โพชฌงค์ ธรรมของพระอริยะเจ้า

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย ขันธ์, 1 กุมภาพันธ์ 2008.

  1. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    เอ....สงสัยมีทำผิดด้วย

    เพราะปรกติ ปิติ แล้วจะ สุข ผมเลยน้อมสภาวะธรรมสุขเข้ามา ก็แก้ปิตินี้ได้
    เหมือนกัน แต่ไปอ่านพระสูตรที่คุณวิทยกมา ก็สงสัยตรงที่ ปิติไม่มีอามิส เลย
    สงสัยจะทำอะไรไม่ถูกหรือเปล่า เพราะอาการปิติระงับไปมันเหมือนๆกับ การ
    ระงับที่คุมลมหายใจ แต่ผมเดินสุขแทน

    ก็แสดงไว้หน่อย เพื่อพลาดพลั้ง หลายๆคนจะได้ตะเอาไว้ระลึก


    * * * * * *

    กรณี คุณฐาณัฏฐ์

    ขออนุญาติตอบ เศร้าหมองเพราะมีจิต ก็แก้ที่จิตอย่าให้มันจับอะไรมาเล่น
    สุข หรือ ทุกข์ก็หมองทั้งนั้น อันนี้ก็เทียบได้กับ มรณะสติ นะ มาเผาเรือน
    กันเถอะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กุมภาพันธ์ 2008
  2. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ปีติ ไม่มีอามิส แต่ใจที่มีปีติ และ ตัณหาย่อมมีอามิส คือ ลำพังเกิดอะไรขึ้นกับตัวก็ตาม มันไม่มีทุกข์หรอก แต่หากว่าหลังจากนั้น เราจะมี ตัณหาตามมา สิครับ

    ปกติ ปีตินั้น อาจจะไม่สุขก็ได้ มีหลายรูปแบบครับ อุพเพงคาปีติ คือ กายไหว สั่นสะท้าน คุณ เอกวีร์ลองคิดสิว่า ถ้าคนไม่เท่าทัน ปีติตัวนี้ เขาจะทุกข์หรือว่า สุข
     
  3. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ว่าแล้วเชียว ต้องเอาสติตามให้ทัน กำลังลอง
    หมุนดูอยู่ก็มันดีครับ แต่ขอลองดูก่อน พึ่งเห็น
    อะไรไหวๆ ถ้าตอบแบบล้นๆ มันต้องดับ
     
  4. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ธรรมที่ ทำให้แ่ช่มชื่น คลายความเศร้าหมอง ก็ต้องทำจิตให้ยอมรับในสภาวะปัจจุบันก่อน เพื่อดับตัณหา
    เมื่อจิตยอมรับ อะไรก็ได้ เราจะเห็นอะไรดีไปทุกอย่าง เราจะรู้สึกดีขึ้นมาที่เราได้ยืนสูดอากาศ เราจะรู้สึกดีเพียงแค่ได้ จิบน้ำชา เพราะว่าตัณหามันไม่ก่อนตัว

    เมื่อ เรามีจิตใจเช่นนั้นแล้ว ระลึกให้บ่อย แล้วน้อมจิตให้เกิดอารมณ์เช่นนั้นบ่อยๆ
    ธรรมชาติของจิต พอทำอะไรบ่อยๆ มันก็เป็นไปเอง พอคราวหลังไม่ต้องทำมันก็เป็นไปเอง

    เช่นเดียวกัน พอเรามีตัณหาบ่อยๆ คราวนี้ ไม่ต้องมีมันก็เกิดขึ้นเองโดยไม่รู้ตัว

    ก็ต้องทวนกระแส ครับ
     
  5. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ทีนี้ มีเรื่องอยากจะแนะท่านเอกวีร์อีก แต่ว่าไม่บอกดีกว่า เพราะว่าพุทธจริต นี้ต้องให้ไปค้นเอาเอง แนะให้ว่า จิตที่วิตกกับสิ่งใด เป็นเวลานาน นานเข้ามากๆ จะกลายเป็น นิสัย เป็น อุปนิสัย เป็น กมลสันดาน เป็น ภพเป็นชาติ ติดเลย

    ปีตินี้ก็เหมือนกัน พอไม่ห้าม ไม่พิจารณา พอนานๆ ไป ก็ติดเหมือนกัน
    สุขนี้ก็ติด อะไรๆ ก็ติด เรียกว่า ยึดในอัตภาพเช่นนั้นตลอด

    ทวนให้ได้เท่านั้นครับ อะไรเกิดขึ้น ให้รู้ ให้เห็นมันดับ ให้เห็นมันเกิด คราวนี้ก็จะเห็นเหตุดับที่เหตุได้เอง
     
  6. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    ขออนุญาติเสริมเล็กน้อย

    อุปกิเลส 10 แห่งวิปัสสนา มี
    โอภาส ปีติ ญาณ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ อุเบกขา นิกันติ


    จะเห็นว่า ปีติ สุข ปัสสัทธิ ถึงจะดูเหมือนเป็นของดี แต่ก็ต้องระวัง...
     
  7. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    (๓๑๖) วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ (อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา, ธรรมารมณ์ที่เกิดแก่ผู้ได้ตรุณวิปัสสนา หรือวิปัสสนาอ่อนๆ ทำให้เข้าใจผิดว่าตนบรรลุมรรคผลแล้ว เป็นเหตุขัดขวางให้ไม่ก้าวหน้าต่อไปในวิปัสสนาญาณ — im-perfection or defilements of insight)
    ๑. โอภาส (แสงสว่าง — illumination; luminous aura)
    ๒. ญาณ (ความหยั่งรู้ — knowledge)
    ๓. ปีติ (ความอิ่มใจ — rapture; unprecedented joy)
    ๔. ปัสสัทธิ (ความสงบเย็น — tranquillity)
    ๕. สุข (ความสุขสบายใจ — bliss; pleasure)
    ๖. อธิโมกข์ (ความน้อมใจเชื่อ, ศรัทธาแก่กล้า, ความปลงใจ — favor; resolution; determination)
    ๗. ปัคคาหะ (ความเพียรที่พอดี — exertion; strenuousness)
    ๘. อุปัฏฐาน (สติแก่กล้า, สติชัด — established mindfulness)
    ๙. อุเบกขา (ความมีจิตเป็นกลาง — equanimity)
    ๑๐. นิกันติ (ความพอใจ, ติดใจ — delight)
    ดู (๒๗๐) วิสุทธิ ๗ โดยเฉพาะข้อ ๕ คือ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ
    Vism.633. วิสุทฺธิ.๓/๒๖๗.

    http://www.dhammathai.org/dhamma/group10.php?#316
     
  8. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ปิติก็ดี ปัสสัทธิก็ดี หรืออะไรๆก็ดี ล้วนไม่ใช่ทาง

    สิ่งที่ต้องเห็นและตามให้ทัน คือ วาระจิต จึงจะถอนทุกอย่างได้

    เช่นนี้ใช่หรือเปล่า อ.ขันท์วิมุตติ
     
  9. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    เรียก อ.ขันท์วิมุตติ ไม่รู้จะหมายถึงใคร

    แต่คิดว่า คงไม่ใช่กระผมเป็นแน่ เพราะ ท่านเอกวีร์ มีปัญญามากกว่า จึงไม่น่าที่จะถามผู้มีปัญญาน้อยกว่า

    ดังนั้น อ.ขันท์วิมุตติ น่าจะหมายถึง คุณขันธ์ ผู้ซึ่งเข้าถึง ความวิมุตติ แล้ว เป็นแน่แท้
     
  10. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    ปีติมีอามิสก็คือปีติที่เกิดขึ้นเพราะความพอใจในกามคุณน่ะครับ ดังพระสูตรนี้ครับ



    <CENTER>นิรามิสสูตร
    </CENTER> [๔๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปีติมีอามิสมีอยู่ ปีติไม่มีอามิสมีอยู่ ปีติที่
    ไม่มีอามิสกว่าปีติที่ไม่มีอามิสมีอยู่ สุขมีอามิสมีอยู่ สุขไม่มีอามิสมีอยู่ สุขไม่มี
    อามิสกว่าสุขไม่มีอามิสมีอยู่ อุเบกขามีอามิสมีอยู่ อุเบกขาไม่มีอามิสมีอยู่
    อุเบกขาไม่มีอามิสกว่าอุเบกขาไม่มีอามิสมีอยู่ วิโมกข์มีอามิสมีอยู่ วิโมกข์ไม่มี
    อามิสมีอยู่ วิโมกข์ไม่มีอามิสกว่าวิโมกข์ไม่มีอามิสมีอยู่ ฯ
    [๔๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปีติมีอามิสเป็นไฉน กามคุณ ๕ เหล่านี้
    กามคุณ ๕ เป็นไฉน คือ รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่า
    พอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ฯลฯ โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย
    อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย กามคุณ ๕ เหล่านี้แล ปีติเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้ เรา
    เรียกว่า ปีติมีอามิส ฯ
    [๔๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปีติไม่มีอามิสเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัย
    นี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและ
    สุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็น
    ธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่
    สมาธิอยู่ นี้เราเรียกว่า ปีติไม่มีอามิส ฯ
    [๔๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปีติไม่มีอามิสกว่าปีติไม่มีอามิสเป็นไฉน
    ปีติที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุขีณาสพผู้พิจารณาเห็นจิตซึ่งหลุดพ้นแล้วจากราคะ จากโทสะ
    จากโมหะ นี้เราเรียกว่า ปีติไม่มีอามิสกว่าปีติไม่มีอามิส ฯ
    [๔๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขมีอามิสเป็นไฉน กามคุณ ๕ เหล่านี้
    กามคุณ ๕ เป็นไฉน คือ รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอ
    ใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ฯลฯ โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกายอันน่า
    ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย กามคุณ ๕ เหล่านี้ สุขโสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้
    นี้เราเรียกว่า สุขมีอามิส ฯ
    [๔๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขไม่มีอามิสเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุข
    เกิดแต่วิเวกอยู่ ฯลฯ เธอมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนาม
    กาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้
    ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขามีสติอยู่เป็นสุข นี้เราเรียกว่า สุขไม่มีอามิส ฯ
    [๔๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขไม่มีอามิสกว่าสุขไม่มีอามิสเป็นไฉน
    สุขโสมนัสที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุขีณาสพผู้พิจารณาเห็นจิตซึ่งหลุดพ้นแล้วจากราคะ จาก
    โทสะ จากโมหะ นี้เราเรียกว่าสุขไม่มีอามิสกว่าสุขไม่มีอามิส ฯ
    [๔๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุเบกขามีอามิสเป็นไฉน กามคุณ ๕
    เหล่านี้ กามคุณ ๕ เป็นไฉน คือรูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุอันน่าปรารถนา น่าใคร่
    น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ฯลฯ โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วย
    กายอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ เหล่านี้แล อุเบกขาเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ ๕
    เหล่านี้ เราเรียกว่า อุเบกขามีอามิส ฯ
    [๔๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุเบกขาไม่มีอามิสเป็นไฉน ภิกษุในธรรม
    วินัยนี้ บรรลุจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับ
    โสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้เราเรียกว่า
    อุเบกขาไม่มีอามิส
    [๔๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุเบกขาไม่มีอามิสกว่าอุเบกขาไม่มีอามิส
    เป็นไฉน อุเบกขาเกิดขึ้นแก่ภิกษุขีณาสพผู้พิจารณาเห็นจิตซึ่งหลุดพ้นแล้วจาก ราคะ
    จากโทสะ จากโมหะ นี้เราเรียกว่า อุเบกขาไม่มีอามิสกว่าอุเบกขาไม่มีอามิส ฯ
    [๔๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็วิโมกข์มีอามิสเป็นไฉน วิโมกข์ที่ปฏิสังยุต
    ด้วยรูป ชื่อว่าวิโมกข์มีอามิส วิโมกข์ที่ไม่ปฏิสังยุตด้วยรูป ชื่อว่าวิโมกข์ไม่มี
    อามิส ฯ
    [๔๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็วิโมกข์ไม่มีอามิสกว่าวิโมกข์ไม่มีอามิส
    เป็นไฉน วิโมกข์เกิดขึ้นแก่ภิกษุขีณาสพผู้พิจารณาเห็นจิตซึ่งหลุดพ้นแล้วจากราคะ
    จากโทสะ จากโมหะ นี้เราเรียกว่าวิโมกข์ไม่มีอามิสกว่าวิโมกข์ไม่มีอามิส ฯ

    <CENTER>จบสูตรที่ ๑๑
    </CENTER><CENTER>จบอัฏฐสตปริยายวรรคที่ ๓
    </CENTER>
    ที่มา:
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=18&A=6234&Z=6294


    ปล.
    ส่วนเรื่องปัสสัทธินั้นผมเคยมีประสบการณ์การกำหนดสติรู้ตัวทั่วพร้อม ความจริงแล้วก็ตรงๆตัว พอเราตามดูลมหายใจ ความรู้สึก ความคิด และอารมณ์ ที่เกิดขึ้นในกายไปเรื่อยๆ ลมหายใจจะค่อยๆเบาบางลงหายใจเข้า-ออกช้าและละเอียดจนกระทั่งเหมือนกับไม่ได้หายใจ มีเพียงความรู้สึกว่ามีลมหายใจไหลเวียนเข้าออกอย่างแผ่วเบาอยู่ภายในกายของเรา โดยที่ไม่มีอาการกระเพื่อมของกายแต่อย่างใด พออาการของกายเริ่มสงบระงับเช่นนี้ ความคิดและอารมณ์ต่างๆก็จะค่อยๆเบาบางเจือจางตามไปด้วย เมื่อนั้นความสุขใจที่เกิดจากความสงบก็จะแผ่ซ่านไปทั่วร่างกาย ทำให้กายและใจระงับลงด้วยสุขจากสมาธิครับ

     
  11. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ตัวปัสสัทธิ จริงๆ แล้วมันมี ลึกซึ้งในขั้นปรมัต อีกระดับหนึ่งครับ คุณ WIT คือ ถอนออกด้วยปัญญา เพราะเหตุที่ว่า ทันในปีติ และ ไม่หลงว่า ปีติ นั้นเป็นเราเป็นของเรา หรือ เป็นอาการที่เกิดขึ้น ซึ่ง หากเราปฏิบัติไประดับหนึ่ง ในด้านวิปัสสนาญาณ ธรรมต่างๆ จะย่นย่อเข้ามา คือ จะเห็น สุขเป็นเรา เห็นปีติเป็นเรา ไปตลอด
    จนไม่คิดถอน

    ยกตัวอย่างว่า ในการที่ คุณ wit ทำสมาธิ หรือ อานาปานสตินั้น มันระงับด้วย ความสงบไปเอง ตามลำดับ พอจิตถอนมันก็ เป็นไปตามปกติ คือ ไม่ใช่ ละปีติ หรือ กระทำปัสสัทธิ ในเชิง วิปัสสนา แต่เป็นในด้านสมถะ เพราะว่า ยังต้องทำสมาธิ

    ทีนี้ หากว่า เดินวิปัสสนาญาณ แล้ว จะเห็นถึงปีติ เวลาธรรมย่นเข้ามา จะเห็นแต่ปีตินี้ ตลอดเวลา จนทำให้เราคิดว่า มันติดอยุ่กับเรา แล้วมันจะสงสัย รวมถึงตัวสุขด้วย เป็นตัวเราไปเลย
    มันจะเกิด ในระดับโพชฌงค์ คือ สติจ่ออยู่กับธรรมตลอดเวลา มันจึงกลายไปเป็น ปีติ ในองค์โพชฌงค์ คือ หมุนอยู่อย่างนั้น บ่อยและ ตลอด
    ก็ทีนี้ การถอนนั้น จึงต้องทวน กระแสคือ ละให้ได้ด้วยปัญญา คือ เห็นมันตามสัจธรรมจริงแล้ว ปัสสัทธิมันด้วย ความคิดได้ คือ เห็นว่ามันไม่ใช่เรา ก็สลัดคืนได้ ก็จะเกิดการปัสสัทธิที่ไม่ต้องเข้าต้องออก
    อาการก็คือ จะสงบเย็น แบบไม่ต้องทำสมถะ แต่จะปัสสัทธิอยุ่อย่างนั้นตลอด

    ทีนี้ เรื่องปีติมีอามิส นั้น อาจจะ เข้าใจกันคลาดเคลื่อนนิดหน่อย คือ ปีติที่ผมพูดนั้น เป็นปรมัตธรรม คือ ปีติที่ไม่มีอามิสยิ่งกว่าอามิส คือ แยกระหว่างปีติ ที่เกิดขึ้นจากปัญญา และ ตัณหาออกจากกัน
    ไม่ใช่ปีติที่ มีตัณหาหรือ กามคุณเป็นเครื่องล่อครับ
     
  12. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439

แชร์หน้านี้

Loading...