หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม" ราเชนทร์ สิมะสุนทร

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ใจต่อใจ, 12 ธันวาคม 2014.

  1. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]




    บทที่ ๗๗ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์

    เมื่อรู้ว่าทุกสรรพสิ่งย่อมมีความ แปรผันหาความเที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้ในคุณลักษณะและคุณสมบัติเดิมแห่งมัน ทุกสรรพสิ่งจึงหาความเป็นอัตตาตัวตนที่แท้จริงไม่ได้ในขณะที่เราเข้าไปยึดใน ขณะนั้น ทุกสรรพสิ่งจึงย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่ง ความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น



    เมื่อรู้ว่าจิตที่ เกิดขึ้นในขณะนั้นที่เรานำมาพิจารณาไม่ว่าจะเป็นจิตที่เกิดขึ้นในหมวดกาย เวทนา จิต ธรรม ล้วนแต่เป็นจิตที่ปรุงแต่งขึ้นเป็นอัตตาตัวตนในภาวะนั้นๆจิตนี้มันก็คือ สิ่งๆหนึ่งในทุกสรรพสิ่งที่ย่อมมีความแปรผันหาความเที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้ใน คุณลักษณะและคุณสมบัติเดิมแห่งมัน จิตที่ปรุงแต่งขึ้นจึงหาความเป็นอัตตาตัวตนที่แท้จริงไม่ได้ในขณะที่เราเข้า ไปยึดในขณะนั้น จิตที่ปรุงแต่งขึ้นจึงย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความ หมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น


    เมื่อรู้ว่าจิต ที่เกิดขึ้นในขณะนั้นที่เรานำมาพิจารณาไม่ว่าจะเป็นจิตที่เกิดขึ้นในหมวดกาย เวทนา จิต ธรรม มันเกิดจากการเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้งห้าคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และรู้ว่าขันธ์ทั้งห้าคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นมันก็คือสิ่งๆหนึ่งในทุกสรรพสิ่งที่ย่อมมีความแปรผันหาความเที่ยงแท้แน่ นอนไม่ได้ในคุณลักษณะและคุณสมบัติเดิมแห่งมัน ขันธ์ทั้งห้าคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงหาความเป็นอัตตาตัวตนที่แท้จริงไม่ได้ในขณะที่เราเข้าไปยึดในขณะนั้น ขันธ์ทั้งห้าคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตา ตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น



    เมื่อรู้เช่นนี้แล้วความเป็นจริง ตามธรรมชาติย่อมปรากฏขึ้นมาว่าธรรมชาติที่แท้จริงย่อมคือความว่างเปล่าไร้ ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนและความสงบระงับซึ่งเป็นความสงบทั้งทางกาย และใจก็ย่อมปรากฏขึ้นด้วยเพราะเหตุแห่งการละทิ้งสลัดออกซึ่งภาวะธรรมที่ปรุง แต่งทั้งปวงได้และการที่ธรรมชาติมันได้ทำหน้าที่ในความเป็นธรรมชาติของทุก สรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนตามปกติของมันอยู่ อย่างนั้นมันจึงเป็นไปเพื่อให้ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ความสงบระงับซึ่งเป็นความสงบทั้งทางกายและใจก็) ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นบ้าง เพื่อความเจริญยิ่ง เพื่อความบริบูรณ์แห่งการเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ความสงบระงับซึ่งเป็นความสงบทั้งทางกายและใจก็) ที่เกิดขึ้นแล้วบ้าง





    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  2. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    <table class="tablebg" cellspacing="1" width="100%"><tbody><tr class="row2"><td valign="top"><table cellspacing="5" width="100%"><tbody><tr><td>[​IMG]




    บทที่ ๗๘ มะเกลือป่า

    เพราะอานิสงค์ผลบุญแห่งระบบกรรมวิสัยเมตไตรย
    จึงทำให้บัวนานาพันธุ์ไม่สูญหายไปและขึ้นเกลื่อนไปทั่วตามหนองน้ำ
    บ้านเรือนไม้ที่ฉันสร้างขึ้นบนหัวนาเป็นแบบทรงไทยโบราณ
    ฉันตั้งใจอนุรักษ์รูปแบบไว้เพราะฉันเคยเกิดเป็นคนไทยและหลงใหลในความเป็นสถาปัตยกรรมของความเป็นชนชาติของฉันอย่างที่ไม่เคยลืมเลือน
    และที่ท้ายทุ่งหลังบ้านฉันได้ขอร้องแรงงานของผู้คนแถบนี้มาขุดลอกให้เป็นบึงใหญ่และไขน้ำเข้ามาจนเต็ม
    ทุกคนมีความเต็มใจที่เข้ามาช่วยเป็นแรงงานเพราะมีความเกรงใจที่ฉันได้แบ่งเมล็ดพันธุ์พืชที่หายากให้ทุกปีๆ
    การขุดเอาทั้งกอและเหง้าบัวหลวงมาลงในบึงเป็นงานที่หนักอย่างยิ่งแต่ทุกคนมีศรัทธาเพราะหวังในบุญที่ตนได้รับเพราะความตั้งใจนั้นเอง
    ฉันบอกไปว่าบุญนี้จะส่งผลให้ทุกคนไปเกิดในศาสนาเมตไตรยที่จะมาถึงในเร็ววันนี้
    การที่ฉันเอาบัวมาปลูกเพราะฉันมีโครงการจะเอาใยบัวมาทอผ้าให้คนเหล่านี้ได้มีเสื้อผ้าใส่
    การลงมาอาศัยอยู่บนโลกมนุษย์และทำตัวให้ไม่มีความแตกต่างในยุคที่ขัดสนในปัจจัยขั้นพื้นฐานทั้งสี่เป็นเรื่องที่ลำบากใจ
    เพียงแค่มีกางเกงชาวเลสีดำและเสื้อยืดสีขาวก็ทำให้ดูแตกต่างไปจากมนุษย์ในยุคนี้มากแล้ว
    ทุกคนได้แต่ถามว่าอาจารย์เป็นคนมาจากที่ไหนทำไมถึงมีเสื้อผ้าใส่
    คำถามนั้นทำให้ฉันต้องอดกลั้นจิตใจรู้สึกสลดสังเวช
    ชาวบ้านที่นี้มีเพียงแต่เอาใบไม้มานุ่งห่มปกปิดร่างกายกันเท่าที่จะทำได้แต่เพียงเท่านั้น
    การเอามือของฉันเข้ามาล้วงความเป็นไปแห่งกรรมวิสัยในแต่ละยุคมันเป็นเรื่องที่ต้องคิดแล้วคิดอีก
    แต่ความจำเป็นขั้นพื้นฐานของการดำรงชีวิตมันทำให้ฉันไม่ต้องคิดอะไรให้มาก
    ฉันมีความดำริที่จะผลิตเครื่องทอผ้าแบบง่ายๆขึ้นมาและสอนคนเหล่านี้ทอผ้าให้เป็น
    เมื่อผ้าชิ้นแรกได้ถูกทอขึ้นฉันจึงเข้าไปในป่าใหญ่เพื่อหาลูกมะเกลือป่ามาย้อมผ้า
    ลูกมะเกลือป่าหาได้ง่ายในผืนราวป่าแถบนี้
    สีดำมีความหมายถึงจิตวิญญาณแห่งความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ
    ผลของมะเกลือเมื่อเอามาย้อมผ้ามันทำให้เนื้อผ้ามีสีดำสนิทใส่แล้วไม่ดูสกปรก
    ฉันสังเกตได้ถึงความสุขของพวกเขาที่กำลังช่วยกันย้อมผ้าผืนดำผืนใหญ่ผืนนั้น
    ทุกคนคงกำลังดีใจที่ตนเองจะได้มีเสื้อผ้าสวยๆใส่ภายในอีกไม่กี่วันนี้






    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


    </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> <tr class="row2"> <td class="profile" align="center">
    </td> </tr></tbody></table>
     
  3. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]




    บทที่ ๗๙ สมาธิสัมโพชฌงค์

    เมื่อรู้ว่าทุกสรรพสิ่งย่อมมีความ แปรผันหาความเที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้ในคุณลักษณะและคุณสมบัติเดิมแห่งมัน ทุกสรรพสิ่งจึงหาความเป็นอัตตาตัวตนที่แท้จริงไม่ได้ในขณะที่เราเข้าไปยึดใน ขณะนั้น ทุกสรรพสิ่งจึงย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่ง ความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น



    เมื่อรู้ว่าจิตที่ เกิดขึ้นในขณะนั้นที่เรานำมาพิจารณาไม่ว่าจะเป็นจิตที่เกิดขึ้นในหมวดกาย เวทนา จิต ธรรม ล้วนแต่เป็นจิตที่ปรุงแต่งขึ้นเป็นอัตตาตัวตนในภาวะนั้นๆจิตนี้มันก็คือ สิ่งๆหนึ่งในทุกสรรพสิ่งที่ย่อมมีความแปรผันหาความเที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้ใน คุณลักษณะและคุณสมบัติเดิมแห่งมัน จิตที่ปรุงแต่งขึ้นจึงหาความเป็นอัตตาตัวตนที่แท้จริงไม่ได้ในขณะที่เราเข้า ไปยึดในขณะนั้น จิตที่ปรุงแต่งขึ้นจึงย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความ หมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น


    เมื่อรู้ว่าจิต ที่เกิดขึ้นในขณะนั้นที่เรานำมาพิจารณาไม่ว่าจะเป็นจิตที่เกิดขึ้นในหมวดกาย เวทนา จิต ธรรม มันเกิดจากการเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้งห้าคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และรู้ว่าขันธ์ทั้งห้าคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นมันก็คือสิ่งๆหนึ่งในทุกสรรพสิ่งที่ย่อมมีความแปรผันหาความเที่ยงแท้แน่ นอนไม่ได้ในคุณลักษณะและคุณสมบัติเดิมแห่งมัน ขันธ์ทั้งห้าคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงหาความเป็นอัตตาตัวตนที่แท้จริงไม่ได้ในขณะที่เราเข้าไปยึดในขณะนั้น ขันธ์ทั้งห้าคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตา ตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น

    เมื่อรู้เช่นนี้แล้วความเป็นจริงตาม ธรรมชาติย่อมปรากฏขึ้นมาว่าธรรมชาติที่แท้จริงย่อมคือความว่างเปล่าไร้ความ หมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนและก็เพราะความเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ ว่างเปล่าฯมันเป็นความปกติตามสภาพธรรมชาติแห่งมันอยู่แล้วนั้นมันจึงมีความ หมายถึงการมีความตั้งมั่นในความเป็นปกติแห่งธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่าง เปล่าฯนั้นอยู่แล้วเช่นกันโดยไม่มีความแปรผันไปในความหมายอื่น การที่ธรรมชาติมันได้ทำหน้าที่ในความเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่าง เปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนตามปกติของมันอยู่อย่างนั้นมันจึง เป็นไปเพื่อให้สมาธิสัมโพชฌงค์ (ความตั้งมั่นในความเป็นปกติแห่งธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯโดยไม่ มีความแปรผันไปในความหมายอื่น) ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นบ้าง เพื่อความเจริญยิ่ง เพื่อความบริบูรณ์แห่งการเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ (ความตั้งมั่นในความเป็นปกติแห่งธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯโดยไม่ มีความแปรผันไปในความหมายอื่น) ที่เกิดขึ้นแล้วบ้าง







    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  4. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]




    บทที่ ๘๐ ความรู้ทางด้านจิตวิญญาณ


    นับตั้งแต่ได้เริ่มเข้ามาใช้ชีวิตร่วมกับมนุษย์ในสังคมใหม่บนโลกใบนี้
    การเรียนรู้ซึ่งกันและกันทำให้ฉันเข้าใจและมองเห็นถึงธรรมชาติของความเป็นมนุษย์ที่แท้จริง
    ฉันได้ดำรงชีวิตเยี่ยงมนุษย์ทั่วไปอยู่ปะปนกับผู้คนในสังคมแห่งนี้ผ่านมาหลายรุ่นแล้ว
    ฉันเห็นวิวัฒนาการความเจริญก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้งของมวลหมู่มนุษยชาติ
    ทุกคนล้วนแต่มีความสามารถดำเนินวิถีชีวิตของตนไปตามหนทางที่พวกเขาเลือกกันไว้เองแล้ว
    คนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่งถึงแม้จะมีความเปลี่ยนแปลงตัวบุคคลหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันไปตามวาระแห่งกรรมในการเวียนว่ายตายเกิด
    แต่สิ่งที่ยังคงอยู่และไม่มีวันเปลี่ยนแปลงก็คือคำสอนของบรรพบุรุษที่ได้ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีไว้ให้แก่ชนรุ่นหลัง
    จารีต ที่เกิดขึ้นเท่าที่ฉันได้วิเคราะห์ไว้นั้นมันเป็นสิ่งที่ดีที่มนุษย์ในยุค นี้มีความเต็มใจที่จะสืบสานช่วยกันรักษาไว้จนกลายเป็นวัฒนธรรมที่ไปในทิศทาง เดียวกัน
    ถึงแม้ในตอนนี้ประชากรจะมีจำนวนมากขึ้นกว่าแต่ก่อนหลายเท่าตัวแต่ทุกคนก็มีวิถีชีวิตที่ได้ดำเนินไปตามครรลองคลองธรรมที่เหมือนๆกัน
    เป็น เพราะทุกคนมีความเคารพเชื่อฟังพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ จารีตที่เกิดขึ้นและเป็นที่ยอมรับกันอย่างทั่วไปนั้นมันจึงมิใช่เป็นกฎ ระเบียบที่เป็นไปในเชิงบีบบังคับให้จิตใจของแต่ละคนต้องยอมจำนนฝืนปฏิบัติ ตาม
    แต่เพราะจารีตเหล่านี้มีรากเหง้ามาจากความรักความเมตตาที่มนุษย์ในยุคนี้มีความเต็มใจหยิบยื่นให้แก่กันและกันด้วยความอบอุ่นเอื้ออาทร
    เนื่องเพราะเหตุแห่งความโหดร้ายทารุณที่มนุษย์ในยุคต่ำทรามก่อนหน้านั้นได้เบียดเบียนชีวิตกันอย่างหนักหนาสาหัส
    ความทุกข์ยากจึงเป็นครูสอนให้มนุษย์ในยุคต่อมาได้เรียนรู้และไม่หวนกลับไปหาความตกต่ำทางด้านจิตวิญญาณของพวกตนอีก
    ด้วยความเมตตาที่มีให้แก่กันอย่างแท้จริงจึงเป็นพื้นฐานให้สังคมแห่งนี้เกิดความสงบสุขอย่างถาวร
    เมื่อพ่อและแม่เป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ลูกๆในทุกครัวเรือน
    ลูกๆทุกคนเมื่อได้ออกมาจากครอบครัวมาสู่สังคมของตนเพื่อเรียนรู้ชีวิตที่กว้างใหญ่ขึ้น
    มันจึงทำให้ทุกคนมีคติที่ไม่แตกต่างกัน
    ทุกคนมีพื้นฐานทางด้านจิตวิญญาณแห่งความเป็นมนุษย์ที่เสมอเหมือนกันหมด
    สังคมจึงไม่ก่อเกิดปัญหาและมีศักยภาพเพียงพอที่จะพัฒนาไปสู่สังคมที่มีแต่ความเจริญในทุกๆด้าน






    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  5. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]




    บทที่ ๘๑ อุเบกขาสัมโพชฌงค์

    เมื่อรู้ว่าทุกสรรพสิ่งย่อมมีความ แปรผันหาความเที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้ในคุณลักษณะและคุณสมบัติเดิมแห่งมัน ทุกสรรพสิ่งจึงหาความเป็นอัตตาตัวตนที่แท้จริงไม่ได้ในขณะที่เราเข้าไปยึดใน ขณะนั้น ทุกสรรพสิ่งจึงย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่ง ความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น



    เมื่อรู้ว่าจิตที่ เกิดขึ้นในขณะนั้นที่เรานำมาพิจารณาไม่ว่าจะเป็นจิตที่เกิดขึ้นในหมวดกาย เวทนา จิต ธรรม ล้วนแต่เป็นจิตที่ปรุงแต่งขึ้นเป็นอัตตาตัวตนในภาวะนั้นๆจิตนี้มันก็คือ สิ่งๆหนึ่งในทุกสรรพสิ่งที่ย่อมมีความแปรผันหาความเที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้ใน คุณลักษณะและคุณสมบัติเดิมแห่งมัน จิตที่ปรุงแต่งขึ้นจึงหาความเป็นอัตตาตัวตนที่แท้จริงไม่ได้ในขณะที่เราเข้า ไปยึดในขณะนั้น จิตที่ปรุงแต่งขึ้นจึงย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความ หมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น

    เมื่อรู้ว่าจิตที่ เกิดขึ้นในขณะนั้นที่เรานำมาพิจารณาไม่ว่าจะเป็นจิตที่เกิดขึ้นในหมวดกาย เวทนา จิต ธรรม มันเกิดจากการเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้งห้าคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และรู้ว่าขันธ์ทั้งห้าคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นมันก็คือสิ่งๆหนึ่งในทุกสรรพสิ่งที่ย่อมมีความแปรผันหาความเที่ยงแท้แน่ นอนไม่ได้ในคุณลักษณะและคุณสมบัติเดิมแห่งมัน ขันธ์ทั้งห้าคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงหาความเป็นอัตตาตัวตนที่แท้จริงไม่ได้ในขณะที่เราเข้าไปยึดในขณะนั้น ขันธ์ทั้งห้าคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตา ตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น



    เมื่อรู้เช่นนี้แล้วความเป็นจริง ตามธรรมชาติย่อมปรากฏขึ้นมาว่าธรรมชาติที่แท้จริงย่อมคือความว่างเปล่าไร้ ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนและก็เพราะความเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่ง ที่ว่างเปล่าฯมันเป็นความปกติตามสภาพธรรมชาติแห่งมันอยู่แล้วนั้นมันจึงมี ความหมายถึงการวางเฉยในความเป็นกลางเพื่อให้ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่าง เปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนนั้นเป็นไปตามปกติแห่งความเป็น ธรรมชาติของมันได้เป็นการวางเฉยด้วยการรู้ถึงความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงและ ไม่กลับไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้งห้าให้กลายเป็นจิตที่ปรุงแต่งเป็นอัตตา ตัวตนขึ้นมาอีกด้วยอำนาจแห่งอวิชชาความไม่รู้ การที่ธรรมชาติมันได้ทำหน้าที่ในความเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่าง เปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนตามปกติของมันอยู่อย่างนั้นมันจึง เป็นไปเพื่อให้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ (การวางเฉยในความเป็นกลาง) ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นบ้าง เพื่อความเจริญยิ่ง เพื่อความบริบูรณ์แห่งการเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ (การวางเฉยในความเป็นกลาง) ที่เกิดขึ้นแล้วบ้าง





    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  6. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]




    บทที่ ๘๒ ไม้หอม

    บ้านทรงไทยที่เคยได้ปลูกไว้เมื่อเก้าร้อยปีที่แล้วมาบัดนี้มันเล็กและคับแคบเกินไป
    เพราะตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาปรากฏว่ามีผู้คนแวะมาเยี่ยมเยือนฉันอยู่อย่างสม่ำเสมอ
    โดยเฉพาะในตอนเย็นจะมีเพื่อนบ้านที่ใจดีทำกับข้าวอร่อยๆเอามาเผื่อแผ่อยู่แทบทุกวันจนที่บ้านฉันแทบไม่ต้องทำอะไร
    ส่วนใหญ่จะมีญาติสนิทมิตรสหายมานั่งพูดคุยเป็นเพื่อนด้วยจนถึงสองสามทุ่มแล้วจึงจะกลับกันไป
    ปีนี้ฉันจึงได้ต่อเติมบ้านเรือนไทยออกไปอีกหลายหลังส่วนใหญ่จะทำเป็นเรือนรับรองและมีซุ้มไม้เลื้อยเพื่อเอาดอกไม้กลิ่นหอมๆมาปลูก
    กลิ่นหอมของดอกไม้ที่โชยมาอ่อนๆทำให้เรารู้สึกชื่นใจมันบ่งบอกถึงความเป็นไทยแท้
    จำปูน จำปี จำปา การเวก มณฑา เป็นไม้ต้นขาเก่าแก่ประจำที่ฉันต้องเสาะแสวงหามาปลูกตามนิสัยของตนเองให้จนได้
    ถึงแม้ต้นไม้เหล่านี้จะกลายพันธุ์ไปบ้างตามกาลเวลาแต่กลิ่นหอมของพวกมันยังคงหอมในแบบฉบับของตัวมันเองอยู่เหมือนเดิม
    ไม้ เลื้อยบางพันธุ์ที่ไม่มีกลิ่นหอมแต่มันออกดอกมาได้อย่างสวยงามมากจนทำให้ฉัน หลงใหลจนต้องเอาดอกไม้ป่าบางชนิดเหล่านี้มาปลูกไว้ให้มันเลื้อยพันขึ้นไปบน รั้วของหน้าบ้าน
    ส่วนปาริชาติหรือทองหลางนั้นฉันปลูกเอาไว้รอบบ้านฉันได้โค่นทิ้งและปลูกขึ้นมาแทนใหม่อีกก็หลายรุ่นแล้ว
    มันเป็นต้นไม้มงคลซึ่งเป็นตัวแทนจิตวิญญาณแห่งฉันเสมอมาและตลอดไป
    ฉันเคยได้สังเกตถึงความเป็นไปในแต่ละหมู่บ้าน
    ตั้งแต่สังคมแห่งนี้ได้เริ่มก่อสร้างนิคมของพวกตนขึ้นมาใหม่ๆ
    ถึงแม้ในตอนนั้นทุกคนยังมีความขัดสนและความไม่สะดวกในการดำเนินชีวิต
    แต่ทุกคนก็พยายามออกเสาะหาดอกไม้ป่าซึ่งมีความสวยและแปลกมาปลูกไว้ในบริเวณบ้านของตน
    น่าจะเป็นเพราะวิสัยของความเป็นมนุษย์ที่ชอบอะไรที่มันดูแล้วมีความเจริญหูเจริญตา
    ฉันยังเคยได้รับของฝากจากพวกที่ชอบเข้าป่าและพวกเขาเอาดอกไม้สวยๆพวกนี้ติดมือมาให้ฉันอยู่บ่อยๆ
    มันจึงบ่งบอกได้ว่าแท้จริงภายในจิตใจอันลึกๆของมนุษย์นั้นมีความอ่อนโยนแอบซ่อนอยู่
    และรอวันเผยธาตุแท้ของความเป็นมนุษย์นั้นเองออกมาเมื่อได้พบเจอสิ่งที่ตนเองชอบและถูกใจ
    ดอกไม้ จึงเป็นสิ่งที่ธรรมชาติได้เต็มใจมอบไว้ให้แก่มวลหมู่มนุษยชาติเพื่อเป็น เพื่อนแท้ทำให้มนุษย์ได้คลายเหงาและใช้เวลาพักผ่อนหย่อนใจกับสิ่งสวยงามของ โลกสิ่งนี้
    ไม้หอมทุกชนิดจึงไม่เคยตายไปจากใจของฉันเลย




    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  7. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]




    บทที่ ๘๓ โพชฌงค์ธรรม

    โพชฌงค์ธรรม คือ ธรรมที่ทำให้รู้แจ้งถึงความเป็นจริงตามธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตน เป็นธรรมในทุกส่วนแห่งความพร้อมสรรพของธรรมสามัคคี ๗ ประการ เพราะฉะนั้นธรรมทั้ง ๗ นั้นจึงชื่อว่า "สัมโพชฌงค์".คือ
    สติสัมโพชฌงค์
    ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
    ปีติสัมโพชฌงค์
    ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
    สมาธิสัมโพชฌงค์
    อุเบกขาสัมโพชฌงค์
    พระ พุทธองค์มีพุทธประสงค์ให้น้อมนำโพชฌงค์ธรรมมาพิจารณาเพื่อเป็นไปตามความเป็น ปกติของธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัว ตนด้วยการพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในแห่งตนบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกที่พึงเห็นจากบุคคลอื่นบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมในธรรมบ้าง ทั้งนี้เพื่อความเป็นไปตามปกติแห่งธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้นด้วยความเป็นเช่นนั้นของมัน เองอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว




    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  8. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]





    บทที่ ๘๔ งานเททอง

    หลังฤดูดำนาและปลักกล้าข้าวเสร็จแล้วในปีนี้ฉันจึงได้ปรึกษาหารือกับหัวหน้าหมู่บ้าน
    เพื่อเรียกประชุมลูกบ้านทุกคนที่เรือนไทยของฉันภายในอาทิตย์หน้า
    ฉันได้ให้บริวารส่งข่าวไปถึงบุคคลสำคัญในทุกทั่วภูมิภาคที่อยู่กระจัดกระจายทั่วโลกเพื่อให้เดินทางมาพูดคุยกันในครั้งนี้ด้วย
    เมื่อวันนั้นมาถึงฉันจึงได้เริ่มการสนทนาขึ้นซึ่งเรื่องที่จะพูดคุยนี้ทุกคนรบเร้ามาตั้งนานแล้ว
    ฉันได้บอกกับทุกคนว่าเพราะพวกเรามีจิตวิญญาณที่ดีร่วมกันเพื่อช่วยกันก่อร่างสร้างสังคมแห่งนี้ขึ้นมาบนโลกตั้งแต่ในคราวก่อนโน้น
    ใน กาลข้างหน้าด้วยจิตใจที่เริ่มเข้าสู่ความเป็นปกติสิ่งๆนี้มันก็จะเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้บรมมหาโพธิสัตว์ลงมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้านามว่า "เมตไตรย"
    และ ฉันยังได้กล่าวให้ทุกคนอย่ามีความประมาทเพราะมันถึงเวลาในยุคสุดท้ายนี้แล้ว เมื่อหมดศาสนาแห่งเมตไตรยโลกใบนี้ก็จะอาศัยอยู่ต่อไปมิได้
    ไฟประลัยกัลป์จะมาเยือนโลกใบนี้และทำลายทุกอย่างที่ขวางหน้า
    ฉันจึงได้เริ่มเล่าประสบการณ์ที่ผ่านมาในหลายๆเรื่องของเส้นทางนี้ว่ามันมีแต่ความทุกข์ยากแค่ไหนกว่าจะมีวันนี้ของพวกเราขึ้นมาได้
    ในหลายๆเรื่องที่ฉันได้เล่าออกไปมันทำให้ทุกคนสลดใจนั่งนิ่งเงียบ
    และ เมื่อห้วงเวลานี้มันเป็นเขตบุญอันแท้จริงของพวกท่านฉันจึงได้ขอร้องให้พวก เขาใช้ชีวิตด้วยความเป็นปกติและมีความสุขบนวิถีทางที่เรียบง่าย
    ขอให้ทุกคนพึงพอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่และช่วยเหลือซึ่งกันและกันอย่าได้ทอดทิ้งกันไปไหนเมื่อใครบางคนได้รับกรรมวิบาก
    เพราะในขณะนี้อายุมนุษย์ยืนยาวเพียงสองร้อยปีเอง
    แต่เท่าที่ฉันได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนผู้คนในยุคนี้ต่างก็พอมีสุขภาพที่ดีกันอย่างถ้วนหน้า
    เพราะทุกคนรู้จักรักษาร่างกายและจิตใจของตนเองให้ดีอยู่อย่างสม่ำเสมอ
    ทุกคนจะมีสวนสมุนไพรที่หลังบ้านของตนกันอยู่ในทุกครัวเรือน
    เพราะ ฉันมีความรู้ตรงนี้เป็นอย่างดีและได้แนะนำให้ชาวบ้านได้เก็บสมุนไพรบางตัวมา ปลูกทิ้งไว้ที่บ้านบ้างเพราะในยามนี้เทคโนโลยีทางด้านการรักษายังไม่ค่อยดี นัก
    แต่ฉันมีความเชื่อมั่นในความที่มนุษย์นั้นเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติและธรรมชาติก็มีหน้าที่รักษาชีวิตของมนุษย์อยู่แล้ว
    ยาที่ดีที่สุดก็คือตัวยาที่ได้มาจากการกินผักผลไม้ที่มีคุณค่าทางด้านโภชนา
    และถ้าหากร่างกายได้ทรุดโทรมบกพร่องไปเราก็ควรเน้นหาตัวยาที่มันมีอยู่ในพืชพรรณตามธรรมชาติอยู่แล้ว
    ไปๆมาๆทุกคนกลับสนใจเรื่องสมุนไพรและเสาะหากันมาปลูกอย่างมากมายหลายชนิด
    และ ฉันก็ได้พูดถึงเรื่องที่ฉันดำริจะเททองหล่อรูปสำริดขึ้นมาเพื่อเป็นตัวแทนใน คุณงามความดีแห่งพวกเราทุกคนในฐานะที่มีจิตวิญญาณแห่งเมตไตรยติดตัวมา
    รูป หล่อสำริดนี้ฉันตั้งใจจะรมดำทั้งองค์และจะเททองบริสุทธ์เป็นวงแหวนคาดที่ ศีรษะเอาไว้และตั้งชื่อรูปหล่อสำริดนี้ว่า "จิตวิญญาณแห่งเมตไตรย"
    และจะให้ชาวบ้านทุกคนช่วยกันสร้างวิหารหลังใหญ่เพื่อเป็นที่ประดิษฐานของรูปหล่อองค์นี้ด้วย
    ฉันได้บอกกับชาวบ้านทุกคนว่าเดิมทีฉันตั้งใจจะหล่อไว้ตั้งแต่ยุคต้นเผ่าพันธุ์ของพวกเมตไตรย
    แต่ก็ไม่ได้ทำเพราะผู้คนในยุคนั้นยังไม่มีความพร้อมและทุกอย่างก็ยังไม่เข้าที่เข้าทาง
    ทองที่หล่อคาดศีรษะนั้นเป็นทองเก่าแก่ที่ฉันเก็บสะสมมาตั้งแต่สมัยศาสนาพุทธโคดม
    มันเป็นทองสุโขทัยซึ่งเป็นทองเนื้อเก้าและหาที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว
    ฉันบอกชาวบ้านว่าฉันขอทำบุญเองทั้งหมดในส่วนทองที่จะเทนั้น
    หลังจากนั้นต่อมางานปั้นด้วยหุ่นขี้ผึ้งและการออกแบบจึงเป็นหน้าที่ของฉันเองแต่ผู้เดียว
    เมตไตรยที่นั่งตรัสรู้ ณ ควงต้นกากะทิงต้นใหญ่ต้นนั้นจึงถูกฉันส่องดูด้วยอนาคตังสญาณอยู่หลายครั้งกว่างานปั้นและแกะแบบจะเสร็จ
    ทุกคนเต็มใจที่จะไปขนดินในจอมปลวกและนวดผสมน้ำจนเหนียวข้นให้กับฉัน
    งานฝีมือที่ถูกเสกสรรขึ้นชิ้นนี้มันเต็มเปี่ยมไปด้วยจิตวิญญาณแห่งพุทธะของผู้ปั้นอย่างฉันเช่นกัน
    ทุกคนล้วนแต่ถามว่างานนี้ออกมาสวยมากและอาจารย์เอาแบบมาจากไหน
    ทุกคนบอกว่าเมื่อมองรูปปั้นนี้แล้วเกิดความศรัทธาขึ้นมาอย่างทันทีทันใด
    "จิตวิญญาณแห่งเมตไตรย" องค์นี้มีความงดงามปานว่าจากฟากฟ้าสุลาลัยมายังภาคพื้นจรดผืนแผ่นดินแห่งวิมานแมนเมืองมนุษย์




    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  9. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]




    บทที่ ๘๕ มายาแห่งการปฏิบัติ




    ปกติ ของความเป็นมนุษย์ย่อมมีสิ่งที่ตนเองต้องการและไม่ต้องการ ยามใดเมื่อมีความต้องการในสิ่งๆหนึ่งขึ้นมายามนั้นมนุษย์ก็ล้วนแต่ลงมือแสวง หาให้ได้มาถึงสิ่งๆนั้น ยามใดที่ไม่ต้องการสิ่งๆหนึ่งขึ้นมายามนั้นมนุษย์ก็ล้วนแต่ผลักไสไล่ส่ง สิ่งๆนั้นให้พ้นไปจากตนเอง การปฏิบัติธรรมก็เช่นเดียวกันหากนักปฏิบัติคิดว่าตนเองยังไม่มีสิ่งๆหนึ่ง ที่เรียกว่าภาวะธรรมที่ตนเองอยากได้มานักปฏิบัติก็เริ่มแสวงหาธรรมนั้นๆให้ เกิดขึ้นแก่ตนด้วยวิธีการต่างๆที่เข้าใจไปว่าสิ่งที่ตนเองมีอยู่คือภาวะธรรม ที่ตนเองไม่ต้องการและต้องเอาภาวะธรรมนี้ออกไปจากตนให้หมดสิ้นและมีความดำริ ริเริ่มเพื่อให้ได้ภาวะธรรมใหม่ๆเข้ามาให้สมกับความต้องการแห่งตน ด้วยความเข้าใจผิดของนักปฏิบัติที่เข้าใจไปว่าธรรมชาติที่แท้จริงนั้นย่อม เป็นสิ่งๆหนึ่งที่จะเกิดขึ้นได้ด้วยการเอาธรรมที่เป็นภาวะปรุงแต่งทั้งปวง ออกไปให้หมดเท่าที่ตนเองมีอยู่และค่อยๆปฏิบัติธรรมไปที่ละขั้นทีละตอนเป็น ลำดับขั้นตอนเพื่อให้ธรรมชาติที่แท้จริงเกิดขึ้นและคงอยู่กับตนเองได้ตลอดไป ก็เมื่อความเป็นจริงตามธรรมชาตินั้นมันคือความว่างเปล่าที่บริบูรณ์ถึงความ เต็มรอบโดยตัวมันเองแห่งความเป็นธรรมชาตินั้นอยู่แล้วและธรรมชาติมันก็มิใช่ สิ่งๆหนึ่งอันจะเป็นการเกิดขึ้นและเป็นการได้มา มันไม่มีสิ่งใดๆจะมาเกิดขึ้นในความเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯ นี้ได้แม้กระทั่งสิ่งๆนั้นเองที่เรียกว่า "สิ่งอันเป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นเพราะการปฏิบัติของนักปฏิบัติธรรมเอง" มันก็ไม่สามารถจะเกิดขึ้นมาในความเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯ อย่างแท้จริงนี้ได้เลย สิ่งอันเป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นเพราะการปฏิบัติของนักปฏิบัติธรรมเองมันจึง เป็นมายาแห่งอัตตาตัวตนที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว ก็ความเป็นจริงตามธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่ง ความเป็นอัตตาตัวตนนั้นมันคือความว่างเปล่าฯที่แท้จริงมันเป็นธรรมชาติที่ พ้นจากภาวะธรรมอันคือความปรุงแต่งทั้งปวงได้โดยสภาพธรรมชาติของมันเองอยู่ แล้วอยู่อย่างนั้น มันจึงเป็นความอิสระแท้จริงโดยที่มันไม่ต้องการให้ใครมายุ่งเกี่ยวมาแก้ไขมา ตกแต่งเพิ่มเติมในความเป็นมันขึ้นมาอีก


    เมื่อเข้าใจแล้วว่า "จิตที่ปรุงแต่งขึ้นด้วยการยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้งห้าและสิ่งที่เพียงแค่ ประกอบเป็นเราขึ้นมาในความเป็นขันธ์ทั้งห้าคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และทุกสรรพสิ่งในโลกใบนี้" ก็ล้วนแต่คือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็น อัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้น เมื่อเข้าใจแล้วว่าธรรมชาติที่แท้จริงนั้นมันเป็นไปด้วยความเป็นปกติตาม หน้าที่แห่งความเป็นธรรมชาติของมันเองได้อยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว มันจึงเป็นความอิสระแท้จริงที่ไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเติมในความที่มันบริบูรณ์ เต็มเปี่ยมอยู่แล้ว การปฏิบัติธรรมไปด้วยการค่อยๆเอาอัตตาตัวตนออกไปอยู่เป็นนิจด้วยการค่อยๆ พิจารณาในทีละส่วนๆและลงมือกระทำเพิ่มเติมเอาธรรมที่ละส่วนๆเพิ่มเข้ามา ว่านี่คือสติของเรา ว่านี่คือสมาธิของเรา ว่านี่คือปัญญาของเรา ว่านี่คือความเพียรของเรา อยู่เป็นนิจแล้วเข้าใจว่าอินทรีย์แห่งธรรมเหล่านี้จะทำให้ธรรมชาติมัน บริบูรณ์พร้อมขึ้นมาได้และการปฏิบัติไปตามลำดับขั้นตอนอยู่แบบนั้นตลอดเวลา แล้วเข้าใจว่ามันคือความเพียรที่แท้จริงด้วยการปฏิบัติไปแบบไม่หยุดหย่อนมัน จึงเป็นได้แค่ "มายาแห่งการปฏิบัติ" แต่เพียงเท่านั้นหาทำให้ธรรมชาติที่แท้จริงเกิดขึ้นไม่





    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  10. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]





    บทที่ ๘๖ ก้าวย่างแห่งสัจจะวาจา


    กาลเวลาที่ล่วงผ่านเลยมามันทำให้ฉันแทบจะลืมเลือนเรื่องราวในอดีตทุกสิ่งทุกอย่าง
    บางเรื่องที่เคยเก็บซ่อนเอาไว้ลึกๆในใจและเป็นเรื่องที่ไม่ดีมันก็จืดจางหายไปกับธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯของฉัน
    ส่วนเรื่องที่ประทับใจก็ขุดคุ้ยขึ้นมาเล่าให้คนอื่นฟังจนเป็นฟิล์มหนังม้วนเก่าที่ไหม้ขาดเพราะฉายอยู่หลายรอบ
    ฉันก็เป็นแบบนี้มานานและจะเป็นแบบนี้ตลอดไปเพราะไม่รู้จะเปลี่ยนแปลงอะไรอีกแล้ว
    มีก็แต่พยายามปรับความเป็นปกติของธรรมชาติแห่งใจให้ดีที่สุดเพื่อไปให้ได้เป็นหนึ่งเดียวกันกับพวกเขาในหมู่บ้านนี้
    ถ้านับตั้งแต่ที่ฉันได้เรียนรู้และรู้ซึ้งถึงความเป็นธรรมชาติของมนุษย์และความเป็นพุทธะที่แท้จริง
    กาลเวลาตรงจุดนั้นมันก็ได้พาชีวิตของฉันล่วงเลยผ่านมานานแสนนานมากแล้ว
    ภาพความทรงจำเก่าๆอันรางเลือนค่อยๆปรากฏเด่นชัดขึ้นมาในสติที่พึงดำริระลึกถึงเรื่องราวในภพชาติครั้งนั้น
    มัน เป็นภาพแห่งจังหวัดอุบล ทุ่งศรีเมือง ตระการพืชผล เขมราฐ ริมฝั่งโขงที่วัดปากแซง บ้านบก บักหำลูกชายของฉัน บ้านโพนแพง บ้านหนองบัว บ้านถ้ำตาลาว บ้านค้อน้อย บ้านค้อใหญ่ และภูเขาลูกนั้นที่ฉันเคยตั้งชื่อไว้เล่นๆในใจว่า "ภูแห่งสัจจะ"
    จริงๆแล้วภูเขาลูกนี้เป็นที่ตั้งของวัดชื่อวัดภูถ้ำทอง
    ในภพชาตินั้นฉันเองได้ลงมาเกิดเป็นมนุษย์ในยุคกึ่งพุทธกาลแห่งศาสนาพุทธโคดม
    เป็นชนชาวไทยและเรียนจบทางด้านกฎหมาย จาก นิติศาสตร์ จุฬาฯ
    บุญในอดีตชาติก่อนหน้านั้นได้นำพาฉันให้เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา
    และได้เดินทางจาริกธุดงค์มายังภูแห่งนี้
    ฉันได้เข้าพักอาศัยที่กุฏิปูนหลังน้อยริมสุด
    กุฏินี้มีขนาดเล็กมากแค่พอได้พลิกซ้ายทีพลิกขวาทีเวลานอนจำวัด
    ด้วยความที่กุฏินี้มันมีขนาดเล็กเกินไปและบนเพดานห้องมีตุ๊กแกภูเขาและจิ้งจกตัวใหญ่ได้มาอาศัยอยู่อย่างแออัดเกินกว่าสิบตัว
    มันจึงทำให้ที่พื้นกุฏิมีแต่ขี้ตุ๊กแกและขี้จิ้งจกตกลงมาเต็มเกลื่อนไปหมดเหมือนดวงดาวที่พากันตกลงมาจากท้องฟ้า
    ฉันจึงเรียกกุฏิหลังนี้ว่า "กุฏิฝนดาวตก"
    ใน พรรษานั้นฉันได้ออกเสาะหากิ่งทองหลางหรือปาริชาติมาปักชำอยู่ที่ใต้ถุนกุฏิ และได้สั่งซื้อต้นกวาวคำหรือทองกวาวคำจากเชียงใหม่มาสามต้น
    ในปีนั้นจึงได้ปลูกต้นไม้เหล่านี้ทิ้งไว้เป็นอนุสรณ์ที่หน้าบริเวณกุฏิและริมทางเดิน
    ฉันได้เข้าอยู่กรรมฐานตลอดพรรษาสามเดือนและไม่ค่อยออกมารับบาตร
    กุฏิที่อยู่นี้เป็นกุฏิหลังสุดท้ายที่อยู่ในแนวป่าที่ลึกที่สุดของทางเดินในเขตกรรมฐานจึงไม่ค่อยมีผู้คนเดินเข้ามารบกวน
    จะมีแต่พวกพ่อออกแม่ออกซึ่งเป็นชาวบ้านในละแวกนั้นมาหาเก็บเห็ดระโงกซึ่งขี้นอยู่ในป่าชายเขาหลังกุฏิ
    เห็ดจะออกขึ้นมาอย่างชุกชุมเมื่อฝนได้ตกลงมา
    การเข้าอยู่กรรมฐานที่ภูลูกนี้มันทำให้ฉันได้เข้าถึงหัวใจแห่งคำสอนของพุทธศาสนาอย่างแท้จริง
    ก็เพราะความเป็นมนุษย์และความสามารถของสัตว์มนุษย์ผู้มีปัญญาจึงเกิดมหาบัณฑิตและพระพุทธศาสนาขึ้นมาบนโลกใบนี้
    พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาซึ่งชี้ให้เห็นถึงแก่นแท้ในความเป็นธรรมชาติของมนุษย์
    เพราะความสำนึกของฉันในครั้งนั้นฉันจึงได้ตั้งสัจจะวาจาไว้ว่านับแต่ต่อนี้ไปในทุกย่างก้าวของฉัน
    ฉันจะก้าวไปด้วยคุณงามความดีของฉันเองเท่าที่ความสามารถของฉันจะมีได้
    และ เมื่อถึงกาลออกพรรษาในปีนั้นฉันได้เดินก้าวย่างออกมาจากที่ภูแห่งสัจจะลูก นั้นด้วยรอยเท้าที่มีรูปหอยสังข์ใหญ่ขึ้นเต็มอยู่ใต้ฝ่าเท้าของฉันทั้งสอง ข้าง
    มันพึ่งขึ้นมาเมื่อฉันได้มาอยู่ที่วัดแห่งนี้เพราะด้วยความตั้งใจ อันแรงกล้าของฉันที่มีต่อความเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะและที่มีต่อความเป็น ธรรมชาติอันแท้จริงของความเป็นมนุษย์
    เขมราฐวันนั้นกับชีวิตของฉันในวันนี้
    มันทำให้ฉันคิดถึงใครๆอีกหลายคนที่เคยมีความปรารถนาดีต่อกันในอดีตที่ผ่านมา
    บางทีสายฝนที่กำลังตกลงมาพรำๆในตอนนี้มันอาจทำให้ฉันนึกถึงหน้าใครบางคน
    รอยหอยสังข์ใหญ่ใต้ฝ่าเท้าที่ฉันได้ยกมันขึ้นมาดูในตอนนี้ก็เช่นกัน
    มันทำให้ฉันนึกถึงความตั้งใจของฉันในวันนั้นอยู่เสมอมา
    ภาพ แห่ง อุบล ประเทศไทย ค่อยๆเลือนหายไปพร้อมกับเสียงของเม็ดฝนขนาดใหญ่ที่ตกลงมากระทบหลังคาอย่าง หนักและสาดเข้ามาจนฉันต้องรีบเดินหลบเข้ามาอยู่ในห้องนอน


    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  11. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]




    บทที่ ๘๗ มันเป็นเพียงแค่จิต


    เมื่อ พิจารณาและรู้ตามความเป็นจริงแล้วว่า "จิตที่ปรุงแต่งขึ้นด้วยการยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้งห้าและสิ่งที่เพียงแค่ ประกอบเป็นเราขึ้นมาในความเป็นขันธ์ทั้งห้าคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และทุกสรรพสิ่งในโลกใบนี้" ก็ล้วนแต่คือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็น อัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้น ธรรมชาติที่แท้จริงนั้นมันจึงเป็นไปด้วยความเป็นปกติตามหน้าที่แห่งความเป็น ธรรมชาติของมันเองอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว การพิจารณาว่าทุกสรรพสิ่งมีแต่ความแปรผันไม่เที่ยงแท้แน่นอนนั้นเป็นการ พิจารณาเพื่อให้ได้รู้ถึงความเป็นจริงแห่งธรรมชาติที่มันเป็นธรรมชาติของทุก สรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น อยู่แล้ว มันจึงไม่ใช่การพิจารณาเพื่อให้ธรรมชาติเกิดขึ้นเป็นภาวะขึ้นมาเพราะการลง มือปฏิบัติ มันจึงไม่ใช่การพิจารณาเพื่อต้องทำอะไรปฏิบัติอย่างไรตรงไหนเพื่อให้ ธรรมชาตินี้เกิดขึ้นตามความสามารถของนักปฏิบัติ การที่ธรรมชาติมันเป็นไปด้วยความเป็นปกติตามหน้าที่แห่งความเป็นธรรมชาติของ มันเองอยู่อย่างนั้นอยู่แล้วธรรมชาติมันจึงเป็นสิ่งที่ไม่มีการเริ่มต้นมัน มิใช่การเริ่มต้นและรอคอยจุดจบเพื่อความสมบูรณ์พร้อมของความเป็นธรรมชาติที่ เกิดจากความคิดความเข้าใจผิดอันยุ่งยากและเป็นส่วนเกินในความเป็นธรรมชาติไป ของนักปฏิบัติเอง ก็ธรรมชาติที่แท้จริงมันสมบูรณ์ด้วยสัจจะพื้นฐานในทุก ๆ กรณีอยู่แล้วซึ่งหมายถึง "ทุกสรรพสิ่ง" ล้วนแต่คือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตา ตัวตนของมันอยู่อย่างนั้นมาตั้งแต่แรกเริ่มเดิมทีโดยหาจุดเริ่มต้นไม่ได้และ หาจุดสิ้นสุดอันจะทำให้ธรรมชาตินี้สลายไปก็ไม่ได้ ทุกสรรพสิ่งที่มันล้วนแต่คือความว่างเปล่าฯมันคือสัจธรรมอันสมบูรณ์เต็ม เปี่ยมอยู่แล้วมันหามีสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่จะเป็นอัตตาตัวตนในความเป็นจริง แห่งธรรมชาตินี้ได้เลยธรรมชาติที่แท้จริงมันสมบูรณ์ด้วยสัจจะพื้นฐานในทุก ๆ กรณีอยู่แล้วก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมตกแต่งอะไรให้แก่ธรรมชาติที่แท้จริง ซึ่งสมบูรณ์พร้อมอยู่แล้วนั้นด้วยการปฏิบัติธรรมต่าง ๆไปตามความเข้าใจผิดของนักปฏิบัติและการปฏิบัติธรรมที่เพิ่มเติมเข้ามานั้น มันก็ล้วนแต่เป็น "จิตที่ปรุงแต่งไปในการปฏิบัติธรรมตามความเข้าใจผิดของนักปฏิบัติ" อยู่อย่างนั้นตลอดเวลา
    จิตมันก็เป็นเพียงจิตที่ปรุงแต่งขึ้นมาตามเหตุ ตามปัจจัยมันเท่านั้น จิตที่ปรุงแต่งขึ้นมาตามเหตุตามปัจจัยถึงแม้มันจะมีความหมายไปในทิศทางใดทิศ ทางหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นจิตที่มีความหมายมีคุณค่าอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นจิตที่มีความหมายไปทางด้อยคุณค่าอย่างน่ารังเกียจ ไม่ว่าจิตนั้นจะบ่งบอกถึงความถูกต้องความเหมาะสม ไม่ว่าจิตนั้นจะบ่งบอกถึงความผิดพลาดอย่างมากมาย สิ่งเหล่านี้ก็ล้วนแต่เป็นจิตที่ถูกปรุงแต่ขึ้นด้วยเหตุด้วยปัจจัยในเหตุผล ใดเหตุผลหนึ่งเท่านั้นและความเป็นจริงแล้วจิตต่างๆเหล่านี้ที่มีความหมายแตก ต่างกันแต่มันก็ล้วนแต่คือจิตที่ถูกปรุงแต่งขึ้นและมันก็มีความแปรปรวนไม่ เที่ยงแท้แน่นอนก็ไม่ควรเข้าไปยึด จิตต่างๆเหล่านี้แท้จริงมันก็คือธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าของมันอยู่ แล้วอยู่อย่างนั้น จิตมันคือปรากฏการณ์หนึ่งๆที่ถูกปรุงแต่งขึ้นด้วยเหตุและปัจจัยหนึ่งๆเช่น กัน จิตมันจึงไม่ต้องการข้อวัตรปฏิบัติใดๆมาบีบบังคับมันให้เป็นไปในทิศทางใดทิศ ทางหนึ่งอีกเลยตามความต้องการตามความเข้าใจผิดของนักปฏิบัติเพียงแค่มองมัน ตามความเป็นจริงเท่านั้นว่าจิตนี้มันหามีตัวตนไม่จิตมันก็เป็นเพียงธรรมชาติ ของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่ อย่างนั้นก็เพียงพอแล้ว สิ่งใดๆในอดีตที่เราเคยทำผิดพลาดมาและถูกบันทึกไว้ในจิตเป็นจิตที่เราระลึก ถึงความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงนั้นอยู่เสมอก็เพียงแต่ในวันนี้เราได้มีความ สำนึกในความเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะของเราแล้วเราก็ควรที่จะให้โอกาสตัวเราเอง อีกสักครั้งด้วยการสำนึกในสิ่งที่ได้ทำผิดพลาดลงไปและพิจารณาถึงความเป็น จริงตามธรรมชาติว่าจิตที่เกิดจากความผิดพลาดนั้นมันก็หามีความเป็นอัตตาตัว ตนที่แท้จริงไม่จิตที่เกิดจากความผิดพลาดนั้นแท้ที่จริงมันย่อมคือธรรมชาติ ของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้น ขอให้เราพิจารณาอย่างตรงไปตรงมาถึงความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงของจิตที่มี ความหมายต่างๆไปในทางที่ดีและไม่ดีว่ามันเป็นเพียงธรรมชาติของทุกสรรพสิ่ง ที่ว่างเปล่าฯอย่างแท้จริงแล้วแต่เพียงเท่านั้น การหลบหลีกปรากฏการณ์ทางจิตด้วยการหาข้อวัตรปฏิบัติมาให้แก่ตนเองซึ่งมิใช่ หนทางที่จะทำให้เห็นความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงได้เลยและยังคิดต่อไปอีกว่า การหลีกเลี่ยงด้วยข้อวัตรปฏิบัตินั้นจะนำมาซึ่งความสงบและเป็นการทำให้เกิด ความก้าวหน้าและสิ่งเหล่านี้จะนำมาซึ่งความหลุดพ้นมันจึงเป็นการกระทำที่ถูก ปิดกั้นมิให้รู้ถึงความเป็นจริงตามธรรมชาติได้เลย



    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  12. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]





    บทที่ ๘๘ คุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์

    ฉันได้พร่ำสอนลูกศิษย์ของฉันว่า
    ชีวิตของมนุษย์ทุกคนที่ได้เกิดมานั้นล้วนเป็นสิ่งที่มีคุณค่าประเสริฐยิ่ง
    เหตุและปัจจัยที่จะทำให้เราได้ลงมาเกิดเป็นมนุษย์ในแต่ละยุคได้นั้นมันเป็นเรื่องที่ยากลำบากอย่างยิ่ง
    เราต้องมีความถึงพร้อมในเหตุและปัจจัยอันบ่งบอกถึงระดับบุญแห่งความเป็นมนุษย์ที่มีจิตใจสูงยิ่งในความเป็นจิตปกติ
    ฉันได้บอกกับทุกคนว่าทุกคนที่ได้เกิดมานั้นมีบุญและบารมีเสมอเหมือนเท่ากันหมดในแต่ละคน
    เพราะความเป็นมนุษย์นั้นมิได้ตัดสินกันเพียงรูปภายนอก
    แต่ที่มนุษย์ได้เรียกตนเองว่าเป็นมนุษย์ซึ่งมีความหมายว่าสัตว์ผู้มีใจสูงด้วยคุณงามความดีที่ประทับอยู่ในหัวใจของแต่ละคน
    มันจึงบ่งบอกได้ว่าทุกคนที่ได้เกิดมาก็เพราะบุญแห่งความดีที่ตนเองได้สั่งสมมาในอดีตไว้อย่างดีแล้วนั่นเอง
    ฉัน ได้บอกกับลูกศิษย์บางคนไปว่าอย่าได้นึกน้อยใจตนเองที่เกิดมาแล้วมีฐานะยากจน และไม่มีชื่อเสียงเงินทองเหมือนกับคนอื่นๆที่เขามีหน้ามีตาในสังคม
    ฉันจึงได้เล่าเรื่องราวบางอย่างของอดีตโพธิสัตว์ทั้งหลายที่ลงมาทำบุญบารมีแห่งตนให้กับลูกศิษย์ของฉันฟังว่า
    โพธิสัตว์บางดวงที่ลงมาเกิดและก็มีฐานะยากจนขัดสนอย่างมาก
    แต่พวกคนเหล่านี้ก็มิได้ออกไปจากเส้นทางแห่งความเป็นมนุษย์ผู้มีใจประเสริฐของตนเองเลย
    ความทุกข์ยากลำบากทั้งหลายที่ประดังเข้ามาถาโถมชีวิตล้วนแต่เป็นบทพิสูจน์หัวใจของบัณฑิตทั้งหลายเหล่านี้
    เพราะใจซึ่งมั่นคงดีแล้วในคุณงามความดีที่ตนเองมีสัจจะวาจาพึงระลึกถึงได้อยู่อย่างสม่ำเสมอ
    ถึงแม้บางคราจะหนักหนาสาหัสจนกระทั่งความตายก็มาเยือนอยู่ตรงหน้าแทบจะพรากเอาชีวิตจากไปเดี๋ยวนั้น
    แต่มันก็มิได้ทำให้ใจของใครบางคนได้หวั่นไหวเปลี่ยนแปลงไป
    คนๆนั้นก็ยังได้ทำหน้าที่ในความเป็นมนุษย์ที่ปกติของตนเองได้อยู่อย่างมั่นคงไม่มีข้อบกพร่อง
    เพราะ ความตั้งใจไว้ดีแล้วในทุกๆขณะแห่งการก้าวย่างไปข้างหน้าของตนมันจึงเป็นก้าว ย่างที่มีคุณค่ามากมายที่ปรากฏอยู่ในใจของตนเองในขณะนั้นอยู่แล้ว
    นั่นแหละคือความเป็นมนุษย์ที่แท้จริงและคือหัวใจของเขา
    หากคิดว่าตัวเราเองนั้นมีความทุกข์ยากเหลือคณานับ
    ก็ ขอให้พึงคิดพิจารณาถึงคนอื่นที่เขามีความทุกข์ยากลำบากกว่าเราหลายเท่าตัว ความทุกข์ยากที่เราได้ผจญมาและคิดว่าตัวของเราเองนั้นน่าสังเวชทุกขเวทนา หนักหนา
    บางทีความทุกข์ยากของเราอาจเป็นเพียงแค่ฝุ่นละอองเล็กๆที่ปลิด ปลิวไปในอากาศแต่เพียงเท่านั้นถ้าหากเปรียบเทียบกับความทุกข์ยากทั้งมวลที่ เกิดขึ้นบนโลกยากไร้ใบนี้
    จงอย่าท้อแท้และหัดมีกำลังใจให้กับตนเองเพื่อ ที่จะใช้ชีวิตก้าวไปข้างหน้าอย่างมีคุณค่าและมีความหมายอย่างยิ่งให้กับตน เองในทุกย่างก้าว
    ขอให้ชีวิตของแต่ละคนนั้นเป็นชีวิตที่น่าจดจำและได้เป็นที่พึ่งพิงแก่บุคคลอื่นๆในโอกาสข้างหน้า
    ที่เขาได้หนีร้อนมาพึ่งเย็นภายใต้ร่มเงาแห่งชีวิตของเราที่เหมือนไม้ใหญ่ที่ยืนต้นมีความมั่นคงและแผ่กิ่งก้านสาขาน้อยใหญ่ออกไป
    ฉันจึงให้โอวาทแก่ลูกศิษย์แบบนี้ในทุกๆโอกาสที่พวกเขามาเยี่ยม
    ขอให้ทุกคนเป็นคนดี
    และดำเนินชีวิตไปตามปกติแห่งความผาสุกที่เกิดขึ้นในใจแห่งตนเท่านั้นก็พอ
    คุณ ค่าแห่งความเป็นมนุษย์วัดกันแค่ตรงนี้ ฉันจึงเขียนบทกลอนเก่าๆตั้งแต่สมัยโบราณเก่าก่อนที่พวกนักศึกษายุคก่อนโน้น แต่งเป็นเพลงใต้ดินสมัย ๑๖ ตุลาคม ไว้ที่ฝาผนังบ้านเพื่อเตือนใจทั้งตนเองและเหล่าลูกศิษย์ที่มาหา "ทางข้างหน้ารางเลือนเหมือนว่างเปล่า
    แดดจะเผาผิวผ่องเธอหมองไหม้
    ที่ตรงโน้นมีหุบเหวมีเปลวไฟ
    ถ้าอ่อนแอจะก้าวไปอย่างไรกัน"



    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  13. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]




    บทที่ ๘๙ มิใช่หลักเกณฑ์และลำดับขั้นตอน


    สติ สมาธิ ปัญญา ความเพียร มันก็เป็นเพียงอินทรีย์ธรรมที่เป็นไปเองตามภาวะแห่งธรรมนั้นๆของตัวมันเอง ที่เป็นไปตามความเป็นปกติของธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมาย แห่งความเป็นอัตตาตัวตนมันมิใช่ธรรมที่เกิดจากการปฏิบัติเป็นขั้นเป็นตอน เป็นลำดับขั้นตอนแต่อย่างไร สติ สมาธิ ปัญญา ความเพียร จึงหาใช่หลักเกณฑ์ในธรรมที่จะต้องทำให้มันเกิดขึ้นไม่และเรียกสิ่งนี้ว่าการ ปฏิบัติเพื่อให้เกิดความก้าวหน้าไม่

    ความเป็นปกติแห่งธรรมชาติด้วย ความกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความ หมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนนั้นโดยไม่มีความแตกต่างและไม่ผิดเพี้ยนใน เนื้อหาความเป็นธรรมชาติและการที่ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนนั้นมันได้ทำหน้าที่ของมันตามธรรมชาติอยู่ อย่างนั้นก็ถือได้ว่าเป็น "สัมมาสติ" คือการระลึกชอบแล้ว เป็นการระลึกได้ถึงความเป็นจริงตามธรรมชาติอยู่อย่างนั้นและเป็นการระลึกถูก ต้องตามหลักสติปัฏฐานทั้งสี่

    ก็เพราะความเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่ง ที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนมันสามารถทำหน้าที่ในความ เป็นปกติตามสภาพธรรมชาติแห่งมันอยู่แล้วนั้นมันจึงมีความหมายถึงการมีความ ตั้งมั่นในความเป็นปกติแห่งธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯนั้นอยู่ แล้วเช่นกัน กำลังแห่งสมาธิหรือความตั้งมั่นที่แท้จริงตามสติปัฏฐานทั้งสี่นั้นหมายถึง ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนมัน ได้ทำหน้าที่แห่งมันตามปกติได้อยู่อย่างนั้นอยู่แล้วตลอดเวลา การที่ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัว ตนได้ทำหน้าที่แห่งมันตามสภาพธรรมชาตินั้นด้วยความคล่องแคล่วไม่ติดขัดอยู่ อย่างนั้นและไม่แปรผันไปในความหมายอื่นมันจึงเป็นกำลังแห่งสมาธิที่แท้จริง อันจะทำให้มีความเป็นอิสระเด็ดขาดพ้นจากภาวะความปรุงแต่งทั้งปวงได้

    ก็ เพราะความเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็น อัตตาตัวตนมันสามารถทำหน้าที่ในความเป็นปกติตามสภาพธรรมชาติแห่งมันอยู่แล้ว นั้นมันจึงมีความหมายถึงการมีปัญญาที่สามารถพิจารณาได้ถึงความเป็นจริงที่ ตรงต่อความเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็น อัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้นได้

    ก็เพราะความเป็นปกติของธรรมชาติของทุก สรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนมันคือความหมายแห่ง ธรรมชาติแท้จริงที่เป็นสิ่งยืนยันแสดงได้ถึงความที่อัตตาตัวตนไม่สามารถเกิด ขึ้นได้ในความเป็นธรรมชาตินี้ความที่ได้ละทิ้งสลัดออกซึ่งความเป็นอัตตาตัว ตนนั้นแล้วความที่ธรรมชาตินี้มันก็เป็นของมันอยู่อย่างนี้และความที่ ธรรมชาตินี้มันก็เป็นธรรมชาติที่แท้จริงที่มันเป็นธรรมชาติที่บริบูรณ์เต็ม เปี่ยมของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้วมันจึงมีความหมายถึงเป็นความเพียรพยายาม อย่างแท้จริงที่จะทำให้ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่ง ความเป็นอัตตาตัวตนนั้นเป็นไปตามความเป็นปกติตามสภาพธรรมชาติแห่งมัน

    แต่ ถ้าหากจะถือว่าเป็นการปฏิบัติธรรมเพื่อเป็นลำดับขั้นตอน ก็มีเพียงแต่ลำดับขั้นตอนที่ต้องเข้าไปพิจารณาธรรมเพื่อให้ได้ความจริงของ ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนปรากฏ ขึ้นมาในความเข้าใจของนักปฏิบัติแต่เพียงเท่านั้น ลำดับขั้นตอนในการพิจารณาให้เห็นถึงความเป็นจริงตามธรรมชาติ มีดังต่อไปนี้
    ๑. ลำดับขั้นตอนในการพิจารณาว่า ทุกสรรพสิ่งนั้นย่อมไม่สามารถคงอยู่ในคุณสมบัติหรือคุณลักษณะแบบเดิมๆของมัน ได้อยู่ตลอดเวลามันมีความเปลี่ยนแปลงไปในทางใดทางหนึ่งอยู่เสมอไม่สามารถคง ตัวอยู่ในสภาพเดิมๆซึ่งเป็นคุณสมบัติหรือคุณลักษณะของมันทั้งหมดที่ปรากฏใน ขณะที่เราเข้าไปยึดมั่นถือมั่นและเข้าใจว่ามันคือสิ่งนี้ๆและเป็นแบบนี้ๆ ทุกสรรพสิ่งจึง "อนิจจัง" มีความแปรผันไม่เที่ยงแท้แน่นอนอยู่ตลอดเวลา
    ๒.ลำดับ ขั้นตอนต่อไปในการพิจารณาว่า ทุกสรรพสิ่งย่อมไม่เที่ยงแท้แน่นอนในความเป็นสิ่งๆนั้นของมัน ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของสิ่งๆนั้นจึงย่อมไม่เป็นจริงตามนั้นและ ไม่มีอยู่จริง เพราะฉะนั้นทุกสรรพสิ่งจึงย่อมเป็นธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าไร้ความหมาย แห่งความเป็นตัวเป็นตนของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว
    ๓.ลำดับขั้นตอนต่อไป อีกในการพิจารณาว่า จิตต่างๆที่เราชอบปรุงแต่งขึ้นและมันก็คือความทุกข์ที่เกิดขึ้น ก็ความเป็นเรานั้นแท้จริงมันหามีตัวตนไม่ ก็เพราะความเป็นเรานั้นมันเป็นสิ่งที่เพียงแค่ประกอบขึ้นมาด้วยความเป็น ขันธ์ทั้งห้าคือ รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ และขันธ์ทั้งหมดเหล่านี้ก็เป็นสิ่งๆหนึ่งเช่นกันที่มีความแปรผันอยู่ตลอด เวลา ขันธ์ทั้งห้าเหล่านี้ย่อมคือความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัว ตนอยู่อย่างนั้น ถึงแม้เราจะมีอวิชชาคือความไม่รู้พาเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้งห้าจน กลายเป็นจิตที่ปรุงแต่งขึ้นมา จิตต่างๆที่เกิดขึ้นเพราะเหตุและปัจจัยแห่งความที่เข้าไปยึดนั้นมันก็ย่อมคง อยู่ในความเป็นของมันเองแบบนั้นไม่ได้ เมื่อแท้ที่จริงจิตของเราย่อมแปรผันมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จิตนั้นจึงหาเป็นจิตที่มีความหมายแห่งอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้นไม่ จิตต่างๆที่เราปรุงแต่งขึ้นเพราะความเข้าไปยึดขันธ์ทั้งห้าจึงย่อมเป็นเพียง ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนของมัน อยู่อย่างนั้นเช่นกัน มันจึงเป็นการพิจารณาเพื่อให้ได้ความเป็นจริงของทุกสรรพสิ่งทั้งปวงว่า "ทุกสรรพสิ่งซึ่งรวมทั้งความเป็นจิตความเป็นขันธ์ทั้งห้าของเรานั้นมันย่อม เป็นแต่ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัว ตนอยู่อย่างนั้น"

    ลำดับขั้นตอนที่พระองค์มีพุทธะประสงค์ให้เข้าไป พิจารณาก็มีแต่เพียงเท่านี้เป็นลำดับขั้นตอนเป็นหลักเกณฑ์ที่ทำให้เราเข้าใจ อย่างแจ้งชัดถึงความเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่ง ความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น มันมิใช่ลำดับขั้นตอนที่จะต้องปฏิบัติไปเพื่อให้หลงออกไปในทิศทางอื่นซึ่งมิ ใช่หนทางอันคือความเป็นธรรมชาติที่แท้จริง การที่สามารถกลมกลืนกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันความเป็นปกติแห่งธรรมชาติของทุก สรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น ได้ อินทรีย์ธรรมแห่ง สติ สมาธิ ปัญญา ความเพียร มันก็เป็นไปเองตามภาวะแห่งธรรมนั้นๆของตัวมันเองที่เป็นไปตามความเป็นปกติ แห่งธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตน ของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว ธรรมอันคือธรรมชาติที่แท้จริงมันก็มีสภาพที่บริบูรณ์โดยตัวมันเองอยู่แล้ว ตามสภาพธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น อินทรีย์ธรรมแห่ง สติ สมาธิ ปัญญา ความเพียร มิใช่ธรรมที่เป็นลำดับขั้นตอนที่จะต้องมาปฏิบัติให้เกิดขึ้นที่ละอย่างๆและ คิดว่ากำลังแห่งธรรมเหล่านี้มันจะทำให้ธรรมชาติที่แท้จริงซึ่งเป็นธรรมชาติ ที่เต็มเปี่ยมบริบูรณ์ในความเป็นมันเองอยู่อย่างนั้นจะเป็นธรรมชาติที่ สมบูรณ์เต็มรอบด้วยการปฏิบัติที่เข้าใจผิดไปเองของนักปฏิบัติทั้งหลาย

    เหตุผลที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ในธรรมทุกส่วนก็เป็นเพียงแต่ตรัสเพื่อเหตุผลของความเป็นธรรมนั้นๆแต่เพียงเท่านั้น

    การ ที่พระพุทธองค์ตรัสเรื่องการทำสมาธิก็เพราะจิตของนักปฏิบัติเองมีแต่ความ วุ่นวายและไม่สามารถมีปัญญาพิจารณาให้ได้ถึงความเป็นจริงที่จะต้องพิจารณา ตามลำดับขั้นตอนเพื่อให้ได้ความเป็นจริงที่ตรงต่อธรรมชาติขึ้นมาพระพุทธองค์ จึงทรงแนะนำให้ทำสมาธิเพื่อให้เกิดจิตอันประณีตในองค์ฌานและเพื่อให้เกิด ความสงบระงับปราศจากจิตที่วุ่นวายอันเป็นจิตที่เกิดขึ้นก่อนทำสมาธิ แต่ถ้าหากนักปฏิบัติสามารถพิจารณาถึงความเป็นจริงแห่งธรรมชาติได้แล้วการทำ สมาธิจึงเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นและมิใช่หลักเกณฑ์แต่อย่างไรอันจะทำให้เราเข้า ถึงความเป็นจริงแห่งธรรมชาติได้ การทำสมาธิก็เป็นเพียงการทำสมาธิไปแบบนั้นเป็นการทำสมาธิตามปกติอันจะถือว่า เป็นวิหารธรรมซึ่งหมายถึงธรรมอันเป็นเครื่องที่ได้อาศัยอยู่เป็นการทำสมาธิ ที่ตรงต่อวิสัยของนักปฏิบัติแต่เพียงเท่านั้นและมิได้มีความเกี่ยวข้องแต่ อย่างไรเลยกับความเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันคือความว่างเปล่าไร้ความ หมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนด้วยความบริบูรณ์พร้อมของมันอยู่อย่างนั้นอยู่ แล้ว

    การที่พระพุทธองค์ตรัสเรื่องการฝึกสติและสัมปชัญญะก็เพราะนักปฏิบัติเองไม่ มีความสามารถที่จะระลึกถึงสิ่งใดๆได้อย่างต่อเนื่องพระพุทธองค์จึงทรงแนะนำ ให้ทำสมาธิฝึกสติไปในอิริยาบถทั้งสี่และฝึกสัมปชัญญะการรู้ตัวทั่วพร้อมใน การเคลื่อนไหวต่างๆของร่างกายเพื่อให้เกิดความสามารถระลึกถึงสิ่งๆหนึ่งได้ ตลอดไปจนกว่าจะเป็นเนื้อหาเดียวกันแบบกลมกลืนกับสิ่งๆนั้น แต่ถ้าหากนักปฏิบัติสามารถมีสัมมาสติระลึกได้ถึงความเป็นจริงแห่งธรรมชาติ ได้แล้วการทำสมาธิฝึกสติไปในอิริยาบถทั้งสี่และการฝึกสัมปชัญญะการรู้ตัว ทั่วพร้อมในการเคลื่อนไหวต่างๆของร่างกายจึงเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นและมิใช่ หลักเกณฑ์แต่อย่างไรอันจะทำให้เราเข้าถึงความเป็นจริงแห่งธรรมชาติได้ การทำสมาธิการฝึกสติและการฝึกสัมปชัญญะการรู้ตัวทั่วพร้อมในการเคลื่อนไหว ต่างๆของร่างกายก็เป็นเพียงการฝึกสติและสัมปชัญญะไปแบบนั้นเป็นการการฝึกสติ และสัมปชัญญะตามปกติอันจะถือว่าเป็นวิหารธรรมซึ่งหมายถึงธรรมอันเป็นเครื่อง ที่ได้อาศัยอยู่เป็นการฝึกสติและสัมปชัญญะที่ตรงต่อวิสัยของนักปฏิบัติแต่ เพียงเท่านั้นและมิได้มีความเกี่ยวข้องแต่อย่างไรเลยกับความเป็นธรรมชาติที่ มันคือความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนด้วยความบริบูรณ์ พร้อมของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว


    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  14. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]




    บทที่ ๙๐ มือสุดท้าย

    เมื่อถึงวาระที่ ต้องลงมาเกิดบนโลกมนุษย์ ชีวิตที่ต้องมาเกิดตามรอยบุญรอยกรรมแห่งตนที่เคยสั่งสมมานับภพชาติแทบไม่ได้ นั้น
    มันเป็นเรื่องที่ต้องว่ากันไปตามสภาพจิตที่ตนได้กระทำมาตามเนื้อหาแห่งวาระกรรมนั้นๆ
    บางครั้งชีวิตก็แทบจะอับตาจนจนบางคราแทบไม่อยากจะก้าวต่อไปข้างหน้าอีกเลย
    เพราะทนสภาพความทุกข์ที่เข้ามาบีบคั้นจิตใจตนเองแทบไม่ได้
    เหตุปัจจัยอันว่าด้วยมีสิ่งนี้จึงมีสิ่งนี้มันทำให้เราต้องฝึกความอดทนอดกลั้นเพื่อที่จะทำให้มีลมหายใจยังชีวิตให้อยู่ต่อไปได้
    การผ่านจุดที่มีแต่ความทุกข์ยากและหมดสภาพแห่งความเป็นคนเพราะจิตใจได้ตกต่ำไปในห้วงแห่งความมีความเป็นที่เลวร้าย
    มันทำให้เรามีกำลังใจที่แข็งแกร่งและลุกขึ้นยืนสู้อีกครั้งหนึ่งบนโลกใบนี้
    ในบางขณะที่ได้ล้มลงไปมันได้แต่เตือนใจตนเองว่าอย่าได้เป็นคนอ่อนแอ
    บางครั้งในมุมมืดของห้องนั้นเราเองได้นั่งกอดเข่าและก้มหน้า
    ใจของลูกผู้ชายที่พ่ายแพ้ให้แก่ความรู้สึกของตนจึงได้แต่แอบก้มหน้าร้องไห้ออกมา
    แต่มันก็เป็นเพียงแค่การระบายความรู้สึกที่ไม่สามารถสลัดเหวี่ยงความทุกข์ใจทั้งหลายออกไปจากชีวิตของเราได้
    แต่เรามีความโชคดีที่มีกงล้อแห่งโชคชะตาที่คอยนำทางให้เราเดินไปถึงจุดหมายปลายทางที่เราได้ตั้งสัจจะวาจาไว้ตั้งแต่ครั้งในอดีต
    มันคือมือสุดท้ายที่คอยยื่นมาช่วยเหลือให้เราได้รอดจากนรกทุกขุมที่ตนเองต้องชดใช้ไปในขณะนั้น
    มือสุดท้ายที่เหลืออยู่มันก็คือมือของเราในอดีตนั่นเอง
    เป็น มือที่เคยจับทัพพีตักข้าวทิพย์เพื่อให้พละกำลังเลือดและเนื้อแก่บรมมหา โพธิสัตว์หลายดวงที่ผ่านมาและเป็นมือที่คอยหยิบยื่นความปรารถนาดีให้แก่ บุคคลอื่นมาหลายชีวิต
    มาบัดนี้มือแห่งบุญนั้นจึงได้ยื่นมาช่วยเหลือชีวิตของเราเองบ้างในยามที่ต้องตกอับอยู่ในความทุกข์ยากแห่งใจ
    มือนั้นพร้อมกับสัจจะวาจาที่ตั้งใจไว้ว่าขอให้ชีวิตของตนเองรอดพ้นต่อความทุกข์ยากทั้งปวงขอหลุดพ้นขึ้นฝั่งพระนิพพาน
    และสัจจะวาจาที่ขอให้ชีวิตของตนพบกับความสุขที่แท้จริงในสักวันหนึ่งในกาลข้างหน้า
    มาบัดนี้ทุกๆมือในอดีตมันก็ได้ทำหน้าที่แห่งมันได้อย่างสมบูรณ์แบบไม่มีความบกพร่องแล้ว






    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  15. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]




    บทที่ ๙๑ มิได้อาศัยเหตุและผล

    การ พิจารณาถึงความเป็นสิ่งๆหนึ่งนั้นเป็นการไต่ตรองเพื่อให้ได้มาซึ่งเหตุและผล ซึ่งเป็นสิ่งยืนยันถึงความเป็นจริงที่จะทำให้เราเชื่อในสิ่งๆนั้นว่ามันเป็น สภาพอย่างนั้นๆตรงต่อความเป็นจริงแห่งมัน มันจึงเป็นการใช้เหตุและผลเพื่อให้เราเกิดความเข้าใจอย่างแท้จริงเป็นความ แน่ใจโดยที่ไม่เกิดความลังเลสงสัยในสิ่งนั้นๆขึ้นมาอีก เมื่อเรามีความมั่นใจและเชื่อมั่นในสิ่งๆนั้นอย่างแท้จริงแล้วโดยไม่ต้อง อาศัยเหตุและผลใดๆอีกและเมื่อตัดสินใจที่จะน้อมนำสิ่งนั้นมาเพื่อปรับปรุง เปลี่ยนแปลง เราก็พึงมีสติระลึกถึงความเป็นสิ่งๆนั้นแต่ฝ่ายเดียวจนกว่าจะได้แนบแน่นกลม กลืนเป็นเนื้อหาเดียวกับสิ่งๆนั้นโดยไม่หันเหไปในทิศทางอื่นได้อีก

    การ พิจารณาถึงความเป็นจริงตามธรรมชาติว่าจิตที่ปรุงแต่งขึ้นและขันธ์ทั้งห้าคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รวมทั้งทุกสรรพสิ่งล้วนแต่คือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความ หมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนนั้นก็เช่นเดียวกัน เป็นการไต่ตรองเพื่อให้ได้มาซึ่งเหตุและผลซึ่งเป็นสิ่งยืนยันถึงความเป็น จริงที่จะทำให้เราเชื่อในความเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนนั้นว่ามันเป็นสภาพอย่างนั้นๆตรงต่อความเป็น จริงแห่งมัน การใช้เหตุและผลก็เป็นไปเพื่อให้เราเกิดความเข้าใจอย่างแท้จริงเป็นความแน่ ใจโดยที่ไม่เกิดความลังเลสงสัยในความเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่าง เปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนนั้นๆขึ้นมาอีก เมื่อเรามีความมั่นใจและเชื่อมั่นในความเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่าง เปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนนั้นแล้วโดยไม่ต้องอาศัยเหตุและผล ใดๆอีกและเมื่อตัดสินใจที่จะน้อมนำความเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่าง เปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนนั้นมาเพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงภาวะ ธรรมแห่งเรา เราก็พึงมีสติระลึกถึงความเป็นจริงที่ทุกสรรพสิ่งมันล้วนแต่คือธรรมชาติของ ทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนนั้นแต่ฝ่ายเดียว จนกว่าจะได้แนบแน่นกลมกลืนเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาติแห่งความจริงนั้น โดยไม่หันเหไปในทิศทางอื่นได้อีก การใช้เหตุและผลต่อความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงก็มีแต่เพียงเท่านี้ การใช้เหตุและผลก็เพื่อขจัดความลังเลสงสัยในความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงว่า ธรรมชาติแท้จริงนั้นมันเป็นอย่างไรมีลักษณะอย่างไร เมื่อเข้าใจในความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงของทุกสรรพสิ่งแล้วก็ควรมีสติระลึก ถึงความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงนั้นแต่ฝ่ายเดียวอยู่อย่างนั้นเพื่อให้เกิด ความเป็นเนื้อหาเดียวกันแบบกลมกลืนไม่มีส่วนต่างและเป็นหนึ่งเดียวกับ ธรรมชาตินั้นอยู่อย่างนั้น ก็ด้วยการที่เข้าใจว่า "ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนมัน ก็ทำหน้าที่ตามธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้วโดยปกติ" มันจึงมีความหมายถึงเราก็สามารถระลึกได้ถึงความเป็นจริงแห่งธรรมชาติของทุก สรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนได้อยู่อย่างนั้น ตลอดเวลาอยู่แล้วเช่นกัน

    การที่เราตั้งสติไว้เพื่อรอคอยตั้งใจดูบาง สิ่งบางอย่างว่าอาจจะมีสิ่งๆหนึ่งขึ้นมาหรือมีสิ่งๆหนึ่งขึ้นมาแล้วและเราจะ ต้องทำความเข้าใจในสิ่งๆนั้นเดี๋ยวนั้นให้มันเป็นเหตุและผลว่ามันไม่ใช่ อัตตาตัวตนและการทำความเข้าใจเช่นนี้อยู่ตลอดเวลาเมื่อมีสิ่งๆหนึ่งเกิดขึ้น ด้วยการรอคอยตั้งใจดูบางสิ่งบางอย่างและคิดว่าธรรมชาติที่แท้จริงมันจะคง อยู่ได้ตลอดเวลาด้วยการพิจารณาเป็นเหตุและผลแบบนี้อยู่เป็นนิจ สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นจิตที่ปรุงแต่งไปในการมีสติตามความเข้าใจผิดแห่งตน เป็นจิตที่ปรุงแต่งไปในความเป็นธรรมชาติตามความเข้าใจผิดแห่งตนเช่นเดียวกัน มันก็ย่อมเป็นอัตตาตัวตนที่เกิดขึ้นด้วยความเข้าใจผิดโดยอาศัยเหตุและผลแบบ นั้น ก็เพราะเข้าใจแล้วว่าทุกสรรพสิ่งก็คือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่า ไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้นมันจึงไม่มีอะไรเพื่อ ให้ตั้งสติไว้เพื่อรอคอยตั้งใจดูอะไรกับอะไรว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นหรือไม่มี อะไรเกิดขึ้น เพราะธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตน มันเป็นความว่างเปล่าอย่างแท้จริงแบบบริบูรณ์อยู่แล้วของมันอยู่อย่างนั้น จึงไม่มีอัตตาตัวตนใดๆจะเกิดขึ้นมาในความเป็นธรรมชาตินี้ได้เลย การใช้เหตุและผลและเข้าใจผิดไปอีกว่าเหตุและผลนี้จะทำให้เกิดภาวะธรรมแห่ง ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯและเหตุและผลนี้จะทำให้ธรรมชาติของทุก สรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯนี้บริบูรณ์เต็มเปี่ยมขึ้นมาในวันข้างหน้ามันจึงเป็น เหตุและผลที่เป็นจิตที่ปรุงแต่งขึ้นมาเป็นอัตตาตัวตนอยู่ร่ำไปแต่เพียงเท่า นั้น

    "เหตุและผล" ตามพุทธประสงค์ก็มีเพียงแค่การพิจารณาให้ได้มาซึ่งความเป็นจริงตามธรรมชาติ ว่าแท้ที่จริงทุกสรรพสิ่งก็คือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าไร้ ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้วและเมื่อเข้าใจ ต่อความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงจนหมดความลังเลสงสัยแล้วโดยไม่ต้องอาศัยเหตุ และผลใดๆอีกเราก็ควรพึงมีสัมมาสติระลึกถึงธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่าง เปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้นแต่ถ่ายเดียว เพราะฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่าธรรมชาติที่แท้จริงนั้นมันก็เป็นเช่นนั้นของมัน เองอยู่อย่างนั้นโดยที่ไม่ต้องอาศัยเหตุและผลใดๆเพื่อทำให้ธรรมชาตินี้เกิด ขึ้นและคงอยู่ได้ตลอดไปตามความเข้าใจผิดของนักปฏิบัติเอง


    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  16. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]




    บทที่ ๙๒ ไปปายกันไหม

    เสียงรถไฟเปิดหวูดจนดังลั่นก่อนที่มันจะลอดเลื้อยเข้าไปในอุโมงค์ถ้ำขุนตาล
    ความงามในยามเช้าของสถานีขุนตาน
    ทำให้ฉันต้องรีบงัวเงียตื่นมองออกไปที่กระจกหน้าต่าง
    เห็นหมอกสีขาวที่ลอยตัวเอื่อยๆแบบไม่สนใจใครอยู่เหนือยอดทิวเขาสูง
    การลอยตัวไปอย่างช้าๆของมันก็เหมือนสติของฉันที่กำลังกลับเข้าร่างอย่างไม่เร่งรีบ
    ความงามของธรรมชาติแห่งภูเขาที่ตั้งตระหง่าน
    ทำให้ฉันนึกถึงอำเภอปายจุดหมายปลายทางแห่งความหวังอันเรืองรอง
    เป็นครั้งแรกที่ฉันจะไปเที่ยวปายแห่งเมืองที่มีหมอกถึงสามฤดูแม่ฮ่องสอน
    การหอบสังขารมาเที่ยวโดยลำพังแบบนี้ทำให้ฉันต้องสอดส่ายสายตา
    พยายามมองความสวยงามของทิวทัศน์ข้างทางที่ไม่เคยเห็นมาก่อน
    ให้มันเป็นเพื่อนร่วมเดินทางแก้เหงาให้กับตัวเองในครั้งนี้
    รถไฟเคลื่อนตัวออกจากสถานีขุนตานใช้เวลาไม่เท่าไรก็เข้าเทียบชานชาลาที่นครพิงค์เชียงใหม่
    หลังจากที่ทำภารกิจส่วนตัวเสร็จและรีบหาอะไรกินรองท้องพออิ่มแถวบขส.
    รถตู้ก็ได้พาฉันวิ่งออกจากอาเขตตัวเมืองเชียงใหม่ผ่านอำเภอแม่แตงแล้วเลี้ยวซ้าย
    ทะยานขึ้นสู่เส้นทางแห่งขุนเขาที่มันเรียงรายซับซ้อนดูทะมึนน่ากลัวอยู่เบื้องหน้า
    ถนนเส้นนี้เป็นทางที่วกวนเพราะเป็นเส้นทางบนภูเขาที่มีความชันสูงมาก
    การค่อยๆขับไต่ระดับขึ้นไปตามทางที่โค้งไปโค้งมา
    มันจึงพาเรามาถึงยอดเขา
    และมันก็เป็นเพียงเขาลูกเดียวเท่านั้นจากจำนวนภูเขาอีกหลายลูก
    ที่ยืนรอเราอยู่ตรงหน้าขวางกั้นไว้ไม่ให้ไปถึงเมืองปายโดยง่าย
    ตลอดสองข้างทางจะเห็นชาวบ้านได้นำของป่ามาวางขายที่เพิงกระท่อมไม้ไผ่
    ผักสดๆที่ชาวบ้านซึ่งเป็นชาวเขาปลูกเองบ้างเป็นผักที่หามาจากในป่าในเขาบ้าง
    มันถูกแขวนเรียงรายเป็นจุดสนใจสำหรับนักเดินทางที่พึ่งจะมาเยือนที่นี่
    รถตู้ได้วิ่งทะยานลัดเลาะไปตามหุบเขาที่นับโค้งได้เกินพันโค้ง
    เส้นทางที่จะไปด้วยความยากลำบากนี้ มันก็คงเหมือนกับชีวิตของคนเราทุกคน
    ที่ย่อมมีความหวังให้กับชีวิตของตนเองอยู่เสมอ
    และพยายามออกเดินทางเพื่อทำสิ่งที่ตนหวังนั้นให้เป็นจริง
    แม้เส้นทางที่จะต้องพยายามก้าวเดินไปให้ถึงจุดหมายปลายทางที่ตนได้ตั้งใจไว้
    มันอาจจะเป็นเส้นทางที่ยากลำบากเต็มไปด้วยอุปสรรคขวากหนาม
    แต่หากทางนั้นมันเป็นทางที่ต้องก้าวเดินไปด้วยคุณงามความดีแห่งตน
    เราก็เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนก็จะสามารถเดินผ่านข้ามอุปสรรคนั้นไปได้
    และสานสิ่งที่เป็นความปรารถนาของตนให้เป็นจริงสมดั่งที่ตั้งใจได้เสมอ
    เพราะเหตุที่ว่า.....
    มนุษย์ทุกคนย่อมมีธรรมชาติแห่งความดีเป็นปกติในหัวใจตนอยู่แล้ว





    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  17. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]




    บทที่ ๙๓ สรุปหลักธรรมอันคือธรรมชาติ

    ธรรมอันคือธรรมชาติที่แท้จริงนี้
    มันเป็นธรรมที่เป็นสภาพธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนเช่นนี้มานานแสนนาน
    มันเป็นธรรมชาติแบบนี้ของมันเองมาตั้งแต่ต้นซึ่งหมายความว่าไม่อาจหาจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดแห่งความเป็นมันได้
    มันเป็นแบบนี้เรื่อยมาและตลอดไปและไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้เลย
    จนกล่าวได้ว่ามันเป็น "กฎธรรมชาติ" ของทุกสรรพสิ่ง
    ไม่ ว่าจะมีมนุษย์หรือไม่มีมนุษย์เกิดขึ้นบนโลกใบนี้หรือไม่ว่าจะมีโลกใบนี้ตั้ง อยู่หรือไม่ ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนมัน ก็ยังคงเป็นธรรมชาติตามสภาพอันแท้จริงของมันอยู่อย่างนั้น
    พระพุทธองค์ทรงใช้ปัญญาของท่านเข้าไปพิจารณาวิเคราะห์ถึงความเป็นทุกสรรพสิ่งที่ทำให้เกิดทุกข์
    ท่านจึงรู้อย่างแจ้งชัดว่าเพราะเหตุแห่งการเข้าไปยึดมั่นถือมั่นจนกลายเป็นอัตตาตัวตนเป็นสิ่งๆนั้น
    แต่ เพราะทุกสรรพสิ่งมันย่อมมีความผันแปรมีความเปลี่ยนแปลงไปอยู่ในทุกขณะไม่ สามารถคงอยู่ในคุณลักษณะและคุณสมบัติซึ่งบ่งบอกถึงความเป็นมันในสภาพเดิมๆ ไว้ได้ มันมีความแปรเปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลาไม่มีความเที่ยงแท้แน่นอนในความเป็นเดิมๆ ของมันได้
    เมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่นเพื่อที่จะให้ มันเป็นแบบนั้นเดิมๆตามความต้องการของเราให้ได้อยู่อย่างนั้นตลอดเวลาเพราะ จะเกิดความทุกข์
    เพราะฉะนั้นพระพุทธองค์จึงกล่าวไว้ว่าทุกสรรพสิ่งนั้น แท้จริงมันคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความ เป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น
    พระพุทธองค์จึงน้อมนำธรรมชาติที่แท้จริงนี้มาพิจารณาถึงความเป็นสิ่งๆหนึ่งแห่งความเป็นมนุษย์ของท่านเช่นกัน
    เพราะความเป็นมนุษย์มันถูกประกอบขึ้นด้วยขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    และการที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้งห้าจนกลายเป็นความปรุงแต่งเป็นจิตขึ้นมา
    ซึ่ง จิตหมายถึงสิ่งที่ปรุงแต่งขึ้นในความหมายของสิ่งๆหนึ่งหรือหลายๆสิ่งที่รวม ถึงความเป็นตัวเราและสิ่งอื่นๆที่ปะปนอยู่ในจิตนี้ไปในความหมายแห่งความเป็น อัตตาตัวตน
    พระพุทธองค์จึงทรงรู้แจ้งชัดว่าแท้จริงจิตของท่านก็คือสิ่งๆ หนึ่งที่มีความแปรผันไม่แน่นอนเช่นกันแท้ที่จริงจิตมันก็เป็นเพียงธรรมชาติ ของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่ อย่างนั้น
    และพระพุทธองค์ยังทรงพิจารณาถึงความเป็นขันธ์ทั้งห้าอีกเช่น กันที่ได้ยึดมั่นถือมั่นขึ้นมาเป็นจิตปรุงแต่งว่าขันธ์ทั้งหลายเหล่านี้มัน ก็เป็นเพียงสิ่งๆหนึ่งที่มีความแปรผันไม่เที่ยงแท้เช่นกัน
    ขันธ์ทั้งห้า ซึ่งคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มันก็เป็นเพียงธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็น อัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น
    เมื่อความเป็นจริงของธรรมอันคือภาวะทั้ง ภายนอกตัวเราและทั้งภายในคือความเป็นตัวเราเองนั้นมันก็คือความหมายของความ เป็นจริงแห่งธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็น อัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น
    พระพุทธองค์จึงได้ตรัสรู้ถึงความเป็นจริงอันยิ่งใหญ่ในความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงนั้น



    ต่อ มาพระพุทธองค์จึงทรงออกโปรดบรรดาสรรพสัตว์โดยท่านทรงชี้ให้เห็นถึงความเป็น จริงตามธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งและทรงชี้ให้เห็นถึงความเป็นจริงแห่งความเป็น อัตตาตัวตนของสรรพสัตว์ทั้งหลายที่เข้ามาฟังธรรมว่ามันเป็นเพียงสิ่งที่ ประกอบขึ้นมาในความเป็นขันธ์ทั้งห้าและเข้าไปยึดมั่นถือมั่นจนกลายเป็นจิต ที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมา
    ท่านจึงทรงชี้แนะบรรดาสรรพสัตว์ว่าแท้ที่จริงจิตและขันธ์ทั้งห้านั้นหาความมีตัวตนอันแท้จริงไม่
    แท้ที่จริงมันคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น
    ท่าน ทรงชี้ให้เห็นถึงความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงของธรรมทั้งภายในและภายนอกจน เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า "ทุกสรรพสิ่ง" นั้นคือธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าฯ
    เมื่อกาลต่อมามีเหตุให้พระพุทธองค์ทรงตรัสธรรมเรื่องสติปัฏฐาน
    พระพุทธองค์ก็ทรงตรัสธรรมไว้ถึงสี่หมวดใหญ่คือ กาย เวทนา จิต ธรรม
    เป็น การหยิบยกธรรมทั้งสี่หมวดนี้มาอธิบายเพื่อให้ได้ความเป็นจริงแห่งธรรมชาติ ของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่ อย่างนั้นแต่เพียงเท่านั้น
    ธรรมอันคือสติปัฏฐานทั้งสี่มันมิใช่ธรรมที่ บ่งบอกถึงความซับซ้อนยุ่งเหยิงจนยากแก่การที่จะศึกษาเพื่อให้ได้ความเข้าใจ ในธรรมอย่างแท้จริงเกิดขึ้น
    มันเป็นเพียงหมวดธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแจกแจงธรรมต่างๆให้ตรงกับจริตของนักปฏิบัติแต่เพียงเท่านั้น
    เป็นจริตที่นักปฏิบัติชอบปรุงแต่งจนกลายเป็นจิตขึ้นมาทั้งในสี่หมวดคือ กาย เวทนา จิต ธรรม
    เป็นจริตที่นักปฏิบัติชอบปรุงแต่งจิตไปในทางแห่งกายตน
    เป็นจริตที่นักปฏิบัติชอบปรุงแต่งจิตไปในทางอิงเวทนาความรู้สึกต่างๆ
    เป็นจริตที่นักปฏิบัติชอบปรุงแต่งจิตไปในทางเป็นจิตต่างๆ
    เป็นจริตที่นักปฏิบัติชอบปรุงแต่งจิตไปในทางธรรมต่างๆที่เกิดขึ้น
    จริต อันคือความชอบที่ชอบปรุงแต่งจิตไปในทางนั้นๆมันจึงเป็นจิตที่นักปฏิบัติเอง สามารถเห็นจิตชนิดนี้แห่งตนอยู่แล้วในขณะที่จะหยิบยกจิตของตนขึ้นมาพิจารณา เพื่อให้ได้ธรรมชาติแห่งความเป็นจริง
    พระพุทธองค์ทรงมีความประสงค์เพียงแค่ให้เราเห็นจิตที่เราปรุงแต่งไปในขณะที่เรากำลังจะพิจารณาถึงธรรมชาติแห่งความเป็นจริงในขณะนั้น
    เป็น การเห็นจิตในหมวดใดหมวดหนึ่งไม่ว่าจะเป็นหมวด กาย เวทนา จิต ธรรมและพิจารณาถึงความเป็นจิตพิจารณาถึงความเป็นขันธ์ทั้งห้าที่ยึดมั่นถือ มั่นกลายเป็นจิตชนิดนั้นว่ามันมีความแปรผันไม่เที่ยงแท้แน่นอน
    เป็นการ พิจารณาเพื่อให้ได้ความเป็นจริงว่าจิตและขันธ์ทั้งห้าของเรานั้นแท้ที่จริง มันคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตา ตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น


    เพราะฉะนั้นธรรมอันคือ กาย เวทนา จิต ธรรม จึงเป็นธรรมอันเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่จะทำให้เราสามารถพิจารณาให้ได้ถึงความ เป็นธรรมชาติที่แท้จริง
    ในแต่ละหมวดธรรมพระพุทธองค์ก็ทรงแจกแจงถึงเหตุและผลของความเป็นจริงตามธรรมชาติในแต่ละหมวดธรรมนั้นแต่เพียงเท่านั้น
    เพราะ ฉะนั้นถึงแม้ธรรมในสติปัฏฐานทั้งสี่จะเป็นธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ อย่างละเอียดครบถ้วนมันก็เป็นเพียงธรรมที่สามารถบ่งชี้ถึงความเป็นธรรมชาติ ที่แท้จริงได้ครบทุกหมวด
    กาย เวทนา จิต ธรรม มันก็คือจิตที่ปรุงแต่งขึ้นมาในการเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้งห้าและ พระพุทธองค์ก็ทรงแจกแจงธรรมเหล่านี้ไว้ครบตามวิสัยแห่งความเป็นมนุษย์ที่ชอบ ปรุงแต่งไปต่างๆนานา
    มันจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาธรรมทั้งสี่หมวดนี้ให้ครบในทุกส่วน
    เพียง แต่นักปฏิบัติหยิบธรรมในส่วนใดส่วนหนึ่งขึ้นมาพิจารณาและสามารถเข้าใจจนหมด ความลังเลสงสัยและตระหนักชัดถึงความเป็นจริงตามธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ มันว่างเปล่าฯอยู่อย่างนั้นก็ถือได้ว่านักปฏิบัติได้เข้าใจในธรรมอันคือสติ ปัฏฐานทั้งสี่นี้แล้วและสามารถมีธรรมชาติแห่งสติอันคือสัมมาสติที่พึงระลึก ถึงธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัว ตนของมันอยู่อย่างนั้นได้
    แต่ถ้านักปฏิบัติจะเข้าไปศึกษาธรรมให้ครบใน ทุกๆส่วนไม่ว่าในหมวด กาย เวทนา จิต ธรรม มันก็ล้วนแต่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตัวนักปฏิบัติเองทั้งสิ้น
    ขอให้นัก ปฏิบัติธรรมทั้งหลายจงเอาความรู้สึกว่าธรรมอันคือสติปัฏฐานทั้งสี่ที่พระ พุทธองค์ทรงแจกแจงไว้อย่างละเอียดมากมายจนครบถ้วนนี้ว่า "มันคือธรรมที่ยุ่งเหยิงซับซ้อนยากแก่การศึกษา" นี้ออกไปเสีย






    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  18. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]




    บทที่ ๙๔ ศาสนาของมวลหมู่มนนุษยชาติ


    เพราะธรรมชาติได้เป็นครู
    สอนให้ฉันได้รู้จักกับความเป็นตัวเองอย่างแท้จริง
    ธรรมชาติสามารถนำพาฉันให้ดำรงชีวิตอยู่บนโลกนี้ได้
    ไปบนวิถีที่เรียบง่ายในความเป็นธรรมชาติของมันเองในเส้นทางนั้น
    ธรรมชาติได้บอกกับฉันว่า "ฉันและทุกสรรพสิ่งในจักรวาลแห่งนี้"
    สามารถอยู่ร่วมและพึ่งพิงอาศัยกันได้อย่างเป็นปกติในความผาสุก
    มันเป็นความเหมือนของทุกสิ่งที่ไม่มีความแตกต่างในความเป็นธรรมชาติ
    ที่ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนของมันอยู่อย่างนั้นตลอดเสมอมา
    และจะเป็นอย่างนี้ตลอดไปไม่มีวันผันแปรเป็นไปในทางอื่นๆได้
    ปฏิสัมพันธ์อันหลากหลายของสรรพสิ่งที่มีความเกี่ยวพันกัน
    ก็เป็นไปในความสุขศานติที่ทุกคนได้ทำหน้าที่แห่งตนตามธรรมชาติอยู่แล้ว
    จักรวาลแห่งนี้จึงมีแต่ความสงบเงียบไร้สรรพเสียงแห่งความเป็นอัตตาตัวตน
    ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน
    จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม




    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  19. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]




    บทที่ ๙๕ ธรรมชาติมันทำหน้าที่ของมันเอง

    เมื่อเราได้หยิบยกจิต ที่ปรุงแต่งไปในหมวด กาย เวทนา จิต ธรรม หมวดใดหมวดหนึ่งขึ้นมาพิจารณาถึงความเป็นจิตชนิดนั้นว่ามันไม่เที่ยงแท้แน่ นอน
    และได้พิจารณาถึงความเป็นขันธ์ทั้งห้าคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาเป็นจิตที่ปรุงแต่งไปในหมวด กาย เวทนา จิต ธรรม นั้นๆว่า ขันธ์ทั้งห้าเหล่านี้แท้ที่จริงมันก็ไม่เที่ยงแท้แน่นอนเช่นกัน
    จนเราได้ ความเป็นจริงว่าแท้ที่จริงจิตนั้นและขันธ์ทั้งห้ารวมถึงทุกสรรพสิ่งนั้นมัน ก็คือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตน ของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว
    เมื่อเราสามารถเข้าใจตระหนักชัดถึงความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้นได้แล้ว
    การ ที่ไม่ต้องคิดไม่ต้องปรุงแต่งขึ้นมาเป็นความคิด "ด้วยความเข้าใจที่ถูกต้องตรงต่อความเป็นจริง" แห่งธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัว ตนนั้นมันจึงเป็น "ธรรมชาติแห่งการที่ไม่ต้องคิดธรรมชาติแห่งการที่ไม่ต้องปรุงแต่ง"
    "ธรรมชาติ แห่งการที่ไม่ต้องคิด" คือการที่ปล่อยให้ธรรมชาติที่แท้จริงของทุกสรรพสิ่งนั้นมันทำหน้าที่แห่งมัน ตามความเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็น อัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้นและก็ถือได้ว่าเรามีสัมมาสติคือสติที่สามารถ พึงระลึกได้ถึงความเป็นจริงตามธรรมชาติแล้วตามหลักของสติปัฏฐานทั้งสี่
    การให้ธรรมชาติมันทำหน้าที่ตามความเป็นสภาพธรรมชาติของมันเองอยู่แล้วอย่างนั้น
    มันก็จะทำให้เกิดความคล่องแคล่วไม่ติดขัดไปเองในความเป็นสภาพธรรมชาติแห่งมัน
    มัน ก็จะทำให้เกิดความเป็นอิสระอย่างเด็ดขาดไปเองโดยไม่สามารถกลับไปยึดมั่นถือ มั่นกลายเป็นจิตที่ปรุงแต่งขึ้นมาได้อีกแล้วตามความเป็นธรรมชาตินั้น
    การ ที่ปล่อยให้ธรรมชาติมันทำหน้าที่ของมันเองมันจึงมีความหมายถึงเรามีสัมมาสติ ที่พึงระลึกถึงธรรมชาติที่แท้จริงนี้ได้อยู่ตลอดเวลามันจึงมีความหมายถึงเรา มีสัมมาสมาธิอันคือความตั้งมั่นในธรรมชาตินี้โดยไม่แปรผันไปในทิศทางอื่นได้ อีกเลยมันจึงมีความหมายถึงเรามีสัมมาวายาโมอันคือความเพียรอย่างแท้จริงที่ เป็นความมุ่งมั่นที่พยายามจะกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันแบบกลมกลืนกับความเป็น ธรรมชาตินั้นได้อยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว
    การที่ปล่อยให้ธรรมชาติมันทำหน้าที่ของมันเองมันจึงเป็นการปฏิบัติธรรมตามธรรมชาติอย่างแท้จริง
    การที่ปล่อยให้ธรรมชาติมันทำหน้าที่ของมันเองมันจึงทำให้ไม่มีความใส่ใจว่ามีอะไรเกิดขึ้นเป็นตัวเป็นตนอีกหรือไม่
    การ ที่ปล่อยให้ธรรมชาติมันทำหน้าที่ของมันเองมันจึงเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่ง ที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้นอยู่ แล้ว
    การที่ปล่อยให้ธรรมชาติมันทำหน้าที่ของมันเองมันจึงเป็นการรู้แจ้ง ในธรรมทั้งปวงว่าแท้ที่จริงธรรมทั้งปวงก็ล้วนคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น
    การที่ปล่อยให้ธรรมชาติมันทำหน้าที่ของมันเองมันจึงเป็นการหลุดพ้นได้จากภาวะธรรมอันปรุงแต่งได้อย่างเด็ดขาด
    การ ที่ปล่อยให้ธรรมชาติมันทำหน้าที่ของมันเองมันจึงเป็น "ความปกติ" ตามธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัว ตนของมันเองอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว
    การที่ปล่อยให้ธรรมชาติมันทำหน้าที่ของมันเองมันจึงเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้น
    การ ที่ปล่อยให้ธรรมชาติมันทำหน้าที่ของมันเองมันจึงเป็นความบริบูรณ์พร้อมโดย ความเป็นสภาพแห่งธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้น
    เมื่อเข้าใจถึงความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงแล้ว
    จงปล่อยให้ธรรมชาติมันทำหน้าที่แห่งมันตามสภาพแห่งความเป็นธรรมชาตินั้นเถิด







    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     
  20. ใจต่อใจ

    ใจต่อใจ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +65
    [​IMG]



    บทที่ ๙๖ หัวใจแห่งสักกะ ตราบชั่วนิจนิรันดร์

    พระ พุทธศาสนาทำให้ฉันรู้จักคำว่า "ธรรมชาติ" ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่หาความเป็นตัวเป็นตนไม่ได้เลยสักนิดเดียว มันเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้น ธรรมชาตินี้มันทำหน้าที่ของมันอยู่อย่างนี้เสมอมาและตลอดไป ตามความเป็นธรรมชาติของมันอยู่เช่นนั้นเองอยู่แล้ว ถึงแม้ธรรมชาตินี้มันจะเป็นของมันอยู่อย่างนั้นโดยมิได้เกิดจากอะไรและเกิด จากฝีมือใคร แต่ฉันก็ได้เห็นความสามารถของสัตว์ที่ได้ขึ้นชื่อว่ามนุษย์ ที่มีศักยภาพแห่งความเป็นสัตว์ประเสริฐที่มากพอจนสามารถเข้าไปรื้อค้นและ เข้าถึงความเป็นธรรมชาตินี้ได้ เพราะธรรมชาติของมนุษย์แห่งการสละสิ่งของแบ่งปันให้กับผู้อื่นเป็นทานจึงทำ ให้ในวันหนึ่งสังคมมนุษย์จึงมีความบริบูรณ์พร้อมในเรื่องปัจจัยขั้นพื้นฐาน ทั้งสี่ เพราะธรรมชาติของมนุษย์แห่งการรักษาศีลจึงทำให้ในวันหนึ่งสังคมมนุษย์จึงมี แต่ความสงบสุขในการอยู่ร่วมกันอย่างศานติสุข เพราะธรรมชาติของมนุษย์แห่งการออกบวชเนกขัมมะจึงทำให้ในวันหนึ่งสังคมมนุษย์ พบหนทางที่จะทำให้ชีวิตของพวกตนได้อยู่กับความสุขอันยั่งยืนอันแท้จริง
    เพราะ ธรรมชาติของมนุษย์แห่งความมีปัญญาจึงทำให้ในวันหนึ่งมนุษย์ได้รู้จักความ หมายของธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้นและทำให้จิต วิญญาณแห่งความเป็นมนุษย์ได้ถึงความสมบูรณ์พร้อมตามที่มันควรจะเป็นไป
    เพราะ ธรรมชาติของมนุษย์แห่งการมีวิริยะความเพียรโดยแท้จริงจึงทำให้มนุษย์ทั้ง หลายมีความสำเร็จสมความปรารถนาไปสู่จุดหมายแห่งความมุ่งหวังที่มีอยู่ร่วม กันได้เร็ววัน
    เพราะธรรมชาติของมนุษย์แห่งการมีขันติความอดทนจึงทำให้สังคมมนุษย์ไม่ตกไปสู่ที่ตกต่ำ
    เพราะธรรมชาติของมนุษย์แห่งการมีสัจจะวาจาจึงทำให้มนุษย์ทั้งหลายดำรงตนอยู่ในคุณงามความดีเรื่อยมา
    เพราะ ธรรมชาติของมนุษย์แห่งการได้ตั้งใจไว้ในคำอธิษฐานจึงทำให้มนุษย์ทั้งหลายพบ เจอแต่เรื่องดีๆในสังคมที่ตนเองได้ร่วมกันอาศัยอยู่ เพราะธรรมชาติของมนุษย์แห่งความมีความรักความเมตตาต่อกันจึงทำให้สังคม มนุษย์มีแต่ความอบอุ่นซึ่งเป็นความปรารถนาดีที่มีให้แก่กันอยู่เสมอมา เพราะธรรมชาติของมนุษย์แห่งความมีอุเบกขาวางเฉยได้ทำให้ใจของมนุษย์ไม่ไหลลง ตกไปสู่ที่ตกต่ำ
    เพราะมนุษย์ได้ตัดสินใจที่จะดำรงชีวิตของตนเองและนำพา เผ่าพันธุ์ของพวกตนไปบนทางที่เป็นคุณงามความดีที่สังคมมนุษย์ได้เลือกไว้ อย่างดีแล้ว เพราะเหตุแห่งความดีงามทั้งหลายนั้นเองจึงเป็นเหตุปัจจัยให้สัตว์มนุษย์ได้ พบเจอหนทางที่ทำให้ตนเองออกจากความทุกข์ทั้งปวงได้ หัวใจแห่งสักกะของฉันเช่นกัน ฉันมีความภาคภูมิใจที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์บนโลกและจักรวาลแห่งนี้ ฉันได้มีศรัทธาอย่างแท้จริงที่จะเลือกชีวิตของฉันเดินไปบนเส้นทางแห่งความ เป็นธรรมชาตินี้ ถึงแม้ศักยภาพของฉันจะมีไม่มากเหมือนใคร แต่ฉันก็จะดำรงชีวิตไปตามอัตภาพที่ฉันพึงจะได้รับจากความสามารถของฉัน เท่าที่ฉันจะพึงฝึกฝนตนเองได้ในทุกขณะ






    “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
    “การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
    หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"
     

แชร์หน้านี้

Loading...