จิตใส ในพระไตรปิฏก

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย หลับอยู่, 2 มิถุนายน 2015.

  1. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER> พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑
    ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <CENTER>กูฏทันตพราหมณ์บรรลุโสดาปัตติผล
    </CENTER>[๒๓๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสอนุปุพพิกถาแก่พราหมณ์กูฏทันตะ คือ
    ทรงประกาศ ทานกถา ศีลกถา สัคคกถา โทษของกามที่ต่ำช้า เศร้าหมอง และอานิสงส์
    ในการออกจากกาม เมื่อทรงทราบว่าพราหมณ์กูฏทันตะ
    มีจิตควร
    มีจิตอ่อน
    มีจิตปราศจากนิวรณ์
    มีจิตร่าเริง
    มีจิตใส
    แล้วจึงทรงประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดง
    ด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค โปรดพราหมณ์กูฏทันตะ
    เปรียบเหมือน
    ผ้าที่สะอาดปราศจากสีดำ ควรรับน้ำย้อมได้เป็นอย่างดี ฉันใด พราหมณ์กูฏทันตะ ก็ฉันนั้น
    ได้ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
    สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ณ ที่นั่งนั้นเอง ลำดับนั้น พราหมณ์กูฏทันตะ
    เห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว รู้ธรรมแล้ว หยั่งทราบถึงธรรมทั่วถึงแล้ว ข้ามพ้นความสงสัย
    ปราศจากความเคลือบแคลง
    ถึงความแกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในสัตถุศาสนา ได้กราบทูล
    พระผู้มีพระภาคว่า ขอพระโคดมผู้เจริญกับภิกษุสงฆ์ จงทรงรับภัตตาหารของข้าพระองค์ในวัน
    พรุ่งนี้. พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ. เมื่อพราหมณ์กูฏทันตะทราบว่าพระผู้มีพระภาค
    ทรงรับนิมนต์แล้ว จึงลุกจากที่นั่งถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณหลีกไป.


    <CENTER></CENTER>

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ บรรทัดที่ ๔๓๗๐ - ๔๓๘๖. หน้าที่ ๑๘๒ - ๑๘๓.
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=9&A=4370&Z=4386&pagebreak=0
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มิถุนายน 2015
  2. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑
    ขุททกนิกาย มหานิทเทส
    </CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    <CENTER>ว่าด้วยวิเวก ๓ อย่าง</CENTER></PRE>



    ก็กายวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีกายหลีกออกแล้ว ยินดียิ่งในเนกขัมมะ จิตตวิเวก
    ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีจิตบริสุทธิ์ ถึงซึ่งความเป็นผู้มีจิตผ่องแผ้วอย่างยิ่ง อุปธิวิเวก ย่อมมีแก่
    บุคคลผู้หมดอุปธิถึงซึ่งนิพพานอันเป็นวิสังขาร.
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ บรรทัดที่ ๕๕๖ - ๕๘๙. หน้าที่ ๒๔ - ๒๕.
    http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=29&A=556&Z=589&pagebreak=0
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
    ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <CENTER></CENTER><CENTER>คาถาธรรมบท จิตตวรรคที่ ๓</CENTER>
    </PRE>




    นักปราชญ์พึงรักษาจิตที่เห็นได้แสนยาก ละเอียดอ่อนมีปกติตกไปตามความใคร่ เพราะว่าจิตที่บุคคล
    คุ้มครองแล้วนำสุขมาให้ ชนเหล่าใดจักสำรวมจิตอันไปใน
    ที่ไกล ดวงเดียวเที่ยวไป หาสรีระมิได้ มีถ้ำเป็นที่อยู่อาศัย
    ชนเหล่านั้นจะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์
    แก่บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ไม่รู้แจ่มแจ้งซึ่งพระสัทธรรม
    มีความเลื่อมใสอันเลื่อนลอย


    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๓๖๖ - ๓๙๔. หน้าที่ ๑๗ - ๑๘.
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=366&Z=394&pagebreak=0
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มิถุนายน 2015
  4. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
    สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>





    <CENTER></CENTER>






    </PRE>





    <CENTER>โกสลสูตร</CENTER>






    </PRE>





    <CENTER>ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔</CENTER>






    </PRE>


    [๖๙๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พราหมณคามชื่อโกศล ในแคว้น






    </PRE>
    โกศล ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ แล้วได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายที่เป็นผู้มาใหม่ บวชยังไม่นาน เพิ่งมาสู่ธรรมวินัยนี้ อันเธอทั้งหลายพึงให้สมาทาน พึงให้ตั้งอยู่ พึงให้ดำรงมั่นในการเจริญสติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔เป็นไฉน?

    [๖๙๒] มาเถิด ผู้มีอายุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
    มีความเพียร
    มีสัมปชัญญะ
    มีธรรมเอกผุดขึ้น
    มีจิตผ่องใส
    มีจิตตั้งมั่น
    มีจิตมีอารมณืเดียว
    เพื่อรู้กายตามความเป็นจริง

    จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... เพื่อรู้เวทนาตามความเป็นจริง

    จงพิจารณาเห็น จิตในจิตอยู่ ... เพื่อรู้จิตตามความเป็นจริง

    จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่
    มีความเพียร
    มีสัมปชัญญะ
    มีธรรมเอกผุดขึ้น
    มีจิตผ่องใส
    มีจิตตั้งมั่น
    มีจิตมีอารมณ์เดียว
    เพื่อรู้ธรรมตามความเป็นจริง.

    [๖๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุทั้งหลายที่ยังเป็นเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัต ปรารถนา
    ความเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ก็ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
    มีธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เดียว เพื่อกำหนดรู้กาย ย่อมพิจารณา
    เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... เพื่อกำหนดรู้เวทนา ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... เพื่อกำหนดรู้จิต
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส
    มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เดียว เพื่อกำหนดรู้ธรรม.

    [๖๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุทั้งหลายที่เป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์
    ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว มีประโยชน์ตนถึงแล้วโดยลำดับ สิ้นสังโยชน์ที่จะนำ
    ไปสู่ภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ก็ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร
    มีสัมปชัญญะ มีรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เดียว พรากจากกายแล้ว
    ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... พรากจากเวทนาแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ...
    พรากจากจิตแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเอก
    ผุดขึ้น มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เดียว พรากจากธรรมแล้ว.

    [๖๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายที่เป็นผู้มาใหม่ บวชยังไม่นาน เพิ่งมาสู่ธรรม
    วินัยนี้ อันเธอทั้งหลายพึงให้สมาทาน พึงให้ตั้งอยู่ พึงให้ดำรงมั่น ในการเจริญสติปัฏฐาน๔
    เหล่านี้.





    <CENTER>จบ สูตรที่ ๔</CENTER>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มิถุนายน 2015
  5. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒
    วิภังคปกรณ์</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    <CENTER></CENTER><CENTER>อภิธรรมภาชนีย์</CENTER><CENTER>กุศลฌาน จตุกกนัย</CENTER>


    </PRE>




    [๗๑๒] ทุติยฌาน เป็นไฉน
    ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุทุติยฌานที่
    มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตกวิจาร
    สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่
    สมาธิ อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีใน
    สมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุติยฌาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุต
    ด้วยฌาน


    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๘๕๔๙ - ๘๘๘๘. หน้าที่ ๓๖๙ - ๓๘๔.
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=35&A=8549&Z=8888&pagebreak=0
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มิถุนายน 2015
  6. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒
    วิภังคปกรณ์</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <CENTER></CENTER><CENTER>อภิธรรมภาชนีย์</CENTER><CENTER>กุศลฌาน จตุกกนัย</CENTER>
    </PRE>




    [๗๒๔] ตติยฌาน เป็นไฉน
    ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก
    ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ เพราะคลายปีติได้อีกด้วย
    จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุ
    ตติยฌาน ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิต
    เป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ใน
    สมัยใด ฌานมีองค์ ๒ คือ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า
    ตติยฌาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่าธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๘๕๔๙ - ๘๘๘๘. หน้าที่ ๓๖๙ - ๓๘๔.
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=35&A=8549&Z=8888&pagebreak=0
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 097.gif
      097.gif
      ขนาดไฟล์:
      38 KB
      เปิดดู:
      146
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มิถุนายน 2015
  7. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
    สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    <CENTER></CENTER>


    </PRE>



    <CENTER>๙. ฌานสังยุต</CENTER>


    </PRE>



    <CENTER>ว่าด้วยฌาน ๔</CENTER>


    </PRE>





    </PRE>


    [๑๓๐๐] สาวัตถีนิทาน. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย


    </PRE>
    ฌาน ๔ เหล่านี้ ฌาน ๔ เป็นไฉน?
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมบรรลุปฐมฌานมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

    บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบลงไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป
    บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
    บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
    ดูกรภิกษุทั้งหลายฌาน ๔ เหล่านี้แล.

    [๑๓๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคา ไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน ฉันใด ภิกษุเจริญ กระทำให้มากซึ่งฌาน ๔ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
    [๑๓๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญ กระทำให้มากซึ่งฌาน ๔ อย่างไร ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญ กระทำให้มากซึ่งฌาน ๔อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๗๕๕๘ - ๗๕๘๙. หน้าที่ ๓๑๖ - ๓๑๗.

    http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=7558&Z=7589&pagebreak=0
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มิถุนายน 2015
  8. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
    อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <CENTER></CENTER><CENTER>๔. มหาจุนทสูตร</CENTER>
    </PRE>






    เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายเป็น
    ผู้ประกอบธรรม จักสรรเสริญภิกษุผู้เพ่งฌาน
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
    ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า บุคคลผู้ที่ถูกต้องอมตธาตุด้วยกาย เป็นอัจฉริยบุคคล หาได้ยากในโลก ฯ

    เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
    เราทั้งหลายเป็นผู้เพ่งฌาน จักสรรเสริญภิกษุผู้ประกอบธรรม ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่าน
    ทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า บุคคลผู้ที่แทงทะลุ
    เห็นข้ออรรถอันลึกซึ้งด้วยปัญญานั้น เป็นอัจฉริยบุคคล หาได้ยากในโลก ฯ
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๘๓๘๙ - ๘๔๒๖. หน้าที่ ๓๖๗ - ๓๖๙.
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=22&A=8389&Z=8426&pagebreak=0
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มิถุนายน 2015
  9. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
    ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <CENTER></CENTER><CENTER>คาถาธรรมบท ภิกขุวรรคที่ ๒๕</CENTER>
    </PRE>



    ฌานไม่มีแก่ผู้ไม่มีปัญญา
    ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาน

    ฌานและปัญญามีอยู่ในผู้ใด ผู้นั้น
    แลอยู่ในที่ใกล้นิพพาน

    ความยินดีอันมิใช่ของมนุษย์ย่อม
    มีแก่ภิกษุผู้เข้าไปสู่เรือนว่าง ผู้มีจิตสงบ ผู้เห็นแจ้งซึ่ง
    ธรรมโดยชอบ ในกาลใดๆ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นความ
    เกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งขันธ์ทั้งหลาย ในกาลนั้นๆ
    ภิกษุนั้นย่อมได้ปีติและปราโมทย์ ปีติและปราโมทย์นั้น
    เป็นอมตะของบัณฑิตทั้งหลายผู้รู้แจ้งอยู่





    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๑๒๔๔ - ๑๓๐๐. หน้าที่ ๕๓ - ๕๕.
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=1244&Z=1300&pagebreak=0
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มิถุนายน 2015
  10. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER>พระไตรปิฏก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
    มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <CENTER></CENTER><CENTER>๘. โคปกโมคคัลลานสูตร (๑๐๘)</CENTER>
    </PRE>






    [๑๑๗] อา. ดูกรพราหมณ์ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงสรรเสริญ
    ฌานทั้งปวงก็มิใช่
    ไม่ทรงสรรเสริญฌานทั้งปวงก็มิใช่

    พระองค์ไม่ทรงสรรเสริญฌานเช่นไร

    ดูกรพราหมณ์ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ มีใจรัญจวนด้วยกามราคะ
    ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และไม่รู้จักสลัดกามราคะอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็น
    จริง
    เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ มุ่งหมายเฉพาะกามราคะ ทำกามราคะไว้
    ในภายใน
    มีใจปั่นป่วนด้วยพยาบาท ถูกพยาบาทครอบงำอยู่ และไม่รู้จักสลัด
    พยาบาทอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ
    มุ่งหมายเฉพาะพยาบาท ทำพยาบาทไว้ในภายใน
    มีใจกลัดกลุ้มด้วยถีนมิทธะ
    ถูกถีนมิทธะครอบงำอยู่ และไม่รู้จักสลัดถีนมิทธะอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็น
    จริง
    เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ มุ่งหมายเฉพาะถีนมิทธะ
    ทำถีนมิทธะไว้ในภายใน

    มีใจกลัดกลุ้มด้วยอุทธัจจกุกกุจจะ ถูกอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำอยู่
    และไม่รู้จักสลัดอุทธัจจกุกกุจจะอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง เธอย่อมเพ่งเล็ง
    จดจ่อ ปักใจ มุ่งหมายเฉพาะอุทธัจจกุกกุจจะ ทำอุทธัจจกุกกุจจะไว้ในภายใน


    มีใจกลัดกลุ้มด้วยวิจิกิจฉา ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และไม่รู้จักสลัดวิจิกิจฉาอันเกิด
    ขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ มุ่งหมายเฉพาะ
    วิจิกิจฉา ทำวิจิกิจฉาไว้ในภายใน

    ดูกรพราหมณ์ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
    ไม่ทรงสรรเสริญฌานเช่นนี้แล

    ดูกรพราหมณ์ ก็พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรง
    สรรเสริญฌานเช่นไรเล่า

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
    เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เข้าทุติยฌาน มีความ
    ผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบ วิตกและวิจาร
    ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ
    มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌานที่พระอริยะเรียกเธอ
    ได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติอยู่เป็นสุขอยู่ เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
    เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะ
    อุเบกขาอยู่ ดูกรพราหมณ์ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงสรรเสริญฌานเช่นนี้
    แล ฯ
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ บรรทัดที่ ๑๗๓๕ - ๑๙๗๙. หน้าที่ ๗๔ - ๘๓.
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=1735&Z=1979&pagebreak=0
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มิถุนายน 2015
  11. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙
    ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <CENTER></CENTER><CENTER>๕. อนภิรติชาดก</CENTER><CENTER>ว่าด้วยจิตขุ่นมัว-ไม่ขุ่นมัว</CENTER>[๒๑๙] เมื่อน้ำขุ่นมัว ไม่ใส บุคคลย่อมไม่แลเห็นหอยกาบ หอยโข่ง กรวด ทราย และฝูงปลา ฉันใด เมื่อจิตขุ่นมัว บุคคลก็ย่อมไม่เห็นประโยชน์ ตน และประโยชน์ผู้อื่น ฉันนั้น. [๒๒๐] เมื่อน้ำไม่ขุ่นมัว ใสบริสุทธิ์ บุคคลย่อมแลเห็นหอยกาบ หอยโข่ง กรวด ทราย และฝูงปลา ฉันใด เมื่อจิตไม่ขุ่นมัว บุคคลก็ย่อมเห็น ประโยชน์ตน และประโยชน์ผู้อื่น ฉันนั้น.<CENTER>จบ อนภิรติชาดกที่ ๕.</CENTER>


    </PRE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มิถุนายน 2015
  12. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕
    มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    [๓๔๒] ดูกรอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้วย่อมเจริญกสิณายตนะ ๑๐ คือ

    ๑. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งปฐวีกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่หาประมาณมิได้.

    ๒. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งอาโปกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่หาประมาณมิได้.

    ๓. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งเตโชกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่หาประมาณมิได้.

    ๔. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งวาโยกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่หาประมาณมิได้.

    ๕. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งนีลกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่หาประมาณมิได้.

    ๖. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งปิตกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่หาประมาณมิได้.

    ๗. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งโลหิตกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่หาประมาณมิได้.

    ๘. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งโอทาตกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่หาประมาณมิได้.

    ๙. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งอากาสกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่หาประมาณมิได้.

    ๑๐. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งวิญญาณกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่ หาประมาณมิได้.

    ก็เพราะสาวกทั้งหลายปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอก แล้วเจริญกสิณายตนะ ๑๐ นั้นแลสาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมีเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.<CENTER></CENTER>
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ บรรทัดที่ ๕๘๓๒ - ๕๘๕๕. หน้าที่ ๒๕๕ - ๒๕๖.http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=5832&Z=5855&pagebreak=0


    </PRE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มิถุนายน 2015
  13. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
    อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
    </CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background=# align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    [๒๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเจริญปฐวีกสิณแม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดาปฏิบัติตามโอวาท ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า ก็จะป่วยกล่าวไปไยถึงผู้กระทำให้มากซึ่งปฐวีกสิณนั้นเล่า </PRE>
    </PRE>
    ถ้าภิกษุเจริญอาโปกสิณ ... </PRE>
    เจริญเตโชกสิณ ...</PRE>
    เจริญวาโยกสิณ ... </PRE>
    เจริญนีลกสิณ ... </PRE>
    เจริญโลหิตกสิณ ... </PRE>
    เจริญโอทาตกสิณ ...</PRE>
    เจริญอากาสกสิณ ... </PRE>
    เจริญวิญญาณกสิณ ... </PRE>
    เจริญอสุภสัญญา ... </PRE>
    เจริญมรณสัญญา ... </PRE>
    เจริญอาหาเรปฏิกูลสัญญา ... </PRE>
    เจริญสัพพโลเกอนภิรตสัญญา ... </PRE>
    เจริญอนิจจสัญญา ... </PRE>
    เจริญอนิจเจทุกขสัญญา ... </PRE>
    เจริญทุกเขอนัตตสัญญา ... </PRE>
    เจริญปหานสัญญา ... </PRE>
    เจริญวิราคสัญญา ... </PRE>
    เจริญนิโรธสัญญา ... </PRE>
    เจริญอนิจจสัญญา ...</PRE>
    เจริญอนัตตสัญญา ... </PRE>
    เจริญมรณะสัญญา ... </PRE>
    เจริญอาหาเรปฏิกูลสัญญา ... </PRE>
    เจริญสัพพโลเกอนภิรตสัญญา ... </PRE>
    เจริญอัฎฐิกสัญญา ... </PRE>
    เจริญปุฬุวกสัญญา ...</PRE>
    เจริญวินีลกสัญญา ... </PRE>
    เจริญวิจฉิททกสัญญา ... </PRE>
    เจริญอุทธุมาตกสัญญา ... </PRE>
    เจริญพุทธานุสสติ ... </PRE>
    เจริญธัมมานุสสติ ... </PRE>
    เจริญสังฆานุสสติ ... </PRE>
    เจริญสีลานุสสติ ...</PRE>
    เจริญจาคานุสสติ ... </PRE>
    เจริญเทวตานุสสติ ...</PRE>
    เจริญอานาปานสติ ... </PRE>
    เจริญมรณสติ ... </PRE>
    เจริญกายคตาสติ ... </PRE>
    เจริญอุปสมานุสสติ ... </PRE>
    เจริญสัทธินทรีย์ อันสหรคตด้วยปฐมฌาน ... </PRE>
    เจริญวิริยินทรีย์ ... </PRE>
    เจริญสตินทรีย์ ... </PRE>
    เจริญสมาธินทรีย์... </PRE>
    เจริญปัญญินทรีย์ ...</PRE>
    เจริญสัทธาพละ ... </PRE>
    เจริญวิริยพละ ...</PRE>
    เจริญสติพละ ... </PRE>
    เจริญสมาธิพละ ... </PRE>
    เจริญปัญญาพละ ... </PRE>
    เจริญสัทธินทรีย์อันสหรคตด้วยทุติยฌาน ฯลฯ </PRE>
    เจริญสัทธินทรีย์อันสหรคตด้วยตติยฌาน ฯลฯ </PRE>
    เจริญสัทธินทรีย์อันสหรคตด้วยจตุตถฌาน ฯลฯ </PRE>
    เจริญสัทธินทรีย์อันสหรคตด้วยเมตตา ฯลฯ</PRE>
    เจริญสัทธินทรีย์อันสหรคด้วยกรุณา ฯลฯ</PRE>
    เจริญสัทธินทรีย์อันสหรคตด้วยมุทิตาฯลฯ</PRE>
    เจริญสัทธินทรีย์อันสหรคตด้วยอุเบกขา ... </PRE>
    เจริญวิริยินทรีย์ ... </PRE>
    เจริญสตินทรีย์ ...</PRE>
    เจริญสมาธินทรีย์ ... </PRE>
    เจริญปัญญินทรีย์ ...</PRE>
    เจริญสัทธาพละ ... </PRE>
    เจริญวิริยพละ ... </PRE>
    เจริญสติพละ ... </PRE>
    เจริญสมาธิพละ ... </PRE>
    เจริญปัญญาพละ</PRE>
    </PRE>
    แม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดาปฏิบัติตามโอวาท ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า จะป่วยกล่าวไปไยถึงผู้กระทำให้มากซึ่งปัญญาพละ อันสหรคตด้วยอุเบกขาเล่า ฯ<CENTER></CENTER>
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๑๑๓๖ - ๑๑๖๒. หน้าที่ ๕๐ - ๕๑.http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=1136&Z=1162&pagebreak=0
    </PRE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
    ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <CENTER></CENTER>
    </PRE>


    <CENTER>๑๐. ชาคริยสูตร</CENTER>
    </PRE>



    </PRE>


    [๒๒๕] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้
    </PRE>
    พระผู้มีพระภาคเป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุพึงเป็นผู้มีความเพียรเป็นเครื่องตื่น มีสติสัมปชัญญะมีจิตตั้งมั่น เบิกบาน ผ่องใส และพึงเป็นผู้เห็นแจ้งในกุศลธรรมทั้งหลายสมควรแก่กาลในการประกอบกรรมฐานนั้นเนืองๆ เถิด

    ดูกรภิกษุทั้งหลายเมื่อภิกษุมีความเพียรเป็นเครื่องตื่น มีสติสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น เบิกบานผ่องใส เห็นแจ้งในกุศลธรรมทั้งหลายสมควรแก่กาลในการประกอบกรรมฐานนั้นเนืองๆ พึงหวังผล ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผลในปัจจุบันหรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ความเป็นพระอนาคามี ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
    เธอทั้งหลายตื่นอยู่ จงฟังคำนี้ เธอเหล่าใดผู้หลับแล้ว เธอเหล่านั้นจงตื่น ความเป็นผู้ตื่นจากความหลับเป็นคุณ ประเสริฐ เพราะภัยย่อมไม่มีแก่ผู้ตื่นอยู่ ผู้ใดตื่นอยู่ มีสติสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น เบิกบาน และผ่องใส พิจารณาธรรมอยู่โดยชอบโดยกาลอันควร
    ผู้นั้นมีสมาธิ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแล้ว พึงกำจัดความมืดเสียได้
    เพราะ เหตุนั้นแล ภิกษุพึงคบธรรมเครื่องเป็นผู้ตื่น ภิกษุผู้มีความ เพียร มีปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน มีปรกติได้ฌาน ตัด กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ด้วยชาติและชราได้แล้ว พึงถูก- ต้องญาณอันเป็นเครื่องตรัสรู้อย่างยอดเยี่ยมในอัตภาพนี้แล ฯ เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล ฯ

    <CENTER>จบสูตรที่ ๑๐</CENTER>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • p27.jpg
      p27.jpg
      ขนาดไฟล์:
      44 KB
      เปิดดู:
      119
  15. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    ในความคิดเห็นที่ #7 จากพระไตรปิฏก จะเป็น ฌาน ๔

    เอามาเปรียบกับสำนวนท่านพุทธทาสที่ทางวัดนาป่าพงนำมา
    จะเป็น ฌานทั้ง ๔

    ท่านหลับอยู่มีความเห็นอย่างไรคะ


    ....................

    ผู้กำลังโน้มเอียงไปสู่นิพพาน

    ภิกษุท. ! คงคานทีลุ่มไปทางทิศตะวันออกลาดไปทางทิศตะวันออกเทไปทาง
    ทิศตะวันออกข้อนี้ฉันใด ;
    ภิกษุท. ! ภิกษุเจริญฌานทั้ง๔ อยู่กระทำฌานทั้ง๔ ให้มากอยู่ก็ย่อมเป็นผู้
    ลุ่มไปทางนิพพานลาดไปทางนิพพานเทไปทางนิพพานฉันนั้นก็เหมือนกัน.

    ภิกษุท. ! ภิกษุเจริญฌานทั้ง๔ อยู่กระทำฌานทั้ง๔ ให้มากอยู่ย่อมเป็นผู้
    ลุ่มไปทางนิพพานลาดไปทางนิพพานเทไปทางนิพพานเป็นอย่างไรเล่า ?

    ภิกษุท. ! ภิกษุในกรณีนี้สงัดแล้วจากกามทั้งหลายสงัดแล้วจากอกุศลธรรม
    ทั้งหลายเข้าถึงปฐมฌานอันมีวิตกวิจารมีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกแล้วแลอยู่;

    เพราะความที่วิตกวิจารทั้งสองระงับลงเข้าถึงทุติยฌานเป็นเครื่องผ่องใสใจใน
    ภายในให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้นไม่มีวิตกไม่มีวิจารมีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิแล้วแลอยู่;

    อนึ่งเพราะความจางคลายไปแห่งปีติย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขามีสติและสัมปชัญญะ
    และย่อมเสวยความสุขด้วยนามกายชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมกล่าว
    สรรเสริญผู้นั้นว่า“เป็นผู้อยู่อุเบกขามีสติอยู่เป็นปกติสุข”ดังนี้เข้าถึงตติยฌานแล้วแลอยู่;

    เพราะละสุขเสียได้และเพราะละทุกข์เสียได้เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและ
    โทมนัสทั้งสองในกาลก่อนเข้าถึงจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ไม่มีสุขมีแต่ความที่สติ
    เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่.

    ภิกษุท. ! อย่างนี้แลภิกษุเจริญฌานทั้ง๔ อยู่กระทำฌานทั้ง๔ ให้มากอยู่
    ย่อมเป็นผู้ลุ่มไปทางนิพพานลาดไปทางนิพพานเทไปทางนิพพาน.

    มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๙๒/๑๓๐๑-๑๓๐๒.
     
  16. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    ไม่เข้าใจครับว่าคุณ ถามถึงอะไร กระทุ้ยังไม่จบ เลย ^^

    ให้ย้อนไปดู มหาวรรคอานาปานกถา.ก่อนแล้วกันนะ นั่นแหละ หยุดเป็นตัวสำเร็จ แบบที่หลวงพ่อสดท่านกล่าวสอนเป็นประจำ หยุดแล้วดำเนินเข้ากลาง ของกลาง กลางของกลาง ตั้งแต่ต้นจนพระอรหันต์
     
  17. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
    ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <CENTER></CENTER><CENTER>มหาวรรค อานาปาณกถา</CENTER>
    </PRE>


    [๓๗๑] ความเป็นธรรมอย่างเดียวเหล่านั้นเป็นไฉน ฯ
    ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งการบริจาคทาน ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งสมถนิมิต
    ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งลักษณะความเสื่อม
    ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งนิโรธ

    ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งการบริจาคทาน ของบุคคลผู้น้อม
    ใจไปในจาคะทั้งหลาย
    ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งสมถนิมิต
    ของบุคคลผู้หมั่นประกอบในอธิจิตทั้งหลาย
    ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความ
    ปรากฏแห่งลักษณะความเสื่อม ของบุคคลผู้เจริญวิปัสสนาทั้งหลาย
    และความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งนิโรธ ของพระอริยบุคคลทั้งหลาย

    จิตที่ถึงความเป็นธรรมอย่างเดียวในฐานะ ๔ เหล่านี้ ย่อมเป็นจิตที่มีปฏิปทาวิสุทธิ
    ผ่องใส เจริญงอกงามด้วยอุเบกขา และถึงความร่าเริงด้วยญาณ ฯ

    [๓๗๒] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน
    ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้น ความพอกพูนอุเบกขาเป็นท่ามกลาง
    ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน ฯ
    [๓๗๓] ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้นแห่งปฐมฌาน ลักษณะ
    แห่งเบื้องต้นเท่าไร ฯ
    ลักษณะแห่งเบื้องต้น ๓ คือ จิตหมดจดจากอันตรายแห่งเบื้องต้นนั้น
    จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลาง เพราะเป็นจิตหมดจด จิตแล่นไปในสมถนิมิตนั้น เพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว จิตหมดจดจากอันตราย ๑
    จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลางเพราะเป็นจิตอันหมดจด ๑
    จิตแล่นไปในสมถนิมิตเพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว ๑
    ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้นแห่ง
    ปฐมฌาน ลักษณะแห่งเบื้องต้น ๓ ประการเหล่านี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึง
    กล่าวว่า ปฐมฌานเป็นฌานมีความงามในเบื้องต้น และถึงพร้อมด้วย
    ลักษณะ ฯ
    [๓๗๔] ความพอกพูนอุเบกขาเป็นท่ามกลางแห่งปฐมฌาน ลักษณะแห่ง
    ท่ามกลางเท่าไร ฯ
    ลักษณะแห่งท่ามกลาง ๓ คือ จิตหมดจดวางเฉยอยู่
    จิตดำเนินไปสู่สมถะวางเฉยอยู่
    จิตมีความปรากฏในความเป็นธรรมอย่างเดียววางเฉยอยู่
    จิตหมดจดวางเฉยอยู่ ๑ จิตดำเนินไปสู่สมถะวางเฉย ๑ จิตมีความปรากฏใน
    ความเป็นธรรมอย่างเดียววางเฉยอยู่ ๑ ความพอกพูนอุเบกขาเป็นท่ามกลางแห่ง
    ปฐมฌาน ลักษณะแห่งปฐมฌาน ๓ ประการเหล่านี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
    ปฐมฌานเป็นฌานมีความงามในท่ามกลาง และถึงพร้อมด้วยลักษณะ ฯ


    [๓๗๕] ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน ลักษณะแห่งที่สุดเท่าไร ฯ
    ลักษณะแห่งที่สุด ๔ คือ ความร่าเริงด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดใน
    ปฐมฌานนั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ความร่าเริงด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอัน
    เดียวกัน ๑ ความร่าเริงด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรสมควรแก่ความที่ธรรม
    ทั้งหลายไม่ล่วงเกินกันและความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ความ
    ร่าเริงด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ๑ ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน ลักษณะแห่ง
    ที่สุด ๔ ประการเหล่านี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปฐมฌานมีความงาม
    ในที่สุด และถึงพร้อมด้วยลักษณะ จิตอันถึง ความเป็นไป ๓ ประการ
    มีความงาม ๓ อย่าง ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิต
    ถึงพร้อมด้วยวิตก วิจาร ปีติ สุข การอธิษฐานจิต ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ
    และถึงพร้อมด้วยปัญญา ฯ
    [๓๗๖] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งทุติยฌาน ฯ
    ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้น ความพอกพูนอุเบกขา เป็น
    ท่ามกลาง ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งทุติยฌาน ฯลฯ จิตอันถึงความเป็นไป
    ๓ ประการ มีความงาม ๓ อย่าง ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้
    ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยวิจาร ปีติ ... และถึงพร้อมด้วยปัญญา ฯ


    [๓๗๗] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุด แห่งตติยฌาน ฯลฯ
    จิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการ มีความงาม อย่าง ๓ ถึงพร้อมด้วยลักษณะ
    ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยปีติ สุข ... และถึงพร้อมด้วย
    ปัญญา ฯ


    [๓๗๘] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งจตุตถฌาน ฯลฯ
    จิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการ ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้
    ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยอุเบกขา การอธิษฐานจิต ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ
    และถึงพร้อมด้วยปัญญา ฯ


    [๓๗๙] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งอากาสา-
    *นัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ
    เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ จิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการ มี
    ความงาม ๓ อย่าง ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตถึง
    พร้อมด้วยอุเบกขา การอธิษฐานจิต ฯลฯ และถึงพร้อมด้วยปัญญา ฯ


    [๓๘๐] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งอนิจจา-
    *นุปัสนา ฯลฯ จิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการ มีความงาม ๓ อย่าง อย่างนี้
    ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการ ถึงพร้อมด้วยวิจาร ... และถึง
    พร้อมด้วยปัญญา ฯ

    อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งทุกขานุปัสนา อนัตตา-
    *นุปัสนา นิพพิทานุปัสนา วิราคานุปัสนา นิโรธานุปัสนา ปฏินิสสัคคานุปัสนา
    ขยานุปัสนา วยานุปัสนา วิปริณามานุปัสนา อนิมิตตานุปัสนา อัปปณิหิตา-
    *นุปัสนา สุญญตานุปัสนา อธิปัญญา ธรรมวิปัสสนา ยถาภูตญาณทัสสนะ
    อาทีนวานุปัสนา ปฏิสังขานุปัสนา วิวัฏฏนานุปัสนา โสดาปัตติมรรค
    สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค ฯลฯ

    [๓๘๑] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งอรหัตมรรค ฯ
    ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้น ความพอกพูนอุเบกขา เป็น
    ท่ามกลาง ความร่าเริงเป็นที่สุด แห่งอรหัตมรรค ฯ

    ความหมดจดแห่งปฏิปทา เป็นเบื้องต้นแห่งอรหัตมรรค ลักษณะแห่ง
    เบื้องต้นเท่าไร ฯ
    ลักษณะแห่งเบื้องต้น ๓ ประการ คือ จิตหมดจดจากอันตรายแห่ง
    เบื้องต้นนั้น จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลางเพราะเป็นจิตหมดจด
    จิตแล่นไปในสมถนิมิตนั้นเพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว จิตหมดจดจากอันตราย ๑
    จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลางเพราะเป็นจิตหมดจด ๑ จิตแล่นไปใน
    สมถนิมิตนั้น เพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว ๑ ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็น
    เบื้องต้นแห่งอรหัตมรรค

    ลักษณะแห่งเบื้องต้น ๓ ประการเหล่านี้ เพราะเหตุนั้น
    ท่านจึงกล่าวว่า อรหัตมรรคเป็นธรรมมีความงามในเบื้องต้น และถึงพร้อมด้วย
    ลักษณะ ฯ
    [๓๘๒] ความพอกพูนอุเบกขา เป็นท่ามกลางแห่งอรหัตมรรค ลักษณะแห่งท่ามกลางเท่าไร ฯ

    ลักษณะแห่งท่ามกลาง ๔ คือ
    จิตหมดจดวางเฉยอยู่
    จิตดำเนินไปสู่สมถะวางเฉยอยู่
    จิตมีความปรากฏในความเป็นธรรมอย่างเดียววางเฉยอยู่
    จิตหมดจดวางเฉยอยู่ ๑
    จิตดำเนินไปสู่สมถะวางเฉยอยู่ ๑
    จิตมีความปรากฏในความเป็นธรรมอย่างเดียววางเฉยอยู่

    เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อรหัตมรรค
    เป็นธรรมมีความงามในท่ามกลาง และถึงพร้อมด้วยลักษณะ ฯ
    [๓๘๓] ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งอรหัตมรรค ลักษณะแห่งที่สุด
    เท่าไร ฯ
    ลักษณะแห่งที่สุด ๔ คือ ความร่าเริงด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดใน
    อรหัตมรรคนั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ความร่าเริงด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็น
    อันเดียวกัน ๑ ความร่าเริงด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรสมควรแก่ความที่ธรรม
    ทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ความ
    ร่าเริงด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ๑ ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งอรหัตมรรค ลักษณะ
    แห่งที่สุด ๔ ประการเหล่านี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อรหัตมรรคเป็นธรรม
    มีความงามในที่สุดและถึงพร้อมด้วยลักษณะ จิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการ
    มีความงาม ๓ อย่าง ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตถึง
    พร้อมด้วยวิตก วิจาร ปีติ สุข การอธิษฐานจิต ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ
    และพร้อมด้วยปัญญา ฯ
    นิมิต ลมอัสสาสปัสสาสะ ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว
    เพราะไม่รู้ธรรม ๓ ประการ จึงไม่ได้ภาวนา นิมิตลม
    อัสสาสปัสสาสะ ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว เพราะ
    รู้ธรรม ๓ ประการ จึงจะได้ภาวนา ฉะนี้แล ฯ




    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๔๐๗๐ - ๕๑๙๙. หน้าที่ ๑๖๗ - ๒๑๒.
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=31&A=4070&Z=5199&pagebreak=0
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มิถุนายน 2015
  18. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER><BIG>อรรถกถา ขุททกนิกาย อุทาน นันทวรรคที่ ๓ โกลิตสูตร</BIG> <CENTER class=D></CENTER></CENTER>

    <CENTER>อรรถกถาโกลิตสูตร </CENTER>




    บทว่า ชญฺญา นิพฺพานมตฺตโน ความว่า พระนิพพานอันเป็นอสังขตธาตุ
    นำมาซึ่งความสุขอย่างแท้จริง โดยเป็นอารมณ์อันดีเยี่ยมแก่มรรคญาณและผลญาณ ซึ่งได้บัญญัติว่า อัตตา เพราะไม่เป็นอารมณ์ของปุถุชนอื่น แม้โดยที่สุดความฝัน
    แต่เพราะเป็นแผนกหนึ่งแห่งมรรคญาณและผลญาณนั้นๆ ของพระอริยเจ้าทั้งหลาย และเพราะเป็นเช่นกับอัตตา จึงเรียกว่า อตฺตโน ของตน

    พึงรู้ คือพึงทราบพระนิพพานนั้น อธิบายว่า พึงรู้แจ้ง คือพึงทำให้แจ้งด้วยมรรคญาณและผลญาณทั้งหลาย. ด้วยคำนั้น ทรงแสดงถึงความที่พระอริยเจ้าทั้งหลายมีจิตน้อมไปในพระนิพพาน.
    จริงอยู่ พระอริยะเจ้าทั้งหลายย่อมอยู่ แม้ในเวลาที่อธิจิตเป็นไป ก็อยู่โดยภาวะที่น้อมโน้มโอนไปในพระนิพพานโดยส่วนเดียวเท่านั้น. ก็ในที่นี้ สติเป็นไปใน<WBR>กาย<WBR>ปรากฏ<WBR>แก่<WBR>ภิกษุ<WBR>ใด ภิกษุ<WBR>นั้นสำรวม<WBR>แล้วในผัสสายตนะ ๖ ต่อแต่นั้น ก็มีจิตตั้งมั่นเนืองๆ พึงรู้พระนิพพานของตน ด้วยการกระทำให้ประจักษ์แก่ตน พึงทราบการเชื่อมบทแห่งคาถาอย่างนี้ด้วยประการฉะนี้.
    ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=77
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มิถุนายน 2015
  19. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
    ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>




    <CENTER></CENTER><CENTER>ทวยตานุปัสสนาสูตรที่ ๑๒</CENTER>




    </PRE>



    ชนเหล่าอื่นกล่าวนิพพาน
    ใดโดยความเป็นทุกข์ พระอริยเจ้าทั้งหลายผู้รู้แจ้งกล่าว
    นิพพานนั้นโดยความเป็นสุข ท่านจงพิจารณาธรรมที่รู้ได้ยาก
    ชนพาลทั้งหลายผู้ไม่รู้แจ้ง พากันลุ่มหลงอยู่ในโลกนี้ ความ
    มืดตื้อย่อมมีแก่ชนพาลทั้งหลายผู้ถูกอวิชชาหุ้มห่อแล้ว ผู้ไม่
    เห็นอยู่

    ส่วนนิพพาน เป็นธรรมชาติเปิดเผยแก่สัตบุรุษ
    ผู้เห็นอยู่ เหมือนอย่างแสงสว่าง
    ฉะนั้น ชนทั้งหลายเป็นผู้
    ค้นคว้า ไม่ฉลาดต่อธรรม ย่อมไม่รู้แจ้งนิพพานที่มีอยู่ในที่
    ใกล้ ชนทั้งหลายผู้ถูกภวราคะครอบงำแล้ว แล่นไปตาม
    กระแสภวตัณหา ผู้เข้าถึงวัฏฏะอันเป็นบ่วงแห่งมารเนืองๆ
    ไม่ตรัสรู้ธรรมนี้ได้โดยง่าย นอกจากพระอริยเจ้าทั้งหลาย
    ใครหนอย่อมควรจะรู้บท คือ นิพพานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย
    ตรัสรู้ดีแล้ว พระอริยเจ้าทั้งหลายเป็นผู้ไม่มีอาสวะเพราะรู้
    โดยชอบ ย่อมปรินิพพาน ฯ
    [๔๐๗] พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้จบลงแล้ว ภิกษุ
    เหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค ก็และเมื่อพระผู้มีพระภาค
    ตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้อยู่ จิตของภิกษุประมาณ ๖๐ รูป หลุดพ้นแล้วจากอาสวะ
    ทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น ดังนี้แล ฯ




    <CENTER>จบทวยตานุปัสสนาสูตรที่ ๑๒



    </CENTER><CENTER class=l>-----------------------------------------------------



    </CENTER><CENTER>เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๙๖๙๖ - ๙๙๕๑. หน้าที่ ๔๒๑ - ๔๓๑.
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=9696&Z=9951&pagebreak=0
    </CENTER>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มิถุนายน 2015
  20. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕
    มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <CENTER></CENTER><CENTER>๔. มหามาลุงโกฺยวาทสูตร</CENTER><CENTER>ทรงโปรดพระมาลุงกยะและพระอานนท์</CENTER><CENTER>โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕</CENTER>
    </PRE>

    ดูกรอานนท์ก็ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง
    บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ด้วยมนสิการว่า วิญญาณไม่มีที่สุดอยู่. เธอพิจารณาธรรมเหล่านั้น
    คือเวทนา ซึ่งมีอยู่ในฌานนั้น ฯลฯ เพื่อละสังโยชน์. อานนท์ ก็ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุก้าวล่วง
    วิญญาณัญจายตนะ บรรลุอากิญจัญญายตนะด้วยมนสิการว่า หน่อยหนึ่งย่อมไม่มีอยู่. เธอพิจารณา
    เห็นธรรมเหล่านั้น คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในอรูปฌานนั้น โดยความ
    ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นไข้ เป็นอื่น
    เป็นของทรุดโทรม เป็นของว่างเปล่า ไม่มีตัวตน. เธอให้จิตดำเนินไปด้วยธรรมเหล่านั้น เธอ
    รั้นให้จิตดำเนินไปด้วยธรรมเหล่านั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตเข้าหาธรรมธาตุอันเป็นอมตะว่า นั่นมีอยู่ นั่นประณีต คือการสงบสังขารทั้งปวง การสละคืนอุปธิทั้งปวง ตัณหักขยะ วิราคะ นิโรธ
    นิพพาน ดังนี้. เธอตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนะนั้น ย่อมถึงการสิ้นอาสวะ ถ้าไม่ถึงการสิ้นอาสวะ
    จะเป็นโอปปาติกะ ปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เพราะความเพลิดเพลินในธรรม เพราะความยินดีในธรรมนั้นนั่นแล. ดูกรอานนท์
    มรรคปฏิปทานี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
    [๑๕๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้ามรรคนี้ ปฏิปทานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิย-
    *สังโยชน์ ๕ เมื่อเป็นอย่างนั้น เพราะเหตุไร ภิกษุบางพวกในพระศาสนานี้ จึงเป็นเจโตวิมุติ
    บางพวกเป็นปัญญาวิมุติเล่า.
    ดูกรอานนท์ ในเรื่องนี้ เรากล่าวความต่างกันแห่งอินทรีย์ ของภิกษุเหล่านั้น.
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต
    ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.


    <CENTER>จบ มหามาลุงโกฺยวาทสูตร ที่ ๔.

    </CENTER><CENTER class=l>-----------------------------------------------------
    </CENTER>

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มิถุนายน 2015

แชร์หน้านี้

Loading...