สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,351
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +70,464
    [​IMG]



    พระเดชพระคุณ พระเทพญาณมงคล ได้อธิบายคำว่า “นิโรธ” ไว้ว่า
    ... “นิโรธ ดับสมุทัย (มิใช่นิโรธสมาบัติ) ตามความหมายของ ‘ทุกขนิโรธอริยสัจ’ กล่าวคือเป็นการละ (ปหาน) อกุศลจิตของกายในภพ ๓ [ซึ่งเป็นที่ตั้ง หรือ เป็นที่สะสม – หมักดอง – ตกตะกอนนอนเนื่องของกิเลส (หยาบ-กลาง-ละเอียด) เป็น ‘อาสวะ/อนุสัย’ ในจิตตสันดาน] ให้กิเลสเบาบางลง ถึงหมดสิ้นไป บรรลุมรรค-ผล-นิพพาน ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้” ...
    (สมถวิปัสสนาภาวนาตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ถึงธรรมกายและพระนิพพานของพระพุทธเจ้า หน้า ๗๖)

    พระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้กล่าวถึงอริยสัจ ๔ ไว้ว่า
    ทุกข์ เป็นผล สมุทัย เป็นเหตุ
    นิโรธ เป็นผล มรรค เป็นเหตุ
    (คู่มือปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน ๕ สาย หน้า ๑๖๕)

    ดังนั้น การทำนิโรธให้ได้ผลดีนั้น ต้องทำมรรคให้ดีเสียก่อน เพราะมรรคเหตุให้เกิดนิโรธ นิโรธเป็นผลมาจากมรรค
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,351
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +70,464
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,351
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +70,464
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,351
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +70,464
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,351
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +70,464
    [​IMG]





    โอวาทธรรมหลวงปู่วีระ คณุตฺตโม

    อาตมาใคร่ขอย้ำว่า บรมครูที่สูงที่สุดนั้น ก็คือ พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และพระอริยสงฆ์ ซึ่งก็หมายถึง พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ พระสังฆรัตนะ และมีความหมายถึง ธรรมกาย ซึ่งมีอยู่ในศูนย์กลางกาย อันเป็นกายในกาย ที่สุดละเอียดของทุกท่านนั่นเอง

    พระพุทธองค์จึงได้ตรัสกับพระวักกลิ ผู้คอยเฝ้าติดตามชมพระสิริโฉมกายเนื้อของพระองค์ท่านอยู่เสมอว่า

    โย โข วกฺกลิ ธมฺมํ ปสฺสติ โส มํ ปสฺสติ
    โย มํ ปสฺสติ โส ธมฺมํ ปสฺสติ

    แปลความว่า
    ดูกรวักกลิ ผู้ใดแลเห็นธรรม
    ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็น เราตถาคต
    ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นธรรม

    และว่า
    ธมฺมกาโย อหํ อิติปิ

    ซึ่งแปลความว่า
    เราตถาคต คือ ธรรมกาย

    เพราะฉะนั้น พระบรมครูก็อยู่ในตัวเราทุกคนนั่นเอง

    ........................
    จากหนังสือ
    สมถวิปัสสนากัมมัฏฐานเบื้องต้น
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,351
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +70,464
    [​IMG]

    “..... ให้ตั้งใจไว้ตรงกลางกาย ซึ่งเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม
    อันนี้ พระเดชพระคุณหลวงพ่อ (วัดปากน้ำ) กำหนดฐานที่ตั้งใจไว้...สำคัญนัก
    เพราะตรงนั้นเป็นที่ตั้งของ ธรรมในธรรม ฝ่ายบุญฝ่ายกุศล
    และก็ กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต
    คือ ทั้งธรรม และกาย และใจ...ตั้งอยู่ตรงนั้น
    ณ ภายในมีเท่าไร สุดละเอียดเพียงไหน...อยู่ตรงนั้น ถึงนิพพานทีเดียว

    เพราะฉะนั้น ท่านให้เอาใจไปจรดไว้ตรงนั้น
    ที่นี้ ศูนย์กลางกาย ซึ่งเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม อยู่เหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือ
    ถ้าท่านหายใจเข้าออก ท่านจะพบว่า...ลมหายใจเข้าไปจนสุดนั้น
    สุดตรง ศูนย์กลางกายตรงระดับสะดือ พอดี
    และก็ตั้งต้นหายใจออกตรงนั้น เป็น “ต้นทางลม” และก็เป็น “ปลายทางลม” หายใจเข้าออก
    ตรง ศูนย์กลางกายตรงระดับสะดือ พอดี
    ใจหยุดก็ต้องไปหยุดตรงนั้น เขาเรียกว่า “กลางพระนาภี”



    พระพุทธเจ้าทรงสอน “อานาปานสติ”
    เมื่อลมหยุด ก็ไปหยุด... “กลางพระนาภี”
    ถึงให้กำหนดใจกี่ฐานๆ ก็แล้วแต่
    สำหรับผู้ทำอานาปานสติ กำหนดที่ตั้งสติลมหายใจผ่านเข้าออก
    ทาง ปากช่องจมูก หรือ ปลายจมูก
    ที่ ลำคอ
    และที่ กลางพระนาภี
    นี่อย่างน้อย ๓ ฐาน … เขามักจะกำหนดกัน

    กำหนดอานาปานสติ ๓ ฐาน เป็นอย่างน้อย
    กำหนดอะไร กำหนดสติ รู้ลมหายใจเข้าออก...กระทบอย่างน้อย ๓ ฐาน นี้สำหรับผู้ปฏิบัติทั่วไป
    แต่เมื่อลมละเอียดเข้าไป ๆ ๆ แล้ว โดยธรรมชาติลมหายใจมันจะสั้นเข้า ๆ ๆ ละเอียดเข้า
    ทรงสอนว่า ลมหายใจเข้าออก ... พึงมีสติรู้
    ลมหยาบ ลมละเอียด ลมหายใจยาว ลมหายใจสั้น ... พึงรู้ มีสติรู้




    จนถึงลมหยุด ... หยุดที่ไหน ?
    หยุดที่ “กลางพระนาภี”


    หยุดกลางพระนาภี ก็คือ ศูนย์กลางกายนั่นแหละ
    ตรงที่สุดลมหายใจเข้าออก หรือ ที่ตั้งต้น

    หรือจะเรียกว่า “ต้นทางลม” หรือ “ปลายทางลม” ... ก็แล้วแต่จะเรียก



    จริงๆ แล้ว อยู่ตรงกลางกาย...ตรงระดับสะดือพอดี
    ที่หลวงพ่อ (วัดปากน้ำ) เรียกว่า ศูนย์กลางกายฐานที่ ๖





    แต่ว่า ... ถ้าว่าเอาใจไปจรดตรงนั้นนะ
    จะไม่เห็น ธรรมในธรรม กายในกาย จิตในจิต ได้ชัด


    เพราะเหมือนอะไร ?
    เหมือนเอาตาแนบกระจก ไม่เห็นเงาหรือภาพข้างใน ... ฉันใด


    หลวงพ่อ (วัดปากน้ำ) ก็เลยให้ขยับ “เห็น จำ คิด รู้” คือ “ใจ”
    ที่ตั้ง “เห็น จำ คิด รู้” ให้สูงขึ้นมา ... เหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือ

    เหมือนเราขยับสายตาเรา...ห่างจากกระจก เราจะเห็นเงาได้ชัดเจน






    ประกอบกับดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกายและใจ
    มีธรรมชาติ หรือ อาการเกิดดับ...ตามระดับจิต หรือ ภูมิของจิต
    คือ เมื่อจิตสะอาดยิ่งขึ้นจากกิเลส จิตดวงเดิมก็ตกศูนย์
    จาก “ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗” ลงไปสู่ “ศูนย์กลางฐานที่ ๖”
    ธรรมในธรรม ที่ใสบริสุทธิ์ ซึ่งมีจิต หรือ จิตในจิตซ้อนกันอยู่...ที่ใสบริสุทธิ์กว่า
    ก็ลอยเด่นขึ้นมา “ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗” ... แล้วก็ทำหน้าที่ของตนไป


    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง...
    เมื่อสัตว์จะเกิด จะดับ จะหลับ จะตื่น
    จิตดวงเดิม ... จะตกศูนย์
    จิตดวงใหม่ ... ลอยเด่นขึ้นมาตรง “ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗” ... เพื่อทำหน้าที่ต่อไป



    ตรงนี้นักปริยัติบางท่านก็เข้าใจว่า…จิตเกิดดับ
    แต่เกิดดับอย่างไร...ไม่รู้ เพราะไม่เคยเห็น
    และยังมีบางท่าน...ที่ละเอียดเข้าไปกว่านั้นอีก
    บอกว่า จิตเดิมแท้ๆ ไม่ได้เกิดดับนะ
    ที่เกิดดับนั้น มันเฉพาะ...อาการของจิต ที่มีกิเลสของจรมาผสม
    หรือว่า มีบุญเข้ามาชำระกิเลสนั้น จิตก็เปลี่ยนวาระ เป็นอาการของจิต คือถูกทั้งนั้น


    แต่ว่า อาการของจิตที่เกิดดับตรงนั้น มันมาปรากฏตรง “ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗”
    หลวงพ่อ (วัดปากน้ำ) ก็เลยกำหนดที่เหมาะๆ
    สำหรับที่ควรเอาใจ ... ไปหยุด ไปจรด ไปนิ่ง ตรง “ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗”
    อันเป็น “ที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม”
    เป็นที่ตั้งของ กายในกาย จิตในจิต และ ธรรมในธรรม



    อาตมาพูด “จิตในจิต” ให้พึงเข้าใจว่า
    รวมทั้ง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ...เข้าด้วยกัน

    ที่ หลวงพ่อ (วัดปากน้ำ) กำหนดไว้ เพื่อให้เข้าพิจารณาเห็น
    กาย เวทนา จิต ธรรม ณ ภายใน ... ไปสุดละเอียด
    เป็นตัว “สติปัฏฐาน ๔” ไปจนถึง ... “นิพพาน”
    และเป็นตัวชำระกิเลส ณ ที่ตรงนั้น ด้วยหยุดในหยุด กลางของหยุด
    เพราะ ถูกกลางของกลางธรรมในธรรม
    ดับหยาบไปหาละเอียดเรื่อยไป เป็นการละ หรือ ปหานอกุศลจิตเรื่อยไป
    จึงมีสภาวะที่เป็น “นิโรธ” ดับสมุทัย






    * ที่มา
    นิตยสารธรรมกาย ฉบับที่ ๑๘
    ตุลาคม – ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๓
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,351
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +70,464
    [​IMG]







    "เราแสวงหาเขตบุญในพระพุทธศาสนานะ ให้มั่นเชียวนะ ให้ใจหยุดเป็นตัวสำคัญ หยุดนี้จะเป็นตัวมรรคผลนิพพาน พวกให้ทานรักษาศีลมันยังไกลกว่า หยุดนี้ใกล้นิพพานนัก พอหยุดได้เท่านั้นเข้าต้นคำสอนของพระศาสดาแล้ว ไม่ยักเยื้องแปรผัน ไอ้ที่หยุดนั่นแหละ เข้าต้นคำสอนของพระศาสดาแล้ว ไอ้ที่หยุดนี่แหล่ะตัวสำคัญ


    กำหนดเครื่องหมายเข้า ใสเหมือนเพชรลูกที่เจียระไนแล้วไม่มีขนแมวโตเท่าแก้วตา ผู้หญิงกำหนดเข้าปากช่องจมูกซ้าย ผู้ชายกำหนดเข้าช่องปากจมูกขวา อย่าให้ล้ำให้เหลื่อม กำหนดเครื่องหมายเข้า ใสเหมือนเพชรลูกที่เจียระไนแล้วไม่มีขนแมวโตเท่าแก้วตา
    นี่บอกซ้ำของเก่านั่นแหละ พอถูกส่วนดีแล้วก็ ให้บริกรรมประคองใจกับเครื่องหมายที่ใส ปากช่องจมูกหญิงซ้าย ชายขวา นั้น ว่า สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง 3 ครั้ง

    แล้วเลื่อนเครื่องหมายขึ้นไปแค่เพลาตา หญิงอยู่ซีกข้างซ้าย ชายอยู่ซีกข้างขวา ตรงหัวตาที่มูลตาออก ตามช่องลมหายใจเข้าออกข้างใน แล้วบริกรรมประคองเครื่องหมายตามเก่านั้นว่า สัมมาอะระหัง สัมมา อะระหัง สัมมาอะระหัง 3 ครั้ง

    แล้วก็เลื่อนเครื่องหมายนั้น ตรงลำดับเพลาตาเข้าไปฐานที่ 3 กลางกั๊กพอดี ตรงนี้มีกลเม็ดอยู่ เพราะต้องมีวิธี เมื่อถึงฐานที่ 3 แล้วต้องเหลือบตาไปข้างหลัง เหลือบตาไปข้างหลังให้ตาค้างเหมือนคนชักจะตาย ค้างขึ้นไปๆ จนกระทั่งใจหยุดความเห็นกลับเข้าข้างใน พอความเห็นกลับเข้าไปข้างใน ก็เลื่อนเครื่องหมายจากฐานที่ 3 ไปฐานที่ 4 ที่ช่องเพดานที่รับประทานอาหารสำลัก อย่าให้ล้ำอย่าให้เหลื่อม ให้พอดีๆ แล้วบริกรรมประคองเครื่องหมายที่ฐานที่ 4 นั้นว่า สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง 3 ครั้ง

    แล้วเลื่อนไปฐานที่ 5 ปากช่องคอ เหนือลูกกระเดือก เหมือนกลางกั๊กปากถ้วยแก้ว แล้วบริกรรมประคองเครื่องหมายที่ปากช่องคอนั้นว่า สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง 3 ครั้ง

    แล้วเลื่อนเครื่องหมายนั้นไปที่กลางตัว ที่สุดลมหายใจเข้าออกไม่ให้ค่อนซ้าย-ขวา หน้า-หลัง ล่าง-บน นอก-ใน ให้อยู่กลางกั๊กพอดี (ฐานที่ 6)แล้วบริกรรมประคองเครื่องหมายที่กลางตัวนั้นว่า สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง 3 ครั้ง
    แล้วเลื่อนเครื่องหมายถอยหลังขึ้นมาเหนือกลางตัว สอง นิ้วมือ ตรงนั้นเรียกว่าศูนย์ (ฐานที่ 7) ตรงนั้นมีศูนย์อยู่ 5 ศูนย์ ศูนย์กลาง หน้า ขวา หลัง ซ้าย
    ศูนย์กลางอากาศธาตุ
    ศูนย์หน้าธาตุน้ำ
    ขวาธาตุดิน
    หลังธาตุไฟ
    ซ้ายธาตุลม
    เครื่องหมายใส สะอาด ลอยช่องอากาศกลาง แล้วบริกรรมประคองเครื่องหมายที่ช่องอากาศกลางนั้นว่า สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง ที่กลางอากาศว่างนั้น แล้วจะเห็นเป็นดวงใส ดวงโตประมาณเท่าแก้วตาอยู่ที่นั่น ใจของเราก็จรดอยู่ที่กลางดวงนั้น

    แก้ไขไปจนกระทั่งใจของเราหยุด บริกรรมภาวนาอยู่เรื่อยๆ ว่า สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง
    ที่บริกรรมว่าดังนี้ ก็เพื่อจะประคองใจของเราให้หยุด สัมมา อะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง

    พอถูกส่วนเข้า ใจก็หยุดกึ๊กอยู่กลางดวงนั้น มืดก็หยุดตรงนั้น สว่างก็อยู่ตรงนั้น ไม่ต้องถอยไปถอยมา นิ่งอยู่ตรงนั้นแหละ

    พอนิ่งถูกส่วนเข้าก็ มืดหนักเข้าก็เห็นดวงใส สว่างก็เห็นดวงใส ใจก็อยู่กลางดวงใส ถ้าว่ามันไม่นิ่งไม่หยุด มันชัดส่ายไปบริกรรมซอมไว้ สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง
    พอถูกส่วนเข้า หยุด

    หยุดแล้วไม่ต้องบริกรรมเพ่งเฉย

    หยุดแล้วไม่ต้องบริกรรมเพ่งเฉย


    ดูนิ่ง


    ถ้าว่าขยับเขยื้อยหรือว่าเคลื่อนไปซะ บริกรรมซอมไว้ สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง ไว้ จนกระทั่งหยุดนิ่ง



    พอหยุดนิ่ง ไม่ต้องบริกรรม เพ่งเฉย วางอารมณ์เฉย

    ให้หยุดอยู่เท่านั่นแหละ

    หยุดเท่านั้นแหละ

    อย่าไปนึกถึงมืดสว่างนะ


    หยุดอยู่เท่านั้นแหละ หยุดนิ่งอยู่เท่านั้นแหละ


    หยุดนั่นแหล่ะเป็นตัวสำเร็จ"
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • _1_~1.JPG
      _1_~1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      65.5 KB
      เปิดดู:
      355
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,351
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +70,464
    [​IMG]


    [​IMG]
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,351
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +70,464
    [​IMG]




    เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานทั้งเก้าบรรพ 
     
    เมื่อจะพูดถึงเรื่องเวทนาก็จะต้องพูดเรื่องของจิตด้วย กล่าวคือจิตทำหน้าที่น้อมไปสู่อารมณ์ต่างๆ จึงมีชื่อทางบาลีในที่มากแห่งว่า "สังขาร" ส่วนเวทนา ก็ทำหน้าที่รับอารมณ์และเสวยอารมณ์ที่จิตคิดหรือน้อมไปหา และภายในจิตก็มี"วิญญาณ" ทำหน้าที่รับรู้อารมณ์ และภายในเวทนาก็มี"สัญญา" ทำหน้าที่รวบรวมจดจำอารมณ์ ธรรมชาติ ๔ อย่างนี้ ทำหน้าที่สัมพันธ์กันหมด ประดุจข่ายของใยแมงมุม
     
    พิจารณาขันธ์ ส่วนเห็น จำ คิด รู้
     
    รวม ใจของทุกกายให้หยุดอยู่ ณ ศูนย์กลางกายพระอรหัตละเอียด แล้วหยุดนิ่งไปที่ศูนย์กลางดวงธรรมกายมนุษย์ ตรงกลางดวงกำเนิดเดิมนั้นก็จะเห็นดวงกลมใสๆ ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ ตั้งอยู่ในใจนั้นแหละ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆข้างใน ใสละเอียดกว่ากันตามลำเอียด เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ซึ่งเป็นธาตุละเอียดนี้เองที่ขยายส่วนหยาบออกมาเป็น ดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด ดวงรู้ เป็นการทำงานระดับนามธรรม
     
    ดวงเห็น มีขนาดเท่ากับเบ้าตาของกาย ธาตุเห็นอยู่ในท่ามกลางดวงเห็น มีหน้าที่รับอารมณ์ หรือเสวยอารมณ์
     
    ดวงจำ มีขนาดเท่ากับดวงตาของกาย ธาตุจำอยู่ในท่ามกลางดวงจำ มีหน้าที่รวบรวมและจดจำอารมณ์
     
    ดวงคิด มีขนาดเท่ากับตาดำ ธาตุคิดอยู่ในท่ามกลางดวงคิด มีหน้าที่คิด หรือน้อมเข้าสู่อารมณ์ ไม่ว่าจะอยู่ไกลแสนไกล ก็ไปถึงได้
     
    ดวงรู้ มีขนาดเท่ากับแววตาดำข้างใน ธาตุรู้อยู่ในท่ามกลางดวงรู้ มีหน้าที่รู้หรือรับรู้อารมณ์
     
    เห็น จำ คิด รู้ สี่อย่างนี้ที่รวมเรียกว่า "ใจ" เมื่อรวมหยุดเป็นจุดเดียว เรียกว่า เอกัคตารมณ์ หรือ ใจมีอารมณ์เป็นหนึ่ง
     
    พึงพิจารณาต่อไปให้ถี่ถ้วน ก็จะเห็นว่า ในเบญจขันธ์ ก็มีเห็น จำ คิด รู้ ทั้งสี่อย่างนี้เจืออยู่ด้วยหมดทุกกอง
     
    และก็ เห็น จำ คิด รู้ นี้เอง ที่ขยายส่วนหยาบออกมาอีก เป็น กาย ใจ จิต วิญญาณ ของมนุษย์หรือสัตว์ทั้งหลาย
     
    อัน ดวงคิด หรือ จิต นั้น ลอยอยู่ในเบาะน้ำเลี้ยงหัวใจ(ไม่ใช่มังสหทัยหรือหัวใจเนื้อ) อันใสบริสุทธิ์ มีประมาณเท่าหนึ่งซองมือของผู้เป็นเจ้าของ และจิตนี้ โดยสภาพเดิมของมันแล้ว เป็นธรรมชาติอันประภัสสร จึงชื่อว่า "ปัณฑระ" แต่เนื่องจากจิตมักตกในอารมณ์ที่น่าใคร่ และมักน้อมไปสู่อารมณ์ภายนอกอยู่เสมอ จึงเปิดช่องทางให้อุปกิเลสจรมาทำให้จิตใจเศร้าหมอง ขุ่นมัว สีน้ำเลี้ยงของจิตจึงเปลี่ยนสีไปตามสภาพของกิเลสแต่ละประเภทที่จรเข้ามา เป็นต้นว่า เมื่อจิตระคนด้วยโลภะหรือราคะก็จะเป็นสีชมพู เกือบแดง,  เมื่อจิตระคนด้วยโทสะ ก็จะมีสีเกือบดำ, ถ้าจิตระคนด้วยโมหะ ก็จะมีสีขุ่นๆเทาๆ ขึ้นอยู่กับสภาพของอุปกิเลสว่าหนักเบาเพียงใด
     
    นอกจากนี้ อาการลอยตัวของจิตในเบาะน้ำเลี้ยง ก็บอกอาการของจิต กล่าวคือ ถ้า จิตลอยอยู่เหนือระดับน้ำเลี้ยงหทัยมาก แสดงว่า ฟุ้งซ่าน, ถ้าลอยอยู่เหนือน้ำเลี้ยงเล็กน้อย ก็เป็นสภาพธรรมดา, ถ้าลอยปริ่มพอดีกับระดับน้ำเลี้ยง ก็อยู่ในเอกัคคตารมณ์, ถ้าจมลงไปมาก ก็หลับไปเลย เป็นต้น
     
    "จิต"เป็น ธรรมชาติอันรู้ได้เห็นได้ แต่มิใช่เห็นด้วยมังสจักษุหรือตาเนื้อ หากแต่เป็นทิพยจักษุหรือตาละเอียด อันเป็นผลการเจริญสมถภาวนาอันถูกส่วน
     
     
    การพิจารณาอายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘
     
    เดิน สมาบัติอนุโลม-ปฏิโลม จนจิตอิ่มเอิบแจ่มใสดีแล้ว รวมใจของทุกกายให้หยุดอยู่  ศูนย์กลางกายพระอรหัตละเอียด แล้วก็ขอให้ใจของธรรมกายพระอรหัตละเอียดเพ่งลงไปที่ศูนย์กลางดวงธรรมกาย มนุษย์ ให้เห็นขันธ์ ๕ ส่วนละเอียด ทีนี้ให้เพ่งลงไปที่กลางวิญาณขันธ์ ซึ่งเป็นขันธ์ที่ละเอียดที่สุด ก็จะเห็นธาตุธรรมส่วนละเอียดของอายตนะทั้ง ๑๒ ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ เข้าไปข้างใน คือ อายตนะ ตา,หู,จมูก,ลิ้น,กาย,ใจ นี้เป็นธาตุธรรมละเอียดของอายตนะภายใน ๖ กลางอายตนะภายใน ๖ ก็ยังมีธาตุธรรมละเอียดที่ทำหน้าที่เป็นอายตนะภายนอกอีก ๖ คือ รูป,เสียง,กลิ่น,รส,สัมผัส,อารมณ์ทางใจ อายตนะทั้ง ๑๒
     
    บาลีว่า "สฬายตนะ" สัณฐานเป็นดวงกลมใสดวงเล็กๆ ซ้อนกันอยู่ ละเอียดกว่ากันเข้าไปตามลำดับ
     
    ตรง กลางสฬายตนะ ที่สุดละเอียดนี้เอง ยังมีธาตุธรรมละเอียดของธาตุ ๑๘ ซ้อนอยู่อีก คือ ธาตุรับรูป,ธาตุรับเสียง,ธาตุรับกลิ่น,ธาตุรับรส,ธาตุรับสัมผัส,ธาตุรับ อารมณ์ทางใจ รวมเรียกว่าธาตุรับ ๖
     
    ต่อไปก็จะเป็น ธาตุรูป,ธาตุเสียง,ธาตุกลิ่น,ธาตุรส,ธาตุสัมผัส,ธาตุอารมณ์ทางใจ รวมเป็นธาตุกระทบ(เร้า) ๖
     
    ต่อ ไปอีกเป็น ธาตุรับรู้การรับรูป,ธาตุรับรู้การรับเสียง,ธาตุรับรู้การรับรส,ธาตุรับรู้ การรับสัมผัส,ธาตุรับรู้การรับรู้อารมณ์ทางใจ รวมเป็นธาตุประมวลผลอีก ๖
     
    เรา จะเห็นว่า ในธาตุธรรมละเอียดเหล่านี้ ยังมีเห็น จำ คิด รู้ เจืออยู่ด้วยทุกๆดวง เพราะเหตุนี้ ธาตุธรรมทั้งหลายเหล่านี้ แม้จะทำหน้าที่ต่างๆกัน แต่ก็สัมพันธ์กันเป็นอัตโนมัติ ฉะนั้น เมื่อมีอะไรมากระทบ ก็จะกระเทือนไปถึง"ใจ"อันประกอบด้วยเห็น จำ คิด รู้ เป็นต้นว่า เมื่อจิตคิดไปถึงสิ่งที่น่ากำหนัดยินดี และไปยึดมั่นถือมั่น แม้ว่าตา หู จมูก ลิ้น กาย จะยังมิได้สัมผัสรูป เสียง กลิ้น รส สัมผัส อารมณ์กำหนัดยินดีก็ไม่กระเทือนถึงแต่เฉพาะ"ใจ"เท่านั้น หากแต่จะกระเทือนถึงกายด้วย ทั้งนี้ก็เพราะเหตุว่า "ดวงเห็น" ซึ่งทำหน้าที่รับและเสวยอารมณ์อันเป็นเปลือกนอกของ "ใจ"ทำหน้าที่เป็น "ดวงกาย"ซึ่งขยายส่วนหยาบ เจริญเติบโตออกมาเป็นกาย ซึ่งเป็นที่อาศัยและยึดเกาะของ"ใจ"นั่นเองอีกด้วย
     
    และเนื่อง จาก"ใจ"ตั้งอยู่อาศัยกับขันธ์ ๕ ทั้งในส่วนที่เป็นธาตุธรรมละเอียด และส่วนหยาบ มีอุปาทานยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ เพราะความไม่รู้แจ้ง หรือ "อวิชชา"ครอบคลุมอยู่ เมื่อมีสิ่งหนึ่งอันจะก่อให้เกิดอารมณ์มากระทบส่วนใดส่วนหนึ่งของขันธ์ ๕ นี้ ก็จะรู้สึกสุข ทุกข์ เฉยๆ(อทุกขมสุขเวทนา หรือ ไม่สุข ไม่ทุกข์) โดยจะแสดงออกทางดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด ดวงรู้นี้เอง กล่าวคือ เวลาที่เป็นสุข ก็จะเห็นเป็นใสๆ เวลาทุกข์ ก็จะเห็นเป็นมัวๆขุ่นๆ ถ้าเวลาเฉยๆ ก็จะไม่ใส ไม่ขุ่น กลางๆ
     
     
    การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา สติพิจารณาเวทนาขันธ์อยู่เนืองๆ มี ๙ บรรพด้วยกัน คือ
     
    ๑. เมื่อรู้รสสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เรารู้ชัดซึ่งสุขเวทนา
    ๒. เมื่อรู้รสทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เรารู้ชัดซึ่งทุกขเวทนา
    ๓. เมื่อรู้รสอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เรารู้ชัดซึ่งอทุกขมสุขเวทนา (เสวยอารมณ์ไม่ทุกข์ ไม่สุข)
    ๔. เมื่อรู้รสสามิสสสุขเวทนา(สุขอันเจือด้วยอามิส) ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เรารู้ชัดซึ่งสุขเวทนาอันมีอามิส
    ๕. เมื่อรู้รสสามิสสทุกขเวทนา(ทุกข์อันเจือด้วยอามิส) ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เรารู้ชัดซึ่งทุกขเวทนาอันมีอามิส
    ๖. เมื่อรู้รสสามิสสทุกขมสุขเวทนา(ไม่ทุกข์ ไม่สุขอันเจือด้วยอามิส) ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เรารู้ชัดซึ่งทุกขมสุขเวทนาอันมีอามิส
    ๗. เมื่อรู้รสนิรามิสสสุขเวทนา(สุขอันปราศจากอามิส) ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เรารู้ชัดซึ่งสุขเวทนาอันไม่มีอามิส
    ๘. เมื่อรู้รสนิรามิสสทุกขเวทนา(ทุกข์อันปราศจากอามิส) ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เรารู้ชัดซึ่งทุกขเวทนาอันไม่มีอามิส
    ๙. เมื่อรู้รสนิรามิสสทุกขมสุขเวทนา(ไม่ทุกข์ ไม่สุขอันปราศจากอามิส) ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เรารู้ชัดซึ่งทุกขมสุขเวทนาอันไม่มีอามิส
     
    อามิส แปลว่า เครื่องล่อใจ ดังนั้น เรียกว่า สุขเวทนาที่เจือด้วยกามคุณ(เกิดจากรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส) ทุกขเวทนาที่เจือด้วยกามคุณ ฯลฯ
    ส่วน สุขเวทนาที่เกิดขึ้น ด้วยสมถภาวนาหรือวิปัสสนาภาวนาก็ดี ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นจากสภาพแห่งสังขารก็ดี และทุกขมสุขเวทนาซึ่งเกิดมีความสงบจากอารมณ์ของ สมถะหรือวิปัสสนาก็ดี จัดว่าเป็นสุขเวทนา ทุกขเวทนา ทุกขมสุขเวทนาเวทนา ที่ไม่เจือด้วยอามิส
     
    การเสวยเวทนาโดยมีอามิสหรือไม่ก็ตาม ย่อมเปลี่นแปลงแปรผันตามเหตุปัจจัยเสมอๆ อารมณ์ทั้งหลายเหล่านี้ หาได้จีรังไม่ ย่อมเกิดขึ้น และเสื่อมสลายไป เมื่อเห็นเป็นธรรมดาในความเกิดดับของเวทนาแล้ว แม้จะรู้ว่าเวทนามีอยู่ ก็จงระลึกได้ว่า "สักแต่เป็นเวทนา" หามีสาระแก่นสารให้ยึดถืออย่างใดไม่ ทำให้คลายความยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์และ สิ่งที่จะก่อให้เกิดอารมณ์ทั้งหลายลง จิตใจก็เบิกบาน เพราะความหลงผิดสิ้นไป กิเลส ตัณหา อุปาทาน ก็ไม่สามารถที่จะเข้ามาย้อมหรือดลจิตให้เป็นไปตามอำนาจของมันได้ เมื่อเหตุแห่งทุกข์ดับ ทุกข์ก็ไม่เกิดขึ้น นี้คือทางแห่งมรรค ผล นิพพาน อันเป็นความว่างเปล่าจากกิเลส อาสวะทั้งปวง
     
     
    วิธีพิจารณาระบบการทำงานของขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ เห็นเวทนาในเวทนา ตามแนววิชชาธรรมกาย
     
          รวมใจของทุกกายหยุด ณ กลางกายธรรมอรหัตละเอียด แล้วเพ่งไปที่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ หยุด ตรึก นิ่ง ให้ดวงธรรมสว่างไสวทั่วทั้งกาย แล้วพิจารณาทวารทั้ง ๕ คือ จักขุทวาร(ตา) โสตทวาร(หู) ฆานทวาร(จมูก) ชิวหาทวาร(ลิ้น) กายทวาร โดยเริ่มที่ตาก่อน ตรงกลางแววตาทั้งซ้าย-ขวา พิจารณาให้ดีจะเห็น จักขุปสาท ซึ่งทำหน้าที่เป็นจักขุอายตนะ สำหรับรับรูป มีสัณฐานกลมสะอาด ตั้งอยู่ตรงกลางแววตา ตรงกลางจักขุปสาทก็มี จักขุธาตุ ซึ่งละเอียดกว่า ซ้อนอยู่ข้างใน สำหรับเห็นรูป แล้วที่กลางจักขุธาตุก็มี จักขุวิญญาณธาตุ ละเอียดกว่าจักขุธาตุ ซ้อนอยู่อีก สำหรับรู้ว่าเห็นรูปอะไร และมีสายเล็กๆขาวใส บริสุทธิ์ ทอดออกไปจากตรงกลางแววตาทั้งสองข้าง ผ่านขึ้นไปสมอง ศีรษะ แล้วหยั่งไปในเยื่อพื้นหลัง ลงไปรวมจรดอยู่ที่กลางขันธ์ ๕ ตรงกำเนิดธาตุธรรมเดิม
     
    อะไรทำให้เห็น?
     
    เวลา ที่จักขุอายตนะ กับ รูปายตนะ กระทบกัน (เมื่อสายตากระทบรูป) ก็จะมีดวงใส คือส่วนละเอียดของจักขุอายตนะ ซึ่งจะมีจักขุธาตุ จักขุวิญญาณธาตุซ้อนอยู่ แล่นจากศูนย์กลางขันธ์ ๕ ที่ตรงกลางกำเนิดเดิม ขึ้นมาตามสาย ผ่านสมอง มาจรดที่จักขุปสาท ที่ตรงกลางแววตาทั้งซ้ายขวา ซึ่งทำหน้าที่รับรูป แล้วนำรูปนั้นแล่นผ่านสมอง ตามสายกลับมาที่กลางขันธ์ ๕ ตรงกำเนิดธาตุธรรมเดิม เป็นไปอย่างรวดเร็วมากการเห็นรูปก็เกิดขึ้นตั้งแต่ดวงกลมขาวใส มาจรดที่กลางจักขุปสาท ที่กลางแววตา เพราะที่กลางจักขุปสาทก็มีจักขุธาตุสำหรับเห็นรูป และมีจักขุวิญญาณธาตุ สำหรับรับรู้ว่าเป็นรูปอะไร ซ้อนอยู่ด้วยแล้ว และการเห็นนี้ ไม่เฉพาะแต่ที่ตรงกลางแววตาเท่านั้น หากแต่เห็นไปถึง"ใจ" อันประกอบด้วย เห็น จำ คิด รู้ เป็นอัตโนมัติ เพราะเหตุที่ดวงกลมใสที่แล่นขึ้นมารับรูปจากตา กลับไปสู่กลางขันธ์ ๕ ที่กำเนิดธาตุธรรมเดิม ก็คือธาตุธรรมละเอียดของจักขุอายตนะ ซึ่งทำหน้าที่รับรูป และจักขุธาตุซึ่งทำหน้าที่เห็นรูป และจักขุวิญญาณธาตุที่ทำหน้าที่รับรู้ว่ารูปอะไร มีลักษณะ สี สัณฐานอย่างไร ซ้อนอยู่ด้วยอีกเช่นกัน
     
    และนอกจากนี้ ในธาตุธรรมละเอียดเหล่านี้ ก็ยังมี ดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด ดวงรู้ เจืออยู่ด้วยทุกดวง จึงทำหน้าที่เกี่ยวเนื่องกันโดยตลอดเป็นอัตโนมัติ เพราะเมื่อตากระทบรูปนั้น รูปธาตุย่อมผ่านเห็น จำ คิด รู้เสมอ
     
    อนึ่ง ดวงรู้ของสัตว์ที่ยังไม่บรรลุโลกุตตรธรรมนั้นมี อวิชชานุสัย ห่อหุ้มหนาแน่น ส่วนดวงเห็นกับดวงจำก็มี ปฏิฆานุสัย ห่อหุ้มอยู่ และดวงคิดก็มี กามราคานุสัย ห่อหุ้มอยู่ จึงไม่ขยายโตเต็มส่วนเหมือนกายธรรม (จึงทำให้ทัสสนะไม่บริสุทธิ์เหมือนกายธรรม)
     
    เพราะฉะนั้น เวลาที่สายตากระทบรูป ถ้าเป็นรูปที่ถูกอารมณ์น่ายินดี เพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ในสภาวะจริงของธรรมชาติตามที่เป็นจริง ซึ่งกล่าวโดยย่อว่า อวิชชา จิตใจจึงมักเลื่อนลอยตามอารมณ์นั้น ทำให้รู้สึกเป็นสุขตา-สุขใจไปตามอารมณ์ที่น่าพอใจนั้น เรียกว่าเกิด สุขเวทนา หรือ โสมนัสเวทนา ในกรณีเช่นนี้ ก็จะเห็น"ใจ"มีลักษณะใส
     
    แต่ ถ้าเป็นรูปที่ไม่น่าพอใจ และปล่อยใจคล้อยไปตามอารมณ์ที่ว่านั้น ก็จะเกิดความไม่สบายตา-ไม่สบายใจ หรือที่เรียกว่าเป็นทุกขเวทนาหรือโทมนัสเวทนา ในกรณีเช่นนี้ก็จะเห็น"ใจ"มีลักษณะขุ่นมัว
     
    ทีนี้ ถ้าหากจิตใจไม่ได้รับการอบรมให้สงบ ให้หยุด ให้นิ่ง ปล่อยใจให้เคลิบเคลิ้มไปในอารมณ์ต่างๆนี้มากๆเข้า กิเลสที่สะสมหมักดองอยู่ในจิตใจ ได้แก่ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อวิชชานุสัย ก็จะฟุ้งขึ้นมาครอบคลุมจิตใจย้อมจิตย้อมใจให้เป็นไปตามสภาพของมัน ด้วยเหตุนี้ สีน้ำเลี้ยงของจิตซึ่งถูกเจือด้วยกิเลสนั้น เปลี่ยนสีจากที่เคยขาว ใส สะอาด เป็นสีต่างๆตามสภาพกิเลสที่จรมาผสม เป็นต้นว่าจิตที่ประกอบด้วยกามตัณหา และภวตัณหา หรือรวมเรียกว่า โลภะ-ราคะ ก็จะเห็นเป็นสีชมพู จนถึงเกือบแดง, จิตที่ระคนด้วยวิภวตัณหา หรือโทสะ ก็จะเป็นสีเขียวคล้ำ จนเกือบดำ, และจิตที่ระคนด้วยโมหะ ก็จะเห็นเป็นสีขุ่นเหมือนตม หรือเกือบเทา เป็นต้น
     
    นอกจากนี้ อาการที่จิตฟุ้งออกไปรับอารมณ์ภายนอกมากเพียงใด ก็จะเห็นจิต คือ ดวงคิดลอยอยู่เหนือน้ำเลี้ยงหทยรูปมากขึ้นเพียงนั้น การเห็นลักษณะของใจตนเองที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์ก็ดี โดยจะเห็นดวงใสหรือขุ่นหรือปานกลางนั้น เรียกว่า เห็นเวทนาในเวทนา เป็นภายใน แต่ถ้าเห็นเวทนาของผู้อื่น ก็เรียกว่า เห็นเวทนาในเวทนา เป็นภายนอก ซึ่งเป็นลักษณะของการเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
     
    ส่วน การเห็นสภาวะของจิตของตนว่าระคนด้วยกิเลส โดยเห็นสีน้ำเลี้ยงที่เปลี่ยนไปตามสภาวะกิเลสที่เข้ามาผสมก็ดี หรือเห็นว่าจิตฟุ้งซ่าน หรือสงบ โดยอาการลอยของจิตในเบาะน้ำเลี้ยงหทยรูปในลักษณะต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วก็ดี เรียกว่า เห็นจิตในจิต เป็นภายใน และถ้าเห็นสภาวะจิตของผู้อื่น ก็เรียกว่า เห็นจิตในจิต เป็นภายนอก ซึ่งเป็นลักษณะของการเจริญจิตตานุปัสสนสติปัฏฐาน
     
    การเจริญภาวนาตามแนววิชชาธรรมกาย ช่วยให้ผู้ปฏิบัติสามารถเจริญปัญญา จากการที่ได้ทั้งรู้และทั้งเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิตเป็นทั้งภายในและภายนอก ดังนี้จึงควรที่สาธุชนจะพึงเจริญให้มาก
     
    ในลำดับนี้ จะได้แนะนำวิธีพิจารณาที่โสตทวาร ฆานทวาร ชิวหาทวาร กายทวาร และมโนทวารต่อไป
     
    สำหรับ ผู้ถึงธรรมกายแล้ว ให้รวมใจของทุกกายให้หยุดอยู่ ณ ศูนย์กลางกายธรรมอรหัตละเอียด แล้วให้ญาณพระธรรมกายเพ่งลงไปที่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ หยุดในหยุด ตรึกในตรึก นิ่งในนิ่ง ให้ดวงธรรมนั้นใสสว่าง ขยายโตขึ้นจนเห็นใสสว่างหมดทั้งกาย แล้วเริ่มพิจารณาที่โสตทวาร(หู)ก่อน
     
    ที่ตรงกลางแก้วหูทั้งซ้ายและขวานั้น จะเห็นมี"โสตปสาท" ซึ่งทำหน้าที่เป็น "โสตายตนะ" คือ อายตนะหู สำหรับรับเสียง มีลักษณะสัณฐานกลมใส สะอาดบริสุทธิ์ ประมาณเท่าขนจามรี ขดเป็นวงซ้อนกันอยู่ ๗ ชั้น ตั้งอยู่ที่ตรงกลางแก้วหูทั้งสองข้าง ตรงกลางโสตประสาทก็มี "โสตธาตุ" ซึ่งละเอียดกว่า เล็กกว่า ซ้อนอยู่ข้างใน สำหรับฟังเสียง และในกลางโสตธาตุ ก็มี "โสตวิญญาณธาตุ" ซึ่งใสกว่า เล็กกว่าโสตธาตุ ซ้อนอยู่ภายในเข้าไปอีก สำหรับให้รู้ว่าเป็นเสียงอะไร แลมีสายใยสีขาว ใส ทอดออกไปจากโสตประสาททั้งซ้ายขวา ผ่านขึ้นไปบนสมองศีรษะ แล้วหยั่งลงไปภายในเยื่อพื้นข้างหลัง ไปรวมจรดอยู่ที่ตรงกลางของขันธ์ ๕ ที่กำเนิดธาตุธรรมเดิม
     
    ทำหน้าที่ได้ยินเสียง ก็เป็นไปในลักษณะเดียวกันกับการหน้าที่มองเห็นของอายตนะตา กล่าวคือ เมื่อเสียงมากระทบประสาทหูซึ่งทำหน้าที่เป็นโสตายตนะนั้น จะมีดวงกลมขาว ใส คือธาตุละเอียดของโสตายตนะ ซึ่งมีโสตธาตุ และโสตวิญญาณธาตุซ้อนอยู่ แล่นจากศูนย์กลางขันธ์ ๕ ที่ตรงกลางกำเนิดธาตุธรมเดิม ขึ้นมาตามสายสีขาวบริสุทธิ์ มาจรดที่โสตประสาทตรงกลางแก้วหูซ้ายขวาซึ่งทำหน้าที่รับเสียง แล้วนำเสียงนั้นแล่นกลับไปที่กลางขันธ์ ๕ กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม เพื่อทำหน้าที่ต่อไป
     
    ทีนี้ให้พิจารณาต่อไปที่ขื่อจมูกข้างในทั้งซ้ายและขวา จะเห็น"ฆานปสาท" ซึ่งทำหน้าที่เป็น "ฆานายตนะ"ทำ หน้าที่รับกลิ่น มีลักษณะสัณฐานเหมือนกีบกวางหรือปีกริ้น ใสสะอาดบริสุทธิ์ ตั้งอยู่ตรงกลางขื่อจมูกข้างในทั้งซ้ายและขวา แล้วตรงกลางประสาทจมูก ก็มี "ฆานธาตุ" ซึ่งใสสะอาดบริสุทธิ์ และเล็กกว่าประสาทจมูก สำหรับทำหน้าที่ดมกลิ่น และที่ตรงกลางฆานธาตุก็มี "ฆานวิญญาณธาตุ" ซึ่งมีลักษณะสัณฐานอย่างเดียวกัน แต่ใส สะอาด และเล็กกว่าฆานธาตุ สำหรับทำหน้าที่รู้ว่าคุณสมบัติกลิ่นเป็นอย่างไร และมีสายใยสีขาวทอดออกจากตรงกลางฆานปสาททั้งสองข้าง ผ่านขึ้นไปบนสมองศีรษะ แล้วหยั่งลงภายในพื้นเยื่อพังผืดข้างหลัง ไปรวมจรดอยู่ที่กลางขันธ์ ๕ ตรงกำเนิดธาตุธรรมเดิม
     
    แล้วต่อไปก็ให้พิจารณาที่ลิ้น จะเห็น"ชิวหาปสาท" กระจายอยู่ทั่วลิ้น มีลักษณะสัณฐานเหมือนดอกบัวหรือกลีบบัว ขาวใส ทำหน้าที่เป็น "ชิวหายตนะ"สำหรับทำหน้าที่รับรส และตรงกลางชิวหาปสาทก็มี "ชิวหาธาตุ"ซึ่งมีลักษณะสัณฐานเดียวกัน แต่ใสสะอาด และเล็กกว่าชิวหาปสาท ซ้อนอยู่ภายในเข้าไป สำหรับทำหน้าที่ลิ้มรส แล้วก็ตรงกลางชิวหาธาตุก็มี "ชิวหาวิญญาณธาตุ" ซึ่งใสสะอาด และเล็กกว่าชิวหาธาตุ ซ้อนอยู่ภายในเข้าไปอีก สำหรับทำหน้าที่รู้คุณสมบัติรส แล้วก็มีสายใยสีขาว ใสสะอาด ทอดออกไปจากตรงกลางชิวหาปสาททั้งหลาย ผ่านขึ้นไปบนสมองศีรษะ แล้วหยั่งลงไปภายในเยื่อพังผืดพื้นหลัง แล้วไปจรดอยู่ที่กลางขันธ์ ๕ ที่กำเนิดธาตุธรรมเดิม
     
    ทีนี้ให้พิจารณาดูหมดทั่วสรรพางค์กาย จะเห็น"กายปสาท" มีลักษณะสัณฐานเหมือนดอกบัว ขาว ใส สะอาด ตั้งอยู่ทั่วทั้งกาย ทุกขุมขนทีเดียว ทำหน้าที่เป็น "กายายตนะ" ทำหน้าที่รับสัมผัส และตรงกลางกายปสาททั้งหลาย ก็มี "กายธาตุ" ซึ่งมีลักษณะสัณฐานเดียวกัน แต่เล็กกว่า ใสสะอาดกว่ากายปสาท สำหรับทำหน้าที่สัมผัสสิ่งที่มาถูกต้องทางกาย และมี "กายวิญญาณธาตุ" ซึ่งมีลักษณะสัณฐานนเดียวกัน แต่ใสสะอาด และเล็กกว่ากายธาตุ ซ้อนอยู่ชั้นในเข้าไปอีก สำหรับทำหน้าที่รู้คุณสมบัติสิ่งที่มาสัมผัสถูกต้องทางกาย ว่าเย็น ร้อน อ่อน แข็งอย่างไร แล้วก็มีสายใยสีขาวใส ทอดออกไปจากกายปสาททั่วทั้งกาย ขึ้นไปสู่สมองศีรษะ แล้วไปรวมจรดที่ขันธ์ ๕ ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม
     
    ที่ตรงกลางหทยรูป(ไม่ใช่มังสหทยรูป แต่เป็นของละเอียด) หรือที่เรียกว่ามโนทวาร ก็มี "มนายตนะ" มีลักษณะสัณฐานเป็นดวงกลมใส ขนาดประมาณเท่าเมล็ดโพธิ์เมล็ดไทร ซึ่งทำหน้าที่น้อมไปสู่อารมณ์ และที่ตรงกลางมโนทวารนี้เองเป็นที่ตั้งของ "มโนธาตุ" มีลักษณะสัณฐานกลมใสยิ่งกว่า เล็กกว่ามนายตนะ ซ้อนอยู่ข้างใน สำหรับรู้ธรรมารมณ์ที่มากระทบใจ และตรงกลางมโนธาตุ ก็มี "มโนวิญญาณธาตุ" ซึ่งใส สะอาดกว่า และเล็กละเอียดกว่ามโนธาตุ ซ้อนอยู่ข้างในเข้าไปอีก สำหรับรู้คุณสมบัติอารมณ์ที่มากระทบ และมีสายใยสีขาวใสหยั่งลงไปจรดรวมอยู่ที่กลางขันธ์ ๕ ตรงกำเนิดธาตุธรรมเดิม แต่สายของมนายตนะนี้ ไม่ผ่านขึ้นสู่สมองศีรษะเหมือน ๕ สายข้างต้น
     
    การรู้กลิ่น รู้รส รู้การสัมผัสทางกาย และรู้อารมณ์ที่ผ่านเข้ามาทางใจ ก็เป็นลักษณะเดียวกันกับการเห็นรูป หรือ ได้ยินเสียง ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น และสิ่งที่จะก่อให้เกิดอารมณ์จากภายนอกที่มากระทบนั้น เป็นสิ่งที่น่าพอใจ ยินดี ก็จะรู้สึกเป็นสุข เรียกว่า "เสวยสุขเวทนา" และในกรณีเช่นนี้ ก็จะเห็น "ใจ" มีลักษณะใส แต่ถ้าอายตนะภายนอกที่มากระทบทวารทั้งหลายเหล่านี้ ไม่เป็นที่น่าพอใจ ยินดี ก็เป็นทุกข์ใจ เรียกว่า "เสวยทุกขเวทนา" ในกรณีเช่นนี้ ก็จะเห็น "ใจ" ทั้งดวงมีลักษณะขุ่นมัว
     
    ทีนี้ถ้าหากไม่รู้เท่าทันในสภาวะจริงตามธรรมชาติของเวทนา ไม่รู้ข้อดี ข้อเสียของเวทนา และไม่รู้ทางออกจากเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น แล้วปล่อยให้จิตใจเลื่อนลอยไปตามอารมณ์ จนถึงกับต้องสยบอยู่ในอารมณ์ที่น่ารัก น่ายินดี หรือจนถึงกับเคียดแค้น ชิงชังในอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจยินดี กิเลสอนุสัยต่างๆ เป็นต้นว่า กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อวิชชานุสัย ก็จะฟุ้งขึ้นมาครอบคลุมจิตใจดลจิตดลใจให้ปฏิบัติตามอำนาจของมัน อันเป็นทางให้เกิดความทุกข์ ความเดือดร้อนตามมาได้
     
    แต่ถ้ารู้เท่าทันในสภาวะของเวทนาตามที่เป็นจริง ว่าอยู่ในอาณัติแห่งไตรลักษณ์ และรู้เท่าทันเวทนาว่า ถ้าปล่อยจิตใจให้เลื่อนลอยตามอารมณ์ที่มากระทบแล้ว ก็จะเป็นทางให้กิเลส ตัณหา อุปาทานเข้ามาครอบคลุมจิตใจ ดลจิตดลใจให้ปฏิบัติตามอำนาจของมันได้แล้ว ก็รู้วิธีออกจากเวทนานั้นๆ โดยรวมใจหยุดในหยุด กลางของหยุดในหยุด ให้ละเอียดหนักเข้าไป ไม่ถอยหลังกลับ เมื่อใจไม่น้อมไปสู่อารมณ์และหยุดในหยุด กลางของหยุดในหยุดหนัก เข้าไป(หยุดปรุงแต่ง ส่งจิตส่งใจไปตามอารมณ์) ก็พ้นอำนาจของอนุสัยที่เคยนอนเนื่องอยู่ในขันธสันดาน กิเลส ตัณหา อุปาทานก็ไม่มีทางที่จะเข้ามาย้อมจิตย้อมใจ ทุกข์จะมีมาแต่ไหน จิตใจก็กลับใส สะอาด ปราศจากเครื่องเศร้าหมองทั้งปวง เป็นสุขจากความสงบรำงับด้วยประการฉะนี้แล
     
    นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ - สุขอื่นยิ่งกว่า กาย วาจา และใจ สงบ ไม่มีอีกแล้ว
    จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ - จิตที่ฝึกแล้ว นำสุขมาให้
     
     
     
    จงพิจารณาให้เห็นสภาวะจริงของเวทนาที่เป็นจริงต่อไปอีกว่า เวทนานั้นเกิดแต่จิต ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของใจอันมีอวิชชา ความไม่รู้สภาวะจริงนั้นเอง ทำหน้าที่ปรุงแต่งอารมณ์ เรียกว่า จิตสังขาร อันเป็นเหตุให้เกิดการรับรู้อารมณ์จากภายนอกที่สัมผัสกับทวารต่างๆ ทั้ง ๖ ทวาร แล้วจิตนั้นเองก็เสวยอารมณ์สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขเวทนา แล้วแต่กรณี
     
    เมื่อพิจารณาถึงเหตุที่เกิดเวทนาทั้งหลาย นับตั้งแต่อวิชชาเอง ก็ไม่เที่ยง มีการเกิดดับไปพร้อมกับจิต ซึ่งไม่เที่ยงอีกเช่นเดียวกัน ทั้งอวิชชาและจิต จึงต่างก็หามีตัวตนแท้จริงไม่ ต่างก็เป็นอนัตตา ด้วยกันทั้งสิ้น นี้ข้อหนึ่ง
     
    อาการปรุงแต่งอารมณ์ของจิต นั้นอีกเล่า ก็ไม่เที่ยง มีเปลี่ยนแปลง แปรผันอยู่เสมอ, วันนี้เห็นบุคคล รูปร่างอย่างนี้ แต่งกายอย่างนี้ มีกิริยาอาการอย่างนี้ว่า น่ารัก น่าพอใจ แต่พอภายหลัง กลับไม่ชอบ ไม่ยินดี หรือขัดหูขัดตาไปก็มี ดังนี้เป็นต้น มันไม่เที่ยงอย่างนี้ หากยึดถือก็เป็นทุกข์ เพราะไม่มีแก่นสารให้ยึดถือ อาการปรุงแต่งของจิตจึงเป็นอนัตตา นี้ก็อีกข้อหนึ่ง
     
    ทวารต่างๆ หรือ อายตนะภายใน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กับสิ่งที่จะก่อให้เกิดอารมณ์ คือ อายตนะภายนอกเอง ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งสัมผัสกาย และอารมณ์ทางใจ ก็ไม่เที่ยงอีกเหมือนกัน รวมตลอดทั้งสิ่งที่จะก่อให้เกิดอารมณ์จากภายนอกในรูปอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โลกธรรม ๘ ประการ ไม่ว่าจะเจือด้วยอามิสหรือไม่ก็ตาม เป็นต้นว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตาย หรือการได้กำเนิด เสวยวิบากกรรมจากผลบุญ-บาปในภพภูมิใหม่ใดๆก็ตาม ก็ล้วนแต่ไม่เที่ยงทั้งสิ้น มีเปลี่ยนแปลงตามเหตุปัจจัยนเสมอ ผู้ใดยึดถือก็เป็นทุกข์ เพราะต่างก็ไม่มีแก่นสารตัวตนให้ยึดถือได้ตลอดไป มีเกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมสลายดับสิ้นไปเป็นธรรมดา นี้เป็น อนัตตา อีกข้อหนึ่ง
     
    ก็เมื่อเหตุ-ปัจจัยที่เกิดของเวทนา และสิ่งที่เกี่ยวเนื่องด้วยเวทนาทั้งหลายต่างก็ไม่เที่ยง เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็เปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัย ผู้ใดยึดถือก็เป็นทุกข์เพราะไม่มีตัวตนให้ยึดถือได้ จึงเป็นอนัตตาไปหมด ดังนี้แล้ว เวทนาเองก็จึงหาได้มีแก่นสารแต่ประการใดไม่ อีกเช่นกัน มีเกิดดับเป็นธรรมดา หากผู้ใดยึดมั่นถือมั่นในเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีตก็ได้ อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี, ด้วยความเห็นผิดว่าเป็นของเรา หรือว่า เราเป็นตัวเวทนา เวทนามีในตัวเรา หรือตัวเรามีในเวทนา ซึ่งเรียกว่า สักกายทิฏฐิ ๔ แล้วย่อมเป็นเหตุแห่งความทุกข์ เพราะสภาวะจริงของเวทนานั้น ก็สักแต่เป็นเวทนา หาใช่เป็นของผู้ใดไม่ เป็นอนัตตาแท้ๆ
    
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      35.7 KB
      เปิดดู:
      216
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 21 มีนาคม 2015
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,351
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +70,464
    วิธีเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    พิจารณาและปหานอนุสัยกิเลส( ตามแนววิชชาธรรมกาย )




    -----------------------------------------------------------------

     "อนุสัยกิเลส" หมายถึงกิเลสละเอียดที่นอนเนืองอยู่ในจิตสันดานของสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน ๗ อย่าง
     
    ๑. กามราคานุสัย คือ กิเลสละเอียดประเภทความยินดี พอใจ ติดใจ อยู่ในกามคุณทั้ง ๕ คือรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสทางกาย กิเลสประเภทนี้ เมื่อมีสิ่งที่ก่ออารมณ์จากภายนอกมากระทบ หรือจิตสร้างอารมณ์ขึ้นมาเอง ก็จะแสดงตัวออกมาพร้อมกับอกุศลจิต ในรูปของราคะ โลภะ หรืออภิชฌา-วิสมะโลภะ ซึ่งเป็นกิเลสในระดับกลางและหยาบตามลำดับ
     
    ๒. ทิฏฐานุสัย คือ กิเลสละเอียดประเภทความเห็นผิดซึ่งจะแสดงตัวขึ้นมาในรูปของโมหะ หรือมิจฉาทิฏฐิ พร้อมกับอกุศลจิต ในฐานะเป็นเหตุนำหรือเหตุหนุนแล้วแต่กรณี
     
    ๓. ปฏิฆานุสัย คือ กิเลสละเอียดประเภทความขัดเคืองใจ ไม่พอใจในอารมณ์ต่างๆ เมื่อจิตกระทบเข้ากับอารมณ์ที่ไม่ถูกใจ ก็จะแสดงตัวขึ้นมาในรูปของโทสะ คือความโกรธอย่างรุนแรง ในรูปของโกธะ คือความโกรธอย่างบางเบา หรืออุปนาทะ คือความผูกใจเจ็บ ผูกพยาบาทหรือจองเวร
     
    ๔. ภวราคานุสัย คือ ความยินดีในความเป็นอยู่ในภพ
     
    ๕. มานานุสัย คือ ความอวดดื้อถือดี ไม่ยอมใคร ไม่ว่าจะถูกหรือผิด ถือว่าตนดี หรือถือว่าตนด้อย ซึ่งแสดงออกมาในรูปของมานะทิฏฐิ อันเป็นปมด้อยหรือปมเด่นทางใจต่างๆ
     
    ๖. วิจิกิจฉานุสัย คือ ความลังเลสงสัยในสภาวะธรรมต่างๆ
     
    ๗. อวิชชานุสัย คือ ความไม่รู้แจ้งสัจธรรมทั้ง ๔ ได้แก่ ความไม่รู้ในลักษณะของทุกข์ทั้งลับและเปิดเผย ทั้งที่เห็นง่ายและเห็นยาก, ความไม่รู้ในเหตุแห่งทุกข์, ความไม่รู้ในสภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตุดับ ,ความไม่รู้ในหนทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์อันถาวร, ความไม่รู้อดีต, ความไม่รู้อนาคต, ความไม่รู้ทั้งในอดีตและในอนาคต, และความไม่รู้เหตุและผลที่เกี่ยวเนื่องกัน ที่เรียกว่า "ปฏิจจสมุปบาทธรรม" อวิชชานุสัยนี้จะแสดงตัวออกมาพร้อมกับอกุศลจิตในฐานะที่เป็นทั้งเหตุนำและเหตุหนุนกิเลสอื่น ในลักษณะโมหะหรือมิจฉาทิฏฐิ
     
    อนุสัยกิเลสทั้ง ๗ นี้ ความจริงก็มีอนุสัยหลักอยู่ ๓ ประเภท คือ ปฏิฆานุสัย, กามราคานุสัย และ อวิชชานุสัย
    ส่วนอนุสัยกิเลสอื่นนอกจากนี้ ก็เป็นแต่เพียงรายละเอียดแยกย่อยออกไปจากอนุสัยหลัก ในการพิจารณาสภาวะธรรมจึงจะยกมากล่าวแต่เพียง ปฏิฆานุสัย, กามราคานุสัย และอวิชชานุสัย


    (ต่อจากโพสข้างบน)

    การเจริญจิตตานุปัสสนา เห็นจิตในจิต ตามแนววิชชาธรรมกาย




    ให้ท่านผู้ปฏิบัติรวมใจของทุกกายให้หยุดอยู่ ณ ศูนย์กลางกายธรรมที่ละเอียดที่สุด แล้วให้ญาณ หรือ ตาพระธรรมกายเพ่งลงไปที่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์

    หยุดนิ่ง ให้ดวงเห็น(รับ) ดวงจำ ดวงคิด ดวงรู้หยุดนิ่งเป็นจุดเดียวกันทั้งหมด

    แล้วตรวจพิจารณารอบๆดวงรู้ ก็จะเห็นเครื่องหุ้มของรู้อยู่รอบๆรู้ หนาประมาณ ๑ กระเบียด มีลักษณะสัญฐานกลมประมาณเท่าเมล็ดพริกไทยสีดำ มัวๆ ถ้าเป็นผู้มีกิเลสมาก ก็จะเห็นเป็นสีดำเข้มมาก ถ้าเป็นผู้มีกิเลสน้อยก็จะเห็นเป็นสีมัวๆฝ้าๆเหมือนกระจกฝ้า เครื่องหุ้ม"รู้"อยู่รอบนอกดวงรู้(ดวงวิญญาณ หรือที่เรียกว่าตัวรู้)นี้เองคือ "อวิชชานุสัย"


    ทีนี้ก็ให้ตรวจพิจารณาดูรอบๆดวงคิด หรือ"ดวงจิต" ก็จะเห็นเครื่องหุ้มของคิดมีลักษณะสัญฐานกลม โตประมาณเท่าลูกตาดำหนาประมาณ ๑ กระเบียด สีมัวๆ หุ้มดวงคิด(จิต)อยู่รอบนอก คือ "กามราคานุสัย" สำหรับผู้มีกามราคะกล้า ก็จะเห็นเป็นสีเข้มมาก ถ้ามีกามราคะเบาบางลงมากแล้ว ก็จะเห็นสีมัวๆฝ้าๆ

    เมื่อพิจารณาผ่านไปยังดวงจำและดวงเห็น(รับ) ก็จะเห็นเครื่องหุ้มของเห็นและจำอยู่โดยรอบ มีสัญฐานกลมประมาณเท่าลูกตาขาวทั้งหมด สีดำมัวๆ หนาประมาณ ๑ กระเบียด คือ "ปฏิฆานุสัย" ผู้ที่มีกิเลสประเภทเจ้าโทสะ ก็จะเห็นเป็นสีดำเข้มมาก ถ้ามีกิเลสประเภทโทสะน้อย ก็จะเห็นเป็นสีจางๆมัวๆ

    ตามนัยที่พิจารณานี้ เป็นการพิจารณาจากละเอียดมาหาหยาบ ที่เรียกว่า ปฏิโลม คือจากตัวรู้มาหาตัวเห็น(รับ)




    แต่ถ้าพิจารณาจากหยาบไปหาละเอียดเป็น อนุโลม ก็จะเห็นว่า ปฏิฆานุสัย หุ้มเห็นและจำอยู่ชั้นนอก เหมือนลูกตาขาว, กามราคานุสัย ก็หุ้มคิด(จิต)อยู่ชั้นกลางเข้าไปเหมือนลูกตาดำ, และอวิชชานุสัย ก็หุ้มตัวรู้(วิญญาณ)อยู่ชั้นในเข้าไปอีก เหมือนแววตาดำฉะนั้น

    เนื่องด้วยอนุสัยทั้งสาม คือ ปฏิฆานุสัย กามราคานุสัย และอวิชชานุสัยนี้ต่างก็หุ้ม เห็น จำ คิด รู้ เป็นไส้กัน คือในกลางของกลาง เป็นชั้นๆกันเข้าไปในจิต นี้ประการหนึ่ง, และตัวอนุสัยกิเลสเอง ก็เกิดจากความนอนเนืองของกิเลส ทั้งหยาบ กลาง ละเอียด ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมอกุศลจิตที่ฟุ้งซ่านออกไปรับ-ไปยึด ไปเกาะอารมณ์ภายนอกที่ถูกใจบ้าง ที่ไม่ถูกใจบ้าง และที่เฉยๆบ้าง แล้วประกอบกรรมที่เป็นอกุศลด้วย กาย วาจา ใจ ไปโดยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือเพราะความมืดมน ไม่รู้จักบาปบุญคุณโทษ หรือไม่รู้จักทางเจริญ ทางเสื่อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิเลสประเภทโมหะและมิจฉาทิฏฐิ ได้แก่ความหลงผิด เห็นผิด ความไม่รู้แจ้ง แล้วหมักหมมนอนเนื่องอยู่ในจิตสันดาน นี้อีกประการหนึ่ง

    การกำจัดหรือปหานอนุสัยกิเลสเหล่านี้ จึงต้องกระทำที่จิตใจ อันประกอบด้วย เห็น(รับ) จำ คิด รู้ ซึ่งเป็นชุมทางของกิเลสนั่นเอง

    กล่าวคือ ผู้ถึงธรรมกายแล้ว ก็ให้หมั่นพิสดารกายไปสู่สุดละเอียดอยู่เสมอ หรือให้อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของใจรวมหยุดอยู่ ณ ศูนย์กลางกายธรรมที่สุดละเอียด ทุกอริยาบถ ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน ก็ให้เห็นละเอียดอยู่เสมอ เห็นดำหรือขุ่นมัวก็รู้แล้วละจนใสสะอาดทันที เพราะดำหรือขุ่นมัวนั้นก็คือ ธรรมฝ่ายอกุศลและอัพยากฤต ซึ่งกำลังแทรกซ้อนเข้ามาในจิตใจ เอิบอาบ ซึมซาบ ปนเป็น เข้ามาในจิตใจ จึงต้องมี"สติพิจารณาเห็นจิตในจิต"เป็นภายในแล้วเร่งกำจัดเพื่อชำระจิตใจให้ใสสะอาดบริสุทธิ์อยู่เสมอ โดยให้รวมใจหยุดในหยุดกลางของหยุดในหยุด กลางของกลางๆๆลงไป ณ ที่ศูนย์กลาง เห็น จำ คิด รู้ นั่นแหละ

    พอใจหยุดนิ่งได้ถูกส่วนเข้า จิตดวงเดิมซึ่งตั้งอยู่ในท่ามกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์หยาบก็ตกสูญ ลงไปยังฐานที่ ๖ แนวสะดือ เมื่อจิตดวงเดิมว่างหายไป จิตดวงใหม่พร้อมด้วยดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดก็จะบังเกิดขึ้นมาแทนที่ เครื่องหุ้ม เห็น จำ คิด รู้ คือ ปฏิฆานุสัย กามราคานุสัย และอวิชชานุสัย ก็จะจางลงและกลับใสละเอียด บริสุทธิ์ยิ่งขึ้นกว่าเดิม ทำให้ดวงเห็น จำ คิด รู้ของกายมนุษย์ละเอียดขยายส่วนโตขึ้นกว่าของกายมนุษย์หยาบ คือโตขึ้นเป็นประมาณสองเท่าของไข่แดงของไข่ไก่

    ทีนี้ก็ให้ใจของกายมนุษย์ละเอียดรวมหยุดนิ่งลงไปที่ตรงกลางเห็น จำ คิด รู้ ของกายมนุษย์ละเอียดต่อไป พอใจหยุดถูกส่วนเข้า จิตดวงเดิมพร้อมด้วยดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดนั้นก็ตกสูญว่างหายไปอีก แล้วจิตดวงใหม่พร้อมด้วยดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ก็ปรากฎขึ้นแทนที่ เครื่องหุ้มเห็น จำ คิด รู้ คือปฏิฆานุสัย กามราคานุสัย และอวิชชานุสัยของทิพย์ก็จางลง ใสละเอียดและสะอาดบริสุทธิ์ยิ่งกว่าของกายมนุษย์ละเอียด ดวงเห็น จำ คิด รู้ก็ขยายส่วนโตขึ้นไปอีก เป็นประมาณสามเท่าของไข่แดงของไข่ไก่... พอใจหยุดนิ่งถูกส่วน จิตดวงเดิมและดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ก็ตกสูญ ว่างหายไป ปรากฎดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด เป็นไปในลักษณะนี้ตามลำดับในกายต่างๆ กายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหม

    จนถึงใจของกายอรูปพรหมละเอียด หยุดนิ่งลงไปที่กลางเห็น จำ คิด รู้ ตรงกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียดต่อไปอีก พอใจหยุดถูกส่วนเข้า ก็จะตกสูญพร้อมด้วยดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด ว่างหายไป แล้วจะเห็นจิตของธรรมกายโคตรภู พร้อมด้วยดวงธรรมของธรรมกายโคตรภู ก็ปรากฎขึ้นแทนที่ อวิชชานุสัย เครื่องหุ้มรู้ ก็ยิ่งใสละเอียดยิ่งขึ้น และกลับเป็น"วิชชา" ธรรมเครื่องช่วยให้รู้แจ้งเห็นจริงในสัจธรรมและสภาวะที่แท้จริงของธรรมชาติ ทั้งที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง และไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งตามความเป็นจริง ดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด ดวงรู้ ก็ขยายขึ้นโตเต็มส่วนเท่าหน้าตักและความสูงของธรรมกาย

    "กาย กับ ใจ" ของธรรมกายก็กลับเป็น ปฐมมรรค เป็นเนื้อหนังที่แท้จริง รวบยอดกลั่นออกมาจากพระวินัยปิฎก(สภาวะ) ดวงศีล ก็เป็นอธิศีลไป คือศีลยิ่งอย่างแท้จริง กาย วาจา ใจตลอดทั้งเจตนา ความคิดอ่านทั้งหลาย เป็นอันสะอาดบริสุทธิ์ทั้งหมด

    "จิต" ก็กลับเป็น มรรคจิต เป็นเนื้อหนังอันแท้จริง รวบยอดกั่นมาจากพระสุตตันตปิฎก(สภาวะ) เป็น อธิจิต คือ จิตอันยิ่งแท้ๆ

    "ตัวรู้"หรือ"วิญญาณ" ก็เป็น มรรคปัญญา เป็น ญาณ เพราะอวิชชานุสัย เครื่องหุ้มของรู้จางลงมาก จึงใสละเอียดบริสุทธิ์จากเครื่องเศร้าหมองมาก และขยายโตเต็มส่วนของธรรมกาย มรรคปัญญานี้เป็นเนื้อหนังที่แท้จริง รวบยอดกลั่นออกมาจากพระอภิธรรมปิฎก(สภาวะ) จึงเป็น อธิปัญญาแท้ๆ

    กายธรรมนี้เองคือพุทธรัตนะ ดวงธรรมของธรรมกาย คือ ธรรมรัตนะ และกายธรรมละเอียดๆในท่ามกลางพุทธรัตนะนี้คือ สังฆรัตนะ

    ก็ให้ใจของกายธรรมหยุดในหยุด ลงไปที่กลางของกลางๆๆ ต่อๆไปอีก ก็จะถึงจิตและดวงธรรมของกายธรรมที่ละเอียดๆต่อไป คือ ธรรมกายโคตรภูละเอียด, ธรรมกายโสดาบัน, ธรรมกายโสดาบันละเอียด, ธรรมกายสกิทาคามี, ธรรมกายสกิทาคามีละเอียด, ธรรมกายอนาคามี, ธรรมกายอนาคามีละเอียด, ธรรมกายอรหัตต์, ธรรมกายอรหัตต์ละเอียด ซึ่งใสละเอียด บริสุทธิ์จาก
    เครื่องหุ้มฝ่ายอกุศลทั้งปวง ดวงธรรมของธรรมกายก็ขยายส่วนโตขึ้นไป ตามลำดับยิ่งดำเนินไปสุดละเอียดเพียงใด จิตใจก็จะยิ่งใสสะอาดบริสุทธิ์จากเครื่องเศร้าหมองยิ่งขั้นไปเพียงนั้น

    ทั้งหมดนี้ คือการเจริญภาวนาพิจารณาสภาวะของจิตให้รู้จริงเห็นจริงตามธรรมชาติ พร้อมด้วยถอนอนุสัยกิเลสจากจิตของกายหยาบ ไปสู่จิตที่ละเอียดยิ่งกว่า จนถึงโลกุตตรจิต คือจิตของธรรมกายซึ่งเป็นกายในกายที่สุดละเอียด พ้นจากกายในภพสามนี้ตั้งแต่กายที่เก้าเป็นต้นไปจนสุดละเอียด ช่วยให้ปัญญาหยั่งรู้เจริญขึ้นอย่างรวดเร็วจากการที่ได้ทั้งรู้และทั้งเห็น พร้อมด้วยวิชชา ได้แก่ วิชชาสาม วิชชาแปด ที่จะใช้ปหานอวิชชาอันเป็นมูลรากฝ่ายเกิดบาปอกุศลทั้งปวงให้หมดสิ้นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

    เพราะฉะนั้น แนวทางปฏิบัติภาวนาตามแนววิชชาธรรมกาย ที่ให้ผู้ปฏิบัติรวมใจหยุดในหยุด กลางของหยุดในหยุด ผ่านกาย เวทนา จิต และธรรม หรือที่เรียกว่า พิสดารกายจนสุดละเอียด

    แล้วก็รวมใจหยุดในหยุดไว้ ณ ศูนย์กลางกายธรรมที่ละเอียดที่สุดที่เข้าถึงอยู่เสมอ อย่างน้อยก็ครึ่งหนึ่งของใจ ให้เห็นใส ละเอียด สะอาดบริสุทธิ์จากเครื่องเศร้าหมองอยู่เสมอนั้น ก็คือการปฏิบัติภาวนาที่ให้ผลเป็นการดับกิเลสจากจิตของกายหยาบไปสู่จิตของกายละเอียด

    ที่เรียกว่า "ดับหยาบไปหาละเอียด"ไปจนสุดละเอียด อันเป็นธรรมเครื่องปหานหรือกำจัดอนุสัยกิเลสที่ละเอียดๆและนอนเนื่องอยู่ในจิตสันดานให้หมดสิ้นไป ด้วยโลกุตตรปัญญา คือมรรคจิตและมรรคปัญญา(โลกุตตรฌานและโลกุตตรวิปัสสนา)อันเจริญขึ้นเมื่อถึงธรรมกายแล้ว

    พร้อมด้วยวิชชา ธรรมเป็นเครื่องช่วยให้รู้แจ้งเห็นจิรงในสัจธรรม และสภาวะของธรรมชาติที่เป็นจริงจากการได้ทั้งรู้และเห็นนั่นเอง


    และในขณะเดียวกัน การเจริญภาวนาดังกล่าวก็มีลักษณะเป็นการถอดขันธ์จากกายโลกียะทั้งแปด ซึ่งเป็นกายที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง และต้องตกอยู่ในอาณัติแห่งไตรลักษณ์ ไปสู่กายที่ละเอียดกว่า คือ ธรรมขันธ์ ซึ่งเป็นกายที่พ้นภพสามไปแล้ว และไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง เป็นอสังขธาตุ อสังขตธรรมล้วนๆ จึงไม่ต้องตกอยู่ในอาณัติแห่งไตรลักษณ์

    ผลจากการเจริญภาวนาดังกล่าวนี้เอง ที่สามารถช่วยให้เจโตวิมุตติ หลุดพ้นจากกิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลก ได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ และเสวยสุขจากความสงบด้วยปัญญาอันเห็นชอบต่อไป



    [​IMG]
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,351
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +70,464
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,351
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +70,464
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,351
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +70,464
    [​IMG]



    ลุงจอน (นามสมมติ) ซึ่งเป็นผู้เจริญภาวนาธรรมตามแนว “วิชชาธรรมกาย” ได้เล่าว่า ...

    ในตอนเย็นของวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๑๘

    ท่านได้รับโทรเลขจากญาติของท่านว่า “คุณแม่ป่วยหนัก ให้ไปด่วน”

    ทั้ง ๆ ที่ลุงจอน ได้ผ่านการเจริญภาวนาธรรมมานานพอสมควร

    แต่ก็อดที่จะรู้สึกใจหายวาบชั่วระยะเวลาหนึ่งไม่ได้



    เพราะตั้งแต่ลุงจอนเกิดมา ก็เพิ่งเคยได้รับโทรเลขทำนองนี้มาก่อนว่า

    “คุณพ่อป่วยหนัก ให้กลับด่วน”

    พอลุงจอนเดินทางไปถึง ก็ปรากฏว่า ... คุณพ่อของลุงจอน ได้เสียชีวิตไปแล้ว

    เพราะฉะนั้นในคราวนี้จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า ลุงจอนจะสะเทือนใจเพียงใด



    เมื่อลุงจอนระงับใจ “พิจารณาสังขารธรรม” แล้ว

    ท่านก็ชวนบุตรสาวคนเล็ก (อายุ ๑๗ ปี) ให้ไป “เจริญภาวนาธรรม” ด้วยกัน

    เพื่อ อุทิศส่วนกุศล ให้คุณแม่ ... ไม่ว่าท่านจะยังคงมีชีวิตอยู่หรือไม่ก็ตาม

    และเพื่อจะ “ตรวจ” ดูว่า ... คุณแม่จะเป็นตายร้ายดีอย่างไรอีกด้วย



    เมื่อสองพ่อลูก เจริญภาวนาธรรม

    ... จนจิตใจสงัดจาก นิวรณ์ธรรม ทั้งหลายแล้ว

    ก็อธิษฐานเอาสภาวะของคุณแม่ ตามที่เป็นอยู่จริงในปัจจุบัน

    เข้ามาพิจารณาดู ณ ที่ “ศูนย์กลางกาย”

    ซึ่งก็ได้เห็นด้วย “ญาณทัสสนะ” ตรงกันว่า ...



    คุณแม่ของลุงจอน ... กำลังป่วยหนัก

    และกำลังได้รับการฉีดยา / ให้น้ำเกลือจากนายแพทย์

    โดยมีญาติอีกคนหนึ่ง กำลังพยายามป้อนอาหารเหลว ๆ ให้

    และได้เห็นอีกว่า ... คุณแม่มีเรี่ยวแรงเหลืออยู่น้อยเต็มที





    เพื่อให้แน่ใจยิ่งขึ้น ลุงจอนและบุตรสาวจึงได้ ...

    พิจารณา “อริยสัจ” ของกายมนุษย์ (ของคุณแม่) ตามแนว วิชชาธรรมกาย

    โดยใช้ “ญาณของพระธรรมกาย” ดู ทุกขสัจจะ ได้แก่

    ดวงธรรม ที่ทำให้ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ก็ปรากฏว่า ...



    ดวงตาย ซึ่งมีลักษณะสีดำสนิทประดุจนิล ... ของคุณแม่ลุงจอน

    ที่ซ้อนอยู่ใน ดวงเจ็บ ... ยังไม่มาจรดที่ กำเนิดเดิม

    ให้หัวต่อของมนุษย์ ... ขาดจากของทิพย์

    ซึ่งหมายความว่า คุณแม่ของลุงจอน ... ยังมีชีวิตอยู่



    และเมื่อลุงจอนกับบุตรสาว ได้พิจารณาดู ...

    สมุทัยสัจจะ นิโรธสัจจะ และ มรรคสัจจะ ต่อไปตามลำดับ

    เสร็จแล้วจึงได้น้อม บุญกุศล ... ที่ได้บำเพ็ญมา

    บูชาแด่ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์

    ทั้งในอดีด ปัจจุบัน และในอนาคต ทุก ๆ พระองค์

    รวมทั้งพระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ (สด จนฺทสโร)



    แล้วอุทิศ บุญกุศล นี้ผ่าน “ศูนย์กลางกาย” ของตนเองไปให้ ... คุณแม่

    เพื่อให้ บุญกุศล เหล่านั้น ... ช่วยหล่อเลี้ยงท่าน

    ... ให้บรรเทาจากอาการเจ็บป่วย และมีกำลังดีขึ้น

    พร้อมด้วย แผ่เมตตา ไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลาย ... ไม่มีประมาณ





    ต่อมาในวันรุ่งขึ้น ก่อนออกเดินทางไปเยี่ยมคุณแม่ที่จังหวัดบุรีรัมย์

    ลุงจอนได้มีโอกาส สนทนากับ พระอาจารย์ (วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ) ทางโทรศัพท์

    จึงเล่าเรื่องอาการป่วยของคุณแม่ ให้พระอาจารย์ท่านฟัง

    ท่านได้ตอบว่า “ไม่เป็นไรหรอก อย่าได้วิตกกังวลไปเลย”

    ทำให้ลุงจอน รู้สึกสบายใจขึ้น

    เพราะได้รับการยืนยันจาก “ญาณทัสสนะ” ของผู้ปฏิบัติธรรมถึงสามท่าน

    เมื่อเดินทางมาถึงแล้ว ก็ได้ทราบว่า

    สิ่งต่าง ๆ ที่ได้เห็นใน “ญาณทัสสนะ” นั้น ... เป็นจริงทุกประการ





    จากประสบการณ์ ในการเจริญภาวนาธรรมตามแนว “วิชชาธรรมกาย” นี้

    ช่วยให้ลุงจอนและบุตรสาว เกิด “ปัญญา”

    จากการที่ได้ ทั้งรู้และทั้งเห็น ... ความจริง

    ตามสภาพที่เป็นจริง ๒ ประการ คือ



    ๑. การ รู้เห็น ถึงอาการเจ็บป่วยของคุณแม่ และรู้ว่าท่านยังมีชีวิตอยู่

    รวมทั้งเหตุการณ์แวดล้อมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น ... ตามความเป็นจริง

    นับว่า เป็นการรู้เห็นความจริงโดยสมมติ (สมมติสัจจะ) ว่า

    สังขารทั้งหลาย เป็นของไม่เที่ยง

    เป็นทุกข์

    และต้องแตกสลายไป หาใช่ตัวตนที่แท้จริงไม่



    ๒. การพิจารณา “อริยสัจ” เมื่อได้ทำบ่อย ๆ เนือง ๆ

    ทบไปทวนมา มาก ๆ เข้า ก็จะเกิด ปัญญารู้แจ้ง ด้วย “ญาณ ๓” คือ

    มีปัญญารู้แจ้ง ว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตาย นี้ไม่เที่ยง ไม่แน่นอน จึงเป็น ทุกข์

    สมุทัย เป็นเหตุให้เกิดทุกข์จริง

    นิโรธ สามารถดับทุกข์ได้จริง

    มรรค เป็นทางให้หลุดพ้นจากทุกข์ได้จริง

    เรียกว่า “สัจจญาณ”



    มีปัญญารู้แจ้ง ว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตาย นี้เป็น ทุกข์จริง และเป็นสิ่งอันควรรู้

    สมุทัย เป็นสิ่งอันควรละ

    นิโรธ เป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้ง

    มรรค เป็นสิ่งที่ควรเจริญ

    เรียกว่า “กิจจญาณ”



    มีปัญญารู้แจ้ง ว่า

    ทุกข์ ได้รู้ชัดแจ้งแล้ว

    สมุทัย ละได้ขาดแล้ว

    นิโรธ ทำให้แจ้งแล้ว

    มรรค ได้ทำให้เจริญแล้ว

    เรียกว่า “กตญาณ”





    “ญาณ ๓” คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ หรือ “อริยสัจ ๑๒” นี้

    จะเห็นแจ้ง หรือกำหนดรู้ได้ ก็แต่โดยทาง เจโตสมาธิ

    (สมาธิที่ประดับด้วย อภิญญา หรือ วิชชาสาม)

    หรือใน “วิชชาธรรมกาย” นี้เท่านั้น



    ใน “พระไตรปิฎก” มีระบุไว้อย่างชัดแจ้ง

    ใน ธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร ปฐมเทศนา พระวินัยปิฎก ข้อ ๑๕ และ ๑๖ ว่า

    เป็น ญาณทัสสนะ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒

    ปัญญารู้แจ้งในสัจจธรรมดังกล่าว เป็น สัจจะขั้นสูงสุด

    เป็น ทางทำนิพพานให้แจ้ง จึงนับเป็น ปรมัตถ์สัจจะ ด้วย









    * ที่มาหนังสือ พุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย

    ใน โครงการธรรมปฏิบัติเพื่อประชาชน วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,351
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +70,464
    บางครั้งเห็นดวงแกว่งลอยไปด้านซ้ายบ้างด้านขวาบ้าง หรือวิ่งเป็นวงบ้าง จะทำอย่างไร เพราะรู้สึกปวดหัว ?

    ---------------------------------------------------------------------

    ตอบ:


    ขณะปฏิบัติภาวนาอยู่เช่นนั้น ให้เหลือบตากลับขึ้นนิดๆ พร้อมกับกำหนดใจให้เห็นจุดเล็กใส ตรงศูนย์กลางกาย นิ่งๆ เข้าไว้ ไม่ต้องใช้ใจบังคับดวงที่แกว่งนั้น ดวงจะเลื่อนไปไหนก็ช่าง อย่าตาม อย่าเสียดาย


    คงให้รวมใจหยุดนิ่งๆ คือนึกให้เห็นจุดเล็กใส ตรงศูนย์กลางกายไว้ให้มั่น กลางของกลางเข้าไว้ จะใช้บริกรรมภาวนาว่า “สัมมาอรหังๆๆ” ณ จุดเล็กใสนั้นช่วยด้วยก็ได้

    ไม่ช้าใจจะหยุดนิ่ง และก็ปรากฏดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายใสแจ่มขึ้นมาเอง

    ข้อสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ขณะปฏิบัติภาวนา อย่าบังคับใจที่จะให้เห็นจนเกินไป เพราะจะทำให้เกร็งและปวดศีรษะ ให้ผ่อนใจพอดีๆ แล้วจะค่อยๆ เห็นชัดเอง.
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,351
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +70,464
    [​IMG]



    “การเจริญภาวนาวิชชาธรรมกาย ... ให้ก้าวหน้าได้ผลดี”

    โดย
    หลวงป๋า




    เมื่อเห็น “ธรรมกาย” แล้ว
    โปรดจำไว้ว่า ... เห็นแล้วต้อง “เข้าถึง”
    ทุกอย่างต้อง ... “เข้าถึง”

    “วิธีเข้าถึง”
    ไม่ว่าจะเห็นดวงธรรม หรือกายละเอียดกายใดก็ตาม
    มีอุบายวิธีคือ “เหลือกตากลับนิดๆ”
    นั้นก็เพื่อมิให้สายตาเนื้อ ไปแย่งหน้าที่ตาใน
    ในขณะเดียวกันนั้นก็มีธรรมชาติอยู่อย่างหนึ่งคือ
    “ใจ” ของคนเรานี้ชอบที่จะฟุ้งซ่านออก “ข้างนอกตัว”

    ถ้าจะให้ ... “เข้าใน”
    เมื่อ ใจ ... จะ “เข้าใน” เมื่อไหร่
    ตาจะเหลือกกลับเองเมื่อนั้น ... นี้เป็นธรรมชาติ
    แต่เราไม่ได้สังเกตตัวเอง
    แต่ถ้าใครสังเกต เด็กทารกเวลานอนหลับ
    ก็จะพบว่า ตาของเด็กนั้นจะเหลือกกลับตลอดเวลา
    และนี่ก็เป็นธรรมชาติที่แปลก

    ซึ่ง “หลวงพ่อวัดปากน้ำ” ท่านพบและเข้าใจเลยว่า ...
    เวลาที่สัตว์จะเกิด จะดับ จะหลับ จะตื่น
    เมื่อจิตหยุดนิ่งตรงศูนย์กลาง “กำเนิดธาตุธรรมเดิม”
    จิตดวงเดิม ... จะ “ตกศูนย์”
    จิตดวงใหม่ จะเกิดขึ้นมาใหม่ตรงนั้น
    อาการของสัตว์โลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งมนุษย์เรา ... ตาจะเหลือกกลับ

    เพราะฉะนั้น ... “อุบายนี้ เป็นเรื่องสำคัญ”
    เมื่อเราเหลือกตากลับนิดๆ ... ใจจะ “หยุดข้างใน” ได้โดยง่าย
    จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องฝึกให้ชำนาญ
    ผู้ที่ทำวิชชาชั้นสูงนั้น ... ตาเขาจะเหลือกกลับตลอดเวลา
    แต่ต้องไม่ลืมตา คือ ตาจะพรึมๆอยู่แล้วนั่นแหละ
    ใจจะ “เข้าใน และ ตกศูนย์” อย่างละเอียดด้วย

    เพราะฉะนั้น …
    วิธีทำให้ใจสามารถเข้าไปเห็น “ดวงในดวง” “กายในกาย”
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์พระหรือ “ธรรมกาย” ได้สนิทดีนั้น
    ให้เหลือกตากลับนิดๆ ... แล้วนึกเข้าไปเห็น “ศูนย์กลางองค์พระ”
    เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ ... ไม่ใช่มองดูเฉยๆ


    ถ้ามองดูเฉยๆ ... มองไปอย่างไร ก็ไม่ก้าวหน้า
    ต้องนึก ... “เข้าไปเห็น” และ “เข้าไปเป็น”


    ถ้า “เห็นดวง” ก็นึก ... “เข้าไปเห็น ณ ภายใน”
    ทิ้งความรู้สึกภายนอกของเรา ... เข้าไปเห็นภายใน
    เหมือนกับมีกายอีกกายหนึ่งของเรา ... เข้าไปเห็นข้างใน
    ทำอย่างนี้ ... จะก้าวหน้าได้

    ถ้า “เห็นกาย” แล้ว ก็ให้ ... “ดับหยาบไปหาละเอียด”
    คือ สวมความรู้สึก เข้าไปเป็นกายละเอียดนั้นเลย
    ทิ้งความรู้สึก อันเนื่องอยู่กับกายเนื้อของเรา

    “กายละเอียด” ปรากฏขึ้นมาเมื่อไหร่
    ก็ “ดับหยาบไปหาละเอียด” เข้าไปเป็นกายละเอียดนั้น
    แล้ว ใจ ก็จะ “ตกศูนย์” เอง
    เพราะว่า ใจของกายละเอียดนั้น ... จะทำหน้าที่เอง
    โดยวิธีดังนี้ ใจของกายละเอียด ... จะทำหน้าที่เจริญภาวนาต่อ
    หยุดนิ่งเข้าไปจนถึง ... ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ
    อันเป็น เจตสิกธรรม ที่สุดละเอียดของใจ ของกายนั้น
    แล้วก็จะถึงธาตุธรรม เห็น, จำ, คิด, รู้
    คือ “ใจ” ของอีกกายหนึ่ง ที่ละเอียดๆต่อไป
    เหมือนกับการถ่ายทอดถึงซึ่งกันและกัน ... เข้าไปจนสุดละเอียด



    ที่กล่าวมานี้ก็เป็นอุบายวิธี ในการเจริญจิตตภาวนาให้ได้ผลดี
    ซึ่งพอจะสรุปหลักย่อๆได้ ๔ ประการ คือ

    ๑. เห็นดวง ให้ “เดินดวง”
    คือ นึกเข้าไปเห็น “จุดเล็กใส ที่ศูนย์กลางดวง”
    ให้ “ใจ” ... หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของกลางดวง
    ให้เห็นใสละเอียด ... ไปจนสุดละเอียด

    ๒. เห็นกาย ให้ “เดินกาย”
    คือ “ดับหยาบไปหาละเอียด”
    คือนึกเข้าไปเห็น “จุดเล็กใส ที่ศูนย์กลางกายละเอียด” ที่ปรากฏขึ้นใหม่
    ให้ ใจของกายละเอียด นั้น ... เจริญภาวนา
    ... หยุดในหยุด กลางของหยุด
    ให้เห็นใสละเอียด ทั้งดวง ทั้งกาย ทั้งองค์ฌาน

    ๓. โดยวิธีเหลือกตากลับนิดๆ(ไม่ต้องลืมตา) ... ขณะเจริญภาวนา
    จะป้องกันไม่ให้สายตาเนื้อ ไปแย่งงานจิตตภาวนาของตาใน
    และจะช่วยให้ใจหยุดนิ่ง “กลางของหยุด” ณ ศูนย์กลางกายได้ดี

    ๔. “เข้ากลาง ทำให้ขาว”
    คือ นึกเข้าไป “หยุดในหยุด” “กลางของหยุด”
    ณ “ศูนย์กลางดวง” หรือธาตุธรรม เห็น, จำ, คิด, รู้
    ... ของกายที่ใสละเอียดที่สุดไว้เสมอ *






    ที่มา “หนังสือตอบปัญหา ธรรมปฏิบัติ”
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,351
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +70,464
    ใครที่มีเวลาฟัง โปรดฟังเทศน์เรื่องนี้ (Recommend) เพราะหลวงป๋าท่านกล่าวได้ชัดเจนมาก


    แต่ถ้าใครไม่มีเวลาผมจะสรุปให้อ่านคร่าวๆ คือ การเข้าถึงธรรมกายนั้นหากเป็นปุถุชนเข้าถึงก็จะเป็นแบบวิขัมภนวิมุติ คือเข้าถึงได้โดยการข่มกิเลส เข้าถึงกายไหนอารมณ์ก็จะทรงแบบกายนั้นที่เข้าถึง เช่นถึงกายอรหัตละเอียดอารมณ์ก็จะเป็นแบบพระอรหันต์ แต่เมื่อออกจากสมาธิหรือถอยมาหยาบก็จะออกมารับกิเลสเหมือนเดิม


    ส่วนอีกแบบคือเมื่อบุญบารมีเต็ม มรรคจิตเกิด อริยมรรคมีองค์8 รวมกันเป็นเอกสามัคคี พิจารณาอริยสัจ4 ในทิพย์ พรหม อรูปพรหมเป็นไปด้วยญาณ3 สัจจะญาณ กิจจะญาณ กตญาณ เป็นแบบสมุทเฉทปหานได้เด็ดขาด คือ สามารถตัดสังโยชน์ 10 ได้ตามสัดส่วนตั้งแต่พระโสดาบันถึงพระอรหันต์ ตัดได้เด็ดขาดไม่กลับมาอีก



    ถามว่าพระบางรูปเป็นพระอรหันแบบสุขวิปัสกะ เจริญแต่ปัญญา คือบรรลุพระอรหันต์แต่ไม่เห็นธรรมกาย มีมั้ย.. ตอบว่ามี เช่นพระจักขุบาล บรรลุเป็นพระอรหันต์แต่ไม่มีฤทธิ์ไม่เห็นธรรมกายอรหัต ณ ภายใน จึงไม่สามารถใช้ตาของธรรมกายมองเทวดาได้ ส่วนว่าถ้าผู้ที่เข้าถึงธรรมกายแล้วๆเมื่อไหร่จะบรรลุได้จริงๆเป็นสมุทเฉทปหานนั้น ก็ต้องอยู่ที่กำลังคือบารมี30ทัศที่บำเพ็ญมาว่ามีเต็มส่วนแค่ไหน หากอธิษฐานแค่อรหันตสาวก แล้วบารมีเต็มแล้วพอเข้าถึงธรรมกายก็จะมีกำลังตัดสังโยชน์ได้เด็ดขาดเอง เช่นมีกำลังตัดสังโยชน์ 3 ข้อแรกได้เด็ดขาด กายพระโสดาปัตติมรรคตกศูนย์ กายพระโสดาปัตติผลก็จะเกิดขึ้น ก็จะเป็นกายพระโสดาบันที่ใสแจ่มที่คงอยู่ตลอด ไม่มัวหมอง แม้จะหลับตาลืมตา หรือนอนหลับ
    แต่ผู้ที่บารมียังไม่เต็ม 30ทัศ แม้เข้าถึงธรรมกายแต่ก็ไม่สามารถทำให้เด็ดขาดเป็นสมุทเฉทปหานได้ (เปรียบเสมือนเป็นโคตรภูบุคคล) จึงยังไม่เป็นธรรมกายตลอด24 ชม. เหมือนกับผู้ที่ตัดได้เด็ดขาด อุปมา(อันนี้อุปมาเอง) เหมือนเราอุดน้ำที่กำลังจะผ่านเข้าบ้านจากกำแพงบ้านที่มีรู หากเราใช้ดินน้ำมันอุด มันก็อุดได้พักเดียว เดี๋ยวก็จะหลุดและน้ำก็ไหลเข้ามา เราก็จะอุดแล้วอุดอีก ตอนอุดน้ำก็ไม่ไหล แต่พอดินน้ำมันหลุดน้ำก็ไหลเข้าได้เป็นธรรมดา หากว่าเราใช้ปูนในการอุด น้ำก็จะไม่สามารถไหลเข้าไปได้เลย ไม่ต้องคอยอุดรูรั่วบ่อยๆ ฉันใดฉันนั้น และความหมายของคำว่าธรรมกายนั้น หลวงป๋าใช้คำว่า เป็นคุณธรรม ณ ภายในของพระอริยเจ้า พระอริยสงฆ์ พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาประมวลรวมกัน



    คุณธรรม ณ ภายในนั้น สามารถเข้าถึงได้ มีได้ทุกคนแต่ก็ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป(พระป่าบางรูปท่านฝึกวิปัสนาอย่างเดียว ก็ไม่ได้เห็นธรรมกาย แต่เป็นธรรมกายซึ่งเป็นคุณธรรม ณ ภายในที่ท่านทรงอยู่) อย่างเช่นพระที่สำเร็จแบบสุขวิปัสโก เป็นต้น อาจจะไม่เห็นธรรมกาย ณ ภายในก็ได้ แต่ว่าสามารถที่จะตัดสังโยชน์ได้
    อุปมาเหมือนไม่ได้ไปเห็นการขุดบ่อน้ำมัน ไม่เห็นว่าน้ำมันดิบเป็นยังไง แต่มีเงินสามารถซื้อน้ำมันมาขับได้ แบบนี้เรียกว่าการเป็นคุณธรรม ณ ภายในแต่ไม่ได้เห็น แต่ตามแนวที่หลวงพ่อสดสอนนั้นจะมีอภิญญา วิชชา ประกอบด้วย และเห็นพระธรรมกายภายใน จึงเรียกว่า ทั้งเข้าถึง รู้เห็น และเป็นในคุณธรรม ณ ภายใน .....



    https://youtu.be/PPsjgE7sxPE
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,351
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +70,464
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,351
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +70,464
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,351
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +70,464
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,351
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +70,464
    ถาม----ถ้าฝึกธรรมกายมานาน 10 ปี แล้วไม่เห็นดวงปฐมมรรค ควรจะฝึกต่อไปหรือเปลี่ยนไปฝึกแบบอื่น ?






    ตอบ:


    หลายคนมีจิตใจหลายอย่าง มีหลายอารมณ์ กระผมจะกล่าวเฉพาะอารมณ์ของกระผมว่า อะไรที่มันถูกต้องดีแล้ว ทำไปเลยจนตาย ไม่ต้องเปลี่ยน หลวงพ่อรับรองว่าก่อนตายได้เห็นทุกคน มีแม่ชีคนหนึ่ง วัดปากน้ำ


    แกนั่งเท่าไรก็ไม่เห็น ตั้งแต่สาวเล็กๆ จนกระทั่งสาวใหญ่ ใหญ่ไปจนกระทั่งสาวแก่ ก็ไม่เห็น ก็หงุดหงิด เจ็บใจนัก เลยไปทำหน้าที่ประเภทล้างถ้วยล้างชาม ล้างกระโถน ตอนหลังแก่ป่วยจะตาย แกเห็นจริงๆ แกบอกแกเห็นแล้ว

    ปฏิบัติไป ประกอบด้วยเหตุปัจจัยหลายอย่าง กว่าที่จะเห็นได้ บางคนช้า บางคนเร็ว เมื่อเราเห็นว่าเป็นวิธีที่ถูกต้อง เหมาะสมแล้ว เราเดินหน้าอย่างเดียว เดี๋ยวเดียวก็ถึง อย่าไปนึกว่ามันช้า

    หลวงพ่อเองก็หลายปีกว่าจะเห็น อาศัยว่าว่ากันเต็มที่ จนถึงกับปล่อยชีวิต คำว่าปล่อยชีวิต มีคนค้านว่า เมื่อยอมตายแล้วจะอยู่ได้อย่างไร คำว่าปล่อยชีวิต หมายว่า เมื่อไม่ได้อย่างนี้แล้วปล่อย ยอมตาย ท่านทำได้อย่างนี้ก็ไม่ต้องตาย เหมือนพระพุทธเจ้าสมัยเป็นพระโพธิสัตว์ ถ้าไม่ได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณจะไม่ลุกจากที่ ถึงแม้เลือดเนื้อจะแห้งเหือดไปก็ตาม ก็คือตาย แต่พระองค์ท่านบรรลุธรรมที่ตั้งใจจะบรรลุ เรียบร้อยกันไป อันนี้ก็กราบเรียนเพื่อทราบ

    เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นผม ผมจะไม่เปลี่ยน คือเราไปนึกว่าอย่างนี้จะต้องเห็นดวงเห็นกาย ถ้าไม่เห็นดวงเห็นกาย หงุดหงิดเสียแล้ว ที่แท้ใจสงบด้วยสติสัมปชัญญะครบด้วยการเจริญภาวนาสมาธิ ถึงยังไม่เห็นดวงเห็นกาย ทำบ่อยๆ เนืองๆ กิเลสก็เบา เบาไป ดีไปเรื่อยๆ ให้รู้ตัวอยู่เรื่อยไป เคยหงุดหงิดจะโกรธซัก 10 ที ก็ให้เหลือ 8 พอทีหลังให้เหลือ 6 สติคอยกำกับเอาไว้ ยังไม่เห็นช่างมัน

    ถึงเวลาเบากาย เบาใจ จิตใจเป็นอิสระได้ มันหยุดนิ่งมันถูกส่วนเข้า เห็นเองเป็นธรรมดาครับ
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...