ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ระทึก! เกิดไฟป่าปะทุใกล้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ “เชอร์โนบิล” ทางการยูเครนเอาไม่อยู่ ล่าสุดใกล้ลุกลามเข้าเบลารุส โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 9 กรกฎาคม 2558 14:59 น. (แก้ไขล่าสุด 9 กรกฎาคม 2558 21:15 น.)

    [​IMG]

    เอเจนซีส์ / ASTV ผู้จัดการออนไลน์ – ทางการยูเครนสั่งระดมกำลังเจ้าหน้าที่ดับเพลิงและกู้ภัย ตลอดจนเฮลิคอปเตอร์แบบ “Mi-26” และ “Mi-8” เข้าปฏิบัติควบคุมไฟป่าซึ่งปะทุขึ้นใกล้กับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มหาประลัย “เชอร์โนบิล” ที่ถูกปิดตาย แต่ล่าสุดมีรายงานไฟป่ายิ่งลุกลามหนักขึ้นเข้าประชิดแนวชายแดนที่ติดต่อกับเบลารุส

    รายงานข่าวในวันพุธ ( 8 ก.ค.) ซึ่งอ้างคำแถลงของกระทรวงสถานการณ์ฉุกเฉินของยูเครนระบุว่า ไฟป่าที่ปะทุขึ้นในพื้นที่ป่าไม่ไกลจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลได้ขยายการลุกลามออกไปจนเผาผลาญพื้นที่ป่าไปแล้ว มากกว่า 180 เฮกตาร์ (1 เฮกตาร์ = 10,000 ตารางเมตร) ตลอดระยะเวลา 2 วันที่ผ่านมา

    ล่าสุดมีรายงานว่า ไฟป่าที่เกิดขึ้นใกล้กับพื้นที่วิกฤตนิวเคลียร์ของยูเครนในครั้งนี้ กำลังลุกลามเข้าใกล้พื้นที่บริเวณรอยต่อแนวชายแดนระหว่างยูเครนกับชาติเพื่อนบ้านอย่างเบลารุสแล้ว โดยเฉพาะที่จุดผ่านแดนใกล้เมืองกลุชโควิชี ซึ่งมีรายงานการพบไฟป่าลุกลามอยู่ห่างจากเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างทั้งสองประเทศเพียงแค่ “50 เมตร” เท่านั้น

    ประธานาธิบดีเปโตร โปโรเชนโก ผู้นำยูเครนได้สั่งการให้ระดมกำลังเจ้าหน้าที่ดับเพลิงเข้าควบคุมสถานการณ์ และขอให้ผู้เชี่ยวชาญด้านนิวเคลียร์เข้าตรวจสอบพื้นที่โดยรอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล เพื่อป้องกันผลกระทบใดๆ จากไฟป่าที่อาจส่งผลต่อโรงไฟฟ้าที่เคยเกิดการระเบิดและมีการรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสีครั้งใหญ่จนต้องถูกปิดตายแห่งนี้

    อย่างไรก็ดี ความพยายามในการควบคุมไฟป่าของทางการยูเครนในคราวนี้ ต้องเผชิญกับอุปสรรคสำคัญ คือ กระแสลมที่พัดแรง และสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล

    ในอีกด้านหนึ่งมีรายงานว่าทางการเบลารุสได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของตนเร่งสร้าง “แนวกันไฟ” และเตรียมความพร้อมรับมือในระดับสูงสุดต่อไฟป่าจากยูเครนที่กำลังลุกลามเข้ามาใกล้ แต่กำชับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานห้ามเข้าใกล้เขตรอยต่อชายแดน หวั่นเกิดการกระทบกระทั่งและสร้างความเข้าใจผิดให้กับทางการยูเครน

    ทั้งนี้ อุบัติเหตุการระเบิดที่เกิดขึ้นภายในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลซึ่งตั้งอยู่ห่างจากชายแดนยูเครน – เบลารุสเพียง 16 กิโลเมตรเมื่อวันที่ 26 เมษายน ปี ค.ศ. 1986 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตไป 31 ราย และการรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสีจำนวนมหาศาลที่เกิดขึ้นตามมา ส่งผลให้มีผู้คนล้มป่วยและเสียชีวิตตามมาในภายหลังอีกเป็นจำนวนมาก

    ขณะที่พื้นที่โดยรอบของโรงไฟฟ้าแห่งนี้ จะต้องถูกปล่อย “ทิ้งร้าง” ต่อไปจนถึงปี 2065 เป็นอย่างน้อยกว่าที่สารนิวเคลียร์ที่ตกค้างอยู่ทั้งหมดจะสลายตัว และกลายเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับการเข้าไปตั้งรกรากของมนุษย์อีกครั้ง

     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ตลาดหุ้นวอลสตรีทกลับมาเปิดทำการอีกครั้งในช่วงครึ่งวันบ่าย หลังเกิดปัญหาซอฟแวร์ล่ม – ทำเนียบขาวยืนยันไม่ใช่โดนแฮกเกอร์โจมตี โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 9 กรกฎาคม 2558 13:01 น.

    [​IMG]

    เอเจนซีส์ – ตลาดหุ้นวอลสตรีทสามารถเปิดทำการซื้อขายหลักทรัพย์ได้อีกครั้งหลังจากที่ต้องปิดทำการไปเกือบทั้งวันหลังจากเกิดปัญหาระบบซอฟแวร์ขัดข้อง แต่ปฎิเสธว่าปัญหาขัดข้องทางเทคนิกนี้ไม่ได้เกิดจากการถูกนักโจรกรรมทางคอมพิวเตอร์เจาะระบบ สอดคล้องกับการยืนยันจากทำเนียบข่าว มีข่าวประธานาธิบดีสหรัฐฯ บารัค โอบามา ได้รับรายงานแล้ว

    NBC News สื่อสหรัฐฯรายงานเมื่อวานนี้(8)ว่า ตลาดหลักทรัพย์วอลสตรีท หรือ NYSE ในนิวยอร์กกลับมาเปิดทำการได้อีกครั้งในเวลา 15.10 น. หลังจากที่ระงับการซื้อขายไปตั้งแต่เวลา 11.32 น.ในวันพุธ(8) ซึ่งทางตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กได้แถลงให้ความมั่นใจผ่านทวิตเตอร์กับผู้ค้าหลักทรัพย์ทั้งหลายว่า การปิดทำการซื้อขายนี้ไม่ได้เกิดจากการโจมตีของกลุ่มแฮกเกอร์แต่อย่างใด สอดคล้องกับการยืนยันของทำเนียบขาว

    แต่ทว่าในช่วงเช้าวันพุธ(8) สื่อสหรัฐฯ เป็นต้นว่า MSNBC ได้มีการตั้งประเด็นว่า เป็นไปได้หรือไม่ว่าแฮกเกอร์จากจีนเป็นผู้ลงมือโจมตีตลาดหุ้นนิวยอร์กจนทำให้เกิดปัญหาขัดข้องทางเทคนิกขึ้น และเกิดขึ้นไม่นานหลังจากสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ต้องสั่งระงับทุกเที่ยวบินในวันเดียวกันจากปัญหาซอฟแวร์ขัดข้องเช่นเดียวกัน

    “หนึ่งในสามของปัญหาที่ทางเรากำลังประสบอยู่ในขณะนี้เกิดจากการขัดข้องจากระบบภายใน ไม่ได้โดนไซเบอร์แฮกเกอร์โจมตีแต่อย่างใด” ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก NYSE แถลงผ่านทวิตเตอร์

    ด้านประธานตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก โธมัส ฟาร์ลี(Thomas Farley) แถลงยอมรับว่า “ไม่ใช่วันที่ดี ผมรู้สึกไม่ดีต่อลูกค้าของเราที่ต้องแก้ปัญหาเพราะระบบการซื้อขายไม่สามารถทำการได้”

    สื่อสหรัฐฯรายงานเพิ่มเติมว่า หลังจากผ่าน 8.00 น. ไปไม่นานนัก ตลาดหลักทรัพทย์นิวยอร์กได้ขึ้นประกาศเตือน “รายงานแจ้งเตือนปัญหาระบบเกตเวย์คอนเนกชันขัดข้อง” ทำให้ส่งผลกระทบต่อบางส่วน และหลังจากนั้นมีการส่งคำเตือนถูกส่งออกมาในเวลา 10.37 น.ว่าปัญหานี้ได้รับการแก้ไขแล้ว

    และฟาร์ลีแถลงต่อไปว่า “เราได้เปิดทำการซื้อขายตลาดหลักทรัพย์ตามปกติ โดยหุ้นบริษัททั้งหมดที่อยู่บนกระดานการซื้อขายสามารถทำการได้โดยไม่มีสิ่งผิดปกติ แต่ทว่าในช่วงครึ่งวันเช้า ทางเราสังเกตพบว่า มีปัญหาเกิดขึ้นเนื่องจากลูกค้าไม่สามารถได้รับข้อความกลับทั้งหมดที่ตามปกติสมควรเป็น”

    และNBC News รายงานเพิ่มเติมอีกว่า แหล่งข่าวเจ้าหน้าที่สหรัฐฯจำนวน 2 คน ได้เปิดเผยกับสื่อสหรัฐฯว่า การขัดข้องด้านเทคนิกของตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กไม่มีความเกี่ยวข้องกับปัญหาเทคนิกของบริษัทสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ที่เกิดขึ้นในวันเดียวกัน และส่งผลทำให้ทางสายการบินต้องประกาศระงับทุกเที่ยวบินในช่วงเช้าวันพุธ(8)

    และแหล่งข่าวสหรัฐฯยังชี้แจงว่า ไม่คิดว่าปัญหาระบบซอฟแวร์ล่มของทั้งตลาดหลักทรัพย์วอลสตรีทและปัญหาของยูไนเต็ดแอร์ไลน์นั้นเกิดมาจากการถูกโจมตีจากกลุ่มแฮกเกอร์

    ด้าน จอร์จ เอิร์นเนส โฆษกประจำทำเนียบขาวแถลงว่า จากรายงานไม่พบว่าเป็นการกระทำของกลุ่มแฮกเกอร์ และนอกจากนี้ยังมีรายงานว่า ประธานาธิบดีสหรัฐฯ บารัค โอบามา ได้รับทราบรายงานสรุปปัญหาซอฟแวร์ล่มของตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กแล้ว ส่วนกระทรวงการคลังสหรัฐฯ รวมไปถึงบอร์ดคณะกรรมการกำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์อเมริกา และเอฟบีไอต่างออกมายืนยันว่า ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดเฝ้าจับตาดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

    และในช่วงตลาดปิด แต่ทว่านักลงทุนยังสามารถทำการซื้อขายหุ้นที่ขึ้นกระดานตลาดวอลสตรีทต่อไปได้ ด้วยคำสั่งซื้อขายถูกเปลี่ยนไปยังตลาดอื่นแทน

    และตลาดหลักทรัพย์วอลสตรีทยังแถลงเพิ่มเติมว่า การซื้อขายที่ทำขึ้นก่อนเกิดเหตุนั้นถูกยกเลิก และดูเหมือนว่าปัญหาขัดข้องทางเทคนิกนั้นจำกัดวงอยู่ภายในการซื้อขายของNYSE exchange และNYSE MKT ของหุ้นเล็กเท่านั้น แต่ไม่ได้ส่งผลไปยังในส่วนของ NYSE Arce NYSE Amex/Arca Options

    http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000077587
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    บริษัทน้ำมันรัฐบาลรัสเซีย บรรลุข้อตกลงขายน้ำมัน “100 ล้านตัน” ให้อินเดียนาน 10 ปีต่อเนื่อง โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 9 กรกฎาคม 2558 13:59 น.

    [​IMG]

    @ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซียจับมือกับนเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดีย หลังบรรลุข้อตกลงประวัติศาสตร์

    เอเจนซีส์ / ASTV ผู้จัดการออนไลน์ – “รอสเนฟต์” บริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่จากแดนหมีขาว ตกเป็นข่าวในวันพุธ ( 8 ก.ค.) ลงนามในข้อตกลงประวัติศาสตร์ในการจัดส่งน้ำมันให้กับทางการอินเดีย บ่งชี้สายสัมพันธ์มอสโก – นิวเดลี สุดแนบแน่น

    รายงานข่าวระบุว่า การลงนามในข้อตกลงความร่วมมือทางด้านพลังงานในครั้งนี้ เกิดขึ้นนอกรอบ ระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่รายใหญ่ของโลก ( BRICS ) ที่เมืองอูฟาของรัสเซีย ซึ่งมีผู้นำจากบราซิล อินเดีย จีน แอฟริกาใต้ และเจ้าภาพ คือ รัสเซีย ตบเท้าเข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียงในระว่างวันที่ 8-9 กรกฎาคมนี้

    รายละเอียดของข้อตกลงความร่วมมือฉบับนี้ระบุว่า ทางบริษัทพลังงานรอสเนฟต์ ซึ่งมีรัฐบาลรัสเซียเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และมีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงมอสโก จะต้องจัดส่งน้ำมันปริมาณ “100 ล้านตัน” ให้กับอินเดีย ตลอดระยะเวลา 1 ทศวรรษ หรือ 10 ปีเต็มเริ่มตั้งแต่ช่วงกลางปี 2015 นี้

    อย่างไรก็ดี ข้อตกลงดังกล่าวกำหนดให้ทางรอสเนฟต์ ซึ่งได้ชื่อว่า เป็น “บริษัทน้ำมันขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ที่มีการจดทะเบียนเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์” จะต้องจัดส่งน้ำมันล็อตแรกจำนวน 5 ล้านตันให้กับอินเดียก่อน ในช่วงครึ่งหลังของปี 2015 นี้

    ด้านแหล่งข่าวทางการทูตในกรุงมอสโกเผยว่า ทางการอินเดียตกลงซื้อน้ำมันจากทางรอสเนฟต์ ที่ระดับราคา 60 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล (ตกบาร์เรลละ 2,040 บาท) ขณะที่ทางการอินเดีย จะยอมเปิดทางให้บริษัทรอสเนฟต์เข้าถือหุ้นจำนวน “49 เปอร์เซ็นต์” ในบริษัทน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดของอินเดียอย่าง “เอสซาร์ ออยล์”

    ก่อนหน้านี้เมื่อช่วงปลายเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว มีการยืนยันข่าวความร่วมมือครั้งประวัติศาสตร์ระหว่างรัสเซียและจีน ในการบรรลุข้อตกลงด้านพลังงานในการที่รัฐบาลแดนมังกรสั่งซื้อ “ก๊าซธรรมชาติ” มูลค่ามหาศาลจากแดนหมีขาวเช่นกัน

    โดยข้อตกลงประวัติศาสตร์ที่มีการลงนามในวันที่ 21 พฤษภาคม 2014 ถือเป็นข้อตกลงที่ถูกริเริ่มผลักดันโดยรัฐบาลปักกิ่งและมอสโกซึ่งระบุว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน ดินแดนที่ได้ชื่อว่ามีขนาดของเศรษฐกิจ “ใหญ่ที่สุดในเอเชีย” และยังเป็นชาติที่มีการ “บริโภคพลังงาน” มากเป็นลำดับต้นๆของโลกตกลงสั่งซื้อก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียในวงเงินที่สูงถึง “ 400,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ” หรือคิดเป็นเงินไทยราว “12.95 ล้านล้านบาท” ตามอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงเวลานั้น โดยที่ข้อตกลงดังกล่าวนี้ ครอบคลุมการส่งมอบก๊าซธรรมชาติจากแดนหมีขาว สู่แดนมังกรนานถึง “30 ปีเต็ม”

    ข้อตกลงประวัติศาสตร์ระหว่างมอสโกและปักกิ่งในคราวนั้น เปรียบประดุจ “การประกาศชัยชนะครั้งยิ่งใหญ่” ทั้งทางการเมืองและทางการทูตของประธานาธิบดี “วลาดิมีร์ ปูติน” แห่งรัสเซียต่อสหรัฐอเมริกาและโลกตะวันตกที่กำลังเดินหน้าผลักดันการคว่ำบาตรและโดดเดี่ยวรัสเซีย จากผลพวงของวิกฤตทางการเมืองในยูเครน

    ทั้งนี้ ข้อตกลงระหว่างรัฐบาลรัสเซียและจีนระบุว่า กาซปรอม (Gazprom) รัฐวิสาหกิจด้านพลังงานของรัสเซีย ที่ได้ชื่อว่า เป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติ “รายใหญ่ที่สุดของโลก” ในเวลานี้ จะทำหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดส่งก๊าซธรรมชาติให้กับทางไชน่า เนชันแนล ปิโตรเลียม (CNPC) ที่อยู่ภายใต้การดูแลของรัฐบาลจีนในปริมาณ 38,000 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี เป็นเวลาต่อเนื่องยาวนานถึง 30 ปี

    รอสเนฟต์ ได้ชื่อว่า เป็น “บริษัทน้ำมันขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ที่มีการจดทะเบียนเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์”

    http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000077623
     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Focus : สุดอึ้ง! รอยเตอร์แฉสหรัฐฯ ปรับอันดับ “มาเลเซีย” ขึ้น “เทียร์ 2” ในรายงานค้ามนุษย์ปี 2015 ปูทางดึงเสือเหลืองร่วม “ทีพีพี” โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 9 กรกฎาคม 2558 14:32 น.

    [​IMG]

    @รายงานสถานการณ์ค้ามนุษย์ประจำปี 2014 (TIP) ซึ่งออกโดยกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุให้ไทย มาเลเซีย และเวเนซุเอลา ถูกลดอันดับไปสู่ "เทียร์ 3" ซึ่งเป็นขั้นเลวร้ายที่สุด

    รอยเตอร์ – สหรัฐฯ ตัดสินใจปรับสถานะมาเลเซียจากกลุ่มประเทศที่มีสถานการณ์การค้ามนุษย์ขั้นร้ายแรงหรือ “เทียร์ 3” กลับขึ้นไปสู่ขั้น “เทียร์ 2” ในปีนี้ เพื่อขจัดอุปสรรคในการดึงกัวลาลัมเปอร์เข้าเป็นสมาชิกความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (ทีพีพี) ท่ามกลางเสียงวิจารณ์จากนักสิทธิมนุษยชนที่ชี้ว่ารัฐบาลเสือเหลืองแทบไม่ได้แก้ไขปรับปรุงปัญหาการค้ามนุษย์เลย

    การปรับสถานะมาเลเซียกลับขึ้นไปยังเทียร์ 2 เท่ากับทลายปราการด่านสำคัญที่อาจขัดขวางแผนจัดตั้งเขตการค้าเสรีทีพีพี ซึ่งประธานาธิบดี บารัค โอบามา ต้องการทิ้งไว้เป็นผลงานชิ้นโบแดง ก่อนที่ตนจะหมดวาระบริหารประเทศในปี 2017

    กฎหมายการค้าที่ผ่านสภาคองเกรสเมื่อเดือนที่แล้วมีบทบัญญัติซึ่งห้ามประธานาธิบดีใช้อำนาจ “ฟาสต์แทร็ก” เจรจาทำข้อตกลงการค้าแบบเร่งด่วนกับมาเลเซียและชาติอื่นๆ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ จัดให้อยู่ในกลุ่มที่จัดการปัญหาค้ามนุษย์ย่ำแย่ที่สุด

    รัฐบาลมาเลเซียถูกนานาชาติประณามและเพ่งเล็งเรื่องการสกัดกั้นเครือข่ายค้ามนุษย์ หลังจากไม่กี่เดือนก่อนมีการค้นพบหลุมฝังศพนับร้อยใกล้ค่ายกักกันของพวกค้ามนุษย์ที่รัฐปะลิส ซึ่งอยู่ติดชายแดนไทย

    ในรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ประจำปี 2014 (Trafficking in Persons - TIP) กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้ลดอันดับไทย มาเลเซีย และเวเนซุเอลาลงสู่ขั้นเทียร์ 3 เทียบเท่าเกาหลีเหนือ ซีเรีย และซิมบับเว โดยอ้างว่ารัฐบาลเสือเหลือง “แทบไม่พยายามแก้ไขปรับปรุงมาตรการปกป้องเหยื่อ” รวมไปถึงปัญหาอื่นๆ ขณะที่ไทยถูกกล่าวหาว่าเป็นประเทศปลายทางรองรับเหยื่อค้ามนุษย์ของโลกหลายหมื่นคน ส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างด้าวจากประเทศเพื่อนบ้านซึ่งถูกบังคับกดขี่ ขู่เข็ญหรือไม่ก็ถูกหลอกให้ทำงานเยี่ยงทาส ขณะที่บางส่วนก็ถูกแสวงหาผลประโยชน์ในธุรกิจทางเพศ

    อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวในสภาคองเกรสคนหนึ่งได้ให้ข้อมูลกับรอยเตอร์ว่า รัฐบาลสหรัฐฯ ตัดสินใจอัพเกรดสถานะของมาเลเซียกลับไปยังขั้นเทียร์ 2 แล้ว และเมื่อรอยเตอร์ไปสอบถามจากแหล่งข่าวคนที่ 2 ก็ได้คำยืนยันตรงกัน

    สมาชิกสภาคองเกรสและนักสิทธิมนุษยชนบางคนชี้ว่า มาเลเซียสมควรติดอยู่ในกลุ่มเทียร์ 3 ต่อไปในปีนี้ เนื่องจากการดำเนินคดีกับบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการค้ามนุษย์ยังคงล่าช้า และธุรกิจมืดชนิดนี้ก็ยังคงเพื่องฟูในภาคการผลิตสินค้าหลากหลายประเภท เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และปาล์มน้ำมัน เป็นต้น

    ในช่วง 1 ปีจนถึงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา นักสิทธิมนุษยชนพบว่า สถิติการพิพากษาลงโทษเครือข่ายค้ามนุษย์ในมาเลเซียยิ่งลดต่ำลงไปอีก แม้จะมีการสอบสวนเพิ่มขึ้นก็ตาม ซึ่งประเด็นนี้เองที่ทำให้น่าเชื่อว่ามาเลเซียยังไม่สมควรพ้นไปจากกลุ่ม “เทียร์ 3”

    “ถ้าเรื่องนี้เป็นความจริง การที่ฝ่ายบริหารของสหรัฐฯ ใช้อำนาจก้าวก่ายการจัดอันดับมาเลเซียในรายงานสถานการณ์ค้ามนุษย์ ปี 2015 จะถือเป็นพฤติกรรมนอกลู่นอกทางที่ทำลายความน่าเชื่อถือของรายงานฉบับนี้ รวมถึงบั่นทอนการต่อสู้กับรัฐที่มีปัญหาค้ามนุษย์ด้วย”โรเบิร์ต เมเนนเดซ ส.ว.เดโมแครตซึ่งเป็นคนหนึ่งที่คัดค้านไม่ให้กลุ่มประเทศเทียร์ 3 เข้าร่วมทีพีพี กล่าว

    ฟีล โรเบิร์ตสัน รองผู้อำนวยการฮิวแมนไรต์วอตช์ประจำภูมิภาคเอเชีย ยอมรับว่ารู้สึก “อึ้ง” กับข่าวการอัพเกรดสถานะให้มาเลเซีย

    “รัฐบาลมาเลเซียแทบไม่ทำอะไรเลยที่เป็นการปกป้องแรงงานผู้อพยพจากการถูกล่วงละเมิด... สหรัฐฯ ทำเช่นนี้เหมือนให้รางวัลทางการเมือง (แก่มาเลเซีย) มากกว่า ผมขอเรียกร้องให้สภาคองเกรสพิจารณาสอบสวนตัวบุคคลที่ตัดสินใจเรื่องนี้” โรเบิร์ตสัน กล่าว

    ทั้งนี้ คาดว่ากระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ จะเผยแพร่รายงานสถานการณ์ค้ามนุษย์ประจำปี 2015 รวมถึงผลประเมินความพยายามของแต่ละประเทศในการจัดการปัญหาค้ามนุษย์ ภายในสัปดาห์หน้า

    โอบามาได้ไปเยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนเมษายน ปี 2014 เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทั้งในด้านเศรษฐกิจและความมั่นคง และหวังที่จะสร้างความเป็นเอกภาพในกลุ่มอาเซียน 10 ประเทศเพื่อต้านทานการขยายอิทธิพลของจีนในทะเลจีนใต้

    รัฐบาลเสือเหลืองเองก็หวังที่จะเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงทีพีพี ซึ่งครอบคลุมมูลค่าเศรษฐกิจถึง 40 เปอร์เซ็นต์ของโลก และเป็นหัวใจสำคัญในยุทธศาสตร์ “ปรับสมดุลสู่เอเชีย” ที่ โอบามา ต้องการผลักดัน

    ปัจจุบันมี 12 ชาติในเอเชีย-แปซิฟิกประกาศเข้าร่วม หรืออยู่ระหว่างการเจรจาเข้าร่วมทีพีพี เช่น ออสเตรเลีย, สิงคโปร์, ญี่ปุ่น, มาเลเซีย และเวียดนาม

    [​IMG]

    http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000077611
     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    "มนูญ" ค้านตั้ง "บรรษัทพลังงาน" หวั่นผูกขาด - "ปานเทพ" ย้ำชาติได้ประโยชน์โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 9 กรกฎาคม 2558 22:21 น. (แก้ไขล่าสุด 10 กรกฎาคม 2558 06:46 น.)

    [​IMG]
    @ขอบคุณภาพจากเฟซบุ๊ก "เถียงให้รู้เรื่อง"

    "มนูญ" ค้านผุด "บรรษัทพลังงาน" หวั่นผูกขาด การบริหารด้อยประสิทธิภาพ ชี้ไม่เชื่อใจภาคประชาชนที่จะเข้ามาเป็นคณะกรรมการว่าดีพอ เสนอไปแก้ที่ระบบการตรวจสอบดีกว่า ด้าน "ปานเทพ" ยันจะทำให้เกิดการแข่งขันเสรี - โปร่งใสยิ่งกว่าเดิม ย้ำรัฐถือหุ้น 100% พลังงานจะถูก - แพง ผลประโยชน์ก็ยังเข้ารัฐ ดีกว่าให้เอกชนทำแน่นอน

    <iframe width="560" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/SIopuZkuyBg" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

    วันนี้ (9 ก.ค.) เมื่อเวลา 20.30 น. รายการ "เถียงให้รู้เรื่อง" ตอน "บรรษัทพลังงาน" เพื่อชาติ หรือ เพื่อใคร ? ออกอากาศทางไทยพีบีเอส ได้เชิญ นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย นายมนูญ ศิริวรรณ แกนนำกลุ่มปฏิรูปพลังงานเพื่อความยั่งยืน มาถกเถียงในประเด็นดังกล่าว พร้อมเชิญ ศ.พรายพล คุ้มทรัพย์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และอาจารย์เดชรัตน์ สุขกำเนิด คณะเศรษฐศษสตร์ นักวิชาการ 2 ท่านมาให้ความเห็นในประเด็นนี้

    โดย นายมนูญ กล่าวว่า ปิโตรเลียมเป็นของรัฐตลอดเวลาอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นระบบสัมปทานหรือแบ่งปันผลผลิต ถ้าใช้ระบบสัมปทานไม่จำเป็นต้องมีบรรษัทพลังงาน แต่ถ้าเป็นแบ่งปันผลลิตจำเป็นต้องมีบรรษัทพลังงาน ถ้าข้อเสนอของ คปพ. ให้บรรษัทพลังงานเป็นผู้ประกอบการรายหนึ่ง หรือเป็นตัวแทนรัฐบาลร่วมกับเอกชนในการบริหารพลังงานอันนี้ปกติ แต่ถ้ารับสิทธิผูกขาด 100% อันนี้สงสัยเป็นการผูกขาดหรือเปล่า ซึ่งตนไม่เห็นด้วย อีกทั้งการตั้งองค์กรให้เป็นหน่วยงานรัฐ การบริหารจะมีประสิทธืภาพมากน้อยแค่ไหน ที่ตนห่วงมากที่สุดคือการผูกขาด ประสิทธิภาพในการบริหาร การตรวจสอบ ถ้ารัฐถือหุ้น 100% การแทรกแซงจากภาครัฐทำให้การบริหารขาดประสิทธิภาพหรือเปล่า

    นายปานเทพ กล่าวแย้งว่า ปิโตรเลียมมีระบบท่อซึ่งเป็นการผูกขาดโดยปริยายอยู่แล้ว แต่เราจำเป็นต้องมีองค์กรเข้าไปจัดสรรให้เกิดความเป็นธรรม ถ้าปล่อยเอกชนดำเนินการ รัฐกับประชาชนจะเสียเปรียบ ส่วนที่ห่วงเรื่องความไม่โปร่งใส ไม่มีประสิทธิภาพ เราจึงแยกเป็น 2 ส่วน ส่วนของรัฐ ไม่โปร่งใสยังไงก็ยังมีการตรวจสอบ ทั้งทางสภา ปปช. สตง. ฯลฯ ไม่ต่างจากองค์กรรัฐทั่วไป และส่วนของภาคประชาชน ที่จะร่วมทำให้เกิดการตรวจสอบอีกขั้น และ คปพ.ยังเสนอให้มีการตรวจสอบตลอดเวลา ประชาชนรับรู้ได้ตลอด และกำหนดว่าคนมานั่งเป็นคณะกรรมการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน

    นาย มนูญ กล่าวโต้ว่า ก๊าซผูกขาดในเรื่องการจัดส่งเพราะส่งทางท่อ แต่น้ำมันไม่ผูกขาดเพราะไม่ได้ส่งทางท่อ และการสำรวจไม่มีการผูกขาด รัฐเปิดให้ทุกฝ่ายเข้ามาได้ โดยรัฐถือกรรมสิทธิ์เจ้าของอยู่แล้ว แต่นี่เราจะยกให้บรรษัทถือกรรมสิทธิ์แทนรัฐบาล มีอำนาจผูกขาดเจ้าเดียว แล้วเราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าภาคประชาชนที่เลือกเข้ามา 10 คน จะมีความรู้ ความเข้าใจ และไว้ใจได้ทั้ง 10 คนหรือเปล่า ในเมื่อไม่ไว้ใจราชการตนก็มีสิทธิไม่ไว้ใจภาคประชาชนได้เช่นกัน ตนเชื่อว่าการตรวจสอบที่ดีไม่ว่าจะภาคประชาชน หรือราชการ ระบบการตรวจสอบสำคัญที่สุด แก้ตรงนี้ให้มีประสิทธิภาพจะดีกว่า แล้วที่บอกว่าราคาพลังงานจะถูกลง ทุกวันนี้รัฐจะขายให้ถูกก็ทำได้ ไม่จำเป็นต้องมีบรรษัทหรือเป็นแบบแบ่งปันผลผลิตเลย แค่เอาค่าภาคหลวงที่เปิดสัมปทานมาลดให้ประชาชน อีกทั้งการตั้งบรรษัทพลังงานต้องมีการลงทุนถึงหมื่นล้านบาท

    นายปานเทพ กล่าวเสริมว่า การตั้งบรรษัทพลังงานไม่ใช่การผูกขาด เพราะเราเสนอให้ทุกแปลงต้องมีการประมูลแข่งขัน ทำให้เกิดการแข่งขันเสรียิ่งกว่าเดิมเสียอีก แล้วที่ว่าต้องใช้งบหมื่นล้าน ไม่มีปัญหาเพราะกองทุนน้ำมันทุกวันนี้มีกำไร 4 -5 หมื่นล้านอยู่แล้ว เรื่องประสิทธิภาพ คปพ.ก็เป็นห่วงเช่นกัน จึงเสนอว่าต้องตรากฎหมายป้องกันไว้เลยว่าอะไรให้ทำ อะไรไม่ให้ทำ นอกจากคณะกรรมการปิโตรเลียม ยังมีคณะกรรมการอีกชั้นหนึ่ง โดยจะสรรหาจากมืออาชีพ

    นายมนูญ กล่าวย้ำว่า ตนไม่ขัดแย้งในการตั้งบรรษัทพลังงาน แต่ให้ระวังเรื่องสิทธิผูกขาด ซึ่งสุ่มเสี่ยงและอาจมีปัญหาได้ในอนาคต เราอาจเห็นการตั้งหน่วยงานใหม่เพราะไม่เชื่อใจหน่วยงานที่ทำอยู่ ทำให้ต้องตั้งใหม่อยู่เรื่อยหรือเปล่า ไปแก้ที่ระบบการตรวจสอบให้ดีขึ้นดีกว่า

    นายปานเทพ กล่าวปิดท้ายว่า ตนไม่ได้ต้องการให้รัฐขายพลังงานในราคาถูกที่สุด แต่เมื่อรัฐถือหุ้น 100 เปอร์เซ็นต์ หากลดราคา ประชาชนก็ได้ประโยชน์ หรือหากขึ้นราคาก็มั่นใจได้ว่ากำไรจะเข้ารัฐ ดีกว่าให้เอกชนทำ

    "กรณีที่เกิดขึ้นในการอุ้มราคาน้ำมันที่มาเลเซีย คือปิโตรนาสลดกำไรตัวเอง แต่เชื่อหรือไม่ ผลประกอบการดีกว่า ปตท. ไว้ใจข้าราชการหรือเปล่า ผมเชื่อว่าข้าราชการมีจิตสำนึกของความเป็นมืออาชีพ แต่ระบบที่มีอยู่ทำให้ประชาชนไม่ไว้ใจ ข้าราชการที่มีอำนาจกำกับดูแลราคาพลังงานกลับไปนั่งเป็นบอร์ดรัฐวิสาหกิจ ที่ได้ผลตอบแทนจากราคาที่สูงขึ้น เป็นไปได้ไงที่เราบอกว่าไว้ใจข้าราชการจากระบบเดิม ถ้าบอกว่ารัฐถือหุ้น 100 เปอร์เซ็นต์ รัฐจะแทรก เราก็มีวิธีจัดการโครงสร้างผู้บริหารว่าเป็นใคร เห็นด้วยว่าจำเป็นต้องมีมืออาชีพส่วนนึง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าต้องรู้เรื่องเพื่อนำไปสู่การแสวงหากำไรสูงสุด เพราะปิโตรเลียมเมื่อเป็นของปวงชนชาวไทย มีอีกหลายมิติที่ต้องคิด ทั้งสิ่งแวดล้อม สุขภาพ สุขภาวะประชาชน ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้จะทำให้เกิดความสมดุล สุดท้ายผมไม่ปรารถนาว่าราคาต้องถูกสุด แต่เชื่อว่าถ้ารัฐถือหุ้น 100 เปอร์เซ็นต์มันตอบโจทย์ได้ ถ้ารัฐอยากกระตุ้นเศรษฐกิจ ลดราคา ประชาชนก็ได้ประโยชน์ ถ้าอยากขึ้นราคา เราก็มั่นใจได้ว่าผลที่ได้มาตกสู่แก่รัฐ ได้งบมาพัฒนาประเทศ ไม่ว่าทางไหนการที่รัฐถือหุ้น 100 เปอร์เซ็นต์ ดีกว่าให้เอกชนถือหุ้นเพื่อไปแสวงหากำไรสูงสุดให้กับผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นใครก็ไม่รู้ " นายปานเทพ กล่าวสรุปปิดท้าย

    ด้าน ศ.พรายพล ให้ความเห็นว่า ต้องระวัง ถ้าให้อำนาจการผูกขาดบรรษัทพลังงานนาน ๆ หรือถาวร จะไม่เกิดการแข่งขัน และจะไม่มีประสิทธิภาพ ท้ายที่สุดจะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงเพราะไม่มีการพัฒนา การกีดกันเอกชนซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่ารัฐออกไป จะนำไปสู่ประสิทธิภาพที่ด้อยลง แต่การมีบรรษัทพลังงานเพิ่มส่วนแบ่งให้รัฐได้แน่นอน แต่ก็ต้องระวังพอกำไรเยอะๆ นักการเมืองก็แทรกแซง เป็นบ่อเกิดการทุจริต อีกทั้งต้องระวังเรื่องการอุดหนุนราคาแก๊ซและน้ำมันมากเกินไป อย่างเช่นที่มาเลเซีย ตอนนี้รัฐบาลและบรรษัทน้ำมันของมาเลเซียเกิดภาวะกรอบ

    ขณะที่ อาจารย์เดชรัตน์ กล่าวว่า ข้อดีที่ที่ถกเถียงกันมาตลอด ทำให้ตอนนี้ตกผลึกแล้วว่าประเทศไทยใช้ได้ทั้ง 3 แบบ คือแบ่งปันผลผลิต สัมปทาน และจ้างผลิต โดยดูความเหมาะสมในแต่ละกรณี และเมื่อใช้แบ่งปันผลผลิตก็ต้องมีองค์กรหนึ่งขึ้นมาจัดการ แต่พอดีใช้ชื่อว่าบรรษัทพลังงานแห่งชาติ คนเลยกังวลเรื่องการผูกขาด แต่จริงๆ แค่ทำหน้าที่แทนรัฐ จัดการการแข่งขันให้มีประสิทธิภาพ ส่วนเรื่อง 3 ระบบ ตนก็อยากเห็นบรรษัทฯทำหน้าที่ให้เห็นว่าการใช้แบบไหนให้ประโยชน์มากสุด สิ่งเหล่านี้อาจต้องระบุไว้ก่อนตั้งบรรษัทฯ นอกจากนี้ตนอยากให้ทำในสิ่งที่ดำเนินการเลย เช่นกรณีข้าราชการที่มีหน้าที่กำกับดูแลราคาพลังงาน กลับไปเป็นกรรมการในบริษัทที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน เช่นเดียวกับเรื่องสัมปทาน บางกรณีก็รับเป็นผลผลิตมาจะดีกว่า ก็ลองทำได้เลย จะได้รู้ว่าอะไรทำได้ทำไม่ได้

    http://manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9580000077895
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    อุกาบาตสีเขียว ที่เฟส Nibiru Facts/Elenin Facts/2012/NWO/FEMA/Earth Quakes/T Cyclones etc ได้บอกว่าเป็นชิ้นส่วนของหางของ Planet 7 X ที่จะเริ่มเข้ามามีผลกับโลกในช่วงแรก ๆ ก่อนที่ Planet 7 X จะมาถึง

    นักดาราศาสตร์ฟันธง เสียงระเบิดดังเหนือท้องฟ้าสระแก้วเป็นเสียงอุกกาบาตระเบิด โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 9 กรกฎาคม 2558 18:52 น. (แก้ไขล่าสุด 10 กรกฎาคม 2558 08:03 น.)

    [​IMG]

    ฉะเชิงเทรา-นักดาราศาสตร์แปดริ้วฟันธง เสียงระเบิดดังกึกก้องเหนือท้องฟ้าที่สระแก้วเป็นเสียงของอุกกาบาตระเบิดก่อนตกถึงพื้นพิภพ ชี้จากข้อมูลบนโลกโซเชียลที่มีอยู่นั้นถือว่ามีองค์ประกอบหลายด้านที่ค่อนข้างสมบูรณ์ ให้น้ำหนักไปในทิศทางด้านวัตถุจากภายนอกโลกตกลงมามากที่สุด

    นายวรวิทย์ ตันวุฒิบัณฑิต นักดาราศาสตร์ ชาว ต.บางบ่อ อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา กล่าวถึงกระแสความประหลาดใจของประชาชนบนโลกโซเชียลที่พยายามค้นหาคำตอบ จากเหตุที่มีประชาชนชาว จ.สระแก้ว ทั้ง 9 อำเภอ รวมทั้งจังหวัดใกล้เคียง ได้ยินเสียงดังคล้ายระเบิดที่ดังกึกก้องสนั่นหวั่นไหวกลางอากาศออกไปไกลเหนือท้องฟ้า พร้อมมีการส่งต่อผ่านมางโลกโซเชียลในห้วงเวลาตลอดทั้งวันที่ผ่านมานี้ว่า

    ทั้งนี้ หากได้ยินเสียงดังขนาดนี้น่าจะมีคนเห็นแสง ซึ่งถ้าหากไม่มีเครื่องบินหายไปก็สามารถฟันธงได้ว่า เป็นเสียงของอุกกาบาตระเบิดแตกออกกลางอากาศ ซึ่งหากเป็นอุกกาบาตลูกใหญ่ก็น่าจะมีทางวิ่งให้เห็น แต่จากรูปภาพที่มีการแชร์กันมานั้นมองไม่เห็นทางวิ่ง หรือรางควันของอุกกาบาต ซึ่งปกติจะต้องมีเป็นทางยาว ตรงจุดนี้จึงถือว่าแปลก

    แต่ถ้าไม่มีใครเห็นแสง หรือไม่มีแสงจากการระเบิดเลยก็น่าจะเป็นเครื่องบินความเร็วเหนือเสียง หรือเครื่องบินไอพ่นทำโซนิกบูม แต่ถ้ามีคนเห็นแสงด้วยก็สามารถฟันธงไปยังที่อุกกาบาตตก และระเบิดก่อนถึงพื้นโลกได้เลย ซึ่งมีโอกาสที่จะเป็นไปได้มากที่สุด

    แต่จากข้อมูลที่ได้มานั้นมีการได้ยินเสียงดังไกลไปในหลายอำเภอ ก็น่าจะเป็นอุกกาบาตลูกใหญ่พอสมควร และแตกกลางอากาศก่อนถึงพื้น ซึ่งถ้าเป็นขยะอวกาศตกนั้นก็ไม่น่าจะแตก และหากระเบิดใหญ่มีเสียงดังขนาดนี้ก็น่าจะมีเศษชิ้นส่วนของขยะอวกาศตกลงมาที่พื้นโลกด้วย

    ขณะนี้จึงเชื่อว่าเป็นเสียงของอุกกาบาตที่ระเบิดแตกออกก่อนถึงพื้นโลกได้มากที่สุด เพราะมีองค์ประกอบที่ชี้ชัดค่อนข้างสมบูรณ์ไปในแนวทางนี้มากกว่าสิ่งอื่นใด คือ เสียงระเบิดที่เกิดขึ้นนั้นดังไกล และได้ยินไปทั่วในหลายพื้นที่ทั่วทั้ง 9 อำเภอของจังหวัดสระแก้ว รวมถึงจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งเป็นลักษณะของเสียงจากวัตถุที่ระเบิดเกิดขึ้นกลางท้องฟ้าในที่สูงทำให้เสียงสะท้อนไปได้ไกล

    จากภาพถ่ายที่มีการแชร์กันมานั้นมีแสงจากจุดที่เป็นแสงสีเขียว ซึ่งก็เป็นลักษณะของแสงจากอุกกาบาต ซึ่งหากเป็นแสงจากขยะอวกาศนั้นจะเป็นแสงสีแดง แต่สิ่งที่ไม่เห็นก็คือ รอยของกลุ่มควัน หรือทางวิ่งของอุกกาบาต ซึ่งปกติหากเป็นอุกกาบาตจะต้องมีกลุ่มควันเป็นทางวิ่งจึงจะครบองค์ประกอบ และสามารถฟันธงได้ 100 เปอร์เซ็นต์ว่า เป็นอุกกาบาตที่ตก และระเบิดแตกออกกลางอากาศ

    http://manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9580000077823
     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    นายก อบต.แพงพวยลงตรวจพื้นที่ถนนทรุด พร้อมเตรียมซ่อมให้ชาวบ้าน โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 9 กรกฎาคม 2558 18:28 น. (แก้ไขล่าสุด 10 กรกฎาคม 2558 07:56 น.)

    [​IMG]

    ราชบุรี - นายก อบต.แพงพวย อำเภอดำเนินสะดวก ลงตรวจสอบพื้นที่กรณีถนนทรุดตัว พร้อมเตรียมซ่อมถนนให้ชาวบ้านได้สัญจรไปมาได้ตามปกติ เผยนอกจากนี้ยังมีอีกหลายแห่งที่ถนนทรุดตัว ส่วนสาเหตุคาดน่าจะเกิดจากน้ำในคลองแห้งขอด

    หลังจากที่เกิดถนนสายถนนเลียบคลองชลประทาน สายหนองไก่แก้ว-ปู่เจริญ หมู่ 3 บ้านหนองไก่แก้ว ต.แพงพวย อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี ตลอดทั้งสายเกิดการทรุดตัวลง จนทำให้การสัญจรไปมาของประชาชนนั้นค่อนข้างลำบาก เนื่องจากเหลือเพียงแค่ช่องทางเดินรถช่องทางเดียว นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายแห่งที่ถนนทรุดตัว ซึ่งสาเหตุคาดว่าน่าจะเกิดจากน้ำในคลองแห้งขอด

    ทำให้ในวันนี้ (9 ก.ค.) เมื่อเวลา 12.30 น. นายบุญญฤทธิ์ โจสรรนุสนธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (นายก อบต.) แพงพวย อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี นายนายชุมพล เอี่ยมสุวรรณ ปลัด อบต.แพงพวย นายพีระพล ปั้นสังข์ ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงชนบทราชบุรี และ ร.ท.ธนูศักดิ์ สิทธิศร หัวหน้าชุดปฏิบัติการกกิจการพลเรือน จังหวัดทหารบกราชบุรี ได้ลงตรวจสอบพื้นที่บริเวณถนนทรุด พร้อมทั้งได้เตรียมซ่อมแซมถนนให้กลับสู่สภาพปกติเพื่อให้ประชาชนได้สัญจรไปมาได้

    นายบุญญฤทธิ์ โจสรรนุสนธิ์ นายก อบต.แพงพวย อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี กล่าวว่า ในวันพรุ่งนี้ (10 ก.ค.) จะให้ทางผู้รับเหมาเข้าทำการสำรวจอย่างเร่งด่วน และคาดว่าภายในอาทิตย์หน้าน่าจะแล้วเสร็จ ในส่วนของเส้นทางอื่นๆ ก็ได้มีการไปสำรวจแล้ว และจะได้ทำไปพร้อมๆ กัน ซึ่งจุดที่เสียหายหนักๆ ก็มีทั้งหมด 4 จุด ซึ่งเส้นทางนั้นยังพอสัญจรได้แต่ก็ต้องระมัดระวัง เพราะค่อนข้างอันตราย ซึ่งเราได้ทำสัญลักษณ์เป็นการเตือนไว้แล้ว

    ส่วนสาเหตุที่ทำให้ถนนทรุดตัว และพังเสียหายนั้นน่าจะมาจากที่มีการขุดลอกคูคลองในช่วงหน้าแล้ง และเมื่อไม่มีน้ำก็ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของพื้นดิน ทำให้ถนนพัง ซึ่งจะต้องเร่งหางบประมาณมาซ่อมแซมอย่างเร่งด่วน โดยทำการนำดินมาถม และบดอัดก่อนเพื่อประชาชนได้ใช้ถนนได้ ส่วนเรื่องของการทำถนนใหม่นั้นต้องรองบประมาณมาดำเนินการอีก

    http://manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9580000077815
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    'ตลาดการเงิน'ไม่ชอบ'ประเทศที่ฆ่าตัวตาย'แบบกรีซ โดย เดวิด พี. โกลด์แมน 5 กรกฎาคม 2558 23:52 น. (แก้ไขล่าสุด 6 กรกฎาคม 2558 14:12 น.)
    (เก็บความจากเอเชียไทมส์ Asia Times)
    Markets don’t like national suicide: Spengler
    BY DAVID P. GOLDMAN
    29/06/2015
    ในทางการเงินแท้ๆ แล้ว ถ้ากรีซจะล้มละลายไปทั้งประเทศ ก็ถือว่ามีความสำคัญไม่มากเท่าใดนัก เนื่องจากนักลงทุนภาคเอกชนเป็นผู้ถือหนี้สินของประเทศนี้อยู่เพียงแค่ 17% ขณะที่เศรษฐกิจของกรีซก็เล็กมากคิดเป็นเพียงแค่เท่ากับ 2% ของยูโรโซน หากมองกันด้วยแง่มุมทางการเมือง การที่ระบบการเงินของกรีซพังครืนลงมาในวันนี้ บางทีอาจจะเป็นผลบวกด้วยซ้ำ เพราะกรีซจะได้ทำหน้าที่เป็นตัวอย่างอันน่าสยดสยอง ให้แก่ประดาประเทศซึ่งมีความโน้มเอียงทำนองเดียวกันที่จะเลือกตั้งเอาพวกนักประชานิยมผู้เก่งกาจในการปลุกระดมมวลชนแต่ปฏิเสธไม่ยอมยึดถือความเป็นจริง ขึ้นมาเป็นผู้ปกครอง
    เมื่อพิจารณากันเพียงในแง่การเงินแท้ๆ แล้ว ถ้าหากประเทศกรีซจะล้มละลายไป ก็ยังคงถือว่ามีความสำคัญไม่มากเท่าไรนัก พวกนักลงทุนภาคเอกชนเป็นเจ้าของถือครองหนี้สินของประเทศนี้อยู่เพียงแค่ 17% แถมส่วนใหญ่ของเจ้าหนี้เหล่านี้ยังเป็นกองทุนเฮดจ์ฟันด์ซึ่งสามารถแบกรับการขาดทุนขนาดนี้ได้อยู่แล้ว สำหรับอีก 62% นั้นเป็นหนี้สินที่กรีซติดค้างพวกรัฐบาลในเขตยูโรโซน และอีก 10% เป็นหนี้ซึ่งติดไอเอ็มเอฟ เศรษฐกิจของกรีซนั้นคิดเป็นเพียงเท่ากับแค่ 2% ของเศรษฐกิจยูโรโซน
    มองกันด้วยแง่มุมทางการเมืองแล้ว การที่ระบบการเงินของกรีซจะปิดตัวล้มครืนลงไปในวันนี้ บางทีอาจจะเป็นผลบวกด้วยซ้ำ เพราะกรีซจะได้ทำหน้าที่เป็นตัวอย่างอันน่าสยดสยอง ให้แก่ประดาประเทศซึ่งมีความโน้มเอียงทำนองเดียวกัน ที่จะเลือกตั้งเอาพวกนักประชานิยมผู้เก่งกาจในการปลุกระดมมวลชนแต่ปฏิเสธไม่ยอมยึดถือความเป็นจริง ขึ้นมาเป็นผู้ปกครอง แน่นอนทีเดียว ประชาชนชาวกรีกจะต้องทนลำบากทุกข์ยากสำหรับบาปกรรมที่พวกเขาก่อขึ้นมาด้วยการให้ความสนับสนุนพรรคไซรีซา (Syriza) ซึ่งผมมองว่าเป็นเพียงคณะตัวตลกฝ่ายซ้าย ที่ชวนให้ระลึกย้อนไปถึงภาพเขียนบนกำแพงตึกในยุคปี 1968 ภาพหนึ่ง ซึ่งมุ่งยั่วล้อกระแสฝ่ายซ้ายมาร์กซิสต์ที่กำลังเฟื่องฟูโดยเฉพาะในฝรั่งเศสเวลานั้น ภาพดังกล่าวเขียนบรรยายว่า “I’m a Marxist (Groucho faction). (ผมเป็นมาร์กซิสต์ แต่เป็นมาร์กซิสต์ฝ่ายกรูโชนะครับ ทั้งนี้ กรูโช มาร์กซ์ Groucho Marx เป็นนักแสดงตลกชื่อดังในสหรัฐฯ -ผู้แปล)
    นี่ย่อมไม่ใช่สิ่งที่จะทำให้ตลาดเกิดความวิตกกังวลอะไรนักหนาอยู่แล้ว
    ในโลกเรานี้ ชาติต่างๆ สามารถฆ่าตัวตายได้ และก็มีชาติที่ฆ่าตัวตายกันจริงๆ ด้วยนะครับ มันมีอยู่เรื่อยๆ แหละ ถ้าหากประเทศกรีซสามารถเลือกที่จะฆ่าตัวตาย ชาติอื่นๆ ก็สามารถทำเช่นนั้นได้เหมือนกัน เวลานี้ยังมีชาติอยู่จำนวนหนึ่งซึ่งขนาดของเศรษฐกิจใหญ่โตกว่ากรีซ แต่ก็กำลังต้องดิ้นรนกันหนักอยู่ภายใต้เงาทะมึนของภาระหนี้สินอันมหึมามโหฬาร ตัวอย่างเช่น บราซิล และ ตุรกี ทั้งนี้ยังไม่ต้องเอ่ยถึงพวกชาติในยุโรปใต้รายอื่นๆ ชาวกรีกนั้นเลือกที่จะเดินไปจนถึงสุดขอบ โดยทึกทักเอาว่ามันจะเป็นวิธีซึ่งบีบบังคับให้พวกผู้เสียภาษีชาวเยอรมัน ต้องยินยอมชำระบิลที่เกิดขึ้นมาจากความสุรุ่ยสุ่ร่ายและความไม่เอาถ่านไร้ประสิทธิภาพของพวกเขาอีกคำรบหนึ่ง ทว่าในหนนี้พวกเขากลับต้องก้าวเดินจนกระทั่งตกขอบไปเลย
    ณ เวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคตข้างหน้า พวกประเทศยุโรปทั้งหมดจะต้องเผชิญกับภาวะไม่มีเงินทองสำหรับใช้อุดหนุนระบบบำนาญต่างๆ ของพวกเขาอย่างแน่นอน เนื่องจากภายในปี 2050 ประชากรของพวกเขาถึงราวครึ่งหนึ่งทีเดียวจะกลายเป็นผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาอาศัยคนอื่นๆ ทั้งนี้ตามฐานข้อมูลของ “ทิศทางแนวโน้มประชากรโลก” ของสหประชาชาติ (UN World Population Prospects)
    [​IMG]


    เวลาดังกล่าวนี้สามารถที่จะผลักให้ถอยไกลออกไปอีกได้ ด้วยวิธีการปรับเพิ่มอายุผู้ที่จะถึงวัยเกษียณ (การกระทำเช่นนี้ ผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีเหตุมีผล เนื่องจากประชากรสูงอายุเวลานี้มีสุขภาพที่ดีกว่าในอดีต) และด้วยการยอมรับผู้อพยพเข้ามาจากต่างแดน (ถึงแม้มีข้อเท็จจริงอยู่ว่า ต้นแหล่งของผู้อพยพมีทักษะที่จะเดินทางเข้ามายังยุโรป –อันได้แก่ ยุโรปตะวันออก, ตุรกี, อิหร่าน, ละตินอเมริกา— ก็กำลังมีจำนวนผู้มีทักษะลดน้อยลงทุกที)
    สำหรับเศรษฐกิจของกรีซนั้น มันเป็นเพียงแค่เรื่องตลกๆ ไม่ได้มีความจริงจังอะไรเลย เวลานี้ประเทศกรีซแทบไม่ได้ส่งออกอะไรนอกไปจากพวกผลิตภัณฑ์อาหารและฝ้าย ขณะที่ไม่สามารถยกระดับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้รุ่งเรืองยิ่งไปกว่าที่เป็นอยู่นี้แล้ว ในเวลาเดียวกัน การหลบหนีหลีกเลี่ยงไม่เสียภาษีกลับถือเป็นความบันเทิงเริงรมย์ประจำชาติทีเดียว ว่ากันว่าจำนวนของผู้เสียภาษีจริงๆ มีน้อยกว่าจำนวนเจ้าหน้าที่สรรพากรซึ่งพยายามตามเก็บตามล่าภาษีเสียอีก ในเรื่องการเข้าร่วมใช้สกุลเงินยูโรนั้น ตั้งแต่แรกเลยกรีซโกหกเรื่องขนาดจีดีพีของตนเองเพื่อให้ได้เข้าไปอยู่ในยูโรโซนด้วย (ดูรายละเอียดได้ที่ https://en.wikipedia.org/wiki/Greek_Financial_Audit,_2004) หลังจากนั้นประชาชนชาวกรีกก็ออกเสียงลงคะแนนพียงเพื่อให้พวกเขาเองได้ร่ำรวยฟุ่มเฟือย มีการอาศัยสถานะของการอยู่ในยูโรโซนไปหาทางกู้หนี้ยืมสินมาใช้จ่ายกันอย่างสนุกสนาน ขณะที่ระดับค่าจ้างแท้จริงของกรีซก็ขยับขึ้นลิ่วในช่วงครึ่งแรกของทศวรรษ 2000

    [​IMG]

    ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่รัฐสวัสดิการของชาวกรีก กลับกลายมาเป็นสิ่งที่เข่นฆ่าพวกเขาเอง ในยุคศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล นักประวัติศาสตร์ ทิวซิดิดีส (Thuycicides) และนักเขียนบทละครชวนหัวผู้ยิ่งใหญ่ อริสโตฟานีส (Aristophanes) ได้ยั่วล้อเย้ยเยาะระบอบประชาธิปไตยของนครรัฐเอเธนส์ในระหว่างที่เกิดสงครามเพโลพอนนีเชียน (Pelopponesian war สงครามในปี 431 ถึง 404 ก่อนค.ศ. ระหว่างเอเธนส์กับสันนิบาตเพโลพอนนีเชียน ที่นำโดย สปาร์ตา) อริสโตฟานีสนั้นเย้ยหยันระบอบประชาธิปไตยของเอเธนส์ว่าเป็นรัฐสวัสดิการที่ตะกละละโมบ ซึ่งพวกชนชั้นนำคอยผลักดันแผนการฟังดูเลิศเลอต่างๆ เพื่อติดสินบนเอาอกเอาใจฝูงชนผู้ออกเสียง ผมได้เขียนเกี่ยวกับสภาวการณ์นี้เอาไว้ในหนังสือเรื่อง “How Civilizations Die” ของผมเมื่อปี 2011 ดังนี้:
    แทนที่จะเป็นกลุ่มชนชาวนารายย่อยผู้มีทรัพย์สินเพียงเล็กๆ น้อยๆ ชาวเอเธนส์ในยุคศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล และชาวโรมันได้ในยุคศตวรรษที่ 1 ได้กลายเป็นทหารและนายทาส ข้าวปลาอาหารที่บำรุงเลี้ยงเอเธนส์ในยุคเพลิคลีส ( Periclean Athens อยู่ในช่วงประมาณกลางศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล จนถึงช่วงเริ่มสงครามเพโลพอนนีเชียน ข้อมูลจาก Wikipedia -ผู้แปล) นั้นประมาณครึ่งหนึ่งทีเดียวเป็นของนำเข้า และชำระค่าข้าวปลาอาหารเหล่านี้ด้วยส่วยสาอากรเครื่องบรรณาการซึ่งเก็บมาจากบรรดานครที่เป็นเมืองขึ้น และทันทีที่ข้อผูกมัดจำกัดของสังคมแบบดั้งเดิมเกิดการพังครืนลงไป ชาวเอเธนส์เหล่านี้ก็ยุติการเลี้ยงดูบุตรกันทีเดียว
    ตัวละครตัวหนึ่งในละครสุขนาฏกรรมเรื่อง “The Wasps” (ของอริสโตฟานีส) กล่าวเตือน (ว่า พวกผู้นำฝ่ายประชาธิปไตยของเอเธนส์นั้น) “เป็นพวกที่ใช้วิธีข่มขู่กรรโชกคอยรีดไถเงินครั้งละ 50 ทาเลนต์จากพวกพันธมิตร”
    “จ่ายส่วยให้ข้า” พวกเขาบอก “ไม่ยังงั้นข้าก็จะปล่อยสายฟ้าผ่าไปที่เมืองของพวกเอ็ง ทำลายเมืองของพวกเอ็งเสีย”
    ส่วนพวกเจ้า เจ้าเป็นพวกที่พออกพอใจกับการกัดแทะพลังอำนาจของพวกเจ้าเองไปทีละน้อยๆ
    แล้วพวกพันธมิตรล่ะทำอะไร? พวกเขาก็กำลังมองเห็นฝูงชนชาวเอเธนส์ที่มีชีวิตอยู่ด้วยเครื่องบรรณาการ โดยต้องใช้จ่ายอย่างขี้ตืดและน่าสังเวชนะซี...”
    ทิวซีดิดีส ผู้จดบันทึกเรื่องราวของสงครามเพโลพอนนีเชียน เล่าถึงเรื่องราวอย่างเดียวกันกับอริสโตฟานีส เขาประณามกล่าวโทษการที่ชาวเอเธนส์ไปทำสงครามและประสบความพ่ายแพ้ย่อยยับในดินแดนซิซีลีระหว่างปี 415 – 413 ก่อนคริสตกาล ตลอดจนการที่สปาร์ตาสามารถหยามหมิ่นสร้างความอับอายให้แก่นครรัฐของเขาได้ในท้ายที่สุด ว่ามีสาเหตุมาจากการที่ชาวเอเธนส์ปรารถนาแต่จะได้ข้าวของล้ำค่าที่สามารถแย่งชิงปล้นสะดมมา ระบอบประชาธิปไตยของเอเธนส์นั้นลงคะแนนให้เข้าโจมตีนครซีราคิวส์ (Syracuse) บนเกาะซิซีลี ทั้งๆ ที่เป็นนครรัฐซึ่งปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยเหมือนๆ กัน โดยอ้างเหตุผลซึ่ง “เมื่อดูเพียงแค่เปลือกนอก ดูเหมือนสมเหตุสมผล ทว่าในความเป็นจริงแล้วกำลังมีจุดมุ่งหมายที่จะเข้าพิชิตทั่วทั้งซิซีลีทีเดียว … ทั้งมวลชนโดยทั่วไปและทั้งตัวทหารแต่ละคนโดยเฉลี่ย ต่างมองเห็นว่าเป็นลู่ทางโอกาสที่จะได้รับเงินค่าจ้างไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง และเป็นการเพิ่มเติมพอกพูนให้แก่จักรวรรดิ เพื่อที่พวกเขาเองจะได้รับหลักประกันว่าจะได้รับการจ่ายค่าจ้างอย่างมั่นคงถาวรต่อไปในอนาคตข้างหน้า”
    พวกเราเที่ยวเล่าให้ลูกหลานฟังเกี่ยวกับเรื่องราวของเอเธนส์ซึ่งเป็นระบอบประชาธิปไตยที่แสนดีงาม และสปาร์ตาซึ่งเป็นระบอบคณาธิปไตยที่แสนชั่วร้าย โดยแกล้งๆ ทำเป็นหลงลืมไปว่าในระบอบประชาธิปไตยของเอเธนส์นั้น ฝูงชนชาวเอเธนส์ได้ผลักดันให้จักรวรรดิขยายตัวออกไปอย่างบุ่มบ่ามไร้ความยั้งคิด และก่อให้เกิดความพินาศหายนะในท้ายที่สุด เหมือนอย่างที่ อเล็กซิส เดอ ท็อกเกอร์วิลล์ (Alexis De Toqueville) ได้กล่าวเตือนไว้ในอีก 2,300 ปีให้หลังว่า ความเสี่ยงของระบอบประชาธิปไตยก็คือ ประชาชนจะเอาแต่โหวตให้พวกตนเองได้มั่งคั่งฟุ่มเฟือย
    [​IMG]

    ไม่ใช่มีเพียงเฉพาะชาวกรีกเท่านั้นหรอกที่กำลังหยุดทำงาน ผู้ใหญ่ชาวอเมริกันที่กำลังทำงานกันอยู่เวลานี้มีไม่ถึง 70% แล้วจากที่เคยอยู่ในระดับ 87% เมื่อปี 1950 แล้วคนเหล่านี้ทำอย่างไรในการเลี้ยงชีพตนเอง? ก็เป็นอย่างที่ นิโคลัส อีเบอร์สตัดต์ (Nicholas Eberstadt) รายงานเอาไว้นั่นแหละ “ในปี 2010 ครัวเรือนชาวอเมริกันกว่า 34% เป็นผู้ที่ได้รับสวัสดิการสำหรับผู้มีรายได้น้อย –ครัวเรือนเหล่านี้ครอบคลุมประชากรเด็กๆ ร่วมๆ ครึ่งหนึ่งของอเมริกาทีเดียว”
    ในระยะสั้น บางทีตัวอย่างของกรีซอาจจะมีอิทธิพลในทางสยบลัทธิประชานิยม แต่ในระยะยาวไกลกว่านั้น ความขมขื่นเคียดแค้นของพวกที่คอยอาศัยเกาะกินคนอื่นๆ อาจจะเป็นภัยคุกคามถึงโครงสร้างทางการเมืองของสหรัฐฯตลอดจนของยุโรปตะวันตก ขณะเดียวกัน ความล้มเหลวของลัทธิประชานิยมที่หล่อเลี้ยงด้วยหนี้สินในบรรดาประเทศโลกที่สาม ก็จะเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดวิกฤตทำนองเดียวกันนี้ขึ้นในพื้นที่อื่นๆ ของโลก
    กรีซจึงยังไม่ใช่ของจริง มันเป็นเพียงการซักซ้อมครั้งหนึ่งเท่านั้น แต่ก็เป็นการซักซ้อมสำหรับของจริงที่ใหญ่โตและมีอันตรายร้ายแรงยิ่ง ซึ่งอาจจะปะทุขึ้นมาในอนาคตอันไม่ไกลจากนี้
    เดวิด พี. โกลด์แมน เขียนเรื่องให้เอเชียไทมส์โดยใช้นามปากกาว่า “สเปงเกลอร์” (Spengle) มาตั้งแต่ปี 2000 เขาเป็นนักวิจัยอาวุโสอยู่ที่ London Center for Policy Research และเป็น Wax Family Fellow อยู่ที่ Middle East Forum หนังสือเรื่อง How Civilizations Die (and why Islam is Dying, Too) ของเขา ได้รับการตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Regnery Press ในเดือนกันยายน 2011 หนังสือรวมข้อเขียนทางด้านวัฒนธรรม, ศาสนา, และเศรษฐศาสตร์ของเขา ที่ใช้ชื่อว่า It’s Not the End of the World – It’s Just the End of You ก็ได้รับการตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Van Praag Press ในฤดูใบไม้ร่วงปีเดียวกัน เขายังเคยเป็นผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยตราสารหนี้ทั่วโลก ให้กับ Bank of America และเคยดำรงตำแหน่งอาวุโสในบริษัทการเงินอื่นๆ อีกหลายแห่ง รวมทั้งที่ Reorient Group (Hong Kong) ซึ่งเขาเป็นกรรมการจัดการผู้หนึ่งอยู่ในปัจจุบัน
    '
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ศิษย์อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร

    [​IMG]

    ดาวพฤหัสบดียกเข้าราศีสิงห์ ๑๔ กค.๕๘ - ๑๑ สค.๕๙ ตอนที่ ๑
    ดาวพฤหัสบดี ดาวประธานฝ่ายศุภเคราะห์ที่มีความสำคัญมากที่สุดในดวงชาตาจะโคจรย้ายราศีจากราศีกรกฎไปราศีสิงห์ในวันที่ ๑๔ กค. ๒๕๕๘ โดยโคจรจะอยู่ตลอดทั้งราศี ถึงวันที่ ๑๑ สค. ๒๕๕๙ ไม่ได้ยกกลับไปกลับมาระหว่างราศีสิงห์กับราศีกันย์ โดยอ้างอิงจากปฏิทินโหรฯ ตามแนวทางท่าน อ.เทพย์ สาริกบุตร ที่คำนวณระบบดาราศาสตร์ และตรงกับความเป็นจริงบนท้องฟ้า
    ตามดวงเมืองที่มีลัคนาสถิตย์อยู่ราศีเมษนั้น ดาวพฤหัสบดีจะส่งแสงถึงลัคน์ "ซึ่งจะคุ้มโทษ คุ้มภัย" ให้กับบ้านเมืองได้ และจะ "ไม่คุ้มโทษภัยให้กับศัตรูที่เปิดเผยของบ้านเมือง" อีกต่อไป
    เมื่อมาอยู่ที่ราศีสิงห์ ภพปุตตะ (แทนการลงทุน) ดังนั้นการลงทุนอะไรต่างๆในรอบปีนี้จะเกิดผลดีกว่าที่ผ่านมา
    ในขณะที่ดาวเสาร์ประธานฝ่ายบาปพระเคราะห์ก็จรเป็นเกณฑ์กับดาวพฤหัสบดีจรในครั้งนี้ด้วย ผลก็คือ ดาวเสาร์จะทอนความดีงามของดาวพฤหัสบดีลงไป
    แต่อย่างไรนั้น การยกของดาวพฤหัสบดีไปสู่ราศีสิงห์นี้ จะให้คุณกับประเทศและบ้านเมืองโดยรวมจะดีขึ้นกว่ารอบปีที่ผ่านมาแน่
    ตามดวงของท่านผู้นำ ดาวพฤหัสบดีเป็นดาวให้คุณกับตัวท่านมากและเมื่อจรมาให้คุณ (ในรอบปีนี้) ท่านก็ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดของท่าน แต่เมือดาวพฤหัสบดียกเข้าราศีสิงห์แล้ว ท่านก็ไม่มีดาวคุ้มโทษภัยให้
    ดังนั้นท่านจะต้องระมัดระวังในการจะกระทำการใดๆ ให้มาก การติดต่อสื่อสารของท่านจะมีปัญหาเพิ่มมากขึ้นเพราะดาวพุธเดิมของท่านจะได้รับ แสงจากดาวพฤหัสบดี ซึ่งในขณะนี้ดาวเสาร์บาปพระเคราะห์ได้โคจรรออยู่ที่จุดทศมลัคน์ (แทนการงาน บิดา ฯลฯ) ของท่านอยู่แล้ว
    admin จะอธิบายผลกระทบของผู้ที่มีลัคนาในแต่ละราศีเมื่อดาวพฤหัสบดียกเข้าสู่ราศีสิงห์ให้เราท่านได้ทราบกันในตอนที่ ๒
    admin ดิลก แสงอุทัย
     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    In Pics : ในที่สุดธงคอนเฟเดอเรตสนับสนุนทาสต้องถูกปลด หลังรัฐสภาเซาท์แคโรไลนาต้องใช้เวลากว่า 13 ชม.ลงมติ โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 10 กรกฎาคม 2558 11:42 น.

    [​IMG]

    เอเจนซีส์ – ธงสมาพันธรัฐทางใต้ หรือธงคอนเฟเดอเรต(Confederate flag) สัญลักษณ์ของการสนับสนุนการมีทาสผิวสี การเป็นกบฏต่อรัฐบาลกลางสหรัฐฯ และการเลือกผิดข้างของฝั่งทางใต้ในช่วงสงครามกลางเมืองสหรัฐฯช่วง 1861 – 1865 ต้องถูกปลดลงหลังจากมติของรัฐาภาท้องถิ่นเซาท์แคโรไลนาใช้เวลากว่า 13 ชม.ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่วันพุธ(8) ที่มีการโต้เถียงอย่างเผ็ดร้อนถึงจุดยืนของฝ่ายสนับสนุนการคงอยู่ของธงอันเป็นสัญลักษณ์ความภูมิใจแห่งรัฐทางใต้ และฝ่ายตรงข้ามที่ต้องการให้ธงแห่งความเกลียดชังต้องหมดไป

    เมื่อวานนี้(9)ผู้ว่าการรัฐนิกกี เฮลี(Nikki Haley) ได้ลงนามรับรองในร่างกฎหมายปลดธงสมาพันธรัฐทางใต้ หรือธงคอนเฟเดอเรต (Confederate flag) หลังจากมีมติลงคะแนน 93-27เสียงสนับสนุนในสภาผู้แทนราษฎรท้องถิ่นรัฐเซาท์แคโรไลนา ซึ่งเป็นธงแห่งการสนับสนุนความเป็นทาสและการยืนข้างพลเอกโรเบิร์ต อี. ลี ผู้นำการรบของรัฐทางใต้ "ต้องถูกปลด" ลงจากยอดเสาหน้าที่ทำการรัฐเซาท์แคโรไลนาในเวลา 10.00 น. ในวันศุกร์ (10)นี้ จากการแถลงของผู้ว่าการรัฐเซาท์ แคโรไลนา

    บีบีซีรายงานเมื่อวานนี้(9)ว่า ผู้แทนราษฎรสภาเซาท์ แคโรไลนา สายรีพับลิกันครองเสียงข้างมากในสภาท้องถิ่นแห่งนี้ จะยอมให้ธงคอนเฟเดอเรตถูกปลดลงเพื่อแลกกับการประดับที่สุสานภายใต้การดูแลของสำนักงานอุทยานแห่งชาติสหรัฐฯ

    โดยในร่างกฎหมายจะยอมให้ประดับธงนี้เหนือเป็นสุสานฝังทหารรัฐทางใต้ที่แพ้สงครามในช่วงสงครามกลางเมืองสหรัฐฯเท่านั้น และต้องตั้งอยู่ในรัฐที่ยังคงเฉลิมฉลองวันสมาพันธรัฐอเมริกาที่สนับสนุนการมีทาส

    ทั้งนี้ในทัศนะของสส.พรรครีพับลิกัน ซึ่งมีบางส่วนอภิปรายกลางที่ประชุมรัฐสภารัฐเซาท์แคโรไลนาว่า ธงผืนนี้เป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้ของชาวไร่ฝ้ายของทางใต้ที่ต่อสู้เพื่อสิทธิของพวกเขาเหนือที่ดิน และไม่น่าเชื่อที่รัฐห่วงใยพวกเขาน้อยกว่า

    เอพีรายงานเพิ่มเติมว่า อ้างอิงจากบันทึกภายในของอุทยานแห่งชาติสหรัฐฯปี 2010 ที่ระบุถึงจำนวนสุสานที่อยู่ภายใต้การดูแลที่พบว่าสุสานจะได้รับผลกระทบจะมีถึง 10 แห่ง รวมไปถึง 4 แห่งในรัฐเทนเนสซี และ 3 แห่งในรัฐเวอร์จิเนีย 1 แห่งรัฐลุยเซียนา 1 รัฐมิสซิสซิปปี และอีก 1 แห่งรัฐจอร์เจีย

    แต่ทว่าจำนวนสุสานนั้นไม่แน่นอน จากการให้สัมภาษณ์ของโฆษกอุทยานแห่งชาติสหรัฐฯแคธี คัพเปอร์ (Kathy Kupper)กล่าวว่า มีสุสาน 1 แห่งในจอร์เจีย คือสุสานแอนเดอร์สันวิล( Andersonville cemetery) รวมไปถึง 2 แห่งในไชโลห์( Shiloh) รัฐเทนเนสซี และอีก 2 แห่งในเมืองวิคสเบิร์ก( Vicksburg )ในรัฐมิสซิสซิปปี

    สื่อ mediaite รายงานเพิ่มเติมว่า ในการอภิปรายที่เผ็ดร้อน และยาวนานในวันพุธ(9)นั้นผู้ที่โดดเด่นที่สุดคือ สส.เจนนี ฮอร์น (Jenny Horne)สายรีพับลิกันได้ออกมาอภิปรายอย่างจับใจ โดยเธอเรียกร้องให้มีการนำธงคอนเฟเดอเรตนี้ลงในวันศุกร์(10)ตามมติของสภาสูงรัฐเซาท์ แคโรไลนา เพราะธงแห่งนี้เป็นสัญลักษณ์แห่งการเกลียดชัง และเป็นสิ่งที่ดูเหมือนการดูถูกเพื่อสมาชิกผิวสีในรัฐสภาผู้ทรงเกียร์ติแห่งนี้

    และการปลดธงคอนเฟเดอเรตยังขยายไปสู่ระดับชาติ ซึ่งผู้นำเสียงข้างน้อยพรรคเดโมแครต แนนซี เพโรซี ได้เสนอให้ปลดธงประจำรัฐที่มีสัญลักษณ์ของธงคอนเฟเดอเรตอยู่ในนั้นลงจากแคปิตอลฮิล แต่ทว่าสส.ในส่วนของพรรครีพับลิกันที่คุมเสียงข้างมากได้ขัดขวาง และทำการนำข้อเสนอของเธอเข้าสู่คณะกรรมาธิการให้พิจารณาแทน

    การลงมติปลดธงสมาพันธรัฐอเมริกาเกิดขึ้น หลังจาก ไดแลนน์ รูฟ (Dylann Roof) มือปืนผิวขาววัย 21 ปีบุกใช้ปืนไรเฟิลกราดยิงโบสถ์ผิวสีที่แก่ในรัฐเซาท์แคโรไลนา และทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 9 รายจากแนวคิดต้องการกำจัดคนผิวสีให้หมดไป

    บีบีซีรายงานว่า รัฐเซาท์แคโรไลนาเป็นรัฐแรกที่ประกาศลาออกจากการร่วมเป็นประเทศภายใต้การปกครองของรัฐบาลกลางสหรัฐฯในสมัยอดีตประธานาธิบดีอับบราฮัม ลินคอล์น ในปี 1860 และได้ตัดสินใจประดับธงสัญลักษณ์คอนเฟเดเรตเหนือที่ว่าการรัฐมากว่า 50 ปี ในปี 1961 เพื่อประท้วงการเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิมนุษยชนที่เปลี่ยนโฉมหน้าอเมริกาในช่วงยุค 60 ภายใต้การนำของสาธุคุณ มาร์ติน ลูเธอร์คิงส์ จูเนียร์

    In Pics : 㹷
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    แผ่นดินไหว 7.0 แมกนิจูดเขย่าหมู่เกาะโซโลมอน สะเทือนถึงปาปัวนิวกินี ยังไร้วี่แวว “สึนามิ” โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 10 กรกฎาคม 2558 11:49 น.

    [​IMG]

    รอยเตอร์ /เอเจนซีส์ / ASTV ผู้จัดการออนไลน์ – สำนักงานสำรวจทางธรณีวิทยาแห่งชาติของสหรัฐ ฯ (ยูเอสจีเอส) ออก รายงานในวันศุกร์ ( 10 ก.ค.) ยืนยันการเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงที่หมู่เกาะโซโลมอนในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ โดยระบุ สามารถวัดแรงสั่นสะเทือนได้ถึงระดับ 7.0 ตามมาตราแมกนิจูด

    ข้อมูลจากการเปิดเผยของทางยูเอสจีเอสระบุว่า ศูนย์กลางของแผ่นดินไหวที่หมู่เกาะโซโลมอนในครั้งนี้ อยู่ลึกลงไปในมหาสมุทรแปซิฟิกราว 20 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากกรุงโฮนีอารา ที่เป็นเมืองหลวงของประเทศและเป็นบ้านของประชากรราว 65,000 ชีวิตไปทางตะวันตกราว 170 กิโลเมตร

    จนถึงขณะนี้ ยังคงไม่มีรายงานที่ชัดเจนเกี่ยวกับความเสียหาย ที่เป็นผลจากเหตุแผ่นดินไหวระดับ 7.0 ตามมาตราแมกนิจูดในหมู่เกาะโซโลมอนหนนี้ มีเพียงการรายงานของสื่อท้องถิ่น ถึงบรรยากาศของความแตกตื่นของชาวหมู่เกาะและนักท่องเที่ยวขณะเกิดแผ่นดินไหว รวมทั้ง มีรายงานการรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนตามโรงแรม แหล่งท่องเที่ยว และอาคารหลายแห่งทั่วทั้งกรุงโฮนีอารา

    ขณะเดียวกัน ทางศูนย์เตือนภัยสึนามิแปซิฟิก ( Pacific Tsunami Waring Center )ซึ่งมีสำนักงานตั้งอยู่ในมลรัฐฮาวายของสหรัฐฯ ยังไม่มีการออกประกาศเตือนภัย ถึงความเป็นไปได้ในการเกิดคลื่นยักษ์สึนามิ จากผลพวงของเหตุแผ่นดินไหวที่หมู่เกาะโซโลมอนในครั้งนี้เช่นเดียวกัน

    ในอีกด้านหนึ่งมีรายงานซึ่งยังไม่ได้รับการยืนยัน ว่า แรงสั่นสะเทือนจากเหตุแผ่นดินไหวระดับ 7.0 ตามมาตราแมกนิจูดที่หมู่เกาะโซโลมอนคราวนี้ สามารถรับรู้ได้ไกลถึงเมืองโกโกโป ในจังหวัดนิวบริเทนตะวันออก ของประเทศหมู่เกาะเพื่อนบ้านอย่าง “ปาปัวนิวกินี” ด้วยเช่นกัน แม้เมืองดังกล่าว จะอยู่ห่างไกลจากศูนย์กลางของแผ่นดินไหวในครั้งนี้มากกว่า 870 กิโลเมตรก็ตาม


     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ภูเขาไฟชวาปะทุทำ “สนามบินบาหลี” ปิดชั่วคราว-ยกเลิกกว่า 100 เที่ยวบิน โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 10 กรกฎาคม 2558 12:02 น.

    [​IMG]

    เอเอฟพี – นักท่องเที่ยวหลายพันคนติดค้างที่อยู่ที่บาหลี หลังการปะทุของภูเขาไฟบนเกาะชวาส่งผลให้สนามบินในเมืองเดนปาซาร์ต้องปิดให้บริการชั่วคราว และมีการยกเลิกกว่า 100 เที่ยวบิน เจ้าหน้าที่อินโดนีเซียแถลงวันนี้ (10 ก.ค.)

    กลุ่มควันและเถ้าถ่านจากภูเขาไฟราอุง (Raung) ในจังหวัดชวาตะวันออกยังส่งผลกระทบถึงสนามบินใกล้เคียงอีก 4 แห่ง รวมถึงสนามบินนานาชาติบนเกาะลอมบ็อกที่ต้องปิดบริการเมื่อช่วงค่ำวานนี้ (9) เจ.เอ. ภารตะ โฆษกกระทรงคมนาคมอิเหนา ให้สัมภาษณ์กับเอเอฟพี

    “เราทำเพื่อความปลอดภัยไว้ก่อน” เขากล่าว พร้อมระบุว่า เจ้าหน้าที่ตรวจสอบสถานการณ์ทุกๆ 2-3 ชั่วโมง แต่ยังตอบไม่ได้ว่าสนามบินจะเปิดทำการได้เมื่อใด

    เดือนที่แล้ว ทางการอินโดนีเซียได้ยกระดับการเตือนภัยสู่ระดับต่ำกว่าสูงสุด 1 ขั้น เนื่องจากภูเขาไฟราอุงซึ่งมีความสูงถึง 3,300 เมตรเริ่มปลดปล่อยธารลาวา และพ่นเถ้าถ่านขึ้นสู่ท้องฟ้า

    สายการบินออสเตรเลียประกาศยกเลิกทุกเที่ยวบินที่ไป-กลับเกาะบาหลีในวันนี้(10) ส่งผลกระทบต่อนักท่องเที่ยวหลายพันคน เนื่องจากเกาะบาหลีเป็นจุดหมายปลายทางยอดฮิตที่ชาวออสเตรเลียนิยมมาใช้วันหยุดพักผ่อน อีกทั้งช่วงนี้ก็ถือเป็นช่วง “พีค” ของฤดูกาลท่องเที่ยว

    ผู้สื่อข่าวเอเอฟพีซึ่งติดตามสถานการณ์อยู่ที่สนามบินนานาชาติงูระห์รายบนเกาะบาหลี รายงานว่า มีนักท่องเที่ยวต่างชาติติดค้างที่สนามบินเป็นจำนวนมาก และกำลังรอทราบข้อมูลว่าไฟล์ทของพวกเขาจะออกเดินทางได้เมื่อใด

    ด้านสายการบิน การูดา อินโดนีเซีย ก็ประกาศยกเลิกเที่ยวบินรวม 112 เที่ยว

    เวอร์จินออสเตรเลีย แถลงว่า “นักอุตุนิยมวิทยาของเรากำลังประสานไปยังศูนย์แนะนำด้านเถ้าถ่านภูเขาไฟ (Volcanic Ash Advisory Centre) ในเมืองดาร์วินเพื่อติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด... หากสถานการณ์เริ่มดีขึ้นแล้ว เราจะจัดเที่ยวบินระหว่างออสเตรเลียกับเมืองเดนปาซาร์ เพื่อให้ผู้โดยสารมั่นใจว่าท่านจะสามารถเดินทางได้โดยเร็วที่สุด”

    ด้านสายการบินเจ็ตสตาร์ก็ประกาศยกเลิกเที่ยวบิน และขอให้ผู้โดยสารติดต่อไปยังบริษัทเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

    ผลกระทบจากภูเขาไฟทำให้บางสายการบินจากแดนจิงโจ้ตัดสินใจยกเลิกเที่ยวบินไป-กลับเกาะบาหลีตั้งแต่ 2-3 วันที่แล้ว ก่อนที่สนามบินจะปิดให้บริการ

    แอร์นิวซีแลนด์ แถลงว่า เที่ยวบินที่จะเดินทางออกจากบาหลีช่วงบ่ายวันเสาร์(11) ถูกเลื่อนไปเป็นเช้าวันอาทิตย์ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ว่าจะคลี่คลายลงหรือไม่

    สนามบินอื่นๆ ที่ต้องปิดให้บริการในขณะนี้ได้แก่ สนามบินแห่งที่ 2 บนเกาะลอมบ็อก และสนามบินในประเทศอีก 2 แห่งในจังหวัดชวาตะวันออก

    ประเทศอินโดนีเซียตั้งอยู่บนแนววงแหวนไฟแห่งมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งเป็นเขตรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกที่มักเกิดกิจกรรมแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดบ่อยครั้ง

    หมู่เกาะอินโดนีเซียเป็นที่ตั้งของภูเขาไฟที่ยังมีพลังอยู่มากถึง 130 ลูก

     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    “บิ๊กตู่” ส่อไฟเขียวกฎหมายปิโตรเลียม บอกมัวตามใจคงไม่เกิด อยากได้ผลประโยชน์ 100% ต้องขุดเอง โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 10 กรกฎาคม 2558 13:10 น. (แก้ไขล่าสุด 10 กรกฎาคม 2558 13:24 น.)

    [​IMG]

    @พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (แฟ้มภาพ)

    นายกรัฐมนตรีโบ้ยถามสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เอายังไง พ.ร.บ.ปิโตรเลียม แต่ยันพลังงานแจงตลอด มัวตามใจพวกเรียกร้องคงไม่เกิดสักอย่าง ชี้ต้องคำนึงหลายอย่าง รวมทั้งผลประโยชน์ที่เท่าเทียมและใกล้เคียงกัน หากอยากได้ 100% ต้องขุดเอง

    วันนี้ (10 ก.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณีที่เครือข่ายปฏิรูปพลังงานไทยคัดค้านร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียมและร่าง พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมของกระทรวงพลังงาน ที่กำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ว่า เรื่องนี้จะต้องถาม สนช. และลองดูว่าเขาจะว่าอย่างไร แต่ที่ผ่านมากระทรวงพลังงานได้มีการชี้แจงและตอบปัญหาต่างๆ อยู่ตลอด และหากมัวตามใจกลุ่มต่างๆ ที่ออกมาเรียกร้อง อะไรๆ ก็คงไม่เกิดขึ้นสักอย่าง

    ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า การพิจารณาเรื่องนี้จะต้องคำนึงถึงหลายอย่าง ทั้งการลงทุนที่ต้องมีแรงจูงใจจากต่างประเทศ รวมทั้งด้านผลประโยชน์ที่เท่าเทียมและใกล้เคียงกัน แต่ถ้าหากอยากได้ผลประโยชน์ทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์ก็ต้องลงทุนขุดเอาเอง

     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ข้อสันนิษฐาน กรณีเหตุการณ์เสียงดังบนท้องฟ้า วันที่ 8 กรกฎาคม 2558
    วรเชษฐ์ บุญปลอด (กรรมการวิชาการ)9 กรกฎาคม 2558

    จากกรณีที่มีผู้ได้ยินเสียงดังบนท้องฟ้าและเกิดการสั่นไหวเป็นบริเวณกว้างเมื่อวันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เวลาประมาณ 17:30 น. โดยเฉพาะในบริเวณจังหวัดสระแก้วและใกล้เคียง (บางคนรายงานว่ามองเห็นลูกไฟบนท้องฟ้าก่อนได้ยินเสียง) แต่ยังไม่มีหลักฐานเป็นคลิปหรือภาพถ่ายที่ชัดเจน

    จากข้อมูลที่รวบรวมได้ตามสื่อต่าง ๆ และตามเครือข่ายสังคมออนไลน์ สันนิษฐานว่าหากไม่ใช่สาเหตุอื่น อาจเกิดจากสะเก็ดดาวหรือดาวเคราะห์น้อยขนาดเล็กพุ่งเข้าสู่บรรยากาศด้วยความเร็วสูง อาจมีขนาดใหญ่กว่า 1 เมตร แต่ไม่เกิน 10 เมตร (ประเมินจากความสว่างที่เห็นได้ในเวลากลางวันและเสียงดังที่ได้ยิน) แรงอัดกับบรรยากาศที่หนาแน่นทำให้สะเก็ดดาวระเบิดและแตกกระจาย ซึ่งปรกติเกิดขึ้นที่ความสูงประมาณ 50 กิโลเมตร เสียงดังอาจเกิดจากคลื่นกระแทกเนื่องจากการเคลื่อนที่ด้วยเร็วสูงจนเกิดซอนิกบูม ทำนองเดียวกับปรากฏการณ์ที่รัสเซียเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 แต่ที่เกิดเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม มีขนาดเล็กกว่าหลายเท่า

    หากเป็นสะเก็ดดาวหรือดาวเคราะห์น้อยขนาดเล็กจริง คาดว่าอาจมีซากชิ้นส่วนเป็นอุกกาบาตชิ้นเล็ก ๆ ตกบนพื้นดินก็ได้ ซึ่งข้อมูลจากผู้เห็นเหตุการณ์จากที่ต่าง ๆ ในบริเวณโดยรอบ จะทำให้สามารถบอกทิศทางการเคลื่อนที่และอาจช่วยให้สามารถคาดคะเนบริเวณจุดตกของอุกกาบาตได้

    การตกของสะเก็ดดาวในลักษณะนี้เกิดขึ้นเป็นประจำ ส่วนใหญ่เป็นวัตถุขนาดเล็กที่สามารถเผาไหม้หมดไปในบรรยากาศ นักดาราศาสตร์ประเมินว่าทั่วโลกมีสะเก็ดดาวขนาด 10 เซนติเมตร เข้าสู่โลกทุก ๆ 2-3 นาที (สว่างประมาณดาวศุกร์) สะเก็ดดาวขนาด 1 เมตร ราวสัปดาห์ละครั้ง สะเก็ดดาวขนาด 10 เมตร ราวปีละครั้ง (สว่างประมาณดวงจันทร์เต็มดวง) และสะเก็ดดาวขนาด 50 เมตร ครั้งหนึ่งในรอบ 1,000 ปี แต่การที่พื้นโลกเป็นพื้นน้ำถึง 3 ใน 4 และคนอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ไม่กระจายทั่วทั้งโลก ทำให้ดาวตกที่สว่างมากส่วนใหญ่เกิดขึ้นในบริเวณห่างไกลจากผู้คน นาน ๆ ครั้งเราจึงจะมีโอกาสเห็นได้

    อีกสาเหตุหนึ่งที่เป็นไปได้คือเกิดจากการตกของซากจรวดที่ใช้ในโครงการอวกาศ แต่เท่าที่ตรวจสอบดูไม่พบว่ามีรายงานคาดหมายการตกของขยะอวกาศใด ๆ ในช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์

    [​IMG]

    @ตำแหน่งและพลังงานที่เกิดจากการชนของดาวเคราะห์น้อยขนาดเล็กในช่วง พ.ศ. 2537-2556 สีเหลืองคือที่เกิดในเวลากลางวัน สีน้ำเงินคือที่เกิดในเวลากลางคืน พลังงานแปรผันตามมวลและความเร็วของวัตถุ โดยดาวเคราะห์น้อยที่พุ่งชนมีขนาดราว 1 เมตร ถึงเกือบ 20 เมตร เมื่อระเบิดในบรรยากาศ ทำให้เห็นเป็นดาวตกที่สว่างมาก เรียกว่าดาวตกชนิดระเบิด หรือโบไลด์ (bolide) ข้อมูลที่ได้นี้ส่วนหนึ่งได้จากเครือข่ายตรวจวัดคลื่นเสียงเพื่อเฝ้าระวังการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ ซึ่งมีเครือข่ายครอบคลุมทั่วโลก (ภาพ - NASA)

    [​IMG]

    @ภาพวาดในจินตนาการของศิลปิน เมื่อดาวเคราะห์น้อยขนาดเกือบ 20 เมตร พุ่งเข้าสู่บรรยากาศเหนือเมืองเชเลียบินสค์ในรัสเซียเมื่อ พ.ศ. 2556 ซึ่งเห็นเป็นลูกไฟสว่างกว่าดวงอาทิตย์เป็นเวลาสั้น ๆ ตามมาด้วยเสียงดังสนั่น ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากกระจกที่แตกเนื่องจากคลื่นกระแทก (ภาพ - Don Davis)
    สมาคมดาราศาสตร์ไทย -
     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ปอกเปลือก ทรราช
    จีน-รัสเซียมีแผนก่อตั้ง SCO Bank ในอีกสองปีข้างหน้า สืบเนื่องจากความสำเร็จของ BRICS Bank

    [​IMG]

    -----------
    ทางจีนกับรัสเซียเริ่มแง้มข่าวดี ที่ชวนบีบหัวใจ "เจ้าโลกจักรรดิเฮเกโนมิสม์" โดยนาย Zhang Henglong รองผู้อำนวยการสถานบันการทูตสาธารณะจากมหาวิทยาลัยเซียงไฮ้ของจีนให้สัมภาษกับสำนักข่าว Sputnik news เมื่อวันที่ 8 ก.ค.58 ที่ผ่านมาว่า "ตัวอย่างความสำเร็จของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งใหม่ (New Development Bank - NDB) ของกลุ่ม BRICS อาจจะจุดประกายให้ชาติสมาชิกองค์การความร่วมมือแห่งเซี่ยงไฮ้ (SCO) สร้างธนาคารแบบเดียวกันนี้ขึ้นมาบ้างก็ได้"
    Zhang Henglong กล่าวในงานนำเสนอ "Yellow Book" ต่อรัสเซียและ SCO ว่า "น่าจะเป็นการสมเหตุผลในการก่อตั้งธนาคารของกลุ่ม BRICS ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อตั้งธนาคารขององค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้"
    เมื่อเดือนกรกฎาคมปี 2014 นาย Sergei Lavrov รมว.ต่างประเทศของรัสเซียได้พิจารณาการก่อตั้งธนาคารเพื่อการพัฒนาของ SCO ตามแบบฉบับของธนาคารเพื่อการพัฒนายูเรเซีย (Eurasian Bank of Development - EBD) ซึ่งประสบความสำเร็จในการดำเนินงานในภูมิภาคของประชาคมยูเรเซียเรียบร้อยแล้ว (สมาชิกของ EBD ประกอบด้วย Russian Federation, Republic of Kazakhstan, Republic of Armenia, Republic of Tajikistan, Republic of Belarus และ Kyrgyz Republic)
    Zhang Henglong กล่าวว่า "อีกสองปีข้างหน้าจะเป็นการเปิดหน้าต่างไปสู่โอกาสเพื่อการโปรโมทสถาบัน (ธนาคารเพื่อการพัฒนาองค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้)"
    SCO คืออะไร? คือองค์การกลุ่มประชาคมความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการเมือง เศรษฐกิจ กองทัพ ก่อตั้งขึ้นในปี 2001 ในนครเซี่ยงไฮ้ โดยผู้นำของประเทศจีน, คาซัคสถาน, คีร์กีสถาน, รัสเซีย, ทาจีกิสถาน และอุซเบกิสถาน ในขณะที่ปัจจุบันนี้ อัฟกานิสถาน อินเดีย อิหร่าน มองโกเลีย และปากีสถานอยู่ในฐานะของผู้สังเกตการณ์ในองค์การ ประเทศต่างๆที่มีสถานะเป็นผู้สังเกตการณ์ต่างก็แสดงความประสงค์ที่จะเข้าเป็นสมาชิกของ SCO แบบเต็มตัวโดยเฉพาะอิหร่านถ้าหลุดจากการถูกแซงชั่นเมื่อไรนี่มาแน่ๆ ส่วนอัฟกานิสถานนั้นยังกล้าๆ กลัวๆ เพราะถูก (หมอนั่น!) ถึงขาไว้ (เอ่ยชื่อไม่ได้ เดี๋ยวถูกกวนเพจอีก (กรรม!) งั้นขอเรียกว่า "จักรวรรดิเฮเก้ฯ" ละกันน้อเหมาะกับเขาดี)
    ตอนนี้กลุ่มจีน-รัสเซียและพันธมิตรมีธนาคารใหม่ขึ้นมาอย่างน้อย 3 แห่งแล้วซึ่งก็คือธนาคาร NDB ของ BRICS, ธนาคาร AIIB, ธนาคาร EBD ของยูเรเซีย นี่ยังจะก่อตั้งธนาคารของ SCO ขึ้นมาอีก แล้วอย่างนี้จะให้ World Bank และ IMF ไปยืนอยู่ที่ไหนหละครับ?
    ฮะแฮ่ม... การประชุมสุดยอดผู้นำ BRICS และ SCO ที่เมือง Ufa ของรัสเซียในครั้งนี้ท่านปูตินชวนนายกฯโมดิของอินเดียเข้าร่วมในเขตการค้าเสรีของสหภาพเศรษฐกิจยูเรเซียด้วยนะครับ (sweeeeeet) ในขณะเดียวกันปูตินก็คุยเรื่องพลังงานนิวเคลียร์กับปธน. Jacob Zuma ของแอฟริกาใต้และผู้นำบราซิลด้วย โดยที่ทางแอฟริกาใต้ก็หวังจะตีตลาดด้านการเกษตรในรัสเซียแทนตะวันตกที่ถูกรัสเซียแซงชั่นไว้ (เพราะตะวันตกแซงชั่นรัสเซียก่อน ซึ่งไปหลงเชื่อคำยุของจักรวรรดิเฮเก้ฯ) ส่วนปธน.สี จิ้นผิง ก็ยืนยันอย่างเป็นทางการอีกครั้งว่าได้เชิญปธน.ปูติน เข้าร่วมในงานเฉลิมฉลองชัยชนะของจีนครบรอบ 70 ปีเหนือลัทธิทหารของญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดยจะจัดขึ้นในวันที่ 6 กันยายนปีนี้
    The Eyes
    10/07/2558
    -----------
    Success of BRICS Bank May Inspire Creation of SCO Bank / Sputnik International
    Putin, Modi Discuss Free Trade Between India, Eurasian Economic Union / Sputnik International
    South Africa Hopes to Gain Russian Market Share Amid Western Sanctions / Sputnik International
    Xi Jinping Confirms Invitation for Putin to Visit in September / Sputnik International
    Emerging Market Power: Russian, Brazilian Presidents Discuss Nuclear Energy / Sputnik International
     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Focus : ประเด็นสำคัญใน “แผนปฏิรูป” ที่กรีซเสนอต่อเจ้าหนี้ต่างชาติ โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 10 กรกฎาคม 2558 13:39 น. (แก้ไขล่าสุด 10 กรกฎาคม 2558 13:42 น.)

    [​IMG]

    เอเอฟพี - รัฐบาลกรีซได้ยื่นแผนปฏิรูปการคลังฉบับล่าสุดถึงมือเจ้าหนี้ยูโรโซนแล้วเมื่อวานนี้ (9 ก.ค.) โดยยินยอมที่จะแก้ไขระบบเงินบำนาญและเก็บภาษีเพิ่มขึ้น เพื่อปลดล็อกแพ็กเกจเงินกู้งวดใหม่ที่จะช่วยให้กรีซรอดจากภาวะล้มละลาย และช่วยต่อลมหายใจแก่ระบบเศรษฐกิจไปได้อีกอย่างน้อย 3 ปี

    ข้อเสนอปฏิรูปที่ถูกส่งถึงองค์กรเจ้าหนี้ “ทรอยกา” ซึ่งได้แก่ คณะกรรมาธิการยุโรป, ธนาคารกลางแห่งยุโรป (อีซีบี) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) จะถูกนำขึ้นพิจารณาในที่ประชุมรัฐมนตรียูโรโซนในวันเสาร์นี้ (11) ก่อนที่จะมีการเรียกประชุมซัมมิตผู้นำยุโรป 28 ประเทศเพื่อชี้ขาดอนาคตของกรีซในวันอาทิตย์(12)

    แผนปฏิรูปความยาว 13 หน้ากระดาษที่นายกรัฐมนตรี อเล็กซิส ซีปราส เสนอมาคราวนี้ แทบไม่มีอะไรแตกต่างจากเงื่อนไขที่เจ้าหนี้ยื่นไว้เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. ทว่าเวลานั้นเอเธนส์ไม่ยอมรับ และขอจัดทำประชามติเพื่อหยั่งเสียงพลเมืองว่าจะ “เยส” หรือ “โน” กับมาตรการรัดเข็มขัดเข้มงวด

    ปฏิรูปภาษีมูลค่าเพิ่ม

    กรีซเสนอที่จะปฏิรูปการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ซึ่งเป็นปมสำคัญที่เคยก่อให้เกิดการโต้แย้งกับเจ้าหนี้มาก่อน โดยหวังจะดึงรายได้เข้ารัฐเพิ่มขึ้นราว 1% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(จีดีพี)

    อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มมาตรฐานจะอยู่ที่ 23% รวมไปถึงพวกภัตตาคารและบริษัทจัดเลี้ยงซึ่งปัจจุบันจ่ายภาษีเพียงแค่ 13% เท่านั้น ส่วนสินค้าอุปโภคบริโภคขั้นพื้นฐาน เช่น อาหาร พลังงาน และน้ำ จะถูกเก็บภาษี 13% ขณะที่ยารักษาโรค หนังสือ และโรงภาพยนตร์จะต้องเสียภาษี 6%
    ต่างชาติ

    เลิกนโยบายยกเว้นภาษี

    รัฐบาลกรีซจะลดสิทธิประโยชน์ด้านการเงินที่เคยให้แก่เกาะต่างๆ รวมถึงยกเลิกมาตรการลดภาษีมูลค่าเพิ่ม 30% ที่ใช้มานานหลายปี โดยจะเริ่มจากเกาะที่มีเศรษฐกิจเฟื่องฟูและมีนักท่องเที่ยวไปเยือนมากที่สุดในเดือนตุลาคมนี้ ก่อนจะขยายไปจนครบทุกเกาะในช่วงปลายปี 2016

    การขึ้นภาษีประเภทอื่นๆ

    ภาษีนิติบุคคล 26% จะถูกปรับเพิ่มเป็น 28% ตามที่องค์กรเจ้าหนี้เรียกร้อง ขณะที่สินค้าฟุ่มเฟือยทั้งหลายก็จะต้องเสียภาษีในอัตราสูงขึ้น นอกจากนี้ รัฐบาลยังจะเริ่มเก็บภาษีจากสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ด้วย

    การปฏิรูประบบเงินบำนาญ

    อายุเกษียณของพลเมืองจะถูกกำหนดตายตัวไว้ที่ 67 ปี ยกเว้นพลเมืองที่ทำงานมาจนครบ 40 ปีภายในปี 2022 ที่จะสามารถเกษียณได้เมื่ออายุ 62

    รัฐบาลเอเธนส์ยังจะสร้างกลไกโน้มน้าวไม่ให้ประชาชนเกษียณอายุก่อนกำหนด เช่น เพิ่มบทลงโทษทางภาษี เป็นต้น

    การตัดลดงบประมาณด้านการทหาร

    กรีซจะตัดทอนงบประมาณกองทัพลง 100 ล้านยูโรในปีนี้ และเพิ่มเป็น 200 ล้านยูโรในปี 2016 โดยการลดจำนวนทหารและชะลอการรับสมัครใหม่ อย่างไรก็ดี ข้อเสนอนี้ยังต่ำกว่าเป้าหมายที่เจ้าหนี้เรียกร้องให้กรีซต้องหั่นงบประมาณกลาโหมลงถึง 400 ล้านยูโร

    ปราบปรามการเลี่ยงภาษี

    กรีซจะมีมาตรการปราบปรามผู้ที่หลีกเลี่ยงภาษี ซึ่งถือเป็นปัญหาเรื้อรังที่บั่นทอนเศรษฐกิจของประเทศ และจะปรับปรุงระบบจัดเก็บภาษีให้มีประสิทธิภาพรัดกุมยิ่งขึ้น

    แผนปฏิรูปด้านการบริหาร

    รัฐบาลจะว่าจ้างทีมที่ปรึกษาเพื่อประเมินการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ และเตรียมมาตรการปรับปรุงภาคเอกชนให้มีความทันสมัย

    การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

    รัฐบาลกรีซมีแผนที่จะจำหน่ายหุ้นของรัฐบาลในบริษัทโทรคมนาคม OTE รวมถึงแปรรูปกิจการท่าเรือในเมือง Piraeus และ Thessaloniki ให้เสร็จสิ้นภายในเดือนตุลาคมปีนี้

    เป้าหมายด้านงบประมาณ

    ก่อนหน้านี้ กรีซยอมรับเงื่อนไขเจ้าหนี้ที่เรียกร้องให้ตัดยอดเกินดุลงบประมาณเบื้องต้น (primary surplus) ให้เหลือ 1% ของจีดีพีในปีนี้ ก่อนจะเพิ่มเป็น 2% และ 3% ในปี 2016-2017 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ในแผนปฏิรูปที่เสนอเมื่อวานนี้ (9) กรีซระบุว่าจำเป็นต้องทบทวนเป้าหมายดังกล่าว เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่ฝืดเคืองอย่างหนัก รวมถึงผลกระทบจากมาตรการควบคุมเงินทุนและการปิดระบบธนาคารทั้งประเทศ

    หนี้สาธารณะ

    แหล่งข่าวในรัฐบาลเอเธนส์ระบุว่า กรีซได้ให้สัญญากับเจ้าหนี้ว่าจะลดหนี้สาธารณะลงจากระดับ 180% ของจีดีพีในปัจจุบัน แต่ไม่เปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติม

    แพ็กเกจช่วยเหลือจากยุโรป

    คณะกรรมาธิการยุโรปได้ยื่นข้อเสนอที่จะให้แพ็กเกจเงินกู้มูลค่า 35,000 ล้านยูโร หากเห็นว่าแผนปฏิรูปที่เอเธนส์ส่งมาเป็นที่น่าเชื่อถือพอ

    Focus :
     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    คปพ.จี้นายกฯ ถอน 2 ร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียม ชี้เป็นภัยความมั่นคง-ย้ำต้องการให้รัฐได้ผลตอบแทนสูงสุด โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 11 กรกฎาคม 2558 17:30 น. (แก้ไขล่าสุด 11 กรกฎาคม 2558 17:37 น.)

    [​IMG]

    [​IMG]

    คปพ.แถลงเรียกร้องนายกฯ ถอน 2 ร่างแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียมฉบับกระทรวงพลังงาน ย้ำมีช่องโหว่ เป็นภัยความมั่นคง สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจมหาศาล เปิดช่องทุจริต ซ้ำไม่เคยผ่านการรับฟังความเห็นประชาชนตามที่อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติแอบอ้าง ยันภาคประชาชนไม่ต้องการผลประโยชน์ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ต้องการให้รัฐได้ผลตอบแทนสูงสุด อย่างโปร่งใสและเป็นธรรม

    วันนี้(11 ก.ค.) ที่โรงแรมเอเชีย เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) นำโดยนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล และ ดร.นพ สัตยาศัย ได้ร่วมแถลงข้อเรียกร้องของ คปพ. ขอให้รัฐบาลทบทวนและถอนร่างแก้ไขพระราชบัญญัติปิโตรเลียม และร่างแก้ไขพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ที่เสนอโดยกระทรวงพลังงาน ออกจากการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เนื่องจากเห็นว่าร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ จะส่งผลต่อความมั่นคงของชาติ และอาจสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศ เพราะไม่ได้แก้ไขปัญหาให้สอดคล้องตามรายงานของกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ.2514 และพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ.2514

    ร่างกฎหมายทั้งสองฉบับดังกล่าว ยังไม่กำหนดแปลงสัมปทานในแต่ละรอบให้ชัดเจนว่าต้องมีจำนวนน้อยกว่าผู้เข้าประมูลแข่งขัน ดังนั้น จึงไม่มีหลักประกันว่าจะเกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ซึ่งต่างจากร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการปิโตรเลียม พ.ศ. ... ที่เสนอโดยเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย จะจำกัดจำนวนแปลงปิโตรเลียมในแต่ละรอบให้น้อยกว่าจำนวนผู้เข้าแข่งขัน และกำหนดจำนวนผู้เข้าแข่งขันขั้นต่ำในการประมูลในแต่ละแปลง และแต่ละรอบให้ชัดเจน โดยจะสามารถเกิดการแข่งขันเพื่อให้ผลตอบแทนแก่รัฐสูงสุดได้จริง รวมทั้งป้องกันการจัดสรรแปลงปิโตรเลียมกันเองระหว่างผู้เข้าประมูล

    นอกจากนี้ ประชาชนยังไม่เคยมีส่วนร่วมในการพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าว ตามที่นางพวงทิพย์ ศิลปศาสตร์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ได้แถลงข่าวแอบอ้างเมื่อวันที่ 8 ก.ค.ที่ผ่านมา แม้กระทั่งก่อนที่จะนำร่างเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ก็ไม่เคยเปิดเผยให้สาธารณชนได้รับทราบมาก่อน ดังนั้น อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ไม่สามารถอ้างได้ว่าร่างแก้กฎหมายมาจากการรับฟังความเห็นในเวทีเสวนา เพราะเป็นการเสวนาประเด็นอื่น ไม่ใช่เรื่องการแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียม

    แถลงการณ์ คปพ.ยืนยันว่า ข้อเสนอของเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย ไม่ได้ต้องการผลประโยชน์ทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์ ตามที่นายกฯ เข้าใจ แต่ต้องการผลตอบแทนสูงสุดแก่รัฐและประชาชน ในการแข่งขันอย่างเสรีและโปร่งใส

    รายละเอียด แถลงการณ์เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) ฉบับที่ ๔/๒๕๕๘
    เรื่อง หยุดยั้งร่างแก้ไขกฎหมายปิโตรเลียมที่เป็นอันตรายต่อประเทศชาติและประชาชน

    ตามที่ นางพวงทิพย์ ศิลปศาสตร์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ แถลงข่าว เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ได้กล่าวยืนยันสนับสนุนร่างกฎหมายปิโตรเลียมที่เสนอต่อคณะรัฐมนตรี ว่าประเทศจำเป็นต้องสร้างความเชื่อมั่นด้านการลงทุน เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน อีกทั้งยังแจ้งว่า คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบเมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้พิจารณา ร่างเสร็จเรียบร้อยแล้วนั้น เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) ขอแสดงจุดยืนต่อกรณีดังกล่าว ดังต่อไปนี้

    ๑. เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) ขอยืนยันว่าร่างแก้ไข พรบ.ปิโตรเลียม และพรบ. ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ทั้ง ๒ ฉบับของกระทรวงพลังงาน รวมทั้ง ๒ ฉบับที่ผ่านการแก้ไขของกฤษฎีกานั้น ประชาชนก็ไม่เคยมีส่วนร่วมแม้แต่น้อย แม้กระทั่งก่อนที่จะนำร่างแก้ไขกฎหมายทั้ง ๒ ฉบับ เข้าสู่การพิจารณาในคณะรัฐมนตรี และได้รับอนุมัติเมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๘ ก็ไม่เคยมีการเปิดเผยให้สาธารณชนได้รับทราบมาก่อนแต่ประการใด ดังนั้นการที่นางพวงทิพย์ ศิลปศาสตร์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ได้กล่าวอ้างว่าร่างแก้ไขกฎหมายดังกล่าวมาจากการรับฟังความคิดเห็นจากสภาปฏิรูปแห่งชาติก็ดี หรือมาจากเวทีเสวนาสาธารณะหลายครั้งก็ดี ก็ไม่สามารถที่จะนำมาอ้างเป็นเหตุผลเพื่อสร้างความชอบธรรมได้ เพราะการรับฟังความคิดเห็นที่กล่าวอ้างเหล่านั้น ก็เป็นเรื่องประเด็นอื่นๆ ที่ไม่ใช่การนาตัวร่างแก้ไขกฎหมายทั้ง ๒ ฉบับของกระทรวงพลังงานมาทาประชาพิจารณ์ หรือรับฟังความคิดเห็นแต่ประการใด

    นอกจากนี้ ร่างแก้ไขกฎหมายดังกล่าวยังมีข้อบกพร่อง เปิดช่องโหว่ที่อาจทาให้เกิดความเสียหาย หรือเกิดการใช้ดุลยพินิจหรือการฉ้อราษฎร์บังหลวงได้อย่างมหาศาล อีกทั้งยังไม่ได้แก้ไขปัญหาให้สอดคล้องตามรายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ และ พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ.๒๕๑๔ อีกด้วย ร่างแก้ไข พรบ.ปิโตรเลียม และ พรบ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ทั้ง ๒ ฉบับของกระทรวงพลังงาน รวมทั้ง ๒ ฉบับที่ผ่านการแก้ไขของกฤษฎีกานั้น จึงขาดความชอบธรรมอย่างสิ้นเชิง

    ๒. เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) ขอยืนยันว่า ในระบบสัมปทานหรือในระบบแบ่งปันผลผลิตนั้น ความโปร่งใสและเป็นธรรมต่อประชาชนไม่ได้อยู่เพียงแค่การสร้างภาพว่ามีการประกาศเชิญชวน เพื่อให้มีการแข่งขันยื่น “ข้อเสนอ”ดีที่สุด ตามอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติกล่าวอ้างแต่ประการใด เพราะ “ข้อเสนอ” ดีที่สุด ไม่ได้หมายความว่ารัฐจะได้ผลตอบแทนสูงสุดเสมอไป อีกทั้ง “ข้อเสนอ” ดีที่สุดนั้นเป็นการใช้ดุลยพินิจโดยการพิจารณาให้คะแนนของกรรมการที่ไม่สร้างบรรทัดฐานความโปร่งใสที่แท้จริง

    แต่ความโปร่งใสที่แท้จริงต้องเริ่มจากการเปิดเผยข้อมูล ข้อเท็จจริงอย่างเป็นทางการ และสร้างการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรมในทางปฏิบัติ โดยมีการคัดสรรผู้ประมูลว่าต้อง “ผ่านข้อเสนอและคุณสมบัติขั้นต่ำ” ที่ฝ่ายรัฐกำหนดขึ้นเพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถคัดสรรผู้ประมูลที่มีความสามารถหรือผลงานจริง แล้วจึงแข่งขันด้วยการให้ผู้ประมูล “เสนอผลตอบแทนแก่รัฐสูงสุด” โดยปราศจากการใช้ดุลยพินิจส่วนตัวหรือคณะบุคคลใด ๆ ด้วยการให้คะแนน หรือการเจรจาต่อรองกัน ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาประชาชนชาวไทยทั้งประเทศไม่เคยได้เห็นหรือได้ทราบวิธีและหลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้ได้รับสัมปทาน และไม่เคยทราบถึงการเจรจาตกลงกัน ตลอดจนเงื่อนไขการลงนามสัญญาใดๆตลอดระยะเวลา ๔๔ ปีที่ผ่านมา

    นอกจากนี้ร่างแก้ไขกฎหมายปิโตรเลียมของกระทรวงพลังงานมิได้มีการกำหนดหรือจำกัดจำนวนแปลงสัมปทานในแต่ละรอบให้มีความชัดเจนว่าต้องมีจำนวนน้อยกว่าผู้เข้าประมูลแข่งขัน จึงส่งผลทาให้ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มีการเปิดแปลงสัมปทานจานวนมากแปลงในแต่ละรอบ ทำให้เกิดการจัดสรรในหมู่ผู้รับสัมปทานกันเองโดยไม่ต้องมีการแข่งขันจริง ด้วยเหตุผลนี้การเปิดสัมปทานที่ผ่านมาจึงไม่เคยมีการแข่งขันกันอย่างแท้จริงตามที่กล่าวอ้างมาแม้แต่ครั้งเดียว คงเหลือแต่เพียงการเจรจาต่อรองเงื่อนไขต่าง ๆ ระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับผู้ประมูลทีละรายอย่างไม่โปร่งใส ดังนั้นจึงไม่มีหลักประกันว่าจะเกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ภายหลังจากการแก้ไขกฎหมายของกระทรวงพลังงาน

    ซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิง จากร่างพระราชบัญญัติ การประกอบกิจการปิโตรเลียม พ.ศ..... ของเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) ที่จำกัดจำนวนแปลงปิโตรเลียมในแต่ละรอบให้น้อยกว่าจำนวนผู้เข้าแข่งขัน และกำหนดจำนวนผู้เข้าแข่งขันขั้นต่ำในการประมูลในแต่ละแปลงและในแต่ละรอบ ให้มีความชัดเจนที่จะสามารถเกิดการแข่งขันเสนอผลตอบแทนแก่รัฐสูงสุดได้จริง เพื่อป้องกันการสมยอมหรือจัดสรรแปลงปิโตรเลียมกันเองระหว่างผู้เข้าประมูล ซึ่งข้อเสนอของภาคประชาชนนี้ก็สอดคล้องกับผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ และพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติอีกด้วย

    นอกจากนี้จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อคราวการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ ๒๐ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้เคยมีเหตุการณ์ที่นำไปสู่ความเคลือบแคลงสงสัยว่าไม่มีความโปร่งใสเพียงพอ เช่น

    กรณีการเจรจาปรับแก้ไขให้ผู้ที่เสนอรับสัมปทานมีคะแนนเพิ่มขึ้นในรอบการเจรจาโดยไม่มีการแข่งขัน

    กรณีการเจรจาปรับแก้ไขย้ายรายการ โดยไม่เปลี่ยนแปลงจำนวนเงินโดยรวม ส่งผลให้ผู้เสนอเข้ารับสัมปทานมีคะแนนเพิ่มขึ้นและเปลี่ยนจากตกคุณสมบัติกลายเป็นผ่านคุณสมบัติและได้แปลงสัมปทานในที่สุด

    กรณีที่เดิมผู้รับสัมปทานไม่มีการกรอกผลประโยชน์พิเศษจึงไม่มีคะแนนในหมวดดังกล่าว แต่กลับมีการเจรจาเพิ่มภายหลังด้วยจำนวนเงินเพียงประมาณ ๔๕๐,๐๐๐ บาททำให้ได้คะแนนเต็มในส่วนดังกล่าว

    กรณีมีข้อสังเกตว่าผลตอบแทนพิเศษบางรายใส่ประมาณ ๖,๐๐๐,๐๐๐ บาท กลับได้คะแนน ๑๘.๕ จากคะแนนเต็ม ๒๐ แต่บางรายใส่ผลตอบแทนพิเศษประมาณ ๔๕๐,๐๐๐ บาทกลับได้คะแนนเต็ม ๒๐

    กรณีหลังจากประกาศเชิญชวนเข้าร่วมเสนอการสัมปทานผ่านไป ๒ เดือนเศษ มีผู้เข้าร่วมประมูลบางรายเพิ่งจดทะเบียนบริษัท และสามารถชนะได้เป็นผู้รับสัมปทาน

    กรณีมีบริษัททุนจดทะเบียน ๑๐ ล้านบาท และ ๑ ล้านบาท ซึ่งต่ามาก แต่กลับมีสิทธิ์ได้รับสัมปทานที่มีมูลค่ามหาศาล

    กรณีตัวอย่างข้างต้นนี้จึงเป็นที่ประจักษ์ชัดว่า การแก้ไขกฎหมายปิโตรเลียมของกระทรวงพลังงาน ไม่มีหลักประกันว่าจะมีการประมูลแข่งขันที่โปร่งใสและเป็นธรรมต่อประเทศชาติได้จริง และหากมีการให้เอกชนผู้ที่ต้องการผลิตปิโตรเลียมเลือกได้ว่าจะใช้ระบบสัมปทานหรือแบ่งปันผลผลิตก็ได้ ยิ่งเป็นการใช้ดุลพินิจในการพิจารณาอีกอยู่ดี เพราะในระบบแบ่งปันผลผลิตและระบบสัมปทานนั้นมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงทั้งในเรื่องกรรมสิทธิ์และการแบ่งผลผลิตจากปริมาณปิโตรเลียมหรือแบ่งค่าภาคหลวงหรือภาษีจากรายได้ ซึ่งไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้ และไม่ใช่การบริหารจัดการที่โปร่งใสแต่ประการใด

    ๓. แม้ร่างแก้ไขของคณะกรรมการกฤษฎีกาในมาตรา ๕๓/๕ จะกำหนดรายจ่ายเท่าที่จ่ายจริงในระบบแบ่งปันผลผลิต และไม่เกินร้อยละ ๕๐ ต้องเป็นไปตามแผนงานและงบประมาณสำหรับกิจการปิโตรเลียมในแต่ละปี เพื่อให้อธิบดีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการพิจารณาอนุมัติก่อนเริ่มกิจการปิโตรเลียมนั้น เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) เห็นว่ากรณีดังกล่าวไม่สามารถเป็นที่ไว้วางใจได้

    ทั้งนี้ วิธีการแบ่งปันผลผลิตในสากลมี ๒ ระบบ คือ การแบ่งปริมาณปิโตรเลียมตามผลผลิตสุทธิ (หลังหักค่าใช้จ่าย) และ การแบ่งตามปริมาณผลผลิตปิโตรเลียมรวมที่ผลิตได้ (โดยไม่หักค่าใช้จ่าย) สาหรับประเทศไทย ทั้งกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และกรมสรรพากร รวมไปถึงสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ต่างก็ไม่มีความชานาญด้านต้นทุน เครื่องจักรอุปกรณ์ ไม่มีการผลิตสินค้าเหล่านี้ในประเทศที่จะหาข้อมูลเทียบเคียง ดังนั้นการใช้ระบบผลผลิตปิโตรเลียมสุทธิ (หลังหักค่าใช้จ่าย) อาจทาให้ประเทศไทยเสียเปรียบ และควรเปลี่ยนระบบเป็นการแบ่งตามปริมาณผลผลิตปิโตรเลียมรวมที่ผลิตได้ (โดยไม่ต้องหักค่าใช้จ่าย) ตามที่เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) ได้เสนอในร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการปิโตรเลียมไปแล้ว

    การพิจารณาจากแผนค่าใช้จ่ายจริงเพื่อหักออกก่อนที่จะใช้การแบ่งปันผลผลิตปิโตรเลียมสุทธินั้น เป็นการใช้ดุลยพินิจที่ยากในการตรวจสอบความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต อีกทั้งยังมีข้าราชการบางส่วนในระดับสำคัญของคณะกรรมการต่างเป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจปิโตรเลียมในรูปแบบของบริษัทจากัด (มหาชน) ที่เน้นการแสวงหาผลกำไรสูงสุดอยู่ด้วย เมื่อผลประกอบการของบริษัทจำกัด (มหาชน) เหล่านั้นมีกำไรมากขึ้นกรรมการก็ย่อมได้รับผลตอบแทนมากขึ้นไปด้วย ดังนั้นเมื่อมีบุคคลเหล่านี้เป็นบุคคลซึ่งมีหน้าที่ในการกำหนดรายจ่ายจริงให้กับผู้รับสิทธิ์ในการผลิตปิโตรเลียม ผู้รับสิทธิ์ในการผลิตปิโตรเลียมที่เป็นกิจการรัฐวิสาหกิจบริษัทจำกัด (มหาชน) ที่ตนเองได้รับประโยชน์อยู่ด้วย จึงถือเป็นการดาเนินการที่เป็นผลประโยชน์ทับซ้อน ขัดหลักธรรมาภิบาลและการบริหารจัดการที่ดี ไม่สามารถเป็นที่ไว้วางใจได้

    ๔. ตามที่ นางพวงทิพย์ ศิลปศาสตร์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ได้จัดแถลงข่าวเมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ความตอนหนึ่งเกี่ยวกับในระบบแบ่งปัน ผลผลิตว่า “กำหนดให้สามารถหักค่าใช้จ่ายได้จริง โดยไม่เกินร้อยละ ๕๐ ของผลผลิตรวมปิโตรเลียม (คำนวณจากการขายหรือจำหน่ายปิโตรเลียมทั้งหมด)”

    ข้อความที่กล่าวในวงเล็บว่า “คำนวณจากการขายหรือจำหน่ายปิโตรเลียมทั้งหมด” หลักการนี้ทาให้การแบ่งปันผลผลิตแทนที่จะคิดจากปริมาณปิโตรเลียมซึ่งผลิตได้แล้วตกเป็นของรัฐทั้งหมดทันที ณ ปากหลุม แล้วจึงแบ่งส่วนปิโตรเลียมให้แก่เอกชนและรัฐตามสัญญา เพื่อให้รัฐนาส่วนปิโตรเลียมที่ได้มาไปบริหารหรือจำหน่ายให้แก่ผู้ประกอบการหรือประชาชนตามราคาที่เหมาะสมและเป็นจริง กลัให้รัฐน้อยลงกว่าความเป็นจริง และภาษีที่จะได้ก็จะน้อยกว่าความเป็นจริงไปด้วย การสร้างระบบแบ่งปันผลผลิตเช่นนี้จึงไม่ต่างจากข้อบกพร่องของระบบสัมปทาน เป็นการอาพรางระบบสัมปทานภายใต้ชื่อของระบบแบ่งปันผลผลิตเท่านั้น จึงไม่สามารถสร้างผลประโยชน์สูงสุดแก่รัฐได้จริง

    ทั้งนี้เมื่อตรวจสอบร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับที่ผ่านการแก้ไขของคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้วพบว่า มีพฤติการณ์ทาให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยได้ เพราะเมื่อ “เพิ่มข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัญญาแบ่งปันผลผลิต” จากร่างของกระทรวงพลังงาน ในมาตรา ๕๓/๔ (๔) ที่ผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตต้อง “กำหนดและการปฏิบัติตามข้อผูกพันทั้งในด้านปริมาณเงินและปริมาณงานสำหรับการสำรวจและผลิต” ที่อาจทาให้เกิดการใช้ดุลยพินิจในการให้คะแนนเหมือนระบบสัมปทานทั้ง ๒๐ รอบที่ผ่านมา

    การยื่นปริมาณงานและปริมาณเงินทุน เป็นข้อมูลเฉพาะสำหรับระบบสัมปทาน เพราะระบบสัมปทานจะชนะและได้รับงานด้วยเงื่อนไขนี้ แต่กรณีการแบ่งปันผลผลิต ข้อมูลและข้อกำหนดนี้ไม่มีความจำเป็น เพราะรัฐไม่ต้องสนใจว่าเอกชนจะลงทุนมากหรือน้อย แต่สนใจเฉพาะส่วนแบ่งรวมของผลผลิตรวมโดยไม่หักค่าใช้จ่ายใดๆ การให้ยื่นข้อมูลปริมาณงาน ปริมาณเงินลงทุน หากมีการนามาใช้ประกอบการพิจารณาในระบบแบ่งปันผลผลิต นอกจากจะเปิดช่องให้มีการใช้ดุลยพินิจลาเอียงแก่รายใดรายหนึ่งแล้ว ยังจะเป็นการเอาเปรียบบางรายที่มีเทคโนโลยีสูงกว่า ทาให้สามารถผลิตได้เท่ากันแต่ลงทุนต่ากว่าหรือทางานน้อยกว่าอีกด้วย

    สำหรับเรื่องข้อกังวลว่า หากไม่นาข้อมูลปริมาณงาน ปริมาณเงินลงทุน มาประกอบการพิจารณาในระบบแบ่งปันผลผลิตอาจทาให้เอกชนลงทุนน้อย และเกิดผลผลิตน้อย ข้อกังวลนี้สามารถใช้วิธีบวกตัวเลขสัดส่วนของเอกชนให้สูงขึ้นทีละน้อยๆ เป็นขั้นบันไดตามปริมาณการผลิต

    นอกจากนี้ร่างแก้ไขของคณะกรรมการกฤษฎีกา ยังเพิ่มในมาตรา ๕๓/๔ (๕) กำหนดข้อกำหนดและเงื่อนไขของระบบแบ่งปันผลผลิตว่าต้องมี “ข้อตกลงเกี่ยวกับการขายหรือจำหน่ายปิโตรเลียมที่ผลิตได้” ซึ่งตามปกติแล้วการแบ่งปันผลผลิต รัฐต้องได้ส่วนแบ่งปัน ผลผลิตแล้วดาเนินการจำหน่ายผลผลิตนั้นเองไม่เกี่ยวข้องกับผู้รับสัญญาเอกชนในการขายจำหน่ายปิโตรเลียมของรัฐ แต่การตรากฎหมายเช่นนี้ย่อมมีความน่าเคลือบแคลงสงสัยว่าต้องการให้เอกชนผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตเป็นผู้จำหน่ายหรือขายแทนรัฐ ด้วยเหตุนี้ใช่หรือไม่ "จึงไม่มีการจัดตั้งบรรษัทบริหารปิโตรเลียมแห่งชาติ" เพื่อทาหน้าที่บริหารและจำหน่ายหรือขายปิโตรเลียมของรัฐในร่างกฎหมายของกระทรวงพลังงาน อันเป็นการจัดทา "ระบบแบ่งปันผลผลิตจำแลง" ที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล และรัฐไม่ใช่เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ปิโตรเลียมอย่างแท้จริงตามเจตนารมณ์ของประชาชน

    นอกจากนี้ยังเป็นที่น่าสังเกตว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมากลุ่มทุนพลังงานและเครือข่ายทุนพลังงาน รวมถึงข้าราชการระดับสูงในกระทรวงพลังงานจำนวนหนึ่ง ต่างออกมาคัดค้านการตั้งบรรษัทปิโตรเลียมแห่งชาติอย่างชัดเจน ทั้งนี้เพราะยังต้องการผูกขาดการขายปิโตรเลียมให้อยู่ในมือเอกชนแต่เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น และไม่ต้องการให้ปิโตรเลียมอยู่ในมือบรรษัทปิโตรเลียมแห่งชาติซึ่งเป็นของรัฐร้อยเปอร์เซ็นต์ ที่จะจำหน่ายปิโตรเลียมให้กับประชาชนในราคาที่เป็นธรรม เหมาะสมกับฐานะเศรษฐกิจของประเทศและค่าครองชีพของประชาชน

    จึงขอวิงวอนเรียกร้องให้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้ทบทวนและถอนร่างกฎหมายที่จะก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติ สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและต่อประเทศอย่างมหาศาล ออกจากคณะกรรมการกฤษฎีกา และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และขอยืนยันว่าข้อเสนอของเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) นั้นมิได้ต้องการผลประโยชน์ทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์ ตามที่ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีเข้าใจ แต่ต้องการผลตอบแทนสูงสุดแก่รัฐและประชาชนจากการแข่งขันเสรี โปร่งใส และเป็นธรรม

    ด้วยจิตคารวะ

    เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.)
    วันเสาร์ ที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘

    http://manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9580000078506
     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ปอกเปลือก ทรราช
    ซวยแล้วไหมหละ! สหรัฐฯต้องการให้แหลมบัลข่านเป็นประชาธิปไตยและตลาดเสรีเพื่อเป็นตัวอย่างแก่ยูเครนและตะวันออกกลาง

    [​IMG]

    -----------
    วันนี้ (11 ก.ค.58) สำนักข่าว Sputnik news ของรัสเซียพาดหัวข่าวเรื่องหนึ่งว่า "US Wants Balkans to Set Example to Ukraine, Middle East - Nuland" แปลว่า "นางหนูดิน/หนูรู (ฮ่าๆๆ) กล่าวว่าสหรัฐฯต้องการให้แหลมบัลข่านเป็นตัวอย่างแก่ยูเครนและตะวันออกกลาง" (กรรมละสิ! ดีนะที่หล่อนไม่พูดตรงๆว่าต้องการให้บัลข่านเป็นอย่างยูเครนและตะวันออกกลาง)

    [​IMG]

    นางวิคทอเรีย นูแลนด์ (Victoria Nuland) ผู้ช่วยรมว.ต่างประเทศของจักรวรรดิเฮเกโมนี่ (hegemonism) ด้านกิจการยุโรปและยูเรเซียกล่าวว่า "ประเทศสหรัฐฯต้องการที่จะทำให้กลุ่มประเทศในแหลมบัลข่านเป็นกรณีตัวอย่างในเรื่องประชาธิปไตยและตลาดเสรี ต่อประเทศต่างๆในยุโรปตะวันออก เช่นยูเครน รวมทั้งตะวันออกกลางด้วย"
    [แหลมบัลข่านเป็นกลุ่มประเทศในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วย Albania, Bosnia and Herzegovina, Bulgaria, Croatia, Greece, Kosovo, Macedonia, Montenegro, Romania, Slovenia, Serbia และ Turkey]
    โดยนางหนูดินยอมรับว่ากลุ่มประเทศบัลข่านยังเผชิญกับสิ่งที่เรียกว่า "ภัยคุกคามร้ายแรง" (pernicious threats) ของพวกนิยมความรุนแรงสุดโต่ง การคอรัปชั่น และอาชญากรรม พร้อมทั้งมองว่ากลุ่มผู้ปกครองเป็นพวก "อัตตาธิปไตยน่ารังเกียจ" (sleazy autocrats ซึ่งก็เหมือนจักรวรรดิเฮเกของหล่อนนั่นแหละ ที่หล่อนด่าว่าและกล่าวหาชาวบ้านนี้ เขารู้กันทั้งโลกว่าประเทศของหล่อนนั่นแหละต้นตำหรับอัตตาธิปไตยน่ารังเกียจน่าขยะแขยงของแท้เลย)

    [​IMG]

    หล่อนพล่ามต่อไปว่า "ด้วยการท้าทายความมั่นคงต่อยุโรปใต้และยุโรปตะวันออก ภูมิภาคนี้ตั้งอยู่ในความสมดุล" สื่อฯรัสเซียบอกว่านางเตรียมการไว้ที่จะไปพูดที่ Dubrovnik ประเทศ Croatia ในวันศุกร์ (เมื่อวานนี้) โดยพูดต่ออีกว่า "เมื่อคุณเลือกทางเลือกนั้น ประเทศอื่นๆที่กำลังประสบปัญหาเดียวกันตั้งแต่ตูนีเซียจนถึงยูเครนจะจ้องมา (ที่คุณ) และพบว่าคุณประสบความสำเร็จ (ฮึ่ม! อยากจะหัวเราะเป็นภาษาโครเอเทียผสมอิรัคและยูเครนจริงๆ) และว่าคุณสามารถช่วยแสดงให้พวกเขาเห็นได้ว่ามันสำเร็จได้อย่างไร" (นังนี่สงสัยจะเมารากไม้ใต้ดินแน่ๆ)
    จริงดิ? นางคงจะลืมไปแล้วสินะว่าใครกันแน่ที่ทำให้ยูเครนมีสภาพไม่ต่างจากตกนรกทั้งเป็นและยืนอยู่บนปากเหวของความล้มละลายทั้งประเทศไม่ต่างจากกรีซในทุกวันนี้ ใครที่อยู่เบื้องหลังของการยึดอำนาจในยูเครน ก็ไม่ใช่จักวรรดิเฮเกของพวกนางนั่นหรอกหรือ? แล้วใครที่จัดตั้งรัฐบาลหุ่นเชิดของยูเครนชุดปัจจุบันขึ้นมาและชักใยอยู่เบื้องจนทุกวันนี้ ก็ไม่ใช่จักวรรดิเฮเกอีกหรอกหรือ? แล้วยังพูดเป็นนัยว่ายูเครนไม่เป็นประชาธิปไตยอีก นี่แสดงว่ายอมรับแล้วสิว่าประชาธิปไตยที่จักรวรรดิเฮเกมอบให้ยูเครนนั้นมันไม่ใช่ประชาธิปไตยที่แท้จริง ก็เลยจะไปสร้างปัญหาที่อื่นอีกสิท่า อ้อ… แล้วใครนะที่อยากจะให้มีการสนับสนุนอาวุธหนักให้ยูเครนไปทำสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์คนยูเครนด้วยกันเองในภูมิภาคดอนบาสส์หนะ ก็ไม่ใช่จักรวรรดิเฮเกอีกรึ? นางหนูดินนี่แสบใช่ย่อยนะนี่
    นางยังเตรียมจะไปเสี้ยมให้ชาวบัลข่านแตกแยกกันอีกโดยกล่าวว่า "การทำงานเมื่อยี่สิบกว่าปีที่ผ่านมาสามารถจะสำเร็จได้ด้วยการตัดสินใจที่ฉลาดของผู้นำและประชาชนที่กล้าหาญซึ่งผลักดันให้มีชีวิตที่ดีขึ้น หรือภูมิภาคนี้สามารถที่จะตกเป็นเหยื่อในความเสี่ยงและความเกลียดชังอีกครั้ง และการแทรกแซงจากภายนอกที่นำมาซึ่งความเศร้าโศกหลายต่อหลายครั้งมาก่อน ทางเลือกข้างหน้าเป็นของพวกคุณเอง"
    ที่หล่อนพูดมานั้นหมายความว่าไง? นี่ขู่กันอีกแล้วใช่หรือไม่? ถ้าไม่ทำตามคำสั่งของจักรวรรดิเฮเกชีวิตของพวกคุณก็จะตกอยู่ในความเสี่ยงและอันตรายอีก ถ้าทำตามพวกคุณก็จะปลอดภัย ปัญหาก็คือว่าเสี่ยงจากใคร? แล้วที่บอกว่า "การแทรกแซงจากภายนอก" นั้นหมายถึงจักรวรรดิเฮเกเองใช่หรือไม่ที่พยายามเข้าไปยุ่งและวุ่นวายกับประเทศอื่นๆอยู่ในขณะนี้ นางอย่าคิดว่าคนอื่นเขาจะไม่รู้เท่าทันความกระล่อนของนางนะ ติ่งอเมริกาชอบเลียนแบบวิธีนี้นะ... คือชิงใช้คำพูดที่ตัวเองกระทำในพฤติกรรมที่น่ารังเกียจแต่ไปกล่าวหาผู้อื่นแทน เจอบ่อยมาก
    มาดู GDP ของประเทศโครเอเทียในรอบ 20 ที่ผ่านมาซิว่ามันเป็นอย่างที่นังหนูดินพูดหรือไม่ ตั้งแต่ปี 1996 เป็นต้นมาจนถึงปี 2009 กราฟของจีดีพีสูงขึ้นในช่วง 9 ปีหลัง (2000-2009) โดยในปี 2008 นั้นยุโรปและกรีซเริ่มประสบปัญหาวิกฤตอย่างหนัก หลังจากนั้นมา GDP ของโครเอเธียก็ดิ่งลงเรื่อยๆ ปี 2009 GDP ของโครเอเทียอยู่ที่ 70.45% ปี 2015 อยู่ที่ 57.22% ลดลงจากปี 2014 ที่ 0.65% แล้วอัตราหนี้สาธารณะต่อจีดีพีของโครเอเทียหละเป็นอย่างไรบ้าง เช็กดูแล้วในปี 2009 อยู่ที่ 36% จากนั้นมาก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันอยู่ที่ 80.6% นี่นะเศรษฐกิจดี? โครเอเชียเป็นประเทศที่มีหนี้สาธารณะต่อจีดีพี (Government Debt to GDP) สูงเป็นอันดับที่ 25 ของโลก อันดับ 1 คือญี่ปุ่น (230.00%) สองคือกรีซ (177.10) สหรัฐฯอยู่ที่ 11 (101.53%) ไทยอยู่อันดับที่ 70 ปี 2014 (45.7%) ซาอุดิอาระเบียมีหนี้ต่ำที่สุด อยู่ที่ 1.6% เมื่อเทียบกับจีดีพี จากทั้งหมด 172 ประเทศ นี่แหละโครเอเทียที่ประสบความสำเร็จของนางหนูดิน ส่วนเศรษฐิจของยูเครนหนะหรือ อย่าให้พูดถึงเลย เละ! ยิ่งกว่าเละซะอีกในตอนนี้นะ
    อ้อ… สื่อรัสเซียแฉอีกว่า (น่าสนใจมาก) เมื่อเร็วๆนี้ นางหนูดินตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์มาก หลังจากหล่อนถูกแฉออกมาเมื่อวันที่ 28 ม.ค.2014 (ช่วงนั้นยูเครนกำลังมีปัญหาภายในอย่างหนัก กำลังจะเผาเมืองกันมีการต่อรองตำแหน่งทางการเมืองกันน่าดู) บันทึกการสนทนาทางโทรศัพท์ (ดักฟัง?) ระหว่างนางหนูดินกับนาย Geoffrey Pyatt เอกอักครราชทูตจักรวรรดิเฮเกประจำยูเครน ซึ่งหล่อนได้อ้างอิงไปยังสภายุโรปอย่างหยาบคาย (หล่อนให้ F the EU?) ในขณะที่กำลังเจรจาต่อรองกันเพื่อแต่งตั้งให้หล่อนเป็นนายกรัฐมนตรีของยูเครน (โอ้โฮ… ยูเครนนี่เขาจะเอาใครมาเป็นผู้นำประเทศก็ได้ใช่ไหม? นางหนูดินที่เป็นคนอเมริกันนี่นะอยากจะเป็นนายกฯยูเครน? มันเป็นไปได้ ขนาดอดีตปธน.ของจอร์เจียที่ลี้ภัยหนีความผิดมายังได้เป็นผู้ว่าการภูมิภาค Odessa ในยูเครนเลย)
    ตะวันออกกลางนั้น อเมริกาก็ไปก่อสงครามไว้ เละไม่เป็นท่า ล่าสุดก็ที่ยูเครนนี่แหละ แล้วยังมีหน้าจะไปเสนอขายประชาธิปไตยและตลาดเสรีหลอกกลุ่มประเทศบัลข่านอีกนะ ดูอิรัคและยูเครนวันนี้สิ นั่นใช่ไหมคือความสำเร็จในการเผยแพร่ประชาธิปไตยของสหรัฐฯในต่างประเทศ? กรรม!
    ป.ล. เก็บภาพการเผยแพร่ประชาธิปไตยของสหรัฐฯในยูเครนมาฝาก "มันต้องเผา!" ถ้าไม่เผา ไม่ใช่ประชาธิปไตยของแท้สไตล์อเมริกา โชคดีนะบัลข่าน (เสียงจากผู้สังเกตการณ์ยูเครน)
    The Eyes
    11/07/2558
    ----------
    http://sputniknews.com/politics/20150711/1024485809.html
    http://www.tradingeconomics.com/croa…/government-debt-to-gdp
    PAGE NOT FOUND
    PAGE NOT FOUND
    Ukraine GDP Growth Rate | 2010-2015 | Data | Chart | Calendar | Forecast
    Ukraine GDP | 1987-2015 | Data | Chart | Calendar | Forecast | News
    https://en.wikipedia.org/wiki/Balkans
     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ปอกเปลือก ทรราช
    กลุ่ม BRICS ตกลงร่วมกันว่าจะไม่แซงชั่นรัสเซีย ฮี่ๆๆ… อินเดียและปากีสถานเข้าร่วมเป็นสมาชิก SCO

    [​IMG]

    -----------
    ในการประชุมสุดยอดผู้นำประเทศในกลุ่ม BRICS และ SCO ที่เมือง Ufa ประเทศรัสเซีย Zhang Jun กรรรมการผู้จัดการใหญ่กรมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงต่างประเทศของจีนกล่าวเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า "ประเทศสมาชิกของกลุ่ม BRICS จะไม่ดำเนินการแซงชั่นรัสเซียตามตะวันตก (และสหรัฐฯ) การลงโทษแซงชั่นฝ่ายเดียว (Unilateral sanctions) ที่กระทำต่อรัสเซียนั้นจะไม่มีผลบังคับใช้กับกลุ่ม BRICS ด้วย นี่เป็นมติเอกฉันท์ของสมาชิกกลุ่ม BRICS การไม่เห็นด้วย ในการทำแซงชั่นฝ่ายเดียวนี้ เป็นมติเอกฉันท์ของบรรดาผู้นำประเทศในกลุ่ม BRICS ซึ่งได้มีความเห็นร่วมกันในการออกแถลงการณ์ที่ Ufa เพื่อเป็นการแสดงจุดยืนทางการเมืองของกลุ่ม BRICS"

    [​IMG]

    แม้ว่าสหรัฐฯและตะวันตกจะบีบให้รัสเซียยอมจำนนโดยการแซงชั่นรัสเซียหลายรอบ แต่รัสเซียก็ไม่อยู่เฉยเมื่อแซงมา รัสเซียก็แซงกลับไปเช่นกัน เมื่อสหรัฐฯดึงพันธมิตรของตนมาร่วมแซงชั่นหวังจะโดดเดี่ยวและรุมกินโต๊ะรัสเซีย รัสเซียก็ไม่ได้เป็นประเทศที่ไม่มีใครคบด้วยซะหน่อย รัสเซียก็มีเพื่อนเหมือนกัน เพราะประเทศเหล่านี้ต่างก็รู้ดีว่าหากวันนี้ปล่อยให้รัสเซียล้มได้ วันหน้าชะตาของพวกตนก็คงจะไม่ต่างจากรัสเซียหรือยูเครนแน่ ดังนั้นจึงรวมตัวกันงัดกับจักรวรรดิเฮเก้บ้าอำนาจประชาธิไตยปลอม โดยกล้าที่จะออกมาประกาศพร้อมกันว่า "จะไม่แซงชั่นรัสเซีย!" ตามแผนการณ์อันชั่วร้ายของจักรวรรดิเฮเก้แน่ๆ
    นอกจากไม่ยอมหลงกลแผน "ต่อต้านรัสเซีย" ของจักรวรรดิเฮเกแล้ว กลุ่มมหาอำนาจใหม่ยังร่วมมือกันพัฒนาระบบเศรษฐกิจขึ้นมาใหม่ในกลุ่มของตนอีกด้วย เช่นมีการประกาศว่าจะไม่ใช้สกุลเงินดอลล่าร์ของสหรัฐฯในการซื้อขายแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศในประเทศสมาชิก เพื่อลดความสำคัญของสกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐฯลง และมีการก่อตั้งธนาคารระหว่างประเทศขนาดใหญ่ขึ้นมาหลายแห่งด้วย
    ล่าสุดเมื่อวันที่ 8 ก.ค.58 ที่ผ่านมา สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่าจีนต้องการจะเพิ่มการทำ swap สกุลเงินหยวนของตนกับรูเบิลของรัสเซียเพิ่มมากขึ้น โดยนาย Zhong Shan ประธานคณะเจรจาด้านการค้าระหว่างประเทศกระทรวงพาณิชย์ของจีนกล่าวว่า "จีนยินดีที่จะเริ่มเปิดตัวข้อตกลงการแลกเปลี่ยนสกุลเงินกับรัสเซีย นอกจากนี้ยังต้องการที่จะเพิ่มปริมาณการชำระเงินด้วยสกุลเงินท้องถิ่นของแต่ละประเทศเพิ่มมากขึ้นด้วย"
    รายงานข่าวบอกว่า เมื่อ 2014 ที่ผ่านมา ธนาคารกลางของรัสเซียได้เปิดทำสวอปเงินตรากับธนาคารกลางของจีนจำนวน 150,000 ล้านหยวน (ประมาณ 24.5 billion dollars / ประมาณ 8.3 แสนล้านบาท) เป็นระยะเวลา 3 ปี (ช่วงนั้นเงินรูเบิลของรัสเซียถูกสหรัฐฯโจมตีอย่างหนัก จนค่าเงินอ่อนมาก แต่เมื่อรัสเซียมีภัย จีนก็พร้อมที่จะเข้ามาช่วย จึงทำให้แผนการณ์ถล่มค่าเงินรูเบิลของรัสเซียไม่ประสบผลสำเร็จตามที่คาดการณ์ไว้ เพราะตอนนี้เงินรูเบิลกลับมาแข็งค่าและมีเสถียรภาพมากขึ้น)
    พูดถึงความร่วมมือระหว่างประเทศมีอีกข่าวหนึ่งที่จะแจ้งให้ทราบก็คือ อินเดียและปากีสถาน ไม้เบื่อไม้เมา ลิ้นกับฟัน ระหองระแหงกันอยู่เรื่อยๆตามแนวชายแดนก็เข้าร่วมประชุมสุดยอดผู้นำที่ Ufa ในครั้งนี้ด้วย และมีรายงานข่าวออกมาแล้วว่า ทั้งสองประเทศ (อินเดีย-ปากีสถาน) ได้ตัดสินใจเข้าร่วมในองค์การความร่วมมือแห่งเซี่ยงไฮ้เรียบร้อยแล้ว (sweeeeet) เจ๋งเป้งเลยครับ... (เมื่อวันที่ 10 ก.ค.58)
    Athar Hussain กรรมการผู้จัดการใหญ่ของศูนย์วิจัยเอเซียจากสถาบันเศรษฐศาสตร์ลอนดอนให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว Sputnik news ของรัสเซียว่า "กลุ่มประเทศในเอเซียกลางทั้งหมดได้ตัดสินใจเข้าเป็นสมาชิกของ SCO เรียบร้อยแล้วและปากีสถานและอินเดียก็มีส่วนแบ่งในเอเซียกลางด้วย และนั่นก็หมายถึงว่า SCO มีความสำคัญมาก หากพวกเขาไม่ต้องการที่จะตกขบวน นับเป็นครั้งแรกที่ทั้งสองประเทศซึ่งเป็นสมาชิกขององค์กรระหว่างประเทศได้เข้าร่วมในด้านความมั่นคง ต่อสู้กับขบวนการก่อการร้าย ซึ่งมีผลกระทบต่อปากีสถานและอินเดียด้วย"
    เมื่อเพื่อนของเพื่อนมีปัญหาระหองระแหงกัน จะเลือกเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็อาจจะทำให้เสียมิตรอีกฝ่ายหนึ่งไปได้ รัสเซียซึ่งเป็นเพื่อนกันกับจีนก็สามารถจัดการกับปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างอินเดียกับปากีสถานลงได้อย่างสวยงาม คืออย่างนี้ รัสเซียกับจีนเป็นเพื่อนกัน อินเดียเป็นเพื่อนซี้ของรัสเซีย แต่ไม่ค่อยจะกินเส้นกับจีน ปากีสถานเป็นเพื่อนซี้กับจีนแต่ไม่ค่อยกินเส้นกับอินเดีย คนกลางจริงๆนั้นคือใคร? ก็ "ปูติน" นะสิครับ ทำอย่างไรถึงจะทำให้รักสามเศร้า ระหว่าง จีน-อินเดีย-ปากีสถาน จบอย่างแฮปปี้เอ็นดิ้งได้? เรื่องนี้ไม่เกินกำลังสติปัญญาของปูตินกับสีจิ้นผิงแน่ งั้นก็เชิญทั้งสามประเทศมาคุยกันที่เมืองยูฟ่าพร้อมกันให้มันรู้แล้วรู้แรดไปเลย โดยมีปูตินเป็นคนกลางคอยไกล่เกลี่ยข้อบาดหมางหรือความเข้าใจผิดให้
    ปูตินเริ่มด้วยชี้ให้ดูว่า เห็นไหมว่าประเทศอื่นๆทั้งในเอเซียกลางและเอเซียใต้รอบบ้านของพวกท่านเขามาร่วมมือกันหมดแล้ว ภัยก่อการร้ายก็คุกคามกลุ่มประเทศเหล่านี้มากขึ้นทุกวัน ท่านอยากจะให้ประเทศของท่านกลายเป็นอัฟกานิสถาน หรือ อิรัค หรือซีเรียอีกแห่งหนึ่งอย่างนั้นหรือ? พวกท่านอยากจะให้จักรวรรดิเฮเกกับพรรคพวกของเขายกกองทัพเข้าไปก่อสงครามในบ้านของพวกท่านโดยอ้างว่าไปปราบปรามผู้ก่อนการร้ายแล้วก็เข่นฆ่าประชาชนของพวกท่าน ทำลายบ้านเรือนของพวกท่านอย่างที่เห็นเป็นข่าวอยู่ทุกวันนี้หรือไง? ทำไมพวกเราถึงไม่มาร่วมมือกันแก้ไขปัญหาภายในของพวกเราด้วยฝีมือของพวกเราเอง? ทำไมจะต้องให้มือที่สามมาชักใยบ่อนทำลายประเทศของพวกเราด้วย?
    ตอนนี้พวกเราก็มีทั้งอาวุธ กองทัพ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยไม่แพ้ชาติใดในโลกหากเราร่วมมือกัน ทำไมจะต้องไปกินน้ำใต้ศอกจากจักรวรรดิเฮเกที่กำลังเสื่อมอำนาจและรอวันล่มสลายนั้นด้วย? มาร่วมมือกันลดความขัดแย้งภายในและพัฒนาเศรษฐกิจร่วมกันผ่านโครงการขนาดใหญ่ไม่ดีกว่าหรือ? ฯลฯ (ประมาณนี้หละนะ... อ้าวแอ็ดมินไปแอบฟังเขาคุยกันมาตั้งแต่เมื่อไรนี่? ฮี่ๆๆ คิดเอาเองนะ... ไม่งั้นจะร่วมมือกันได้อย่างไร?) สุดท้ายปูตินถามว่า เอาแบบนี้นะ ตกลงไหม? ผู้นำสมาชิกทุกประเทศต่างพากันพยักหน้าหงุกๆ เห็นด้วย ยกเว้นอินเดียที่ส่ายหน้า (แต่แปลว่าตกลง)
    เห็นมะนี่คือการแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศแบบใช้การทูตและการเมืองนำหน้าตามที่รัสเซียเคยประกาศไว้ก่อนหน้านี้ หันไปดูกรณีความขัดแย้งระหว่างญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้ซึ่งต่างก็เป็นพันธมิตรของจักรวรรดิเฮเกบ้าง ไม่มีสัญญาณใดบ่งบอกว่าได้เลยว่าจะลงเอยแบบแฮปปี้เอ็นดิ้งอย่างนี้ ตราบใดที่สหรัฐฯยังเป็นคนกลางในข้อพิพาทต่างๆระหว่างญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้และใช้วิธีการบ่างช่างยุอยู่แบบนี้อย่าหวังเลยว่าญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้จะจับมือกันได้สนิทแนบแน่นในทุกมิติ
    อ้อ… มีอีกข่าวหนึ่งเกี่ยวกับ SCO เช่นกัน เมื่อวานนี้ (10 ก.ค.58) สำนักข่าว RIA Novosti ของรัสเซียรายงานว่า การยื่นคำร้องในการเข้าเป็นสมาชิก SCO ของกรุงเคียฟ (ยูเครน) ตั้งแต่ปี 2013 ยังมีผลอยู่ หมายความว่ายูเครนยังไม่ได้ถอนคำร้องขอออกไป ในปี 2013 ยูเครนได้ยื่นคำร้องในการเป็นหุ้นส่วนเจรจา (Dialogue Partners) กับองค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ แต่ยังไม่มีความคืบหน้า (ประเทศที่อยู่ในกลุ่ม Dialogue Partners ของ SCO ประกอบด้วย อาร์เมเนีย, อาเซอร์ไบจาน, กัมพูชา, เนปาล, ศรีลังกา และตุรกี) ส่วนประเทศที่อยู่ในฐานะผู้สังเกตการณ์คือ อัฟกานิสถาน, เบลารุส, อิหร่าน และมองโกเลีย ส่วนเวียตนานแม้ไม่เข้าในกลุ่มนี้แต่ก็อยู่ในกลุ่มยูเรเซียเรียบร้อยแล้ว กรณีของยูเครนนั้นเห็นได้ชัดว่าทางรัสเซียกับจีนพยายามจะดึงมาเป็นหุ้นส่วนในกลุ่มยูเรเซียและกลุ่ม SCO ด้วยแต่ถูกเตะตัดขาโดยจักรวรรดิเฮเกและตะวันตกซะก่อน แผนนี้จึงชะลอเอาไว้ชั่วคราว
    The Eyes
    11/07/2558
    ----------
    BRICS Countries Will Not Impose Sanctions Against Russia / Sputnik International
    China Willing to Accelerate Launch of Currency Swap With Russia / Sputnik International
    https://en.wikipedia.org/…/Shanghai_Cooperation_Organisation
    Kiev Request For SCO Partner Status Still in Force / Sputnik International
    Pivotal Moment: What Does India, Pakistan Membership in SCO Mean? / Sputnik International
    Indian PM Accepts Pakistani Counterpart's Invite to Visit Pakistan in 2016 / Sputnik International
    India, Pakistan Could Not Afford to Be Left Out of SCO – Think Tank / Sputnik International
    2015 BRICS, SCO Summits in Russia's Ufa / Sputnik International
     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ปอกเปลือก ทรราช
    รถถังหุ่นยนต์รบรุ่น Terminator 2: BMPT-72 กับ T-15 Armata คู่ขา T-14 Armata ของรัสเซียใหม่เอี่ยมแกะกล่อง

    [​IMG]

    -----------
    วันนี้เพื่อเอาใจแฟนเพจคนชอบอาวุธแบบแรงๆ ทันสมัย ล้ำยุคบ้าง จึงขอลงข่าวนี้ แต่เป็นของค่ายรัสเซียนะครับ ปูตินมีมาฝาก เห็นบอกว่า "Terminator 2" นี่เป็นอะไรที่เหมือนกับหุ่นยนต์ในหนังฮอลลิวูตเลยหละ ส่วน T-15 นั้นเป็นน้องเล็กของ T-14 เอาไว้คุ้มครอง T-14 สุดยอดรถถังสมัยใหม่ของรัสเซียซึ่งพึ่งจะเปิดตัวไปอย่างเป็นทางการในงานวัน V-Day เมื่อวันที่ 9 พ.ค.58 ที่ผ่านมานี้เอง แอ็ดมินว่าจะเอามาลงข่าวเล่าให้ฟังหลายวันแล้ว แต่ยังไม่มีโอกาส เพราะมีข่าวด่วนอื่นๆตัดหน้าตลอด จึงรบกวนแฟนเพจบางท่าน (คุณ Noraseth Tanthasiri) ให้ช่วยหาข้อมูลเพิ่มเติมและเขียนให้หน่อย โดยแอ็ดมินจะนำมาลงให้ ไม่ผิดหวังครับ สเป็กของ Terminator 2: BMPT-2 และ กับ T-15 Armata มีดังนี้นะครับ

    [​IMG]

    BMPT-72 "Terminator 2" มีวัตถุประสงค์เพื่อตลาดส่งออก เปิดตัวในงาน Russian Arms Expo 2013 exhibition ที่ Nizhny Tagil เป็นรถหุ้มเกราะ AFV : armored fighting vehicle ทำหน้า
    ยิงสนับสนุนการรบ Fire Support Combat Vehicle ถูกสร้างขึ้นบนแชลซีส์ของรถถังหลัก (MBT) T-72 อาวุธประจำการ ปืนอัตโนมัติ automatic cannons แบบ 2A42 ขนาด 30 มม. 1 คู่ กระสุน
    850 นัด ปรับมุมได้ -5 องศา - 45 องศา มีระบบ electromechanical เพื่อรักษาความเสถียรของปืน ป้อมปืนหมุนได้ 360 องศา cannon ในที่นี่ไม่ได้หมายถึงปืนใหญ่แบบรถถัง แต่ถ้าหากติดตั้ง
    กับเครื่องบินรบจะหมายถึงปืนใหญ่อากาศแบบอัตโนมัติ ปืนกลเบา 7.62 มม. 1 กระบอก ติดตั้งจรวดต่อต้านรถถัง Ataka - T ชนิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ 4 ลูก ปรับมุมได้ -5องศา - 25 องศา ระยะยิง 6
    กม. อานุภาพสามารถทำลายรถถังได้ทุกชนิดบนโลก (เครื่องยิงลูกระเบิดอัตโนมัติ ขนาด 30 มม. แบบ AG-17D 2 กระบอก มีเฉพาะในรุ่น BMPT "Terminator 1")
    มีระบบควบคุมการยิงที่เพิ่ม
    ขึ้นสำหรับการสังเกตภูมิประเทศ และสถานที่เป้าหมายในทุกสภาพอากาศและสภาพแสงใดๆ ทำการรบได้ทั้งกลางวันและกลางคืน พลประจำปืนมีทั้งช่องตรวจสอบด้วยความร้อน และค้นหาด้วย
    เลเซอร์ ( laser range finder) ระบบป้องกันได้ติดตั้งเกราะระเบิดปฏิกิริยาแบบแยกส่วน (ERA) หมายถึงหากโดนโจมตีก็สามารถถอดเกราะตรงจุดนั้นเป็นชิ้นๆ เปลี่ยนเอาของใหม่ติดได้ทันทีไม่
    ต้องส่งซ่อมทั้งคัน และเกราะชนิดระเบิดปฏิกิริยาจะคล้ายๆกับการระเบิดตัวเองเมื่อโดนยิงจากจรวดต่อต้านรถถัง เพื่อลดอำนาจการเจาะเกราะของจรวด T-84oplot M ของไทยก็ใช้เกราะชนิดนี้ ติด
    ตั้งเครื่องยนต์ดีเซลเทอร์โบ 12 สูบ เครื่องยนต์ V-84MS 840 แรงม้า หรือ V-92S2 1,000 แรงม้า ระยะปฏิบัติการสูงสุด 500 กม. เมื่อติดตั้งถังเชื้อเพลิงภายนอก
    T-15 Armata ยานหุ้มเกราะต่อสู้ทหารราบขนาดหนัก HIFV : Heavy Infantry Fighting Vehicle BASEDจะถูกสร้างบนแพลตฟอร์มต่อสู้สากล (Universal Combat Platform) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มขั้นสูงต้นแบบให้กับในรุ่นต่อๆไป อย่างเช่น Kurganets-25 IFV ขนาด 25 ตัน ระบบอาวุธติดตั้งปืน Autocannon 2A42ขนาด 30 มม. ระยะยิง 4กม. 1 กระบอก ระสุน 500นัด (กระสุนเจาะเกราะ 160 นัด กระสุนระเบืดแรงสูง 340 นัด) ปืนกลเบา 7.62 มม. 1กระบอก กระสุน 2,000นัด เครื่องยิงลูกระเบิดอัตโนมัติ ขนาด 30 มม. ติดตั้งจรวดต่อสู้รถถังเอนกประสงค์ Kornet-EM 4 ลูก ที่สามารยิงได้ทั้งเรือผิวน้ำ,เป้าหมายทางอากาศที่บินด้วยความเร็วต่ำ ที่ระยะ 8 - 10 กม. ติดตามเป้าหมายอัตโนมัติ แบบที่เรียกกันว่า "ยิงแล้วลีม" สนับสนุนอุปกรณ์ night-vision และชุดป้องกัน Nuclear, Biological, Chemical (นิวเคลียร์,ชีวะ,เคมี) วางเครื่องยนต์ดีเซลเทอร์โบ A-82-2 ขนาด 1,200 แรงม้า ระยะปฏิบัติการ 550 กม. ระบบป้องกันติดตั้งเกราะเซรามิค,ว้สดุคอมโพสิต,เกราะระเบิดปฏิกิริยา (ERA) มีเซ็นเซอร์และระบบเลเซอร์ตรวจจับ เรดาร์ ในการตรวจสอบขีปนาวุธที่เข้ามา เมื่อตรวจพบการป้องกันจะใช้งานเปิดตัวจรวด interceptor
    เครดิต : Noraseth Tanthasiri
    The Eyes
    11/07/2558
    ----------
    Meet the Terminator 2: Russia's BMPT-2 Combat Vehicle Dazzles at Army-2015 / Sputnik International
    Armata Tank, T-15 Infantry Combat Vehicle The Only to Survive in Modern War / Sputnik International
    Modern Warfare: Russia's T-15, Armata Tank's Younger Brother / Sputnik International
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กรกฎาคม 2015

แชร์หน้านี้

Loading...