหร่าน กลุ่มภาษาสลาฟ และกลุ่มภาษามองโกเลียโดยทั่วไป กลุ่มภาษาเตอร์กิกแบ่งได้เป็น 6 สาขา คือ
    กลุ่มภาษาตะวันตกเฉียงใต้ หรือกลุ่มภาษาโอคุซ
    กลุ่มภาษาตะวันตกเฉียงเหนือ หรือกลุ่มภาษาเคียบชัก
    กลุ่มภาษาตะวันออกเฉียงใต้ หรือกลุ่มภาษาอุยกูร์
    กลุ่มภาษาตะวันออกเฉียงเหนือ หรือกลุ่มภาษาไซบีเรีย
    กลุ่มภาษาโอคูร์
    ภาษาอาร์คู
    อาจรวมกลุ่มภาษาตะวันตกเฉียงใต้ กลุ่มภาษาตะวันตกเฉียงเหนือ กลุ่มภาษาตะวันออกเฉียงใต้ และกลุ่มภาษาโอคูร์เข้าเป็นกลุ่มภาษาเตอร์กิกตะวันตก ที่เหลือจัดเป็นกลุ่มภาษาเตอร์กิกตะวันออก ทางด้านภูมิศาสตร์และภาษาศาสตร์ จัดให้ กลุ่มภาษาตะวันตกเฉียงเหนือ กลุ่มภาษาตะวันออกเฉียงใต้รวมเป็นกลุ่มภาษาเตอร์กิกกลาง ส่วนกลุ่มภาษาตะวันออกเฉียงเหนือ และภาษาคาลาซจัดเป็นภาษาที่อยู่ที่ราบ[2]
    [1]https://th.wikipedia.org/wiki/กลุ่มชนเตอร์กิก
    https://th.wikipedia.org/wiki/กลุ่มภาษาเตอร์กิก
    ในอดีตกาลพรมแดนมิได้ถูกขีดเขียนและจัดสรรอย่างเจนดั่งเช่นปัจจุบัน การปกครองแบบรัฐชาติสมัยใหม่ทำให้ชาวอุยกูร์นั้นตกเป็นส่วนหนึ่งของรัฐชาติสมัยใหม่ที่มีชื่อว่า จีน แม้จะมีข้อถกเถียงในประวัติศาตร์เกี่ยวกับการตกเป็นเมืองขึ้นต่อราชวงศ์ของจีนก็ตาม ทั้งนี้เป็นเพียงข้อเท็จจริงที่จะต้องหยิบเอามาพูด ถกเถียงต่อไปว่าทางออกควรจะเป็นอย่างไร ทั้งนี้ เมื่อความแตกต่าง ทั้งศาสนา วัฒนธรรมภาษารวมไปถึงชาติพันธุ์ วามต่างเหล่านี้ รวมไปถึงข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ ได้ถูกนำไปโยงเข้าปสู่ความเป็นรัฐชาติสมัยใหม่ ที่ทุกรัฐให้ความสำคัญ ในเรื่องของอำนาจและการจัดการในรัฐของตน คือ เรื่องภัยความมั่นคง
    ชาวอุยกูร์ทุกคนเชื่ออย่างมั่นคงว่าบรรพบุรุษของพวกตนคือชนพื้นเมืองในลุ่มน้ำทาริม ซึ่งครอบคลุมบริเวณกว้างถึงประมาณ 350,000ตารางกิโลเมตร หรือคือมณฑลซินเจียง ในปัจจุบัน โดยดินแดนซินเจียงได้ตกเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของจีนตั้งแต่สองพันปีก่อนเป็นต้นมา
    พอมาถึงราชวงศ์ชิงรัฐบาลกลางของจีนได้แต่งตั้งนายพลอีหลีไปปกครองดินแดนซินเจียงทั้งหมดและเมื่อถึงปี 2427 เขตซินเจียงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นมณฑลก่อนที่เดือน ก.ย.2492 ซินเจียงได้รับการปลดแอกอย่างสันติจนกลายเป็นเขตบริหารระดับมณฑลที่มีอำนาจปกครองตนเองตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2492[3]
    ปัจจุบัน จีนแบ่งการปกครองออกเป็น มณฑล (23 มณฑลรวมไต้หวัน) เขตปกครองตนเอง (5 เขต) เทศบาลนคร (4เขต) และเขตบริหารพิเศษ (2 เขต) [3]http://www.thairath.co.th/content/510556
    สำหรับซินเจียงอุยกูร์อยู่ในรูปแบบการปกครองแบบเขตปกครองตนเอง ใน 5 เขต ได้แก่เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน เขตปกครองตนเองหนิงเซียเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ และเขตปกครองตนเองทิเบต
    เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์เป็นเขตที่ใหญ่ที่สุดในเขตปกครองตนเองทั้ง5 เขต
    ศ.ดร.สุรชัยศิริไกร อาจารย์สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้สัมภาษณ์กับ "ทีม New Media PPTV HD"
    ว่าชาวอุยกูร์ที่จริงเป็นชาวเชื้อสายตุรกีเก่าอาศัยอยู่ที่เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์มาเป็นเวลานาน ร่วมกับชนเผ่าอื่นๆ อีก 10กว่าเผ่า แต่เผ่าอุยกูร์เป็นชนเผ่าที่ใหญ่ที่สุด
    ที่ผ่านมามีรายงานว่าความที่ชาวอุยกูร์เป็นชนเผ่าขนาดใหญ่จึงมีคนบางกลุ่มต้องการแบ่งแยกดินแดน โดยมีความคิดที่จะตั้งสาธารณรัฐ เคอร์ดิสถานอุซเบกิสถานตะวันออก และมีการไปตั้งเป็นขบวนการลับอยู่ในตุรกี
    "ขบวนการนี้มีมานานแล้วเป็นสิบๆปี แต่เริ่มมาตื่นตัวในช่วงที่มีการปฎิวัติมุสลิมภายในยุคหลังที่โซเวียตล่มสลาย อย่างที่เห็นได้ชัดเลยคือพวกชนเผ่าทั้งหลายของรัสเซียที่คิดแบ่งแยกดินแดน โดยเฉพาะใน เอเชียกลางก็ออกมาเป็นรัฐอิสระหมด บรรดาประเทศอาหรับทั้งหลายก็ไม่แปลกที่ซินเจียงจะอยากออกมาเป็นอิสระเช่นกัน จีนจึงจำเป็นต้องมีทหารราวๆ 1แสนคน ดูแลดินแดนเหล่านี้เหมือนกับที่ทิเบตที่จีนจัดวางกองกำลังทหารราว 1 แสนคนเพื่อดูแลป้องกันการแบ่งแยกดินแดน" ศ.ดร.สุรชัย กล่าว
    3 ชนวนสำคัญซินเจียงลุกฮือแบ่งแยกประเทศได้แก่ ช่วงการปฏิวัติมุสลิมขึ้นในอิหร่าน 1979 กระแสเรื่องการล่มสลายของรัสเซียและเมื่อกลุ่มไอเอสต้องการตั้งรัฐอิสลามรวมถึงความไม่พอใจจีนที่พยายามผลักดันชาวฮั่นมาอยู่ในซินเจียงและบังคับให้ทุกคนเรียนภาษาจีน[4]
    [4]http://www.pptvthailand.com/news/14447
    ข้อมูลจากจุลสารความมั่นคงศึกษาระบุว่าเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ในจีน อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือซินเจียงเป็นที่ตั้งของอาณาจักรโบราณ มาตั้งแต่เมื่อ 2,000 ปีก่อนเป็นจุดเชื่อมจีนเข้ากับเอเชียกลางและเอเชียใต้ซึ่งความเจริญถึงขีดสุดในยุคที่การค้าบนเส้นทางสายไหมรุ่งเรือง และศาสนาอิสลามได้เผยแพร่เข้ามาผ่านพ่อค้ามุสลิมดินแดนแถบนี้ตกเป็นของจีนมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16ในเวลานั้น ชาวฮั่นและชาวมุสลิมอยู่ร่วมกันอย่างสันติ แต่ต่อมาในศตวรรษที่ 18 จีนและรัสเซียแข่งขันกันแผ่อิทธิพลในเอเชียจีนจึงมีนโยบายเพิ่มความเข้มข้นในการปกครองซินเจียง[5]
    [5]http://board.postjung.com/895525.html
    สาเหตุสำคัญที่ทำให้ชาวอุยกูร์ต้องหลบหนี หรือที่เรียกว่าหนีตายจากบ้านเกิดของตนไปสู่ดินแดนอื่น เนื่องจากว่า การถูกกดขี่ ข่มเหง การริดรอนสิทธิขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ซึ่งก็ไม่ต่างจากกลุ่มชนอื่นๆที่ต้องอพยพหลี้ภัยกันมากมายทั่วโลก เรียกได้ว่าเป็นเรื่องประเด็นปัญหาคลาสสคิกับความเป็นรัฐชาติสมัยใหม่ เช่น รัฐอิสราเอลกับปาเลสไตน์ อารอพยพของชาวโรฮิงญา เนื่องด้วยต้องหนีตาย จากบ้านเกิดไปสู่แผ่นดินใหม่เพื่อ หาพื้นที่หายใจ
    ราชสำนักชิง มีนโยบายต่อชาวมุสลิมที่ต่อต้าน คือการปราบปรามอย่างเฉียบขาด ทำให้ชาวมุสลิมล้มตายไปเป็นจำนวนมาก และ เมื่อ 5 ก.ค.2552 ชาวอุยกูร์จำนวนมากได้ออกมาประท้วงทางการจีน เพราะถูกจำกัดสิทธิหลายเรื่อง
    ซึ่งการประท้วงนี้ สุดท้ายแล้วมีผู้เสียชีวิตเกือบ 200 คน บาดเจ็บกว่า 1,700 คนและหลังจากนั้นก็เกิดความรุนแรงอีกหลายครั้ง จนล่าสุดเมื่อเดือนรอมฎอนเริ่มต้นขึ้น ในวันที่ 18 มิถุนายนที่ผ่านมา ทางการจีนได้ออกมาตรการหลายอย่าง ที่สำคัญ คือจำกัดการถือศีลอดของชาวมุสลิมในซินเจียง สั่งร้านอาหารให้เปิดบริการกลางวันปกติห้ามข้าราชการพลเรือนนักศึกษา และ ครู ถือศีลอดรวมไปถึงการจับกุมคุมขังผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามสิ่งที่รัฐกำหนด เช่นการจับกุมชาวอุยกูร์ที่ไม่ยอมเคารพธงชาติจีนทำให้เพิ่มความตึงเครียดระหว่างชาวจีนและอุยกูร์ซึ่งความขัดแย้งดำเนินมานานต่อเนื่อง ทำให้มีชาวอุยกูร์หลายคนอพยพออกนอกประเทศโดยหวังจะไปอาศัยอยู่ที่ประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม เช่น ตุรกีปากีสถาน มาเลเซีย[6]
    [6]http://board.postjung.com/895525.html
    >>> ติดตามอ่านต่อในตอนที่ 2 สุดท้าย...!!!
    Cr.Nation
     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Mahanthanut Vithitdhiranun

    [​IMG]

    11/07/15
    >>> อุยกูร์คือใคร...(2)
    อุยกูร์ ในมุมมองนักตะวันออกลางศึกษา
    >>. สาเหตุ เริ่ม 5 ก.ค.2552 ชาวอุยกูร์นับพันคนได้ออกมาประท้วงทางการจีน เนื่องจากถูกจำกัดสิทธิในหลายเรื่อง ขณะเดียวกันก่อนหน้านี้ทางการได้ส่งชาวฮั่นเข้ามาในพื้นที่ปกครองตนเองของชาวอุยกูร์จำนวนมากซึ่งหลังจากเหตุประท้วง ส่งผลให้มีการปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและชาวฮั่นจนเกิดเหตุการจลาจล ทำให้มีผู้เสียชีวิต 197 เจ็บ 1,721
    รถถูกเผา อาคารถูกทุบทำลายหลายหลัง ชาวอุยกูร์เชื่อว่า
    ยอดผู้เสียชีวิตมีจำนวนมากกว่านี้ เพราะมีผู้ชายสูญหายไปจำนวนมาก
    หลังจากนั้นก็เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงขึ้นหลายครั้งกระทั่งวันที่ 1 มี.ค.57เกิดเหตุคนร้ายนับ 10 รายถือมีดไล่ฆ่าประชาชนไม่เลือกหน้า ในสถานีรถไฟในเมืองคุนหมิงทางตะวันตกเฉียงใต้ของมณฑลยูนนาน ส่งผลให้มีประชาชนเสียชีวิต 29 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีก 143 ราย [7]
    [7]http://www.thairath.co.th/content/510556
    นี่ไม่ใช่เรื่องใหม่เลยสำหรับประชาคมโลกภายใต้รัฐชาติสมัยใหม่ ที่กำหนดขอบเขตดินแดนที่ชัดเจน และการออกแบบการจัดการภายในรัฐของตนด้วยอำนาจของรัฐบาลหรือผู้บริหารประเทศ ยังมีเรื่องราวที่ฉายภาพให้เห็นว่าทำไมเขาต้องหนีตาย เหตุผลด้วยกันกับชนกลุ่มน้อยในโลกคือการถูกกดขี่ การถูกริดรอนสิทธิขั้นพื้นฐานนั่นเอง
    ขณะที่เบื้องหลังของความขัดแย้งนั้นมาจากเจ้าหน้าที่ของจีนได้ใช้มาตรการควบคุมชาวอุยกูร์ในซินเจียงอย่างเข้มงวดกวดขันโดยมีการจำกัดสิทธิในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพในการนับถือศาสนาของพวกเขาการแย่งชิงทรัพยากร การกีดกันทางเศรษฐกิจ การเลือกปฏิบัติ รวมไปถึงการจับกุมคุมขังผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามสิ่งที่รัฐกำหนดเช่น การจับกุมชาวอุยกูร์ที่ไม่ยอมเคารพธงชาติจีน การละเมิดสิทธิมนุษยชนล่าสุดที่ชาวอุยกูร์ต้องเผชิญก็คือในกลางเดือนมีนาคมนี้ซึ่งเป็นวันเริ่มต้นของเดือนรอมฎอนรัฐบาลจีนได้กีดกันทางศาสนาโดยห้ามชาวอุยกูร์ถือศีลอดในเดือมรอมฎอน ซึ่งชาวอุยกูร์มองว่า เป็นมาตรการบังคับให้ชาวอุยกูร์ละทิ้งวัฒนธรรมมุสลิมและทำให้ความเชื่อศรัทธาของชาวอุยกูร์เป็นเรื่องการเมือง คือการยั่วยุที่มีแต่จะนำไปสู่ความไร้เสถียรภาพ การต่อต้านและความขัดแย้ง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในซินเจียงอุยกูร์ก็ไม่แตกต่างกับเหตุการณ์ความขัดแย้งในทิเบตภายหลังรัฐบาลปักกิ่งเร่งพัฒนาเศรษฐกิจแนวเสรีนิยมใหม่ และขยายอำนาจไปยังเขตปกครองตนเองของกลุ่มชาติพันธุ์อื่นนโยบายดังกล่าวยังทำให้ชาวฮั่นซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในจีนได้หลั่งไหลเข้าไปตั้งรกรากในเขตปกครองตนเองของกลุ่มชาติพันธุ์อื่นด้วย เมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นชาวอูกุยร์ส่วนหนึ่งจึงหลบหนีออกนอกประเทศในฐานะของ "ผู้แสวงหาแหล่งพักพิง"โดยเป้าหมายของพวกเขาคือการอพยพข้ามชาติไปยังประเทศปากีสถานและชุมชนมุสลิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น มาเลเซีย และกัมพูชาในกรณีของไทยนั้น ถือได้ว่าอุยกูร์ใช้เป็นเพียงทางผ่าน สิ่งที่น่าเศร้าก็คือบางประเทศได้ส่งผู้แสวงหาที่พักพิงชาวอุยกูร์เหล่านี้กลับจีนแม้ว่าพวกเขาขอสถานะเป็นผู้ลี้ภัย เช่น กัมพูชาตัดสินใจส่งผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์ 20 คนกลับจีนเพราะจีนและกัมพูชามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมานานและจีนเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือรายใหญ่ต่อกัมพูชาการส่งกลับนี้เกิดขึ้นท่ามกลางเสียงคัดค้านและประท้วงจากสหรัฐ สหประชาชาติและกลุ่มสิทธิมนุษยชนต่างๆและถือว่าเป็นการละเมิดอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยเรื่องผู้ลี้ภัยเพราะคนเหล่านี้จะถูกทำร้ายและกระทำทารุณกรรมตามมา[8]
    [8]http://www.citizenthaipbs.net/node/5870
    ปัญหาคลาสสิคอีกประเด็นนึงที่ไม่อาจจะมองข้ามได้ คือการมองมนุษย์ที่มีความแตกต่างทางอัตลักษณ์ ไม่เท่ากับตน หรือมองคนไม่เท่ากัน ในสภาวะรัฐชาติที่ถูกกำหนดให้รัฐชาตินั้นเป็นของชาติใดๆ ทั้งที่การให้คำนิยามความเป็นชาตินั้นสามารถให้นิยามได้กว้างกว่าการยึดเอาชาติพันธุ์ตนหรือส่วนใหญ่ของรัฐเป็นตัวกำหนด ความขัดแย้งระลอกนี้ คงหนีไม่พ้นเรื่องของ ความต่างในอัตลักษณ์ ในภาวะรัฐชาติสมัยใหม่
    ภายหลังการปฏิวิติของเหมาเจ๋อตุงประเทศจีนได้แบ่งชาวจีนออกเป็นชนชาติต่างๆ ทั้งหมด 56 ชนชาติ (nationality) ซึ่งในจำนวนนี้มีชนชาติที่เป็นมุสลิมจำนวน10 ชนชาติ ดังนั้น ชนชาติอุยกูร์คือหนึ่งในสิบของชนชาติมุสลิมในประเทศจีน คำว่า “ชนชาติ” มาจากภาษาจีนว่า“หมินจู๋” (minzu) คำนี้เพิ่งถูกกล่าวถึงในภาษาจีนเป็นครั้งแรกเมื่อศตวรรษที่20 นี้เอง โดยมีที่มาจากภายหลัง ดร.ซุน ยัตเซ็นได้โค่นล้มระบบราชวงศ์ของจีนลงในปี ค.ศ.1911 แนวคิด “หมินจู๋”เป็นแนวคิดที่ ดร.ซุน ยัตเซ็นนำเข้าและได้รับอิทธิพลจากจากอุดมการณ์ชาตินิยมที่ฝังรากมายาวนานในสังคมญี่ปุ่นที่เรียกว่า“หมินโจกุ”โดยเห็นว่าหากขบวนการชาตินิยมจีนจะเป็นจริงขึ้นมาได้นั้นจำเป็นที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์อย่างถอนรากถอนโคนระหว่างผู้ปกครองกับผู้ใต้ปกครองที่ได้ยืนหยัดมายาวในสังคมจีนหรืออาจเข้าใจได้ในทางยุทธวิธีก็คือว่า ดร.ซุนต้องการใช้แนวคิดนี้เพื่อระดมชาวจีนทั้งประเทศเพื่อทำการโค่นล้มราชวงศ์ชิงซึ่งถูกสถาปนาขึ้นโดยกลุ่มคนเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเท่านั้นหรือที่เรียกว่าชาวแมนจู (Manchu) โดยพยายามบอกว่าคนส่วนใหญ่ในประเทศจีนนั้นเป็นชนชาวฮั่น(Han) ดังนั้น ดร.ซุน จึงเห็นว่า แนวคิด “หมินจู๋”เป็นสัญลักษณ์ชาตินิยมที่ทรงประสิทธิภาพในการต่อต้านพวกแมนจูและชาวต่างชาติอื่นๆซึ่งคนส่วนใหญ่ในประเทศจีนย่อมเข้าร่วมด้วยอย่างแน่นอน ดังนั้น ดร.ซุน ยัตเซ็น จึงได้รณรงค์ความคิดว่าประเทศจีนประกอบด้วยผู้คน 5 กลุ่ม คือ ชาวฮั่น ชาวแมนจู ชาวมองโกล ชาวทิเบต และชาวหุย(ซึ่งรวมชาวมุสลิมทุกกลุ่มไว้ในกลุ่มนี้ ซึ่งต่อมายุคประธานเหมาได้แบ่งย่อยเป็นชาวหุย ชาวอุยกูร์ ชาวคาซัก ฯลฯ) และแนวคิดนี้ได้กลายเป็นแนวนโยบายหลักของ ดร.ซุนในการตั้งระบอบสาธารณรัฐเป็นครั้งแรกของจีน หากลองย้อนดูประวัติศาสตร์จีนแล้วชาวอุยกูร์ทุกคนต่างเชื่ออย่างมั่นคงว่าบรรพบุรุษของพวกเขาคือชนพื้นเมืองในลุ่มน้ำทาริมซึ่งครอบคลุมบริเวณกว้างถึงประมาณ 350,000 ตารางกิโลเมตรหรือที่รู้กันในปัจจุบันคือ "มณฑลซินเจียง"พวกเขาเชื่อว่าที่ดินแดนนี้คือผืนดินของพวกเขา ในหนังสือประวัติศาสตร์ซินเจียง (1977)แจ๊ค เฉิน (Jack Chen) ได้อธิบายคำว่า อุยกูร์ว่าหมายถึงชนเผ่าเติร์กที่อาศัยอยู่ในเติร์กกิสถานของจีนแต่จากการรวบรวมบันทึกเกี่ยวกับชนเผ่าร่อนเร่ที่รู้จักกันว่าคือชาวอุยกูร์นั้นปรากฏพบตั้งแต่ก่อนศตวรรษที่ 8 ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่นับถือพ่อมดหมอผีและเปลี่ยนมานับถือพุทธ ต่อมาชนชาวอุยกูร์ได้ค่อยๆ เปลี่ยนเข้ารับอิสลามนับตั้งแต่ศตวรรษที่ 10-16 และอัตลักษณ์ของพวกเขาได้สูญหายไปในช่วงศตวรรษที่15-20 โดยถูกเรียกว่าเป็นชนชาวหุย-เหอ หรือหุย-หู
    ปัจจุบัน ในประเทศจีน มีชาวอุยกูร์อยู่ประมาณ 10 ล้านคน ซึ่งเป็นชนชาติมุสลิมที่มีจำนวนมากเป็นอันดับสองรองจากชนชาติหุย (Hui)จากจำนวนชนชาติมุสลิม 10 ชนชาติในประเทศจีนและเป็นชนชาติที่มีมากเป็นลำดับที่ 5 ของประเทศจีนจากทั้งหมด56 ชนชาติ โดยเกือบร้อยละ 90 อาศัยอยู่ในมณฑลซินเจียง(ตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน)ถึงแม้ว่าชนชาวอุยกูร์จะปรากฏมายาวนานย้อนไปถึงก่อนศตวรรษที่ 8 แต่อัตลักษณ์ของพวกเขามีการปรับเปลี่ยนอย่างขนานใหญ่ตามบริบทของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิสัมพันธ์กับรัฐชาติของจีนที่เป็นตัวแปรสำคัญ คำว่า “อุยกูร์”จึงไม่ได้มีความหมายในเชิงชนเผ่าหรือเขตแดนแต่เพียงอย่างเดียวหากมีนัยทางการเมืองที่แฝงอยู่ดังที่พวกเขาถูกจัดกลุ่มให้กลายเป็นพวกเดียวกับหุย-เหอ หรือหุย-หูในขณะที่พวกเขายังคงสืบทอดภาษาสำเนียงเติร์กของตัวเองและต่อมาชนชาวอุยกูร์ถูกผนวกเข้ากับจีนอย่างจริงจังอีกครั้งหลังจากการปฏิวัตเหมาปีค.ศ.1949 โดยพร้อมๆ กับการได้รับการยอมรับความเป็นชนชาติอุยกูร์อย่างเป็นทางการนั้นจีนก็ได้ดำเนินนโยบายส่งชนชาวฮั่นมากมายเข้าไปในดินแดนซินเจียงที่มีทรัพยากรธรรมชาติอย่างมหาศาลเพื่อดำเนินนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของจีนจนเป็นที่มาของความขัดแย้งต่อมาอย่างมากมาย[9]
    [9]http://www.komchadluek.net/detail/20150710/209483.html
    >>> ข่าว เปิดชาติพันธุ์อุยกูร์ ส่องชนวนขัดแย้งจีน ไขคำตอบทำไมฉุนไทย! - ข่าวไทยรัฐออนไลน์
    Cr.Nation.
     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Mahanthanut Vithitdhiranun

    [​IMG]

    12/07/15
    >> จีนจวกบางปท.เบนประเด็น
    ชี้ตุรกีปลอมหลักฐานอุยกูร์ | เดลินิวส์
    ". จีนจวกบางปท.เบนประเด็น "
    ชี้ตุรกีปลอมหลักฐานอุยกูร์ จีนกล่าวหาตุรกีลักลอบจัดทำเอกสารการเป็นพลเมืองให้แก่ชาวอุยกูร์ เพื่อนำกลุ่มคนเหล่านี้ไปขายต่อให้แก่กลุ่มไอเอส ...!!!!!
    พร้อมทั้งตำหนิ "บางประเทศ" พยายามเบี่ยงประเด็นในเรื่องนี้ วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม 2558 เวลา 16:37 น.
    สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 11 ก.ค. ว่ากระทรวงความปลอดภัยสาธารณะของจีนออกแถลงการณ์ยืนยันว่า
    ชาวพื้นเมืองอุยกูร์ในประเทศทุกคนคือ "ชาวจีน" ผู้ที่หลบหนีออกไปจึงควรเดินทางกลับภูมิลำเนาของตัวเอง นั่นคือเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน
    แต่กลับมีรายงานว่า เจ้าหน้าที่การทูตของตุรกีในหลายประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
    โดยเฉพาะในมาเลเซีย ลักลอบจัดทำเอกสารพิสูจน์สัญชาติว่าเป็นชาวตุรกีให้แก่กลุ่มชาวอุยกูร์เหล่านี้ จากนั้นเมื่อเดินทางเข้าไปในตุรกีกลับถูกขายต่อให้แก่กลุ่มไอเอส อย่างไรก็ตาม
    กระทรวงการต่างประเทศตุรกีและสถานเอกอัครราชทูตตุรกีในกรุงกัวลาลัมเปอร์ยังสงวนท่าทีในเรื่องนี้
    ด้านน.ส.หัว ชุน อิ๋ง โฆษกหญิงกระทรวงการต่างประเทศจีน แถลงเมื่อวันศุกร์
    วิจารณ์รัฐบาล "บางประเทศ" พยายามเบี่ยงประเด็นอันเป็นข้อเท็จจริงที่ว่า การลักลอบเดินทางเข้าเมืองถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ด้วยการเรียกขานกลุ่มชาวอุยกูร์ที่หลบหนีออกไปว่า "ผู้ลี้ภัย" ทั้งที่ไม่มีหลักฐานรองรับ
    ถือเป็นการวิจารณ์ความร่วมมือระหว่างจีนกับไทยอย่างไร้ศีลธรรม เนื่องจากทั้งสองประเทศกำลังร่วมมือกันแก้ไขปัญหาการอพยพย้ายถิ่นฐานอย่างผิดกฎหมาย
    ทั้งนี้ จีนและตุรกีมีปมขัดแย้งกันเรื่องชาวอุยกูร์มายาวนาน แต่สถานการณ์ล่าสุดยิ่งสร้างความตึงเครียดให้กับความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ
    ขณะที่ประธานาธิบดีเรย์เซป เทย์ยิป เออร์โดกัน ฝผู้นำตุรกี มีกำหนดเดินทางเยือนกรุงปักกิ่งอย่างเป็นทางการ
    ในเดือนนี้ด้วย“
    อ่านต่อที่ : จีนจวกบางปท.เบนประเด็น ชี้ตุรกีปลอมหลักฐานอุยกูร์ | เดลินิวส์
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Mahanthanut Vithitdhiranun ได้แชร์รูปภาพของ เกษตรอัจฉริยะ - Smart Farm

    [​IMG]

    12/07/15
    > สภาพที่เปลี่ยนไป..!!!

    ลองมาดูกันครับ ว่าประเทศไทยแห้งแล้งขนาดไหน ... ภาพจากดาวเทียมสแกนความชื้นในดินของนาซ่า ชี้ให้เห็นว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ในประเทศไทย ยกเว้นภาคใต้แห้งแล้งมาก แม้แต่ภาคเหนือที่ปกติ ควรจะชุ่มชื้นในช่วงฤดูฝน ก็ยังค่อนข้างแห้ง เมื่อเทียบกับพื้นที่ใกล้เคียงในประเทศพม่า และบริเวณมณฑลยูนนาน ทางตอนใต้ของจีนที่มีความชุ่มชื้นสูงกว่ามาก

    สอดคล้องกับข้อมูลความเหมาะสมของพื้นที่เพาะปลูกในอนาคต ที่ผมเคยเอามาโพสต์ก่อนหน้านี้ ซึ่งระบุว่าอีกหน่อย ทางตะวันตกเฉียงเหนือของพม่า ทางเหนือของลาว และ ทางตอนใต้ของจีน จะกลายมาเป็นทำเลทองของการเกษตร ... จะมีความเหมาะสมทั้งสภาพอากาศ และ น้ำ ในการเพาะปลูก ... ใครรู้เรื่องนี้แล้ว ก็ต้องรีบไปแถวนั้นครับ

    หมายเหตุ** - ลองเทียบความแห้งแล้งของไทย กับ อิหร่านก็แล้วกันครับ สีเหลืองคือแล้ง ยิ่งเข้มยิ่งแล้ง ... นี่เราน้องๆ อิหร่านเลยนะนั่น ทำเล่นไป

    Credit : Many Thanks to .....
    - Picture from NASA
     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    In Pics : สดจากที่ประชุม!! ลือหึ่งเยอรมันเริ่มกดปุ่มแผนขับกรีซออกยูโรโซน 5 ปี “Grexit” หลังที่ประชุมปฎิเสธข้อเสนอจากเอเธนส์ – สภาฟินแลนด์โหวตมติขับกรีซ โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 12 กรกฎาคม 2558 11:49 น.

    [​IMG]

    @ผู้อำนวยการ IMF (ขวา) และรัฐมนตรีการคลังกรีซคนใหม่(ซ้าย)ในที่ประชุมเจรจาหนี้กรีซในวันเสาร์(11)

    เอเจนซีส์/เอเอฟพี – เมื่อวานนี้(11)ประธานาธิบดีมอลตาทวีตรายงานผลการเจรจาหนี้กรีซในวันแรกว่า “การประชุมล้มเหลว” และมีรายงานล่าสุดอย่างไม่เป็นทางการว่า รัฐมนตรีการคลังเยอรมัน วูฟกัง ชอยบ์เล่ (Wolfgang Schauble) ได้เริ่มแจกมาตรการชั่วคราว 5 ปี “Grexit” ขับกรีซออกจากเขตเศรษฐกิจยุโรป หลังจากที่ประชุมปฎิเสธข้อเสนอจากกรีซในการรัดเข็มขัดเพื่อรับเงินช่วยเหลือครั้งที่ 3 จำนวนไม่ต่ำกว่า 80 ล้านยูโร โดยมองว่าเป็นมาตรการที่อ่อนเกินไป ก่อนที่จะเริ่มมีการเจรจาต่ออีกครั้งในวันอาทิตย์(12) ด้านรัฐสภาฟินแลนด์ลงมติไม่รับร่างข้อเสนอเอเธนส์ และลงมติสนับสนุนร่างข้อเสนอขับกรีซออกจากยูโรโซนชั่วคราว

    เดอะการ์เดียน สื่ออังกฤษรายงานวันนี้(12)ว่า ที่ประชุมเจรจาปัญหาวิกฤตหนี้สิ้นกรีซ มีรายงานว่าที่ประชุมไม่ตกลงรับข้อเสนอจากกรีซในความพยายามครั้งสุดท้ายของการเจรจาก่อนที่กรีซจะต้องออกจากยูโรโซนไป และรายงานอย่างไม่เป็นทางการยังระบุว่า รัฐมนตรีการคลังเยอรมันวูฟกัง ชอยบ์เล่ (Wolfgang Schauble) ได้เริ่มแจกมาตรการชั่วคราว 5 ปี “Grexit” เพราะข้อเสนอที่เอเธนส์ยื่นมาประกอบด้วยข้อเสนอรับปากจะปฎิรูประบบบำนาญ, การขึ้นภาษี และการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อข้อรับเงินช่วยเหลือเพิ่มเติมก้อนที่ 3 ไม่ต่ำกว่า 80 ล้านยูโรนั้นไม่เพียงพอในสายตากลุ่มเจ้าหนี้ทรอยกาไปเสียแล้ว

    โดยทางกลุ่มเจ้าหนี้ทรอยกามีความเห็นว่า ต้องการข้อเสนอมาตรการรัดเข็มขัดทางการคลังที่เข้มงวด และสื่ออังกฤษรายงานว่า รัฐสภาฟินแลนด์ลงมติไม่ยอมรับแผนการจากนายกรัฐมนตรีอเล็กซิส ซีปราซ และโหวตสนับสนุนแผนขับกรีซออกจากยูโรโซน

    เดอะการ์เดียนระบุเพิ่มเติมว่า ตลอด 9 ชม.ของการเจรจาในคืนวันเสาร์(11) บรรดารัฐมนตรีการคลังกลุ่มสมาชิกสหภาพยุโรปไม่สามารถตกลงกับกรีซในการยื่นข้อรับความช่วยเหลือครั้งใหม่ได้ โดยทางที่ประชุมระบุว่า กรีซได้ทำลายความเชื่อมั่นของที่ประชุมไปแล้ว และทำให้อนาคตของยูโรโซนต้องสั่นคลอนหลังจากได้เริ่มต้นก่อตั้งขึ้นมาเป็นระยะเวลาเพียง 15 ปีเท่านั้น

    สื่ออังกฤษยังรายงานต่อว่า แผนการมาตรการชั่วคราว 5 ปี “Grexit” เป็นแผนการยื่นข้อเสนอให้กรีซในการให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมและต่างๆให้กับกรีซในระหว่างการปรับเปลี่ยนสถานภาพหลังต้องถูกขับออกจากเขตเศรษฐกิจยุโรปชั่วคราวเป็นเวลา 5 ปี เพื่อปรับสภาพโครงสร้างหนี้ของตนเอง

    และในแผนการนี้ที่ร่างโดยรับมนตรีการคลังเยอรมัน และได้รับการสนับสนุนจากอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมัน มีทางเลือกให้กับกรีซเพียงแค่ 2 ทางเลือกเท่านั้น

    กล่าวคือ (1) เอเธนส์ต้องยื่นมาตรการรัดเข้มขัดทางการคลังที่เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนเข้าไปใหม่ เป็นต้นว่า ขายหลักทรัพย์กรีซมูลค่า 50 พันล้านยูโรเพื่อชำระหนี้ และยอมให้บรัสเซลส์เป็นผู้บริหารกิจการสาธารณะของกรีซ (2) หรือเอเธนส์ตกลงยอมรับในมาตรการ “Time-out” และยอมออกจากเขตเศรษฐกิจยุโรปไป

    สื่ออังกฤษรายงานต่อว่าการประชุมได้หยุดลงชั่วคราว และจะเริ่มมีการประชุมต่ออีกครั้งในวันอาทิตย์(12)เวลา 10.00 น.

    เอเอฟพีรายงานเพิ่มเติมในวันนี้(12)ว่า แหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องซึ่งได้เห็นเอกสาร Grexit ได้เปิดเผยกับเอเอฟพีซึ่งสอดคล้องกับการรายงานของเดอะการ์เดียนว่า “นี่เป็นเพียงเมโมภายใน แต่ไม่ได้แจกจ่ายในที่ประชุมในวันเสาร์(11) เพราะมีแค่ 2 ทางเลือกสำหรับกรีซคือ การยื่นข้อเสนอใหม่ที่รัดกุมมากกว่าเดิม หรือ ยอมออกจากยูโรโซนเป็นเวลา 5 ปี”

    ทั้งนี้หนังสือพิมพ์เยอรมัน Frankfurter Allgemeine Sonntagszeitung ระบุว่า แหล่งข่าวเยอรมันเปิดเผยว่า แผนการถูกตีพิมพ์บนกระดาษเพียง 1 หน้าจากกระทรวงการคลังเยอรมันแจกจ่ายให้ตัวแทนสมาชิกชาติต่างๆ ซึ่งสื่อเดอะการ์เดียนได้รายงานภาพเอกสารชิ้นนี้ซึ่งถูกเผยแพร่บนทวีตเตอร์ของนักข่าว

    และมีรายงานการชี้แจงถึงสาเหตุการปฎิเสธไม่ยอมรับข้อเสนอจากเอเธนส์ว่า เป็นเพราะแผนการของกรีซเพื่อข้อรับเงินกู้ก้อนที่ 3 ที่มีระยะเวลา 3 ปีสำเร็จ ยังไม่สามารถจูงใจให้เห็นได้ว่าจะมีการปฎิรูปอย่างแท้จริง โดยเฉพาะในส่วนสำคัญที่เป็นปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไข

    เอเอฟพียังรายงานต่อว่า หนังสือพิมพ์เยอมันระบุเพิ่มเติมว่า ได้มีการกระตุ้นให้เอเธนส์ปรับปรุงข้อเสนอ และหามติจากรัฐสภากรีซรับรองในแผนการหาเงินจำนวน 50 พันล้านยูโร ที่ได้มาจากการขายหลักทรัพย์ที่มีอยู่เพื่อปรับลดจำนวนหนี้

    หรือไม่เช่นนั้นกรีซต้องออกจากเขตเศรษฐกิจยุโรปที่มีสมาชิก 19 ชาติเป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปี เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ในขณะที่ยังคงสามารถรักษาสถานภาพสมาชิกสหภาพยุโรปที่มีสมาชิก 28 ชาติต่อไปได้ และรับความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการสนับสนุนอื่นๆในระหว่างการปรับสถานภาพ

    ในขณะสื่อเดอะการ์เดียนรายงานเพิ่มเติมผ่านทวีตเตอร์รายงานสดของนักข่าวที่เกาะติดในที่ประชุมว่า ในการประชุมฉุกเฉินเพื่อหาทางออกวิกฤตหนี้ในวันอาทิตย์(12)ที่จะมีผู้นำประเทศสมาชิกชาติยุโรปเข้าร่วม รวมถึงประธานาธิบดีมอลตา ผู้ซึ่งทวีตรายงานผลการประชุมวิกฤตหนี้กรีซในการประชุมเมื่อวานนี้(11)ระดับรัฐมนตรีการคลัง ที่มีผู้อำนวยการสถาบันการเงิน IMF เข้าร่วม ได้แถลงว่า “การประชุมในวันเสาร์ล้มเหลว”

    และสื่ออังกฤษรายงานเพิ่มเติมว่า ในการมติการลงคะแนนของกลุ่มชาติสมาชิกยุโรปในการประชุมฉุกเฉิน ต้องการเสียงสนับสนุนเพียงแค่ 85%ว่า ไม่ใช่แบบเอกฉันท์

    โดยชาติที่นำเงินออกจากคลังเพื่อช่วยกรีซปลดหนี้มากกว่า จะได้รับสิทธิ์ได้เสียงมากกว่าในการลงคะแนน เป็นต้นว่า ชาติเล็ก ทั้งนี้ ฝรั่งเศส อิตาลี และเยอรมัน กลายเป็น 3 ชาติยักษ์ที่มีเสียงมีสิทธิในการลงวีโต้ครั้งนี้ ในขณะที่ฟินแลนด์และสโลวาเกียเป็น 2 ชาติที่มีรัฐมนตรีการคลังสายเหยี่ยว โดยล่าสุดฟินแลนด์ลงมติไม่ยอมรับข้อเสนอกรีซแล้ว

    ในขณะที่เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม โปตุเกส และออสเตรียมีอิทธิพลส่งผลต่อการลงคะแนนที่มีการออกเสียงสนับสนุนหรือคัดค้านที่สูสี


    http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000078635
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    รัฐมนตรีเศรษฐกิจของกรีซ เผยรัฐบาลเอเธนส์อาจคง “มาตรการควบคุมการเงิน” ต่ออีกอย่างน้อย 2 เดือน โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 12 กรกฎาคม 2558 04:14 น. (แก้ไขล่าสุด 12 กรกฎาคม 2558 11:14 น.)

    [​IMG]

    รอยเตอร์ / เอเจนซีส์ / ASTV ผู้จัดการออนไลน์ - จอร์จ สตาทากิส รัฐมนตรีเศรษฐกิจของกรีซ เผยในวันเสาร์ (11 ก.ค.) โดยระบุ มาตรการควบคุมทางการเงินที่รัฐบาลเอเธนส์ประกาศบังคับใช้กับสถาบันการเงินทั่วประเทศไปก่อนหน้านี้จะยังคงมีผลบังคับใช้ต่อเนื่องไปอีก “อย่างน้อย 2 เดือน”

    สตาทากิส เปิดเผยเรื่องดังกล่าวผ่านสถานีโทรทัศน์เมกาทีวี ของกรีซ โดยระบุว่าการกลับมาเปิดทำการตามปกติของบรรดาธนาคารพาณิชย์ในประเทศนั้นอาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่สัปดาห์หน้าเป็นต้นไป หากรัฐบาลเอเธนส์สามารถที่จะบรรลุข้อตกลงกับบรรดาเจ้าหนี้ต่างประเทศได้ภายในช่วงสุดสัปดาห์นี้ ในขณะที่ที่ประชุมของรัฐมนตรีคลังกลุ่มยูโรโซน หรือที่เรียกว่า “ยูโรกรุ๊ป” ที่กรุงบรัสเซลส์ของเบลเยียม กำลังหารือเครียดเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อคำร้องของรัฐบาลฝ่ายซ้ายของกรีซ ในการขอรับความช่วยเหลือทางการเงินรอบใหม่

    อย่างไรก็ดี สตาธากิสในวัย 61 ปี ซึ่งเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ โครงสร้างพื้นฐาน การเดินเรือและการท่องเที่ยวของกรีซตั้งแต่ปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา เผยว่า มาตรการควบคุมทางการเงินอื่นๆ ซึ่งครอบคลุมถึงการจำกัดการถอนเงินและการโยกย้ายถ่ายโอนเงินออกนอกประเทศ อาจต้องถูกบังคับใช้ต่อไปอีกระยะเวลาหนึ่งซึ่งอาจหมายถึง 2 เดือน หรือหลายเดือนนับจากนี้

    ท่าทีล่าสุดของรัฐมนตรีคนสำคัญในรัฐบาลฝ่ายซ้ายของกรีซรายนี้มีขึ้นภายหลังจากที่รัฐสภากรีซลงมติให้ความเห็นชอบต่อแผนปฏิรูปการคลังฉบับล่าสุดที่นายกรัฐมนตรี อเล็กซิส ซีปราส นำเสนอต่อเจ้าหนี้ต่างชาติในวันเสาร์ (11 ก.ค.) ถือเป็นความร่วมแรงร่วมใจเพื่อช่วยประเทศชาติให้รอดจากภาวะล้มละลายอย่างสิ้นเชิงในทางเศรษฐกิจ ขณะที่แหล่งข่าวในกรุงบรัสเซลส์ของเบลเยียมชี้ว่า แผนปฏิรูปของกรีซนี้อาจนำไปสู่การ “ปลดล็อก” วงเงินกู้งวดใหม่ที่มีมูลค่ามหาศาลถึง 74,000 ล้านยูโร

    แพกเกจปฏิรูปดังกล่าวได้รับการโหวตรับรองด้วยคะแนน 251 ต่อ 49 เสียง ซึ่งเท่ากับว่ารัฐสภากรีซได้ให้อำนาจเต็มที่แก่ นายกรัฐมนตรีซีปราส ในการเจรจาต่อรอง “ครั้งสุดท้าย” กับเจ้าหนี้ 3 ฝ่าย (ทรอยกา) ซึ่งประกอบด้วยสหภาพยุโรป (อียู) ,กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ก่อนที่จะมีการเรียกประชุมสุดยอดผู้นำสหภาพยุโรปในวันอาทิตย์นี้ (12) ซึ่งจะถือเป็น “วันชี้ชะตา” ว่า กรีซจะอยู่หรือไปจากกลุ่มยูโรโซนหรือกลุ่ม 19 ประเทศที่ร่วมกันใช้เงินสกุลยูโร

    รายงานข่าวระบุว่า แผนปฏิรูปที่นายกรัฐมนตรีอเล็กซิส ซีปราส ยื่นเสนอไปที่บรัสเซลส์ ประกอบด้วยคำมั่นสัญญาว่าจะแก้ไขระบบบำนาญ การขึ้นภาษี และการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่ง่อยเปลี้ยซึ่งไม่แตกต่างไปจากเงื่อนไขที่ฝ่ายเจ้าหนี้เรียกร้องเมื่อเดือนที่แล้วเพื่อช่วยประคับประคองให้กรีซสามารถอยู่รอดในยูโรโซนต่อไป

    อย่างไรก็ดี การอ่อนข้อของซีปราสในครั้งนี้ทำให้เขาถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงจากบรรดาสมาชิกสายแข็ง ภายในกลุ่มการเมืองซีรีซา ซึ่งพบว่ามีสมาชิกอย่างน้อย 10 รายที่งดออกเสียง สวนทางกับที่สมาชิกพรรคฝ่ายค้านของกรีซกลับช่วยโหวตสนับสนุนแผนดังกล่าวของรัฐบาล

    ก่อนหน้านั้นไม่กี่ชั่วโมง แหล่งข่าวในกรุงบรัสเซลส์เผยว่า ข้อเสนอปฏิรูปชุดล่าสุดของกรีซ “เป็นบวก” มากพอที่จะเปิดทางให้กรีซได้รับแพ็กเกจเงินกู้ครั้งใหม่มูลค่า 74,000 ล้านยูโร

    การที่นายกรัฐมนตรีซีปราสหันมายอมรับเงื่อนไขสำคัญๆ ของฝ่ายเจ้าหนี้ ถือเป็นการ “ยอมถอย” เพื่อเปิดทางให้กรีซมีโอกาสได้รับเงินช่วยเหลือในช่วงเวลา 3 ปี ซึ่งรวมถึงการลดหนี้ และแพ็กเกจสนับสนุนการลงทุนอีก 35,000 ล้านยูโร แม้ว่าก่อนหน้านี้รัฐบาลเอเธนส์จะแสดงจุดยืนว่ารับไม่ได้กับแนวทางของฝ่ายเจ้าหนี้

    อย่างไรก็ดี แผนปฏิรูปที่รัฐบาลกรีซเสนอมาล่าสุดนี้ ยังถือว่าต่ำกว่าเป้าหมายที่พวกเจ้าหนี้เรียกร้องอยู่ในหลายประเด็น โดยเฉพาะเรื่องการยกเลิกนโยบายยกเว้นภาษีแก่เกาะต่างๆ ของกรีซ และการตัดลดงบประมาณของกองทัพ

    ล่าสุดแหล่งข่าวในอียู เผยว่า กลไกรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (European Stability Mechanism – ESM) พร้อมที่จะพิจารณาปล่อยกู้ในวงเงิน 58,000 ล้านยูโร สมทบกับกับวงเงินกู้อีกราว 16,000 ล้านยูโร จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เพื่อรวมเป็นแพ็กเกจช่วยเหลืองวดที่ 3 แก่รัฐบาลกรีซ

    http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000078570
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ผลสำรวจล่าสุดพบข้อมูลชาวรัสเซีย 75 เปอร์เซ็นต์จะเลือก “วลาดิมีร์ ปูติน” นั่งเก้าอี้ผู้นำแดนหมีขาวต่อ โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 12 กรกฎาคม 2558 01:01 น. (แก้ไขล่าสุด 12 กรกฎาคม 2558 11:11 น.)

    [​IMG]

    เอเจนซีส์ / ASTV ผู้จัดการออนไลน์ - ผลสำรวจความคิดเห็นล่าสุดที่ทำขึ้นและถูกเผยแพร่ในแดนหมีขาวเมื่อวันเสาร์ (11 ก.ค.) ระบุว่าชาวรัสเซียจำนวน 75 เปอร์เซ็นต์ หรือราว 3 ใน 4 ยืนยันว่าจะลงคะแนนเลือกประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินให้กลับมานั่งในตำแหน่งประธานาธิบดีต่ออีกสมัยอย่างแน่นอนหากมีการจัดการเลือกตั้งผู้นำรัสเซียขึ้นในเวลานี้

    ผลการสำรวจความคิดเห็นดังกล่าวซึ่งจัดทำขึ้นโดยทีมวิจัยทางการเมืองและสังคม ของศูนย์ศึกษาความคิดเห็นสาธารณะแห่งรัสเซีย (VTSIOM) ที่มีการเผยแพร่ในวันเสาร์ (11) ระบุว่า หากมีการจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีรัสเซียขึ้นในเวลานี้ กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นชาวรัสเซียผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งจำนวน 75 เปอร์เซ็นต์หรือราว 3 ใน 4 ของจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 3,000 คน จาก 64 เขตปกครองทั่วประเทศ ยืนยันว่าพวกเขาจะลงคะแนนเลือกประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินให้กลับมานั่งในตำแหน่งประธานาธิบดีต่ออีกสมัยอย่างแน่นอน

    ผลสำรวจดังกล่าวที่พบว่า ชาวรัสเซีย 75 เปอร์เซ็นต์หรือราว 3 ใน 4 จะเลือกปูตินกลับมาเป็นผู้นำประเทศต่ออีกสมัย ถือเป็นบทพิสูจน์ถึงความนิยมชมชอบที่ประชาชนแดนหมีขาวมีต่อผู้นำวัย 62 ปีของพวกเขาได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่ารัสเซียกำลังเผชิญกับมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจจากโลกตะวันตก จากผลพวงของวิกฤตความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในประเทศยูเครน

    ผลสำรวจล่าสุดโดยศูนย์ศึกษาความคิดเห็นสาธารณะแห่งรัสเซียระบุว่า มีกลุ่มตัวอย่างชาวรัสเซียราว 5 เปอร์เซ็นต์ที่ระบุว่าพวกเขาจะลงคะแนนให้กับวลาดิมีร์ ชิรินอฟสกี ผู้นำพรรคเสรีประชาธิปไตย (LDPR)

    ขณะที่นายเกนนาดี ซูกานอฟ หัวหน้าพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหพันธรัฐรัสเซีย (CPRF) นั้น ผลสำรวจล่าสุดนี้ ระบุว่าจะได้คะแนนโหวตจากชาวรัสเซียเพียงแค่ 2 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น หากมีการจัดศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีในแดนหมีขาวขึ้นในตอนนี้ แต่ก็ยังถือว่าเขาได้คะแนนสูงกว่ามิคาอิล โปรโครอฟ อดีตมหาเศรษฐกิจชื่อดัง และเป็นอดีตผู้นำพรรค “ซีวิล แพลตฟอร์ม ปาร์ตี้” ที่ได้คะแนนโหวตราว 1 เปอร์เซ็นต์

    อย่างไรก็ดี ผลสำรวจที่รวบรวมโดยศูนย์ VTSIOM ล่าสุดนี้ พบข้อมูลว่ามีกลุ่มตัวอย่างชาวรัสเซียจำนวน 9 เปอร์เซ็นต์ที่ระบุว่าจะไม่เดินทางออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง

    ขณะที่กลุ่มตัวอย่างชาวรัสเซียราว 6 เปอร์เซ็นต์ยังไม่แน่ใจว่าพวกเขาจะลงคะแนนให้กับผู้นำทางการเมืองรายใด ส่วนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1 เปอร์เซ็นต์ระบุว่า พวกเขาตั้งใจจะทำ “บัตรเสีย” ในการลงคะแนนเลือกตั้งประธานาธิบดีรัสเซียในคราวหน้า

    ก่อนหน้านี้ ศูนย์ศึกษาความคิดเห็นสาธารณะแห่งรัสเซีย (VTSIOM) เคยเผยแพร่ผลสำรวจเมื่อเดือนธันวาคมปี 2014 ที่ผ่านมา โดยพบว่าคะแนนนิยมของชาวรัสเซียที่มีต่อประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ในช่วงเวลานั้นทำสถิติ พุ่งสูงถึงร้อยละ 87.5

    คะแนนนิยมของปูตินที่พุ่งสูงถึง 87.5 เปอร์เซ็นต์ในช่วงดังกล่าว ถือเป็นระดับคะแนนนิยมที่เป็นสถิติใหม่ ทุบสถิติเดิมที่ 85.9 เปอร์เซ็นต์ของเมื่อเดือนพฤษภาคม 2014 และการพุ่งสูงต่อเนื่องของคะแนนนิยมของผู้นำรัสเซียถือเป็นผลโดยตรงจากความแข็งแกร่งและภาวะผู้นำของปูตินในการบริหารประเทศท่ามกลางภาวะที่รัสเซียถูกกดดันหนักจากโลกตะวันตกจากผลพวงของวิกฤตการเมืองในยูเครน

    ขณะที่ผลสำรวจความคิดเห็นอีกชุดหนึ่งซึ่งพบข้อมูลว่าราว 1 ใน 3 หรือร้อยละ 33 ของชาวรัสเซียในเวลานี้ มีความเชื่อว่า “สงครามเย็นครั้งใหม่” ระหว่างรัสเซียและโลกตะวันตกกำลังก่อตัวและรอคอยอยู่เบื้องหน้า

    โดยผลสำรวจดังกล่าวยังระบุว่า ราว 25 เปอร์เซ็นต์ หรือ 1 ใน 4 ของกลุ่มตัวอย่างชาวรัสเซียในขณะนี้ เชื่อว่าสงครามเย็นรอบใหม่ได้มาถึงแล้ว

    ขณะที่กลุ่มตัวอย่างจำนวนเท่ากันระบุว่า สหรัฐอเมริกา และยุโรป คือ “ต้นเหตุ” ที่ทำให้เกิดสงครามเย็นรอบใหม่ที่ทำให้มีการเผชิญหน้ากันอย่างรุนแรงระหว่างโลกตะวันตก และรัสเซีย ไม่ต่างจากสงครามเย็นรอบที่แล้วที่เริ่มก่อตัวขึ้นหลังสิ้นสุดมหาสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงการล่มสลายของอดีตสหภาพโซเวียตเมื่อปี 1991

    ผลสำรวจดังกล่าวซึ่งรวบรวมความเห็นมาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,600 คนทั่วประเทศรัสเซีย ยังเผยข้อมูลว่าราว 20 เปอร์เซ็นต์หรือ 1 ใน 5 ของกลุ่มตัวอย่างในแดนหมีขาว มีความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลมอสโกภายใต้การนำของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน มีความแข็งแกร่งมากพอที่จะต่อกรและรับมือกับสงครามเย็นรอบใหม่ที่ก่อขึ้นมาโดยโลกตะวันตกนี้ได้


     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    รัฐบาลบาห์เรนจ่อลดจำนวนบุคลากรภาครัฐ 30% ตามแผนปรับโครงสร้าง-หั่นงบประมาณครั้งใหญ่ เพื่อลดขาดดุล โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 11 กรกฎาคม 2558 23:19 น. (แก้ไขล่าสุด 12 กรกฎาคม 2558 11:05 น.)

    [​IMG]

    @นายกรัฐมนตรี ชีคห์ คาลิฟา บิน ซัลมาน อัล- คาลิฟา แห่งบาห์เรน

    เอเจนซีส์ / ASTV ผู้จัดการออนไลน์ - ทางการบาห์เรนจ่อปลดข้าราชการ รวมถึงลูกจ้างของภาครัฐครั้งใหญ่ คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 30 เปอร์เซ็นต์ของแรงงานในภาครัฐทั้งหมด ตามแผนการปรับโครงสร้างหน่วยงานราชการของประเทศเพื่อตัดลด “งบประมาณ”

    รายงานข่าวระบุว่า รัฐบาลบาห์เรนภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี ชีคห์ คาลิฟา บิน ซัลมาน อัล- คาลิฟา ผู้นำวัย 79 ปี ซึ่งผูกขาดอยู่ในตำแหน่งมาตั้งแต่ ค.ศ. 1970 กำลังถูกรัฐสภาบาห์เรนกดดันอย่างหนัก ให้เร่งตัดลดงบประมาณรายจ่ายภาครัฐลงอย่างสำคัญ

    ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่ประเทศบาห์เรนและอีกหลายชาติในโลกอาหรับต้องเผชิญกับภาวการณ์ขาดดุลทางการคลังอย่างหนัก จากผลพวงของราคาน้ำมันที่ตกต่ำในตลาดโลก ซึ่งในส่วนของบาห์เรนนั้นมีรายงานว่า รายได้ของรัฐบาลบาห์เรนซึ่งกว่า 90 เปอร์เซ็นต์มาจากอุตสาหกรรมด้านพลังงาน ลดฮวบหดหายไปเกินกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ และส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อการวางแผนด้านงบประมาณของประเทศ

    หนึ่งในมาตรการตัดลดรายจ่ายของภาครัฐที่รัฐบาลบาห์เรนเตรียมประกาศใช้ภายในไม่กี่วันข้างหน้านี้ ถูกระบุว่า มีมาตรการปลดข้าราชการ รวมถึงลูกจ้างของภาครัฐออก คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 30 เปอร์เซ็นต์ของแรงงานในภาครัฐทั้งหมดรวมอยู่ด้วย

    นอกเหนือจากแผนสั่งปลดข้าราชการ รวมถึงลูกจ้างของภาครัฐออก 30 เปอร์เซ็นต์ดังกล่าวแล้ว แหล่งข่าวซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่รัฐบาลในกรุงมานามายังเปิดเผยว่า รัฐบาลบาห์เรนภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี ชีคห์ คาลิฟา บิน ซัลมาน อัล- คาลิฟา เตรียมยุบหน่วยงานราชการที่ไม่มีความจำเป็น ตลอดจนควบรวมหน่วยงานราชการที่มีลักษณะงานใกล้เคียงกันเข้าด้วยกันเพื่อประหยัดงบประมาณ

    นอกจากนั้น ทางการบาห์เรนยังเตรียมนำแผน “แช่แข็งอัตรากำลังคน” ในภาครัฐมาบังคับใช้ด้วยการไม่เปิดรับสมัครหรือไม่บรรจุข้าราชการใหม่เข้าทำงานอีก เพื่อลดจำนวนบุคลากรในภาครัฐ

    ทั้งนี้ บาห์เรนเคยได้ชื่อว่าเป็นดินแดนที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วที่สุดของโลกอาหรับเมื่อปี 2006

    แต่เศรษฐกิจของบาห์เรนซึ่งต้องพึ่งพารายได้จากอุตสาหกรรมด้านพลังงาน ภาคการเงิน และภาคการท่องเที่ยวเป็นหลัก มีอันต้องประสบภาวะระส่ำระสายอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการเงินในสหรัฐอเมริกาและยุโรปในช่วงปี 2008 เป็นต้นมา

     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เหตุท่อส่งน้ำมันระเบิดทางใต้ของไนจีเรีย สังเวยอย่างน้อย 12 ศพ ยังมีผู้สูญหายไร้ร่องรอยอีก 2 ชีวิต โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 11 กรกฎาคม 2558 22:15 น. (แก้ไขล่าสุด 12 กรกฎาคม 2558 11:08 น.)

    [​IMG]

    เอเอฟพี / เอเจนซีส์ / ASTV ผู้จัดการออนไลน์ - ยังคงมีผู้สูญหายอีก 2 ราย หลังเกิดท่อส่งน้ำมันระเบิด ในพื้นที่ภาคใต้ของไนจีเรียซึ่งเป็นแหล่งน้ำมันสำคัญของประเทศ ขณะที่โศกนาฏกรรมครั้งนี้ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตไปอย่างน้อย 12 ราย ตามข้อมูลที่มีการเปิดเผยโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ในวันเสาร์ ( 11 ก.ค.)

    [​IMG]

    รายงานข่าวซึ่งอ้างคำแถลงของอาซินิม บุตสวัต โฆษกสำนักงานตำรวจประจำรัฐบาเยลซาของไนจีเรีย ระบุว่า ผู้เสียชีวิตที่มีจำนวนอย่างน้อย 12 รายจากอุบัติเหตุครั้งนี้ถูกไฟคลอกจนไม่อาจจำสภาพเดิมได้ ซึ่งในจำนวนผู้เสียชีวิตในครั้งนี้มีเจ้าหน้าที่ทหารนายหนึ่งซึ่งอยู่ระหว่างปฏิบัติหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่รวมอยู่ด้วย

    นอกเหนือจากจำนวนผู้เสียชีวิตดังกล่าวแล้ว โฆษกสำนักงานตำรวจประจำรัฐบาเยลซายังเปิดเผยว่า มีผู้ได้รับการช่วยเหลือออกมาจากจุดที่เกิดการระเบิด 4 ราย และถูกส่งตัวไปรักษาบาดแผลตามร่างกายที่เกิดจากแรงระเบิด

    อย่างไรก็ดี คำแถลงของอาซินิม บุตสวัต โฆษกสำนักงานตำรวจประจำรัฐบาเยลซา ระบุว่า ยังคงมีผู้สูญหายอีก 2 รายหลังจากที่เกิดเหตุท่อส่งน้ำมันระเบิด และว่าการค้นหาผู้สูญหายทั้งสองรายยังคงดำเนินต่อไป

    รายงานข่าวระบุว่า เหตุท่อส่งน้ำมันระเบิดซึ่งเกิดขึ้นที่เขตอิจาว์ ของรัฐบาเยลซานั้น เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อช่วงบ่ายของวันพฤหัสบดี (9 ก.ค.) ที่ผ่านมา และในขณะนี้ทีมวิศวกรและผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคจากบริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ “Eni” ของอิตาลีได้ถูกส่งเข้ามาประเมินความเสียหายและลงมือซ่อมแซมท่อส่งน้ำมันส่วนที่เกิดการระเบิดแล้ว

    ขณะที่คำแถลงของบริษัท Eni ซึ่งมีฐานอยู่ที่กรุงโรม และมีการดำเนินธุรกิจด้านพลังงานอยู่ใน 79 ประเทศทั่วโลก ระบุว่า เหตุระเบิดของท่อส่งน้ำมันในรัฐบาเยลซาในพื้นที่ภาคใต้ของไนจีเรียครั้งนี้เกิดจากการก่อวินาศกรรม หรือการโจมตีที่มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า



    http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000078548
     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    รบ.แจงเก็บภาษีกวดวิชาเพื่อความเป็นธรรม ชี้หักจากกำไรอย่าผลักภาระเด็ก
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 12 กรกฎาคม 2558 11:10 น. (แก้ไขล่าสุด 12 กรกฎาคม 2558 11:17 น.)

    [​IMG]

    @พลตรี สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกรัฐบาล (แฟ้มภาพ)


    “สรรเสริญ” เผย พ.ร.ฎ.เก็บภาษีโรงเรียนกวดวิชา เพื่อสร้างความเป็นธรรมระบบภาษี ชี้หากกำไรเหมือนธุรกิจอื่น ยกเว้นมานานแล้ว แจง เก็บหลังหักกำไรไม่ได้เก็บทั้งหมด ขออย่าผลักภาระนักเรียน คาดทำรายได้เข้ารัฐ 1.2 พันล้าน แต่คงเว้นภาษีสถาบันศึกษาเอกชน

    วันนี้ (12 ก.ค.) พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกรณีพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) เรียกเก็บภาษีเงินได้โรงเรียนกวดวิชาว่า เป็นไปเพื่อสร้างความเป็นธรรมในระบบภาษี เนื่องจากโรงเรียนกวดวิชาเป็นกิจการเพื่อการค้าและแสวงหากำไรเช่นเดียวกับธุรกิจอื่น จึงควรเสียภาษีอย่างถูกต้องและเสมอภาคซึ่งได้รับการยกเว้นมาอย่างยาวนานแล้ว ควรดำเนินการเข้าสู่ระบบให้ถูกต้อง รวมทั้งไม่ถือเป็นการศึกษาทางหลักแต่เป็นการเรียนการสอนนอกเหนือจากการศึกษาในระบบปกติ

    “ขอย้ำอีกครั้งว่าเป็นการจัดเก็บภาษีจากผลกำไร หลังหักค่าใช้จ่าย มิได้จัดเก็บจากรายรับทั้งหมด ดังนั้นจึงเป็นการลดในส่วนผลกำไรเพื่อนำส่งเข้าเป็นรายได้ของแผ่นดิน จึงอยากขอความร่วมมือผู้ประกอบการทุกท่านปฏิบัติตามกฎหมาย และไม่ควรผลักภาระให้แก่เด็กนักเรียน หากมีกรณีที่เด็กนักเรียน หรือผู้ปกครองรู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรมก็สามารถปรึกษาสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อขอคำแนะนำตามที่เหมาะสมได้”

    พล.ต.สรรเสริญกล่าวต่อว่า รัฐยังคงยกเว้นภาษีให้แก่โรงเรียน และสถาบันการศึกษาเอกชน เพราะถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาการศึกษากระแสหลักและจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ และสนับสนุนการจัดการศึกษาเพื่อหนุนเสริมในจุดที่การจัดการศึกษาโดยรัฐไม่สามารถทำได้ครอบคลุมทั่วถึง

    ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการคาดการณ์ว่า มูลค่าการตลาดโรงเรียนกวดวิชาในปี 2558 จะสูงถึง 8,189 ล้านบาท และมีโรงเรียนกวดวิชาราว 2,000-3,000 แห่งทั่วประเทศ ที่เข้าข่ายต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) จากปัจจุบันที่ไม่ต้องเสียภาษีเลย คาดว่าการเก็บภาษีโรงเรียนกวดวิชาจะทำให้มีรายได้เข้ารัฐประมาณ 1,200 ล้านบาท


    http://manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9580000078622
     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students

    [​IMG]

    (Jul 11) กรีซยื่นข้อเสนอใหม่รื้อบำนาญ-ขึ้นภาษี : กรีซเสนอแผนปฏิรูปใหม่ต่อ เจ้าหนี้ ยอมยกเครื่องระบบบำนาญพร้อมขึ้นภาษี ด้านเยอรมนียอมรับต้องมีการปรับโครงสร้างหนี้กรีซ

    กรีซยื่นแผนปฏิรูปแก่เจ้าหนี้ เนื้อหาคล้ายข้อเสนอที่เคยยื่นไปก่อนการเจรจาล่มลง เมื่อเดือนที่แล้ว แผนการนี้มีระยะเวลา 3 ปี แลกเปลี่ยนกับความช่วยเหลือมูลค่า 35,000 ล้านยูโร เจ้าหน้าที่ยูโรโซนจะศึกษาข้อเสนอนี้ ก่อนการประชุมสุดยอดผู้นำสหภาพยุโรป 28 ประเทศในวันอาทิตย์ (12 ก.ค.) ซึ่งอาจเป็นการตัดสินชะตากรรมของกรีซในยูโรโซน

    ภายใต้ข้อเสนอใหม่นั้น รัฐบาลกรุงเอเธนส์แนวทางเอียงซ้าย ยอมทำตามข้อเรียกร้องของเจ้าหนี้ให้ยุติการเกษียณอายุก่อนกำหนดและเก็บเงินสมทบด้านการดูแลสุขภาพมากขึ้นจากผู้เกษียณอายุ ทั้งยังจะมีการขึ้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีสินค้าหรูหรา พร้อมกวาดล้างการหลีกเลี่ยงภาษี

    นอกจากนั้น กรีซยังรับปากว่าจะมีรายได้จากภาษีการขาย เพิ่มขึ้น 1% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ขายหุ้นภาครัฐที่เหลืออยู่ในโอทีอี ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจยักษ์ใหญ่โทรคมนาคม ทั้งยังมุ่งมั่นจะแปรรูปท่าเรือไพเรอุสกับท่าเรือเธสซาโลนิกิ ภายในเดือนต.ค.

    อย่างไรก็ตาม รัฐบาลกรุงเอเธนส์เตือนว่าเป้าหมายได้เปรียบดุลเบื้องต้นที่เคยเห็นพ้องกับเจ้าหนี้ในระดับ 1% ของจีดีพีปีนี้ ก่อนเพิ่มเป็น 2% ปีหน้า และ 3% ในปีต่อไป จะต้องมีการทบทวนเพราะสภาพเศรษฐกิจแย่ลง

    นอกจากนั้น แทนที่จะยุติการลดหย่อนภาษี 30% ตามเกาะทุกแห่งตามที่เจ้าหนี้เรียกร้อง รัฐบาลระบุว่าจะยกเลิกการลดหย่อนภาษีเฉพาะบนเกาะที่มีสถานภาพดีและเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวเท่านั้น อีกทั้งแม้เจ้าหนี้เรียกร้องให้ลดการใช้จ่ายด้านกลาโหมลง 400 ล้านยูโร กรีซได้เสนอที่จะลดการใช้จ่ายด้านกลาโหม 100 ล้านยูโรปีนี้ และ 200 ล้านยูโรปีหน้า

    ความช่วยเหลือที่กรีซกำลังร้องขอนี้ เป็นความช่วยเหลือฉบับที่ 3 นับจากเผชิญวิกฤติหนี้เมื่อ 5 ปีที่แล้ว หลังรับความช่วยเหลือมาแล้ว 2 ฉบับรวม 240,000 ล้านยูโรซึ่งหมดอายุลงไปเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. อีกทั้งเมื่อปี 2555 เจ้าหนี้ยังยกหนี้ให้ถึง 107,000 ล้านยูโร แต่ทั้งหมดนี้ยังไม่สามารถเยียวยาปัญหาของกรีซได้ เห็นได้จากเศรษฐกิจที่หดตัวและอัตราว่างงานที่สูงถึง 26%

    กรีซเผชิญงานหนักในการโน้มน้าวยูโรโซน ล่าสุดนายกรัฐมนตรีแองเกลา แมร์เคิล แห่งเยอรมนี กล่าวว่าการทำแฮร์คัทหรือ การลดมูลค่าหนี้เป็นเรื่องที่ไม่ต้องพูดถึง ด้านนายวูลฟ์กัง ชอยเบลอะ รัฐมนตรีคลังเยอรมนี ยอมรับว่านางคริสติน ลาการ์ด กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) พูดถูกที่ระบุว่าต้องมีการปรับโครงสร้างหนี้กรีซ แต่เสริมว่าไม่สามารถทำแฮร์คัทได้เพราะจะขัดกับระบบของสหภาพยุโรป

    กระนั้น นายชอยเบลอะกล่าวว่าการปรับโครงสร้างหนี้สามารถกระทำได้โดยขยายเวลาไถ่ถอนเงินกู้ การลดดอกเบี้ย และการขยายเวลางดชำระหนี้

    หากสองฝ่ายยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้ภายในวันอาทิตย์ รวมถึงปล่อยกู้ให้กรีซมีเงินไปชำระหนี้ในอีก 2-3 สัปดาห์หน้า ก็อาจทำให้ธนาคารกรีซต้องล้มละลาย โดยหากตกลงกันไม่ได้ ผู้นำ 28 ประเทศในสหภาพยุโรปจะหารือมาตรการเพื่อจำกัดผลเสียจากวิกฤติกรีซ รวมถึงความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม แนวโน้มของการควบคุมตามแนวชายแดน และมาตรการบรรเทาผลกระทบต่อเพื่อนบ้าน

    เจ้าหน้าที่ยุโรปเผยว่าธนาคารขนาดใหญ่บางแห่งของกรีซอาจต้องปิดดำเนินการและให้คู่แข่งที่มีขนาดใหญ่กว่าเข้าถือครอง อันเป็นส่วนหนึ่งของการปรับโครงสร้างภาคธนาคาร เจ้าหน้าที่คนหนึ่งระบุว่าธนาคารรายใหญ่ 4 แห่ง ได้แก่ เนชันแนลแบงก์ออฟกรีซ ยูโรแบงก์ ไพเรอุส และอัลฟา อาจเหลือเพียง 2 แห่ง ซึ่งแน่นอนว่ามาตรการนี้จะถูกต้านทานอย่างหนักจากรัฐบาลกรุงเอเธนส์

    Source: กรุงเทพธุรกิจ
     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students

    [​IMG]

    (Jul 11) เศรษฐกิจจีนเขย่าโลก จากฟองสบู่ อสังหาฯ สู่ หุ้น: ภาวะร่วงหนักในตลาดหุ้นจีนแผ่นดินใหญ่สร้างความวิตกในระดับโลก เพราะแม้ในตลาดหลักทรัพย์ของจีนจะมีนักลงทุนต่างชาติไม่มากนัก และ ผู้ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่คือนักลงทุน รายย่อย แต่ในฐานะเขตเศรษฐกิจเบอร์สอง ของโลกที่มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการค้าระหว่างประเทศ อาการป่วยไข้ของจีนย่อมทำให้ประเทศอื่น ๆ พลอยร้อน ๆ หนาว ๆ ไปด้วย
    วอลล์สตรีต เจอร์นัล ระบุว่า ดัชนีหลักทรัพย์ของ 2 ตลาดหุ้นหลักในแดนมังกรดิ่งลงอย่างต่อเนื่องในช่วงไม่กี่สัปดาห์มานี้ โดยตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้ลดลง 32% และตลาดหุ้นเสิ่นเจิ้นลดลง 40% จากจุดสูงสุดช่วงกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
    ตลาดหุ้นในจีนเริ่มร้อนแรงตั้งแต่กลางปีที่แล้ว ช่วงแรกดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป และดึงดูดนักลงทุนรายย่อยให้เข้ามาแสวงหาผลกำไรมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ซื้อขายหุ้นด้วยเงินที่กู้ยืมมา ผลักดันให้ดัชนีพุ่งสูงแบบก้าวกระโดด โดยในรอบ 12 เดือนตลาดหุ้นเสิ่นเจิ้นพุ่งสูงถึง 192% และตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้ 155%
    ปัจจัยที่กระตุ้นให้ชาวจีนแห่เข้ามาเก็งกำไรในตลาดหุ้น ต้องย้อนกลับไปตั้งแต่ช่วงเกิดวิกฤตการเงินโลก 2551 ซึ่งรัฐบาลจีนได้ออกแพ็กเกจกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่ามหาศาลออกมาเพื่อป้องกันผลกระทบจากปัญหาภายนอกประเทศ แม้แพ็กเกจ ดังกล่าวจะช่วยบรรเทาหางเลขจากวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ได้ในระดับหนึ่ง แต่มีผลข้างเคียงตามมาไม่น้อยในรูปของหนี้เน่าของรัฐบาลท้องถิ่น รวมถึงฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์
    เงินที่ได้จากแพ็กเกจกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้กับโครงการสร้างสาธารณูปโภคขนาดใหญ่หรือโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีจำนวนมากที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์จริงจนกลายเป็นเมืองร้างหรือ "Ghost Town" ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติจีนเผยว่า ณ สิ้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา มีที่อยู่อาศัยที่ยังขายไม่ออกคิดเป็นพื้นที่รวมกัน 657 ตารางกิโลเมตร สูงสุดในรอบอย่างน้อย 2 ปี และมีพื้นที่เกือบเท่ากับสิงคโปร์
    เนื่องจากในช่วง 3-4 ปีก่อนอัตราเงินเฟ้อในจีนอยู่ในระดับค่อนข้างสูง การฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์ไม่เพียงพอที่ชดเชยอัตราเงินเฟ้อ คนจีนจึงหันไปซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อเก็งกำไร ทำให้ราคาบ้านถูกปั่นขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว จนวิตกกันว่าจะเกิดภาวะฟองสบู่แตก รัฐบาลจีนจึงต้องยื่นมือเข้ามาแทรกแซงด้วยการออกมาตรการลดความร้อนแรงของตลาดอสังหาฯ ราคาที่อยู่อาศัยเริ่มชะลอตัวในต้นปี 2557 และเมื่อถึงกลางปีที่แล้ว ราคาบ้านในเกือบทุกเมืองทั่วแดนมังกรพากันดิ่งลง
    ตลาดอสังหาฯที่ซบเซาอย่างหนัก กดดันรัฐบาลจีนให้ต้องกลับลำนโยบาย โดยหันมาผ่อนคลายกฎเกณฑ์การซื้อบ้าน พร้อมกับหั่นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่แทนที่มาตรการข้างต้นจะจูงใจให้ผู้บริโภคชาวจีน กลับเข้าไปในตลาดที่อยู่อาศัยอีกครั้ง กลับดึงความสนใจของคนจีนไปยังตลาดหุ้น และยิ่งมีนักลงทุนรายย่อยเข้าไปมาก ตลาดขึ้นก็ยิ่งพุ่ง และยิ่งดึงดูดให้คนเข้าไปเพิ่มขึ้น ๆ หลายคนถึงกับกู้หนี้ยืมสินหรือแม้แต่เอาบ้านไปจำนองเพื่อหาเงินมาเล่นหุ้น
    การสูญเงินไปในตลาดหุ้นทำให้ผู้บริโภคจีนมีเงินมาจับจ่ายใช้สอยน้อยลง กระทบต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่มีแนวโน้มจะพลาดเป้า 7% ที่รัฐบาลจีนตั้งไว้ และส่งแรงกระเพื่อมไปยังประเทศคู่ค้าของจีนที่ส่งออกวัตถุดิบมายังจีน อย่างออสเตรเลีย แอฟริกา ละตินอเมริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
    จากการสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ 14 คนโดยวอลล์สตรีต เจอร์นัลชี้ว่า ส่วนใหญ่คาดกว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัว 6.8% ในไตรมาส 2 ของปีนี้ ซึ่งถ้าเป็นจริงตามคาด จะนับเป็นการเติบโตต่ำสุดในรอบ 6 ปีของจีน
    ในเดือนที่แล้วรัฐบาลจีนหั่นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งที่ 4 นับจากเดือนพฤศจิกายนปีกลาย พร้อมกับปรับลดอัตราเงินสดสำรองของธนาคารบางแห่ง หลังจากปรับลดทั้งระบบธนาคารไปแล้ว 2 รอบ รัฐบาลจีนยังออกมาตรการลดหย่อนภาษี เพิ่มการใช้จ่ายและลงทุนภาครัฐ ถึงกระนั้น นักเศรษฐศาสตร์ยังมองว่าไม่เพียงพอที่จะสร้างความคึกคักให้กับระบบเศรษฐกิจได้
    ภาวะซบเซาของแดนมังกรยังปรากฏให้เห็นในตัวเลขเงินเฟ้อ โดยในเดือนที่แล้วดัชนีราคาผู้บริโภคอยู่ที่ 1.3% เมื่อเทียบปีต่อปี ดีขึ้นเล็กน้อยจากเดือนพฤษภาคมซึ่งอยู่ที่ 1.2% แต่ยังต่ำกว่าเป้าหมายของรัฐบาลซึ่งตั้งไว้ที่ 3% เกินครึ่ง แต่ในอีกแง่หนึ่งก็ช่วยให้รัฐบาลจีนมีพื้นที่ในการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมโดยไม่ต้องพะวงกับปัญหาเงินเฟ้อ
    ทั่วโลกล้วนตั้งความหวังว่ามาตรการฟื้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจีนจะเห็นผลในเร็ววันเพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาลุกลามไปยังประเทศอื่น
    Source: ประชาชาติธุรกิจ
     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ชมรมผู้ค้าน้ำมันขู่ปิดปั๊มทั่ว 3 จังหวัดชายแดนใต้ ค้าน อบจ.เก็บภาษีไม่เป็นธรรม โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 11 กรกฎาคม 2558 21:39 น. (แก้ไขล่าสุด 12 กรกฎาคม 2558 08:12 น.)

    [​IMG]

    ยะลา - ชมรมผู้ค้าน้ำมัน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ออกแถลงการณ์คัดค้านไม่เห็นด้วยกรณี อบจ.เก็บภาษีน้ำมันอย่างไม่เป็นธรรม ขู่ปิดปั๊มน้ำมันทั่ว 3 จังหวัด ในวันจันทร์ที่ 13 ก.ค.นี้หากยังไม่รับฟัง

    วันนี้ (11 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่โรงแรมยะลารามา อ.เมือง จ.ยะลา น.ส.สมหญิง ชัยรัตนมโนกร ประธานชมรมน้ำมันยะลา นายวิโรจน์ รตะไพบูลย์ ประธานชมรมน้ำมันปัตตานี และนายศุภภณ ปานแย้ม ประธานชมรมน้ำมันนราธิวาส ได้ร่วมกันอ่านแถลงการณ์กรณีคัดค้านไม่เห็นด้วยที่ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดเก็บภาษีโดยมีข้อความว่า

    เรียนพี่น้องประชาชนชาว 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เคารพ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2557 ที่ผ่านมา องค์การบริหารส่วนจังหวัดทั้ง 3 จังหวัด ได้ออกข้อบัญญัติเกี่ยวกับการค้าน้ำมันและก๊าซปิโตรเลียมที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ เพื่อเก็บภาษีจากปั๊มน้ำมันทุกปั๊มใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ โดยให้ปั๊มน้ำมันบวกราคาขายหน้าปั๊มอีก 5 สตางค์ เป็นค่าภาษีส่งให้แก่ อบจ.ทำให้ราคาน้ำมันหน้าปั๊มใน 3 จังหวัดแพงขึ้นกว่าเดิม

    การเก็บภาษีน้ำมันตามข้อบัญญัติ อบจ.ฉบับนี้ กฎหมายให้อำนาจ นายก อบจ. แต่ละจังหวัด สามารถใช้ดุลพินิจว่าจะเก็บภาษีหรือไม่ ถ้าหากเห็นว่าวิธีการเก็บภาษีมีปัญหา หรือเห็นว่าในจังหวัดของตนเองยังไม่พร้อมก็สามารถชะลอการเก็บออกไปได้ เพราะภาษีนี้เป็นภาษีท้องถิ่น ไม่เหมือนกับภาษีสรรพากร ภาษีสรรพสามิต ที่เป็นอำนาจจากส่วนกลาง เมื่อชมรมชี้แจงเหตุผลที่ชมรมฯ คัดค้านภาษีนี้ และเสนอแนะวิธีการจัดเก็บใหม่ นายก อบจ.แต่ละจังหวัดก็สามารถใช้อำนาจในการชะลอการเก็บภาษีนี้ออกไปก่อนจนกว่าจะหาข้อยุติร่วมกันได้

    ชมรมผู้ค้าน้ำมัน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ไม่ได้คัดค้านการเก็บภาษีของ อบจ.และให้ความสำคัญต่อการจัดเก็บภาษีของทุกหน่วยงานว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ แต่คัดค้านวิธีการจัดเก็บภาษีของ อบจ.ที่เก็บแต่เฉพาะผู้ใช้น้ำมันรายย่อยที่ซื้อน้ำมันผ่านปั๊ม แต่ไม่ได้เก็บจากผู้ใช้น้ำมันรายใหญ่ที่ซื้อน้ำมันผ่านคลังน้ำมัน และใช้น้ำมันในปริมาณมากๆ เช่น บริษัทก่อสร้าง บริษัทขนส่ง โรงโม่หิน โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น

    หากการเก็บภาษีกระจายทั่วถึงทุกกลุ่มทำให้ฐานการเก็บภาษีกว้าง แม้จะเก็บในอัตราลิตรละ 1-2 สตางค์ แต่กระจายไปให้ครอบคลุมผู้ใช้ทุกกลุ่มก็จะได้จำนวนเงินภาษีที่มากกว่าการเก็บจากผู้ใช้รายย่อยเพียงกลุ่มเดียว ไม่ครอบคลุมผู้ใช้ทุกกลุ่ม นอกจากนี้ ชมรมฯ ยังเห็นความไม่เหมาะสมในการเก็บภาษีในช่วงนี้ว่า สภาพความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ยากลำบากมาก ภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันอยู่ในช่วงวิกฤตทั่วโลก เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ราคายาง และพืชผลการเกษตรที่ตกต่ำ รวมทั้งมีปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้นอย่างมาก

    ตลอดเวลา 9 เดือนเศษๆ ที่ผ่านมา ชมรมฯ ได้พยายามชี้แจงเหตุผล และปัญหาของภาษีนี้ไปยัง อบจ. และหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ ให้ทุกฝ่ายทราบอย่างต่อเนื่องทั้ง 3 จังหวัด แต่ อบจ.ก็ไม่รับฟัง และยืนยันจะเก็บภาษีโดยนายก อบจ.ทั้ง 3 จังหวัดอ้างว่า ต้องทำตามมติของสมาพันธ์ อบจ. 14 จังหวัดภาคใต้ มิหนำซ้ำ อบจ.นราธิวาส ยังได้แจ้งความดำเนินคดีต่อปั๊มน้ำมันที่ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส จำนวน 3 ปั๊ม ในข้อหาไม่จดทะเบียนสถานการค้า และไม่ยื่นแบบรายการภาษีเพื่อหลีกเลี่ยง หรือเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษี

    ชมรมผู้ค้าน้ำมัน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ไม่มีเจตนาทำผิดกฎหมายใดๆ หรือเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีตามที่ อบจ.ทั้ง 3 จังหวัดได้กล่าวหา ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาแล้ว ชมรมจึงขอเรียกร้อง ดังนี้

    1.ขอให้ อบจ.นราธิวาส ถอนการแจ้งความเพื่อดำเนินคดีต่อปั๊มน้ำมันทั้ง 3 ปั๊มที่ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส โดยเร็ว 2.ขอให้ชะลอการจัดเก็บภาษีน้ำมัน อบจ.ออกไปจนกว่าจะมีการแก้ไขการจัดเก็บภาษีให้เหมาะสม 3.ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาน้ำมันเถื่อนอย่างยั่งยืน ตลอดจนศึกษาความอยู่รอดของปั๊มน้ำมันใน 3 จังหวัด เมื่อเปิดเสรีทางการค้าในกลุ่มอาเซียนต้นปีหน้าและหาแนวทางแก้ปัญหาเรื่องราคาน้ำมันที่มาเลเซียที่มีราคาน้ำมันต่ำกว่าประเทศไทยอย่างมากขณะนี้ เพราะหลังจากเปิดเสรีทางการค้าในกลุ่มอาเซียน อาจทำให้น้ำมันจากประเทศมาเลเซียทะลักเข้าไทย ปั๊มน้ำมันใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อาจต้องปิดกิจการเพราะสู้ราคาไม่ได้

    แนวทางในการเรียกร้องให้มีการแก้ไขการจัดเก็บภาษี อบจ.ให้เหมาะสม ดังนี้ 1.ขึ้นป้ายคัดค้านการเก็บภาษีของ อบจ.และแจกใบปลิวทุกปั๊มใน 3 จังหวัด 2.หากไม่ถอนแจ้งความปั๊มน้ำมันทั้ง 3 ปั๊มที่ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส และชะลอการจัดเก็บภาษีออกไปจนกว่าจะแก้ไขวิธีการจัดเก็บที่เหมาะสม ชมรมฯ จะปิดปั๊มน้ำมันทั้ง 3 จังหวัด ในวันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม 2558 และ 3.ยื่นหนังสือเรียกร้องให้แก้ไขวิธีการจัดเก็บภาษี อบจ.ต่อนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

    ชมรมผู้ค้าน้ำมัน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ขอยืนยันว่า ชมรมฯ ไม่ได้คัดค้านการเก็บภาษี อบจ. แต่ขอเรียกร้องให้แก้ไขวิธีการจัดเก็บภาษีที่เป็นปัญหาให้เหมาะสมโดยเร็ว


     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    กฏหมายใหม่ ปปช. ประกาศใช้แล้ว ... คอร์รัปชั่น-รับสินบน 'มีโทษประหารชีวิต'

    [​IMG]

    การคอร์รัปชั่นถูกมองว่าเป็นความล้มเหลวของการเมืองแบบประชาธิปไตยไทยมาอย่างยาวนาน การรัฐประหารรอบล่าสุดของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็เป็นผลของมวลชนจำนวนหนึ่งที่ต้องการเห็นสังคมไทยใสสะอาดปราศจากคอร์รัปชั่น ในช่วงระยะเวลาของการปฏิรูปประเทศภายใต้การควบคุมของทหาร การกำจัดการคอร์รัปชั่นจึงเป็นวาระที่สำคัญที่จะต้องแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรมให้ได้

    คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. องค์กรอิสระผู้รับผิดชอบการปราบปรามการคอร์รัปชั่นโดยตรง จึงเสนอแก้ไขกฎหมายของตัวเอง คือ ร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อปรับปรุงมาตรการในการส่งเสริมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ให้มีประสิทธิภาพเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)พิจารณา

    ล่าสุด เมื่อวันที่ 9 กรกฏาคม 2558 ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2558

    สำหรับประเด็นสำคัญ ๆ เช่น

    มาตรา 13 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 123/2 มาตรา 123/3 มาตรา 123/4 มาตรา 123/5 มาตรา 123/6 มาตรา 123/7 และมาตรา 123/8 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542

    “มาตรา 123/2 ผู้ใดเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศ หรือเจ้าหน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศ เรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดสําหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ เพื่อกระทําการหรือไม่กระทําการอย่างใดในตําแหน่งไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่ ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจําคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท หรือประหารชีวิต

    มาตรา 123/3 ผู้ใดเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศ หรือเจ้าหน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศ กระทําการหรือไม่กระทําการอย่างใดในตําแหน่ง โดยเห็นแก่ทรัพย์สินหรือประโยชน์อ่ืนใด ซึ่งตนได้เรียก รับ หรือยอมจะรับไว้ก่อนที่ตนได้รับแต่งตั้งในตําแหน่งนั้น ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจําคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท

    มาตรา 123/4 ผู้ใดเรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดสําหรับตนเองหรือผู้อื่น เป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจหรือได้จูงใจ เจ้าหน้าที่ของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศ หรือเจ้าหน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศ โดยวิธีอันทุจริตหรือผิดกฎหมายหรือโดยอิทธิพลของตน ให้กระทําการหรือไม่กระทําการในหน้าที่อันเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่บุคคลใด ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

    มาตรา 123/5 ผู้ใดให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศ หรือเจ้าหน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศ เพื่อจูงใจให้กระทําการ ไม่กระทําการ หรือประวิงการกระทําอันมิชอบด้วยหน้าที่ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

    ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับนิติบุคคลใดและกระทําไปเพื่อประโยชน์ของนิติบุคคลนั้น โดยนิติบุคคลดังกล่าวไม่มีมาตรการควบคุมภายในที่เหมาะสมเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทําความผิดนั้น นิติบุคคลนั้นมีความผิดตามมาตรานี้ และต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งเท่าแต่ไม่เกินสองเท่าของค่าเสียหายที่เกิดขึ้นหรือประโยชน์ที่ได้รับ

    บุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับนิติบุคคลตามวรรคสอง ให้หมายความถึง ลูกจ้าง ตัวแทน บริษัทในเครือ หรือบุคคลใดซึ่งกระทําการเพื่อหรือในนามของนิติบุคคลนั้น ไม่ว่าจะมีอํานาจหน้าที่ในการนั้นหรือไม่ก็ตาม

    ------------

    เพื่อเป็นการย้ำชัดเจนว่า "คอร์รัปชั่นมีโทษประหารชีวิต"

    พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2558
    http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/A/060/1.PDF

    กฏหมายใหม่ ปปช. ประกาศใช้แล้ว ... คอร์รัปชั่น-รับสินบน 'มีโทษประหารชีวิต'
     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Thanong Fanclub

    [​IMG]

    ศรีปราชญ์โดนบี้จนหมดรูป โดนขับไล่ออกจากยูโร
    ในที่สุดมันก็มาถึงจุดนี้จนได้ว่า ศรีปราชญ์ต้องตัดสินใจว่าจะ 1. ยอมยกประเทศกรีซให้เบอร์ลิน หรือเจ้าหนี้ หรือว่า 2. จะเอากรีซออกจากเขตยูโรเพื่อไปสงบสติอารมณ์อย่างน้อย5ปี
    การประชุมระดับรัฐมนตรีคลังของยูโรกรุ๊ปยังไม่ได้ข้อสรุปในช่วงสุดสัปดาห์นี้ว่า จะยอมอุ้มกรีซต่ออีกหรือไม่ เพราะว่าเยอรมันไม่เอาด้วย ทำให้การประชุมระดับผู้นำยุโรปต้องเลื่อนออกไป
    ศรีปราชญ์เคว้งอีกรอบ อำนาจการต่อรองอยู่ในมือเจ้าหนี้และเยอรมันเกือบจะสมบูรณ์
    แม้ว่าศรีปราชญ์จะนำเสนอแผนฟื้นฟูการเงินและเศรษฐกิจของกรีซรอบใหม่ และแผนนี้รัฐสภากรีซได้โหวตให้การสนับสนุน สวนทางกับผลของประชามติกรีซในวันที่5กรกฎากคมที่โหวตโนไม่ต้องการประนีประนอมกับเจ้านี้ แต่เยอรมันยังไม่พอใจ
    มันจึงนัวเนียยุ่งเหยิงไปหมด เพราะว่ากรีซได้ผิดชำระหนี้ไปแล้วตั้งแต่ต้นเดือนนี้เป็นต้นมา
    เมื่อศรีปราชญ์ไม่เอากรีซออกจากยูโรตามผลประชามติ และดึงดันที่จะประนีประนอมกับเจ้าหนี้ยุโรปต่อไปโดยยอมรัดเข็มขัดสุดๆ เพื่อแลกกับเงินกู้ก้อนใหม่53,000ล้านยูโรเพื่อให้กรีซอยู่รอดต่อไป3ปี ยังไม่นับอีก25,000ล้านยูโรเพื่อเพิ่มทุนแบงค์
    ในเมื่อคลานกลับเข้าหาเจ้าหนี้ ศรีปราชญ์จึงเจอไม้แข็งของWolfgang Schaeubleรมวคลังของเยอรมันที่นอกจากจะไม่ยอมลดหนี้ให้แล้ว ยังไล่บี้กรีซเหมือนสุนัขจนกรอกให้กลับฟื้นฟูประเทศเยี่ยงทาส เช่น
    ปรับปรุงระบบการเก็บภาษีVATให้มีประสิทธิภาพ
    ขยายฐานการเก็บภาษี
    ทำให้ระบบบำนาญยั่งยืน (หมายความว่าตัดรายจ่ายส่วนนี้)
    ให้มีระบบกฎหมายแพ่งที่น่าเชื่อถือมากขึ้น
    ให้สำนักงานสถิติมีอิสระจากรัฐบาล
    ดำเนินนโยบายลดการใช้จ่ายอย่างโอโตมาติก
    มีแผนการและมาตรการฟื้นฟูแบงค์อย่างชัดเจน
    แปรรูประบบส่งไฟฟ้าของกรีซ
    จัดการกับหนี้เสียให้เด็ดขาด
    ให้สำนักงานที่ดูแลการแปรรูปมีอิสระในการดำเนินงาน
    ให้รัฐบาลกรีซลดการแทรกแซงทางการเมือง
    ให้เจ้าหนี้กลับไปดูแลเอเธนส์
    แต่ที่แสบสุดคือ เยอรมันเรียกร้องให้กรีซเอาทรัพย์สมบัติของชาติส่วนที่ดีที่สุดมูลค่า50,000ล้านยูโรเป็นหลักประกัน โดยต้องโอนสมบัตินี้ไปในอยู่ในบริษัทที่เป็นเอกเทศจากรัฐบาลให้เจ้าหนี้ถือ ถ้าหากว่ากรีซเบี้ยวเงื่อนไขของเจ้าหนี้ หรือผิดนัดชำระหนี้ในอนาคต เจ้าหนี้จะได้ยึดสมบัติส่วนที่เป็นหลักประกันนี้ไป
    ภาพที่ศรีปราชญ์เดินคอตกหมดสภาพจึงปรากฎให้เราได้เห็นในรูป
    เหมือนอย่างที่นายYanis Varoufakis อดีตรมว. คลังกรีซที่โดนบีบให้ลาออกไปได้เขียนในThe Guardianว่า พวกเจ้าหนี้ทำตัวเหมือนแวมไพร์ต้องการดูดเลือดกรีซจนหยดสุดท้าย
    เขาเชื่ออย่างแน่วแน่ว่า เยอรมันไม่ต้องการให้ดีลกับกรีซที่สมเหตุสมผลผ่านไปได้ แต่ต้องการไล่บี้ให้กรีซออกจากเขตยูโร เพื่อเชือดไก่ให้ลิงดู หรือเพื่อส่งสัญญานทางอ้อมให้ฝรั่งเศสได้รับรู้ว่า กฎกติกาในเขตยูโรต้องดำเนินไปเยี่ยงกฎเหล็ก มิเช่นนั้นลูกหนี้โปรตุเกส เสปน อิตาลี หรือแม้แต่ฝรั่งเศสเองอาจจะเหิมเกริมในอนาคต เพราะว่าจะเจรจาขอลดหนี้กันหมด และไม่ยอมรัดเข็มขัดนโยบายการคลังจากการใช้จ่ายทางสวัดิการสังคมที่เอาไม่อยู่
    เยอรมันทำการประเมินและแอบปล่อยข่าวหลายเดือนมาแล้วว่า เมื่อกรีซออกจากเขตยูโรจะไม่ส่งผลกระทบต่อเขตยูโร หรือการดำรงอยู่ของค่าเงินยูโรโดยรวม
    ไม่รู้ว่าเป็นการประเมินโดยมีเป้าหมายทางการเมืองแอบแฝงหรือไม่เพื่อที่จะเตะกรีซออกจากยูโร เพราะว่าเยอรมันพี่ใหญ่รู้ตัวดีว่า จะไม่สามารถแบกหนี้ของกรีซหรือประเทศอื่นๆในยุโรปใต้ได้หมด ทุกคนทราบดีว่า ถ้ากรีซออกไป จะเกิดวิกฤติการเงินลามไปทั้งยุโรป เพราะว่าหนี้กรีซที่ผิดชำระมีสูงถึง320,000ล้านยูโร ถ้าเอาวิกฤติยูโรอยู่ก็ดีไป ถ้าเอาไม่อยู่ เยอรมันก็กลับไปพิมพ์Deutsche Markใช้เหมือนเดิม ไม่มีอะไรตื่นเต้น จะได้ย้อนกลับไปใช้เงินมาร์คเพื่อใล่ซื้อกิจการของพวกยุโรปหน้าโง่ทั้งหลายให้หมด เพราะว่าถึงตอนนั้นมันเป็นเรื่องตัวใครตัวมันแล้ว
    thanong
    13/7/2015
     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เปิดขั้นตอนพิจารณาคดีศาลญี่ปุ่น ชี้ชะตา “คำรณวิทย์” โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 13 กรกฎาคม 2558 05:58 น.

    [​IMG]

    วันนี้ อัยการญี่ปุ่นจะมีความเห็นสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้อง พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ที่ถูกจับกุมในข้อหาพกพาอาวุธปืนที่สนามบินนาริตะ โดยมีความเป็นไปได้ที่คดีของอดีตนายตำรวจใหญ่ของไทยจะใช้วิธี “การพิจารณาคดีแบบเร่งรัด”

    วันจันทร์ที่ 13 ก.ค.นี้ คดีของพล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล จะครบกำหนดผลัดฟ้อง 20 วันตามกฎหมายญี่ปุ่น โดยอัยการนัดสั่งคดีว่ามีความเห็นสั่งฟ้องหรือไม่? ซึ่งถึงแม้จะจะยากที่จะประเมินความเห็นของอัยการญี่ปุ่น หากแต่การทำความเข้าใจกับขั้นตอนการพิจารณาคดีของศาลญี่ปุ่น ก็อาจคาดการณ์ชะตากรรมของอดีตนายตำรวจใหญ่ของไทยได้

    ไม่ฟ้องถูกเนรเทศ ถ้าฟ้องติดคุกแน่

    ข้อมูลจากเว็บไซต์สถานทูตสหรัฐอเมริกา ประจำญี่ปุ่น ระบุว่า การสั่งฟ้องคดีของอัยการของญี่ปุ่นจะพิจารณาฐานความผิด,หลักฐาน รวมทั้งเจตนาการกระทำผิดของผู้ต้องหา โดยปกติแล้วอัยการญี่ปุ่นจะไม่สั่งฟ้องคดีหากไม่มั่นใจว่าจะชนะความ โดยอัตราการสั่งไม่ฟ้องอยู่ที่ราว 1 ใน 4 ของคดีทั้งหมด

    อย่างไรก็ตาม หากอัยการมีความเห็นสั่งฟ้องคดี ความเป็นไปได้ที่ศาลญี่ปุ่นจะสั่งลงโทษจำเลยมีสูงถึง 99% ซึ่งบทลงโทษสำหรับความผิดของพล.ต.ท.คำรณวิทย์ ในข้อหาครอบครองอาวุธปืน คือ จำคุกไม่เกิน 10 ปี นอกจากนี้ยังมีความผิดข้อหาครอบครองกระสุนปืน มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1ล้านเยน

    ฟ้องไม่ฟ้อง ยากคาดการณ์

    หากเทียบเคียงคดีของพล.ต.ท.คำรณวิทย์ กับคดีของนางจูลี แฮมป์ อดีตผู้บริหารของโตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปฯ ที่ถูกจับกุมและควบคุมตัวในข้อหาต้องสงสัยว่านำเข้ายาระงับปวด ออกซิโคโดน (Oxycodone) จากอเมริกา ซึ่งเธอได้รับการปล่อยตัวเมื่อวันที่ 8 ก.ค. โดยไม่ได้ถูกตั้งข้อหา

    ซากาเอะ โคโมริ ทนายที่รับว่าความในคดีนี้ บอกว่า เป็นเรื่องยากที่จะคาดเดาว่าอัยการญี่ปุ่นจะส่งฟ้องหรือไม่ส่งฟ้อง เนื่องจากก่อนหน้านี้ผู้ที่ครอบครองยาจำนวนน้อยกว่านี้ก็เคยถูกสั่งฟ้องมาแล้ว

    “นี่เป็นคดีอาชญากรรมร้ายแรงในญี่ปุ่น แต่เจ้าหน้าที่อาจมองว่าเธอต้องเผชิญกับการลงโทษจากสังคมมากพอแล้ว และเธอเองก็ไม่ได้ถูกตัดสินว่าใช้ยาในทางที่ผิด” โดยทนายความมองว่า การประกาศลาออกจากโตโยต้าคงมีส่วนช่วยให้อัยการตัดสินใจไม่สั่งฟ้องคดี

    การพิจารณาคดีแบบเร่งรัด

    หากอัยการสั่งฟ้องคดี พล.ต.ท.คำรณวิทย์ยังมีช่องทางที่สามารถกลับเมืองไทยได้เร็วขึ้น คือ ขอใช้การพิจารณาคดีแบบเร่งรัด

    ตั้งแต่ปี 2006 ญี่ปุ่นได้เพิ่มวิธีการพิจารณาคดีแบบเร่งรัด เพื่อลดภาระของศาลและช่วยให้ยุติคดีได้รวดเร็วขึ้น โดยผู้ต้องหาที่มีสิทธิ์ใช้วิธีการพิจารณาคดีแบบนี้ คือ ผู้ที่ทำความผิดลหุโทษและยอมรับความผิด โดยอัยการมีความเห็นว่าสามารถขอให้ศาลรอลงอาญาได้ การพิจารณาคดีแบบเร่งรัดจะเริ่มต้นขึ้นภายในเวลา 2 สัปดาห์หลังอัยการยื่นฟ้องต่อศาล โดยศาลจะพิจารณาและตัดสินคดีภายในวันเดียวเท่านั้น

    อย่างไรก็ตาม โจทย์ใหญ่ที่พล.ต.ท.คำรณวิทย์ต้องเผชิญ คือ ข้อจำกัดของความผิดฐาน “ลหุโทษ” ในญี่ปุ่น คือ จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับเงินไม่เกิน 2 แสนเยน แต่อัตราโทษของพล.ต.ท.คำรณวิทย์นั้นสูงกว่ามาก จึงต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของอัยการและศาลว่าจะสามารถใช้การพิจารณาคดีแบบเร่งรัดได้หรือไม่?

    รอลงอาญา เนรเทศกลับประเทศ?

    จำเลยส่วนใหญ่ที่เข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดีแบบเร่งรัด จะถูกศาลสั่งลงโทษปรับเงิน และรอลงอาญาโทษจำคุกเป็นเวลา 1-5 ปี ซึ่งหากจำเลยเป็นชาวต่างชาติก็จะถูกเนรเทศกลับประเทศของตัวเอง

    เช่นเดียวกับกรณีที่ไม่ถูกสั่งฟ้อง ผู้ต้องหาก็ขอเดินทางกลับประเทศได้ หากแต่จะถูกบันทึกว่าเคยมีประวัติทำความผิดอาญาในประเทศญี่ปุ่น และจะถูกขึ้น “บัญชีดำ” ห้ามเดินทางเข้าญี่ปุ่นเป็นเวลา 5-10 ปี.

    ทางการไทยช่วยเหลืออย่างไรบ้าง?
    ไม่ว่าชะตากรรมของพล.ต.ท.คำรณวิทย์ จะออกมาในรูปแบบไหน หากแต่อีกคำถามหนึ่งที่กระทรวงการต่างประเทศ รวมทั้งสำนักงานตำรวจแห่งชาติของไทย ต้องชี้แจงให้ชัดเจน คือ ความช่วยเหลือที่ให้กับอดีตนายตำรวจใหญ่ของไทยนั้นมีอะไรบ้าง? โดยเฉพาะค่าทนายความในญี่ปุ่นที่สูงถึง 6,000 ดอลลาห์สหรัฐฯ หรือ กว่า 190,000 บาทเป็นอย่างน้อยนั้น ใครเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย?

    นอกจากนี้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติของไทยยังพึงชี้แจงว่า เอกสารที่ส่งมายังประเทศญี่ปุ่นนั้นมีส่วนช่วยเหลือคดีของพล.ต.ท.คำรณวิทย์อย่างไร? โดยเฉพาะปืนที่พล.ต.ท.คำรณวิทย์ครอบครองนั้นถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่?

    ชาวญี่ปุ่นเชื่อกันว่า “ของที่มีตำหนิแม้เพียงนิดเดียว ก็ไม่อาจอวดโฉมได้อีก” ดังเช่นกรณีของนางจูลี แฮมป์ ที่ไม่เพียงต้องสูญเสียตำแหน่งผู้บริหารของของโตโยต้า แต่เธอจะไม่สามารถดำรงตำแหน่งระดับสูงของบริษัทญี่ปุ่นได้อีก เนื่องจากมีประวัติด่างพร้อยถึงแม้ว่าเธอจะไม่มีเจตนากระทำผิดก็ตาม ส่วนอนาคตของพล.ต.ท.คำรณวิทย์นั้น สังคมไทยจะเป็นผู้ใคร่ครวญและให้คำตอบ.


    http://manager.co.th/Japan/ViewNews.aspx?NewsID=9580000078592
     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    'อียู'งดซัมมิต' ปล่อย 'ยูโรโซน'ถกหนี้กรีซต่อ บ่งชี้ยังตกลงกัน'ยาก' ด้านเยอรมนีเสนอให้'เอเธนส์'ลา'ยูโร'5ปี โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 12 กรกฎาคม 2558 21:24 น.

    [​IMG]
    @ยูคลิด ซาคาโลตอส รัฐมนตรีคลังคนใหม่ของกรีซ (คนนั่ง) และ คริสทิน ลาร์การ์ด กรรมการผู้จัดการไอเอ็มเอฟ (คนยืนกลาง) เข้าร่วมการประชุมของรัฐมนตรีคลังยูโรโซน ที่เปิดขึ้นใหม่ในวันอาทิตย์ (12) ภายหลังการหารือหลายชั่วโมงในวันเสาร์ (11) ยุติลงตอนเที่ยงคืน ในบรรยากาศที่เคร่งเครียดไม่อาจตกลงกันได้

    เอเจนซีส์ – สหภาพยุโรป (อียู) ประกาศงดการประชุมผู้นำทั้ง 28 ชาติสมาชิกที่กำหนดไว้ในวันอาทิตย์ (12 ก.ค.) เพื่อตัดสินชะตากรีซ แต่ซัมมิตของ 19 ประเทศอียูที่ใช้สกุลเงินยูโร (ยูโรโซน) ยังมีขึ้นตามเดิม เช่นเดียวกับการเจรจาหารือของที่ประชุมรัฐมนตรีคลังยูโรโซนซึ่งต้องยุติลงกลางคันเมื่อคืนวันเสาร์ (11) ก็เริ่มขึ้นใหม่ไม่ยกเลิก อย่างไรก็ตาม ผู้เข้าร่วมประชุมหลายคนต่างระบุว่าคงไม่สามารถทำความตกลงกันได้ในวันอาทิตย์ ท่ามกลางรายงานที่ว่ายูโรโซนได้เกิดการแตกแยกกันชัดเจนมากขึ้น โดยในขณะที่บางประเทศต้องการให้เร่งประนีประนอมกัน ชาติที่เป็นสายเหยี่ยวนำโดยเยอรมนี กลับมุ่งตั้งข้อแม้ให้เอเธนส์ยอมรับมาตรการปฏิรูปเข้มงวดขึ้น รวมทั้งต้องดำเนินการเป็นรูปธรรมด้วยการออกเป็นกฎหมายในวันจันทร์ (13) แลกกับการเริ่มต้นหารือเพื่ออนุมัติแพกเกจเงินกู้ก้อนที่ 3 ไม่เช่นนั้นก็จะให้กรีซออกจากยูโรโซนเป็นการชั่วคราว 5 ปี

    โดนัลด์ ทัสค์ ประธานของคณะมนตรียุโรป ประกาศในวันอาทิตย์ ยกเลิกการประชุมซัมมิตของอียู แต่สำหรับการประชุมสุดยอดเฉพาะของชาติยูโรโซนนั้นจะดำเนินการตามกำหนดเดิมคือช่วงเย็นวันอาทิตย์ โดยจะหารือจนกว่าจะได้ข้อสรุปเกี่ยวกับข้อตกลงช่วยเหลือกรีซ

    ส่วนทางด้านรัฐมนตรีคลังของยูโรโซน หรือที่เรียกว่า “ยูโรกรุ๊ป” ก็กลับมาประชุมกันต่อในวันอาทิตย์หลังจากถกเครียดนาน 9 ชั่วโมงเมื่อวันเสาร์เกี่ยวกับคำขอเงินกู้แพกเกจใหม่ระยะ 3 ปีของเอเธนส์ ซึ่งอิงกับมาตรการปฏิรูปที่นายกรัฐมนตรีอเล็กซิส ซีปราส ได้ยอมรับหลังจากยืนกระต่ายขาเดียวค้านมาแรมเดือน

    มีรายงานว่า ระหว่างการหารือในวันเสาร์ พวกสมาชิกสายเหยี่ยวหลายชาติสนับสนุนเอกสารของรัฐบาลเยอรมนี ที่แนะนำให้กรีซ “ขอเวลานอก” โดยเว้นวรรคออกจากยูโรโซนเป็นเวลา 5 ปี เว้นแต่ยอมรับเงื่อนไขการปฏิรูปที่เข้มงวดขึ้น โดยเฉพาะการแปรรูปกิจการของรัฐเพื่อให้แน่ใจว่า เอเธนส์มีความจริงใจในการจ่ายหนี้

    การโต้เถียงดุเดือดขึ้นทุกทีจนกระทั่งเจอโรน ดิจเซลโบลม ประธานยูโรกรุ๊ป ตัดสินใจยุติการประชุมเมื่อราวเที่ยงคืนวันเสาร์ และนัดหมายกลับมาหารือกันอีกครั้งเวลา 11.00 น. วันอาทิตย์ตามเวลาท้องถิ่นของบรัสเซลส์

    ปิแอร์ คาร์โล ปาโดน รัฐมนตรีคลังอิตาลีชี้ว่า อุปสรรคสำคัญคือการขาดความไว้ใจกัน และบอกว่า ต้องการให้รัฐบาลกรีซดำเนินมาตรการที่เป็นรูปธรรม โดยเริ่มจากการเปิดประชุมให้รัฐสภาผ่านมาตรการที่จำเป็นในวันจันทร์

    [​IMG]
    @รัฐมนตรีคลัง โวล์ฟกัง ชอยเบิล ของเยอรมนี (กลาง) พูดคุยกับพวกเจ้าหน้าที่ ขณะรอเวลาเริ่มการประชุมรัฐมนตรีคลังยูโรโซน ณ กรุงบรัสเซลส์, เบลเยียม เมื่อวันอาทิตย์ (12)

    ทั้งนี้ ยูโรกรุ๊ปตกลงในหลักการที่จะหาวิธีผ่อนภาระหนี้ของเอเธนส์ ด้วยการขยายกำหนดชำระคืนเงินกู้ ตลอดจนด้วยวิธีการอื่นๆ ซึ่งไม่ใช่การลดหรือยกเลิกหนี้ โดยมีข้อแม้ว่า เอเธนส์ต้องดำเนินมาตรการปฏิรูปสำคัญเกี่ยวกับภาษี ระบบบำนาญ ตลาดแรงงาน และการบริหารรัฐกิจก่อน

    ผู้เข้าร่วมการเจรจาหลายคนต่างบอกว่า ยังเป็นเรื่องลำบากมากที่จะสามารถทำความตกลงกันได้ โดยที่ วาลดิส ดอมบรอฟสกี้ส์ รองประธานของคณะกรรมาธิการยุโรป ซึ่งเป็นองค์การบริหารของอียู กล่าวว่า “ไม่น่าเป็นได้เลย” ที่การเจรจาในวันอาทิตย์จะสามารถได้มติ ซึ่งจะเป็นการให้อำนาจเพื่อเริ่มต้นเปิดการเจรจากับกรีซอย่างเป็นทางการในเรื่องแพกเกจเงินกู้ก้อนที่ 3

    ถึงแม้ยูคลิด ซาคาโลตอส รัฐมนตรีคลังคนใหม่ของกรีซ ไม่แสดงปฏิกิริยาใดๆ ทว่า พรรคฝ่ายซ้ายไซรีซาของซีปราส แสดงความขุ่นเคืองอย่างชัดเจน โดยระบุว่า การกดดันให้เอเธนส์ยอมรับมาตรการรัดเข็มขัดเป็นการมุ่งหยามหมิ่นประเทศกรีซและชาวกรีก อีกทั้งเป็นความพยายามที่จะโค่นล้มรัฐบาลซีปราส

    ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ของกรีซต้องปิดให้บริการมานานสองสัปดาห์ การถอนเงินจากตู้เอทีเอ็มถูกจำกัด และรัฐมนตรีเศรษฐกิจ จิออร์จอส สตาตากิส เตือนว่า มาตรการเหล่านี้อาจคงอยู่ต่อไปอีกหลายเดือน ได้มีชาวกรีกบางคนเริ่มแสดงความไม่พอใจอย่างเปิดเผยต่อนายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคล และวูล์ฟกัง ชอยเบิล รัฐมนตรีคลังของเยอรมนี

    แหล่งข่าวในเมืองเบียร์แย้มว่า แมร์เคล, ชอยเบิล และซิกมาร์ เกเบรียล รองนายกรัฐมนตรีจากพรรคโซเชียล เดโมแครติก เห็นพ้องต้องกันในการบังคับให้เอเธนส์ยอมรับมาตรการปฏิรูปที่ยากลำบากขึ้น หรือไม่เช่นนั้นก็ออกจากยูโรโซนเป็นการชั่วคราว

    ขณะเดียวกัน มีรายงานจากสื่อในเฮลซิงกิว่า รัฐสภาฟินแลนด์ตัดสินใจว่า จะไม่ยอมให้รัฐบาลยอมรับข้อตกลงเงินกู้ก้อนใหม่สำหรับกรีซ

    [​IMG]
    @นายกรัฐมนตรี อเล็กซิส ซีปราส ของกรีซ ก้าวลงจากรถขณะมาถึงสถานที่จัดการประชุมผู้นำของ 19 ชาติยูโรโซน ในวันอาทิตย์ (12)

    ทางด้านอเมริกาเรียกร้องซ้ำให้ยูโรโซนบรรลุข้อตกลงกับกรีซในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกังวลกับผลลัพธ์ทางภูมิรัฐศาสตร์หากกรีซต้องออกจากยูโรโซน และกลายเป็นรัฐที่อ่อนแอในบริเวณตอนใต้ของบอลข่านที่ติดกับตะวันออกกลาง

    เช่นเดียวกัน ปิแอร์ มอสโควิชี กรรมาธิการเศรษฐกิจยุโรป และรัฐบาลฝรั่งเศส ร่วมกันกดดันให้ยูโรโซนบรรลุข้อตกลงกับกรีซ โดยย้ำว่า สามสถาบันที่เป็นตัวแทนเจ้าหนี้ระหว่างประเทศของเอเธนส์ ได้แก่ คณะกรรมาธิการยุโรป กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) เห็นพ้องว่า มาตรการปฏิรูปที่กรีซเสนอออกมาใหม่นี้ เป็นเงื่อนไขที่เพียงพอสำหรับการเริ่มเจรจาเงินกู้ก้อนใหม่แล้ว

    http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000078838
     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    In Pics & Clips : ก่อการร้าย IS ประกาศรับผิดชอบ “ใช้คาร์บอมบ์ขนระเบิด 450 กก.” ถล่มตึกสถานทูตอิตาลีพังเป็นแถบ” หมอกควันปิดฟ้าไคโร - อิตาลีกร้าว “ไม่กลัวก่อการร้าย” โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 12 กรกฎาคม 2558 14:42 น. (แก้ไขล่าสุด 12 กรกฎาคม 2558 15:09 น.)

    [​IMG]

    @(ภาพเอเอฟพี)

    รอยเตอร์/เอเอฟพี/ASTVผู้จัดการออนไลน์ - กลุ่มก่อการร้าย IS ประกาศความรับผิดชอบในเหตุการณ์โจมตีสถานทูตอิตาลีด้วยคาร์บอมบ์ที่บรรทุกระเบิดหนักร่วม 450 กก.ในไคโรกลางวานนี้ (11) สร้างความเสียหายอย่างหนักต่อตัวตึกสถานทูตอย่างไม่ควรจะเป็น ที่เห็นตัวอาคารขนาดใหญ่บางส่วนบริเวณด้านหน้าถูกทำลายเสียหายยับเยิน และมีกองอิฐอยู่เรียงราย มีผู้เสียชีวิตชาวอียิปต์ 1 คน ถือเป็นเหตุโจมตีอุกอาจของกลุ่มก่อการร้ายนิกายสุหนี่ที่ขยายเป้าโจมตีไปที่ทำการสถานทูตต่างชาติแทนที่จะเป็นเจ้าหน้าที่ความมั่นคงอียิปต์อย่างที่เคยเป็น ในขณะที่รัฐมนตรีต่างประเทศอิตาลี เปาโล เจนติโลนี (Paolo Gentiloni) ประกาศผ่านทวีตเตอร์ “อิตาลีไม่ยอมสยบต่อกลุ่มก่อการร้าย” พร้อมยืนยันไม่มีพลเมืองชาวอิตาลีเสียชีวิตในเหตุการณ์โจมตีครั้งนี้

    <iframe width="854" height="510" src="https://www.youtube.com/embed/WAQxH1i3yDY" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

    รอยเตอร์รายงานเมื่อวานนี้ (11) ว่า กลุ่มก่อการร้าย IS ประกาศยอมรับผ่านแถลงการณ์บนเว็บไซต์ของตนเองว่า “ด้วยการประทานพรของพระผู้เป็นเจ้า ทหารแห่งสาธารณรัฐอิสลาม (IS) ประสบความสำเร็จในการจุดระเบิดรถที่บรรทุกระเบิดจำนวน 450 กก. ที่จอดไว้บริเวณด้านหน้าสถานทูตอิตาลีในใจกลางไคโร”

    และแถลงการณ์ยังประกาศต่อไปว่า “ทางเราขอให้ชาวมุสลิมออกห่างจากสถานทูตต่างชาติเหล่านี้ เพราะบรรดาสถานที่แห่งนี้ที่เปรียบเสมือนคอกกักกันสัตว์เสริมกำแพงเหล็กเหล่านี้เป็นเป้าหมายอย่างเป็นทางการของเหล่านักรบมูจาฮีดินผู้กล้าหาญ”

    แต่ทว่ามาจนถึงปัจจุบันนี้กลุ่มสนับสนุน IS ในอียิปต์ยังไม่ได้เจาะจงเลือกโจมตีต่างชาติ นอกเหนือไปจากเป้าหมายเจ้าหน้าที่ความมั่นคงอียิปต์

    ด้านโฆษกกระทรวงสาธารณสุขอียิปต์แถลงว่า มีประชาชนชาวอียิปต์เสียชีวิต 1 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวน 10 คน ในขณะที่สำนักข่าวมีนา กระบอกเสียงรัฐบาลอียิปต์รายงานเพิ่มเติมว่า ในบรรดาผู้ได้รับบาดเจ็บ มีตำรวจอียิปต์รวมอยู่ในนั้นจำนวน 2 นาย

    แรงระเบิดทำให้ตัวสถานทูตใหญ่อิตาลีได้รับความเสียหายอย่างหนัก รวมไปถึงทำให้ตึกอื่นๆในเขตดาวทาวน์สั่น และยังสามารถได้ยินเสียงแรงระเบิดไปทั่ว และยังทำให้ตึกอพาร์ตเมนต์บริเวณใกล้เคียงได้รับความเสียหาย รวมไปถถึงชุมชนที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงต้องประสบปัญหาน้ำท่วมเพราะแรงระเบิดทำให้ระบบท่อประปาได้รับความเสียหาย

    นอกจากนี้ยังมีวิดีโอคลิปถูกเผยแพร่บนอินเตอร์เนต แสดงให้เห็นช่วงเวลาการระเบิดคาร์บอมบ์หน้าสถานทูตอิตาลี แรงระเบิดส่งเสียงดัง และมีหมอกควันคละคลุ้งอย่างหน้าทึบไปทั่วท้องฟ้าไคโร

    ในขณะที่รัฐมนตรีต่างประเทศอิตาลี เปาโล เจนติโลนี (Paolo Gentiloni )ได้ออกแถลงการณ์ผ่านทางทวีตเตอร์เปิดเผยว่า ไม่มีพลเมืองอิตาลีเสียชีวิตในเหตุการณ์โจมตีสถานทูตล่าสุด พร้อมเสริมว่า “อิตาลีไม่มีวันสยบต่อกลุ่มก่อการร้าย”

    เอเอฟพีรายงานก่อนหน้านี้ว่า ในช่วงเกิดเหตุเวลา 06.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งเป็นเวลาที่สถานทูตอิตาลียังคงปิดทำการอยู่ในขณะนั้น รถคาร์บอมบ์ของกลุ่มติดอาวุธที่จอดอยู่บริเวณด้านนอกซึ่งอยู่เยื้องจากทางด้านหน้าของประตูทางเข้าเกิดระเบิดขึ้น ส่งผลทำให้ด้านหน้าอาคารพังถล่มลงมาและเสียงดังจนได้ยินทั่วทั้งเมืองหลวงแห่งนี้

    เอเอฟพียังรายงานเพิ่มเติมว่า จากการรายงานของสื่อรัฐบาลอียิปต์พบว่า ในที่เกิดเหตุพบบางส่วนของอาคารถล่มลงมา และมีซากของรถยนต์อย่างน้อย 1 คันกระจัดกระจายอยู่บนท้องถนน

    นอกจากนี้ ป้อมตำรวจไม้หลังหนึ่งภายนอกสถานกงสุลยังถูกทำลายไม่เหลือชิ้นดี ทั้งนี้สถานทูตแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้กับสำนักงายอัยการและศาลสูง

    ทั้งนี้มีรายงานว่า กงสุลอิตาลีประจำกรุงไคโรเดินทางมาถึงที่เกิดเหตุและเข้าไปภายในตัวอาคารเพื่อทำการตรวจสอบ แต่ปฏิเสธที่จะพูดคุยกับผู้สื่อข่าว



    http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000078697
     

แชร์หน้านี้

Loading...