พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    วิธีตรวจสอบว่ามีคนอื่นแอบใช้บัญชี Facebook ของเราหรือไม่ ?

    -http://hitech.sanook.com/1394621/-



    ช่วงนี้หลายท่านคงได้ใช้ facebook ผ่านหลายช่องทาง เช่นทางคอมพิวเตอร์พีซี , โน๊ตบุ๊ค , ทางโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน คอมที่ทำงาน และยังมี Tablet อีก นับว่าการเข้าใช้ facebook ของเราหลายช่องทางนี้ เพื่อดูสถานะเพื่อนๆว่าเป็นอย่างไรบ้าง

    [​IMG]

    แต่ถ้าคุณเผลอลืม logout ไป บัญชี facebook ของคุณอาจค้างที่อุปกรณ์เหล่านั้น และง่ายที่คนอื่นจะเข้าไปแอบสวมรอยใช้ facebook ของเราโดยที่คุณไม่รู้ตัว วันนี้จะแนะนำวิธีเสริมความปลอดภัย ป้องกันคนอื่นแอบใช้บัญชี facebook ของเรา

    [​IMG]

    เริ่มจากเข้าหน้าเว็บไซต์ Facebook.com ทำการ Login เข้าสู่ระบบให้เรียบร้อย แล้วจากนั้นให้นำเลื่อนลูกศร (curcer เมาส์) ไปชี้ที่ บริเวณมุมขวาของจอ จะพบลูกศรชี้ลงดังรูปด้านบนนี้ (ตรงข้างๆ ปุ่มหน้าแรก) แล้วเลือก "ตั้งค่าบัญชี้ผู้ใช้"

    [​IMG]

    จะเข้าสู่การตั้งค่าบัญชีผู้ใช้ ให้เลือกด้านซ้ายมือนี้ไปที่ "ความปลอดภัย" ก็จะมีรายการตั้งค่าความปลอดภัยต่างๆด้านขวามือ ลองไปดูทีละบรรทัดกันเลย

    [​IMG]

    1. "เรียกดูแบบปลอดภัย" แนะนำอย่างยิ่งให้เลือกเป็น การเข้ารหัสแบบ https ดังนั้นให้ติ๊กเครื่องหมายถูกตรงช่องนี้ไว้ จะปลอดภัยกว่า

    [​IMG]

    2. จะเป็นตั้งค่า "การแจ้งเตือนการลงชื่อผู้ใช้" ในกรณีบัญชี facebook ของเรา เข้า facebook ทั้งผ่านทางคอมหรือมือถือ ก็จะแจ้งเตือนผ่านอีเมลล์ หรือหน้า Push เตือนบน facebook ของเรา ดังนั้นเราจะรู้ได้เลยว่าที่เตือนนี้เราเข้า facebook เอง หรือมีคนอื่นแอบใช้บัญชีเราเข้า facebook ไป

    [​IMG]

    3. "รหัสผ่านแอพ" เราสามารถตั้งรหัสผ่านแอพ facebook ได้ เพื่อป้องกันไม่ให้คนอื่นที่เข้าถึงบัญชี facebookของเรา แอบติดตั้งแอพ facebook เพิ่มเติม

    [​IMG]

    4. ในส่วน "เวลาการใช้งาน" นั้น เป็นรายการการตรวจสอบ Login Facebook ของเราว่าเราเข้าในช่วงเวลาไหนบ้างและคุณสามารถที่จะสั่งให้หยุดกิจกรรม เพื่อไม่ให้อุปกรณ์เช่นมือถือ หรือคอมพิวเตอร์ ที่คุณลืม logout ไว้ เข้าถึงบัญชี facebook ของเราได้ด้วย ซึ่งเหมาะมากในกรณีที่เราเผลอลืม Logout ในช่วงเราใช้ร้านอินเตอร์เน็ต หรือคอมจากที่ทำงาน

    หากคุณได้ตั้งค่าต่างๆตามนี้ แล้วละก็เพียงเท่านี้บัญชี facebook ของคุณ ก็จะตรวจสอบได้แล้วว่ามีคนอื่นแอบสวมรอยแอบเข้าใช้บัญชี facebook ของเราหรือไม่? และเป็นการป้องกันไม่ให้เราตกเป็นแพะรับบาปจากมีคนแฮคแอบสวมรอยใช้บัญชี facebook ของเราด้วย

    สนับสนุนเนื้อหา: ไอที 24 ชั่วโมง iT24Hrs - เปิดโลกไอที พลิกสู่ชีวิตที่ดีกว่า - พบเรื่องราวไอทีและเทคโนโลยีใกล้ตัว


    .
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ๔.๒ การปฏิบัติหน้าที่ชาวพุทธตามพุทธปณิธาน 4 ในมหาปรินิพพานสูตร
    -http://mediacenter.mcu.ac.th/data/caipyo/m3/Unit4/unit4-3.php-

    ดังที่ทราบแล้วว่า ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จปรินิพพานนั้น มารได้มากราบทูลอาราธนาให้พระพุทธเจ้าปรินิพพานด้วยประการต่าง ๆ แต่พระพุทธเจ้าได้ตรัสตอบแก่มารว่า หากภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้เป็นพุทธสาวกของเรายังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับการแนะนำ ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติชอบ ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้ว แต่ยังบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายไม่ได้ ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ปราบปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมไม่ได้ พระองค์จะไม่ปรินิพพานฉะนั้น พุทธปณิธาน 4 ของพระพุทธเจ้า จึงหมายถึงพุทธบริษัท 4 ได้แก่

    (1) ภิกษุ
    (2) ภิกษุณี
    (3) อุบาสก
    (4) อุบาสิกา

    จำต้องศึกษาปฏิบัติ กระทำตามหน้าที่ของตน ๆ เพื่อให้เป็นผู้เฉียบแหลม แกล้วกล้า เป็นพหูสูต ทรงธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายได้ เป็นต้น


    หน้าที่ของพุทธบริษัท 4

    พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้กล่าวถึงหน้าที่ของคนสืบศาสนาที่เกี่ยวข้องกับพุทธบริษัท 4 ดังนี้

    1. หน้าที่ของ ภิกษุ (รวมถึงภิกษุณีด้วย) ภิกษุ ซึ่งเป็นบรรพชิตในพระพุทธศาสนา มีหน้าที่ศึกษาปฏิบัติธรรม เผยแผ่คำสอน สืบต่อพระพุทธศาสนา มีคุณธรรมและหลักความประพฤติที่ต้องปฏิบัติมากมาย แต่ในที่นี้จะแสดงไว้เฉพาะหน้าที่ที่สัมพันธ์กับ
    คฤหัสถ์ และข้อเตือนใจในทางความประพฤติปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

    ก. อนุเคราะห์ชาวบ้าน ภิกษุ (รวมภิกษุณี) อนุเคราะห์คฤหัสถ์ตามหลักปฏิบัติในฐานะที่ตนเป็นเสมือน ทิศเบื้องบน ดังนี้
    1. ห้ามปรามสอนให้เว้นจากความชั่ว
    2. แนะนำสั่งสอนให้ตั้งอยู่ในความดี
    3. อนุเคราะห์ด้วยความปรารถนาดี
    4. ให้ได้ฟังได้รู้สิ่งที่ยังไม่เคยรู้ไม่เคยฟัง
    5. ชี้แจงอธิบายทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
    6. บอกทางสวรรค์ สอนวิธีดำเนินชีวิตให้ประสบความสุขความเจริญ

    ข. หมั่นพิจารณาตนเอง คือ พิจารณาเตือนใจตนเองอยู่เสมอตามหลักปัพพชิตอภิณหปัจจเวกขณ์ (ธรรมที่
    บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ) 10 ประการ ดังนี้
    1. เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์ สลัดแล้วซึ่งฐานะ ควรเป็นอยู่ง่าย จะจู้จี้ถือตัวเอาแต่ใจตนไม่ได้ความเป็นอยู่ของเราเนื่องด้วยผู้อื่น ต้องอาศัยเขาเลี้ยงชีพ ควรทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย และบริโภคปัจจัย 4 โดยพิจารณา ไม่บริโภคด้วยตัณหา
    2. เรามีอากัปกิริยาที่พึงทำต่างจากคฤหัสถ์ อาการกิริยาใด ๆ ของสมณะ เราต้องทำอาการกิริยานั้น ๆ และยังจะต้องปรับปรุงตนให้ดียิ่งขึ้นไปกว่านี้
    3. ตัวเราเองยังติเตียนตัวเราเองโดยศีลไม่ได้อยู่หรือไม่
    4. เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ผู้เป็นวิญญูชน พิจารณาแล้ว ยังติเตียนเราโดยศีลไม่ได้อยู่หรือไม่
    5. เราจักต้องถึงความพลัดพรากจากของรักของชอบใจไปทั้งสิ้น
    6. เรามีกรรมเป็นของตน เราทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักต้องเป็นทายาทของกรรมนั้น
    7. วันคืนล่วงไป ๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่
    8. เรายินดีในที่สงัดอยู่หรือไม่
    9. คุณวิเศษยิ่งกว่ามนุษย์สามัญที่เราบรรลุแล้วมีอยู่หรือไม่ ที่จะให้เราเป็นผู้ไม่เก้อเขิน เมื่อถูกเพื่อนบรรพชิตถาม ในกาลภายหลัง

    2. หน้าที่ของ อุบาสก อุบาสิกา พุทธศาสนิกชน มีหลักปฏิบัติที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตนกับพระพุทธศาสนา ดังนี้
    ก. เกื้อกูลพระ โดยปฏิบัติต่อพระภิกษุ เสมือนเป็น ทิศเบื้องบน ดังนี้

    1. จะทำสิ่งใด ก็ทำด้วยเมตตา
    2. จะพูดสิ่งใด ก็พูดด้วยเมตตา
    3. จะคิดสิ่งใด ก็คิดด้วยเมตตา
    4. ต้อนรับด้วยความเต็มใจ
    5. อุปถัมภ์ด้วยปัจจัย 4

    ข. กระทำบุญ คือ ทำความดีด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ 3 อย่าง คือ
    1. ทานมัย ทำบุญด้วยการให้ปันทรัพย์สิ่งของ
    2. สีลมัย ทำบุญด้วยการรักษาศีล หรือประพฤติดีปฏิบัติชอบ
    3. ภาวนามัย ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา คือ ฝึกอบรมจิตใจให้เจริญด้วยสมาธิ และปัญญาและควรเจาะจงทำบุญบางอย่างที่เป็นส่วนรายละเอียดเพิ่มขึ้นอีก 7 ข้อ รวมเป็น 10 อย่าง
    4. อปจายนมัย ทำบุญด้วยการประพฤติสุภาพอ่อนน้อม
    5. ไวยาวัจมัย ทำบุญด้วยการช่วยขวนขวายรับใช้ ให้บริการ บำเพ็ญประโยชน์
    6. ปัตติทานมัย ทำบุญด้วยการให้ผู้อื่นมีส่วนร่วมในการทำความดี
    7. ปัตตานุโมทนามัย ทำบุญด้วยการพลอยยินดีในการทำความดีของผู้อื่น
    8. ธัมมัสสวนมัย ทำบุญด้วยการฟังธรรม ศึกษาหาความรู้ที่ปราศจากโทษ
    9. ธัมมเทสนามัย ทำบุญด้วยการสั่งสอนธรรมให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์
    10. ทิฏฐุชุกรรม ทำบุญด้วยการทำความเห็นให้ถูกต้อง รู้จักมองสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงให้เป็นสัมมาทิฏฐิ

    ค. คุ้นพระศาสนา ถ้าจะปฏิบัติให้เคร่งครัดยิ่งขึ้น ถึงขั้นเป็นอุบาสก อุบาสิกา คือ ผู้ใกล้ชนิดพระศาสนาอย่างแท้จริง ควรตั้งตนอยู่ในธรรมที่เป็นไปเพื่อความเจริญของอุบาสก เรียนกว่า อุบาสกธรรม 7 ประการ คือ
    1 ไม่ขาดการเยี่ยมเยือนพบปะพระภิกษุ
    2 ไม่ละเลยการฟังธรรม
    3 ศึกษาในอธิศีล คือ ฝึกอบรมตนให้ก้าวหน้าในการปฏิบัติรักษาศีลขั้นสูงขึ้นไป
    4 พรั่งพร้อมด้วยความเลื่อมใส ในพระภิกษุทั้งหลาย ทั้งที่เป็น เถระ นวกะ และปูนกลาง
    5 ฟังธรรมโดยมิใช่จะตั้งใจคอยจ้องจับผิดหาช่องที่จะติเตียน
    6 ไม่แสวงหาทักขิไณยภายนอกหลักคำสอนนี้ คือ ไม่แสวงหาเขตบุญนอกหลักพระพุทธศาสนา
    7 กระทำความสนับสนุนในพระศาสนานี้เป็นที่ต้น คือ เอาใจใส่ทำนุบำรุงและช่วยกิจการพระพุทธศาสนา

    ง. เป็นอุบาสกอุบาสิกาชั้นนำ อุบาสก อุบาสิกาที่ดี มีคุณสมบัติ เรียกว่า อุบาสกธรรม 5 ประการ คือ
    1. มีศรัทธา เชื่อมีเหตุผล มั่นในคุณพระรัตนตรัย
    2. มีศีล อย่างน้อยดำรงตนได้ในศีล 5
    3. ไม่ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล มุ่งหวังจากการกระทำ มิใช่จากโชคลาง หรือสิ่งที่ตื่นกันไปว่าขลังศักดิ์สิทธิ์
    4. ไม่แสวงหาทักขิไณยนอกหลักคำสอนนี้
    5. เอาใจใส่ทำนุบำรุงและช่วยกิจการพระศาสนา

    จ. หมั่นสำรวจความก้าวหน้า กล่าวคือ โดยสรุป ให้ถือธรรมที่เรียกว่า อารยวัฒิ 5 ประการ เป็นหลักวัดความเจริญในพระศาสนา
    1. ศรัทธา เชื่อถูกหลักพระศาสนา ไม่งมงายไขว้เขว
    2. ศีล ประพฤติและเลี้ยงชีพสุจริต เป็นแบบอย่างได้
    3. สุตะ รู้เข้าใจหลักพระศาสนาพอแก่การปฏิบัติและแนะนำผู้อื่น
    4. จาคะ เผื่อแผ่เสียสละ พร้อมที่จะช่วยเหลือผู้ซึ่งพึงช่วย
    5. ปัญญา รู้เท่าทันโลกและชีวิต ทำจิตใจให้เป็นอิสระได้


    ---------------------------------------------------------------------------

    ๔.๓ การศึกษาเรียนรู้เรื่ององค์ประกอบของพระพุทธศาสนา นำไปปฏิบัติและเผยแผ่ตามโอกาส

    -http://mediacenter.mcu.ac.th/data/caipyo/m3/Unit4/unit4-4.php-


    องค์ประกอบของศาสนา

    สิ่งที่นับเป็นศาสนาได้นั้น จะเป็นศาสนาตามคติทางพระพุทธศาสนา หรือตามคติของชาวตะวันตกก็ตาม มีหลักเกณฑ์ที่นักปราชญ์ทางศาสนายอมรับกัน ดังนี้

    1. ต้องเป็นเรื่องเชื่อถือได้ โดยเป็นความศักดิ์สิทธิ์ และต้องเคารพบูชาไปตามความเชื่อถือนั้น
    2. ต้องมีคำสอนแสดงธรรมจรรยาและกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการกระทำการปฏิบัติเเพื่อบรรลุผลอันดีงามของสังคม
    3. ต้องมีตัวผู้ประกาศ ผู้สอน หรือผู้ตั้ง และยอมรับเป็นความจริงตามประวัติศาสตร์
    4. ต้องมีผู้สืบต่อรับคำสอนนั้น ปฏิบัติ ประพฤติตามกันต่อมา ผู้ประพฤติตามกันมานั้น ส่วนมากเรียกกันว่าพระ นักพรต หรือนักบวช เป็นผู้มีหน้าที่ทำพิธีกรรมในศาสนานั้น ๆ

    อีกประการหนึ่ง สิ่งที่เรียกว่าศาสนาได้นั้นต้องมีองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้

    1. มีศาสดาคือผู้ตั้งศาสนา หรือผู้สอนดั้งเดิม
    2. มีคัมภีร์ศาสนา คือข้อความท่องกันกันไว้ได้ แล้วจดจารึกเป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ มีคัมภีร์หลักคำสอนหรือหลักธรรม
    3. มีนักบวชคือสาวกผู้สืบต่อศาสนา หรือผู้แทนเป็นทางการของศาสนานั้น ๆ ซึ่งมีข้อกำหนดคุณสมบัติไว้ต่าง ๆ กัน ตามคติของแต่ละศาสนา
    4. มีวัดหรือศาสนสถาน พระพุทธศาสนามีวัดหรือศาสนสถานปูชนียสถานมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลตราบเท่าทุกวันนี้
    5. มีเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์หรือสิ่งแทนประจำศาสนา เช่น รูปธรรมจักรสำหรับพระพุทธศาสนา ไม้กางเกนสำหรับศาสนาคริสต์ พระจันทร์ครึ่งซักกับดาว สำหรับศาสนาอิสลาม เป็นต้น

    หากจะสรุปถึงองค์ประกอบของพระพุทธศาสนาแล้ว ควรเป็นดังนี้

    1. มีศาสดาคือผู้ตั้งศาสนา ได้แก่ พระพุทธเจ้า ผู้ทรงตรัสรู้เองโดยชอบแล้วเสด็จสั่งสอนให้ผู้อื่นรู้ตาม หลักธรรมคำสอนของพระองค์ได้ปรากฏยั่งยืนมาจนกระทั่งทุกวันนี้
    2. มีคัมภีร์ศาสนา ได้แก่ พระไตรปิฎก ซึ่งบรรจุด้วย พระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม ซึ่งเป็นหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนามีนักบวช ได้แก่ ภิกษุ สามเณร ผู้ทำหน้าที่สืบต่อพระพุทธศาสนา และเผยแผ่หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา


    -----------------------------------------------------------------

    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 373

    -http://www.dhammahome.com/webboard/topic/14484-

    จัณฑาลสูตร

    ว่าด้วยธรรมสำหรับอุบาสกดีและอุบาสกชั่ว

    [๑๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

    ย่อมเป็นอุบาสกผู้เลวทราม เศร้าหมอง และน่าเกลียด ธรรม ๕ ประการ

    เป็นไฉน ? คือ อุบาสกเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ เป็นผู้ทุศีล ๑ เป็นผู้ถือมงคล

    ตื่นข่าว เชื่อมงคลไม่เชื่อกรรม ๑ แสวงหาเขตบุญภายนอกศาสนานี้ ๑ ทำการ

    สนับสนุนในศาสนานั้น ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม

    ๕ ประการนี้แล เป็นอุบาสกผู้เลวทราม เศร้าหมอง และน่าเกลียด.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม

    เป็นอุบาสกแก้ว อุบาสกปทุม อุบาสกบุณฑริก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ?

    คือ อุบาสกย่อมเป็นผู้มีศรัทธา ๑ เป็นผู้มีศีล ๑ เป็นผู้ไม่ถือมงคลตื่นข่าว

    เชื่อกรรมไม่เชื่อมงคล ๑ ไม่แสวงหาเขตบุญภายนอกศาสนานี้ ๑ ทำการ

    สนับสนุนในศาสนานี้ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕

    ประการนี้แล เป็นอุบาสกแก้ว อุบาสกปทุม อุบาสกบุณฑริก.

    จบจัณฑาลสูตรที่ ๕
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    รวมที่สุด 3 วิธีแบ่งใช้เงินให้รวยที่ทำได้จริง!!

    -http://money.sanook.com/258045/-

    [​IMG]

    เงินเดือนออกแล้วจ้า!!

    ช่วงต้นเดือนเป็นช่วงที่หลายคนลั้นลามากๆเพราะเงินเดือนพึ่งออก อารมณ์ประมาณว่าช่วงต้นเดือนเป็นฤดูจ่ายตังค์ ของบางอย่างที่เล็งไว้ตั้งแต่เดือนที่แล้วยังซื้อไม่ได้เพราะเงินหมด ก็เก็บความรู้สึกอัดอั้นตันใจเอาไว้ พอเงินเดือนออกปุ๊บก็จัดหนักทันที พอความรู้สึกอัดอั้นมันเบาลงเพราะซื้อของที่อยากได้ไปหมดแล้ว ก็จะเกิดความรู้สึกตื่นเต้นเข้ามาแทนที่ เวลามองไปในกระเป๋าสตางค์จากแบงก์พันเป็นปึกๆเหลืออีกทีไม่กี่ร้อยบาท รวมถึงบิลที่ใช้รูดบัตรเครดิตเข้ามาแทนทีเงินสดในกระเป๋า สมองก็จะคิดว่า “เดือนนี้จะจ่ายแบบนี้เป็นเดือนสุดท้ายและจะได้ออมเงินสักที” สุดท้ายเดือนต่อไปก็เข้ารูปแบบเดิมที่มีแต่คำว่า “จ่าย จ่ายและจ่าย”

    หากไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์เงินหมดกระเป๋าก่อนสิ้นเดือน เราควรแบ่งใช้เงินให้เป็นระเบียบมากขึ้น ส่วนไหนให้เก็บก็ต้องเก็บอย่าไปแอบหยิบมาใช้เด็ดขาด ส่วนไหนจ่ายหนี้ก็ควรจ่ายให้ตรงตามเวลา ส่วนที่เหลือจึงนำมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน บทความนี้จะแนะนำวิธีแบ่งเงินใช้จ่ายเพื่อให้ชีวิตเรามีระเบียบวินัยมากขึ้น ซึ่งควรนำแต่ละวิธีไปปรับใช้ให้เข้ากับลักษณะนิสัยการใช้เงินของตนเอง

    รวมที่สุด 3 วิธีแบ่งใช้เงินให้รวยที่ทำได้จริง!!

    วิธีที่ 1 แยกบัญชีอัตโนมัติ – ออมเป็นระบบ

    [​IMG]

    วิธีนี้เหมาะสำหรับคนที่ชอบทำทุกอย่างให้เป็นอัตโนมัติ โดยตั้งระบบตัดบัญชีโอนเงินออกไปไว้ตามบัญชีรายจ่ายต่างๆที่ตั้งระบบไว้ หากจะใช้วิธีนี้ก็จะต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายแต่ละส่วนให้แน่นอนว่าเรามีรายจ่ายอะไรบ้าง เราแบ่งรายจ่ายอย่างง่ายออกเป็น 3 ส่วน ตามนี้เลยจ๊ะ

    เงินออม
    รายจ่ายที่ต้องจ่ายทุกเดือน
    เงินรายได้(เงินเหลือใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน)

    เมื่อได้รับเงินเดือนแล้วก็จะถูกตัดอัตโนมัติไปใส่ไว้ที่ “บัญชีเงินออมและบัญชีรายจ่าย” ตามสัดส่วนที่เรากำหนดไว้ ควรปรับให้เหมาะสมกับรูปแบบวิธีการใช้ชีวิตของตนเอง บางคนอาจจะมีรายจ่ายน้อยก็อาจจะออมมากกว่า 30% ก็ได้ ตัวอย่างการแบ่งสัดส่วน

    เงินออม 30%
    รายจ่ายที่ต้องจ่ายทุกเดือน 45%
    ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน 25%

    แนวคิดของวิธีนี้มีเป้าหมายแตกต่างกัน ดังนี้

    1. บัญชีเงินเดือน(เงินรายได้)

    ==> บัญชีนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่รายได้เข้ามา แต่เป็นที่สุดท้ายที่เราจะได้ใช้ อย่ากดเงินไปใช้อย่างลั้นลาตั้งแต่ครั้งแรกที่เงินเข้าบัญชีเงินเดือน แต่ต้องใช้หลังจากที่หักจากบัญชีเงินออมและบัญชีรายจ่ายในข้อ 2,3 เรียบร้อยแล้ว เราจะใช้เงินที่เหลือในบัญชีเงินเดือนเท่านั้น โดยจะต้องหาวิธียังไงก็ได้ที่ต้องใช้เงินจำนวนนี้ให้พอใช้ถึงสิ้นเดือนและไม่ก่อหนี้เพิ่ม

    2. บัญชีเงินออม

    ==> เราสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมของการลงทุนเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ โดยเลือกตามความเสี่ยงที่เรายอมรับได้

    ระยะสั้น – เงินเก็บไว้ใช้ยามฉุกเฉินเพราะถอนได้ทันทีในเวลาที่รีบใช้เงินก็ฝากไว้กับบัญชีออมทรัพย์ กองทุนรวมตลาดเงิน
    ระยะปานกลาง – เงินเก็บไว้เพื่อลงทุนให้เติบโต เช่น ฝากประจำ กองทุนรวมตลาดทุน โปรแกรมออมทอง โปรแกรมออมหุ้น หุ้นปันผลสูง หุ้นกู้เกรด A
    ระยะยาว – เงินเก็บไว้เพื่อเกษียณอายุ เช่น RMF ประกันชีวิตชนิดบำนาญ กบข.(ข้าราชการ) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ(เอกชน)

    3. บัญชีรายจ่ายที่ต้องจ่ายทุกเดือน

    ==> เป็นรายจ่ายประเภทหนี้สินต่างๆ หรือรายจ่ายประจำที่ชีวิตเราขาดไม่ได้ เช่น

    หนี้ที่ต้องจ่าย คือ หนี้บ้าน หนี้รถ หนี้บัตรเครดิต หนี้เงินกู้นอกระบบ
    รายจ่ายที่จำเป็นต้องจ่ายทุกเดือน หากไม่จ่ายจะทำให้ชีวิตเราลำบากแน่นอน เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ หากไม่จ่ายเราก็จะถูกตัดน้ำ ตัดไป ตัดการสื่อสาร

    วิธีที่ 2 แบ่งเงินใช้วันละ 200 บาท – เป้าหมายชัดเจน
    วิธีนี้เป็นของน้องฝ้ายเลขาน้องหมีแห่งดินแดน Aommoney ของเรานี่เอง ด้วยสภาพแวดล้อมรอบๆที่ทำงานมีแต่ของแพงเพราะทำงานย่านใจกลางเมืองแถวรถไฟฟ้าสุรศักดิ์ ก็ต้องควบคุมรายจ่ายให้ดีเพื่อเป้าหมายสูงสุดของชีวิต คือ เก็บเงินทำนม แม้ว่าตอนนี้เรียนจบปริญญาตรีแล้วแต่ขนาดของนมยังอยู่ระดับประถมอยู่เลย นมโตไม่ทันตามวัยก็ต้องใช้มีดหมอเป็นทางลัด

    เมื่อได้รับเงินเดือนน้องฝ้ายจะใช้วิธีตัดรายจ่ายทั้งหมดออกไปก่อน เช่น ค่าเช่าห้อง ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศํพท์ กองทุนนม เหลือเท่าไหร่ก็จะใช้วิธีหารเฉลี่ยต่อวัน โดยตั้งใจไว้ว่าใช้ไม่เกิน 200 บาทต่อวัน แล้วก็แลกแบงก์ 100 มาเก็บใส่ถุงแบบนี้

    หากทำแบบนี้ต่อไปกองทุนนมของน้องต้องเติบโตขึ้นแน่นอน แฟนเพจช่วยเป็นกำลังใจให้น้องฝ้ายด้วยนะจ๊ะ ^_^


    [​IMG]

    วิธีที่ 3 แบ่งเงินใช้วันละ 120 บาท

    อ่านกระทู้นี้แล้วชอบมากๆ คิดว่าน่าจะสร้างแรงบันดาลใจให้คนอื่นได้อย่างมาก เราขอเล่าโดยใช้ข้อความในกระทู้ที่ตัดตอนออกมาบางส่วนแล้วแทรกด้วยความคิดเราเพื่ออธิบายเรื่องที่น่าสนใจเป็นสีส้ม (หากต้องการอ่านเรื่องราวทั้งหมดรบกวนคลิกที่ลิงค์ในส่วนของหมายเหตุด้านล่างนะจ๊ะ)

    เริ่มเรื่องกันเลยจ้า…

    ทำงานที่โรงพยาบาลได้เกือบๆ ปี เราก็เปลี่ยนงานค่ะ มาทำเอกชนแทน ลักษณะงานก็เปลี่ยนไป ต้องปรับตัวนิดหน่อย ค่าตอบแทนสูงกว่ารัฐ ประมาณ 3 เท่า งานไม่ค่อยหนักเท่าไหร่ แต่เน้นการบริการมากกว่า การแบ่งหน้าที่การจัดการดีกว่าที่เดิมค่ะ

    ช่วงที่เพิ่งเปลี่ยนงาน เราต้องวางแผนการจัดงานเงินใหม่เพราะรายได้เพิ่มขึ้น เราก็ต้องเก็บมากขึ้น ตอนที่ทำงานอยู่โรงพยาบาลเก็บเดือนละ 5,000-7,000 บาท (จากรายได้ หมื่นกว่าบาท) ตอนนี้รายรับประมาณ 4x,xxx บาท เราเก็บโหดมากค่ะ หักไว้ 3หมื่นบาท/เดือน ไว้เป็นเงินเก็บที่เหลือก็ใช้จ่าย เป็นค่าอาหาร ค่าห้องพัก ค่าน้ำมัน รวมๆแล้วก็ใช้ประมาณหมื่นกว่าบาท

    แนวคิดว่า “รายได้มากขึ้นก็ต้องออมเงินมากขึ้น” นั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง

    เงินออมควรเติบโตตามรายได้ หลายคนอาจจะได้ยินบ่อยๆว่า “เงินเดือนมากขึ้นรายจ่ายก็มากขึ้น” หันไปทางไหนก็มีแต่รายจ่าย สิ้นเดือนมาก็ไม่มีเงินเก็บ หันไปดูรอบๆตัวก็ไม่ได้สิ่งของที่เป็นชิ้นเป็นอันกลับมา หากมีเงินเดือนเพิ่มขึ้นกว่านี้ก็ไม่มีประโยชน์เพราะเก็บเงินไม่อยู่ แม้ว่าเงินเดือนเรามากขึ้น แต่เราก็ใช้ชีวิตได้เหมือนเดิมก็ได้ ถือคติว่า “อยู่เงียบๆแต่เงินเพียบนะจ๊ะ”

    ตอนนี้เข้ามาอยู่ในเมืองใหญ่ (ในภาคอิสาน) สิ่งยั่วยุ มันก็เยอะ ออกจากห้องเป็นต้องเสียเงิน เราก็เลยจัดการการใช้เงินโดยถอนแค่เดือนละ 1 ครั้ง (เท่าที่จะใช้) ต้องบอกก่อนว่าเราทำบัญชีรายรับรายจ่ายเป็นประจำอยู่แล้วเพื่อให้รู้ว่าเราใช้อะไรไปบ้างเกินความจำเป็นรึเปล่า แต่ตอนนี้มันอยู่ตัวแล้ว เราไม่ได้ทำบัญชีแล้วค่ะเพราะคุมเงินอยู่แล้ว

    ทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย

    สำหรับคนที่อยากรู้ว่าเงินตัวเองหายไปไหนในแต่ละเดือนก็ต้องจดไว้ว่าจ่ายกับอะไรไปบ้าง เพื่อควบคุมรายจ่าย หากเราทำเป็นกิจวัตรก็จะรู้ว่าแนวทางการจ่ายเงินของเราเป็นแบบไหน ก็จะจัดทำเป็นงบประมาณรายจ่ายได้และอาจจะไม่ต้องจดบัญชีต่อไป แต่ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงในชีวิต เช่น จากที่เคยอยู่กับพ่อแม่ก็แยกตัวออกมาอยู่ส่วนตัว คนโสดก็อาจจะแต่งงานมีครอบครัว หรือมีการอย่าร้างต้องดูแลลูกฝ่ายเดียว ก็อาจจะต้องจดบัญชีรายรับรายจ่ายเพื่อจะได้รู้พฤติกรรมการใช้เงินของตัวเองที่เปลี่ยนไปจะได้คุมรายจ่ายของตนเองได้

    [​IMG]

    เงินที่ถอนมาเราเน้นแบงค์ 100 กับ แบงค์ 20 ค่ะ เนื่องจากเราต้องใช้เงินที่มีอยู่ในจำนวนที่จำกัด จึงต้องคุมเข้มหน่อย อยากสบายในอนาคตก็ต้องอดทน นี่คือปฏิทินเงินค่ะ วิธีใช้ง่ายมากค่ะ ถ้าวันนี้วันที่ 1 ก็หยิบซองเลข 1 ไปใช้ ใช้ตามวันเลยค่ะ วันละ 120 บาทที่คำนวณไว้ ใช้กินได้อิ่มหนำสำราญค่ะ ข้าวพิเศษ 3 มื้อยังได้เลยวันนึงก็ใช้ประมาณ 120 บาทแต่เราซื้อข้าวถุงละ 8 บาทกับข้าว 25 บาท (ได้เยอะมาก) เราก็แบ่งทาน 2 มื้อ ประมาณ 10โมงเช้ากับบ่าย 3 มื้อเย็นกินนมบ้างไม่กินบ้างลดหุ่นไปในตัวเราจะได้สวยและรวยมาก

    วินัยการใช้เงินคือสิ่งสำคัญที่สุด

    เราทำงานเหนื่อยแล้วขอใช้เงินให้หายเหนื่อยหน่อยเถอะนะ จะให้เข้มงวดเรื่องการใช้เงินอีกมันบังคับตัวเองมากเกินไป ชีวิตนี้ก็เครียดมากพอแล้ว หากคิดแบบนี้พอถึงวันเงินเดือนออกเราก็จะจ่ายเงินจนหมด จนบางครั้งไม่คิดจะออมเงินเก็บไว้เลย ซึ่งแนวคิดแบบนี้ค่อนข้างอันตรายในระยะยาว

    ลองคิดขำๆว่าหากเราเกิดป่วยด้วยโรคอะไรสักอย่างที่ต้องนอนพักเป็นเดือนๆ บริษัทจะยังจ้างเราอยู่ไหมและหากเราไม่เก็บเงินเผื่อไว้ตอนป่วยหละชีวิตจะเป็นยังไง รวมถึงค่ายา ค่ารักษาพยาบาลอีกจิปาถะจะนำเงินส่วนไหนมาจ่าย อย่ามองว่าคนที่มีระเบียบวินัยเข้มงวดกับการเงินแล้วจะมีชีวิตลำบาก ไม่มีความสุข ทั้งที่ความจริงแล้วเขามีความสุขที่เห็นเงินออมเติบโตขึ้น เรามองว่าความสุขบางอย่างก็ไม่จำเป็นต้องใช้เงิน เช่น การมีเวลาให้ครอบครัว การทำกับข้าวทานเองที่บ้าน การทำผักสวนครัวกับลูก ฯลฯ

    พอกลับห้องก็เอาเงินที่เหลือเก็บแยกไว้ นี่คือกล่องเก็บแบงค์ 20 และนี่กล่องเก็บแบงค์ 100 ค่ะ เหรียญก็ใส่คอนโดเหรียญอีกเช่นเคย ไม่น่าเชื่อว่าเราเหลือเงินกลับห้องทุกวันค่ะ บางวันใช้แค่ 30 บาทเองนะ

    [​IMG]

    พ่อกับแม่มีรายได้ประจำประมาณ คนละ 5x,xxx / เดือนค่ะเราก็เลยซื้อของให้แทน เพราะคุณแม่เค้าจจะไม่ค่อยซื้อของให้ตัวเองเช่นโทรศัพท์ ใช้มาเป็น 10 ปี จนปุ่มลอกหมด หรือลำโพงเสีย แบตเสื่อมก็ไม่เปลี่ยนก็เลยซื้อเครื่องใหม่ให้ท่าน กลับบ้านก็พาไปทานข้าว ซื้อเป็นสิ่งของให้แทนค่ะ เพราะดูแล้วถึงให้เงินไปท่านก็คงไม่ใช้และไม่ซื้อของให้ตัวเองด้วย

    ค่าโทรศัพท์เดือนนึงไม่เกิน (รวมอินเตอร์เน็ต) 500 บาทค่ะของฟุ่มเฟือยมีบ้างค่ะ จะเป็นพวกเสื้อผ้า รองเท้า แต่เราไม่ติดแบรนด์เนมซื้อให้ใส่แล้วดูดีก็พอค่ะ บางตัวซื้อมา 200 เพื่อนถามว่ากี่พันก็มีนะแต่รองเท้าที่ใส่ทำงานเราจะเน้นคุณภาพ ใส่สบาย และใช้ได้นาน ก็อาจจะแพงบ้างแต่นานๆซื้อที

    เราพักอยู่คนเดียวค่ะ ทำงาน 11.00-20.00 น. ทำงาน 6 วัน/สัปดาห์เลิกงานห้างก็ทยอยปิดกันแล้ว ถ้าอยู่คนเดียวไม่ค่อยทานข้าวในห้างนะคะ แต่ถ้ากลับบ้านก็จะพาคุณพ่อ คุณแม่ ออกไปทานเสมอ (กลับบ้านเดือนละครั้ง ครั้งละ2-4 วัน) เงินที่ใช้เกินจากเงินรายวัน ก็เป็นเงินที่แบ่งไว้ หรือเป็นเงินที่เหลือจากเงินรายวันค่ะ ค่าใช้จ่ายคร่าวๆ…

    วิธีแบ่งสัดส่วนการใช้เงิน

    การจดบัญชีรายจ่ายจะทำให้เรารู้จักนิสัยการจ่ายเงินของตัวเอง รู้ภาพรวมว่าส่วนใหญ่แล้วจ่ายไปกับอะไรบ้างแล้วเราจะแบ่งใช้เงินตามสัดส่วนรายจ่ายของตัวเองได้อย่างแม่นยำ แม้ว่าเจ้าของกระทู้คนนี้จะได้รับเงินดือน 4 หมื่นกว่าๆแต่ก็ใช้เงินเพียง 12,000 บาทต่อเดือน หรือประมาณ 30% ของรายได้

    กดเงิน 12,000 บาท
    ==> ค่าใช้จ่ายรายวัน 120*30 = 3,600 (เหลือวันละ 10-90 บาท)
    ==> ค่าห้อง รวมน้ำ ไฟ เน็ต = 5000
    ==> ค่าโทรศัพท์ = 500
    ==> ค่าน้ำมัน = 250
    ==> ของใช้อื่นๆ = 1,000

    ก็จะเหลือใช้อีกเกือบ 2,000 บาทค่ะ

    ชอบวิธีไหนก็ลองเลือกไปใช้ดูนะจ๊ะ ไม่จำเป็นต้องเหมือนเป๊ะ
    เพราะต้องดัดแปลงให้เข้ากับลักษณะการใช้เงินของแต่ละคน

    หมาเหตุ ขอขอบคุณแหล่งที่มาข้อมูลวิธีที่ 3

    แชร์ประสบการณ์การออมเงิน (ฉบับคนธรรมดา) ==> แชร์ประสบการณ์การออมเงิน (ฉบับคนธรรมดา) - Pantip

    ขอบคุณบทความดีๆจาก www.aommoney.com
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ความสำคัญของคำสอน โอวาทปาฏิโมกข์

    -http://horoscope.sanook.com/58717/-

    โอวาทปาฏิโมกข์ หลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนาหรือคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระพุทธพจน์ 3 คาถากึ่ง ที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระอรหันต์ 1.250 รูป ผู้ไปประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ พระเวฬุวนาราม ในวันเพ็ญเดือน 3 หรือที่คุ้นหูกัน คือ วันมาฆบูชา

    ซึ่งในวันมาฆบูชานี้ (ถรรถกถากล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ นี้ แก่ที่ประชุมสงฆ์ตลอดมา เป็นเวลา 20 พรรษา ก่อนที่จะโปรดให้สวดปาฏิโมกข์อย่างปัจจุบันนี้แทนต่อมา)
    คาถา โอวาทปาฏิโมกข์ ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้มีดังนี้

    สพฺพปาปสฺส อกรณํกุสลสฺสูปสมฺปทา
    สจิตฺตปริโยทปนํเอตํ พุทธาน สาสนํฯ
    ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
    นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
    น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
    สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโตฯ
    อนูปวาโท อนูปฆาโต ปาติโมกฺเข จ สํวโร
    มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
    อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธาน สาสนํฯ

    คำแปล : การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การบำเพ็ญแต่ความดี การทำจิตของตนให้ผ่องใส นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขันติคือความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง, พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่านิพพานเป็นบรมธรรม, ผู้ทำร้ายคนอื่นไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต, ผู้เบียดเบียนคนอื่นไม่ขึ้นชื่อว่าเป็นสมณะ, การไม่กล่าวร้าย การไม่ทำร้าย คือความสำรวมในปาฏิโมกข์, ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร, ที่นั่งนอนอันสงัด, ความเพียรในอธิจิต
    นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เข้าใจกันโดยทั่วไป ส่วนใหญ่ประโยคที่จำกันได้ดีและเป็นที่แพร่หลาย คือ ความในคาถาแรกที่ว่า "ไม่ทำชั่ว ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ผ่องใส" หากปฏิบัติได้ตามคำสอนนี้ ชีวิตจะพบแต่ความสงบสุข ใช้ชีวิตแบบมีความสุข จิตใจผ่องใส่ผ่านพ้นอุปสรรคปัยหาไปได้อย่างง่ายดาย
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เรื่องชวนหัวในยุคราชวงศ์จีน ตอน คุ้นเคยกันดี
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์


    -http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9580000016860-

    หัว กวงลู่ เป็นบัณฑิตที่มีชื่อเสียงในยุคราชวงศ์หมิง ทั้งเป็นจิตรกรฝีมือเยี่ยม หากปัญญาชนคนใดมีโอกาสได้วิสาสะกับคนตระกูลหัวก็อาจถือได้ว่าไม่เสียชาติเกิด ยิ่งผู้ใดมีผลงานจากปลายพู่กันของ หัว กวงลู่ไว้ในครอบครองแล้วก็ต้องนับว่าเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งทีเดียว

    มีชายขี้อวดแซ่หลิวผู้หนึ่ง เมื่อครั้งที่เขามีโอกาสไปออกเดินทางท่องเที่ยวไปกับกลุ่มสหายในดินแดนเจียงหนาน เมื่อมาถึงฮุ่ยซาน ในแถบอู๋ซี กลุ่มสหายเมื่อพบเห็นชายแซ่หลิวหยิบพัดเล่มหนึ่งที่มีบทกวีและภาพวาดระบุชื่อ หัว กวงลู่ ขึ้นมาพัดโบก แสร้งว่าเป็นการคลายความร้อน ก็แสดงความตื่นเต้นขึ้นมาทันทีราวกับเห็นของวิเศษ หลังจากซุบซิบกันอยู่พักใหญ่เหล่าสหายของชายแซ่หลิวก็ลงความเห็นกันว่า พัดดังกล่าวมิใช่พัดล้ำค่าจากฝีมือของ หัว กวงลู่เป็นแน่แท้ แต่ก็ไม่มีหลักฐานอะไรจะมายืนยันกับชายแซ่หลิวว่าพัดดังกล่าวเป็นพัด หัว กวงลู่ของปลอม

    อย่างไรก็ตาม นับเป็นเรื่องบังเอิญพอดิบพอดีที่ ณ เวลานั้นชาวบ้านต่างร่ำลือกันว่า หัว กวงลู่เดินทางมาพำนักที่ฮุ่ยซานเพื่อพักผ่อน รักษาตัวพอดิบพอดี ทุกคนจึงพยายามชักนำชายแซ่หลิวให้เดินทางท่องเที่ยวไปยังจุดที่ หัว กวงลู่พำนักอยู่

    อีกวันถัดมา เมื่อมาถึงฮุ่ยซาน ณ ที่พำนักของหัว กวงลู่ ขณะที่ทุกคนกำลังนั่งพักเหนื่อยอยู่ ชายแซ่หลิวก็หยิบพัดเล่มเดิมขึ้นมาโบกเพื่ออวดโอ่อีกครั้ง ครานี้ หัว กวงลู่เจ้าตัวพบเห็นพัดที่ระบุชื่อของตน แต่มิใช่ฝีมือตน จึงเอ่ยถามขึ้นว่า “บทกวีและภาพบนพัดที่คุณชายถืออยู่ระบุว่าเป็นฝีมือบัณฑิตหัว ขอละลาบละล้วงสอบถามคุณชายสักหน่อยได้ไหมว่า พัดเล่มนี้ท่านได้แต่ใดมา?”

    ชายแซ่หลิวได้ยินดังนั้นจึงกล่าวโอ้อวดด้วยเสียงอันดังว่า “พัดเล่มนี้เป็นบัณฑิตหัว กวงลู่ วาดกับมือเพื่อมอบให้ข้าเป็นการเฉพาะ เราสองคนคุ้นเคยกันมา 20 ปี จริงๆ เรื่องเล็กน้อยเพียงแค่นี้มิควรค่าแก่การกล่าวอ้างแต่อย่างใดดอก”

    ทุกคนพอได้ฟังคำกล่าวของชายแซ่หลิวก็หัวร่อขึ้นมาพร้อมกัน ส่งเสียงดังไปทั่วบริเวณ กระทั่งมีคนเดินเข้าไปบอกชายแซ่หลิวว่า “บัณฑิตที่ท่านคุยด้วยน่ะ คือ หัว กวงลู่!” ชายแซ่หลิวจึงได้แต่แสดงอาการอับอาย ก้มหน้า เร้นกายจากไป


    เรียบเรียงจาก 《古今谭概》โดยเฝิงเมิ่งหลง (冯梦龙), ราชวงศ์หมิง

    [​IMG]

    [​IMG]

    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • ch001.png
      ch001.png
      ขนาดไฟล์:
      635.2 KB
      เปิดดู:
      532
    • ch002.png
      ch002.png
      ขนาดไฟล์:
      256.6 KB
      เปิดดู:
      380
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    วิธีวางแผนการเงิน (ตอน 1)
    -http://money.sanook.com/258109/-

    วิธีวางแผนการเงิน (ตอน 2)
    -http://money.sanook.com/262143/-
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • n026.png
      n026.png
      ขนาดไฟล์:
      337.1 KB
      เปิดดู:
      75
    • n027.png
      n027.png
      ขนาดไฟล์:
      500.3 KB
      เปิดดู:
      83
    • n028.png
      n028.png
      ขนาดไฟล์:
      61.1 KB
      เปิดดู:
      85
    • n029.png
      n029.png
      ขนาดไฟล์:
      70.5 KB
      เปิดดู:
      91
    • n30.png
      n30.png
      ขนาดไฟล์:
      478.8 KB
      เปิดดู:
      87
    • n31.png
      n31.png
      ขนาดไฟล์:
      87.3 KB
      เปิดดู:
      88
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มีนาคม 2015
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    8 ขั้นตอน ก่อนไปดู “บ้าน”

    -http://home.sanook.com/3761/-

    เนื่องจากในปัจจุบันทั้ง “บ้าน” “คอนโดมิเนียม” “ทาวเฮาส์” และ“ทาวโฮมส์” ผุดขึ้นกันเป็นดอกเห็ด จนผู้ที่ต้องการมีที่พักอาศัยเป็นของตนเองเลือกไม่ถูกว่าจะยอมควักกระเป๋าจ่ายเงินให้กับโครงการไหน
    หรือแม้แต่การจัดช่วงเวลาพรีเซลล์ของโครงการที่พักอาศัยต่างๆ ที่เชิญชวนให้ผู้สนใจเข้าไปเยี่ยมชมตัวอย่าง “บ้าน” ก็มีขึ้นแทบทุกอาทิตย์ ว่าแต่สำหรับคนที่อยากมี “บ้าน” ควรเตรียมตัวไปดูสถานที่เหล่านั้นอย่างไรบ้าง

    Sanook!Home เลยมี 10 ขั้นตอน เตรียมความพร้อมก่อนไปดู “บ้าน” มาฝากทุกๆ คน

    1.หาข้อมูลล่วงหน้าจากเว็บไซต์ของโครงการต่างๆ ที่ตรงกับความต้องการของตนเอง ทั้งทำเล สภาพแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวกใกล้เคียง เพื่อจะได้เลือกและจำกัดจำนวนการเข้าชมบ้านเฉพาะโครงการที่เหมาะสมกับเรามากที่สุด รวมถึงบ้านบางหลังก็มีข้อมูลออนไลน์แบบที่คุณสามารถมองเห็นภาพบ้านผ่านจากอินเทอร์เน็ต หรือมือถือของคุณได้เลย

    2.หากต้องการใช้บริการนายหน้า ควรเลือกนายหน้าที่รู้และเข้าใจว่าคุณต้องการอะไร และพร้อมเสมอที่จะพาคุณเข้าไปชมบ้าน

    3.เมื่อจะเข้าชมที่อยู่อาศัยที่ใดสักแห่งหนึ่ง คุณควรเตรียมอุปกรณ์บันทึกภาพเช่นสมาร์ทโฟน แทบเล็ต กล้องถ่ายภาพดิจิตอล รวมถึงเม็มโมรี่การ์ดที่มีความจุเพียงพอสำหรับการถ่ายภาพจำนวนมาก และที่ขาดไม่ได้เลยคือแบตเตอรี่สำรอง เพราะคุณจะต้องถ่ายภาพบ้านให้ละเอียดทุกซอก ทุกมุม

    4.เมื่อไปถึงสถานที่นั้นๆ ให้ถ่ายภาพตั้งแต่ด้านนอก ด้านหน้าโครงการเพื่อใช้ในการแยกแยะว่าบ้านหรือคอนโดมิเนียมนี้เป็นของโครงการไหน ถ่ายตั้งแต่ชื่อโครงการ เลขที่ห้อง หรือสัญลักษณ์อะไรก็ได้ที่สามารถแบ่งแยกแต่ละโครงการได้อย่างชัดเจน

    5.นอกจากภาพถ่ายแล้ว เรื่องของความรู้สึกประทับใจที่คุณมีต่อที่พักอาศัยนั้นๆ เป็นสิ่งสำคัญมาก โดยคุณต้องจดสิ่งเหล่านั้นลงในกระดาษให้ละเอียด รวมถึงสำรวจวัสดุ ตำแหน่งของการวางสิ่งต่างๆ ภายในบ้านหรือคอนโดมิเนียมนั้นให้ละเอียด อ่อ…อย่าลืมจดชื่อโครงการกำกับไว้ด้วย เพราะจะได้นำไปอ่านทบทวนและเปรียบเทียบได้ในภายหลัง การจดจะช่วยให้คุณเห็นข้อมูลที่ช่วยในการตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

    6.ทำเลและสภาพแวดล้อมที่พักอาศัยเป็นสิ่งสำคัญมาก ซึ่งสถานที่หลักๆ ที่คุณควรคำนึงถึงคือระบบสาธารณูปโภคต่างๆ สถานศึกษา โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า แหล่งจับจ่ายใช้สอย ฯลฯ รวมไปถึงผู้คนที่พักอาศัยอยู่ในย่านนั้น

    7.เมื่อพิจารณาสิ่งเหล่านี้จากในแต่ละโครงการ หรือบ้านแต่ละหลังเรียบร้อยแล้ว จากนั้นให้ลองนำคุณสมบัติ ข้อดี ข้อเสีย จุดเด่น จุดด้อยของบ้านแต่ละหลังเปรียบเทียบกัน แล้วคุณก็เลือกบ้านที่มีคะแนนเข้าตาคุณมากที่สุดแยกไว้จำนวนหนึ่ง

    8.หลังจากได้บ้านที่เข้าตารวมกันแล้วจำนวนหนึ่ง แนะนำว่าคุณควรกลับไปดูที่พักอาศัยเหล่านั้นอีกครั้ง เพื่อเปรียบเทียบบ้านที่เข้าตาในจำนวนที่เหลืออยู่ แล้วค่อยๆ ตัดตัวเลือกที่ไม่ใช่ออกไป คราวนี้ในมือคุณก็จะเหลือแต่ “บ้าน” ที่ใช่ และตรงกับความต้องการของคุณมากที่สุด
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • n032.png
      n032.png
      ขนาดไฟล์:
      469 KB
      เปิดดู:
      73
    • n033.png
      n033.png
      ขนาดไฟล์:
      83.1 KB
      เปิดดู:
      83
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ออกมาแล้ว!!!
    23 พ.ร.บ. จราจรใหม่ ปรับหนักมากขึ้น โปรดระวัง ฿฿฿
    ค่าปรับ ตาม พ.ร.บ.จราจร มาแล้วนะ ฝากแจ้งเตือนกันด้วยโดนเข้าไปอาจมีโอกาสกินมาม่ายาวถึงสิ้นเดือนกันเลยทีเดียว........

    1.ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน / วางไว้ที่กระจก = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.11,ม.60)

    2.แผ่นป้ายทะเบียนตัดต่ออัดกรอบใหม่เป็นป้ายขาว = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.14,ม.60)

    3.ติดป้ายเอียง มีวัสดุปิดทับ = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.14,ม.60)

    4.แผ่นป้ายทะเบียนปลอม = ป.อาญา ฟ้องศาล

    5.โหลดเตี้ย (วัดจากกึ่งกลางไฟหน้ากับระดับพื้นถนนต้องไม่ต่ำกว่า 40cm) = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.14,ม.60)

    6.ยกสูง (วัดจากกึ่งกลางไฟหน้ากับระดับพื้นถนนต้องไม่สูงกว่า 135cm) = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.14,ม.60)

    7.ล้อยางเกินออกมานอกบังโคนข้างละหลายนิ้ว = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.14,ม.60)

    8.ใส่ล้อใหญ่จนแบะล้อเพื่อหลบซุ้ม = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.14,ม.60)

    9.ตีโปร่งขยายซุ้มล้อติดสปอยเลอร์ต้องมีการยึดติดอย่างแน่นหนา = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.14,ม.60)

    10.ฝาประโปรง หน้า-หลัง ดำ เกิน50%ของสีหลัก = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.13,ม.60)

    11.เปลี่ยนท่อไอเสียใหญ่เสียงดัง = ปรับไม่เกิน 1,000 บาท (ม.5(2),ม.58)

    12.ไฟหน้าหลายสี เช่น เขียว แดง ฟ้า เหลือง = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.12,ม.60)

    13.ไฟหยุดต้องสีแดง(ไฟเบรค)เท่านั้น = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.12,ม.60)

    14.ไฟเลี้ยวต้องเป้นสีเหลืองอำพัน = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.12,ม.60)

    15.ไฟส่องป้ายต้องเป็นสีขาวเห็นไม่ต่ำกว่า 20 เมตร = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.12,ม.60)

    16.ไฟสปอร์ตไลน์ และโคมไฟตัดหมอกแสงพุ่งไกล = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.12,ม.60)

    17.เปิดไฟตัดหมอกโดยไม่มีเหตุ = ปรับไม่เกิน 500 บาท กฏกระทรวง ข้อนี้เจอบ่อย..สุดรำคาญมั่ยรุสอบใบขับขี่ได้งัย

    18.ติดไฟนีออนใต้ท้องรถ ติดไว้กับป้ายทะเบียน = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.12,ม.60)

    19.ดัดแปลงเป็นขับเคลื่อน 4 ล้อ = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.14,ม.60)

    20.เปลี่ยนดีสเบรคหลัง = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.14,ม.60)

    21.ใส่หลังคาซันลูป = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.14,ม.60)

    22.ถอดเบาะหลังออกแล้วติดโรลบาร์ = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.14,ม.60)

    23.ดัดแปลงเครื่องยนต์ วัดควันดำ = ปรับไม่เกิน 1,000 บาท (พรบ.ขนส่ง)

    รู้แล้วแชร์ให้เพื่อนดูด้วยนะคะ
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    7 ความเชื่อการเงินแบบผิดๆ ที่ทำให้ชีวิตคุณพัง
    14 มี.ค. 58 16.31 น.

    -http://money.sanook.com/263969/-

    บทความใหม่นี้ฉลองครบรอบหนึ่งปีในการทำเพจ Mr.Grayman จากสิ่งที่ตัวผมเองได้เจอมาเลยทำให้รู้เลยว่าปัญหาของคนสมัยนี้ มักจะดักดานเรื่องการเงินแต่แก้ไขไม่ได้ เพราะว่ามันเกิดจากความเข้าใจด้านการเงินที่ผิดพลาดครับ บางคนหลังไมค์มาท้าต่อยพี่เกรย์หาว่าสอนแต่เรื่องกว้างๆไม่รู้จักพูดให้ดี ให้รู้เรื่อง พูดจาสุภาพบ้าง พี่เกรย์ฟังแล้วอยากจะถามเหมือนกันว่า “เสือกอะไรเพจกู ไม่อ่านก็ปิดจอไป หรือไม่ก็เชิญมึงไปทำเพจเองเล่นเองไลค์เองสิครับ” แต่ก็ไม่กล้าพูดไปเกรงใจว่าจะไม่สุภาพครับ

    ทีนี้ปัญหาเรื่องการเงินมันเกิดจากความเชื่อผิดๆครับ อาจจะเกิดจากที่ครอบครัวคุณไม่ได้สั่งสอน หรือสอนแล้วไม่จำ หรือสังคมทีคุณอยู่มันแย่มาก แต่ไม่เป็นไรครับ เราจะมาเปลี่ยนแปลงแนวคิดผิดๆ 7 ข้อนี้ไปด้วยกัน ถ้าพร้อมแล้วเริ่มกันเลยนะครับ

    1. ไม่ต้องวางแผนเกษียณหรอก เพราะเราจะทำงานไปจนตาย
    หลังการที่คิดว่าตัวเองจะอยู่ค้ำฟ้านี่ไม่รู้มาจากไหนนะครับ เอางี้ดีกว่า ผมขอบอกว่าการที่คนเราทำงานจนตายไม่ใช่เรื่องผิดหรอกครับ แต่สิ่งที่ผิดจริงๆคือ ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้แต่ดันไม่ตาย เพราะว่าหนังเราอาจจะเหนียวเหมือนควายป่า ทำให้เกิดความผิดปกติที่ร่างกาย เช่น พิการ หรือ ทุพลลภาพ จนโดนไล่ออกจากงาน ทีนี้อยากทำงานจนตายก็ทำไม่ได้ครับเพราะดันเป็นง่อยไปแล้ว คำถามตามมาคือ แล้วจะเอาเงินที่ไหนใช้ ถ้าไม่รู้จักวางแผนชีวิตล่วงหน้า

    2. แค่จ่ายค่าใช้จ่ายก็จะตายแล้ว จะวางแผนการเงินได้ยังไง
    คำพูดนี้ปลอบใจตัวเองได้ดีมากๆ เลยครับ แต่ผมอยากบอกว่าเพราะคุณไม่ได้วางแผนการเงิน ชีวิตคุณเลยเป็นแบบนี้ไงครับ หรือคุณจะยอมรับว่าเวลาเป็นหนี้คุณได้ใคร่ครวญดีแล้ว เวลาจะซื้อของใช้ต่างๆ เวลาจะซื้อบ้าน ผ่อนรถ ฯลฯ แต่คงว่าไม่ได้หรอกครับ เพราะนี้อาจจะเป็นอาการทางสมอง ยังไงแนะนำให้รีบรักษานะครับ (ยิ้ม)

    แต่สำหรับคนที่มีความจำเป็นต้องเป็นหนี้ พี่เกรย์ขออวยพรให้ฟันฝ่าอุปสรรคไปได้นะครับ คนบางคนความจำเป็นไม่เหมือนกัน พี่เกรย์หมายถึงคนที่อ้างเหตุผลแบบง่าวๆเท่านั้น หวังว่าคงจะเข้าใจ อย่างน้อยก็เอาเวลาที่เล่นเฟสบุ๊กไปหาเงินมาช่วยโปะหนี้ น่าจะดีกว่านะครับ

    3. รู้จักพอก็รวยได้
    ตอบก่อนไหมครับว่าเท่าไร ถึงพอ แล้วถ้าหากวันนี้พอแล้ว หยุดทำงานสิครับ ไม่ทราบว่าทำงานไปหาคุณพ่อคุณแม่หรอครับ?

    4. อยากได้ งานง่ายๆ สบาย รายได้ดี
    อันนี้คงบอกได้แค่ว่า “เมากาวก็ไปนอนนะลูก”

    5. แค่ดูแลตัวเองให้ดี ไม่ต้องซื้อประกันก็ได้
    คือแบบนี้ครับ การทำประกันคือการป้องกันความเสี่ยงนะครับ อย่าเข้าใจผิด การดูแลสุขภาพให้ดีเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องทำครับ แต่ถ้าเราเกิดอุบัติเหตุ เราได้เผื่ออะไรไว้สำหรับชีวิตคนอื่นที่อยู่ข้างหลังบ้างไหมครับ ลองคิดสิครับว่า ถ้าเราโกอินเตอร์ไปเค้าจะเจออะไรบ้าง เคยเผื่อเขาบ้างไหมครับ หรือเกิดมาชาตินี้ไม่มีใครรักสักคนเลยครับ

    อีกกลุ่มคือพวกที่คิดว่าทำประกันคือการแช่งตัวเอง แต่บอกให้คนอื่นเชื่อในวิทยาศาสตร์ ผมไม่แน่ใจว่าใครบ้านะครับ

    6. ซื้อบ้านถูกกว่าเช่า เอาค่าเช่ามาผ่อนดีกว่า
    คิดให้เยอะๆ ถึงค่าใช้จ่ายที่ตามมา ค่าดูแลรักษา ราคาขายต่อ ความสะดวก การเอาเงินก้อนไปลงทุน การหมุนเงิน และปัจจัยอื่นๆบ้าง พวกที่คิดแบบนี้สุดท้ายบ่นว่าผ่อนไม่ไหว แล้วจะซื้อมาทำซีซาร์สลัดให้คุณพ่อรับประทานทำไมครับ

    7. การลงทุนมีความเสี่ยง เลยไม่กล้าลงทุน
    ทุกอย่างในโลกนี้มีความเสียงหมดแหละครับ เอาเงินไว้ที่บ้านก็เสี่ยงมอดแดรกส์ กินข้าวก็เจอพวกสารพิษ ทำงานก็เจอเพื่อนหลอก แต่ที่เสี่ยงจริงๆ มันคือการที่คุณไม่มีความรู้ในสิ่งที่คุณทำ แล้วทำเหมือนรู้ทุกเรื่อง สุดท้ายก็เลยเป็นแบบนี้แหละ

    บทความการเงินนี้ เขียนด้วยความหวังดีกับทุกคนครับ
    อาจจะพูดแรง แต่ที่พูดไปต้องขอชี้แจงว่า
    เพราะไม่อยากเห็นพวกคุณต้องไปเก็บขวดขายตอนแก่ครับผม

    .

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]


    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • n034.png
      n034.png
      ขนาดไฟล์:
      134.3 KB
      เปิดดู:
      343
    • n035.png
      n035.png
      ขนาดไฟล์:
      80.3 KB
      เปิดดู:
      330
    • n036.png
      n036.png
      ขนาดไฟล์:
      311.1 KB
      เปิดดู:
      345
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ขอเชิญทุกท่าน ร่วมทำบุญผ้าป่าสามัคคี
    ร่วมสร้าง ที่พักสงฆ์ "ศรีชัยรัตนโคตร"
    ต.ธาตุนาเวง อ.เมือง จ.สกลนคร

    กำหนดการ

    วันเสาร์ที่ 25 เมษายน 2558

    ณ ที่พักสงฆ์ "ศรีชัยรัตนโคตร"
    ต.ธาตุนาเวง อ.เมือง จ.สกลนคร

    หรือในกระทู้ http://www.tairomdham.net/index.php?topic=4172.msg39504#msg39504
    -http://www.tairomdham.net/index.php?topic=4172.msg39504#msg39504-

    รายละเอียด ตามรูปด้านล่าง

    [​IMG]




    โมทนาบุญ สาธุครับ



    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • S1_17032558.jpg
      S1_17032558.jpg
      ขนาดไฟล์:
      407 KB
      เปิดดู:
      1,187
    • S2_17032558.jpg
      S2_17032558.jpg
      ขนาดไฟล์:
      372.7 KB
      เปิดดู:
      42
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มีนาคม 2015
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    มีงานบุญมาฝากครับ หลวงพ่อแผน วัดบ่อเงินบ่อทอง ต.หนองแหน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ท่านแจ้งมาว่า หากท่านใดมีความประสงค์ที่จะเป็นเจ้าภาพบวชเณร องค์ละ 1,000 บาท ขอเชิญที่วัดบ่อเงินบ่อทองครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • nb001.jpg
      nb001.jpg
      ขนาดไฟล์:
      274 KB
      เปิดดู:
      49
    • nb002.jpg
      nb002.jpg
      ขนาดไฟล์:
      417 KB
      เปิดดู:
      36
    • nb003.png
      nb003.png
      ขนาดไฟล์:
      173.7 KB
      เปิดดู:
      292
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    มีงานบุญมาฝากครับ หลวงพ่อแผน วัดบ่อเงินบ่อทอง ต.หนองแหน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
    ท่านแจ้งมาว่า หากท่านใดมีความประสงค์ที่จะเป็นเจ้าภาพบวชเณร องค์ละ 1,000 บาท ขอเชิญที่วัดบ่อเงินบ่อทองครับ


    ชมรมพระวังหน้า เพื่อพระวังหน้าและงานบุญต่างๆ

    http://palungjit.org/threads/พระวัง...้าต้องการที่จะได้.22445/page-2576#post9551059

    http://palungjit.org/threads/ขอความเมตตาช่วยต่อชีวิต-พระเณร.21733/page-128

    .
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อรรถกถา ธรรมสังคณีปกรณ์
    จิตตุปปาทกัณฑ์ กุศลธรรม กามาวจรมหากุศลจิต ๘ จิตดวงที่ ๑

    -http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=16&p=2-

    อรรถกถา ธรรมสังคณีปกรณ์
    จิตตุปปาทกัณฑ์ กุศลธรรม กามาวจรมหากุศลจิต ๘ จิตดวงที่ ๑

    หน้าต่างที่ ๒ / ๔.

    กถาว่าด้วยกรรม ๓#-
    ____________________________
    #- กถานี้เป็นลำดับแรกแต่ท่านแสดงไว้ที่ ๒

    ชื่อว่าทวารแห่งกรรม ๓ เหล่านี้ บัดนี้จะกล่าวถ้อยคำพิสดารการตั้งมาติกาในกถาว่าด้วยทวารที่กล่าวค้างไว้ ตั้งต้นแต่กรรม ๓ ตามที่ได้แสดงทวารแห่งกรรมเหล่านี้แล้ว เว้นกรรม ๓ เหล่านั้นไว้.
    จริงอยู่ กรรม ๓ คือกายกรรม วจีกรรมและมโนกรรม. ถามว่า ชื่อว่ากรรม นี้ได้แก่อะไรบ้าง. ตอบว่า ได้แก่ เจตนา และธรรมที่สัมปยุตด้วยเจตนาบางอย่าง บรรดาธรรมทั้งสองเหล่านั้น ความที่เจตนาเป็นกรรม มีพระสูตรเหล่านี้กล่าวไว้ว่า
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม บุคคลจงใจแล้วจึงกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ (และคำว่า) ดูก่อนอานนท์ จริงอยู่ เมื่อกายมีอยู่ ความสุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะกายสัญเจตนาเป็นเหตุ (เพราะความจงใจทางกายเป็นเหตุ) ดูก่อนอานนท์ หรือเมื่อวาจามีอยู่ ความสุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะวจีสัญเจตนาเป็นเหตุ ดูก่อนอานนท์ หรือว่าเมื่อใจมีอยู่ ความสุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะมโนสัญเจตนาเป็นเหตุ
    (และคำว่า) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายสัญเจตนา ๓ อย่าง เป็นกายกรรมฝ่ายอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก วจีสัญเจตนา ๔ อย่าง เป็นวจีกรรมฝ่ายอกุศล ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มโนสัญเจตนา ๓ อย่าง เป็นมโนกรรมฝ่ายกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก (และคำว่า) ดูก่อนอานนท์ ถ้าโมฆบุรุษ ชื่อว่าสมิทธิ นี้ถูกปาฏลิบุตรปริพาชกถามอย่างนี้ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านปาฏลิบุตร ท่านกระทำกรรมเนื่องด้วยสัญเจตนา ย่อมเสวยสุขเนื่องด้วยสุขเวทนา ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ฯลฯ ท่านก็ย่อมเสวยอทุกขมสุขเนื่องด้วยอทุกขมสุขเวทนา ดังนี้ ดูก่อนอานนท์ เมื่อสมิทธิโมฆบุรุษนั้นพยากรณ์อย่างนี้ ชื่อว่าพยากรณ์โดยชอบแก่ปาฏลิบุตรปริพาชก. ความที่เจตนาเป็นกรรมมีพระสูตรเพียงเท่านี้ก่อน.
    ส่วนความที่สัมปยุตตธรรมด้วยเจตนาเป็นกรรม ท่านแสดงไว้โดยกรรมจตุกะ (หมวด ๔ แห่งกรรม) สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ เหล่านี้ เรากระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองประกาศแล้ว กรรม ๔ เป็นไฉน?
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรมดำมีวิบากดำก็มี กรรมขาวมีวิบากขาวก็มี กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาวก็มี กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไป เพื่อความสิ้นกรรมก็มี.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมเป็นไฉน? สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ นี้เราเรียกว่า กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม เป็นไฉน?
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เราเรียกว่า กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม.
    ธรรม ๑๕ อย่าง ต่างโดยโพชฌงค์และองค์มรรคเหล่านี้ ทรงแสดงไว้ด้วยกรรมจตุกะ ด้วยประการฉะนี้.
    อนึ่ง พึงทราบธรรมที่สัมปยุตด้วยเจตนา ๒๑ อย่างกับธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ คือ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ อนภิชฌา อัพยาบาทและสัมมาทิฏฐิ.
    บรรดาธรรมเหล่านั้น โลกุตรมรรคเมื่อจะรวมเป็นพวก ก็ย่อมรวมกรรม ๓ อย่างมีกายกรรมเป็นต้น. จริงอยู่ การสำรวมจากการประพฤติก้าวล่วงความทุศีลทางวาจา พึงทราบว่าเป็นวาจสิกะ สัมมากัมมันตะเป็นกายกรรม สัมมาวาจาเป็นวจีกรรม เมื่อถือเอากรรมทั้งสองหมวดนี้ สัมมาอาชีวะย่อมชื่อว่าเป็นอันถือเอาแล้ว เพราะเป็นพวกแห่งกรรมทั้งสองนั้นทีเดียว. ส่วนการสำรวมจากการก้าวล่วงความทุศีลทางใจ พึงทราบว่าเป็น มานสิกะ มานสิกะ (การสำรวมทางใจ) นั้นมี ๕ อย่าง ด้วยสามารถแห่งทิฏฐิ สังกัปปะ วายามะ สติและสมาธิ มานสิกะแม้ ๕ อย่างนี้ ชื่อว่ามโนกรรม. โลกุตรมรรค เมื่อรวมเป็นพวกก็ย่อมรวมกรรม ๓ อย่างด้วยประการฉะนี้.
    ในที่นี้ ชื่อว่าการเทียบเคียงกับทวาร จริงอยู่ กรรมที่ถึงความหวั่นไหวในกายทวารและวจีทวารแต่ไม่ถึงกรรมบถก็มี กรรมที่ถึงความปรากฏเป็นไปในมโนทวาร แต่ไม่ถึงกรรมบถก็มี ท่านจึงถือเอากรรมนั้นๆ (ที่ไม่เป็นกรรมบถ) กระทำให้เป็นพวกของทวารนั้นๆ ทีเดียว.
    ในเรื่องนั้นมีนัย ดังนี้.
    บุคคลใดคิดว่าจักไปล่าเนื้อ จึงจัดแจงธนู ฟั่นเชือก ลับหอก บริโภคอาหารแล้วนุ่งห่มเสื้อผ้า ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ กรรมก็ถึงความหวั่นไหว แล้วในกายทวาร. เขาเที่ยวไปในป่าตลอดวันย่อมไม่ได้อะไรโดยที่สุด แม้กระต่ายและแมว. ถามว่า อกุศลนี้ ชื่อว่าเป็นกายกรรมหรือไม่. ตอบว่า ไม่เป็น. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะไม่ถึงกรรมบถ. แต่พึงทราบว่า อกุศลจิตนี้ ชื่อว่ากายทุจริตอย่างเดียว. แม้ในการไปจับปลาเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน.
    แม้ในวจีทวาร บุคคลสั่งว่า เราจักไปล่าเนื้อ พวกเจ้าจงเตรียมธนูเป็นต้นโดยเร็วเถิด ดังนี้ เมื่อไม่ได้อะไรในป่าโดยนัยก่อนนั่นแหละ กรรมนั้นถึงความหวั่นไหวในวจีทวารแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้นก็ไม่เป็นวจีกรรม. พึงทราบว่า อกุศลจิตนั้น ชื่อว่าเป็นวจีทุจริตอย่างเดียว. ส่วนในมโนทวาร เมื่อวธกเจตนาเพียงเกิดขึ้นเท่านั้นก็ย่อมเป็นอันทำลายกรรมบถทีเดียว.
    อนึ่ง ประเภทกรรมบถนั้นย่อมมี ด้วยอำนาจแห่งความพยาบาท มิใช่ด้วยอำนาจแห่งปาณาติบาต. จริงอยู่ กายกรรมที่เป็นอกุศล ย่อมตั้งขึ้นในกายทวารและวจีทวาร ไม่ตั้งขึ้นในมโนทวาร. วจีกรรมที่เป็นอกุศลก็เหมือนกัน. แต่มโนกรรมที่เป็นอกุศลย่อมตั้งขึ้นในทวารแม้ทั้งสาม. กายกรรม วจีกรรมและมโนทวารที่เป็นกุศลก็เหมือนกัน.
    ถามว่า เป็นอย่างไร?
    ตอบว่า เมื่อบุคคลฆ่าสัตว์ ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ให้ ประพฤติมิจฉาจาร กรรมย่อมเป็นกายกรรมเท่านั้น แม้ทวารก็เป็นกายทวารเหมือนกัน กายกรรมที่เป็นอกุศลย่อมตั้งขึ้นในกายทวารอย่างนี้ก่อน ส่วนอภิชฌา พยาบาทและมิจฉาทิฏฐิที่เกิดพร้อมกับจิตเหล่านั้น ย่อมเป็นไปในฝ่ายเจตนาบ้าง เป็นอัพโพหาริก (กล่าวอ้างไม่ได้ว่ามีหรือไม่มี) บ้าง.
    แต่เมื่อบุคคลสั่งว่า เจ้าจงไปฆ่าผู้นี้ จงลักสิ่งของชื่อนี้ กรรมเป็นกายกรรม สำหรับทวารเป็นวจีทวาร กายกรรมที่เป็นอกุศลย่อมตั้งขึ้นในวจีทวารอย่างนี้ ส่วนอภิชฌา พยาบาทและมิจฉาทิฏฐิที่เกิดพร้อมกับจิตเหล่านั้นเป็นไปในฝ่ายเจตนาบ้าง เป็นอัพโพหาริกบ้าง ชื่อว่า คำอธิบายที่เหมือนกันของอาจารย์ทั้งหลายมีประมาณเท่านี้.
    ส่วนอาจารย์วิตัณฑวาทีกล่าวว่า กายกรรมที่เป็นอกุศลย่อมตั้งขึ้นในมโนทวารก็มี อาจารย์วิตัณฑวาทีนั้น ถูกอาจารย์อื่นท้วงว่า ท่านจงนำสูตรที่ยกขึ้นในการรวบรวม (สังคายนา) ทั้ง ๓ ดังนี้ จึงนำชื่อกุลุมพสูตรนี้มาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญจิต เพ่งดูสัตว์ในเกิดในครรภ์ของหญิงอื่นด้วยใจอันลามกว่า โอหนอ สัตว์ในครรภ์นี้ อย่าพึงคลอดออกมาด้วยความสวัสดี ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การฆ่าสัตว์ในครรภ์ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้. อาจารย์วิตัณฑวาทีครั้นนำสูตรนี้มาแล้ว จึงกล่าวว่า ก็เพียงแต่คิดเท่านั้น สัตว์เกิดในครรภ์ของหญิงนั้นก็ย่อมย่อยยับไปเหมือนก้อนฟองน้ำ ในการย่อยยับแห่งครรภ์นี้มีการไหวส่วนแห่งกายหรือส่วนแห่งวาจาแต่ที่ไหนเล่า ก็กายกรรมที่เป็นอกุศลนี้ ย่อมตั้งขึ้นในมโนทวารทีเดียว ดังนี้.
    อาจารย์ทั้งหลายกล่าวกะอาจารย์วิตัณฑวาทีนั้นว่า พวกเราจักพิจารณาเนื้อความพระสูตรของท่าน ดังนี้ แล้วพากันพิจารณาโดยนัยที่ท่านอาจารย์วิตัณฑวาทีกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านกล่าวถึงการฆ่าสัตว์อื่นด้วยฤทธิ์ ก็ธรรมดาว่า ฤทธิ์นั้นมี ๑๐ อย่าง คือ อธิษฐานอิทธิ วิกุพพนอิทธิ มโนมยอิทธิ ญาณวิปผารอิทธิ สมาธิวิปผารอิทธิ อริยอิทธิ กัมมวิปากชอิทธิ ปุญญวโตอิทธิ วิชชามยอิทธิ ภาวนามยอิทธิ ที่ชื่อว่าฤทธิ์ ด้วยอรรถว่าสำเร็จ เพราะการประกอบโดยชอบในคุณนั้นๆ เป็นปัจจัย บรรดาฤทธิ์เหล่านั้น ท่านกล่าวถึงฤทธิ์อย่างไหน. ท่านวิตัณฑวาทีตอบว่า ภาวนามยอิทธิ. ถามว่า กรรมคือการฆ่าสัตว์อื่นมีได้ ด้วยภาวนามยอิทธิหรือ. ท่านวิตัณฑวาทีตอบว่า ใช่. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า การฆ่าสัตว์อื่นด้วยภาวนามยอิทธินั้นมีได้ครั้งหนึ่ง. เหมือนหม้อน้ำเต็มด้วยน้ำ บุคคลประสงค์จะประหารผู้อื่นจึงขว้างไปแล้ว แม้หม้อก็แตก แม้น้ำก็พินาศไป ฉันใด กรรม คือการฆ่าผู้อื่นด้วยภาวนามยอิทธิ ย่อมมีได้ครั้งหนึ่ง ฉันนั้นเหมือนกัน ต่อจากนั้นไปฤทธิ์นั้นก็เสื่อม.
    ลำดับนั้น อาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวกะท่านวิตัณฑวาทีนั้นว่า กรรม คือการประหารผู้อื่นด้วยภาวนามยอิทธิ มิได้มีหนึ่งครั้งสองครั้งเท่านั้น แล้วจึงถามท่านวิตัณฑวาทีซึ่งไม่ดำเนินไปด้วยวาจาตามประกาศให้รู้ว่า ภาวนามยอิทธิเป็นกุศล หรือเป็นอกุศล หรือเป็นอัพยากตะ สัมปยุตด้วยสุขเวทนา หรือทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา เป็นสวิตักกวิจาร ไม่มีวิตกมีแต่วิจาร ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร. บุคคลใดรู้ปัญหานี้ บุคคลนั้นย่อมกล่าวอย่างนี้ว่า ภาวนามยอิทธิย่อมเป็นกุศลบ้าง เป็นอัพยากตะบ้าง เป็นที่ตั้งของอทุกขมสุขบ้าง เป็นอวิตักกอวิจาร และเป็นรูปาวจรเท่านั้น. อาจารย์วิตัณฑวาทีนั้นจะพึงถูกผู้อื่นถามว่า เจตนาที่ยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไปย่อมรวมเข้ากันได้กับส่วนไหนในบรรดากุศลเป็นต้น. เมื่ออาจารย์วิตัณฑวาทีรู้อยู่ก็ย่อมบอกว่า เจตนาที่ยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป เป็นอกุศล เป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา มีวิตกและวิจารเป็นกามาวจรเท่านั้น. เมื่อเป็นเช่นนั้นก็พึงบอกวิตัณฑวาทีว่า ปัญหาของท่านไม่สมกับเป็นกุศลติกะ ไม่สมกับเวทนาติกะ ไม่สมกับวิตักกติกะ ไม่สมกับภุมมันตระ (คือกามาวจรเป็นต้น). อาจารย์วิตัณฑวาทีจะกล่าวว่า ก็สูตรใหญ่อย่างนี้ไม่มีประโยชน์หรือ? พวกอาจารย์พึงตอบว่า มิใช่ ไม่มีประโยชน์ แต่ว่าท่านย่อมไม่รู้ประโยชน์ของสูตรนั้นว่า สมณะหรือพราหมณ์ นั้นมีฤทธิ์ ถึงความชำนาญทางใจ. จริงในที่นี้ท่านไม่ประสงค์เอาภาวนามยอิทธิ แต่ประสงค์เอาอาถัพพนิทธิ.
    จริงอยู่ อาถัพพนิทธินั้น เมื่อได้ย่อมได้ในคำว่า ท่านผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญทางใจนี้ แต่ว่า อาถัพพนิทธินั้น พ้นจากกายทวารและวจีทวาร แล้วก็ไม่อาจทำได้ เพราะว่า บุคคลผู้ประกอบอาถัพพนิทธิทั้งหลาย ต้องบริโภคของไม่เค็ม ปูลาดหญ้าแพรกนอนบนพื้นดิน ประพฤติตบะตลอด ๗ วัน ในวันที่ ๗ ตกแต่งพื้นที่ป่าช้า แล้วยืนอยู่ในย่างเท้าที่ ๗ ทำให้มือหมุนไปมา ร่ายมนต์ด้วยปาก ทีนั้นการทำของพวกเขาจึงสำเร็จ ฤทธิ์แม้นี้พ้นจากกายทวารและวจีทวารแล้ว ก็ไม่อาจทำได้ เพราะฉะนั้น ในข้อนี้ พึงถึงความตกลงว่า กายกรรมย่อมไม่ตั้งขึ้นในมโนทวาร ดังนี้.
    ก็เมื่อบุคคลกล่าวมุสาวาทเป็นต้นด้วยศีรษะและมือ กรรมเป็นวจีกรรม แต่ทวารเป็นกายทวาร แม้วจีกรรมที่เป็นอกุศลก็ย่อมตั้งขึ้นในกายทวารด้วยประการฉะนี้. ส่วนอภิชฌา พยาบาทและมิจฉาทิฏฐิที่เกิดพร้อมกับจิตทั้งหลายเหล่านั้นย่อมเป็นฝ่ายของเจตนาบ้าง เป็นอัพโพหาริกบ้าง ก็เมื่อบุคคลทำการเปล่งวาจากล่าวมุสาวาทเป็นต้น แม้กรรมก็เป็นวจีกรรม แม้ทวารก็เป็นวจีทวารเหมือนกัน วจีกรรมที่เป็นอกุศลย่อมตั้งขึ้นในวจีทวารด้วยประการฉะนี้. ส่วนอภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิที่เกิดพร้อมกับจิตเหล่านั้นเป็นฝ่ายของเจตนาบ้าง เป็นอัพโพหาริกบ้าง ชื่อว่า คำชี้แจงที่เหมือนกันของอาจารย์ทั้งหลายมีเพียงเท่านี้.
    ส่วนอาจารย์วิตัณฑวาทีกล่าวว่า วจีกรรมที่เป็นอกุศลย่อมตั้งขึ้นในมโนทวารก็ได้. อาจารย์วิตัณฑวาทีนั้นถูกอาจารย์อื่นซักว่า ท่านจงนำสูตรที่ขึ้นสู่การรวบรวมทั้งสามครั้งมา จึงนำสูตรอุโปสถขันธกะมาว่า ก็ภิกษุใด เมื่อถูกสวดประกาศถึง ๓ ครั้ง ระลึกได้ แต่ไม่ทำให้แจ้งซึ่งอาบัติที่มีอยู่ ภิกษุนั้นย่อมต้องอาบัติสัมปชานมุสาวาท ดังนี้. ครั้นท่านนำสูตรนี้มาแล้วก็กล่าวว่า ภิกษุนั้นไม่กระทำให้แจ้งอาบัติอย่างนี้ เป็นผู้นิ่งเฉย ย่อมต้องอาบัติอื่น การไหวส่วนแห่งกาย หรือวาจาในที่นี้มีที่ไหน ก็วจีกรรมที่เป็นอกุศล ย่อมตั้งขึ้นในมโนทวารนั่นแหละ ดังนี้.
    อาจารย์ทั้งหลายพึงถามวิตัณฑวาทีนั้นว่า ก็สูตรที่ท่านกล่าวนี้ มีเนื้อความที่ควรแนะนำ หรือมีเนื้อความอธิบายไว้แล้ว อย่างไร? วิตัณฑวาทีกล่าวว่า สูตรของข้าพเจ้านี้ มีเนื้อความอธิบายไว้แล้ว ดังนี้ แล้วถูกกล่าวเตือนว่า ท่านอย่าพูดอย่างนี้ พวกเราจักช่วยกันพิจารณาดูเนื้อความของสูตรนั้น ดังนี้ แล้วพึงถาม อย่างนี้ว่า มีอาบัติอะไรในเพราะสัมปชานมุสาวาท. เมื่ออาจารย์วิตัณฑวาทีรู้อยู่ก็จักบอกว่า เป็นอาบัติทุกกฏในเพราะสัมปชานมุสาวาท จากนั้นก็พึงถูกกล่าวว่า วินัยมีมูลเหตุสองอย่าง คือ กายและวาจา จริงอยู่ พระสัมมาสัมพุทธะทรงบัญญัติอาบัติทั้งหมดในทวารทั้ง ๒ เหล่านี้เท่านั้น ขึ้นชื่อว่าการบัญญัติอาบัติ ในมโนทวารย่อมไม่มี ท่านรู้วินัยบัญญัติมากไป บุคคลใดบัญญัติอาบัติในฐานะอันพระศาสดาไม่บัญญัติไว้ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมกล่าวตู่พระสัมมาสัมพุทธะ ย่อมประหารชินจักร ครั้นถูกข่มด้วยถ้อยคำเป็นต้นอย่างนั้น แล้วก็พึงถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า สัมปชานมุสาวาทย่อมตั้งขึ้นเพราะการกระทำหรือ หรือว่าเพราะการไม่กระทำ ดังนี้ เมื่อวิตัณฑวาทีทราบอยู่ก็จักบอกว่า เพราะการไม่กระทำ จากนั้น ก็พึงบอกท่านว่า ภิกษุผู้ไม่ทำให้แจ้งอาบัติย่อมทำกิริยาอย่างไหน ท่านวิตัณฑวาทีเมื่อไม่เห็นการกระทำแน่แท้ก็จักถึงความลำบากใจ ลำดับนั้น อาจารย์ทั้งหลายพึงให้วิตัณฑวาทีนั้นย่อมจำนนด้วยเนื้อความแห่งสูตรนี้. ก็ในสูตรนี้มีเนื้อความดังต่อไปนี้.
    ถามว่า สัมปชานมุสาวาท ที่ท่านกล่าวว่าเป็นอาบัติ เป็นอาบัติอะไร คือเป็นอาบัติประเภทไหน. ตอบว่า เป็นอาบัติทุกกฏ ก็อาบัติทุกกฏนั้นแล ว่าโดยลักษณะแห่งมุสาวาท บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นอาบัติซึ่งมีการไม่ทำในวจีทวารตามพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นสมุฏฐาน สมจริงดังคำที่ตรัสไว้ในปริวาร ว่าด้วยเสทโมจนคาถาว่า
    ภิกษุไม่เจรจากับมนุษย์ไรๆ ไม่เปล่ง
    วาจาพูดกับผู้อื่น แต่ต้องอาบัติทางวาจา ไม่
    ต้องอาบัติทางกาย ปัญหานี้ท่านผู้รู้ทั้งหลาย
    คิดกันแล้ว ดังนี้.
    ในที่นี้ พึงถึงความตกลงว่า วจีกรรมที่เป็นอกุศลย่อมไม่ตั้งขึ้นในมโนทวาร ด้วยประการฉะนี้.
    ก็แต่ในกาลใด บุคคลมีจิตสหรคตด้วยอภิชฌายังส่วนแห่งกายให้ไหว กระทำกิจมีการถือเอาด้วยมือเป็นต้น มีใจสหรคตด้วยพยาบาทมีการถือไม้เป็นต้น มีใจสหรคตด้วยมิจฉาทิฏฐิ คิดว่า พระขันธกุมาร พระศิวะประเสริฐที่สุด จึงทำกิจมีการอภิวาท อัญชลีกรรมและตกแต่งตั่งน้อยสำหรับภูต เพื่อพระศิวะนั้น ในกาลนั้น กรรมเป็นมโนกรรม แต่ทวารเป็นกายทวาร มโนกรรมที่เป็นอกุศลย่อมตั้งขึ้นในกายทวาร ด้วยประการฉะนี้ แต่เจตนาในที่นี้เป็นอัพโพหาริก.
    ในกาลใด บุคคลมีใจสหรคตด้วยอภิชฌา ยังส่วนแห่งวาจาให้ไหว เพ่งดูอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นโดยพูดว่า โอหนอ ของผู้อื่นพึงเป็นของเรา ดังนี้ มีใจสหรคตด้วยพยาบาท กล่าวว่า ขอสัตว์เหล่านี้จงถูกเบียดเบียน จงถูกฆ่า จงขาดสูญ หรือว่า จงอย่าได้มี ดังนี้ มีใจสหรคตด้วยมิจฉาทิฏฐิ ย่อมกล่าวว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บุคคลเซ่นสรวงแล้วไม่มีผลเป็นต้น ในกาลนั้น กรรมเป็นมโนกรรม แต่ทวารเป็นวจีทวาร มโนกรรมย่อมตั้งขึ้นในวจีทวารด้วยประการฉะนี้ เจตนาในที่นี้ก็เป็นอัพโพหาริก.
    ก็ในกาลใด บุคคลไม่ยังส่วนแห่งกายและวาจาให้ไหวนั่งแล้วในที่ลับ ให้จิตทั้งหลายเกิดขึ้นสหรคตด้วยอภิชฌา พยาบาทและมิจฉาทิฏฐิ ในกาลนั้น กรรมเป็นมโนกรรม แม้ทวารก็เป็นมโนทวารเหมือนกัน มโนกรรมที่เป็นอกุศลย่อมตั้งขึ้นในมโนทวาร ด้วยประการฉะนี้. ก็ในที่นี้ เจตนาก็ดี ธรรมที่สัมปยุตด้วยเจตนาก็ดี ย่อมตั้งขึ้นในมโนทวารเท่านั้น มโนกรรมที่เป็นอกุศล บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมตั้งขึ้นในทวารแม้ทั้ง ๓ ดังพรรณนามาฉะนี้.
    ก็คำที่ท่านกล่าวว่า กายกรรม วจีกรรมและมโนกรรม ที่เป็นกุศลก็เหมือนกันนั้น มีนัยดังต่อไปนี้.
    จริงอยู่ ในกาลใด บุคคลไม่สามารถกล่าววาจาด้วยเหตุบางอย่าง ย่อมถือเอาสิกขาบทเหล่านี้ ด้วยมือและศีรษะว่า ข้าพเจ้าย่อมงดเว้นจากปาณาติบาต จากอทินนาทาน จากกาเมสุมิจฉาจาร ดังนี้ ในกาลนั้น กรรมเป็นกายกรรม แม้ทวารก็เป็นกายทวารเหมือนกัน กายกรรมที่เป็นกุศลย่อมตั้งขึ้นในกายทวารอย่างนี้ ธรรมมีอภิชฌาเป็นต้นที่เกิดพร้อมกับจิตเหล่านั้น ย่อมเป็นฝ่ายของเจตนาบ้าง เป็นอัพโพหาริกบ้าง.
    แต่ในกาลใด บุคคลเปล่งวาจารับสิกขาบททั้งหลายเหล่านั้นนั่นแหละ ในกาลนั้น กรรมเป็นกายกรรม แต่ทวารเป็นวจีทวาร กายกรรมที่เป็นกุศล ย่อมตั้งขึ้นในวจีทวารอย่างนี้ ธรรมมีอนภิชฌาเป็นต้นที่เกิดพร้อมกับจิตเหล่านั้น ย่อมเป็นฝ่ายของเจตนาบ้าง เป็นอัพโพหาริกบ้าง.
    แต่ในกาลใด เมื่อพระภิกษุให้สิกขาบทเหล่านั้นอยู่ บุคคลไม่ให้ส่วนแห่งกายและวาจาให้ไหว ย่อมรับเอาด้วยใจเท่านั้นว่า ข้าพเจ้าย่อมงดเว้นจากปาณาติบาต จากอทินนาทาน จากกาเมสุมิจฉาจาร ดังนี้ ในกาลนั้น กรรมเป็นกายกรรม แต่ทวารเป็นมโนกรรม กายกรรมที่เป็นกุศลย่อมตั้งขึ้นในมโนทวารอย่างนี้ ธรรมมีอนภิชฌาเป็นต้นที่เกิดพร้อมกับจิตเหล่านั้น ย่อมเป็นฝ่ายของเจตนาบ้าง เป็นอัพโพหาริกบ้าง ก็เมื่อบุคคลรับสิกขาบททั้ง ๔ มีเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากมุสาวาทเป็นต้น ด้วยกายเป็นต้นโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ วจีกรรมที่เป็นกุศล บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมตั้งขึ้นในทวารทั้ง ๓ ดังนี้ แม้ในที่นี้ ธรรมมีอนภิชฌาเป็นต้น ก็ย่อมเป็นฝ่ายของเจตนาบ้าง เป็นอัพโพหาริกบ้าง.
    แต่ว่า บุคคลยังส่วนแห่งกายให้ไหวไปด้วยจิตอันสหรคต ด้วยอนภิชฌาเป็นต้น กระทำการปัดกวาดลานพระเจดีย์ ทำการบูชาด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น และไหว้พระเจดีย์เป็นต้น กรรมเป็นมโนกรรม แต่ทวารเป็นกายทวาร มโนกรรมที่เป็นกุศลย่อมตั้งขึ้นในกายทวารอย่างนี้ แต่ว่าเจตนาในที่นี้ เป็นอัพโพหาริกเท่านั้น เมื่อบุคคลมีจิตสหรคตด้วยอนภิชฌา ยังส่วนแห่งวาจาให้ไหว ไม่เพ่งดูว่า โอหนอ วัตถุเครื่องปลื้มใจของคนอื่น พึงเป็นของเราดังนี้ มีจิตสหรคตด้วยอัพยาบาท กล่าวอยู่ว่า สพฺเพ สตฺตา อเวรา อพฺยาปชฺฌา อนีฆา สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ ดังนี้ มีจิตสหรคตด้วยสัมมาทิฏฐิ เปล่งวาจาว่า ทานที่บุคคลให้แล้วมีผลเป็นต้น กรรมเป็นมโนกรรม แต่ทวารเป็นวจีทวาร มโนกรรมที่เป็นกุศลย่อมตั้งขึ้นในวจีทวารอย่างนี้ แต่เจตนาในที่นี้เป็นอัพโพหาริก แต่เมื่อบุคคลไม่ให้กายและวาจาไหว นั่งในที่ลับให้จิตเกิดขึ้นสหรคตด้วยอนภิชฌาเป็นต้น ด้วยใจเท่านั้น กรรมเป็นมโนกรรม แม้ทวารก็เป็นมโนทวารเหมือนกัน มโนกรรมที่เป็นกุศลย่อมตั้งขึ้นในมโนทวารอย่างนี้ แต่ในฐานะนี้ เจตนาก็ดี ธรรมที่สัมปยุตด้วยเจตนาก็ดี ย่อมตั้งขึ้นในมโนทวารเท่านั้น.
    บรรดากรรมและทวารเหล่านั้น บุคคลเมื่อกล่าวว่า เมื่อปาณาติบาตและอทินนาทานทั้งหลายที่ตั้งขึ้นด้วยอาณัติ แม้กรรมก็เป็นกายกรรม แม้ทวารก็เป็นกายทวารด้วยอำนาจแห่งกรรมนั่นแหละ ดังนี้ ย่อมรักษากรรม ชื่อว่าย่อมทำลายทวาร เมื่อกล่าวว่า บรรดามุสาวาทเป็นต้นที่ตั้งขึ้นด้วยมือและศีรษะ แม้ทวารก็เป็นกายทวาร แม้กรรมก็เป็นกายกรรมด้วยอำนาจแห่งทวารนั่นแหละ ดังนี้ ย่อมรักษาทวาร ชื่อว่าย่อมทำลายกรรม เพราะฉะนั้น ไม่ควรทำลายทวารด้วยคิดว่า เราจักรักษากรรม และไม่พึงทำลายกรรม ด้วยคิดว่า เราจักรักษาทวาร อนึ่ง บัณฑิตพึงทราบกรรมและทวารโดยนัยตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ เพราะว่า เมื่อบุคคลกล่าวอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่ทำลายกรรมและทวารดังนี้แล.
    จบกถาว่าด้วยกรรม.

    อธิบายว่าด้วยวิญญาณ ๕ เป็นต้น
    บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยวิญญาณ ๕ และทวารวิญญาณ ๕ ต่อไป.
    ชื่อว่าวิญญาณ ๕ คือ
    ๑. จักขุวิญญาณ
    ๒. โสตวิญญาณ
    ๓. ฆานวิญญาณ
    ๔. ชิวหาวิญญาณ
    ๕. กายวิญญาณ
    ชื่อว่าทวารวิญญาณ ๕ คือ
    ๑. ทวารแห่งจักขุวิญญาณ
    ๒. ทวารแห่งโสตวิญญาณ
    ๓. ทวารแห่งฆานวิญญาณ
    ๔. ทวารแห่งชิวหาวิญญาณ
    ๕. ทวารแห่งกายวิญญาณ
    เจตนาที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งทวาร ๕ เหล่านี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ไม่เป็นกายกรรม ไม่เป็นวจีกรรม เป็นแต่มโนทวารเท่านั้น. แต่ชื่อว่า สัมผัสเหล่านี้มี ๖ คือ จักขุสัมผัส โสต ฆาน ชิวหา กาย มโนสัมผัส. ชื่อว่าทวารแห่งสัมผัสเหล่านี้มี ๖ คือ ทวารแห่งจักขุสัมผัส ทวารแห่งโสต ฆาน ชิวหา กาย มโนสัมผัส. ชื่อว่าอสังวร ๘ เหล่านี้ คือ จักขุอสังวร โสต ฆาน ชิวหาอสังวร ปสาทกายอสังวร โจปนกายอสังวร วาจาอสังวร มโนอสังวร. อสังวร ๘ เหล่านั้น ว่าโดยอรรถได้แก่ธรรม ๕ เหล่านี้ คือ ความเป็นผู้ทุศีล (ทุสฺสีลยํ) ความเป็นผู้หลงลืมสติ (มุฏฺฐสจฺจํ) ความไม่รู้ (อญฺญาณํ) ความไม่อดทน (อกฺขนฺติ) ความเกียจคร้าน (โกสชฺชํ) บรรดาธรรม ๕ เหล่านั้น แม้ธรรมอย่างหนึ่ง ย่อมไม่เกิดขึ้นในจิตทั้งหลายมีโวฏฐัพพนจิตเป็นที่สุดในปัญจทวาร แต่ย่อมเกิดในขณะแห่งชวนจิตเท่านั้น ธรรมนั้นแม้เกิดขึ้นในชวนจิต ท่านเรียกว่า อสังวร (ความไม่สำรวม) ในทวาร ๕.
    จริงอยู่ ผัสสะเกิดพร้อมกับจักขุวิญญาณ ชื่อว่าจักขุสัมผัส เจตนาชื่อว่ามโนกรรม จิตนั้นชื่อว่าทวารแห่งมโนกรรม ในจักขุวิญญาณนี้ อสังวร ๕ อย่างยังไม่มี. ผัสสะที่เกิดพร้อมกับสัมปฏิกิจฉันนจิต ชื่อว่ามโนสัมผัส เจตนาชื่อว่ามโนกรรม จิตนั้นชื่อว่าทวารแห่งมโนกรรมในสัมปฏิจฉันนจิตแม้นี้ อสังวรก็ยังไม่มี. แม้ในสันติรณจิตและโวฏฐัพพนจิตก็มีนัยนี้แหละ แต่ว่าผัสสะที่เกิดพร้อมกับชวนจิตชื่อว่ามโนสัมผัส เจตนาชื่อว่ามโนกรรม จิตนั้นชื่อว่าทวารแห่งมโนกรรม ความไม่สำรวมในชวนจิตนั้น ชื่อว่าจักขุอสังวร (ความไม่สำรวมทางจักษุ).
    แม้ในโสตฆานชิวหาปสาทกายทวาร ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
    ก็ในกาลใด ชวนจิตทางมโนทวารมีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง มีรูปเป็นต้นเป็นอารมณ์ เว้นวจีทวาร ย่อมเกิดขึ้นยังความไหวกายทวารล้วนให้เป็นไปอยู่ ในกาลนั้น ผัสสะที่เกิดพร้อมกับจิตนั้น ชื่อว่ามโนสัมผัส เจตนาชื่อว่ากายกรรม แต่จิตนั้นเป็นอัพโพหาริก ไม่ถึงการนับว่าเป็นมโนทวาร เพราะความไหวเกิดแล้ว ก็ความไม่สำรวมในชวนะนี้ ชื่อว่าความไม่สำรวมทางกาย (กายอสังวร).
    ในกาลใด ชวนจิตเช่นนั้นนั่นแหละ จากกายทวาร เกิดขึ้นยังการไหววจีทวารล้วนๆ ให้เป็นไปอยู่ ในกาลนั้น ผัสสะที่เกิดพร้อมกับจิตนั้นชื่อว่ามโนสัมผัส เจตนาชื่อว่าวจีกรรม แต่จิตนั้นเป็นอัพโพหาริกไม่ถึงการนับว่าเป็นมโนทวาร เพราะความไหวเกิดขึ้นแล้ว ความไม่สำรวมในชวนจิตนี้ ชื่อว่าความไม่สำรวมทางวาจา (วาจาอสังวร).
    แต่ในกาลใด ชวนจิตเช่นนั้นเว้นจากกายทวารและวจีทวาร เป็นมโนทวารล้วนๆ เกิดขึ้น ในกาลนั้น ผัสสะที่เกิดพร้อมกับจิตนั้น ชื่อว่ามโนสัมผัส เจตนาชื่อว่ามโนกรรม จิตชื่อว่าทวารแห่งมโนกรรม ความไม่สำรวมในชวนจิตนี้ ชื่อว่าความไม่สำรวมทางใจ (มโนอสังวร).
    บัณฑิตพึงทราบทวารแห่งอสังวร ๘ เหล่านี้ คือ ทวารแห่งอสังวรทางจักษุ ทวารแห่งอสังวรทางโสต ฆาน ชิวหา ปสาทกาย โจปนกาย วาจา มโน ด้วยอำนาจแห่งอสังวร ๘ เหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้.
    ส่วนชื่อว่า สังวร ๘ เหล่านี้ คือ จักขุสังวร (สำรวมทางตา) โสตสังวร ฆานสังวร ชิวหาสังวร ปสาทกายสังวร โจปนกายสังวร วาจาสังวร มโนสังวร. บรรดาสังวรเหล่านั้น ว่าโดยอรรถ ได้แก่ธรรม๕ เหล่านี้ คือศีล สติ ญาณ ขันติ วิริยะ ในบรรดาธรรมทั้ง ๕ แม้เหล่านั้น แม้ธรรมอย่างหนึ่ง ย่อมไม่เกิดในจิตทั้งหลายมีโวฏฐัพพนจิตเป็นที่สุดในปัญจทวาร ธรรมนั้นย่อมเกิดในขณะแห่งชวนจิตเท่านั้น แม้เกิดในชวนจิต ท่านก็เรียกว่า สังวรในปัญจทวาร.
    บัณฑิตพึงทราบความเกิดขึ้นแห่งผัสสะนั้นแม้ทั้งหมด โดยนัยที่กล่าวแล้วในอสังวรซึ่งมีคำว่า จกฺขุวิญฺญาณสหชาโต หิ ผสฺโส จกฺขุสมฺผสฺโส (จริงอยู่ ผัสสะที่เกิดพร้อมกับจักขุวิญญาณ ชื่อว่าจักขุสัมผัส) เป็นต้น ด้วยสามารถแห่งสังวร ๘ เหล่านี้อย่างนี้ บัณฑิตพึงทราบสังวรทวาร (ทวารแห่งสังวร) ๘ เหล่านี้ คือ ทวารแห่งสังวรทางจักษุ ฯลฯ ทวารแห่งสังวรทางมโนตามที่กล่าวแล้ว.

    กถาว่าด้วยอกุศลกรรมบถ
    ก็ชื่อว่าอกุศลกรรมบถเหล่านี้มี ๑๐ คือ
    ปาณาติบาต
    อทินนาทาน
    กาเมสุมิจฉาจาร
    มุสาวาท
    ปิสุณาวาจา
    ผรุสวาจา
    สัมผัปปลาปะ
    อภิชฌา
    พยาบาท
    มิจฉาทิฏฐิ.
    บรรดาอกุศลกรรมบถเหล่านั้น การยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป ชื่อว่าปาณาติบาต ท่านอธิบายว่า การทำลายชีวิต คือการฆ่าสัตว์. ก็ในคำว่าปาณาติบาตนี้ โดยโวหารได้แก่สัตว์ โดยปรมัตถ์ได้แก่ชีวิตินทรีย์ ๒ อย่าง วธกเจตนา (เจตนาฆ่า) ของบุคคลผู้มีความสำคัญในสัตว์นั้น ว่ามีชีวิต เป็นไปทางทวารใดทวารหนึ่งของกายทวาร หรือวจีทวารที่ตั้งขึ้นด้วยความพยายามเข้าไปตัดชีวิตินทรีย์ ชื่อว่าปาณาติบาต. ในบรรดาสัตว์ทั้งหลายมีสัตว์เดรัจฉานเป็นต้นที่ไม่มีคุณ ปาณาติบาตนั้น ชื่อว่ามีโทษน้อยในเพราะสัตว์เล็ก ชื่อว่ามีโทษมากในเพราะร่างกายใหญ่.
    ถามว่า เพราะเหตุไร ตอบว่า เพราะมีความพยายามมาก. แม้จะมีความพยายามเสมอกันก็มีโทษมากเพราะวัตถุใหญ่ บรรดาสัตว์ที่มีคุณมีมนุษย์เป็นต้น ปาณาติบาตนั้นชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะสัตว์มีคุณน้อย ชื่อว่ามีโทษมากเพราะมีคุณมาก. เมื่อสัตว์นั้นมีสรีระและคุณเท่ากัน ก็พึงทราบว่า ปาณาติบาตมีโทษน้อยเพราะความที่กิเลสทั้งหลาย และความพยายามอ่อน ชื่อว่ามีโทษมากเพราะกิเลสและความพยายามกล้า.
    องค์ (ส่วนประกอบ) ของปาณาติบาตนั้นมี ๕ อย่าง คือ
    ๑. ปาโณ (สัตว์มีชีวิต)
    ๒. ปาณสญฺญิตา (รู้ว่าสัตว์มีชีวิต)
    ๓. วธกจิตฺตํ (มีจิตคิดฆ่า)
    ๔. อุปกฺกโม (มีความพยายาม)
    ๕. เตน มรณํ (สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น)
    ปาณาติบาตนั้น มีประโยค ๖ คือ
    ๑. สาหัตถิกปโยคะ
    ๒. อาณัตติกปโยคะ
    ๓. นิสสัคคิยปโยคะ
    ๔. ถาวรปโยคะ
    ๕. วิชชามยปโยคะ
    ๖. อิทธิมยปโยคะ
    ก็อรรถนี้ข้าพเจ้าให้พิสดารอยู่ย่อมจะชักช้าไป เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจักไม่ยังอรรถนั้น และอรรถอื่นอย่างเดียวกันให้พิสดาร แต่ผู้ต้องการอรรถพิสดารพึงตรวจดูอรรถกถาพระวินัย ชื่อสมันตปาสาทิกา แล้วถือเอาเถิด.

    ว่าด้วยอทินนาทาน
    การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้ ชื่อว่าอทินนาทาน ท่านอธิบายว่า การนำภัณฑะ (สิ่งของ) ของคนอื่นไป คือการลัก การขโมย. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อทินฺนํ ได้แก่ สิ่งของที่บุคคลอื่นหวงแหน. อธิบายว่า บุคคลอื่นใช้ของที่ให้ทำแล้วตามชอบใจในสิ่งใด ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ เถยยเจตนาของบุคคลผู้มีความสำคัญในวัตถุที่บุคคลอื่นหวงแหนนั้น ก็รู้ว่าผู้อื่นหวงแหนแล้ว ให้ตั้งขึ้นด้วยความพยายามถือเอาสิ่งนั้น จึงชื่อว่าอทินนาทาน. อทินนาทานนั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย ในเพราะวัตถุอันเป็นของมีอยู่ของผู้อื่นน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก ในเพราะวัตถุประณีต เพราะเหตุไรจึงมีโทษมาก เพราะวัตถุที่ลักไปนั้นเป็นของประณีต เมื่อวัตถุเสมอกัน อทินนาทานนั้นชื่อว่ามีโทษมาก เพราะเป็นวัตถุของบุคคลผู้มีคุณอันยิ่ง ชื่อว่ามีโทษน้อยในเพราะวัตถุอันมีอยู่ของบุคคลผู้มีคุณอันเลว โดยเทียบกับผู้มีคุณนั้นๆ.
    อทินนาทานนั้น มีองค์ ๕ คือ
    ๑. ปรปริคฺคหิตํ (สิ่งของที่เขาเก็บรักษาไว้)
    ๒. ปรปริคฺคหิตสญฺญิตา (รู้ว่าสิ่งของที่เขาเก็บรักษาไว้)
    ๓. เถยฺยจิตฺตํ (มีจิตคิดลัก)
    ๔. อุปกฺกโม (มีความพยายาม)
    ๕. เตน หรณํ (นำสิ่งของนั้นไปด้วยความพยายามนั้น)
    อทินนาทานนั้น มีประโยค ๖ มีสาหัตถิกปโยคะเป็นต้น ประโยคเหล่านั้นแล ย่อมเป็นไปด้วยอำนาจแห่งอวหาร (การขโมย) ๕ เหล่านี้ คือ
    ๑. เถยยาวหาร (การลักโดยขโมย)
    ๒. ปสัยหาวหาร (การลักโดยข่มขู่)
    ๓. ปฏิจฉันนาวหาร (การลักโดยปกปิด)
    ๔. ปริกัปปาวหาร (การลักโดยกำหนดไว้)
    ๕. กุสาวหาร (การลักโดยจับสลาก)
    เนื้อความในที่นี้ท่านย่อไว้ ส่วนความพิสดาร ท่านกล่าวไว้ในสมันตปาสาทิกาแล้ว.

    ว่าด้วยกาเมสุมิจฉาจาร
    ก็พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า กาเมสุมิจฉาจาร ต่อไป
    คำว่า กาเมสุ ได้แก่ การเสพเมถุน. การประพฤติลามกอันบัณฑิตติเตียนโดยส่วนเดียว ชื่อว่ามิจฉาจาร. แต่เมื่อว่าโดยลักษณะ ได้แก่เจตนาเป็นเหตุก้าวล่วงฐานะที่ไม่ควรเกี่ยวข้องที่เป็นไปทางกายทวารโดยประสงค์อสัทธรรม ชื่อว่ากาเมสุมิจฉาจาร.

    อคมนียฐาน ๒๐
    ในกาเมสุมิจฉาจารนั้น มีหญิง ๒๐ จำพวก ได้แก่ หญิงที่มารดารักษาเป็นต้น ๑๐ จำพวกแรก คือ
    ๑. หญิงที่มารดารักษา
    ๒. หญิงที่บิดารักษา
    ๓. หญิงที่มารดาบิดารักษา
    ๔. หญิงที่พี่ชายน้องชายรักษา
    ๕. หญิงที่พี่สาวน้องสาวรักษา
    ๖. หญิงที่ญาติรักษา
    ๗. หญิงที่ตระกูลรักษา
    ๘. หญิงที่มีธรรมรักษา
    ๙. หญิงที่รับหมั้นแล้ว
    ๑๐. หญิงที่กฎหมายคุ้มครอง
    และหญิงที่เป็นภรรยามีการซื้อมาด้วยทรัพย์เป็นต้นเหล่านี้ คือ
    ๑. ภรรยาที่ซื้อไถ่มาด้วยทรัพย์
    ๒. ภรรยาที่อยู่ด้วยความพอใจ
    ๓. ภรรยาที่อยู่ด้วยโภคะ
    ๔. ภรรยาที่อยู่ด้วยผ้า
    ๕. ภรรยาที่ทำพิธีรดน้ำ (จุ่มน้ำ)
    ๖. ภรรยาที่ชายปลงเทริดลงจากศีรษะ
    ๗. ภรรยาที่เป็นทาสีในบ้าน
    ๘. ภรรยาที่จ้างมาทำงาน
    ๙. ภรรยาที่เป็นเชลย
    ๑๐. ภรรยาที่อยู่ด้วยกันครู่หนึ่ง
    หญิง ๒๐ จำพวกนี้ ชื่อว่าอคมนียฐาน (คือฐานะที่ไม่ควรเกี่ยวข้อง) ก็บรรดาหญิงทั้งหลาย หญิง ๑๒ จำพวกที่บุรุษไม่ควรล่วงเกิน คือหญิงที่รับหมั้นและกฏหมายคุ้มครองแล้วรวม ๒ จำพวก และหญิงที่เป็นภรรยา ๑๐ จำพวกมีหญิงที่เป็นภรรยาไถ่มาด้วยทรัพย์เป็นต้น นี้ชื่อว่าอคมนียฐาน.
    ก็มิจฉาจารนี้นั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย ก็เพราะอคมนียฐานเว้นจากคุณมีศีลเป็นต้น ชื่อว่ามีโทษมาก ในเพราะอคมนียฐานถึงพร้อมด้วยคุณมีศีลเป็นต้น.
    มิจฉาจารนั้นมี (องค์) ๔ คือ
    ๑. อคมนียวตฺถุ (วัตถุที่ไม่ควรเกี่ยวข้อง)
    ๒. ตสฺมึ เสวนจิตตํ (มีจิตคิดเสพในอคมนียวัตถุนั้น)
    ๓. เสวนปฺปโยโค (พยายามเสพ)
    ๔. มคฺเคน มคฺคปฏิปตฺติอธิวาสนํ (การยังมรรคให้ถึงมรรค)
    ประโยคของมิจฉาจารนั้น มีหนึ่งคือสาหัตถิกปโยคะเท่านั้น.

    ว่าด้วยมุสาวาท
    ความพยายามทางวาจา (วจีปโยคะ) หรือความพยายามทางกายอันทำลายประโยชน์ ของบุคคลผู้มุ่งกล่าวให้ขัดแย้งกัน ชื่อว่ามุสา. ก็เจตนาอันให้ตั้งขึ้นด้วยความพยายามทางกายหรือทางวาจาที่มุ่งจะกล่าวให้คลาดเคลื่อนเป็นอย่างอื่น ของบุคคลอื่น โดยประสงค์จะกล่าวให้คลาดเคลื่อน ชื่อว่ามุสาวาท.
    อีกนัยหนึ่ง เรื่องอันไม่เป็นจริง ไม่ใช่ของแท้ ชื่อว่ามุสา. การให้บุคคลรู้เรื่องไม่จริงไม่แท้นั้น โดยภาวะว่าจริง ว่าแท้ เรียกว่าวาทะ ก็ว่าโดยลักษณะ เจตนาที่ให้ตั้งขึ้นด้วยเคลื่อนไหวอย่างนั้น ของบุคคลผู้ประสงค์ให้คนอื่นรู้ถึงเรื่องไม่จริงแท้ เรียกว่ามุสาวาท.
    มุสาวาทนั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะประโยชน์ที่ผู้พูดทำลายประโยชน์นั้นน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะทำลายประโยชน์มาก. อีกอย่างหนึ่ง มุสาวาทของคฤหัสถ์ทั้งหลายที่เป็นไปโดยนัยมีอาทิว่า ไม่มี ดังนี้ เพราะประสงค์จะไม่ให้วัตถุที่มีอยู่ของตน ชื่อว่ามีโทษน้อย. มุสาวาทที่ตนเป็นพยานกล่าวเพื่อทำลายประโยชน์ ชื่อว่ามีโทษมาก. มุสาวาทของบรรพชิตทั้งหลายที่เป็นไปโดยนัยปูรณกถาว่า น้ำมันในบ้าน วันนี้เห็นทีจะไหลไปเหมือนแม่น้ำ โดยประสงค์จะหัวเราะกันเล่น เพราะน้ำมันหรือเนยใสเพียงเล็กน้อย ชื่อว่ามีโทษน้อย แต่มุสาวาทของบรรพชิตผู้กล่าวโดยนัยมีอาทิว่า ไม่เห็นเลยว่าเห็น ดังนี้ ชื่อว่ามีโทษมาก.
    (องค์) ของมุสาวาทนั้นมี ๔ อย่าง คือ
    ๑. อตถํ วตฺถุ (เรื่องไม่จริง)
    ๒. วิสํวาทนจิตฺตํ (คิดจะกล่าวให้คลาดเคลื่อน)
    ๓. ตชฺโช วายาโม (พยายามเกิดด้วยความคิดนั้น)
    ๔. ปรสฺส ตทตฺถวิชานนํ (คนอื่นรู้เนื้อความนั้น)
    ประโยคของมุสาวาทมีอย่างเดียว คือสาหัตถิกปโยคะเท่านั้น. มุสาวาทนั้น พึงทราบโดยการกระทำกิริยาของผู้กล่าวให้คลาดเคลื่อนด้วยกาย หรือด้วยของเนื่องด้วยกาย หรือด้วยวาจา. ถ้าบุคคลอื่นรู้เนื้อความนั้นด้วยกิริยานั้น เจตนาอันตั้งขึ้นด้วยกิริยานี้ ย่อมผูกพันโดยกรรมที่เป็นมุสาวาทในขณะนั้นทีเดียว. อนึ่ง เมื่อบุคคลสั่งว่า เจ้าจงกล่าวแก่บุคคลนี้ ดังนี้ก็ดี เมื่อเขียนหนังสือทิ้งไปข้างหน้าก็ดี เมื่อเขียนติดไว้ที่ข้างฝาเรือนเป็นต้นโดยประสงค์ว่า บุคคลนี้พึงทราบอย่างนี้ก็ดี โดยประการที่ให้บุคคลอื่นกล่าวให้คลาดเคลื่อนจากกาย หรือจากวัตถุเนื่องด้วยกาย หรือด้วยวาจา เพราะฉะนั้น แม้ประโยคทั้งหลายคือ อาณัตติปโยคะ นิสสัคคิยปโยคะ ถาวรปโยคะ ก็ย่อมสมควรในมุสาวาทนี้ แต่เพราะไม่มีมาในอรรถกถาทั้งหลาย จึงควรพิจารณาก่อนแล้วถือเอา.

    ว่าด้วยปิสุณาวาจาเป็นต้น
    พึงทราบวินิจฉัยในปิสุณาวาจาเป็นต้น.
    บุคคลย่อมกล่าววาจาแก่บุคคลใดย่อมกระทำความรักของตนในหัวใจของบุคคลนั้น ให้เกิดการป้ายร้ายแก่บุคคลอื่น วาจานั้นชื่อว่าปิสุณาวาจา. ก็วาจาใด ย่อมกระทำความหยาบคายให้ตนบ้าง ให้ผู้อื่นบ้าง วาจานั้นชื่อว่าผรุสวาจา. อีกอย่างหนึ่ง วาจาใด ทำความหยาบคายเอง ไม่เพราะหู ไม่จับใจ วาจานี้ชื่อว่าผรุสวาจา. บุคคลย่อมพูดเพ้อเจ้อ คือไร้ประโยชน์ด้วยภาวะใด ภาวะนั้น ชื่อว่าสัมผัปปลาปะ แม้เจตนาก็ได้ชื่อว่าปิสุณาวาจา เป็นต้นนั่นแหละ เพราะเป็นเหตุของวาจาเหล่านั้น. ก็เจตนานั้นเองท่านประสงค์เอาในที่นี้.
    บรรดาวาจาเหล่านั้น เจตนาของบุคคลผู้มีจิตเศร้าหมองแล้ว ตั้งขึ้นด้วยความพยายามทางกายและวาจาเพื่อความแตกแยกของชนเหล่าอื่น หรือทำความรักให้แก่ตน ชื่อว่าปิสุณาวาจา. เจตนาที่เป็นปิสุณาวาจานั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะทำความแตกแยกให้บุคคลผู้มีคุณน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะบุคคลนั้นมีคุณมาก.
    ส่วนประกอบ (องค์) ของปิสุณาวาจามี ๔ คือ
    มีคนอื่นที่ตนพึงทำให้แตกกัน (ภินฺทิตพฺโพ ปุโร) ๑.
    ความเป็นผู้มีเจตนากล่าวให้แตกกัน (เภทปุเรกฺขารตา) ด้วยประสงค์ว่า ชนเหล่านี้จักเป็นไปต่างๆ กันด้วยอุบายอย่างนี้ หรือว่าเป็นผู้ใคร่จะทำตนให้เป็นที่รักว่า เราจักเป็นที่รักใคร่ จักเป็นที่คุ้นเคยด้วยอุบายอย่างนี้ ๑.
    มีความพยายามเกิดขึ้นด้วยจิตนั้น (ตชฺโช วายาโม) ๑.
    บุคคลนั้นรู้ความหมายนั้น (ตสฺส ตทตฺถวิชานนํ) ๑.
    ก็เมื่อบุคคลอื่นไม่แตกกัน กรรมบถก็ไม่แตก เมื่อบุคคลแตกกันนั่นแหละกรรมบถจึงแตกทีเดียว.
    เจตนาหยาบคายโดยส่วนเดียว ที่ตั้งขึ้นด้วยความพยายามทางกายและวาจาอันตัดความรักของผู้อื่น ชื่อว่าผรุสวาจา. เพื่อความแจ่มแจ้งแห่งผรุสวาจานั้น มีเรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์.
    ได้ยินว่า เด็กชายคนหนึ่งไม่เชื่อฟังถ้อยคำของมารดาไปป่า มารดาไม่อาจให้เขากลับได้ จึงได้ด่าว่า ขอให้แม่ควายดุร้ายจงไล่ตามมัน ดังนี้ ทีนั้นแม่ควายในป่าก็ได้ปรากฏแก่เขา เหมือนอย่างมารดานั้นกล่าวนั่นแหละ เด็กได้ทำสัจจกิริยาว่า แม่ของข้าพเจ้าย่อมพูดคำใดด้วยปาก (ไม่คิดร้าย) ขอคำนั้นจงอย่ามี ถ้าแม่คิดคำใดด้วยความตั้งใจ ขอคำนั้นจงมีเถิด ดังนี้. แม่ควายได้ยืนอยู่ เหมือนบุคคลผูกไว้ในที่นั้นนั่นแหละ.
    ความพยายามแม้อันตัดเสียซึ่งความรักอย่างนี้ ย่อมไม่ชื่อว่าผรุสวาจา เพราะความที่จิตอ่อน. จริงอยู่ ในกาลบางครั้ง มารดาและบิดาย่อมพูดกะบุตรน้อยแม้อย่างนี้ว่า ขอให้พวกโจรจงตัดพวกเจ้าให้เป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่ดังนี้ แต่ท่านทั้งสองนั้นไม่ปรารถนาอะไรๆ แม้กลีบดอกอุบลตกไปถูกบุตรเหล่านั้น.
    อนึ่ง ในกาลบางคราว อาจารย์และอุปัชฌาย์ ย่อมกล่าวกะศิษย์ผู้อาศัยอย่างนี้ว่า พวกนี้ไม่มีหิริ ไม่มีโอตัปปะ พูดอะไร พวกเจ้าจงไล่เขาออกไปเสีย แต่ที่แท้ ท่านเหล่านั้นย่อมปรารถนาซึ่งความถึงพร้อมแห่งการเล่าเรียนและการบรรลุมรรคผลของศิษย์เหล่านั้น ไม่ชื่อว่าผรุสวาจา เพราะความที่จิตอ่อน แม้ฉันใด ไม่ชื่อว่าเป็นผรุสวาจา เพราะเป็นวาจาอ่อนหวาน ฉันนั้นก็หาไม่ ด้วยว่าคำพูดของบุคคลผู้ประสงค์จะให้คนอื่นตายว่า พวกท่านจงให้ผู้นี้นอนเป็นสุข ดังนี้ ย่อมไม่เป็นผรุสวาจาก็หาไม่. ก็วาจานั้นเป็นผรุสวาจาแท้เป็นวาจามีจิตหยาบ. วาจานั้นชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะความที่บุคคลนั้นมีคุณน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะบุคคลนั้นมีคุณมาก.
    ผรุสวาจานั้นมีองค์ ๓ คือ
    ๑. อกฺโกสิตพฺโพ ปโร (มีคนอื่นที่ตนพึงด่า)
    ๒. กุปิตจิตฺตํ (มีจิตโกรธ)
    ๓. อกฺโกสนา (การด่า)
    อกุศลเจตนาอันยังบุคคลอื่นรู้สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ซึ่งตั้งขึ้นด้วยการพยายามทางกายและวาจา ชื่อว่าสัมผัปปลาปะ สัมผัปปลาปะนั้นชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะความที่มีการซ่องเสพน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะมีการซ่องเสพมาก.
    องค์ของสัมผัปปลาปะมี ๒ คือ
    ภารตยุทฺธสีตาหรณาทินิรตฺถกกถาปุเรกฺขารตา (ความเป็นผู้มีเจตนาจะพูดเรื่องไร้ประโยชน์มีภารตยุทธ์และการลักพานางสีดาไปเป็นต้น) ๑.
    ตถารูปีกถากถน (การกล่าววาจาเช่นนั้น) ๑.
    ก็เมื่อบุคคลอื่นไม่ถือเอาถ้อยคำนั้น กรรมบถก็ไม่แตก เมื่อมีผู้อื่นถือสัมผัปปลาปะนั่นแหละ กรรมบถจึงแตกไป.
    ธรรมชาติที่เพ่งเล็ง ชื่อว่าอภิชฌา. อธิบายว่า เป็นผู้มุ่งต่อสิ่งของของผู้อื่น ย่อมเป็นไปโดยความเป็นผู้น้อมไปสู่สมบัติของผู้อื่นนั้น อภิชฌานั้นมีการเพ่งเล็งภัณฑะของบุคคลอื่นเป็นลักษณะอย่างนี้ว่า โอหนอ สิ่งนี้พึงเป็นของเรา ดังนี้ ชื่อว่ามีโทษน้อยและโทษมาก เหมือนอทินนาทาน.
    อภิชฌานั้นมีองค์ ๒ คือ
    ปรภณฺฑํ (สิ่งของของบุคคลอื่น) ๑.
    อตฺตโนปริณามนญฺจ (น้อมมาเพื่อตน) ๑.
    ที่จริง เมื่อความโลภในวัตถุอันเป็นของผู้อื่น แม้เกิดแล้ว กรรมบถยังไม่แตกไปก่อน จนกว่า เขาน้อมมาเพื่อตนด้วยคำว่า โอหนอ วัตถุนี้พึงเป็นของเรา ดังนี้.
    สภาวธรรมที่ยังประโยชน์เกื้อกูลและความสุขให้พินาศไป ชื่อว่าพยาบาท. พยาบาทนั้นมีความมุ่งร้ายเพื่อให้ผู้อื่นพินาศเป็นลักษณะ มีโทษน้อยและมีโทษมาก เหมือนผรุสวาจา.
    พยาบาทนั้นมีองค์ ๒ คือ
    ปรสตฺโต (สัตว์อื่น) ๑.
    ตสฺส จ วินาสจินฺตา (ความคิดที่ให้สัตว์นั้นพินาศไป) ๑.
    ที่จริง เมื่อความโกรธมีสัตว์อื่นเป็นที่ตั้งแม้เกิดขึ้นแล้ว กรรมบถยังไม่แตกไปก่อน ตราบจนกว่าจะคิดยังสัตว์ให้พินาศว่า ไฉนหนอ สัตว์นี้พึงขาดสูญ พึงพินาศดังนี้.
    ธรรมชาติที่ชื่อว่ามิจฉาทิฏฐิ เพราะอรรถว่า เห็นผิดโดยความไม่ถือเอาตามความเป็นจริง. มิจฉาทิฏฐินั้นมีความเห็นวิปริตเป็นลักษณะโดยนัยเป็นอาทิว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล ดังนี้ ชื่อว่ามีโทษน้อยและมีโทษมาก เหมือนสัมผัปปลาปะ.
    อีกอย่างหนึ่ง อนิยตมิจฉาทิฏฐิมีโทษน้อย นิยตมิจฉาทิฏฐิมีโทษมาก.
    องค์ของมิจฉาทิฏฐิมี ๒ อย่าง คือ
    วตฺถุโน จ คหิตาการวิปรีตตา (เรื่องทั้งหลายวิปริตจากอาการที่ถือเอา) ๑.
    ยถา จ ตํ คณฺหาติ ตถาภาเวน ตสฺสูปฏฺฐานํ (ความปรากฏแห่งเรื่องนั้นโดยความไม่เป็นจริงตามที่ยึดถือ) ๑.
    บรรดามิจฉาทิฏฐิเหล่านั้น กรรมบถย่อมแตกไป เพราะนัตถิกทิฏฐิ อเหตุกทิฏฐิและอกิริยทิฏฐิเท่านั้น กรรมบถย่อมไม่แตกไป เพราะทิฏฐิอื่นๆ.

    ว่าด้วยอกุศลกรรมบถ ๕ ประเภท
    พึงทราบวินิจฉัยอกุศลกรรมบถ ๑๐ แม้เหล่านี้ โดยอาการ ๕ คือ โดยธรรม (ธมฺมโต) โดยโกฏฐาส (โกฏฺฐาสโต) โดยอารมณ์ (อารมฺมณโต) โดยเวทนา (เวทนาโต) โดยมูล (มูลโต).
    บรรดาอาการ ๕ เหล่านั้น คำว่า โดยธรรม ความว่า ก็บรรดาอกุศลกรรมบถ ๑๐ เหล่านั้น อกุศลกรรมบถ ๗ โดยลำดับ (คือกายทุจริต ๓ วจีทุจริต ๔) เป็นธรรมคือเจตนาเท่านั้น อกุศลกรรมบถ ๓ มีอภิชฌาเป็นต้น เป็นธรรมที่สัมปยุตกับเจตนา.
    คำว่า โดยโกฏฐาส ได้แก่ อกุศลกรรมบถ ๘ ที่ไม่เป็นมูล คือ อกุศลกรรมบถ ๗ โดยลำดับและมิจฉาทิฏฐิ ๑. อภิชฌาและพยาบาทเป็นกรรมบถด้วย เป็นมูลด้วย. จริงอยู่ อภิชฌา คือโลภะเพ่งถึงมูล ย่อมเป็นอกุศลมูล พยาบาท คือโทสะ ย่อมเป็นอกุศลมูล.
    คำว่า โดยอารมณ์ ได้แก่ ปาณาติบาตมีสังขารเป็นอารมณ์ เพราะมีชีวิตินทรีย์เป็นอารมณ์. อทินนาทานมีสัตว์เป็นอารมณ์ หรือมีสังขารเป็นอารมณ์. มิจฉาจารมีสังขารเป็นอารมณ์ ด้วยอำนาจโผฏฐัพพะ. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า มิจฉาจารมีสัตว์เป็นอารมณ์ ดังนี้บ้าง. มุสาวาทมีสัตว์เป็นอารมณ์ หรือมีสังขารเป็นอารมณ์. ปิสุณาวาจามีอารมณ์เหมือนมุสาวาท ผรุสวาจามีสัตว์เป็นอารมณ์เท่านั้น. สัมผัปปลาปะมีสัตว์เป็นอารมณ์ หรือมีสังขารเป็นอารมณ์ ด้วยสามารถธรรมคือ ทิฏฐะ สุตะ มุตะ วิญญาตะ. อภิชฌาก็เหมือนกัน พยาบาทมีสัตว์เป็นอารมณ์เท่านั้น. มิจฉาทิฏฐิมีสังขารเป็นอารมณ์ ด้วยอำนาจแห่งธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓.
    คำว่า โดยเวทนา ได้แก่ปาณาติบาตเป็นทุกขเวทนา. จริงอยู่ พระราชาทั้งหลายทรงเห็นโจรแล้ว แม้ทรงพระสรวลอยู่ ก็ทรงตรัสว่า พวกเธอจงไปฆ่ามันเสียแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น เจตนาที่ถึงความตกลงพระทัยของพระราชาเหล่านั้นก็เป็นเจตนาสัมปยุตด้วยทุกขเวทนาโดยแท้. อทินนาทานมีเวทนา ๓ จริงอยู่ อทินนาทานนั้น เมื่อบุคคลเห็นภัณฑะของผู้อื่นร่าเริงยินดีถือเอาก็เป็นสุขเวทนา เมื่อมีความหวาดกลัวถือเอาก็เป็นทุกขเวทนา หรือเมื่อพิจารณาผลอันไหลออกของอทินนาทานก็เป็นทุกขเวทนาเหมือนกัน แต่ในเวลาที่ลักไป ตั้งอยู่ในภาวะความเป็นกลาง อทุกขมสุขเวทนาก็เกิดขึ้น. มิจฉาจารมีเวทนา ๒ คือด้วยสามารถแห่งสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา แต่ในจิตที่ตกลงใจ ไม่เป็นอุเบกขาเวทนา. มุสาวาทมีเวทนา ๓ โดยนัยที่กล่าวแล้วในอทินนาทานนั่นแหละ. ปิสุณาวาจาก็มีเวทนา ๓ เหมือนกัน. ผรุสวาจาเป็นทุกขเวทนา. สัมผัปปลาปะมีเวทนา ๓.
    จริงอยู่ ในเวลาบุคคลผู้ยินดีร่าเริง กล่าวเรื่องมีการลักพานางสีดาและภารตยุทธ์เป็นต้น เมื่อบุคคลเหล่าอื่นกำลังให้สาธุการ มีการยกขึ้นซึ่งแผ่นผ้าเป็นต้น สัมผัปปลาปะนั้นย่อมเป็นสุขเวทนา. ครั้นเมื่อบุคคลคนหนึ่งให้สินจ้างไว้ก่อน แต่มาภายหลังคนอื่นพูดว่า ขอท่านจงกล่าวเรื่องตั้งแต่ต้น ดังนี้ ในเวลาที่กำลังเล่าเรื่อง โทมนัสเกิดขึ้นด้วยคิดว่า เราจักกล่าวกถาเบ็ดเตล็ดไม่สืบต่อกันหรือไม่หนอ ดังนี้ ย่อมเป็นทุกขเวทนา. เมื่อเขากล่าวกถาเฉยๆ ย่อมเป็นอทุกขมสุขเวทนา. อภิชฌามีเวทนา ๒ ด้วยสามารถแห่งสุขเวทนาและอุเบกขาเวทนา. มิจฉาทิฏฐิก็มี ๒ เหมือนอภิชฌา. พยาบาทเป็นทุกขเวทนา.
    คำว่า โดยมูล คือ ปาณาติบาตมี ๒ มูลด้วยสามารถแห่งโทสมูลและโมหมูล. อทินนาทานก็มี ๒ มูล คือด้วยอำนาจแห่งโทสะกับโมหะ หรือว่าด้วยอำนาจแห่งโลภะกับโมหะ. มิจฉาจารก็มีมูล ๒ คือด้วยอำนาจแห่งโลภะและโมหะนั่นแหละ มุสาวาทมี ๒ มูลด้วยสามารถแห่งโทสะกับโมหะ หรือโลภะกับโมหะ. ปิสุณาวาจาและสัมผัปปลาปะก็มี ๒ เหมือนกัน. ผรุสวาจามี ๒ มูลด้วยสามารถแห่งโทสะและโมหะ อภิชฌามีมูลเดียวด้วยสามารถแห่งโมหะ พยาบาทก็มีมูลเดียวเหมือนกัน มิจฉาทิฏฐิมี ๒ มูลด้วยอำนาจแห่งโลภมูลและโมหมูลแล.
    จบกถาว่าด้วยอกุศลกรรมบถ.

    กถาว่าด้วยกุศลกรรมบถ ๑๐
    ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ คือ การงดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น (มี ๗ อย่าง) อนภิชฌา อัพยาบาทและสัมมาทิฏฐิ ชื่อว่ากุศลกรรมบถ. บรรดากุศลกรรมบถ ๑๐ เหล่านั้น ปาณาติบาตเป็นต้นมีเนื้อความตามที่กล่าวไว้แล้วนั่นแหละ ธรรมที่ชื่อว่าวิรัติ (วิรติ) เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องงดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้นด้วยธรรมนี้ หรือว่าเป็นตัวงดเว้น หรือว่า ธรรมนี้เป็นเพียงการงดเว้นเท่านั้น. การงดเว้นของบุคคลผู้งดเว้นจากปาณาติบาต สัมปยุตด้วยกุศลจิต ตามที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า การงด การเว้นจากปาณาติบาต อันใด มีในสมัยนั้น ดังนี้.
    วิรัติ (การงดเว้น) นั้นมี ๓ ประเภท คือ
    สัมปัตตวิรัติ
    สมาทานวิรัติ
    สมุจเฉทวิรัติ
    บรรดาวิรัติ ๓ ประเภทนั้น วิรัติเมื่อเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่ได้สมาทานสิกขาบททั้งหลาย ซึ่งพิจารณาถึงความเกิด (ชาติ) ความเสื่อม (วย) และพาหุสัจจะเป็นต้นของตนแล้ว ไม่ก้าวล่วงวัตถุที่ถึงพร้อมด้วยคิดว่า การกระทำเห็นปานนี้ไม่สมควรแก่พวกเรา ดังนี้ พึงทราบว่า เป็นสัมปัตตวิรัติ.
    สัมปัตตวิรัตินั้นมีเรื่องเป็นอุทาหรณ์ เหมือนวิรัติของอุบาสกชื่อจักกนะ ในเกาะสีหลดังต่อไปนี้.
    ได้ยินว่า โรคเกิดขึ้นแก่มารดาของนายจักกนะนั้น ในเวลาที่เขายังเป็นเด็กทีเดียว. หมอบอกว่า ควรได้เนื้อกระต่ายสด. ลำดับนั้น พี่ชายของนายจักกนะจึงส่งให้นายจักกนะไปด้วยคำว่า พ่อจักกนะจงไปเที่ยวหาที่ไร่นา นายจักกนะนั้นก็ไปในที่นั้น. ก็ในสมัยนั้น มีกระต่ายตัวหนึ่งมาเพื่อจะเคี้ยวกินข้าวกล้าอ่อน มันเห็นนายจักกนะนั้นก็แล่นไปโดยเร็ว ได้ถูกเถาวัลย์พันไว้ จึงส่งเสียงกิริ กิริ ดังนี้. นายจักกนะไปตามเสียงนั้น จับมันแล้วคิดว่า เราจักปรุงยาให้มารดา แล้วคิดอีกว่า เราฆ่าสัตว์อื่นเพราะชีวิตมารดาเป็นเหตุ นี้ไม่สมควรแก่เรา. ลำดับนั้นจึงปล่อยไปโดยกล่าวว่า เจ้าจงไปกินหญ้าและน้ำ พร้อมกับกระต่ายทั้งหลายในป่าเถิด. เขาถูกพี่ชายถามว่า ดูก่อนพ่อ เจ้าได้กระต่ายแล้วหรือ เขาบอกเรื่องนั้นทั้งหมด. ลำดับนั้น จึงถูกพี่ชายด่าเอา นายจักกนะนั้นไปสู่สำนักมารดาแล้ว กล่าวอธิษฐานสัจจะว่า ตั้งแต่เกิดแล้ว ข้าพเจ้ายังไม่รู้จักการแกล้งฆ่าสัตว์มีชีวิตเลย ดังนี้ ทันใดนั้น มารดาของเขาก็หายจากโรค.
    ก็วิรัติเมื่อเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้สมาทานสิกขาบททั้งหลาย ในเวลาสมาทานสิกขาบทนั่นแหละ และในกาลต่อไปถึงสละชีวิตของตนก็ไม่ก้าวล่วงวัตถุ พึงทราบว่า เป็นสมาทานวิรัติ. เหมือนวิรัติของอุบาสกผู้อาศัยอยู่ที่ภูเขาชื่อว่าทันตรวัฑฒมานะ.
    ได้ยินว่า อุบาสกนั้นรับสิกขาบททั้งหลายในสำนักของพระเถระปิงคลพุทธรักขิตตะ ผู้อยู่ในอัมพรวิหารแล้วไปไถนา. ครั้งนั้น โคของเขาหายไป เขาตามหาโคนั้น จึงขึ้นไปยังภูเขาชื่อว่าทันตรวัฑฒมานะ งูใหญ่ได้รัดเขา ในที่นั้น เขาคิดว่า เราจักตัดศีรษะงูนั้นด้วยมีดอันคมนี้ แล้วคิดอีกว่า เรารับสิกขาบททั้งหลายในสำนักครูที่ควรแก่การยกย่องแล้วพึงทำลายเสีย ข้อนั้นไม่สมควรแก่เราเลย ดังนี้. เขาคิดอย่างนี้จนถึง ๓ ครั้ง แล้วตัดสินใจว่า เราจักสละชีวิต จักไม่สละสิกขาบท ดังนี้ จึงทิ้งมีดอันคมที่วางบนบ่า ทันทีนั้นแหละ งูใหญ่ก็ปล่อยเขาได้เลื้อยไปแล้ว.
    วิรัติที่สัมปยุตด้วยอริยมรรค พึงทราบว่าเป็นสมุจเฉทวิรัติ จำเดิมแต่สมุจเฉทวิรัติเกิดขึ้นแล้ว แม้จิตของพระอริยบุคคลทั้งหลายก็ไม่เกิดขึ้นว่า เราจักฆ่าสัตว์ ดังนี้.

    ว่าด้วยกุศลกรรม ๕ ประเภท
    บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยกุศลกรรมบถเหล่านี้ โดยอาการ ๕ อย่างเหมือนอกุศลกรรมบถ คือ โดยธรรม โดยโกฏฐาส โดยอารมณ์ โดยเวทนา โดยมูล.
    บรรดากุศลกรรม ๕ ประเภทนั้น คำว่า โดยธรรม ความว่า จริงอยู่ บรรดากรรมบถ ๑๐ เหล่านั้น กรรมบถ ๗ โดยลำดับ (กายสุจริต ๓ วจีสุจริต ๔) ย่อมเป็นเจตนาและเป็นทั้งวิรัติ กรรมบถ ๓ เบื้องปลายเป็นธรรมสัมปยุตด้วยเจตนาเท่านั้น.
    คำว่า โดยโกฏฐาส ความว่า กรรมบถ ๗ โดยลำดับเป็นกรรมบถอย่างเดียว ไม่เป็นมูล. กรรมบถ ๓ เบื้องปลายเป็นกรรมบถด้วย เป็นมูลด้วย. จริงอยู่ อนภิชฌา คืออโลภะเพ่งถึงมูลแล้วก็เป็นกุศลมูล. อัพยาบาท คืออโทสะเป็นกุศลมูล. สัมมาทิฏฐิ คืออโมหะเป็นกุศลมูล.
    คำว่า โดยอารมณ์ ความว่า อารมณ์ทั้งหลายของปาณาติบาตเป็นต้นนั่นแหละก็เป็นอารมณ์ของกุศลกรรมเหล่านั้น. จริงอยู่ การงดเว้น (วิรัติ) จากวัตถุที่พึงก้าวล่วงนั่นแหละ ชื่อว่าเวรมณี. เหมือนอย่างว่า อริยมรรคมีนิพพานเป็นอารมณ์ ย่อมละกิเลสทั้งหลาย ฉันใด ก็กรรมบถเหล่านี้มีชีวิตินทรีย์เป็นต้นเป็นอารมณ์ พึงทราบว่า ย่อมละความเป็นผู้ทุศีลทั้งหลายมีปาณาติบาตเป็นต้น ฉันนั้น.
    คำว่า โดยเวทนา ความว่า กุศลกรรมบถทั้งหมดเป็นสุขเวทนาหรืออุเบกขาเวทนา. จริงอยู่ เพ่งถึงกุศลแล้ว ชื่อว่าทุกขเวทนาย่อมไม่มี.
    คำว่า โดยมูล ความว่า กรรมบถ ๗ โดยลำดับ ย่อมมี ๓ มูล คืออโลภะ อโทสะ อโมหะของบุคคลผู้งดเว้นด้วยจิตอันสัมปยุตด้วยญาณ มี ๒ มูลของบุคคลผู้งดเว้นด้วยจิตไม่ประกอบด้วยญาณ และมี ๒ มูลของบุคคลผู้งดเว้นด้วยจิตอันสัมปยุตด้วยอนภิชฌาและญาณ มีมูลเดียวของบุคคลผู้งดเว้นด้วยจิตไม่ประกอบด้วยญาณ แต่อโลภะไม่เป็นมูลของตนกับตน แม้ในอัพยาบาทก็มีนัยนี้แหละ สัมมาทิฏฐิมี ๒ มูลด้วยอำนาจแห่งอโลภะและอโทสะ ชื่อว่ากุศลกรรมบถมี ๑๐ เหล่านี้ด้วยประการฉะนี้.
    บัดนี้ บัณฑิตพึงทราบชื่อการเทียบเคียงกรรมบถ ในที่นี้. จริงอยู่ อสังวรที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจทวารแห่งผัสสะ ๕ ย่อมเป็นมโนกรรมฝ่ายอกุศลเท่านั้น. อสังวรที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจทวารแห่งมโนสัมผัส ย่อมเป็นกรรมแม้ทั้ง ๓ อย่าง. เพราะว่า อสังวรนั้นถึงการไหวในกายทวารแล้ว ย่อมเป็นกายกรรมฝ่ายอกุศล ถึงความไหวในวจีทวารก็เป็นวจีกรรมฝ่ายอกุศล ไม่ถึงการไหวในทวารทั้ง ๒ นี้ ก็เป็นมโนกรรมฝ่ายอกุศล. อสังวรอันเกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งอสังวร ๕ เป็นมโนกรรมฝ่ายอกุศลเท่านั้น. อสังวรที่เกิดขึ้นด้วยทวารแห่งอสังวรที่กายไหว ย่อมเป็นกายกรรมฝ่ายอกุศลเท่านั้น. อสังวรที่เกิดขึ้นด้วยทวารแห่งอสังวรโดยให้วาจาไหว ย่อมเป็นวจีกรรมฝ่ายอกุศลเท่านั้น. อสังวรที่เกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งอสังวรโดยใจไหวไป ย่อมเป็นมโนกรรมฝ่ายอกุศลเท่านั้น กายทุจริต ๓ อย่างเป็นกายกรรมฝ่ายอกุศลเท่านั้น. วจีทุจริต ๔ อย่างก็เป็นวจีกรรมฝ่ายอกุศลนั่นแหละ มโนทุจริต ๓ อย่างก็เป็นมโนกรรมฝ่ายอกุศลเท่านั้น.
    แม้สังวรก็เกิดด้วยสามารถทวารแห่งผัสสะ ๕ ก็เป็นมโนกรรมฝ่ายกุศลเท่านั้น. ส่วนสังวรแม้นี้เกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งมโนสัมผัส ก็เป็นกรรมแม้ทั้ง ๓ ดุจอสังวร. สังวรแม้เกิดแล้วด้วยสามารถทวารแห่งสังวร ๕ ก็เป็นมโนกรรมฝ่ายกุศลเท่านั้น. สังวรที่เกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งการไหวกาย ก็เป็นกายกรรมฝ่ายกุศลเท่านั้น. สังวรที่เกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งสังวรให้ไหววาจา ก็เป็นวจีกรรมฝ่ายกุศลเท่านั้น. สังวรที่เกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งสังวรทางใจ ก็เป็นมโนกรรมฝ่ายกุศลเหมือนกัน. กายสุจริต ๓ อย่างย่อมเป็นกายกรรมฝ่ายกุศลเท่านั้น. วจีสุจริต ๔ อย่าง ย่อมเป็นวจีกรรมฝ่ายกุศลเท่านั้น. มโนสุจริต ๓ อย่าง ก็เป็นมโนกรรมฝ่ายกุศลเหมือนกัน.
    กายกรรมที่เป็นอกุศลย่อมไม่เกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งผัสสะ ๕ แต่ย่อมเกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งมโนสัมผัสเท่านั้น. วจีกรรมฝ่ายอกุศลก็เหมือนกัน แต่มโนกรรมฝ่ายอกุศลย่อมเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งสัมผัส ๖. มโนกรรมนั้นถึงความไหวในกายทวารและวจีทวารแล้ว ก็เป็นกายกรรมและวจีกรรมฝ่ายอกุศล. มโนกรรมนั้นไม่ถึงความไหวในกายทวารและวจีทวาร ก็เป็นมโนกรรมฝ่ายอกุศลเท่านั้น. เหมือนอย่างว่า กายกรรมฝ่ายอกุศล ย่อมไม่เกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งผัสสะ ๕ ฉันใด กายกรรมฝ่ายอกุศลก็ย่อมไม่เกิดขึ้นแม้ด้วยสามารถทวารแห่งอสังวร ๕ ฉันนั้น คือย่อมเกิดด้วยสามารถทวารแห่งอสังวรอันยังกายให้ไหว และด้วยสามารถทวารแห่งอสังวรทางวาจา ย่อมไม่เกิดด้วยสามารถทวารแห่งอสังวรทางมโน. แม้วจีกรรมที่เป็นอกุศล ย่อมเกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งอสังวร ๕ ย่อมเกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งอสังวรอันยังกายและวาจาให้ไหว ย่อมไม่เกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งอสังวรทางมโน. มโนกรรมฝ่ายอกุศลย่อมเกิด แม้ด้วยสามารถทวารแห่งอสังวร ๘ นั่นแหละ แม้ในกายกรรมที่เป็นฝ่ายกุศลเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. ส่วนต่างกันมีดังนี้.
    กายกรรมและวจีกรรมที่เป็นอกุศล ย่อมไม่เกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งอสังวรทางมโน ฉันใด กายกรรมและวจีกรรมที่เป็นกุศลก็ย่อมไม่เกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งสังวรทางมโนทวาร ฉันนั้น. แต่ว่า กายกรรมและวจีกรรมฝ่ายกุศลเหล่านี้ ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้ไม่ยังส่วนแห่งกายและวาจาให้ไหวรับสิกขาบททั้งหลาย แม้ในทวารแห่งมโนสังวร.
    ด้วยประการดังกล่าวมาแล้ว กุศลจิตที่เป็นกามาวจร ชื่อว่าย่อมเกิดขึ้นในมโนทวารนั้น ด้วยสามารถแห่งกรรมและทวาร ๓ อย่าง ไม่เกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งวิญญาณ ๕. การเสวยอารมณ์เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ หรืออทุกขมสุขนี้อันใด ย่อมเกิดขึ้น เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย. ก็โดยนัยนี้กุศลจิตที่เป็นกามาวจร ย่อมเกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งผัสสะ ๖ ย่อมไม่เกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งอสังวร ๘ ย่อมเกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งสังวร ๘ ย่อมไม่เกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งอกุศลกรรมบถ ๑๐ ย่อมเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งกุศลกรรมบถ ๑๐ เพราะฉะนั้น กุศลจิตนี้จึงเกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งกรรม ๓ อย่าง หรือด้วยสามารถทวารแห่งผัสสะ ๖ หรือด้วยสามารถทวารแห่งสังวร ๘ หรือว่า ด้วยสามารถแห่งกุศลกรรมบถ ๑๐. เมื่อคำว่า กามาวจรกุศลจิตย่อมเกิดขึ้นปรารภรูปารมณ์ ฯลฯ หรือธรรมารมณ์ ดังนี้ตรัสแล้ว กามาวจรกุศลจิตทั้งหมดก็เป็นอันตรัสไว้แล้วแล.
    จบกถาว่าด้วยทวาร.
    -----------------------------------------------------

    .. อรรถกถา ธรรมสังคณีปกรณ์ จิตตุปปาทกัณฑ์ กุศลธรรม กามาวจรมหากุศลจิต ๘ จิตดวงที่ ๑
    อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔]
    อ่านอรรถกถา 34 / 1อ่านอรรถกถา 34 / 15อรรถกถา เล่มที่ 34 ข้อ 16อ่านอรรถกถา 34 / 73อ่านอรรถกถา 34 / 970
    อ่าน เนื้อความในพระไตรปิฎก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • m001.png
      m001.png
      ขนาดไฟล์:
      74.3 KB
      เปิดดู:
      44
    • m002.png
      m002.png
      ขนาดไฟล์:
      89.3 KB
      เปิดดู:
      41
    • m003.png
      m003.png
      ขนาดไฟล์:
      89.5 KB
      เปิดดู:
      35
    • m004.png
      m004.png
      ขนาดไฟล์:
      93 KB
      เปิดดู:
      62
    • m005.png
      m005.png
      ขนาดไฟล์:
      75.7 KB
      เปิดดู:
      37
    • m006.png
      m006.png
      ขนาดไฟล์:
      84.2 KB
      เปิดดู:
      59
    • m007.png
      m007.png
      ขนาดไฟล์:
      51.3 KB
      เปิดดู:
      50
    • m008.png
      m008.png
      ขนาดไฟล์:
      50 KB
      เปิดดู:
      50
    • m009.png
      m009.png
      ขนาดไฟล์:
      57.3 KB
      เปิดดู:
      55
    • m010.png
      m010.png
      ขนาดไฟล์:
      81 KB
      เปิดดู:
      62
    • m011.png
      m011.png
      ขนาดไฟล์:
      85.1 KB
      เปิดดู:
      38
    • m012.png
      m012.png
      ขนาดไฟล์:
      65.8 KB
      เปิดดู:
      50
    • m013.png
      m013.png
      ขนาดไฟล์:
      72.7 KB
      เปิดดู:
      36
    • m014.png
      m014.png
      ขนาดไฟล์:
      79.4 KB
      เปิดดู:
      34
    • m015.png
      m015.png
      ขนาดไฟล์:
      94.2 KB
      เปิดดู:
      42
    • m016.png
      m016.png
      ขนาดไฟล์:
      88.2 KB
      เปิดดู:
      36
    • moo001.png
      moo001.png
      ขนาดไฟล์:
      68.5 KB
      เปิดดู:
      36
    • moo002.png
      moo002.png
      ขนาดไฟล์:
      89.3 KB
      เปิดดู:
      58
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948

แชร์หน้านี้

Loading...