อธิศีลสำหรับวัยรุ่น

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Ahimsa, 27 มีนาคม 2015.

  1. Ahimsa

    Ahimsa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    51
    ค่าพลัง:
    +38
    สวัสดีคับ คือผมเป็นนักศึกษาอยู่ชั้นปี 2 แล้วมีความตั้งใจว่าจะรักษาศีลให้บริสุทธิ์เท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อที่จะเป็นฐานให้ฌานและต่อไป คือผมอยากทราบว่า
    1.ถ้าเราอยู่ในวงเพื่อนแล้วเพื่อนพูดไร้สาระ แบบตลกๆ แล้วเราขำนี่ถือว่าศีลด่างพร้อยรึเปล่า(ยินดีเมื่อผู้อื่นทำผิดศีล) แต่ผมก็ไม่แน่ใจว่าที่เค้าพูดผิดศีลรึเปล่า (ค่อนข้างลำบากใจในศีลข้อ มุสา เพราะเราไม่รู้ว่าแค่ไหนคือไม่ผิด ไม่ด่างพร้อย)
    2.ถามว่าจะปฏิบัติตัวอย่างไรในหมู่วัยรุ่นซึ่งกลุ่มไหนๆก็ต้องมีการพูดนินทาทำผิดศีลกันอยู่แล้ว ให้เราสามารถรักษาศีลได้อย่างบริสุทธิ์
    ขอบคุณครับ :)
     
  2. Apinya Smabut

    Apinya Smabut นิพพานังสุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    1,398
    กระทู้เรื่องเด่น:
    57
    ค่าพลัง:
    +2,631
    เราเฮฮาไปกับเขาได้ แต่ใจของเราอย่าให้ไปยินดีด้วย เหมือนเวลาที่มีคนสั่งให้เราทำการบ้าน เราก็ทำไปสักแต่ว่าได้ทำเท่านั้น แต่ใจเราไม่ยินดีด้วย เราสามารถยิ้มหัวเราะได้โดยที่ใจไม่มีความยินด้วย คือ ประมาณว่าเมตตาเขาไปขี้เกียจขัดคอ เขาจะกินเหล้าเมากัญชาก็เรื่องของเขา เราไม่ยินดีด้วย แต่ไม่ขัด

    และในขณะเดียวกันก็พยายามคบเพื่อนที่มีนิสัยชอบในเรื่องของศีลด้วย เข้าวัดบ่อยๆ โดยเฉพาะคนในครอบครัว เราต้องพยายามรักษาศีล ทำสมาธิบ่อยๆ ทำตัวเองให้เป็นของจริง เดี๋ยวคนรอบข้างก็จะคล้อยตามเราเอง แม้ไม่ทั้งหมดทีเดียว แต่ผ่านไปสักพักคนรอบข้างของเราจะคล้อยตามเราเองถ้าเราทำจริง

    ถ้าใจเรายังไม่นิ่ง ยังไม่ได้ฌาน 4 ขึ้นไป ยังไม่ได้เป็นพระอริยะเจ้า ก็อย่าเพิ่งสวนกระแสโลกให้มากนักที่ส่วนใหญ่มีแต่กิเลสทั้งนั้น เราก็แค่เฮฮาไปกับเขา แต่ใจเราไม่ยินดีด้วย เรามีหลักของเราเอง มีศีลเป็นหลักที่พึ่ง เห็นเขานินทาคนอื่นเราก็ดูว่าเหตุของเขามันถูกต้องมั้ย ฟังนิ่งๆสักพักมีโอกาสก็พูดในเชิงเห็นด้วยบ้าง หรือตั้งข้อสังเกตุในการขัดแย้งในมุมมองอื่นบ้าง สลับกันไปตามแต่โอกาส และในขณะเดียวกันเราก็ไม่มีความยินดีด้วย

    แต่ยังไงสุดท้ายแล้วเราก็ต้องตีตัวออกห่างอยู่ดีถ้าเมื่อไหร่ที่ศีลของเรากับเพื่อนไม่เสมอกัน ก็จะมีเหตุให้ต้องห่างกันไป เพื่อนคนไหนที่มีศีลเสมอเราก็จะยังคบกันได้ต่อไปตามปกติ

    ที่สำคัญสิ่งที่จะสนับสนุนความคิดที่ดีแต่สวนกระแสโลกของเราก็คือ พลัง และ อำนาจ ไม่ว่าจะเป็นการ มีเพื่อนเยอะ , มีผลงานเป็นที่ยอมรับ , มีอำนาจทางการเงิน , มีผู้ใหญ่หนุนหลัง , หรือ พละกำลังที่มีมากกว่าคนทั่วไป เช่น นักกีฬาเก่งๆ นักเพาะกาย ฯลฯ เหล่านี้จะเป็นกำลังช่วยสนับสนุนความคิดของเราได้เป็นอย่างดี สมมุติว่าเราถือศีลเป็นหลักซึ่งขัดต่อความเคยชินส่วนใหญ่ของคนในสังคม พลังและอำนาจที่ว่านี้ก็เป็นตัวช่วยให้คนส่วนใหญ่ยอมรับในตัวเราได้ง่ายและเร็วขึ้น ศัตรูที่ไม่ชอบเราที่คิดจะกลั่นแกล้งและเบียดเบียนเราจะไม่กล้าทำอะไรมากนัก เพราะมีพลังและอำนาจเหล่านี้ต้านไว้อยู่ เขาก็จะไม่กล้าทำอะไร

    ที่สำคัญก็คือ เปลี่ยนตัวเองให้เป็นของจริงก่อน แล้วคนรอบข้างที่คล้อยตามเราจะเป็นเกราะป้องกันและช่วยสนับสนุนในการทำดีของเราไปเอง อาจจะใช้เวลาสักหน่อย แต่ถ้าเรายืนกรานจะถือศีลซะอย่างก็ไม่มีใครมาห้ามเราได้ ประมาณว่า เอ็งจะทำบาปก็ทำไปข้าไม่ขัด แต่ไม่ยินดีด้วย ไม่ให้ใจยินดีในบาป แต่บางครั้งก็แสดงความไม่ยินดีออกมาให้เขาได้เห็นบ้างแต่ต้องเป็นการแสดงออกในเชิงออกความเห็น และต้องมีความเมตตาต่อเขาในขณะที่เราแสดงความคิดเห็นด้วย ประมาณนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มีนาคม 2015
  3. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ก็ให้ดู ความยินดี ยินร้าย

    เราจะไม่สามารถ ห้ามผัสสะได้ เพราะ ขันธ์ภายนอก(ที่เรียกกันว่า เพื่อน) จะไม่ขึ้นกับ
    ผู้ปฏิบัติ ไม่ว่า ผู้ปฏิบัตจะอบรมจิตดีมาขนาดไหน ก็ห้ามเพื่อนไม่ให้พูดเล่นไม่ได้

    ลำพังแค่การพูดเล่น เพื่อให้ หัวเราะกัน จัดเป็น มุสาวาทา แล้ว ....ทั้งนี้ มุขตลกส่วน
    ใหญ่จะอาศัย " ปฏิฆะสัญญา " เป็นตัวกระตุ้นให้ หัวเราะกลบเกลื่อน

    ในเมื่อเราห้าม ผัสสะ ไม่ได้ ก็ให้มาพิจารณา จิต หลังการกระทบ เรื่องที่น่าหัวเราะ

    ว่าจิตเรา ยินดี ยินร้าย ไหม......

    เราอาจจะหัวเราะ หรือ ไม่หัวเราะเลยก็ได้ แต่ อาการยินดี ยินร้าย ย่อมปรากฏ ต่างหาก

    เช่น เราหัวเราะ แต่ ใจภายใน มีความยินร้าย ไม่ชอบ แต่ก็หัวเราะจนน้ำตาเล็ด แบบนี้ก็มี
    ให้กำหนดรู้ สภาพความยินร้ายภายในให้ทัน อย่าไป พิจารณาที่ การหัวเราะ ซึ่งเป็นอาการ
    สมมติ ที่ปรุงไปตามความวิบาก ตามปัจจัย ของการ " คบเพื่อน "

    พอเห็นได้บ่อยๆ เราจะ จำแนก การหัวเราะได้ว่า หัวเราะเพราะเรื่องราวจริงๆ หรือ หัวเราะเพราะ
    ว่า แสดงออกความเป็นเพื่อน ......

    เมื่อแยก การหัวเราะก็ส่วนหนึ่ง กริยาหนึ่งของกาย เรื่องราวที่ชวนหัว ชวนปวดหัว
    ชวนอยากซัดสักป๊าป ไว้อีกส่วนหนึ่ง .....ให้แยกตัวออกมาจาก อาการบัญญัติเล่านั้น
    มาพิจารณา จิตผู้รู้ ที่แยกออกมา สังเกต พฤติกรรม พฤติจิต

    เมื่อยกแยกเห็น จิตผู้รู้ ออกมาแล้ว อย่าไป อุปทานว่า นั่นคือเรา ให้สังเกตุ จิตผู้รู้
    เขาไม่เที่ยง เดี๋ยวก็แยกออกมา เดี๋ยวก็กลับเขาไปรวมกัน

    เห็นการแยก การรวมกัน เป็นเรื่อง การเจริญ และ การเสื่อม ของจิตตั้งมั่น

    เราวางจิตนมสิการธรรมอย่างไร จิตจึงเจริญ เราก็ กำหนดรู้

    เราวางจิตมี นมสิการธรรมอย่างไร จิตจึงเสื่อม เราก็ กำหนดรู้

    การกำหนดรู้ ปฏิปทา ในการอยู่กับ หมู่เพื่อน เรารู้ทั่วถึงหรือว่ายัง ก็ทราบไปตามกำลัง

    แล้ว ยกยินดี ยินร้าย ในการรู้ ปฏิปทานี้อีกทอดหนึ่ง ....ถึงจะ รู้ได้ว่า เรายึดมั่นถือมั่นศีล พรต
    หรือว่า แค่อาศัยระลึกเพื่อการภาวนา
     
  4. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    " ทุกงานสันนิบาติ ทุกดวงใจ หว้าเหว่ " พุทธวัจนะ


    หมายถึง

    การสังสรรของ มนุษย์ย่อมมีอยู่ทุกที่ เพราะ นั่นคือ วิบาก ปัจจัยที่ทำให้เรียกว่า มนุษย์

    แต่ในทุกการสังสรร นั้น ทุกดวงจิตย่อมจมทุกข์ ว้าเหว่ ไม่เห็นหนทางออกจากทุกข์

    แม้นเราจะอบรมจิตแล้ว สำเร็จดีแล้ว เราก็ยังมี วิบากในการเป็นมนุษย์ แบกเอาไว้อย่างเดิม


    การกำหนดรู้ การหลีกออกจากสมาคม โดยยังอยู่ในสมาคม ผู้เป็นบัณฑิต ย่อมฝึกตนไว้แล้ว

    และ เพราะฝึกตนไว้แล้ว ต่อให้ งานสันนิบาติ ร่าเริง บันเทิงขนาดไหน ใจภายในก็ สันโดษ ไม่ว้าเหว่ อยู่ใกล้พระศาสดาไม่จำกัด กาล
     
  5. Apinya Smabut

    Apinya Smabut นิพพานังสุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    1,398
    กระทู้เรื่องเด่น:
    57
    ค่าพลัง:
    +2,631
    เรื่อง กรรมทางวาจานั้น เช่น ถ้าโกหกบ่อยๆ เมื่อไหร่ก็ตามที่กรรมนั้นให้ผล เวลานั้นไม่ว่าเราจะพูดอะไรก็ตามจะเป็นความจริงหรือไม่ก็ตาม เวลานั้นจะไม่มีใครเชื่อในคำพูดของเราเลย แถมกรรมนี้สามารถส่งผลให้ตกนรกได้อีกด้วย ถ้ามีโอกาสก็หาทางชี้ให้คนรอบข้างเราได้เห็นถึงผลของกรรมบ้าง เพราะทุกอย่างที่เราได้รับในชีวิตก็เป็นผลของกรรมทั้งนั้นเพียงแต่คนส่วนใหญ่ไม่สังเกตุเห็นเท่านั้น เราก็ชี้ให้เขาเห็นถึงความจริงตรงนี้ ยอดทีละนิดละหน่อย หรือนานๆทีก็ได้ เขาจะได้ไม่รำคาญมากนัก
     
  6. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ถ้าเรา ภาวนาเป็น

    เพื่อน จะชวนคุยเรื่องอะไร จิตเราก็ เอามาเป็น ต้นทุน เอามาเป็น ปัจจัย อาศัย
    ระลึก เห็น อธิจิต ได้ตลอดเวลา

    จิตจะไม่ห่างจากฌาณ แม้นกริยากายของเรา อาจจะแสดง อาการหัวเราะ

    และ หากเราไม่ติด ไม่ยึดมั่นในศีล พรต เพราะกำหนดรู้ เวทนาอันเกิดจากการมีจิต
    ไม่ห่างจากฌาณ มีจิตไม่ห่างการภาวนา

    เราจะพบ ความอมตะ ที่อยู่เหนือโลก ....โลกเขาก็สรวลเสเฮฮา ไปอย่างนั้น
    สิ่งใดยังติดขันธ์ ก็มีขันธ์แสดงออกไปอย่างนั้น แต่ ใจของผู้ฝึกดีแล้ว ย่อมสงบ เป็นสุข
     
  7. Ahimsa

    Ahimsa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    51
    ค่าพลัง:
    +38
    ขอบคุณทุกท่านสำหรับคำตอบมากครับ
    อยากถามอีกว่าโดยพื้นฐานเดิมผมจะชอบพูดเพ้อเจ้อ ไร้สาระ เล่นมุขต่างๆมากมาย ผมก็กลัวว่าถ้าพูดออกไปจะทำให้ศีลด่างพร้อย แต่ถ้าไม่พูดก็เหมือนอึดอัด ตอนนี้ก็เลยทำตัวไม่ถูกเลยคับ ขอหลักในการรักษาศีลข้อมุสา แบบง่ายๆด้วยครับ ขอบคุณมากครับ :)
     
  8. Apinya Smabut

    Apinya Smabut นิพพานังสุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    1,398
    กระทู้เรื่องเด่น:
    57
    ค่าพลัง:
    +2,631
    ไม่โกหกเพื่อประโยชน์ของเรา หรือเพื่อทำลายประโยชน์อันชอบธรรมของคนอื่น
    ส่วนเรื่องเพ้อเจ้อ ไร้สาระ ถ้าทำเพื่อความบันเทิงของหมู่คณะเป็นบางครั้งก็ไม่เป็นไร แต่อย่าบ่อยนัก และในขณะที่พูดก็ต้องมีสติมีเป้าหมายว่าเพื่อความผ่อนคลายของเพื่อนๆ ไม่ใช่พูดไปด้วย สติเลื่อนลอยไปด้วย ปล่อยใจให้เตลิดจนลืมลมหายใจของตัวเองแบบนี้ก็ไม่ถูก

    ง่ายๆก็ทำไปแบบสักแต่ว่าทำไม่ยินดีในการกระทำนั้นก็พอ แล้วพยายามพูดอะไรทุกอย่างต้องพูดแต่ความจริง และต้องมีประโยชน์เท่านั้น ไม่มีประโยชน์จะไม่พูด เมื่อถึงเวลาต้องไร้สาะกับเพื่อนก็จะเปลี่ยนเป็นตลกแต่มีสาระมากขึ้น ไม่สักแต่ว่าตลกไปเฉยๆเหมือนแต่ก่อน

    สรุปก็ ยึดหลักพูดความจริง และมีประโยชน์ให้มากที่สุดในแต่ละวันให้ได้มากกว่าคำพูดที่ไร้สาระ ทำทุกวัน เดี๋ยวเราก็จะเป็นคนที่มีสัจจะและความจริงขึ้นมาเอง
     
  9. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ต้องค่อยเป็นค่อยไป....

    เมื่อก่อนเราไม่เคยสมาทานศีล เราก็ไม่ ส่งจิตไปคอยพิจารณา ทำการเห็น

    พอมาทำการเห็น ต้องอดทน มี ตบะ มีขันติ แผ่เมตตาตนเองเป็น
    อภัยตนเองให้เป็น ....ก็จะไม่ " เหลิง " " ระเริงเกินไป "

    พอมีตบะ....ขจัดกิเลสได้ ....หรือ มีขันติ ทนต่อการอยู่ร่วมกัน กับการปรากฏของมัน

    สองตัวนี้ จะช่วยอุปการะการภาวนา ให้ดำเนินต่อได้ โดยไม่ ตีโพยตีพาย
    และ ไม่เหลิงกิเลส เกินไป


    อกุศลมีในจิต เราก็กำหนดรู้ไป ....นี่เป็นการฝึก

    คนอื่นๆ อกุศลมีในจิต เขาไม่เคยกำหนดรู้

    คนฝึก กับคนไม่ฝึก ต่างกัน ตรงการทำการเห็น ต่างกันตรงการพิจารณา ด้วยจิตตั้งมั่น เป็นกลาง

    ฝึกๆเรื่อยๆ จะค่อยๆ แยกธาตุ แยกขันธ์ เป็น ...

    พอแยกธาตุ แยกขันธ์เป็น เราจะ รักษาศีลด้วยสติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ
    ก็เพราะ ยังมีศรัทธาพละต่อผู้สิ้นกิเลส มีวิริยะพละ

    พละอย่างไร อินทรีย์ก็อย่างนั้น

    พอเรามี อินทรีย์การภาวนาดี จะค่อยๆ เข้าใจ ความกังวลในการลูบคลำศีล
    และ เลิกลังเลสงสัยในมรรค ในผล มีศรัทธามันคงเอง
     
  10. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ศีลเพื่อสมาธิ สมาธิเพื่อปัญญา ปัญญาเพื่อวิมุตติ

    จขกท.เป็นคนรุ่นใหม่ พิจารณาความหมายของศีล ดังนี้

     
  11. Ahimsa

    Ahimsa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    51
    ค่าพลัง:
    +38
    ขอบคุณทุกๆท่านอีกครั้งนึงครับ อยากถามเพิ่มอีกซักนิดนึงคับ
    1.พอเราปฏิบัติไปสักพักแล้วเริ่มเกิดศรัทธาในพระรัตนตรัยมากขึ้นหรือเรียกภาษาวัยรุ่นว่า "อิน" อะคับ เวลาตั้งใจจะพูดธรรมะคำสอนของครูบาอาจารย์ที่ฟังมาให้คนบางคนที่สนิทฟัง(ตั้งใจจะพูดให้เค้าเกิดความสนใจในธรรมะ) แต่พอพูดออกไปเหมือนไปกระตุ้นอัตตาแลัวชอบพูดแบบยึดมั่นในสิ่งที่เราคิดเกินไปทำให้เรามองไม่เห็นภาพรวมและทำให้รู้สึกผิดทุกทีเลยอะคับ รู้สึกผิดว่าเรายังทำได้ไม่เท่าท่านแต่เอามาพูด อยากทราบว่าจะแก้ไขจุดนี้อย่างไรดีอะคับ ขอบคุณครับ :)
     
  12. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ไม่ต้องแก้......

    ทำไมไม่ต้องแก้ เพราะ มันมีการเห็น

    เป็นการเห็นที่วิเศษด้วย

    ภาษาบาลี ของคำว่า การเห็นที่วิเศษ คือคำว่า " วิปัสสนา "

    เวลาเห็น ให้วางจิตเป็นกลาง แยกออกมาเป็น ผู้รู้ ผู้ดู

    กิเลสจากการแสดงธรรม เป็นส่วนหนึ่ง แยกกันกับ ผู้รู้ ผู้ดู ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

    กิเลสจากการแสดงธรรม เป็นส่วนหนึ่ง แยกกันกับ จิตพุทโธ

    แยกธาตุ แยกขันธ์ ออกมาให้ได้ จน เออจริงแหะ มันมี จิตหนึ่ง ทำตัวเป็น
    ผู้สังเกตุ อกุศลมูลที่มีอยู่ในจิต ที่มีอยู่ในภพ(นักปฏิบัติ) ภพนักธรรม

    ทีนี้ เราก็แสดงธรรมไปอย่างเดิม แล้ว สังเกตความ "อิน" การจมเข้าไปใน
    ทิฏฐิธรรมเหล่านั้น ถ้าจมเป็นเนื้อเดียว ไม่มี " จิตหนึ่ง ธรรมหนึ่ง จิตพุทโธ"
    แยกออกมาเป็นคนดู ก็ให้เห็นไปเลยว่า จิตไม่ตั้งมั่น ไม่มีกำลัง มีอัสมิมานะ

    ทีนี้ ตอนไหนเราแสดงธรรม แล้ว จิตมันแยกออก รู้เห็น ทิฏฐิธรรมเหล่าใด
    ที่เป็นสัทธรรม นั่นเป็นปัญญาของพระพุทธเจ้า แล้ว เรามี จิตหนึ่งแยกออก
    มาจากสัทธรรมเหล่านั้น เนี่ยะ ตรงเนียะ ถือว่า ไม่มีอัสมมิมานะ

    เมื่อไหร่มี อัสมมิมานะ มันจะพูดธรรมได้น้ำไหลไฟดับ แต่ หลังจากนั้น จิตจะหมอง
    ใหญ่ไม่จริง คับแคบสุดลิ่มทิ่มประตู ด้วยซ้ำ

    เมื่อไหร่ไม่มี อัสมมิมานะ มันจะพูดธรรมตามเหตุที่ควรกล่าว และ หลังจากนั้น
    จิตจะโอฬารริก หาที่ตั้งไม่ได้ เป็นสุญญตา ใหญ่ไม่มีจริง(อนิมิต)
    ไม่มีที่ตั้ง(อัปณิหิต) นมสิการดีๆ ก็เห็นทาง เห็นธรรม

    นะ

    จังหวะการบรรลุธรรม พระพุทธองค์ตรัสมี 4 จังหวะ
    1. ฟังธรรม
    2. แสดงธรรม
    3. ..........
    4. ...........
     
  13. Apinya Smabut

    Apinya Smabut นิพพานังสุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    1,398
    กระทู้เรื่องเด่น:
    57
    ค่าพลัง:
    +2,631
    ยึดหลัก พูดให้เข้าใจง่ายๆภาษาชาวบ้าน ถูกคือถูก ผิดคือผิด เอาความรู้ที่เราได้จากการปฏิบัติเองมาพูดให้เขาฟังถ้าดูแล้วจังหวะนั้นเขาพร้อมจะรับฟังก็พูด ไม่พร้อมจะฟังก็ไม่ต้องพูด

    และที่สำคัญเราจะต้องปฏิบัติให้ได้ระดับหนึ่งก่อน อย่างน้อยก็ต้องได้มโนมยิทธิ แล้วไปดูสิ่งต่างๆที่คนทั่วไปบอกว่าไม่มีแต่พระพุทธเจ้าท่านบอกว่ามี เช่น นรก สวรรค์ ดูให้เห็นด้วยตนเอง

    เพราะอะไรน่ะเหรอ เพราะว่าเวลาเราสอนใครไป แม้เราจะสอนได้ถูกก็ตาม แต่คนที่รับฟังก็จะสะสมความคิดต่อต้านไว้เรื่อยๆเพราะยังไม่เคยเห็นเอง ยังมีข้อสงสัยมากอยู่ นานไปๆก็จะเริ่มปล่อยออกมา และคำถามสุดฮิตที่มักเป็นไม้ตายของคนที่คิดค้านในเรื่องที่เราบอกก็คือ แล้วที่พูดมาทั้งหมดนี้เคยเห็นเองหรือยัง หรือสักแต่พูดๆตามเขามา

    ถ้าเรายังไม่เคยเห็นเอง เราจะเป็นฝ่ายเสียเพราะอาจจะเกิดความไม่มั่นใจในตัวเองขึ้นมาได้ ถ้ายังมั่นใจก็ไม่เป็นไรปล่อยเขาไป แต่ถ้าไม่มั่นใจแล้วเราจะเสียหายมาก อาจจะสับสนไปเลย

    ดังนั้นควรที่จะทำคุณวิเศษอย่างใดอย่างหนึ่ง จะเป็น ฌานสมาบัติ หรือ มโนมยิทธิ ก็ได้ ให้เกิดขึ้นกับตัวเองเสียก่อน แล้วทีนี้ก็จะไม่มีความหวั่นเกรงต่อคำถามใดๆของคนอื่นอีกต่อไป ต่อให้เรารู้ไม่หมดทุกอย่าง แต่เราก็มีหลักของใจแล้วว่าสิ่งเหล่านี้เราเคยประสบพบเจอมาแล้ว ใครจะว่ายังไงก็ช่างหัวมัน จะทำให้วางอุเบกขาได้ง่ายขึ้น

    ถ้ายังไม่ได้ก็บอกไปเฉพาะในส่วนที่ทำให้เขาเข้าใจได้ง่าย เช่น ลองทำบุญให้ทานทุกวันนะ บุญจะช่วยให้สบายใจ มีใบหน้าที่ผ่องใสขึ้น , การรักษาศีลแบบต่อเนื่องสัก 3-4 เดือนจะทำให้ใบหน้าของเราเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น , ถ้าโกรธมากๆไฟจะเผาจนหน้าดำเป็นทุกข์ก่อนเป็นคนแรก อะไรประมาณนี้ ชี้ให้เขาเห็นผลของกรรมทั้งบุญและบาปในสิ่งที่เขาสามารถเห็นได้ง่าย ก่อน เรื่องลึกๆค่อยว่ากันทีหลัง ถ้าเขาถามค่อยบอก

    สรุปก็ พูดไปตามโอกาส พูดในสิ่งที่เราทำได้มากกว่าสิ่งที่เหนือความสามารถของเราในขณะนั้นๆ แต่สิ่งที่เหนือความสามารถของเรา แต่เราต้องการจะทำให้ถึงในอนาคตก็พูดบ้าง แต่อย่าบ่อยเกินไปนัก ต้องดูด้วยว่าเขาพร้อมรับมั้ย ถ้าไม่ก็เฉยไว้ก่อน ถ้าพร้อมแล้วค่อยแยบทีละนิดละหน่อย
     
  14. Ahimsa

    Ahimsa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    51
    ค่าพลัง:
    +38
    ขอบคุณทั้ง 2 ท่านมากครับ ตอบได้เคลียร์มากๆ
    กระผมมีข้อสงสัยว่าคือผมเป็นโรคสมาธิสั้น(ไปหาหมอกิน anti-depressant กับ ยาสมาธิสั้นอยู่)
    และเป็นโรคต่างๆอีกมากมาย เช่น พูดติดๆขัดๆ พูดลำบาก พูดแล้วเหนื่อย(เป็นเหตุให้อยากรักษาศีลข้อ 4 แบบจริงจังแล้วทำให้เรารู้สึกอาการดีขึ้นด้วย แต่ยังไม่หายซะทีเดียว) ปวดกล้ามเนื้อง่ายทั้งตัว ทำให้เวลานั่งขัดสมาธิจะปวดง่ายมากและก็ปวดเหมื่อยกล้ามเนื้อเกือบตลอดเวลา
    อยากทราบว่าคนกรณีแบบผมคือเป็นโรคสมาธิสั้นและโรคเยอะแบบนี้จะมีวิธีการปฏิบัติแบบไหนที่อาจจะเหมาะสมกับผมบ้างครับ
    ขอบพระคุณสำหรับธรรมทานของพวกท่านอย่างสูงครับ
     
  15. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    คนเรานั้น เวลาที่ จิตใจตนเห็นทางออก เห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์

    ร้อยละร้อย แทนที่จะ เดินต่อ เดินออกจากถ้ำ ก็มักจะ หวง ถ้ำที่มืดมิด

    ร้อยละร้อบ พอได้เข้าใจได้ว่า ตนกำลังจะเดินออกจาก ความมืด ก็มักจะหา
    ข้ออ้างสารพัด เพื่อที่จะ อยู่ที่เดิม

    การร้องเรียกความสนใจ โดยเอาตัวเอง จมจ่อมไว้ในความมืดมิด แล้วพอใจ
    กับการ ส่งมือ ส่งไม้ ของผู้ที่ผ่านมาผ่านไป มันจะไม่มีประโยชน์อะไรแก่
    ตัวเจ้าของ

    คุณ หากไม่ก้าวข้าม ไม่ออกมา ยังแสงสว่าง โน้มไปสู่ความสงบ

    พอใจกับการ อ้างโน้นอ้างนี้ อันเกิดจาก กาย ที่อาศัยได้เพียงไม่ถึงร้อยปี

    พอใจกับการอยู่ในถ้ำ ในคูหา ไม่กล้าพอที่จะให้จิตพ้น ภาวสวะ สาสวะ อาสวะ อาพาธ

    อันนี้ใครก็ช่วยคุณไม่ได้ เขาได้แต่บอกว่า ข้างนอกนี่เป็นที่หมดอาพาธ ให้คุณ
    น้อมใจละวาง ความหิวเคยๆ แล้วออกมา สัมผัสรับรู้รสข้างนอกนี้ดูบ้าง โดยที่
    ก็ยังมีกายตามปรกติ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มีนาคม 2015
  16. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    กายคือรูปกายเป็นอนัตตา เพราะไม่เป็นไปตามใจ ทำรูปกายหล่องามสมใจได้ยาก ไม่เป็นไปตามปรารถนา นี้คือไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตน ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน นี้คืออนัตตา ใจก็เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย นี่คืออนัตตา การทำใจให้เป็นอัตตา(ภาษาธรรม) คือการบริหารควบคุมใจให้ปรกติหรือมีความสุขด้วยสติ สติเป็นบรมธรรม เป็นธรรมอันยิ่งใหญ่ ทุกข์เกิดเนื่องจากผัสสะ คือการประจวบกันระหว่างอายตนะภายนอกและภายใน ได้แก่ ตากับรูป หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส กายกับโผถถัพผะ และใจกับธรรมารมณ์ จึงต้องตั้งสติพิจรณา ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจด้วยปัญญาในการดับทุกข์นั้นๆ ต้องเป็นไปด้วยสติ
     
  17. Apinya Smabut

    Apinya Smabut นิพพานังสุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    1,398
    กระทู้เรื่องเด่น:
    57
    ค่าพลัง:
    +2,631
    โรคสมาธิสั้น สามารถรักษาได้โดยการทำสมาธิ ทำไปเรื่อยๆเมื่อจิตสงบแล้วอาการจะดีขึ้น เมื่อออกจากสมาธิก็จะกลับมาเหมือนเดิม แต่ให้ทำไปเรื่อยๆจะค่อยๆดีขึ้นมาเอง และควรที่จะหาโอกาสให้ธรรมะเป็นทานด้วย ได้หมดทั้ง บริจาคหนังสือ ร่วมทำหนังสือ ให้ความรู้ทางเน็ต ถวายพระไตยปิฎก ฯลฯ

    โรคภัยต่างๆล้วนเกิดขึ้นจากกรรมปานาติบาต คือ เบียดเบียนชีวิตคนอื่นสัตว์อื่น วิธีหนีกรรมก็คือ ให้ถือศีล ภาวนา และให้ทำการปล่อยชีวิตสัตว์ที่กำลังจะถูกเขาฆ่า เช่น เต่า ปลา ที่เอาไว้ฆ่าแล้วขาย หรือขายเพื่อให้คนอื่นเอาไปฆ่า ตามท้องตลาด ฯลฯ ปล่อยบ่อยๆสัก เดือนละ 2-3 ครั้งๆละ 3-4 ตัว ทำไปเรื่อยๆกรรมตัวนี้ก็จะเบาลงเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 เมษายน 2015
  18. pukub

    pukub เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2014
    โพสต์:
    113
    ค่าพลัง:
    +219
    ขออนุโมทนาร่วมบุญด้วยนะครับ
    ขอร่วมตอบนะครับ

    จากที่พี่ดู น้องพูดถึงเรื่องศีล พี่ขอสรุปว่าเป็นศีล 5 นะครับ (เพราะศีลมีหลายระดับ)
    1. ถ้าเพื่อนพูดไร้สาระ ให้มันตลก ขำ ๆ อารมณ์ดี แล้วเราขำด้วย
    ไม่ถือว่าศีลด่างพร้อยครับ ในกรณีที่น้องรักษาศีล 5
    แต่ก็จะไม่ดีสำหรับ คนที่ปฏิบัติกุศลกรรมบท 10
    แต่ถ้าน้องแค่รักษาศีล 5 ข้อนี้ก็ไม่ต้องกังวลมาก
    เพราะกุศลกรรมบท 10 มันเป็นขั้นกว่าของศีล 5 มันเป็นศีลที่ละเอียดยิ่งขึ้น
    สำหรับคนที่ปฏิบัติศีล 5 มานานจนต้องการขยับการปฏิบัติให้สูงขึ้นไป
    แต่สำหรับน้อง อยู่ในศีล 5 ก็แค่ไม่โกหก แค่นั้นพอครับ
    เรื่องพูดส่อเสียด พูดไร้สาระ นั้นอยู่ในเรื่องของกุศลกรรมบท 10 ครับ
    เป็นศีลที่สูงขึ้นไป เป็นศีลสำหรับคนที่อยากไปเป็นเทวดาครับ

    เรื่องของการมุสา คือการพูดเรื่องที่ไม่เป็นความจริง
    อันนี้เรารู้อยู่แล้วครับว่า อันไหนเราพูดจริง เราพูดโกหก ทุกคนรู้ตัวเองอยู่แล้วครับ
    แต่ความแรงของมุสา ก็มีหลายระดับ
    คือถ้ามุสาแล้วมีผลต่อชีวิตคน เป็นเรื่องคอขาด บาดตาย มุสาในศาล
    แบบนี้ถ้าทำผิด จะได้รับกรรมรุนแรง กรรมหนัก

    ถ้ามุสาเบา ๆ ซึ่งไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน ก็จะถือว่าศีลด่างพร้อย
    คือทำให้ศีลไม่สมบูรณ์ มีผลในเรื่องการปฏิบัติในทางธรรมครับ
    และอาจจะมีกรรมเล็ก ๆ อีก อย่างอื่น ซึ่งอันนี้ผมไม่ทราบครับ แล้วแต่กรณีไป

    ยกตัวอย่างเช่น แม่ถาม วันนี้ไปไหนมา
    บอกแม่ว่าไปทานข้าว แต่จริง ๆ ไปดูหนังกับสาว
    อันนี้คือตัวอย่างของการมุสา แบบเบา ๆ ที่ว่า
    เรื่องเพื่อนถามว่า กุร้องเพลงเพราะไหม? จริง ๆ ไม่เพราะ แต่ก็ตอบว่าเพราะ เพราะต้องการรักษาน้ำใจเพื่อน อะไรแบบนี้เป็นต้น
    ถามว่าเลี่ยงได้ไหม ถ้าเลี่ยงได้ควรเลี่ยง
    ก็คือควรพูดความจริงให้ได้มากที่สุด (เราทำไปนาน ๆ เราจะรู้เอง อันไหนควรไม่ควร ในระดับประมาณไหน)

    ซึ่งผมขอบอกว่า ในระดับนี้ อาจจะต้องมีโกหกอยู่บ้าง แบบเล็ก ๆ นะครับ
    เป็นทุกคนครับ ยิ่งเวลาอยู่ในสังคม ก็ไม่ต้องคิดอะไรมาก ทำให้ดีที่สุด เด่วจะรู้การวางตัวเองเอง

    ที่นี้ถ้าน้องสามารถพูดจริงได้ตลอดเวย์ (ซึ่งเป็นเรื่องยากจริง ๆ) จะเกิดอะไรขึ้น
    ก็จะมีผลคือ น้องเป็นคนที่มีวาจาศักดิสิทธิ์ครับ
    ซึ่งอาจจะมีผลทำให้เป็นคนมีวาจาสิทธิ์ คือพูดสิ่งไหน สิ่งนั้นก็เกิด (ในอนาคตกาล)
    แต่อันนี้เป็นเรื่องของอภิญญา ก็ไม่ต้องไปสนใจมาก มันยังเป็นเรื่องไกลตัวอยู่ สำหรับเราที่อยู่ในระดับนี้

    2. ในข้อนี้ อันนี้ มีวิธีเดียว คือเลือกคบเพื่อนครับ
    เพราะถ้าเราอยู่ในกลุ่มเมาท์มอย์ ชอบนินทา มันเลี่ยงไม่ได้อยู่แล้ว
    มันก็ต้องร่วมวง ร่วมแก๊งค์ ไปกับเขา
    ก็หากลุ่มเพื่อน ที่ดูเป็นผู้ดี ๆ หน่อย คือ ไม่ขี้อิจฉา ไม่ชอบเมาท์นินทาเรื่องชาวบ้าน
    เอาเรื่องคนนี้ ไปเล่าให้คนนั้นฟัง เอาเรื่องคนนั้นไปเล่าให้คนนี้ฟัง ถ้าแบบนี้ก็อยู่ห่าง ๆ ไว้นะครับ ถ้าอยากให้ศีลสมบูรณ์
    เพราะเราเปลี่ยนนิสัยใครไม่ได้ครับ เราเปลี่ยนรอยเท้าเราได้ ไปยืนที่อื่นง่ายกว่า

    ถ้ามันหาใครที่จะมีนิสัยดีพอให้คบไม่ได้ ก็ไม่ต้องคบใครครับ
    คบกับตัวเอง ก็คือ มีศีลเป็นเพื่อน
    ความหมายของการคบในที่นี้คือ คบแบบไปคลุกคลี ร่วมทุกข์ ร่วมสุข
    แบบเพื่อนตายนะครับ พอเข้าใจใช่ไหมครับ

    ไม่ได้หมายความว่า ไม่ให้เราคุยกับใครเลยนะครับ
    เราก็คุย ๆ ไป หน้าที่การงานก็ทำ ๆ ไป แต่ไม่ไปสุงสิงกับเขามาก แค่นั้นเอง
    พอเข้าใจใช่ไหมครับ

    อันนี้คือกรณีที่น้องอยากให้ศีลของน้องสมบูรณ์จริง ๆ แบบว่า เปะชัวร์
    ถ้าทำไม่ได้ก็ต้องลดไปตามความเหมาะสม
    และตามกำลังใจของเรา ว่ามีมากน้อยแค่ไหน

    แต่ถ้าน้องทำได้เปะหรือแตะ 90% ที่พี่ว่ามานั้น
    น้องก็สุดยอด น้องก็สะสมบุญไว้เยอะเลย
    ถ้าทำได้ น้องก็จะสามารถไปได้ไกลกว่านี้อีกมาก
    เพราะหนทางข้างหน้ายังมีรออีก
    และน้องก็จะเป็นผู้มีความสุข ท่ามกลางเพื่อน ๆ ที่มีสุข ๆ ทุกข์ ๆ ปนแบบ ลุ่ม ๆ ดอน ๆ
    แต่ของน้องก็จะสุข สว่าง สดใส เหมือนพระจันทร์ในวันอุโบสถ
    ที่มีความสวยงาม ดั่งศีลของน้อง ที่ปฏิบัติไว้ดีแล้วนั้นเอง



     
  19. pukub

    pukub เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2014
    โพสต์:
    113
    ค่าพลัง:
    +219

    สิ่งสำคัญคือ พระพุทธเจ้ารู้ทุกระดับของมนุษย์
    และมนุษย์คนไหน ควรปฏิบัติขนาดไหน

    เพราะฉะนั้น จึงมีวิธีให้คนปฏิบัติได้หลายระดับ
    ดังนั้น ไม่ต้องกลัวว่า มันจะยากไป หรืออะไร
    มีตั้งแต่แบบ 1 2 3
    เหมือนเราเรียน a b c เลย

    ขนาดพวกทาส พวกช่างทาสี ยังทำได้เลย
    เพราะฉะนั้น เราก็ทำได้แน่นอนครับ

    เริ่มจากศีลก่อน นี้ก็มาถูกทางละครับ
    เพราะปฏิบัติง่ายสุด เรารู้ได้ด้วยตัวเอง
    ไม่ต้องพึ่งใครเลย พึ่งตัวเราเองล้วน ๆ

    ขอเป็นกำลังใจให้นะครับ


     

แชร์หน้านี้

Loading...