จะโยนิโสฯธรรมบทใดได้นั้น ผู้นั้นต้องมีความรอบรู้มาก่อนใช่หรือไม่!?!

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมแท้ว่าง, 16 พฤษภาคม 2015.

  1. raming2555

    raming2555 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,552
    ค่าพลัง:
    +18,998
    โยนิโสมนสิการ

    สมัยก่อนตอนหลวงพ่อพูดถึงคำนี้ขึ้นมาผมก็งงหนักมาก...
    ผมก็เดาเอาเองตามประสาคนไม่รู้เรื่องบาลีครับ...
    ผมเดาว่า น่าจะเป็นการกราบ หรือท่ากราบอย่างหนึงนี่แหละ...
    นั่งฟังเงียบๆ ถามก็ไม่ถามครับ กลัวว่าถามไปแล้วคนเขาจะรู้ว่าเราโง่...เงียบๆเอาไว้เผื่อชาวบ้านเขาจะไม่รู้ว่าเราโง่...

    ต่อมานี่อดรนทนไม่ได้ครับ ต้องยอมโง่...เพราะอยากจะรู้ความหมาย...
    หลวงพ่อท่านตอบว่า โยนิโสมนสิการ คือ การพิจารณาโดยแยบคาย...
    อ๋อเลยครับ....
    ว่าแต่มันต่างกันอย่างไรกับการพิจารณา โดยอนุโลม ปฏิโลม ครับ?
    ถ้าไม่ต่าง จะบัญญัติศัพท์ใหม่ไปทำไม...

    เอาตามความเห็นส่วนตัวของผมละกันนะครับ
    การพิจารณาโดยแยบคายนี้ จะยกหัวข้อธรรมหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งขึ้นมาพิจารณาในระหว่างการเจริญสติและทรงสมาธิไปพร้อมๆกัน เพื่อให้เห็นแง่มุมต่างๆในธรรมนั้นๆ โดยละเอียด...
    เช่นครั้งหนึ่ง ผมยกเอาคำว่า "เมตตา" ขึ้นมาพิจารณา ก็จะพิจารณาถึงลักษณะที่เรียกว่าเมตตา มีอย่างไร? เมตตานี้มีคุณอย่างไร? เมตตานี้มีโทษอย่างไร? พิจารณาทั่วไปในทุกแง่ทุกมุมของเมตตา และจนในท้ายที่สุด จะจบลงตรงที่เรื่องของไตรลักษณ์ทุกครั้งไปครับ....นี่เป็น โยนิโสมนสิการ ประการหนึ่งในความเห็นของผม...

    โยนิโสมนสิการ อีกประการหนึ่ง จะเกิดขึ้นภายหลังจากที่ได้เห็นจิตในจิต เห็นธรรมในธรรม และธรรมที่ปรากฎโดยไม่มีภาษา ไม่มีที่มาที่ไป ไม่มีเหตุ ไม่มีผล กระจ่างแจ้งแก่ใจของผู้ปฏิบัติอยู่แล้ว เป็นปรมัตถสัจจะที่ไม่อาจใช้ภาษามาทดแทนได้...จนเมื่อถอยออกมาอยู่ในอุปจารสมาธิ ทรงสติเอาไว้ในระดับที่พอเหมาะกับกำลังสมาธิดีแล้ว จึงยกเอาธรรมทั้งหลายที่เป็นปรมัตถ์นี้ มาพิจารณาเพื่อเทียบเคียงกับสมมติ ให้สามารถอธิบายวิมุต ได้อย่างใกล้เคียง การพิจารณาในขึ้นตอนนี้ ผมก็เข้าใจของผมเองว่า นี่คือ อาการที่เรียกว่า โยนิโสมนสิการ ครับ....

    นานๆจะมาตอบกระทู้ลุงแมวสักที....ตอบผิด ตอบถูก ก็อย่าถือสากันนะครับ...ผมตอบตามประสบการณ์ ส่วนพระไตรปิฎกที่เป็นเล่มๆนั้น ไม่เคยได้อ่านซักทีนึง...อ่านแต่ที่กายที่จิตนี่เท่านั้นเองครับ...
     
  2. มังคละมุนี

    มังคละมุนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +608
    โยนิโสมนสิการ ไม่ใช่ ปัญญา ใน ทัศนะ ของ พระนาคเสน

    มิลินทปัญหา

    มนสิการปัญหา ที่ ๗
    ราชา สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นกษัตริย์มีพระราชโองการตรัสถามอรรถปัญหาต่อไปว่า
    ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้า โยมนี้ยังสงสัยอยู่ ด้วยบุคคลไม่ปฏิสนธิคือไม่เกิดใหม่นั้น
    ไม่เกิดใหม่ด้วยโยนิโสมนสิการดังฤๅ

    พระนาคเสนถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐในศฤงคาร
    บุคคลไม่ปฏิสนธิเกิดใหม่นั้นด้วย
    ๑.โยนิโสมนสิการกับ
    ๒.กุศลธรรมอื่นที่บำเพ็ญไว้แต่ก่อน มีบารมีเต็มตามกำหนดให้สำเร็จพระนิพพาน อีกกับ
    ๓.ปัญญา
    พร้อมด้วยสิ่ง ๓ ประการนี้ จึงมิได้เกิดใหม่
    ขอถวายพระพร

    พระเจ้ามิลินท์มีพระราชโองการซักถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้มี ปรีชาญาณ
    โยนิโสมนสิการนั้นไม่ใช่ปัญญาหรือประการใด

    พระนาคเสนวิสัชนาแก้ไขว่า โยนิโสมนสิการมิใช่ปัญญา
    และโยนิโสมนสิการนั้นมี ลักษณะสถาน ๑ , ปัญญามีลักษณะสถาน ๑
    และโยนิโสมนสิการนั้น มีในสันดานแห่งสัตว์
    ทั้งหลายคือวัวควายช้างม้าสรรพสัตว์ทั้งปวงเหล่านี้และสัตว์ดังพรรณนานี้จะได้มีปัญญาหามิได้
    มีแต่โยนิโสมนสิการ ขอถวายพระพร

    มนสิการปัญหา คำรบ ๗ จบเท่านี้
    _______________________________________________

    มังคละมุนี วิตก-วิจารณ์

    โยนิโสมนสิการ คือ สัญชาตญาณในการหนีทุกข์ ของ สัตว์
    ปํญญา คือ การรู้แจ้งแทงตลอดในทุกข์ เพื่อออกไปจากความเป็น สัตว์

    เอวัง...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 มกราคม 2017
  3. มังคละมุนี

    มังคละมุนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +608
    โยนิโสฯ-เหนี่ยวเอามา VS ปัญญา-ตัดให้ขาด

    มิลินทปัญหา

    มนสิการลักขณปัญหา ที่ ๘
    สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสถามด้วยลักษณะแห่ง
    โยนิโสมนสิการว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้านาคเสนผู้ปรีชาญาณ และโยนิโสมนสิ-
    การนั้นมีลักษณะอย่างไร

    พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า โยนิโสมนสิการนั้น
    อุสฺสาหลกฺขโณ มีลักษณะให้อุตสาหะมีพยายามความเพียรประการ ๑
    คหรลกฺขโณ มีลักษณะจะถือเอาให้ได้ เหมือนกับสัตว์เป็นต้นว่าแพะลาโคมหิสา ถึงจะผูกไว้ก็จะดิ้นไปกินหญ้านั้นประการ ๑
    ขอถวายพระพร

    พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นสาคลนครจึงมีพระราชโองการถามว่า
    ข้าแต่พระนาคเสนผู้ประเสริฐด้วยปรีชาญาณ ลักษณะปัญญานั้นอย่างไร

    พระนาคเสนวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐในสิริมไหศวรรย์
    ปัญญานั้นมีลักษณะตัดให้ขาด ขอถวายพระพร

    พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นสาคลนคร มีพระราชโองการนิมนต์พระนาคเสนผู้ปรีชาญาณ
    ให้กระทำอุปมา จึงตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ประกอบด้วยปรีชาญาณ
    ลักษณะโยนิโสมนสิการ กับลักษณะปัญญา ที่พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนามานี้ โยมฟังยังคลางแคลงอยู่ นิมนต์อุปมาให้แจ้งก่อน

    พระนาคเสนจึงถวายพระพรอุปมาว่า มหาราช ดูรานะมหาบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐในศฤงคาร
    ลักษณะโยนิโสมนสิการกับลักษณะปัญญานี้ ถ้าจะเปรียบเป็นอันเดียว เหมือนเกี่ยวข้าว
    ลักษณะชาวนาเกี่ยวข้าวนั้น เขาทำประการใด

    อ้อ โยมเข้าใจอยู่

    มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐในมไหศวรรย์
    ชาวนาเกี่ยวข้าวนั้นเขาทำอย่างไร

    อ้อ ชาวนานั้นเขาเอาเท้าเหยียบต้นข้าวไว้มิให้ขยาย วามหตฺเถน มือซ้ายหน่วงเอารวงข้างนั้นมา
    ทกฺขิณหตฺเถน มือขวาจับเคียวเกี่ยวกระชากให้รวงข้าวขาดติดมือเบื้องซ้าย
    ชาวนาทั้งหลายเขากระทำอย่างนี้ โยมรู้อยู่

    มหาราช ดูรานะบพิตรผู้ประเสริฐในสิริมไหศวรรย์ ความนี้ฉันใด มือซ้ายที่ถือรวงข้างไว้
    ได้แก่โยนิโสมนสิการอันมีลักษณะถือเอา มือขวาที่ถือเคียวเกี่ยวรวงข้างตัดกระชากให้ขาดนั้น
    ได้แก่ปัญญาอันมีลักษณะตัดให้ขาด ด้วยประการดังนี้

    พระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดี ได้ฟังพระนาคเสนอุปมาก็ทรงพระปรีชาชื่นชม ตรัสว่า
    พระผู้เป็นเจ้าอุปมานี้ กลฺโลสิ สมควรนักหนา สาธุสัตบุรุษผู้มีศรัทธาพึงเข้าใจเถิดว่า
    บุคคลที่ไม่เกิดอีกนั้นคือพระอรหันตขีณาสพ ท่านไม่เกิดอีก คือท่านเข้านิพพาน

    มนสิการลักขณปัญหา คำรบ ๘ จบเท่านี้
    ___________________________________________________________________

    มังคละมุนี วิตก-วิจารณ์

    โยนิโสมนสิการ = เริ่มเลือกเอาใส่ใจ ในสิ่งที่ควรเอาใส่ใจ(ด้วยความพากเพียร และ เพื่อเป้าประสงค์ที่จะสัมฤทธิ์ผล)
    ปัญญา = รู้แจ้งแทงตลอด ในเรื่องที่นำมาเอาใส่ใจแล้วนั้น อย่างชัดเจน

    เอวัง...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤษภาคม 2015
  4. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    ชอบคำตอบจากผู้ผ่านประสบการณ์การปฏืบัติครับ
    ลุงแมวอ่านด้วยความโยนิโสมนสิการนะฮะ
     
  5. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    มิลินทปัญหา

    มนสิการลักขณปัญหา ที่ ๘
    สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสถามด้วยลักษณะแห่ง
    โยนิโสมนสิการว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้านาคเสนผู้ปรีชาญาณ และโยนิโสมนสิ-
    การนั้นมีลักษณะอย่างไร

    พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า โยนิโสมนสิการนั้น
    อุสฺสาหลกฺขโณ มีลักษณะให้อุตสาหะมีพยายามความเพียรประการ ๑
    คหรลกฺขโณ มีลักษณะจะถือเอาให้ได้ เหมือนกับสัตว์เป็นต้นว่าแพะลาโคมหิสา ถึงจะผูกไว้ก็จะดิ้นไปกินหญ้านั้นประการ ๑
    ขอถวายพระพร

    พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นสาคลนครจึงมีพระราชโองการถามว่า
    ข้าแต่พระนาคเสนผู้ประเสริฐด้วยปรีชาญาณ ลักษณะปัญญานั้นอย่างไร

    พระนาคเสนวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐในสิริมไหศวรรย์
    ปัญญานั้นมีลักษณะตัดให้ขาด ขอถวายพระพร

    พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นสาคลนคร มีพระราชโองการนิมนต์พระนาคเสนผู้ปรีชาญาณ
    ให้กระทำอุปมา จึงตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ประกอบด้วยปรีชาญาณ
    ลักษณะโยนิโสมนสิการ กับลักษณะปัญญา ที่พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนามานี้ โยมฟังยังคลางแคลงอยู่ นิมนต์อุปมาให้แจ้งก่อน

    พระนาคเสนจึงถวายพระพรอุปมาว่า มหาราช ดูรานะมหาบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐในศฤงคาร
    ลักษณะโยนิโสมนสิการกับลักษณะปัญญานี้ ถ้าจะเปรียบเป็นอันเดียว เหมือนเกี่ยวข้าว
    ลักษณะชาวนาเกี่ยวข้าวนั้น เขาทำประการใด

    อ้อ โยมเข้าใจอยู่

    มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐในมไหศวรรย์
    ชาวนาเกี่ยวข้าวนั้นเขาทำอย่างไร

    อ้อ ชาวนานั้นเขาเอาเท้าเหยียบต้นข้าวไว้มิให้ขยาย วามหตฺเถน มือซ้ายหน่วงเอารวงข้างนั้นมา
    ทกฺขิณหตฺเถน มือขวาจับเคียวเกี่ยวกระชากให้รวงข้าวขาดติดมือเบื้องซ้าย
    ชาวนาทั้งหลายเขากระทำอย่างนี้ โยมรู้อยู่

    มหาราช ดูรานะบพิตรผู้ประเสริฐในสิริมไหศวรรย์ ความนี้ฉันใด มือซ้ายที่ถือรวงข้างไว้
    ได้แก่โยนิโสมนสิการอันมีลักษณะถือเอา มือขวาที่ถือเคียวเกี่ยวรวงข้างตัดกระชากให้ขาดนั้น
    ได้แก่ปัญญาอันมีลักษณะตัดให้ขาด ด้วยประการดังนี้

    พระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดี ได้ฟังพระนาคเสนอุปมาก็ทรงพระปรีชาชื่นชม ตรัสว่า
    พระผู้เป็นเจ้าอุปมานี้ กลฺโลสิ สมควรนักหนา สาธุสัตบุรุษผู้มีศรัทธาพึงเข้าใจเถิดว่า
    บุคคลที่ไม่เกิดอีกนั้นคือพระอรหันตขีณาสพ ท่านไม่เกิดอีก คือท่านเข้านิพพาน

    มนสิการลักขณปัญหา คำรบ ๘ จบเท่านี้
    ___________________________________________________________________

    "มังคละมุนี วิตก-วิจารณ์

    โยนิโสมนสิการ = เริ่มเลือกเอาใส่ใจ ในสิ่งที่ควรเอาใส่ใจ(ด้วยความพากเพียร และ เพื่อเป้าประสงค์ที่จะสัมฤทธิ์ผล)
    ปัญญา = รู้แจ้งแทงตลอด ในเรื่องที่นำมาเอาใส่ใจแล้วนั้น อย่างชัดเจน

    เอวัง..."
    หากมองในด้านสมมุติบัญญัติ
    ก็เป็นวิตกวิจารณ์ที่ประกอบด้วย
    ด้วยเหตุผลครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤษภาคม 2015
  6. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    การปฏิบัติธรรมของท่านพี่ระมิงค์
    เป็นโยนิโสมนสิการในระดับโลกุตตระแล้ว
    นะครับ

    ขอโมทนา
    ในความเจริญก้าวหน้าของ
    การประพฤติปฏิบัติได้สมกับ
    ความเป็นพุทธมามะกะและเป็น
    ตัวอย่างของเลื่อมใสและบำเพ็ญเพียรอย่าง
    อย่างชาวพุทธตัวจริงครับ
    ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
    ขอโมทนาครับ
     
  7. raming2555

    raming2555 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,552
    ค่าพลัง:
    +18,998
    ลุงแมว จะเชื่อไหมล่ะครับว่า...
    หลวงพี่ท่านหนึ่ง ถ้าเอ่ยชื่อไปต้องรู้จักกันครึ่งเวป...
    ท่านไม่รู้จักความหมายของคำว่า "โยนิโสมนสิการ"
    ครั้นจะถามหลวงพ่อ ก็กลัวโดนด่า...
    ท่านก็เที่ยวถามพระบ้าง โยมบ้าง ผ่านมาหลายปีครับ กว่าจะได้คำตอบ...

    ศัพท์ภาษาบาลี มีความจำเป็นเหมือนกันนะครับ เพื่อว่าเวลาครูบาอาจารย์พูดอะไรสอนอะไรมา เราจะได้เข้าใจตรงกัน....

    ตอนที่หลวงพ่อพูดขึ้นว่า "ท่านพระโยคาวจรทั้งหลาย"
    สมัยนั้น ผมก็เดาเอาเองครับ หนักกว่ามโนฯเสียอีก ผมเดาเอาเลยว่า พระโยคาวจร นี่แปลว่าพระที่อยู่ไม่เป็นที่ ไม่เป็นหลักแหล่ง คือพระที่จรไปจรมา ...
    หลวงพ่อท่านต้องหมายถึง พระธุดงค์ เป็นแน่แท้...

    หลวงพ่อคงทนความทุเรศของผมไม่ไหว หันมาเฉลยว่า หมายถึง พระหรือโยมก็ตาม ที่ประพฤติ ปฏิบัติธรรม อย่างนี้ท่านก็เรียกรวมๆกันว่า พระโยคาวจร...

    ถูกผิดยังไงก็ไม่ทราบได้ครับ หลวงพ่อว่ามาอย่างนี้ ผมก็จำมาอย่างนี้ เพื่อว่าเวลาท่านพูดอะไร ด่าอะไรออกมา ผมจะได้เข้าใจตามนั้น...

    ภาษาที่ใช้สื่อนี่สำคัญเหมือนกันนะครับ...
    ครูบาอาจารย์บางท่าน ใช้คำว่า จิต พุทธะ ผู้รู้ ใจ จิตเห็นจิต จิตเดิมแท้ ไม่เข้าใจความหมายของท่าน ก็จะไปเผลอคิดว่าท่านพูดผิด สอนผิด แต่ถ้าใครทำไปถึงที่ท่านสอนแล้ว จะรู้ความหมายที่ท่านแสดงออกมา .. แล้วจะอัศจรรย์ใจมากครับว่า ท่านเอาสิ่งที่ไม่สามารถพูดออกมาได้ มาแปลงเป็นภาษาพูดได้อย่างแนบเนียนถึงเพียงนี้ นี่ถ้าไม่ใช่เพราะบรรลุธรรมแล้วทบทวนซ้ำแล้วซ้ำเล่า พิจารณาโดยละเอียดซ้ำแล้วซ้ำเล่า จะไม่สามารถสื่อความหมายแบบนี้ออกมาได้เลย...

    ส่วนพวกที่ไปจำเอามาพูด พูดยังไงก็ฟังออกว่าไปจำเขามา เพราะถ้อยคำที่แอบแฝงเพิ่มเติมลงไปนั้น มันเจือไปด้วยกิเลส ผู้ปฏิบัติด้วยกันจึงฟังกันออกครับ พูดออกมาประโยคเดียวก็รู้แล้วครับว่า คนๆนี้ฝึกมาจริงหรือเปล่า...

    เพียงแต่รู้แล้วก็เฉยๆไว้ครับ ไม่ไปวิพากษ์วิจารณาเขา เขาเอาธรรมะยกขึ้นมาพูด แม้จะเจือไปด้วย มานะ ฑิฐิ ของตัวเองแอบแฝงไปบ้าง ก็ยังดีกว่าให้เขาไปพูดเรื่องลามกจกเปรต... แล้ววันหนึ่ง เมื่อคนเหล่านี้ได้ฝึกฝนไปเรื่อยๆ เขาย่อมเข้าถึงธรรมในวันหน้า วันใดวันหนึ่งแน่นอน ดังนั้นแล้วเราเองก็ไม่ควรไปประมาท ว่ากล่าวดูแคลน ย่ำยีกำลังใจเขาเหล่านั้นครับ...

    เอาว่า"โยนิโสมนสิการ" คำนี้ ที่ลุงแมวรู้ความหมายดีอยู่แล้วในภาษาไทย...
    ลุงแมว ช่วยแปลเป็นภาษาอังกฤษ ที่จะใช้อธิบายให้ฝรั่ง มังแกว ฟังได้ไหมครับ
    วันหน้าหากผมต้องไปโสเหล่กับฝรั่ง จะได้จำเอาคำแปลไปใช้การได้บ้างน่ะครับ
     
  8. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,421
    ค่าพลัง:
    +3,204
    การสั่งสมสุตมยปัญญามาก ๆ เป็นบาทฐาน
    เพื่อให้เกิดจินตมยปัญญา และ จินตมยปัญญา
    นี้จะเป็นข้อมูลที่จิตจะนำไปโยโสมนสิการคะ
    ทำให้เกิดปัญญาญาณ ภาวนามยปัญญาคะ

    ธรรมะของพระพุทธองค์ลาดลุ่มลึกลงไปตามลำดับ
    ไม่โกรกชันดั่งหน้าผา นะคะ
     
  9. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,421
    ค่าพลัง:
    +3,204
    การพูด หรือบอกธรรมะด้วยความเข้าใจ
    มีเหตุผลเชื่อมโยงได้ เป็นเหตุเป็นผล
    ก็จัดเป็นปัญญาคะ เป็นการสั่งสมบารมีไว้ในจิต
    เมื่อจะโยโสมนสิการ จะมีธรรมรู้อยู่ในใจ
    เป็นข้อมูลพิจารณาคะ ก็อยู่ที่วาเป็นข้อมูลแบบไหน
    จึงเรียกว่า ความเห็นนั้นเป็นสัมมาทิฐิ หรือ
    เป็นมิจฉาทิฐิไงคะ
     
  10. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,421
    ค่าพลัง:
    +3,204
    คนเก่งเรียนรู้ประสบการณ์ของตนเอง
    คนฉลาดเรียนรู้ประสบการณ์ของคนอื่น
    คนอัจฉริยะเรียนรู้ประสบการณ์ของตัวเองร่วมกับผู้อื่นคะ

    ทั้งชีวิตถ้าเราเรียนรู้แต่ตัวเอง เราก็รู้แค่ตัวเอง
    ทั้งชีวิตนี้เราจะเรียนรู้ได้ไม่หมด

    แต่ถ้าเราเรียนรู้คำสอนของพระพุทธองค์ และ
    คำสอนของครูบาอาจาย์ หรือ บุคคลที่ประสบความสำเร็จ
    ถึงจุดหมายแล้ว นำมาคำเหล่านั้นมาเรียนรู้กับกายใจของตน
    เข้าใจได้ตามเหตุผล ตามความเป็นจริงก็เป็นปัญญาคะ
    และการถ่ายทอดก็ถือว่าเป็นการให้ เป็นปัญญาบารมีได้คะ
    ยิ่งให้ด้วยความบริสุทธิ์ใจก็ยิ่งได้คะ

    หากไม่นำสิ่งเหล่านั้นมาโยโสมนสิการกับกายใจของตัวเอง
    การถ่ายทอดก็หาคำพูดมากล่าวได้ยากคะ
     
  11. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,421
    ค่าพลัง:
    +3,204
    เรียนรู้เพื่อสั่งสมปัญญาเบื้องต้น เป็นบาทฐานโยโสมนสิการปัญญาญาณคะ
     
  12. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ปัญญาของพุทธ ไม่ใช่ ปัญญากางหู เอาหูกางๆ แล้วรับฟังความคิด มาอม
    แล้วสำคัญว่าเป็นปัญญา

    สัญญา และ สังขาร เป็นเพียง ปฏิจสมุปบาทธรรม เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย หมดเหตุ
    ปัจจัยก็เกิดขึ้นไม่ได้

    ปัญญารู้คิด รู้จำ สร้างชุดความคิด ตรรกศาตร์ ปรัชญา วิทยาศาตร์ จึงเป็นเรื่อง ของคน
    ที่ขาดการสดับธรรมะ ไม่ได้กำหนดรู้ สัญญามันไม่เที่ยง สังขารมันไม่เที่ยง

    ปัญญารู้คิด รู้จำ หมายๆรู้ หรือ แล่นไปกระทบรู้ก็เถอะ(วิญญาณ) ล้วนแต่เป็น ขันธ์5

    หาก ยังอุปทาน ไม่เห็นตามความเป็นจริง สักแอะเดียว ก็จะ อมขันธ์5 คิดว่า มันนำ
    ปัญญามาให้


    ปัญญาธรรม คือ การรู้สาวที่เหตุ เหตของการเกิดรูป เหตุของการเกิดนาม

    ถ้า สาวไปหาเหตุ ของการเกิดรูป นาม ความจำเป็น หรือ ความละเมอเพ้อภพ
    เอา ขันธ์5 มาเป็น ปัญญา จะกระเด็นหายไปจากจิต

    โลกวิทู ไม่ใช่ ปัญญาไปรู้เรื่องขงอคนอื่น สารพัดแสนรู้

    โลกวิทู คือ แจ้งที่มา ที่ไปของการ ก่อขึ้น ของรูป กับ นาม อันเป็น พื้นฐานในการ
    สร้างบัญญติทั้งหมด เป็นพื้นฐานของความแตกต่างแห่งสัญญ สังขารทั้งหมด

    ปัญญาพุทธ จึง รู้เข้ามาที่เหตุ รูป นาม เกิด ดับ แค่นี้ ไม่ได้มีมากไปกว่านี้ ถ้า
    มากไปกว่านี้ ครูบาอาจารย์เรียกว่า " พวกหมาเห่าใบตองแห้ง " หรือ " พวกตะครุบเงาของจิต "
    ไม่มี สมาธิธรรมแม้แต่หางอึ่ง
     
  13. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    อินทรีย์ พละของแต่ละคนมันยังไม่แท่าเทียมกัน
    เขาต่างก็มาแลกเปลี่ยนสนทนากันฉันท์มิตร
    ไม่ได้มีเจตนาจาบจ้วงล่วงละเมิด
    ซึ่งกันและกัน

    คนที่มีความรู้ มีอินทรีย์พละแก่กล้ากว่า
    ก็อาจรำคาญ ก็ไปจองพท.ตั้งกระทู้ขึ้นมาเอง
    ดีกว่า แล้วนั่งรอดูว่าจะมีคน
    อยากเป็นศิษย์ แล้วดั้นด้นเข้าไปรับ
    ธรรมะที่ถูกต้องสูงส่งวันละกี่มากน้อย

    แต่ถ้าแค่อยากโดนด่าโดยเข้ามา
    สอนแบบคุยโม้โอ้อวด
    ฟาดงวงฟาดงาจะหาคน
    สวนหมัด
    อาจมีแต่คนเบื่อหน่าย...เลยไม่มีใครเห่าตอบ!!

    ไปวนวนเวียนเวียนรออยู่ในพันทิพ
    สักพักสองพัก พูดจาสอนธรรมะ
    แบบสไตล์นี้ นั่นแหละสมอยากแน่
    รับรองรคนอนุเคราะห์ให้แบบแสบคันคันแน่นอน
    ไปทุกวันได้ทุกวันนะฮะ




    ลุง
     
  14. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ลุงแมวเปลี่ยนลายเซ็นอีก คิกๆๆ

    [​IMG]
     
  15. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,421
    ค่าพลัง:
    +3,204
    จิตวิญญาณทุกดวงล้วนต่างเกิดตายเวียนว่ายในวัฏรจักรสงสาร กันหลายแสนชาติ
    หากยังไม่ถึงนิพพาน สิ่งใดหรือนำไปเกิดในภพภูมิต่าง ๆ ตามกรรม แล้วสิ่งใดนำมา
    ปฏิสนธิวิญญาณ

    รูป และ นาม ไม่มีใครกำหนด เหตุปัจจัย กรรมเป็นผู้กำหนด แล้วกรรมที่ว่านี้
    บันทึกไว้ตรงส่วนไหนของรูปนาม

    รูปนาม ขันธ์ห้า แบ่งเป็นกลุ่มหรือเป็นกอง แบ่งเพื่ออะไร
    กองสัญญา เก็บเรื่องราวความจำต่าง ๆ
    กองเวทนา เก็บเรื่องราวในความรู้สึกต่าง ๆ
    กองสังขาร เก็บเรื่องราว ความคิดต่างที่จำได้ ที่รู้สึกได้

    บ้างก็ระลึกไปในอดีตบ้าง บ้างก็ระลึกไปในอนาคตบ้าง

    แสดงว่าสิ่งต่าง ๆ ที่ได้กระทำจนเกิดกรรมไม่ว่า กุศล หรือ อกุศล ย่อมมี
    การรับรู้เรื่องราวต่าง ๆ รับรู้เสร็จเป็นเรื่องราวก็แยกไปเก็บไว้ที่กองขันธ์แต่ละกอง
    กระทบอารมณ์ผัสสะใด สัญญาจำได้ เวทนาเคยรู้สึกไว้ สังขารเคยคิดไปปรุงแต่งไว้
    ตามความเคยชิน ก่อให้เกิดการกระทำ ก็ย่อมนำมาจากสิ่งที่เก็บไว้แต่กาลก่อน
    ด้วยความเคยชิน ที่เรียกว่าอุปนิสัยของต่ละคนนิสัย ย่อมมีบันทึกไว้

    กองขันธ์ต่าง ๆ ก็ทำหน้าที่ไปตามเรื่องราวต่าง ๆ ตามเหตุ ปัจจัย เกิด แล้วดับ
    แต่เราก็สามารถมีสติระลึกให้เห็นเรื่องราวต่าง ๆ ตามความเป็นจริงได้

    เมื่อตายแล้วกองขันธ์ทั้งห้าดับ นำเรื่องราวต่าง ๆ ไปรวมไว้ที่ภวังคจิต อันเป็น
    ที่อยู่แห่งภพ แล้วนำไปเกิดตามภพภูมิ ตามกรรมต่อไป

    ตัวตนที่เห็นอยู่ ก็มาจากกองขันธ์ต่าง ๆ ทำหน้าที่ของแต่ละกอง สืบต่อกันไป
    เกิด ดับ เกิด ดับ ตามผัสสะ แล้วก็ตกอยู่ในภวังค์ตามเดิม

    แสดงว่ากองขันธ์ ต่าง ๆ ก็เก็บเรื่องราว ทั้งกุศล และ อกุศล ไว้ หากยังละไม่หมด
    ก็ยังต้อมีการสืบต่อไป

    สัญญาต่าง ๆ การจำได้หมายรู้ ไม่ใช่สิ่งที่เลวร้าย เป็นสิ่งที่ต้องกำหนดรู้
    นอกจากให้เห็นความเกิด ดับแล้ว การสั่งสมสุตะที่เป็นปัญญา ที่เป็นความทรงจำ
    ต่าง ๆ ดั่งพระพุทธองค์ ทรงย้อนไปเห็นการเกิด ตาย เวียนว่ายอยู่ในความทุกข์
    ไม่รู้จบสิ้น ทำให้เกิดการเบื่อหน่ายในการเกิด หรือ หลวงปู่มั่น ที่ท่านระลึกได้
    แล้วเห็น ก็ลาพุทธภูมิ ก็เนื่องมาจากความทรงจำในสัญญาต่าง ๆ เหล่านี้

    เราไม่สามารถตัดสัญญาเหล่านี้ทิ้งไปได้ แต่เราสามารถนำมาใช้ได้ เหมือนอาศัย
    เรือข้ามฟาก พอถึงฝั่ง ก็ทิ้งเรือไป อยู่ที่ว่าเราจะใช้เป็นหรือ ไม่เป็น

    พระพุทธองค์ไม่ได้สั่งห้ามการสะสมกุศล การสั่งสมปัญญา ก็เป็นหนึ่งในทศบารมี
    ที่เป็นเครื่องหนุนให้เราหลุดพ้นได้

    ปัญญา นำมา ซึ่งวิมุตติ

    ขอน้อมรับเหตุผล ที่มำให้เกิดปัญญาคะ คำบางคำอาจดูเหมือนผิดหลักภาษา
    บัญญัติไปบ้าง แต่นี่เป็นความรู้ที่ได้มาจากภายในคะ ยินดีรับคำแนะนำคะ
     
  16. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    อย่าแอบอย่าซุ่ม
    จงออกมาร่วมรบ
    ในสงครามแมว!!!
     
  17. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    ไป
    เมื่อคืนลุงแมว
    สวดมนต์เสร็จปิดท้ายด้วยอิปิโส 62 เท่าอายุ
    จบแล้วล้มลงบนหมอนทันที

    กะว่าจะสัมปะจิตฉามิ...อีก108จบ
    แต่ไม่รอดครับ!!!
    คืนนี้ลองใหม่ใช้สูตรเดิมแต่จะตามด้วย
    สัมปะจิต 108 จบนะฮะ
     
  18. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    สวดมนต์อะไรฮะ

    ก่อนหน้าลุงแมวเคยบอกว่า ปฏิบัติแบบอานาปานะ มาวันนี้พูดอีกอย่าง หรือทำหลายแบบหลายวิธีฮะ :eek:(deejai)
     
  19. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    .................อันที่จริง นันทิ ตัณหาราคะ ความเพลินพอใจ ในขันธิ์ห้า นั้นแหละ คือ ตัว อุปาทาน:cool:
     
  20. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    ภาวนาควรทำหลังสวดมนต์นะฮะ
    จะสวดมากสวดน้อยแล้วแต่บุคคลครับ
    ตามด้วยภาวนาดูลมหายใจเข้าออก
    บริกรรมด้วยพุทโธ จนจิตสงบก็เหลือแต่ลม
    ตามดูไป ดูไป ถ้าสติหายเมื่อไรจะเจอนิมิต
    โน่นนี่นั่น
    ต้องมีสติไว้อย่าเคลิ้ม อย่าเคลิ้ม
    ลุงแมวเอาหนังสือเป็นอาจารย์มาก่อน
    ตอนนี้จะเอาเวบพลังจิตเป็นอาจารย์
     

แชร์หน้านี้

Loading...