ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ชาวบ้านต้านโรงไฟฟ้าชีวมวลที่พังงา หวั่นกระทบสิ่งแวดล้อม
    โดย ไทยรัฐออนไลน์ 9 มิ.ย. 2558 13:35

    [​IMG]

    ชาวบ้านในพื้นที่ อำเภอกะปง จังหวัดพังงา กว่า 700 ครัวเรือน ต่อต้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาด 9.5 เมกะวัตต์ หวั่นกระทบแหล่งน้ำดิบและสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ...

    เมื่อวันที่ 9 มิ.ย.58 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าชาวบ้านในตำบลท่านา อำเภอกะปง จังหวัดพังงา กว่า 500 คน เดินทางมารวมตัวที่ศาลาประชาคมหมู่บ้าน ม.4 บ้านบางพาง ต.ท่านา อ.กะปง เพื่อร่วมลงชื่อคัดค้านการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าชีวมวล เพราะชาวบ้านพื้นที่ไม่เห็นด้วยจึงได้เดินทางมาลงชื่อคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าโดยหวั่นวิตกว่าหากมีการอนุญาตให้ก่อสร้างจะส่งผลเสียให้เกิดมลพิษในพื้นที่กว่า 700 ครัวเรือน ซึ่งสถานที่ก่อสร้างยังอยู่ใกล้กับชุมชน วัด โรงเรียน และยังเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำคัญของหมู่บ้านที่ประชาชนใช้อุปโภค-บริโภค จึงไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าในบริเวณพื้นที่ดังกล่าว

    พร้อมทั้งมีการเขียนป้ายติดตามถนนเข้าหมู่บ้านว่า “ชาวกะปง ไม่เอาโรงไฟฟ้า” และ “คุณครูคะหนูต้องการอากาศบริสุทธิ์ จะเลือกโรงเรียนหรือเลือกโรงงาน” เขียนติดตามถนนเพื่อให้ชาวบ้านและเด็กนักเรียนตื่นตัวกันมากขึ้น

    นายไพบูลย์ ลิ่มธนวัฒ ชาวบ้านบางพลาง กล่าวว่า การสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลชาวบ้านคิดว่าจะส่งผลกระทบให้เกิดมลพิษทางอากาศก่อให้เกิดฝุ่นละออง ซึ่งในพื้นที่อำเภอกะปง เป็นพื้นที่สีเขียวมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่กำลังได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว ถ้าเกิดมีโรงไฟฟ้าขึ้นมาชาวบ้านหวั่นวิตกว่าจะก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศอย่างรุนแรงต่อชุมชน ไม่ว่าจะเป็นมลพิษทางอากาศ ทางน้ำ และการดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้าน ส่งผลเสียต่อสุขภาพเช่นในหลายหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการก่อสร้าง ที่สำคัญคือพื้นที่ก่อสร้างอยู่ติดกับชุมชนเกินไปจึงไม่เหมาะที่จะมีการอนุญาตก่อสร้างได้แน่นอน

    [​IMG]
    ชาวบ้าน เขียนป้ายต้านโรงไฟฟ้าชีวมวล ที่พังงา

    ขณะที่ นางสุทิพย์ เจริญพร ชาวบ้าน กล่าวว่า ถ้าเกิดมีโรงไฟฟ้าชีวมวลอาจจะส่งผลกระทบต่อตนเองแน่นอน เพราะตนเองมีบ้านอยู่หน้าโรงงาน แม้ว่าขณะนี้ไม่มีโรงงาน น้ำที่ใช้อุปโภค – บริโภค ยังมีไม่พอใช้ แต่ถ้าเกิดมีโรงงานชาวบ้านจะเอาน้ำที่ไหนมาใช้เพราะน้ำเสียจะไหลลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ และรถสิบล้อที่วิ่งเข้าออกหมู่บ้าน ถนนจะพัง และคงไม่ได้รับอากาศที่บริสุทธิ์เหมือนทุกวันนี้

    สำหรับผลกระทบของโรงไฟฟ้าชีวมวลพบว่าส่งผลเสียทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ ก่อให้เกิดก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ รวมถึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และสารพิษต่างๆ อีกมากมาย ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้อาศัยในชุมชน ประชาชนมีปัญหาสุขภาพก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ มลพิษทางเสียงอีกด้วย.

    ชาวบ้านต้านโรงไฟฟ้าชีวมวลที่พังงา หวั่นกระทบสิ่งแวดล้อม - ข่าวไทยรัฐออนไลน์
     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ป้ายนี้เขียนน่ารักดีน่ะครับ

    [​IMG]
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ปอกเปลือก ทรราช
    ไฟไหมคลังน้ำมันยูเครนใกล้กรุงเคียฟ ลามหนักเอาไม่อยู่

    [​IMG]

    --------------
    วันนี้ (9 มิ.ย.58) สำนักข่าวต่างประเทศหลายแห่งรายงานว่าได้เกิดเหตุไฟไหม้ที่คลังเก็บน้ำมันของบริษัท BRSM-Nafta Ltd. ของยูเครนตั้งแต่เมื่อคืนวันจันทร์ที่ผ่านมาจนถึงวันอังคาร รายงานล่าสุดบอกว่าตอนนี้ไฟได้ลุกลามไปยังแท็งค์เก็บน้ำมันขนาดใหญ่ถึง 16-17 แท็งค์แล้ว โดยแต่ละแท็งค์บรรจุน้ำมันถึง 900 คิวบิคเมตร รายงานบอกว่ามีผู้เสียชีวิต 1-3 รายซึ่งน่าจะเป็นเจ้าหน้าดับเพลิง และมีเจ้าหน้าที่ดับเพลิงอีก 6 รายได้รับบาดเจ็บสาหัสจากไฟไหม้ในครั้งนี้ สถานที่เกิดเหตุอยู่ที่หมู่บ้าน Kryachky ซึ่งห่างจากกรุงเคียฟไปทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 40 กม. ทางรัสเซียได้รีบเสนอตัวเพื่อช่วยดับไฟแต่ทางกรุงเคียฟยังเงียบ

    [​IMG]

    [​IMG]

    ต่อมาโฆษกประธานาธิบดียูเครนออกแถลงการณ์ว่า "เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายน่าจะรายงานผลเกี่ยวกับเหตุผล (เขาใช้คำว่า reasons) ของการเกิดภัยพิบัตในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า แต่ยังไม่มีการยืนยันว่าเป็นเป็นการก่อการร้าย จากการยืนยันบนพื้นฐานของการตรวจสอบเบื้องต้น" ในวันเดียวกันนี้ยูเครนก็ได้เรียกกองกำลัง National Guards หลายร้อยนายรวมตัวกันไม่ไกลจากจุดเกิดเหตุ

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    ......
    The Eyes
    09/06/2558
    ----------
    Terrorist Act Ruled Out in Kiev Oil Depot Fire - Press Secretary / Sputnik International
    Oil Depot on Fire in Kiev Region, Six Injured / Sputnik International
    http://rt.com/news/265924-oil-depot-blaze-ukraine/
    Ukraine, EU 'may face acid rain' amid furious blaze at fuel storage depot near Kiev (VIDEO) — RT News
     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ปอกเปลือก ทรราช
    กรณีข้อพิพาทหมู่เกาะคูริลระหว่างรัสเซียกับญี่ปุ่น

    [​IMG]

    --------------
    วันนี้จะพาไปเที่ยวทะเลรัสเซียไม่ไกลจากฮอกไกโดของญี่ปุ่นนัก ถือซะว่าเป็นการศึกษาประวัติศาสตร์นอกห้องเรียนซักบทหนึ่งนะครับ พอเขาพูดเรื่องความขัดแย้งเรื่อง "หมู่เกาะคูริล" ระหว่างรัสเซียกับญี่ปุ่นขึ้นมาจะได้ร้องว่า "อ้อ… ตรงนี้นี่เอง รู้แล้วว่ามีความเป็นมาอย่างไรบ้าง" แล้วมันเป็นยังไงรึ? นั่นดิ! ฮ่าๆๆ
    คืออย่างนี้ครับ เมื่อวันที่ 6 มิ.ย.58 ที่ผ่านมาสำนักข่าว Sputnik news ของรัสเซียรายงานว่า รัสเซียเปิดโอากาสให้พลเมืองชาวญี่ปุ่นสามารถเดินทางไปที่หมู่เกาะคูริลที่ตอนนี้อยู่ในการครอบครองของรัสเซียได้โดยไม่ต้องใช้วีซ่า เพื่อให้ชาวญี่ปุ่นไปเคารพสุสานบรรพบุรุษของพวกเขา และเพื่อเป็นการเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับญี่ปุ่นในระดับประชาชนทั่วไป ทั้งสองประเทศได้ลงนามข้อตกลงกันในการแลกเปลี่ยนข้ามดินแดนไปมาหาสู่กันตั้งแต่ปี 1992 เป็นต้นมา แต่ไม่ได้ให้อยู่เข้าไปอยู่อย่างถาวร จากอดีตจนถึงปัจจุบันมีชาวญี่ปุ่นเดินทางเข้าไปเที่ยวที่หมู่เกาะคูริลราว 20,000 กว่าคน
    + ประวัติศาสตร์ข้อพิพาทในหมู่เกาะคูริล (เนื้อหาส่วนใหญ่แปลจากคำบรรยายภาษาอังกฤษในแผนที่จาก sputnik)

    [​IMG]

    ------------
    หมู่เกาะคูริล (Kuril Islands หรือ Kurile Islands) ชาวญี่ปุ่นเรียกว่า Chishima Islands ตั้งแต่ปี 1945 เป็นต้นมารัสเซียและญี่ปุ่นไม่สามารถลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพ WWII ได้เนื่องจากข้อขัดแย้งเกี่ยวกับการอ้างสิทธิ์อาณาเขตเหนือหมู่เกาะคูริล คราวนี้มาดูประวัติศาสตร์ความเป็นมาในการผลัดกันรุกผลัดกันถอยระหว่างญี่ปุ่นกับรัสเซียในพื้นที่แห่งนี้บ้าง
    + 1855 มีการลงนามสนธิสัญญาชิโมดะ (Treaty of Shimoda) ระหว่างรัสเซีย (โซเวียตในสมัยนั้น) กับญี่ปุ่น สนธิสัญญาฉบับนี้ได้สร้างความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างรัสเซียกับญี่ปุ่นขึ้นมาอย่างเป็นทางการ ภายใต้ข้อตกลงของสนธิสัญญาฉบับนี้ญี่ปุ่นมีอำนาจครอบครองเหนือเกาะ Iturup (Etorofu), Kunashir (Kunashiri), Shikotan และกลุ่มก้อนหิน Habomai ส่วนที่เหลือนั้นอยู่ภายใต้การครอบครองของรัสเซีย โดยให้เกาะ Sakhalin (พื้นที่สีขาวทางซ้ายมือของภาพที่สอง) อยู่ภายใต้การครอบครองร่วมกันทั้งสองฝ่าย
    + 1875 มีการร่างสนธิสัญญาฉบับใหม่ชื่อ Treaty of Saint Petersburg สนธิสัญญาฉบับนี้รัสเซียได้ยกหมู่เกาะคูริลทั้งหมดให้กับญี่ปุ่น เพื่อแลกกับการให้ญี่ปุ่นยอมรับอำนาจสิทธิ์ขาดของรัสเซียในการครอบครองเกาะ Sakhalin
    + 1905 หลังจากรัสเซีย (โซเวียต) แพ้สงคราม Russon-Japanese War กับญี่ปุ่น (1904–1905) ก็ได้มีการทำสนธิสัญญากันใหม่ชื่อ Treaty of Portsmouth รัสเซียจำใจต้องยกพื้นที่ทางตอนใต้ให้บนเกาะ Sakhalin ให้ญี่ปุ่น (แบ่งครึ่งกันอีกครั้ง)
    + 1945 สงครามโลกครั้งที่2 ในระหว่างปฏิบัติการโจมตีญี่ปุ่นนั้น สหภาพโซเวียตได้เข้ายึดพื้นที่ทางตอนใต้ของเกาะ Sakhalin ที่เสียไปให้ญี่ปุ่นในปี 1905 กลับคืนมาได้ และหมู่เกาะคูริลทั้งหมดด้วย ซึ่งรวมทั้ง 4 เกาะทางตอนใต้ด้วย (คิดดอกทบต้นเลยว่างั้นเถอะ) ในช่วงนี้รัสเซียรู้ว่าไม่อาจจะเชื่อใจญี่ปุ่นได้จีงถือโอกาสขับไล่ชาวญี่ปุ่นทั้งหมดราว 17,000 ที่อาศัยอยู่ในหมู่เกาะคูริลออกไปหมดเลย (1946)
    + 1951 ฝ่ายสัมพันธมิตรและญี่ปุ่นได้ลงนามสนธิสัญญาสันติภาพซาฟรานซิสโก้ (San Francisco Peace Treaty) ซึ่งญี่ปุ่นตกลงที่จะไม่อ้างสิทธิ์เหนือหมู่เกาะคูริลอีกต่อไป ในสมัยนั้นสหภาพโซเวียตไม่ได้เข้าร่วมลงนามในสนธิสัญญาดังกล่าวด้วย ต่อมารัฐบาลญี่ปุ่นอ้างว่า เกาะ Kunsahir, Iturup, Shikotan และ Habomai เป็นสมบัติส่วนหนึ่งของญี่ปุ่นเฉยเลย ดังนั้นจึงไม่อยู่ในเงื่อนไขของคำว่า "หมู่เกาะคูริล" ตามข้อตกลงในสนธิสัญญาดังกล่าว เอากะญี่ปุ่นดิ
    + 1956 โซเวียตและญี่ปุ่นได้ประกาศยุติสงครามระหว่างสองชาติร่วมกันอย่างเป็นทางการ ซึ่งโซเวียตตกลงที่จะยกเกาะ Shikotan และเกาะ Habomai (สองเกาะเล็กๆทางตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะฮอกไกโด) ให้ญี่ปุ่น หลังจากที่มีการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพอย่างเป็นทางการแล้ว แต่แล้วรัฐบาลญี่ปุ่นกลับอ้างสิทธิ์เหนืออาณาเขตของหมู่เกาะทั้ง 4 อย่างที่เคยอ้างในปี 1951 ผลที่ตามมาก็คือไม่มีการลงนามในสนธิสัญญาระหว่างรัสเซียกับญี่ปุ่นเลย
    + 2011 ปธน. Dmitry Medvedev ของรัสเซียสั่งให้เสริมกำลังทหารเข้าหมู่เกาะคูริลเพ่ิมขึ้นส่งผลให้สถานการณ์ความขัดแย้งทั้งสองฝ่ายตึงเครียดขึ้นมาอีกครั้ง (ต้องมีอะไรซักอย่างที่ทำให้รัสเซียขยับทัพในครั้งนี้ คาดว่าน่าจะเป็นความขัดแย้งระหว่างจีนกับญี่ปุ่นในหมู่เกาะ Senkaku Islands/Diaoyu Islands) รัสเซียมีหน่วยทหารปืนใหญ่ที่ 18 (18th Machine Gun Artillery Division) ประจำอยู่ในหมู่เกาะคูริล มีกองบัญชาการอยู่ที่เกาะ Iturup นอกจากนี้รัสเซียยังมีกองกำลังรักษาดินแดนประจำอยู่ในหมู่เกาะคูริลนี้ด้วย
    + 2013 มีรายงานข่าวจากบีบีซีว่าวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2013 รัสเซียส่งเครื่องบินรบ Sukhoi Su-27 จำนวน 2 ลำบินเหนือน่านน้ำของญี่ปุ่นทางตอนเหนือของเกาะฮอกไกโด ญี่ปุ่นเห็นเข้าจึงรีบส่งเครื่องบินรบ Mitsubishi F-2 ของตนเข้าสกัดไว้ แต่รายงานข่าวจากสื่อฯรัสเซียอ้างคำพูดของกองทัพอากาศของรัสเซียว่าเครื่องบินรบของรัสเซียไม่ได้รุกล้ำเหนือเขตแดนของญี่ปุ่น เดือนเมษายนปีเดียวกันนี้นายกฯซินโซะ อาเบะ ของญี่ปุ่นเดินทางไปเยี่ยมปธน.วลาดิมีร์ ปูตินที่กรุงมอสโคว์ แต่ก็ยังไม่สามารถสะสางปัญหาข้อพิพาทในหมู่เกาะคูริลได้ เดิมทีปูตินมีกำหนดไปเยี่ยมญี่ปุ่นในปี 2014 แต่ติดปัญหาวิกฤตยูเครน จึงเลื่อนมาเป็น 2015 แทน แต่ยังไม่มีกำหนดการที่ชัดเจนว่าจะไปญี่ปุ่นเมื่อไร สื่อฯต่างๆก็เริ่มประโคมข่าวข้อพิพาทหมู่เกาะคูริลขึ้นมาอีกครั้ง
    + 2015 ล่าสุด (8 มิ.ย.58) สำนักข่าว Sputnik news รายงานว่า Sergei Shoigu รมว.กลาโหมของรัสเซียมีคำสั่งให้เร่งมือก่อสร้างอาคารสถานที่ทางทหารเพ่ิมขึ้นเป็นสองเท่าบนหมู่เกาะคูริล ตามแผนงานของรัฐบาลกลางของรัสเซียกำหนดไว้ว่าในอีก 10 ข้างหน้ารัสเซียจะใช้งบประมาณในการก่อสร้างบนหมู่เกาะราว $1.2 billion (4 หมื่นกว่าล้านบาท) ปัจจุบันนี้รัสเซียเน้นการก่อสร้างที่เกาะ Iturup และเกาะ Kunashir (เกาะใหญ่สองเกาะซึ่งอยู่ใกล้กับเกาะฮอกไกโดมากที่สุด)
    ขนาดนี้แล้วยังคิดอยู่อีกหรือว่ารัสเซียจะยอมถอนตัวออกจากหมู่เกาะคูริลได้ง่ายๆ ยิ่งมีความตึงเครียดในทะเลจีนใต้ด้วย รัสเซียก็ยิ่งจะเสริมกำลังกองทัพเข้าใกล้ญี่ปุ่นมากขึ้น ตอนนี้ก็เลยกลายเป็นว่าญี่ปุ่นกำลังเปิดศึกสองด้าน โดยด้านหนึ่งคือเรื่องข้อพิพาทหมู่เกาะ Senkaku Islands/Diaoyu Islands กับจีน ส่วนอีกด้านหนึ่งก็คือข้อพิพาทเรื่องหมู่เกาะคูริลกับรัสเซียนี่แหละ
    The Eyes
    09/06/2558
    ----------
    Russia to Expedite Military Construction on Kuril Islands / Sputnik International
    Japanese Citizens Visit South Kuril Islands in Visa-Free Exchange Program / Sputnik International
    Kuril Islands - Wikipedia, the free encyclopedia
    Kuril Islands dispute - Wikipedia, the free encyclopedia
    Senkaku Islands dispute - Wikipedia, the free encyclopedia
     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    World Insight : ทรานส์นิสเทรีย ดินแดนที่ถูกลืม

    ที่ทรานส์นิสเทรีย ดินแดนเล็กๆ ที่ตั้งอยู่ในยุโรปตะวันออก หลายคนบอกว่า ทรานส์นิสเทรียเป็นเสมือนดินแดนที่ถูกลืมและจนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่ได้รับการรับรองว่า เป็นประเทศอย่างเป็นทางการ และยังคงเป็นพื้นที่ขัดแย้ง แม้ว่าจะมีการลงประชามติแยกตัวจากสาธารณรัฐมอลโดวาไปเมื่อปี 2006 แล้วก็ตาม

    [​IMG]

    [​IMG]

    @แผนที่ประเทศ ทรานส์นิสเทรีย จาก https://socioecohistory.wordpress.c...lockade-of-transnistria-fraught-with-new-war/

    ทรานส์นิสเทรียประกาศแยกตัวเองออกจากมอลโดวา เมื่อปี 1990 ทรานส์นิสเทรียเป็นเพียงดินแดนเล็กๆที่ถูกขนาบไปด้วยมอลโดว่าและยูเครน โดยมีพื้นที่ที่ใหญ่กว่ารัฐโรดไอแลนด์ รัฐที่เล็กที่สุดของสหรัฐฯ ซึ่งมีขนาดเพียง 1,140 ตารางกิโลเมตรเพียงเล็กน้อยเท่านั้น มีหลายเชื้อชาติ ทั้งมอลโดวา รัสเซีย ยูเครน และบัลแกเรีย

    แม้รัสเซียจะให้การสนับสนุนทรานส์นิสเทรีย และยังคงกองกำลังไว้ที่นี่ หลังสงครามปี 1990 ถึงปี 1992 ที่ทรานส์นิสเทรียแยกตัวจากมอลโดวา แต่จนถึงขณะนี้ก็ไม่เคยรับรองให้เป็นรัฐเอกราช ทำให้ทรานส์นิสเทรีย กลายเป็นดินแดนที่ถูกลืม-แต่หลังจากวิกฤตการณ์ยูเครน ที่นำมาสู่การผนวกไครเมียเข้ากับรัสเซียช่วงกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ก็เกิดกระแสเรียกร้องมาจนถึงทุกวันนี้ให้รัสเซียผนวกทรานส์นิสเทรียเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งเฉกเช่นเดียวกับไครเมีย ล่าสุดเมื่อวานนี้สภาทรานส์นิสเทรียยังได้ประชุมเพื่อเรียกร้องรัฐบาลรัสเซียให้รับรองเอกราชของตนด้วย

    หากเดินทางเข้ามาในทรานส์นิสเทรีย เราจะได้สัมผัสกับกลิ่นไอของรัสเซียอย่างเห็นได้ชัด เราจะได้เห็นสัญลักษณ์ของอดีตสหภาพโซเวียตในหลายที่ โดยเฉพาะรูปปั้นของเลนิน ผู้นำนักปฏิวัติมาร์กซิสต์คนแรกของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต ที่ตั้งตระหง่านในทีราสโปล เมืองหลวงของทรานส์นิสเทรีย ขณะที่ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่นี้ก็มีข้อความระบุว่า พวกเขาไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของมอลโดวา แม้แต่เสียงเพลงของชายคนนี้ในตลาดนัดแห่งหนึ่งในทีราสโปล ก็ยังขับกล่อมเพลงเศร้าภาษารัสเซียที่มีเนื้อหาว่า "เขาไม่มีบ้านที่จะกลับ และไม่มีคนที่จะรัก"

    และแน่นอนที่สุดชาวทรานส์นิสเทรียที่นี่ ซึ่งพูดภาษารัสเซีย 30.4 เปอร์เซ็นต์ ต่างก็เรียกร้องที่จะไปเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียเหมือนอย่างไครเมียบ้าง

    แม้แต่ชาวทรานส์นิสเทรียในชนบท แอนนา อีวานนา เธอก็เชื่อว่า การรวมเป็นหนึ่งกับรัสเซียจะทำให้ทรานส์นิสเทรียได้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพลังงานที่ถูกกว่า หรือก๊าซธรรมชาติที่ให้ความอบอุ่นในบ้าน ไปจนถึงพลังงานที่หล่อเลี้ยงอุตสาหกรรมในท้องถิ่น เธอยังรู้ด้วยว่า เบี้ยบำนาญที่รัสเซียมากกว่าที่นี่ถึง 4 เท่า

    แม้แต่ตามกำแพงในที่สาธารณก็ยังมีข้อความสะท้อนความคิดทางการเมือง เป็นข้อความจากชาวทรานส์นิสเทรียส่งไปยังรัสเซียเพื่อต้องการบอกว่า อยากจะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียเต็มทีแล้ว


    วันที่ 18 เมษายน 2557 เวลา 11:38:27 น.

    World Insight : ทรานส์นิสเทรีย ดินแดนที่ถูกลืม ข่าวต่างประเทศ - ครอบครัวข่าว3

    ทรานส์นีสเตรีย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    เพลงชาติ: Мы славим тебя, Приднестровье
    ("We sing the praises of Transnistria")

    เมืองหลวง (และเมืองใหญ่สุด) ตีรัสปอล 46°50′N 29°37′E

    ภาษาราชการ ภาษารัสเซีย ภาษาโรมาเนีย (อักษรซีริลลิก) และภาษายูเครน

    กลุ่มชาติพันธุ์ (2005)
    ชาวมอลโดวา ร้อยละ 32.1, ชาวรัสเซีย ร้อยละ 30.4, ชาวยูเครน ร้อยละ 28.8, ชาวบัลแกเรีย ร้อยละ 2.5, อื่น ๆ / ไม่ระบุ ร้อยละ 6.2

    การปกครอง สาธารณรัฐระบบกึ่งประธานาธิบดี
    - ประธานาธิบดี เยฟเกนี เชฟชุค
    - นายกรัฐมนตรี ตาเตียนา ตูรันสกายา

    นิติบัญญัติ สภาสูงสุด

    รัฐที่ได้รับการรับรองอย่างไม่สมบูรณ์
    - ประกาศเอกราช 2 กันยายน 1990
    - สงครามทรานส์นีสเตรีย 2 มีนาคม – 21 กรกฎาคม 1992

    พื้นที่
    - รวม 4,163 ตร.กม. 1,607 ตร.ไมล์
    - แหล่งน้ำ (%) 2.35
    ประชากร
    - 2013 (ประเมิน) 509,439[1]
    - 2004 (สำมะโน) 555,347
    - ความหนาแน่น 124.6 คน/ตร.กม.
    345 คน/ตร.ไมล์
    สกุลเงิน รูเบิลทรานส์นีสเตรีย (PRB)
    เขตเวลา เวลายุโรปตะวันออก (UTC+2)
    - (DST) เวลาฤดูร้อนยุโรปตะวันออก (UTC+3)
    โดเมนบนสุด ไม่มี (บางครั้งใช้ .ru และ .md)
    รหัสโทรศัพท์ +373 5 และ +373 2

    ทรานส์นีสเตรีย (อังกฤษ: Transnistria, Transdniestria) หรือ พรีดเนสโตรวี (Pridnestrovie) เป็นภูมิภาคแห่งหนึ่งของประเทศมอลโดวา ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำนีสเตอร์กับชายแดนมอลโดวา (ด้านที่ติดกับประเทศยูเครน) ปัจจุบันบริเวณนี้ถูกปกครองโดย สาธารณรัฐมอลเดเวียพรีดเนสโตรวี (Pridnestrovian Moldavian Republic) ซึ่งเป็นประเทศที่มีอยู่เพียงสามประเทศเท่านั้นที่ให้การรับรอง ได้แก่ อับฮาเซีย, เซาท์ออสซีเชีย และสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัค (สามประเทศนี้ ประเทศส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ให้การรับรองเช่นกัน) รัฐบาลมอลโดวาถือว่าทรานส์นีสเตรียอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของตน โดยมีสถานะเป็นสาธารณรัฐปกครองตนเองซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมกันในประเทศอดีตสหภาพโซเวียต แม้ว่ารัฐบาลมอลโดวาจะไม่มีอำนาจปกครองในดินแดนนี้แล้วก็ตาม

    อ้างอิง[แก้]
    กระโดดขึ้น ↑ "Moldova". Citypopulation. 2012-01-01. สืบค้นเมื่อ 2012-12-20.

    ทรานส์นีสเตรีย - วิกิพีเดีย
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    รัฐหลังสหภาพโซเวียต ทีมเสรีชน: วิกฤติศตวรรษที่21 อนุช อาภาภิรม

    หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตที่มีประเทศเดียว ได้เกิดรัฐหลังสหภาพโซเวียต (Post Soviet Union) หรือนิยมเรียกทั่วไปว่ารัฐที่เคยเป็นสหภาพโซเวียต (Former Soviet Union) รวม 15 รัฐด้วยกัน รัฐเหล่านี้มีประวัติศาสตร์และลักษณะทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมของตน ถ้ากล่าวถึงเป็นรายประเทศก็มีแนวโน้มที่จะแตกกระจายไปคนละทาง มองไม่เห็นความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน โดยเฉพาะกับรัสเซียที่ยังคงเป็นประเทศมหาอำนาจอยู่ในปัจจุบัน และยากที่จะเข้าใจความเป็นไปในแต่ละรัฐเหล่านั้นด้วย
    อนึ่ง ไม่มีเพียงรัสเซียที่ส่งอิทธิพลไปยังรัฐอีก 14 รัฐ (และกลับกัน) เท่านั้น ยังมีอำนาจอื่นที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐ องค์การนาโต และสหภาพยุโรป ที่ได้แผ่เข้ามาในกลุ่มรัฐเหล่านี้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ยังมีจีนที่ไม่ควรมองข้าม และได้ส่งรัศมีแรงกล้าขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในแถบเอเชียกลาง ทั้งยังมี 2 ประเทศมุสลิมใหญ่ คือตุรกีและอิหร่านที่พยายามส่งอิทธิพลไปยังกลุ่มรัฐอิสลามที่เคยเป็นสหภาพ โซเวียต
    ดังนั้น รัฐหลังสหภาพโซเวียตที่ดูเหมือนอยู่ห่างไกลไม่น่าสนใจ กลับเป็นดินแดนที่มีการแข่งขันชิงอำนาจกันอย่างดุเดือดมากแห่งหนึ่งของโลก ความเป็นไปในรัฐเหล่านี้ อาจส่งผลต่อสถานการณ์โลกได้มากอย่างคาดไม่ถึง
    ลักษณะทั่วไปของรัฐหลังสหภาพโซเวียตเป็นอย่างไร
    รัฐ ทั้ง 15 มีพื้นฐานทางประวัติศาสตร์และระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ต่างกัน เมื่อแตกออกแล้ว ดูเหมือนไปคนละทิศคนละทาง แต่ที่จริง มีลักษณะร่วมที่สำคัญควรกล่าวถึงดังนี้
    (1) การสืบทอดความสัมพันธ์ทางอำนาจที่รัสเซียยังคงเป็นแกนสำคัญ และในแต่ละรัฐก็มีการสืบทอดระบอบปกครองเดิมที่มีลักษณะรวมศูนย์อำนาจในระดับ ที่ต่างกัน บางประเทศ เช่น คาซักสถาน และอุซเบกิสถาน ไม่ได้เปลี่ยนผู้นำเลยนับแต่เป็นอิสระจากสหภาพโซเวียต ผู้นำในอีกหลายรัฐก็ได้ยืดวาระตำแหน่งของตนออกไป บ้างสำเร็จ เช่นที่ เบลารุส บ้างไม่สำเร็จเช่นที่คีร์กีซสถาน ขณะที่รัสเซียพยายามปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ โดยรวมการพัฒนาประชาธิปไตยเป็นไปอย่างช้าๆ
    (2) ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ-การเมืองที่แน่นแฟ้นในช่วงที่เป็นสหภาพโซเวียต ทำให้ประเทศเหล่านี้ประสบความยากลำบากมากในการแปลงโฉมเศรษฐกิจตนเองให้เป็น ระบบตลาด มักต้องไปพึ่งพาสหรัฐ นาโต และ สหภาพยุโรป
    (3) ระบบตลาดหรือระบบทุนนิยมในรัฐหลังสหภาพโซเวียตมีลักษณะเป็น "ทุนนิยมเศรษฐี" (Oligarchic Capitalism) เริ่มต้นก็เข้าสู่การผูกขาดจากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ซึ่งต้องติดตามต่อว่าสิ่งนี้จะพัฒนาต่อไปอย่างไร
    (4) ปัญหาชนส่วนน้อยและชนชาติที่ถูกกดทับไว้ในสมัยสหภาพโซเวียตได้ปะทุขึ้นในที่ หลายแห่ง ล่าสุดได้แก่ การจลาจลระหว่าง 2 ชนชาติในประเทศคีร์กีซสถาน และที่จะเป็นปัญหายืดเยื้ออีกประการหนึ่ง ได้แก่ ชาวรัสเซียที่อพยพไปตั้งถิ่นฐานในรัฐต่างๆ ที่ถูกกีดกันจากรัฐบาลและชนพื้นเมืองในที่นั้นๆ
    (5) รัฐหลังสหภาพโซเวียตได้มีการจับกลุ่มรวมตัวกัน เป็นความร่วมมือกันนับ 10 องค์กร บ้างอยู่องค์กรนี้แล้วถอนตัว หรือกลายเป็นสมาชิกเฉื่อยเนือย หรือไปเข้าองค์กรอื่น ซึ่งสะท้อนความไม่ลงตัวในการสัมพันธ์ทางอำนาจ แต่คาดว่าน่าจะค่อยๆ ลงตัวขึ้น
    (6) เศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ประสบภาวะ "ช็อก" จากการแยกตัวออกจากสหภาพโซเวียต จนเกิดการหดตัวถึงกว่าร้อยละ 40 เมื่อเทียบกับสหรัฐที่เศรษฐกิจหดตัวร้อยละ 30 ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำทศวรรษ 1930 รัฐเหล่านี้มีช่วงการได้เริ่มฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในราวปี 1996 บ้างเร็วกว่า เช่น ลัตเวีย เริ่มฟื้นตัวในปี 1994 บ้างช้ากว่านี้ เช่น รัสเซีย เริ่มฟื้นตัวในปี 1999
    (7) มีการฟื้นฟูศาสนาขึ้นในรัฐเหล่านี้ ซึ่งมีทั้งนิกายออร์โธด็อกซ์ (Orthodox Church) และศาสนาอิสลาม ซึ่งจะส่งผลกระทบที่ลึกซึ้งยาวไกล นอกจากนี้ ยังมีการฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในรัฐต่างๆ เพื่อให้พ้นจากอิทธิพลของภาษาและวัฒนธรรมรัสเซีย
    (8) รัฐเหล่านี้เมื่อเข้าสู่ระบบตลาดก็ต้องเผชิญกับวิกฤติหนักหน่วง รัสเซียประสบ 2 ครั้ง ในปี 1998 เป็นวิกฤติการเงิน จนกระทั่งต้องประกาศชะลอการชำระหนี้ และปี 2008 ซึ่งได้รับผลกระทบจากวิกฤติในแกนเศรษฐกิจโลก
    วิกฤติทั้งสองนี้ ดูเหมือนทำให้รัสเซียที่มีขนาดใหญ่และมีทรัพยากรมาก เข้มแข็งขึ้น
    การแบ่งกลุ่มรัฐหลังสหภาพโซเวียต
    นิยม แบ่งรัฐหลังสหภาพโซเวียตตามภูมิรัฐศาสตร์ออกเป็น 4 กลุ่ม 2 กลุ่มแรกอยู่ในยุโรป มี 6 รัฐ 2 กลุ่มหลังอยู่ในทวีปเอเชียมี 8 รัฐ ดังนี้
    1) กลุ่มประเทศบอลติก มี 3 รัฐได้แก่ เอสโทเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนีย กลุ่มนี้มีความใกล้ชิดกันทางภาษาและวัฒนธรรม ปักใจที่จะแยกตัวเด็ดขาดจากรัสเซีย และได้เข้าร่วมกลุ่มสหภาพยุโรปในปี 2004 และได้รับการสรรเสริญจากตะวันตกว่าเป็นประเทศเสรีและมีการขยายตัวทาง เศรษฐกิจสูงสุดติดอันดับของยุโรประหว่างปี 1998-2006
    แต่เมื่อเผชิญผลกระทบวิกฤติเศรษฐกิจ 2008 ประเทศเหล่านี้ได้รับผลกระทบรุนแรงมาก เช่น
    ลัตเวีย เศรษฐกิจหดตัวถึงร้อยละ 26.5 ระหว่างปี 2008-2010 รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีของลัตเวียก็สูงเพียงราวร้อยละ 49 ของอัตราเฉลี่ยประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป
    ประเทศเอสโทเนียเศรษฐกิจก็หดตัวอย่างรุนแรงในปี 2008-2009
    สำหรับประเทศลิทัวเนียที่เศรษฐกิจเข้มแข็ง ขยายตัวสูง ได้สมญาว่าเป็น "เสือแห่งบอลติก" นั้น ได้รับผลกระทบไม่มาก
    คู่ค้าสำคัญของกลุ่มประเทศนี้ ได้แก่ เยอรมนี ฟินแลนด์ และสวีเดน
    เนื่องจากเป็นประเทศเล็กมีทรัพยากรธรรมชาติไม่มาก ท่าทีของกลุ่มประเทศนี้ต่อรัสเซียน่าจะโอนอ่อนไปตามสหภาพยุโรป
    2) กลุ่มยุโรปตะวันออก ได้แก่ เบลารุส ยูเครน และมอลโดวา สองประเทศแรกมีเชื้อสายสลาฟเช่นเดียวกับรัสเซีย และมีความใกล้ชิดกับรัสเซียสูงโดยเฉพาะเบลารุส ที่ทำสนธิสัญญาสหภาพแห่งรัสเซียและเบลารุส (ค.ศ.1997) ซึ่งน่าจะเป็นต้นแบบที่รัสเซียจะทำสนธิสัญญานี้กับรัฐอื่น หรือขยายสหภาพนี้ไปรวมรัฐอื่น
    ความสนิทสนมนี้มีส่วนให้ตะวันตกนำโดยรัฐบาลสหรัฐประกาศแซงก์ชั่นในปี 2004 ในข้อหาไม่เป็นประชาธิปไตยและละเมิดสิทธิมนุษยชน
    ความสนิทสนมระหว่างรัสเซียกับเบลารุสน่าจะเนื่องจากว่า เบลารุสเป็นชุมทางของระบบท่อส่งน้ำมันและแก๊สธรรมชาติจากรัสเซียไปยังยุโรป
    ส่วนยูเครนนั้นต้องเผชิญ "การปฏิวัติส้ม" (Orange Revolution) ที่กล่าวกันว่าสหรัฐหนุนหลังในช่วงปลายปี 2004 ถึงต้นปี 2005 จนมีการตั้งรัฐบาลที่ฝักใฝ่กับสหรัฐได้สำเร็จ
    อย่างไรก็ตาม ในการเลือกตั้งครั้งหลังสุดในปี 2010 ผู้นำที่เอียงข้างรัสเซียได้รับชัยชนะ
    ยูเครนเป็นประเทศใหญ่ เป็นที่ตั้งฐานทัพเรือใหญ่ของรัสเซียในทะเลดำและเป็นทางผ่านของระบบท่อแก๊ส และน้ำมันสำคัญในการส่งน้ำมันจากรัสเซียไปยังยุโรปตะวันตก เมื่อตะวันตกเผชิญกับวิกฤติ 2008 ยูเครนก็มีทางออกและข้อต่อรองกับรัสเซียลดลง
    สำหรับมอลโดวานั้น เป็นประเทศขนาดเล็ก มีเชื้อสายใกล้ชิดกับชาวโรมาเนีย มีอุตสาหกรรมไวน์ที่ขึ้นชื่อ ไม่ค่อยจะลงรอยกับรัสเซียนัก และมีปัญหาแบ่งแยกดินแดนพริดเนสโตรวี (Pridnestrovie) บางทีเรียกว่า ทรานส์นิสเทรีย (Transnistia) ที่ต้องนำรัสเซียเข้ามาไกล่เกลี่ย
    3) กลุ่มเทือกเขาคอเคซัส ได้แก่ อาร์เมเนีย
    อาเซอร์ไบจาน และจอร์เจีย อาเซอร์ไบจานเป็นประเทศใหญ่ที่สุดในกลุ่มนี้ ประชากรส่วนใหญ่เชื้อสายตุรกีนับถือมุสลิม เป็นประเทศที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างยุโรปตะวันออกกับเอเชียตะวันตก มีทรัพยากรธรรมชาติอุดม ทั้งน้ำมันและแก๊ส รวมทั้งแร่ธาตุอื่น เช่นทอง ทั้งยังตั้งอยู่ริมทะเลแคสเปียนที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรพลังงาน มีแนวโน้มที่จะไปรวมกับกลุ่มประเทศมุสลิมในบริเวณนั้นมากขึ้น
    อาเซอร์ไบจานมีกรณีพิพาทแบ่งแยกดินแดน นากอร์โน-คาราบัก (Nagorno-Karabakh) กับอาร์เมเนีย ต้องเจรจาสันติภาพและสร้างเขตปกครองตนเองขึ้น
    ส่วนจอร์เจียนั้นมีปัญหาแบ่งแยกดินแดนถึง 2 บริเวณ ได้แก่ อับคาเซีย (Abkhazia) และโอสเซทเทียใต้ (South Ossetia) จนเกิดการรบพุ่ง และรัสเซียเข้ามาไกล่เกลี่ย ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศเสื่อมทรามลงไปหลังการปฏิวัติกุหลาบที่ทำให้ เอดวาร์ด เชวาร์ดนาดซี ที่สนิทกับรัสเซียพ้นจากตำแหน่ง และซาคาซวิลี (Mikhail Saakashvili) ผู้ได้รับการสนับสนุนจากตะวันตกอย่างเต็มที่ เข้ามาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแทน จนกระทั่งเกิดสงครามระหว่างรัสเซีย-จอร์เจียในเดือนสิงหาคมปี 2008
    4) กลุ่มเอเชียกลาง (Central Asia ใช้ว่า Middle Asia ก็มี) ประกอบด้วย 5 ประเทศ ได้แก่ คาซักสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกิสถาน เติร์กเมนิสถาน และอุซเบกิสถาน ซึ่งเป็นประเทศมุสลิม ประชากรมีเชื้อสายผสมกันระหว่างตุรกี อิหร่าน และมองโกล โดยทั่วไปถือว่าเป็นเชื้อสายตุรกี
    ใน 5 ประเทศนี้ ที่สำคัญได้แก่ อุซเบกิสถานและคาซักสถานซึ่งใหญ่เป็นที่ 1 และ 2 ตามลำดับ อุซเบกิสถานนั้น พยายามสร้างเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเอง ปัจจุบันเป็นผู้ส่งออกฝ้ายรายใหญ่ของโลก และยังเป็นผู้ผลิตทองคำ ผู้ส่งออกน้ำมัน แก๊สธรรมชาติ และยูเรนียม
    คาซักสถานเป็นประเทศที่อุดมด้วยน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ และคาดหมายว่าจะเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลกในอนาคต เป็นดินแดนที่ดึงดูดนักลงทุนจากทั่วโลก จีนได้วางท่อน้ำมันจากคาซักสถานบริเวณทะเลแคสเปียน เพื่อลำเลียงน้ำมันมายังมณฑลซินเกียงของจีน เป็นท่อน้ำมันความยาวกว่า 2 พันกิโลเมตร
    สามประเทศที่เหลือมีขนาดเล็ก จำนวนประชากรอยู่ระหว่าง 5-7 ล้านคน ต่างหาทางพัฒนาประเทศไปตามแนวทางของตน
    ที่เป็นที่จับตาได้แก่คีร์กีซสถานซึ่งพยายามจะพัฒนาระบอบประชาธิปไตยในระบบ รัฐสภาขึ้น บริเวณนี้น่าจะเป็นเขตอิทธิพลของรัสเซีย จีน และอิสลาม
    ท้ายสุดคือรัสเซีย ซึ่งอยู่คร่อมทั้งยุโรปและเอเชีย พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเอเชีย แต่ถือกันว่าอยู่ในยุโรป การรวมตัวเป็นกลุ่มต่างๆ มีความสำคัญเป็นพิเศษ
    การรวมกลุ่มที่น่าสนใจ
    การ รวมกลุ่มของรัฐหลังสหภาพโซเวียต ได้สะท้อนความสัมพันธ์ทางอำนาจได้ดี ควรจะได้กล่าวถึงสักเล็กน้อยองค์กรระหว่างประเทศภายในกลุ่มรัฐดังกล่าว อาจจำแนกได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่
    1) เครือรัฐอิสระ (Commonwealth of Independent States-CIS) ซึ่งถือว่าเป็นองค์กรหลัก มีรัสเซียเป็นแกน ประกอบด้วยสมาชิกทางการ 9 ประเทศ ส่วน ยูเครนผู้ร่วมก่อตั้งถอนตัวจากการเป็นสมาชิกแต่เข้าร่วมประชุม และเติร์กเมนิสถานเป็นสมาชิกแบบไม่ใช่ทางการ ขาดไปจริงๆ 4 ประเทศได้แก่ 3 ประเทศในบอลติกกับจอร์เจีย องค์กรเครือรัฐอิสระที่เป็นอย่างหลวมๆ นี้ ได้มีการแตกหน่อหรือส่วนขยายเพื่อกระชับความร่วมมือให้เข้มข้นขึ้น เช่น ประชาคมเศรษฐกิจยูเรเซีย (Eurasia Economic Community) ตั้งปี 2000 น่าจะมีแนวคิดทำให้คล้ายประชาคมยุโรป
    และที่เป็นข่าวในปี 2010 นี้ก็คือ การตั้งสหภาพร่วมศุลกากรแห่งเบลารุส คาซักสถานและรัสเซีย (Common Union of Belarus, Kazakhstan and Russia) ซึ่งทั้งสามประเทศนี้เป็นกำลังสำคัญทางอุตสาหกรรมพลังงาน ที่นับวันมีความสำคัญขึ้นทุกที
    2) กลุ่มทางเลือกประชาธิปไตย (Community of Democratic Choice) ตั้งปี 2005 เป็นกลุ่มต้านอิทธิพลรัสเซีย สมาชิกประกอบด้วย 3 ประเทศทางทะเลบอลติค ยูเครน จอร์เจีย และมอลโดวา อย่างไรก็ตาม หลังจากสงครามรัสเซีย-จอร์เจียปี 2008 และวิกฤติเศรษฐกิจใหญ่ในตะวันตกแล้ว กลุ่มนี้ก็ไม่น่าจะขยายอิทธิพลได้มากนัก 3) องค์กรความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Cooperation Organization-SCO) ตั้งปี 2001 เป็นองค์กรที่มีรัสเซีย-จีนเป็นแกน สมาชิกประกอบด้วยประเทศในเอเชียกลาง เมื่อดำเนินไปพักหนึ่งมีหลายประเทศสนใจที่จะเข้าร่วม เช่น อิหร่าน อินเดีย และปากีสถาน เป็นองค์กรที่กำลังเติบโต เมื่อเทียบกับนาโตที่ชราลง
    4) กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (Economic Cooperation Organization) เป็นองค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจของประเทศมุสลิมประกอบด้วย 3 ประเทศมุสลิมใหญ่คือ ตุรกี อิหร่าน และปากีสถาน รวมกับรัฐอิสลาม 6 ประเทศที่เคยเป็นสหภาพโซเวียตมาก่อน
    ดังนั้น จะเห็นว่าแม้ล่มสลายไปแล้ว รัฐหลังสหภาพโซเวียตก็ไม่ได้ลดความสำคัญลงไปมากนัก แต่ยังคงดำรงความเป็นศูนย์อำนาจแห่งหนึ่งของโลกไว้ ด้วยเหตุปัจจัยใหญ่ 3 ประการได้แก่ สภาพภูมิศาสตร์ที่ตั้งคร่อม 2 ทวีปสำคัญที่สุดคือยุโรปกับเอเชีย การมีทรัพยากรน้ำมันและแร่ธาตุที่จำเป็นจำนวนมาก และการมีอาวุธนิวเคลียร์

     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Jeerachart Jongsomchai

    [​IMG]

    ... "วิกฤติกรีซ อาจจะทำให้เศรษฐกิจและสหภาพยุโรปพังได้ ... โลกจะกลายเป็นไบโพล่าร์ สงครามสองขั้วอีกครั้ง"
    ... แม้ว่ารัฐมนตรีการคลังฝรั่งเศสจะออกมาให้สัมภาษณ์แบบขาสั่นๆพั่บๆว่าถ้ากรณี "กรีซ" ที่ต้องการเงินกู้ก้อนใหญ่ 5.3 พันล้านปอนด์จากอียูจบไม่ลงและกรีซต้องออกจาก "ยูโรโซน" ขึ้นมาจริงๆ ก็จะไม่ทำให้ยุโรปแย่ลง มีแต่จะดีขึ้นนั้น , แต่ทาง CBI ( สมาพันธ์อุตสาหกรรมของอังกฤษ ) กลับบอกว่า มีผลแน่ๆ ถ้ากรีซหยุดการใช้เงินยูโรจริงๆ
    ... โดย CBI บอกว่าถ้า "กรีซ" ออกจากยูโรโซน จะทำให้อัตราแลกเปลี่ยนของ "ยูโร" กับเงินอื่นจะแกว่งทันที ( แกว่งลง ) ค่าเงินยูโรน่าจะตกลงพอสมควร และจะมีผลในวงกว้างต่อการค้าขายเศรษฐกิจยุโรปทันที ก็ถ้าค่าเงินยูโรตกก็หมายความว่าการนำเข้าสินค้าก็ต้องจ่ายแพงขึ้น การส่งออกก็ได้เงินน้อยลง ต้องผลิตสินค้ามากขึ้น แบบนี้ไม่ดีแน่นอนกระทบเห็นๆ
    ... ยิ่งในอังกฤษด้วยแล้ว CBI บอกว่าเรื่องของกรีซประกอบกับเรื่องที่อังกฤษจะทำประชาภิจารณ์เรื่อง "การออกจากอียู" ในอีกสองปีข้างหน้า จะมีผลต่อการเติบโตของอังกฤษแน่นอนชัดเจน และถ้ามาตามนั้นทุกอย่าง รอยร้าวในยุโรปจะกว้างและลึกขั้น และคานบ้านอาจจะหักลงดังโครมและอาจจะเป็นจุดเรื่มต้นของจุดจบของ "ก๊กที่สาม" คือยุโรปในท้ายที่สุด
    ... เพราะช่วง "สงครามเย็น" นายพลเดอโกลของฝรั่งเศสต้องการรวมกลุ่มประเทศในยุโรปเพื่อให้เป็นเอกภาพไม่ถูกแบ่งแยกไปเข้าข้างอเมริกาหรือโซเวียตรัสเซีย โดยต้องการสร้างเป็นอีกก๊ก เพื่อเพิ่มอำนาจในการต่อรองทั้งทางการค้าและการเมือง จนสุดท้ายเป็นสหภาพยุโรปดังที่เราเห็นกันในปัจจุบัน จนหลายกลุ่มทำตามเช่นอาเซียนของเรา
    ... ก่อนหน้านี้ เคยมีนักวิเคราะห์บอกว่าการที่นายกกรีซไปพบปูตินและส่งสัญญาณการสนิทสนมกันหวานแหววลัลลาอย่างฟินนั้น อาจจะทำให้กรีซออกจากยูโรโซนเลิกใช้เงินยูโรในที่สุด และกรีซจะเป็นเหมือนดั่ง "ม้าไม้โทรจัน" ที่จะไปตีเมืองทรอยแห่งสหภาพยุโรปให้แตกในที่สุด
    ... ซึ่งถ้าเป็นตามนั้นโจโฉอย่างอเมริกาก็ไม่เห็นจะแคร์อะไร ยิ่งดีไปใหญ่ อเมริกาอยากอ้าปากเคี้ยวยุโรปเป็นเมืองขึ้นมานานแล้ว จากโครงการความร่วมมือTTIP ที่จะแก้กฎหมายยุโรปในการให้บริษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่จากอเมริกามาซื้อกิจการในยุโรปได้ง่ายขึ้น โลกก็จะกลับมาเป็นสองขั้วเหมือนเดิม เป็นขั้วอเมริกากับขั้ว BRICS แค่นั้นเอง
    ... ซึ่งแนวโน้มเป็นแบบนั้นสูงมากเพราะท่าทีของเดวิด คาเมรอนนายกอังกฤษ ดูไปแล้วก็คือหุ่นเชิดของอเมริกาดีๆนี่เอง ( เหมือนในหนังเรื่อง Ghost writer ของโรมัน โปลันสกี้ ปรมาจารย์หนังเลย ) และกรีซดูแล้วออกไปคบรัสเซียจะดีกว่าแน่ ได้เงินค่าท่อแก๊สผ่านประเทศไปยุโรปอีก ได้เงินกู้แบบไม่ต้องขายรัฐวิสาหกิจราคาต่ำๆมากมายอีก ไม่ต้องรัดเข็มขัดจนเศรษฐกิจตกต่ำ ไม่ต้องไล่ข้าราชการออกเป็นหมื่นๆอีก ทำไมจะไม่เอาหล่ะ
    ... ดูท่าคราวนี้อีกสองสามปี สหภาพยุโรปบ้านแตกสาแหรกขาดแน่ๆ
    .( เดลิเมล์ ต้องโหลดแอ็บมาอ่านเท่านั้นครับ เปิดในคอมธรรมดาไม่ได้ โดนแบน )
    . Angela Merkel warns time is running out for Greece http://www.dailymail.co.uk/…/Angela-Merkel-warns-time-runni… @MailOnline
    CBI cuts UK growth forecast to 2.4% for this year http://www.dailymail.co.uk/…/CBI-cuts-UK-growth-forecast-ye… @MailOnline
    .
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สหรัฐไล่นักศึกษาจีนออกจากมหาวิทยาลัยเกือบ 8 พันคนในปี 2013-2014 Last updated: 31 May 2015 | 17:52

    [​IMG]
    @ปัว กัวกัว ลูกชายของ ปัว ซีไหล นักการเมืองจีนผู้ถูกลงโทษ รับปริญญาโทสาขาวิชานโยบายสาธารณะจาก John F. Kennedy School of Government ,มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2012
    นักศึกษาจีนในสหรัฐเกือบ 3 แสนคนใช้เงินเรียนปีละ 22 พันล้านดอลลาร์ ปีการศึกษา 2013-2014 ถูกไล่ออกจากมหาวิทยาลัยถึง 8,000 คนเพราะโกงข้อสอบหรือไม่เข้าเรียน
    หนังสือพิมพ์ The Wall Street Journal และ The Atlantic ในสหรัฐรายงาน เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2558 ว่านักศึกษาจีนที่เดินทางไปเรียนต่อในสหรัฐในปีการศึกษา 2013-2014 ถูกไล่ออกจากมหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยในสหรัฐประมาณ 8,000 คน ในจำนวนนี้ 80 % ถูกไล่ออกเพราะโกงข้อสอบหรือไม่เข้าเรียนหนังสือ
    ทั้งนี้เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม อัยการเมืองพิตสเบิร์ก็ยื่นฟ้องนักศึกษาจากจีน 15 คน
    สาเหตุเพราะโกงการสอบด้วยการจ้างคนอื่นมาสอบเข้ามหาวิทยาลัย (college-entrance exams) แทน
    คดีนี้มีการสอบสวนมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2014 นักศึกษาบางคนที่ถูกยื่นฟ้องกำลังเรียนอยู่ที่ Northeastern University เมืองบอสตัน
    นายแอนดรูว์ เฮง เฉิน หัวหน้าฝ่ายพัฒนาการศึกษาแห่ง WholeRen Education เมืองพิตสเบิร์กชี้แจงว่าบริษัทกำลังให้คำปรึกษากับนักศึกษาจีน 1,657 รายที่ถูกไล่ออกจากมหาวิทยาลัยช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ในจำนวนนี้ถูกไล่ออกเพราะไม่ซื่อสัตย์ต่อชั้นเรียน
    “คุณภาพของนักศึกษาที่มาจากจีนช่วงนี้ลดลง ภาพพจน์ต่างๆของนักศึกษาจีนสองสามปีที่ผ่านมาตกต่ำ คนที่จะมาเรียนส่วนใหญ่ไม่ได้มีการเตรียมการที่ดี”นายแอนดรูว์กล่าว
    จากข้อมูลของสถาบันการศึกษานานาชาติ( Institute of International Education) รายงานว่าในปีการศึกษา 2013-2014 มีนักศึกษาต่างชาติเข้าเรียนในสหรัฐเกือบ 900,000 คน ในจำนวนนี้จากประเทศจีนเรียนในสหรัฐ 274,439 คนหรือเพิ่ม 16 % จากปีการศึกษาก่อนหน้า
    นักศึกษาจีนคิดเป็นนักศึกษาต่างชาติที่เรียนในสหรัฐมากที่สุดถึง 31 % ในปีการศึกษา 2014 และนำเงินมาใช้ในสหรัฐถึง 22 พันล้านดอลลาร์
    ก่อนหน้านี้นักศึกษาจีนที่ไปเรียนสหรัฐส่วนใหญ่จะเข้าเรียนระดับปริญญาโทและมีงบประมาณการเรียนจำกัดจำเขี่ย แต่ปัจจุบันนักศึกษาส่วนใหญ่จะมาจากครอบครัวมั่งคั่งและมีอิทธิพลในจีน อาทิเช่นลูกสาวของประธานาธิบดีสี จิ้น ผิง เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด เป็นต้น
    ปัจจุบันนักศึกษาจีนแสดงออกถึงความมั่งคั่งและหรูหรา โดยยกตัวอย่างเช่นห้างสรรพสินค้า Bergdorf Goodman แห่งนครนิวยอร์กถึงกับจัดงานวันตรุษจีนเพื่อเพิ่มการจำหน่ายสินค้าแก่นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์กและมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เช่นเดียวกับห้าง Bloomingdales จัดงานแฟชั่นโชว์ที่ชิคาโก้เพื่อเอาใจนักศึกษาจากจีน
    นักศึกษาจีนกลายมาเป็นตลาดใหญ่ของมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา เรื่องนี้ไม่มีใครที่จะรู้ดีไปกว่ามหาวิทยาลัยเอง ในจำนวนที่มาเรียนมากกว่า 60 % ออกค่าใช้จ่ายเต็มที่ด้วยเงินของตัวเอง กล่าวกันว่าเงินที่นักศึกษาจีนนำมาใช้จ่ายมีส่วนสำคัญเข้ามาช่วยนักศึกษาอเมริกันที่ยากจนด้วย
    มหาวิทยาลัยในสหรัฐบางแห่งก็ถือโอกาสจัดเก็บค่าเล่าเรียนเพิ่มกับนักศึกษาต่างชาติเพื่อทำกำไรมากขึ้น โดยยกตัวอย่างมหาวิทยาลัยเพอร์ดู( Purdue University) ในรัฐอินเดียนา
    ความต้องการของนักศึกษาจีนที่จะเข้าเรียนต่อในสหรัฐจัดเป็น “อุตสาหกรรม”อย่างหนึ่ง แต่ก็มีปัญหาตามมาในเรื่องของการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าศึกษาต่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการยื่นใบสมัคร
    นักศึกษาจีนในมหาวิทยาลัย USC , Los Angeles ซึ่งเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่มีนักศึกษาต่างชาติเข้าเรียนมาก ( Photo:Frederic J. Brown/AFP)
    ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
    ทั้งนี้จากสำนักงานที่ปรึกษาการศึกษาชื่อ Zinch China ระบุว่าบริษัทที่ปรึกษาต่างๆ 90 % ฉ้อโกงเรื่องการให้คำแนะนำ , 70 % ให้คนอื่นช่วยเหลือเรียงความแนบใบสมัคร, 50 % ปลอมทรานสคริปคะแนนจบไฮสคูลและอีก 10 % อ้างอิงว่าได้รับรางวัลจากการเรียน ทั้งๆที่ไม่เคยได้รับ
    ครั้นเดินทางเข้าเรียนต่อในสหรัฐกลับพบว่าภาษาอังกฤษไม่ดีพอที่จะรับฟังการเลกเชอร์จากอาจารย์ได้เข้าใจหรือแม้แต่จะเขียนรายงาน
    อย่างไรก็ตามปัจจุบันทุกอย่างเริ่มดีขึ้นเมื่อสถาบันการศึกษาเหล่านี้เข้าใจว่านักศึกษาจีนนั้นติดมหาวิทยาลัยอเมริกันแบบ”งอมแงม” (addicted) จึงทำความเข้าใจถึงเรื่องนี้เพิ่มขึ้น บางส่วนเดินทางไปจัดสำนักงานในจีนเพื่อให้คำแนะนำที่ถูกต้อง
    นอกจากนี้รัฐบาลจีนเองก็ใช้เงินปีละหลายพันล้านดอลลาร์ปรับปรุงระบบการศึกษามากขึ้นเช่นเพิ่มห้องทดลอง,เพิ่มงานด้านวิจัย เพื่อดึงนักศึกษาระดับปริญญาตรีให้เรียนอยู่ในประเทศ ขณะนี้นักศึกษาระดับปริญญาโทเรียนอยู่ในประเทศจีนมากขึ้นเพราะอยู่ในระดับสามารถแข่งขันกับระบบการศึกษาของต่างชาติได้
    “ดังนั้นการไล่นักศึกษาจีนออกจากมหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัย ในอนาคตก็อาจเป็นปัญหาใหญ่ของสหรัฐ เพราะนักศึกษาจีนอาจไม่กลับมาเรียนอีกเลย” รายงานข่าวกล่าว
    First posted: 31 May 2015 | 17:12
    Author : paisano
    http://www.thaitribune.org/contents/detail/305…
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ปอกเปลือก ทรราช

    [​IMG]

    เป็นศัตรูกับรัสเซีย-จีน-บริกส์ ถือว่าเป็นความพ่ายแพ้ของสหรัฐฯ เยอรมัน และอียู
    -----------
    มีการออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกลุ่ม BRICS และอนาคตของอียู อยู่หนึ่งข่าวที่น่าสนใจอยากจะนำมาเล่าให้แฟนเพจและโปรอเมริกาฟังซักหน่อย เมื่อวันที่ 6 มิ.ย.58 ที่ผ่านสำนักข่าว Sputnik news ของรัสเซียพาดหัวข่าวว่า "US to Lose Its Ground Under BRICS Pressure" (แปลว่าสหรัฐฯกำลังจะเสียศูนย์ (สูญเสีย) พื้นที่ของตน ภายใต้แรงกดดันของกลุ่ม BRICS) โดยอ้างบทสัมภาษณ์ Folker Hellmeyer นักเศรษฐศาสตร์ชาวเยอรมันจากหนังสือพิมพ์ Deutsche Wirtschafts Nachrichten ของเยอรมันเอง
    นักเศรษฐศาสตร์ชาวเยอรมันนีมองว่าความเสียหายที่แท้จริงต่อกลุ่มประเทศยุโรปที่มีสาเหตุมาจากการแซงชั่นต่อต้านรัสเซียนั้น เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ง่ายกว่าการประมาณการตัวเลขทางสถิติซะอีก
    Folker Hellmeyer กล่าวว่า "ปริมาณการส่งออกของเยอรมันลดลง 14% ในปี 2014 และ 34% ในปีช่วงสองเดือนแรกของปี 2015 เป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น (tip of the iceberg) จะมีผลข้างเคียง (side-effects) ตามมาอีกมาก กลุ่มประเทศยุโรปเช่นฟินแลนด์และออสเตรียที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเข้มแข็งกับรัสเซีย มียอดสั่งซื้อสินค้าของเยอรมันน้อยมาก นอกจากนี้แล้วกลุ่มบริษัทของยุโรปที่หลีกเลี่ยงการแซงชั่น ได้หันไปสร้างโรงงานผลิตสินค้าคุณภาพสูงในรัสเซียแทน ดังนั้นเราจึงสูญเสียหุ้นหลักที่มีศักยภาพ ซึ่งเป็นพื้นฐานของความรุ่งเรืองของพวกเราไป และรัสเซียชนะ (Russia wins)"
    นักเศรษฐศาสตร์ชาวเยอรมันกล่าวอีกว่า ความสัมพันธ์ในด้านความเชื่อถือกันระหว่างรัสเซีย เยอรมัน และอียูเป็นบางอย่างที่เรียกว่า "แตกหัก" (broken) ต้องใช้เวลาอีกหลายปีถึงจะกลับมาสร้างใหม่ได้อีกครั้ง ผลก็คือบริษัทต่างๆของเยอรมันเช่น Siemens และ Alstom ได้สูญเสียโครงการใหญ่ๆในรัสเซียไปแล้ว ความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้นี้ไม่ใช่มีเฉพาะต่อเยอรมันเท่านั้น แต่ยังรวมถึงอียูทั้งหมดด้วย ดังนั้น จึงเห็นได้ชัดว่าเป็นอะไรที่เข้าใจได้ง่ายกว่า (/ครอบคลุมมากกว่า) สิ่งที่กำลังแสดงให้เห็นเป็นตัวเลขในปัจจุบันนี้
    ในขณะเดียวกันกรุงมอสโคว์ กรุงปักกิ่ง และประเทศสมาชิกกลุ่ม BRICS กำลังมองไปข้างหน้าเพื่อก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เช่นการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ในยูเรเซีย (Eurasian) จากกรุงมอสโคว์ไปถึงเมือง Vladivostok ทางตอนใต้ของจีน และในอินเดีย (Vladivostok เป็นศูนย์กลางด้านการบริหารอีกแห่งหนึ่งใน ภูมิภาค Primorsky Krai ของรัสเซีย อยู่ติดกับชายแดนจีนและเกาหลีเหนือ)
    Folker Hellmeyer กล่าวว่า "สำหรับผมนั้นผมมองว่า ความขัดแย้งได้ถูกกำหนดขึ้นมาแล้ว แกนหลักฝ่ายมอสโคว์-ปักกิ่ง-BRICS ชนะ ตะวันตกรับไปอย่างเพียงพอแล้ว (The axis Moscow-Beijing-BRIC has won. The West had enough.) ในปี 1990 เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศเหล่านี้ (BRICS) มีประมาณ 25% ของผลผลิตทั่วโลก ดูคราวนี้สิ พวกเขามีผลผลิตทางเศรษฐกิจโลกถึง 56% และเมื่อรวมกันแล้วมีประชากรรวมกันถึง 85% ของประชากรโลก กลุ่มประเทศเหล่านี้ (BRICS) ควบคุมทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของโลกถึง 70% มีอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 4% - 5% ต่อปี นับตั้งแต่สหรัฐฯไม่ได้เตรียมการที่จะแบ่งปันอำนาจให้ประเทศต่างๆทั่วโลก หรือไม่สร้างภาคการตลาดในระบบการเงินของตนขึ้นมาใหม่ สหรัฐฯแพ้ (it lost.)"
    นักเศรษฐศาสตร์มองว่า "ไม่มีปัญหาใดในปัจจุบันนี้ที่จะสามารถแก้ไขได้โดยปราศจาก (ความร่วมมือจาก) กรุงมอสโคว์และกรุงปักกิ่ง การขาดแผนการของตนเองจะยิ่งทำให้อียูและเยอรมันนีดูเหมือนว่าสูญเสียเพิ่มมากขึ้น (สังเกตไหมว่าเขาไม่พูดถึงสหรัฐฯในจุดนี้ด้วย) หากเราดำเนินนโยบายนี้ในอียู เรายิ่งต้องจ่ายสูงขึ้นตามไปด้วย (the higher is the price) เราจะสูญเสียน้อยลงหากเราหันหน้าเข้าเจรจากัน"
    ตอนแรกก็กะว่าจะเขียนโดยสรุปให้อ่านกันนะครับ แต่พออ่านไปเรื่อยๆ รู้สึกว่าข้อมูลนี้มีความน่าสนใจมาก จึงเปลี่ยนใจหละ แปลให้อ่านกันเลยละกัน เมื่ออ่านจบเห็นสัญญาณอะไรบางอย่างที่นักเศรษฐศาสตร์ชาวเยอรมันซ่อนหรือแง้มๆไว้ในบทวิเคราะห์นี้กันบ้างไหม นอกจากอนาคตทางเศรษฐกิจของขั้วกลุ่ม BRICS กับกลุ่มอียูและสหรัฐฯ?
    ตัวเลขนั้นเป็นความจริง สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นก็เป็นความจริง นักเศรษฐศาสตร์ชาวเยอรมันเขาแนะนำให้เยอรมันนีและอียูหันมาจับมือกับรัสเซีย จีน และ BRICS และอย่าไปสนใจอเมริกาเลย อย่าให้อเมริกาจูงจมูกลงเหวตามอเมริกาไปด้วยเลย นี่เขาบอกใบ้ให้ทราบอย่างนี้ แต่ดูเหมือนว่าเหล่านักการเมืองยุโรปคงจะไม่ได้ยิน หรืออาจจะเป็นเพราะว่าไม่สามารถสลัดให้หลุดพ้นจากปีกของจักรวรรดิอเมริกาก็ไม่รู้สิ
    The Eyes
    10/06/2558
    ----------
    US to Lose Its Ground Under BRICS Pressure / Sputnik International
     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ปอกเปลือก ทรราช
    ข่าวร้ายสำหรับโปรอเมริกา แต่เป็นข่าวดีสำหรับแฟนคลับปูติน : GDP ของ BRICS กำลังจะแซงหน้า G7 ภายใน2-3ปีนี้

    [​IMG]

    -----------
    ไหนๆก็ได้พูดถึงเรื่องอนาคตเศรษฐกิจของกลุ่ม BRICS แล้ว ขอเล่าอีกข่าวหนึ่งที่น่าสนใจให้ฟังด้วยนะครับ เพื่อให้แฟนเพจทั้งหลายได้รับรู้ความเป็นไปและทิศทางของสถานการณ์โลกเพิ่มมากขึ้น เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมานาย Aleksey Pushkov ประธานคณะกรรมาธิการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแห่งสภาดูม่าของรัสเซียออกมากล่าวว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศร่วมกันของกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ BRICS (บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้) กำลังจะแซงหน้า GDP ของ กลุ่มมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ 7 ประเทศที่เรียกตัวเองว่า "G7" (Germany, the United States, France, Italy, Canada, the United Kingdom และ Japan) ภายใน 2-3 ปีข้างหน้านี้
    Alexei Pushkov กล่าวกับผู้สื่อฯข่าวว่า "อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่ม BRICS ส่วนมากแสดงให้เห็นว่ามีอัตราเติบโตที่สูงมากกว่าประเทศ 'ใหญ่ๆทั้ง7' เราสามารถประมาณการได้ว่าภายในสองถึงสามปีข้างหน้านี้ เมื่อเอาตัวเลข GDP ของกลุ่ม BRICS มารวมกันแล้ว จะสูงกว่าตัวชี้วัดเดียวกันของชาติสมาชิก G7 ซะอีก"
    ท่านวุฒิสภาฯของรัสเซียผู้นี้กล่าวอีกว่าเมื่อปีที่ผ่านมา (2014) อัตราการเติบโต GDP ของ BRICS รวมกันอยู่ที่ 30% (ของ GDP โลก?) ซึ่งต่ำกว่าของกลุ่ม G7 รวมกันเพียง 7-8% เท่านั้น จากข้อมูลของ IMF พบว่ากลุ่ม BRICS มี GPD รวมกันถึง $32.5 trillion (ประมาณ 1,098,500,000,000,000 บาท) ในขณะที่ GDP ของ G7 รวมกันอยู่ที่ $34.7 trillion (ประมาณ 1,172,860,000,000,000 บาท)
    กลุ่ม BRICS กำลังจะจัดประชุมหารือกันระดับสภา (BRICS Parliamentary Forum) ขึ้นที่เมือง Ufa (เมืองหลวงของสาธารณรัฐ Bashkortostan ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย) ซึ่งอยู่ตะวันออกของกรุงมอสโคว์ประมาณ 720 ไมล์ ระหว่างวันที่ 9-10 กรกฎาคมปีนี้ (เมื่อ G7 จัดประชุมประจำปีที่เยอรมันได้ แล้วทำไม BRICS จะจัดบ้างไม่ได้?) การประชุมของกลุ่ม BRICS ในครั้งนี้จะมุ่งไปที่เรื่องความมั่นคงระหว่างประเทศ และการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ รวมทั้งมาตรการป้องกันวิกฤตการณ์ด้วย
    ทางรัสเซียได้เสนอให้มีการจัดฟอรัมนี้ขึ้นเป็นประจำทุกปีระหว่างชาติสมาชิกของกลุ่ม BRICS ด้วยกัน ชาติสมาชิกของกลุ่ม BRICS มีกรอบความร่วมกันในวงกว้างหลายประเด็น ซึ่งรวมถึงเรื่อง พลังงาน การเงิน การเผชิญหน้ากับภัยคุกคามทั่วโลกเช่นการก่อการร้าย
    เอาหละสิเมื่อรัสเซียจีนและพรรคพวกจับมือกันต่อต้านภัยก่อการร้ายอย่างที่สหรัฐฯชอบอ้างในการก่อสงครามต่างประเทศอยู่บ่อยๆอะไรจะเกิดขึ้นบ้างหละนี่? แต่วิธีการของรัสเซียแตกต่างจากของฝั่งสหรัฐฯนะ รัสเซียนั้นการแก้ไขปัญหาด้วยวิถีทางการเมืองและการทูต ส่วนสหรัฐฯเน้นสนับสนุนด้านอาวุธและการเงินให้กับกลุ่มต่างๆต่อสู้กันเอง จากนั้นสหรัฐฯก็เปิดฉากโจมตีทางอากาศอีกรอบหนึ่ง แยกไม่ออกหรอกว่าใครเป็นผู้ก่อการร้ายตัวจริงหรือตัวปลอม ขึ้นอยู่กับว่าสหรัฐฯจะออกมาบอกว่าฝ่ายที่ถูกโจมตีนั้นเป็นผู้ก่อการร้ายหรือไม่ เป็นหรือเป็นไม่นั้นอยู่ที่สหรัฐฯเป็นผู้กำหนดเท่านั้น นั่นคือในสายตาของสหรัฐฯ
    The Eyes
    10/06/2558
    ----------
    BRICS to Surpass G7 Within 2-3 Years in Terms of Joint GDP / Sputnik International
    http://rt.com/business/265723-brics-gdp-pushkov-russia/
    Moscow Hosts First BRICS Parliamentary Forum Ahead of Group's Annual Summit / Sputnik International
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ปอกเปลือก ทรราช
    จีน-รัสเซียจัดซ้อมรบในทะเลญี่ปุ่น

    [​IMG]

    -----------
    เมื่อวานนี้ (9 มิ.ย.58) มีข่าวคราวเกี่ยวกับการซ้อมรบจากฝั่งรัสเซียอยู่ 2 ข่าว จึงนำมาเล่าเพื่ออัพเดทสถานการณ์ให้แฟนเพจได้รับทราบความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องดังนี้...
    1.) กองเรือประจำทิศเหนือของรัสเซีย (Northern Fleet) ออกมาแถลงข่าวว่ากองทัพเรือ Northern Fleet ของรัสเซียได้สิ้นสุดภารกิจซ้อมรบในทะเลบาร์เลนท์ส (Barents Sea) เรียบร้อยแล้ว โดยการซ้อมรบของกองทัพเรือรัสเซียในทะเลบาร์เรนท์สครั้งนี้มีปฏิบัติการต่อต้านเรือรบ ต่อต้านเรือดำน้ำด้วยตอร์ปิโดและการจู่โจมในเขตน้ำลึก เป็นปฏิบัติการค้นหาเรือดำน้ำและจู่โจม โดยใช้การบินต่อต้านเรือรบเข้าร่วมด้วย สัปดาห์ที่ผ่านมารัสเซียได้จัดซ้อมรบที่ทะเลบาร์เรนท์สร่วมกับประเทศนอร์เวย์ (เคยเล่าให้ฟังแล้ว) เน้นปฏิบัติการกู้ภัยและฝึกการทำความสะอาดคราบน้ำในทะเล และเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมากองเรือ Northern Fleet ของรัสเซียก็ได้มีปฏิบัติการซ้อมรบทางอากาศในทะเลบาร์เรนท์สด้วย
    2.) ในวันเดียวกันนี้โฆษกมณทลทหารตะวันออกสังกัดกลาโหมของรัสเซียก็ออกแถลงการณ์ว่า รัสเซียและจีนจะจัดซ้อมรบร่วมกันในทะเลญี่ปุ่น (Sea of Japan เป็นเพียงชื่อเฉยๆ ไม่ใช่ทะเลของญี่ปุ่นจริงๆ) โดยกองทัพเรือของรัสเซียได้กำหนดพื้นที่ในการซ้อมรบร่วมกันของทั้งสองประเทศในทะเลญี่ปุ่นซึ่งเป็นระดับที่สอง (second stage) ของการซ้อมรบทางทะเลระหว่างรัสเซียกับจีน ตามรายงานบอกว่ากองทัพเรือของจีนได้มีปฏิบัติการลาดตระเวนในเขต Knevichi Airfield และศึกษาพื้นที่สำหรับยกพลขึ้นบกในรัศมีของกองเรือแฟซิฟิกใกล้กับ Mys Klerk (Cape Klerk) รายงานบอกว่า ระดับที่1 (first stage) ของการซ้อมรบทางทะเลร่วมกันระหว่างรัสเซียกับจีนได้เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้วในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
    สำหรับการซ้อมรบร่วมกันของรัสเซียกับจีนทางทะเลมีคร่าวๆดังนี้
    - 2012 จีนกับรัสเซียซ้อมรบทางทะเลร่วมกันที่ทะเลเหลือง (Yellow Sea) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทะเลจีนตะวันออก (East China Sea) ตามรายงานของบีบีซีบอกว่าจีนกับรัสเซียได้จัดซ้อมรบร่วมกันขึ้นเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2005
    - 2013 จีนกับรัสเซียจัดซ้อมรบทางทะเลร่วมกันที่ทะเลญี่ปุ่น (Sea of Japan) มีเรือรบเข้าร่วม 19 ลำ ภายใต้ปฏิบัติการ "Joint Sea 2013"
    - 2014 จีนกับรัสเซียจัดซ้อมรบร่วมกันที่ทะเลจีนตะวันออก (East China Sea) ภายใต้ปฎิบัติการ "Joint Sea 2014"
    - 2015 จีนกับรัสเซียจัดซ้อมรบทางทะร่วมกันที่ทะเลดำ (Black Sea) ในบ้านของรัสเซีย และย้ายไปซ้อมรบร่วมกันต่อที่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Sea) เมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา (เคยเล่าให้ฟังแล้ว)
    - 2015 จีนกับรัสเซียกำลังเริ่มซ้อมรบร่วมกันอีกในทะเลญี่ปุ่น (Sea of Japan)
    - 2016 จีนกับรัสเซียและคาดว่าจะมีประเทศอื่นๆในเอเซียเข้าร่วมด้วย จะจัดซ้อมรบทางทะเลในทะเลจีนใต้ (South China Sea) (เคยลงข่าวเล่าให้ฟังแล้วเมื่อสิ้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมานี้เอง) ซึ่งญี่ปุ่นกับฟิลิปปินส์ก็พึ่งจัดซ้อมรบร่วมกันไปเมื่อเร็วๆนี้
    The Eyes
    10/06/2558
    ----------
    Russian Navy Completes Anti-Sub Drills, Fires Torpedoes in Barents Sea / Sputnik International
    Russia, China Set Area in Sea of Japan for Joint Navy Drills / Sputnik International
    Russia, China hold ‘Joint Sea 2015’ military drills — RT In motion
     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ข่าวอุกกาบาตถล่มโลก ก.ย.นี้ ไม่จริงหรอกครับ เป็นการสร้างกระแสให้คนเบื่อหน่ายข่าวสารประเภทนี้ และต่อไปถ้าเกิดจริง ก็คงไม่มีใครเชื่ออีก

    ข้อมูลจาก เฟสบุ๊ก มนพ คงสวัสดิ์ ได้แชร์ลิงก์

    [​IMG]

    “นาซ่า“ สยบกระแสลือ กองทัพสหรัฐซ้อมรบ อุกกาบาตถล่มโลก ก.ย.นี้ รับมือจลาจล 9 มิ.ย. 58 15.20 น. |
    Matichon สนับสนุนเนื้อหา

    โลกออนไลน์ลือสะพัด กองทัพสหรัฐรวมพลซ้อมรบลับสุดยอด รับมือภัยอุกกาบาตชนโลก เดือนกันยายนนี้ "นาซ่า" ออกโรงโต้ทันควัน
    “นาซ่า“ สยบกระแสลือ กองทัพสหรัฐซ้อมรบ อุกกาบาตถล่มโลก ก.ย.นี้ รับมือจลาจล นำเสนอข่าวโดยทีมงาน Sanook.com

    สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า กองทัพสหรัฐได้เตรียมซ้อมรบ "Jade Helm" ซึ่งจะมีทหารเข้าร่วมกว่า 1,000 นาย โดยไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดใดๆ ทำให้เกิดกระแสลือสะพัดว่า การซ้อมรบดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อรับมือกับเหตุการณ์อุกกาบาตที่เชื่อว่าอาจถล่มโลกในเร็วๆ นี้ ขณะที่นาซ่าได้รีบออกมาปฎิเสธข่าวนี้แล้ว

    นักเชื่อทฤษฎีสมคบคิดชี้ว่า การซ้อมรบดังกล่าวจะต้องเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์อุกกาบาตที่จะถล่มโลกในเดือนกันยายนนี้ โดยกองทัพสหรัฐต้องการป้องกันภัยกวาดล้างมนุษยชาติ ที่อาจทำให้เกิดสถานการณ์จลาจลระส่ำระสายอย่างหนัก เชื่อว่าหากเกิดเหตุจลาจลที่ไม่สามารถควบคุมได้ โดยเฉพาะในเมืองชั้นใน ทหารสหรัฐพร้อมที่จะยิงประชาชนเพื่อปกป้องโลกไว้ และผู้คนสมควรจะตื่นตัวได้แล้ว สำหรับการถูกจองจำหรือการถูกฆ่าสังหารในอนาคต

    ขณะที่บล๊อกเกอร์ด้านทฤษฎีสมคบคิดบางราย ทำนายว่า เหตุการณ์อุกกาบาตถล่มโลกจะเกิดขึ้นในช่วงวันที่ 22-28 กันยายนนี้ อย่างไรก็ตาม องค์การบริหารการบินและอวกาศ หรือ นาซ่า ได้ออกแถลงการณ์รับประกันว่า ประชาชนจะปลอดภัยจากภัยอุกกาบาต เนื่องจากภัยดังกล่าวคาดว่าจะต้องใช้เวลาอีกหลายร้อยปี จนกว่าจะเกิดขึ้นกับโลกนี้ และ นาซาไม่มีข้อมูลใดๆ เกี่ยวกับอุกกาบาต หรือ ดาวหาง ที่อยู่ในวิถีเส้นทางที่จะพุ่งชนโลก ดังนั้นความเป็นได้ที่จะเกิดอุกกาบาตชนโลกครั้งใหญ่จึงเป็นไปได้น้อยมาก

    ติดตามข่าวด่วน เกาะกระแสข่าวดัง บน Facebook คลิกที่นี่!!

    “นาซ่า“ สยบกระแสลือ กองทัพสหรัฐซ้อมรบ อุกกาบาตถล่มโลก ก.ย.นี้ รับมือจลาจล
     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Chalee Na Roied

    [​IMG]

    ตอนนี้ทางแก๊สพรอม ได้ประกาศขายน้ำมันแลกหยวน โดยตรงแล้วนะครับ และน่าจะเป็นการตอบโต้ ท่าทีของสหรัฐและตะวันตก และเป็นสิ่งที่ผู้นำรัสเซีย ออกมาพูดก่อนหน้านั้นคือ รัสเซียมีหลายวิธีในการ ตอบโต้สหรัฐและยุโรป โดยไม่ต้องใช้นิวเคลียร์(ยกเว้นถูกโจมตี)
    เพราะเมื่อไหร่ที่ "PetroYuan" ผงาด หมายถึง อวสานของ "Petrodollar" เพราะทุกประเทศ ที่จะซื้อน้ำมัน รวมถึงก๊าซจากรัสเซียนั้น ต้องใช้หยวนหรือรูเบิล ที่มีทองคำเป็นหลักประกันนั่นเอง..

    http://www.zerohedge.com/news/2015-...m-now-settling-all-crude-sales-china-renminbi
     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Thanong Fanclub

    [​IMG]

    21. เงินดี vs เงินเลว (Good Money vs Bad Money)
    มันจะกระไรอยู่ถ้าเขียนเรื่อง good money, bad moneyแล้วไม่เอ่ยถึง Sir Thomas Gresham (1519 – 1579) พ่อค้าและนักการเงินชาวอังกฤษ ซึ่งทำงานให้กษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่6ของอังกฤษ พระราชินีแมรี่ที่ 1และพระราชินีเอลิซาเบธที่1
    Gresham พูดประโยคเด็ดเอาไว้ว่า "Bad money drives out good" หรือเงินเลวไล่เงินดีออกไป จนกลายเป็นกฎทางการเงินและเศรษฐศาสตร์ไปเลย หรือรู้จักกันดีว่าGresham's law
    Gresham's lawกล่าวเอาไว้ว่า: "เมื่อรัฐบาลสร้างเงินอย่างหนึ่งให้มีค่าสูงกว่าความเป็นจริง และสร้างเงินอีกอย่างหนึ่งให้มีค่าต่ำกว่าความเป็นจริง เงินที่มีค่าต่ำกว่าความเป็นจริงจะหายออกจากประเทศ หรือถูกนำออกจากการหมุนเวียนในระบบเอาไปกักตุน ส่วนเงินที่มีค่าสูงกว่าความเป็นจริงจะหลั่งไหลเข้าไปในระบบ"
    ในสมัยก่อนเงินทำด้วยเหรียญทอง เหรียญเงิน หรือโลหะชนิดอื่นๆ ทำให้เงินมีค่า พอเวลาเปลี่ยนไป ปริมาณโลหะที่อยู่ในเหรียญจะลดน้อยลง เพราะว่าโลหะมีค่ามากกว่าเหรียญที่ถูกหล่อออกมาเป็นเงิน เมื่อเป็นเช่นนั้น คนจะเก็บเหรียญเก่าที่มีปริมาณโลหะมากกว่า แล้วใช้แต่เหรียญใหม่แทนเพราะว่ามีปริมาณโลหะน้อยกว่าค่าของเงินที่ตีตราบนเหรียญ เหรียญเก่าที่เก็บไปจะถูกเอาไปหลอมใหม่เพื่อขายโลหะได้ราคาสูงขึ้น
    ปริมาณโลหะในเหรียญที่ลดน้อยลงคือเงินเฟ้อนั้นเอง เพราะว่ารัฐบาลมักจะมีการใช้จ่ายเกินตัว ต้องปั๊มเหรียญออกมามากเพื่อใช้จ่ายในงบประมาณ ในเมื่อโลหะหายากหรือมีจำกัด จึงลดปริมาณโลหะ แต่ยังคงมูลค่าเดิมตามที่ตีตราบนเหรียญเอาไว้ แต่ประชาชนฉลาด จะหยุดใช้เหรียญเก่าที่มีปริมาณโลหะมาก และใช้เหรียญใหม่อย่างเต็มที่
    ด้วยเหตุนี้เอง จึงนำGreshamไปสู่คำกล่าวว่าเงินเลวไล่เงินดีออกไปหมด
    หลายปีมาแล้ว จำได้ว่าคนไทยที่ไปยุโรปเล่าให้ฟังว่าเหรียญ10บาทไทย ใช้แทนเหรียญ1ยูโรได้เวลาเอาไปหยอดตู้ซื้อของ หรือตู้โทรศัพย์ 1ยูโรมีค่าเท่ากับ40กว่าบาท ทำให้คนไทยหัวใสเก็บเงินเหรียญยูโรและเอาเหรียญ10บาทไปหยอดแทน ได้กำไรอื้อซ่า ส่ยนเจ้าของตู้ยอดเหรียญเปิดมาเจอแต่เงินบาท คงลมแทบจับ นี้ก็เข้ากฎของGreshamเหมือนกัน
    ในสมัยปัจจุบัน เศรษฐกิจมีบูมมีล่มสลายจากระบบธนาคารกลางที่เพิ่มปริมาณเงินมาก เพื่อหนุนระบบเครดิตของธนาคารและตลาดการเงิน ทำให้เกิดเงินเฟ้อ คนที่ถือเงินไม่สบายใจที่ค่าเงินลด จึงหันไปถือทรัพย์สินอย่างอื่นแทนเช่นทอง หรือเงิน หรืออสังหาริมทรัพย์ เงินกระดาษจึงเป็นbad moneyที่ไล่ทองที่ถือว่าเป็นgood moneyให้หายจากระบบได้
    มีข่าวว่า ตอนนี้จะซื้อเหรียญทองในร้านขายปลีกในยุโรปลำบากมาก เพราะว่าเงินยูโรกำลังเป็นbad moneyที่คนยุโรปทิ้งเพื่อไปถือทองหรือทรัพย์สินอย่างอื่นดีกว่า ทำให้เหรียญทองขาดตลาดหรือหายไปจากตลาด
    500กว่าปีผ่านไป กฎของGrashamยังใช้ได้ดี เพราะว่าเรื่องเงินๆทองๆ ไม่เข้าใครออกใคร
    thanong
    9/6/2015
    Gresham's Law Definition | Investopedia
    https://www.dollarvigilante.com/…/06/05/no-gold-in-europe.h…
     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Thanong Fanclub

    [​IMG]

    22. เงินดี vs เงินเลว (Good Money vs Bad Money)
    ต้นเหตุของbad moneyคือธนาคารกลางที่พิมพ์เงินออกมาจากกลางอากาศ สร้างความร่ำรวยให้แบงค์ และสร้างเงินเฟ้อให้ประชาชนจนลง
    คุณ Love Thailand รักในหลวง ช่วยแปลบทความ "เดาซิว่ามีกี่ประเทศในโลกที่ไม่มีธนาคารกลาง? Guess How Many Nations In The World Do Not Have A Central Bank? ของMichael Snyder อ่านดู:
    ธนาคารกลางควบคุมทั้งโลกอย่างแท้จริง
    ณ จุดนี้ มีเพียงประเทศหลักประเทศเดียวในโลกที่ไม่มีธนาคารกลางคือประเทศเกาหลีเหนือ
    มีบางประเทศเป็นเกาะเล็กๆเช่น สหพันธรัฐไมโครนีเซีย ที่ไม่มีธนาคารกลาง แต่ถึงแม้ว่าคุณจะนับเข้ามาด้วย มากกว่า 99.9 % ของประชากรในโลกก็ยังคงอาศัยอยู่ในประเทศที่มีธนาคารกลาง มันเกิดขึ้นเช่นนี้ได้อย่างไร ? อะไรที่ทำให้ทั้งโลกตกลงเห็นว่าธนาคารกลางเป็นระบบที่ดีที่สุด ? คนทั้งโลกนี้เต็มใจที่จะเลือกเช่นนี้หรือไม่ ? ไม่ใช่แน่นอน เท่าที่รู้ไม่มีเสียงโหวตแม้แต่เสียงเดียวของคนประเทศไหนเต็มใจที่จะเลือกให้จัดตั้งธนาคารกลางขึ้นมา แต่แทนที่กันสิ่งที่เกิดขึ้นคือธนาคารกลางได้ถูกบังคับใช้กับเราทุกคน. ทั่วโลก ประชาชนได้รับการบอกว่าปัญหาทางการเงินเป็น “ สิ่งที่สำคัญเกินไป ” ที่จะขึ้นกับการเมือง และการแก้ปัญหามีทางเดียวคือการจัดตั้งกลุ่มที่ไม่ต้องมีการเลือกตั้งขึ้นมา, นายธนาคารที่ไม่ต้องรับผิดชอบมาควบคุมสิ่งต่างๆเหล่านั้นสำหรับเรา.
    แล้วอย่างแน่นอน ธนาคารกลางทำอะไร ?
    คุณจะประหลาดใจว่ามีคนเพียงไม่มากที่สามารถตอบคำถามได้อย่างถูกต้องจริงๆ ต่อไปนี้เป็นสิ่งที่วิกิพีเดียอธิบายว่าธนาคารกลางทำอะไร…
    ธนาคารกลาง, ธนาคารสำรองกลาง, หรือ ธนาคารกลางเกี่ยวกับเงินตรา เป็นสถาบันที่ดำเนินการทางด้านการเงินของประเทศ อุปทานของเงิน และ อัตราดอกเบี้ย. ธนาคารกลางยังดูแลระบบธนาคารพาณิชย์ของประเทศของตนด้วย ในทางตรงกันข้ามกับธนาคารพาณิชย์ ธนาคารกลางจะผูกขาดในการเพิ่มฐานการเงินในประเทศ และพิมพ์สกุลเงินประจำชาติซึ่งจะเป็นเงินตราที่ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ตัวอย่าง ได้แก่ ธนาคารกลางสหภาพยุโรป ( ECB ), ธนาคารกลางอังกฤษ, ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา
    ( FED ), และ ธนาคารกลางจีน
    ในสหรัฐอเมริกาเราถูกบอกว่าเรามีระบบตลาดเสรี แต่ในระบบตลาดเสรีที่แท้จริงกลไกตลาดจะเป็นตัวกำหนดอัตราดอกเบี้ยว่าเป็นเท่าไหร่ เราไม่ต้องการใครมา “ กำหนดอัตราดอกเบี้ย ” สำหรับเรา
    และทำไมเราต้องให้กลุ่มธุรกิจธนาคารเอกชน ( ธนาคารกลางสหรัฐ ) มีอำนาจในการสร้างและจัดการอุปทานเงินของเรา ? รัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกามอบหมายอำนาจนั้นให้กับรัฐสภา
    มันไม่ได้เป็นราวกับว่าเราต้องการธนาคารกลางสหรัฐอย่างแท้จริง. ในความเป็นจริงช่วงเวลาที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐฯเกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาก่อนที่ธนาคารกลางสหรัฐจะถูกจัดตั้งขึ้น.
    เป็นที่น่าเสียดายที่น้อยกว่า 100 ปีที่ผ่านมา ผู้นำของเราตัดสินใจว่ามันจะเป็นการดีที่สุดที่จะส่งอนาคตทางการเงินของเราให้กับกลุ่มธุรกิจธนาคารเอกชนที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ที่ถูกออกแบบโดยผลประโยชน์ของวอลล์สตรีทที่มีอิทธิพลอย่างมาก ตั้งแต่นั้นมา ค่าของสกุลเงินของเราได้ลดลงมากกว่า 96 เปอร์เซ็นต์และหนี้ของชาติก็มีขนาดใหญ่ขึ้นมากกว่า 5000 เท่า
    แต่แม้จะมีปัญหาทั้งหมด, ส่วนใหญ่ของพรรคเดโมแครตและส่วนใหญ่ของพรรครีพับลิกันไม่แม้กระทั่งยินดีที่จะพิจารณาลดทอนอำนาจอันยิ่งใหญ่ของธนาคารกลางสหรัฐ และความคิดของการกำจัดธนาคารกลางสหรัฐ ( FED ) ด้วยประการทั้งปวงเท่ากับเป็นการดูถูกสบประมาทนักการเมืองส่วนใหญ่ของเรา
    แน่นอนสิ่งที่เหมือนกันนี้เป็นความจริงไปทั่วโลก ธนาคารกลางเป็นสิ่งที่แตะต้องไม่ได้อย่างแท้จริงในโลกสมัยใหม่ แม้กระทั่งว่าทุกๆคนสามารถเห็นว่าพวกเขากำลังทำอะไร ไม่เคยมีการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ประสบผลสำเร็จแม้แต่เพียงแห่งเดียวที่ใดบนโลกที่จะปิดธนาคารกลางลงได้.
    แทนที่อย่างนั้น ในปีที่ผ่านๆมาเราได้เห็นถึงธนาคารกลางยังคงขยายไปอย่างต่อเนื่อง
    ตัวอย่างเช่น ลองมองสิ่งที่เกิดขึ้นในบางประเทศที่ไม่ได้รับการพิจารณาว่าได้รับการ “ บูรณาการ ” เข้าสู่ประชาคมโลก ….
    - ในปี 2001, สหรัฐอเมริกาบุกรุกอาฟกานิสถาน. ในปี 2003 ธนาคาร ดา อัฟกานิสถาน ( Da Afghanistan Bank ) ถูกก่อตั้งขึ้นโดยรัฐบัญญัติ ตอนนี้อัฟกานิสถานมีธนาคารกลางที่ทันสมัยเหมือนกับพวกเรา
    - ในปี 2003, สหรัฐอเมริกาบุกรุกอิรัก ในต้นปี 2004, ธนาคารกลางของอิรักถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อจัดการสกุลเงินของอิรักและบูรณาการอิรักเข้าสู่ระบบทางการเงินของโลก
    หลังจากการขับ ซัดดัม ฮุสเซน ลงจากอำนาจในการบุกรุกอิรักในปี 2003, สภาการปกครองอิรัก และ สำนักงานเพื่อการบูรณะและช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม เริ่มพิมพ์ธนบัตรดีนาร์ซัดดัมเป็นมาตรการชั่วคราวเพื่อรักษาอุปทานเงินจนกว่าสกุลเงินใหม่จะถูกนำมาใช้
    กฎหมายธนาคารถูกตราขึ้นในวันที่ 19 กันยายน 2003 กฏหมายนำให้กรอบการใช้กฎหมายของอิรักสำหรับธนาคารสอดคล้องกับมาตรฐานสากล, และพยายามส่งเสริมความเชื่อมั่นในระบบธนาคารโดยการสร้าง ความปลอดภัย, เสียง, การแข่งขัน และ ความสามารถในการเข้าถึงระบบธนาคารได้ง่าย.
    ระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม 2003 และวันที่ 15 มกราคม 2004, คณะบริหารประเทศชั่วคราวได้ออกธนบัตรและเหรียญดีนาร์ของอิรักใหม่, ด้วยธนบัตรที่ถูกพิมพ์ขึ้นมาโดยใช้เทคนิคสมัยใหม่ป้องกันการปลอมแปลง, เพื่อสร้างสกุลเงินร่วมแบบเดียวที่ใช้ทั่วทั้งประเทศอิรักและจะทำให้เงินมีความสะดวกมากขึ้นในการใช้ในชีวิตประจำวันของประชาชนอิรักด้วย. ธนบัตรเก่าถูกนำมาเปลี่ยนเป็นธนบัตรใหม่ได้ด้วยอัตราที่เท่ากัน, ยกเว้นสำหรับเงินดีนาร์สวิส, ซึ่งถูกนำมาเปลี่ยนได้ที่อัตรา 150 ดีนาร์ใหม่ต่อหนึ่งดีนาร์สวิส.
    ธนาคารกลางอิรักถูกก่อตั้งขึ้นในฐานะเป็นธนาคารกลางอิสระของอิรักโดยกฏหมายธนาคารกลางของอิรักเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2004
    - ในปี 2011 สหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดสร้างความหวาดกลัวให้กับลิเบีย ก่อนมูอัมมาร์ กัดดาฟี ถูกโค่นอำนาจ สหรัฐฯช่วยกบฏก่อตั้งธนาคารกลางลิเบียและสร้างบริษัทน้ำมันแห่งชาติใหม่
    ธนาคารกลางถูกออกแบบมาโดยเฉพาะให้เป็นกับดักของชาติอยู่ในวงจรหนี้ซึ่งพวกเขาไม่มีทางเป็นไปได้ที่จะหลบหนี วันนี้หนี้ต่อจีดีพีสำหรับทั้งโลกมีจำนวนสูงมากเป็นประวัติการณ์ที่ 286 เปอร์เซ็นต์ มนุษยชาติถูกทำให้เป็นทาสด้วยเครื่องจักรหนี้ตลอดกาล, แต่ประชาชนส่วนมากไม่แม้กระทั่งจะตระหนักถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น
    มันเป็นเวลาที่จะต้องตื่นขึ้นได้แล้ว เราต้องให้การศึกษาผู้คนให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เกี่ยวกับว่าทำไมเราต้องกำจัดธนาคารกลางออกไป สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา บทความก่อนหน้านี้ของผมมีชื่อว่า “ ในงานฉลองครบรอบ 100 ปีของธนาคารกลางสหรัฐ ( FED ) นี่เป็น 100 เหตุผลที่จะปิดมันลงตลอดกาล ” เป็นจุดที่ดีในการเริ่มต้น ในประเทศอื่นๆ เราต้องการคนที่เขียนบทความแบบเดียวกันเกี่ยวกับธนาคารกลางของประเทศตัวเองในภาษาของประเทศตัวเอง
    อีลิทของโลกควบคุมเราเพราะว่าเราอนุญาตให้พวกเขาควบคุมเรา ระบบการสร้างหนี้ตลอดกาลสร้างความรวยอย่างมหาศาลให้กับพวกเขาขณะที่มันทำให้ส่วนที่เหลือของโลกเป็นกลายเป็นทาส เราต้องเปิดโปงความชั่วร้ายของพวกเขาและแผนปฏิบัติการด้านมืดเบื้องหลังมันขณะที่เรายังคงมีเวลาอยู่.
    http://www.prisonplanet.com/guess-how-many-nations-in-the...
    thanong
    10/6/2015
     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Thanong Fanclub

    [​IMG]

    23. เงินดี vs เงินเลว (Good Money vs Bad Money) ตอนจบแล้ว.....
    ในวันที่2กรกฎาคมที่จะถึงนี้ เราคงจะได้ทราบกันว่า ใครจะมาเป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนต่อไปต่อจากดร ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ที่จะหมดเทอมในเดือนกันยายนนี้
    ได้ข่าวมาดร.วิรไท สันติประภพ นักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเป็นที่ปรึกษา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย และเป็นคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) หรือ ซุปเปอร์บอร์ด ถือเป็นตัวเต็งสำคัญที่จะมานั่งเก้าอี้ผู้ว่าการ ธปท. แต่ยังมีคู่แข่งคนในแบงค์ชาติคือ นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาล และนางทองอุไร ลิ้มปิติ ส่วนคนนอกอีกคนคือดร. ศุภวุธ สายเชื้อ
    เริ่มจะมีการคาดหวังสูงจากประชาชนคนไทยในผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนใหม่ เนื่องจากเศรษฐกิจเริ่มเข้าสู่ภาวะถดถอยแล้ว การเงินเริ่มติดขัด หนี้ก็สูง ของก็ขายไม่ได้ ข้าวของแพงทุกอย่าง ค่าครองชีพสูงขึ้น คนไทยน่าจะมีชีวิตที่แย่ลงในอีกหลายๆปีข้างหน้า แต่ถ้ามีการปรับโครงสร้างที่ถูกต้อง เราจะรอด แต่ถ้าปรับผิดวิธี หรือยังคงเดินในแนวทางเดิม ประเทศไทยจะเข้าสู่ภาวะหายนะ อาจจะเหมือนกรีซหรืออาร์เจนติน่าก็ได้ อย่าได้ประมาท
    ในความเห็นของผม คิดว่าได้เวลาแล้วที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะต้องปรับเปลี่ยนมุมมองหรือวิธีการทำงานใหม่เพื่อรื้อฟิ้นgood money และทำให้การบริหารการเงินสอดคล้องกับความเป็นจริงของประเทศไทยมากยิ่งขึ้น ผู้ว่าการแบงค์ชาติคนใหม่ต้องทุบโต๊ะ ต่้องมีความคิดที่ชัดเจนในการดูแลเสถียรภาพของเศรษฐกิจมหภาคและประโยชน์สุขโดยรวมของชาวสยาม โดยที่ไม่ได้เอาความมั่นคงหรือความร่ำรวยของแบงค์พานิชย์เป็นที่ตั้ง มี ม.44 ของบิ๊กตู่อยู่ในมือแล้วจะกลัวอะไร สามารถทำสิ่งที่ผิดให้ถูกได้ ฟันทีเดียวโช๊ะเลย
    สิ่งที่ควรทำมีดังต่อไปนี้:
    1. ลดเสปรด (spread)ดอกเบี้ย หรือมาร์จิ้นที่แบงค์พานิชย์เอาเปรียบผู้กู้คนไทยลงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม มาร์จิ้นแบงค์พานิชย์ไทยตอนนี้เกือบจะสูงที่สุดในโลกแล้ว ความยุติธรรมในสังคมจะเกิดขึ้นไม่ไม่ถ้าทำเรื่องนี้ไม่สำเร็จ เพราะว่าภาวะหนี้ที่สูงของคนไทยทำให้เกิดปัญหาหนี้และเศรษฐกิจที่หนักหน่วงเวลานี้
    2. เลิกนโยบายลดค่าเงินบาทเพื่อสนับสนุนผู้ส่งออก การลดค่าเงินถือว่าประเทศนั้นหมดท่าแล้วเพราะว่าต้องพึ่งพาbad money หน้าที่แบงค์ชาติคือดูแลกำลังซื้อของเงินบาทให้เป็นgood money ไม่ให้เสื่อมค่าเมื่อเวลาผ่านไป แต่ตอนนี้แบงค์ชาติได้หันหลังให้กับพันธะกิจนี้แล้ว โดยเอานโยบายเป้าหมายทางอัตราแลกเปลี่ยนมาใช้ เพื่อดันการส่งออก แต่ผลที่ตามมาคือกำลังซื้อที่ลดลงของคนที่ถือบาท และเงินเฟ้อในความเป็นจริงไม่ใช่ตัวเลขของทางการที่สูงอยู่แล้วในประเทศ
    ผู้ส่งออกไม่ใช่เป็นทุกสิ่งทุกอย่างของเศรษฐกิจไทยที่ต้องเอาใจ ผู้ส่งออกได้ประโยชน์มามากแล้ว โดยมากจะเป็นต่างชาติด้วยที่ใช้ไทยเป็นฐานในการส่งออก ใช้ทรัพยากรธรรมชาติบ้านเรา ใช้โครงสร้างพื้นฐานบ้านเรา น้ำ ไฟถนนหนทาง แล้วจ้างคนไทยทำงานจ่ายค่าจ้างถูกๆ เสร็จแล้วก็ทำลายทรัพยากรธรรมชาติบ้านเราและทิ้งขยะtoxicให้ลูกหลานเรา ความร่ำรวยจากการส่งออกไม่ยั่งยืน ไม่คุ่มกับที่สูญเสียไป เพราะผู้ได้ประโยชน์คือต่างชาติและนายทุนกลุ่มหนึ่ง
    ผู้ว่าแบงค์ชาติไม่จำเป็นต้องเจอหน้าตัวแทนผู้ส่งออกอีกต่อไปที่ร้องเย้วๆทุกครั้งที่ขายของไม่ออก คนขายก๊วยเตี๋ยว หรือแม่ค้่าขายส้มตำข้างถนนเวลาขายของไม่ออกไม่เห็นโวยวายเหมือนพวกผู้ส่งออกหมื่นล้านแสนล้านเลยลองเดินตลาดสดดูว่าข้าวของแพงขึ้นแค่ใหน ดูแลเงินเฟ้ออย่างไร ท่ามกลางเศรษฐกิจฝืดเคืองอย่างไรจะได้ภาพที่ดีกว่า
    อีกประการหนึ่งกำลังการซื้อของต่างชาติหมดแล้ว เพราะว่าหนี้สูงเกินไป ตลาดระยะเวลา30กว่าปีที่ผ่านมา ตะวันตกสร้างหนี้เพื่อบริโภคการส่งออกของตะวันออก เกมนี้กำลังจะจบลงเพราะว่าตะวันตกต้องเข้าสู่ภาวะการปรับโครงสร้างหนี้ จีนเองตอนนี้เริ่มส่งออกไม่ได้แล้ว แล้วเราจะสนับสนุนการส่งออกต่อไปอีกทำไม
    3. ในเมื่อผู้ส่งออกที่ต่างชาติคุมเกมไม่ใช่พระเอกของเศรษฐกิจอีกต่อไป ผู้ที่จะมาเป็นพระเอกแทนคือผู้ผลิตเพื่อการบริโภคภายในที่คนไทยคุมเกม เพราะว่าเราควรปรับเปลี่ยนมาใช้นโยบายเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ใช่เศรษฐกิจที่ใช้การส่งออกนำเหมือนสมัยป๋าเปรมเป็นต้นมา ในเศรษฐกิจแบบพิเพียงคือเราผลิตเพื่อการบริโภคภายใน ไม่เน้นการส่งออกมาก แต่ถ้ามีเหลือการกำลังการผลิตexcess capacityก็สามารถส่งออกได้เพื่อเป็นเงินออมพิเศษ ผู้ผลิตต้องได้เครดิตที่ดีจากแบงค์ด้วยระดับอัตราดอกเบี้ยที่สมน้ำสมเนื้อกับนโยบายดอกเบี้ยพื้นฐานของธนาคารแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน ในระบบนี้เงินจะไม่สะพัดเหมือนระบบที่ได้รายได้สูงจากการส่งออก แต่มันจะพอดีพองาม จีดีพีไม่ต้องโตมาก ไม่ต้องไปสนใจมันมาก เอาอะไรที่พอดีพองามเป็นหลัก
    4. ช่วยการปรับโครงสร้างหนี้ ยิ่งรีบทำยิ่งดี ตอนนี้หนี้ทั้งหมดของประเทศต่อจีดีพีอยู่ที่185%แล้ว สูงมากๆ ถ้าจะดันจีดีพีต่อ ต้องสร้างหนี้เพิ่ม เมื่อวิกฤติรอบใหม่มา เราจะเป็นเหมือนอย่างกรีซที่ล้มละลายและเจ้าหนี้ต่างชาติเข้ามาบงการทวงหนี้ ให้เราขายทรัพย์สินของแผนดิน หนี้่ครัวเรือนที่เกือบ90%ต่อจีดีพีต้องลดลงให้ได้ ผ่านนโยบายลดภาระดอกเบี้ย
    5. แบงค์พานิชย์ต่างชาติเป็นเจ้าของทั้งนั้น ผลพวงจากวิกฤติ1997ที่เราถูกบังคับให้เปิดเสรีภาคการธนาคารให้ฝรั่งเข้ามาถือหุ้น ตอนนี้แบงค์พานิชย์กำไรมาก ชาร์จดอกเบี้ยสูง คนไทยทำงานใช้หนี้ให้ผู้ถือหุ้นต่างชาติรวยโดยที่แบงค์ชาติไม่ได้ปกป้อง เวลาเขาโยกเงินกำไรกลับ สภาพคล่องในประเทศก็หด คนไทยอยู่ในมือฝรั่งที่เขาจะเชือดเมื่อไหร่ก็ได้
    คนแบงค์ชาติเข้าใจอย่างมากเรื่องการเปิดเสรีแบงค์ให้ต่างชาติ คิดว่าโลกเราเข้าสู่โลกาภิวัฒน์ แบงค์ต้องทำธุรกรรมการเงินทุกอย่างได้ (universal banking)เพื่อปรับปรุงบริการให้ลูกค้า ต้องสนับสนุนนวตกรรมการเงินใหม่ ๆ เพราะว่าเงินทุนเคลื่อนย้ายเสรี ความเป็นเจ้าของสถาบันการเงินเป็นมหาชนไปหมดแล้ว ถ้าได้ฝรั่งมาเป็นเจ้าของแบงค์ไทยจะช่วยเรื่องเทคโนโยยี่และความมั่นคง
    เข้าใจผิดหมดเลย
    ดูเอาก็แล้วกันแบงค์วอลล์สตรีทและแบงค์ในยุโรปที่บอกว่าเก่งในเวลานี้ล้มละลายกันหมดแล้ว ที่ยังพอยืนอยู่ได้ เพราะว่าUS Federal Reserve, European Central Bankพิมพ์เงินเข้าไปอุ้ม ระบบการเงินไทยไปคบกับพวกนี้มีแต่ฉิบหายอย่างเดียวเพราะว่าเขาทำประเทศเขาเจ้งไปแล้ว ทำไมเขาจะทำเราเจ้งไม่ได้ ตอนนี้ในยุโรปกำลังเตรียมมาตรการ bank bail-inหรือยึดเงินฝากประชาชนเพื่อชดใช้ความเสียหายในงบดุลของแบงค์อยู่
    ต้องค่อยๆเอาแบงค์คืนมาคนไทย จะได้คุมสะดวก ในสมัยก่อนนายแบงค์เริ่มทำธุรกิจใหม่ๆจะสงบเสงี่ยมมาก ขึ้นลงกดอกเบี้ยต้องปรึกษาทางการก่อน ตอนนี้นายแบงค์รวยเป็นแสนล้านเป็นล้านล้าน ลืมตัวนึกว่าตัวเองเป็นนายของจักรวาล (master of the universe) เลยไม่ได้มองใครอยู่ในสายตาอีกต่อไป เพราะว่าคุมเงินทั้งหมดของประเทศในมือ
    แต่เจ้ามือตัวจริงของระบบการเงินคือแบงค์ชาติ ไม่ใช่แบงค์พานิชย์ ถ้าเล่นเป็น แบงค์พานิชย์มีหรือจะกล้าหือได้ เพราะว่าแบงค์ชาติเป็นผู้พิมพ์เงินบาท จะให้บาทท่วมระบบ หรือจะดูดบาทให้แห้งจากระบบกํได้ จะใช้มาตรการควบคุมเงินไหลออกไหลเข้าก็ได้ แค่นี้แบงค์พานิชย์ก็เดี้ยวแล้ว แต่เมื่อเล่นไม่เป็น นายธนาคารจึงกำแหงขึ้นทุกวัน ชาร์จดอกเบี้ยและค่าบริการตามใจชอบ โดยที่คนแบงค์ชาติไม่ปกป้องประชาชนหรือผู้กู้
    6. ส่งเสริมสถาบันการเงินของชุมชนที่ดูแลกันเอง บริหารกันเองอย่างมีประสิทธิภาพ อย่าให้แบงค์ใหญ่เข้ามาเอาเปรียบ
    7. ไม่เพิ่มปริมาณเงินที่ทำให้เกิดเงินเฟ้อ เพราะว่าเงินเฟ้อทำลายอำนาจซื้อของผู้ถือบาททุกคน เมื่อเงินเฟ้อเสถียร และบาทเสถียร กลไกเศรษฐกิจจะปรับตัวของมันเอง
    8. อะไรก็ตามที่เป็นbad moneyให้คุมให้หมด ให้มันอยู่ในระดับที่มันไม่สามารถไล่เงินดีออกจากระบบได้ ไม่ใช่เดินหน้าสร้างระบบหนี้เพื่อดันจีดีพีเหมือนในปัจจุบัน
    9. ทบทวนการเปิดเสรีการเงินใหม่หมด เพราะว่ามันเป็นต้นเหตุของbad money ระบบการเงินโลกกำลังเข้าสู่ช่วงผันผวนเพราะว่าดอกเบี้ย0%ไม่สามารถลดหนี้ได้ ซ้ำมีแต่เพิ่มหนี้ การเพิ่มหนี้อย่างนี้ไม่สามารถดำเนินต่อไปได้นาน วงจรของความตกต่ำมันกำลังจะมา เห็นได้จากตลาดบอนด์ที่กำลังผันผวนส่ออาการมีปัญหาหนัก ยิลด์กำลังกระโดดขึ้นสูงเป็นเท่าตัว ในรอบเดือนกว่าๆที่ผ่านมา นักลงทุนตลาดบอนด์ขาดทุนไปแล้ว$600,000กว่าล้าน และถ้าตลาดบอนด์แครช มันจะลามไปสู่ตลาดหุ้นที่เป็นฟองสบู่ก้อนโตเป็นอันดับต่อไป
    http://theeconomiccollapseblog.com/…/investors-start-to-pan…
    10. หยุดการขาดทุนสะสมของแบงค์ชาติที่อยู่ระดับสูง700,000ล้านบาทให้ได้ และมีแนวทางที่ชัดเจนในการฟื้นงบดุลของแบงค์ชาติให้กลับมาเป็นบวก ไม่ใช่ว่าจะบริหารงบดุลขาดทุนแค่ไหนก็ได้โดยไม่มีเพดาน ยิ่งขาดทุนสูงความเชื่อมั่นในการบริหารงานหรือนโยบายการเงินของแบงค์ชาติยิ่งลดลง
    11. แบงค์ชาติไทยต้องคบกับแบงค์ชาติจีนให้ดีๆ เพราะว่าเวลาเกิดวิกฤติงวดหน้า มีจีนเท่านั้นที่จะพอช่วยไทยได้ ส่วนฝรั่งจะรุมทึ้งเรา ดูจากที่เขาเคยทำกับเราปี1997 และให้ดูกับที่เขากำลังทำกับกรีซในตอนนี้เอา เลิกคบฝรั่งหรือเห็นฝรั่งดีได้แล้ว
    ทำบาท/หยวนสว๊อปให้มากๆ เพิ่มการถือทองคำในเงินทุนสำรองระหว่างประเทศให้มากๆ เพราะว่าต่อไปสมอหลักของระบบการเงินโลกคือเงินหยวน ถ้าหยวนเลิกอิงดอลล่าร์ หันมาอิงทองคำ หยวนจะกลายเป็นเสาหลักและมีเสถียรภาพผิดกับเงินกระดาษอื่นๆที่จะแกว่งมากในทิศทางขาลง เมื่อบาทต้องอิงหยวนมากขึ้น บาทจะอิงทองโดยปริยายและจะมีเสถียรภาพ
    ขอเสนอความเห็นแต่เพียงเท่านี้ ควรมิควรแล้วแต่จะพิจารณา
    thanong
    10/6/2015
     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    รมต.ต่างประเทศออสเตรเลีย ชี้ “ไอซิส” เตรียมใช้ “แก๊สคลอรีน” โจมตีอิรักและซีเรีย เอเชียแปซิฟิกby เอบีนิวส์ทูเดย์ - มิ.ย. 9, 2015

    [​IMG]

    presstv – นางจูลี บิชอพ รัฐมนตรีต่างประเทศออสเตรเลียกล่าวว่า กลุ่มไอซิสได้เตรียมพร้อมที่จะใช้อาวุธเคมีและมีแนวโน้มที่จะสรรหาผู้เชี่ยวชาญไปช่วยในการพัฒนาอาวุธดังกล่าว

    รัฐมนตรีต่างประเทศออสเตรเลียกล่าวในการเสวนา ในเมือง เฟรต์ ออสเตรเลีย ว่า “ไอซิสเป็นกลุ่มก่อการร้ายหนึ่งที่เป็นภัยคุกคามและอันตราย” ซึ่ง ไอซิส มีแผนที่จะใช้อาวุธเคมีและมีแนวโน้มที่จะสรรหาผู้เชี่ยวชาญไปช่วยในการพัฒนาอาวุธดังกล่าว

    เขากล่าวเสริมว่า การที่ไอซิสใช้แก๊สคลอรีน และสรรหาผู้เชี่ยวชาญจากตะวันตกในการพัฒนาอาวุธดังกล่าวนั้น มันบ่งการบ่งชี้ว่า ไอซิสพยายามที่จะผลิตอาวุธเคมี

    เขากล่าวเสริมว่า เป็นไปได้สูงที่ไอซิสได้เตรียมกองกำลังของตนนับร้อยคนที่มีความเชี่ยวชาญในการคัดกรองสารเบื้องต้นในการสกัดและผลิตอาวุธเคมี

    รายงานจาก ชาวเคิร์ดในอิรัก ว่า มีการใช้คลอรีนในระเบิดทำเองในหลายพื้นที่ของอิรักและซีเรีย และต่อมาผลการวิเคราะห์ตัวอย่างดินและเสื้อผ้าชี้ว่า ไอซิสใช้แก็สคลอรีนในการวางระเบิดโจมตีรถยนต์เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา

    รายงานยังระบุอีกว่า มีพยานหลักฐานว่าไอซิใช้แก็สคลอรีนปฏิบัติการโจมตีในอิรัก แต่ การที่ไอซิสมีคลังเก็บอาวุธเคมีในครอบครองนั้น ยังไมปรากฏพยานหลักฐานชัด

    PressTV-استرالیا: داعش از گاز سمی کلر استفاده می‌کند

    รมต.ต่างประเทศออสเตรเลีย ชี้ “ไอซิส” เตรียมใช้ “แก๊สคลอรีน” โจมตีอิรักและซีเรีย | abnewstoday
     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    หญิงสาวมุสลิมถูกกระชากฮิญาบในกรุงลอนดอน
    ยุโรปby เอบีนิวส์ทูเดย์ - มิ.ย. 9, 2015

    [​IMG]

    presstv – สำนักข่าว sputniknews รายงานว่า หญิงสาวมุสลิมนางหนึ่งถูกกลุ่มคนร้ายกระชากผ้าคลุมฮิญาบขณะที่นางพาลูกๆ กลับจากโรงเรียน

    หญิงสาวเหยื่อเหตุการณ์ชาตินิยม เผยว่า หลังจากที่พวกเขาได้เหยียดหยาม แล้วได้ถามว่า “ไม่รู้สึกอึดอัดหรือที่คลุมฮิญาบอยู่ตลอดในภาวะอากาศร้อนเช่นนี้ จากนั้นเขาก็ได้กระชากฮิญาบ และได้ทุกตีฉัน”

    หญิงสาวดังกล่าวซึ่งไม่เปิดเผยชื่อเรียงนามของตน เผยว่า เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 พฤษภาคม โดยพวกเขาทุบที่ท้ายทอย และดึงผมออกมาหนึ่งจุก

    นางเล่าเสริมว่า คนหนึ่งได้จับกดศีรษะของเธอ และอีกคน ได้แตะไปที่ชายโครง โดยที่พวกเขาเป็นพวกคลั่งชาตินิยม และใช้คำที่หยาบคายมาก

    โฆษกตำรวจ เผยว่า ได้ทำการสอบสวนเหตุการณ์ดังกล่าว จากนั้นได้จับตัวคนร้าย 2 คน มาสอบสวน โดยทั้งสองเป็นผู้หญิง แต่หลังจากนั้นได้รับการประกันตัวออกมา

    ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีการสร้างกระแสการต่อต้านอิสลามโดยพรรคการเมืองต่างๆ ซึ่งมุสลิมตกเป็นกลุ่มเป้าหมายของพวกคลั่งชาตินิยม และมันเกิดขึ้นทั่วประเทศยุโรปโดยเฉพาะในอังกฤษ

    สภาชูรอิสลามอังกฤษ เผยว่า การละเมิดสิทธิของมุสลิมดังกล่าว เกิดจากความอคติและเกลียดชังมุสลิม เราขอประณามเหตุการณ์ดังกล่าว

    นอกจากนั้นสถิติการละเมิดก็มีอัตราที่เพิ่มสูงขึ้น จาก 15,224 ครั้ง ในปี 2012 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็น 17,605 ครั้ง ในปี 2014



    PressTV-کشف حجاب بانوی محجبه در لندن

    หญิงสาวมุสลิมถูกกระชากฮิญาบในกรุงลอนดอน | abnewstoday
     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    บทบาทของ “ประเทศจิบูตี” ในสงครามเยเมน – ศูนย์ความมั่นคงของอิสราเอลในจงอยแอฟริกา (ตอนที่ 2) เรื่องเด่นประเด็นร้อนby เอบีนิวส์ทูเดย์ - มิ.ย. 9, 2015

    [​IMG]
    @แผนที่ ประเทศจิบูตี

    เนื่องจากประเทศจิบูตีตั้งอยู่บนตำแหน่งภูมิศาสตร์ที่สำคัญ จึงกลายเป็นประเทศที่ได้รับความสนใจจากรัฐบาลนานาประเทศ ประเทศเล็ก ประเทศที่ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติที่มากมายพอ ประเทศที่ไม่สามารถจะประกอบอาชีพเกษตรกรและเพาะปลูกได้ แต่เนื่องจากอยู่ติดกับอ่าวเอเดนและทะแลแดง จึงกลายเป็นประเทศที่มีความสำคัญในเชิงยุทธ์ศาสตร์และภูมิศาสตร์ในทันที อีกทั้งมีรายได้หลักจากการที่ชาติมหาอำนาจต่างๆเข้าไปตั้งฐานทัพในประเทศจิบูตี
    ในตอนที่ 1 เราได้ชี้ถึงการปรากฏตัวและการเข้าร่วมของทหารและกองกำลังตั้งต่างในจิบูตี โดยเฉพาะอิสราเอลไปแล้วพอสังเขป

    ในตอนที่ 2 นี้ จะนำเสนอ ในประเด็น “บทบาทของจิบูตีที่มีต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในเยเมน”

    เบื้องต้นสามารถกล่าวได้ว่า ความสัมพันธ์ระห่างเยเมนกับจิบูตี หรือ บทบาทของรัฐบาลจิบูตี ไม่อาจจะส่งผลกระทบอะไรมากต่อวิกฤติในเยเมน แต่เป็นประเด็นและปัญหาที่จะต้องย้อนกลับไปยังประเทศและรัฐบาลต่างๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องและตั้งฐานทัพในประเทศจิบูตี หรือประสิทธิของประเทศจิบูตีในด้านภูมิศาสตร์ที่ติดกับประเทศเยเมน

    การช่วยเหลือ

    ประเทศจิบูตี เนื่องจากมีเขตแดนติดกับอ่าวเอเดน ประมาณ 23 กิโลเมตร เป็นประเทศที่เป็นกลางไม่ฝักใฝ่สงคราม โดยสหประชาชาติเลือกให้ประเทศนี้เป็นสถานที่รวบรวมสิ่งบรรเทาทุกข์และสิ่งช่วยเหลือต่างๆด้านมนุษยธรรมให้กับชาวเยเมน

    ในประเด็นนี้ ควรจะตั้งข้อสังเกตว่า ก่อนหน้านี้ “กษัตริย์ ซัลมาน” แห่งซาอุดีอาระเบีย ประกาศว่าจะให้ดินแดนซาอุดิอาระเบีย เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมสิ่งบรรเทาทุกข์และสิ่งของความช่วยเหลือต่างๆด้านมนุษยธรรมให้กับชาวเยเมน แต่เนื่องจากหลายประเทศ เช่น อิหร่าน ไม่ยินยอมที่จะขนย้ายสิ่งของช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ด้านมนุษยธรรมให้กับชาวเยเมนไปรวบรวมที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย ในฐานเป็นประเทศผู้บุกโจมตีเยเมน ทำให้ข้อเสนอของกษัตริย์ ซัลมานไม่ถูกตอบรับเท่าที่ควร

    การเข้าไปมีส่วนร่วมของชาติต่างๆและการส่งผลกระทบต่อเยเมน

    1.ซาอุดีอาระเบีย

    ในช่วงแรกที่ซาอุดีอาระเบียโจมตีเยเมนทางอากาศ เอกอัคราชทูต จิบูตี ประจำกรุงริยาด ออกมาประกาศให้การสนับสนุน “การปฏิบัติการพายุแกร่ง” ของซาอุดีอาระเบียและพันธมิตรที่มีต่อเยเมน

    เขากล่าวว่า “เราพร้อมที่จะเปิดน่านฟ้าและอ่าวของตนเพื่อให้ซาอุดีอาระเบียใช้เป็นฐานทัพในการโจมตีเยเมน”
    นอกจากนั้นจิบูตีและซาอุดีอาระเบียมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ซึ่งรัฐบาลจิบูตี ได้รับเงินช่วยเหลือจำนวนมากจากซาอุดีอาระเบียอย่างต่อเนื่อง

    เอกอัครราชทูตจิบูตี ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ Asharq Al-Awsat เมื่อ วันที่ 16 พฤษภาคม ที่ผ่านมา โดยแสดงปฏิกิริยาต่อเรือบรรเทาทุกข์ของอิหร่านที่มุ่งหน้าสู่อ่าวเอเดนเยเมน ว่า ประเทศของตนยังไม่ได้รับจดหมายขออนุญาตจากอิหร่านเพื่อผ่านอ่าวเอเดนสู่ประเทศเยเมนอีก และหากอิหร่านมีการยื่นคำขอดังกล่าว เราจะไม่มีวันอนุญาตให้เข้าไปได้จนกว่าเราจะได้รับการอนุญาตจากซาอุดีอาระเบียเสียก่อน

    สามารถกล่าวได้ว่าไม่มีประเทศใดๆที่มีสิทธิและมีอำนาจในการแอบอ้างในเรื่องนี้ แต่การแสดงทัศนะดังกล่าวของเอกอัครราชทูตจิบูตีนั้น มันแสดงถึงความสัมพันธ์ที่ดีและความสัมพันธ์ที่อบอุ่นกับซาอุดีอาระเบีย

    2 อิสราเอล

    อิสราเอล ได้ส่งเรือรบหลายลำ เครื่องบินรบ f 16 และ หน่วยรบพิเศษจำนวน 200 นาย ทำให้อิสราเอลเป็นชาติเดียวที่ส่งกองกำลังและอาวุธยุทโธปกรณ์มากที่สุดเข้าไปในจิบูตี

    เนื่องจากมีการรายงานข่าวอย่างแพร่หลาย กรณีที่เครื่องบินรบอิสราเอลโจมตีเยเมนทางอากาศ เพื่อเอื้อผลประโยชน์ให้กับซาอุดีอาระเบีย ดังนั้น จากรายงานข่าวเช่นนี้ ในอนาคตสามารถกล่าวได้ว่า หากสงครามเยเมนยืดเยื้อ แล้ว จิบูตีจะกลายเป็นต้นทางของเครื่องบินรบในการโจมตีเยเมนอย่างแน่นอน

    เลขาธิการ พรรค “อัลฮักก์” เยเมน ประกาศเป็นครั้งแรกว่า กองกำลังทหารอิสราเอลได้เข้าร่วมโจมตีเยเมนทางอากาศร่วมกับซาอุดีอาระเบียและชาติพันธมิตรด้วย

    ทางสถานีโทรทัศน์ช่องสิบ ของอิสราเอล ก็ออกมายอมรับในเรื่องนี้ ต่อการเข้าร่วมของเครื่องบินรบอิสราเอลในการโจมตีเยเมน พร้อมกับคาดหวังว่าซาอุดิอาระเบียจะเป็นฝ่ายชนะในสงครามครั้งนี้ อีกทั้ง การเข้าไปแทรกแซงของซาอุในเยเมน สร้างความดีใจแก่อิสราเอลเป็นอย่างยิ่ง

    เว็บไซต์ Veterans Today | Military Veterans and Foreign Affairs Journal – VA – Veterans Administration เปิดเผยว่า อดีตนายทหารสมัยสงครามเวียดนาม เปิดเผยว่า เครื่องบินรบของอิสราเอลได้ทิ้งระเบิดนิวตรอน ในพื้นที่ “ญะบาลุล นะกอม” กรุงซานา

    สิ่งเหล่านี้บ่งชี้ถึงความร่วมมือของอิสราเอลกับซาอุดีอาระเบียในการโจมตีเยเมน และในขณะที่เรารู้แล้วว่า จิบูตีเป็นฐานทัพใหญ่ของอิสราเอล ดังนั้นก็ควรที่จะเฝ้าระวังและติดตามความสำคัญและบทบาทของจิบูตีอย่างใกล้ชิดและให้มากกว่านี้

    3 อเมริกา

    สำหรับอเมริกานั้น ไดเข้าไปฐานทัพทหารครั้งแรกในจิบูตี หลังจากเกิดเหตุการณ์สงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งที่สอง และสงครามอิรัก จากนั้นก็ไม่ได้เพิ่มกองกำลังแต่อย่างใด อีกทั้งยังใช้ฐานทัพในจิบูตีในการปล่อยเครื่องบินไร้อากาศยานยังเยเมน

    หลังจากเหตุการณ์ 11 กันยา 2001 อเมริกาถือว่าเยเมนเป็นศูนย์บัญชาการหลักของอัลกออิดะห์ รองจากอัฟกานิสถาน และใช้เครื่องบินไรอากาศยานเพื่อสอดแนมเยเมน อยู่เสมอ โดยใช้จิบูตีเป็นฐาน

    เมื่อหลายเดือนก่อน จอห์น แครี่ ได้เยือนจิบูตี และเยี่ยมชม ฐานทัพ “โลโมนิส” ในจิบูตี ด้วย

    ดังนั้น หากพิจารณาจากเนื้อหาข้างต้นแล้ว สามารถสรุปว่า แม้นวาจิบูตีจะเป็นประเทศเล็กๆที่ไม่มีความสำคัญใดๆ แต่ทว่าหากพิจารณาจากภูมิศาสตร์ของประเทศแล้ว เป็นประเทศที่กำลังถูกจับตามองเป็นพิเศษ โดยเฉพาะ จากเหตุการณ์วิกฤติในเยเมน และการเคลื่อนไหวของเรือบรรเทาทุกข์ต่างๆที่มุ่งหน้าสู่พอร์ต อัลฮะดีดะห์ จิบูตีเสมือนเป็นคอขวดของอ่าวมันเดบ ที่สามารถมีบทบาทเชิงบวกและเชิงลบอย่างมากมายต่อเยเมน

    فارس گزارش می‌دهد/ «جیبوتی، یمن - بخش ۲» جیبوتی چه نقشی در جنگ یمن دارد؟

    บทบาทของ “ประเทศจิบูตี” ในสงครามเยเมน – ศูนย์ความมั่นคงของอิสราเอลในจงอยแอฟริกา (ตอนที่
     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ผลสำรวจระบุ ชาวซาอุดี้ฯ ถือว่าอิหร่านคือศัตรูหมายเลขหนึ่ง ไม่ใช่อิสราเอล
    เรื่องเด่นประเด็นร้อนby เอบีนิวส์ทูเดย์ - มิ.ย. 9, 2015

    [​IMG]

    (ภาพ) มกุฏราชกุมารซัลมาน บิน อับดุลอาซิซ อัล ซาอูด แห่งซาอุดิอารเบีย, คนที่ 2 จากขวา แถวแรก, ถ่ายภาพร่วมกับสมาชิกสภาชูรอที่สภาที่ปรึกษาชูรอในกรุงริยาด ซาอุดิอารเบีย
    AP/Mintpress/ เฮิร์ซลิยา, อิสราเอล – วิทยาลัยแห่งหนึ่งของอิสราเอลได้จัดทำการสำรวจความคิดเห็นในซาอุดิอาระเบียอย่างเงียบๆ โดยได้ผลสรุปว่าประชาชนชาวซาอุดี้ฯ มีความกังวลเกี่ยวกับภัยคุกคามของอิหร่านและกลุ่มรัฐอิสลามมากกว่าอิสราเอล และชาวซาอุดี้ฯ ส่วนใหญ่ สนับสนุนการเสนอแผนสันติภาพสิบปีกับรัฐยิว

    การสำรวจที่ดำเนินการโดย Interdisciplinary Center ในเมืองเฮิร์ซลิยา ทำให้ชาวอิสราเอลได้เห็นมุมมองที่หาได้ยากภายในซาอุดิอารเบีย และอาจจะเปลี่ยนความคิดความเข้าใจของชาวอิสราเอลที่มีต่อราชอาณาจักรทะเลทรายแห่งนี้ สองประเทศนี้เป็นคู่อริกันมายาวนานโดยไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตใดๆ

    การสำรวจความคิดเห็นนี้พบว่า ชาวซาอุดี้ฯ 53 เปอร์เซ็นต์ระบุว่าอิหร่านเป็นคู่ต่อสู้หลักของพวกเขา ขณะที่ 22 เปอร์เซ็นต์บอกว่าเป็นกลุ่มรัฐอิสลาม มีเพียง 18 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่บอกว่าเป็นอิสราเอล การสำรวจความคิดเห็นนี้ ซึ่งทำร่วมกับมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-มิลวอกี ได้สำรวจความคิดเห็นชาวซาอุดี้ฯ 506 คนผ่านทางโทรศัพท์และมีความคาดเคลื่อน 5 เปอร์เซ็นต์ โดยได้เริ่มต้นทำการสำรวจเมื่อปลายเดือนพฤษภาคม

    การสำรวจความคิดเห็นนี้ยังแสดงให้เห็นอีกด้วยว่าชาวซาอุดี้ฯ ส่วนใหญ่คิดว่าประเทศตนควรมีอาวุธนิวเคลียร์ถ้าหากอิหร่านได้ครอบครองระเบิดปรมาณู 85 เปอร์เซ็นต์ยังสนับสนุนแผนริเริ่มสันติภาพอาหรับ (Arab Peace Initiative) ที่นำโดยซาอุดี้ฯ ซึ่งเรียกร้องให้สร้างสันติภาพกับอิสราเอลเพื่อแลกเปลี่ยนกับการที่อิสราเอลถอนตัวออกไปจากเขตแดนก่อนปี 1965 ของตน

    ผลของการสำรวจนี้บ่งบอกถึงพื้นฐานที่เหมือนกันอย่างยิ่งระหว่างซาอุดิอารเบียกับอิสราเอล ซึ่งนายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ได้วิพากษ์วิจารณ์การทำข้อตกลงนิวเคลียร์ที่กำลังจะเกิดขึ้นระหว่างอิหร่านกับมหาอำนาจของโลก เนทันยาฮูซึ่งเชื่อว่าอิหร่านกำลังพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์กล่าวว่า ข้อตกลงนี้จะช่วยให้โครงสร้างนิวเคลียร์ของอิหร่านมีความครบถ้วนขึ้นมาก เขายังอ้างด้วยว่าประเทศอาหรับหลายชาติ ซึ่งน่าจะเป็นซาอุดิอารเบียและกลุ่มประเทศอ่าวสายซุนนีก็มีความกังวลเช่นเดียวกับเขา อิหร่านปฏิเสธว่าไม่ได้แสวงหาอาวุธนิวเคลียร์ โดยยืนยันว่าโครงการปรมาณูของตนมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในทางสันติเท่านั้น

    “สิ่งที่เราคิดกันอยู่ในอิสราเอลเกี่ยวกับชาวซาอุดี้ฯ ไม่ใช่สิ่งที่พวกเขาเป็นจริงๆ” อเล็กซ์ มินทซ์ หัวหน้าสถาบันเพื่อนโยบายและยุทธศาสตร์ของ IDC และเป็นผู้ดูแลการสำรวจความคิดเห็นนี้กล่าว “มีการบ่งชี้ที่ดีเยี่ยมของผลประโยชน์และภัยคุกคามและวาระต่างๆ …บางคนถึงขนาดอยากจะเข้าร่วมกับกองกำลังอิสราเอล”

    ผู้ถามได้บอกผู้ตอบแบบสอบถามว่าพวกเขาทำงานให้กับ IDC แม้จะไม่ได้บอกว่าพวกเขาหรือโรงเรียนดังกล่าวเป็นอิสราเอล มินทซ์บอกว่ามีน้อยคนที่ถามถึงที่มาของการสำรวจ และผู้ที่ถามก็ไม่ได้เข้าใจว่ามีความเกี่ยวข้องกับอิสราเอล เขากล่าวว่าไม่มีการแลกเปลี่ยนที่ไม่น่าพอใจ

    สถาบันนี้ ซึ่งเมื่อปีที่แล้วได้ทำการสำรวจแบบเดียวกันนี้กับชาวอิหร่านและชาวกาซ่า กล่าวว่า สถาบันใช้ข้อมูลที่ได้จากหนังสือรวบรวมและสำนักงานสถิติของซาอุดิอารเบียเพื่อจัดสัดส่วนตัวอย่างจาก 13 ภูมิภาคของประเทศตามจำนวนประชากร สถาบันนี้ยังกล่าวอีกว่าชาวอิสราเอลที่พูดภาษาอาหรับได้ต่อโทรศัพท์ถึงโทรศัพท์เคลื่อนที่และโทรศัพท์บ้านโดยได้อัตราการตอบคำถาม 22 เปอร์เซ็นต์

    มินทซ์กล่าวว่า ผลเสร็จสิ้นของการสำรวจความคิดเห็นนี้จะนำมาเปิดเผยสัปดาห์หน้าที่ “การประชุมเฮิร์ซลิยา” ประจำปีครั้งที่ 15 ของ IDC ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของบุคคลระดับสูงในแวดวงทหารและการเมืองของอิสราเอล แต่ได้ให้ข้อมูลแก่ Associated Press ล่วงหน้า

    ถึงแม้ว่าอิสราเอลและซาอุดิอารเบียจะไม่มีการติดต่อกันอย่างเป็นทางการ แต่สองประเทศเริ่มมีความใกล้ชิดกันมากขึ้นในช่วงหลายปีนี้ ส่วนใหญ่เนื่องจากทั้งสองประเทศมีความกังวลเกี่ยวกับอิหร่านเหมือนกัน หนึ่งในสี่ของผู้ตอบแบบสำรวจความคิดเห็นนี้กล่าวว่า อิสราเอลและซาอุดิอารเบียควรจะร่วมกองกำลังกันเพื่อต่อสู้กับอิหร่าน

    ซาอุดิอารเบียเป็นผู้อยู่เบื้องหลังแผนการริเริ่มสันติภาพอาหรับ เพื่อให้อิสราเอลได้สร้างสันติภาพถาวรกับประเทศอาหรับและประเทศมุสลิมหลายชาติเพื่อแลกเปลี่ยนกับการถอนตัวออกไปจากดินแดนทั้งหมดที่ถูกยึดในสงครามตะวันออกกลางปี 1967 การสถาปนารัฐเอกราชของปาเลสไตน์ เนทันยาฮูกล่าวว่า แผนการริเริ่มนี้อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของการเจรจาหารือ แต่มันเป็นสิ่งที่รับไม่ได้ถ้าเป็นข้อเสนอในแบบที่ไม่มีทางเลือกอื่นอีก

    มินทซ์กล่าวว่า เขาหวังว่ารัฐบาลอิสราเอลจะนำเอาข้อมูลใหม่นี้ไปปรับใช้กับโนบายดั้งเดิมของตน

    “เราเข้าใจเอาเองว่าเรารู้ว่าประชาชนในอิหร่าน กาซ่า และซาอุดิอารเบียคิดอะไร แต่การคาดเดากับหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เกิดขึ้นจริงเป็นสิ่งเรื่องที่ต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น คนที่ผมพูดคุยด้วย ไม่มีใครคิดว่าชาวซาอุดี้ฯ บอกว่าอิหร่านทำให้พวกเขาหวาดกลัวมากกว่าอิสราเอล โดยมีอัตราความคลาดเคลื่อน 3 ต่อ 1 ไม่มีใครคาดคิดแบบนั้นมาก่อน” เขากล่าว

    “นี่คือความแบ่งแยกระหว่างซุนนี-ชีอะฮ์จริงๆ และมันไม่เกี่ยวอะไรกับอิสราเอล และจุดสนใจของพวกเขาเปลี่ยนไปแล้ว มีผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นร่วมกันระหว่างซาอุดิอารเบียและอิสราเอลในขณะนี้ ที่รัฐบาลอิสราเอลควรจะใช้ประโยชน์จากมันและทำให้เป็นทุน เพราะมันเป็นสิ่งที่แหวกแนวไปจากประวัติศาสตร์ของทั้งสองประเทศ” เขากล่าว

    ผลสำรวจระบุ ชาวซาอุดี้ฯ ถือว่าอิหร่านคือศัตรูหมายเลขหนึ่ง ไม่ใช่อิสราเอล | abnewstoday
     

แชร์หน้านี้

Loading...