ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ปอกเปลือก ทรราช
    เจาะลึกประท้วงขึ้นค่าไฟฟ้าในอาร์เมเนีย เพราะรัสเซียอยู่เบื้องหลัง? หรือจะกลายเป็น ElectroMaidan ยูเครนไมดานโมเดล? หรือเพราะมือที่มองไม่เห็นต้องการจะให้เป็นอย่างอื่น (ปฏิวัติสี) กันแน่? (บทเรียนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานของประเทศ) [ตอนที่ 2/4]

    [​IMG]

    --------------
    ตอนที่2: ประท้วงขึ้นค่าไฟ New Miadan จุดเริ่มต้นของ "ปฏิวัติสี" ในอาร์เมเนีย?
    --------------
    สื่อฯรัสเซียรายงานว่า สื่อฯยูเครนและบางสำนักของรัสเซียเหมือนกำลังสุมไฟให้ขยายวงกว้างออกไปโดยบอกว่านี่เป็น "new Maidan" และสื่อฯบางสำนักของยูเครนเรียกว่า "ArmyanoMaidan" ที่กำลังลุกขึ้นมาเพื่อต่อต้านการยึดครองจากรัสเซีย มากกว่าจะเป็นเรื่องการขึ้นค่าไฟฟ้า (stepping out against Russian occupation" than about electricity hikes) ในขณะที่ Hrant Melik-Shahnazaryan นักรัฐศาสตร์ชาวอาร์เมเนียมองว่าสื่อฯบางสำนักอาจจะต้องการใส่ร้ายป้ายสีพวกม็อบผู้ประท้วงก็ได้
    Hrant Melik-Shahnazaryan กล่าวว่า "นี่เป็นอีกเรื่องหนึ่งในบรรยากาศของการนำเสนอข้อมูลข่าวสารซึ่งมีบางกลุ่มที่ต้องการให้มองว่ามีกระบวนการที่อยู่เบื้องหลังของการประท้วงในครั้งนี้ ซึ่งเป็นกระบวนการทางการเมือง มันเป็นเรื่องยากที่จะบอกได้ว่าใครอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ทั้งหมดนี้ แต่เป็นที่แน่ชัดแล้วว่าสำนักข่าวของยูเครนบางสำนักต้องการเห็นผู้ให้การสนับสนุน Maidan ว่าอยู่เบื้องหลังทั้งหมด หรืออย่างที่พวกเขาเรียกกลุ่มผู้ประท้วงว่าเป็น 'ผู้จัดงานอาร์เมเนียนไมดาน' สื่อฯยูเครนได้ตั้งชื่อให้กับกลุ่มผู้ประท้วงในกรุงเยเรวานเรียบร้อยแล้ว โดยเรียกพวกเขาว่า 'RatesMaidan' (การประท้วงขึ้นค่าไฟไมดานโมเดลตามแบบฉบับเหตุการณ์จลาจลเผาบ้านเผาเมืองที่จตุรัสไมดานในกรุงเคียฟประเทศยูเครนเมื่อต้นปี 2014)"
    Andrei Areshev นักรัฐศาสตร์ชาวอาร์เมเนียอีกคนกล่าวว่า "… แน่นอนว่ามีผู้เข้าร่วมประท้วงบางคนซึ่งอาจจะเป็นสมาชิกของกลุ่มต่างๆที่มีความเชื่อมโยงกับสถานทูตต่างๆของพวกตะวันตก ไม่มีอะไรน่าแปลกใจสำหรับเรื่องนี้ เพราะว่ามีกองกำลังต่างๆของต่างชาติอยู่ในประเทศนี้ (จากข้อมูลเบื้องต้นพบว่าไม่ใช่เฉพาะรัสเซียเท่านั้นที่มีกองทัพอยู่ในอาร์เมเนีย ยังมีชาติอื่นๆรวมอยู่ด้วยเช่น นาโต้ สหรัฐฯ กรีซ กลุ่มประเทศบอลติก) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพวกเราพูดถึงปฏิบัติการมวลชนและกลุ่มเคลื่อนไหว (พวกเขา) จะใช้โอกาสเหล่านี้เพื่อ 'ทำการทดสอบถนน' (test the street) : เพื่อให้เข้าใจว่าพวกเขาจะมีช่องทางหรือโอกาสอะไรบ้าง หากเหตุการณ์บานปลายออกไปตามสถานการณ์ต่างๆ"
    ตรงนี้น่าสนใจ... Andrei Areshev กล่าวต่ออีกว่า "หลักฐานข้อเท็จจริง ณ จุดหนึ่งก็คือว่า ธงของพวกสหภาพยุโรปถูกคลี่ออกมาอย่างรวดเร็ว และก็เร็วพอกับที่พวกเขาดึงออกไปเนื่องจาก 'กลุ่มผู้ประท้วงส่วนใหญ่เป็นกองกำลังที่มีความอ่อนไหวรับรู้ได้เร็วซึ่งเข้าใจว่าความต้องการเกี่ยวกับลักษณธทางเศรษฐกิจและสังคมนั้น (socio-economic nature) จะต้องไม่ถูกนำไปบิดเบือนให้กลายเป็นสโลแกนต่อต้านรัสเซีย (anti-Russia)' เพราะว่ามิฉะนั้นแล้วเหตุการณ์ในอาร์เมเนียก็จะกลายเป็นเหมือนกับยูเครนและสถานการณ์อื่นๆที่คล้ายกันนั้น" (แสดงว่าชาวอาร์เมเนียก็แยกแยะออก และรู้เท่าทันพวกหวังบ่อนทำลายเสถียรภาพภายในประเทศตนเองจากภายนอกเช่นกัน จึงไม่หลงกลพวกนักเสี้ยมเหล่านั้น)
    ทางกรุงมอสโคว์ที่กำลังจับตาดูเหตุการณ์การเคลื่อนไหวในอาร์เมเนียอย่างไม่กระพริบตาก็ออกมาพูดบ้าง โดยนาย Dmitry Peskov โฆษกทำเนียบปธน.ของรัสเซียออกมาแถลงข่าวว่า "อาร์เมเนียคือหุ้นส่วนที่ใกล้ชิดที่สุดของพวกเรา รัสเซียมีสายสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ร่วมกันกับอาร์เมเนียและประชาชนชาวอาร์เมเนีย รัสเซียหวังว่าในอนาคตอันใกล้นี้สถานการณ์จะได้รับการแก้ไขให้เป็นไปตามกฎหมายและจะไม่มีการละเมิดกฎหมาย" (RT news, 24 มิ.ย.58) (ท่าทีของสหรัฐฯกับรัสเซียต่างกันไหม?)
    ในขณะที่มีบางคนกำลังจุดกระแส "new color revolution" (ปฏิวัติสีรอบใหม่) ขึ้นมาในอาร์เมเนียโดยฉวยโอกาสจากการประท้วงขึ้นค่าไฟในครั้งนี้ ทางประธานกลุ่มผู้ก่อตั้งศูนย์ปฏิบัติการระหว่างประเทศของซาร่า (International Action Centre Sara Flounders) ออกมาแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ว่า "… นี่เป็นผลกระทบจากการที่สหรัฐฯและอียูแซงชั่นรัสเซีย และเป็นผลจากการลดค่าเงินของตัวเอง แต่อัตราที่เพิ่มขึ้นเมื่อเร็วๆนี้เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของสิ่งที่เรียกว่า 'ตลาดเสรี ตลาดทุนนิยม' (free market, capitalist market) ในอาร์เมเนีย ซึ่งไม่ได้มีผลในทางใดเลย ยกเว้นความยากจนจำนวนมากที่มีต่อประชาชนทุกคน"
    ประธานศูนย์ซาร่าฯกล่าวต่ออีกว่า "และในขณะเดียวกันพวกที่สร้างปัญหาเหล่านี้และการทำลายเสถียรภาพ (ภายในประเทศ) กำลังพยายามที่จะใช้เหตุการณ์นี้เพื่อวัตถุประสงค์ของพวกเขา ซึ่งเป็นเรื่องที่จริงแท้แน่นอน ดังนั้นเหตุการณ์นี้อาจจะนำไปสู่การปฏิวัติสีรอบใหม่แน่ๆ เนื่องจากตลาดทุนนิยมจะก่อให้เกิดการต่อต้านจากประชาชนครั้งแล้วครั้งเล่าผู้ที่รู้ว่าพวกเขากำลังจ่ายเงินให้ (พวกนายทุนเหล่านั้น)"
    ไหนๆก็พูดถึงเรื่องปฏิวัติสีกันแล้ว ขอต่ออีกซักหน่อยนะครับ เกี่ยวกับสถานการณ์ในอาร์เมเนียนี้ อย่างที่บอกไว้ก่อนหน้านี้ว่ารัสเซียจับตาดูอย่างใกล้ชิดเช่นกัน และเมื่อวันที่ 24 มิ.ย.58 ที่ผ่านมานาย Igor Morozov สมาชิกสภาสูงของรัสเซียก็ออกมากล่าวเตือนว่า "ดูเหมือนว่าขบวนมวลชนประท้วงในอาร์เมเนียในปัจจุบันนี้คล้ายกับระยะแรกของการปฏิวัติยึดอำนาจครั้งล่าสุดในยูเครน (โดยสหรัฐฯสนับสนุนและรู้เห็นเป็นใจ) วิกฤตการณ์ครั้งนี้อาจจะมีการจัดการ (ชักใยอยู่เบื้องหลัง) โดยสหรัฐฯจากคณะทูตของพวกเขาที่มีอยู่ในกรุงเยเรวานก็ได้ ขณะนี้อาร์เมเนียใกล้จะเข้าถึง coup d’etat ที่จะมีการใช้อาวุธยิงกันแล้ว สิ่งนี้กำลังจะเกิดขึ้น ยกเว้นปธน. Serge Sargsyan (ของอาร์เมเนียน) จะเรียนรู้บทเรียนบางอย่างจากเหตุการณ์วิกฤตไมดานในยูเครน และกระทำการสรุปบางอย่างซะก่อน"
    ส่วนนาย Konstantin Kosachev ประธานคณะกรรมาธิการด้านกิจการต่างประเทศของรัฐสภารัสเซียออกมาสรุปว่า "การเผชิญหน้ากันในปัจจุบันในกรุงเยเรวานนั้นเป็นเครื่องหมายบ่งบอกถึงสิ่งที่เรียกว่า 'ปฏิวัติสี' (color revolution) ซึ่งเป็นการล้มล้างระบบการปกครองประชาธิปไตยที่มาจาการเลือกตั้งโดยการใช้มวลชนผู้ประท้วงบนท้องถนน ตราบเท่าที่สถานการณ์ยังปรากฎว่ากำลังจะพัฒนาไปเป็นความขัดแย้งระหว่างประชาชนผู้ที่ไม่มีความสุขกับความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจและสังคม แต่เราไม่ควรหลอกตัวเอง (เนื่องจาก) การปฏิวัติสีทั้งหมดได้พัฒนามาจากสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกันนี้ ไม่มีอะไรเป็นเครื่องรับประกันอาร์เมเนียจากผลที่จะตามมาเช่นนั้น"
    RT news รายงานต่อว่า ปัจจุบันนี้รัสเซียได้ใส่รายชื่อปฏิวัติสีว่าเป็นภัยคุกคามที่ร้ายกาจต่อความมั่นคงของประเทศชาติและสันติภาพของนานาชาติ (a major threat to the national stability and international peace) ในเดือนมีนาคมปีนี้ นาย Nikolai Patrushev ประธานสภาความมั่นคงและอดีตฝ่ายรักษาความมั่นคงแห่งสหพันธรัฐ (ของรัสเซีย) ได้กล่าวว่า "สภาแห่งนี้จะพัฒนาแผนงานในรายละเอียดที่มุ่งไปยังการป้องกันปฏิวัติสี หรือความพยายามอื่นใดในการเปลี่ยนแปลงโดยใช้กำลังเพื่อเปลี่ยนแปลงอำนาจรัฐที่มาจากการเลือกตั้งอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ผ่านการประท้วงของมวลชนตามท้องถนน" (ชัดนะ รัสเซียเอาจริง ไม่มีทางที่จะให้มือที่มองไม่เห็นมาชักใยให้เกิดความไม่มั่นคงภายในรัสเซียขึ้นมาได้เด็ดขาด อ๊ะๆ นี่พูดถึงรัสเซียนะครับ อย่าพยายามดึงเข้ามาที่เมืองไทยหละ คนละกรณีกันนะครับ)
    The Eyes
    25/06/2558
    ----------
    15,000 Take to Streets of Armenian Capital Over Utilities Rate Hike / Sputnik International
    18 Hurt, 237 Arrested Following Protests Over Electricity Rates in Armenia / Sputnik International
    Thousands Protest in Armenian Capital Against Rising Electricity Prices / Sputnik International
    Armenian protesters refuse to meet president, continue ‘Electric Yerevan’ sit-in — RT News
    Protesters Remain Barricaded in Yerevan; Police Are on High Alert / Sputnik International
    The Interests That Power Armenia's 'Electric' Protests / Sputnik International
    http://rt.com/politi…/269392-russian-senator-armenia-unrest/
    http://uatoday.tv/…/armenian-protesters-against-electricity…
    Vorotan Complex of HPP
    http://www.reuters.com/…/us-armenia-energy-investment-idUSB…
     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ปอกเปลือก ทรราช
    เจาะลึกประท้วงขึ้นค่าไฟฟ้าในอาร์เมเนีย เพราะรัสเซียอยู่เบื้องหลัง? หรือจะกลายเป็น ElectroMaidan ยูเครนไมดานโมเดล? หรือเพราะมือที่มองไม่เห็นต้องการจะให้เป็นอย่างอื่น (ปฏิวัติสี) กันแน่? (บทเรียนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานของประเทศ) [ตอนที่ 3/4]

    [​IMG]

    ตอนที่3: ขายเขื่อน จุดกำเนิดที่มาของปัญหา สาเหตุหลักของการขึ้นค่าไฟ และนำมาซึ่งการประท้วง
    --------------
    วู้!… เยอะอ่ะ! เอาหละหลังจากที่เรียบเรียงถึงสถานการณ์และมุมมองต่างๆเกี่ยวกับการประท้วงขึ้นค่าไฟฟ้าในอาร์เมเนียมาซะยาว คราวนี้มาพูดถึง "หัวใจ" จุดกำเนิดและสาเหตุของปัญหาที่แท้จริงบ้าง อันนี้พลาดไม่ได้เลยหละ เพราะถ้าพลาดเดี๋ยวจะ "คุยกับเขาไม่รู้เรื่อง!" (คริๆ ขอยื้มมาใช้หน่อยนะครับ) มาดูซิว่าปัญหาการขึ้นค่าไฟฟ้าที่ว่านี้มันมีสาเหตุมาจากรัสเซียอย่างที่สื่อฯตะวันตกพากันประโคมข่าวโจมตีรัสเซียอยู่ในตอนนี้หรือเปล่า?

    [​IMG]

    เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.58 ที่ผ่านมาสำนักข่าว Sputnik news ของรัสเซียลงข่าวว่า "การประท้วง 'Electric Yerevan' เพื่อคัดค้านการขึ้นค่าไฟฟ้านั้นเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันกับโครงการขายเขื่อน (ผลิตไฟฟ้า) ที่มีวามซับซ้อนเป็นอย่างมากของรัฐบาลอาร์เมเนียให้กับบริษัทสัญชาติสหรัฐฯซึ่งเป็นที่รู้จักกันน้อยมากโดยการอนุมัติของรัฐบาลสหรัฐฯเอง เราจะมาดูกันว่ามันมีผลกระทบต่อการแผ่อิทธิพลของสหรัฐฯในภูมิภาคนี้อย่างไรบ้าง"
    ว้าวววว! มิน่าสื่อฯตะวันตกถึงไม่กล้าพูดและไม่กล้าเจาะเรื่องนี้เลย กรรม! นี่เป็นหนึ่งในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานของอาร์เมเนียที่สหรัฐฯเข้าไปฮุบกิจการซะเองเลยนะนี่ หลักฐานเริ่มถูกเปิดเผยออกมาเรื่อยๆแล้วว่างานนี้สหรัฐฯมีเอี่ยวด้วยแน่นอน แต่ทำเป็นลงข่าวกล่าวโทษรัสเซียไปโน่น แสบมาก!
    รายงานข่าวแบบเจาะลึกจากสื่อฯฝั่งรัสเซียบอกว่า การประท้วงคัดค้านการขึ้นค่าไฟในอาร์เมเนียในครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากที่รัฐบาลอาร์เมเนียได้แปรรูป (privatization) กิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำตกโวโรแทนและเขื่อน (Vorotan Hydroelectric Cascade) ให้กับบริษัท ContourGlobal ของสหรัฐฯ ซึ่งรายงานบอกว่าบริษัทดังกล่าวได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจากบริษัทการลงทุนภาคเอกชนในต่างประเทศ (Overseas Private Investment Corporation - OPIC) ของรัฐบาลสหรัฐฯ
    อันนี้เป็นความรู้เสริมคร่าวๆนะครับ โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำในเครือ Vorotan Complex ของอาร์เมเนียมีอยู่ 3 แห่งคือ TATEV HPP, SHAMB HPP, SPANDARYAN HYDROPOWER PLANT ตั้งอยู่ในแม่น้ำ Vorotan มี 3 สถานีโดยโรงไฟฟ้า Tatev เป็นโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำที่ใหญ่ที่สุดจากทั้งสามแห่งนี้ ซึ่งมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 157.2 megawatts ในขณะที่โรงไฟฟ้า SHAMB ผลิตกระแสไฟได้มากที่สุดที่ 171 megawatts โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำทั้งเขื่อนและน้ำตก (เทียม) เหล่านี้สร้างขึ้นในสมัยที่อาร์เมเนียยังเป็นส่วนหนึี่งของโซเวียตทั้งนั้น และอาร์เมเนียมีโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำด้วยกันทั้งหมด 9 แห่ง นอกจากโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำแล้ว อาร์เมเนียยังมีการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานความร้อนจากแก๊สของอิหร่านและรัสเซีย และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และพลังงานแสดงอาทิตย์ด้วย
    แต่ในกรณีของอิหร่านนั้นรัสเซียเป็นผู้ถือหุ้นมากกว่า สรุปก็คือแก๊สของรัสเซียอีกนั่นแหละ ถ้าอิหร่านอยากจะขายแก๊สของตนให้อาร์เมเนียแข่งกับรัสเซีย เพราะอิหร่านเป็นประเทศที่ปริมาณแก๊สธรรมชาติสำรองมากที่สุดเป็นอันดับสองรองจากรัสเซีย แต่ผู้ที่เป็นเจ้าของท่อแก๊สทั้งหมด (?) ในอาร์เมเนียนั้นก็คือบริษัท Gazprom ของรัสเซีย ถ้าอิหร่านไม่ให้รัสเซียถือหุ้นมากกว่ารัสเซียก็จะไม่ให้ใช้ท่อแก็สของตนในอาร์เมเนีย แค่นี้อิหร่านก็จบเห่ นี่คือหนึ่งในกลยุทธ์ในการตลาดที่รัสเซียจะไม่ยอมให้อิหร่านแซงหน้าตัวเองในจุดนี้ได้ จะแข่งขันกันเองหรือจะร่วมมือกัน เลือกเอานะอิหร่าน? และอิหร่านก็ได้เลือกอย่างหลังแทน ฉลาด! ไม่งั้นรัสเซียจะไม่ช่วยคุยเรื่องปัญหานิวเคลียร์ในเวทีโลกให้นะ คริๆ
    กลับมาที่ข่าวจาก Sputnik ต่อนะครับ รายงานข่าวบอกว่ากลุ่มผู้ประท้วงได้ออกมาประกาศเลยว่านี่ไม่ใช่เรื่องทางการเมือง (apolitical nature) และพวกนักการเมืองฝ่ายค้านแทบจะไม่มีบทบาทอะไรในกลุ่มผู้ประท้วงเลย ซึ่งอาจจะบ่งชี้ได้ว่ามีความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลอาร์เมเนียและกลุ่มผลประโยชน์ต่างชาติมากกว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวทางการเมืองภายใน และเมื่อวันพุธที่ผ่านมาคาดว่าจะมีชาวจอร์เจียเพื่อนบ้านของอาร์เมเนียเข้ามาร่วมสนับสนุนการประท้วงด้วย (เอาหละสิ! เริ่มจะไม่ปรกติก็ตอนที่จะมีการขนพวกต่างชาติ (/ต่างด้าว) เข้ามาร่วมประท้วงด้วยนี่แหละ ในข่าวไม่ได้บอกว่าใครอยู่เบื้องหลังของชาวจอร์เจียที่จะมาเอี่ยวในการประท้วงภายในอาร์เมเนียในครั้งนี้ จอร์เจียตอนนี้ก็เป็นเหมือนเมืองขึ้นของสหรัฐฯและนาโต้ ดังนั้นจึงไม่แปลกอะไรหากจะมีใครขนคนจอร์เจียมาร่วมประท้วงสร้างสถานการณ์ด้วย)
    รายงานข่าวของรัสเซียประเมินเอาไว้ว่าหากกลุ่มผู้ประท้วงประสบผลสำเร็จในการเรียกร้องในครั้งนี้ กลุ่มผู้ประท้วงอาจจะบีบบังคับ (กดดัน) ให้บริษัทตัวแทนผู้ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าซึ่งก็คือ InterRAO-owned Electric Network of Armenia ของรัสเซียที่ประสบการขาดทุนจากการประกอบกิจการอยู่แล้ว ให้ออกจากธุรกิจนี้และเปิดทางให้มีการเข้าซื้อกิจการของรัสเซียก็ได้ ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานของประเทศอาร์เมเนียครั้งใหญ่ (และจะเศรษฐกิจของอาร์เมเนียจะย่อยยับครั้งใหญ่เช่นกัน)
    Vazgen Safaryan ประธานสหภาพผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าภายในประเทศ (Armenia's Domestic Produers Union) ของอาร์เมเนียกล่าวว่า "ในระบบการผลิตพลังงาน (ไฟฟ้า) ของอาร์เมเนียนั้น โรงไฟฟ้าแบบน้ำตก (cascade) นี้ถือว่าเป็นหน่วยการผลิตที่พลังงานไฟฟ้าที่มีราคาถูกที่สุด หากถูกขายไปในราคาเพียง $180 million (ประมาณ 6 พันกว่าล้านบาท) เจ้าของกิจการรายใหม่ในอนาคตอันใกล้นี้ก็จะขึ้นราคาค่าไฟฟ้าอย่างน้อย 20-25 เปอร์เซนต์" (กรรม! หวังว่าในอนาคตประเทศไทยเราคงไม่ปล่อยให้นักการเมืองเอาเขื่อนไปขายหากินแบบนี้นะขอรับ มิฉะนั้นต้องมาปวดหัวกับการไล่แก้ไขปัญหาในภายหลังเยอะแยะไปหมด)
    รายงานข่าวบอกว่าการปรับขึ้นราคาค่าไฟฟ้า 16% (บ้างก็ว่า 17%) ในครั้งนี้ดำเนินโดยคณะกรรมการควบคุมพลังงานของอาร์เมเนีย (Armenian energy regulator) เกิดขึ้นพร้อมกับส่วนแบ่ง 16% ของโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ Vorotan Hydroelectric Cascade ในการผลิตกระแสไฟฟ้าของอาร์เมเนียอีกด้วย (ยังไง? อยากรู้้ก็ต้องอ่านต่อ) ในข้อตกลงระหว่างรีกูเลเตอร์อาร์เมเนียกับบริษัท ContourGlobal ของสหรัฐฯที่ประกาศในวันที่ 17 มิถุนายน ที่ผ่านมานั้น ระบุว่าจะมีการปรับค่าไฟฟ้าขึ้นจากสถานีต่างๆใน Vorotan เกือบ 5 เท่า (5 เท่า! แสดงว่าภาคประชาชนของพวกเขาไม่เคยรับรู้เรื่องเหล่านี้เลยสินี่? กรรมๆๆๆ!) โดยจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในเดือนมีนาคมปี 2016 นี้ และค่าไฟต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมงก็จะมีการปรับขึ้นจากอัตราปัจจุบันด้วย (นั่น! คราวนี้รู้หรือยังว่าต้นตอของปัญหามันมาจากรัสเซียหรือว่าจากสหรัฐฯกันแน่? ตัวแสบมันแอบซ่อนอยู่ในมุมมืดนี่เอง แล้วก็ไปประโคมข่าวผ่านสื่อฯของตนโยนอี้ให้รัสเซีย บอกได้เลยว่าสื่อฯกระแสหลักของสหรัฐฯและตะวันตกทุกวันนี้ฝีมือการทำข่าวนี่ห่วยมากๆ เพราะมันเล่นการเมืองมากเกินไป)
    Sarkis Martiroyan จากสถาบันการศึกษาด้านการเมืองและสังคมในภูมิภาคทะเลดำ-แคสเปียนเพื่อสาธารณะ แสดงความเห็นว่า "ดูเหมือนว่ากลุ่มผู้ประท้วง (บางส่วน?) จะมีการเชื่อมโยงไปยังผลประโยชน์ของรัฐบาลสหรัฐฯในภาคพลังงานในอาร์เมเนียและการเข้าซื้อกิจการ Vorotan cascade โดยบริษัท ContourGlobal ของสหรัฐฯด้วย ซึ่งโรงไฟฟ้าในกลุ่ม Vorotan cascade นี้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำให้กับอาร์เมเนียถึงครึ่งประเทศ (ตกอยู่ในมือสหรัฐฯซะแล้ว) เงื่อนไขการแปรรูปสถานีพลังงานไฟฟ้าที่ไม่มีการแข่งขันประมูลราคา (no-bid privatization of the power stations) นั้นเรียกได้ว่าน่าสังสัยเป็นอย่างมาก และอาจะบ่งชี้ได้ว่าเป็นการทุจริตระหว่างรัฐบาล (รัฐต่อรัฐ) ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯและอาร์เมเนียเข้าไปเกี่ยวข้อง" (กรรมของประชาชนชาวอาร์เมเนียจริงๆ ที่เจอพวกนักการเมืองฮั๊วกับต่างชาติขายสมบัติชาติจนเกลี้ยงแบบนี้ แล้วก็มารีดขึ้นค่าไฟกับชาวบ้านอีก เจริญหละ!)
    พรรคฝ่ายค้านของอาร์เมเนียได้เรียกร้องให้รัฐบาลหยุดแปรรูปโรงไฟฟ้าในปัจจุบันเช่นเดียวกันกับที่เคยเรียกร้องในปี 2014 มาแล้ว (แต่ก็ไม่ป็นผล?) โดยนาย Levon Ter-Petrosyan ผู้นำพรรคฝ่ายค้านของอาร์เมเนียเรียกข้อตกลง (ในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ-ด้านพลังงานไฟฟ้า) ในปี 2014 ว่า "เป็นข้อตกลงที่ผิดกฎหมาย" (the deal illegal) แต่กลุ่มผู้ประท้วงในปัจจุบันนี้ไม่ปรากฎว่ามีการยกประเด็นการขายกิจการของรัฐดังกล่าวขึ้นมาพูดถึงเลย (แปลกอ่ะ?) รายงานข่าวบอกว่าเมื่อต้นปีที่ผ่านมา (2015) พรรคฝ่ายค้านได้มีการปรับโครงสร้างการบริหารภายในครั้งใหม่
    นาย Mikael Melkumyan จากพรรค Prosperous Armenia ซึ่งเป็นสมาชิกรัฐสภาจากพรรคฝ่ายค้านกล่าวว่า "พวกเราไม่ได้คัดค้านการขายกิจการ แต่พวกเราสงสัยเงื่อนไขในข้อตกลง เช่นตรรกะในการกำหนดอัตราราคาค่าไฟฟ้าเป็นต้น" (วู้วววว! ยิ่งอ่านมากก็ยิ่งน่าปวดหัวกับนักการเมืองของประเทศนี้แฮะ นี่แหละหนาเขาถึงได้พูดกันว่า "คนโง่ย่อมตกเป็นเหยื่อของคนฉลาด (แกมโกง)")
    The Eyes
    25/06/2558
    ----------
    15,000 Take to Streets of Armenian Capital Over Utilities Rate Hike / Sputnik International
    18 Hurt, 237 Arrested Following Protests Over Electricity Rates in Armenia / Sputnik International
    Thousands Protest in Armenian Capital Against Rising Electricity Prices / Sputnik International
    Armenian protesters refuse to meet president, continue ‘Electric Yerevan’ sit-in — RT News
    Protesters Remain Barricaded in Yerevan; Police Are on High Alert / Sputnik International
    The Interests That Power Armenia's 'Electric' Protests / Sputnik International
    http://rt.com/politi…/269392-russian-senator-armenia-unrest/
    http://uatoday.tv/…/armenian-protesters-against-electricity…
    Vorotan Complex of HPP
    http://www.reuters.com/…/us-armenia-energy-investment-idUSB…
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ปอกเปลือก ทรราช

    [​IMG]

    เจาะลึกประท้วงขึ้นค่าไฟฟ้าในอาร์เมเนีย เพราะรัสเซียอยู่เบื้องหลัง? หรือจะกลายเป็น ElectroMaidan ยูเครนไมดานโมเดล? หรือเพราะมือที่มองไม่เห็นต้องการจะให้เป็นอย่างอื่น (ปฏิวัติสี) กันแน่? (บทเรียนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานของประเทศ) [ตอนที่ 4/4]
    ตอนที่4: การเข้าฮุบกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ Vorotan ของอาร์เมเนียโดยสหรัฐฯ
    -----------
    รายงานข่าวบอกว่าโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ Vorotan Hydroelectric Cascade ซึ่งผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานน้ำถึงครึ่งหนึ่งของอาร์เมเนียนี้ ถือว่าเป็นกลุ่มบริษัทที่มีกำไรมากที่สุดในประเทศ โดยมีกำไรจากผลประกอบการอยู่ที่ 23% ต่อปี และการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำตกนี้ถือว่ามีต้นทุนที่ต่ำที่สุดจากโรงไฟฟ้าทั้งหมดในอาร์เมเนีย
    การแปรรูปกิจการไฟฟ้าในครั้งนี้ให้กับบริษัท ContourGlobal ของสหรัฐฯได้ละเมิดกฎหมายหลายข้อของอาร์เมเนีย (แต่พวกเขาก็ปล่อยให้มันเกิดขึ้น) ซึ่งรวมทั้งกฎหมายที่ว่าด้วยทรัพยากรน้ำและกฏหมายการแปรรูป (รัฐวิสาหกิจ) ของอาร์เมเนียด้วย (แล้วพากันแปรรูปทำไม? ก็นักการเมืองมันเห็นแก่เงินจึงสุมหัวกับต่างชาติขายสมบัติชาติกินไงหละ) ข้อตกลงที่จะต้องได้รับความเห็นชอบและอนุมัติจากรัฐสภาเพื่อขายกิจการนั้นได้มีการเจรจาต่อรองในกลุ่มผู้บริการระดับสูงโดยประธานาธิบดีของประเทศและนาย Tigran Sargsyan เอกอัครราชทูตอาร์เมเนียประจำสหรัฐอเมริกา
    ในข้อตกลงนั้น การขายกิจการ Vorotan Hydroelectric Cascade ในครั้งนี้ไม่ได้มีเฉพาะสถานีไฟฟ้าต่างๆเท่านั้น แต่ยังรวมถึงอ่างเก็บน้ำ (reservoirs) ใกล้เคียงอีกด้วย ราคาซื้อขายที่ $180 million ไม่ได้รวมถึงทรัพยากรน้ำในอ่างเก็บน้ำซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์สินซึ่งมีมูลค่าราว $1.125 billion ด้วย (ประมาณ 3.8 หมื่นล้านบาท) (อืออออ! ขายทั้งโรงไฟฟ้า ขายทั้งอ่างเก็บน้ำ ขายทั้งน้ำในอ่างอีก ตาย! อย่าให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นกับประเทศไทยเด็ดขาดนะครับพี่น้อง) ตามกฏหมายของอาร์เมเนียนั้น อ่างเก็บน้ำถือว่าเป็นทรัพย์สินของรัฐไม่อยู่ภายใต้การแปรรูป (the reservoirs are state property not subject to privatization) (แต่นักการเมืองอาร์เมเนียมันก็พากันยกให้อเมริกาไปหมดแล้ว ประชาชนถูกหลอกด้วยเงินก้อนโตจากการขายรัฐวิสาหกิจ คราวนี้สหรัฐฯก็ตบท้ายด้วยการขึ้นค่าไฟฟ้า 5 เท่าตัว แล้วก็พากันร้องเสียงหลง - เอ๋ง! เลย ไม่ประท้วงการแปรรูป แต่ประท้วงการขึ้นค่าไฟ จะเอาอะไรไปห้ามเขาหละก็นั่นเขาถือว่าเป็นสมบัติของเขาไปแล้วเป็นสินค้าของเขาไปแล้วเขาจะขายเท่าไรก็เป็นสิทธิ์ของเขา และทำไมถึงไม่พากันป้องกันแต่แรก หรือเป็นเพระว่าประชาชนของเขาแทบจะไม่รู้เรื่องพวกนี้เลย หรือว่าพวกนักการเมืองอาร์เมเนียสมัยนี้มันชอบลักหลับเหมือนรัฐบาลไหนนะ?)
    รายงานบอกว่าบริษัท ContourGlobal ของสหรัฐฯซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นครนิวยอร์ก ได้ลงทุนไป 70 ล้านเหรียซสหรัฐฯ (ประมาณ 2.3 พันล้านบาท) อ้างว่าเพื่อปรับปรุงเขื่อน โดยเงินจำนวน 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯนั้นมาจากหนี้ของรัฐบาลอาร์เมเนียที่กู้มาจาก KWG เพื่อใช้ในการปรับปรุง ซึ่งไม่เคยทำในเงินกู้ครั้งก่อนเลย (KWG Property Holdings ของจีน?) อันนี้แสบมากๆ ซื้อกิจการของเขาไปแล้วตอนจะปรับปรุงให้รัฐบาลอาร์เมเนียกู้ที่อื่นมาปรับปรุง จากนั้นก็บอกว่าตัวเองลงทุนในการปรับปรุง ตรงจุดนี้สื่อฯตะวันตกไม่บอกให้ครบนะ บอกแต่ว่าบริษัทของสหรัฐฯลงทุนไป 70 ล้านเหรียญในการปรับปรุงเขื่อน แต่จริงๆแล้ว แค่ 20 ล้านเหรียญเอง ที่เหลือรัฐบาลอาร์เมเนียรับผิดชอบ เผลอๆอาจจะโยนมาให้รัฐบาลอาร์เมเนียจ่ายให้ทั้งหมดก็ได้
    ในขณะที่บริษัทเครือข่ายพลังงานไฟฟ้าของอาร์เมเนียไม่ได้เชื่อมโยงการขึ้นราคาค่าไฟฟ้าในครั้งนี้ไปที่การเข้าซื้อกิจการ Vorotan โดยบริษัท ContourGlobal ของสหรัฐฯเลยนั้น ทางบริษัทเครือข่ายฯได้ออกแถลงการณ์ผ่านเว็บไซต์ของตนเองว่า การปรับขึ้นค่าไฟฟ้าในครั้งนี้สืบเนื่องมากจากการปรับเพิ่มราคาของผู้จัดจำหน่าย (supplier) ซึ่งอ้างถึงผู้เชี่ยวชาญจากธนาคารโลก (แล้วธนาคารโลกมันมาเกี่ยวอะไรกับการขึ้นค่าไฟฟ้าของอาร์เมเนียด้วย? ก็อาร์เมเนียไปกู้เงินมาจากทั้ง IMF และจาก World Bank ด้วยนะสิ ก็ไม่แปลกที่จะถูกบีบให้ใช้มาตรการรัดเข็มขัดเพื่อขูดเอาเลือดกับปูไปให้นายทุนอย่างสหรัฐฯที่คุม IMF และ World Bank อยู่ในปัจจุบันนี้)
    ในแถลงการณ์อย่างเป็นทางการของบริษัทฯได้กล่าวเอาไว้ว่าปัจจัยที่อยู่เบื้องหลังการปรับขึ้นราคาค่าไฟฟ้าในครั้งนี้ก็คือการปรับลดปริมาณการผลิตกระแสไฟฟ้าจากสถานีไฟฟ้าพลังงานน้ำในอาร์เมเนีย เนื่องจากทางบริษัทกำลังดำเนินการปรับปรุงระบบจ่ายไฟฟ้าของอาร์เมเนียให้ทันสมัยยิ่งขึ้น แม้ว่าจะมีรายได้ที่ลดลง (มันสมเหตุสมผลที่ไหนหละนี่! ปรับลดการผลิตแล้วขึ้นค่าไฟนี่นะ? อย่างนี้สหรัฐฯก็เรียกว่าเป็นเหตุผลในการขึ้นค่าไฟ้ได้น้อ? กรรม!)
    แถลงการกล่าวว่า "บริษัท Energy Networks of Armenia มีรายได้ทั้งหมด 3.7 หมื่นล้านแดรน ($78.2 million) ซึ่งน้อยกว่าที่ได้วางแผนเอาไว้"
    สำนักข่าว Sputnik news ของรัสเซียรายงานว่า โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำแห่งที่สองของอาร์เมเนียชื่อ Sevano-Radzan Cascade ซึ่งบริษัท RusHydro ของรัสเซียถือหุ้นอยู่ 90% ได้มีการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ซึ่งไม่เหมือนกับโรงไฟฟ้า Vorotan Cascade ที่สหรัฐฯเป็นเจ้าของอยู่ในขณะนี้
    เมื่อปีที่แล้วสำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่าสาเหตุที่สหรัฐฯเข้าไปซื้อกิจการไฟฟ้าในอาร์เมเนียนี้ก็เพื่อลดอิทธิพลของรัสเซียลง ซึ่งพวกนักการเมืองอาร์เมเนียถูกปั่นหัวว่ารัสเซียจะรุกรานก็เชื่อตาม ดังนั้นจึงพากันขายกิจการไฟฟ้าให้สหรัฐฯ และนำมาซึ่งการขึ้นค่าไฟฟ้าหลายเท่าตัวในครั้งนี้ แต่สื่อฯตะวันตกกลับไปโทษรัสเซียว่าเป็นผู้ขึ้นค่าไฟฟ้าในครั้งนี้ ตลก!
    The Eyes
    25/06/2558
    ----------
    15,000 Take to Streets of Armenian Capital Over Utilities Rate Hike / Sputnik International
    18 Hurt, 237 Arrested Following Protests Over Electricity Rates in Armenia / Sputnik International
    Thousands Protest in Armenian Capital Against Rising Electricity Prices / Sputnik International
    Armenian protesters refuse to meet president, continue ‘Electric Yerevan’ sit-in — RT News
    Protesters Remain Barricaded in Yerevan; Police Are on High Alert / Sputnik International
    The Interests That Power Armenia's 'Electric' Protests / Sputnik International
    http://rt.com/politi…/269392-russian-senator-armenia-unrest/
    http://uatoday.tv/…/armenian-protesters-against-electricity…
    Vorotan Complex of HPP
    http://www.reuters.com/…/us-armenia-energy-investment-idUSB…
     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Thanong Fanclub

    [​IMG]

    34. พอฟองสบู่ร้าว ก็ลั่นกลองรบ
    เล่นแบล๊คเมล์กันเลยนะ
    เข้มข้นและตึงเครียดมากขึ้นทุกขณะ เมื่ออเลกซีส ซีปราส นายกรัฐมนตรีกรีซ แฉข้อเสนอกลุ่มเจ้าหนี้ทรอยก้ากำลังแบล็คเมล์กรีซ
    โดยสืี่อตะวันตกเริ่มรายงานแล้วว่าการเจรจาหว่างกลุ่มเจ้าหนี้กับกรีซเข้าสู่ความล้มเหลว และกรีซใกล้สู่ภาวะผิดนัดชำระหนี้....
    Greek Syriza official says lenders' proposals 'blackmail' No deal for Greece, creditors; top-level talks resume Saturday | Reuters
    Thanong
    25/6/2015
     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Thanong Fanclub

    [​IMG]

    35. พอฟองสบู่ร้าว ก็ลั่นกลองรบ
    กำลังจะเจ้ง
    ข่าวด่วนผลการเจรจากรีซกับเจ้าหนี้ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง โดยไม่มีข้อตกลงใดๆ ก่อนที่กลุ่มผู้นำยูโรโซน 18ประเทศ จะเปิดประชุมเต็มรูปแบบเพื่อถกวิกฤติยูโรโซนกับกรณีกรีซจะอยู่หรือไป ที่บรัสเซล เบลเยียม.... Breaking news: Greece, creditors fail to reach agreement ahead of Eurogroup meeting. Dueling Greece Plans Presented Complicating Race for Deal - Bloomberg Business http://t.co/3XKvbCAcQq
    Thanong
    25/6/2015
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Thanong Fanclub

    [​IMG]

    36. พอฟองสบู่ร้าว ก็ลั่นกลองรบ
    นางสิงห์ร้าย Angela Merkelผู้นำเยอรมันสั่งผู้นำอียูคนอื่นๆว่า ข้อตกลงแก้วิกฤติหนี้ต้องเสร็จภายในวันจันทร์หน้านี้ (29 มิถุนายน) หรือเพียง1วันก่อนที่กรีซอาจจะต้องผิดชำระหนี้
    เส้นตายคือวันจันทร์
    ถึงแม้Merkelบอกว่า เราจะไม่ยอมให้กรีซแบล็คเมล์ เอาเข้าจริงไม่รู้่ใครแบล๊คเมล์ใครกันแน่ แต่จุดยืนของเธอคือไม่ต้องการให้กรีซออกจากยุโรป เพราะว่าผลกระทบจากภูมิรัฐศาสตร์จะรุนแรงมาก ในขณะที่นาโต้กำลังมีปัญหาร้าวกับรัสเซีย เพราะว่านอกจากระบบการเงินทั้งยุโรปจะป่วนแล้ว ถ้ากรีซไปซบรัสเซียจะยุ่ง จะทำให้รัสเซียเข้ามามีอิทธิพลในประเทศที่มีจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
    พูดง่ายๆ Merkel ต้องการให้แก้วิกฤติกรีซให้ได้ ให้มันจบภายในวันจันทร์หน้า
    จุดยืนนี้เองทำให้MerkelและWolfgang Schaeubleรมวคลังของเยอรมันแตกแยกกันทางความคิด เพราะว่านายSchaeubleตั้งธงเอาไว้อย่างแน่วแน่ว่า ถ้ากรีซทำตามเงื่อนไขของเจ้าหนี้ทรอยก้าไม่ได้ ก็สมควรออกจากเขตยูโรไปเลย สหภาพยุโรปอยู่ได้โดยไม่มีกรีซ เพราะว่าถ้าหากยอมผ่อนปรนให้กรีซ ต่อไปจะมีปัญหาเจรจาเรื่องการเงินในทำนองเดียวกันกับโปรตุเกส เสปน หรือแม้แต่อิตาลี
    ทางกองทุนการเงินระหว่างประเทศร้ายพอๆกัน ล้วงลูกลงรายละเอียดในแผนปฏิรูปการเงินของกรีซมากจนกรีซไม่สามารถจะหายใจได้ โดยไม่ต้องการให้กรีซขึ้นภาษีแต่ให้ลดการใช้จ่ายแทนเพื่อบีบรัดเศรษฐกิจ โดยสูตรนี้เชื่อว่าเมื่อเศรษฐกิจถูกบีบรัดจนปราศจากไขมันแล้ว จะสร้างสภาวะใหม่ให้มีการฟื้นเจริญเติบโต แต่ไม่คำนึงว่าช่วงที่บีบรัดนั้น คนไข้กรีซตายก่อน
    ต่อไปนี้คือสรุปข่าวล่าสุด
    1. EU Summit ใช้เวลาเพียง2ชม.ถกปัญหากรีซ ที่ยังต้องเผชิญหน้ากับภาวะผิดนัดชำระหนี้โดยไม่มีข้อสรุปใดๆ นอกจากฟังรายงานของรัฐมนตรีคลังอียูถึงการเจรจาระหว่างเจ้าหนี้กับกรีซยังมีช่องว่างที่มีความเห็นไม่ตรงกัน โดยต้องรอผลประชุมของรัฐมนตรีคลังยูโรโซนในวันเสาร์นี้ ซึ่งการประชุมองผู้นำอียู28ประเทศสามารถบดบังวิกฤติหนี้ไปได้ชั่วขณะหนึ่ง แต่วิกฤติหนี้กรีซก็กลับสู่ความเป็นจริงเมื่อพบว่ามันทั้งดิ่งลึกท่ามกลาง
    จุดตายdeadlockต่างๆที่รายล้อมอยู่ เพราะถ้าการเจรจาตกลงกันกับเจ้าหนี้ไม่ได้ กรีซก็จะไม่ได้เงินกู่ช่วยเหลือ 7,200ล้านยูโร เพื่อที่จะนำเงิน 1,600ล้านยูโรมาจ่ายคืนไอเอ็มเอฟ ดังนั้นกรีซจึงอยู่ในภาวะใกล้ผิดนัดชำระหนี้และล้มละลายมากขึ้นเมื่อวันที่30มมิ.ย.มาถึง
    ทั้งนี้บรรยากาศของการเจรจาเกิดขึ้นอย่างมาราธอนนานถึง 48 ชม.ตั้งแต่วันพุธและพฤหัสฯที่ผ่านมา แต่จนถึงชม.สุดท้ายไอเอ็มเอฟโดยนางคริสติน ลาร์การ์ดยังงคงยืนยันว่าจะไม่รับข้อเสนอใหม่ของกรีซ ไอเอ็มเอฟไม่ได้ต้องการให้ขึ้นภาษี แต่ต้องการตัดเงินบำเหน็จบำนาญ
    2.
    แต่ต้องการให้ กรีซรัดเข็มขัดและตัดรายจ่ายงบประมาณในภาพรวม รวมทั้งต้องการขั้นตอนที่เป็นแผนปฏิบัติว่ารัฐบาลกรีซจะสามารถดำเนินนการได้เป็นจริง เรียกได้ว่าสิ่งที่ไอเอ็มเอฟและเจ้าหนี้รายอื่นทั้งธนาคารกลางยุโรป(ECB) กับสหภาพยุโรป เป็นงานหินสำหรับกรีซเพราะต้องกลั่นกรองงบใช้จ่ายจนเหลือแต่กระดูกจริงๆโดยตัดไขมันออกไปให้หมด เนื่องจากแผนการรัดเข็มขัดนี้กำหนดให้กรีซต้องทำงบเกินดุลในช่วง4ปีจากนี้ไป โดยในปี2015ต้องเกินดุล1%ของจีดีพี เกินดุล2% ปี2016 เกินดุล3%ปี2017 และเกินดุล 3.5%ปี2018 ซึ่งได้รวมเอาแผนการตัดเงินบำเหน็จบำนาญเข้ามารวมไว้ด้วย นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการขึ้นVATสินค้าทั่วไปเป็น23% และ13%พวกอาหาร-ยา-หนังสือเรียน-ร้านอาหาร ฯลฯ...Greece and its international creditors remain in deadlock over its debt crisis Greece debt talks: Crisis deepens amid deadlock - BBC News
    thanong
    26/6/2015
     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Jeerachart Jongsomchai

    [​IMG]

    ... "กรีซ : กับเจ้าหนี้ ต่างไม่ยอมซึ่งกันและกัน ในการประชุมเช้านี้ในยุโรป"
    ... นักการเมืองกรีซพรรคซีริซ่า : บอกว่าเราจะไม่ยอมถูกทำลาย ( จากข้อเสนอจากอียู )
    ... อียูบอกว่า วันอาทิตย์ 28 มิถุนายน นี้เป็นเส้นตาย ถ้าไม่รับก็ไม่ได้รับเงินกู้อีก 7.2 พันล้านยูโรแล้ว
    ... ตลาดหุ้นกรีซ และยุโรปร่วงระนาว
    ... ประชุมเมื่อเช้าชั่วโมงกว่าไม่มีความคืบหน้า
    ... ที่ผ่านมาสี่ปีกว่าที่รับการช่วยเหลือแบบรัดเข็มขัด GDP กรีซร่วง 25% ซึ่งมันคือการจะไม่เติบโตตลอดไป มีแต่ตกต่ำลง ไม่มีโอกาศฟื้นเลย
    ... GDP ปีที่แล้ว 0.4% มาต้นปีนี้เหลือแค่ 0.2%
    ... อัตราการว่างงานพุ่งสูงถึง 26%
    ... สัดส่วนหนี้ต่อ GDP ยังสูงขึ้นเรื่อยๆ ไม่ลดลงเลย
    ... กรีซต้องการอัตราการเติบโต 4% จึงจะใช้หนี้หมด ถ้าขืนรับข้อตกลง ยิ่งนานไป ยิ่งเป็นทาส ต้องออก พรบ. แปรรูปรัฐวิสาหกิจ ขายบ้านทุกอย่าง แทนที่จะขายเป็นส่วนๆ
    ... ตามข้อเสนอของอียู : งบต่างๆจะต้องถูกตัด การศึกษา งบบำนาญข้าราชการ ตัดลดปลดข้าราชการ ต้องเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม
    ... ร้านค้าในกรีซ หลายร้านปิดตัวลง
    ... คนกรีซบางคนไม่มีเงินจ่ายค่าไฟฟ้ามาให้เครื่องทำความร้อน ต้องนอนหนาวอย่างทรมาน บางคนหนาวตาย
    ... หญิงบางคนไม่มีเงินซื้อมะนาวแม้แต่ลูกเดียวเพื่อมาทำอาหาร
    ... บางคนต้องขายเครื่องประดับมรดกเพื่อมาอยู่กิน
    ... หญิงบางคนขู่จะกระโดดตึกถ้าเธอและสามีต้องตกงาน
    ... หลังวิกฤติการเงินและรับการกู้เงินมา อัตราการฆ่าตัวตายสูงขึ้น เป็นโรคทางจิตมากขึ้น โรคภัยมากขึ้น ปลดข้าราชการนับหมื่นคน มีการอพยพโยกย้ายมากขึ้น ตกงานมากขึ้น เด็กหลายคนไม่ได้เรียนหนังสือ
    ... เพราะรัฐบาลชุดก่อนที่ขยันสร้างโครงการใหญ่ๆเพื่อจะมาโกงกิน โดยอ้างว่าทำเพื่อชาติ
    ... ถ้าตกลงกันไม่ได้ ธนาคารกรีซจะไม่มีเงินหมุน และบีบให้กรีซต้องกักเงิน capital control กั้นกระแสธารแห่งเงินไม่ให้ไหลออกนอกประเทศ และท้ายสุดคือต้องออกจากเงินยูโร
    ... แล้วแบบนี้ กรีซจะรับข้อเสนอ หรือใช้เงินยูโรไปทำไม?
    ... Greece bailout talks break down again | Business | The Guardian
    This is a deal that heaps more misery on Greeks | Vicky Pryce
    This is a deal that heaps more misery on Greeks | Vicky Pryce | Comment is free | The Guardian
    Who will put Greece out of its misery? It's time they left the euro - Telegraph
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    [​IMG]
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Chalee Na Roied ผ่าน RT

    จริงๆผมก็อยากจะลดๆ เรื่องราวที่อ่านแล้ว ทำให้รู้สึกท้อแท้สิ้นหวังนะครับ แต่บางทีเราก็ต้องยอมรับความจริงครับว่า อะไรจะเกิดมันก็ต้องเกิด เพราะมนุษย์นั่นแหละ ที่ร่วมกันก่อขึ้นเพราะ"ความโลภไม่รู้จักพอ" ไม่ใช่ใครที่ไหน จะชอบหรือไม่ก็ ต้องยอมรับสภาพครับ
    ดูแนวโน้มสถานการณ์แล้ว ท่าจะเลี่ยงยากครับ เพราะลากนิวเคลียร์ ออกมาข่มขู่กันแล้ว ถ้าจัดการรัสเซียได้ สหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย และBRICSก็แตก สหรัฐมีเวลาก่อนถึงตุลาคมปีนี้ เพราะเป็นห้วงที่ ไอเอ็มเอฟ เตรียมประกาศให้ หยวนเป็นสกุลเงินสำรองของโลก
    The China-IMF Plan for a Yuan Reserve Currency Will Topple the Dollar

    และประเทศในกลุ่มBRICS กำลังจะใช้สกุลเงินของตน ภายในสิ้นปีนี้ สหรัฐถ้าไม่สามารถจุดชนวนสงครามโลกได้หมดสิทธิ์ครับ
    เพราะเศรษฐกิจโลกมันไปต่อไม่ได้ มีแต่เล่นเกมส์ซื้อเวลาเท่านั้น และยิ่งเนิ่นนานไปยิ่งไม่เป็นผลดีต่อรัฐบาลสหรัฐเอง เพราะชาวอเมริกัน และสังคมโลกเริ่มตื่นตัวมากขึ้น แนวรบด้านสื่อก็เริ่มเพลี่ยงพล้ำต่อรัสเซีย จนต้องออกมาประกาศ ทำสงครามกับบรรณาธิการ และสื่อของรัสเซีย ในเวลานี้คือ RT NEWS และ Sputniknews ของรัสเซีย ที่บางท่านเอามาแชร์ให้อ่าน เพื่อให้ได้ข้อมูลทั้งสองด้านนั่นเอง
    http://rt.com/news/269509-eu-plan-counter-russia/

    ถามว่าเมื่อไหร่ ผมก็คงไปกำหนดวันเวลาไม่ได้ เพราะอนาคตขึ้นอยู่กับปัจจุบัน พิจารณาสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ในปัจจุบันเป็นรายวันไป คงไปกำหนดวันเวลาไม่ได้ เพราะถ้าบอกแล้ว พอมันไม่เกิด ก็จะมาบ่นให้ผมฟังอีก ยิ่งนานยิ่งดีครับ
    เพราะตอนนี้ ยังมีผู้คนอีกหลายล้าน ยังไม่ตระหนักถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้น ซึ่งคนกลุ่มนี้น่าสงสารที่สุด เพราะไม่ได้เตรียมตัว"เตรียมใจ" ขอบอกว่าสงครามในยุคใหม่ การรบตัดสินแพ้ชนะได้ ภายในเสี้ยววินาที ด้วยอำนาจการทำลายล้างของอาวุธในยุคนี้ ถ้าต่างฝ่ายไม่รัดกุม รับรองครับว่าย่อยยับทันที..

    [​IMG]

    http://on.rt.com/m6pyw1
     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Chalee Na Roied

    [​IMG]

    ยิ่งนานวัน คะแนนนิยมของ วลาดิเมียร์ ปูติน ยิ่งเพิ่มขึ้นนะครับ ถือเป็นความผิดพลาดของ สหรัฐและสหภาพยุโรป ที่ยิ่งเพิ่มมาตรการคว่ำบาตร ผู้นำรัสเซียมากเท่าไหร่ คะแนนนิยมของเขา ก็ยิ่งเพิ่มขึ้นเท่านั้น พร้อมๆกับความน่าเชื่อถือ ในสายตาประชาคมโลก เมื่อแรงกระเพื่อมภายใน หรือศึกในไม่มี รัสเซียก็มุ่งความสนใจรับมือศึกนอกได้เต็มที่
    แต่เมื่อหันไปมองสหรัฐเวลานี้ ภายในก็เริ่มแตกแยก ชาวอเมริกันเริ่มไม่ไว้ใจรัฐบาลของตน ประชาคมโลก ก็เริ่มเอือมระอา ถ้าจะถึงเวลาแห่งการล่มสลายจริงๆ..

    http://rt.com/politics/269434-russia-putin-record-rating/
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    19 เหตุผล ที่อิหร่าน “ไม่เชื่อถือ” สหรัฐฯ
    โดย เอบีนิวส์ทูเดย์ - มิ.ย. 25, 2015

    [​IMG]

    อิหร่านและชาติมหาอำนาจของโลกกำลังอยู่ระหว่างการเจรจาเข้มข้นเพื่อลดความแตกต่างระหว่างกันและบรรลุข้อตกลงนิวเคลียร์ที่ครอบคลุมภายในวันที่ 1 กรกฎาคม อุปสรรคสำคัญในการบรรลุข้อตกลงดังกล่าวก็คือการขาดพื้นฐานความเชื่อถือที่มีระหว่างทั้งสองฝ่าย ถ้าหากมีความเชื่อถือ สนธิสัญญาไม่แพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์ (Non-Proliferation Treaty – NPT) ก็คงจะเพียงพอแล้วในการระงับความกังวลเกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์เพื่อสันติของอิหร่าน ปัจจุบันนี้ จุดขัดข้องทั้งหมดล้วนเกี่ยวข้องกับมาตรการที่นอกเหนือไปจาก NPT การแก้ปัญหาที่ยั่งยืนก็คือให้ทั้งสองฝ่ายใช้มาตรการสร้างความมั่นใจต่างๆ เพื่อลดความหวาดระแวงที่ต่างฝ่ายมีต่อกัน ขณะที่ความกังวลใจของสหรัฐฯ เกี่ยวกับอิหร่านเป็นที่รู้กันดีในตะวันตก มันก็เป็นความสำคัญยิ่งยวดสำหรับสาธารณชนชาวสหรัฐฯ ที่จะต้องทำความเข้าใจให้ดียิ่งขึ้นเกี่ยวกับเหตุผลที่ชาวอิหร่านมีความเป็นปรปักษ์กับรัฐบาลสหรัฐฯ

    ต่อไปนี้คือเหตุผลต้นๆ ที่สรุปขึ้นโดยอดีตผู้เจรจาปัญหานิวเคลียร์ของอิหร่าน ซัยยิด ฮุซเซน มูซาเวียน ใน al-monitor

    1. รัฐบาลตะวันตกคัดค้านอย่างแข็งขันต่อความพยายามของอิหร่านที่จะทำให้อุตสาหกรรมน้ำมันของอิหร่านเป็นสมบัติของชาติ เมื่อต้นยุค 1950s สหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรถึงขนาดเอ่ยถึงอิหร่านต่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติว่าเป็น “ภัยคุกคามต่อสันติภาพระหว่างประเทศ” เนื่องจากกล้าแย่งการควบคุมทรัพยากรของตนไปจากบริษัทต่างชาติ เรื่องส่งผลให้มีการคว่ำบาตรและใช้วิธีการกดดันรูปแบบอื่นๆ กับอิหร่านในเวลานั้น

    2. สหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร เตรียมการให้เกิดการรัฐประหารในปี 1953 ที่ได้ทำให้นายกรัฐมนตรีมุฮัมเมด มุซซาเดก ที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยของอิหร่านต้องพ้นจากตำแหน่ง และให้ชาห์เข้ามาแทนที่เป็นเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จ การกระทำแบบถอนรากประชาธิปไตยของอิหร่านนี้ดำเนินต่อไปเป็นเวลาหลายทศวรรษ

    3. สหรัฐฯ และชาติตะวันตกได้ให้การสนับสนุนชาห์อย่างเต็มที่เป็นเวลาค่อนศตวรรษ ซึ่งมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางรากฐานในหมู่ประชากร การปฏิวัติอิสลามปี 1979 เป็นผลที่ปรากฏออกมาตามธรรมชาติของวิธีการปฏิวัติที่ตะวันตกมีต่ออิหร่าน

    4. นับตั้งแต่เกิดการปฏิวัติ นโยบายหลักของสหรัฐฯ ต่ออิหร่านมีศูนย์กลางอยู่ที่การเปลี่ยนแปลงระบอบปกครอง โดยผ่านช่องทางการบีบบังคับเช่น การคว่ำบาตร, การโดดเดี่ยว และการสนับสนุนกลุ่มต่อต้าน ซึ่งหลายครั้งเกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย การพิจารณายุทธศาสตร์นี้ให้เพิ่งเริ่มต้นขึ้นในวาระที่ 2 ของการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดีบารัก โอบาม่า ของสหรัฐฯ นี้เอง

    5. ภายหลังการปฏิวัติ ชาติตะวันตกหลายประเทศได้ถอนตัวจากการทำข้อตกลงหลายเรื่องที่พวกเขามีกับอิหร่าน และปล่อยให้ประเทศนี้ต้องแบกรับกับเงินหลายหมื่นล้านดอลล่าร์ที่จ่ายไปแล้วเพื่อโครงการอุตสาหกรรมที่ไม่เสร็จสิ้น

    6. ในปี 1980 ซัดดัม ฮุซเซน ผู้นำเผด็จการของอิรักได้รุกรานอิหร่าน จุดชนวนสงครามแปดปีที่คร่าชีวิตชาวอิหร่านไปมากกว่า 300,000 คน และสร้างความเสียหายไปมากกว่า 1 ล้านล้านดอลล่าร์ สหรัฐฯ และชาติตะวันตกให้การสนับสนุนผู้รุกรานในการต่อสู้ครั้งนี้

    7. ซัดดัมใช้อาวุธเคมีกับอิหร่านในระหว่างสงครามอิรัก-อิหร่าน ทำให้พลเรือนเสียชีวิตและบาดเจ็บมากกว่า 100,000 คน น่าเสียดายที่สหรัฐฯ และชาติตะวันตกบางประเทศได้จัดเตรียมวิธีการและอุปกรณ์ในการพัฒนาอาวุธเหล่านี้ให้แก่แบกแดด และแม้กระทั่งได้ให้ภาพถ่ายดาวเทียมบอกตำแหน่งที่ตั้งของกองทหารอิหร่านแก่พวกเขา ทั้งที่รู้ว่าอิรักจะใช้อาวุธเหล่านี้ในการสังหารหมู่ชาวอิหร่าน

    8. ในปี 1988 ช่วงที่อิรักทำสงครามกับอิหร่าน สหรัฐฯ ได้เปิดปฏิบัติการการสู้รบทางเรือครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 กับอิหร่าน ทำลายฐานน้ำมันสำคัญของอิหร่านในอ่าวเปอร์เซียหลายแห่ง

    9. ในปี 1988 กองทัพเรือสหรัฐฯ ยิงเครื่องบินโดยสารพลเรือนของอิหร่าน สังหารประชาชนผู้บริสุทธิ์ไป 290 คน เป็นเด็ก 66 คน

    10. ระหว่างยุคของประธานาธิบดีสายกลาง ฮาชิมี รัฟซันจานี เมื่อต้นยุค 1990s อิหร่านยินดีตอบรับข้อเสนอ “goodwill begets goodwill” จากรัฐบาลของจอร์จ เอช.ดับเบิลยู. บุช และแสดงออกด้วยการสนับสนุนให้ปล่อยตัวตัวประกันชาวอเมริกันและชาวตะวันตกในเลบานอน ผิดกันกับสหรัฐฯ ที่ตอบรับเจตนาดีนี้ด้วยการเพิ่มความกดดันและความเป็นปฏิปักษ์ต่ออิหร่าน

    11. ระหว่างการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของนักปฏิรูป มุฮัมมัด คาตามี อิหร่านเป็นประเทศแรกๆ ของโลกที่ประณามการโจมตีก่อการร้าย 9/11 และให้ความร่วมมืออย่างคาดไม่ถึงกับสหรัฐฯ ใน “สงครามต่อต้านการก่อการร้าย” ช่วยขับไล่รัฐบาลตอลีบันในอัฟกานิสถาน และสนับสนุนรัฐบาลใหม่ให้เข้ามาแทนที่ ในการตอบแทน รัฐบาลบุให้รางวัลอิหร่านด้วยการระบุว่าอิหร่านเป็นหนึ่งใน “อักษะแห่งความชั่วร้าย”

    12. ดังที่ข้าพเจ้าได้อธิบายไว้ในหนังสือ “อิหร่านและสหรัฐฯ : มุมมองของคนในเกี่ยวกับอดีตที่ล้มเหลวกับเส้นทางสู่สันติภาพ” (Iran and the United States : An Insider’s View on the Failed Past and the Road to Peace) ของข้าพเจ้า อิหร่านในสมัยการบริหารของมะห์มูด อะห์มะดีเนจาด ได้เสนอให้เชิญผู้แทนสหรัฐฯ ในอัฟกานิสถานมาเพื่อเจรจาเรื่องความร่วมมือในอัฟกนิสถาน อิหร่านยังยินดีตอบรับ “แผน step-by-step ของรัสเซีย” เกี่ยวกับเรื่องนิวเคลียร์ ซึ่งจะเห็นด้วยกับความกังวลของตะวันตกในเรื่องโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน อิหร่านยังได้เสนอให้มีการตรวจสอบโครงการนิวเคลียร์ของตนอย่างเต็มที่เป็นเวลาห้าปีโดยทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) และแม้กระทั่งส่งสัญญาณว่ายินดีจะหยุดการเสริมสมรรถนะอยู่ที่ระดับ 20% ถ้ามันได้รับการจัดหาเชื้อเพลิงแก่เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยเตหะราน อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯ และชาติตะวันตกตอบสนองต่อการทาบทามอย่างใจกว้างนี้ด้วยการเพิ่มความกดดันและการคว่ำบาตร

    13. นโยบายของสหรัฐฯ นำไปสู่ภาวะสงครามที่มากเกินไปในภูมิภาคนี้ ด้วยการขายสรรพาวุธทางทหารขนานใหญ่ของสหรัฐฯ ให้แก่ประเทศอาหรับที่ร่ำรวยแถบอ่าวเปอร์เซีย อย่างเช่น ซาอุดิอารเบีย

    14. การตีวงล้อมอิหร่านของกองทัพสหรัฐฯ เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นแห่งชาติที่สำคัญของอิหร่าน

    15. รัฐบาลสหรัฐฯ ให้การสนับสนุนอย่างไม่มีเงื่อนไขแก่อิสราเอล โดยไม่คำนึงถึงความปรารถนาอันชอบธรรมของประชาชนชาวปาเลสไตน์ และเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายระหว่างประเทศ

    16. สหรัฐฯ ได้ให้การสนับสนุนเผด็จการผู้โหดร้ายและระบอบการปกครองที่ทุจริต ตั้งแต่ชาห์แห่งอิหร่าน ไปจนถึงเบน อาลี แห่งตูนีเซีย, ฮุสนี มุบารัก แห่งอียิปต์ และราชวงศ์อาหรับผู้กดขี่ทั้งหาย ซึ่งได้แสดงให้อิหร่านและสาธารณชนชาวอาหรับได้เห็นถึงธรรมชาติที่ไม่จริงใจในข้ออ้างของสหรัฐฯ ที่บอกว่าตนเป็นแนวหน้าของประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน

    17. นโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ได้แฝงความเป็นสองมาตรฐานเอาไว้อย่างชัดเจน ตัวอย่างที่โดดเด่นของเรื่องนี้ก็คือการดูแลเอาใจใส่ของวอชิงตันต่อผู้แพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์อย่างชัดเจน เช่น อินเดีย ปากีสถาน และอิสราเอล ซึ่งไม่แม้กระทั่งลงนามในสนธิสัญญา NPT ในขณะที่ทำการกดดันอย่างหนักต่ออิหร่าน ซึ่งไม่มีแม้กระทั่งโครงการอาวุธนิวเคลียร์ และยังเป็นสมาชิกของ NPT

    18. สหรัฐฯ สนับสนุนกลุ่มก่อการร้ายในภูมิภาคนี้ นับตั้งแต่กลุ่มย่อยหัวรุนแรงในฝ่ายต่อต้านซีเรีย, กลุ่มก่อการร้ายแบ่งแยกดินแดนที่มีเป้าหมายเพื่อทำให้อิหร่านล่มสลาย เช่นกลุ่มก่อการร้ายบาลูชี จุนดัลลาห์ และองค์กรมุจาฮิดีน คอลก์ (MKO) ซึ่งได้ลอบสังหารชาวอิหร่านไปมากกว่า 17,000 คนแล้ว ตั้งแต่มีการปฏิวัติอิสลาม

    19. ดังที่ข้าพเจ้าอธิบายไว้ในหนังสือของข้าพเจ้าเรื่อง “วิกฤตินิวเคลียร์อิหร่าน : บันทึกความจำ” (The Iranian Nuclear Crisis : A Memoir” ภายหลังการปฏิวัติ สหรัฐฯ และชาติตะวันตกได้ถอนตัวจากข้อตกลงและสัญญานิวเคลียร์ทั้งหมดกับอิหร่าน และท้าทาย “สิทธิที่ไม่อาจพรากไปได้” ของอิหร่านในการที่จะได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีนิวเคลียร์เพื่อสันติ ภายใต้สนธิสัญญา NPT สหรัฐฯ กดดันเยอรมนีให้ระงับการสร้างโครไฟฟ้า Bushehr ให้แล้วเสร็จ ซึ่งเสร็จไป 90% แล้ว และจ่ายเงินไปแล้ว 8 พันล้านมาร์กเยอรมัน วอชิงตันยังได้ผลักดันให้ฝรั่งเศสยกเลิกข้อตกลงเสริมสมรรถะที่ลงนามเมื่อปี 1973 ซึ่งได้รวมอิหร่านอยู่ในกลุ่มผู้ร่วมกิจการมูลค่า 1,200 ล้านดอลล่าร์ กับ Eurodif เพื่อเสริมสมรรถนะยูเรเนี่ยมในฝรั่งเศส เพื่อเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยเตหะราน และโรงไฟฟ้า Bushehr

    ความไม่เชื่อถือระหว่างอิหร่านและสหรัฐฯ เป็นสิ่งที่มีร่วมกันทั้งสองฝ่าย ถึงแม้ว่า สหรัฐฯ ที่เป็นมหาอำนาจสำคัญที่สุดของโลก และอิหร่าน ที่เป็นมหาอำนาจสำคัญระดับภูมิภาคในตะวันออกกลาง จะได้รับประโยชน์อย่างยิ่งจากการมีความสัมพันธ์ที่ดี ถ้าความร่วมมือเช่นนั้นเป็นจริงขึ้นมาได้ มันจะมีประโยชน์อย่างยิ่งในการเสริมสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงในตะวันออกกลาง ก้าวแรกที่มุ่งไปสู่ความร่วมมือนี้ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ด้วยการสร้างความคืบหน้าในการเจรจานิวเคลียร์และกำลังมีการสร้างช่องทางที่เป็นทางการทั้งสองฝ่ายระหว่างสหรัฐฯ และอิหร่านภายในกรอบของการเจรจาเรื่องนิวเคลียร์ การแก้ปัญหาโดยสันติของข้อขัดแย้งเรื่องนิวเคลียร์อิหร่านจะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย และอาจถูกยอมรับว่าเป็น “ต้นแบบ” เพื่อจัดการกับปัญหาการแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์ในอนาคต และอาจจะนำไปสู่การสร้างการเตรียมความพร้อมระดับภูมิภาคเพื่อการใช้เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ในตะวันออกกลาง

    —–
    แปล กองบก.เอบีนิวส์ทูเดย์
    ที่มา 19 Reasons why Iran doesn't Trust the US - Real Iran - Real Iran

    19 เหตุผล ที่อิหร่าน “ไม่เชื่อถือ” สหรัฐฯ | abnewstoday
     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    กระแสการเปิดโปงของ WikiLeaks เกี่ยวกับซาอุดีฯที่ขยายวงอย่างกว้างขวาง
    Category: News & Event Published on Thursday, 25 June 2015 13:30 Written by Islamicstudiesth Team.

    [​IMG]

    สื่อตะวันตกคาดการณ์ว่า การเปิดโปงต่างๆ ของ WikiLeaks เกี่ยวกับซาอุดีอาระเบียจะขยายวงมากขึ้นกว่าในปัจจุบัน และจะก่อให้เกิดผลกระทบต่างๆ ที่ลุ่มลึกมากขึ้นกว่านี้

    สำนักข่าว "Mehr" รายงานโดยอ้างจาก "France 24" ว่า เอกสารต่างๆ ที่ถูกเผยแพร่โดยเว็บไซต์ WikiLeaks ในวันศุกร์ที่ผ่านมา สามารถกล่าวได้ว่าเป็นเพียงการแสดงให้เห็นเป็นตัวอย่างในขั้นเริ่มต้น และคาดว่าด้วยการตีพิมพ์เอกสารเหล่านี้ออกเผยแพร่มากยิ่งขึ้น ผลกระทบของการเปิดโปงของ WikiLeaks เกี่ยวกับซาอุดีอาระเบียก็จะขยายวงมากยิ่งขึ้นด้วยเช่นกัน

    เอกสารเหล่านี้ครอบคลุมถึงประเด็นมากมายที่เกี่ยวกับชีวิตภายในของบรรดาเจ้าชายของราชวงศ์ซะอูด ไปจนถึงการเปิดโปงแผนสมรู้ร่วมคิดต่างๆ ของพวกเขาในเวทีการเมืองต่างประเทศในตะวันออกกลาง

    จนถึงขณะนี้ WikiLeaks ได้ตีพิมพ์เอกสารลับทางการทูตของซาอุดิอาระเบียไปแล้ว จำนวนถึง 60,000 ฉบับ ในขณะที่จำนวนของเอกสารและจดหมายที่เป็นความลับที่อยู่ในมือของ WikiLeaks นั้นมีจำนวนถึง 500,000 ฉบับ เรื่องราวของการเปิดโปงความสัมพันธ์ต่างๆ ที่เป็นความลับของราชวงศ์ซะอูดนั้นจะยังคงดำเนินไปอีกยึดยาวนัก

    ส่วนใหญ่ของเอกสารที่ถูกอ่านโดยสำนักข่าว "เอเอฟพี" นั้น เป็นการสอดส่องและตรวจสอบกิจกรรมการเคลื่อนไหวต่างๆ ของอิหร่านในระดับภูมิภาค หรือเป็นความพยายามที่จะบ่อนทำลายผลประโยชน์ต่างๆ ของเตหะราน แม้กระทั่งว่าจดหมายฉบับหนึ่งที่ตามรูปการแล้วถูกส่งจากสถานทูตของซาอุดิอาระเบียที่อยู่ในกรุงเตหะรานของประเทศอิหร่านนั้น ได้กล่าวถึงอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายสังคมทั้งหลายในฐานะที่เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการเล่นเกมกับความคิดเห็นของสาธารณชนของอิหร่าน และความพยายามที่จะทำการโค่นล้มรัฐบาลของอิหร่าน

    ในจดหมายนี้ยังได้ชี้ถึงการสนับสนุนและการสร้างความเข้มแข็งให้กับบุคคลต่างๆ ในฝ่ายตรงข้ามของรัฐบาลอิหร่านที่พำนักอยู่ในต่างประเทศ และความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดที่มีกับพวกเขา

    นอกจากนี้เอกสารเหล่านี้ที่ถูกตีพิมพ์เผยแพร่ออกไปโดย WikiLeaks ได้ชี้ให้เห็นถึงการดำเนินการต่างๆ อย่างลับๆ ของรัฐบาลซาอุดิอาระเบียและการแทรกแซงของพวกเขาในกิจการของประเทศอาหรับอื่นๆ

    เป็นที่คาดการณ์ว่า คลื่นละลอกใหม่ของการเผยแพร่เอกสารลับต่างๆ ของซาอุดิอาระเบีย โดย WikiLeaks นั้น จะก่อให้เกิดผลกระทบต่างๆ ที่ลุ่มลึกมากขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา

    ที่มา : mehrnews

    กระแสการเปิดโปงของ WikiLeaks เกี่ยวกับซาอุดีฯที่ขยายวงอย่างกว้างขวาง
     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ศาลเห็นชอบ'โอบามาแคร์'แต่ไม่อาจหนุนหุ้นสหรัฐฯ น้ำมัน-ทองลงจับตาหนี้กรีซ
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 26 มิถุนายน 2558 05:20 น.

    [​IMG]

    เอเอฟพี/รอยเตอร์ - ราคาน้ำมันขยับลงและทองคำปิดลบในวันพฤหัสบดี(25มิ.ย.) นักลงทุนจับตาการเจรจาอันยืดเยื้อระหว่างกรีซกับเหล่าเจ้าหนี้เพื่อหลีกเลี่ยงผิดนัดชำระและความเป็นไปได้ที่ต้องออกจากยูโรโซน ขณะที่วอลล์สตรีท ก็ปรับลดท่ามกลางการซื้อขายที่เบาบาง แม้ได้แรงหนุนของหุ้นกลุ่มประกันสุขภาพจากคำตัดสินของศาลเกี่ยวกับโครงการ'โอบามาแคร์'

    น้ำมันดิบเวสต์เทกซัสอินเตอร์มีเดียต หรือไลต์สวีตครูด งวดส่งมอบเดือนสิงหาคม ลดลง 57 เซนต์ ปิดที่ 59.70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนต์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน ลดลง 29 เซนต์ ปิดที่ 63.20 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

    ที่ประชุมฉุกเฉินระหว่างกรีซกับเหล่าเจ้าหนี้อย่างสหภาพยุโรปและไอเอ็มเอฟ เมื่อวันพฤหัสบดี(25มิ.ย.) ยังล้มเหลวฝ่าทางตันบรรข้อตกลงเงินกู้แลกปฏิรูป กระพือความกังวลรอบใหม่ว่าเอเธนส์อาจผิดนัดชำระหนี้และท้ายที่สุดต้องออกจากยูโรโซน

    นอกจากนี้แล้วตลาดน้ำมันยังจับตาเค้ารางที่ใกล้มาถึงของวันที่ 30 มิถุนายน อันเป็นเส้นตายที่อิหร่านและชาติมหาอำนาจต้องบรรลุข้อตกลงทางนิวเคลียร์อันสำคัญ ที่จะขัดขวางเตหะรานพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์แลกกับการยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรต่างๆ ในนั้นรวมถึงห้ามส่งออกน้ำมัน แต่เจ้าหน้าที่อเมริกายอมรับในวันพฤหัสบดี(25มิ.ย.)ว่าการเจรจาอาจล่วงเลยเส้นตายก็เป็นได้

    ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อวันพฤหัสบดี(25มิ.ย.) ปิดลบในกรอบแคบๆท่ามกลางการซื้อขายที่เบาบาง แต่หุ้นกลุ่มประกันสุขภาพขยับขึ้น หลังศาลสูงสุดของสหรัฐฯ พิพากษายืนเห็นชอบกฎหมายเงินอุดหนุนด้านภาษีของโครงการประกันสุขภาพ "โอบามาแคร์" ที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของประธานาธิบดีบารัค โอบามา

    ดาวโจนส์ ลดลง 75.71 จุด (0.42 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 17,890.36 จุด เอสแอนด์พี ลดลง 6.27 จุด (0.30 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 2,102.31 จุด แนสแดค ลดลง 10.22 จุด (0.20 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 5,112.19 จุด

    ดัชนีประกันสุขภาพในเอสแอนด์พี 500 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 หลังจากศาลพิพากษาว่ากฎหมาย Affordable Care Act เมื่อปี 2010 หรือเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางว่า "โอบามาแคร์" ไม่ควรถูกจำกัดด้านอุดหนุนทางภาษีในทั่วทุกรัฐของสหรัฐฯ ไม่เว้นแม้แต่ในรัฐที่มีการจัดตั้งระบบประกันสุขภาพออนไลน์ของตนเอง

    คำตัดสินของศาลสูงในวันนี้ ทำให้ระบบประกันสุขภาพของสหรัฐฯสามารถเดินหน้าต่อไป โดยได้รับเงินชดเชยทั่วทั้ง 50 รัฐ

    ทั้งนี้เหล่าผู้ปฏิบัติการโรงพยาบาลต่างๆเป็นหนึ่งในกลุ่มที่ได้รับผลประโยชน์จากคำตัดสินมากที่สุด ส่งผลให้หุ้นกลุ่มผู้ประกอบการโรงพยาบาล ผู้ให้บริการด้านสุขภาพ และบริษัทประกันในวอลล์สตรีทพุ่งขึ้นอย่างมาก

    อย่างไรก็ตามตลาดหุ้นสหรัฐฯในวันพฤหัสบดี(25มิ.ย.) ถูกเหนี่ยวรั้งโดยหุ้นกลุ่มพลังงานจากราคาน้ำมันดิบที่เริ่มกลับมาขยับลงต่อเนื่องอีกครั้ง เช่นเดียวกับความไม่แน่นอนล้มรอบวิกฤตหนี้กรีซ

    ความกังวลต่อวิกฤตหนี้กรีซกระพือหนักหน่วงขึ้น หลังจากประเทศแห่งนี้ล้มเหลวอีกครั้งในความพยายามบรรลุข้อตกลงปฏิรูปแลกความช่วยเหลือจากเจ้าหนี้ระหว่างประเทศ จนต้องมีความพยายามครั้งสุดท้ายในวันเสาร์(27มิ.ย.) เพื่อหลีกเลี่ยงผินัดชำระหนี้ในสัปดาห์หน้า

    ส่วนราคาทองคำในวันพฤหัสบดี(25มิ.ย.) ปรับลดเป็นวันที่ 5 ติดต่อกัน นักลงทุนเฝ้ารอข่าวคราวการเจรจาหนี้กรีซเพิ่มเติม และจับตาแนวโน้มระยะยาวต่อการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด ทองคำตลาดโคเม็กซ์ งวดส่งมอบเดือนสิงหาคม ลดลง 1.10 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,171.80 ดอลลาร์ต่อออนซ์

     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    อึ้ง!ผู้ป่วยจากคลื่นความร้อนปากีฯเกือบแสนคน ยอดตายทะลุ1พันศพ
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 26 มิถุนายน 2558 01:01 น.

    [​IMG]

    @ด้วยผู้เสียชีวิตจากสภาพอากาศอันร้อนระอุในปากีสถานมีเป็นจำนวนมาก ทำให้ญาติๆต้องประสบกับปัญหาในการฝังศพเหยื่อ

    เอเอฟพี - ยอดผู้เสียชีวิตจากคลื่นความร้อนที่เล่นงานปากีสถานทะลุ 1,000 ศพแล้วในวันพฤหัสบดี(25มิ.ย.) ท่ามกลางความคาดหมายว่าตัวเลขเหยื่ออาจสูงกว่านี้ อย่างไรก็ตามเมฆที่ปกคลุมและอุณหภูมิซึ่งลดต่ำลงก็ช่วยบรรเทาความทุกข์ทรมานแก่ประชาชนในเมืองการาจี ดินแดนที่ได้รับผลกระทบหนักหน่วงที่สุดได้บ้าง

    โรงเก็บศพและคนขุดหลุมศพในการาจี เมืองใหญ่ที่สุดและศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของปากีสถาน ประสบปัญหาในการรับมือกับศพผู้เสียชีวิตที่ไหลบ่ามาอย่างไม่ขาดสาย นับตั้งแต่เมืองแห่งนี้เริ่มเผชิญกับสภาพอากาศอันร้อนระอุเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา

    ทั้งนี้โรงพยาบาลต่างๆต้องเผชิญกับวิกฤตรับมือคนไข้จำนวนมหาศาลและต้องอุทิศตัวตั้งศูนย์รักษาผู้ป่วยโรคลมแดดทั่วเมืองเพื่อรักษาผู้ที่มีอาการของโรคลมแดดและภาวะร่างกายขาดน้ำหลายหมื่นคน

    "ยอดผู้เสียชีวิตมากกว่า 1,000 ศพและบางทีอาจพุ่งแตะ 1,500 ศพ" อันวาร์ คาซมี โฆษกของเอธี เวลแฟร์ องค์กรการกุศลใหญ่ที่สุดของปากีสถานบอกกับเอเอฟพี ขณะที่ตัวเลขที่เอเอฟพีรวบรวมจากโรงพยาบาลต่างๆทั่วการาจี พบว่ายอดเหยื่ออยู่ที่ 1,079 ศพ อย่างไรก็ตามดูเหมือนว่าอัตราการเสียชีวิตชะลอตัวลงแล้ว เนื่องจากช่วง 2 วันที่ผ่านมามีอากาศเย็นลง

    ส่วนเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์เผยว่าโรงพยาบาลต่างๆของการาจี ทำการรักษาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโรคลมแดดและภาวะร่างกายขาดน้ำเกือบ 80,000 คน

    หลังจากต้องเผชิญกับอุณหภูมิร้อนระอุสูงสุดราว 44-45 องศาเซลเซียสมาตั้งแต่วันเสาร์ (20 มิ.ย.) ลมทะเลและหมู่เมฆได้ช่วยบรรเทาสภาพอากาศที่แสนสาหัสในเมืองท่าแห่งนี้ในช่วง 2 วันที่ผ่านมา โดยทางสำนักงานอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์ว่าอุณหภูมิในวันพฤหัสบดี(25มิ.ย.) อยู่ที่ 34 องศาเซลเซียส และมีเมฆปกคลุมร้อยละ 75 "ตอนนี้คนไข้เริ่มน้อยลงแล้ว และหวังว่าสถานการณ์จะดีขึ้นเมื่อเวลาล่วงเลยไป" แพทย์รายหนึ่งจากโรงพยาบาลจินนาห์บอกกับเอเอฟพี

    โรงพยาบาลต่างๆในการาจี รับมือกับผู้ป่วยด้วยโรคลมแดด แทบไม่หวาดไม่ไหว ขณะที่สถานพยาบาลทั้งหลายต้องทำการรักษาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโรคลมแดดและภาวะร่างกายขาดน้ำเกือบ 80,000 คน

    ครอบครัวของเหยื่อยังเผชิญกับปัญหาในการฝังศพของญาติๆ เนื่องจากคนขุดหลุมศพไม่เพียงพอต่อความต้องการท่ามกลางแสงแดดที่แผดเผา โดยคนขุดศพบางคนเรียกร้องค่าแรงราว 50,000 รูปีปากีสถาน (ประมาณ 16,000บาท) หรือเกือบ 10 เท่าของอัตราอย่างเป็นทางการ ทำให้เจ้าหน้าที่เมืองต้องขุดหลุมศพในสุสาน 2 แห่งเพิ่มอีกกว่า 300 หลุมและคิดค่าบริการจากญาติในราคาปกติ 5,800 รูปี(ประมาณ 1,900บาท)

    อุณหภูมิระดับ 45 องศาเซลเซียสหรือสูงกว่านั้นถือเป็นเรื่องธรรมดาในพื้นที่อื่นๆในปากีสถาน แต่สำหรับการาจีแล้วนับเป็นเรื่องที่แปลก เนื่องจากปกติแล้วเมืองแห่งนี้มักมีอากาศเย็นกว่าที่อื่นๆเนื่องจากตั้งอยู่ริมชายฝั่ง อย่างไรก็ตามในสปดาห์นี้ลมทะเลที่ปกติจะพัดขึ้นมาจากทะเลอาหรับได้หายไป

    ในปีนี้คลื่นความร้อนยังแผ่ปกคลุมพร้อมๆกับช่วงเดือนรอมฎอน เทศกาลถือศีลอดที่เริ่มมาตั้งแต่วันศุกร์ (19 มิ.ย.) ทำให้นักเทศน์บางส่วนแนะนำประชาชนที่มีร่างกายอ่อนแอสามารถงดอดอาหารภายใต้สภาพอากาศอันแสนสาหัส

    ชาวบ้านในการาจี ต้องอาศัยน้ำที่รั่วจากท่อประปาคลายร้อน

    สถานการณ์ยังถูกซ้ำเติมจากปัญหาไฟดับที่มักเกิดขึ้นแทบทุกวันในปากีสถาน ส่งผลให้ชาวบ้านไม่สามารถใช้พัดลมหรือเครื่องปรับอากาศคลายความร้อนได้ นอกจากนี้ภาวะไฟฟ้าขาดแคลนยังก่อปัญหาแก่ระบบจ่ายน้ำประปา โดยเป็นอุปสรรคต่อการสูบน้ำหลายล้านแกลลอนไปหล่อเลี้ยงผู้บริโภค

    ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ในการาจี เป็นคนชรา คนยากจนและกรรมกรที่ต้องทำงานกลางแจ้ง ซึ่งจำนวนมากมักได้ค่าแรงเป็นรายวัน ดังนั้นหลายคนจึงไม่อยากหยุดงานเนื่องจากเกรงว่าจะสูญเสียรายได้

    คุณหมอกาเซอร์ ซัจจัด จากสมาคมการแพทย์ปากีสถานในการาจี บอกว่าการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคลมแดดในหมู่ประชาชน ในนั้นรวมถึงวิธีสังเกตอาการและแนวทางการรักษา เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก

     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ร่างกม.ฟาสต์แทร็กผ่านสภามะกัน ปูทางทำข้อตกลงการค้าTPPดันยุทธศาสตร์“ปักหมุด”ตีกรอบจีน โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 25 มิถุนายน 2558 22:50 น.

    [​IMG]

    @ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ได้รับชัยชนะครั้งสำคัญ หลังร่างกฎหมายซึ่งทรงความสำคัญยิ่งยวดในการค้ำประกันให้สหรัฐฯสามารถทำข้อตกลงการค้าเสรีรอบมหาสมุทรแปซิฟิก ผ่านการพิจารณาของวุฒิสภาอเมริกันแล้วในวันพุธ (24 มิ.ย.)

    รอยเตอร์/เอเจนซีส์ - ร่างกฎหมายซึ่งทรงความสำคัญยิ่งยวดในการค้ำประกันให้สหรัฐฯสามารถทำข้อตกลงการค้าเสรีรอบมหาสมุทรแปซิฟิก ผ่านการพิจารณาของวุฒิสภาอเมริกันแล้วในวันพุธ (24 มิ.ย.) เป็นการปูทางให้ประธานาธิบดีบารัค โอบามา เดินหน้าส่วนประกอบใหญ่ส่วนหนึ่งในยุทธศาสตร์ “ปักหมุดเอเชีย” เพื่อรับมือกับอำนาจอิทธิพลของจีนที่ขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ

    หลังจากต้องต่อสู้อย่างหนักหน่วงในสมรภูมิรัฐสภาสหรัฐฯอยู่เป็นเวลา 6 สัปดาห์เพื่อประคับประคองให้ร่างกฎหมายฉบับนี้ยังมีชีวิตรอดต่อไปได้ แม้ต้องประสบความเพลี่ยงพล้ำใหญ่ 2 ครั้ง และมีการเจรจาต่อรองหลังฉากนับครั้งไม่ถ้วน ในที่สุดวุฒิสภาก็ลงมติด้วยคะแนน 60 ต่อ 38 เมื่อวันพุธ (24) ให้อำนาจ “ฟาสต์แทร็ก” แก่โอบามา ในการไปเจรจาทำข้อตกลงการค้ากับต่างประเทศ

    ร่างกฎหมายฉบับนี้ได้ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ดังนั้นขั้นตอนต่อไปจึงเป็นการส่งให้แก่ประธานาธิบดีเพื่อลงนามประกาศใช้ ทั้งนี้ เมื่อมีอำนาจฟาสต์แทร็กก็หมายความว่า ฝ่ายบริหารของสหรัฐฯสามารถไปเจรจากับชาติอื่นๆ จนกระทั่งจัดทำข้อตกลงการค้าออกมาได้ โดยที่เมื่อส่งกลับมาให้รัฐสภาสหรัฐฯลงมติให้สัตยาบันรับรอง ฝ่ายนิติบัญญัติเพียงสามารถโหวตเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบข้อตกลงทั้งฉบับเท่านั้น แต่ไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของข้อตกลงได้

    ด้วยเหตุนี้จึงเห็นกันว่า อำนาจฟาสต์แทร็กจะทำให้พวกประเทศคู่เจรจาของอเมริกาเกิดความมั่นใจ และส่งผลให้ทำความตกลงกันได้ โดยที่ข้อตกลงการค้าฉบับสำคัญที่สุด 2 ฉบับซึ่งโอบามากำลังพยายามขับเคลื่อนอยู่ในเวลานี้ ก็คือ ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (ทีพีพี) ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่สุดส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ ปักหมุดเอเชีย ส่วนอีกฉบับหนึ่งได้แก่ ความตกลงหุ้นส่วนการค้าและการลงทุนภาคพื้นแอตแลนติก (ทีทีไอพี) กับทางสหภาพยุโรป (อียู)

    โดยเฉพาะ ทีพีพี นั้น เห็นกันว่าโอบามาเล็งที่จะให้กลายเป็นผลงานชิ้นโบแดงชิ้นหนึ่งในสมัยการครองตำแหน่งประธานาธิบดีของตน เนื่องจากจะเป็นข้อตกลงเขตการค้าเสรีขนาดใหญ่โตเทียบเคียงได้กับข้อตกลงเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (นาฟตา) ซึ่งประกอบด้วยสหรัฐฯ, แคนาดา, และเม็กซิโก รวมทั้งยังเป็นเครื่องมือสำคัญยิ่งในทางเศรษฐกิจของอเมริกา ในการต่อสู้คานอำนาจของจีนในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

    อย่างไรก็ตาม ในการบรรลุข้อตกลงทีพีพีนั้น บรรดารัฐมนตรีของ 12 ชาติสมาชิกซึ่งกำลังเจรจากันอยู่เวลานี้ ยังจะต้องสะสางประเด็นขัดแย้งอันยากลำบากจำนวนไม่น้อย ไล่ตั้งแต่เรื่องระยะเวลาความคุ้มครองผูกขาดสิทธิบัตร ที่บริษัทเวชภัณฑ์ซึ่งสามารถนำยาใหม่ๆ รุ่นต่อไปออกมาจะได้รับ ไปจนถึงเรื่องแนวทางปฏิบัติต่อรัฐวิสาหกิจทั้งหลายของเหล่าชาติสมาชิก

    หลายประเทศ เป็นต้นว่าญี่ปุ่นและแคนาดา ต้องการให้รัฐสภาสหรัฐฯผ่านกฎหมายฟาสต์แทร็กเสียก่อน พวกตนจึงจะยื่นข้อเสนอสุดท้ายสำหรับการทำข้อตกลงทีพีพี ซึ่งจะครอบคลุมชาติต่างๆ ที่รวมกันแล้วเป็นผู้สร้างมูลค่าเศรษฐกิจถึงราว 40% ของโลก อีกทั้งคาดหมายกันว่าทีพีพีจะส่งเสริมทำให้เศรษฐกิจโลกเติบโตเพิ่มขึ้นถึงปีละร่วมๆ 3,000 ล้านดอลลาร์

    เหล่าผู้เจรจาระบุว่า จะสามารถสรุปข้อตกลงทีพีพีได้ภายในไม่กี่สัปดาห์หลังจากประเทศต่างๆ มั่นใจว่า รัฐสภาอเมริกันจะไม่จ้องจับผิดเพื่อทำลายข้อตกลง

    อำนาจฟาสต์แทร็กที่ฝ่ายบริหารของสหรัฐฯได้รับในคราวนี้ มีอายุ 6 ปี ดังนั้นจึงหมายความว่าคณะบริหารของประธานาธิบดีสหรัฐฯคนต่อไป ซึ่งจะเข้ารับตำแหน่งต่อจากโอบามาในเดือนมกราคม 2017 จะมีอำนาจนี้ไว้ใช้ไปอีกหลายปี

    ในการให้อำนาจฟาสต์แทร็ก เพื่อที่จะเร่งรัดการเจรจาจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีคราวนี้ ปรากฏว่าพวกสมาชิกรัฐสภาสังกัดพรรครีพับลิกัน ส่วนใหญ่ต่างเห็นด้วยกับทำเนียบขาว เนื่องจากมีความผูกพันเป็นปากเสียงให้แก่ภาคธุรกิจ ขณะที่พวกพรรคเดโมแครตในรัฐสภา ที่มีความผูกพันเกื้อกูลกับพวกสหภาพแรงงาน ส่วนใหญ่กลับคัดค้านถึงแม้อยู่พรรคเดียวกันกับโอบามา

    ขณะเดียวกันการลงมติของวุฒิสภาเมื่อวันพุธคราวนี้ มีขึ้นเวลาที่รัฐสภากำลังมีความพยายามผลักดันร่างกฎหมายเกี่ยวกับการค้าหลายส่วน โดยที้สำคัญได้แก่ อำนาจเจรจาการค้าฟาสต์แทร็ก และการช่วยเหลือคนงานที่ตกงานเนื่องจากข้อตกลงการค้า

    ก่อนหน้านี้ ร่างกฎหมายให้อำนาจฟาสต์แทร็ก ที่ถูกผูกรวมกับมาตรการต่ออายุช่วยเหลือคนงานซึ่งตกงานเนื่องจากข้อตกลงการค้า ได้ผ่านการอนุมัติของวุฒิสภา ทว่าเมื่อเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ปรากฏว่าแม้โอบามาเดินทางไปล็อบบี้ถึงสภาด้วยตนเอง แต่พวก ส.ส.เดโมแครต รวมทั้ง แนนซี เปโลซี ผู้นำของเดโมแครตในสภาล่าง ยังพากันขัดขืน และถึงขั้นยอมใช้ยุทธวิธีเทคะแนนคัดค้านส่วนซึ่งเป็นมาตรการช่วยเหลือคนตกงาน อันเป็นส่วนที่ ส.ส.รีพับลิกันส่วนใหญ่โหวตไม่เอาอยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้ร่างดังกล่าวทั้งฉบับจึงไม่ผ่านการเห็นชอบของสภาล่าง

    อย่างไรก็ตาม ทำเนียบขาวและพวกรีพับลิกันในรัฐสภาได้แก้เกม ด้วยการแยกส่วนฟาสต์แทร็กออกมาจากมาตรการช่วยเหลือแรงงาน และสามารถผลักดันให้สภาล่างลงมติรับรองร่างกฎหมายเรื่องฟาสต์แทร็กไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว จากนั้นก็ผ่านการรับรองของสภาสูงอีกในคราวนี้

    ในวันพุธ (24) นี้เอง วุฒิสภายังได้ลงมติเป็นเอกฉันท์รับรองร่างกฎหมายที่เป็นเรื่องมาตรการช่วยเหลือแรงงานอีกด้วย ทั้งนี้คาดกันว่าเมื่อเรื่องนี้ถูกส่งไปให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาอีกครั้งในวันพฤหัสบดี (25) พวก ส.ส.เดโมแครตน่าจะกลับลำลงมติเห็นชอบ และโอบามาน่าจะลงนามประกาศใช้กฎหมายทั้งสองภายในสัปดาห์นี้ ก่อนที่สมาชิกรัฐสภาจะหยุดพักการประชุมเป็นเวลา 1 สัปดาห์

     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สื่อดังเมืองผู้ดีฟันธง ศก.จีนจะแซง US เป็นเบอร์ 1 โลกใน 11 ปี อินเดียจะรั้งที่ 3
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 26 มิถุนายน 2558 08:07 น.

    [​IMG]

    เอเจนซีส์ / ASTV ผู้จัดการออนไลน์ – “อีโคโนมิสต์ อินเทลลิเจนซ์ ยูนิต” สื่อดังด้านการวิเคราะห์เศรษฐกิจซึ่งมีฐานอยู่ที่กรุงลอนดอนในสหราชอาณาจักร คาดการณ์ สาธารณรัฐประชาชนจีนจะใช้เวลาอีกเพียง 11 ปีเท่านั้น จึงจะสามารถก้าวแซงหน้าอเมริกาขึ้นเป็นดินแดนที่มีขนาดของเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของโลกได้ และจากนั้นภายในปี ค.ศ. 2050 เศรษฐกิจของสาธารณรัฐประชาชนจีนจะเติบโตจนมีมูลค่าสูงลิ่วถึง “105 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ” หรือคิดเป็นยอดการเติบโตที่สูงกว่าเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาถึง “1.5 เท่าตัว”

    รายงานเชิงวิเคราะห์ฉบับล่าสุดของอีโคโนมิสต์ อินเทลลิเจนซ์ ยูนิต (อีไอยู) ระบุว่า สาธารณรัฐประชาชนจีนจะใช้เวลาอีกเพียง 11 ปีเท่านั้น จึงจะสามารถก้าวแซงหน้าอเมริกาขึ้นเป็นดินแดนที่มีขนาดของเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของโลกได้ในปี ค.ศ.2026

    แต่การก้าวขึ้นครองตำแหน่งดินแดนที่มีขนาดของเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกของจีนเมื่อถึงปี 2026 นั้น จะถือเป็นเพียง “บันไดขั้นแรก”ของจีนในการก้าวขึ้นเป็นชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอย่างเต็มภาคภูมิ

    โดยข้อมูลจากรายงานของอีไอยูล่าสุดชี้ว่า เศรษฐกิจจีนจะยังคงเติบโตได้อย่างร้อนแรงต่อไป จนกระทั่งมีมูลค่าสูงถึง “105 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ” เมื่อถึงปี 2050 ขณะที่เมื่อถึงเวลานั้น เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาจะมีมูลค่าราว “71 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ” ซึ่งเท่ากับการตามหลังมูลค่าทางเศรษฐกิจของจีนถึง “1.5 เท่าตัว”

    ขณะที่ “ยักษ์หลับ” อย่างอินเดียจะก้าวขึ้นเป็นเขตเศรษฐกิจใหญ่อันดับที่ 3 ของโลกเมื่อถึงปี 2050 ด้วยมูลค่ารวมของเศรษฐกิจที่ระดับ “64 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ”

    รายงานฉบับนี้ของอีไอยูคาดการณ์ว่า เมื่อถึงปี 2050 อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจเอเชีย จะมีสัดส่วนคิดเป็น 53 เปอร์เซ็นต์ หรือ “เกินครึ่งหนึ่งของจีดีพีโลก” ถือเป็นการเพิ่มบทบาทขึ้นอย่างสำคัญของเศรษฐกิจเอเชียจากที่เอเชียเคยมีอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจคิดเป็น 26 เปอร์เซ็นต์ของโลกเมื่อปี 2000 และ 32 เปอร์เซ็นต์ของโลกเมื่อปี 2014 ที่ผ่านมา

    อย่างไรก็ดี บทวิเคราะห์ล่าสุดของสื่อดังจากอังกฤษชิ้นนี้ เตือนว่า ถึงแม้เอเชียจะสามารถขยายบทบาทเพิ่มมากขึ้นจนกลายเป็น “ศูนย์กลางแห่งอำนาจใหม่” ในเวทีเศรษฐกิจโลก แต่หลายประเทศในเอเชีย โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกจะต้องเผชิญกับปัญหาสำคัญยิ่งที่รอท้าทายอยู่เบื้องหน้า นั่นคือ ปัญหาการลดจำนวนลงอย่างสำคัญของ “ประชากรในวัยแรงงาน” และก้าวเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ”

    ทั้งนี้ เป็นที่คาดกันว่า ญี่ปุ่นจะเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบหนักหนาสาหัสที่สุดจากการหดตัวของประชากรในวัยแรงงานเนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่แรงงานในแดนปลาดิบจะลดลงเหลือเพียง 47 ล้านคนเมื่อถึงปี 2050 จากระดับ 66 ล้านคนในปัจจุบัน ขณะที่จีนและเกาหลีใต้ก็จะต้องเผชิญกับปัญหาการหดตัวของประชากรวัยแรงงานราว 17-18 เปอร์เซ็นต์จากระดับปัจจุบัน


     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ไอเอสเปิดฉากรุกกลับทั้งทัพซีเรีย-กองกำลังเคิร์ด บุกยึด “เมืองโคบานี” รอบใหม่
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 25 มิถุนายน 2558 15:52 น. (แก้ไขล่าสุด 25 มิถุนายน 2558 15:58 น.)

    [​IMG]

    รอยเตอร์ – นักรบกลุ่มรัฐอิสลาม (ไอเอส) เปิดฉากโจมตีกองทัพซีเรียและกองกำลังเคิร์ดพร้อมกันเมื่อคืนนี้ และกลับไปเป็นฝ่ายรุกอีกครั้งหลังจากที่เสียดินแดนในช่วงไม่กี่วันมานี้ให้กับกองกำลังที่นำโดยชาวเคิร์ดในจังหวัดรอกเกาะห์ ซึ่งเป็นที่มั่นสำคัญยิ่งของกลุ่มไอเอส

    [​IMG]

    ในการรุกอีกด้านหนึ่ง กลุ่มกบฏได้โจมตีหลายพื้นที่ของเมืองเดราอาซึ่งรัฐบาลซีเรียยึดครองอยู่ทางตอนใต้ หนึ่งในพื้นที่ที่พวกกบฏทำให้กองกำลังของประธานาธิบดี บาชาร์ อัลซาด ประสบกับความสูญเสียอย่างมีนัยสำคัญในช่วงไม่กี่เดือนมานี้ กลุ่มสังเกตการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในซีเรีย (Syrian Observatory for Human Rights) รายงาน

    กองกำลังวายพีจีของเคิร์ด ซึ่งมีการโจมตีทางอากาศที่นำโดยสหรัฐฯคอยสนับสนุน ได้รุกคืบลึกเข้าไปในจังหวัดรอกเกาะห์ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา และยึดที่มั่นสำคัญๆ จากกลุ่มไอเอส รวมถึงเมืองเทลอับยาดบริเวณพรมแดนติดตุรกี

    ในความพยายามที่จะกลับเป็นฝ่ายรุกอีกครั้ง กลุ่มไอเอสได้ตีชิงที่มั่นหลายแห่งจากกองทัพซีเรียในการโจมตีเมืองฮาซากาทางตะวันออกเฉียงเหนือ ขณะเดียวกันก็เปิดฉากโจมตีเมืองโคบานีที่เคิร์ดครองอยู่บริเวณชายแดนตุรกี กลุ่มสังเกตการณ์ฯ ซึ่งอาศัยเครือข่ายแหล่งข้อมูลในพื้นที่ ระบุ

    สถานีโทรทัศน์ของทางการซีเรียรายงานว่ามีการปะทะอย่างหนักหน่วงระหว่างนักรบไอเอสและกองทัพซีเรียพร้อมกองกำลังพันธมิตรในเขตอัลนาชวาของเมืองฮาซากา ซึ่งถูกแบ่งเป็นเขตของรัฐบาลและของกองกำลังชาวเคิร์ด


    กลุ่มสังเกตการณ์ฯ รายงานว่า การบุกจู่โจมเมืองโคบานีของกลุ่มไอเอส เริ่มต้นด้วยการโจมตีคาร์บอมในพื้นที่ใกล้กับจุดผ่านแดนติดกับตุรกี พวกนักรบไอเอสกำลังต่อสู้กับกองกำลังชาวเคิร์ดในเมืองนี้

    เจ้าหน้าที่รายหนึ่งในกองกำลังวายพีจีของเคิร์ด ระบุว่า กลุ่มไอเอสกำลังโจมตีเมืองแห่งนี้จาก 3 ด้าน กลุ่มสังเกตการณ์ รายงานว่า มีผู้ถูกสังหารหรือได้รับบาดเจ็บจำนวนมากจากการยิงระเบิดและการสู้รบที่เกิดขึ้นตามมา

    กองกำลังชาวเคิร์ด ซึ่งได้รับการสนับสนุนทางอากาศจากสหรัฐฯและพันธมิตร ได้ยึดคืนเมืองโคบานีในช่วงสิ้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา หลังจากถูกกลุ่มรัฐอิสลามปิดล้อมอยู่นาน 4 เดือน

    ในตอนใต้ของซีเรีย กลุ่มกบฏได้โจมตีหลายพื้นที่ของเมืองเดราอาที่รัฐบาลยึดครองอยู่เมื่อคืนนี้ มีรายงานว่ามีการสู้รบกันอย่างหนักหน่วงและกองทัพได้ใช้การโจมตีทางอากาศในพื้นที่นี้ กลุ่มสังเกตการณ์ ระบุ

    ในช่วงไม่กี่เดือนมานี้กลุ่มกบฏได้สร้างความเสียหายอย่างมีนัยสำคัญต่อกองทัพซีเรียและกองกำลังพันธมิตรในตอนใต้ ด้วยการยึดที่มั่นหลายแห่ง รวมถึงค่ายทหารแห่งหนึ่ง , จุดผ่านแดนติดกับจอร์แดน และเมืองแห่งหนึ่ง

    กลุ่มกบฏทางตอนใต้เหล่านี้ ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มอัล-นุสราฟรอนท์ สาขาของกลุ่มอัลกออิดะห์ และกลุ่มต่างๆ ที่ไม่ได้มีอุดมการณ์ญิฮาดร่วมกัน ระบุว่า พวกเขามีเป้าหมายที่การขับไล่กองกำลังรัฐบาลซีเรียออกจากเมืองเดราอา

    สถานีโทรทัศน์ของทางการซีเรีย รายงานว่า กองทัพสยบการโจมตีที่มั่นทางทหารหลายแห่งในตอนใต้ของประเทศไว้ได้แล้ว

     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    In Pics : พิวรีเสิร์ชเปิดยุทธศาสตร์ปักหมุดเอเชียของโอบามา “เวียดนาม” โปรอเมริกาจ๋าไม่ต่ำกว่า 71% ทั้งดีลการค้า TPP - ตั้งกองกำลังเรือรบในเอเชีย - 56% มะกันอนุญาต “สหรัฐฯยกกองทัพช่วย” หากจีนปะทะโฮจิมินห์ โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 25 มิถุนายน 2558 16:49 น. (แก้ไขล่าสุด 25 มิถุนายน 2558 16:54 น.)

    [​IMG]

    ASTVผู้จัดการออนไลน์ – เมื่อวานนี้(23)พิวรีเสิร์ชได้รายงานยุทธศาสตร์ทางเอเชีย หรือ ยุทธศาสตร์การปักหมุดเอเชียเพื่อถ่วงดุลอำนาจการทหารกับจีนและสร้างการค้ากับประเทศแถบเอเชียแปซิฟิก เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยอดีตรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ฮิลลารี คลินตัน ยังอยู่ในอำนาจ พบว่าในการสำรวจปี 2015 ด้านข้อตกลงการค้า TPP จาก 9 ประเทศที่สำรวจรวมไปถึง สหรัฐฯพบว่า เวียดนามเห็นด้วยในการเข้าร่วมทำข้อตกลงการค้า TPP กับสหรัฐฯมากถึง 89% ในขณะที่มาเลเซียเป็นประเทศที่ไม่เห็นด้วยกับ TPP มากที่สุด โดยมีเสียงสนับสนุนข้อตกลงการค้าเพียง 38% และต้องตกใจเมื่อพบว่า ในด้านการสนับสนุนการคงอยู่ของกองกำลังสหรัฐฯในน่านน้ำแปซิฟิก พบว่าเวียดนามออกเสียงสนับสนุนการปรากฏตัวของกองกำลังสหรัฐฯถึง 71% และมากกว่า 50% ใน 6 ประเทศจากทั้งหมด 10 ประเทศที่คิดว่า “ยุทธศาสตร์ปรับสมดุลทางการทหารของสหรัฐฯในเอเชียแปซิฟิกเป็นสิ่งที่ดี” เพราะจะทำให้ภูมิภาคนี้ยังคงสงบต่อไป และประชาชนชาวสหรัฐฯถึง 56% เห็นควรให้เพนตากอนสั่งรบหากประเทศพันธมิตรเอเชียเกิดปะทะกับจีน

    หลังจากที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯบารัค โอบามา สามารถประสบความสำเร็จทำให้สภาสูงสหรัฐฯผ่านกฎหมายฟาสต์แทร็กให้อำนาจพิเศษกับประธานาธิบดีสหรัฐฯในการจัดการเจรจาการค้าแปซิฟิก TPP แบบไม่ต้องให้สภาคองเกรสสามารถแก้ไขรายละเอียดข้อตกลงสนธิสัญญาได้ ทำให้ล่าสุด pewglobal.org รายงานผลวิจัยยุทธศาสตร์ Pivot to Asia หรือ ยุทธศาสตร์การปักหมุดเอเชียเมื่อวานนี้(23) จากการสำรวจในช่วงฤดูใบไม้ผลิล่าสุดโดยผ่านการสัมภาษณ์แบบเฉพาะตัวบุคคลและการสอบถามความคิดเห็นผ่านทางโทรศัพท์ภายใต้การดำเนินงานของ Princeton Survey Research Associates International

    ทั้งนี้ในอดีตรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯคลินตันเคยเขียนลงในสื่อการต่างประเทศ Foreign Policy ในวันที่ 11 ตุลาคม 2011 ว่า "ยุทธศาสตร์ปักหมุดเอเชีย" เกิดขึ้นจากการที่วอชิงตันต้องการปิดฉากการรบของกองทัพสหรัฐฯในอิรักและอัฟกานิสถาน ซึ่งทหารสหรัฐฯสิ้นสุดการทำหน้าที่สันติภาพในอิรักในปี 2011 และสิ้นสุดการทำหน้าที่เป็นทหารสันติภาพร่วมกับนาโตในอัฟกานิสถานในปี 2014 โดยสหรัฐฯยังคงกองกำลังบางส่วนในอัฟกานิสถานเพื่อเป็นครูฝึกให้กองทัพอัฟกานิสถานเท่านั้นหลังจากนั้น

    โดยยุทธศาสตร์ปักหมุดเอเชีย หรือการสร้างสมดุลอำนาจในเอเชียนั้นประกอบไปด้วย 2 ส่วนด้วยกันคือ (1)ด้านเศรษฐกิจ หรือการสร้างความสัมพันธ์ทางการค้ากับเอเชีย ข้อตกลงการค้าเอเชียแปซิฟิก(TPP) รวมไปถึงกีดกันไม่ให้ภูมิภาคย่านนี้ต้องพึ่งพาเศรษฐกิจกับจีนมากจนเกินไป และ(2)การนำกองกำลังสหรัฐฯกลับคืนสู่น่านน้ำแปซิฟิกเพื่อถ่วงดุลความก้าวร้าวของจีน เพื่อทำให้ประเทศพันธมิตรในน่านน้ำมหาสมุทรแปซิฟิกไม่ว่าจะเป็น เวียดนาม ไทย ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น หรือออสเตรเลีย มั่นใจว่าจะสามารถฝากความหวังไว้กับสหรัฐฯได้ว่า หากเกิดเหตุขึ้นทางวอชิงตันจะส่งกำลังไปช่วย

    และถึงแม้ความสำเร็จในยุทธศาสตร์ปักหมุดเอเชียนี้ต้องการเวลาในการพิสูจน์ แต่กระนั้นพิวรีเสิร์ชยังยืนยันว่า การสนับสนุนทางสาธารณะเป็นสิ่งหนึ่งที่จะสามารถเป็นเครื่องวัดได้ว่า ยุทธศาสตร์ของประธานาธิบดีโอบามานี้ได้รับการตอบรับอย่างไร ในแง่ความเชื่อมั่นของประชาชนในแถบเอเชียแปซิฟิกต่อข้อตกลงการค้า TPP เพื่อร่วมตลาดย่านเอเชียแปซิฟิกให้เป็นหนึ่งเดียว และความกระตือรือร้นของประชาชนเจ้าของประเทศในการสนับสนุนให้วอชิงตันตัดสินใจใช้กำลังทางทหารเพื่อช่วยเหลือพันธมิตรทางเอเชียแปซิฟิกหากตกที่นั่งลำบาก

    ยุทธศาสตร์ปักหมุดเอเชียด้านเศรษฐกิจ : ข้อตกลงการค้า TPP

    ข้อตกลงการค้าแปซิฟิกนั้นทำครอบคลุมทั้งสองฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกรวม 12 ประเทศ ประกอบไปด้วย สหรัฐฯ ออสเตรเลีย บรูไน แคนาดา ชิลี ญี่ปุ่น มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ เปรู สิงคโปร์ และเวียดนาม

    และหากข้อตกลงการค้า TPP สำเร็จ จะทำให้สามารถมีมูลค่าเศรษฐกิจรวมถึง 40% ของเศรษฐกิจโลก และ 26% ของตลาดการค้าโลก

    ทั้งนี้ในการสำรวจล่าสุดในฤดูใบไม้ผลิ ปี 2015 ในเรื่องข้อตกลงการค้า TPP ทำการวิจัย 9 ประเทศจากทั้งหมด 12 ประเทศคือ เวียดนาม เปรู ชิลี เม็กซิโก ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย แคนาดา สหรัฐฯ และมาเลเซียที่เข้าร่วมกับ TPP และพบว่าทั้งหมดที่ได้ตอบแบบสอบถามโดยเฉลี่ย มีจำนวนไม่ต่ำกว่า 53% เห็นว่าดีลการค้า TPP เป็นประโยชน์ ในขณะที่ 23% เห็นในทางตรงกันข้าม

    โดยพบว่าเวียดนามเห็นด้วยกับข้อตกลงการค้า TPP ถึง 89% แต่ทว่ามาเลเซียกลับเป็นประเทศที่เห็นด้วยกับข้อตกลงนี้น้อยที่สุด โดยมีเสียงสนับสนุนเพียง 38% และตามมาถึงสหรัฐฯที่ไม่ต้องการข้อตกลงการค้า TPP เนื่องจากเกรงการถูกโยกงานออกนอกประเทศ โดยมีเสียงสนับสนุนเพียง 49% เท่านั้น

    นอกจากนี้ในแบบสอบถามล่าสุด ยังถามไปยังประเทศที่เข้าร่วมและไม่ได้เข้าร่วม TPP ทั้งหมด 13 ประเทศ (ญึ่ป่น แคนาดา เวียดนาม เม็กซิโก เปรู ชิลี ออสเตรเลีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินเดีย เกาหลีใต้ และปากีสถาน) ว่าประเทศเหล่านั้นต้องการใกล้ชิดทางเศรษฐกิจกับทางวอชิงตัน หรือทางปักกิ่งมากกว่า โดยพบว่า ญี่ปุ่น 78% ฟิลิปปินส์ 73% และแคนาดา 73% ต้องการใกล้ชิดทางการค้ากับทางวอชิงตัน
    ในขณะที่ มาเลเซียนั้นต้องการใกล้ชิดทางการค้ากับวอชิงตันน้อยที่สุด โดยมีเสียงสนับสนุนตอบรับเพียง 14%

    และเมื่อพิจารณาถึงประเทศที่ต้องการสัมพันธ์ทางการค้าใกล้ชิดกับปักกิ่งมากกว่า พบว่าจากทั้งหมด 13 ประเทศ ออสเตรเลียสนับสนุนแนวคิดนี้ถึง 50% และเกาหลีใต้จำนวน 47%

    พิวรีเสิร์ชรายงานเพิ่มเติมว่า เป็นที่น่าสนใจที่พบว่า ถึงแม้มาเลเซียมีเสียงความต้องการใกล้ชิดทางการค้ากับวอชิงตันน้อยที่สุด แต่กลับพบว่า มาเลเซียถึง 43% และชิลีราว 35% ต้องการให้ใกล้ชิดทางการค้ากับทั้งวอชิงตันและปักกิ่งเท่าๆกัน

    ยุทธศาสตร์ปักหมุดเอเชีย : กองกำลังสหรัฐฯในย่านเอเชียแปซิฟิก

    และเมื่อพิจารณาถึงยุทธศาสตร์การกลับมาเยือนภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของกองทัพสหรัฐฯ ที่ล่าสุดในสมัยโอบามา มีข้อตกลงร่วมกับออสเตรเลียในการอนุญาตให้กองกำลังสหรัฐฯคงอยู่ในออสเตรเลียได้ รวมไปถึงการปรากฏกองเรือรบสหรัฐฯที่คอยวิ่งตรวจตราน่านน้ำในภูมิภาคนี้เพื่อต้านทานแรงกดดันจากจีนที่ต้องการประกาศสิทธิครอบครองในทะเลจีนตะวันออกและทะเลจีนใต้

    โดยพิวรีเสิร์ชชี้ว่า ความสัมพันธ์ในความต้องการให้กองกำลังสหรัฐฯปรากฏตัวในภูมิภาคนี้สอดคล้องกับความสัมพันธ์ของความต้องการของประเทศนั้นๆต่อจีนในด้านความมั่นคง โดยจากการสำรวจทั้งหมด 10 ประเทศ (เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ สหรัฐฯ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และปากีสถาน) พบว่า 6 ประเทศเห็นควรว่า การคงกองกำลังสหรัฐฯไว้ในย่านเอเชียแปซิฟิกเพื่อรักษาความสงบในภูมิภาคนี้

    ซึ่งพบว่า เวียดนามที่นอกจากสนับสนุนดีลการค้า TPP แล้วยังสนับสนุนการปรากฏตัวของกองกำลังสหรัฐฯในมหาสมุทรแปซิฟิกถึง 71% สอดคล้องกับความรู้สึกที่เป็นปฎิปักษ์ต่อจีนของชาวเวียดนามที่พบว่า มีประชาชนชาวเวียดนามถึง 74% หรือเกือบ 3 ใน 4 ที่เห็นว่า ควรที่จะต้องให้ความสำคัญด้านดินแดนพิพาทกับปักกิ่งมากกว่าที่ต้องการใกล้ชิดทางการค้าที่มีสัดส่วนเห็นด้วยแค่ 17%

    ส่วนฟิลิปปินส์สนับสนุนการปรากฏตัวของกองกำลังสหรัฐฯราว 71% แต่ประชาชนชาวฟิลิปปินส์แค่ 41% ต้องการให้ความสำคัญกับดินแดนพิพาทกับจีนมากกาว่า ซึ่งไม่ต่างมากนักกับจำนวนชาวฟิลิปปินส์ที่ต้องการให้ทางมานิลาใกล้ชิดกับปักกิ่งด้านเศรษฐกิจราว 43%

    นอกจากนี้ในการสำรวจ พิวรีเสิร์ชยังได้ถามชาวสหรัฐฯ ต้องการสนับสนุนให้วอชิงตันสั่งใช้กำลังทางทหารกับจีนหรือไม่ หากว่าประเทศพันธมิตรในน่านน้ำเอเชียแปซิฟิกมีปัญหาต้องใช้กำลังปะทะกับจีน และพบว่ามีประชาชนสหรัฐฯถึง 56% ตอบตกลงเห็นควรที่จะให้สหรัฐฯใช้กองกำลังเรือรบเข้าแทรกแซงช่วยมิตรประเทศ ในขณะเดียวกัน เกาหลีใต้ได้ออกความเห็นคาดหวังว่าสหรัฐฯจะให้การช่วยเหลือหากถูกจีนใช้กำลังมากที่สุดถึง 73% และราว 2 ใน 3 หรือ 66% ของชาวฟิลิปปินส์หวังจะเห็นกองเรือสหรัฐฯเข้าสนับสนุนหากเกิดการรบกับจีนขึ้น และญี่ปุ่นปรารถนาการเข้าช่วยเหลือทางการทหารของสหรัฐฯราว 60% เป็นต้น

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    In Pics :
     
  19. เห็ดถอบ

    เห็ดถอบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2013
    โพสต์:
    126
    ค่าพลัง:
    +300
    เป็นปรากฏการอภิมหาโยกย้ายที่โดนใจผมสุดๆโดนทุกวงการเลย
     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    “รัสเซีย-มองโกเลีย” เตรียมส่งทหารร่วม “ขบวนสวนสนาม” รำลึกสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในจีน โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 25 มิถุนายน 2558 18:23 น.

    [​IMG]

    @กองทหารจีนเดินสวนสนามที่จัตุรัสแดงในงานเดินพาเหรดแห่งชัยชนะเพื่อรำลึกครบรอบ 70 ปีความพ่ายแพ้ของนาซีเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่ 2 ในกรุงมอสโคของรัสเซีย เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ปี 2015

    รอยเตอร์ – กองทหารทหารจากรัสเซียและมองโกเลียจะเดินสวนสนามร่วมกับกองทัพจีนในการเดินพาเหรดที่กรุงปักกิ่งในเดือนพฤศจิกายน เพื่อรำลึกถึงการสิ้นสุดสงครามโลกที่ 2 รัฐบาลและสื่อทางการ ระบุในวันนี้ (25) พร้อมยืนยันการเข้าร่วมครั้งแรกของทั้งสองประเทศ

    จีนไม่ได้เปิดเผยรายนามประเทศที่พวกเขาเตรียมเชิญมาร่วมงานเดินสวนสนามครั้งนี้ แต่ระบุว่า พวกเขาคงจะเชิญผู้แทนจากพันธมิตรตะวันตก (Western Allies) ซึ่งร่วมต่อสู้กับจีนในช่วงสงครามดังกล่าว เข้าร่วมด้วยเช่นกัน

    นักการทูตบอกกับรอยเตอร์ว่า ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง อาจได้ยืนร่วมเวทีกับเจ้าหน้าที่อาวุโสของฝ่ายตะวันตกแค่ 2-3 คน เนื่องจากรัฐบาลตะวันตกเป็นกังวลเกี่ยวกับหลายๆ ประเด็น รวมถึงการปรากฏตัวของประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย

    สี ร่วมชมการเดินสวนสนามในกรุงมอสโคเมื่อเดือนพฤษภาคมเพื่อรำลึกครอบ 70 ปีการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในยุโรป บรรดาผู้นำตะวันตกต่างบอยคอตต์ไม่เข้าร่วมงานดังกล่าวจากกรณีบทบาทของรัสเซียในความขัดแย้งภายในยูเครน

    หยาง หยู่จุน โฆษกกระทรวงกลาโหมแดนมังกร ระบุว่า “กองทัพของประเทศต่างๆ จำนวนหนึ่งได้ตอบรับคำเชิญร่วมงานดังกล่าวที่กรุงปักกิ่งแล้ว โดยงานนี้จะถูกจัดขึ้นรอบจัตุรัสเทียนอันเหมิน

    “รัสเซียและประเทศอื่นระบุแน่ชัดแล้วว่า จะส่งผู้แทนเข้าร่วมและชมการเดินสวนสนามครั้งนี้” หยาง บอกในการบรรยายสรุปข่าวประจำเดือน โดยไม่ได้ชี้แจงรายละเอียด

    โกลบอลไทม์ จุลสารที่ตีพิมพ์โดยหนังสือพิมพ์รายวัน พีเพิลเดลีย์ ของพรรครัฐบาลคอมมิวนิสต์ ระบุว่า มองโกเลียก็จะส่งคณะผู้แทนกองทัพ 75 คนร่วมการเดินขบวนด้วย โดยจะถูกขนาบข้างด้วยจีนและรัสเซีย

    การเดินพาเหรดที่ปักกิ่งครั้งนี้จะเป็นงานเดินพาเหรดครั้งแรกของ สี นับตั้งแต่ที่เขาเข้ารับตำแหน่งผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์และผู้บัญชาการทหารเมื่อช่วงปลายปี 2012 และตำแหน่งประธานาธิบดีในต้นปี 2013

    ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและญี่ปุ่นมีความตึงเครียดมานานจากประเด็นที่จีนมองว่าญี่ปุ่นล้มเหลวในการชดใช้เรื่องการยึดครองบางส่วนของประเทศตนก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 และปักกิ่งก็มักจะไม่พลาดโอกาสที่จะกระตุ้นเตือนประชาชนของตนและโลกเกี่ยวกับเรื่องนี้

    เมื่อเดือนเมษายน อีแวน เมเดริรอส ที่ปรึกษาอาวุโสด้านเอเชียของประธานาธิบดี บารัค โอบามา แห่งสหรัฐฯ กล่าวว่า เขามีข้อสงสัยว่าการเดินพาเหรดทางทหารอย่างใหญ่โตจะส่งสัญญาณแห่งการปรองดองหรือส่งเสริมกระบวนการการเยียวยาจริงๆ หรือไม่

    ในสัปดาห์นี้ เจ้าหน้าที่อาวุโสของจีนรายหนึ่งตำหนิถึงสิ่งที่เขาพูดว่าเป็นการขาดความสำนึกรู้คุณในตะวันตกถึงเรื่องการเสียสละและผลงานของจีนในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

     

แชร์หน้านี้

Loading...