โพชฌงค์ ธรรมของพระอริยะเจ้า

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย ขันธ์, 1 กุมภาพันธ์ 2008.

  1. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ในธรรมทั้งหมด นั้น ปุถุชน ควรถือเอา อิทธิบาท4 เป็นตัวสร้างความสำเร็จ
    กัลยาณปุถุชน ควร ถือเอา พละ5 มาเป็นตัวสร้างความสำเร็จ
    แต่สำหรับ พระอริยเจ้า โพชฌงค์ 7 ประการคือ ตัวสร้างความสำเร็จ

    ที่ว่า 7 ประการนั้น คืออะไร ทำไมไม่เหมาะแก่ปุถุชน



    1 สติ คือ เครื่องระลึกรู้ ในที่นี้ คือ มหาสติอันก้าวเข้าถึง ธรรมนุสติปัฎฐาน แล้ว คือ เห็นอะไรเป็นธรรมไปหมด อะไรเกิดขึ้นอะไรดับไป เห็นเป็นข้อธรรม
    ในที่นี้ ก่อนจะถึง ธรรมนุสติปัฎฐานนั้น ต้องตีขันธ์ ทั้ง 5 ให้แตกก่อน จึงเห็น จิต เรียกว่า จิตตานุสติปัฎฐาน หมั่นเพียรเฝ้ามอง จะได้ธรรมนุสติปัฎฐานเอง เพื่อนำไปเกื้อหนุนต่อ โพชฌงค์องค์ต่อไป
    2 ธัมมวิจย คือ การวิจัยองค์ธรรม หมายความว่า เมื่ออะไรเกิดขึ้น อะไรดับไป ธรรมนั้นคืออะไร อะไรประสบกับตน ธรรมอะไรเกิดขึ้น ธรรมอะไรดับไป สภาวะแห่งธรรมนั้นเป็นเช่นไร ตัวนี้หากไม่มีวิปัสสนาญาณและ มหาสติปัฎฐาน 4 ขั้นก้าวถึง ธรรมนุสติปัฎฐานแล้ว ย่อม ไม่มีทางที่จะเกิด ธัมมวิจยได้แน่นอน
    ธรรมข้อนี้ เมื่อเกิดขึ้น พระอริยย่อม สอดส่องว่า ที่มาที่ไป นั้นมาแต่เหตุใด
    ทำไมจึงเป็ฯเช่นนั้น

    3 วิริยะ เมื่อธรรมนุสติแก่กล้า จิตย่อมเป็นสุข หากใช้ วิริยะหรือองค์เพียรเข้าแล้ว ธรรมานุสติปัฎฐานจะหมุนเร็วจี๋ ทำให้เกิด ข้อธรรมผุดขึ้น ทั้งวันทั้งคืน ทุกเวลา


    4 ปีติ เมื่อธรรมนั้นผุดขึ้นทุกเวลา สติแก่กล้าในธรรม เป็นเหตุให้ตะกอน ที่ดองอยุ่ในสันดาน ปะทุขึ้น เห็นสิ่งที่ละเอียดขึ้น ทุกข์มากขึ้น หยิบจับอะไรร้อน หรือ เย็นแล้วแต่บางคน มีพลังจิตแก่กล้า กายไม่สงบระงับเพราะพลังจิตที่ ดันออกผลักออก กระตุ้นข้อธรรมต่างๆ นาๆ ให้ผุดขึ้น บ้างก็เป็น อุพเพงคาปีติ บ้างก็ ผรณาปีติ แล้วแต่ธาตุแต่จริต
    จึงจำเป็นต้องมีวิธีการ ระงับใจ หรือ ปัสสัทธิ คือ ทวนกระแสที่ไหลออกให้หยุด
    ด้วย พระอานาปานสติ และมหาสติ ทาง กาย คือ กายานุสติปัฎฐานอันละเอียดถึงกายลมระดับอนุภาค ให้ เรียบให้สงบ เมื่อสงบแ้ล้วเรียกว่า ปัสสัทธิ เป็นข้อที่ 5


    พระิอริยะท่านใด ถึงปีติ แล้วไม่ปัสสัทธิ ก็ทำให้เกิดสงสัยได้

    6 สมาธิ
    เมื่อ จิตทำปัสสัทธิแล้ว จะทำให้จิตสงบและเกิดสมาธิเต็มบริบูรณ์เป็นเหตุให้ เกิด สัมมาสมาธิ คือ เบาตัวเบาใจ สบายตัว มีกำลัง

    7 อุเบกขา เมื่อ จิตเกิดสมาธิแล้ว ใช้อุเบกขา กับข้อธรรมทั้งหลายที่ผุดขึ้น ในระดับจิต ระดับธรรม ด้วยปัญญาอันมองเห็นความเป็นไตรลักษณ์ในสิ่งนั้น
    จะเกิดสัมประยุตในญาณ เป็น ผลญาณเอง

    ก็ฝากเอาไว้ เผื่อ พระโสดาปัตติมรรคญาณ จะเข้ามาอ่าน



     
  2. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    สวัสดีอาจารย์ ท่านเล่าปัง ท่านวิมุตติ

    วันนี้ออกไปติดต่องานมาครับ

    เจออารมณ์หลากหลายดีครับ เจอรถติด เจอคนสวย เจออากาศร้อน เจอของน่าทาน ฯลฯ แต่สภาวะจิตมันเปลี่ยนไป คือ เฉย เห็นก็แค่นั้น
    กับมองทะลุไปในธรรมนั้นๆมากกว่า สงสัยศึกษาธรรมมากไปหน่อย หุหุ
     
  3. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ดัดแปลงหรือเปล่า หรือว่า

    รู้สึก แล้วรู้ชัดว่าความอยากมันดับ เพราะสติตามรู้ทัน
     
  4. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ก็ ถ้ามันเป็นไปเองก็ปล่อยมันเป็นไป พอถึงเวลาเดี๋ยวมันก็หยุดเอง
    หรือ พอถึงเวลาเดี๋ยวมันก็ เร็วขึ้นเอง

    ถ้ารู้ตัวว่า เหนื่อยเมื่อไร ก็ผ่อนคลายบ้าง ไม่เช่นนั้นมันจะกลายเป็น วิตกในธรรม
    ธรรมนี้ถ้าหมุนใน พระอริยะจะเป็น ธัมมวิจย แต่หาก อยู่กับปุถุชนคือ วิตกในธรรม คือ จิตติดอยุ่กับการนึกธรรม ไม่ใช่เห็นธรรม แล้วมันจะเครียด

    ก็เมื่อไร รู้สึกเบื่อๆ ก็เดินทางสายกลาง แล้วค่อยๆ พัฒนาตนไปเรื่อยๆ
     
  5. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ไม่ได้ สังเกตอาการดับอะไรนะ
    แค่คงอารมณ์ เฉย กระมัง
    คือ เห็นก็มีอารมณ์ พอสติมาก็มิได้ตามดูอารมณ์แต่อย่างใด แต่มันตัดอารมณ์เป็นเฉย เมื่อเฉย ปุ๊ป มันก็เห็นเป็นสภาธรรมไป
     
  6. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    อืม..อาจจะเครียด ครับ
    หุหุ
     
  7. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    เครียดคือเพ่ง เพ่งคือสมาธิ เพ่งเรื่อง เพ่งอารมณ์ เพ่งๆๆๆ คือ สมถะ

    ผลคือ ว่างๆ เงียบๆ

    * * * * * *

    นึกขึ้นได้ พระท่านใช้คำว่าจิตมันหนีเอง เวลาเจอเรื่องเครียดๆ หรือว่าอะไรที่
    น่าวิตก มันวิ่งไปอยู่ในภพว่างๆ ได้เอง เคยสังเกตไหม เป็นสำหรับคนทำสมาธิ
    นะ จะเรียกว่าธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมก็ได้

    แต่ถ้ากลุ่มคนดูจิตล้วนๆ นี่เขาจะวิ่งฝุ้งออกไป จับนู้นจับนี่ ตกอกตกใจไปกัน
    ใหญ่ เว้นแต่บางคนที่มีวาสนา หรือ ฝึกดูจิตเป็นแล้ว มันจะวิ่งเข้ามาข้างใน
    มาเป็นผู้ดู แต่บางคนไม่รู้ว่า นั้นแหละคือทาง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กุมภาพันธ์ 2008
  8. ZyTon

    ZyTon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2006
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +377
    ก่อนจะคุยอะไรกันนะ ผมว่าฝึกสติข้อแรกก่อนดีไหมครับ ในการตั้งกระทู้ให้มันถูกหมวด ถูกห้องหน่อย ห้องนี้ ห้องวิทยาศาสตร์ทางจิต

    คุณเข้าใจคำว่า "วิทยาศาสตร์ทางจิต" หรือเปล่าครับ?

    ถ้าคุณจะคุยธรรมะหรือปัญหาธรรมล้วนๆคุณควรจะไปตั้งกระทู้ที่นี่ครับ

    พุทธศาสนา สำหรับผู้เริ่มต้น <<< คลิ๊ก


    เพราะผู้เริ่มสนใจ หรือ มีข้อข้องใจ ในศาสนาพุทธ จะได้เข้าใจมากขึ้น คุณว่าไม่ดีหรือครับ จะได้แนะนำคนอื่นๆให้เข้าใจด้วย เป็นการเผยแพร่ธรรมะด้วยกับผู้เริ่มศึกษา เพราะเขาจะมีข้อข้องใจเยอะ เป็นประโยชน์มากนะครับ



    สุดท้ายผมอยากจะบอกว่า ถ้าคิดจะฝึกสติ หรือแนะนำการฝึกสติ ควรฝึกสติของตนเองในการตั้งกระทู้ให้ได้ก่อนนะครับ ก่อนที่จะไปแนะนำการฝึกสติให้คนอื่น ของแค่ง่ายๆควรทำให้ได้ก่อนนะครับ นาย"ขันธ์"



    จบ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กุมภาพันธ์ 2008
  9. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ไม่น่าแสดงความโง่ออกมาเล้ย Zyton ไม่รู้เหรอว่า คนที่เขาศรัทธาพุทธเขาไม่โง่ไง

    เคยเห็นพระพุทธองค์ตอนไปที่ ชนชาวกาลมะ ไหม หรือ ตอนที่ท่านไปหาพวกพราห์มณ์ไปเทศให้ฟังไหม

    ท่านไปเทศกับคนพุทธแท้หรือ ท่านก็ไปหาไอ้พวกบ้า ยังโง่อยู่นั่นแหละ เหมือนกัน ผมมาที่ หมวดวิทยาศาสตร์ทางจิต นี่ก็พยายามมาบอกคนโง่อย่างคุณนี่แหละ ให้อ่านก่อน เชิญมาพิสูจน์ แต่ถ้ายังอยากโง่ก็โง่ไปคนเดียว เพราะคนที่เขาพอเห็นธรรมเห็นประโยชน์เขามีอยุ่

    เข้าใจนะ
     
  10. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ____________________________________________________________
    #
    อันนี้อะไรหว่า นี่มันวิทยาศาสตร์ทางจิตไม่ใช่หรือ ทำไมเอาธรรมติดมาด้วยหละ ไม่เอาเรื่องวิทยาศาสตร์ติดมาด้วยหละ

    คนอย่างนี้ เขาเรียกว่า multiple standard คือ ไม่มีมาตรฐาน
    จะด่าคนอื่นตัวเอง ยิ่งกว่า ผมยังพูดธรรมะ ยังมีประโยชน์ แต่คนจับผิดมันไม่มีอะไรให้เป็นประโยชน์เลย ไปพิจารณาตัวด้วยนะ พวกปากอมขี้ พวกหัวมีแต่ขี้ คิดอะไรขึ้นมาก็มีแต่เหม็น
     
  11. ZyTon

    ZyTon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2006
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +377

    นาย"ขันธ์" นี่สงสัยก่อนที่จะว่าคนอื่นคงลืมCheck ประสาท และจิตตนเอง ถึงเอาสิ่งที่อยู่ในหัว และจิตใจออกมาแบบนี้

    ผมไม่บอกคุณหรอกครับว่ามันคืออะไร


    แต่ผมอยากบอกกับคุณว่า

    จะไปแนะนำสติกับใคร "ควรควบคุม วาจา และ สิ่งที่พิมพ์" ออกมาบ้าง ควรใช้"สติ" ที่ไปเที่ยวอวด เบ่ง สอนคนอื่นๆว่าตนคือผู้รู้ มาสอนตนเองให้ได้ก่อน ก่อนที่จะแสดงธาตุแท้ที่เก็บซ่อนไว้ ออกมาแบบนี้น่ะครับ

    แค่สติในการตั้งกระทู้ว่าเหมาะสมไหม ยังไม่มีเลย แล้วคุณจะมีสติในเรื่องต่างๆได้อย่างไร

    นาย "ขันธ์แตก" เอ๋ย (good)


    จบ
     
  12. ZyTon

    ZyTon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2006
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +377
    และขอเชิญพระธรรม จากคุณWit มาให้สติของ นาย"ขันธ์แตก"กลับคืนมาโดยพลัน หลังจากที่ชอบสอนคนอื่น โดยที่ตนเองทำไม่ได้

    เวลามีคนมาเตือนดีๆก็ว่าเขาเสียๆหายๆ (ทุกๆท่านอย่าได้เอาเยี่ยงอย่างนะครับ) ดังนี้



    จากกระทู้ คนที่ชอบอ้างเช่นนี้จะได้รับผลกรรมอย่างไรบ้างครับ


    <TABLE class=tborder id=post950677 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">[​IMG] เมื่อวานนี้, 12:20 PM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right>#1 </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>wit<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_950677", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    [​IMG]

    เข้ามาครั้งสุดท้ายเมื่อ: วันนี้ 08:40 PM
    วันที่สมัคร: Jul 2005
    อายุ: 30 ปี
    ข้อความ: 1,821 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    ได้ให้อนุโมทนา 3,996 ครั้ง
    ได้รับอนุโมทนา 8,126 ครั้ง ใน 1,411 โพส <!-- End Post Thank You Hack -->
    พลังการให้คะแนน: 1295 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]



    </TD><TD class=alt1 id=td_post_950677 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- icon and title -->คนที่ชอบอ้างเช่นนี้จะได้รับผลกรรมอย่างไรบ้างครับ
    <HR style="COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->เช่น ถ้ามีคนมาบอกกล่าวหรือชี้แจงข้อผิดพลาดหรือสิ่งที่ไม่เหมาะสมในตน ซึ่งก็มีอยู่จริงตามที่คนอื่นๆบอก แต่เจ้าตัวจะไม่ยอมแก้ไขโดยอ้างว่า ทีคนอื่นที่เขาทำผิดทำไม่ดียิ่งกว่าเรายังมีอยู่ ทำไมไม่ไปบอกเขาบ้าง หรือถ้าเราทำผิดคนอื่นๆก็ต้องทำผิดด้วยเหมือนกัน แล้วก็ไม่ยอมแก้ไขตนเอง ถ้าในสังคมมีคนลักษณะเช่นนี้อยู่เยอะๆ จะเกิดผลอย่างไรขึ้นมาครับ?
    <!-- / message --><!-- sig -->
    ____________________________________________________________
    อย่าหลงติดกับสมมติบัญญัติ แต่จงมองให้เห็นความจริงในสมมติบัญญัตินั้น

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    (ขอโทษคุณWit ด้วยที่ไม่ได้แจ้งล่างหน้าครับ )


    นาย"ขันธ์แตก"ก็ลองใช้สติที่ชอบเอาไปสอนคนอื่นๆคิดดูนะ


    หวังว่าคงเข้าใจและปรับปรุงตัวเอง


    จบ
     
  13. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    เอาเถิดคราวหน้าถ้าไม่มีอะไรจะพูดก็เงียบๆไว้ก็ดีนะ
    ทั้งหมดที่จะเตือนผม ไม่ว่่าจะขันธ์แตกหรืออะไรก็ตาม ไปดูตัวเองก่อนว่า
    ให้ความรู้อะไรกับคนอื่นบ้าง ดีแต่จับผิดคนนั้นคนนี้

    การควบคุมวาจา ผมว่า ผมอยู่เฉยๆ นะ ถ้าย้อนกลับไปดู ข้างต้น ก่อนจะมีพวกปากอมขี้มา ผมก็ไม่ได้ด่าใคร บังเอิญพวกปากอมขี้มา พูดมันเหม็น ผมก็ด่าให้ แล้วจะมาบอกให้ผมควบคุมสติวาจาอะไร
    มันก็เรื่องธรรมชาติ คุณหมั่นไส้ผมคุณก็มาโพสเสียดสี ผมไม่ชอบที่คุณเสียดสีผม ผมก็ด่าคุณ แล้วจะมาให้ผมควบคุมสติทำไม มันก็ปกติไม่ใช่หรือ

    คนดีผมก็ไม่เคยด่า มีแต่พวก ไร้สาระที่โดนด่าไปไม่เข็ด โดนด่าแล้วโดนด่าอีก มันก็ยังมา คราวก่อนเหมือนกัน ท้าตีท้าต่อย แจกเบอร์โทร บ้างอะไรบ้าง และยังมีพวก เพ้อเจ้อ เถียงไม่เป็น เพราะหัวมันมีแต่ขี้ ออกมาว่าผม เรื่องเห้งเจีย
    คิดดู พูดเห้งเจีย มันก็หาว่า ก็อบปี้ คนอื่นมา พอพูดเรื่องธรรม มันก็หาว่า นี่ห้องวิทยาศาสตร์จิต

    ไปแหกตาดูว่า ไอ้เรื่องตาทิพย์ เรื่องเข้าทรง เรื่องมนุษย์ต่างดาว เรื่องบ้าๆ บอๆ นี่มันวิทยาศาสตร์ทางจิตตรงไหน

    ธรรมตัวเองเอาให้ดีก่อน

    ไม่กลัวผมเสกหนังควายเข้าท้องคุณเหรอ
     
  14. panuwat_cps

    panuwat_cps เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    105
    ค่าพลัง:
    +433
    "อัตนาโจทยัตตานัง"
    ใจเย็นๆ กันนะครับ ธรรมเป็นของดีแล้ว อ่านแล้วก็พิจารณากันครับตามกำลังปัญญาของตัวเอง เพราะธรรมล้วนมาจากที่เดียวกันแต่คนเล่าต่างกันอาจมีผิดบ้างถูกบ้างก็เลือกเอาในส่วนดี แล้วนำมาปรับใช้กับตนเองดีกว่านะครับ ขอธรรมจงมีแด่ทุกท่านครับ อนุโมทนาในบุญครับ สาธุ
     
  15. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    อืม....ก็ขออนุโมทนาด้วยนะครับ ผมขออนุญาตยก โพชฌงค์ ในส่วนที่อยู่ต่อท้ายจากอานาปานสติสูตรมาประกอบด้วยนะครับ



    <CENTER>๘. อานาปานสติสูตร (๑๑๘)


    </CENTER><CENTER class=l>-------------------------------
    </CENTER>[๒๘๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขา
    มิคารมารดา ในพระวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี พร้อมด้วยพระสาวก
    ผู้เถระมีชื่อเสียงเด่นมากรูปด้วยกัน เช่น ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหา-
    *โมคคัลลานะ ท่านพระมหากัสสป ท่านพระมหากัจจายนะ ท่านพระมหาโกฏฐิตะ
    ท่านพระมหากปิณะ ท่านพระมหาจุนทะ ท่านพระเรวตะ ท่านพระอานนท์ และ
    พระสาวกผู้เถระมีชื่อเสียงเด่นอื่นๆ ก็สมัยนั้นแล พระเถระทั้งหลายพากันโอวาท
    พร่ำสอนพวกภิกษุอยู่ คือ พระเถระบางพวกโอวาทพร่ำสอนภิกษุ ๑๐ รูปบ้าง
    บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๒๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๓๐ รูปบ้าง บางพวก
    โอวาทพร่ำสอน ๔๐ รูปบ้าง ฝ่ายภิกษุนวกะเหล่านั้น อันภิกษุผู้เถระโอวาทพร่ำ
    สอนอยู่ ย่อมรู้ชัดธรรมวิเศษอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าที่ตนรู้มาก่อน ฯ

    [๒๘๓] ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมประทับนั่ง
    กลางแจ้ง ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ วันนั้นเป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ทั้งเป็นวัน
    ปวารณาด้วย ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเหลียวดูภิกษุสงฆ์ ซึ่งนิ่งเงียบอยู่โดย
    ลำดับ จึงตรัสบอกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราปรารภในปฏิปทานี้
    เรามีจิตยินดีในปฏิปทานี้ เพราะฉะนั้นแล พวกเธอจงปรารภความเพียร เพื่อถึง
    คุณที่ตนยังไม่ถึง เพื่อบรรลุคุณที่ตนยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งคุณที่ตนยังไม่ทำ
    ให้แจ้ง โดยยิ่งกว่าประมาณเถิด เราจักรออยู่ในเมืองสาวัตถีนี้แล จนถึงวันครบ
    ๔ เดือนแห่งฤดูฝน เป็นที่บานแห่งดอกโกมุท <SUP>๑-</SUP> พวกภิกษุชาวชนบททราบข่าว
    ว่า พระผู้มีพระภาคจักรออยู่ในเมืองสาวัตถีนั้น จนถึงวันครบ ๔ เดือนแห่ง
    ฤดูฝน เป็นที่บานแห่งดอกโกมุท จึงพากันหลั่งไหลมายังพระนครสาวัตถี เพื่อ
    เฝ้าพระผู้มีพระภาค ฝ่ายภิกษุผู้เถระเหล่านั้นก็พากันโอวาทพร่ำสอนภิกษุนวกะ
    <SMALL>@๑. คือวันเพ็ญเดือนสิบสอง</SMALL>
    เพิ่มประมาณขึ้น คือ ภิกษุผู้เถระบางพวกโอวาทพร่ำสอนภิกษุ ๑๐ รูปบ้าง บาง-
    *พวกโอวาทพร่ำสอน ๒๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๓๐ รูปบ้าง บางพวก
    โอวาทพร่ำสอน ๔๐ รูปบ้าง และภิกษุนวกะเหล่านั้น อันภิกษุผู้เถระโอวาท
    พร่ำสอนอยู่ ย่อมรู้ชัดธรรมวิเศษอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าที่ตนรู้มาก่อน ฯ

    [๒๘๔] ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมประทับนั่ง
    กลางแจ้ง ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ เป็นวันครบ ๔ เดือนแห่งฤดูฝน เป็นที่บาน
    แห่งดอกโกมุท วันนั้นเป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรง
    เหลียวดูภิกษุสงฆ์ ซึ่งนิ่งเงียบอยู่โดยลำดับ จึงตรัสบอกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกร-
    *ภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้ไม่คุยกัน บริษัทนี้เงียบเสียงคุย ดำรงอยู่ในสารธรรม
    อันบริสุทธิ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับ
    บริษัทที่ควรแก่การคำนับ ควรแก่การต้อนรับ ควรแก่ทักษิณาทาน ควรแก่การ
    กระทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลกอย่างหาที่อื่นยิ่งกว่ามิได้ ภิกษุสงฆ์นี้
    บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทที่เขาถวายของน้อย มีผลมาก และถวายของมาก
    มีผลมากยิ่งขึ้น ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัท อันชาวโลก
    ยากที่จะได้พบเห็น ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทอันสมควร
    ที่แม้คนผู้เอาเสบียงคล้องบ่าเดินทางไปชมนับเป็นโยชน์ๆ ฯ

    [๒๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็น
    พระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระ
    ได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ สิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษ
    แล้วเพราะรู้ชอบ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นอุปปาติกะ เพราะ
    สิ้นสัญโญชน์ส่วนเบื้องต่ำทั้ง ๕ จะได้ปรินิพพานในโลกนั้นๆ มีอันไม่กลับ
    มาจากโลกนั้นอีกเป็นธรรมดา แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นพระสกคาทามี
    เพราะสิ้นสัญโญชน์ ๓ อย่าง และเพราะทำราคะ โทสะ โมหะให้เบาบาง
    มายังโลกนี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่
    ภิกษุสงฆ์นี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นพระโสดาบัน เพราะ
    สิ้นสัญโญชน์ ๓ อย่าง มีอันไม่ตกอบายเป็นธรรมดา แน่นอนที่จะได้ตรัสรู้ใน
    เบื้องหน้า แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียร
    ในอันเจริญสติปัฏฐาน ๔ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ

    [๒๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบ
    ความเพียรในอันเจริญสัมมัปปธาน ๔ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ
    เพียรในอันเจริญอิทธิบาท ๔ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ
    เพียรในอันเจริญอินทรีย์ ๕ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ
    เพียรในอันเจริญพละ ๕ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ
    เพียรในอันเจริญโพชฌงค์ ๗ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ
    เพียรในอันเจริญมรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้
    ก็มีอยู่ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ
    เพียรในอันเจริญเมตตาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ
    เพียรในอันเจริญกรุณาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ
    เพียรในอันเจริญมุทิตาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียร
    ในอันเจริญอุเบกขาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียร
    ในอันเจริญอสุภสัญญาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียร
    ในอันเจริญอนิจจสัญญาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ

    [๒๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบ
    ความเพียรในอันเจริญอานาปานสติอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม
    มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม
    บำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้ว
    ย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มาก
    แล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ

    [๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร
    ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน
    ธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์
    ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า
    หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจ
    เข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลม
    ทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า สำเหนียก
    อยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า
    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้
    ปีติ หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก ว่าเราจัก
    เป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร
    หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเรา
    จักระงับจิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่
    ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า
    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจ
    เข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า
    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า
    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก ว่าเราจักเป็น
    ผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณา
    ความคลายกำหนัด หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด
    หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก
    ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็น
    ผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความ
    สละคืนกิเลส หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว
    อย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ

    [๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างไร ทำ
    ให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    สมัยใด เมื่อภิกษุหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้า
    ยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
    หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้
    กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจ
    เข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร
    หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย
    มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวลมหายใจออก ลมหายใจเข้านี้ ว่าเป็นกายชนิดหนึ่ง
    ในพวกกาย เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย
    มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้
    ปีติ หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเรา
    จักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า สำเหนียก
    อยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้
    จิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก
    ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า
    พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
    โทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการใส่ใจลมหายใจออก
    ลมหายใจเข้าเป็นอย่างดีนี้ ว่าเป็นเวทนาชนิดหนึ่ง ในพวกเวทนา เพราะฉะนั้นแล
    ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว
    มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนด
    รู้จิต หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจัก
    ทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่
    ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า สำเหนียกอยู่
    ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ
    กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าว
    อานาปานสติแก่ภิกษุผู้เผลอสติ ไม่รู้สึกตัวอยู่ เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น
    ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌา
    และโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณา
    ความไม่เที่ยง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า
    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจออก ว่าเราจัก
    เป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้
    ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส
    หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจ
    ออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ
    กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสด้วย
    ปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้วางเฉยได้ดี เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า
    พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
    โทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว
    อย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ฯ

    [๒๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้วอย่างไร
    ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌา
    และโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว
    ไม่เผลอเรอ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด สติเป็นอันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ
    ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า
    ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความ
    บริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอเมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความ
    พิจารณาธรรมนั้นได้ด้วยปัญญา ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า
    ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ในสมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
    ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
    สมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอ
    เมื่อค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมด้วยปัญญาอยู่ ย่อมเป็นอันปรารภ
    ความเพียรไม่ย่อหย่อน ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณา
    ธรรมนั้นด้วยปัญญา ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ในสมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์
    ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์
    สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ปีติ-
    *ปราศจากอามิสย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภ
    ความเพียรแล้ว ในสมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
    ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ
    และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ย่อมมีทั้งกายทั้งจิตระงับได้ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ระงับได้
    ในสมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า
    ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ
    และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมมีจิตตั้งมั่น ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข
    ย่อมตั้งมั่น ในสมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
    ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความ
    เจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้น
    ได้เป็นอย่างดี ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้
    เป็นอย่างดี ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
    ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึง
    ความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความ-
    *เพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น
    สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ...

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร
    รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น สติย่อม
    เป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ...

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร
    รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น สติย่อม
    เป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด สติเป็นอันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้ว ไม่เผลอเรอ
    ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า
    ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความ
    บริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอเมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความ
    พิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า
    ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ในสมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
    ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
    สมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ เมื่อ
    เธอค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญาอยู่ ย่อมเป็นอัน
    ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรม
    นั้นด้วยปัญญา ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ในสมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อม
    เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น
    วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ปีติปราศจากอามิส
    ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภ
    ความเพียรแล้ว ในสมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
    ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ
    และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ย่อมมีทั้งกายทั้งจิตระงับได้ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ระงับได้
    ในสมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุ
    ชื่อว่าย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมถึง
    ความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมมีจิต
    ตั้งมั่น ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข
    ย่อมตั้งมั่น ในสมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
    ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความ
    เจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้น
    ได้เป็นอย่างดี ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้
    เป็นอย่างดี ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
    ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึง
    ความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว
    อย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ฯ

    [๒๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้วอย่างไร ทำให้
    มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
    ในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
    นิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย ย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ... ย่อม
    เจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญปัสสัทธิ
    สัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
    อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว
    อย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
    พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ



    <CENTER>จบ อานาปานสติสูตร ที่ ๘

    </CENTER>
     
  16. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    สาธุ ด้วยครับ กับคุณ wit ที่ยกเอาพระสูตรมา ครบถ้วน
    นั้นแหละ พระพุทธองค์ทราบดีว่า ต้องใช้อานาปานสติ เพื่อระงับ
    ก็มาผนวกเข้ากับ โพชฌงค์ แต่ผมขยายความตามสถานการณ์ปัจจุบันให้ เข้าใจกันในเรื่อง ธรรมที่เกิด
     
  17. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    อ้อ มิน่า ถึงได้ติด

    ของคุณขันท์นี่ก็ทำให้ตระหนัก จะกลับไปอ่านเสียหน่อย
    แต่คุณวิทก็ยกพระสูตรมาละ อ่านไปก็เข้าใจละนะว่าติด
    ตรงมัวแต่ไปแทรกแซงเขาเพลินดูปิตินี่เอง

    คุณขันท์ช่วยยืนยันหน่อย เผอิญหนังสือท่านพุทธทาสผมยกให้เพื่อนไป
    ที่ผมตั้งข้อเข้าใจนั้นผิดหรือเปล่า
     
  18. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ยืนยันครับ ว่าตั้งข้อถูกแล้ว
    ไม่ระงับเพราะว่า ตามที่จิต แต่ไม่ตามกายลมละเีอียด
    ทวนกระแส ที่มันเป็นไปเองของปีติให้ได้ เรียกว่า ระงับ

    ธรรมดาปีติคือ องค์ธรรมที่ไหลไป เราก็ระงับมันให้ได้

    ง่านนิดเดียว สำเหนียกรู้ธรรมที่ไหล คำว่าสำเหนียกนี้คือ นึก กำหนดรู้ และเรียก ให้กายที่ระงับ เป็นอย่างไร หายใจเข้า กายที่ระงับเป็นอย่างไรหายใจออก

    นั้นแหละ เรียกว่า ปัสสัทธิ
     
  19. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    คือ ปีติ เกิดก็รู้ว่าเกิด แต่เราไม่รู้จักระงับ คิดว่า มันเป็นไปเองระงับไม่ได้
    เช่นว่า พอตัณหาเกิด เราก็รู้ว่ามันเกิดแต่ไม่ยอมระงับแบบนี้ไม่ถูก

    เพราะว่า กุศลนั้นเราก็ต้องละ ไม่ใช่ละแค่อกุศล

    เรื่อง กายปัสสัทธินี้มีคุณมาก ระงับเวทนาได้สิ้น คือ พิจารณาที่กายลมละเีอียดแล้ว ระงับ พระพุทธองค์ท่านจึงสรรเสริญว่า บทโพชฌงค์นี้ ทำให้หายป่วย

    แท้จริงแล้ว ไม่ใช่เป็น ความวิเศษของบทสวดเท่าไร แต่เป็นเพราะเมื่อ พระพุทธองค์ท่าน พิจารณาตามองค์โพชฌงค์แล้วระงับกาย ย่อมระงับ ความเจ็บไข้ได้ป่วยทันที

    ตามธรรมดา วิสัยของ พระพุทธองค์ ท่านพูดข้อธรรมแล้ว ท่านจะไม่ขวนขวายธรรมนั้นอีก คือ ธรรมเกิดแล้วดับไป ครั้นเมื่อระลึกได้ ให้สานุศิษย์สาธยายธรรมนั้น พระองค์ก็ใช้ธรรมนั้นอีก

    ข้อนี้ ใครทำกายปัสสัทธิได้มีคุณวิเศษ แต่ต้องทำให้ชำนาญเป็นวสีนะ

    ระงับทีเดียวอยู่
     
  20. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    อืมมมม.....ขอลองดูก่อนครับ ท่านพูดได้เห็นทางดีจริงๆ

    จริงยังเพลินดู ราคะ กับ โทษะ เขาวิ่งเล่น เพื่อเป็นเครื่องกั้นขวาง
    และยางเหนียว มันเห็นๆแต่ไม่ชัด แต่ก็ชักแน่นใจแล้วว่าเป็นภัย

    ใครมาถึงตรงนี้ก็วิ่งเผ่นไปเลยนะครับ อย่าหยุดดู
     

แชร์หน้านี้

Loading...