ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    จะว่ากันไปเศรษฐกิจในประเทศกลุ่มยูโรที่ล่มสลาย สาเหตุหนึ่งก็อาจมาจากการเปิด ยูโรโซน น่ะครับ เพราะประเทศแต่ละประเทศในกลุ่มยูโรมีฐานะทางการเงินไม่เท่ากัน พอไปรวมกลุ่มยูโร โดยให้มีสกุลเงินกลาง และมีEuropean Central Bank เป็นผู้เข้ามาทำหน้าที่เกี่ยวกับนโยบายทางการเงินแทน ดูเหมือนประเทศต่างๆ ในยูโรเป็นรัฐต่างในประเทศหนึ่งเลยไหมครับ พวกเขาก็เลยสนุกไปเลยกินเที่ยวไปตามประเทศต่างๆ ในกลุ่ม เหมือนว่าไปเที่ยวในรัฐๆ หนึ่ีงของประเทศเขาได้สะดวกสบายไปเลย แต่อย่าลืมว่างบประมาณ และหนี้สินของพวกเขาแยกกันน่ะครับ พอกินเที่ยวสนุก แต่ไปสนุกในประเทศที่มีค่าครองชีพสูง และก็อยากให้ชีวิตความเป็นอยู่เหมือนในประเทศอื่นๆ ในกลุ่ม ประเทศก็ต้องไปกู้หนี้ยืมสินมา พวกเขาคงลืมไปว่าถึงค่าเงินเท่ากัน แต่ค่าครองชีพต่างกัน และพวกเขาก็เป็นประเทศคนละประเทศกัน การไปใช้ชีวิตแบบประเทศที่ค่าครองชีพสูงๆ ประเทศที่มีค่าครองชีพต่ำๆ พวกเขาก็ต้องไปกู้เงินจากประเทศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดี (มีค่าครองชีพสูง) พอนานวันเข้าประเทศเหล่านั้นก็มีแต่จะมีหนี้สินมากมาย เหมือนกับคำว่าหนี้สินท่วมตัว

    ยูโรโซน จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    [​IMG]

    ยูโรโซน หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า พื้นที่ยูโร[1] เป็นสหภาพเศรษฐกิจและการเงิน ประกอบด้วยรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป 19 รัฐ (ณ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558) ซึ่งใช้เงินสกุลยูโรเป็นสกุลเงินร่วม และเป็นเงินสกุลเดียวที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ยูโรโซนปัจจุบันประกอบด้วยออสเตรีย เบลเยียม ไซปรัส เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลิทัวเนีย ลักเซมเบิร์ก ลัตเวีย มอลตา เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส สโลวาเกีย สโลวีเนีย และสเปน รัฐสหภาพยุโรปอื่นส่วนใหญ่ถูกผูกมัดให้เข้าร่วมเมื่อรัฐนั้นผ่านเกณฑ์การเข้าร่วม ไม่มีรัฐใดออกจากกลุ่มและไม่มีข้อกำหนดในการออกหรือขับสมาชิกออก

    นโยบายการเงินของโซนเป็นความรับผิดชอบของธนาคารกลางยุโรป ซึ่งควบคุมโดยประธานและคณะกรรมการหัวหน้าธนาคารกลางแห่งชาติ งานหลักของธนาคารกลางยุโรปคือ รักษาเงินเฟ้อให้อยู่ภายใต้การควบคุมแม้ไม่มีการเป็นผู้แทนร่วม วิธีการปกครองหรือนโยบายการคลังของสหภาพการเงิน มีการร่วมมือเกิดขึ้นบ้างผ่านกลุ่มยูโร ซึ่งดำเนินการตัดสินใจทางการเมืองเกี่ยวข้องกับยูโรโซนและสกุลเงินยูโร กลุ่มยูโรประกอบด้วยรัฐมนตรีคลังของรัฐสมาชิกยูโรโซน อย่างไรก็ดี ในสถานการณ์ฉุกเฉิน ผู้นำแห่งชาติอาจตั้งกลุ่มยูโรได้เช่นกัน

    นับแต่วิกฤตการณ์การเงินปลายปี พ.ศ. 2543 ยูโรโซนได้ตั้งและใช้ข้อกำหนดสำหรับการให้เงินกู้ยืมฉุกเฉินแก่รัฐสมาชิกโดยแลกกับการตรากฎหมายปฏิรูปเศรษฐกิจ ยูโรโซนยังบัญญัติการบูรณาการการคลังบ้าง ตัวอย่างเช่น ในการกลั่นกรองงบประมาณแห่งชาติของประเทศอื่น ปัญหานี้เกี่ยวกับการเมืองอย่างสูงและในสภาพการไหลจนถึง พ.ศ. 2554 ในแง่ของข้อกำหนดเพิ่มเติมจะมีการตกลงสำหรับการปฏิรูปยูโรโซน

    ในโอกาสที่ยูโรโซนขยายไปครอบคลุมสมาชิกที่ไม่ได้อยู่ในสหภาพยุโรป แต่ใช้เงินยูโรเป็นสกุลเงินทางการ บางประเทศเหล่านี้ อย่างซานมารีโน ได้สรุปความตกลงอย่างเป็นทางการกับสหภาพยุโรปในการใช้สกุลเงินและผลิตเหรียญกษาปณ์ของตนเอง[2] ประเทศอื่น เช่น คอซอวอและมอนเตเนโกร รับเงินยูโรฝ่ายเดียว อย่างไรก็ดี ประเทศเหล่านี้มิได้นับรวมเป็นส่วนหนึ่งของยูโรโซนอย่างเป็นทางการ และไม่มีผู้แทนในธนาคารกลางยุโรปหรือกลุ่มยูโร

    https://th.wikipedia.org/wiki/ยูโรโซน
     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ข้อดีและข้อเสียของ European Union (EU): ผลกระทบต่อกรีซ
    วันศุกร์, พฤษภาคม 21, 2553 RISK TAKER

    [​IMG]

    ถ้าคุณลองขับรถเป็นระยะทาง5,000กิโลเมตร จากนิวยอร์กไปยัง ซาน ฟรานซิสโก คุณจะพบว่า คุณไม่ต้องเปลี่ยนสกุลเงินเลยแม้แต่ครั้งเดียว
    ในรัฐทั้งหมด50รัฐของสหรัฐอเมริกา ทุกๆคนยินดีที่จะรับเงินดอลล่าร์เมื่อต้องทำการซื้อขายสินค้าต่างๆ ถ้าจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพก็คือว่า อัตราการแลกเปลี่ยนระหว่างนิวยอร์ก ดอลล่าร์ และซาน ฟรานซิสโก ดอลล่าร์ ถูกกำหนดไว้ให้มีมูลค่าเท่ากัน คือเท่ากับยูเอส ดอลล่าร์
    อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณลองเดินทางเป็นระยะทาง5,000กิโลทั่วทวีปยุโรปในช่วงปี1990s คุณจะพบว่าคุณจะต้องคอยเปลี่ยนเงินสกุลเงินอยู่บ่อยๆ โดยจะต้องเปลี่ยนจากเงินฟรังส์ของฝรั่งเศส เป็นมาร์คของเยอรมัน เป็นกิลเดอร์ ของเนเธอร์แลนด์ เพเซตาของสเปน และไลร่าของอิตาลี
    การที่ทวีปยุโรปมีสกุลเงินจำนวนมาก ทำให้การท่องเที่ยว และการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศนั้นค่อนข้างจะยากลำบาก เพราะนอกจากความไม่สะดวกที่จะต้องคอยเข้าคิวเพื่อเปลี่ยนสกุลเงินแล้ว คุณจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมทุกๆครั้งสำหรับการบริการดังกล่าว และถ้าเป็นการซื้อขายระหว่างประเทศ ผู้ซื้อและผู้ขายก็จะต้องแบกรับความเสี่ยงจากความผันผวนในค่าเงิน
    แต่ว่าสถานการณ์ทุกวันนี้ในยุโรปเปลี่ยนไป และคล้ายๆกับของสหรัฐมากขึ้น ประเทศในทวีปยุโรปหลายๆประเทศยอมทิ้งสกุลเงินของตนเองและจัดตั้งสหภาพทางการเงินและการปกครองขึ้น โดยใช้สกุลเงินร่วมกันที่ชื่อว่า ยูโร ซึ่งทำหน้าที่เหมือนยูเอส ดอลล่าร์ในสหรัฐอเมริกานั้นเอง
    เพราะฉะนั้น ในปัจจุบัน อัตราการแลกเปลี่ยนระหว่างค่าเงินในฝรั่งเศสและเยอรมัน ก็ถูกกำหนดให้มีค่าเท่ากัน เหมือนกับที่เกิดขึ้นในนิวยอร์กกับ ซาน ฟราซิสโก
    ถึงแม้การใช้สกุลเงินร่วมกันจะทำให้มีการท่องเที่ยว การซื้อขายระหว่างประเทศมากขึ้น ระบบนี้ก็มีข้อเสียอยู่หลายอย่าง ข้อเสียที่ส่งผลกระทบชัดเจนที่สุดคือ ประเทศต่างๆในยูโรโซนจะไม่สามารถควบคุมนโยบายทางการเงินด้วยตัวเองได้อีกต่อไป ซึ่งEuropean Central Bankจะเป็นผู้เข้ามาทำหน้าที่เกี่ยวกับนโยบายทางการเงินแทน
    ด้วยความร่วมมือของประเทศสมาชิก ECBจะจัดตั้งนโยบายทางการเงินเพียงรูปแบบเดียว สำหรับประเทศสมาชิกทั่วยุโรป
    ผู้ไม่เห็นด้วยกับสหภาพทางการเงินกล่าววว่า ความเสียหายที่เกิดจาก การสูญเสียการควบคุมนโยบายทางการเงินของแต่ละประเทศ มีมูลค่าสูงมาก เพราะเมื่อมีวิกฤตเศรษฐกิจเกิดขึ้นกับประเทศใดประเทศหนึ่งในกลุ่มEU ประเทศนั้นจะไม่สามารถใช้นโยบายทางการเงิน เช่นการอัดชีดเงินเพื่อลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อต่อสู้กับสภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจด้วยตนเองได้
    การใช้สกุลเงินยูโรร่วมกัน ทำให้ประเทศผู้ยืมและประเทศผู้ให้ยืมไม่ต้องกังวลเรื่องค่าเงินที่เปลี่ยนแปลง การปล่อยสินเชื่อจึงง่ายดายเหมือนกับการกู้ยืมกันระหว่างรัฐในอเมริกา ซึ่งสิ่งนีก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย
    ข้อดี คือ ความเสี่ยงต่อผู้ยืมและผู้ให้ยืมในด้านของการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนนั้นมีน้อยลง แต่ข้อเสียคือ การกู้ยืมที่ทำได้ง่ายขึ้นกระตุ้นให้ประเทศในกลุ่มPIIGSสร้างกองหนี้สาธารณะอันมหาศาลเกินกว่าประเทศของตนจะจ่ายคืนไหว
    ข้อเสียต่อมาคือ ความแข็งและมั่นคงสกุลเงินของยูโรสะท้อนสภาพเศรษฐกิจของกลุ่มEUไม่ใช่ประเทศใดประเทศหนึ่งในกลุ่มEU เพราะฉะนั้น เวลามีประเทศใดประเทศหนึ่งในกลุ่มสมาชิกเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจ ค่าเงินยูโรจะอ่อนลงเพียงเล็กน้อย เพราะความแข็งตัวของค่าเงินดังกล่าวยังมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศอื่นๆของกลุ่มEUมาหนุนอยู่
    ตัวอย่าง
    ในปี1997 ประเทศไทยกลายเป็นแหล่งกำเนิดของวิกฤตเศรษฐกิจของเอเชียที่ชื่อว่าวิกฤตต้มยำกุ้ง นักลงทุนเกิดอาการหวาดกลัวพากันเทขายเงินบาท จนแบงค์ชาติรับซื้อเงินบาทไม่ไหวจึงตัดสินใจปล่อยให้เงินบาทลอยตัว จากที่เคยกำหนดไว้ว่า 1ดอลล่าร์ = 25บาท กลายเป็น 1ดอลล่าร์ = 50บาท ภายในไม่กี่วัน สรุปคือ หลังจากปล่อยเงินบาทลอยตัว ค่าเงินบาทสูญเสียมูลค่าไปสูงสุดถึง100% แล้วจึงค่อยๆปรับตัวลงมาอย่างช้าๆ ความอ่อนตัวของเงินบาท เป็นตัวกระตุ้นการส่งออกของไทย และทำให้เศรษฐกิจของประเทศฟื้นตัวได้ค่อนข้างเร็ว
    ในช่วงปลายปี2009 คนเริ่มพูดถึงหนี้สาธารณะอันมหาศาลของกรีซและประเทศกลุ่มPIIGS ทำให้นักลงทุนทยอยกันขายยูโรกันมาเรื่อยๆ จากจุดที่แข็งตัวที่สุดของยูโรในปี2009มาถึงจุดที่อ่อนตัวที่สุดเมื่อวันที่19พฤษภาคม2010 ค่าเงินยูโรอ่อนตัวลงเพียง19%เมื่อเทียบกับดอลล่าร์สหรัฐ ผลก็คือ กรีซไม่สามารถพึ่งการส่งออกให้ช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจได้มากนัก
    ถ้ากรีซไม่ได้ใช้ยูโร และยังใช้สกุลเงินของตนเอง สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับกรีซก็จะคล้ายๆกับที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย คือค่าเงินอ่อนตัวลงอย่างมาก ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้การส่งออกดีขึ้นอย่างชัดเจน
    ข้อเสียสุดท้าย เกี่ยวกับการใช้ค่าเงินร่วมกันก็คือ ถึงแม้ยูโรจะอ่อนค่าลงขนาดไหนก็ตาม การส่งออกของกรีซก็อาจจะไม่ได้มากขึ้นเสมอไป เพราะการที่ยูโรอ่อนค่าลงนั้นหมายถึง สินค้าส่งออกของประเทศกลุ่มสมาชิกEUทุกๆประเทศมีราคาถูกลง ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศในEUอย่างเยอรมัน และฝรั่งเศสซึ่งผลิตสินค้าส่งออกที่มีคุณภาพมากกว่ากรีซ มีความสามารถในการแข่งขัน(competitive advantage)ในตลาดโลกเพิ่มขึ้นด้วย ผลก็คือ ยูโรที่อ่อนตัวลงอาจจะทำให้คนซื้อของจากเยอรมันและฝรั่งเศสเพิ่มขึ้น และไม่ได้ช่วยทำให้กรีซดีขึ้นเลย
    ข้อเสียที่กล่าวมาทั้งหมดของสหภาพทางการเงิน เป็นเพียงส่วนหนึ่งของสาเหตุที่EUและIMFจำเป็นที่จะต้องยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือกรีซ ส่วนสาเหตุอื่นๆนั้นมาจากประเทศกลุ่มPIIGSเอง ซึ่งเกิดจากรัฐบาลที่ขาดความรับผิดชอบทางการเงิน และโครงสร้างนโยบายทางเศรษฐกิจที่ทำให้ประเทศเหล่านี้มีต้นทุนการผลิตสูง ส่งผลให้แข่งขันกับต่างชาติไม่ได้
    บทความนี้เกิดจากการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงบทความcase study ในบทที่12ของหนังสือMacroeconomics; N. Gregory Mankiw
    Macroeconomics
    ข้อดีและข้อเสียของ European Union (EU): ผลกระทบต่อกรีซ ~ SETTALK
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ภาระหนี้อันมหาศาลของรัฐ ส่งผลต่อประชาชนอย่างไร?
    วันพฤหัสบดี, มิถุนายน 10, 2553 RISK TAKER

    [​IMG]

    การปล่อยให้หนี้ของประเทศมากเกินไป ย่อมเป็นการมอบภาระให้ชนชั้นรุ่นหลัง เพราะการที่เรากู้ยืมในตอนนี้ ลูกหลานของเราที่เกิดมาก็ต้องเอาเงินมารับผิดชอบการจ่ายหนี้ในอนาคต แทนที่จะได้นำไปจับจ่ายใช้สอยตามความต้องการของแต่ละบุคคล

    อย่างไรก็ตาม มีเหตุผลอยู่2-3ข้อที่สามารถอธิบายได้ว่า คนรุ่นนี้ก็เช่นกันที่จะต้องได้รับผลกระทบในแง่ลบจากกองหนี้ของประเทศของตน

    ถ้าผู้ออกนโยบายต่างๆในยุโรปและอเมริกา ไม่สามารถคิดหาวิธีแก้ปัญหาหนี้ของประเทศในระยะยาวได้ ปัญหาต่างๆมากมายก็ย่อมจะเกิดขึ้น

    การอ่อนตัวของอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ
    หลังจากที่ได้ตรวสอบและวิจัยข้อมูลของประเทศต่างๆ ในเวลาประมาณ200ปีที่ผ่านมา นักเศรษฐศาสตร์ Carmen Reinhart และ Kenneth Rogoff พบความเชื่อมโยงระหว่าง หนี้มหาศาล และการเติบโตที่ช้าลงของเศรษฐกิจ พูดให้ชัดเจนก็คือ เมื่อหนี้ทั้งหมดของรัฐ(Total Government Gross Debt)สูงถึง90%ของระบบเศรษฐกิจ(GDPหรือGNP) ประเทศนั้นๆจะสูญเสียตัวเลขอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไปประมาณ1%ต่อปี

    หนี้รัฐของสหรัฐอเมริกา ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่13ล้านล้านเหรียญสหรัฐ กำลังจะสูงถึง90%ของระบบเศรษฐกิจในปีนี้ (ตัวเลขเดียวกันนี้คือ83%ในปี2009) หนี้ของรัฐทั้งหมดประกอบไปด้วย เงินที่ยืมจากผู้ถือหุ้นกู้ของรัฐ และเงินที่กองทุนtrust fundsต่างๆให้รัฐกู้ยืม เช่น Social Security Trust Funds

    Reinhart กล่าวว่าความสัมพันธ์ระหว่างหนี้สูง และการเติบโตต่ำ เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดวงจรของปัญหาเรื้อรังที่นับวันจะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ

    อัตราการเติบโตต่ำ ทำให้รายได้จากภาษีประชาชนที่รัฐบาลเก็บได้น้อยลง รายได้ที่น้อยลงทำให้รัฐมีความจำเป็นที่จะต้องกู้ยืมมากขึ้น การกู้ยืมที่มากขึ้นทำให้หนี้ก่อตัวสูงขึ้น หนี้ที่สูงขึ้นจะเป็นตัวบีบบังคับให้รัฐบาลควบคุมความมั่นคงของรายได้และประหยัดค่าใช้จ่าย เพื่อไม่ให้นักลงทุนเสียความเชื่อมั่นในประเทศ แต่การใช้จ่ายที่น้อยลง และการขึ้นภาษีเพื่อรักษารายได้ของรัฐนั้น สามารถทำให้อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจต่ำลงได้

    เมื่อเกิดเป็นวงจรเช่นนี้ อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจจะน้อยลงเรื่อยๆหรือแม้กระทั่งติดลบ สิ่งนี้จะทำให้มีการจ้างงานน้อยลง ส่งผลต่อรายได้ของคนในประเทศในรุ่นปัจจุบันโดยตรง

    การจ่ายดอกเบี้ยแพง
    เหตุผลหนึ่งที่ทุกวันนี้อเมริกายังสามารถกู้ยืม ในราคาดอกเบี้ยที่ต่ำอยู่ก็คือ คนหนียุโรปมาลงทุนในอเมริกา แต่ในขณะเดียวกันสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ประเทศกลุ่มPIIGSนั้นเจอปัญหากับดอกเบี้ยที่สูงขึ้นอย่างมหาศาล

    ถึงแม้ สหรัฐอเมริกายังจ่ายอัตราดอกเบี้ยที่ค่อนข้างถูก แต่ในอนาคต ดอกเบี้ยจะขึ้นเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างชัดเจน ภายในปี2020 อเมริกาจะมีค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยในแต่ละปีเป็นจำนวนถึง1ล้านล้านดอลล่าร์ หรือเท่ากับ21%ของรายได้รัฐที่ประมาณการไว้ของปีนั้น

    อัตราดอกเบี้ยจะสูงยิ่งขึ้นไปอีก ถ้านักลงทุนสูญเสียความมั่นใจในความสามารถในการแก้ปัญหาหนี้ของสหรัฐ สิ่งที่เกิดขึ้นก็จะคล้ายกับ สิ่งที่กรีซและประเทศต่างๆในเขตยูโรกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน คือ นักลงทุนต่างพากันเทขายหุ้นกู้ในประเทศกรีซทั้งของภาครัฐและเอกชน ส่งผลให้ราคาหุ้นกู้(price of bonds)ตกอย่างมหาศาล และดอกเบี้ยของหุ้นกู้(yield)ซึ่งเปลี่ยนแปลงในทางตรงกันข้ามกับราคา ปรับตัวสูงสุดถึง38% ก่อนที่จะค่อยๆปรับตัวลงมา

    ผู้เชี่ยวชาญด้านหนี้ของประเทศหลายราย กล่าวว่า อาจจะดีกว่าด้วยซ้ำ ถ้าปล่อยให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น เพื่อเป็นการบีบให้รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหา ถึงแม้จะเป็นประสบการณ์ที่ไม่ดีนักสำหรับรัฐและประชาชน แต่ก็ยังดีกว่าปล่อยให้อัตราดอกเบี้ยต่ำไปนานๆ จนทำให้รัฐบาลละเลยที่จะแก้ปัญหา ส่งผลให้กองหนี้นั้นมากมายเกินกว่าจะควบคุมหรือจัดการได้


    เงินสนับสนุนจากรัฐบาลน้อยลง
    ยิ่งรัฐบาลมีก้อนหนี้มากเท่าไร ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยก็ต้องมากขึ้นตามสัดส่วน ซึ่งจะทำให้เงินที่เหลือไว้สำหรับ สิ่งก่อสร้างและบริการที่ประชาชนคาดหวังว่าจะได้รับจากรัฐ มีจำนวนน้อยลง

    ค่าใช้จ่ายของทุกๆอย่างตั้งแต่ การศึกษา การสาธารณูปโภค การสร้างถนนหนทาง อาจจะต้องลดน้อยลง ซึ่งนอกจากจะทำให้ประชาชนเดือดร้อนแล้ว ฬนระยะยาว การไม่ลงทุนในภาคส่วนเหล่านี้จะทำให้ประเทศมีความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกด้อยกว่าประเทศอื่น และอาจส่งผลให้ต่างชาติขาดความเชื่อมั่น ลังเลที่จะเข้ามาลงทุน

    นอกจากนี้ รัฐบาลจะมีความสามารถในการช่วยเหลือประชาชนได้น้อยลง เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินต่างๆเช่น การก่อการร้าย ภัยธรรมชาติ และวิกฤตเศรษฐกิจในอนาคต
    -------------

    การทิ้งปัญหานี้ไว้นานๆจนกองหนี้มันใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จะเป็นการบีบบังคบให้ตัวรัฐเองออกกฏหมายอย่างเข้มงวดและฉับพลันกว่าที่ การที่รัฐเริ่มแก้ปัญหาเสียตั้งแต่ตอนนี้ สิ่งนี้จะเป็นผลเสียกับรัฐเอง และประชาชน เพราะรัฐจะเสียความเชื่อมั่นจากนักลงทุนและผู้ปล่อยกู้ และประชาชนก็จะต้องเผชิญกับมาตรการที่กระทบกับระบบเศรษฐกิจและรายได้ของตน ประเทศกลุ่มPIIGSและอื่นๆในยุโรป คือตัวอย่างจากการที่รัฐบาลละเลยกับปัญหาหนี้

    ผู้เชี่ยวชาญหลายรายคาดว่า รัฐบาลของอเมริกาจะไม่แก้ปัญเรื่องหนี้ของประเทศตน จนกว่าจะโดนบีบบังคับจริงๆ เพราะว่าสองเหตุผลดังต่อไปนี้ 1. นักการเมืองมีความเห็นไม่ตรงกันเรื่องประโยชน์และโทษจากการลดหนี้ 2. การลดหนี้จะต้องประกอบไปด้วย การใช้มาตรการที่ไม่เป็นที่ชื่นชอบของประชาชน ซึ่งไม่มีนักการเมืองคนไหนอยากทำ

    "ก็เหมือนกับกบที่ไม่ยอมกระโดดออกจากหม้อต้มซุป ตอนที่อุณหภูมิของน้ำกำลังค่อยๆเพิ่ม ดูเหมือนว่าชาวอเมริกันยังดื้อดึงและไม่ยอมลงมือแก้ปัญหา จนกว่าความเสียหายที่เกิดจากหนี้จะถูกมองข้ามไม่ได้อีกต่อไป อาจารย์ Len Burman ของมหาวิทยาลัย Syracuse University กล่าวในเรียงความเมื่อเร็วๆนี้ "ในจังหวะสุดท้ายเมื่อเจ้ากบเริ่มเรียนรู้ มันก็สายเกินไปแล้ว"

    สรุปคือ หนี้ที่มากจนเกินไปจะส่งผลในแง่ลบต่อเศรษฐกิจและประชาชนของประเทศ เพราะรัฐบาลจะต้องดิ้นรนหาทางเอาเงินมาจ่ายหนี้คืน และถ้าปัญหานี้มีความร้ายแรงต่ออเมริกาและประเทศใหญ่ๆในยุโรป เช่น ฝรั่งเศสและเยอรมัน ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับประเทศอื่นๆคือ สถาบันการเงินไม่ได้เงินที่ปล่อยกู้คืน หรือ ได้คืนช้าลงหรือในจำนวนที่น้อยลง และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจชลอตัวเพราะการส่งออกน้อยลงนั้นเอง

    ภาระหนี้อันมหาศาลของรัฐ ส่งผลต่อประชาชนอย่างไร? ~ SETTALK
     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ปัญหาของกรีซ: ขาดสภาพคล่องชั่วคราว หรือ ขาดความสามารถในการจ่ายหนี้?
    วันพฤหัสบดี, ตุลาคม 27, 2554 RISK TAKER

    [​IMG]

    ในแวดวงธุรกิจ เวลาที่บริษัทขาดเงินมาจ่ายหนี้คืนนั้น เกิดขึ้นได้จากสองกรณี
    1.) Illiquidity
    2.) Insolvency

    Illiquidity คือ การขาดสภาพคล่องชั่วคราว มักใช้เรียกบริษัทที่ไม่สามารถจ่ายหนี้ได้ เพราะเกิดเหตุสุดวิสัยที่เกิดขึ้นในเวลาสั้นๆ เช่น ภัยธรรมชาติ วิกฤตทางการเมือง และวิกฤตเศรษฐกิจ เป็นต้น พอเหตุการณ์เหล่านี้จบลง ผลประกอบการ และสภาพคล่องของบริษัทก็จะกลับมาเป็นปกติ

    Insolvency คือ การขาดความสามาถในการจ่ายหนี้ ซึ่งเกิดขึ้นจากปัญหาหรือจุดอ่อนในบริษัทนั้นเองๆ และเป็นปัญหาระยะยาว

    ความเข้าใจในปัญหาสองประเภทนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับประเทศที่เป็นผู้ยืมได้เช่นเดียวกัน

    แล้วเราจะแยกปัญหาแบบนี้ออกเป็นสองประเภทเพื่ออะไร? แค่บอกว่าประเทศนั้นมีตังค์ไม่พอจ่ายหนี้ก็น่าจะพอไม่ใช่เหรอ?

    การที่เรารู้ว่า ปัญหาแบบไหนคือ Illiquidity (ระยะสั้น) หรือ Insolvency (ระยะยาว) นั้นจะช่วยบอกได้ว่า ประเทศควรได้รับการช่วยเหลือ และประเทศไหนช่วยไปก็ไม่รอดอยู่ดี

    ประเทศที่มีปัญหาขาดสภาพคล่องระยะสั้น นั้นมักจะเป็นประเทศที่มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ดีพอสมควรในช่วงเวลาปกติ และมีศักยภาพเพียงพอในการจ่ายหนี้คืนได้เมื่อปัญหาคลี่คลายลง ประเทศจำพวกนี้ควรได้รับการช่วยเหลือโดยองค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นIMF, World Bank หรือ กลุ่มประเทศมหาอำนาจอื่นๆ เพราะการช่วยเหลือนั้นค่อนข้างปลอดภัย มีความเสี่ยงที่จะไม่ได้เงินคืนต่ำ แต่ถ้าไม่ช่วย ผลกระทบของวิกฤตต่อประเทศดังกล่าวอาจจะรุนแรงกว่าที่ควรจะเป็น ถ้าเป็นวิกฤตทางการเงินหรือเศรษฐกิจ ผลที่ตามมาอาจลุกลามไปประเทศอื่นๆได้

    อย่างไรก็ตาม ถ้าปัญหาดังกล่าวไม่ใช่ปัญหาระยะสั้น แต่เป็นความอ่อนแอทางโครงสร้างของประเทศนั้นเองที่ทำให้รัฐบาลไม่มีความสามารถในการจ่ายหนี้คืนได้ ถึงแม้วิกฤตต่างๆจะผ่านไป ศักยภาพในการจ่ายหนี้ของรัฐบาลก็ไม่ได้ดีขึ้น หนำซ้ำ กลับเป็นตัวที่ก่อให้เกิดวิกฤตครั้งใหม่เสียเอง ประเทศจำพวกนี้ไม่ควรได้รับการช่วยเหลือ เพราะการให้เงินช่วยเหลือก็เหมือนเป็นการเพิ่มภาระหนี้ให้กับประเทศที่ไม่มีปัญญาจ่ายหนี้ก้อนเดิมคืนอยู่แล้ว

    ช่วยผิดประเทศ

    บางครั้งIMF หรือองกรค์ต่างๆก็หลอกตัวเองว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาเกี่ยวกับสภาพคล่องที่เกิดขึ้นในระยะสั้น เพื่อที่จะเข้าไปช่วยเหลือประเทศนั้นๆ ทั้งที่จริงๆแล้วช่วยไปก็เสียเงินเปล่าๆ แต่ก็เป็นที่เข้าใจได้ครับ เพราะในช่วงเวลาของวิกฤต และความวุ่นวาย ไม่มีใครอยากปล่อยให้ประเทศนู้นประเทศนี้ล้มลงง่ายๆ เพราะกลัวผลกระทบที่ตามมานั้นจะเกินกว่าที่เศรษฐกิจโลกจะรับมือไหว

    นี้แหละครับคือสิ่งที่ผู้นำในยุโรปทำกับกรีซมาโดยตลอด ทำการช่วยเหลือ อัดฉีดเงินให้ โดยคิดไปเองว่า กรีซจะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ และมีเงินมาจ่ายหนี้คืนในอนาคต พูดสั้นๆคือ กรีซกำลังเจอปัญหาInsolvency แต่EUกลับทำเหมือนกับว่ากรีซเจอปัญหาIlliquidity

    เหตุการณ์ที่เกิดขึันก็เหมือน หมอที่วินิฉัยว่าคนไข้เป็นหวัดธรรมดา ก็ให้แค่ยาแก้หวัดแล้วบอกว่ากลับบ้านไปพักผ่อนเยอะๆ ดื่มน้ำเยอะๆ แต่ที่จริงแล้วคนไข้นั้นป่วยหนัก ได้รับเชื้อไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ การให้ยาแก้หวัดธรรมดาก็อาจจะบรรเทาอาการ และยืดอายุผู้ป่วยไปได้ชั่วคราว แต่ในไม่ช้าผู้ป่วยนั้นก็ต้องตายอยู่ดี

    สถานะของกรีซตอนนี้ก็ไม่ต่างกัน หลังจากวิกฤตทางการเงินจบลงประมาณกลางปี2009 GDP ของกรีซนั้นมีแต่ลดลงๆ เมื่อเศรษฐกิจไม่โต รัฐบาลก็มีรายได้จากภาษีน้อย เมื่อรายได้จากภาษีมีแต่จะน้อยลงในแต่ละปี รัฐจะเอาเงินที่ไหนมาจ่ายหนี้? "ปัญหาของกรีซไม่ใช่ขาดเงิน(เพราะเงินช่วยเหลือที่ผ่านมาก็เยอะแยะมากมาย) แต่ปัญหาคือเศรษฐกิจที่ขาดการเติบโต" ตอนนี้ผู้นำจากประเทศต่างๆในยุโรปก็เริ่มตระหนักแล้วว่า ในที่สุดแล้ว กรีซจะไม่สามารถจ่ายหนี้คืนได้ครบ

    ในขณะที่ผมกำลังเขียนอยู่นี้ ผู้นำประเทศของประเทศต่างๆในยุโรปกำลังหารือเรื่องแผนการในการแก้ไขปัญหาหนี้ของกลุ่มPIIGSอยู่ ไม่ว่าแผนจะออกมาในรูปใด (สิ่งคาดว่าแผนการดังกล่าวจะถูกประกาศอย่างเป็นทางการในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน) กรีซจะไม่สามารถจ่ายหนี้คืนครบทั้งก้อนได้อย่างแน่นอน

    รายการดังต่อไปนี้คือบทความที่ทางSETTALK ได้เขียนเกี่ยวกับปัญหานี้ในยุโรปตลอดระยะเวลาประมาณ 18 เดือนที่ผ่านมาครับ

    ปี 2010

    กรีซเป็นเพียงจุดเริ่มต้น

    ข้อดีและข้อเสียของEU: ผลกระทบต่อกรีซ

    ภาระหนี้อันมหาศาลของรัฐส่งผลต่อประชาชนอย่างไร?

    ปี 2011

    โปรดระวัง ปัญหาPIIGSยังไม่จบ

    One Europe & Greece

    เรื่องที่ทำให้ตลาดผันผวน

    บทสัมภาษณ์เกี่ยวกับยุโรป


    ส่วนนักลงทุนที่รู้สึกสับสนกับการเคลื่อนไหวของตลาดจนไม่รู้จะทำยังไงแนะนำให้อ่านบทความนี้ครับ

    วิธีรับมือตลาดอันแปรปรวน

    สุดท้ายนี้ขอให้นักลงทุนโชคดี เก็บหุ้นถูกๆกันได้เยอะนะครับ

    ปัญหาของกรีซ: ขาดสภาพคล่องชั่วคราว หรือ ขาดความสามารถในการจ่ายหนี้? ~ SETTALK
     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    จุดเริ่มต้นของจุดจบ: วิกฤตหนี้รัฐบาลในยูโรโซน
    วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน 17, 2554 RISK TAKER

    [​IMG]

    ในแต่ละขณะ มีนักลงทุนมากมาย โดยเฉพาะนักลงทุนจำพวกสถาบันการเงิน เช่น ธนาคารต่างๆในยุโรปต่างแย่งกันขายพันธบัตรรัฐบาลจากประเทศกลุ่มPIIGS

    วิกฤตครั้งนี้เริ่มต้นเมื่อเกือบสองปีที่แล้ว เมื่อครั้งที่กรีซต้องการความช่วยเหลือจากองกรค์นอกประเทศเป็นครั้งแรก

    ผ่านมาจนมาถึงเมื่อกรกฎาคมที่ผ่านมา สถานการณ์ก็ยังไม่ดีขึ้น จนผู้นำยุโรปต้องเข้ามาช่วยเพิ่ม และขอร้องให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือ "อย่างสมัครใจ" โดยการยอมรับ haircut 20%ของมูลค่าพันธบัตรที่ธนาคารภาคเอกชนถืออยู่ นี้การช่วยเหลือกรีซครั้งที่สอง

    ผ่านไปอีกไม่กี่เดือน สัญญาณ และตัวบ่งชี้ด้านเศรษฐกิจต่างๆของกรีซมีแต่จะแย่ลงเรื่อยๆ จนรัฐมนตรีกระทรวงการคลังของกรีซออกมาพูดว่า รัฐบาลของเขาจะไม่สามารถลดงบประมาณขาดดุลได้ตามเป้าที่IMFกำหนดไว้ตอนแรก เนื่องจากเศรษฐกิจมัน"แย่กว่าที่คาด"

    เมื่ออะไรๆก็ไม่ดีขึ้น ผู้นำยุโรปก็ต้องกลับมาประชุมเพื่อหาทางช่วยเหลือกันใหม่

    หลังจากประชุมมาติดต่อกันหลายวัน วันที่27ตุลาคม2011 เหล่าผู้นำยุโรปออกมาประกาศแผนใหม่ (ที่ตลาดหุ้นทั่วโลกตอบรับด้วยการปรับตัวสูงขึ้น) ซึ่งมีใจความหลักๆคือ กองทุนช่วยเหลือEFSFจะมีวงเงินมากขึ้น(ซึ่งจะหาเงินมาจากไหนก็ยังไม่รู้) EUกับIMFจะอัดชีดเงินช่วยเหลือ ด้วยการให้กรีซกู้เพิ่มโดยตรง (ผมว่าถ้าจะให้กรีซกู้ บริจาคไปเลยก็ได้นะครับ) และสุดท้ายภาคเอกชนผู้ถือพันธบัตรรัฐบาลของกรีซจะถูก haircut เป็นจำนวนเท่ากับ50%ของมูลค่าพันธบัตร

    จากเดิมที่เคยตกลงกันเมื่อเดือนกรกฎาว่าจะยอมขาดทุนแค่20% สามเดือนต่อมาถูกเพิ่มเป็น50% ถ้าคุณเป็นธนาคารที่ถือพันธบัตรรัฐบาลของกรีซอยู่ คุณคงต้องถามตัวเองแล้วว่า haircutนี้มันจะไปจบที่กี่เปอร์เซ็นต์ แทนที่จะรอไปเรื่อยๆโดยไม่รู้เลยว่าhaircutมันจะจบเมื่อไร จะต้องขาดทุนอีกขนาดไหน เราขายพันธบัตรไปก่อนเลยดีมั้ย? คำตอบคือ ยอมขาดทุนไปเลยดีกว่า เพราะถ้ารอไปเรื่อยๆมีโอกาสขาดทุนเยอะกว่าปัจจุบันสูงมาก

    ผลก็คือ หุ้นกู้ของกรีซถูกขายจนราคาตกเยอะมากจนคนเลิกสนใจไปแล้ว

    ธนาคารใหญ่ๆของยุโรปเริ่มลดความเสี่ยงการเกิดหนี้เสียของรัฐบาลประเทศต่างๆในกลุ่มPIIGS ซึ่งสามารถทำได้สามวิธี 1.) ตั้งบัญชีค่าใช้จ่าย"สำรองเผื่อหนี้สูญ"รอไว้ก่อน 2.) ลดความเสี่ยงด้วยการhedge เช่นการซื้อCDS 3.) ขายพันธบัตรที่มีความเสี่ยงทิ้งไปเลย

    แล้ววิธีไหนละที่น่าทำที่สุด?

    ถ้าคุณเลือกวิธีแรก ความเสี่ยงบางส่วนนั้นยังคงอยู่ เพราะคุณอาจจะตั้งงบค่าใช้จ่ายสำรองเผื่อหนี้สูญ(provision for bad debt)เอาไว้ไม่พอ ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณตั้งprovisionเผื่อไว้50% แต่ปรากฏว่ากรีซจ่ายเงินคืนได้ไม่ถึงครึ่ง หนี้เสียที่เกิดขึ้นก็ยังคงส่งผลต่อกำไรของธนาคารของคุณอยู่ดี

    แล้ววิธีที่สองละ? วิธีที่สองคุณก็ยังมีความเสี่ยงเหมือนกัน จริงอยู่ว่าการซื้อCDS (Credit Default Swap)นั้นก็เหมือนการซื้อประกัน ถ้าเวลามีหนี้เสียเกิดขึ้น คนที่ถือประกันอยู่ก็จะได้รับเงินคืนตามที่ตนขาดทุนไป แต่CDSก็ไม่ได้ปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์ เนื่องจากสองสาเหตุด้วยกันคือ
    1.) CDSจะไม่ทำงาน ถ้าการเกิดหนี้เสียนั้น ผู้ถือพันธบัตรนั้นรับได้ และยอมให้เกิดหนี้เสีย"อย่างสมัครใจ" เหมือนที่เกิดขึ้นกับกรีซ
    2.) ถึงแม้CDSจะทำงาน คนถือCDSก็อาจจะไม่ได้เงินเลยสักยูโร เพราะบริษัทที่ขายCDSอาจไม่มีเงินพอที่จะจ่ายค่าเสียหายให้กับคนที่ถือCDSได้ทุกๆคน

    ทางเลือกแรกก็เสี่ยง ทางที่สองก็เสี่ยง แล้วทางที่สามละ?

    ขายทิ้งไปเลยนี้แหละครับ เสี่ยงน้อยสุด เพราะขายแล้วขาดกัน ขาดทุนทีเดียวจบ แล้วผมก็เชื่อว่าธนาคารในยุโรปหลายๆแห่งก็ต้องคิดแบบนี้เช่นกัน

    Mohamed El-Erian ซึ่งเป็น CEOและco-CIO จากบริษัทจัดการกองทุนหุ้นกู้ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกPIMCO ถึงกับกล่าวว่า

    It has become fashionable not only to sell Italian bonds but also to tell the world about it, as loudly as you can. In the last few days several banks have rushed to announce that they have been actively reducing their holdings of Italian debt—as a means of reducing market concerns about their own well-being. This phenomenon is similar to the 1980s phase of “macho provisioning” that saw banks trying to outdo each other in telling the world that they were fully protected against their past loans to Latin America. The result today is to encourage and push other Italian creditors to also sell, adding to the market pressures. In too many cases, the damage to the demand for Italian bonds is much more than transitory.

    สรุปเป็นใจความสั้นๆคือ นักลงทุนไม่ใช่แค่แย่งกันเทขายพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีเท่านั้น แต่ยังบอกโลกให้รู้ด้วยว่าขายไปแล้วจริงๆ เพื่อเป็นการบอกว่า"บริษัทเราปลอดภัยแล้ว" เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นคล้ายๆกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับประเทศลาตินในช่วงยุค80s ก่อนที่จะเกิดหนี้เสียตามมาเป็นระลอก

    พอเจ้าหนี้รายอื่นได้ยินแบบนี้ ก็ต้องรีบขายตามเพราะกลัวราคามันจะตกไปมากกว่านี้อีก หรือไม่ก็กลัวหนี้เสียจะเกิดขึ้นจริงๆ สิ่งที่ตามมาก็คือราคาพันธบัตรก็ดิ่งต่ำลงไปอีก ยิ่งเป็นตัวกดดันให้คนที่ยังถือพันธบัตรอยู่แย่งขายเข้าไปใหญ่ เป็นวงจรที่มักจะจบไม่สวยเท่าไรนัก

    ในขณะที่ผมกำลังเขียนอยู่นี้ นักลงทุนไม่ได้แค่แย่งกันขายหุ้นกู้ของกลุ่ม PIIGS (โปรตุเกส, ไอร์แลนด์, อิตาลี, กรีซ และสเปน) เท่านั้น ดอกเบี้ยหรือyield (ซึ่งเคลื่อนไหวในทางตรงกันข้ามกับราคาของหุ้นกู้)ของรัฐบาลทุกประเทศในยูโรโซนยกเว้นเยอรมัน ได้ปรับตัวสูงขึ้นทั้งกระดาน ด้วยความกลัวที่ว่าปัญหาหนี้ครั้งนี้จะลุกลามไปทั่วยุโรป

    วิกฤตครั้งนี้จะลุกลามหรือไม่? ถ้าลุกลามแล้วเกี่ยวกับเรายังไง? เก็บไว้ต่อบทความหน้าจะดีกว่าครับ ถ้ากรีซกับอิตาลียังไม่ล่มเสียก่อน


    บทความที่เกี่ยวข้องจาก Buttonwood's Notebook
    Collateral Damage

    บทความที่เกี่ยวข้องจาก CNNMoney
    Europe credit crunch fears are growing
    Eurozone bond yields continue to climb

    จุดเริ่มต้นของจุดจบ: วิกฤตหนี้รัฐบาลในยูโรโซน ~ SETTALK
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Thanong Fanclub

    [​IMG]

    1. ลั่นกลองรบ
    รัสเซียขู่กลับว่า ถ้าสหรัฐส่งและติดตั้งอาวุธยุโธปกรณ์ รวมทั้งทหารไปประจำการที่กลุ่มประเทศบอลติก และยุโรปตะวันออก ทางรัสเซียจะถือว่าเป็นมาตรการที่ก้าวร้าวที่สุดของเพนตากอนและนาโต้นับตั้งแต่การสิ้นสุดของสงครามเย็น
    นายพลYuri Yakubov จากกระทรวงกลาโหมของรัสเซียบอกว่า เมื่อเป็นเช่นนั้นรัสเซียไม่มีทางเลือก แต่จำต้องตอบโต้ด้วยการเพิ่มกำลังทหารทางฝั่งตะวันตกของรัสเซีย
    สหรัฐและนาโต้อ้างว่ารัสเซียต้องการสร้างอาณาจักรรัสเซียใหม่ด้วยนโยบายรุกรานยูเครน ทำให้จำต้องเพิ่มกำลังทหารและอาวุธยุโธปกรณ์ในบอลติกและยุโรปตะวันออกเพื่อสกัดรัสเซีย
    สถานการณ์ยูเครนกลับมาร้อนแรงขึ้นมาอีกครั้ง หลังจากสัญญาสันติภาพถูกฉีกระหว่างรัฐบาลเคียฟและพวกกบฎแบ่งแยกดินแดน โดยที่เคียฟต้องการลุยพวกกบฎต่อและทำสงครามกับรัสเซียเพื่อเอาไครเมียคืนมา
    จุดยืนนี้ของเคียฟได้รับการสนับสนุนจากโอบามา เราเริ่มเห็นการปิดล้อมรัสเซียอย่างจริงจังมากยิ่งขึ้นในยุโรป หลังจากที่มีความพยายามจากฝ่ายสายเหยี่ยวของตระกูลบุชที่จะกำจัดJohn Kerry รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐที่ต้องการฟื้มสัมพันธ์กับรัสเซีย หาทางสันตภาพให้ยูเครน รวมทั้งแก้ปัญหาอิหร่าน มีข่าวไม่เป็นทางการว่าKerry โดนยิงแต่ข่าวนี้ยังไม่ได้รับการยืนยัน แม้ว่าKerryจะหายหน้าจากสื่อมวลชนไป2อาทิตย์แล้ว
    หนังสือพิมพ์New York Timesรายงานว่าเพนตากอนเตรียมส่งทหาร5,000นายไปประจำการที่บอลติกและยุโรปตะวันออก รวมทั้งส่งรถถัง และยานยนต์รบด้วย
    โปแลนด์เจ้ากี้เจ้าการเรียกร้องให้สหรัฐส่งทหารและอาวุธไปช่วยยันรัสเซียด้วย
    นาโต้กำลังลั่นกลองรบ และรัสเซียกำลังเตรียมตั้งแถวทหารพร้อมรบเหมือนกัน
    thanong
    16/6/2015
    http://www.reuters.com/…/us-russia-usa-europe-ministry-idUS…
    http://www.nytimes.com/…/us-poised-to-put-heavy-weaponry-in…
     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Thanong Fanclub

    [​IMG]

    2. ลั่นกลองรบ
    นาทีนี้ผู้ที่กระหายสงครามเป็นเทพีซะด้วย Victoria Nuland ผู้ช่วยรมวต่างประเทศสหรัฐและSamantha Power ทูตสหรัฐประจำองค์การสหประชาชาติ ทั้งคู่เป็นสายเหยี่ยว แก๊งค์บุชน่าจะเอามาเจ๊2ตัวนี้มาแปะเอาไว้ที่รัฐบาลของนายโอบามาที่ทำตัวเป็นหุ่นกระบอก
    เจ๊หนูและเจ๊สะมาณตั้งหน้าตั้งตาจะลั่นกลองรบท่าเดียวกับรัสเซีย มีคำพูดหลายอย่างที่ขัดกับJohn Kerry รมวต่างประเทศ ปรากฎว่านายแกงกะหรีมีความเป็นพิลาบมากกว่าที่เราเข้าใจกัน นายแกงกะหรี่ต้องการแก้ปัญหาวิกฤติยูเครนด้วยการดำเนินตามข้อตกลงสัญญาสันติภาพมินส์คMinsk Agreementที่รัสเซีย เยอรมัน ฝรั่งเศสและยูเครนได้เซ็นไปแล้วในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยมีตัวแทนของพวกกบฎแบ่งแยกดินแดนเข้าร่วมด้วย
    หัวใจของMinsk Agreementคือรัฐบาลเคียฟของยูเครนและพวกกบฎต้องยุติการทำสงคราม ถอนปืนใหญ่หรืออาวุธที่ร้ายแรงทั้งหลายออกจากเขตแดนที่กำหนดไว้ หาทางเจรจาสันติภาพ มีช่องทางให้แคว้นทางตะวันออกกลายเป็นเขตปกครองตนเอง และไครเมียที่เข้าปากรัสเซียไปแล้วห้ามเอาคืน
    ทั้่งหลายทั้งปวงที่วิกฤติยูเครนปะทุขึ้นมาเพราะว่าสหรัฐและอียู โดยเจ๊หนูนี้แหละเป็นตัวกลางในการคว่ำรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของยูเครนที่ฝักใฝ่รัสเซีย และสนับสนุนพวกนาซีขึ้นมามีอำนาจ พวกอียูทำอะไรไม่่รู้ ไม่สบอารมณ์เจ๊หนูในเรื่องยูเครน เจ๊เลยด่ากราดในโทรศัพท์ระหว่างพูดคุยกับทูตสหรัฐประจำยูเครนว่า ใช้เงินไปแล้ว$5,000ล้านในการล้มรัฐบาลเคียๆ ตบท้ายด้วย"Fuck the EU"
    มีการเผยแพร่เทปการบันทึกเสียงของเจ๊หนูออกสื่อ สงสัยจะโดนเคจีบีล้วงตับ ทำให้เป็นเรื่องที่น่าอับอายมากที่เจ๊หนูแจกฟักให้อียูกิน อียูทำแกงฟักแบบอิสานไม่เป็นด้วย เลยไม่รู้จะกินฟักอย่างไร กินสดๆ รดชาดมันฝาดไปหน่อย
    นายแกงกะหรี่เดินทางไปเจอพี่ปูเมื่อเดือนที่แล้วที่เมืองSoshi ของรัสเซียเพื่อหาทางออกยูเครนและอิหร่าน ถึงแม้ว่าทางรัสเซียจะออกข่าวออกมาว่าเจรจากันไป4ชั่วโมง หาข้อสรุปไม่ได้ แต่นายแกงกรหรีมีทีท่าที่เห็นด้วยในภาพกว้างว่าต้องเดินหน้าMinsk Agreementต่อไป
    เด็กกะโปโรเชนโก้ ผู้นำยูเครนเรียกร้องให้สหรัฐและนาดส่งอาวุธให้หน่อย จะได้ลุยกับพี่ปูเพื่อทวงเอาไครเมียคืน และจะปราบพวกกบฎให้ราบคาบ
    ปรากฎว่าเด็กกะโปโรเชนโก้โดนนายแกงกะหรี่อัดจนหน้าแตก หมอไม่รับเย็บ ว่าน้อยๆหน่อย จะทำอะไรถามไอก่อนหรือยัง เขาให้คุณอยู่เฉยๆแล้วทำตามคำสั่ง ไม่ใช่มาเสนอหน้าว่าจะทำโน่นทำนี่
    แก๊งค์บุชและพวกคาห์ซาเรียนไม่ต้องการสันติภาพแน่นอน และไม่ต้องการให้รัสเซียเป็นใหญ่จึงเดินแผนแทงนายแกงกะหรี่ข้างหลัง โดยที่โอบามายอมคล้อยตาม เจ๊หนูแจกฟักถูกส่งไปยูเครน
    หลังจากการประชุมที่Sochi เจ๊หนูแจกฟักเดินทางไปเคียฟเพื่อคุยกับเด็กกะโปโร เธอบอกว่า:
    We continue to stand shoulder to shoulder with the people of Ukraine and reiterate our deep commitment to a single Ukrainian nation, including Crimea, and all the other regions of Ukraine.”
    "เรายังคงยืนเคียงบ่าเคียงไหล่กับประชาชนของยูเครน และขอเน้นความผูกพันในเรื่องยูเครนประเทศเดียว รวมทั้งไครเมียและดินแดนอื่นๆของยูเครน"
    รัฐมนตรีช่วยเจ๊หนูแจกฟักแสดงท่าทีสวนทางกับรัฐมนตรีเต็มยศนายแกงกะหรี่ แสดงว่าเจ๊ใหญ่แค่ใหน ให้รู้เสียบ่้างว่าใครหนุนข้างหลัง ส่วนนายแกงกะหรี่เมื่อโดนอย่างนี้ ก็ไม่น่าจะอยู่ได้แล้ว เพราะว่าโดนลูกน้องตบหน้าไปหนึ่งฉาด
    ยังไม่พอ ในวันที่11มิถุนายน เจ๊สะมาณถูกส่งไปเคียฟเพื่อคุยกับเด็กกะโปโล จอมป้อยอ เขาบอกเธอว่า คุณไม่รู้หรอกว่าคุณดังแค่ใหนในยูเครน เจ๊สะมานเป็นปลื้ม รีบส่งทวิทเตอร์ด้วยข้อความว่า: สหรัฐยืนหยัดอยู่เคียงข้างคุณกะโปโร ในขณะที่คุนรบ2ด้านคือต่อต้านการรุกรานของรัสเซีย และสร้างรัฐบาลที่มีความรับผิดชอบ
    หักหน้านายแกงกะหรี่ พร้อมแทงข้างหลังไปอีกหนึ่งแผลเหนาะๆ
    ข่าวจากBoston Globeรายงานว่านายแกงกะหรี่กำลังพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลบอสตัน หมอผ่าตัดเปลี่ยนกระดูกที่ก้น เพราะประสบอุบัติเหตุตกจากจักรยานที่ฝรั่งเศสเมื่อปลายเดือนที่แล้ว ไม่มีทีท่าว่าโดนผู้ก่อการร้ายไอซีสยิงตามข่าวที่ไม่เป็นทางการ
    นายแกงกะหรี่กินยาแก้ปวด นอนพักผ่อน แต่ยังคงทำงานจากเตียง ไม่รู้ว่าจะเช็คเอ๊าท์ออกมาแล้ว จะทำงานอย่างไร ในเมื่อโดนเจ๊หนูแจกฟักและเจ๊สะมาณแทงข้างหลังอย่างนี้ โดยที่โอบามาหนุนเจ๊ทั้ง2อย่างเปิดเผย
    อย่างนี้ต้องลาออก
    thanong
    16/6/2015
    http://www.thenation.com/article/209721/why-washington-still-
    pushing-war-russia#
    https://www.yahoo.com/…/john-kerry-only-taking-painkiller-t…
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Thanong Fanclub

    [​IMG]

    3. ลั่นกลองรบ
    ถ้าเจ๊คลินตันชนะการเลือกตั้งเป็นประธานธิบดีอีกคน สหรัฐคงไม่ลั่นกลองรบแล้ว แต่ชักธงพร้อมกันเลยทีเดียว คู่แข่งเธอคือเจ็บ บุช ลูกบุชซีเนียร์และน้องชายของบุชที่เป็นประธานาธิบดีมาก่อน
    พ่อบุชลูกบุชก่อสงครามในตะวันออกกลางไปทั่ว เพื่อสร้างnew world order ทั้งคุ่ยังคงมีอำนาจล้นฟ้าในสหรัฐ
    ถ้าส่งน้องเจ็บมาเป็นประธานาธิบดีอีกคน สงสัยWWIIIได้เห็นแน่ๆ ถ้าโอบามาชักช้าอืดอาดสร้างเหตุได้ไม่ทันใจ
    ทั้งคลินตันและบุชอยู่แก๊งเดียวกัน คือแก๊งค์new world orderที่ต้องการก่อสงครามเพื่อสร้างรัฐบาลโลก
    หาเสียงด้วยแผ่นตกร่องเดิมๆ ได้เวลาแล้วพี่น้อยเอ๊ยที่จะฟื้นฟูความเป็นผู้นำโลกของสหรัฐอีกครั้ง เราเป็นดินแดนประชาธิปไตย และเราต้องส่งออกค่านิยมนี้ไปทั่วโลก เราต้องฟื้นฟูจ๊อบในอเมริกา เศรษฐกิจต้องรุ่งเรืองอีกครั้ง โอบามาอ่อนปวกเปียก ถ้าอยู่ต่อไป สหรัฐโดนรัสเซียและจีนแซงหน้าแน่ ถ้าเดี้ยน หรือถ้าข้าพเจ้านายเจ็บได้เป็นประธานาธิบดีจะไม่มีวันอ่อนข้อให้สองประเทศนี้เป็นอันขาด รวมทั้งอิหร่านที่ต้องเข้าไปจัดการ บลาๆๆๆ
    คนอเมริกันเลือกเจ๊คลินตันจากพรรคเดโมแครท เลือกนายเจ็บจากพรรครีพับรีกันจะได้พวกบ้าสงครามเหมือนกันมาเป็นประธานาธิบดี
    การเมืองสหรัฐติดหล่ม ออกหัวหรือออกก้อยก็คือๆกัน ยิ่งกว่าลิเกอีก
    thanong
    16/6/2015
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    กลุ่มดาอิช (ISIS) เดินอยู่เบื้องหน้าทหารตุรกี / ภาพ + วิดีโอ
    Category: News & Event Published on Monday, 15 June 2015 23:06 Written by Islamicstudiesth Team.

    [​IMG]

    จำนวนหนึ่งจากสมาชิกของกลุ่มดาอิช (ISIS) ได้ห้ามบรรดาผู้ลี้ภัยชาวซีเรียข้ามพรมแดนไปยังประเทศตุรกี

    [​IMG]

    อัลอาลัมรายงานว่า : รูปภาพต่างๆ ที่ถูกตีพิมพ์เผยแพร่เกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ แสดงให้เห็นว่า จำนวนหนึ่งจากสมาชิกของกลุ่มดาอิช (ISIS) อยู่ห่างจากบรรดาทหารของตุรกีเพียงไม่กี่เมตร และกำลังบังคับให้บรรดาลี้ภัยชาวซีเรียย้อนกลับเข้าไปในซีเรีย

    [​IMG]

    สำนักข่าวฝรั่งเศส (เอเอฟพี) ได้ตีพิมพ์ภาพต่างๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ พร้อมกับกล่าวย้ำว่า ในช่วงหลายวันมานี้ ตุรกีได้ดำเนินการต่างๆ เพื่อจำกัดการอพยพของผู้ลี้ภัยชาวซีเรียเข้าสู่ประเทศนี้

    [​IMG]

    ภาพต่างๆ เหล่านี้ ถ่ายจากบริเวณเขตผ่านแดน "ตัล อับยัฎ" ในจังหวัด "ชานลีอูรฟะฮ์" ชายแดนของตุรกี ในภาพเหล่านี้ สมาชิกของกลุ่มดาอิช (ISIS) กำลังขอให้ประชาชนกลับเข้าไปในเมืองของตน

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    ที่มา : fa.alalam

    กลุ่มดาอิช (ISIS) เดินอยู่เบื้องหน้าทหารตุรกี / ภาพ + วิดีโอ
     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เนทันยาฮู ชี้ ชาติอาหรับมีทัศนะเดียวกันกับเขา “ในเรื่องนิวเคลียร์อิหร่าน”
    ตะวันออกกลางมิ.ย. 15, 2015

    [​IMG]

    bbc – นายกรัฐมนตรีเบนยามิน เนทันยาฮู ของอิสราเอล กล่าว เมื่อ 10 มิ.ย. ว่า ผู้นำกลุ่มประเทศอาหรับมีความเห็นเช่นเดียวกับเขาว่า ข้อตกลงนิวเคลียร์ไม่สามารถยับยั้งอิหร่านจากการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ได้

    เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล กล่าวในการประชุมประจำปี เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ว่า เขาไม่ได้เป็นเพียงเสียงเดียวในตะวันออกกลางที่คัดค้านการทำข้อตกลงกับอิหร่าน และจากการพูดคุยกับประเทศเพื่อนบ้านพบว่า ไม่มีประเทศใดในภูมิภาคนี้ที่เชื่อว่า การทำข้อตกลงจะสามารถขัดขวางความพยายามของอิหร่านในเรื่องนิวเคลียร์ได้

    ถ้อยแถลงของนายกรัฐมนตรีอิสราเอลมีขึ้นเพียงไม่กี่วันภายหลังจากนายดอร์ โกลด์ ที่ปรึกษาคนสนิทได้พบปะกับคณะเจ้าหน้าที่ซาอุดีอาระเบียเพื่อหารือเรื่องอิหร่าน

    อิหร่านและกลุ่มประเทศมหาอำนาจมีเวลาถึง 30 มิถุนายนนี้ตามเป้าหมายที่ต้องบรรลุข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่านให้ได้เพื่อต้องการยุติโครงการนิวเคลียร์อิหร่านแลกเปลี่ยนกับการยกเลิกมาตรการคว่ำบาตร



    نتانیاهو:‌ رهبران عرب در مورد مذاکرات اتمی ایران با من موافقند - BBC Persian
    نتانياهو: اعراب درباره ایران با ما موافقند

    เนทันยาฮู ชี้ ชาติอาหรับมีทัศนะเดียวกันกับเขา “ในเรื่องนิวเคลียร์อิหร่าน” | abnewstoday
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    แยกอิรัก : เมื่อการแยกดินแดนกลายเป็นอาวุธสงคราม
    เรื่องเด่นประเด็นร้อนมิ.ย. 15, 2015

    [​IMG]

    โครงการของไซออนิสต์สหรัฐฯ ที่จะแบ่งแยกดินแดนตะวันออกของมุสลิมออกเป็นชิ้นเล็กๆ กำลังดำเนินไปในอิรัก ชาวเคิร์ดกำลังถูกจัดเตรียมไว้เพื่อวาระที่ชั่วร้ายนี้ เบื้องหลังทั้งหมดนั้นก็คือการปกป้องอิสราเอลไซออนิสต์นั่นเอง

    ถ้าดินแดนตะวันออกของมุสลิมอยู่ภายใต้แอกของมหาอำนาจตะวันตกมาตั้งแต่อาณาจักรสุลต่านแห่งออตโตมานล่มสลายไปหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 – โดยตกเป็นตัวประกันตามความประสงค์ของมหาอำนาจต่างชาติและความปรารถนาของพวกเขาที่จะปกครองและควบคุมทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่ามากที่สุดของโลกบางส่วน (น้ำมัน, ก๊าซ และแร่)- ถ้าเช่นนั้น วอชิงตันก็ได้ปรับเกมชิงบัลลังก์ของตนในอิรักในช่วงนี้ เพราะสหรัฐฯ หวังจะได้เป็นผู้เขียนแผนที่คนใหม่ของภูมิภาคนี้ เช่นเดียวกับที่ไอซิซได้กลายเป็นกองกำลังที่ต้องถูกกระตุ้น กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ (DoD) กำลังสนับสนุนการแบ่งแยกในอิรัก โดยหวังที่จะใช้ประโยชน์จากความทะเยอะทะยานแบ่งแยกดินแดนของเคอร์ดิสถาน เพื่อใช้เป็นตัวแทนของอเมริกาในโครงการใหญ่ที่จะ “ครอบครอง” ดินแดนตะวันออกของมุสลิม

    ภัยร้ายที่ตั้งเค้าต่อความมั่นคงและความตึงเครียดจากเชื้อชาติ-ศาสนาที่มีมาตั้งแต่เกิดข้อตกลงไซคส์-ปิโคต์ (Sykes-Picot Agreement) ในปี 1916 ขณะนี้โลกอาหรับกำลังเผชิญหน้าอยู่กับภัยคุกคามเหนือดินแดนในรูปของวิสัยทัศน์ทางภูมิศาสตร์การเมืองที่คับแคบแบบอเมริกา เกมสร้างชาติและวาดเขตแดนครั้งใหม่ของวอชิงตันอาจจะเป็นภัยอีกชั้นหนึ่งที่เพิ่มเข้ามาในความซับซ้อนของสถานการณ์ที่ยากลำบากอยู่แล้วก็เป็นได้

    โดยไม่คำนึงถึงความเป็นจริง กระทรวงกลาโหมพยายามที่จะทำความผิดพลาดซ้ำเหมือนอย่างที่จักรวรรดิ์อังกฤษเคยทำมาแล้ว ด้วยการทึกทักเอาเองว่าตนสามารถควบคุม บงการ และบังคับให้ภูมิภาคนี้ยอมจำนนได้โดยผ่านเครือข่ายพันธมิตรทางการเมืองที่ชาญฉลาด เอาการแบ่งแยกดินแดนและแนวคิดชาตินิยมมาเล่นราวกับว่ามันเป็นอาวุธสงคราม
    หากดึงเอาบทเรียนจากประวัติศาสตร์มาพิจารณา การสร้างสังคมไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในห้องประชุมของคณะกรรมการหรือในการชุมนุมของมหาอำนาจทางการเมือง ถ้าได้ก็ไม่คงอยู่ตลอดไป

    เราลองนึกดูว่า ความวุ่นวายมากมายที่เราเห็นเกิดขึ้นภายหลังการประท้วงอาหรับสปริงนั้นสามารถย้อนรอยกลับไปจนถึงการสร้างชาติในลักษณะเช่นนั้นได้จริงๆ ผลของการแลกเปลี่ยนและเจรจาต่อรองอย่างเข้มข้นของตะวันตก แผนที่ทางการเมืองของดินแดนมุสลิมตะวันออกไม่เคยสะท้อนถึงความเป็นจริงของชาติเลย แต่มันกลับเป็นการแสดงออกถึงความมุ่งมาดปรารถนาและความทะเยอทะยานต่อภูมิภาคนี้ของมหาอำนาจนักล่าอาณานิคม การควบคุมเช่นนั้นต้องพบกับราคาที่แสนแพง

    ถึงกระนั้นเหยี่ยวสงครามจากวอชิงตันก็ยังคงเดินหน้าต่อไป โดยไม่คำนึงถึงไฟที่อาจจะประทุขึ้นใต้เท้าของพวกเขา ตอนนี้วอชิงตันกำลังคิดที่จะขึ้นเตียงกับชาวเคิร์ดเพื่อความสะดวกทางกลยุทธ์ เจ้าหน้าที่ของสหรัฐตระหนักเป็นอย่างดีว่ากองกำลังเพชเมอร์กาของชาวเคิร์ดจะทำหน้าที่เป็นกองกำลังตัวแทนทางทหารที่สมบูรณ์แบบในการต่อสู้กับไอซิซในอิรักได้ แต่ถ้าชาวเคิร์ดได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าพวกเขาเป็นกองกำลังที่มีศักยภาพในการต่อต้านการรุกคืบของไอซิซที่เข้ามาในภาคเหนือของอิรัก ความช่วยเหลือของเออร์บิลก็มาพร้อมกับตัวพ่วงมากมาย ที่สำคัญที่สุดในตัวพ่วงเหล่านั้นก็คือ ความเป็นเอกราช

    และถึงแม้ว่าทำเนียบขาว โดยผ่านนายจอห์น เคอร์รี่ รัฐมนตรีต่างประเทศ จะยอมรับแล้วว่าจะไม่สนับสนุนให้เคอร์ดิสถานแยกตัวออกมาจากอิรัก แต่กฎหมายฉบับใหม่ที่กระทรวงกลาโหมรับรองกลับบอกเล่าอีกเรื่องหนึ่ง ด้วยการล้อบบี้สนับสนุนสงครามของอเมริกาในฝ่ายตน ทำให้มีแค่เรื่องของเวลาเท่านั้นว่าเมื่อไหร่ที่เออร์บิลจะได้ทุกอย่างที่ต้องการจากพันธมิตรอนุรักษ์นิยมใหม่ของตน ท้ายที่สุด ในอเมริกาที่กระหายสงคราม การตัดสินใจแทบจะไม่ได้มาจากนักการเมือง โดยเฉพาะเมื่อกองทัพได้เข้ามามีอำนาจอย่างท่วมท้นเช่นทุกวันนี้

    การที่จู่ๆ กระทรวงกลาโหมก็เกิดมีความสนในเคอร์ดิสถานขึ้นมา ย่อมไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับเรื่องประชาธิปไตยหรือแม้กระทั่งเรื่องสิทธิ์ในการตัดสินใจด้วยตัวเองของประชาชนในประเทศ แต่ทว่า เหมือนเช่นทุกเรื่องจากวอชิงตัน มันเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ “ผลประโยชน์ของชาติ” เมื่อใดที่สหรัฐฯ ใช้กำลังทางทหารในต่างประเทศมากเกินไป กองกำลังตัวแทนจะเข้ามาเป็นตัวช่วยบรรเทาที่น่ายินดี แม้จะมีข้อเท็จจริงที่ว่าวอชิงตันจะต้องเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับความยุ่งยากในการหาเหตุผลของการเสียชีวิตของทหารอเมริกันที่เพิ่มมากขึ้น

    ทั้งเดโมแครตและรีพับลิกันกำลังใกล้จะถึงช่วงเวลาของการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดี ไม่มีใครต้องการที่จะต้องอธิบายถึงการสูญเสียชีวิตของชาวอเมริกัน แถวโลงศพที่วางเรียงรายบนแผ่นดินสหรัฐฯ ไม่ได้ร้องบอกถึงความสำเร็จในการเลือกตั้ง ดังนั้น เมื่อวันที่ 30 เมษายน คณะกรรมาธิการทางการทหารของรัฐสภาได้ผ่านร่างกฎหมายนโยบายป้องกันประเทศ ที่ให้จัดส่งความช่วยเหลือทางทหารมูลค่า 17 ล้านดอลล่าร์ “เพื่อฝึกและจัดหาเครื่องมือให้กองทัพอิรัก… โดยตรงแก่นักรบซุนนีและนับรบเคิร์ด”

    แทนที่จะส่งความช่วยเหลือไปให้แก่รัฐบาลกลางของแบกแดดและเชื่อมั่นว่าความช่วยเหลือทางทหารทั้งหมดจะถูกจัดส่งไปยังที่ที่มีความจำเป็นมากที่สุด กระทรวงกลาโหมกลับเลือกที่จะอ้อมผ่านรัฐบาลอิรักและเสริมกำลังให้กับฝ่ายต่างๆ ของเพชเมอร์ก้า ที่ตนมองว่าเป็นพันธมิตรทางกลยุทธ์ในการต่อสู้กับไอซิซ ด้วยภาษาที่เชื่อมสายสัมพันธ์กับเออร์บิลอย่างชัดเจน แบกแดดไม่ค่อยพอใจนักกับนัยยะอันหนักหน่วงทางการเมือง ที่การจัดเตรียมทางการทหารเช่นนั้นจะทำให้เกิดขึ้นในระยะยาว

    ด้วยการยอมรับเคอร์ดิสถานในฐานะประเทศหนึ่งบนหน้ากระดาษ สหรัฐฯ คงจะยอมรับในอธิปไตยของเออร์บิลไปแล้วโดยพฤตินัยถ้าไม่ใช่โดยนิตินัย เพราะตอนนี้ทำเนียบขาวประกาศแล้วว่าตนจะคัดค้านกฎหมายฉบับนี้ โดยเรียกร้องให้มีการ “เปลี่ยนภาษา” ในการพูดสรุปกับสื่อของนางแมรี่ ฮาร์ฟ โฆษกหญิงของกระทรวงต่างประเทศได้บอกกับนักข่าวว่า “เราพูดมาตลอดว่าอิรักที่เป็นปึกแผ่นมีความแข็งแกร่งขึ้น และมันเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเสถียรภาพของภูมิภาคนี้ด้วย ความช่วยเหลือทางการทหารและการจัดส่งเครื่องมือของเรา นโยบายของเรายังเหมือนเดิมด้วย ว่าการขนส่งอาวุธทั้งหมดจะต้องประสานงานผ่านรัฐบาลส่วนกลางที่มีอำนาจของอิรัก เราเชื่อว่านโยบายนี้เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการสนับสนุนความพยายามของรัฐบาลผสม”

    เรื่องนี้จะดำเนินต่อไปอีกนานแค่ไหนเป็นเรื่องที่ยังต้องถกเถียงกัน เมื่อกล่าวถึงความมั่นคงและความยึดมั่นกับนโยบายของตน คณะบริหารของโอบาม่ามีประวัติที่ไม่ค่อยดีเยี่ยมนัก เรายังคงรอให้คำสั่งฝ่ายบริหารสูงสุดครั้งแรกของประธานาธิบดีโอบาม่าเป็นเรื่องจริงที่สัมผัสได้ ยังจำคุกที่อ่าวกวนตานาโมได้ไหม?

    แต่ตรงนี้คือจุดที่ปลักความเสี่ยงของอิรักจะกลายเป็นผงดินปืนที่อันตราย ทำเนียบขาวต้องการที่จะให้ระบุถึง “ภาษา” ของกฎหมายฉบับนี้ ความหมายของมันไม่ใช่เรื่องจำเป็น “เราจึงหวังว่าจะทำงานร่วมกับสภาคองเกรสในเรื่องของภาษาที่เราจะสนับสนุนเกี่ยวกับประเด็นสำคัญนี้” ฮาร์ฟกล่าวเมื่อ 30 เมษายน

    อาจเป็นได้ว่า สงครามเรื่องความหมายนี้จะดำเนินต่อไปนานพอที่กระทรวงกลาโหมและเออร์บิลจะได้จัดการเรื่องต่างๆ ให้เข้าที่เข้าทางแล้วดึงพรมออกจากใต้เท้าของแบกแดด นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่วอชิงตันโจมตีพันธมิตรของตนจากทิศทางที่มองไม่เห็น ในกรณีนี้คืออิรัก

    นอกเหนือจากการพูดคุยทางการเมือง ดูเหมือนว่าเคอร์ดิสถานกำลังวางตัวเองอยู่ในตำแหน่งผู้ชนะเลิศในการต่อต้านการก่อการร้ายที่จงรักภักดีต่ออเมริกาในภูมิภาคหนึ่งที่ถูกสั่นคลอนด้วยความไร้เสถียรภาพและแพร่หลายไปด้วยความรู้สึกต่อต้านอเมริกาที่ฝังลึกและแรงกล้า เคอร์ดิสถานสนับสนุนอเมริกาอย่างเต็มที่ ไม่เหมือนเพื่อนบ้านใกล้เคียงของตน อย่างเช่นซีเรีย ตุรกี อิหร่าน และแน่นอนอิรัก

    และยังไม่หมด วอชิงตันกับเออร์บิลยังมีประวัติศาสตร์นิดหน่อยเมื่อกล่าวถึงการใช้ประโยชน์ทางทหารและทางการเมือง ไบรอัน กิบสัน นักประวัติศาสตร์และนักวิชาการ บอกกับ Rudaw ในการให้สัมภาษณ์เมื่อเดือนเมษายนว่า สหรัฐฯ เคยให้การสนับสนุนกองกำลังชาวเคิร์ดในการสู้รบกับแบกแดดช่วง 1970s มากกว่าที่คิด เป็นการบ่งบอกว่าเออร์บิลกับวอชิงตันมีความสัมพันธ์ที่แท้จริงต่อกัน “ตั้งแต่ปี 1958-1975 นโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ในอิรักถูกวางขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้มันกลายเป็นประเทศบริวารของโซเวียต สิ่งนี้นำไปสู่ปฏิบัติการแอบแฝงมากมายเพื่อสนับสนุนกลุ่มต่างๆ ภายใตอิรักที่ต่อต้านการขยายจักรวรรดิ์ของมอสโก เช่น พรรคบาธในช่วงต้นยุค 1960s และชาวเคิร์ดในยุค 1970s” กิบสันกล่าว แต่มิตรภาพนี้ก็ไม่ได้ขัดขวางสหรัฐฯ จากการทิ้งเพื่อนชาวเคิร์ดของตนในปี 1975 เมื่อซัดดัม ฮุซเซน บรรลุข้อตกลงสันติภาพกับชาห์แห่งอิหร่าน

    วันนี้ ประวัติศาสตร์ได้ซ้ำรอยเดิมอีกครั้ง อย่างน้อยก็ในด้านที่ชาวเคิร์ดได้ปรากฏขึ้นอีกครั้งในฐานะพันธมิตรทางกลยุทธ์ในการต่อสู้กับทั้งอิทธิพลของอิหร่านในตะวันออกกลางและไอซิซ

    หลักฐานของการแต่งงานที่จัดขึ้นในสวรรค์ทางภูมิศาสตร์การเมืองนี้ยังสามารถมองเห็นได้ในความก้าวร้าวของเออร์บิลที่ว่าจ้างอดีตทหารสหรัฐฯ ชาวเคิร์ดกำลังเกณฑ์อดีตกองกำลังทหารสหรัฐฯ ให้เข้าร่วมในกองกำลังเพชเมอร์กา ด้วยการลงชื่อผ่านการสมัครออนไลน์ จากข้อมูลของ The Daily Beast เว็บไซต์นี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการเกณฑ์ทหารขนาดใหญ่กว่าที่เรียกว่า โครงการคัดและจัดการประเมินการลงทะเบียนชาวต่างชาติของกองกำลังเพชเมอร์กาของเคิร์ด (Foreigner Registration Assessment Manangement and Extraction Program) หรือ F.R.A.M.E.

    แต่สำหรับตอนนี้ ถ้าการช่วยเคอร์ดิสถานอาจจะสอดคล้องกับผลประโยชน์อันใกล้ของวอชิงตัน ก็มีแนวโน้มว่าพันธมิตรอื่นๆ ในภูมิภาคนี้จะต้องขุ่นเคืองกับความทะเยอทะยานแห่งชาติของเออร์บิล ตุรกีและอิรักจะเป็นประเทศแรกๆ เนื่องจากรัฐของชาวเคิร์ดย่อมหมายถึงการสูญเสียทั้งดินแดนและทรัพยากรธรรมชาติอันมีค่าไป

    เกมแห่งความคาบเกี่ยวทางการเมืองและกลยุทธ์ในตะวันออกกลางนี้อาจจบลงด้วยการกลืนกินสหรัฐฯ ทั้งหมด มันคงไม่ใช่ครั้งแรกที่มหาอำนาจแห่งจักรวรรดิ์จะตกเป็นเหยื่อในปลักเช่นนั้น เมื่อติดอยู่ในโยงใยแห่งพันธมิตรอันซับซ้อนและขัดแย้งบ่อยครั้ง –เช่น การต่อสู้กับไอซิซเคียงข้างอิหร่านในอิรัก และต่อสู้กับอิหร่านในซีเรีย- วอชิงตันกำลังจะสูญเสียความสัมพันธ์ทั้งหมดในภูมิภาคนี้ไป





    เขียน Catherine Shakdam

    ที่มา Crescent Magazine, International Newsmagazine of the Islamic movement

    แปลและเรียบเรียง กองบก.เอบีนิวส์ทูเดย์

    แยกอิรัก : เมื่อการแยกดินแดนกลายเป็นอาวุธสงคราม | abnewstoday
     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    “เขื่อนภูมิพล” น้ำน้อย ใช้ได้แค่ 3.85% จนสูบกลับไม่ได้
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16 มิถุนายน 2558 09:43 น. (แก้ไขล่าสุด 16 มิถุนายน 2558 10:01 น.)

    [​IMG]

    ตาก - ผอ.เขื่อนภูมิพลย้ำปีนี้ระดับน้ำกักเก็บเข้าขั้นวิกฤตครั้งที่ 4 ในประวัติศาสตร์ 51 ปีของการสร้างเขื่อน เหลือน้ำใช้ได้เพียง 3.85% จนสูบกลับไม่ได้ กระทบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าตัวที่ 8 ที่ทันสมัยที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะที่เขื่อนสิริกิติ์มีน้ำระบายได้ 10.69%

    วันนี้ (16 มิ.ย.) นายณัฐวุฒิ แจ่มแจ้ง ผู้อำนวยการเขื่อนภูมิพล อ.สามเงา จ.ตาก เปิดเผยว่า ตอนนี้สถานการณ์น้ำกักเก็บในเขื่อนภูมิพลเข้าสู่ภาวะวิกฤตเป็นครั้งที่ 4 ในรอบ 51 ปีของการก่อสร้างเขื่อน โดยวิกฤตน้ำน้อยครั้งแรกเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2535, ครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2553 (พอปี พ.ศ. 2554 น้ำท่วมใหญ่ประเทศไทย) และครั้งที่ 3 เมื่อปี พ.ศ. 2557 ที่ผ่านมา

    ซึ่งปริมาณน้ำกักเก็บที่ลดต่ำยังส่งผลกระทบต่อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าตัวที่ 8 ซึ่งเป็นระบบที่ทันสมัยที่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่สามารถสูบน้ำกลับเข้าไปที่อ่างเก็บน้ำเขื่อนได้เพราะมีปริมาณน้ำต่ำเกินไป แต่จะไม่กระทบต่อการผลิตกระแสไฟฟ้า เนื่องจากยังมีไฟฟ้าจากแหล่งผลิตอื่นๆ ที่สำคัญ เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่เป็นกำลังหลักในการผลิตกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบ สามารถทดแทนกระแสไฟฟ้าจากเขื่อนที่เคยจ่ายเข้าระบบในพื้นที่ อ.สามเงา จ.ตาก และ อ.แม่พริก-อ.เถิน จ.ลำปาง

    สำหรับการวางแผนการระบายน้ำในภาวะวิกฤตนี้จะงดการระบายน้ำเพื่อการชลประทานและการเกษตร คงทำการระบายเพื่อการอุปโภค-บริโภค และรักษาระบบนิเวศในพื้นที่ท้ายน้ำเท่านั้น โดยในระยะสั้นช่วงนี้จะลดการระบายน้ำลงเหลือ 10 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน หากฝนยังคงทิ้งช่วงต่อไปก็จะทำการลดการระบายน้ำลงเหลือ 5-4-3 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ

    ทั้งนี้ ปัจจุบันเขื่อนภูมิพลมีปริมาณน้ำกักเก็บคงเหลือ 4,172 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น 30.99% เหลือน้ำใช้ได้เพียง 372 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 3.85% โดยวันนี้ได้ปรับลดการระบายน้ำเหลือวันละ 10 ล้านลูกบาศก์เมตร และจากปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่เหนือเขื่อนทำให้วานนี้ (15 มิ.ย.) มีน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำจำนวน 1.88 ล้านลูกบาศก์เมตร

    เช่นเดียวกับเขื่อนสิริกิติ์ วานนี้ (15 มิ.ย.) มีน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำจำนวน 3.52 ล้านลูกบาศก์เมตร คงเหลือน้ำกักเก็บทั้งหมดเพียง 3,561 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 37.45% สามารถระบายได้เพียง 711 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น 10.69% วันนี้ เขื่อนสิริกิติ์ลดการระบายน้ำเหลือเพียง 22 ล้านลูกบาศก์เมตร

     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    น้ำมันลอนดอนลง $1 หุ้นสหรัฐฯ ร่วง-ทองคำขึ้นกังวลหนี้กรีซ
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16 มิถุนายน 2558 05:24 น. (แก้ไขล่าสุด 16 มิถุนายน 2558 11:45 น.)

    [​IMG]

    เอเอฟพี/เอพี - ราคาน้ำมันขยับลงเมื่อวันจันทร์ (15 มิ.ย.) ท่ามกลางข่าวกำลังผลิตระดับสูงของสหรัฐฯ และความกังวลเกี่ยวกับโต๊ะเจรจาหนี้กรีซ ปัจจัยนี้ฉุดวอลล์สตรีทร่วงหนัก ขณะที่ทองคำปิดบวก นักลงทุนแห่ถือครองเพื่อลดความเสี่ยง

    น้ำมันดิบเวสต์เทกซัสอินเตอร์มีเดียต หรือไลต์สวีตครูด งวดส่งมอบเดือนกรกฎาคม ลดลง 44 เซ็นต์ ปิดที่ 59.52 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน ลดลง 1.26 ดอลลาร์ ปิดที่ 62.61 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

    ความเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันวานนี้ สืบเนื่องจากความกังวลต่อกำลังผลิตที่ยังไม่มีแววลดลงของสหรัฐฯ และความเป็นไปได้ที่ซาอุดีอาระเบียจะเพิ่มกำลังผลิต

    ขณะเดียวกัน นักลงทุนยังพุ่งเป้าไปที่ความยุ่งเหยิงของโต๊ะเจรจาระหว่างกรีซกับเหล่าเจ้าหนี้ ปัจจัยนี้ฉุดรั้งราคาน้ำมัน แม้ว่าช่วงระหว่างวันดอลลาร์จะอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับยูโรก็ตาม

    ความกังวลต่อความเป็นไปได้ที่กรีซอาจผิดนัดชำระหนี้ยังเป็นตัวถ่วงให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ เมื่อวันจันทร์ (15 มิ.ย.) ร่วงลงอย่างหนัก แม้มีข้อมูลบวกเกี่ยวกับข้อตกลงครั้งใหญ่ในภาคเภสัชกรรมและบริษัทก่อสร้าง

    ดาวโจนส์ ลดลง 107.67 จุด (0.60 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 17,791.17 จุด เอสแอนด์พี ลดลง 9.68 จุด (0.46 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 2,084.43 จุด แนสแดค ลดลง 21.31 จุด (0.42 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 5,029.97 จุด

    วอลล์สตรีทปิดลบตามตลาดหุ้นต่างๆ ในยุโรปที่พากันร่วงลงอย่างหนัก หลังจากการเจรจาระหว่างกรีซกับเหล่าเจ้าหนี้ช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา พังครืนไม่เป็นท่า กระพือความกังวลว่าเอเธนส์อาจผิดนัดชำระหนี้และสุดท้ายต้องออกจากยูโรโซน

    ความกังวลดังกล่าวกลบความคึกคักที่ผลักให้หุ้นของบริษัทก่อสร้างบ้าน โรแลนด์ กรุ๊ป และสแตนดาร์ด แปซิฟิก ปิดบวกอย่างแข็งแกร่ง ท่ามกลางข่าวว่าทั้งสองกำลังร่วมกันจัดตั้งบริษัทหนึ่งขึ้นมา ซึ่งมีมูลค่าตามราคาตลาด 5,200 ล้านดอลลาร์และมูลค่ากิจการ 8,200 ล้านดอลลาร์

    ด้านราคาทองคำในวันจันทร์ (15 มิ.ย.) ขยับขึ้น หลังวิกฤตหนี้กรีซผลักนักลงทุนเข้าถือครองสินทรัพย์เสี่ยงต่ำ ขณะเดียวกันก็จับตาผลสรุปของที่ประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย ในช่วงกลางสัปดาห์นี้ โดยทองคำตลาดโคเม็กซ์ เพิ่มขึ้น 6.60 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,185.80 ดอลลาร์ต่อออนซ์


     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ตุรกีเปิดพรมแดนรับ “ผู้ลี้ภัย” จากเมืองทางเหนือของซีเรียอีกครั้ง
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 15 มิถุนายน 2558 19:06 น. (แก้ไขล่าสุด 16 มิถุนายน 2558 11:22 น.)

    [​IMG]

    เอเอฟพี - ผู้ลี้ภัยชาวซีเรียหลายร้อยคนแห่เข้าตุรกีในวันนี้ (15 มิ.ย.) เพื่อหลบหนีการสู้รบรุนแรงระหว่างกลุ่มนักรบชาวเคิร์ดและพวกนักรบญิฮาดในตอนเหนือของซีเรีย หลังจากที่อังการาเปิดพรมแดนใหม่อีกครั้ง

    การแห่แหนเข้ามาของผู้ลี้ภัยระลอกใหม่นี้มีขึ้นในขณะที่กองกำลังชาวเคิร์ดกำลังบุกรุกคืบเมืองทาลอับยาด ซึ่งกลุ่มนักรบญิฮาดรัฐอิสลาม (ไอเอส) ครอบครองอยู่ และตั้งอยู่ตรงข้ามพรมแดนดังกล่าวของตุรกี

    ในวันนี้ (15) เบื้องต้นมีชาวซีเรียราว 400 คนได้รับอนุญาตให้เข้าตุรกีให้ผ่านจุดผ่านแดนอัคซาเคลซึ่งมีผู้ลี้ภัยอย่างน้อย 1,000 คนถูกห้อมล้อมอยู่หลังรั้วลวดหนาม ช่างภาพเอเอฟพีรายงาน

    ในสัปดาห์ที่แล้วคนราว 16,000 คนได้ลี้ภัยไปยังตุรกีเพื่อหลบหนีการสู้รบดังกล่าว แต่พรมแดนแห่งนี้ถูกปิดเป็นระยะๆ โดยอังการาระบุว่าพวกเขาจะอนุญาตให้ผู้ลี้ภัยเขามาในประเทศเฉพาะเมื่อมีวิกฤติร้ายแรงด้านมนุษยธรรมเท่านั้น

    ทางการตุรกีปิดพรมแดนแห่งนี้เมื่อวันอาทิตย์ (14) หลังจากที่รับคนอย่างน้อย 3,000 คนเข้ามาแล้วปล่อยให้อีกกว่าหลายพันคนติดค้างอยู่ภายนอกรั้ว โดยหลายคนตัดสินใจปักหลักเฝ้ารออยู่ข้ามคืน

    “หากตุรกียอมรับผู้ลี้ภัยระลอกใหม่จากเมืองทัลอับยัด นั่นหมายความว่าตุรกีควรเตรียมพร้อมรับการไหลทะลักของผู้ลี้ภัยอย่างน้อย 100,000 คน” นูมาน คูร์ตุลมุส รองนายกรัฐมนตรี กล่าวในวันนี้ (15)

    “เรามีความเห็นว่าไม่ได้มีวิกฤตด้านมนุษยธรรมในเมืองทาลอัมยาด เหมือนกับเมืองโคบานีหรือพื้นที่อื่นๆ ในซีเรีย” เขาบอกกับสถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นเติร์ก

    กองกำลังเคิร์ดมีเป้าหมายที่จะยึดคืนเมืองทาลอับยาดเพื่อที่จะปลดปล่อยเส้นทางผ่านจากเมืองโคบานีไปยังเมืองกอมิชลีซึ่งอยู่ติดกับพรมแดนอิรัก

    อังการา อดีตพันธมิตรของดามัสกัส ได้ยุติความสัมพันธ์กับประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด แห่งซีเรียในช่วงที่การลุกฮือต่อต้านรัฐบาลในปี 2011 พัฒนาจากการชุมนุมอย่างสงบสันติกลายเป็นสงครามกลางเมืองนองเลือด

    ในเดือนเมษายนรัฐบาลตุรกีเปิดเผยว่าได้ใช้จ่ายเงินไปเกือบ 5.5 หมื่นล้านดอลลาร์ไปกับการเลี้ยงดูผู้อพยพชาวซีเรีย

    ภายใต้นโยบาย “เปิดประตู” ที่ประธานาธิบดี เรเซป ตอยยิป เออร์โดแกน ให้การสนับสนุน ตุรกีได้รับผู้ลี้ภัยชาวซีเรียมาแล้วกว่า 1.8 ล้านคนนับตั้งแต่ที่ความขัดแย้งในซีเรียปะทุขึ้นในปี 2011

     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    [​IMG]

    [​IMG]

    ตุรกีเปิดพรมแดนรับ “ผู้ลี้ภัย” จากเมืองทางเหนือของซีเรีย ไม่จริงน่ะครับ เพราะมีจำนวนหนึ่งจากสมาชิกของกลุ่มดาอิช (ISIS) ได้ห้ามบรรดาผู้ลี้ภัยชาวซีเรียข้ามพรมแดนไปยังประเทศตุรกี และอยู่ห่างจากบรรดาทหารของตุรกีเพียงไม่กี่เมตร และกำลังบังคับให้บรรดาผู้ลี้ภัยชาวซีเรียย้อนกลับเข้าไปในซีเรีย เลยทำให้เกิดข้อสงสัยว่าตุรกีเป็นอะไรกับกลุ่ม ดาอิช (ISIS) กันแน่
     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    [​IMG]

    จากคำถามของเพื่อนในเฟสท่านหนึ่งที่ได้สอบถามผมว่า
    จริงๆสองสามวันที่ผ่านมาผมมีคำถามที่สงสัยครับ จริงๆผมจบการตลาดมา ไม่เกร่งเรื่องเศรษฐศาสตร์ครับ จึงสงสัยว่าเมื่อทำqe แล้ว ทำไมเงินเฟ้อครับ สมมติฐานที่เข้าใจคือ เมื่อเงินตีกลับเข้าระบบจะเข้าทางธนาคาร เพื่อให้เกิดการปล่อยกู้ และแน่นอนธุรกิจจะขยายตัว ในเมื่อรัฐควบคุมราคาอาหาร และค่าแรง ทำไมเงินเฟ้อครับ ถ้าเงินล้นตลาดแล้วภาครัฐเอาเงินไปสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานขยายความสามารถทางด้านการแข่งขัน เงินจะเฟ้อขึ้นเล็กน้อยแต่ไม่น่าจะเกิด hyper inflation..(มั๊งครับ) ถ้าเป็นกรณีเงินฟองสบู่ภาคการเงินนั้นเข้าใจ/ด้ครับแต่ทำไมถึง/ปกระทบภาคอุตสาหกรรมและบริโภค? หรือว่ากรณีนี้เกอดจากการกระจายการแข่งขันไม่ทั่วครับ เมื่อค่าครองชีพสูงขึ้นในเขตอุตสาหกรรม จึงดันให้ภาครวมเกิดเงินเฟ้อตามครับ? ต้องขอรบกวนสอบถามด้วยครับ

    คำตอบ
    เมื่อทำqe แล้ว ทำไมเงินเฟ้อครับ อาจจะเกิดขึ้นมาจากกการที่เมื่อเกิดการพิมพ์เงินออกมาเป็นจำนวนมาก แล้วเงินทะลักไปสู่การเก็งกำไรในสินค้าโภคภัณฑ์ ราคาอาหารและราคาน้ำมัน ทำให้ราคาสินค้าปรับตัวขึ้น อย่าลืมน่ะครับว่าเงินจากการทำ QE ส่วนใหญ่ นำไปซื้อหุ้น และนำไปชำระ หนี้ตราสารทางการเงิน และพันธบัตรคงคลัง และปล่อยกู้แก่ลูกหนี้ ที่บางส่วนยังไม่มีที่มาอย่างชัดเจน และในช่วงที่ผ่านมาเราเห็นว่าตลาดซื้อขายน้ำมันเชื้อเพลิงได้มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก (ขอยกตัวอย่างกรณีเดียว) มีการกักตุนน้ำมันเชื้อเพลิง และเก็งกำไรน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งเงินที่นำมาใช้ ถ้าคาดไม่ผิดก็น่าจะเป็นเม็ดเงินจากการทำ QE และเมื่อต้นทุนในการทำการผลิตเพิ่มขึ้นสูงมากๆ ราคาสินค้าทุกประเภทก็สูงขึ้นมากๆ ตามมาเอง ซึ่งผลกระทบนี้ทุกๆ ประเทศทั่วโลกก็โดนกันหมด ถึงแม้จะเลิกทำ QE ไปแล้ว แต่ในขณะนี้สภาพเศรษฐกิจก็ยังไม่ฟื้นตัว และก็มีกระแสว่าต้องทำอีก แต่ทำไม่ได้เพราะมีภาระหนี้สินท่วมตัวไปแล้ว ซึ่งเราก็ต้องไม่ลืมว่าหนี้ และดอกเบี้ยของหนี้ก็คือต้นทุน ยิ่งหนี้มหาศาล ก็คือการเพิ่มทุนจำนวนมหาศาลตามเข้าไป ราคาสินค้าก็จะแพงขึ้นไป และก็มาดูจากเหตุผลการทำ QE โดยปกติแล้วธนาคารกลางโดยส่วนใหญ่จะเลือกใช้วิธีการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นอันดับแรกในยามที่เศรษฐกิจชะลอตัวหรือถดถอย รวมถึงเกิดปัญหากับสถาบันการเงิน แต่เมื่อธนาคารได้ลดอัตราดอกเบี้ยลงต่ำเกือบ 0% แล้วยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำได้อีก ซึ่งผมคิอว่าถ้าจะเกิดเกิด hyper inflation ก็มาจากการที่ เศรษฐกิจชะลอตัวหรือถดถอย ไปถึงการนำมาตรการลดอัตราดอกเบี้ยลงต่ำเกือบ 0% มาใช้ก็ยังไม่ได้ผล และนำมาตรการ QE มาใช้หลายๆ ครั้ง ก็ไม่เป็นผล เศรษฐกิจก็จะยิ่งชะลอตัวหรือถดถอยลงไปเรื่อยๆ อีก จะว่าไปปัญหาก็มาจากการทำ QE น่ะแหละครับ ทำให้สาเหตุของปัญหามีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นหลายๆๆๆๆๆๆๆ เท่า และก็ซับซ้อนมากๆๆๆๆ

    ก่อนอื่นเราต้องมาดูกันก่อนว่า มาตราการ QE คืออะไร? แล้วทำไปทำไม? ข้อมูลจากเฟส ABAC Investment Society 5 เมษายน 2012 •
    ------------------------------------------------------------------------------------------------------------
    "Quantitative Easing (QE) คืออะไร?? ในทางเศรษฐศาสตร์มาตรการ QE ถือเป็นนโยบายด้านการเงิน (Monetary Policy) ซึ่งถูกใช้โดยธนาคารกลาง โดยการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเพิ่ม เป็นการเพิ่มสภาพคล่องให้กับสถาบันการเงินเพื่อนำไปปล่อยสินเชื่อเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอีกทอดหนึ่ง ทั้งนี้วิธีการในการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบทำได้โดยการที่ธนาคารกลางเข้าซื้อสินทรัพย์ทางการเงินจากสถาบันการเงินซึ่งอาจเป็นพันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้เอกชน หรือแม้กระทั่งตราสารหนี้ประเภทที่มีลูกหนี้สินเชื่อบ้านเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน "
    "ทำไมต้องใช้มาตรการ QE โดยปกติแล้วธนาคารกลางโดยส่วนใหญ่จะเลือกใช้วิธีการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นอันดับแรกในยามที่เศรษฐกิจชะลอตัวหรือถดถอย รวมถึงเกิดปัญหากับสถาบันการเงิน แต่เมื่อธนาคารได้ลดอัตราดอกเบี้ยลงต่ำเกือบ 0% แล้วยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำได้อีก มาตรการ QE จึงถูกนำมาใช้ ดังนั้นผมจึงอยากจะชี้ประเด็นนี้ให้ทุกท่านทราบว่าการที่ธนาคารกลางสหรัฐ ญี่ปุ่น ที่ประกาศว่าจะใช้มาตรการQE รอบ 2 นั้น แท้ที่จริงแล้วเป็นข่าวร้ายต่อภาวะเศรษฐกิจโลก ซึ่งแสดงว่ามาตรการ QE ที่ทำไปรอบแรกไม่เป็นผลเปรียบเสมือนคนไข้ที่ต้องให้ยาแรงเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ สำหรับมาตรการ QE นั้นไม่ได้มีแต่ประโยชน์ แต่มีโทษที่ต้องระมัดระวังด้วย เพราะการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบนั้นมีโอกาสที่จะทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อได้ ดังนั้นหากท่านที่ติดตามบทความของผมคงจำได้ว่า ผมเคยเขียนเกี่ยวกับเรื่อง Exit Strategy ซึ่งคือมาตรการตรงกันข้ามกับ QE เนื่องจากเป็นการดึงสภาพคล่องออกจากระบบนั่นเอง เพื่อลดความเสี่ยงเงินเฟ้อ ซึ่งผมเชื่อว่าจะกลับมาอีกครั้งหากพบสัญญาณของเงินเฟ้อ"
    (ที่มา โพสทูเดย์:: คุณ โดยสุกิจ อุดมศิริกุล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุนลูกค้าบุคคล บล.ไทยพาณิชย์)

    ความเป็นมาของการทำ QE ข้อมูลจาก https://asiaecovision.wordpress.com
    หลังจากปี 2550 ซึ่งเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินระหว่างปี 2550-2555 สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และกลุ่มประชาคมยุโรป ได้นำมาตรการนี้มาใช้ซึ่งเป็นมาตรการที่เรียกว่า อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ปลอดความเสี่ยง (risk-free short-term nominal interest rates) โดยในช่วงจุดสูงสุดของวิกฤตการณ์ทางการเงินในปี 2551 นั้นทุนสำรองระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกามีการขยายคัวอย่างมากซึ่งปรากฎในงบดุล โดยมีการเพิ่มเติมสินทรัพย์และหนี้สินใหม่ ๆ ที่ยังไม่มีที่มาอย่างชัดเจน ธนาคารกลางแห่งสหภาพยุโรปได้ชันโยบาย long term refinancing operations (LTRO) ระยะเวลา 12-36 เดือน ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของมาตรการผ่อนคลายในเชิงปริมาณทางการเงิน โดยผ่านกระบวนการในการขยายสินทรัพย์ที่ธนาคารสามารถใช้เป็นหลักประกันที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้ ซึ่งนำไปสู่การออกพันธบัตรของธนาคารกลางแห่งสหภาพยุโรป (European Central Bank) ซึ่งมีการระบุว่ามาตรการด้าน QE นี้ประสบความล้มเหลวในการกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัวในประเทศอังกฤษและยังคงสร้างสภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจนับแต่ปี 2552-2555 ซึ่งก่อให้เกิดความล่มสลายของระบบการเงินในยุโรป
    ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา ได้ครอบครองพันธบัตรคงคลังระหว่าง 700-800 พันล้านเหรียญก่อนเกิดภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจ ในช่วงปลายปี 2551 ธนาคารกลางได้เริ่มเข้าซื้อตราสารทางการเงินที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยหนุนหลัง(Mortgage-backed securities : MBS) มูลค่า 600 พันล้านเหรียญ โดยในเดือนมีนาคม 2552 ระดับหนี้ ตราสารทางการเงิน และพันธบัตรคงคลัง ได้เพิ่มขึ้นถึง 1.75 ล้านล้านเหรียญและทวีเพิ่มขึ้นเป็น 2.1 ล้านล้านเหรียญในเดือนมิถุนายน 2553 ในเพือนพฤศจิกายน 2553 ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาได้ประกาศมาตรการผ่อนคลายในเชิงปริมาณทางการเงิน รอบที่ 2 (QE2) โดยการเข้าซื้อพันธบัตรคงคลังมูลค่า 600 พันล้านเหรียญ และในวันที่ 13 กันยายน 2555 ที่ผ่านมาธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาได้ประกาศมาตรการผ่อนคลายในเชิงปริมาณทางการเงิน รอบที่ 3 (QE3) โดยวางแผนที่จะเข้าซื้อตราสารทางการเงินที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยหนุนหลัง(Mortgage-backed securities : MBS) มูลค่า 40 พันล้านเหรียญต่อเดือน นอกจากนี้คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน Federal Open Market Committee(FOMC) ได้ประกาศที่จะคงระดับอัตราดอกเบี้ยได้ที่ระดับใกล้ศูนย์ต่อไปจนถึงปี 2558
    มาตรการผ่อนคลายในเชิงปริมาณทางการเงินนั้น เราเรียกอย่างเล่น ๆ ว่า การพิมพ์ธนบัตรเพิ่มเติม (Printing Money) เป็นการดำเนินการจัดพิมพ์ธนบัตรซึ่งถือเป็นเม็ดเงินใหม่ ๆ ในการอัดฉีดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจนั่นเอง ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์.ในการเพิ่มเม็ดเงินในการที่จะช่วยกระตุ้นการจ้างงานของผู้ประกอบการในระบบเศรษฐกิจ อีกทั้งจะทำให้สถาบันการเงินสามารถดำเนินการปล่อยสินเชื่อในการดำเนินธุรกิจได้มากขึ้น

    ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย
    การพิมพ์เงินออกมาเป็นจำนวนมากทำให้เงินทะลักไปสู่การเก็งกำไรในสินค้าโภคภัณฑ์ ราคาอาหารและราคาน้ำมัน ทำให้ราคาสินค้าปรับตัวขึ้น กำลังซื้อของประชาชนก็ลดลง สำหรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจไทยนั้น อาจทำให้เกิดการไหลเข้าของเงินทุนของต่างชาติอย่างมหาศาล ซึ่งจะส่งผลต่อค่าเงินของประเทศที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น ทำให้มีการเก็งกำไรค่าเงินทีจะส่งผลต่อเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ การส่งออกอาจได้รับผลกระทบอย่างมากจากค่าเงินที่แข็งค่าขึ้น ซึ่งผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบในการรักษาอัตราแลกเปลี่ยนและผู้รับผิดชอบในการจัดการด้านการเงินของประเทศจะต้องมีมาตรการที่เข้มงวดในการดำเนินการเพื่อป้องกันไม่เกิดความผันผวนในอัตราแลกเปลี่ยน ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อการเติบ


    และต้องมางดูกันต่อว่า ภาวะเงินเฟ้อ (Inflation) คืออะไร เกิดจากอะไร วัดอย่างไร และถ้าสูงขึ้นมาก ๆ จะเกิดอะไรขึ้น ข้อมูลจาก ภาวะเงินเฟ้อ (Inflation) คืออะไร เกิดจากอะไร วัดอย่างไร และถ้าสูงขึ้นมาก ๆ จะเกิดอะไรขึ้น
    ภาวะเงินเฟ้อคืออะไร?
    หลายคนเมื่อได้ยินคำว่าเงินเฟ้อ อาจจะสงสัยว่าเงินเฟ้อคืออะไร แล้วเมื่อไรถึงจะเรียกว่าเกิดภาวะเงินเฟ้อ คำว่าภาวะเงินเฟ้อ หมายถึง ภาวะที่ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปในระบบเศรษฐกิจสูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งก็จะมีผลทำให้ค่าของเงินที่เราถืออยู่ลดลง ตัวอย่างของค่าของเงินที่ลดลงเช่น ราคาน้ำมันเคยอยู่ที่ 14 บาทต่อลิตร สมมติเราเคยเติมน้ำมัน 10 ลิตร ก็จะใช้เงิน 140 บาท แต่ปัจจุบัน ราคาน้ำมันได้กลายเป็น 28 บาทต่อลิตร หากเราใช้เงินเท่าเดิมคือ 140 บาท เราจะเติมน้ำมันได้เพียง 5 ลิตร ไม่ใช่ 10 ลิตรแบบที่เคยเติมได้ ซึ่งหากต้องการที่จะเติมน้ำมัน 10 ลิตร เท่าเดิม แปลว่าเราต้องใช้เงินเพิ่มขึ้นเป็น 280 บาท หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ การเกิดภาวะเงินเฟ้อ จะทำให้เงินจำนวนเท่าเดิมที่เราถืออยู่มีค่าลดลง ทำให้ซื้อของได้น้อยลง ซึ่งแน่นอนว่า เมื่อราคาน้ำมันแพงขึ้นแบบนี้ ต้นทุนในการขนส่งสินค้าจากแหล่งผลิตที่จะส่งไปขายยังที่ต่าง ๆ ก็ย่อมต้องสูงขึ้น และทำให้ราคาสินค้าชนิดอื่นๆ ต้องขึ้นราคาตามไปด้วย แต่การที่มีสินค้าแค่ชนิดใดชนิดหนึ่งแพงขึ้น จะยังไม่เรียกว่าเงินเฟ้อ เพราะภาวะเงินเฟ้อหมายถึง ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วๆ ไปแพงขึ้น ซึ่งเป็นไปได้ว่า อาจจะมีราคาสินค้าบางอย่างถูกลงด้วยในเวลาเดียวกัน แต่โดยรวม ๆ แล้ว หากราคาสินค้าและบริการโดยเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้น และเป็นเช่นนี้ต่อเนื่องไปสักพักหนึ่ง ถึงจะเรียกได้ว่าเกิดภาวะเงินเฟ้อ โดยที่เราจำเป็นต้องรู้เรื่องเงินเฟ้อ ก็เพื่อที่จะใช้สำหรับวัดค่าครองชีพหรือมาตรฐานการครองชีพของเรา (ประชาชน) ว่าดีขึ้นหรือแย่ลงอย่างไร
    เงินเฟ้อเกิดจากอะไร?
    ภาวะเงินเฟ้อเกิดขึ้นได้จากหลายๆ สาเหตุ แต่ส่วนใหญ่ในทางวิชาการมักจะแบ่งสาเหตุการเกิดเงินเฟ้อได้เป็น 2 สาเหตุหลักๆ ได้แก่ Cost-push inflation และ Demand-pull inflation
    (1) เกิดจากต้นทุนในการผลิตสินค้าสูงขึ้น หรือที่เรียกว่า Cost-push inflation ซึ่งต้นทุนที่ใช้ในการผลิตสินค้าอาจจะสูงขึ้นได้จากทั้งส่วนผสมหรือวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้า ค่าจ้างแรงงาน รวมทั้งค่าขนส่งสินค้า มีราคาแพงขึ้น เช่น กรณีของราคาน้ำมันที่แพงขึ้นก็เป็นตัวอย่างได้ หรือการที่มีการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงาน หรือเกิดน้ำท่วม ภัยแล้ง ทำให้ผลผลิตเกษตรเสียหาย ราคาสินค้าเกษตรก็แพงขึ้น เป็นต้น หรือแม้แต่ในกรณีที่ค่าเงินบาทอ่อนลง จาก 35 บาท เป็น 40 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ ซึ่งหมายถึงว่าเราต้องใช้เงินบาทจำนวนที่มากขึ้นเพื่อไปซื้อวัตถุดิบจากต่างประเทศมาผลิต) หรือแม้แต่การที่รัฐบาลเก็บภาษีเพิ่มขึ้น เช่น การเก็บภาษีบุหรี่เพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา หรืออาจเกิดจากผู้ผลิตต้องการกำไรที่สูงขึ้นจึงขึ้นราคาสินค้า ซึ่งไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม ก็จะมีส่วนทำให้ราคาสินค้าแพงขึ้นได้ ซึ่งสาเหตุเหล่านี้ อาจจะเกิดขึ้นเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ หรืออาจเกิดขึ้นพร้อมๆ กันก็ได้ ซึ่งหากเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน และทำให้ราคาสินค้าและบริการหลายๆ ชนิดแพงขึ้นพร้อมๆ กัน ความรุนแรงของเงินเฟ้อก็จะมากขึ้นด้วย
    (2) เกิดจากความต้องการสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้น หรือที่เรียกว่า Demand-pull inflation ส่วนใหญ่ในช่วงที่ปกติ ผู้ผลิตสินค้าส่วนใหญ่ก็ย่อมจะวางแผนการผลิตสินค้าโดยดูว่ามีคนต้องการซื้อสินค้าของเราเท่าไรในแต่ละช่วงเวลา ดังนั้น ปริมาณสินค้าที่มีในตลาดก็น่าจะอยู่ใกล้เคียงกับความต้องการซื้อสินค้า แต่หากความต้องการสินค้าและบริการสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่สินค้าและบริการที่เป็นที่ต้องการมีอยู่ในตลาดมีไม่พอ ก็ย่อมทำให้ราคาสินค้าและบริการแพงขึ้นได้ ซึ่งเมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้น คนจะยิ่งรีบใช้เงินซื้อสินค้าและบริการมาตุนไว้ ก่อนที่ค่าเงินที่มีอยู่จะลดลง เพราะซื้อสินค้าได้น้อยลง ราคาสินค้าและบริการจะยิ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นไปกว่าเดิม เพราะคนจะยิ่งรีบใช้เงินที่มีอยู่
    อย่างไรก็ตาม โดยปกติแล้ว หน่วยงานของทางการก็มักจะไม่ปล่อยให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อรุนแรง โดยทางการอาจจะเข้ามากำกับดูแลการปรับขึ้นราคาสินค้า ตัวอย่างเช่น การขอความร่วมมือให้ ขสมก. เลื่อนการขึ้นค่ารถเมล์ไปก่อน หรืออนุญาตให้ค่ารถเมล์ปรับขึ้นราคาได้บ้างนิดหน่อย เป็นต้น หรือในส่วนของธนาคารแห่งประเทศไทย อาจใช้นโยบายการเงินเพื่อดูแลปัญหาเงินเฟ้อ ทั้งนี้ ก็เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชนน้อยที่สุด

    เงินเฟ้อวัดอย่างไร?
    อัตราเงินเฟ้อในประเทศไทยวัดโดยสำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งได้ประกาศอัตราเงินเฟ้อเป็นประจำทุกเดือน โดยวิธีวัดอัตราเงินเฟ้อทำได้โดยการวัดการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาของสินค้าและบริการกลุ่มหนึ่ง ๆ ในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ ซึ่งระดับราคาของสินค้าและบริการ ใช้ชื่อว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index-CPI) ตัวอย่างการคำนวณอัตราเงินเฟ้อเดือนกุมภาพันธ์ 2550 โดยเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันเมื่อปีก่อน ซึ่งคือเดือนกุมภาพันธ์ 2549 เพื่อที่จะบอกว่าราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปแพงขึ้นหรือถูกลงเมื่อเปรียบเทียบกัน โดยดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ที่ประกาศโดยสำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า อยู่ที่ 114.5 ส่วนเดือนกุมภาพันธ์ปี 2549 อยู่ที่ 111.9



    ดังนั้น
    อัตราเงินเฟ้อของเดือนกุมภาพันธ์ 2550 เอา 114.5 – 111.9 เสร็จแล้วหารด้วย 111.9 แล้วคูณด้วย 100 ได้ค่าเม่ากับ 2.3 % ซึ่งอันนี้จะมีความหมายว่า ระดับราคาสินค้าและบริการโดยรวมมีราคาสูงขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน 2.3% หรือหากเรามีเงินจำนวนเท่าเดิมกับปีที่แล้ว ค่าของเงินที่เราถืออยู่จะด้อยค่าไป 2.3% ซึ่งทำให้ซื้อของได้น้อยลง


    ถ้าเงินเฟ้อสูงขึ้นมาก ๆ จะเกิดอะไรขึ้น?
    โดยปกติแล้ว หากเงินเฟ้อสูงขึ้นนิด ๆ หน่อย ๆ (ปกติตามหลักวิชาการคือเงินเฟ้อที่สูงไม่เกิน 5% จะเรียกเงินเฟ้ออย่างอ่อน (Mild inflation)) จะเป็นสิ่งที่ดีที่กระตุ้นเศรษฐกิจได้ เพราะจะช่วยสร้างแรงจูงใจให้ผู้ผลิตมีการลงทุนขยายการผลิต และมีการจ้างงาน ซึ่งทำให้เศรษฐกิจประเทศขยายตัวได้ดี ไม่มีผลเสียต่อเศรษฐกิจ แต่หากเงินเฟ้อสูงขึ้นมาก ๆ และสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนยากที่จะคาดเดาได้ว่าเงินเฟ้อจะเป็นเท่าไร (Hyper inflation) จะมีผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจ เพราะจะทำให้ผู้ผลิตไม่สามารถวางแผนการผลิตและลงทุนได้ เพราะไม่รู้ว่าวัตถุดิบที่จะซื้อเข้ามาราคาจะเป็นเท่าไร จะตั้งราคาสินค้าเท่าไร เพื่อให้ยังมีกำไร ขณะที่ประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภคเองก็ไม่แน่ใจว่าราคาสินค้าจะแพงขึ้นอีกหรือไม่ เงินจำนวนเท่าเดิมที่มีอยู่ในกระเป๋าก็ด้อยค่าลงไป เพราะข้าวของแพงขึ้น ทำให้ซื้อของได้น้อยลง ธุรกิจก็ขายของได้น้อยลง ซึ่งที่สุดแล้วจะทำให้เศรษฐกิจของประเทศแย่ลงได้
    โดยสรุปคือ ภาวะเงินเฟ้อใช้เพื่อวัดค่าครองชีพของประชาชน ภาวะเงินเฟ้อจะเกิดขึ้นต่อเมื่อราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปสูงขึ้นต่อเนื่อง หากสูงขึ้นแล้วปรับลดลง จะไม่นับว่าเกิดภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งเงินเฟ้อในระดับอ่อนๆ จะไม่สร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ แต่หากเกิดภาวะเงินเฟ้อสูงๆ จะทำให้ค่าของเงินที่เรามีอยู่ด้อยค่าลงไป ทำให้ซื้อของได้น้อยลง ธุรกิจไม่สามารถผลิตหรือลงทุนได้เพราะมีความไม่แน่นอนเรื่องราคาอยู่สูง ซึ่งจะมีผลกระทบทางลบต่อระบบเศรษฐกิจในที่สุด

    Related link:
    ::
     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ปอกเปลือก ทรราช
    ประธานาธิบดีของโบลิเวียบอกว่าอยากเห็นเทคโนโลยีของรัสเซียในลาตินอเมริกามากขึ้น

    [​IMG]

    -----------
    ว้าว!... ตอนนี้ขอจัดข่าวเบาๆให้ก่อนนะครับ เดี๋ยวเมนคอร์สตามมาทีหลัง... เมื่อวันที่ 10 มิ.ย.58 ที่ผ่านมา Sputnik news รายงานว่านาย Evo Morales ปธน.ของโบลิเวีย (หนึ่งในประเทศลาตินอเมริกาไม่มีพื้นที่ติดทะเล มีชายแดนล้อมรอบด้วยบราซิล เปรู ชิลี อาร์เจนติน่า และปารากวัย) กล่าวว่าในอนาคตนี้เขาหวังที่จะเห็นเทคโนโลยีของรัสเซียปรากฎขึ้นในกลุ่มประเทศลาตินอเมริกาเพิ่มมากขึ้นซึ่งเขามีความสนใจที่จะให้ความร่วมมือด้วย
    ปธน. Evo Morales ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว RT news ของรัสเซียว่า "ในอดีตนั้นเทคโนโลยีของอเมริกาเหนือ (สหรัฐฯ) มีบทบาทอยู่ระดับแถวหน้าในลาตินอเมริกาและในกลุ่มประเทศแคริบเบียน แต่ปัจจุบันนี้แทบจะไม่ปรากฎให้เห็นแล้ว ส่วนของยุโรปนั้นก็มีไม่ค่อยมากเท่าไร แต่ของเอเซียนี้เพียบเลย (หมายถึงของจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น?) หากเป็นไปได้นะ ยกตัวอย่างเช่น ผมอยากจะเห็นเทคโนโลยีของรัสเซียปรากฎ (ในลาตินอเมริกา) ด้วย" (โอ้… อเมริกาพระเอกในหนัง แต่เป็นตัวอิจฉาในชีวิตจริงได้ยินเข้าจะไม่ตีอกชกตัวหาเรื่องกลั่นแกล้งชาวบ้านเขาอีกหรือนี่)
    สำนักข่าว Sputnik รายงานเพิ่มเติมว่าในช่วงที่ความสัมพันธ์ของรัสเซียกับยุโรปกำลังมีปัญหากันเนื่องจากวิกฤตยูเครนั้น กรุงมอสโคว์ได้เพิ่มความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้าและอื่นๆกับกลุ่มประเทศลาตินอเมริกาและเอเซีย-แปซิฟิกมากขึ้น หลายประเทศในลาตินอเมริกาได้แสดงความสนใจในความร่วมมือกับรัสเซียในด้านการพัฒนาไฮเทคและโรงงานผลิตสินค้า อาร์เจนตินา เวเนซูเอล่า โคลอมเบีย เม็กซิโก และชิลีได้แสดงความสนใจในการพัฒนาความร่วมมือด้านการค้าต่างประเทศร่วมกับรัสเซีย
    และวันที่ 16 มิ.ย.58 คณะผู้ชำนาญการด้านกองทัพของเวเนซูเอล่าก็ได้ไปสังเกตการซ้อมรบของกองทัพรัสเซียที่ไซบีเรียด้วย (จะขายของก็ต้องโชว์กันหน่อย) งานนี้รัสเซียจัดหนักให้เวเนซูเอล่าได้ชมเป็นขวัญตา ส่งทหาร 300 นายเข้าสู่สนาม หน่วยปืนใหญ่อีก 150 ชุด รวมทั้งยุทโธปกรณ์และอาวุธหนักอื่นๆเพียบ เช่นระบบทำลายรถถัง Shturm-S และปืนใหญ่ Msta-B howitzers ขนาด 152 มม. ตามด้วยเฮลิค็อปเตอร์ Mi-24 เป็นทั้งเฮลิค็อปเตอร์จู่โจมและโดยสารขนาดจำนวนไม่มาก (มีที่นั่งสำหรับผู้โดยสาร 8 ที่นั่ง)
    แอ็ดมินก็เลยนำเอาภาพเทคโลโยลีทางทหารของรัสเซียมาให้ดูเล่นๆ มีทั้ง YAK-130 เครื่องบินรบจิ๋วแต่แจ๋ว สื่อฯรัสเซียกำลังโปรโมทอยู่ในตอนนี้ และที่ชอบมากกกกก็คือ Kamov Ka-52 Alligator/Hokum-B สุดยอดเฮลิค็อปตเตอร์จู่โจมที่ทันสมัยที่สุดในโลกในตอนนี้ (เห็นทางรัสเซียเขาบอกมาว่าอย่างนั้นนะ) ส่วนรถถัง Armata T-14 และเรื่องบินรบสเตลธ์รุ่นที่ 5 อย่าง Sukhoi PAK FA T-50 นั้นคงไม่ต้องบรรยายสรรพคุณกันบ่อยๆนะ รัสเซียบอกเลยว่า F-22 ของสหรัฐฯถ้าเจอกับ T-50 นั้น F-22 ชิดซ้ายไปเลย
    The Eyes
    17/05/2558
    ----------
    Bolivian President Hopes to See More Russian Technology in Latin America / Sputnik International
    Venezuelan Military Experts to Monitor Russian Military Drills in Siberia / Sputnik International
    Tiny Plane With Killer Arms: UK Press Abuzz Over Russian Yak-130 / Sputnik International
     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ปอกเปลือก ทรราช

    อียูหลอกตัวเองที่ดำเนินตามนโยบายของสหรัฐฯในคิวบา

    [​IMG]

    -----------
    เมื่อวันที่ 15 มิ.ย.58 ที่ผ่านมาสำนักข่าว Sputnik news พาหัวข่าวเรื่องหนึ่งว่า "EU 'Making Fool of Itself' by Following US Policy on Cuba" แปลตามหัวเรื่องข้างบนนั่นแหละครับ นี่ไม่ใช่คำพูดของคิวบานะ แต่เป็นอดีตส.ส.ของอียูพูด
    Willy Meyer อดีตสมาชิกสภายุโรปจากสเปนกล่าวว่า "สหภาพยุโรปมีปัญหาพื้นฐานอยู่อย่างหนึ่ง คือยุโรปเอาเรื่องเศรษฐกิจ ความมั่นคง การป้องกันประเทศและนโยบายต่างประเทศไปแขวนไว้กับสหรัฐฯ... แล้วคราวนี้พวกเราก็ถูกดึงเข้าไปสู่นโยบายต่างประเทศที่ไม่มีคุณค่า (/ประโยชน์) ต่อยุโรปเลย ตัวอย่างที่เห็นนั่นก็คือกรณีของคิวบา สหภาพยุโรปกำลังหลอกตัวเอง (The European Union made a fool out of itself.)"
    กรุง Havana และกรุง Burssels กำลังมีการเจรจาหารือและต่อรองกันเพื่อพัฒนาการเจรจาด้านการเมืองและความร่วมมือระหว่างกันในช่วงวันจันทร์และวันอังคารนี้
    Willy Meyer กล่าวอีกว่า "อียูไม่ควรที่จะต้องรอการเจรจาหลายๆรอบเพื่อยุติสิ่งที่เรียกว่า 'จุดร่วม' (common position - หมายถึงการกำหนดนโยบายท่าทีร่วมกัน) และดูแลรักษาคิวบาเหมือนกับประเทศอื่นในโลก"
    เมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2008 สหภาพยุโรปได้ยกเลิกการแซงชั่นคิวบา ซึ่งได้ทางอียูกระทำต่อคิวบาเป็นระยะเวลา 5 ปีหลังจากที่นักการเมืองฝ่ายค้านของคิวบาจำนวน 70 คนถูกจับกุมในคิวบา (แต่คิวบาก็ไม่สนใจ อยากแซงชั่นก็แซงชั่นไป เพราะคิวบาเขาถือว่าเขาไม่ได้เป็นประชาธิปไตยอยู่แล้ว และพวกนักการเมืองเหล่านั้นก็ดูเหมือนว่าจะได้รับการสนับสนุนจากตะวันตกซะด้วย)
    พออียูยกเลิกแซงชั่นคิวบา หลังจากที่คิวบาไม่สะทกสะท้านอะไร และคิวบาก็หันไปสนิทสนมกับจีนและรัสเซียเพิ่มมากขึ้น สหรัฐฯเห็นท่าไม่ดีจึงต้องรีบเข้าไปขอสานสัมพันธ์กับคิวบาอีกรอบหลังจากที่ตัดขาดกันมาเป็นเวลาถึง 50 ปี คิวบาจะเอาอะไรสหรัฐฯพร้อมที่จะสนองให้ทุกอย่าง ขออย่างเดียวว่าคิวบาอย่าคบกับรัสเซียและอย่าอนุญาตให้รัสเซียนำหัวรบนิวเคลียร์มาไว้ที่คิวบาเพื่อจ่อก้นสหรัฐฯเหมือนกับสมัยสงครามเย็นอีกเลยนะ แต่คิวบาก็ไว้ใจรัสเซียและจีนมากกว่าสหรัฐฯและอียู ตอนนี้คิวบาเนื้อหอมมากทั้งในสหรัฐฯและในอียู วันก่อนคิวบาด่าอียูเอง วันนี้ส่งอดีตส.ส.สเปนไปด่าอียูแทน
    The Eyes
    16/05/2558
    ----------
    EU 'Making Fool of Itself' by Following US Policy on Cuba / Sputnik International
     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ปอกเปลือก ทรราช
    Plan B ทีเด็ดของอิตาลีดัดหลังอียู อิตาลีขู่จะปล่อยคลื่นผู้อพยพลี้ภัยในประเทศให้ไหลทะลักเข้าสู่อียู ซวยหละสิ!

    [​IMG]

    ----------
    อ่านข่าวนี้แล้วมันทำให้รู้สึกสะใจยังไงก็ไม่รู้นะ... คริๆ จำได้ไหมว่าเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาปูตินได้เดินทางไปเยี่ยมอิตาลี แล้วก็คุยกันกระหนุงกระหนิงกับนายกฯอิตาลี มีอยู่ตอนหนึ่งปูตินสังเกตเห็นสีหน้าของนายกฯ Matteo Renzi ไม่ค่อยจะรู้สึกดีสักเท่าไรนัก ปูตินจึงเอ่ยถามว่า "น้องรัก ทำไมสีหน้าบ่งบอกว่ามีความกังวลใจ น้ำมันมะกอกขายไม่ดีหรือ หรือว่ามีปัญหาอะไรคิดไม่ตกอย่างนั้นรึ?" Matteo Renzi จิบปากนิดนึงพร้อมกับกัดริมฝีปากล่าง นิ่งไปพักหนึ่ง จึงเอ่ยเบาๆขึ้นว่า "เฮียครับ ก็จะมีเรื่องอะไรอีกหละครับ นอกจากเรื่องปัญหาผู้ลี้ภัยจากแฟริกาที่ไหลทะลักเข้ามาในอิตาลีจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนหนะ" ปูตินถามว่า "อยากได้คำแนะนำจากพี่ไหม?" นายกฯอิตาลีรีบบอกเลยว่า "นั่นแหละครับที่อยากได้ยิน" ปูตินจึงเรียก Matteo Renzi เข้ามาใกล้ แล้วกระซิบใกล้ๆหูของ Matteo Renzi ว่า "ซุบซิบๆๆๆๆ" (ว้า! แอ็ดมินมามุกนี้อีกหละ.... คริๆ อย่าพึ่งเซ็งดิ อ่านต่อนะครับ) หลังจากที่ Matteo Renzi ได้ฟังคำแนะนำจากปูตินแล้ว ทั้งสองก็มองหน้ากันปูตินส่งยิ้มให้ ส่วนนายกฯอิตาลีก็หัวเราะเบาๆว่า "ฮี่ๆ… Thank you very much, Sir!" ปูตินบอกว่า "รู้กันแค่สองคนเรานะ แล้วอย่าไปบอกใครหละว่าปูตินเป็นคนแนะนำ"
    หลังจากที่ปูตินเดินทางกลับไปแล้ว เมื่อวานนี้ (15 มิ.ย.58) ทางสำนักข่าว Sputnik news ก็พาดหัวข่าวฉบับหนึ่งว่า "Italy Threatens to Allow Undocumented Migrants to Travel in Europe" แปลว่า "อิตาลีขู่ว่าจะอนุญาตให้ผู้อพยพที่ไม่มีเอกสารเดินทางเข้าไปในยุโรปได้" (ซวยหละสิอียูเอ๋ย!)
    เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาหนังสือพิมพ์ Corriere della Sera ของอิตาลีรายงานว่า "อิตาลีจะพิจารณาออกใบอนุญาตที่พักอาศัยชั่วคราวให้เหล่าผู้อพยพที่ไม่มีเอกสาร ที่เดินทางเข้ามาในประเทศอิตาลีผ่านชายฝั่งทางทิศใต้ของประเทศ หากว่าสหภาพยุโรปปฏิเสธที่ยืนเคียงข้างกรุงโรมในการหยุดยั้งการไหลบ่าเข้ามาของบรรดาผู้อพยพ"
    นายกฯ Matteo Renzi ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของอิตาลีว่า "กรุงโรมได้เตรียมที่จะปล่อยกลุ่มผู้อพยพเข้าไปในยุโรป โดยอนุญาตให้พวกเขาสามารถเดินทางข้ามชายแดนเข้าไปในกลุ่มประเทศเชงเกนได้ (Schengen countries)" Schengen countries หรือ Schengen area เป็นเขตพื้นที่ 26 ประเทศในยุโรปที่ทำข้อตกลงร่วมกันว่าประชาชนสามารถเดินทางไปมาหาสู่กันได้โดยไม่ต้องใช้พาสปอร์ตหรือหนังสือเดินทางใดๆในการข้ามแดนไปมาหาสู่กัน (เหมือนกับที่เราเดินทางจากจังหวัดหนึ่งไปยังจังหวัดหนึ่งนั่นแหละ)
    นี่ถือว่าเป็นคำเตือนจากกรุงโรมไปถึงกรุงบรัสเซลส์ซึ่งเป็นแผน B ของอิตาลี ปัจจุบันนี้ (2015) อิตาลีรับผู้ลี้ภัยเข้ามาอยู่ในประเทศแล้วจำนวน 57,000 คน รายงานข่าวบอกว่าคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) กำลังถกเถียงกันถึงเรื่องแบ่งโควต้ารับดูแลผู้อพยพจากอิตาลีจำนวน 24,000 คนเข้าไปในประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรป และก็มีหลายประเทศที่ไม่เห็นด้วยกับแผนนี้ เช่นอังกฤษปฏิเสธหัวชนฝาเลยว่า "ไม่เอา!" ฝรั่งเศสก็ "ไม่เอา!" เยอรมันนีบอกว่า "เอา"
    จำได้ว่ามุกนี้คุ้นๆนะ... จึงลองค้นดูข่าวเก่าที่เคยนำเสนอมาแล้วหนหนึ่ง ก็พบว่า อ้อ… เคยเล่ามาแล้วหนหนึ่งเมื่อวันที่ 11 มีนาคมที่ผ่านมานี้เอง ตอนนั้นกรีซขู่อียูแบบนี้แหละ ความบางตอนว่า "เรื่องมีอยู่ว่าเมื่อวานนี้ (10 มี.ค.58) สื่อฯรายงานว่านาย Panos Kammenos รมว.กลาโหมของกรีซได้ออกมาพูดกับสื่อฯว่ากรีซจะปล่อยคลื่นผู้อพยพเนื่องจากปัญหาทางเศรษฐกิจจำนวนหลายล้านคนเข้าสู่ยุโรป ยกเว้นอียูจะยอมถอยเรื่องมาตรการรัดเข็มขัดของกรีซ หากกรีซไม่ได้รับเงินช่วยเหลือจากอียูตามที่ได้ตกลงกันไว้ และหากอียูปล่อยให้กรีซต้องเผชิญกับวิกฤตอีกต่อไป... "
    ทั้งกรีซและอิตาลีต่างก็เป็นพันธมิตรที่เหนียวแน่นของรัสเซียนะครับ และในกรีซก็มีผู้อพยพจากแอฟริกาและตะวันออกกลางเข้าไปลี้ภัยอยู่เป็นจำนวนมากเช่นกัน หลังจากที่นายกฯ Matteo Renzi ของอิตาลีได้พบกับปูตินแล้ว ผู้นำอิตาลีก็ผุดไอเดียนี้ขึ้นมาทันทีเลย แล้วทำไมก่อนหน้านี้ถึงไม่เล่นมุกนี้หละ? อียูรู้จักปูตินน้อยไปซะแล้ว ฮี่ๆ
    แค่นั้นแหละ อียูรีบยกเรื่องปัญหาผู้ลี้ภัยข้ามชายแดนระหว่างอิตาลีกับฝรั่งเศสขึ้นมาคุยกันทีเลย ที่ตลกก็คือว่าทาง Switzerland และ Austria ที่มีชายแดนติดกับอิตาลีถึงกับรีบออกคำสั่งให้มีการตรวจตราบริเวณชายแดนอย่างเข้มงวดเพื่อป้องกันผู้อพยพจากอิตาลีไหลบ่าเข้าประเทศตัวเอง และเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาทางตำรวจของออสเตรียบอกกว่าจะผลักดันผู้อพยพชาวแอฟริกาจำนวน 20 คนกลับเข้าไปในเยอรมันนี ส่วนทางตำรวจสวิสบอกว่าจะส่งผู้อพยพจำนวน 240 คนกลับไปยังอิตาลี อ้าวไม่มีใครอยากได้ซักคนเลยรึ โน่นสหรัฐฯเขาเรียกร้องบอกว่าจะเป็นเจ้าภาพรับเลี้ยงดูเอง ทำไมอียูถึงไม่ส่งไปที่สหรัฐฯโน่นเล่า? ถ้าปูตินมามุกนี้นะ เสร็จแน่อเมริกาเอ๋ย
    The Eyes
    16/06/2558
    ----------
    Italy Threatens to Allow Undocumented Migrants to Travel in Europe / Sputnik International
    EC to Discuss Italy-France Standoff Over Migrants With Interior Ministers / Sputnik International
    http://rt.com/news/267160-italy-migrants-eu-problem/
    https://www.facebook.com/fisont/posts/1636960393190761
     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ปอกเปลือก ทรราช
    หือ… สหรัฐฯอ้อนจีนเข้าร่วมซ้อมรบด้วยกัน... ปัดโธ่! นึกว่าจะแน่

    [​IMG]

    ----------
    วันนี้ (16 มิ.ย.58) หวยออก คริๆ ใช่ๆ… สำนักข่าว Sputnik news พาดหัวข่าวว่า "US Invites China to Joint War Games After Military Agreement" แปลว่า "สหรัฐฯเชิญจีนร่วมเกมสงครามหลังจากทำข้อตกลงทางทหารร่วมกัน" และ Sputnik news พาดหัวข่าวรองว่า "ท่ามกลางความตึงเครียดระหว่างประเทศในทะเลจีนใต้ กรุงปักกิ่งและกรุงวอชิงตันได้ดำเนินการครั้งสำคัญมุ่งสู่การกลับมาประณีประนอมกัน การลงนามข้อตกลงร่วมกันก็เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพของทั้งสองประเทศ"
    ส่วน RT news ของรัสเซียเช่นกันพาดหัวข่าวว่า "US, China strike deal, set to hold joint military drills" แปลว่า "สหรัฐฯ, จีน บรรลุข้อตกลง จัดตั้งการฝึกซ้อมทางทหารร่วมกัน" และ RT news ขยายความว่า "สหรัฐฯและจีนได้ลงนามข้อตกลงในเรื่องยากๆ เพื่อสร้างความเข้มแข็งในสายสัมพันธ์และพัฒนาความสัมพันธ์ทางกองทัพให้มีประสิทธิ์ภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ความไม่ไว้วางใจกัน (mistrust) ก็ยังคงมีอยู่ โดยทางกรุงปักกิ่งกล่าวว่ากระบวนการความคืบหน้าสามารถทำได้ หากกรุงวอชิงตันเคารพความปรารถนา (ambition) ของจีนในทะเลจีนใต้"
    ตรงนี้สื่อฯรัสเซียเหมือนจะไม่ค่อยชอบใจเท่าไรนัก เห็นได้ชัดว่างานนี้ RT news เลือกจะใช้คำว่า "ambition" ซึ่งแปลได้หลายความหมายเช่น "ความทะเยอทะยาน, ความมักใหญ่ใฝ่สูง, ความปรารถนา และความใฝ่ฝัน" ต่อสถานการณ์นี้ถือว่าเป็นคำพูดที่ค่อนข้างแรง (และเป็นลบต่อจีน)เมื่อมองในมุมของพันธมิตรที่เหนียวแน่นระหว่างรัสเซียกับจีนแล้ว โดยทั่วไปแล้วสื่อฯรัสเซียน่าจะเชียร์จีนมากกว่า แต่ครั้งนี้ RT news กลับเลือกที่จะใช้คำพูดในเชิงเหน็บแนม ประชดประชัน จิกกัดแทน พฤติกรรมเริ่มจะเหมือนสื่อฯกระแสหลักของตกวันตกหละ ในขณะที่ Sputnik news เขียนว่า "แม้ว่านี่จะเป็นสัญญาณของความก้าวหน้า แต่ทางเจ้าหน้าที่ของจีนก็ยังคงยืนยันว่า เพนตากอนจะต้องดำเนินการอย่างระมัดระวังในการกระทำที่เป็นการยั่วยุจีนในทะเลจีนใต้" (นี่ Sputnik พูดกลางๆแบบนี้ต่างกับของ RT นะ)
    พื้นที่พิพาทในทะเลจีนใต้นั้นจุดยืนของจีนก็คือ "นั่นเป็นอาณาเขตของจีน จีนมีสิทธิ์ที่จะสร้างอะไรก็ได้บนพื้นที่อธิปไตยของจีน" นี่คือการตอบโต้ใส่สหรัฐฯจากฝั่งจีน แต่เมื่อรัสเซียถูกสหรัฐฯและอียูกล่าวหาทั้งในกรณีของไคร์เมียและยูเครนตะวันออก สื่อฯรัสเซียจะยืนยันว่าตัวเองทำถูกต้องเสมอ ในหลายๆเรื่องนั้นสื่อฯรัสเซียเชียร์จีนอยู่แล้ว แต่กรณีนี้เมื่อเห็นจีนจับมือกับสหรัฐฯสื่อฯรัสเซียกลับเก็บอาการไม่อยู่ แทนที่จะใช้คำพูดว่า "…หากกรุงวอชิงตันเคารพสิทธิ์และอธิปไตยในทะเลจีนใต้ของจีน" RT กลับเลือกที่จะใช้คำว่า "ambition" แทน ส่วนท่าทีจากกรุงมอสโควต่อกรณีนี้ยังไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆออกมา
    ในขณะที่สำนักข่าว China Daily และ People's Daily ของจีน ลงข่าว ณ จุดนี้ว่า "…Chinese military leader has warned Washington to be cautious in its words and deeds on key issues involving China's territorial integrity." แปลว่า "ผู้นำทางกองทัพของจีนได้เตือนกรุงวอชิงตันให้ระมัดระวังคำพูดคำจา (ระวังปาก) และการกระทำของตนในประเด็นที่เกี่ยวกับบูรณภาพแห่งดินแดนของจีน" (แค่นี้)
    พูดแบบกลางๆ เราจะเห็นบางอย่างที่สื่อฯหลายสำนักต้องการจะสื่อออกมาในการนำเสนอข่าวของสื่อฯอยู่เหมือนกัน พฤติกรรมแบบนี้เจอค่อนข้างบ่อยในการนำเสนอข่าวจากสื่อฯของฝั่งตะวันตก ฝั่งรัสเซียก็มีเช่นกัน แต่ไม่ค่อยเจอบ่อยเท่าไรนัก ที่พูดมาซะยึดยาวนี่เพื่ออะไร? ก็เพื่อจะบอกว่าในการเสพข่าวนั้น แม้จะเป็นข่าวจากสื่อฯที่เราติดตามอยู่ประจำหรือชื่นชอบเป็นการส่วนตัว ก็ควรที่จะใช้ความระมัดระวังในการเสพข่าวด้วย หากเชื่อตามที่สื่อฯพูดทุกอย่างเราก็อาจจะตกเป็นเหยื่อหรือถูกจูงจมูกได้ง่ายๆ เพราะพวกที่เขียนข่าวเหล่านั้นก็เป็นมนุษย์ที่ยังมีกิเลสมีความอคติลำเอียงได้เหมือนกับคนทั่วไปเช่นกัน ดังจึงจำเป็นต้องใช้วิจารณญาณในการเสพข่าวให้ดี
    ว่าจะเล่าข่าวย่อๆให้ฟังซะหน่อย เล่นวิจารณ์สื่อฯซะยาวเลย กลับอ่านข่าวต่อนะ... เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมาสายสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหรัฐฯได้เข้าสู่ภาวะที่แข็งเป็นหิน (พร้อมที่จะแตกหักได้ทุกเมื่อ) แต่สัปดาห์ที่ผ่านมา นายพล Fan Changlong รองประธานคณะกรรมาธิการกองทัพกลางของจีนพร้อมด้วยคณะได้เดินทางไปที่กรุงวอชิงตัน นับเป็นการพบกันครั้งประวัติศาสตร์ระหว่างกองทัพของทั้งสองประเทศ สิ่งนี้ถือว่าเป็นการทำข้อตกลงทางทหารร่วมกันทั้งสองประเทศเป็นครั้งแรกเพื่อระหว่างจีนกับสหรัฐฯ
    ในข้อตกลงกันนี้ Guan Youfei ผู้อำนวยการสำนักกิจการต่างประเทศกระทรวงกลาโหมของจีนกล่าวว่า จีนกับสหรัฐฯจะจัดซ้อมรบร่วมกันบนภาคพื้นดินขึ้นในปีหน้าภายใต้ปฏิบัติการ "Rim of the Pacific" ซึ่งจะเป็นการซ้อมรบร่วมกันครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก! (ว้าววว! เขาจะซ้อม หรือว่าจะรบกันจริงๆหละนี่?) การทำข้อตกลงร่วมกันนี้มีการสังเกตการณ์โดย Fan Changlong รองประธานคณะกรรมาธิการกองทัพกลางของจีน และ Raymond Odierno เสนาธิการจากกองทัพของสหรัฐฯ นี่เป็นหนึ่งในสองข้อตกลงที่จีนกับสหรัฐฯทำร่วมกัน ส่วนอีกข้อตกลงหนึ่งเป็นเรื่องการดำเนินการ การผนวกน่านฟ้าเข้าด้วยกัน (?) (air-to air annex) ซึ่งกำลังอยู่ในขั้นตอนการเจรจาระหว่างจีนกับสหรัฐฯ คาดว่าจะมีการลงนามกันก่อนเดือนพฤศจิกายนนี้เมื่อปธน.สี จิ้นผิงจะเดินทางไปเยี่ยมกรุงวอชิงตัน
    พลตรี Yau Yunzhu นักวิจัยอาวุโสที่สถาบันการศึกษาด้านกองทัพของกองทัพจีนกล่าวกับสำนักข่าว China Daily ว่า "การผนวกรวมการเผชิญหน้ากันแบบอากาศสู่อากาศ มีเป้าหมายเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤตต่างๆขึ้นมา ในขณะที่กลไกในการเจรจาระหว่างกองทัพของทั้งสองประเทศจะเป็นตัวช่วยให้เกิดความร่วมมือกัน"
    นายพล Guan Youfei กล่าวว่าทั้งสองฝั่ง (จีนกับสหรัฐฯ) ได้จัดซ้อมรบทางทหารร่วมกันขึ้นมานี้อยู่บนพื้นฐานของการสร้างความเชื่อมั่นในเงื่อนไขว่าจะมีการนำไปดำเนินการได้อย่างถูกต้อง (ต่อไป)
    ส่วน Zhao Xiaozhuo ผู้ชำนาญการด้านกองทัพสหรัฐฯประจำสถานศึกษาแห่งหนึ่ง (ของจีน?) กล่าวว่า "กรุงปักกิ่งมีหลายหนทางในการตอบโต้มากกว่าแต่ก่อน เมื่อสหรัฐฯพยายามที่จะขัดขวางผลประโยชน์ตามกฎหมายของจีน นั่นคือเหตุผลว่าทำไมการไปเยี่ยมสหรัฐฯของนายพล Fan และการลงนามกลไกการเจรจากันตามที่มีการกำหนดเวลาเอาไว้แล้ว ไม่ได้จนตรอกโดยท่าทีที่รุนแรงของสหรัฐฯต่อกรณีทะเลจีนใต้" - จบข่าว...
    + วิเคราะห์การซ้อมรบร่วมกันระหว่างจีนกับสหรัฐฯ
    -----------
    เม้าท์กันเล่นๆหน่อยดีไหม?... คิดยังไงกับการเดินหมากของทั้งฝั่งสหรัฐฯและฝั่งจีนในครั้งนี้? ภาพที่เห็นได้ชัดก่อนหน้านี้ก็คือสหรัฐฯเน้นความก้าวร้าว รุนแรง พยายามแสดงให้ทั่วโลกเห็นว่าสหรัฐฯคือมหาอำนาจตัวจริงของโลก สามารถที่จะชี้มือสั่งใครให้ปฏิบัติตามก็ได้ ไม่เว้นแม้กระทั่งจีนกับรัสเซีย เพราะสหรัฐฯยังคิดว่าตัวเองเป็นพี่เบิ้มของประเทศที่กำลังพัฒนาและทั่วโลกอยู่ แต่เวลาเปลี่ยนไปแล้ว จีนก้าวขึ้นมาเบียดสหรัฐฯ และกรณีข้อผิดพิพาทในทะเลจีนใต้นี้ จีนก็ไม่ยอมสหรัฐฯเช่นกัน
    จึงนำมาซึ่งการปะทะคารมกันอยู่บ่อยๆ ทางสหรัฐฯก็พยายามเสี้ยมให้ประเทศต่างๆในอาเซียนขัดแย้งกับจีนมากขึ้น แต่จีนก็ไม่อ่อนข้อให้ใครในเรื่องนี้ ในการแก้ไขปัญหากับประเทศเพื่อนบ้านคู่กรณีนั้นจีนเน้นการเจรจาแบบทวิภาคี แต่ก็จีนไม่ยอมให้สหรัฐฯเข้ามาแทรกแซงการเจรจาเหล่านั้น ผลสุดท้ายก็ออกมาว่าเวทีนี้สหรัฐฯยังล้มจีนไม่ได้ นั่นคือการเล่นบท "bad cop" ของฝั่งสหรัฐฯ
    เมื่อเล่นไม้แข็งไม่ได้ผล สหรัฐฯก็หันมาเล่นบท "good cop" แทน โดยขอยื่นมือไปสานสัมพันธ์กับจีนว่าอยากจะซ้อมรบร่วมกันกับจีนซะงั้น ถ้าจีนโกรธสหรัฐฯที่เข้าไปยุ่มย่ามในข้อพิพาททะเลจีนใต้ แล้วจีนปฏิเสธที่จะซ้อมรบร่วมกับสหรัฐฯ สหรัฐฯก็จะอ้างต่อชาวโลกได้ว่า เห็นไหมจีนก้าวร้าวแผ่ขยายอำนาจ นี่ขนาดสหรัฐฯยื่นไมตรีให้เพื่อสันติภาพของโลกจีนยังปฏิเสธเลย จีนก็กลายเป็นผู้ร้ายในสายตาของทั่วโลกมากขึ้น แต่ถ้าจีนร่วมซ้อมรบครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกร่วมกับสหรัฐฯ ในสายตาของสหรัฐฯนั้นก็จะประเมินขุมพลังที่แท้จริงของจีนได้ในระดับหนึ่งว่าจีนมีดีอะไรบ้างที่จะงัดออกมาแข่งกับสหรัฐฯในครั้งนี้
    ทั้งนี้ก็เพื่อให้สหรัฐฯสามารถประเมินสถานการณ์ได้ว่าจะคุ้มหรือไม่ที่จะเปิดสงครามอย่างเป็นทางการกับจีนก่อนรัสเซีย ทำไมต้องซ้อมรบครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกด้วย? การที่จีนรับคำท้าจากสหรัฐฯในครั้งนี้ บางครั้งภาพภายนอกก็เหมือนเป็นความร่วมมือกันของสองคู่ขัดแย้ง แต่ลึกๆแล้วจีนก็เตรียมพร้อมสำหรับอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อเช่นกัน เพราะสหรัฐฯเล่นกรีธาทัพใหญ่มาขนาดนี้หากจีนไม่ตั้งรับให้ดี มีหวังเสร็จสหรัฐฯแน่ ดังนั้นจีนจึงต้องป้องกันสุดกำลังเอาไว้ก่อนเช่นกัน
    อีกเหตุผลข้อหนึ่งของสหรัฐฯก็คือเรื่องของงบประมาณยังไงหละ หากจัดซ้อมรบใหญ่ขนาดนี้ก็หมายความว่าย่อมมีค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากตามมาด้วย ซึ่งก็ไม่ต่างจากการสร้างสงครามใหญ่ในต่างแดนเลย นี่เป็นอีกวิธีหนึ่งในการผลาญงบครั้งมโหฬารทางกองทัพของสหรัฐฯครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ก็ว่าได้
    สหรัฐฯเกิดข้อขัดแย้งกับรัสเซียก่อน โดยพยายามซ้อมรบร่วมกับนาโต้ใกล้ชายแดนและประเทศเพื่อนบ้านของรัสเซียอยู่บ่อยครั้งก็เพื่อยั่วยุให้รัสเซียหลงกลเป็นฝ่ายลงมือก่อน แต่รัสเซียไม่หลงกล จากนั้นสหรัฐฯก็หันมาเปิดศึกอีกด้านโดยยั่วยุให้จีนตะบะแตกในทะเลจีนใต้กับเพื่อนบ้านของจีน แต่จีนก็ไม่หลงกลเช่นกัน แทนที่สหรัฐฯจะขอซ้อมรบร่วมกับรัสเซียก่อน กลับกลายเป็นว่าสหรัฐฯมาขอซ้อมรบร่วมกับจีนซะงั้น จุดประสงค์อีกอย่างหนึ่งก็คงจะเพื่อให้รัสเซียระแวงจีนว่า เอ… จีนจะร่วมมือกับสหรัฐฯถล่มรัสเซียเหมือนสมัยสงครามโลกครั้งที่สองที่สหรัฐฯกับโซเวียตจับมือกันถล่มฮิตเลอร์หรือเปล่านะ? คิดว่าทั้งจีนและรัสเซียคงจะไม่ตกหลุมพรางนี้ของสหรัฐฯง่ายๆขนาดนั้นแน่
    กลยุทธ์นี้สหรัฐฯเคยใช้มาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อเร็วๆนี้กับไทย ช่วงที่คสช.ยึดอำนาจใหม่ๆ สหรัฐฯรีบออกมากดดันว่าจะไม่ซ้อมรบ cobra gold 2015 ร่วมกับไทย แต่เมื่อรัฐบาลไทยไม่ง้อ ไม่ซ้อมก็ไม่ซ้อม ไทยไปซ้อมกับประเทศอื่นก็ได้ จีนก็ยินดีร่วมซ้อมรบกับไทย สุดท้ายสหรัฐฯกลับมาอ้อนวอนง้อไทยว่าที่พูดไปก่อนหน้านี้นั้นเป็นแค่การเล่นละครตามสคริปที่เขาเขียนมาให้พูดเท่านั้นเอง ไทยอย่าได้ถือสาเป็นจริงเป็นจังไปเลยนะ เรามาซ้อมรบ cobra gold 2015 ร่วมกันเหมือนแต่ก่อนดีไหม? ไทยก็ไม่ได้โกรธ ซ้อมก็ซ้อมสิ ตามใจคุณ อยากมาก็มา อยากได้ความร่วมมือไทยก็จัดให้ แต่บอกไว้ก่อนนะไทยถึงจะเล็กแต่ก็ไม่ใช่ขี้ข้าของอเมริกานะ เนี่ยตอนนี้สหรัฐฯกำลังใช้วิธีเดียวกันนี้กับจีน แต่แปลกตรงที่สหรัฐฯไม่กล้าที่จะซ้อมรบร่วมกับรัสเซียนี่สิ
    The Eyes
    16/06/2558
    ----------
    US Invites China to Joint War Games After Military Agreement / Sputnik International
    http://rt.com/news/267241-china-us-drills-agreement/
    http://www.chinadaily.com.cn/…/2015…/15/content_21001723.htm
    <br>U.S. defense chief invited to visit China this year - People's Daily Online
    China, US sign agreement to boost army cooperation - People's Daily Online
     

แชร์หน้านี้

Loading...