หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม" ราเชนทร์ สิมะสุนทร

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ใจต่อใจ, 12 ธันวาคม 2014.

  1. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]





    บทที่ ๙๗ วิชชา,วิมุติ,วิมุติญาณทัสนะ,ตถตา



    การที่ ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งมันคือความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัว ตนของมันอยู่อย่างนั้นตามปกติตามสภาพธรรมชาติแห่งมันตามวิถีในความเป็นไป แห่งมันโดยที่ธรรมชาตินั้นสามารถทำหน้าที่ของมันได้อยู่อย่างนั้นโดยไม่มีมี ความแคลนคลอนเป็นธรรมชาติที่เป็นความอิสระเด็ดขาดอย่างแท้จริงด้วยความเป็น ธรรมชาติของมันเองในความเป็นเช่นนั้นเองอยู่อย่างนั้น จึงถือได้ว่าเป็น วิชชา คือความรู้แจ้งต่อความเป็นจริงของสรรพสิ่งทั้งปวงว่าธรรมชาติของทุกสรรพสิ่ง นั้นคือความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้นและไม่ สามารถมีสิ่งใดๆจะเกิดขึ้นเป็นตัวเป็นตนได้อีกแล้วในความเป็นธรรมชาติที่แท้ จริงนี้

    การที่ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งมันคือความว่างเปล่าไร้ความ หมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้นตามปกติตามสภาพธรรมชาติแห่ง มันตามวิถีในความเป็นไปแห่งมันโดยที่ธรรมชาตินั้นสามารถทำหน้าที่ของมันได้ อยู่อย่างนั้นโดยไม่มีมีความแคลนคลอนเป็นธรรมชาติที่เป็นความอิสระเด็ดขาด อย่างแท้จริงด้วยความเป็นธรรมชาติของมันเองในความเป็นเช่นนั้นเองอยู่อย่าง นั้น จึงถือได้ว่าเป็น วิมุติ คือความหลุดพ้นจากสภาพธรรมอันคือธรรมปรุงแต่งทั้งปวงได้แล้วอย่างหมดจด เป็นธรรมชาติที่แท้จริงที่หมายความถึงการพ้นไปจากสภาวะธรรมอันคือภาวะปรุง แต่งนั้นด้วยการที่ธรรมเหล่านี้ถึงความดับสนิทไปไม่มีเหลือไปในตัวอยู่แล้ว

    การ ที่ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งมันคือความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตา ตัวตนของมันอยู่อย่างนั้นตามปกติตามสภาพธรรมชาติแห่งมันตามวิถีในความเป็นไป แห่งมันโดยที่ธรรมชาตินั้นสามารถทำหน้าที่ของมันได้อยู่อย่างนั้นโดยไม่มีมี ความแคลนคลอนเป็นธรรมชาติที่เป็นความอิสระเด็ดขาดอย่างแท้จริงด้วยความเป็น ธรรมชาติของมันเองในความเป็นเช่นนั้นเองอยู่อย่างนั้น จึงถือได้ว่าเป็น วิมุติญาณทัสนะ คือเป็นความรู้จริงต่อสิ่งทั้งปวงที่เป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่าง เปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้นด้วยความที่รู้ ว่าได้กลมกลืนเป็นเนื้อหาเดียวกันกับความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงโดยไม่มี ความแตกต่างแล้วซึ่งหมายถึงเป็นความหลุดพ้นจากสภาพธรรมอันคือธรรมปรุงแต่ง ทั้งปวงได้อย่างหมดจดไปในตัวอยู่แล้ว เป็นธรรมชาติที่แท้จริงที่หมายความถึงการพ้นไปจากสภาวะธรรมอันคือภาวะปรุง แต่งนั้นด้วยการที่ธรรมเหล่านี้ถึงความดับสนิทไปไม่มีเหลือไปในตัวอยู่แล้ว เช่นกัน

    การที่ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งมันคือความว่างเปล่าไร้ความ หมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้นตามปกติตามสภาพธรรมชาติแห่ง มันตามวิถีในความเป็นไปแห่งมันโดยที่ธรรมชาตินั้นสามารถทำหน้าที่ของมันได้ อยู่อย่างนั้นโดยไม่มีมีความแคลนคลอนเป็นธรรมชาติที่เป็นความอิสระเด็ดขาด อย่างแท้จริงด้วยความเป็นธรรมชาติของมันเองในความเป็นเช่นนั้นเองอยู่อย่าง นั้น จึงถือได้ว่าเป็น ตถตา คือ ความเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้น

    ความ กลมกลืนเป็นเนื้อหาเดียวกันกับความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงโดยไม่มีความแตก ต่างและการที่ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งมันคือความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่ง ความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้นตามปกติตามสภาพธรรมชาติแห่งมันตาม วิถีในความเป็นไปแห่งมัน สิ่งที่เป็นธรรมชาติที่แท้จริงนี้ก็ล้วนแต่คือ วิชชา,วิมุติ,วิมุติญาณทัสนะ,ตถตา ไปในตัวอยู่แล้วเช่นกัน







    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  2. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]





    บทที่ ๙๘ ศาสนาเมตไตรย


    เมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี เด็กหญิงมีอายุ ๕๐๐ ปี จึงจักสมควรมีสามีได้
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี จักเกิดมีอาพาธ ๓ อย่าง คือ ความอยากกิน ๑ ความไม่อยากกิน ๑ ความแก่ ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี ชมพูทวีปนี้จักมั่งคั่งและรุ่งเรือง มีบ้านนิคมและราชธานีพอชั่วไก่บินตก
    ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี ชมพูทวีปนี้ประหนึ่งว่าอเวจีนรก จักยัดเยียดไปด้วยผู้คนทั้งหลาย เปรียบเหมือนป่าไม้อ้อ หรือป่าสาลพฤกษ์ฉะนั้น ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี เมืองพาราณสีนี้ จักเป็นราชธานีมีนามว่า เกตุมดี เป็นเมืองที่มั่งคั่งและรุ่งเรืองมีพลเมืองมาก มีผู้คนคับคั่ง และมีอาหารสมบูรณ์
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปีในชมพูทวีปนี้จักมีเมือง ๘๔,๐๐๐ เมือง มีเกตุมดีราชธานีเป็นประมุข ฯ

    ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี จักมีพระเจ้าจักรพรรดิทรงพระนามว่า พระเจ้าสังขะ ทรงอุบัติขึ้น ณ เกตุมดีราชธานี เป็นผู้ทรงธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชนะแล้ว มีราชอาณาจักรมั่นคงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือจักรแก้ว ๑ ช้างแก้ว ๑ ม้าแก้ว ๑ แก้วมณี ๑ นางแก้ว ๑ คฤหบดีแก้ว ๑ ปริณายกแก้วเป็นที่ ๗ พระราชบุตรของพระองค์มีกว่าพัน ล้วนกล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์
    สามารถย่ำยีเสนาของข้าศึกได้ พระองค์ทรงชำนะโดยธรรมมิต้องใช้อาชญา มิต้องใช้ศัสตรา ครอบครองแผ่นดินมีสาครเป็นขอบเขต ฯ

    ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่าเมตไตรย จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระองค์เป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม เหมือนตถาคตอุบัติขึ้นแล้วในโลกในบัดนี้ เป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ไปดีแล้ว รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม พระผู้มีพระภาคพระนามว่าเมตไตรยพระองค์นั้น จักทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งด้วยพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม เหมือนตถาคตในบัดนี้ ทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตถาคตเองแล้ว สอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตามอยู่ พระผู้มีพระภาคพระนามว่า
    เมตไตรยพระองค์นั้นจักทรงแสดงธรรม งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงเหมือนตถาคตในบัดนี้ แสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง พระผู้มีพระภาคพระนามว่าเมตไตรยพระองค์นั้น จักทรงบริหารภิกษุสงฆ์หลายพัน เหมือนตถาคตบริหารภิกษุสงฆ์หลายร้อย ในบัดนี้ฉะนั้นฯ








    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  3. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]




    บทที่ ๙๙ การยังดำรงอยู่ในขันธ์ทั้งห้า

    เมื่อชีวิตของเราได้ทำหน้าที่แห่งความเป็นมนุษย์ได้อย่างสมบูรณ์แบบแล้ว
    วิมุติธรรมหรือธรรมอันทำให้หลุดพ้นจากการปรุงแต่งไปในตัณหาอุปาทานทั้งปวง
    มันก็ทำให้เราได้ดำรงชีวิตไปบนเส้นทางธรรมแห่งธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯนี้
    ได้อย่างผาสุกในวิถีชีวิตที่เรียบง่ายไม่ซับซ้อนอีกต่อไป
    ต่อ แต่นี้ไปมันก็คงมีแต่สภาพขันธ์อันคือขันธ์ทั้งห้าที่เรายังต้องอาศัยมันอยู่ และความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงนั้นแต่เพียงสองสิ่งนี้เท่านั้น
    ขันธ์ทั้งห้าที่เรายังอาศัยเพื่อดำรงชีวิตอยู่ก็คือขันธ์ทั้งห้าที่เราอาศัยมันมาเกิดนั่นเอง
    มันเป็นขันธ์ที่เราเคยเข้าไปยึดมั่นถือมั่นว่ามีมันและยึดขึ้นมาในความเป็นอัตตาตัวตนเป็นเราเป็นจิตปรุงแต่งมาโดยตลอด
    แต่มาบัดนี้เมื่อเราได้ตระหนักและรู้ชัดแจ้งในธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าฯ
    การที่เรายังดำรงอยู่ในขันธ์ทั้งห้าคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    จึงเป็นการดำรงขันธ์ไปในความเป็นปกติของธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯเช่นกัน
    รูป อันคือ รูปกายที่มีเลือดและเนื้อ ก็เป็นการอาศัยขันธ์เพียงแค่หล่อเลี้ยงชีวิตของเราให้ดำเนินไปตามปกติแห่ง วาระกรรมจนกว่าจะหมดสิ้นอายุขัย
    เมื่อร่างกายหิวต้องการสารอาหารเพื่อทดแทนกำลังงานที่เสียไปแต่ละวัน
    เรา ผู้มีจิตวิญญาณและอาศัยร่างกายนี้อยู่จึงต้องมีหน้าที่กินข้าวเพื่อดับความ หิวตามปกติ เพราะธรรมชาติที่แท้จริงได้หล่อเลี้ยงชีวิตและจิตวิญญาณของเรา
    การกินข้าวจึงมิใช่เป็นการกินด้วยความอยากอีกต่อไป
    มันจึงเป็นการกินเท่าที่จำเป็นจะต้องกินแต่เพียงเท่านั้น
    มันเป็นการกินตามหน้าที่ กล่าวคือ "เมื่อหิวก็กินเมื่ออิ่มก็หยุดกิน" ก็เท่านี้
    เมื่อง่วงก็ต้องนอนตามหน้าที่เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อน
    เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยก็ต้องพาร่างกายอันเสื่อมโทรมนี้ไปเข้าโรงหมอเพื่อรักษาจากอาการธาตุขันธ์เรรวน
    เมื่อสกปรกก็ต้องหมั่นดูแลรักษาสุขภาพตามหน้าที่เพื่อให้ขันธ์ร่างกายนี้ดำรงอยู่ต่อไปเท่าที่จะอยู่ได้
    ส่วนขันธ์ทั้งสี่ที่เหลือคือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    มันเป็นส่วนของนามธรรมคือจิตใจที่ยังต้องทำหน้าที่ของมันอยู่เช่นกัน
    วิญญาณ คือการรับรู้สิ่งที่เข้ามาทางทวารทั้งหกของร่างกาย
    มันก็ยังทำหน้าที่ของมันอยู่ตามปกติแห่งการที่เรายังต้องดำรงอาศัยขันธ์
    ถึง แม้เราจะเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าฯแต่เราก็ ยังสามารถมองเห็นถึงสิ่งต่างๆที่เข้ามาทางตา ได้ยินเสียงที่เข้ามาทางหู ได้ดมกลิ่นที่เข้ามาทางจมูก ได้รู้รสเมื่อเข้ามาทางลิ้น ได้ถูกสัมผัสสิ่งต่างๆที่เข้ามากระทบทางผิวกาย และได้รับรู้ถึงธรรมารมณ์ต่างๆที่เข้ามาทางใจ อยู่ตลอดเวลาอยู่อย่างนั้น
    สัญญา คือความจำได้หมายรู้ มันก็ยังทำหน้าที่ของมันอยู่
    สังขาร คือการปรุงแต่ง มันก็ยังทำหน้าที่ของมันอยู่
    เวทนา คือความรู้สึก มันก็ยังทำหน้าที่ของมันอยู่
    สิ่งต่างๆเหล่านี้มันเป็นเพียงทำหน้าที่เท่าที่มันยังปรากฏด้วยความเป็นขันธ์แห่งมันและเรายังต้องอาศัยมันอยู่แต่เพียงเท่านั้น
    แต่มิใช่เป็นการปรากฏด้วยการที่เราเห็นว่ามีมันเป็นสิ่งๆ
    ถ้าหากว่าเราหลุดพ้นแล้วและต้องไม่มีสภาพธรรมใดๆปรากฏเลย
    เราก็คงเป็นผู้หลุดพ้นที่เพียงแต่ได้อาศัยร่างกายนี้อยู่ไปเฉยๆเท่านั้นและไม่สามารถติดต่อสื่อสารกับมนุษย์ผู้อื่นได้เลย
    แต่เมื่อร่างกายเราหรือขันธ์ของเรามันเป็นมาแบบนี้และต้องอาศัยมันอยู่
    มันก็ย่อมทำงานไปตามปกติแห่งความเป็นสภาพมันของขันธ์นั้น
    เราก็ย่อมนึกคิดไปได้เท่าที่สภาพของขันธ์ยังต้องทำงานในสภาพแห่งมันอยู่อย่างนั้น
    แต่มันเป็นความนึกคิดเท่าที่จำเป็นตามสภาพความเป็นจริงแห่งธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯในความเป็นเราเช่นกัน
    เป็นความนึกคิดเท่าที่เราจะใช้ติดต่อสื่อสารต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเองตามสภาพธรรมชาติที่แท้จริงที่มันว่างเปล่าฯอยู่อย่างนั้น
    มิได้เป็นความนึกคิดที่เป็นตัณหาอุปาทานกลายเป็นจิตปรุงแต่งเป็นอัตตาตัวตนขึ้นมาแต่อย่างไร





    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     

แชร์หน้านี้

Loading...