ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สหรัฐฯ ขู่ "เลิกเจรจา" ถ้าอิหร่านยึกยักไม่เซ็น “ข้อตกลงนุก” ภายใน 7 ก.ค.
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 6 กรกฎาคม 2558 13:05 น.

    [​IMG]
    @จอห์น เคร์รี รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ออกจากโรงแรมที่พักในกรุงเวียนนาเพื่อไปประชุมร่วมกับ จาวัด ซารีฟ รัฐมนตรีต่างประเทศอิหร่าน วานนี้ (5 ก.ค.)

    รอยเตอร์ – จอห์น เคร์รี รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวเตือนวานนี้ (5 ก.ค.) ว่าวอชิงตันพร้อมที่จะถอนตัวจากการเจรจานิวเคลียร์ หากอิหร่านยังไม่ “ตัดสินใจเด็ดขาด” เพื่อบรรลุข้อตกลงควบคุมนิวเคลียร์ฉบับสมบูรณ์ภายในวันอังคาร (7 ก.ค.) ขณะที่รัฐมนตรีต่างประเทศอิหร่าน จาวัด ซารีฟ ยอมรับว่า ทั้ง 2 ฝ่ายยังมีบางประเด็นที่เห็นต่างและตกลงกันไม่ได้

    “ตอนนี้ยังไม่มีความชัดเจน... เรายังเห็นต่างกันอยู่หลายประเด็น และพยายามอย่างยิ่งที่จะแก้ปัญหา” ซารีฟ ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนวันนี้ (6 ก.ค.)

    การเจรจาระหว่างอิหร่านกับกลุ่มมหาอำนาจ P5+1 ซึ่งได้แก่ สหรัฐฯ จีน รัสเซีย อังกฤษ ฝรั่งเศส บวกเยอรมนี มีเป้าหมายเพื่อสร้างกลไกควบคุมกิจกรรมนิวเคลียร์ของอิหร่านอย่างเป็นรูปธรรมตลอดระยะเวลา 10 ปีข้างหน้า โดยอิหร่านจะได้รับการยกเว้นหรือผ่อนคลายบทลงโทษทางเศรษฐกิจเป็นการตอบแทน

    เคร์รี กล่าววานนี้(5)ว่า ข้อตกลงฉบับสมบูรณ์อาจมีขึ้นได้ภายในสัปดาห์นี้ หากอิหร่านยอม “ตัดสินใจ” อย่างเด็ดขาดในสิ่งที่จำเป็น และหากอิหร่านไม่ทำเช่นนั้น สหรัฐฯ ก็พร้อมที่จะเดินออกจากเวทีเจรจา

    เจ้าหน้าที่อิหร่านให้สัมภาษณ์ต่อสำนักข่าวตัสนีมซึ่งเป็นสื่อกึ่งทางการว่า การเจรจากับมหาอำนาจ P5+1 อาจยืดเยื้อไปถึงวันที่ 9 ก.ค. ซึ่งตรงกับที่นักการทูตตะวันตกบางคนประเมินไว้ แต่ เคร์รี ยืนยันว่า ผู้แทนเจรจาทั้ง 2 ฝ่ายยังตั้งเจตนารมณ์ที่จะบรรลุข้อตกลงให้ได้ภายในวันอังคาร (7) หลังจากที่พลาดเส้นตาย 30 มิ.ย. มาแล้วครั้งหนึ่ง

    [​IMG]
    @โมฮัมหมัด จาวัด ซารีฟ รัฐมนตรีต่างประเทศอิหร่าน( กลาง), อาลี อักบาร์ ซาเลฮี ผู้อำนวยการองค์การพลังงานปรมาณูแห่งอิหร่าน (ซ้าย) และ ฮอสเซ็น เฟเรดูน น้องชายและผู้ช่วยคนสนิทของประธานาธิบดี ฮัสซัน รอฮานี แห่งอิหร่าน

    “กำหนดเส้นตายสุดท้ายคือช่วงกลางดึกวันพุธ หรือไม่ก็เช้าวันพฤหัสบดี” เจ้าหน้าที่เตหะรานเผยกับสำนักข่าวตัสนีม

    รัฐบาลประธานาธิบดี บารัค โอบามา จะต้องนำร่างข้อตกลงนิวเคลียร์ที่ได้ไปยื่นต่อสภาคองเกรสภายในวันที่ 9 ก.ค. เพื่อพิจารณาทบทวนเป็นเวลา 30 วัน

    เคร์รี และซารีฟ ได้ร่วมประชุมหารือกันหลายครั้งเมื่อวันอาทิตย์(5) เพื่อเจรจาต่อรองในประเด็นที่ยังตกลงกันไม่ได้ เช่น การยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรที่องค์การสหประชาชาติมีต่ออิหร่าน และประเภทของงานวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์ที่อิหร่านจะสามารถทำต่อไปได้ ขณะที่รัฐมนตรีต่างประเทศในกลุ่ม P5+1 ชาติอื่นๆ ก็เริ่มเดินทางกลับไปยังกรุงเวียนนาเพื่อหาทางผลักดันข้อตกลงให้สำเร็จทันเวลา

    ด้านผู้แทนจากทบวงการปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) ก็จะมีการหารือกับคณะเจ้าหน้าที่ของอิหร่านในวันนี้(6 )

    มหาอำนาจตะวันตกยื่นเงื่อนไขให้อิหร่านต้องยอมให้ IAEA เข้าไปตรวจสอบโรงงานนิวเคลียร์ และชี้แจงข้อกังขาเกี่ยวกับกิจกรรมนิวเคลียร์ในอดีต ซึ่งต้องสงสัยว่าจะมีจุดประสงค์ทางทหารแอบแฝงอยู่

    สหรัฐฯ และชาติพันธมิตรกล่าวหาว่าอิหร่านใช้โครงการนิวเคลียร์พลเรือนเป็นฉากอำพรางการพัฒนาอาวุธทำลายล้างสูง แต่เตหะรานก็ยืนกรานปฏิเสธมาโดยตลอด

     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ปอกเปลือก ทรราช
    จาก "ต่อต้านรัสเซีย" ก็ลามไปเป็น "ต่อต้านจีน" จีนประกาศเตือนพลเมืองของตนที่เดินทางไปยังตุรกีหลีกเลี่ยงกลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านจีน

    [​IMG]

    -----------
    เมื่อกลางเดือนที่ผ่านมา (17 มิ.ย.58) สื่อฯกระแสหลักของตะวันตกพากันเล่นข่าวว่า "จีนสั่งห้ามชาวมุสลิมถือศีลอดในช่วงเดือนรอมฎอน" ซึ่งกล่าวอ้างโดยผู้นำชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์อุยกูร์ ที่นับถือศาสนาอิสลาม โดยไม่มีหลักฐานใดๆจากทางการจีน แต่คนอุยกูร์และชาวต่างประเทศบางคนก็เชื่อข่าวลือดังกล่าวโดยไม่ใช้วิจารณญาณอะไรเลย
    เข้าสูตรเดิม "การสร้างความขัดแย้งโดยใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือ" มันได้ผลเสมอมา ที่ตุรกีก็มีการลุกฮือประท้วงต่อต้านจีน (anti-China) ขึ้นมา เพราะเป็นประเทศที่ชาวอุยกูร์บางส่วนอพยพจากจีนไปอยู่ที่นั่น และเมื่อวานนี้ (5 ก.ค.58) ทางการจีนจึงออกมาประกาศให้ประชาชนของตนที่จะเดินทางไปยังตุรกีหรือที่อยู่ในตุรกีให้หลีกเลี่ยงไม่เข้าใกล้ม็อบผู้ประท้วงดังกล่าว และไม่ควรเข้าไปถ่ายรูปหรือถ่ายคลิปด้วย เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง
    ข้อสังเกตเวลาสื่อฯตะวันตกเขาเล่นข่าวแบบนี้พร้อมๆกัน เขาจะมีนัยหรือจุดมุ่งหมายบางอยู่ที่แอบแฝงหรือหวังผลอยู่เบื้องหลังด้วยเสมอ ต้องไม่ลืมว่าสมัยนี้จีนกำลังก้าวขึ้นมามีบทบาทเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจโลกเป็นอย่างมาก ทำให้สหรัฐฯไม่พอใจเป็นอย่างมากเช่นกัน จะแปลกอะไรที่สื่อฯตะวันตกและของสหรัฐฯจะนำคำพูดของผู้นำกลุ่มชาติพันธุ์อุยกูร์ออกมาขยาย เผยแพร่ออกไปในลักษณะนี้ เพราะผู้ที่อุ้มหัวหน้ากลุ่มหัวรุนแรงอุยกูร์ก็คือสหรัฐฯนั่นเอง

    [​IMG]

    การเล่นข่าวแบบนี้ของสื่อฯตะวันตกไม่ได้เป็นการเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แม้ว่าโดยผิวเผินภายนอกจะมองอาจจะทำให้บางคนเข้าใจว่าเป็นการเสนอข่าวแบบเข้าข้างชาวอุยกูร์หรือบางศาสนา แต่จริงๆแล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะจุดประสงค์ที่แท้จริงก็คือต้องการให้เกิดความขัดแย้งทางศาสนาขึ้นมา ส่วนพวกหัวรุนแรงหูเบาก็ตกเป็นเครื่องมือของมือที่มองไม่เห็นต่อไป สังเกตดูง่ายๆ เวลาเขานำเสนอข่าวแบบนี้ ส่วนมากเขาจะไม่นำเสนอข่าวหรือภาพอีกมุมหนึ่งของการใช้ความรุนแรงโดยผู้ก่อการร้ายอุยกูร์ที่ไล่เอามีดแทงประชาชนทั่วไปกลางวันแสกๆในมณฑลอุยกูร์ของจีนเลย ซึ่งมีข่าวอยู่บ่อยๆ เพราะถ้าทำอย่างนั้นจุดมุ่งหมายที่ต้องการจะให้มีการลุกฮือต่อต้านจีน โดยมองว่าอุยกูร์เป็นผู้ถูกกระทำแต่ฝ่ายเดียวก็จะไม่มีน้ำหนักมากพอ
    ในขณะเดียวกัน ทางตุรกีหรือแม้แต่สื่อฯของสหรัฐฯและตะวันตกเองกลับไม่เคยออกมาประณามการกระทำที่อุยกูร์บางคนเอามีดไล่แทงทำร้ายประชาชนเลย พวกนี้ก็จะทำเป็นไม่รู้ ไม่ชี้ ไม่เห็น แต่พอมีการปล่อยข่าวลวงออกมาว่าจีนสั่งแบนแค่นั้นแหละ พวกนี้จะพากันกระพือข่าวซะใหญ่โต แม้ว่าทางการจีนจะออกมาปฏิเสธข่าวดังกล่าวว่าไม่เป็นความจริง พวกนี้ก็จะไม่สนใจอีกต่อไป เพราะสามารถปลุกคนให้คลั่งได้แล้ว ก้าวต่อไปก็คือเรียกร้องหรือยื่นเงื่อนไขกดดันจีนต่อไป งานนี้มือที่มองไม่เห็นที่ควบคุมสื่อฯกระแสหลักของตะวันตกได้รับผลประโยชน์สองเด้งคือ 1.) สามารถลดความน่าเชื่อถือของจีนได้ในระดับหนึ่ง 2.) ขยายความขัดแย้งทางศาสนาและกลุ่มชาติพันธุ์เพิ่มขึ้นมาได้ ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาใหญ่อื่นๆอีกมากมาย
    ก็มีหลายคนโดยเฉพาะโปรตะวันตกที่ถูกสื่อฯตะวันตกกรอกหูจนขาดวิจารณญาณในการเสพข่าว ก็เชื่อง่ายๆว่าข่าวที่ออกมาจากสื่อฯตะวันตกนั้นเป็นเรื่องจริงทุกเรื่องๆ แล้วก็พาลโจมตีและต่อต้านจีนในที่สุด วิธีการนี้สหรัฐฯใช้ปลุกระดมปั่นกระแสต่อต้านรัสเซียมาแล้ว วันนี้ก็กำลังขยายออกไปยังการต่อต้านจีน การเมืองโลกก็เป็นอย่างนี้แหละ
    ป.ล.ที่นำเสนอข่าวนี้ไม่ได้ต้องการนำเสนอในแง่มุมของการขยายความขัดแย้งทางศาสนา แต่เพื่อให้รู้เท่าทันเกมของมือที่มองไม่เห็นผ่านสื่อฯของเขา เพราะฉะนั้นต้องขอแสดงความเสียใจต่อบางท่านที่ผิดหวังเพราะไม่สามารถใช้ข่าวนี้ไปจุดชนวดความขัดแย้งทางศาสนาขึ้นมาได้ และขอแนะนำว่าอย่าพยายามดึงมาสู่เรื่องความขัดแย้งทางศาสนาหรือเชื้อชาติเด็ดขาด ถ้าเห็นเม้นในลักษณะนั้นก็จะลบทิ้งทันที นะครับ
    The Eyes
    06/07/2558
    ----------
    China Warns Citizens Traveling in Turkey of Anti-China Protests - People's Daily Online
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ปอกเปลือก ทรราช
    เมื่อสหรัฐฯมีกองทัพ "NATO" ได้ แล้วทำไมจีนกับรัสเซียและพันธมิตรจะมีกองทัพ "SCO" บ้างไม่ได้?

    [​IMG]

    -----------
    มีข่าวเก่าที่น่าสนใจอีกข่าวหนึ่งจะมาเล่าให้ฟัง เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.58 ที่ผ่านมาสำนักข่าว Sputnik news ของรัสเซียพาดหัวข่าวว่า "SCO Members to Sign Defense Ministries' Cooperation Plan for 2016-2017" แปลว่า "ประเทศสมาชิก SCO ลงนามแผนความร่วมมือระดับรัฐมนตรีกลาโหมระหว่างปี 2016-2017" ว้าว! ทำเป็นเล่นไป "ความร่วมมือด้านกลาโหม" คืออะไร? ก็คือด้านกองทัพกำลังทหารสิครับท่าน แล้ว SCO คืออะไร? ชื่อเต็มก็คือ " Shanghai Cooperation Organization" (องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้) เป็นองค์การการเมือง เศรษฐกิจและการทหารในกลุ่มประเทศยูเรเชีย ก่อตั้งในปี 2544 ในเซี่ยงไฮ้ โดยผู้นำจีน คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน รัสเซีย ทาจิกิสถาน และอุซเบกิสถาน เดิมห้าประเทศ ยกเว้นอุซเบกิสถาน เป็นผู้ก่อตั้ง "เซี่ยงไฮ้ไฟฟ์" (Shanghai Five) ในปี 2539 แต่ต่อมาอุซเบกิสถานเข้าร่วมในปี 2544 จึงได้เปลี่ยนชื่อองค์การมาเป็นดังในปัจจุบัน
    โดยรมว.กลาโหมของรัสเซียได้ออกแถลงการณ์ว่า "ในการจัดประชุมในครั้งนี้ ได้มีการวางแผนเพื่อที่จะลงนามในแผนความร่วมมือของรัฐมนตรีกลาโหมระหว่างปี 2016-2017 เช่นเดียวกับการยอมรับเอกสารเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะอนุญาตให้มีการปรับปรุงระดับความร่วมมือระหว่างหน่วยงานด้านความมั่นคงภายในองค์การ" (ยังไม่ชัด งั้นอ่านต่อนะ...)
    แถลงการณ์กล่าวเพิ่มเติมว่า "รัฐมนตรี (กลาโหม) จะพูดคุยกันถึงประเด็นต่างๆที่เกี่ยวกับความมั่นคงทั้งระดับนานาชาติและในภูมิภาค และการตอบโต้ของพันธมิตรองค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ต่อการท้าทายและภัยคุกคามรูปแบบใหม่" (ชัดขึ้นมาอีกนิด นี่ไม่ใช่เรื่องเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียวซะแล้ว ถ้าต้องการจะให้เศรษฐกิจและผลโยชน์ของตนและประเทศสมาชิกมีความมั่นคงก็ต้องพึ่งพากองทัพด้วย ดูสหรัฐฯและยุโรปเป็นตัวอย่าง)
    รมว.กลาโหมของรัสเซียได้เน้นย้ำว่า "จะมุ่งความสนใจไปที่กิจกรรมภาคปฏิบัติเป็นการพิเศษ ซึ่งมุ่งไปที่การใช้กองกำลังของ SCO และวิธีการต่างๆเพื่อทำให้เกิดสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค" (อันนี้ชัดมาก... มีคำว่า "the SCO forces" ด้วย การประชุมในเรื่องนี้จะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ นอกจากการรวมตัวกันจัดตั้งกองกำลังผสมในชาติสมาชิกของ SCO ขึ้นมา ก่อนหน้านี้ทางรัสเซียได้ออกมาบอกว่ากลุ่ม BRICS หรือยูเรเซียจะไม่มีการจัดตั้งกองกำลังแบบนาโต้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีความร่วมมือระหว่างกองทัพของประเทศเหล่านี้เลย ส่วนเมื่อร่วมมือกันแล้วจะเป็นไปในรูปแบบใดนั้น ก็ต้องจับตาดูต่อไป เชื่อว่างานนี้ทั้งสหรัฐฯและนาโต้จ้องตาไม่กระพริบแน่)
    รายงานข่าวบอกว่ารัสเซียจะเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับผู้นำประเทศในกลุ่ม BRICS และองค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ขึ้นที่เมือง Ufa ระหว่างวันที่ 8-10 กรกฎาคมอีกไม่กี่วันที่จะถึงนี้ เรื่องนี้เรื่องใหญ่เลยนะนี่ รัสเซียพึ่งจัดประชุมด้านเศรษฐกิจที่เมืองเซ้นต์ปีเตอร์สเบิร์กไปหยกๆเอง คราวนี้จะประชุมระดับผู้นำประเทศในกลุ่มพันธมิตรทั้ง BRICS และ SCO ด้วย (ก็เมื่อสหรัฐฯยังจัดประชุม G7 ได้แล้วทำไมจีนกับรัสเซียและพันธมิตรจะจัดประชุดระดับผู้นำของ BRICS และ SCO บ้างไม่ได้หละ?)
    และวันนี้ (6 ก.ค.58) Sputnik news ก็ลงข่าวอีกว่า Chen Gopin รมช.ต่างประเทศของจีนแถลงข่าวกับสื่อฯว่า "ปธน.สี จิ้นผิง และปธน.วลาดิมีร์ ปูติน จะเจรจาความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีร่วมกัน ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศ รวมทั้งโครงการพิเศษอื่นๆจะนำเข้าสู่วาระการประชุมด้วย (ที่น่าสนใจก็คือคำว่า "โครงการพิเศษอื่นๆ" นี่แหละ มันชวนให้น่าติดตาม อยากรู้อยากเห็นซะจริงๆ) นอกจากนี้แล้ว ผู้นำทั้งสองจะมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันเกี่ยวกับประเด็นปัญหาหลักทั้งระดับโลกและระดับภูมิภาค" ซึ่งการเจรจาดังกล่าวจะจัดขึ้นในการประชุมระดับผู้นำของกลุ่ม BRICS และ SCO ที่เมือง Ufa ระหว่างวันที่ 8-10 ก.ค.ตามที่แจ้งแล้วนั่นเอง
    อ้อ… ว่าจะเล่าข่าวความคืบหน้าของธาคาร AIIB ให้ฟังตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมาแล้ว แถมให้อีกนิดหนึ่งว่า แม้ว่ารัสเซียจะเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ AIIB เกือบสุดท้ายแต่ เมื่อปลายเดือนมิถุนายนนี้ จีนประกาศให้รัสเซียเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นอันดับที่สามในธนาคาร AIIB โดยอันดับหนึ่งนั้นคือจีนถือหุ้นอยู่ที่ 297,804 หุ้น คิดเป็น 30.34% มีสิทธิ์ในการโหวตที่ 26.6% อันดับต่อมาคืออียู (ฮะ! มาได้ไง? รู้จักตะวันตกน้อยไปซและ ตอนแรกนึกว่าจะมาเป็นรายประเทศ สุดท้่ายยกมาทั้งขบวนเลย และยังมีแยกเป็นรายประเทศอีกต่างหาก แต่จีนก็รู้ทันเกมพวกอียูจึงให้ถือหุ้นได้ แต่ไม่ให้อียูสิทธิ์โหวตซักเปอร์เซ็นเดียว คริๆ ยกเว้นเป็นรายประเทศ ยังไงซะอียูก็กินเฮียสีไม่ลงหรอกงานนี้ คิดจะใช้วิชามารหวังฮุบ AIIB หละสิ ลูกไม้ตื้นๆ ฝันไปเหอะ)
    ดังนั้นอันดับที่สองจึงเป็นของอินเดียถือหุ้น 8.52% และมีสิทธิ์โหวต 7.50% และอันดับที่ 3 ก็คือรัสเซียถือหุ้นที่ 6.66% มีสิทธิ์โหวต 5.93% ตามด้วยเยอรมัน เกาหลีใต้… พี่ไทยเราอยู่อันดับที่ 16 ถือหุ้น 14,275 หุ้นคิดเป็น 1.45% มีสิทธิ์โหวด 1.50% (ดูภาพสุดท้ายประกอบ)
    The Eyes
    06/07/2558
    ----------
    SCO Members to Sign Defense Ministries' Cooperation Plan for 2016-2017 / Sputnik International
    BRICS Reserve Fund to Start Work 30 Days After Ratification / Sputnik International
    Russian, Chinese Leaders to Discuss Economic Cooperation / Sputnik International
    Russia Becomes Third Biggest Shareholder in China-Led AIIB / Sputnik International
    https://en.wikipedia.org/wiki/Asian_Infrastructure_Investment_Bank
    Russia launches coins for BRICS, SCO summits in Ufa[1]- Chinadaily.com.cn
     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ปอกเปลือก ทรราช
    ภาคประชาชนและองค์กรเอกชนของสหรัฐฯเริ่มตื่นตัวรณรงค์รายชื่อเรียกร้องให้สหรัฐฯและยุโรปร่วมมือกับกลุ่ม BRICS เพื่อลดการเผชิญหน้ากับรัสเซียและจีน

    [​IMG]

    -----------
    เดี๋ยวขอเล่าข่าวนี้ก่อนนะครับ เห็นว่ามีความต่อเนื่องกับโพสต์ล่าสุดก่อนหน้านี้ที่พูดถึงเรื่องการประชุมของกลุ่ม BRICS กับ SCO จากนั้นค่อยมาสรุปข่าวเกี่ยวกับ "กรีซ VS ทรอยก้า ภาคสอง" ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาจนถึงสถานการณ์ล่าสุด ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างก็งัดกลยุทธออกมาสู้กันยิบตาเลยก็ว่า (แอะ… พูดให้น่าติดตามอีกหละ คริๆ)
    วันนี้ (6 ก.ค.58) สำนักข่าว Sputnik news ลงข่าวว่ามีการรณรงค์รายชื่อเรียกร้องให้สหรัฐฯหยุดนโยบายใช้นาโต้ต่อต้านรัสเซียและจีน ซึ่งอาจจะนำไปสู่สงครามนิวเคลียร์ที่ร้ายแรงได้

    [​IMG]

    วันนี้ นาง Helga Zepp LaRouche ชาวเยอรมันผู้ก่อตั้งสถาบัน Schiller Institute และเป็นภรรยาของกิจกรรมทางการเมืองของสหรัฐฯออกมาทำการรณรงค์ทั่วโลกเพื่อให้มีการสร้างความร่วมมือกับกลุ่ม BRICS ทั่วอเมริกาเพื่อเป็นการเน้นย้ำถึงอันตรายของการเผชิญหน้ากับรัสเซียและจีน
    การรณรงค์ดังกล่าวมีชื่อว่า "มติเรียกร้องแก้ไขปัญหาให้สหรัฐฯและยุโรปที่ปฏิเสธรัฐภูมิศาสตร์และความร่วมมือกับกลุ่ม BRICS" (Resolution Calling for the US and Europe to Reject Geopolitics and Collaborate with the BRICS) ซึ่งริเริ่มโดยสถาบัน Schiller Institute โดยเรียกร้องให้กรุงวอชิงตันและสหภาพยุโรปร่วมมือกับกลุ่มเศรษฐกิจ BRICS เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจโลก ตอนนี้มีผู้ลงนามแล้วมากกว่า 2,000 รายชื่อทั้งในสหรัฐฯและในต่างประเทศ (อย่าพึ่งบอกว่าน้อยจัง... หละ เข้าไปตรวจดูเว็บไซต์ของพวกเขาแล้ว ผู้ที่ร่วมลงรายชื่อนั้นมีแต่บุคคลสำคัญในหลายวงการทั้งนั้น นี่ไม่ใช่เรื่องเล่นๆแน่)
    ผู้ก่อตั้งสถาบันฯ ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว RIA Novosti ของรัสเซียว่า จุดประสงค์หลักของ [การรณรงค์] นั้นก็เพื่อทำให้ภาคประชาชนตื่นรู้ ว่ามีทางเลือกให้กับนโยบายปัจจุบันที่เป็นการเผชิญหน้ากับรัสเซียและจีน"
    ตามความคิดเห็นของ Zepp LaRouche นั้นก็คือ ปัจจุบันนี้โลกกำลังเผชิญหน้าภัยคุกคามร้ายแรงที่เชื่อมต่อกันอยู่สองอย่างคือ: การล่มสลายของระบบทรานสแอตแลนติก และภัยคุกคามจากสงครามนิวเคลียร์ที่ร้อนแรงซึ่งจุดชนวนโดยนโยบายปัจจุบันของนาโต้ที่มีต่อรัสเซียและจีน ซึ่งจะนำไปสู่การสูญสิ้นของมนุษยชาติได้ (the extinction of mankind)
    Zepp LaRouche เน้นย้ำว่า "กลุ่มประเทศ BRICS ได้นำเสนอโมเดลใหม่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในการสร้างความร่วมมือร่วมกัน ซึ่ง (ถือว่า) เป็นสาระสำคัญของการจัดระเบียบโลกใหม่ (the essence of the new world order)" (นี่คือ NWO ในความหมายและแนวทางของกลุ่ม BRICS ซึ่งจะต่างจากของฝั่งสหรัฐฯที่เน้นความเป็นเผด็จการ จ้าวโลกแต่เพียงผู้เดียวโดยใช้กองทัพที่แข็งแกร่งของตนและการกดดันชาติอื่นที่ไม่ยอมก้มหัวให้ด้วยการแซงชั่นนำหน้า)
    Zepp LaRouche กล่าวเพิ่มว่า "โมเดลนี้มีความดึงดูดน่าสนใจมาก เนื่องจากได้แสดงให้เห็นถึงข้อตกลงร่วมกันทางเศษรษฐกิจที่มีมูลค่ามหาศาล และแม้กระทั่งกลุ่มประเทศในยุโรปบางประเทศก็ยังเข้าร่วมในการประชุมสุดยอดที่ Forteleza ประเทส Brazil เมื่อปีที่ผ่านมานี้"
    คงไม่ต้องอธิบายซ้ำบ่อยๆ แล้วนะครับว่ากลุ่ม BRICS คือกลุ่มไหนหรือมีกี่ประเทศ ที่บอกว่าข่าวนี้เป็นอีกข่าวหนึ่งที่น่าสนใจก็คือการเคลื่อนไหวต่อต้านและคัดค้านนโยบายที่ก้าวร้าวของกรุงวอชิงตันและมหาอำนาจในยุโรป (บางประเทศ) ที่ดำเนินนโยบายตามสหรัฐฯ (อาจจะเป็นเพราะไม่มีทางเลือก หรือเป็นเพราะเห็นดีเห็นงามกับสหรัฐฯก็แล้วแต่) หากประชาคมโลกต่างก็พากันออกมาเคลื่อนไหวในลักษณะนี้ ย่อมมีผลการต่อการดำเนินโยบายของสหรัฐฯแน่นอน ดูกรณีของสงครามเวียตนาม และสงครามอิรัคเป็นตัวอย่าง สหรัฐฯไม่กล้าที่จะก่อสงครามใหญ่ในทั้งเวียตนามและอิรัคต่อไป หลังจากที่เกิดการประท้วงใหญ่ขึ้นในทั้งสหรัฐฯและในต่างประเทศทั่วโลก
    แต่นั่นกว่าจะเกิดการตื่นรู้จากภาคประชาชนได้จำนวนมากขนาดนั้น ทั้งเวียตนามและอิรัคก็สูญเสียไปจนไม่อาจะฟื้นฟูให้เหมือนเดิมได้อีกต่อไป (ยกเว้นเวียตนามซื่งใช้ระยะเวลาหลายสิบปีมากนั่นเพราะสหรัฐฯถอนตัวออกจากเวียตนามโดยสิ้นเชิง แต่ในกรณีของอิรัคนั้น ยังไม่มีวี่แววว่าจะสงบเพราะกองทัพสหรัฐฯยังอยู่ในอิรัคเป็นนำนวนมาก) ก็ดูต่อไปว่าการรณรงค์ครั้งนี้จะสามารถเรียกร้องให้ประชาชนชาวอเมริกันตื่นรู้ได้มากน้อยแค่ไหน
    เพราะอย่าลืมว่าผู้ที่คุมสื่อฯกระแสหลักของสหรัฐฯและตะวันตกนั้นก็คือกลุ่มทุนที่ชักใยอยู่เบื้องหลังของรัฐบาลเหล่านั้น ครั้นจะให้สหรัฐฯหันมาร่วมมือกับรัสเซียและจีนนั้นคงจะเป็นไปได้ยาก สิ่งที่เห็นว่าพอจะเป็นไปได้ก็คือ ต่อไปการเมืองโลกจะเป็นแบบหลายขั้วอำนาจ เช่นระบบเศรษฐกิจ การเงิน ธนาคาร กองทัพ จะไม่ใช่แบบสหรัฐฯปะทะโซเวียตเหมือนในอดีตอีกต่อไป หากสหรัฐและนาโต้ต้องการที่จะโดดเดี่ยวรัสเซียกับจีน งั้นกลุ่ม BRICS และพันธมิตรก็จะสร้่างระบบของตนขึ้นมาใช้ใหม่ซึ่งเป็นระบบทางเลือกแทนระบบหลักที่กุมมบังเหียนโดยสหรัฐฯและอียู เมื่อได้รับความนิยมมากขึ้นก็อาจจะกลายเป็นระบบหลักของโลกอีกระบบหนึี่งก็ได้
    The Eyes
    06/07/2558
    ----------
    US Petition on BRICS Warns Against NATO Confrontation With Russia, China / Sputnik International
    http://larouchepac.nationbuilder.com/petition…
     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Thanong Fanclub

    [​IMG]

    เสร็จนาฆ่าโคถึก เสร็จศึกฆ่าขุนพล
    Yanis Varoufakisประกาศลาออกแล้วจากตำแหน่งรมวคลังกรีซ โดยอ้างว่าต้องการให้นายกซิปราสทำงานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ในการเจรจาแผนฟื้นฟูฐานะการเงินกรีซกับเจ้าหนี้ เพราะเป็นที่ชัดเจนว่าเจ้าหนี้ไม่ต้องการร่วมโต๊ะเจรจากับVaroufakis เขาต้องการใช้ผลพลอยได้จากประชามติกรีซที่ปฏิเสธแผนแก้วิกฤติหนี้กรีซของเจ้าหนี้เพื่อเสริมอำนาจการต่อรองของซิปราส แต่เขายอมรับความจริงว่าการที่จะให้ซิปราสทำงานได้ดีที่สุด คือเขาต้องลาออก
    หรือว่าม้าไม้ของพวกนายแบงค์ยุโรปถูกจับได้ และถูกกำจัดเพิ่อเปิดทางให้กรีซออกจากยูโร เพราะVaroufakisไม่เคยคิดที่จะให้กรีซออกจากยูโร ซึ่งเป็นวิธีการแก้ปัญหากรีซอย่างถูกต้องและถาวร?
    Thanong
    6/7/2015
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Thanong Fanclub

    [​IMG]

    ม้าไม้เมืองเอเธนส์
    ประชาชนชาวกรีกลงประชามติไม่เอาแผนฟื้นฟูของเจ้าหนี้ หรือเท่ากับเป็นการปฏิเสธยูโรไปแล้ว แต่ไม่ได้ทำให้ฐานะของศรีปราชญ์ดีขึ้นอย่างไร
    ฮ่วย!
    เพราะว่าศรีปราชญ์ยังคงจะเดินหน้าเจรจาแก้ปัญหาหนี้กับเจ้าหนี้ยุโรปอีก มิหนำซ้ำรมวคลังศรีธนญชัยโดนสังเวย เพราะว่าเจ้าหนี้ทรอยก้าบอกว่าไอ้นี่กวนตีนมาก ถ้าให้อยู่ครม.ต่อไปจะไม่เจรจาด้วย ศรีปราชญ์เลยต้องเอานายยูคลิด ซาคาโลตอสมาแทนเป็นรมว.คลังคนใหม่เพื่อเปิดการเจรจาแก้ปัญหาหนี้เพื่อจะได้รับเงินก้อนใหม่จากทรอยก้า เวลาก็งวดเข้ามาทุกที เพราะว่าแบงค์ยังเปิดทำการไม่ได้ เพราะว่าไม่มีเงินเหลือให้คนฝากเงินถอน
    ทะแม่งๆ
    ชักไม่แน่ใจว่าศรีปราชญ์&ศรีธนญชัยเล่นละครลิงให้เราดูหรือเปล่า ทั้งศรีปราชญ์&ศรีธนญชัยได้แรงหนุนจากประชาชนชาวกรีกแล้วในการปฏิเสธแนวทางของเจ้าหนี้ยุโรป แต่ทำไมศรีธนญชัยเขียนใบลาออกผ่านบล๊อคของตัวเองโดยบอกว่าเจ้าหนี้ยุโรปไม่ต้องการให้เขาร่วมโต๊ะเจรจาด้วย เขาเลยขอหลีกทางเพื่อให้ศรีปราชญ์สามารถทำงานสะดวกขึ้น
    แสดงว่าศรีธนญชัยยังคงหัวชนฝา เดินแนวทางเดียวที่จะให้กรีซอยู่ต่อในเขตยูโร รวมทั้งศรีปราชญ์ก็คิดอย่างนี้ คือจะเดินอยู่ในกรอบของเจ้าหนี้ต่อไป ทั้งๆที่มีทางเลือกที่จะออกจากเขตยูโรเพื่อแก้ปัญหากรีซอย่างถาวร ตามแนวทางที่ประเทศไอซ์แลนด์เคยแก้มาแล้ว และได้ผลคือ
    1. หยุดการจ่ายหนี้
    2. ยึดแบงค์เป็นของรัฐ
    3. ใช้มาตรการควบคุมเงินไหลออก
    4. กลับไปพิมพ์Drachma
    5. ขอเงินกู้จากรัสเซีย จีน หรือกลุ่มBRICSแทน ซึ่งพร้อมให้ความช่วยเหลืออยู่แล้ว
    วิธีการออกจากเขตยูโรนี้ นายPaul Krugman และJoseph Stiglitz นักเศรษฐศาสตร์รางยัลโนเบล รวมทั้งอดีตรมว.คลังของไทยคุณธีระชัย ภูวนาถนรานุบาลก็เห็นด้วย เพราะว่าจะเป็นการแก้ปัญหากรีซอย่างถาวร คือยอมเจ็บครั้งเดียว แต่ได้อำนาจอธิปไตยในการบริหารนโยบายการเงินกลับคืนมาแทนที่จะอยู่ในเขตยูโรเหมือนอย่างประชาชนชั้น2 ติดหนี้เจ้าหนี้เหมือนคนติดยา และต้องพึ่งพาบรัสเซลล์ไปตลอดกาล
    แต่ดูเหมือนว่าศรีปราชญ์จะพยายามเดินหน้าคุยกับเจ้าหนี้ต่อ ถ้าเป็นเช่นนั้นอำนาจการต่อรองจะไม่มี เพราะว่าเยอรมันแสดงทีท่าเหยียดหยามกรีซทันทีที่ผลประชามติออกมา ผลโหวตโนอย่างนี้แสดงว่าพวกยูไม่ต้องการคบกับพวกไอแล้ว จะมาเจรจาอะไรกันอีก ธนาคารกลางยุโรปยังคงดึงเกมไม่ให้เงินกู้สภาพคล่องแก่ระบบธนาคารของกรีกที่ถอนถอนเงินจะจะหมดตู้เชฟแล้ว
    การกลับไปหาเจ้าหนี้เพื่อเจรจาใหม่ ใช่ว่าศรีปราชญ์จะได้ดีลที่จะช่วยให้กรีซฟื้น เพราะว่าเจ้าหนี้จะยอมลดหนี้ให้อย่างมาก30%ตามสูตรกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และต้องได้เงินกู้ใหม่มา10,000ล้่านยูโรปีนี้ และ50,000ล้านอีก3ปีข้างหน้า ถึงจะแก้ปัญหาให้พอประคองตัวได้ ความจริงกรีซต้องได้ลดหนี้50-60%ด้วยซ้ำ รวมทั้งขยายเวลาการชำระหนี้ออกไปนานๆ สูตรของเจ้าหนี้ไม่มีทางช่วยให้กรีซฟื้น เพราะว่ากรีซจะต้องเดินในกรอบที่เคร่งครัด ไม่มีความยืดหยุ่นในการแก้ปัญหา
    การออกจากเขตยูโรเพื่อไปใช้Drachmaอย่างน้อยทำให้กรีซมีอำนาจอธิปไตยทางการเงิน Drachmaอาจจะร่วงเหมือนค่าเงินบาทหลังวิกฤติต้มวำกุ้ง แต่หลังจากนั้นจะฟื้น ซึ่งจะช่วยการส่งออกเกษตรและการท่องเที่ยว รัฐบาลสามารถขอเงินกู้จากBRICSมาทำโครงสร้างพื้นฐาน หรือให้BRICSมาลงทุนแทน ธนาคารกลางของกรีซสามารถทำสว๊อปกับเงินหยวน เพิ่มหยวนในระบบ ค่าเงินDrachmaจะค่อยๆมีเสถียรภาพมากขึ้น
    ต้องวัดใจศรีปราชญ์ว่าจะเดินเกมต่อไปอย่างไร แต่เท่าที่เห็น เกรงว่าทั้งศรีปราชญ์และศรีธนญชัยอาจจะเป็นม้าไม้ของนายแบงค์ยุโรปที่ต้องการให้ประเทศยุโรปทั้งหลายสร้างหนี้จนกลายเป็นวิกฤติ ให้เป็นโคม่าแต่ไม่ให้ตาย และไม่ให้ออกจากยูโร แต่ให้อยู่ใต้้อำนาจของบรัสเซลล์และธนาคารกลางยุโรปเหมือนทาส อันจะนำไปสู่การสร้างสหรัฐยุโรปขึ้นมา เหมือนสหรัฐอเมริกาที่มีการรวมบรรดารัฐต่างๆเป็นประเทศ
    ทั้งศรีปราชญ์และศรีธนญชัยเป็นพวกหัวเอียงซ้าย หรือคอมมิวนิสต์ เรารู้ดีว่าโรมเป็นเจ้าตำหรับลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยมีศูนย์กลางองค์กรคอมมิวนิสต์สากลที่เมืองเจนิวาอยู่ใต้อานัติ เมื่อเป็นเช่นนี้ ใครกันแน่ที่เล่นเกมม้าไม้เมืองเอเธนส์
    thanong
    7/7/2015
    โอกาสและอนาคตกรีซยังมืดมน.......
    1.
    กรีซอาจต้องพิมพ์เงินใหม่เป็นเงินคู่ขนาน หรือเรียกว่า currency parallel ที่อาจเป็นเงินยโรฉบับละ 20ยูโรหรือในรูปแบบใหม่ เพื่อช่วยให้มีเงินหมุนเวียนในมือประชาชน แต่อาจต้องเสี่ยงกับเงินเฟ้อที่พุ่งสูงรุนแรงเนื่องจากวิกฤติการเงินที่เกิดขึ้นอาจมีทุนสำรองไม่เพียงพอกับการพิมพ์ธนบัตรครั้งใหม่นี้ โดยหวังเป็นทางรอดระยะสั้นก่อนที่จะมีเงินกู้ช่วยเสริมสภาพคล่องเข้ามารอบใหม่ระหว่างเจรจากับเจ้าหนี้ ท่ามกลางสถานการณ์ทางการเงินในประเทศที่เหือดแห้งอย่างหนัก ส่งผลให้กรีซเลื่่อนเปิดทำการแบงก์อีก2วัน โดยลดวงเงินเบิกถอนผ่านATMเหลือแค่วันละ 20ยูโร จากเดิม 60ยูโรขณะที่แบงก์เล็กบางแห่งยังคงเปิดให้ถอนเงินบำเหน็จบำนาญรายย่อย ในขณะเดียยวกันธนาคารกลางยุโรป(อีซีบี)ประชุมฉุกเฉินที่แฟรงค์เฟิร์ตเมื่อวันจันทร์ตัดสินใจไม่เพิ่มวงเงินช่วยสภาพคล่องฉุกเฉินต่อกรีซ
    2.
    2ผู้นำยุโรปฟรังก์ซัว ออลลอง ปธน.ฝรั่งเศสและแองเกลา เมอร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมัน เปิดเผยหลังการพูดคุยที่ปารีสเมื่อวันจันทร์ พร้อมเปิดเจรจากับกรีซหลังจากผลประชามติออกมาแล้ว โดยขอให้เสนอแผนทางการเงินใหม่ที่มีความเป็นไปได้ต่อกลุ่มเจ้าหนี้ แต่คาดว่าการพิจารณาควยังไม่มีข้อยุติโดยเร็ว ขณะเดีnยวกันยืนยันว่าไม่ได้ต้องการยียคั้นให้กรีซต้องออกจากยูโรโซน ทั้งนี้ผลประชามติโหวตโน 61.31%ไม่ยอมรับแผนช่วยเหลือเงินกู้ต่างประเทศเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ส่วนการโหวตเยสอยู่ที่ 39.69%
     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Thanong Fanclub

    [​IMG]

    เด็กๆภายใต้การกำกับของโรม
    ศรีปราชญ์&ศรีธนญชัยเป็นเด็กของโรมหรือไม่ ไม่นานคงจะเห็นได้ชัด แต่นายJoe Manuel Barroso อดีตผู้อำนายการคณะกรรมการยุโรป หรือEuropean CommissionและนายMario Draghi ผู้ว่าการธนาคารกลางของยุโรปในปัจจุบันเป็นเด็กของโรมชัวร์ๆที่ทำหน้าที่ต่อจิ๊กซอเพื่อสร้างสมาพันธ์แห่งชาติยุโรป หรือFederation of Nation Statesโดยประเทศในยุโรปจะหมดความเป็นชาติ แต่จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของโรม
    เวลาทำงานใหญ่ โรมชอบใช้งานพวกคอมฯ เพราะว่าใจเด็ด มุทะลุดุดัน บ้าดีเดือด
    นายBarrosoเป็นคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงระดับดีกรีเหมาอีสท์ (Maoist) ได้รับรางวัลเป็นผู้นำโปรตุเกส และผู้อำนวยการใหญ่ของคณะกรรมการยุโรป ตำแหน่งแบบนี้โดยปกติแล้ว เขาจะไม่ให้พวกคอมฯหัวรุนแรง แต่ทำไมนายBarrosoถึงไปถึงดวงดาวได้ ถ้าไม่ได้รับแรงหนุนจากโรม
    ส่วนนายศรีปราชญ์&ศรีธนญชัยก็มีหัวเอนเอียงซ้ายมาทางลัทธิคอมฯ โดยที่ศรีปราชญ์อาจจะชัดเจนมากกว่า พวกคอมฯเวลาขึ้นเป็นใหญ่จะมาเพื่อทำลายโครงสร้างเดิม ศรีปราชญ์อาจจะพยายามเลี้ยงอาการโคม่าเศรษฐกิจกรีซให้นานเพื่อให้ระบบเศรษฐกิจและการเงินพังเพื่อทำลายฐานของชนชั้นสูงของกรีซก็ได้ตามความเชื่อของตัวเองที่ต้องการสังคมไม่มีชนชั้น แต่หลังจากนั้นจะยกกรีซให้กับโรมภายใต้อาณาจักรใหม่ที่ใหญ่ขึ้นคือสมาพันธ์แห่งชาติยุโรป?
    จะเห็นได้ว่าเมืองไทยที่วุ่นวายทางการเมืองก็เพราะพวกหัวคอมฯที่ฝังตัวในมหาวิทยาลัย นักวิชาการ สื่อ นักการเมือง นักธุรกิจ นักเคลื่อนไหว เอ็นจีโอฯลฯ ระดับหมอก็หลายคน พวกนี้โดนหลอกใช้เหมือนกัน โดยจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม คือต้องการทำลายฐานของชนชั้นสูงเมืองไทย โดยหารู้ไม่ว่าเวลาฐานข้างบนพัง ประเทศไทยจะอ่อนแอล่มจม อันนำไปสู่การครอบงำของพวกต่างชาติที่เป็นตัวแทนของพวกNWO ไทยโดนแซะมาตั้งแต่2475แล้ว พวกนี้ยังเดินหน้าช่วยช่างชาติแซะประเทศต่อจนจะพังอยู่แล้ว
    เมื่อ4ปีที่แล้ว ผมเคยเขียนเอาไว้ว่า:
    วันที่ 12 กันยายน 2012 นาย โฮเซ่ มานุเอล บาร์โรโซ่ (Jose Manuel
    Barroso) ผู้อำนวยการคณะกรรมการยุโรป (European Commission)
    ออกมาประกาศว่ายุโรปต้องรวมตัวกันหนาแน่นยิ่งขึ้นเพื่อที่จะแก้วิกฤตหนี้
    ด้วยการสร้างสมาพันธ์แห่งชาติยุโรป (Federation of Nation States)
    หรือสหรับแห่งยุโรปนั่นเอง
    วันที่เขาประกาศอย่างเป็นทางการที่จะสร้างสหรัฐแห่งยุโรปนี้ตรงกับวันที่ศาลรัฐธรรมนูญเยอรมันลงมติว่าการที่เยอรมันเข้าร่วมตั้งกองทุนกลไกเสถียรภาพแห่งยุโรป(European Stability Mechanism) ซึ่งมีขนาด 500,000 ล้านยูโรและการเข้าร่วมสนธิสัญญาการคลังกับสหภาพยุโรปไม่ผิดหลักรัฐธรรมนูญเยอรมันเพียงแต่ว่ารัฐสภา (Bundestag) ต้องลงมติรับรองอย่างเป็นทางการ
    นายบาร์โรโซ่เคยดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตีโปรตุเกสมาก่อน
    เขาผ่านการศึกษาจากมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ (Georgetown University)
    ที่กรุงวอชิงตันดีซี สหรัฐอเมริกา สมัยเรียนหนุ่มๆ
    เขาเข้าร่วมกับพวกเหมาอิสท์ใต้ดินเพื่อต่อสู้กับนักศึกษาที่อยู่ภายใต้พรรคคอมมิวนิสต์อีกค่ายหนึ่ง
    ต่อมาเขาเล่นการเมืองด้วยการสังกัดพรรคคอมมูนิสต์ของผู้ใช้แรงงานโปรตุเกส(Portuguese Workers' Communist Party)
    ก่อนที่จะย้ายพรรคมาอยู่พรรคสังคมประชาธิปัตย์ (Social Democrat Party)
    เขาเคยให้สัมภาษณ์ว่าระบบการศึกษาสมัยที่เขาเรียนหนังสืออยู่ยุให้
    "นักศึกษารบกับผู้ใช้แรงงาน และยุให้ชนใช้แรงงานรบกับนักศึกษา."
    จากอดีตเหมาอิสท์คอมมูนิสต์โปรตุเกสตอนนี้กลายเป็นผู้คุมบังเหียนสหภาพยุโรปกำลังต้อนประเทศสมาชิกให้ละทิ้งอำนาจอธิปไตยและความเป็นประเทศเพื่อเข้าร่วมเป็นสหรัฐแห่งยุโรป
    นายมารีโอ ดรากี (Mario Draghi)กรรมการผู้จัดการใหญ่ของของธนาคารกลางแห่งสหภาพยุโรปเป็นคนที่มีอำนาจมากที่สุดในยุโรปคนหนึ่ง เพราะว่าเขากำลังจะใช้อำนาจพิมพ์เงินยูโรเพื่อช่วยประเทศที่ประสบวิกฤตการเงินเช่นเสปน อิตาลี
    ดรากีเป็นชาวอิตาเลี่ยนและเป็นถึงอดีตผู้ว่าการธนาคารกลางอิตาลี
    และกรรมการผู้จัดการของGoldman Sachs นายดรากีผ่านการศึกษาอบรมจากMassimiliano Massimo Institute ซึ่งเป็นสถานศึกษาสำนักเยซูอิทของโรม
    แม้ว่าจะถูกเยอรมันนีคัดค้านนายดรากีเตรียมพิมพ์เงินยูโรเพื่ออุ้มพันธบัตรเสปนและอิตาลีที่กำลังล้มละลายเนื่องจากแบงค์ถือพันธบัตรรัฐบาลเป็นส่วนมากเป็นทุนสำรองการอุ้มพันธบัตรรัฐบาลก็คือการอุ้มแบงค์ดีๆนี่เอง
    แต่เสปนและอิตาลีต้องเซ็นสละอำนาจอธิปไตย ทั้งการคลัง (fiscal union)
    การธนาคาร (banking union) และในที่สุดความเป็นประเทศ (political union)เพื่อแลกกับเงินช่วยเหลือจากธนาคารกลางแห่งชาติยุโรปและกองทุนเสถียรภาพยุโรป
    การรวมยุโรปเป็นสหรัฐแห่งยุโรปก็เพื่อจะเกลี่ยความร่ำรวยจากประเทศยุโรปเหนือ(เยอรมัน เนเธอร์แลนด์ ฟินแลนด์) ไปให้ประเทศยุโรปใต้ (เสปน โปรตุเกส อิตาลี กรีซ และฝรั่งเศส) ที่มีความสามารถในการแข่งขันน้อยกว่า
    ประเทศยุโรปใต้ไม่มีทางเลือกเพราะว่าหนี้สูงล้นพ้น ว่างงานไปทั่ว
    เศรษฐกิจติดลบ ถ้าออกจากยูโร ยิ่งจะพัง ระบบแบงค์กำลังพังเงินยูโรในระบบกำลังถูกโอนออกนอกประเทศถ้าเลือกที่จะอยู่จะได้เงินการการพิมพ์เงินยูโรจากนายดรากีแต่ต้องแลกกับความเป็นประเทศที่ต้องมีอันสิ้นสุดลง
    เกมนี้กำลังดำเนินไปอย่างเข้มข้น จะเห็นว่าประเทศยุโรปใต้ หรือLatin Europeของโรมเป็นตัวสร้างวิกฤติทั้งนั้นผ่านการสร้างหนี้ของสวัสดิการสังคมนิยม เพื่อลากยุโรปเหนือให้ยอมตามการรวมตัวเป็นอาณาจักรโรมใหม่
    คนไทยต้องตาสว่างได้แล้ว
    thanong
    7/7/2015
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Thanong Fanclub

    [​IMG]

    ศรีปราชญ์ต้องพิมพ์เงินDrachmaทันที
    ยังเล่นเกมรีๆรอๆอะไรอยู่อีก สิ่งที่ศรีปราชญ์ควรจะทำเร็วที่สุดในเวลานี้คือพิมพ์เงินDrachmaออกมาเลยโดยทันที
    นายMartin Armstrongนักเศรษฐศาสตร์ระดับกูรู้ แนะว่ากรีซไม่มีอนาคตอยู่ในเขตยูโรอยู่แล้ว ซึ่งเป็นการรวมตัวกันเพื่อหายนะ เขามีคำแนะนำดีๆหลายอย่างให้กรีซดังนี้:
    1. รัฐบาลกรีซควรที่จะพิมพ์เงินDrachmaของตัวเองออกมาใช้โดยเร่งด่วน แทนที่จะมัวมานั่งคอยส่วนบุญจากเจ้าหนี้ ที่คอยขย้ำกรีซเหมือนลูกแกะ
    2. อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินDrachma และเงินยูโรควรจะเป็น 2ต่อ1 เพราะว่าถ้าใช้อัตราแลกเปลี่ยน1ต่อ1 คนจะคิดว่าค่าเงินกรีซสูงเกินไป จะถูกขายออกมา แต่ถ้าลดค่าเงินกรีซ50%ทันทีต่อเงินยูโร จะช่วยลดแพนิกไประดับหนึ่งก่อน
    3. ธนาคารกลางยุโรปหรือบรัสเซลล์ตัดหางปล่อยวัดกรีซไปแล้ว จะมัวมาแคร์อะไร กรีซต้องพิมพ์เงินDrachmaในรูปอิเลคโทรนิกก่อน บัญชีเงินฝากในแบงค์ที่เป็นเงินยูโรให้เปลี่ยนเป็นเงินDrachmaเลยทันที จากนั้นค่อยพิมพ์Drachmaที่เป็นเงินสดทีหลัง เพื่อการหมุนเวียนและจับจ่ายใช้สอยของประชาชน
    4. ตัดขาดความสัมพันธ์กับบรัสเซลล์ เพราะว่าพวกที่อยู่ที่นั่นสนใจแต่เพิ่มอำนาจให้กับตัวเอง คนอื่นจะฉิบหายอย่างไร ไม่สนใจ
    5. หยุดการชำระหนี้ต่างประเทศทั้งหมด เจรจากับเจ้าหนี้ใหม่ เมื่อเศรษฐกิจยืนพืิ้นได้แล้ว จึงค่อยจ่ายหนี้ และดอกเบี้ยที่ต้องลดลงอย่างมาก
    6. หยุดการเก็บภาษีทางตรงทั้งหมด เหลือแต่การเก็บภาษีทางอ้อม เพื่อช่วยให้บริษัทเล็กๆอยู่ได้ และประชาชนมีเงินใช้สอย
    7. ตัดภาระรัฐบาลที่จ้างแรงงานที่เป็นพนักงานของรัฐที่ไม่จำเป็นทั้งหมด เพื่อลดภาระการคลังและเงินสมทบบำนาญ เอาท์ซอร์ซอะไรได้ก็ทำไป
    8. หลังสงครามโลกครั้งที่2 มี20ประเทศร่วมกันยอมตัดลดหนี้ให้เยอรมันผู้แพ้สงคราม เยอรมันถึงฟื้นขึ้นมาได้ ถ้าต้องจ่ายหนี้และภาระสงคราม เยอรมันจะไม่มีวันนี้ แต่ทำไมเยอรมันไล่บี้หนี้กรีซไม่ยอมลดหนี้ให้แม้แต่ยูโรเดียว
    สรุป: รัฐบาลต้องหยุดการกู้ยืมเงินต่างประเทศ หยุดการจ่ายหนี้ ตัดความสัมพันธ์กับบรัสเซลล์
    Martin Armstrongกำลังแนะให้กรีซใช้ระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียงเพื่อสร้างประเทศใหม่นั้นเอง
    thanong
    7/7/2015
    There is Only One Way Out For Greece | Armstrong Economics
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    โรงไฟฟ้ากระบี่เป็นปัญหาใต้! ภาคประชาสังคมเชื่อรัฐสร้างรองรับอุตฯ ขนาดใหญ่
    เขียนวันที่ วันจันทร์ ที่ 06 กรกฎาคม 2558 เวลา 15:40 น.เขียนโดยisranewsหมวดหมู่ในกระแส

    [​IMG]

    เวทีขึงพืดพัฒนาภาคใต้เผยเปิดประมูล ‘โรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่’ พยายามให้เกิดความคืบหน้า หวั่นสร้างภาระผูกพันหยุดโครงการไม่ได้ ‘เครือข่ายปกป้องอันดามัน’ รณรงค์ชวนคน กทม.ร่วมต้าน ที่สวนลุมฯ ด้านนักวิชาการเชื่อ รบ.ยังเดินหน้าต่อ ฟังเสียง ขรก.มากเกินไป

    วันที่ 6 กรกฎาคม 2558 ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม ร่วมกับเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน จัดเสวนา ‘ขึงพืดการพัฒนาภาคใต้ ประเคนทรัพยากรละเลงลงทุน’ ณ ห้องประชุมอิศรา อมันตกุล สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

    นายธีรพจน์ กษิรวัฒน์ เครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน กล่าวถึงโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่ ซึ่งจะมีการประมูลในวันที่ 22 กรกฎาคม 2558 ว่า ที่ผ่านมามีความพยายามทำให้โครงการเกิดความคืบหน้า ยกตัวอย่าง การเร่งขุดประปาให้คนในพื้นที่ ทั้งที่ก่อนหน้านี้ไม่เคยสนใจ หรือการอ้างถึงกองทุนโรงไฟฟ้า หากก่อสร้างสำเร็จจะมีมูลค่าถึง 2 พันล้านบาท แต่ผู้ได้รับผลประโยชน์เป็นเพียงคนกลุ่มหนึ่งเท่านั้น กระทั่งล่าสุด จะทำให้เกิดภาระผูกพันด้วยการประมูล จนไม่สามารถหยุดดำเนินโครงการได้ ซึ่งความจริงไม่จำเป็นเลย

    ส่วนข้อมูลระบุว่าปริมาณไฟฟ้าในภาคใต้ไม่เพียงพอนั้น ผู้แทนเครือข่ายปกป้องอันดามันฯ กล่าวว่า กฟผ.รายงานปี 2557 มีกำลังไฟฟ้าพร้อมใช้ 3,800 เมกกะวัตต์ ใช้ไฟฟ้าสูงสุด 2,400 เมกกะวัตต์ ในวันที่ 24 เมษายน 2557 จึงเหลือไฟฟ้าใช้อีก 1,400 เมกกะวัตต์ ฉะนั้นการอ้างว่าภาคใต้ประสบวิกฤตพลังงานจึงไม่จริง และเห็นได้ว่า โครงการนี้มุ่งเพิ่มปริมาณไฟฟ้า เพื่อรองรับการเปลี่ยนภาคใต้ให้กลายเป็นนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มากกว่า

    “แม้โครงการนิคมอุตฯ จะถูกปิดอำพรางให้ตั้งกระจายในแต่ละจังหวัด และมีการเตรียมทุกอย่างไว้พร้อมหมดแล้ว เพราะฉะนั้นน่ากังวลว่า โรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่ คงไม่ใช่ปัญหาของคนกระบี่เท่านั้น แต่เป็นจิ๊กซอว์หนึ่งในการเปลี่ยนภาคใต้จากแหล่งความมั่นคงทางอาหารและการท่องเที่ยวอย่างสิ้นเชิง” นายธีรพจน์ กล่าว

    ด้านนายดิเรก เหมนคร ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนพัฒนาเมืองเทพา จ.สงขลา กล่าวถึงการรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 3 (ค.3) ของโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน อ.เทพา จ.สงขลา น่าจะมีบรรยากาศคล้ายคลึงกับ ค.1 และค.2 คือ มีกำลังทหารจำนวนมาก และกังวลจะได้แสดงความคิดเห็นคนละ 5 นาทีเท่านั้น ซึ่งถือเป็นเวลาน้อยมาก อย่างไรก็ตาม อยากให้ยกเลิกการจัดเวทีครั้งนี้ออกไป ถ้าคนไทยเห็นว่า โครงการไม่มีความชอบธรรมตามหลักการมีส่วนร่วมและปฏิรูปประเทศ เพราะมีความบกพร่องทางวิชาการหลายด้านที่ยอมรับไม่ได้ และหากปล่อยให้ดำเนินโครงการต่อไปจะถือเป็นตราบาปให้ประเทศ

    นายสันติ โชคชัยชำนาญกิจ นักวิชาการกลุ่มจับตาพลังงาน กล่าวว่า ตั้งแต่ปี 2550 ไทยพยายามดำเนินโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ภาคใต้ ซึ่งตามหลักเศรษฐศาสตร์และสิ่งแวดล้อมควรตั้งในพื้นที่ฝั่งอ่าวไทย ทำให้ช่วงแรกมีนโยบายจัดตั้งที่ อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ อ.ปะทิว อ.ละแม จ.ชุมพร และอ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช แต่ถูกชาวบ้านคัดค้าน จนต้องมาตั้งฝั่งอันดามัน จ.กระบี่ แทน เนื่องจากมีโรงไฟฟ้าเดิมอยู่แล้ว และขณะนี้กำลังมีความคืบหน้ามากที่สุด

    “ภาคใต้ไม่จำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่และเทพา จ.สงขลา อย่างน้อยในช่วง 10 ปีนี้ และกังวลว่า การเซ็นสัญญากับบริษัทก่อสร้างที่เกิดขึ้นจะกลายเป็นภาระผูกพันต่อการดำเนินโครงการได้” นักวิชาการกลุ่มจับตาพลังงาน กล่าว และว่า เลิกอ้างภาคใต้มีปริมาณไฟฟ้าไม่เพียงพอ เพราะวิกฤตที่เกิดขึ้นช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ไม่ใช่เพราะสาเหตุดังกล่าว แต่เกิดจากการบริหารงานของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กฟผ. และปตท. ขาดประสิทธิภาพมากกว่า

    ขณะที่ดร.อาภา หวังเกียรติ วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ ม.รังสิต กล่าวถึงท่าทีของรัฐบาลต่อการพัฒนาภาคใต้ว่า รัฐบาลปัจจุบันกำลังรุกหนัก มักฟังเสียงข้าราชการประจำ และได้รับอิทธิพลจากกลุ่มทุนอุตสาหกรรมอีกต่อหนึ่ง ประกอบกับการให้สัมภาษณ์ของนายกรัฐมนตรีค่อนข้างชี้ให้เห็นชัดเจนว่า เตรียมผลักดันโครงการแน่นอน ทั้งนี้ หากรัฐบาลอยู่ในวาระเกิน 2 ปี มีโอกาสเกิดนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ในบางพื้นที่ โดยใช้มาตรา 44 หรือเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างเบ็ดเสร็จ

    รัฐบาลจึงเข้ามาบริหารประเทศเพื่อปลดล๊อกอุตสาหกรรม กล่าวคือ ทำให้อุตสาหกรรมทั้งหมดเป็น One Stop Service ซึ่งเป็นเรื่องน่ากังวล เพราะกฎหมายที่ผ่านมาไม่ใช่กฎหมายของกระทรวงอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่ยังมีกฎหมายของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ต้องศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ตลอดจนรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจสิทธิชุมชนในการกำหนดอนาคตชีวิตตัวเองด้วย

    นักวิชาการ ม.รังสิต กล่าวอีกว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เคยศึกษาวิจัยโครงการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ ปี 2555-56 ในรัฐบาลปกติ พบโครงการส่วนใหญ่ละเมิดสิทธิชุมชน โดยเฉพาะสิทธิในการตัดสินใจและกำหนดอนาคตตนเอง รวมถึงสิทธิในการพัฒนาและปกป้องทรัพยากรธรรมชาติด้วย จึงไม่อยากฝากความหวังไว้กับรัฐบาลชุดนี้ เพราะเป็นรัฐบาลไม่ฟังเสียงประชาชนเลย ดังนั้นต้องเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ก่อน

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 27-28 กรกฎาคม 2558 กฟผ.จะจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 3 (ค.3) โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน อ.เทพา จ.สงขลา และท่าเรือน้ำลึก ณ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ปากบาง อ.เทพา จ.สงขลา

    ขณะที่เครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหินจัดกิจกรรมเชิญชวนคนกรุงเทพฯ ร่วมรณรงค์ ณ สวนลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 16.00-20.00 น. จนกว่ารัฐบาลจะประกาศยกเลิกโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่ .

    http://www.isranews.org/isranews-news/item/39726-thaireform060758.html
     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    กรีซตั้งรมว.คลังใหม่สายพิราบโน้มน้าวเจ้าหนี้ แต่เยอรมนีดับฝันยันไม่เร่งตกลง-จ่อขยายเวลาปิดแบงค์ โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 7 กรกฎาคม 2558 02:35 น.

    [​IMG]
    @นาย ยานิส วารูฟากิส อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ(ซ้าย) แถลงส่งมอบตำแหน่งรัฐมนนตรีต่างประเทศแก่คนใหม่อย่างนายยูคลิด ซาคาโลตอส(ขวา) ด้วยกรีซตั้งผู้แทนเจรจาสูงสุดของโต๊ะหารืออียู-ไอเอ็มเอฟรายนี้ เป็นขุนคลังคนใหม่ ด้วยหวังช่วยลดทอนความไม่พอใจของผู้นำยูโรโซน

    เอเอฟพี/รอยเตอร์/ASTVผู้จัดการ - กรีซเมื่อวันจันทร์(6ก.ค.) ตั้งผู้แทนเจรจาสูงสุดของโต๊ะหารืออียู-ไอเอ็มเอฟที่ชะงักงัน ขึ้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีคลังคนใหม่ของประเทศ ด้วยหวังช่วยลดทอนความไม่พอใจของผู้นำยูโรโซน หลังจากในวันอาทิตย์ (5) ชาวกรีกลงมติท่วมท้นคว่ำข้อเสนอเงินสดแลกมาตรการรัดเข็มขัดของเจ้าหนี้ระหว่างประเทศ ขณะที่พรรคฝ่ายค้านและพรรคร่วมรัฐบาลออกคำแถลงสนับสนุนความพยายามของรัฐบาลสำหรับเจรจาเจ้าหนี้เพื่อบรรลุข้อตกลงช่วยเหลือใหม่ แต่ความเคลื่อนไหวดังกล่าวถูกบอกปัดโดยทันทีจากเยอรมี เจ้าหนี้รายใหญ่ที่ยืนยันไม่มีข้อตกลงหนี้ใหม่เร็ววันนี้แน่

    ทำเนียบประธานาธิบดีระบุในถ้อยแถลงว่านายยูคลิด ซาคาโลตอส สาบานตนเข้ารับตำแหน่งตอนเวลา 17.00 จีเอ็มที(ตรงกับเมืองไทย 24.00น.) ทั้งนี้นายซาคาโลตอส คือหัวหน้าคณะเจรจาความช่วยเหลือกับเหล่าเจ้าหนี้ระหว่างประเทศและเป็นนักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ที่พูดจานุ่มนวล

    ความเคลื่อนไหวครั้งนี้มีขึ้นตามหลังการลาออกจากตำแหน่งก่อนหน้านี้ในวันเดียวกันของนาย ยานิส วารูฟากิส ที่ขยันสร้างความเดือดดาลให้เพื่อนชาติสมาชิกในยูโรโซน ด้วยสไตล์การเจรจาที่ไม่เดินไปตามกรอบตามแบบแผน ตลอดจนชอบเลคเชอร์ขู่ขวัญคนอื่นๆ รวมทั้งรณรงค์เรียกร้องให้ประชาชนชาวกรีกโหวต “โน” ในการลงประชามติวันอาทิตย์ (5) โดยกล่าวหาว่าพวกเจ้าหนี้ของกรีซเป็น “ผู้ก่อการร้าย”

    นายซาคาโลตอส วัย 55 ปี เกิดที่รอตเตอร์ดัมและจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ด เคยศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยเคนท์ในสหราชอาณาจักรระหว่างปี 1990 ถึง 1993 ก่อนกลับไปใช้ชีวิตในเอเธนส์ ทั้งนี้เขากลายเป็นแกนหลักของกรีซในการเจรจากับอียูและไอเอ็มเอฟในเดือนเมษายน หลังจากนายวารูฟากิส สร้างความไม่พอใจระหว่างการติดต่อประสานงานกับเหล่ารัฐมนตรีต่างประเทศยูโรโซนคนอื่นๆ

    การเสียสละของวารูฟากิส ทั้งๆ ที่ได้ให้สัญญาต่อชาวกรีกว่าเขาจะต่อรองเจรจาจนกระทั่งได้ข้อตกลงฉบับที่ดีขึ้นกว่าเดิม ภายในเวลาไม่กี่วันหลังจากการลงประชามติออกมาในทางที่เขาเรียกร้องอย่างท่วมท้น บ่งชี้ให้เห็นว่านายกรัฐมนตรีซีปราสมีความมุ่งมั่นที่จะพยายามบรรลุการประนีประนอมในนาทีสุดท้ายกับพวกผู้นำยุโรป

    [​IMG]
    @ประชาชนชาวกรีซยังคงพากันแห่กันไปถอนเงิน แม้ว่าถูกจำกัดการถอนเงินแค่ 60 ยูโรต่อวัน เพราะไม่มั่นใจในสถานะของธนาคารหากรัฐบาลยังไม่สามารถเจรจาเพื่อต่อายุโครงการเงินช่วยเหลือของกลุ่มเจ้าหนี้ได้

    อย่างไรก็ตามเยอรมนีในวันจันทร์(6ก.ค.) ปฏิเสธอย่างทันควัน ต่อความพยายามของกรีซที่จะบรรลุข้อตกลงหนี้ใหม่อย่างรวดเร็ว หลังประชาชนชาวกรีกโหวต "โน" ต่อมาตรการรัดเข็มขัดที่หนักหน่วงขึ้น แม้รัฐมนตรีคลังกรีซ สร้างความประหลาดใจด้วยการยอมลาออกจากตำแหน่งก็ตาม

    การลาออกของเขามีขึ้น 1 วันหลังจากที่ผู้ออกเสียงชาวกรีก61.31% โหวตไม่ยอมรับข้อเสนอของฝ่ายเจ้าหนี้ ขณะที่ผู้ลงคะแนนยอมรับมีเพียง 38.69% โดยที่มีผู้ใช้สิทธิจำนวน 62.5% และทำให้เกิดกระแสความหวั่นกลัวเพิ่มสูงขึ้นมากว่า กรีซคงไม่แคล้วต้องออกไปจากยูโรโซน หรือที่นิยมเรียกขานกันว่า “เกร็กซิต” (Grexit)

    กระนั้นก็ดี เบอร์ลิน กล่าวว่าการลาออกของนายวารูฟากิส ไม่ได้เปลี่ยนแปลงสถานการณ์ใดๆ "มันไม่เกี่ยวกับคน แต่มันเป็นเรื่องของจุดยืนมากกว่า" สเตฟเฟ เซเบิร์ต โฆษกของนายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิล กล่าว พร้อมระบุว่า ณ ปัจจุบันยังไม่มีพื้นฐานของการเข้าสู่โต๊ะเจรจาโครงการช่วยเหลือใหม่

    "มันขึ้นอยู่กับกรีซแล้ว ว่าพวกเขาต้องการอยู่ในยูโรโซนหรือไม่" โฆษกผู้นำเยอรมนีกล่าว "เรากำลังรอดูว่ารัฐบาลกรีซจะมีข้อเสนอใดมายื่นแก่คู่หูสหภาพยุโรป" ขณะเดียวกันแหล่งข่าวรัฐบาลเอเธนส์ เผยว่านายอเล็กซิส ซีปราส นายกรัฐมนตรีกรีซและนางแมร์เคิล ได้พูดคุยกันทางโทรศัพท์และเห็นพ้องกันว่ากรีซจะนำข้อเสนอต่างๆเหล่านั้นไปเสนอต่อที่ประชุมซัมมิทยูโรโซน ที่มีการเรียกประชุมด่วนในวันอังคาร(7ก.ค.)

    ท่าทีที่อึกอักของเบอร์ลิน ต่อการกลับมาเปิดเจรจากันอีกรอบ ย้ำให้เห็นความแตกแยกอย่างมากภายในยุโรปเกี่ยวกับวิกฤตหนี้กรีซ เนื่องจากอีกด้านหนึ่ง ฝรั่งเศส อิตาลีและสเปน มีจุดยืนที่ต้องการไกล่เกลี่ยมากกว่า

    ความเคลื่อนไหวปรับเปลี่ยนตำแหน่งรัฐมนตรีคลังของกรีซ มีขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกับที่พรรครัฐบาลและฝ่ายค้านของเอเธนส์ ออกคำแถลงร่วมในวันจันทร์(6ก.ค.) สนับสนุนความพยายามของรัฐบาลในการบรรลุข้อตกลงช่วยเหลือใหม่ของเจ้าหนี้ แสดงให้เห็นว่านายซีปราส ได้รับแรงสนับสนุนอย่างกว้างขวาง หลังมีชัยชนะในประชามติข้อเสนอมาตรการรัดเข็มขัดของเจ้าหนี้

    [​IMG]
    @พรรครัฐบาลและฝ่ายค้านของเอเธนส์ ออกคำแถลงร่วมในวันจันทร์(6ก.ค.) สนับสนุนความพยายามของรัฐบาลในการบรรลุข้อตกลงช่วยเหลือใหม่ของเจ้าหนี้ แสดงให้เห็นว่านายซีปราส ได้รับแรงสนับสนุนอย่างกว้างขวาง หลังมีชัยชนะในประชามติข้อเสนอมาตรการรัดเข็มขัดของเจ้าหนี้

    เหล่าผู้นำบอกว่าพวกเขากำลังแสวงหาข้อตกลงกับเจ้าหนี้สหภาพยุโรปและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) เพื่อให้ได้มาซึ่งเงินทุนอย่างพอเพียง มาตรการปฏิรูปที่น่าเชื่อถือ แผนการเติบโต รวมถึงคำสัญญาเริ่มพิจารณาหารือถึงหนี้ก้อนมหาศาลของกรีซ พร้อมระบุว่าเป้าหมายลำดับแรกในตอนนี้คือทำให้ธนาคารกลับมาเปิดบริการอีกครั้ง

    อย่างไรก็ตามสำนักข่าวรอยเตอร์อ้างแหล่งข่าวแบงค์อย่างน้อย 4 แห่ง เผยในวันจันทร์(6ก.ค.) ว่าธนาคารต่างๆของกรีซจะปิดทำการต่อไปอย่างน้อยจนถึงวันศุกร์(10ก.ค.) ในขณะที่ประเทศแห่งนี้กำลังพยายามกลับมาเปิดเจรจาเงินช่วยเหลือกับเจ้าหนี้นานาชาติและปกป้องระบบการเงินของประเทศจากการพังครืน

    เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เอเธนส์การประกาศใช้มาตรการควบคุมเงินทุน ให้ธนาคารต่างๆ ระงับการให้บริการ 1 สัปดาห์ และจำกัดการถอนเงินสดจากตู้เอทีเอ็ม หลังจากธนาคารกลางยุโรป(อีซีบี) ระงับการให้เงินทุนฉุกเฉินแก่ธนาคารในกรีซ ตามหลังการเจรจาระหว่างกรีซกับเจ้าหนี้ประสบกับความล้มเหลว

    วิกฤตเลวร้ายยิ่งขึ้นไปอีก หลังผู้มีสิทธิ์ออกเสียงชาวกรีซ ลงคะแนนปฏิเสธประชามติข้อเสนอเงื่อนไขแลกเงินช่วยเหลือของเจ้าหนี้ระหว่างประเทศ เพิ่มความเป็นไปได้ที่กรีซ เสี่ยงต้องออกจากยูโรโซน

    ธนาคารกลางของกรีซประสบปัญหาในการทำให้ตู้ทีเอ็มมีเงินสดต่อความต้องการของประชาชนที่ยังคงพากันแห่กันไปถอนเงิน แม้ว่าถูกจำกัดการถอนเงินแค่ 60 ยูโรต่อวัน เพราะไม่มั่นใจในสถานะของธนาคารหากรัฐบาลกรีซยังไม่สามารถเจรจาเพื่อต่อายุโครงการเงินช่วยเหลือของกลุ่มเจ้าหนี้ได้

    รอยเตอร์อ้างแห่งข่าวประธานสมาคมธนาคารกรีซ บอกว่าข้อกำหนดจำกัดการถอนเงิน 60 ยูโรต่อวันจะยังถูกบังคับใช้ต่อไป หลังจากคำสั่งเดิมมีกำหนดหมดอายุในวันจันทร์(6ก.ค.) และคาดหมายว่าจะมีการออกคำสั่งใหม่แทนของเดิม "วันหยุดธนาคารจะถูกขยายออกไปจนถึงวันศุกร์(10ก.ค.) หรือวันจันทร์หน้า(13ก.ค.)"

     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    น้ำมันดิ่งเหว$4!!หุ้นสหรัฐฯลง แรงผวาหลังกรีซ'โหวตโน' ทองคำขึ้น โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 7 กรกฎาคม 2558 05:19 น.

    [​IMG]

    @ภาพถ่ายแสดงให้เห็นหุ้นในตลาดออสเตรเลียร่วงลงทั้งกระดานท่ามกลางข่าวชาวกรีซลงมติปฏิเสธข้อเสนอช่วยเหลือตามเงื่อนไขของเจ้าหนี้ระหว่างประเทศ ขณะที่ตลาดหุ้นอื่นๆในเอเชียและยุโรปก็เคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกันจากปัจจัยดังกล่าว ส่วนวอลล์สตรีท ปิดลบน้อยกว่าหน่อย เนื่องจากนักลงทุนคาดการณ์ไว้อยู่แล้ว

    เอเอฟพี - น้ำมันเมื่อวันจันทร์(6ก.ค.) ร่วงลงเกือบ 8 เปอร์เซ็นต์ จากความกังวลต่อการเติบโตของโลก หลังผู้มีสิทธิ์ออกเสียงกรีซลงประชามติปฏิเสธข้อเสนอช่วยเหลือตามเงื่อนไขของเจ้าหนี้ ปัจจัยนี้ฉุดให้วอลล์สตรีทปิดลบเช่นกัน แต่ไม่หนักเท่ายุโรป ส่วนทองคำขยับขึ้นเล็กน้อย จากความเคลื่อนไหวสยบความยุ่งเหยิงในตลาดการเงินของจีน

    น้ำมันดิบเวสต์เทกซัสอินเตอร์มีเดียต หรือไลต์สวีตครูด งวดส่งมอบเดือนสิงหาคม ลดลง 4.40 ดอลลาร์ ปิดที่ 52.53 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนต์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน ลดลง 3.78 ดอลลาร์ ปิดที่ 56.54 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

    นักวิเคราะห์อ้างความกังวลต่อยุโรป หลังชาวกรีซลงประชามติโหวตคว่ำข้อเสนอช่วยเหลือตามเงื่อนไขของเจ้าหนี้ระหว่างประเทศ โยนสถานะของประเทศในกลุ่มสกุลเงินเดียวอยู่ในความสงสัย ขณะที่วิกฤตหนี้กรีซ ยังหนุนให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ซื้อที่ถือสกุลเงินอื่นๆ

    ความผันผวนในตลาดทุนของจีน กระตุ้นให้ปักกิ่งต้องออกมาตรการสนับสนุน แต่มันก็ย้ำให้เห็นถึงความอ่อนแอของเศรษฐกิจแดนมังการที่อาจส่งผลกระทบต่อการบริโภคพลังงานของประเทศแห่งนี้

    ปัจจัยที่จีน ใช้มาตรการเชิงรุกมากขึ้นตามหลังการดิ่งลงของตลาดหุ้นเมื่อเร็วๆนี้ ประกอบกับนักลงทุนจับตาวิกฤตหนี้กรีซ ช่วยดันให้ราคาทองคำเมื่อวันจันทร์(6ก.ค.) ปิดบวกเป็นครั้งแรกในรอบ 4 วัน โดยทองคำตลาดโคเม็กซ์ เพิ่มขึ้น 9.70 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,173.20 ดอลลาร์ต่อออนซ์

    ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯในวันจันทร์(6ก.ค.) ปิดลบ หลังการลงประชามติต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัดที่เสนอโดยเจ้าหนี้ กระพือว่ากรีซอาจต้องออกจากยูโรโซน แต่ด้วยที่นักลงทุนคาดหมายไว้ล่วงหน้าแล้ว จึงทำให้วอลล์สตรีทขยับลงน้อยกว่าตลาดทุนอื่นๆทั่วโลก

    ดาวโจนส์ ลดลง 46.53 จุด (0.26 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 17,683.58 จุด เอสแอนด์พี ลดลง 8.02 จุด (0.39 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 2,068.76 จุด แนสแดค ลดลง 17.27 จุด (0.34 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 4,991.94 จุด

    แม้ประธานาธิบดีฟรังซัวส์ ออลลองด์ของฝรั่งเศสและนางอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี บอกว่าประตูสำหรับคืนสู่โต๊ะเจรจาหนี้กรีซยังเปิดอยู่ แต่เรียกร้องเอเธนส์มีข้อเสนอที่จริงจัง หลังจากผู้มีสิทธิ์ออกเสียงกรีซ ลงมติโหวตคว่ำมาตรการรัดเข็มขัดเพิ่มเติมที่เสนอโดยเหล่าเจ้าหนี้

    อย่างไรก็ตามตลาดหุ้นสหรัฐฯปรับลงเบาบางกว่าตลาดทุนชั้นนำของยุโรปและตลาดน้ำมัน เนื่องจากนักลงทุนคาดหมายไว้บ้างแล้วว่าโหวตโนจะชนะการลงประชามติ หรือคาดหมายว่าไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับกรีซในความเกี่ยวข้องกับยุโรป จะไม่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของอเมริกา


     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ECB คงมาตรการอัดฉีดสภาพคล่องแก่ “ธนาคารกรีซ” แต่เพิ่มเงื่อนไขเข้มงวด
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 7 กรกฎาคม 2558 08:58 น.

    [​IMG]
    @สำนักงานใหญ่อีซีบี ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต

    เอเอฟพี – ธนาคารกลางแห่งยุโรป (อีซีบี) ประกาศคงมาตรการอัดฉีดสภาพคล่องฉุกเฉินให้แก่ธนาคารกรีซต่อไป แต่จะเพิ่มเงื่อนไขเข้มงวดยิ่งขึ้น หลังจากที่ชาวกรีซส่วนใหญ่ลงประชามติโหวต “โน” ไม่เอาเจ้าหนี้เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา(5 ก.ค.)

    สภาบริหารอีซีบีซึ่งได้เรียกประชุมเพื่อหาทางออกแก่วิกฤตขาดแคลนเงินสดในกรีซเมื่อวานนี้ (6) ประกาศจะยังมอบความช่วยเหลือแก่สถาบันการเงินของกรีซต่อไป แต่จะเพิ่มกฎเกณฑ์ในการเข้าถึงเงินกองทุน

    “วันนี้อีซีบีตัดสินใจที่จะคงโครงการช่วยเหลือสภาพคล่องฉุกเฉิน (Emergency liquidity assistance – ELA) แก่ธนาคารกรีซตามวงเงินที่ตกลงกันไว้เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 2015 หลังจากที่ได้พิจารณาข้อเสนอจากธนาคารกลางกรีซ” คำแถลงจากอีซีบีซึ่งมีฐานอยู่ที่นครแฟรงก์เฟิร์ต ระบุ

    อีซีบี ระบุด้วยว่า อีแอลเอจะเบิกจ่ายให้ได้ก็ต่อเมื่อมีหลักประกัน (collateral) ที่เพียงพอเท่านั้น ซึ่งเท่ากับเพิ่มแรงกดดันแก่กรีซที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว

    อีซีบี ชี้ว่า วิกฤตการคลังของเอเธนส์ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสถาบันการเงินในประเทศ “เนื่องจากธนาคารเหล่านี้ขอรับอีแอลเอโดยใช้หลักประกันที่เป็นทรัพย์สินของภาครัฐเสียส่วนใหญ่”

    “ด้วยเหตุนี้ สภาบริหารอีซีบีจึงตัดสินใจปรับอัตราค่าความเสี่ยงที่ใช้ในการคำนวณมูลค่าทรัพย์สินซึ่งธนาคารกรีซใช้เป็นหลักประกันในการขอรับอีแอลเอ”

    หนังสือพิมพ์ Die Welt ของเยอรมนี รายงานว่า รัฐบาลเอเธนส์เคยพยายามที่จะขอวงเงินอัดฉีดสภาพคล่องเพิ่มอีก 6,000 ล้านยูโร แต่อีซีบีตัดสินใจที่จะคงระดับอีแอลเอไว้ไม่เกิน 89,000 ล้านยูโร

    ตลาดเงินและนักวิเคราะห์ทั่วโลกต่างเฝ้าจับตาดูท่าทีของอีซีบีว่าจะยังคงปล่อยเงินอุดหนุนสภาพคล่องแก่กรีซต่อไปหรือไม่ หลังจากชาวกรีซ 61% ออกมาเทคะแนนโหวต “โน” ไม่เอามาตรการรัดเข็มขัดเข้มงวดที่องค์กรเจ้าหนี้ใช้เป็นเงื่อนไขปล่อยกู้

    การชาวกรีซครึ่งประเทศพร้อมใจปิดประตูใส่หน้าเจ้าหนี้ต่างชาติ ทำให้อีซีบียากที่จะรักษาจุดยืนอุ้มธนาคารกรีซต่อไปได้

    “อีซีบีถูกผูกมัดด้วยกฎเกณฑ์” เอวอลด์ โนว็อตนี ประธานธนาคารกลางออสเตรีย ให้สัมภาษณ์ต่อสถานีโทรทัศน์โออาร์เอฟ

    “เราต้องประเมินสถานการณ์อยู่เป็นระยะ และผมเกรงว่าปัญหาของกรีซไม่ใช่เรื่องง่ายเลยสำหรับเรา”

    สำนักข่าวบลูมเบิร์กอ้างแหล่งข่าวเจ้าหน้าที่กรีซคนหนึ่งซึ่งระบุว่า ธนาคารกรีซยอมรับเงื่อนไขใหม่ได้ และอีซีบีก็ไม่ได้กำหนดเส้นตายที่ยากลำบากเกินไปสำหรับกรีซ

    อีซีบี จะพิจารณาทบทวนการตัดสินใจดังกล่าวอีกครั้งในวันพุธ(8) หลังจากที่ผู้นำอียูเรียกประชุมฉุกเฉินว่าด้วยวิกฤตหนี้กรีซที่กรุงบรัสเซลส์ วันนี้ (7)

    นักวิเคราะห์หลายคนเห็นตรงกันว่าอีซีบีกำลังอยู่ในภาวะตัดสินใจลำบาก

    โฮลเกอร์ ชมีดิง นักเศรษฐศาสตร์จากธนาคารเบเรนเบิร์ก กล่าว“กระแสโหวตโนในกรีซทำให้อีซีบีตกที่นั่งลำบากที่สุด”

    “กรีซผิดนัดชำระหนี้ไอเอ็มเอฟไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หากไม่ได้แพ็กเกจช่วยเหลือใหม่มาช่วยให้กรีซพ้นจากภาวะล้มละลายทางการคลังอย่างเต็มรูปแบบ ก็คงยากที่อีซีบีจะปล่อยเงินอุดหนุนสภาพคล่องให้ธนาคารของกรีซต่อไปได้ อย่าว่าแต่เพิ่มวงเงินเลย” ชมีดิง อธิบาย

    ขณะนี้ อีแอลเอเป็นแหล่งทุนเพียงอย่างเดียวที่ช่วยพยุงสถานะของธนาคารและเศรษฐกิจกรีซในภาพรวม แต่ในเมื่อแพ็กเกจเงินกู้เดิมของกรีซหมดอายุไปแล้วโดยยังไม่มีชุดใหม่มารองรับ ก็เท่ากับผิดเงื่อนไขที่อีซีบีตั้งไว้สำหรับการจ่ายเงินอุดหนุนสภาพคล่อง


    ECB
     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้หลัง'กรีซ'โหวต'โน' โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 6 กรกฎาคม 2558 21:12 น.

    [​IMG]
    @ผู้คนต่อแถวรอกดเงินจากตู้เอทีเอ็มนอกธนาคารแห่งหนึ่งในเมืองเทสซาโลนิกี เมื่อวันจันทร์(6ก.ค.) หลังชาวกรีกมากกว่า 60% ทีเดียว ออกเสียงลงประชามติในวันอาทิตย์ (5 ก.ค.) ปฏิเสธไม่ยอมรับข้อเสนอของฝ่ายเจ้าหนี้ในเรื่องการปฏิรูปอย่างเข้มงวดเพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินกู้ ขณะที่บีบีซีนิวส์ออกบทวิเคราะห์โดยวาดภาพสถานการณ์จำลองที่อาจเป็นไปได้ ซึ่งมีอยู่ด้วยกันอย่างน้อย 3 แบบ ทว่าในสถานการณ์จำลองทุกๆ แบบ ปัจจัยชี้ขาดยังคงเป็น สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับพวกธนาคารกรีซ และสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับเงินอัดฉีดฉุกเฉินจากธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี)

    บีบีซีนิวส์ - ชาวกรีกมากกว่า 60% ทีเดียว ออกเสียงลงประชามติในวันอาทิตย์ (5 ก.ค.) ปฏิเสธไม่ยอมรับข้อเสนอของฝ่ายเจ้าหนี้ในเรื่องการปฏิรูปอย่างเข้มงวดเพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินกู้ ถึงแม้นายกรัฐมนตรีอเล็กซิส ซีปราส บอกว่านี่ไม่ใช่การลงคะแนนเพื่อแตกหักกับยุโรป ทว่าบรรดาผู้นำในยูโรโซนหลายๆ คนก็เรียงแถวออกมาเตือนตั้งแต่ก่อนหน้านี้ว่า การโหวต “โน” หมายถึงการตัดสินใจออกจากสกุลเงินยูโรของกรีซ หรือที่เรียกขานกันว่า “เกร็ตซิต” (Grexit)

    สถานการณ์ต่อจากนี้ไปจะเป็นอย่างไร กรีซจะยังคงอยู่ในยูโรโซน หรือว่าต้องออกจากการใช้สกุลเงินตราหนึ่งเดียวของยุโรปสกุลนี้ บีบีซีนิวส์ออกบทวิเคราะห์โดยวาดภาพสถานการณ์จำลองที่อาจเป็นไปได้ ซึ่งมีอยู่ด้วยกันอย่างน้อย 3 แบบ ทว่าในสถานการณ์จำลองทุกๆ แบบ ปัจจัยชี้ขาดยังคงเป็น สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับพวกธนาคารกรีซ และสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับเงินอัดฉีดฉุกเฉินจากธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี)

    [​IMG]
    @นักลงทุนในตลาดหุ้นแฟรงค์เฟิร์ต ของเยอรมนี เจ้าหนี้รายใหญ่ของกรีซ จับตาสถานการณ์ของเอเธนส์อย่างไม่กระพริบตา หลังชาวกรีกมากกว่า 60% ทีเดียว ออกเสียงลงประชามติในวันอาทิตย์ (5 ก.ค.) ปฏิเสธไม่ยอมรับข้อเสนอของฝ่ายเจ้าหนี้ในเรื่องการปฏิรูปอย่างเข้มงวดเพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินกู้

    **สถานการณ์แรก: กรีซออกจากยูโรโซนหลังจากพยายามเจรจาแต่ล้มเหลว**

    ผู้สังเกตการณ์จำนวนมากบอกว่า นี่เป็นสถานการณ์ที่มีความเป็นไปได้มากที่สุด เนื่องจากถึงแม้ซีปราสยืนยันว่า การลงประชามติของชาวกรีกไม่ใช่การแตกหักกับยุโรป หากเพื่อทำให้เอเธนส์มีอำนาจต่อรองกับเจ้าหนี้มากขึ้น ทว่าผู้นำของยุโรปจำนวนมากกลับมองว่า นี่คือจุดจบของการเจรจาต่อรองอันยืดเยื้อเพื่อให้กรีซอยู่ในยูโรโซนต่อไป และยุโรปจำเป็นต้องตัดสินใจอย่างฉับไวในเรื่องยุติการให้ความช่วยเหลือพวกธนาคารของกรีซ

    เหล่ารัฐมนตรีของเยอรมนี ตลอดจนถึงผู้นำอิตาลีและฝรั่งเศส ต่างแสดงความเห็นว่า การลงประชามติของกรีซเป็นการชี้ชะตาว่ากรีซจะอยู่กับยูโรโซนต่อหรือไม่ ซิกมาร์ เกเบรียล รองนายกรัฐมนตรีของเยอรมนี ออกปากวิจารณ์ในคืนวันอาทิตย์ (5) ว่า เมื่อผลประชามติออกมาเช่นนี้ ก็เท่ากับนายกรัฐมนตรีกรีซ “ได้รื้อทำลายสะพานสุดท้ายซึ่งยังเชื่อมระหว่างยุโรปกับกรีซ ให้มีช่องทางเคลื่อนไปสู่การประนีประนอมได้” ไปเรียบร้อยแล้ว

    มีการนัดหมายพบปะหารือกันอย่างคึกคักในยุโรปตั้งแต่วันจันทร์ (6) เป็นต้นว่า การประชุมของคณะมนตรีบริหารของอีซีบี และการพบปะระหว่างนายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิล ของเยอรมนี กับประธานาธิบดีฟรังซัวส์ ออลลองด์ ของฝรั่งเศส ส่วนในวันอังคาร (7) มีการประชุมซัมมิตของผู้นำทั่วทั้งยูโรโซน และการหารือของกลุ่มรัฐมนตรีคลังยูโรโซน (ยูโรกรุ๊ป) ทว่าแนวโน้มเต็มไปด้วยความมืดมน

    เจอโรน ดิจเซลโบลม ประธานยูโรกรุ๊ป กล่าวว่า เวลานี้ ขึ้นอยู่กับเอเธนส์ว่าจะยื่นเสนอมาตรการปฏิรูปที่ยากลำบากมาให้พิจารณาหรือไม่ ขณะที่นายกรัฐมนตรีอีวา โคแพกซ์ของโปแลนด์ ชี้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นอาจเป็นขั้นตอนใหม่มุ่งไปสู่เกร็ตซิต

    **สถานการณ์ที่สอง: แบงก์กรีซล้มครืน ซึ่งอาจนำไปสู่เกร็กซิต ... หรือก่อให้เกิดข้อตกลง**

    ถึงแม้การทำข้อตกลงใดๆ ระหว่างกรีซกับพวกเจ้าหนี้โดยเฉพาะชาติสมาชิกอื่นๆ ของยูโรโซน อาจจะมีลักษณะเป็นข้อตกลงทางการเมือง ทว่าสิ่งซึ่งกำลังเป็นเงาทะมึนครอบอยู่เหนือการต่อรองทางการเมืองใดๆ กลับเป็นเรื่องสถานะของพวกธนาคารกรีซ ซึ่งได้ปิดทำการมาตั้งแต่วันที่ 29 มิถุนายน หลังจากอีซีบีระงับไม่เพิ่มเพดานการอัดฉีดสภาพคล่องฉุกเฉินให้

    รัฐบาลกรีซให้สัญญาต่อประชาชนว่า การโหวต “โน” จะทำให้แบงก์กลับมาเปิดทำการในวันอังคาร (7) แต่ไม่มีแนวโน้มใดๆ เลยว่า อีซีบีจะเพิ่มการสนับสนุนเงินสดฉุกเฉิน (ที่เรียกกันว่า “ความช่วยเหลือสภาพคล่องฉุกเฉิน” หรือ ELA) จากระดับ 89,000 ล้านยูโร (98,000 ล้านดอลลาร์) ที่ได้อนุมัติไปแล้ว นั่นหมายความว่าบรรดาธนาคารของกรีซมีโอกาสอยู่รอดต่อไปอีกเพียงไม่กี่วันเท่านั้น ตัวเลือกหนึ่งที่เป็นไปได้คือ แบงก์กรีซเปิดทำการอีกครั้งพร้อมสกุลเงินคู่ขนานก่อนฟื้นเงินสกุล “แดร็กมา” กลับมาใช้ใหม่ ซึ่งหมายความว่า รัฐบาลกรีซต้องเตรียมการผละจากสกุลเงินยูโรนั่นเอง

    [​IMG]
    @หลังชาวกรีกมากกว่า 60% ออกเสียงลงประชามติในวันอาทิตย์ (5 ก.ค.) ปฏิเสธไม่ยอมรับข้อเสนอของฝ่ายเจ้าหนี้ในเรื่องการปฏิรูปอย่างเข้มงวดเพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินกู้ บีบีซีนิวส์ออกบทวิเคราะห์โดยวาดภาพสถานการณ์จำลองที่อาจเป็นไปได้ ซึ่งมีอยู่ด้วยกันอย่างน้อย 3 แบบ ทว่าในสถานการณ์จำลองทุกๆ แบบ ปัจจัยชี้ขาดยังคงเป็น สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับพวกธนาคารกรีซ และสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับเงินอัดฉีดฉุกเฉินจากธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี)

    แต่ในอีกด้านหนึ่ง การที่แบงก์กรีซล้มกันระนาวเช่นนี้จะถึงขนาดส่งผลให้ยุโรปต้องหันกลับมาร่วมแรงร่วมใจกันได้หรือไม่

    ภัยคุกคามจากการที่เศรษฐกิจกรีซอาจล่มจมเละเทะเช่นนี้ อาจจะโน้มน้าวให้สหภาพยุโรป (อียู) ยอมเพิ่มทุนให้แก่ระบบการธนาคารกรีซก็เป็นได้ แต่การดำเนินการดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบทางการเมืองต่อสมาชิกยูโรโซนชาติอื่นๆ เช่น สเปน ที่พรรคการเมืองกระแสหลักกำลังถูกท้าทายจากพรรคที่ต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัด

    ปีเตอร์ คาซิมีร์ รัฐมนตรีคลังสโลวาเกีย พยายามพูดตัดไฟแต่ต้นลมในเรื่องนี้ โดยบอกว่า การปฏิเสธมาตรการปฏิรูปของชาวกรีก ไม่ควรหมายความว่าเอเธนส์จะได้เงินกู้ง่ายขึ้น

    ยิ่งไปกว่านั้น เจ้าหนี้ใหญ่สุดของกรีซคือ กองทุนฟื้นฟูของยูโรโซน (อีเอฟเอสเอฟ) ยังขู่จะเรียกหนี้ 130,900 ล้านยูโรคืนจากรัฐบาลกรีซ หลังจากเอเธนส์ผิดนัดชำระหนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เมื่อปลายเดือนที่ผ่านมา

    **สถานการณ์ที่สาม: ผู้นำอียูตกลงช่วยและป้องกันการล่มสลายของแบงก์กรีซ**

    สถานการณ์นี้ดูไม่น่าเป็นไปได้เลย กระนั้น นายกรัฐมนตรีกรีซก็ได้จัดเตรียมกรอบโครงข้อตกลงและมาตรการปฏิรูปต่างๆ ซึ่งเขาได้ยินยอมตกลงไปก่อนการทำประชามติแล้ว สิ่งที่ซีปราสยินยอมเหล่านี้ ไม่แตกต่างมากนักจากสิ่งที่ยูโรโซนและไอเอ็มเอฟเรียกร้อง

    ทว่าส่วนซึ่งแตกต่างกันและต้องถือเป็นปัญหาใหญ่มาก ก็คือ ซีปราสยังต้องการได้เงินกู้แพกเกจที่ 3 เป็นมูลค่า 29,100 ล้านยูโร ซึ่งมากกว่าเงินกู้งวดสุดท้ายจากแพ็คเกจที่สองที่ได้เจรจาต่อรองกันมาห้าเดือนแล้วถึง 4 เท่าตัว

    แถมมีความเป็นไปได้ว่า ถ้าหากหวนกลับมาเจรจาต่อรองกันใหม่ ซีปราสไม่ใช่ต้องการได้เงินกู้เพิ่มเติมเพียงเท่านี้ด้วย โดยที่ตามรายงานของไอเอ็มเอฟซึ่งเผยแพร่ออกมา 3 วันก่อนทำประชามตินั้นระบุว่า กรีซจำเป็นต้องได้รับการลดหนี้จำนวนเกือบ 50,000 ล้านยูโรภายในระยะเวลา 3 ปี

    สำหรับการเพิ่มทุนให้แก่แบงก์กรีซนั้น จะทำได้ก็ต่อเมื่อเอเธนส์ต้องสามารถเข้าถึงกองทุนช่วยเหลือถาวรของยูโรโซน นั่นคือ กลไกเสถียรภาพการเงินยุโรป (อีเอสเอ็ม) ทว่าในขณะนี้ เป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการว่า กรีซจะได้รับสิทธิดังกล่าว

    ʶҹ
     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    นายกฯกรีซ'สละ'ขุนคลังปากกล้า มุ่งกล่อม'เจ้าหนี้'หลังประชามติไม่เอา'รัดเข็มขัด' โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 6 กรกฎาคม 2558 22:12 น.

    https://youtu.be/f6Oe7iI4YK4

    เอเจนซีส์ - นายกรัฐมนตรีกรีซ ยอมสละรัฐมนตรีคลังฝีปากกล้าเมื่อวันจันทร์ (6 ก.ค.) โดยหวังว่าจะช่วยลดทอนความไม่พอใจของผู้นำยูโรโซนที่ขณะนี้ต้องตัดสินใจว่า จะยินยอมอ่อนข้อให้เอเธนส์หรือเตรียมตัวรับสถานการณ์ “เกร็กซิต” หลังจากในวันอาทิตย์ (5) ชาวกรีกลงมติท่วมท้นคว่ำข้อเสนอเงินสดแลกมาตรการรัดเข็มขัดของเจ้าหนี้ระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ทั้งเยอรมนีซึ่งเป็นถุงเงินของยุโรป และกลุ่มรัฐมนตรีคลังยูโรโซนต่างแสดงท่าทีแข็งกร้าวว่า อย่าหวังจะทำข้อตกลงฉบับใหม่ได้ในเร็ววัน รวมทั้งกรีซจะต้องยื่นข้อเสนอใหม่ให้พิจารณาระหว่างการหารือฉุกเฉินวันอังคาร (7) นี้

    ยานิส วารูฟากิส รัฐมนตรีคลังกรีซที่ขยันสร้างความเดือดดาลให้เพื่อนชาติสมาชิกในยูโรโซน ด้วยสไตล์การเจรจาที่ไม่เดินไปตามกรอบตามแบบแผน ตลอดจนชอบเลคเชอร์ขู่ขวัญคนอื่นๆ รวมทั้งรณรงค์เรียกร้องให้ประชาชนชาวกรีกโหวต “โน” ในการลงประชามติวันอาทิตย์ (5) โดยกล่าวหาว่าพวกเจ้าหนี้ของกรีซเป็น “ผู้ก่อการร้าย” ได้ประกาศในวันจันทร์ (6) ลาออกจากตำแหน่งในทันที ตามคำขอของนายกรัฐมนตรีซีปราส

    [​IMG]
    @ประชาชนชาวกรีกเฉลิมฉลองกันในกรุงเอเธนส์เมื่อคืนวันอาทิตย์ (5) ภายหลังผลเอ็กซิตโพลแรกๆ ของการลงประชามติบ่งบอกให้เห็นว่า กว่า 60% ของผู้ลงคะแนนปฏิเสธข้อเสนอของพวกเจ้าหนี้ที่จะให้ยอมปฏิรูปด้วยมาตรการเข้มงวดเพื่อแลกกับเงินกู้ช่วยไม่ให้ล้มละลาย

    การเสียสละของวารูฟากิส ทั้งๆ ที่ได้ให้สัญญาต่อชาวกรีกว่าเขาจะต่อรองเจรจาจนกระทั่งได้ข้อตกลงฉบับที่ดีขึ้นกว่าเดิม ภายในเวลาไม่กี่วันหลังจากการลงประชามติออกมาในทางที่เขาเรียกร้องอย่างท่วมท้น บ่งชี้ให้เห็นว่านายกรัฐมนตรีซีปราสมีความมุ่งมั่นที่จะพยายามบรรลุการประนีประนอมในนาทีสุดท้ายกับพวกผู้นำยุโรป

    วารูฟากิสพ้นจากตำแหน่ง 1 วันหลังจากที่ผู้ออกเสียงชาวกรีก61.31% โหวตไม่ยอมรับข้อเสนอของฝ่ายเจ้าหนี้ ขณะที่ผู้ลงคะแนนยอมรับมีเพียง 38.69% โดยที่มีผู้ใช้สิทธิจำนวน 62.5% และทำให้เกิดกระแสความหวั่นกลัวเพิ่มสูงขึ้นมากว่า กรีซคงไม่แคล้วต้องออกไปจากยูโรโซน หรือที่นิยมเรียกขานกันว่า “เกร็กซิต” (Grexit)

    การโหวตคัดค้านข้อเสนอเงินกู้ของเจ้าหนี้ของกรีซทำให้สถานการณ์ในยุโรปเต็มไปด้วยความตึงเครียด นายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิลของเยอรมนี นัดหารือกับประธานาธิบดีฟรังซัวส์ ออลลองด์ของฝรั่งเศสที่ปารีสในวันจันทร์(6) ก่อนหน้าจะเข้าร่วมการประชุมซัมมิตฉุกเฉินของผู้นำยูโรโซนในวันอังคาร (7) ขณะที่ทางรัฐมนตรีคลังยูโรโซน (ยูโรกรุ๊ป) ก็มีกำหนดหารือฉุกเฉินในวันอังคาร รวมทั้งธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ประชุมด่วนเช่นกันเพื่อหารือเรื่องคำขอเพิ่มเพดานสภาพคล่องฉุกเฉินของกรีซ

    [​IMG]
    @ผู้คนต่อแถวรอกดเงินจากตู้เอทีเอ็มนอกธนาคารแห่งหนึ่งในเมืองเทสซาโลนิกี เมื่อวันจันทร์(6ก.ค.) หลังชาวกรีกมากกว่า 60% ทีเดียว ออกเสียงลงประชามติในวันอาทิตย์ (5 ก.ค.) ปฏิเสธไม่ยอมรับข้อเสนอของฝ่ายเจ้าหนี้ในเรื่องการปฏิรูปอย่างเข้มงวดเพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินกู้ ขณะที่บีบีซีนิวส์ออกบทวิเคราะห์โดยวาดภาพสถานการณ์จำลองที่อาจเป็นไปได้ ซึ่งมีอยู่ด้วยกันอย่างน้อย 3 แบบ ทว่าในสถานการณ์จำลองทุกๆ แบบ ปัจจัยชี้ขาดยังคงเป็น สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับพวกธนาคารกรีซ และสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับเงินอัดฉีดฉุกเฉินจากธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี)

    ในสถานการณ์ปัจจุบันที่เอเธนส์การประกาศใช้มาตรการควบคุมเงินทุน ให้ธนาคารต่างๆ ระงับการให้บริการ 1 สัปดาห์ และจำกัดการถอนเงินสดจากตู้เอทีเอ็ม กรีซจึงต้องการเงินสดฉุกเฉินโดยเร่งด่วนจากธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) เพื่อป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจเป็นอัมพาต ไม่เช่นนั้น เอเธนส์อาจถูกบีบให้ออกหนังสือสัญญารับสภาพหนี้หรือกลับไปใช้เงินสกุลแดร็กมา ซึ่งเท่ากับเป็นการอำลายูโรโซน โดยปริยาย

    การลาออกของวารูฟากิสกระตุ้นความหวังขึ้นมาบ้างว่า บรรดาเจ้าหนี้ที่ประกอบด้วยอีซีบี คณะกรรมาธิการยุโรป ซึ่งเป็นองค์กรบริหารของอียู และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) อาจยอมกลับสู่โต๊ะเจรจา

    มิเชล ซาแปง รัฐมนตรีคลังฝรั่งเศสแสดงความเห็นว่า ขณะนี้ ขึ้นอยู่กับเอเธนส์ว่า จะยื่นข้อเสนอใหม่หรือไม่ และย้ำว่า การลงประชามติไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาใดๆ

    [​IMG]
    @นายอเล็กซิส ซีปราส นายกรัฐมนตรีกรีซ(กลาง) เดินทางออกจกทำเนียบประธานาธิบดีหลังเสร็จสิ้ยยการหารือกับเหล่าผู้นำของพรรคในกรุงเอเธนส์เมื่อวันจันทร์(6ก.ค.) หลังผู้ลงคะแนนปฏิเสธข้อเสนอของพวกเจ้าหนี้ที่จะให้ยอมปฏิรูปด้วยมาตรการเข้มงวดเพื่อแลกกับเงินกู้ช่วยไม่ให้ล้มละลาย

    สอดคล้องกับคำแถลงยูโรกรุ๊ปเมื่อวันจันทร์ที่แสดงความหวังว่า รัฐบาลกรีซจะมีข้อเสนอใหม่มาให้พิจารณาในการหารือฉุกเฉินวันอังคาร

    กระนั้น เจ้าหน้าที่อียูเปิดเผยว่า ขณะนี้ เป็นการยากที่จะผ่อนปรนเงื่อนไขการปฏิรูปให้เอเธนส์ โดยอ้างอิงข้อเท็จจริงที่ว่า กรีซกลับสู่ภาวะถดถอยอีกครั้งหลังจากพรรคฝ่ายซ้ายไซริซาของซีปราสชนะการเลือกตั้งเมื่อเดือนมกราคม ส่งผลให้สถานะการคลังของกรีซย่ำแย่กว่าตอนที่ทุกฝ่ายพยายามหารือเพื่อร่างข้อเสนอเงินกู้ที่ถูกรัฐบาลชุดนี้ปฏิเสธเสียอีก

    ทั้งนี้บรรดาผู้นำยุโรปต่างแสดงความผิดหวังกับผลการลงประชามติของกรีซ อาทิ เจอโรน ดิจเซลโบลม ประธานยูโรกรุ๊ปที่บอกว่า การโหวตโนเป็นสิ่งที่น่าเสียใจอย่างยิ่งสำหรับอนาคตของกรีซ

    [​IMG]
    @ยานิส วารูฟากิส รัฐมนตรีคลังกรีซ ขับรถจักรยานยนต์ออกไปจากกระทรวงการคลัง โดยมีแฟนสาวซ้อนท้าย หลังยื่นใบลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีประจำกระทรวงเรียบร้อยแล้ว

    ในเวลาต่อมาของวันจันทร์ สเตฟเฟน ไซแบร์ต โฆษกของนายกรัฐมนตรีแมร์เคิลแห่งเยอรมนี ยังได้ออกมาสาดน้ำเย็นใส่ความหวังที่จะได้เห็นการประนีประนอม โดยเขาระบุว่า การออกจากตำแหน่งของวารูฟากิส ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรเลย

    “มันไม่ได้เกี่ยวกับตัวบุคคล หากแต่เป็นเรื่องของจุดยืนมากกว่า” ไซแบร์ต กล่าวพร้อมกับเสริมว่า ในปัจจุบัน “ยังไม่มีพื้นฐานใดๆ ที่จะให้มาทำการเจรจากันเพื่อให้ได้ข้อตกลงช่วยเหลือฉบับใหม่”

    “มันขึ้นอยู่กับกรีซมากกว่า” ว่ายังต้องการที่จะอยู่ในยูโรโซนต่อไปหรือไม่ โฆษกผู้นี้บอก “เรากำลังเฝ้ารอที่จะได้เห็นว่ารัฐบาลกรีซจะยื่นข้อเสนออะไรให้แก่หุ้นส่วนชาวยุโรปของตนบ้าง


     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    [​IMG]

    @ยานิส วารูฟากิส รัฐมนตรีคลังกรีซ ขับรถจักรยานยนต์ออกไปจากกระทรวงการคลัง โดยมีแฟนสาวซ้อนท้าย หลังยื่นใบลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีประจำกระทรวงเรียบร้อยแล้ว ภาพจาก
     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ญี่ปุ่นเฮ! ยูเนสโกขึ้นทะเบียน “เขตอุตสาหกรรมยุคเมจิ” เป็นมรดกโลก
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 6 กรกฎาคม 2558 15:00 น. (แก้ไขล่าสุด 6 กรกฎาคม 2558 15:01 น.)

    [​IMG]

    @เหมืองถ่านหิน “ฮาชิมะ” หรือที่รู้จักกันในชื่อ “เกาเรือรบ” ในจังหวัดนางาซากิได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยยูเนสโกเมื่อวันอาทิตย์ (5 ก.ค.)

    เอเอฟพี – ญี่ปุ่นเฉลิมฉลองการขึ้นทะเบียนพื้นที่อุตสาหกรรมยุคเมจิเป็นมรดกโลกของยูเนสโกในวันนี้ (6) แม้ว่าจะถูกโซลคัดค้านในตอนแรกจากกรณีการบังคับใช้แรงงานชาวเกาหลีในช่วงต้นศตวรรษที่ 20

    คณะกรรมาการมรดกโลกขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) เพิ่มสถานที่ 23 แห่งที่ถูกพิจารณาว่าเป็นตัวแทนของการปฏิวัติอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นช่วงรัชสมัยจักรพรรดิเมจิ (1868-1912) ลงในรายชื่อมรดกโลกเมื่อวันอาทิตย์ (5)

    สถานที่ดังกล่าวประกอบด้วยโรงงานเหล็ก , อู่ต่อเรือ และเหมืองถ่านหิน

    ในทางตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองฟุกุโอกะ ที่ตั้งของเหมืองมิอิเกะ ผู้ว่า ฮิโรชิ โองาวะ ให้คำมั่นว่า “ผมจะใช้มรดกโลกอันทรงคุณค่าแห่งนี้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและรักษามันไว้ให้กับลูกหลานสืบไป”

    การได้ขึ้นทะเบียนมรดกโลกของยูเนสโกสามารถนำมาซึ่งผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ เพราะว่ามันจะเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวได้อย่างดี แหล่งมรดกโลกมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือด้านการเงินเพื่อการอนุรักษ์

    อย่างไรก็ตาม ความพยายามของโตเกียวที่จะทำให้สถานที่ดังกล่าวได้รับการขึ้นทะเบียนได้จุดชนวนข้อพิพาททางการทูตขึ้น เนื่องจากเกาหลีใต้และจีนระบุว่า สถานที่ดังกล่าวมีอยู่ 7 แห่งที่เคยเป็นศูนย์กลางสำหรับการเนรเทศและการบังคับใช้แรงงานในช่วงที่พวกเขาถูกญี่ปุ่นยึดครอง

    ญี่ปุ่นควบรวมคาบสมุทรเกาหลีในปี 1910 และปกครองอยู่จนพวกเขาพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 1945 ขณะที่การรุกรานแมนจูเรียมีขึ้นในปี 1931 ซึ่งพวกเขาได้จัดตั้งรัฐบาลหุ่นเชิดและฐานทัพแห่งหนึ่งเพื่อสร้างความปั่นป่วนในจีน

    [​IMG]

    ความพยายามขึ้นทะเบียนมรดกโลกดังกล่าวยิ่งสั่นคลอนความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นและเพื่อนบ้านทั้งสองที่ตึงเครียดอยู่แล้วจากข้อพิพาททางประวัติศาสตร์ช่วงสงคราม โดยเฉพาะเรื่องระบบทาสกามของโตเกียว

    ถึงกระนั้นก็ยังมีความพยายามที่จะลดความตึงเครียดดังกล่าว โดยคณะผู้แทนของญี่ปุ่น กล่าวว่า พวกเขาพร้อมน้อมรับข้อกังวลบางข้อ

    ญี่ปุ่นจะ “จะจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเพื่อจดจำผู้ที่เคยเป็นเหยื่อนในพื้นที่ดังกล่าว” พวกเขากล่าว ซึ่งเป็นการให้คำมั่นที่ทำให้โซลยกเลิกการคัดค้านการขึ้นทะเบียนดังกล่าว

    กระทรวงการต่างประเทศเกาหลีใต้ยินดีกับความเคลื่อนไหวดังกล่าวที่พวกเขามองว่าเป็นการยอมอ่อนข้อของโตเกียว

    “เป็นครั้งแรกที่ญี่ปุ่นพูดถึงข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่ชาวเกาหลีถูกบังคับใช้แรงงานภายใต้สภาพแวดล้อมอันเลวร้ายในช่วงทศวรรษ 1940” กระทรวงฯ ระบุในถ้อยแถลง

    อย่างไรก็ตาม ฟูมิโอะ คิชิดะ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของญี่ปุ่น กล่าวว่า ความเคลื่อนไหวของโตเกียวไม่ได้เปลี่ยนจุดยืนโดยพื้นฐานของพวกเขา

    “จุดยืนของรัฐบาลเกี่ยวกับผู้ที่ถูกเกณฑ์จากเกาหลีไม่ได้เปลี่ยนแปลง” โยชิฮิเดะ สุกะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น กล่าวในวันนี้ (6)

    โตเกียวยืนกรานว่าประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับการชดเชยให้กับบุคคลและสิทธิของพวกเขาในการเรียกร้องการชดเชยจากรัฐได้รับการสะสางไปทั้งสิ้นแล้ว เมื่อทั้งสองประเทศปรับความสัมพันธ์สู่ระดับปกติในปี 1965

     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ชาวกรีซไม่เอามาตรการรัดเข็มขัดของเจ้าหนี้ ทำตลาดหุ้นเอเชียพากันแดงเถือกโดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 6 กรกฎาคม 2558 16:15 น.

    [​IMG]

    เอเอฟพี - ตลาดหุ้นในเอเชียพากันกลายเป็นตัวเลขสีแดงในวันจันทร์ (6 ก.ค.) หลังรู้ผลประชามติของชาวกรีซที่ไม่เอามาตรการรัดเข็มขัดของบรรดาเจ้าหนี้ ทำให้ประเทศของพวกเขาเข้าใกล้เส้นทางการออกจากยูโรโซน ขณะเดียวกันตลาดหุ้นจีนก็ผันผวนรุนแรงจนภาครัฐต้องออกมาตรการต่างๆ เข้ามาพยุงตลาด

    ที่โตเกียว ดัชนีตลาดหุ้นตกลงไป 2.08 เปอร์เซ็นต์ เป็นจำนวน 422.67 จุด ทำให้ตัวเลขอยู่ที่ 20,112.12 จุด ส่วนที่กรุงโซล ตลาดหุ้นร่วงลงไป 2.40 เปอร์เซ็นต์ เป็นจำนวน 50.48 จุด ดัชนีอยู่ที่ 2053.93 จุด ทางด้านซิดนีย์ร่วงไป 1.11 เปอร์เซ็นต์ เป็นจำนวน 61.60 จุด ดัชนีอยู่ที่ 5,476.70 จุด

    สำหรับที่เซี่ยงไฮ้ ดัชนีตลาดหุ้นขยับตัวขึ้นไป 7.82 เปอร์เซ็นต์ตอนเปิดตลาด ก่อนจะร่วงลงมาติดลบเกือบ 1 เปอร์เซ็นต์เป็นระยะเวลาสั้นๆ ในช่วงบ่าย แต่พอถึงช่วงหมดวันก็ถีบตัวเพิ่มขึ้น 2.41 เปอร์เซ็นต์ เป็นจำนวน 89.00 จุด ดัชนีอยู่ที่ 3,775.91 จุด

    ทางด้านฮ่องกง ตลาดหุ้นร่วงลงไป 3.18 เปอร์เซ็นต์ เป็นจำนวน 827.83 จุด ดัชนีอยู่ที่ 25236.28 จุด โดยในตอนเปิดตลาดนั้น ตัวเลขมีการขยับขึ้นเล็กน้อยราว 0.70 เปอร์เซ็นต์ เพราะได้รับอานิสงค์จากการเปิดตลาดที่ร้อนแรงในจีนแผ่นดินใหญ่

    ช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลจีนนั้นได้ประกาศมาตรการต่างๆ เข้ามาช่วยพยุงตลาดหุ้น ที่มูลค่าลดลงไปแล้วราว 1 ใน 3 นับตั้งแต่ขึ้นไปถึงจุดสูงสุดเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน

    เมื่อวันอาทิตย์ ทางการจีนได้ระบุว่า ธนาคารกลางจะช่วยในเรื่องสภาพคล่องให้แก่ ไชน่า ซิเคียวริตี ไฟแนนซ์ ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลหนุนหลัง นอกจากนี้คณะกรรมาธิการกำกับดูแลหลักทรัพย์ของจีนยังบอกด้วยว่า จะไม่มีการออกหุ้นไอพีโอใหม่ๆ ในอนาคตอันใกล้นี้

    ขณะที่บรรดาบริษัทโบรกเกอร์รายใหญ่ 21 แห่ง ก็ได้ออกมาระบุเมื่อวันเสาร์ว่า พวกเขาจะร่วมกันลงทุนด้วยเงินอย่างน้อย 120 พันล้านหยวน ในการจัดตั้งกองทุนซื้อขายหุ้นบลูชิป

    ความเคลื่อนไหวเหล่านี้เกิดขึ้นหลังจากที่การดำเนินการอื่นๆ เมื่อสัปดาห์ที่แล้วไม่อาจหยุดยั้งการตกต่ำของตลาดหุ้น อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์มองว่าตลาดคงไม่ตอบสนองเชิงบวกต่อมาตรการเหล่านี้ โดยเชื่อว่าภาวะตลาดหมีนั้นยากที่จะเปลี่ยนแปลงได้


     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ไอเอสยึดคืนเมืองใกล้ “เมืองหลวงคอลิฟะห์” จากกองกำลังเคิร์ด โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 6 กรกฎาคม 2558 19:03 น.

    [​IMG]

    รอยเตอร์ – นักรบกลุ่มรัฐอิสลาม (ไอเอส) ยึดเมืองแห่งหนึ่งในซีเรียใกล้กับเมืองรอกเกาะห์คืนจากกองกำลังชาวเคิร์ดในวันนี้ (6) กลุ่มสังเกตการณ์ที่เฝ้าติดตามสงครามดังกล่าว รายงาน โดยปฏิบัติการชิงคืนพื้นที่ใกล้เมืองหลวงโดยพฤตินัยของพวกเขาครั้งนี้มีขึ้น 2 วันหลังจากที่เมืองรอกเกาะห์ถูกถล่มด้วยการโจมตีทางอากาศที่นำโดยสหรัฐฯ

    กลุ่มสังเกตการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในซีเรีย (Syrian Observatory for Human Rights) กล่าวว่า กลุ่มไอเอสได้ยึดเมืองไอน์อิสซาและพื้นที่โดยรอบจากกองกำลังวายพีจี ซึ่งเพิ่งยึดเมืองแห่งนี้จากกลุ่มไอเอสเมื่อ 2 สัปดาห์ที่แล้ว

    ในตอนนี้ไม่สามารถติดต่อขอความคิดเห็นจากโฆษกของกลุ่มวายพีจีได้ แต่ก่อนหน้านี้เขารายงานว่ามีพวกนักรบไอเอสจำนวนมากบุกโจมตีที่มั่นของกลุ่มวายพีจีในพื้นที่ดังกล่าวซึ่งอยู่ห่างจากเมืองรอกเกาะห์ไปทางเหนือราว 50 กิโลเมตร

    เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ กล่าวว่า การโจมตีทางอากาศในเมืองรอกเกาะห์เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นหนึ่งในการโจมตีที่รุนแรงที่สุดต่อพวกไอเอสในซีเรีย

    กลุ่มสังเกตการณ์ฯ ระบุว่า การโจมตีดังกล่าวทำลายสะพานข้ามแม่น้ำ 7 แห่งในเมืองนี้ ซึ่งถูกแบ่งแยกจากตอนใต้ด้วยแม่น้ำยูเฟรติส การจู่โจมดังกล่าวชัดเจนว่าเป็นความพยายามที่จะลดทอนความสามารถในการเคลื่อนย้ายนักรบและยุทโธปกรณ์ของกลุ่มไอเอส ซึ่งสถาปนาดินแดนคอลิฟะห์คร่อมทั้งซีเรียและอิรัก

    ไอน์อิสซา เมืองซึ่งถูกกลุ่มไอเอายึดกลับคืนในวันนี้ (6) ตั้งอยู่บริเวณทางหลวงตะวันออก-ตะวันตกเส้นหลัก ที่วิ่งจากเมืองอเลปโปในภาคตะวันตกของซีเรียไปจนถึงเมืองโมซูลของอิรัก

    กองกำลังที่นำโดยกลุ่มวายพีจียึดเมืองไอน์อิสซาได้เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน โดยเป็นส่วนหนึ่งของการบุกโจมตีที่มุ่งลึกเข้าสู่จังหวัดรอกเกาะห์ ที่มั่นสำคัญของกลุ่มไอเอส กลุ่มวายพีจียังได้ยึดเมืองเทลอับยาดบริเวณพรมแดนตุรกีในการบุกโจมตีดังกล่าวด้วย


     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สหภาพครูเม็กซิกันทั่วประเทศเดินขบวนต่อต้าน “นโยบายปฎิรูปครู” ของปธน.เอ็นริเก เปนญา เนียโต โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 6 กรกฎาคม 2558 15:27 น.

    [​IMG]

    เอเจนซีส์ – สมาชิกสหภาพครูเม็กซิกันทั่วประเทศจำนวนหลายร้อยคนเดินขบวนในหลายเมืองใหญ่พร้อมกันทั่วประเทศในวันเสาร์(4)ที่ผ่านมา ต่อต้านนโยบายปฎิรูปการศึกษาของประธานาธิบดีเม็กซิโก เอ็นริเก เปนญา เนียโต ซึ่งกำหนดให้ครูเม็กซิโกต้องผ่านการวัดคุณภาพตามมาตรฐานใหม่ สร้างความไม่พอใจไปทั่ว โดยเฉพาะสหภาพครูในรัฐวาฮากา( Oaxaga )ทางใต้ที่ได้ปักหลักชุมนุมต่อต้านมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน และก่อความไม่สงบ รวมไปถึงเผาสถานที่ราชการ และป่วนระบบการส่งน้ำมันท้องถิ่น และขัดขวางการเลือกตั้ง

    ฟ็อกซ์ นิวส์ ลาตินอเมริกา สื่อสหรัฐฯรายงานเมื่อวานนี้(4)ว่า ฝูงผู้ประท้วงครูหลายร้อยคนปรากฏตัวในวันเสาร์(4)เพื่อแสดงการคัดค้านแผนการปฎิรูปการศึกษาครั้งใหญ่ของรัฐบาลประธานาธิบดีเม็กซิโก เอ็นริเก เปนญา เนียโต ปฎิเสธการจัดสอบครูทั่วประเทศตามการประเมินผลของสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐานเม็กซิโก (SEP)

    ทั้งนี้การเดินขบวนใหญ่ที่สุดเกิดขึ้นกลางเมืองหลวงของประเทศ ซึ่งมีภาพศาตราจารย์จากรัฐเม็กซิโกออกเดินประท้วงจากอนุสาวรีย์อิสรภาพเม็กซิโก หรือ Angel of Independence monument ไปยังบ้านพักประธานาธิบดีเม็กซิโก เอ็นริเก เปนญา เนียโต เพื่อขอเข้าพบกับประธานาธิบดี หรือตัวแทนในการเจรจา

    และจากแถลงการณ์ของกลุ่มสหภาพครูเม็กซิโกจากการรายงานผ่านสื่อท้องถิ่น วิกเตอร์ โรดริเกซ (Victor Rodriguez) สมาชิกเซกชัน 36 ของกลุ่มสหภาพ SNTE ระบุในแถลงการณ์ความว่า ทางกลุ่มขอปฎิเสธนโยบายปฎิรูปการศึกษา ที่เป็นเสมือนการลงโทษด้วยวิธีการจัดสอบครู และรวมไปถึงทางกลุ่มยังไม่ยอมรับร่างกฎหมายแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 3 และ 73 เพราะการแก้ไขนี้ เป็นการละเมิดสิทธิของครูเม็กซิกันทั่วประเทศ และยังเป็นการทำลายหลักประกันการจัดการศึกษาที่แท้จริงสำหรับพลเมืองเม็กซิกัน”

    นอกจากนี้ การเดินขบวนยังเกิดขึ้นในกวาดาลาฮารา (Guadalajara) เมืองเอกของรัฐฮาลิสโก(Jalisco) และรวมถึงเมืองอาคาปูลโค (Acapulco) ในรัฐเกร์เรโร (Guerrero)

    ฟ็อกซ์ นิวส์รายงานเพิ่มเติมอีกว่า ในช่วงระหว่างวันที่ 4-6 กรกฎาคมนี้ ครูทั่วเม็กซิโกจำนวน 46,783 คนต้องเข้าทำการทดสอบประเมินคุณภาพครูที่รวมไปถึง ทดสอบความรู้ การวิธีการสอน และการเขียน รวมไปถึงการจัดการวางแผนการสอน

    ซึ่งการประเมินผลนี้ถูกจัดขึ้นในทั้งหมด 30 รัฐทั่วประเทศ ยกเว้นในบางรัฐ เพื่อเป้าหมายกยกระดับมาตรฐานตามเกณฑ์ครูเม็กซิโกที่ทางรัฐบาลกำหนด และแต่งตั้งบรรจุตำแหน่งราว 6,487 ตำแหน่งในส่วนของผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้ตรวจสอบ และเจ้าหน้าที่แนะแนวในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

    โดยSEP ได้ประกาศในวันศุกร์(3)ที่ผ่านมาว่า ได้มีการยกเลิกการจัดประเมินผลชั่วคราวในระดับครูมัธยมปลายในรัฐ
    วาฮากา รัฐมิโชอากัง และบางส่วนในรัฐชิอาปัส เพราะไม่สามารถจัดการได้

    ด้านวอชิงตันโพสต์ สื่อสหรัฐฯรายงานเพิ่มเติมในวันจันทร์(5)ว่า รัฐบาลเม็กซิโกประสบปัญหาในการจัดการการประท้วงที่ลุกลามของสหภาพครูในรัฐวาฮากา ซึ่งได้เริ่มต้นการประท้วงโดยการปักหลักพักค้างมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน เป็นต้นมา

    ซึ่งมีรายงานว่าสหภาพครูในรัฐแห่งนี้เป็นเสมือนหนามยอกที่คอยทิ่มตำรัฐบาลของประธานาธิบดีเอ็นริเก เปนญา เนียโต มาแต่ต้น และล่าสุดได้ออกมาท้าทายนโยบายกฎหมายปฎิรูปการศึกษาของเขาที่ได้เริ่มต้นใช้ในปี 2013 และทดลองทำการทดสอบวัดคุณภาพครูกับครูระดับประถมศึกษาเม็กซิโกในช่วงระหว่าง 20-22 มิถุนายน 2014 ในทั้งหมด 30 รัฐ ไม่รวมไปถึงรัฐวาฮากา และรัฐมิโชอากัง เพราะถูกทางสหภาพครูท้องถิ่น CNTE และกลุ่มสหภาพครู EFE ขู่บอยคอตต์ที่จะไม่ใช้สิทธิ์การเลือกตั้งสมัยกลางเทอม

    โดยวอชิงตันโพสต์ระบุอีกว่า รัฐบาลกลางเม็กซิโกต้องการลิดรอนอำนาจสหภาพครูเม็กซิกันที่มีอยู่ในมือ รวมไปถึงด้านการควบคุมการเงินและการปกครองให้สมาชิกอยู่ใต้อาณัติ และต้องการให้รัฐบาลรัฐท้องถิ่นมีอำนาจเข้มแข็งเพื่อที่จะถืออำนาจเหล่านี้แทน

    และในขณะนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า สมาชิกสหภาพครูที่มีจำนวนถึง 80,000 คนทั่วประเทศต้องการเข้าร่วมการทดสอบประเมินคุณภาพการศึกษาหรือไม่ ซึ่งรวมไปถึงสหภาพครู “เนชันแนล เอดูเคชัน เวิร์กเกอร์ส” ที่มีสมาชิกทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 300,000 คน ซึ่งจัดว่าเป็นสหภาพครูที่ใหญ่ที่สุดในลาตินอเมริกา

    สื่อสหรัฐฯรายงานเพิ่มเติมต่อว่า สำหรับครูในรัฐวาฮากา สังกัดเซกชัน 22 ที่รัฐนี้ถือเป็นถิ่นอิทธิพลของกลุ่มความไม่สงบทางภาคใต้ และจึงไม่แปลกใจที่วอชิงตันโพสต์รายงานว่า มีการเคลื่อนไหวของกลุ่มติดอาวุธแทรกซึมลึกอยู่ภายในองค์กรวิชาชีพครูในรัฐทางใต้แห่งนี้

    นอกจากนี้จากแหล่งข่าวเจ้าหน้าที่รัฐบาลเม็กซิโกเปิดเผยต่อว่า รัฐวาฮากา ซึ่งเป็นรัฐที่ยากจนที่สุดรัฐหนึ่งของเม็กซิโก แต่ทว่างบประมาณทางการศึกษาที่ได้รับนั้นกลับถูกควบคุมโดยทางกลุ่มหสภาพครูท้องถิ่น รวมไปถึงมีอำนาจในการตัดสินแต่งตั้ง โยกย้าย และเลื่อนขั้นครูได้ และที่สำคัญที่สุดยังสามารถยับยั้งโครงการของโรงเรียนรัฐที่ทางกลุ่มสหภาพครูในรัฐนี้ไม่เห็นด้วย

    แหล่งข่าวรัฐบาลเม็กซิโกชี้ต่อว่า ความก้าวหน้าในอาชีพครูเม็กซิกันขึ้นอยู่กับการเข้าร่วมสหภาพเป็นหลัก และรวมไปถึงการทำกิจกรรมการประท้วงร่วมกับทางกลุ่ม

    ด้านแอลเบอร์โต อาซิส นาสซิฟ ( Alberto Aziz Nassif) นักวิจัยจากสถาบันวิจัยการศึกษาระดับสูงด้านมนุษยวิทยาสังคมในเม็กซิโกซิตี ให้ความคิดเห็นว่า “การทดสอบวัดผลครูได้กลายเป็นการคุกคามความไม่มั่นคงในชีวิตของผู้ประกอบอาชีพสอนในเม็กซิโกไปเสียแล้ว ดังนั้นครูเหล่านั้นจึงหันกลับมาข่มขู่รัฐบาลกลางเม็กซิโกเป็นการโต้ตอบ” และเสริมต่อว่า เพราะทางรัฐบาลต้องการการตอบสนอง แต่พวกเขาไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร ดังนั้นจึงนำไปสู่สถานการณ์ปิดตายที่ไม่มีทางออกในที่สุด”

     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    รัสเซียจับมือจีน ประกาศ เลิกใช้เงินดอลลาร์ ซื้อขายพลังงาน
    ต่างประเทศJul 6, 2015

    [​IMG]

    รัสเซียจับมือจีน ประกาศ เลิกใช้เงินดอลลาร์ ซื้อขายพลังงาน ปูติน ชี้ โลกหันหลังให้ US เพราะทำตัวกร่าง

    เอเจนซีส์/ASTV ผู้จัดการออนไลน์- “กาซปรอม” ยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานของรัสเซียประกาศยกเลิกการใช้ “เงินดอลลาร์สหรัฐฯ” ในการซื้อ-ขายพลังงานกับบริษัทของจีน เตรียมจับมือรัฐบาลปักกิ่งใช้เงินสกุล “รูเบิล” และ “เงินหยวน” แทนในตลาดพลังงาน ด้าน “วลาดิมีร์ ปูติน” ผู้นำรัสเซียระบุ ทั่วโลกกำลังหันหลังให้อเมริกา เพราะ “ทำตัวกร่าง”

    รายงานข่าวล่าสุดจากกรุงมอสโกของรัสเซียยืนยันว่า บริษัท “กาโซวายา โปรมีชเลนนอสต์” หรือชื่อย่อที่รู้จักกันทั่วไปว่า “กาซปรอม” ยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานของรัสเซีย ซึ่งครองตำแหน่งผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ที่สุดของโลก ประกาศในคืนวันพฤหัสบดี (26) ยกเลิกการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในทางบัญชีอย่างสิ้นเชิง โดยจะเริ่ม “นำร่อง” ใช้วิธีการนี้กับกรณีที่มีการติดต่อซื้อขายด้านพลังงานกับรัฐบาลจีน หรือบริษัทเอกชนของจีนก่อน โดยเตรียมหันมาใช้เงินรูเบิลของรัสเซีย และเงินหยวนของจีน เป็นสื่อกลางในการซื้อขายก๊าซธรรมชาติอย่างเต็มตัว

    อังเดร ครูกลอฟ ประธานบริหารฝ่ายการเงินของกาซปรอมออกมาแถลงที่สำนักงานใหญ่ของบริษัทในกรุงมอสโก โดยระบุว่า การตัดสินใจเลิกใช้เงินดอลลาร์ในการซื้อขายก๊าซธรรมชาติครั้งนี้ผ่านการพิจารณาอย่างรอบคอบแล้วจากผู้ที่เกี่ยวข้องซึ่งต่างเชื่อมั่นว่า “การยุติบทบาทของเงินดอลลาร์ในตลาดพลังงาน” จะไม่ส่งผลกระทบทางลบใดๆ ต่อทั้งบริษัท รวมถึงรัฐบาลรัสเซียและจีน โดยคาดว่า การหันมาใช้เงินรูเบิลและเงินหยวนแทนนั้น จะสามารถเริ่มดำเนินการได้อย่างเต็มรูปแบบภายใน 1 ปี หรืออย่างช้าไม่เกิน 2 ปี

    ด้าน วิกตอร์ ซุบคอฟ ประธานใหญ่ของกาซปรอมออกมาประกาศว่า การยกเลิกใช้เงินดอลลาร์อเมริกันในการซื้อขายด้านพลังงานถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่สุดนับตั้งแต่ที่กาซปรอมก่อตั้งกิจการเมื่อปี 1989 และคาดหวังว่า จะมีการหันไปใช้เงินตราสกุลอื่นๆ เป็นสื่อกลางในตลาดพลังงานโลกมากขึ้นในอนาคต

    “นี่คือข่าวที่น่ายินดีที่สุดนับตั้งแต่ที่กาซปรอมเปิดตัวสู่ตลาดพลังงานโลกเมื่อปี 1989 ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า การลดบทบาทของเงินดอลลาร์ ถือเป็นเรื่องที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ และในอนาคต บทบาทของเงินตราสกุลอื่นในตลาดพลังงานมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้น” วิกตอร์ ซุบคอฟ ประธานใหญ่ของกาซปรอมกล่าวต่อผู้สื่อข่าว

    ขณะที่ ประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน ผู้นำรัสเซียออกมาให้สัมภาษณ์ว่า เวลานี้สถานะและความน่าเชื่อถือของสหรัฐอเมริกาในเวทีโลกกำลัง “เสื่อมถอย” ลงอย่างมาก และการเสื่อมถอยที่ว่านี้ เป็นผลพวงโดยตรงจากการที่รัฐบาลอเมริกัน “ทำตัวกร่าง” และมีพฤติกรรมแทรกแซงประเทศต่างๆ ทั่วโลกเพียงเพื่อ “ปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง” พร้อมย้ำว่า การตัดสินใจของกาซปรอมในการเลิกใช้เงินดอลลาร์เป็นสื่อกลางทางบัญชีครั้งนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นของ “บทเรียนล้ำค่า” อีกหลายบทเรียนที่สหรัฐฯกำลังจะได้รับ และเป็นสัญญาณเตือนว่า ทั่วโลกกำลัง “หันหลังให้อเมริกา”

    ก่อนหน้านี้ รัสเซียและจีนเพิ่งบรรลุข้อตกลงประวัติศาสตร์ที่มีการลงนามเมื่อ 21 พฤษภาคม โดยตามข้อตกลงดังกล่าวระบุว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน ดินแดนที่ได้ชื่อว่ามีขนาดของเศรษฐกิจ “ใหญ่ที่สุดในเอเชีย” และยังเป็นชาติที่มีการ “บริโภคพลังงาน” มากเป็นลำดับต้นๆ ของโลก ตกลงสั่งซื้อก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียในวงเงินมหาศาลคิดเป็นเงินไทยราว “12.95 ล้านล้านบาท”

    โดยที่ข้อตกลงดังกล่าวนี้ ครอบคลุมการส่งมอบก๊าซธรรมชาติจากแดนหมีขาวสู่แดนมังกรนานถึง 30 ปีเต็ม และกาซปรอมจะทำหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดส่งก๊าซธรรมชาติให้กับทางไชน่า เนชันแนล ปิโตรเลียม (CNPC) ที่อยู่ภายใต้การดูแลของรัฐบาลจีนในปริมาณ “38,000 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี”

     

แชร์หน้านี้

Loading...