ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    นักรบหัวรุนแรง “อัล ชาบาบ” บุกโจมตีสถานีตำรวจใกล้เมืองหลวงโซมาเลียฝ่ายจนท. สังเวยอย่างน้อย 8 ศพ โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 21 มิถุนายน 2558 02:51 น.

    [​IMG]

    รอยเตอร์ / เอเจนซีส์/ ASTV ผู้จัดการออนไลน์ – กลุ่มมือปืนซึ่งเป็นสมาชิกกลุ่มติดอาวุธอิสลามิสต์หัวรุนแรง“อัล ชาบาบ” จากโซมาเลีย ก่อเหตุบุกสังหารเจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวนอย่างน้อย 8 นาย ระหว่างการบุกโจมตีสถานีตำรวจแห่งหนึ่งใกล้กับเมืองหลวงของประเทศเมื่อวันเสาร์ ( 20 มิ.ย.)

    [​IMG]

    รายงานข่าวซึ่งอ้างพันตำรวจตรี อับดิกาเดียร์ ฮุสเซน เจ้าหน้าที่ตำรวจระดับสูงในพื้นที่ ระบุว่า นักรบจากกลุ่มอัล ชาบาบ ซึ่งไม่ทราบจำนวนที่แน่ชัด ได้บุกเข้าโจมตีสถานีตำรวจแห่งหนึ่งที่เมืองอัฟกอย ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงโมกาดิชูไปทางตะวันตกเฉียงใต้ราว 30 กิโลเมตร โดยการโจมตีของพวกอัล ชาบาบครั้งนี้ ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาประมาณ 01.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น ส่งผลให้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจถูกสังหารไปอย่างน้อย 8 นาย และมีรถกระบะบรรทุกถูกขโมยไปด้วย 3 คัน ซึ่งในจำนวนนี้มีอยู่คันหนึ่งที่ติดตั้งปืนกลไว้ด้วย

    เจ้าหน้าที่ตำรวจระดับสูงรายเดียวกันนี้ยังเปิดเผยว่า ฝ่ายเจ้าหน้าที่ได้ออกตามล่ากลุ่มคนร้ายในช่วงเช้า และสามารถสังหารสมาชิกกลุ่มอัล ชาบาบได้ 10 ราย รวมถึง สามารถยึดคืนรถกระบะคันที่ติดตั้งปืนกลไว้กลับมาได้ ขณะที่กลุ่มมือปืนที่เหลือของพวกอัล ชาบาบ ได้หลบหนีไปพร้อมรถกระบะอีก 2 คันที่ถูกขโมย

    ทั้งนี้ กลุ่มอัล ชาบาบ ซึ่งต้องการโค่นล้มรัฐบาลกลางในกรุงโมกาดิชูที่มีโลกตะวันตกหนุนหลัง เคยมีประวัติการก่อเหตุโจมตีในช่วงเดือนรอมฎอนเพิ่มสูงขึ้น

    ล่าสุดมีรายงานว่าชีคห์ อับดิอาซิส อาบู มูซาบ โฆษกฝ่ายปฏิบัติการทางทหารของกลุ่มอัล ชาบาบ ออกมาเปิดเผยผ่านสำนักข่าวรอยเตอร์ โดยอ้างความรับผิดชอบต่อเหตุโจมตีสถานีตำรวจที่เมืองอัฟกอยในครั้งนี้ และว่าสมาชิกกลุ่มของตนสามารสังหารตำรวจได้ถึง 12 นาย แต่ต้องสูญเสียนักรบของตนไป 1 คนเช่นกันระหว่างการยิงปะทะกับเจ้าหน้าที่

     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ญี่ปุ่นไม่สนถูกประชาคมโลกรุมประณาม ยันจะเดินหน้า “ล่าวาฬ” ต่อ อ้างเหตุผลเพื่อการวิจัย โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 21 มิถุนายน 2558 04:12 น. (แก้ไขล่าสุด 21 มิถุนายน 2558 04:17 น.)

    [​IMG]
    @โจจิ โมริชิตะ หัวหน้าคณะผู้ประสานงานของรัฐบาลญี่ปุ่นประจำคณะกรรมาธิการล่าวาฬระหว่างประเทศ

    เอเจนซีส์/ ASTV ผู้จัดการออนไลน์ – ญี่ปุ่นยืนกรานจะยังคงเดินหน้าโครงการล่าวาฬของตนต่อไป แม้จะต้องเผชิญเสียงเรียกร้องและแรงกดดัน จากคณะกรรมาธิการล่าวาฬระหว่างประเทศ (International Whaling Commission : IWC) ที่ระบุให้ญี่ปุ่นต้องยื่นหลักฐานเพื่อพิสูจน์ว่า การล่าวาฬของญี่ปุ่นมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่อ้างว่า ทำเพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์

    [​IMG]

    รายงานข่าวที่ถูกเผยแพร่ในวันเสาร์ ( 20 มิ.ย.) ซึ่งอ้างถ้อยแถลงของโจจิ โมริชิตะ หัวหน้าคณะผู้ประสานงานของรัฐบาลแดนปลาดิบประจำคณะกรรมาธิการล่าวาฬระหว่างประเทศ ระบุว่า ญี่ปุ่นพร้อมเดินหน้าชี้แจงและตอบทุกข้อสงสัยของประชาคมโลกเกี่ยวกับโครงการล่าวาฬของตน

    [​IMG]

    อย่างไรก็ตาม หัวหน้าคณะผู้ประสานงานของรัฐบาลแดนปลาดิบประจำคณะกรรมาธิการล่าวาฬระหว่างประเทศ ยืนยันว่า แผนการเดินหน้าล่าวาฬของตนในปีนี้ จะยังคงดำเนินต่อไปตามปกติ โดยจะไม่มีการลดจำนวนวาฬเป้าหมายลงแต่อย่างใด

    ท่าทีล่าสุดของหัวหน้าคณะผู้ประสานงานของญี่ปุ่นประจำคณะกรรมาธิการ IWC มีขึ้นไม่ถึง 24 ชั่วโมง หลังจากที่ทางคณะกรรมาธิการชุดดังกล่าว ออกคำแถลงกล่าวหาว่า ทางการญี่ปุ่นประสบ “ความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง” ในการชี้แจงหลักฐานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า การล่าวาฬของประเทศตนเองนั้น เป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ด้านวิทยาศาสตร์จริง

    ทั้งนี้ โครงการล่าวาฬเพื่อวัตถุประสงค์ด้านวิทยาศาสตร์ของญี่ปุ่น ตามที่มีการยื่นข้อมูลไว้กับคณะกรรมาธิการ IWC นั้น ระบุว่า ญี่ปุ่นตั้งเป้าล่าวาฬมิงก์ไว้สูงถึง 3,996 ตัวในน่านน้ำของทวีปแอนตาร์กติกา ตลอดระยะเวลา 12 ปีข้างหน้า

    ก่อนหน้านี้ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ( International Court of Justice : ICJ) เคยมีคำตัดสินเมื่อปี 2014 ที่ผ่านมาซึ่งระบุให้ญี่ปุ่นต้องงดเว้นจากการออกใบอนุญาตล่าวาฬเพิ่มเติม และต้องเพิกถอนใบอนุญาตของเดิมที่ออกไปแล้วทั้งหมด แต่แน่นอนว่า ญี่ปุ่นปฎิเสธที่จะปฏิบัติตามคำตัดสินของศาล

    ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นถูกกล่าวหาและรุมประณามจากประชาคมโลกมาโดยตลอดเกี่ยวกับโครงการล่าวาฬเพื่อวัตถุประสงค์ด้านวิทยาศาสตร์ของญี่ปุ่น โดยเฉพาะข้อกล่าวหาที่ว่า ในความเป็นจริงแล้ว โครงการล่าวาฬดังกล่าวมีขึ้นเพื่อการพาณิชย์ (commercial whaling) อย่างชัดเจนโจ่งแจ้ง

     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ‘สมุดปกขาว’ว่าด้วย ‘ยุทธศาสตร์การทหารของจีน’มุ่งเน้นเรื่องอะไรกันแน่?
    โดย ซัลมัน ราฟี ไชค์ 20 มิถุนายน 2558 23:24 น. (แก้ไขล่าสุด 21 มิถุนายน 2558 01:06 น.)

    (เก็บความจากเอเชียไทมส์ Asia Times)

    The missed nuances of China s military ‘White Paper’
    By Salman Rafi Sheikh
    09/06/2015

    ประเทศจีนได้เผยแพร่เอกสาร “สมุดปกขาว” ว่าด้วยยุทธศาสตร์ทางการทหารของตนฉบับแรกเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เป็นผลงานสะท้อนให้เห็นถึงการประเมินของฝ่ายจีน ต่อสถานการณ์ทางการทหารซึ่งกำลังมีการเปลี่ยนแปลงและกำลังเลวร้ายลงไปอย่างรวดเร็วในตลอดทั่วทั้งโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคตะวันออกกลาง และภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ตลอดจนข้อเสนอเรื่องวิธีการที่จีนสามารถกระทำได้เพื่อพิทักษ์ปกป้องผลประโยชน์อันสำคัญยิ่งยวดของตน

    เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคมที่ผ่านมา จีนได้เผยแพร่เอกสาร “สมุดปกขาว” (White Paper) ที่ให้ภาพสรุปเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ทางการทหารของสาธารณรัฐประชาชน นับเป็นสมุดปกขาวพูดถึงเรื่องสำคัญนี้ซึ่งทางการจีนจัดทำนำออกมาสู่สายตาสาธารณชนเป็นฉบับแรก

    ขณะที่เอกสารชิ้นนี้สร้างความแตกตื่นหวั่นไหวขึ้นมาในอินเดีย แต่เมื่ออ่านด้วยความพินิจพิเคราะห์แล้วก็กลับปรากฏว่ามันไม่ได้มุ่งเน้นหนักถือเอาอินเดียเป็นศูนย์กลางอย่างที่วิตกกัน ตรงกันข้าม สมุดปกขาวฉบับนี้กลับเป็นผลงานสะท้อนให้เห็นถึงสิ่งที่อาจเรียกขานว่าเป็น “การประเมินของฝ่ายจีน” ต่อสถานการณ์ทางการทหารซึ่งกำลังมีการเปลี่ยนแปลงและกำลังเลวร้ายลงไปอย่างรวดเร็วในตลอดทั่วทั้งโลก –โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคตะวันออกกลาง และภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก-- ตลอดจนข้อเสนอเรื่องวิธีการที่จีนสามารถกระทำได้เพื่อพิทักษ์ปกป้องผลประโยชน์อันสำคัญยิ่งยวดของตน เอกสารฉบับนี้ระบุอย่างชัดเจนถึง “แผนการใหญ่ด้านต่างๆ” ของสหรัฐฯมีต่อภูมิภาคเอเชีย และเน้นหนักอย่างแจ่มแจ้งถึงความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการปฏิรูปการทหารของจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านกองทัพเรือ

    ด้วยเหตุนี้ เราจึงสามารถกล่าวได้ว่านโยบายที่สรุปเอาไว้ในสมุดปกขาวฉบับนี้ ก็คือการตอบโต้ของจีนต่อ “การปักหมุดในเอเชีย” ของสหรัฐฯ เอกสารชิ้นนี้กล่าวอ้างอิงอย่างเปิดเผยถึงยุทธศาสตร์นี้ซึ่งมีชื่อเรียกขานอีกชื่อหนึ่งว่า ยุทธศาสตร์ “การปรับสมดุลใหม่” (rebalancing) ตลอดจนความพยายามของวอชิงตันที่จะเพิ่มพูนส่งเสริมการปรากฏตัวทางการทหารในภูมิภาคนี้ อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯไม่ได้เป็นเพียงชาติเดียวที่ถูกบรรยายว่าเป็นประเทศหลักซึ่ง “กำลังคุกคาม” ผลประโยชน์ต่างๆ ของฝ่ายจีน ยังมีญี่ปุ่น, ไต้หวัน, “พวกเพื่อนบ้านนอกชายฝั่ง”, “พวกประเทศภายนอก”, “ขบวนการแบ่งแยกดินแดน” ในหลายหลากภูมิภาค ก็ถูกพรรณนาว่าเป็นความท้าทายหลักๆ ที่จีนกำลังเผชิญอยู่ และเป็นความท้าทายสำคัญๆ ซึ่งแดนมังกรจะต้องเอาชนะให้ได้ เพื่อบรรลุสิ่งที่บทวิเคราะห์ชิ้นนี้เรียกว่า “ความฝันของชาวจีนในเการพลิกฟื้นชุบชีวิตประเทศชาติที่ยิ่งใหญ่ขึ้นมาใหม่” (the Chinese Dream of great national rejuvenation)

    เมื่อพิจารณาจากจุดยืนหลักการทางด้านภูมิรัฐศาสตร์แล้ว ดูจะไม่ใช่เป็นเรื่องบังเอิญเลยที่มีการนำเอาสมุดปกขาวฉบับนี้ออกมาเผยแพร่ ในช่วงเวลาเดียวกับที่ประเทศจีนกำลังเริ่มให้ความสนใจอย่างจริงจังในเรื่องอย่างเช่น การเมืองภายในของประเทศอื่นๆ ถึงแม้ยังเป็นการให้ความสนใจอย่างจำกัดและมีความระมัดระวังตัวอยู่มาก ตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนในเรื่องนี้ ได้แก่ อัฟกานิสถาน ซึ่งจีนแสดงให้เห็นว่ามีความกระตือรือร้นทางการเมืองที่จะหาทางแก้ไขคลี่คลายการขัดแย้งสู้รบกันซึ่งยังคงดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่องในประเทศนั้น ไม่เพียงเท่านั้น แดนมังกรยังแสดงการยอมรับพันธะผูกพันโดยการจัดส่งกองทหารของตนเข้าไปในทวีปแอฟริกา ด้วยวัตถุประสงค์เจาะจงที่จะแก้ไขคลี่คลายการสู้รบขัดแย้งกันในซูดาน ขณะที่จีนเคยส่งทหารไปเข้าร่วมภารกิจรักษาสันติภาพโดยอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของสหประชาชาติ แต่การตัดสินใจส่งทหารเข้าไปที่ซูดานคราวนี้ คือหลักหมายแสดงถึงการที่จีนได้ยกระดับเพิ่มความพยายามของตนขึ้นไปอย่างมากมาย เพื่อรับประกันความปลอดภัยของคนงานและทรัพย์สินต่างๆ ของตนในแอฟริกา พร้อมๆ กับที่รับประกันการที่พลังงานสำหรับการบริโภคภายในประเทศจีน จะยังคงมีหลั่งไหลเข้ามาอย่างสม่ำเสมอ

    กล่าวโดยสรุป ยุทธศาสตร์การทหารของจีนนั้นไม่ควรที่จะนำมาวิเคราะห์พิจารณาแบบแยกส่วนโดดเดี่ยว หากแต่เราจะเข้าใจยุทธศาสตร์การทหารของแดนมังกรได้ ก็จะต้องทำการพิจารณาอย่างเต็มที่ภายในบริบทของนโยบายการต่างประเทศของจีน โดยมองให้เห็นว่ามันกำลังมีการวิวัฒนาการภายใต้แรงกดดันด้านภูมิรัฐศาสตร์จากนโยบายปักหมุดในเอเชียของสหรัฐฯ ตลอดจนมันกำลังมีการเปลี่ยนแปลงภายใต้ความจำกัดของจีนในเรื่องแหล่งที่มาของทรัพยากรอย่างไรบ้าง ทั้งนี้ในเรื่องหลังต้องโฟกัสเน้นหนักไปที่สภาวการณ์ซึ่งจีนต้องพึ่งพาอาศัยทรัพยากรนำเข้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำมัน เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยที่เป็นการนำเข้าจากภูมิภาคซึ่งวุ่นวายไร้ความสงบอย่างที่สุด อันได้แก่ แอฟริกา และตะวันออกกลาง

    เอกสารสมุดปกขาวฉบับนี้กล่าวอธิบายแจกแจงอย่างชัดเจน ถึงการที่จีนมีอิทธิพลเพิ่มสูงขึ้นในเวทีโลก และผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ก็ขยายตัวออกไปอย่างรวดเร็ว การที่ประเทศจีนจำเป็นต้องให้ความสำคัญลำดับแรกแก่แสนยานุภาพทางนาวี อย่างที่เอกสารชิ้นนี้ระบุเอาไว้อย่างแจ่มแจ้งนั้น เป็นสิ่งที่สามารถทำความเข้าใจได้ง่าย เมื่อเรานำมาพิจารณาภายในบริบทแห่งข้อเท็จจริงที่ว่า กว่า 80% ของน้ำมันนำเข้าของปักกิ่งนั้นต้องลำเลียงขนส่งผ่านจุดที่มีความแออัดคับคั่งที่สุดจุดหนึ่งของโลก ซึ่งก็คือ ช่องแคบมะละกา

    นอกจากนั้น จีนยังกำลังเตรียมการเพื่อเพิ่มที่ยืนทางการเมือง-การทหารของตนทั้งในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกและในทั่วโลก เวลานี้โลกตระหนักรับรู้ถึงแสนยานุภาพทางเศรษฐกิจของจีนกันไปเรียบร้อยแล้ว ในทัศนะของฝ่ายจีนนั้น ขณะนี้ถึงเวลาแล้วที่โลกควรจะชื่นชมยอมรับแสนยานุภาพทางทหารของตนด้วยเช่นกัน สิ่งที่จีนกำลังกระทำอยู่ภายใต้สภาวการณ์ปัจจุบัน ก็คือการตอบสนองอย่างสมเหตุสมผลต่อความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ซึ่งกำลังเกิดขึ้นในโลกนั่นเอง กล่าวตามความเป็นจริงแล้ว จีนจะอยู่ในภาวะทำลายตัวเองด้วยซ้ำหากยังพยายามที่จะทำตัวเหินห่างจากการเมืองระหว่างประเทศต่อไป หรือวางตัวแยกขาดอย่างถาวรจากการเมืองระหว่างประเทศเหมือนอย่างที่เคยกระทำเรื่อยมาจวบจนกระทั่งถึงเวลานี้ ทั้งนี้จนถึงระยะหลังๆ มานี้แหละ นโยบายการต่างประเทศของจีนมีแต่โฟกัสไปที่ดุลยภาพง่ายๆ ประการหนึ่งเท่านั้นเอง ดุลยภาพดังกล่าวนี้ก็คือ การที่แดนมังกรจะต้องสามารถเข้าถึงตลาดโลก (ทั้งตลาดการเงินและตลาดผู้บริโภค) ขณะเดียวกันก็จะต้องรับประกันให้นำมันและก๊าซสามารถไหลลื่นเข้ามาป้อนอุตสาหกรรมต่างๆ ของแดนมังกรได้อย่างไม่สะดุดติดขัด

    ถึงแม้ตลาดผู้บริโภคทั้งหลายทั่วโลกต่างเปิดกว้างอ้าซ่ายินดีต้อนรับจีน ทว่าซัปพลายทรัพยากรต่างๆ ที่มาป้อนอุตสาหกรรมจีนภายในประเทศนี่แหละกำลังกลายเป็นปัญหาที่ต้องห่วงใยกันอย่างจริงจังของปักกิ่ง ระยะไม่กี่ปีหลังๆ มานี้ ความกังวลห่วงใยเกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งเป็นที่รู้จักเรียกขานกันในชื่อ “ภาวะกลืนไม่เข้าคลายไม่ออกเกี่ยวกับช่องแคบมะละกา” (Malacca Dilemma) [1] ของแดนมังกร ได้นำเอาความเปลี่ยนแปลง “ชนิดปฏิวัติ” มาสู่ทิศทางด้านนโยบายการต่างประเทศของจีน และมาสู่หลักการ “ไม่แทรกแซง” กิจการภายในของรัฐอื่น ที่จีนเคยยึดถืออย่างเหนียวแน่นมั่นคงมาในอดีต หลักการ “ไม่แทรกแซง” ที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานนี้ ได้ประสบกับ “การถูกละเมิด” เป็นครั้งแรกในปี 2013 เมื่อปักกิ่งส่งทหารจำนวน 170 คนไปยังมาลี เพื่อช่วยเหลือป้องกันไม่ให้ความวุ่นวายในประเทศนั้นแผ่ลามเข้าไปสู่พวกชาติเพื่อนบ้านที่อุดมสมบูรณ์ด้วยน้ำมันอย่าง แอลจีเรีย และ ลิเบีย --โดยที่ชาติเหล่านี้เป็นผู้ที่ซัปพลายทรัพยากรจำนวนมากมายให้แก่บริษัทของจีน อีก 1 ปีถัดมา ใน “การดำเนินการทางการทูตเชิงรุก” อีกคราวหนึ่ง จีนได้กระโจนเข้าไปในกระบวนการเจรจาสันติภาพของกลุ่มต่างๆ ซึ่งกำลังทำสงครามกันอยู่ในซูดานใต้ ไม่เพียงเท่านั้น ในเดือนธันวาคม 2014 จีนเสนอให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่อิรักในรูปของการโจมตีทางอากาศเพื่อสู้รบกับกลุ่ม “รัฐอิสลาม” (Islamic State หรือ IS) เพียงแต่ว่าฝ่ายอิรักไม่รับข้อเสนอนี้ ในทำนองเดียวกันเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2014 จีนเสนอให้เงินแก่วอชิงตันเป็นจำนวนในเรือน 10 ล้านดอลลาร์ เพื่อใช้ช่วยเหลือผู้คนที่ต้องพลัดที่นาคาที่อยู่ มาถึงเวลานี้มันกลายเป็นความลับที่ทราบกันอย่างกว้างขวางไปเสียแล้วว่า จีนกำลังเข้าไปเกี่ยวข้อง “อย่างลึกซึ้ง” ในการคลี่คลายแก้ไขการขัดแย้งสู้รบกันในอัฟกานิสถาน ตามความเป็นจริง พวกผู้แทนของกลุ่มตอลิบานได้พบปะหารือกับพวกเจ้าหน้าที่จีนเมื่อเร็วๆ นี้ และแสดง “ความปรารถนา” ของพวกเขาที่จะให้จีนแสดงบทบาทสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้นในการหาทางใช้วิธีการทางการเมืองเพื่อแก้ไขคลี่คลายสงครามในอัฟกานิสถาน ซึ่งกลายเป็นสงครามที่อเมริกาเกี่ยวข้องด้วยครั้งที่ยืดเยื้อยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯไปแล้ว ไม่เป็นที่น่าประหลาดใจอะไรเลย ในเมื่อได้มีการละเมิดหลักการ “ไม่แทรกแซง” หลายต่อหลายครั้งอย่างที่กล่าวมานี้ เอกสารสมุดปกขาวฉบับนี้จึงไม่ได้มีการอ้างอิงใดๆ เกี่ยวกับหลักการนี้ และกระทั่งไม่พาดพิงถึงหลักการที่มีชื่อเสียงมากของจีนที่มีชื่อว่า “หลัก 5 ประการแห่งการอยู่ร่วมกันโดยสันติ” (five principles of peaceful co-existence) [2] โดยที่เรื่องการไม่แทรกแซงกิจการภายในของรัฐอื่น คือ 1 ใน 5 หลักการดังกล่าว

    จีนเป็นประเทศที่แต่ไหนแต่ไรมาก็ยึดมั่นอยู่กับทัศนะที่ว่า การแทรกแซงทางทหารที่นำโดยสหรัฐฯ ล้วนแต่เป็นแผนการเลวร้ายของฝ่ายตะวันตก เมื่อบังเกิดความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ขึ้นมา จึงสร้างความตื่นตะลึงอย่างสุดๆ ให้แก่ผู้คนจำนวนมากซึ่งเคยมองจีนมาอย่างยาวนานว่าเป็นรัฐ “ที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับใคร” ในทางการเมือง อย่างไรก็ตาม ในเมื่อจีนมีดีมานด์ความต้องการน้ำมันและทรัพยากรอื่นๆ เพิ่มขึ้นอย่างพุ่งพรวดในรอบระยะไม่กี่ปีหลังๆ มานี้ ขณะที่ภูมิภาคซึ่งกำลังเป็นผู้ซัปพลายทรัพยากรต่างๆ เหล่านี้อย่างเป็นกอบเป็นกำ ก็ตกอยู่ในสภาพปั่นป่วนวุ่นวาย ด้วยเหตุฉะนี้ กระทั่งจีนเองก็ถูกบังคับให้ต้องดำเนินการปรับเปลี่ยนนโยบายไปด้วยตามความจำเป็น เพื่อให้มีหลักประกันว่าจะมีซัปพลายทรัพยากรต่างๆ หลั่งไหลเข้าสู่แดนมังกรอย่างไม่ขาดตอน

    ดังนั้น เหตุผลของการที่ต้องมีทหารจีนเข้าไปอยู่ในทวีปแอฟริกา จึงได้ถูกระบุบ่งบอกเอาไว้อย่างชัดเจนในบริบทของสมุดปกขาววันที่ 26 พฤษภาคมฉบับนี้ เอกสารชิ้นนี้กล่าวย้ำอย่างแจ่มกระจ่างว่า นี่เป็นส่วนซึ่งทรงความสำคัญทางยุทธศาสตร์ส่วนหนึ่ง ในความพยายาม “เพื่อการพิทักษ์ป้องกันความมั่นคงแห่งผลประโยชน์ในโพ้นทะเลของประเทศจีน” เราอาจจะคาดหมายต่อไปได้ว่า ผลต่อเนื่องตามมาของเรื่องนี้ก็คือแนวความคิดในการใช้กำลังทหารจีนเพื่อ “ปกป้องรักษาสันติภาพของภูมิภาคและสันติภาพของโลก”

    ถึงแม้เอกสารสมุดปกขาวฉบับนี้ถูกนำออกเผยแพร่อย่างเป็นทางการในปี 2015 ทว่าหลักการสำคัญๆ ของมันได้ถูกนำมาใช้ในทางปฏิบัติอย่างเต็มที่อยู่แล้วอย่างน้อยที่สุดก็ตั้งแต่ปี 2013 เป็นต้นมา ดังจะเห็นได้จากข้อเท็จจริงที่ว่า เหตุผลเฉพาะหน้าของการแสดงบทบาททางการเมืองเชิงรุกและการส่งทหารเข้าไปประจำในซูดาน ก็คือเรื่องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจนั่นเอง ทั้งนี้ขอให้เราลองพิจารณาข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้ : บรรษัทน้ำมันปิโตรเลียมแห่งชาติของจีน (National Petroleum Corp.) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของแดนมังกร เป็นผู้ถือหุ้นจำนวน 40% ในกิจการร่วมทุนที่เป็นผู้ดำเนินการแหล่งน้ำมันอันใหญ่โตกว้างขวางหลายๆ แห่งในซูดานใต้ กิจการร่วมทุนแห่งนี้ยังมีสายท่อส่งน้ำมันเพื่อการส่งออกความยาว 1,000 ไมล์ (1,600 กิโลเมตร) ซึ่งลำเลียงเอาน้ำมันดิบผ่านซูดานที่เป็นประเทศเพื่อนบ้าน ไปจนถึงเมืองท่า พอร์ตซูดาน ที่ตั้งอยู่ริมทะเลแดง ก่อนที่การสู้รบระลอกล่าสุดในซูดานใต้จะปะทุขึ้นมา ประเทศนี้เป็นเจ้าของน้ำมันดิบ 5% ที่จีนนำเข้าไปใช้ภายในประเทศ ทั้งนี้ตามตัวเลขข้อมูลของสำนักงานบริหารสารสนเทศพลังงานของสหรัฐฯ (U.S. Energy Information Administration) ปรากฏว่าตัวเลขนี้ได้ลดต่ำลงมาอย่างฮวบฮาบถึงราวหนึ่งในสาม –จนอยู่ในระดับ 160,000 บาร์เรลต่อวัน— ภายหลังการสู้รบระเบิดขึ้นเมื่อปลายปีที่แล้ว --ดังนั้น จีนจึงมีความเห็นว่าเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องเร่งหาทางแก้ไขคลี่คลายการสู้รบขัดแย้งกันนี้ในทันที แต่ถึงแม้ไม่สามารถคลี่คลายการขัดแย้งสู้รบนี้ให้ตกไปได้ จีนก็ยังคงสามารถที่จะสร้างหลักประกันว่าซัปพลายน้ำมันที่ขนส่งมาให้แดนมังกรนั้นจะสามารถผ่านออกมาได้ด้วยความปลอดภัย ทั้งนี้เมื่อมาถึงปี 2015 นี้ มีรายงานด้วยว่าจีนอาจจะส่งทหารเพิ่มเติมอีก 700 คนไปยังซูดาน “เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมอันสันติ” สำหรับการพัฒนา

    ด้วยเหตุนี้ เอกสารสมุดปกขาวของจีน จึงไม่ได้เพียงแค่เน้นหนักถือเอา “ยุทธศาสตร์ทางการทหาร” เป็นศูนย์กลางเท่านั้น ถึงแม้ชื่อเรื่องของเอกสารชิ้นนี้อาจจะชวนให้คิดไปเช่นนั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วมันยังมีการตอกย้ำถึงบรรดาปัจจัยสนับสนุนทางการเมืองเบื้องลึก ทั้งนี้ สมุดปกขาวฉบับนี้เป็นการยืนกรานให้เห็นถึงบทบาทใหม่ในทางการเมืองที่จีนจะต้องแสดงบนเวทีโลก บทบาทดังกล่าวก็คือการพิทักษ์ปกป้อง, การส่งเสริมสนับสนุน, และการทำให้กลายเป็นความจริง ซึ่งบรรดาผลประโยชน์ด้านการเมือง-เศรษฐกิจและผลประโยชน์ด้านความมั่นคงของประเทศจีน “ในขอบเขตทั่วโลก” จากเหตุผลข้อนี้เองที่ทำให้มีการตอกย้ำเน้นหนักเป็นพิเศษเกี่ยวกับคำถามในเรื่องการเข้าถึงแหล่งที่มีพลังงานสั่งสมอยู่ในต่างแดน, ผู้คนและโครงสร้างพื้นฐานที่จะใช้สนับสนุนการเข้าถึงนี้, และเส้นทางทะเลที่จะใช้เพื่อการคมนาคมและลำเลียงขนส่งทรัพยากรเหล่านี้ให้ข้ามพ้นอุปสรรคต่างๆ มาจนถึงประเทศจีน เหล่านี้ล้วนแต่เป็นกิจกรรมที่จีนได้ดำเนินการอย่างกว้างขวางอยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้ สมุดปกขาวฉบับนี้จึงเป็นเพียงการย้ำยืนยันสิ่งซึ่งก่อนหน้าวันที่ 26 พฤษภาคม ยังต้องถือว่าเป็นเพียงการคาดเดา

    เอกสารฉบับนี้ตลอดจนยุทธศาสตร์ที่เอกสารนี้สรุปออกมา ไม่ได้อยู่ในลักษณะที่ถือเอาประเทศเป็นศูนย์กลาง หากอยู่ในสภาพของการรวบรวมตรวจสอบสภาพความเป็นจริงที่กำลังเป็นอุปสรรคขัดขวางจีนอยู่ สภาพความเป็นจริงดังกล่าวก็มองเห็นได้อย่างง่ายดายและตรงไปตรงมา กล่าวคือ การที่จีนเข้าร่วมมีส่วนอยู่ในเศรษฐกิจทั่วโลก ตลอดจนในกิจการด้านความมั่นคงที่ติดตามมา เวลานี้ได้มาจนถึงจุดที่จีนไม่สามารถทำตัวอยู่เหินห่าง และยังคงรักษาจุดยืนเก่าที่เรียกกันว่า “การไม่แทรกแซง” ได้อีกต่อไปแล้ว สิ่งซึ่งเริ่มต้นขึ้นในปี 2013 ได้เปลี่ยนแปลงกลายเป็นนโยบายที่เบ่งบานเต็มที่ และเมื่อพิจารณาจากความวิตกกังวลทางด้านความมั่นคงระดับโลกซึ่งปรากฏให้เห็นอยู่ในเวลานี้ แนวโน้มเช่นนี้มีโอกาสมากที่สุดที่จะทวีความเข้มข้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นี่คือพัฒนาการความเป็นไปอันสมเหตุสมผลสำหรับประเทศซึ่งต้องนำเข้าน้ำมันที่ตนต้องการใช้สอยถึงร่วมๆ 60% เป็นระดับดีมานด์ซึ่งสูงขึ้นมาราวเท่าตัวนับตั้งแต่ปี 2000 และยังน่าที่จะเพิ่มสูงขึ้นต่อไปในอีกหลายๆ ปีถัดจากนี้ ดังนั้น จีนจึงตัดสินใจที่จะแก้ไขคลี่คลายโดยหันมายึดมั่นใน “ทัศนะซึ่งมองเรื่องความมั่นคงแห่งชาติแบบองค์รวม” และข้อสรุปของเรื่องนี้ก็คือทิศทางมุมมองโลกที่เป็นแบบใหม่เอี่ยมอย่างสิ้นเชิง

    ซัลมัน ราฟี ไชค์ เป็นนักหนังสือพิมพ์อิสระ และนักวิเคราะห์วิจัยทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและกิจการของปากีสถาน ทั้งนี้เขามีความสนใจในเรื่องการเมืองเอเชียใต้และเอเชียตะวันตก, นโยบายการต่างประเทศของมหาอำนาจรายใหญ่ๆ, ตลอดจนการเมืองของปากีสถาน

    หมายเหตุผู้แปล

    [1] “ภาวะกลืนไม่เข้าคลายไม่ออกเกี่ยวกับช่องแคบมะละกา” (Malacca Dilemma) ของจีน หมายถึงสภาพที่การเติบโตอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจจีนเท่าที่ผ่านมา ได้อาศัยการค้าต่างประเทศเป็นตัวผลักดันที่สำคัญยิ่งตัวหนึ่ง ทว่าการค้าส่วนใหญ่ซึ่งแดนมังกรทำกับยุโรป, แอฟริกา, และตะวันออกกลางนั้น ต้องลำเลียงขนส่งผ่านทางช่องแคบมะละกา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดีมานด์ความต้องการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล (น้ำมัน, ก๊าซธรรมชาติ, ถ่านหิน) ของจีนกำลังพุ่งพรวดขึ้นอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งยิ่งต้องพึ่งพาอาศัยการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ โดยที่ประมาณ 80% ของน้ำมันที่จีนนำเข้าทีเดียว ต้องผ่านช่องแคบมะละกา ด้วยเหตุนี้เอง ช่องแคบที่อยู่ระหว่างมาเลเซีย-สิงคโปร์-อินโดนีเซียแห่งนี้ จึงได้รับการพิจารณาว่าเป็นเส้นชีวิตของพญามังกรที่กำลังผงาดขึ้นมา อย่างไรก็ตาม เนื่องจากจีนยังขาดแคลนสมรรถนะในด้านแสนยานุภาพทางทะเล ดังนั้นการพึ่งพาช่องแคบมะละกามากขึ้นเรื่อยๆ จึงกำลังกลายเป็นจุดอ่อนเปราะทางยุทธศาสตร์ของจีนไปด้วย สิ่งซึ่งปักกิ่งรู้สึกหวั่นเกรงก็คือ ในระหว่างที่เกิดวิกฤตความมั่นคงระดับชาติขึ้นมา บรรดาเรือที่กำลังลำเลียงทรัพยากรด้านพลังงานมายังแดนมังกร อาจจะถูกสกัดกั้นห้ามผ่านจากกองกำลังทางนาวีที่เป็นฝ่ายศัตรู ซึ่งนั่นจะส่งผลเสียหายต่อเศรษฐกิจของจีนเป็นอย่างยิ่ง
    (ข้อมูลจาก Chen Shaofeng, China’s Self-Extrication from the
    “Malacca Dilemma” and Implications, in International Journal of China Studies,
    Vol. 1, No. 1, January 2010. และ Ian Storey, “China’s Malacca Dilemma”, in China Brief, Jamestown Foundation, Vol. 6, Issue, 8, December 2009.)

    [2] “หลัก 5 ประการแห่งการอยู่ร่วมกันโดยสันติ” (Five Principles of Peaceful Co-existence) ประกอบด้วย 1.เคารพในอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของกันและกัน 2.ไม่รุกรานซึ่งกันและกัน 3.ไม่แทรกแซงกิจการภายในของกันและกัน 4.เสมอภาคและร่วมมือกันเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน 5.อยู่ร่วมกันอย่างสันติ
    (ข้อมูลจาก Wikipedia)


     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ปีหน้ารัสเซียส่ง MC-21 “ซูเปอร์เครื่องบิน” ชนโบอิ้ง-แอร์บัส ล้ำยุคทันสมัยยิ่งกว่า จุผู้โดยสารได้มากกว่า โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 20 มิถุนายน 2558 16:54 น. (แก้ไขล่าสุด 21 มิถุนายน 2558 10:50 น.)

    [​IMG]
    @บริษัทผู้ผลิตนำโมเดล MC-21-400 ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นใหญ่ที่สุด บรรจุโดยสารกว่า 230 ที่นั่ง ออกตั้งแสดงในงานแอร์โชว์กรุงมอสโกเมื่อปี 2556 รัสเซียซุ่มผลิตมาเงียบๆ ก่อนจะประกาศเข็นรุ่นเบสิก MC-21-200 ขนาด 157 ที่นั่ง ออกมาเป็นลำแรกปีหน้านี้ รัสเซียกล่าวว่านี่คือเครื่องบินโดยสารดีที่สุดในโลก ต้นทุนต่ำที่สุด ปลอดภัยได้มาตรฐานสากล และ อำนวยความสะดวกสบายให้ผู้โดยสารได้มากที่สุด ผลิตออกมาเพื่อชนโบอิ้ง 737 MAX และ Airbus Neo แบบตัวต่อตัว และรุ่นต่อรุ่น.

    [​IMG]
    @โมเดลของ MC-21-200 ไอพ่น 2 เครื่องยนต์ เป็นรุ่น "เบสิก" ขนาด 157 ที่นั่ง ซึ่งจะได้เห็นลำแรกในปีหน้า.

    [​IMG]
    @ห้องนักบินของ MC-21 ซึ่งอีร์คุตกล่าวว่ากว้างกว่าของโบอิ้งและแอร์บัสทุกรุ่นในระนาบเดียวกัน ส่วนบนจะติดตั้งระบบเฮดอัพดิสเพลย์รอบข้าง ทันสมัยและล้ำยุค สมเป็น "เครื่องบินแห่งศตวรรษที่ 21".

    [​IMG]
    @คอนฟิกกูเรชั่นพื้นฐานภายใน MC-21 ที่มีลำตัวกว้างกว่าของแอร์บัสและโบอิ้ง มีช่องว่างระหว่างแถวที่นั่งให้มากกว่า ผู้โดยสารไม่ต้องเดินชนกันอีก ในยามลุกไปห้องน้ำห้องท่า และ เดินเข้าออก.


    ASTVผู้จัดการออนไลน์ - กลุ่มอีร์คุตซ์ (Irkut Corporation) ซึ่งเป็นผู้ผลิตอากาศยานชั้นนำของรัสเซีย ประกาศในสัปดาห์นี้พร้อมจะเข็นเครื่องบินโดยสารขนาดเล็ก-กลางรุ่นใหม่ ลำแรกออกมาในปี 2559 เพื่อใช้แทนตูโปเลฟ (Tupolev) ที่ใช้งานมานาน และยังผลิตป้อนอุตสาหกรรมการบินพลเรือนของทั่วโลกอีกด้วย

    โดยชูคุณสมบัติ 3 ประการที่บริษัทนี้กล่าวว่า “อีร์คุต MC-21” เหนือกว่าเครื่องบินโดยสารในระดับเดียวกันทั้งหมด ทั้งโบอิ้ง และแอร์บัสรุ่นใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างสูงในตลาดขณะนี้ ซเวซดาทีวี (Zvezda TV) รายงานในวันศุกร์ 19 มิ.ย. ว่า นักบินพร้อมแล้วที่จะนำ “อีร์คุต เอ็มซี-21” (Irkut MC-21) หรือ “เครื่องบินแห่งศตวรรษที่ 21” ขึ้นบินในปีหน้า

    “ซูเปอร์เครื่องบิน” (Super Airliner) MC-21 เป็นผลงานการออกแบบ และผลิตร่วมกันระหว่างอีร์คุต กับกลุ่มบริษัทยาคอฟเลฟ (Yakovlev) ออกแบบอากาศยาน กำลังจะทำออกมา 3 รุ่นด้วยกัน บรรจุผู้โดยสารได้ตั้งแต่ 150 จนถึง 230 คน มีรัศมีบินทำการ 5,000 กิโลเมตร และจะเป็นเครื่องบินโดยสารดีที่สุดในโลก อีกไม่กี่ปีข้างหน้าสายการบินต่างๆ ของรัสเซียเองจะใช้ให้บริการ แทนตูโปเลฟ (Tupolev) ทั้ง Tu-154, Tu-134 รวมทั้ง Tu-204/214 ด้วย ซเวซดาทีวี กล่าว

    อีร์คุต คอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องบินรบ Su-27/30 ให้แก่บริษัทซูคอย (Sukhoi) กับเครื่องบินอีกหลายต่อหลายรุ่น ประกาศว่า MC-21 มีข้อได้เปรียบสำคัญเหนือคู่แข่งจากสหรัฐฯ และยุโรป อย่างน้อย 3 ประการ คือ บรรจุผู้โดยสารได้มากกว่า ในขณะที่ A320 ของแอร์บัสบรรจุได้เพียง 180 ที่นั่ง โบอิ้ง 738 MAX-8 บรรจุได้ 189 ที่นั่ง และบอมบาร์เดียร์ CS300 เพียง 135 ที่นั่ง

    ประการที่สอง MC-21 มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า ตกเครื่องละประมาณ 70 ล้านดอลลาร์ เทียบกับ 102.8 และ 93.3 ล้านดอลลาร์ ของ A320 และโบอิ้ง 737 MAX-8 ตามลำดับ และยังต่ำกว่าบอมบาเดียร์ CS300 ที่มีต้นทุนสูงถึง 80 ล้านดอลลาร์ต่อลำ

    ประการที่สาม เครื่องบินรัสเซียมีห้องนักบินกว้างขวางกว่า และลำตัวกว้างกว่า แอร์บัส A320 และโบอิ้ง 737 ทำให้ผู้โดยสารเดินไปมาตามทางเดินระหว่างแถวที่นั่งบนเครื่องได้สะดวกกว่า โดยไม่เบียดเสียด ไม่ชนกัน

    ถ้าหากจะนับเป็นความทันสมัย จุดเด่นสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ ห้องนักบินของ MC-21 ติดตั้งระบบจอแสดงผลแบบ “เฮด-อัป” (Head-up Display) มิใช่จอที่ติดตายบนแผงหน้าปัด หรือแผงแดชบอร์ดทั่วไป ช่วยให้นักบินทำงานสะดวกกว่า ทั้งในช่วงขึ้นบิน และลงจอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเครื่องบินบินเข้าสู่เขตมณฑลที่สภาพภูมิอากาศวิกฤต

    เครื่องบินรุ่นพื้นฐานลำตัวสั้นที่สุด คือ MC-21-200 จะบรรจุได้ 156 ที่นั่ง ตั้งเป้าแข่งขันตัวต่อตัว กับแอร์บัส A319neo, Boeing 737 MAX 7 กับ Bombardier CS300 ส่วนรุ่นมาตรฐานคือ MC-21-300 บรรจุผู้โดยสาร 211 ที่นั่ง เป็นคู่แข่งโดยตรงกับ Airbus A320neo, Boeing 737 MAX 8/MAX 200 กับ Comac C919 ผลิตในจีน

    ส่วนรุ่นสุดท้ายในโครงการ คือ MC-21-400 บรรจุผู้โดยสาร 230 ที่นั่ง จะลงแข่งในตลาดโลกกับ Airbus A321neo และ Boeing 737 MAX 9

    อีร์คุต MC-21-200 ลำแรกจะแล่นออกจากโรงงานประกอบปีหน้า และจะใช้เวลาทั้งปีในการทดสอบมาตรฐานต่างๆ เพื่อรับใบอนุญาตก่อนผลิตให้แก่ลูกค้า ซึ่งหนังสือพิมพ์อิซเวสเทีย (Izvestia) ของทางการรายงานเมื่อวันจันทร์ อ้างเจ้าหน้าที่บริษัทอิลยูชินไฟแนนซ์ (Ilyushin Finance Co) ซึ่งเป็นบริษัทเครื่องบินสำหรับเช่าในรัสเซีย ที่ระบุว่า สายการบินหลายแห่ง ตั้งแต่ยุโรป ไปจนถึงตะวันออกกลาง และในเอเชีย รวมทั้งลุฟต์ฮันซา (Lufthansa) ของเยอรมนี ได้ให้ความสนใจ MC-21 และรอคอยเครื่องบินลำแรกที่จะออกมา

    นายดมิตรี โรโกซิน (Dmitry Rogozin) รองนายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์ในเดือน ม.ค.ปีนี้ว่า จนถึงปัจจุบันยอดจอง MC-21 ที่ได้รับการยืนยันได้เพิ่มขึ้นเป็นกว่า 180 ลำ บริษัทผู้ผลิตตั้งเป้าจำหน่ายรุ่นต่างๆ ถึง 1,000 ลำ ในระยะ 20 ปีข้างหน้า

    รัฐมนตรีอุตสาหกรรมและการค้ารัสเซีย เดนิส แมนตูรอฟ (Denis Manturov) ให้สัมภาษณ์ปีที่แล้ว ระบุว่า ชิ้นส่วนต่างๆ ของ MC-21 ราว 50% ผลิตในรัสเซีย ที่เหลือจะเป็นชิ้นส่วนผลิตจากสวีเดน ฝรั่งเศส ไอร์แลนด์ กระทั่งจากสหรัฐฯ นับเป็นเครื่องบินโดยสารลำที่ 2 ที่รัสเซียตั้งใจผลิตออกสู่ตลาดโลก หลังจากกลุ่มซูคอย ร่วมกับหุ้นส่วนจากยุโรป ผลิตเครื่องบิน “ซูเปอร์เจ็ต-100” (Sukhoi Superjet-100) เครื่องบินโดยสารไอพ่นขนาด 90 ที่นั่งออกมา สำหรับตลาดการบินเชื่อมต่อระดับภูมิภาคทั่วโลก

    ปัจจุบัน มียอดสั่งซื้อ SSJ-100 มีกว่า 200 ลำ และซูคอยทยอยสงมอบให้แก่ลูกค้า รวมทั้งสายการบินเอกชนในลาว อินโดนีเซีย กับฟิลิปปินส์ด้วย และไม่เพียงแต่สายการบินพาณิชย์เท่านั้นที่เป็นลูกค้าเครื่องบินโดยสารของรัสเซีย กองทัพอากาศไทยเป็นอีกรายหนึ่ง โดยได้สั่งซื้อ SSJ-100 ไปจำนวน 3 ลำ ในช่วง 2-3 ปีมานี้ สองลำล่าสุดเซ็นสัญญาซื้อเมื่อปลายปีที่แล้ว

    ระหว่างนายดมิตรี เมดเวเดฟ นายกรัฐมนตรีรัสเซียไปเยือนเวียดนามอย่างเป็นทางการในสัปดาห์ต้นเดือน พ.ค. ฝ่ายรัสเซีย ได้เสนอขาย SSJ-100 ให้แก่สายการบินในเวียดนาม และเสนอจัดตั้งโรงซ่อมบำรุงขึ้นในประเทศนี้ด้วย.

     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    โจรสลัดจี้เรือบรรทุกน้ำมันมาเลย์ถูกจับตัวได้ในน่านน้ำเวียดนาม
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 19 มิถุนายน 2558 20:58 น. (แก้ไขล่าสุด 20 มิถุนายน 2558 10:22 น.)



    เรือ Orkim Harmony ที่ถูกโจรสลัดจี้จะเดินทางกลับไปยังท่าเรือกวนตัน หลังทางการมาเลเซียได้เข้าติดตามเรือจนโจรสลัดทิ้งเรือหลบหนีและถูกเจ้าหน้าที่เวียดนามจับกุมตัวได้.--Photo/Twitter/Abdul Aziz Jaafar.


    ซินหวา - โจรสลัดต้องสงสัย 8 คน ถูกจับกุมตัวในน่านน้ำเวียดนามขณะพยายามหลบหนี หลังจากที่มาเลเซียได้เข้ายึดเรือบรรทุกน้ำมันที่ถูกจี้ไปกลับคืนได้ ส่วนลูกเรือบนเรือทั้งหมดปลอดภัย เจ้าหน้าที่มาเลเซียระบุวันนี้ (19)

    โจรสลัดทั้ง 8 คน หลบหนีด้วยเรือชูชีพในเย็นวันพฤหัสบดี (18) แต่กัปตันเรือของเรือบรรทุกน้ำมันที่ถูกจี้ได้แจ้งเจ้าหน้าที่เมื่อเวลาผ่านไปราว 5 ชั่วโมง เนื่องจากถูกโจรสลัดข่มขู่ไม่ให้เปิดเผยแผนหลบหนี พล.ร.อ.อับดุล อาซิซ จาฟาร์ ผู้บัญชาการกองทัพเรือมาเลเซีย ระบุ

    ก่อนหน้านี้ โจรสลัดได้ร้องให้เรือกองทัพเรือมาเลเซียที่ติดตามทิ้งระยะห่างราว 5 ไมล์ทะเล โดยขู่ว่าจะทำร้ายลูกเรือหากเรือของมาเลเซียเข้าใกล้ โดยพวกเขากำลังมุ่งหน้าไปยังเกาะนาทูนา ของอินโดนีเซีย

    เจ้าหน้าที่ทางทะเลของมาเลเซียกล่าวภายหลังว่า ชาวอินโดนีเซีย 8 คน ที่เชื่อว่าเป็นโจรสลัดถูกจับกุมตัวได้โดยเจ้าหน้าที่รักษาชายแดนของเวียดนามใกล้กับเกาะโถจู (Tho Chu Island)

    “โจรสลัดที่หนีออกจากเรือบรรทุกน้ำมันถูกเจ้าหน้าที่เวียดนามเข้าจับกุมขณะพยายามจะหลบหนีจากการควบคุมของเรา พวกเขากำลังโดนสอบสวนในตอนนี“” รองผู้อำนวยการสำนักงานบังคับใช้กฎหมายทางทะเลมาเลเซีย กล่าว

    หนังสือพิมพ์สตาร์ของมาเลเซีย ระบุว่า โจรสลัดกลุ่มนี้เป็นโจรสลัดมือสมัครเล่น เนื่องจากพยายามที่จะอำพรางเรือบรรทุกน้ำมันด้วยการทาสี และเปลี่ยนชื่อเรือจากเดิมที่ชื่อ “Orkim Harmony” เป็นชื่อ “Kim Harmon”

    อับดุล อาซิซ กล่าวว่า ลูกเรือ 22 คน ที่ประกอบด้วย ชาวมาเลเซีย 16 คน ชาวอินโดนีเซีย 5 คน และชาวพม่า 1 คน ทั้งหมดปลอดภัย แต่หนึ่งในสมาชิกลูกเรือถูกยิงที่บริเวณต้นขาตอนที่โจรสลัดจี้เรือ ซึ่งได้รับการช่วยเหลือส่งตัวทางเครื่องบินไปรักษาที่โรงพยาบาล และรายงานระบุว่ามีอาการคงที่

    เรือ Orkim Harmony สูญหายไปตั้งแต่วันที่ 11 มิ.ย. บริเวณนอกชายฝั่งด้านตะวันออกของรัฐยะโฮร์ มาเลเซีย โดยเรือบรรทุกน้ำมัน จำนวน 6,000 ตัน มูลค่าราว 21 ล้านริงกิต (5.6 ล้านดอลลาร์) อับดุล อาซิซ ระบุว่า น้ำมันยังคงอยู่บนเรือ

    เรือบรรทุกน้ำมันลำที่เกิดเหตุนี้เดินทางอยู่บนเส้นทางจากมะละกา ไปยังเมืองกวนตัน และถูกพบเมื่อวันพฤหัสบดี (18) ในบริเวณน่านน้ำกัมพูชา

    มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ได้พยายามร่วมกันที่จะต่อสู้กับการปล้นเรือในช่องแคบมะละกา ซึ่งเจ้าหน้าที่ทางทะเลของมาเลเซีย ระบุว่า เหตุที่เกิดขึ้นเป็นคดีจี้เรือครั้งที่ 5 ของปีนี้ ในพื้นที่ทางใต้ของช่องแคบตามแนวชายฝั่งมาเลเซีย

     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สื่อเวียดนามเผยผู้ต้องสงสัยจี้เรือน้ำมันมาเลย์พูดภาษาอินโดนีเซีย
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 21 มิถุนายน 2558 12:04 น. (แก้ไขล่าสุด 21 มิถุนายน 2558 12:10 น.)

    [​IMG]

    ผู้ต้องสงสัยจี้เรือ MT Orkim Harmony ทั้ง 8 คน ถูกเจ้าหน้าที่เวียดนามจับกุมตัวได้เมื่อวันศุกร์ (19).--Photo/VOA.


    เอเอฟพี - ชายทั้ง 8 คน ที่ถูกเจ้าหน้าที่เวียดนามเข้าจับกุมตัวฐานต้องสงสัยว่าเป็นผู้ที่จี้เรือบรรทุกน้ำมันสัญชาติมาเลเซียพูดภาษาอินโด และยังขนเงินสดจำนวนมากขณะเจ้าหน้าที่เข้าจับกุม สื่อของเวียดนามรายงานวันนี้ (21)

    กลุ่มผู้ต้องสงสัยทั้ง 8 คน ถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวได้เมื่อวันศุกร์ (19) หลังพวกเขาขึ้นฝั่งที่เกาะโถจู ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเวียดนาม ด้วยเรือชูชีพ โดยอ้างว่าประสบอุบัติเหตุในทะเล แต่ในวันเดียวกันนั้น ทางการมาเลเซียได้ระบุว่า ชายทั้ง 8 คน ที่เข้ายึดเรือ MT Orkim Harmony เมื่อสัปดาห์ก่อน ได้หลบหนีเรือรบที่ติดตามมาด้วยเรือชูชีพในเวลากลางคืน

    เรือ Orkim Harmony เป็นเรือลำล่าสุดที่ถูกกลุ่มโจรสลัดจี้ ซึ่งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เหตุจี้ปล้นเรือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มสูงขึ้น และเรือบรรทุกน้ำมันขนาดเล็กมักตกเป็นเป้าของโจรสลัดเหล่านี้

    สำนักข่าว VNExpress ของเวียดนาม รายงานวันนี้ (21) ว่า ชายทั้ง 8 คน ที่มีอายุระหว่าง 19-61 ปี พูดภาษาอินโดนีเซีย และไม่สามารถอธิบายถึงแหล่งที่มีของเงินสกุลต่างชาติจำนวนมากที่พวกเขาขนมาด้วย รวมทั้งโทรศัพท์อีกหลายสิบเครื่อง

    “ผู้ต้องสงสัยกลุ่มนี้ปากแข็งมาก ปฏิเสธที่จะให้ความร่วมมือ พวกเขาเป็นมืออาชีพ และนิ่งมาก” ร้อยโทโด๋ วัน ตว่าน ตำรวจน้ำเวียดนาม กล่าว

    ส่วนเจ้าหน้าที่ตำรวจน้ำอีกนายหนึ่ง ระบุว่า เจ้าหน้าที่สืบสวนมีหลักฐานมากพอที่จะตั้งข้อหาต่อผู้ต้องสงสัยทั้ง 8 คนนี้

    “เวียดนามร่วมมือกับมาเลเซียในคดีนี้ แต่ประเด็นก็คือ ทำอย่างไรให้พวกเขายอมรับ” เจ้าหน้าที่เวียดนาม กล่าว

    เรือ MT Orkim Harmony ที่บรรทุกน้ำมัน 6,000 ตัน มีมูลค่าราว 5.6 ล้านดอลลาร์ ได้หายไปเมื่อวันที่ 11 มิ.ย. ขณะเดินทางตามเส้นทางจากชายฝั่งตะวันตกของมาเลเซียไปยังเมืองท่ากวนตันทางฝั่งตะวันออก

    ลูกเรือ 22 คน ไม่ได้รับบาดเจ็บ เว้นแต่ลูกเรือชาวอินโดนีเซียคนหนึ่งที่ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยจากแผลถูกยิงที่ต้นขา กองทัพเรือมาเลเซียระบุ โจรสลัดพยายามจะหลบหนีการติดตามของมาเลเซีย โดยสั่งให้เรือของกองทัพเรือมาเลเซียอยู่ห่างอย่างน้อย 5 ไมล์ทะเล โดยข่มขู่ว่าหากไม่ทำตามลูกเรือจะได้รับอันตราย

    สำนักงานการเดินเรือระหว่างประเทศ เตือนว่า น่านน้ำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเวลานี้เป็นจุดที่มีการจี้ปล้นเรือมากที่สุดในโลก พร้อมเรียกร้องให้หน่วยงานในภูมิภาคดำเนินการอย่างเด็ดขาดที่จะป้องกันไม่ให้สถานการณ์เพิ่มขึ้นจนควบคุมไม่ได้.

     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ดุสิตโพลเผยชาวบ้านค้านเปิดกาสิโน ชี้เรื่องละเอียดอ่อน มอมเมา แต่ก็ทำให้รัฐมีรายได้ โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 21 มิถุนายน 2558 08:26 น. (แก้ไขล่าสุด 21 มิถุนายน 2558 10:23 น.)

    [​IMG]

    สวนดุสิตโพล เผย ชาวบ้านร้อยละ 86.79 ชี้เปิดบ่อนกาสิโนเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ต้องพิจารณารอบคอบ ร้อยละ 76.60 ชูข้อดีรัฐมีรายได้ เงินหมุนเวียน ไม่รั่วไหล ร้อยละ 79.75 ติงผลเสียมอมเมาประชาชน ร้อยละ 77.62 บอกถ้าต้องเปิดควรควบคุมเวลาเปิด - ปิด อายุผู้เล่น และวงเงิน และร้อยละ 45.19 ไม่เห็นด้วยหากจะทำจริงๆ

    วันนี้ (21 มิ.ย.) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศโดยสำรวจเจาะลึกทั้งผลดี - ผลเสีย ของกาสิโน และสิ่งที่อยากฝากถึงผู้ที่เกี่ยวข้องว่าควรจะเปิดหรือไม่เปิด เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาจำนวน 1,363 คน พบว่า กรณีที่จะให้ประเทศไทยเปิดกาสิโนถูกกฎหมาย 86.79% เป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ส่งผลกระทบหลายด้าน ต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ 82.76% มีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ควรรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายอย่างเปิดกว้าง 71.46% มีทั้งผลดี - ผลเสีย ขึ้นอยู่กับผู้มีอำนาจในการตัดสินใจและระบบการจัดการที่ชัดเจน 69.48% การพนันไม่เคยทำให้ใครร่ำรวยหรือสุขสบายอย่างแท้จริง และ 67.50% เป็นเรื่องหนึ่งที่ถูกจุดกระแสขึ้นมาอีกครั้ง และสังคมต่างให้ความสนใจอยู่ในขณะนี้

    เมื่อถามถึง ผลดี ของการเปิดกาสิโนถูกกฎหมาย 76.60% รัฐมีรายได้ มีเงินหมุนเวียนจำนวนมาก เงินเข้าประเทศ ไม่รั่วไหล 73.07% กระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว 71.31% เกิดการจ้างงาน ประชาชนมีงานทำเพิ่มขึ้น 63.83% สามารถควบคุมดูแลได้ง่าย ช่วยลดปัญหาเรื่องการรีดไถ เก็บส่วย มาเฟีย ฯลฯ และ 58.69%ไม่ต้องแอบเล่นแบบหลบๆซ่อนๆ บ่อนผิดกฎหมายลดลง

    เมื่อถามถึง “ผลเสีย” ของการเปิดคาสิโนถูกกฎหมาย 79.75% เป็นการมอมเมาประชาชน เยาวชนเห็นแบบอย่างที่ไม่ดี 74.32% ก่อให้เกิดหนี้สิน ไม่ทำงาน สร้างปัญหาให้กับครอบครัว 70.43% กระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศ ไทยเป็นเมืองพุทธ มีเอกลักษณ์วัฒนธรรมที่ดีงาม 68.67% เกิดการทุจริตคอรัปชั่น ความไม่โปร่งใส ฟอกเงิน และ 64.56% เกิดปัญหาสังคมและอาชญากรรม ปล้น จี้ ทวงหนี้ อุ้มฆ่า

    เมื่อถามว่า ถ้าจำเป็นต้องเปิดคาสิโนถูกกฎหมาย สิ่งที่ประชาชนอยากฝากบอกรัฐบาล 77.62% ควบคุมดูแลเวลาเปิด - ปิด การกำหนดอายุของผู้เล่น จำกัดวงเงิน 76.16% มีกฎหมาย บทลงโทษที่ชัดเจน เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด 75.50% การสร้างความเข้าใจที่ดีกับประชาชนในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับกาสิโน 62.66% จัดโซนนิง สถานที่ตั้งกาสิโนจะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม และ 54.81% การบริหารจัดการด้วยความโปร่งใส เป็นมาตรฐาน สามารถตรวจสอบได้

    เมื่อถามโดยภาพรวม ประชาชนเห็นด้วยหรือไม่ ที่จะให้มีการเปิดกาสิโนถูกกฎหมายในประเทศไทย 45.19% ไม่เห็นด้วย เพราะ ทำให้คนติดการพนัน อยากรวยทางลัด มีหนี้สิน เป็นการมอมเมาเยาวชน เกิดการทุจริตคอร์รัปชัน ขัดต่อวัฒนธรรมไทย ปัญหาอาชญากรรมเพิ่มขึ้น กฎหมายไม่เคร่งครัด ในระยะยาวเกิดผลเสียมากกว่า ฯลฯ 38.66% เห็นด้วย เพราะสร้างรายได้จำนวนมากให้กับประเทศ สามารถนำเงินไปพัฒนาประเทศในด้านอื่นๆ ได้ เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว เกิดการจ้างงาน ธุรกิจอื่นๆอาจฟื้นตัว และมีผลกำไรที่ดีขึ้น ฯลฯ และ 16.15% ไม่แน่ใจ เพราะ มีทั้งผลดี - ผลเสีย ควรศึกษารายละเอียดต่างๆ ให้ชัดเจน ขึ้นอยู่กับผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ ฯลฯ

     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ปอกเปลือก ทรราช
    ลอนดอนป่วนหนัก ประชาชนประท้วงมาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาลอังกฤษ

    [​IMG]

    -----------
    ประท้วงต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัด (Anti-austerity) ในลอนดอน เมื่อวันที่ 20 มิ.ย.58 ที่ผ่านประชาชนชาวอังกฤษราว 250,000 คนออกมารวมกันตามท้องถนนเพื่อคัดค้านและต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาล Tory ที่จะตัดสวัสดิการทางสังคมและทำการแปรรูปกิจการของรัฐ RT ของรัสเซียเกาะติดสถานการณ์ ถ่ายทอดสดให้ชาวโลกได้เห็นถึงความวุ่นวายภายในอังกฤษ แต่ BBC และ CNN ปิดข่าวเงียบกริ๊บ
    ก่อนหน้านี้ที่กรีซก็เป็นแบบนี้ มีประชาชนออกมาประท้วงมาตรการัดเข็มขัดของพวกเจ้าหนี้อียูอย่างนี้แหละ จนนำไปสู่การประกาศว่ากรีซจะออกจากอียู ตอนนี้อังกฤษก็กำลังจะประสบชตาเดียวกันกับกรีซ นี่เป็นก้าวแรกของอังกฤษที่ต้องการจะออกจากอียู แต่อังกฤษพยายามไม่พูดถึงเรื่องหนี้สินและเศรษฐกิจและปัญหาภายในของตัวเอง
    The Eyes
    21/06/2558
    --------------
    http://rt.com/uk/268597-austerity-major-london-protest/
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ปอกเปลือก ทรราช
    เดินขบวนประท้วงเหยียดผิว "March for Black Lives" ในเมือง Charleston สหรัฐฯ

    [​IMG]

    --------------
    เมื่อวันที่ 20 มิ.ย.58 ที่ผ่านมีประชาชนหลายร้อยคนออกมารวมตัวกันเดินขบวน "March for Black Lives" ตามท้องถนนในเมือง Charleston รัฐ South Carolina ประเทศสหรัฐอเมริกาหลังเกิดเหตุบุกสังหารหมู่ 9 ศพภายในโบสถ์ Emanuel African Methodist Episcopal Church กลุ่มผู้ประท้วงออกมาต่อต้านการเหยียดผิว (anti-racism) และต่อต้านผู้ก่อการร้ายผิวขาว (white terrorism)
    กลุ่มผู้ประท้วงยังมีการเรียกร้องให้นำธง Confederate flag (ธงของฝ่ายสัมพันธมิตรของรัฐต่างๆในสหรัฐฯ) ในเมือง Columbia ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐ South Carolina ออกด้วย ซึ่งเป็นธงอันเดียวกันกับที่นาย Dylann Roof ฆาตกร 9 ศพผู้ก่อเหตุถือนั่นเอง
    ส่วนที่ West Philly (West Philadelphia) ส่วนหนึ่งของ Philadelphia รัฐ Pennsylvania ก็เกิดเหตุยิงกันตามท้องถนนขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาต่อจากเหตุการณ์ในเมือง Charleston มีผู้ถูกยิงจำนวน 7 ราย โดยมีเด็กอายุ 2 และ 7 ขวบได้รับบาดเจ็บจากการก่อเหตุในครั้งนี้ที่ West Philly ด้วย
    เอ… เหตุการณ์ความปั่นป่วนภายในประเทศสหรัฐฯแบบนี้ เริ่มจะบ่อยและถี่มากขึ้นเรื่อยๆแล้วนะ เกิดอะไรขึ้นกับประเทศที่มีเสรีภาพเบอร์หนึ่งของโลกนะ?
    The Eyes
    21/06/2558
    --------------
    http://rt.com/usa/268633-charleston-massacre-protest-vigil/
    http://rt.com/usa/268639-west-philly-shooting-children/
     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    บีบีซีไทย - BBC Thai

    [​IMG]

    ทำความรู้จักกลุ่มเหยียดสีผิวในสหรัฐฯ
    เหตุกราดยิงที่โบสถ์ของชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันในรัฐเซาท์แคโรไลนา ของสหรัฐฯ จนมีผู้เสียชีวิต 9 คน เชื่อว่ามีมูลเหตุจูงใจมาจากความเกลียดชังทางสีผิว ขณะเดียวกันมีการเปิดเผยภาพถ่ายของนายดีลัน รูฟ มือปืนผิวขาวที่ก่อเหตุสวมใส่เครื่องหมายกลุ่มเชิดชูคนผิวขาว ทำให้เรื่องของกลุ่มผู้มีแนวคิดดังกล่าวกลายเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจอีกครั้ง
    กลุ่มผู้มีแนวคิดเชิดชูคนผิวขาว ถือเป็นวัฒนธรรมย่อยในสังคม แต่สิ่งที่แตกต่างจากกลุ่มวัฒนธรรมย่อยทั่วไปคือความเกลียดชัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเกลียดชังทางเชื้อชาติและต่อรัฐบาล คนกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า คนผิวขาวหรือชนชาติอารยันเป็นเผ่าพันธุ์ที่สูงส่งกว่าเผ่าพันธุ์อื่น ๆ โดยความเกลียดชังคนผิวดำมีเหตุเชื่อมโยงจากยุคที่คนผิวดำเป็นทาส ขณะที่ความเกลียดชังชาวละตินอเมริกาเกิดจากความไม่พอใจที่คนกลุ่มนี้อพยพเข้าไปอยู่ในสหรัฐฯ เป็นจำนวนมาก
    นอกจากนี้ยังมีความเกลียดชังที่มีมาช้านานต่อชาวยิว และมักมีความเชื่อว่ารัฐบาลสหรัฐฯ อยู่ภายใต้การควบคุมของชาวยิว ทั้งนี้ ลัทธินาซีถือเป็นสัญลักษณ์ที่พบเห็นได้ทั่วไปในกลุ่มผู้มีแนวคิดฝ่ายขวาจัด และคนกลุ่มนี้มักมีรอยสักรูปเครื่องหมายสวัสติกะ รวมทั้งหมายเลข 88 ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มนาซี ส่วนในกรณีของนายรูฟนั้น เป็นภาพที่เขาติดธงชาติของประเทศโรดีเชีย ที่เป็นอดีตอาณานิคมอังกฤษ ซึ่งปัจจุบันคือซิมบับเวและแอฟริกาใต้ในยุคที่มีการดำเนินนโยบายแบ่งแยกเชื้อชาติและถือเป็นดินแดนในอุดมคติของกลุ่มผู้เชิดชูคนผิวขาว
    ข้อมูลขององค์กรเฝ้าติดตามกลุ่มก่อการร้ายในสหรัฐฯ พบว่าปัจจุบันมีกลุ่มที่มีแนวคิดสุดโต่ง 784 กลุ่ม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเชิดชูคนผิวขาว ในจำนวนนี้ 19 กลุ่มเคลื่อนไหวอยู่ในรัฐเซาท์แคโรไลนา อาทิ กลุ่ม Loyal White Knights of the Ku Klux Klan และกลุ่ม League of the South
    การสำรวจหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย 382 แห่งของสหรัฐฯ เมื่อปีก่อน พบว่า 74% ของหน่วยงานเหล่านี้รายงานว่า กลุ่มแนวคิดอนุรักษนิยมทางการเมืองแบบสุดโต่งถือเป็น 1 ใน 3 ภัยก่อการร้ายที่คุกคามสังคมมากที่สุด ขณะที่การศึกษาหลายชิ้นพบว่า เกิดเหตุโจมตีจากฝีมือของกลุ่มสุดโต่งในประเทศบ่อยกว่าการโจมตีจากกลุ่มนักรบจีฮัด โดยนับแต่เหตุวินาศกรรม 11 กันยายน 2544 กลุ่มสุดโต่งที่มีแนวคิดขวาจัดก่อเหตุโจมตีโดยเฉลี่ยปีละ 337 ครั้ง ขณะที่เหตุร้ายจากชาวอเมริกันที่นับถือศาสนาอิสลามมีเพียง 9 ครั้ง นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญยังชี้ว่า เหตุร้ายจากผู้มีแนวคิดเหยียดสีผิวที่กำลังเป็นภัยคุกคามที่สำคัญคือ การก่อเหตุในลักษณะที่มีผู้ก่อเหตุคนเดียว โดยได้รับอิทธิพลจากการพูดคุยกับผู้มีแนวคิดเดียวกันผ่านทางอินเทอร์เน็ต
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    บีบีซีไทย - BBC Thai

    [​IMG]

    วันนี้ (21 มิ.ย.) เป็นวันครีษมายัน (ซัมเมอร์ โซลสตีซ) หรือวันที่มีช่วงเวลากลางวันยาวนานที่สุดในรอบปีของซีกโลกเหนือ
    ในวันนี้ที่อังกฤษดวงอาทิตย์จะขึ้นที่เวลา 4.43 น. และจะตกเวลา 21.21น. ตามเวลาท้องถิ่น ทำให้มีเวลาช่วงกลางวันและมีแสงจากดวงอาทิตย์ยาวนานถึง 16.38 ชม.
    วันนี้มีความสำคัญหลายประการทางซีกโลกเหนือ เนื่องจากวันนี้นอกจากจะเป็นวันแรกของฤดูร้อนแล้ว วันนี้ยังมีความสำคัญในเรื่องการปลูกพืช การเก็บเกี่ยว และความอุดมสมบูรณ์อีกด้วย
    ในแต่ละปีมีเฉลิมฉลองเนื่องในวันนี้ โดยคนหลายร้อยคนจะมารวมตัวกันที่สโตนเฮนจ์ ในอังกฤษเพื่อชมแสงแรกของวันเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นที่ขอบฟ้า และร่วมเฉลิมฉลองต้อนรับวันแรกของฤดูร้อนในแต่ละปี
    ภาพประกอบ – การชมดวงอาทิตย์ขึ้นในวันครีษมายันของปีที่ผ่าน ๆ มาครับ
     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    บีบีซีไทย - BBC Thai

    [​IMG]

    จะเกิดอะไรขึ้นต่อไปในการปฏิรูปการเมืองของฮ่องกง
    หลังจากสภานิติบัญญัติฮ่องกงมีมติไม่รับแผนปฏิรูปการเมืองที่กำหนดให้ชาวฮ่องกงเลือกตั้งผู้ว่าการคนใหม่จากกลุ่มผู้สมัครที่ได้รับการคัดเลือกจากรัฐบาลจีน ทำให้เกิดคำถามว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไปในการปฏิรูปการเมืองของฮ่องกง
    หลายฝ่ายตั้งข้อสงสัยว่ามีความเป็นไปได้หรือไม่ ที่จะมีการพิจารณาแผนปฏิรูปการเมืองของฮ่องกงอีกครั้งก่อนถึงการเลือกตั้งผู้ว่าการเกาะฮ่องกงคนใหม่ในปี 2560 ทั้งนี้กระบวนการดังกล่าวเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของนายเหลียง ชุน หยิง ผู้ว่าการเกาะฮ่องกงคนปัจจุบัน ที่จะต้องเป็นผู้ริ่เริ่มให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการสรรหาผู้ว่าการเกาะฮ่องกงคนใหม่ ด้วยการนำเสนอแผนการปฏิรูปการเมืองให้ทางการจีนพิจารณา
    อย่างไรก็ดีหลังจากสภานิติบัญญัติฮ่องกงมีมติอย่างท่วมท้นไม่รับแผนปฏิรูปการเมืองของรัฐบาลจีน นายเหลียงระบุว่าต่อไปนี้เขาจะใช้เวลาที่เหลือในตำแหน่งผู้ว่าการเกาะฮ่องกงในการยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน แทนที่จะมุ่งปฏิรูปการเมือง ขณะที่บรรดาผู้ช่วยของเขาต่างเน้นย้ำว่าจะไม่มีการปฏิรูปการเมืองอีกครั้งก่อนการเลือกตั้งในปี 2560 ซึ่งนั่นหมายความว่า ผู้ว่าการเกาะฮ่องกงคนใหม่จะต้องได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมาธิการจำนวน 1,200 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้นิยมรัฐบาลจีน
    ด้านรัฐบาลจีนระบุว่า มติของคณะกรรมาธิการสามัญของสภาประชาชนแห่งชาติจีน ที่ให้ผู้ชิงตำแหน่งผู้ว่าการเกาะฮ่องกงจะต้องผ่านการคัดสรรจากคณะกรรมาธิการ 1,200 คน จะยังคงมีผลบังคับใช้ต่อไป แม้สภานิติบัญญัติฮ่องกงจะมีมติไม่รับแผนปฏิรูปการเมืองดังกล่าวก็ตาม
    ขณะที่กลุ่มนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยที่ใช้ “ร่ม” เป็นสัญลักษณ์ในการคัดค้านแผนปฏิรูปของทางการจีนยังคงไม่มีแผนที่จะกลับมาชุมนุมกันอีกครั้ง แต่พวกเขายังคงหารือกันว่าควรจะใช้วิธีไหนเพื่อบรรลุเป้าหมายการต่อสู้ของภาคประชาชนและให้ผู้ลงคะแนนมีสิทธิ์มีเสียงและมีส่วนร่วมในกระบวนการสรรหาผู้สมัคร
    ส่วนอนาคตของฮ่องกงหลังการกลับคืนสู่การปกครองของจีนแผ่นดินใหญ่ครบ 50 ปีในปี 2590 นั้น ในทางทฤษฎีเชื่อว่าฮ่องกงจะตกอยู่ภายใต้การปกครองของจีนอย่างเต็มรูปแบบ โดยกฎหมาย เสรีภาพ และวิถีชีวิตแบบทุนนิยมในยุคการปกครองของอังกฤษ ซึ่งจีนรับปากจะให้ฮ่องกงได้ใช้ไปจนถึงปี 2590 นั้นก็จะหมดไป
     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    บีบีซีไทย - BBC Thai
    โลกกำลังเข้าสู่ยุคการสูญพันธุ์ครั้งใหม่

    [​IMG]

    ผลการศึกษาร่วมกันของ 3 มหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ ได้ผลสรุปว่า โลกกำลังเข้าสู่ยุคการสูญพันธุ์ครั้งใหม่ และมนุษย์เป็นหนึ่งในสิ่งมีชีวิตที่จะได้รับผลกระทบเป็นกลุ่มแรก ๆ
    การศึกษาของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน และมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Science Advances ได้ประเมินบันทึกเกี่ยวกับซากฟอสซิล และพบว่าสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังมีอัตราการสูญพันธุ์เร็วกว่าปกติ 114 เท่า โดยมีสาเหตุมาจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มลพิษ และการตัดไม้ทำลายป่า
    หนึ่งในทีมนักวิจัยบอกว่า โลกของเรากำลังเข้าสู่การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ครั้งที่ 6 หลังจากการสูญพันธุ์ครั้งล่าสุดเมื่อ 65 ล้านปีก่อน ซึ่งน่าจะเกิดจากอุกกาบาตพุ่งชนโลก ที่ได้ทำให้ไดโนเสาร์ต้องสูญพันธุ์ไป
    นายเจอราร์โด เซบายอส หัวหน้าทีมวิจัย เตือนว่าหากเรายังปล่อยให้สถานการณ์แบบนี้ดำเนินต่อไป สิ่งมีชีวิตบนโลกจะต้องใช้เวลาอีกหลายล้านปีในการฟื้นตัว และมนุษย์จะเป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มแรก ๆ ที่จะสูญพันธุ์
    สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (ไอยูซีเอ็น) ระบุว่าแต่ละปีมีสัตว์อย่างน้อย 50 ชนิดตกอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ ในจำนวนนั้น 41% เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ส่วนอีก 25% เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยตัวลีเมอร์เป็นสัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากที่สุด เพราะนอกจากพวกมันจะถูกล่าเป็นอาหารแล้ว ถิ่นที่อยู่อาศัยของพวกมันบนเกาะมาดากัสการ์กำลังถูกทำลายจากการลักลอบตัดไม้อีกด้วย
    ผลการศึกษาครั้งนี้ตอกย้ำงานวิจัยของ สจ๊วร์ต พิมม์ นักชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยดุ๊ก ในสหรัฐฯ ที่ตีพิมพ์เมื่อปีก่อน ซึ่งระบุว่าอัตราการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตในยุคปัจจุบัน เร็วกว่าในอดีตถึง 1,000 เท่า อย่างไรก็ดีผู้เขียนรายงานฉบับล่าสุดชี้ว่า ยังคงมีความเป็นไปได้ ที่จะหลีกเลี่ยงการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ โดยจะต้องเร่งการอนุรักษ์ธรรมชาติอย่างเต็มกำลังและสุดความสามารถ
     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    กรีซกระอัก!! คนแห่ถอนเงิน “ 3.4 พันล้านยูโร” แค่วันเดียว – ธนาคารกลางยุโรป ECB ตื่นควักเงินช่วยเหลือฉุกเฉิน 1.8 พันล้านยูโรห้ามเลือด โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 21 มิถุนายน 2558 13:38 น. (แก้ไขล่าสุด 21 มิถุนายน 2558 13:53 น.)

    [​IMG]

    รอยเตอร์ – สถานการณ์วิกฏตหนี้กรีซดูท่าจะย่ำแย่อย่างเห็นได้ชัดหลังจากประชาชนชาวกรีกรวมตัวแห่เข้าคิวถอนเงินกว่าพันล้านดอลลาร์ภายในเพียงแค่ 1 วันเท่านั้น โดยยอดการถอนสูงสุดในวันพฤหัสบดี(18)แค่วันเดียวสูงถึง 3.4พันล้านยูโร และยอดรวมสูงสุดถึง 4.2 พันล้านยูโร หลังประเทศเข้าใกล้ล้มละลาย และอาจต้องออกจากเขตยูโรโซน ถึงแม้นายกรัฐมนตรีกรีซ อเล็กซิส ชีปราส ผู้นำพรรคซ้ายจัด “ซีรีซา” ซึ่งมีแนวทางต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัด จะพยายามปลอบขวัญประชาชนว่าไม่เป็นความจริง ในขณะที่ธนาคารกลางยุโรป ECB ออกแถลงการณ์ล่าสุด รับมือสถานการณ์วิกฤตการธนาคารของกรีซด้วยการเพิ่มการช่วยเหลือเงินกู้ฉุกเฉิน ELA 1.8 พันล้านยูโรให้กับระบบธนาคารของกรีซหลังพบ สถานการณ์ยังย่ำแย่ กระแสคนแห่ถอนเงินยังลามข้ามวันจากพฤหัสบดี(18)ไปยังวันศุกร์(19)ไม่หยุด

    รอยเตอร์รายงานว่า จากเหตุใกล้กำหนดการชำระหนี้กรีซก้อนใหญ่เข้ามา และไม่มีทีท่าที่รัฐบาลกรีซจะสามารถหาเงินก้อนใหม่ได้ทัน ทำให้มีประชาชนชาวกรีกต่างแห่เข้าคิวถอนเงินออกจากธนาคารต่างๆเพื่อความไม่ประมาทจำนวนไม่ต่ำกว่าพันล้านดอลลาร์ภายในเพียงแค่ 1วันก่อนหน้านี้ แหล่งข่าวทางการเงินให้ข้อมูลในวันศุกร์(19) ซึ่งถึงแม้นายกรัฐมนตรีกรีซ อเล็กซิส ชีปราส ผู้นำพรรคซ้ายจัด “ซีรีซา” ที่มีแนวทางต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัดจะพยายามปลอบขวัญประชาชนว่าไม่เป็นความจริงก็ตาม

    นอกจากนี้ในสถานการณ์ที่ประชาชนกรีกต่างตกอยู่ในอาการขวัญผวา ธนาคารกลางกรีซได้ออกมายืนยันว่า “ระบบธนาคารของกรีซยังมั่นคง” ถึงแม้ว่าก่อนหน้านี้ทางธนาคารกลางกรีซได้ออกมาเตือนว่า อนาคตกรีซในการใช้สกุลยูโร และการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปนั้นตกอยู่ในความเสี่ยงสูงมากหากรัฐบาลกรีซของชีปราสยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกับบรรดาเจ้าหนี้ต่างชาติได้ทัน

    ด้านเยอรมัน ซึ่งเป็นชาติรายใหญ่ที่ช่วยกรีซแก้ปัญหาหนี้เน่า 5 ปีก่อนหน้านี้ ได้ออกมาเตือนว่า ยังไม่สายเกินไปสำหรับกรีซที่จะยอมรับเงื่อนไขกับ IMF และสหภาพยุโรป

    รอยเตอร์รายงานว่า กรีซมีภาระต้องจ่ายเงินคืนจำนวน 1.6 พันล้านยูโรภายในสิ้นเดือนนี้กับ IMF ยกเว้นทาง IMF จะยอมปล่อยความช่วยเหลือก้อนใหม่ที่ยังไม่ยอมจ่ายตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2014 ออกมา เพื่อต่อลมหายใจของกรีซออกไป แต่ทว่าชีปราสที่ขึ้นมาจากการต่อต้านนโยบายรัดเข็มขัดปฎิเสธแนวความคิดของบรรดาเจ้าหนี้ต่างชาติที่ต้องการให้รัฐบาลของเขาตกลงหั่นงบประมาณมากกว่านี้ รวมไปถึงให้มีการเพิ่มมาตรการรัดเข็มขัดให้เข้มงวดมากไปกว่านี้

    และทำให้บรรดาประชาชนกรีกที่เกรงว่าเงินของพวกเขาในธนาคารจะอยู่ในสถานการณ์ล่อแหลมต่างแห่ออกไปถอนเงินปิดบัญชีจนเงินเกลี้ยงแบงก์ ด้วยเกรงว่าอาจมีมาตรการห้ามการถอนเงินออกมาในภายหลังเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในปี 2013

    รอยเตอร์รายงานเพิ่มเติมว่า ซึ่งความกลัวของประชาชนที่รวมไปถึงการเข้าคิวถอนเงินเป็นจำนวนกว่าพันล้านดอลลาร์ในวันพฤหัสบดี(18) ทำให้บรรดาเจ้าของบัญชีเงินฝากในกรีซต่างแห่เข้าคิวถอนเงินออกถึง 3.4 พันล้านยูโรจากระบบธนาคารกรีซ เกิดขึ้นนับตั้งแต่การเจรจาระหว่างเจ้าหนี้ต่างชาติและรัฐบาลกรีซล้มในช่วงสุดสัปดาห์ก่อนหน้านั้น แหล่งข่าวธนาคารกรีซเผยต่อ

    และแหล่งข่าวกรีซยังได้เปิดเผยถึงตัวเลขล่าสุดทางด้านการธนาคารอย่างไม่เป็นทางการว่า สิ้นเดือนเมษายน อัตราเงินฝากครัวเรือนและบริษัทอยู่ที่ 2.2%

    ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีกรีซได้ออกแถลงการณ์ว่า “ใครก็ตามที่คาดการณ์ว่า สถานการณ์กรีซจะวุ่นวายและเลวร้ายนั้นจะต้องพบว่าเป็นการคาดการณ์ที่ผิดพลาดอย่างแน่นอน เพราะจะต้องมีทางออกที่เป็นไปตามกฎและกติกาของสหภาพยุโรปและหลักประชาธิปไตยที่จะทำให้กรีซกลับมาเข้มแข็งด้านการเงินอีกครั้ง”

    ด้านผู้ว่าการธนาคารกลางกรีซ ยานนิส สตูร์นาราส(Yannis Stournaras)ได้ออกแถลงการณ์เพื่อไม่ให้ประชาชนชาวกรีกแตกตื่นว่า “ผู้ว่าการธนาคารแห่งชาติกรีซได้ยืนยันว่าความมั่นคงของระบบธนาคารของประเทศ ซึ่งมีความแข็งแกร่งจากการร่วมมือระหว่างธนาคารแห่งชาติกรีซและธนาคารกลางยุโรป ECB”

    และล่าสุดหลังจากสถานการณ์การแห่ถอนเงินยังลามข้ามวันไปยังวันศุกร์(19) ทำให้ธนาคารกลางยุโรป ECB ตัดสินใจให้ความช่วยเหลือฉุกเฉิน ELA แก่กรีซจำนวน 1.8 พันล้านยูโร เพื่อทำให้ระบบธนาคารกรีซยังมีเสถียรภาพต่อไปได้จนถึงการประชุมระดับผู้นำของชาติสมาชิกอียูในคืนวันจันทร์(22)

    โดยแหล่งข่าวรัฐบาลกรีซเปิดเผยว่า มีการประชุมเทเลคอนเฟอเรนซ์ระหว่างกรีซและ ECB เกิดขึ้น และเพราะระบบธนาคารของกรีซนั้นประสบปัญหาการดำเนินงานในแต่ละวัน ทำให้ทางธนาคารกลางยุโรปตัดสินใจให้ความช่วยเหลือฉุกเฉินแก่กรีซจำนวน 1.8 พันล้านยูโรทันที ซึ่งคาดว่าเม็ดเงินจำนวนนี้จะเพียงพอทำให้ระบบมีเสถียรภาพไปได้จนถึงการประชุมซัมมิตผู้นำยูโรโซนที่จะมีขึ้นในคืนวันจันทร์(22)ในการประชุมหาทางออกช่วยเหลือกรีซกับบรรดาเจ้าหนี้ต่างชาติก่อนที่จะถึงกำหนดต้องจ่ายเงินคืนตามกำหนดสัญญา

    ทั้งนี้แหล่งข่าวรัฐบาลกรีซให้ข้อมูลเพิ่มเติมต่อว่า ชีปราสผู้นำซ้ายจัดของกรีซที่เพิ่งกลับจากการเยือนรัสเซียในวันเสาร์(20) จะใช้เวลาที่เหลือในวันสุดสัปดาห์เตรียมข้อมูลฝ่ายกรีซในการเข้าร่วมประชุมผู้นำชาติสมาชิกสหภาพยุโรป ท่ามกลางความกดดันสถานการณ์ประชาชนตื่นแห่ปิดบัญชีเงินฝาก และความกดดันจากเจ้าหนี้ต่างชาติ

    รอยเตอร์รายงานเพิ่มเติมว่า กระแสตื่นถอนเงินมีมากถึง 4.2 พันล้านยูโรในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยในวันศุกร์(19)มีเงินไหลออกนอกระบบธนาคารกรีซถึง 1.2 พันล้านยูโร

    “ดูเหมือนว่าวันนี้จะยากลำบากกว่าเมื่อวาน และดูเหมือนว่าในวันจันทร์นี้อาจจะย่ำแย่เช่นกัน” แหล่งข่าวธนาคารกรีซให้ความเห็น

    และแหล่งข่าวรัฐบาลกรีซกล่าวต่อว่า ทาง ECB จะประเมินตัวเลขวงเงินช่วยเหลือฉุกเฉิน ELA อีกครั้งในวันจันทร์(22) หลังจากประชุมผู้นำสหภาพยุโรปที่กรุงบรัสเซลส์ได้เสร็จสิ้นแล้ว

    http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000069985
     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    “โป๊ปฟรานซิส” ประณามผู้เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาวุธ ระบุ ไม่สมควรเรียกตัวเองเป็น “ชาวคริสต์” โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 22 มิถุนายน 2558 06:36 น.

    [​IMG]
    @สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส

    [​IMG]
    @มาริลลีน ฮิวสัน ประธานและซีอีโอหญิงของ “ล็อคฮีด มาร์ติน”

    รอยเตอร์ / เอเจนซีส์ / ASTV ผู้จัดการออนไลน์ – สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส แห่งสำนักวาติกัน องค์ประมุขสูงสุดแห่งคริสตจักรโรมันคาทอลิก ทรงตรัสในวันอาทิตย์ ( 21 มิ.ย.) ระบุ บรรดาผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม “การผลิตอาวุธ” หรือการลงทุนในยุทโธปกรณ์ต่างๆนั้น ไม่ต่างจากพวกที่ทำตัวเสแสร้งและลวงโลกหากยังคงถือว่าตนเองเป็น “ชาวคริสต์”

    สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ในวัย 78 พรรษา ทรงแสดงท่าทีดังกล่าวระหว่างเข้าร่วมการชุมนุมของกลุ่มคนหนุ่มสาวจำนวนหลายพันคน ในช่วงวันแรกของการเสด็จเยือนเมืองโตริโน (ตูริน) ทางภาคเหนือของอิตาลี โดยถ้อยแถลงล่าสุดของพระองค์ถือเป็นการกล่าวประณามที่มีเนื้อหารุนแรงที่สุดที่พุ่งเป้าไปยังอุตสาหกรรมการผลิตและการค้าอาวุธ นับตั้งแต่ที่พระองค์ได้รับเลือกให้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่ง “โป๊ป” เมื่อเดือนมีนาคม ปี 2013

    สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสระบุว่า บรรดาผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ “อุตสาหกรรมบาป” นี้ ไม่สมควรเรียกตัวเองว่าเป็นชาวคริสต์อีกต่อไป และหากคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการผลิต การลงทุน และการแสวงหากำไรจากสินค้าที่ใช้เข่นฆ่าชีวิตผู้คนเหล่านี้ยังดื้อดึงที่จะเรียกตัวเองว่าเป็นชาวคริสต์แล้ว ก็จะถือว่า บุคคลนั้นเป็นพวกที่ตีสองหน้า เสแสร้งและลวงโลก

    ก่อนหน้านี้ โป๊ปชาวอาร์เจนไตน์พระองค์นี้ซึ่งมีจุดยืนต่อต้านสงคราม ได้กลายเป็นชนวนแห่งความขัดแย้งทางการทูตเมื่อช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา หลังจากที่พระองค์ ทรงเรียกขานโศกนาฏกรรมการสังหารหมู่ชาวอาร์เมเนียกว่า 1.5 ล้านคนเมื่อกว่า 100 ปีก่อนว่าเป็น “การสังหารหมู่ครั้งแรกของศตวรรษที่ 20” ส่งผลทำให้รัฐบาลตุรกีแสดงความไม่พอใจอย่างรุนแรงถึงขั้นประกาศเรียกตัวเอกอัครราชทูตของตนประจำวาติกันกลับประเทศ

    ในอีกด้านหนึ่ง มาริลลีน ฮิวสัน ประธานและซีอีโอหญิงของ “ล็อคฮีด มาร์ติน” บริษัทผู้ผลิตอาวุธสัญชาติอเมริกัน ซึ่งมีฐานอยู่ในมลรัฐแมริแลนด์ และมีพนักงานในสังกัดมากกว่า 116,000 รายทั่วโลก ออกมาให้สัมภาษณ์ต่อผู้สื่อข่าวที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. โดยระบุ สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส จะไม่ทรงกล่าวประณามอุตสาหกรรมอาวุธด้วยถ้อยคำที่รุนแรงเช่นนี้ หากสำนักวาติกัน ตกเป็นเป้าการโจมตีจากกลุ่มติดอาวุธที่มีแนวคิดสุดโต่งหรือพวกผู้ก่อการร้าย

    “ข้าพเจ้าเชื่อว่า โป๊ปฟรานซิสจะไม่ทรงตรัสเช่นนี้ และพระองค์จะไม่ทรงมีทัศนคติในแง่ลบสุดขั้วต่ออุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการป้องกันประเทศ หากสำนักวาติกันตกเป็นโจมตีของกลุ่มสุดโต่ง หรือพวกผู้ก่อการร้าย” ซีอีโอหญิงของล็อคฮีด มาร์ตินซึ่งติดอันดับสตรีผู้ทรงอิทธิพลลำดับที่ 21 ของโลกตามการจัดอันดับของนิตยสาร “ฟอร์บส์” ประจำปี 2014 กล่าว

    http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000070182
     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ข้อมูลชี้ กาตาร์เหลือก๊าซธรรมชาติสำรองอีกอื้อ ขุดมาใช้ได้อีก “138 ปี” กว่าจะหมด โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 22 มิถุนายน 2558 04:09 น.

    [​IMG]

    เอเจนซีส์ / ASTV ผู้จัดการออนไลน์ – กลุ่มธนาคารดังกาตาร์ เนชันแนล แบงก์ หรือ “คิวเอ็นบี กรุ๊ป” เผยในวันอาทิตย์ ( 21 มิ.ย.) โดยระบุ กาตาร์มีปริมาณสำรองของ “ก๊าซธรรมชาติ” เหลืออยู่อีกมหาศาล ชี้ สามารถขุดขึ้นมาใช้ได้ยาวนานถึง “138 ปี” กว่าจะหมด

    [​IMG]

    ข้อมูลดังกล่าวที่ถูกเผยแพร่โดยธนาคารยักษ์ใหญ่ของกาตาร์ถูกระบุว่า เป็นส่วนหนึ่งของผลการศึกษาเชิงสถิติ ที่จัดทำโดยทีมนักวิจัยของบริษัทพลังงานชื่อก้องโลกอย่าง “บีพี”

    [​IMG] [​IMG]

    นอกจากจะพบข้อมูลว่า รัฐเศรษฐีอาหรับแห่งอ่าวเปอร์เซียแห่งนี้ มีปริมาณสำรองของ “ก๊าซธรรมชาติ” อยู่อย่างล้นเหลือสามารถขุดขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้อีกยาวนานถึง 138 ปีแล้ว ผลการศึกษาล่าสุดของบีพียังพบด้วยว่า กาตาร์ยังคงครองสถิติการเป็นประเทศผู้ผลิตพลังงานรายใหญ่ที่มีปริมาณ “น้ำมันสำรองคงเหลือ” อยู่มากที่สุดอีกด้วย คิดเป็นค่าเฉลี่ยต่อหัวประชากรได้ 83,600 บาร์เรลต่อประชากร 1 รายในปี 2014 ที่ผ่านมา

    [​IMG]

    ด้านหนังสือพิมพ์ชื่อดัง “กัล์ฟ ไทม์ส” ซึ่งมีฐานอยู่ที่กรุงโดฮา รายงานว่า กาตาร์ยังคงรั้งอันดับที่ 3 ในฐานะประเทศผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ที่สุดของโลกในเวลานี้ เป็นรองเพียงสหรัฐอเมริกาและสหพันธรัฐรัสเซีย โดยระบุก๊าซธรรมชาติที่กาตาร์ผลิตได้มีสัดส่วนคิดเป็น 5.1 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ผลิตได้ทั่วโลก

    อย่างไรก็ดี ข้อมูลล่าสุดทั้งจากผลการศึกษาของบริษัทบีพีและการสำรวจของกัล์ฟ ไทม์สระบุตรงกันว่า กาตาร์ยังคงครองแชมป์ในฐานะประเทศผู้ส่งออกก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) รายใหญ่ที่สุดของโลกในขณะนี้ โดยมีปริมาณการส่งออกคิดเป็น 31 เปอร์เซ็นต์ของโลกในปี 2014

    ทั้งนี้ ก่อนหน้าที่จะมีการขุดพบแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในกาตาร์เมื่อปี ค.ศ.1940 ชาวกาตาร์ส่วนใหญ่มีฐานะยากจน ดำรงชีวิตด้วยการประกอบอาชีพประมงและหาหอยมุกในทะเลเป็นอาชีพหลัก

    แต่ความมั่งคั่งและรายได้มหาศาลจากอุตสาหกรรมพลังงานส่งผลให้เศรษฐกิจของกาตาร์พัฒนาอย่างรวดเร็วและก้าวกระโดด จนอัตราการว่างงานของกาตาร์เหลือไม่ถึง 0.1 เปอร์เซ็นต์ในเวลานี้ จากที่อัตราการว่างงานเคยพุ่งสูงกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงก่อนการพบแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ


    http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000070167
     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สหรัฐฯระบุจะพูดตรงไม่อ้อมค้อมกับจีน เจรจา'ยุทธศาสตร์-ศก.'ทวิภาคีอังคารนี้
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 21 มิถุนายน 2558 23:21 น.

    [​IMG]

    เอเอฟพี/เอเจนซีส์ – “อเมริกา” ประกาศจะถกกับ “จีน” ในทุกประเด็นขัดแย้ง ระหว่างการเจรจาหารือนัดสำคัญในสัปดาห์นี้ ขณะที่สื่อแดนมังกรมองแง่ดีว่า สัมพันธ์สองประเทศมีแนวโน้มกลมเกลียวกันมากขึ้น หลังจากห้ำหั่นทางการทูตกันมาหลายเดือน ด้านนักวิเคราะห์บางคนบอกว่า แม้คงไม่ค่อยมีผลลัพธ์รูปธรรมจากการหารือ แต่สองมหาอำนาจก็เล็งเห็นประโยชน์ในการใช้เวทีนี้เพื่อบริหารจัดการความสัมพันธ์ระหว่างกัน ก่อนที่ผู้นำแดนมังกรเดินทางเยือนวอชิงตันอย่างเป็นทางการเดือนกันยายนนี้

    แดเนียล รัสเซล ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯฝ่ายกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ยืนยันว่าฝ่ายอเมริกันจะพูดเกี่ยวกับความคิดเห็นที่ทั้งสองฝ่ายมองไม่ตรงกันโดยไม่มีการอ้อมค้อม ไม่มีการเพิกเฉยต่อปัญหา รวมทั้งจะหาทางบริหารจัดการกับปัญหาที่ดูเหมือนไม่สามารถแก้ไขคลี่คลายได้ ในระหว่างการหารือทางยุทธศาสตร์และเศรษฐกิจสหรัฐฯ-จีนประจำปีที่กรุงวอชิงตัน ซึ่งจะเริ่มต้นอย่างเป็นทางการในวันอังคาร (23มิ.ย.) นี้

    ทั้งนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศ จอห์น เคร์รี และรัฐมนตรีคลัง แจ็ค ลูว์ ของสหรัฐฯ จะเป็นเจ้าภาพจัดเลี้ยงอาหารค่ำเป็นการภายในให้แก่ หยาง เจียฉือ มนตรีแห่งรัฐ และ หวัง หยาง รองนายกรัฐมนตรีของจีน ในคืนวันจันทร์ (22) ก่อนเริ่มการหารืออย่างเป็นทางการที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯในวันรุ่งขึ้น โดยจะมีการหารือกันรวม 2 วัน

    ปัจจุบัน มหาอำนาจใหญ่ของโลก 2 รายนี้ กำลังปีนเกลียวกันเรื่องที่จีนอ้างสิทธิอธิปไตยเหนือทะเลจีนใต้เกือบทั้งหมด ขณะที่อเมริกาย้ำเรียกร้องให้ปักกิ่งยุติการสร้างเกาะเทียมในบริเวณดังกล่าว

    รัสเซลกล่าวว่า ความเคลื่อนไหวของปักกิ่งสร้างปัญหาไม่ใช่เฉพาะสำหรับวอชิงตัน แต่รวมถึงหลายประเทศในภูมิภาค และว่า แนวโน้มการทำให้อาณาบริเวณนี้กลายเป็นพื้นที่ทางทหารมากขึ้นเรื่อยๆ นั้น ขัดแย้งกับเป้าหมายในการลดความตึงเครียด

    [​IMG]
    @ผู้เข้าร่วมการหารือทางยุทธศาสตร์และเศรษฐกิจสหรัฐฯ-จีนประจำปี 2015 ที่กรุงวอชิงตัน วันอังคาร (23 มิ.ย.) ยังคงเป็นคนหน้าเดิมเหมือนเมื่อ 2 ปีก่อน ดังภาพจากแฟ้มซึ่งถ่ายไว้เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2013 นี้ ได้แก่ (จากซ้ายไปขวา) หยาง เจียฉือ มนตรีแห่งรัฐของจีน, รัฐมนตรีต่างประเทศ จอห์น เคร์รี ของสหรัฐฯ, หวัง หยาง รองนายกรัฐมนตรีของจีน , และรัฐมนตรีคลัง แจ็ค ลูว์ ของสหรัฐฯ

    ประเด็นปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่งซึ่งสองประเทศบาดหมางกันอยู่ ได้แก่การที่สหรัฐฯกล่าวหาจีนกระทำจารกรรมทางไซเบอร์ โดยที่ปักกิ่งประกาศระงับการดำเนินงานของคณะทำงานทวิภาคีว่าด้วยไซเบอร์สเปซไปเลยเมื่อปีที่แล้ว หลังจากวอชิงตันยื่นฟ้องร้องนายทหารจีน 5 คนต่อศาลในสหรัฐฯ ด้วยข้อหาว่าแฮกระบบคอมพิวเตอร์ในอเมริกาเพื่อโจรกรรมทรัพย์สินทางปัญญาและความลับต่างๆ ของรัฐบาลสหรัฐฯ

    กระนั้น ทั้งสองชาติตระหนักดีว่า จำเป็นต้องร่วมมือกันในด้านนี้ ดังที่เจ้าหน้าที่กระทรวงคลังของอเมริกาคนหนึ่งกล่าวกับเอเอฟพีว่า วอชิงตันและปักกิ่งจะหารือประเด็นนี้อย่างจริงจัง

    ทางฝ่ายแดนมังกรนั้น ดูเหมือนสื่อของรัฐบาลจีนมองการณ์แง่ดีต่อการประชุมระดับสูงประจำปีซึ่งครั้งนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 7 แล้ว รวมทั้งยังมีขึ้นก่อนที่ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง จะเดินทางเยือนวอชิงตันอย่างเป็นรัฐพิธี ในเดือนกันยายนที่จะถึง

    ไชน่าเดลี่ ระบุว่า หลังจากห้ำหั่นทางการทูตมาหลายเดือนเกี่ยวกับสถานการณ์ในทะเลจีนใต้ แต่ดูเหมือนสัมพันธ์จีน-สหรัฐฯ มีแนวโน้มอบอุ่นขึ้นจากหลายๆ กิจกรรมสำคัญก่อนถึงการเจรจาซัมมิตของผู้นำสองประเทศ

    หนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษของทางการจีนฉบับนี้ ยังอ้างอิงคำพูดของหวัง อี้เว่ย ศาสตราจารย์ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของมหาวิทยาลัยเหรินหมิน ในกรุงปักกิ่งที่ว่า วอชิงตันเข้าใจดีถึงผลต่อเนื่องที่จะเกิดขึ้นจากการเผชิญหน้ากับจีน ดังนั้น ในการหารือครั้งนี้จึงไม่มีวาระที่จะขัดแย้งกัน อย่างไรก็ดี อเมริกาอาจวิจารณ์จีนเรื่องทะเลจีนใต้พอหอมปากหอมคอเพื่อแสดงพลังและความมุ่งมั่นผูกพันที่มีต่อพวกพันธมิตรของตนในเอเชีย


    ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน มีกำหนดเดินทางไปเยือนสหรัฐฯอย่างเป็นรัฐพิธี ในเดือนกันยายนปีนี้

    คาดหมายกันว่าประเด็นปัญหาสำคัญอื่นๆ ที่ทั้งสองฝ่ายจะหยิบยกขึ้นมาหารือกัน จะเป็นรื่องเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเรื่องที่จีนริเริ่มจัดตั้ง ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย (เอไอไอบี) ขึ้นมาและวอชิงตันยังแสดงท่าทีไม่เล่นด้วย ส่วนอีกเรื่องหนึ่งได้แก่เรื่องที่จะรับเงินหยวนเข้าไว้ในตะกร้าสกุลเงินอ้างอิงของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) หรือไม่

    วอชิงตันนั้นกล่าวมาตลอดว่า ทางการจีนปรุงแต่งค่าเงินหยวนให้ต่ำเกินจริง ทว่า ปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ไอเอ็มเอฟกลับประกาศว่า เวลานี้มูลค่าเงินตราของจีนไม่ได้ต่ำเกินจริงแล้ว

    ความแตกต่างเช่นนี้ “ไม่จำเป็นว่าจะต้องทำให้การสนทนาคราวนี้มีอันมืดมน” แอดัม โปโซน ประธานของสถาบันปิเตร์สันเพื่อเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ ในกรุงวอชิงตันกล่าว พร้อมกับระบุว่า การเจรจาจะยังคงเป็นการหารือ “แบบมืออาชีพ”

    เช่นเดียวกับ เดวิด ดอลลาร์ ผู้เชี่ยวชาญของสถาบันบรูคกิงส์ ที่ทำนายว่า ความสัมพันธ์ที่เย็นชาจากประเด็นปัญหาด้านความมั่นคง จะไม่ลุกลามไปปั่นป่วนประเด็นทางเศรษฐกิจ แต่ทั้งสองฝ่ายกลับมีเหตุผลความจำเป็นที่จะต้องพยายามสร้างความคืบหน้าในประเด็นทางเศรษฐกิจระดับทวิภาคีด้วยซ้ำ

    อีกหนึ่งในประเด็นปัญหาสำคัญที่สองชาติจำเป็นต้องร่วมมือกันคือ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ โดยที่สหประชาชาติจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมใหญ่ปลายปีนี้ที่กรุงปารีส เพื่อกำหนดเป้าหมายใหม่ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

    อย่างไรก็ตาม ปักกิ่งกำลังกังวลว่าขณะนี้ประธานาธิบดีบารัค โอบามา สามารถทำอะไรได้มากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อได้เห็นโอบามายังไม่สามารถผลักดันให้รัฐสภาอเมริกันยอมออกกฎหมายให้อำนาจการเจรจาแบบ “ฟาสต์ แทร็ก” แก่ฝ่ายบริหาร ทั้งๆ ที่มันจะเป็นการแผ้วถางทางให้แก่การทำข้อกลงการค้าภูมิภาคแปซิฟิก ซึ่งเมื่อมองในแง่ภูมิรัฐศาสตร์แล้ว เห็นกันว่าจะเป็นผลประโยชน์เต็มๆ ของสหรัฐฯ

    http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000070152
     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    'เอเธนส์'ยันยื่นข้อเสนอให้'เจ้าหนี้' ก่อนประชุมซัมมิตฉุกเฉินยูโรโซนวันจันทร์
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 21 มิถุนายน 2558 22:35 น.

    [​IMG]
    @ประชาชนพากันถอนเงินออกจากเครื่องเอทีเอ็ม ที่บริเวณใจกลางกรุงเอเธนส์ เมื่อวันศุกร์ (19 มิ.ย.) ขณะที่ขอทานคนหนึ่งนอนอยู่บนฟุตบาท การที่กรีซอาจผิดนัดชำระหนี้ และกระทั่งต้องออกจากยูโรโซน ซึ่งจะทำให้ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) เลิกปล่อยเงินทุนฉุกเฉินหนุนหลังพวกธนาคารในกรีซ ทำให้เกิดกระแสหวาดวิตกเกี่ยวกับฐานะของแบงก์ในประเทศนี้

    เอเจนซีส์ – เอเธนส์ยืนยันวันอาทิตย์ (21 มิ.ย.) ยื่นข้อเสนอใหม่ให้เจ้าหนี้เพื่อปลดล็อกเงินกู้งวดสุดท้าย ก่อนการประชุมสุดยอดยูโรโซนในวันจันทร์ (22) แต่ยังยืนกรานต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัด ถึงแม้กำลังถังแตกไม่มีเงินชำระหนี้ซึ่งถึงกำหนดสิ้นเดือนนี้ รวมทั้งทำท่าอาจต้องใช้มาตรการควบคุมเงินทุนภายในไม่กี่วันข้างหน้า หลังจากประชาชนแห่ถอนเงินวันละหลายพันล้านยูโร

    ถึงแม้รัฐบาลกรีซยืนกรานต่อต้านการใช้มาตรการลดบำนาญและการขึ้นภาษี อย่างที่กำลังถูกบีบคั้นจากทางเจ้าหนี้ต่างประเทศ ซึ่งประกอบด้วยสหภาพยุโรป (อียู), ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) แต่บรรดาผู้นำในรัฐบาลเอเธนส์ต่างสลับสับเปลี่ยนออกมายืนยันว่า จะสามารถบรรลุข้อตกลงเพื่อรับเงินกู้งวดสุดท้าย 7,200 ล้านยูโรได้สำเร็จ

    ตรงข้ามกับเหล่าผู้นำยุโรปที่เริ่มหมดความอดทนมากขึ้น หลังเจรจามานานหลายเดือนโดยไม่ได้คำตอบที่ชัดเจนจากกรีซทั้งในเรื่องการตัดลดงบประมาณและการปฏิรูปเศรษฐกิจ กระทั่งผู้นำบางคนเริ่มพูดถึงอย่างเปิดเผยเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่กรีซจะเป็นชาติแรกที่ออกจากยูโรโซน

    ในวันเสาร์ (20) ยานิส วารูฟากิส รัฐมนตรีคลังกรีซ เขียนบทความในลงในหนังสือพิมพ์ชั้นนำของเยอรมนี ให้สัญญาว่า เอเธนส์เตรียมพร้อมประนีประนอมกับเจ้าหนี้ ตราบเท่าที่จะไม่ถูกบังคับให้ต้องรับเงื่อนไขที่ทำให้กรีซหมดหวังในการชำระหนี้ เหมือนที่รัฐบาลชุดก่อนๆ เคยเจอมา

    การต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัดของกรีซได้รับการสนับสนุนจากทั่วยุโรป โดยในวันเดียวกันนั้น โดยมีรายงานว่า มีผู้ออกมาชุมนุมประท้วงมาตรการนี้นับหมื่น ทั้งในลอนดอน เบอร์ลิน และปารีส

    วารูฟากิสสำทับว่า นายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิลของเยอรมนี ต้องตัดสินใจเด็ดขาดว่า จะยอมรับข้อตกลงของเอเธนส์หรือไม่

    [​IMG]
    @รัฐมนตรีคลัง ยานิส วารูฟากิส ของกรีซ เดินทางมาถึงสำนักนายกรัฐมนตรีในกรุงเอเธนส์เมื่อวันอาทิตย์ (21 มิ.ย.) ด้วยรถจักรยานยนต์คันเก่งของเขา เพื่อเข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรี ก่อนที่จะมีการประชุมฉุกเฉินผู้นำยูโรโซนในวันจันทร์ (22) เพื่อพิจารณาเรื่องวิกฤตหนี้สินกรีซ

    ทางด้านนายกรัฐมนตรีอเล็กซิส ซีปราสของกรีซ เมื่อวันเสาร์ได้หารือกับทีมที่จะเดินทางไปเจรจากับเจ้าหนี้ ก่อนประชุมคณะรัฐมนตรีของเขาในวันอาทิตย์ (21) นอกจากนี้ ยังเป็นที่คาดว่า ซีปราส ได้หารือทางโทรศัพท์กับฌอง-โคลด จุงเกอร์ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรปในช่วงสุดสัปดาห์ เพื่อพยายามผ่าทางตันก่อนถึงการประชุมฉุกเฉินผู้นำยูโรโซนในวันจันทร์ (22) ที่กรุงบรัสเซลส์

    ขณะเดียวกัน เจอโรน ดิจเซลโบลม รัฐมนตรีคลังเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นประธานของที่ประชุมรัฐมนตรีคลังยูโรโซน หรือที่เรียกกันว่า “ยูโรกรุ๊ป” ได้ออกมาประกาศเลื่อนการประชุมในวันจันทร์ให้เร็วขึ้น 2 ชั่วโมงครึ่ง เป็นช่วงเที่ยงครึ่งตามเวลาท้องถิ่นของบรัสเซลส์ ขณะที่การประชุมสุดยอดนั้นจะเริ่มต้นเวลา 19.00 น.

    รัฐมนตรีหลายคนของยุโรปไม่คิดว่า จะมีข้อตกลงสุดท้ายกันได้ในวันจันทร์ แต่อาจบรรลุความเข้าใจทางการเมืองเพื่อปูทางสู่ข้อตกลงที่สมบูรณ์ภายในสิ้นเดือนนี้

    กรีซนั้นต้องการเงินกู้เพื่อนำไปชำระหนี้ไอเอ็มเอฟ 1,600 ล้านยูโรในวันที่ 30 เดือนนี้ ซึ่งหากไม่สามารถทำได้ ก็มีความเสี่ยงว่าจะยังได้รับการสนับสนุนจากอีซีบี รวมถึงจะยังคงอยู่ในยูโรโซน ได้ต่อไปหรือไม่ ทั้งนี้อีซีบีเป็นผู้ที่คอยให้เงินทุนสนับสนุนค้ำจุนฐานะของพวกธนาคารกรีซอยู่

    จากแนวโน้มดังกล่าว จึงกำลังกดดันให้ชาวกรีซแห่ถอนเงินออกจากแบงก์ ส่งผลให้เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว (19) อีซีบีต้องเพิ่มทุนสำรองสภาพคล่องฉุกเฉินที่ปล่อยให้พวกธนาคารกรีซเป็นครั้งที่ 2 ในรอบสัปดาห์ และมีแนวโน้มว่า หากปราศจากความคืบหน้าในการประชุมสุดยอดวันจันทร์ กรีซอาจต้องประกาศใช้มาตรการควบคุมเงินทุน

    [​IMG]
    @ประชาชนในหลายประเทศยุโรป เข้าร่วมการชุมนุมเดินขบวนเมื่อวันเสาร์ (20 มิ.ย.) ซึ่งจัดขึ้นโดยสมาคม สหภาพแรงงาน และนักการเมืองฝ่ายซ้าย เพื่อแสดงการสนับสนุนการรับผู้อพยพ และการต่อสู้ของประชาชนชาวกรีกที่ต้องลำบากจากมาตรการรัดเข็มขัดซึ่งพวกเจ้าหนี้กำหนดเงื่อนไขมา ในภาพนี้เป็นบรรยากาศการชุมนุมเช่นนี้ที่กรุงปารีส, ฝรั่งเศส

    อีวัลด์ โนวอตนีย์ ผู้ว่าการธนาคารกลางออสเตรียและสมาชิกคณะมนตรีบริหารของอีซีบี เผยว่า หากกรีซผิดนัดชำระหนี้จะถือเป็นการล้มละลายทางเทคนิค อันนำมาซึ่งความปั่นป่วนวุ่นวายทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมือง และไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากการออกจากยูโรโซนและกลับไปใช้เงินสกุลแดรกมา

    ทางด้าน แจ็ค ลูว์ รัฐมนตรีคลังอเมริกา ตอกย้ำความกังวลของนานาชาติเกี่ยวกับผลกระทบจากการออกจากยูโรโซนของกรีซ โดยกล่าวว่า ขณะนี้ ขึ้นอยู่กับเอเธนส์ในการยอมประนีประนอมกับเจ้าหนี้

    อย่างไรก็ดี ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่า ซีปราส ผู้นำพรรคฝ่ายซ้ายไซริซา ที่ชนะการเลือกตั้งในเดือนมกราคมจากการให้สัญญานำกรีซออกจากมาตรการรัดเข็มขัด จะยินดีประนีประนอมหรือไม่

    ทั้งนี้ ภายใต้มาตรการรัดเข็มขัดของไอเอ็มเอฟ อียู และอีซีบี แลกกับแพกเกจเงินกู้ช่วยเหลือรวม 2 รอบ เศรษฐกิจกรีซร่วงลง 25% ค่าแรงและบำนาญถูกตัด ประชาชน 1 ใน 4 ตกงาน

    กระนั้น ชาวกรีซส่วนใหญ่ยังต้องการอยู่ในยูโรโซน โดยผลสำรวจที่เผยแพร่ออกมาเมื่อวันอาทิตย์ (21) ระบุว่า ประชาชน 62% เชื่อว่า การกลับไปใช้เงินแดรกมา จะทำให้สถานการณ์ของกรีซเลวร้ายลง มีเพียง 22% เห็นควรออกจากระบบเงินตรายูโร

    ขณะเดียวกัน SETE สมาคมการท่องเที่ยวกรีซให้สัมภาษณ์นิตยสารออนไลน์ฉบับหนึ่งของเยอรมนีว่า การออกจากยูโรโซนจะทำให้กรีซกลับไปสู่ระดับประเทศกำลังพัฒนา



    http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000070148
     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    [​IMG]

    รัฐมนตรีทุกประเทศทั่วโลกน่าจะเอาอย่างน่ะครับ รูป รัฐมนตรีคลัง ยานิส วารูฟากิส ของกรีซ เดินทางมาถึงสำนักนายกรัฐมนตรีในกรุงเอเธนส์เมื่อวันอาทิตย์ (21 มิ.ย.) ด้วยรถจักรยานยนต์คันเก่งของเขา เพื่อเข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรี ก่อนที่จะมีการประชุมฉุกเฉินผู้นำยูโรโซนในวันจันทร์ (22) เพื่อพิจารณาเรื่องวิกฤตหนี้สินกรีซ ภาพจาก'
     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ยอดตาย “คลื่นความร้อน” ในปากีสถานพุ่งอย่างน้อย 122 ศพ-ชาวบ้านโวยเจอ “ไฟดับ” ซ้ำ โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 22 มิถุนายน 2558 08:15 น.

    [​IMG]

    เอเอฟพี – วิกฤตคลื่นความร้อนที่กำลังคุกคามปากีสถานได้คร่าชีวิตประชาชนไปแล้วอย่างน้อย 122 รายที่นครการาจี เมืองใหญ่ที่สุดของประเทศ และอีก 3 เขตในจังหวัดสินธ์ (Sindh) เจ้าหน้าที่สาธารณสุขปากีสถานแถลงวานนี้ (21 มิ.ย.)

    ซาอีด มังเนโจ เลขาธิการสาธารณสุขประจำจังหวัดสินธ์ เปิดเผยว่า “ตั้งแต่วันเสาร์เป็นต้นมา เราพบผู้เสียชีวิตในเมืองการาจีรวม 114 คน และอีก 8 คนใน 3 เขตของจังหวัดสินธ์ เนื่องจากสภาพอากาศร้อนจัด”

    ทางจังหวัดได้ประกาศภาวะฉุกเฉินตามโรงพยาบาลทุกแห่ง โดยมีคำสั่งห้ามแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขลาหยุดในช่วงนี้ รวมถึงให้มีการกักตุนยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์เพิ่มขึ้น

    เมื่อวันเสาร์ (20) อุณหภูมิที่เมืองท่าการาจีทางตอนใต้ของปากีสถานพุ่งสูงถึง 45 องศาเซลเซียส ใกล้แตะสถิติสูงสุด 47 องศาเซลเซียสที่เคยวัดได้เมื่อเดือนมิถุนายน ปี 1979

    ดร.ซีมิน ญามาลี หัวหน้าแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลจินนาห์ ระบุว่า เฉพาะที่โรงพยาบาลของเธอมีผู้ป่วยเสียชีวิตจากอากาศร้อนมากกว่า 100 ร้อนคนแล้ว

    “ทุกรายเสียชีวิตเพราะเป็นลมแดด (heat stroke)” เธอกล่าว

    สำนักงานอุตุนิยมวิทยาปากีสถานรายงานว่า อุณหภูมิจะเริ่มลดลงในอีก 2-3 วันข้างหน้า แต่แพทย์ยังคงเตือนให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการออกไปสัมผัสแสงแดดโดยตรงในเวลากลางวัน และให้สวมเสื้อผ้าฝ้ายที่อากาศถ่ายเทสะดวก

    ปัญหาไฟฟ้าดับที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งยิ่งทำให้ประชาชนเดือดร้อนหนักขึ้น จนเกิดการชุมนุมประท้วงขึ้นหลายจุดในเมืองการาจีซึ่งมีประชากรหนาแน่นถึง 20 ล้านคน

    โรงจ่ายน้ำของรัฐบาลระบุว่า ไฟฟ้าขัดข้องส่งผลให้การจ่ายน้ำหลายล้านแกลลอนออกสู่ครัวเรือนต้องหยุดชะงัก

    นายกรัฐมนตรี นาวาซ ชารีฟ แห่งปากีสถาน ฝากเตือนไปยังบริษัทผู้ผลิตไฟฟ้าว่า ตนจะไม่อดทนกับปัญหาไฟฟ้าดับในช่วงเดือนรอมฎอน ซึ่งเป็นเดือนที่ชาวมุสลิมมีการถือศีลอ ขณะที่มหาวิทยาลัยการาจีได้ประกาศเลื่อนการสอบออกไปอย่างน้อย 1 เดือน เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนจัดเกินไป

    มูลนิธิ เอธี เวลแฟร์ ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลใหญ่ที่สุดในปากีสถาน ระบุว่า ห้องเก็บศพของมูลนิธิเริ่มจะแออัด เนื่องจากมีคนเสียชีวิตจากอากาศร้อนและสาเหตุอื่นๆ เป็นจำนวนมาก โดยขณะนี้มีศพถูกเก็บไว้ที่มูลนิธิมากถึง 150 ศพแล้ว

    “เราจำเป็นต้องฝังศพ 30 ร่างที่ยังไม่มีญาติมารับ เพื่อให้มีที่เหลือพอรองรับศพใหม่ๆ ได้” อันวาร์ กัซมี เจ้าหน้าที่มูลนิธิ ให้สัมภาษณ์กับเอเอฟพี

    http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000070190
     

แชร์หน้านี้

Loading...