คนพลังจิตกับการรับมือภัยพิบัติ "อีโบล่า"

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย kiatp123, 8 สิงหาคม 2014.

  1. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    จากวันที่รับเชื้อไวรัสอีโบล่า ถึงวันสุดท้ายที่คนไข้
    จบชีวิตโดยเฉลี่ยแล้วประมาณน่าจะไม่เกินกี่วันครับ??
    ในคนไข้ที่ภูมิต้านทานสูงสุด?
    และคนไข้ภูมิต้านทานต่ำสุด??
     
  2. กรุณq

    กรุณq สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +1
    จากข้างบน คุณkiatp123คงลืมขีดเส้นข้อความข้างล่างด้วย คือ อย่างไรก็ตาม คนอินเดียที่ว่าไม่มีใครมีอาการที่มีทีท่าว่าได้รับผลจากเชื้ออีโบล่า

    However, much to the officials' relief, none of them have shown any symptoms of the disease so far.

    "Since none of them have shown any symptoms so far, we didn't get them tested. We have asked them to watch out for any symptoms," said the official.

    คือผมเข้าใจนะครับว่ามันเป็นโรคร้ายแรงและควรเฝ้าระวัง แต่ในสถานะที่ยังไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อในไทย ทางที่ดีที่สุดตอนนี้ของทุกคนคือหาความรู้เกี่ยวกับโรคนี้ ซึ่งดังที่บอกไปแล้วก็คือมันมาจากสารคัดหลั่ง และองค์การอนามัยโลกได้ให้คนสามกลุ่มที่เสี่ยงที่สุดที่จะติดเชื้อ
    ๑.บุคลากรทางการแพทย์ที่อยู่ใกล้ผู้ติดเชื้อ,๒.คนในครอบครัวผู้ติดเชื้อ,๓.ผู้ที่อยู่ในพิธีศพผู้ติดเชื้อและมีการสัมผัสศพผู้ติดเชื้อตามประเพณีท้องถิ่น

    ความเห็นบนๆก็บอกอยู่ว่าสุขลักษณะอนามัยเป็นสิ่งสำคัญ ประเทศที่เกิดการระบาดมันแย่มากๆ น้ำสะอาดก็มีไม่พอ และด้วยประเพณีเกี่ยวกับศพมันก็เอื้อต่อการระบาด มันถึงคุมกันไม่ได้

    การหลีกเลี่ยงคนป่วย ล้างมือบ่อยๆโดยเฉพาะเมื่อต้องไปตามที่สาธารณะ ดื่มน้ำสะอาดอะไรพวกนี้ เราควรทำกันอยู่แล้วครับ

    ปล.ใครที่ชอบเรื่องพวกนี้ ขอแนะนำหนังสือนิยายเรื่องOutbreak ของโรบิน คุก แปลเป็นไทยก็มี ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี1987 เป็นนิยายที่เกี่ยวกับการระบาดของไวรัสตัวนี้แหละครับ ไวรัสอีโบล่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 สิงหาคม 2014
  3. kiatp123

    kiatp123 โมฆะแมน

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,493
    ค่าพลัง:
    +19,616
    ไทยยกระดับการป้องกันให้อยู่ในระดับเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสอีโบล่า

    [​IMG][/url]

    ประเทศไทยได้ยกระดับการป้องกันให้อยู่ในระดับเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสเนื่องจากมีนักท่องเที่ยว 21คนได้เดินทางมาจากแอฟริกาตะวันตก จากการตรวจเบื้องต้นไม่พบการติดเชื้อแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามนายแพทย์ โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่าได้ทำการเฝ้าระวังนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศที่เดินทางมาจากแอฟริกาตะวันตก เนื่องจากเกรงว่าอาจจะนำเชื้อไวรัสเข้ามาแพร่ระบาดในไทย ขณะที่สนามบินนานาชาติทั้ง 5 แห่งได้แก่ สุวรรณภูมิ ภูเก็ต เชียงใหม่ สงขลา และดอนเมือง ได้มีการจัดตั้งทีมเฝ้าระวังเชื้อไวรัสอีโบล่า โดยทำการตรวจวัดไข้นักเดินทางทุกรายภายในสนามบิน

    ไทยมีการดำเนินการตามมาตรการเฝ้าระวังโรค และการเตรียมความพร้อมในการวินิจฉัยดูแลผู้ป่วย ใน 3 มาตรการหลัก ได้แก่

    1.การเฝ้าระวังโรค โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางกลับจาก 3 ประเทศที่มีการระบาดของโรคนี้ ได้แก่ กินี ไลบีเรีย และเซียราลีโอน หากมีไข้ให้สอบสวนโรคทุกราย และส่งทีมเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังในสนามบินนานาชาติ 5 แห่ง ได้แก่ ภูเก็ต หาดใหญ่ สงขลา เชียงใหม่ สุวรรณภูมิ และดอนเมือง

    2.การเตรียมห้องแยกโรคในโรงพยาบาลทั่วประเทศ เตรียมความพร้อมมาตรฐานดูแลผู้ป่วย โดยใช้มาตรฐานเดียวกับโรคซาส์ หรือโรคติดต่ออันตรายอื่นๆ

    3.ให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เตรียมความพร้อมในการตรวจชันสูตรทางห้องปฏิบัติการ โดยร่วมมือกับหน่วยงานในต่างประเทศเพื่อวิเคราะห์การติดเชื้อไวรัสนี้ด้วย และสำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังประเทศไทย

    ที่มา บางส่วนจาก http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1407575171
     
  4. ภูติอาคเนย์

    ภูติอาคเนย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    723
    ค่าพลัง:
    +1,326
    มีข่าวบริษัทยาที่จะดำเนินการผลิตวัคซีนเพิ่มคราวนี้เป็นบริษัทจากอังกฤษโดยบริษัท 'แกล็กโซสมิทไคล์น' โดยได้รับอนุญาตให้ทดลองในคนได้เดือนหน้าและจะเร่งผลิตมาใช้ภายในปี 2015 (ไม่รู้จะทันการณ์แค่ไหน)
    'WHO' ทดลองวัคซีน 'อีโบลา' เดือนหน้า คาดใช้ได้จริงปี 2015 - ข่าวไทยรัฐออนไลน์

    อย่างไรก็ดีจากที่ลองตามอ่านข้อมูลต้นเชื้อไวรัสวงศ์ Filoviridae กับข้อมูลจากที่บริษัทยาของญี่ปุ่นคือ Fujifilm อ้างว่ายา Favipiravir สามารถใช้ได้ผลดีมากในลิงทดลอง แสดงว่ายาที่มีทธิ์ต้านไวรัสหวัดใหญ่น่าจะสามารถใช้ได้ต้านไวรัสในวงศ์ Filoviridae ได้ระดับนึงเช่นกัน
    ผมเลยเดาเอาว่าแสดงว่าสมุนไพรที่มีฤทธิ์สรรพคุณในการต้านไวรัสหวัดใหญ่ ไข้เหลือง ไข้เลือดออก ก็น่าจะมีความเป็นไปได้ที่จะนำมาสกัดหาสารที่ใช้ต่อต้านไวรัสอีโบล่าได้เหมือนกัน ซึ่งแพทย์ไทยเก่งมากถือว่าจัดอยู่ในระดับแนวหน้าของโลกในเรื่องการวิจัยหายาหรือวิธีรักษาโรคอุบัติใหม่ น่าจะทำได้เช่นกันหากรัฐบาลและผู้ใหญ่สนับสนุน ไม่แน่เผลอๆอาจจะคิดค้นยารักษาได้ก่อนชาวบ้านด้วยเพราะสมุนไพรเราหลากหลายกว่าเยอะ
     
  5. ภูติอาคเนย์

    ภูติอาคเนย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    723
    ค่าพลัง:
    +1,326
    เท่าที่มีการศึกษาและรวบรวมสถิติ หลังจากระยะเชื้อฟักตัวขึ้นอยู่กับเคส (อาจนานถึง 21วัน) ผู้ป่วยจะเสียชีวิตภายใน 5-12 วันครับ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและการดูแลด้วย แต่อย่างเคสแพทย์ชาวอเมริกันที่ติดเชื้อตอนนี้ยังมีชีวิตอยู่ได้หลังจากได้รับเชื้อไปเป็นเดือน ต้องดูต่อไปว่าผลยาต้านไว้รัสหรือวัคซีนที่ให้นั้นจะสามารถช่วยได้มากน้อยแค่ไหนต่อไปด้วย

    อันนี้เป็น info graphic ที่ national post เป็นผู้จัดทำไว้เป็นข้อมูลโดยอ้างอิงข้อมูลจาก WHO ในการระบาดช่วงปี 1976-2014 เผื่อท่านไหนสนใจไปศึกษาเข้าใจง่ายกว่าอ่าน white paper

    http://holykaw.alltop.com/wp-content/uploads/2014/07/ebola_12001.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 สิงหาคม 2014
  6. kiatp123

    kiatp123 โมฆะแมน

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,493
    ค่าพลัง:
    +19,616
    บทความนี้ก็เข้าท่าดีนะครับ
    จากเด็ก 2 ขวบผู้ติดเชื้อคนแรกในประเทศกีนี สู่สถานการณ์ outbreaks
    http://www.nytimes.com/2014/08/10/w...s-breakout-to-an-african-2-year-old.html?_r=0

    อยากจะแปลอยู่เหมือนกัน
    กลัวงูงูปลาปลา จะเสียการใหญ่
    :boo:

    วันนี้ ตามข่าวอยู่ทั้งวัน
    ยังไม่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดเพิ่มเติม
    นอกจากที่มีอยู่แล้ว ก็ตามกันต่อไปนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 สิงหาคม 2014
  7. kiatp123

    kiatp123 โมฆะแมน

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,493
    ค่าพลัง:
    +19,616
    [​IMG]

    อธิบดีกรมควบคุมโรค ไม่ยืนยัน เหตุแรงงานต่างด้าวพม่าในจังหวัดพังงาล้มป่วยและเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ เบื้องต้นคาดป่วยโรคฉี่หนู แต่ยังไม่ชัดเจนอยู่ระหว่างรอผลตรวจอย่างละเอียด คาดว่าไม่ได้ เสียชีวิตจากเชื้ออีโบลา

    จากที่มีกระแสข่าวและความตื่นกลัวของชาวบ้านหมู่ที่ 3 ต.บ่อแสน อ.ทับปุด จ.พังงา กรณีแรงงานต่างด้าวชาวพม่าป่วย และเสียชีวิต ซึ่งอาจมาจากการป่วยด้วยโรคฉี่หนูแต่ยังไม่ชัดเจน จนชาวบ้านเกรงว่าอาจจะมาจากสาเหตุการติดเชื้อ "อีโบลา"

    นายแพทย์ โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค ระบุว่า เบื้องต้นยังไม่ได้รับรายงานสาเหตุของการเสียชีวิตในกรณีดังกล่าว และต้องประเมินว่า ชายต่างด้าวรายนี้มีการเดินทางไปในประเทศที่มีการระบาดของเชื้อโรคนี้หรือ ไม่ จึงจะสามารถนำเหตุผลมาประกอบการวินิจฉัย ซึ่งคาดว่าจะรู้ผลในเร็วๆ นี้

    สำหรับสถานการณ์การระบาดของเชื้ออีโบล่า หลังจากที่ WHO หรือองค์กรอนามัยโลก ประกาศภาวะฉุกเฉินของการระบาดใน 4 ประเทศ ประกอบด้วย กีนี ไลบีเรีย เซียร่าลีโอนและไนจีเรีย ขณะนี้ทางกรมควบคุมโรคก็ยังคงติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่องซึ่งยังไม่มีการ รายงานการติดเชื้อในไทย โดยมีการตรวจสอบการเดินทางเข้าออกของนักท่องเที่ยวอย่างเข้มงวด
     
  8. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    เอาให้แน่นะว่าไม่แพร่ผ่านทางอากาศ
    ถ้าวันหนึ่งท่านเข้าไปยืนอยู่ในลิฟท์รวมๆกัน
    ประมาณ 8,9คน
    ขณะลิฟท์กำลังเคลื่อนขึ้นไปชั้นบน เผอิญมีคน
    กำลังจะควักผ้าเช็ดหน้ามาปิดปาก แต่จามออกมา
    เสียก่อนที่จะปิดปาดได้สนิท และบังเอิญเป็นชายหนุ่ม
    ผิวดำวัยทำงานเสีนด้วย

    ท่านจะกล้ากลับไปบ้านแลัเดินเข้าไปอุ้มลูกคนเล็กวัย 1 ขวบ
    เช่นที่ท่านเคยปฏิบัติไหม?!?

    เป็นลุงแมว อาจจะไม่เข้าบ้านสัก2หรือ3!?!
    แค่โทรแจ้งให้คนในบ้านทราบ และตัวเองต้องไป
    รพ.พบแพทย์เพื่อทำอะไรซักอย่าง ให้หายสงสัยครับ
     
  9. kiatp123

    kiatp123 โมฆะแมน

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,493
    ค่าพลัง:
    +19,616
    เรื่องเชื้อแพร่ทางอากาศนั้น หมอทั้งหลายยืนยันนอนยันว่าไม่มีแน่นอน แต่เมื่อมอง
    ไปทางหมอทั้งหลายแล้วก็ตกใจนึกว่ามนุษย์อวกาศจะไปนอกโลก เห็นแบบนั้นแล้ว
    ชาวบ้านไม่เชื่อหรอกครับ มีข่าวลือจาก WHO บอกว่าให้อยู่ห่างจากคนติดเชื้อ
    อย่างน้อย 3 ฟุต

    สถานการณ์การแพร่ระบาดในแอฟริกาก็ยังไม่มีแนวโน้มลดลงครับ ยอดตายเพิ่ม
    ไปถึง 700 กว่าคนแล้ว ที่ประเทศรวันดา ค่อนมาทางตอนกลางของทวีป มีข่าว
    นักศึกษาเยอรมันติดเชื้ออยู่ ทำแตกตื่นไปทั้งประเทศ ที่ไลบีเรีย เซียล่าลีโอน
    มีการกักตุนอาหารกันแล้ว เพราะการขนส่งทั้งทางบกและทางอากาศเข้าประเทศ
    ทั้งสองนี้ถูกปิดกั้น ประเทศกินีปิดพรมแดน ไอวอรีโคสต์ห้ามเที่ยวบินจากประเทศ
    ที่มีการแพร่ระบาดเข้าประเทศ ผลก็คือทำให้อาหารการกินเริ่มขาดแคลน น่าเห็นใจ
    นะครับแถวนั้นปลูกอะไรก็ไม่ค่อยขึ้นซะด้วย ถ้านำเข้าสินค้าไม่ได้ก็จะเป็นปัญหา
    ใหญ่ไม่แพ้โรคระบาดของเชื้ออีโบล่าในประเทศ

    จีนรวมถึงฮ่องกง แคนาดา ซาอุดิอาราเบีย โล่งอกแล้ว ผลการทดสอบ
    ในห้องปฏิบัติการไม่มีใครติดเชื้ออีโบล่าตาย ที่ตายนั้นเพราะเหตุอย่างอื่น
    ที่สเปนบาทหลวงวัย 75 ปีที่ไปติดเชื้อมาจากไลบีเรียได้รับยาซีแมปแล้ว
    คาดว่าอาการน่าจะดีขึ้นเช่นเดียวกับหมอและพยาบาลอเมริกันที่รับยานี้

    ทั้งโลกนี้ได้รับยาซีแมปนี้เพียง 3 คนเท่านั้นนะครับ ผู้ติดเชื้อในแอฟริกา
    ตะวันตกคงต้องรอไปก่อน บริษัทแมป ผู้วิจัยบอกว่ายังให้ใช้ไม่ได้เพราะเสี่ยง
    อันตรายเกินไป FDA หรือ อย.สหรัฐยังไม่รับรองให้ใช้ในคนได้ ที่ให้กับหมอ
    พยาบาลและบาทหลวงไปนั้นเพราะเจ้าตัวยินยอม จริงหรือเปล่าหรือว่า
    ยามันแพง คนติดเชื้อจนๆในแอฟริกาไปเกิดใหม่กันให้เรียบร้อยเสียก่อน
    แล้วค่อยมาว่ากันใหม่เรื่องการเข้าถึงยารักษา

    สำหรับประเทศไทยเรา ใครต้องสงสัยติดเชื้อเขาจะส่งไปอยู่โรงพยาบาล
    บำราศนราดูร เพื่อสังเกตอาการนะครับ เห็นว่าประกาศบังคับเป็นกฎหมาย
    แล้วใครต้องสงสัยแล้วไม่ยอมไป คงจะถูกจับตัวไป

    ที่เป็นห่วงก็เห็นจะเป็นบุคลากรของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่จะต้อง
    รับหน้าเสื่อเป็นพระเอกในการตรวจระดับห้องปฏิบัติการเพื่อรับรองผล
    ก็อย่าประมาทก็แล้วกันนะครับ เพราะพวกที่ประมาทตายกันไปเยอะแล้ว
    ทางที่ดีรวบรวมส่งให้ CDC ตรวจก็คงพอได้มั้ง หารือกันดูก็แล้วกัน

    วันนี้คงต้องติดตามสถานการณ์กันไปอีกตลอดทั้งวัน
    ถ้ามีคืบหน้าก็จะทยอยรายงานให้ทราบครับ

    สุขสันต์วันแม่ จะไปกินข้าวกับแม่ครับ วันนี้
    :boo:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 สิงหาคม 2014
  10. kiatp123

    kiatp123 โมฆะแมน

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,493
    ค่าพลัง:
    +19,616
  11. Pizzaa

    Pizzaa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +66
    ที่มา FB : Somkiat Osotsapa

    ปฏิบัติการป้องกันอีโบล่าของประเทศไทย ตอนหนื่ง

    ผมเขียนเรื่องนี้ เพื่อ

    หนื่ง ช่วยกันทำงานป้องกันมิให้ผู้มีเชื้ออีโบล่าเข้ามาป่วยในประเทศไทย ซื่งจะก่อให้เกิดปัญหาใหญ่โตตามมา

    สอง มิให้ประเทศไทยมีข่าวคราวเสียหาย เกี่ยวพันกับโรคระบาดนี้

    สาม บอกความจริงทั้งหมด แต่มิให้เกิดความกลัวจนไม่มีความสุข

    สี่ รักษาประโยชน์จากการค้ากับอาฟริกา เรื่องข้าว ยาง ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ อัญมณี ชิ้นส่วนรถยนต์ สิ่งทอ เสื้อผ้า

    ห้า บอกว่าเราควรทำอะไรเพิ่มเติม และคิดถืงเรื่องการท่องเที่ยวไทยด้วย

    ถือว่าเป็นระดับสงครามป้องกันประเทศ ป้องกันประชาชนทีเดียว

    คำถามที่หนื่ง อีโบล่าจะระบาดอีกนานเท่าใด

    หนื่ง คำทำนายของนักระบาดวิทยาต่างประเทศ คือ นี่เป็นจุดเริ่มต้น จะเกิดการระบาดหนักในสาม สี่เดือนข้างหน้า คล้ายๆเรื่องไข้หวัดนก

    ผมนั่งดูประวัติการระบาดของอีโบล่า เคยเกิดขื้นในอีกห้าประเทศ เช่น อูกันดา คองโก แต่ยังไม่มีข่าวในรอบนี้ การระบาดติดต่อไปยังประเทศใกล้เคียงมีโอกาสสูง เช่น มาลี ไอวอรี่โคสท์

    สอง องค์การอนามัยโลกไปไม่เป็นเหมือนกัน อเมริกาใช้เซรุ่มเอ็มแซพกับผู้ป่วยของตน แต่ไม่มีท่าทีวาจะให้กับคนป่วยในอาฟริกา บอกว่ายาไม่ได้ผ่านการทดลองในคน ซื่งมีเหตุผล ยาที่ทดลองในสัตว์จะได้ผลกับคนเพียง 3-5%ของยาทั้งหมด

    องค์การอนามัยโลกไม่ได้พูดถืงยาจากญี่ปุ่น ยาจากอเมริกา แต่บอกว่าจะให้บริษัทแกลกโซ่ของอังกฤษ จะผลิตยาออกมาใช้ในปี 2015

    ดูๆองค์กรโลกเป็นเวทีประลองกำลังระหว่างจีน อเมริกา ญี่ปุ่น รัสเซียเสียแล้ว
    สอง

    ประเทศไทยต้องตั้งองค์กรรับมือที่เข้มแข็งหก-สิบสองเดือนทันที

    เพราะงานนี้ยาว มีปัญหาว่าประเทศใดจะจ่ายค่ายา ยาได้ผลไหม มีผลข้างเคียงอย่างไร จะทำให้เชื้อเข้มแข็งหรือไม่ กระจายการระบาดหรือไม่

    ตั้ง task force ระยะหนื่งปีทันที จัดงบด้วยนะครับ ไม่ใช่วันละสี่ร้อย55

    สาม ขอเตือนว่าเชื้ออีโบล่ามีความรุนแรงระดับ4 ซื่งสูงที่สุด หมอ พยาบาล บุคลากรการแพทย์ ตายไปแล้วหกสิบคน เป็นจำนวนสูงมาก ยังกะหวัดสเปน

    เกิดปัญหาคนทำงาน ไนจีเรียมีหมอสี่หมื่นคน ออกไปทำงานต่างประเทศห้าพันคน กลับต้องประกาศขออาสาสมัครต่างชาติ 50 คน เพราะไม่มีคนยอมทำงานเรื่องนี้

    ประเทศอังกฤษมีเตียงรับผู้ป่วยเชื้อระดับสี่เพียงสองเตียงเท่านั้น ของอเมริกาต้องเข้าโรงพยาบาลระดับซีไน ประเทศไทยรับได้ระดับสาม

    เรื่องนี้น่ากลัวครับ

    อาการและความสามารถในการแพร่เชื้อของผู้ป่วยอีโบล่า

    หนื่ง ผู้ติดเชื้ออีโบล่าจะแสดงอาการ symptom ในช่วง 4-9 วันหลังจากได้รับเชื้อ ในรายที่รุนแรงจะแสดงอาการป่วยใน1-2 วัน จะตายภายในสองถืงสามสัปดาห์หลังแสดงอาการป่วย

    ถ้าไม่ตายในช่วงเวลาดังกล่าว มีสิทธิรอด แต่ผู้ป่วยจะมีเชื้อที่แพร่ระบาดอยู่ในร่างกายได้เกินสองเดือนครื่ง ผลจากการทดสอบ

    จืงต้องอยู่ในโรงพยาบาลตลอด อาการแนวนี้เป็นโรคที่เปลืองเตียง เปลืองหมอ เปลืองค่าใช้จ่ายมาก

    แต่เชื้อจะฟักตัวอยู่ได้ถืง 21 วันนะครับ สำหรับผู้ติดเชื้อก่อนแสดงอาการ

    ผู้ติดเชื้อนี้จืงมีอันตรายตลอดหนื่งเดือนตั้งแต่รับเชื้อจนตาย และอีกสามเดือนหลังจากหายป่วย

    สอง ขีดเส้นใต้เลยครับว่า เมื่อผู้ป่วยแสดงอาการจะเป็นระยะแพร่เชื้อ ในระยะแรกเชื้อจะอ่อน รักษาได้ แต่เช้ื้อระยะที่สอง สาม จนตาย และหลังจากหายแล้วรุนแรง ง่ายต่อการระบาด

    ข้อมูลนี้สำคัญในการวางแผนป้องกันประเทศไทย

    อาการของผู้ป่วยอีโบล่า แบ่งเป็นสี่ขั้นตอน ,

    ขั้นที่หนื่ง ระยะติดเชื้อยังไม่แสดงอาการ ส่วนใหญ่ที่สุดจะแสดงอาการหลังติดเชื้อ 4-9 วัน หรือ1-2 วัน ที่เหลือไปได้ถืง 21 วัน

    ขั้นที่สอง เมื่อเกิดอาการ ในช่วงสามวันแรก จะมีอาการคล้ายไข้หวัด คือ ปวดกล้ามเนี้อ มีไข้ระดับ 105 องศาเอฟ เจ็บคอ อ่อนเพลียรุนแรงฉับพลัน

    ถ้าคุณไม่เคยติดต่อกับคนไข้อีโบล่า คุณเป็นไข้หวัดแหงๆ ไม่ต้องสติแตกครับ กินยา นอนพักซะ

    เนื่องจากอีโบล่ามีอาการคล้ายไข้หวัด จะตรวจเลือดทุกคนน่ะ มันไม่ไหว

    ขั้นที่สาม วันที่4-7 หลังจากเริ่มมีไข้ อาจมีอาการอาเจียร ท้องร่วง ถ่ายเป็นเลือด ความดันเลือดต่ำ ปวดหัว

    ถ้าไม่เคยเกี่ยวข้องกับคนไข้อีโบล่า คุณอาจเป็นอาหารเป็นพิษ ถ่ายเป็นเลือดอาจเป็นริดสีดวง มะเร็ง โรคตับ ไต ไปโรงพยาบาลครับ

    ขั้นที่สี่ วันที่7-10 หลังจากเริ่มมีอาการ จะมีเลือดออกทางปาก หู ตา ทวาร เกิดเป็นตุ่มพุพองมีเลือดไหลออกมา เชื้อนี้รุนแรงมาก หลบภูมิต้านทานของร่างกายเข้าตับ ไต มีเลือดไหลทั้งภายนอก ภายใน

    คนป่วยจะช้อก โคม่า ใส่เครื่องช่วยหายใจ และตาย ตายเพราะเลือดออกมาก หรือ อวัยวะเช่นไตฟอกเลือดไม่ได้ เลือดเสียเข้าหัวใจหัวใจหยุดเต้น

    ผมไม่อธิบายนะครับว่า เชื้อมันเข้าไปทำให้เซลล์เปลี่ยนแปลงอย่างไร ทำให้เลือดออกอย่างไร อาการมันคล้ยเลือดออกจากทวารทั้งเจ็ด มีตุ่มตามตัวแบบไข้ทรพิษด้วย

    ขั้นที่ห้า เมื่อผู้ป่วยตาย ช่วงนี้คนจะติดเชื้อกันมาก ตอนทำพิธีทำความสะอาดศพ
    ด้วยความเคารพอย่างสูงต่่ออิสลามิกชน ผมเข้าใจการปฏิบัติดูแลผู้ป่วย การทำความสะอาดศพ และแต่งศพตามพิธีศาสนา ต้องระมัดระวังสูงสุด เพราะของเสียและเชื้อแข็งแรงเต็มที่ ติดต่อกันช่วงนี้เยอะครับ

    ขั้นที่หก คนที่หายป่วยแล้ว ก็ต้องระวังมากๆครับ เชื้อยังอยู่นาน จะมีเพศสัมพันธ์ต้องใช้ถุงยางเสมอ

    เชื้ออีโบล่าติดต่อได้ทางไหนบ้าง

    หนื่ง ของเหลวทุกชนิด เลือด อุจจาระ อาเจียน ห้องขับถ่ายอันตรายมาก

    สอง ทางผิวหนัง เช่นเหงื่อ หมอด้านนี้เลิกจับมือกัน แต่เอาศอกชนกัน คิดดูละกัน

    สาม เมื่อเข้าไปดูแลคนไข้ คนไข้ จาม ไอ เชื้อมาทางอากาศได้ เชื้อออกจากปาก จมูกได้

    สี่ พยาบาล ญาติที่ไปเฝ้าไข้ ไปเช็ดตัว ล้างอุจจาระ ทำความสะอาดเลือด แผลตามร่างกาย

    ห้า ถ้าระบบถ่ายเทอากาศ แอร์เป็นแบบปกติ ติดต่อได้ มีการเผยแพร่การปฏิบัติของ CDC ของอเมริกา อังกฤษจืงบอกว่ามีเตียงรับผู้ป่วยอีโบล่าที่ปลอดภัยเพียงสองเตียง เพราะต้องออกแบบใหม่หมด ทุกขั้นตอน ระดับสี่นะครับ

    หก สิ่งแวดล้อม เช่น ห้องผู้ป่วย ของเหลวบนเตียง พื้น ติดรองเท้าบุคลากร
    โรคนี้อันตรายสุดๆ

    แพทย์ที่ตรวจเลือดเสี่ยง ต้องใช้ชีวอุปกรณ์ป้องกันระดับสี่ มีไหม

    ผมนำรายงานของหน่วยแลบ แพทย์ที่ปฏิบัติงานภาคสนาม ผู้เชี่ยวชาญ คำแนะนำคลีนิกของ cdc ศูนย์วิจัยต่างๆเกี่ยวกับโรคติดเชื้อมาสรุปบอกความจริงว่าโคตรอันตราย

    องค์กรอนามัยโลกก็ยืนยัน หมอไนจีเรียเผ่น

    แต่เข้าไทยยากมาก เดี๋ยวจะเอาเรื่องair transport และการจัดการมาให้อ่านครับ
     
  12. Pizzaa

    Pizzaa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +66
    ปฏิบัติการป้องกันอีโบล่าของประเทศไทย ตอนสอง

    คำถามคือ เราจะจัดการกับโรคระบาดอีโบล่าอย่างไร

    มีสองสถานการณ์ คือ ป้องกันมิให้ผู้มีเชื้อนี้เข้ามาป่วยในประเทศ กับการจัดการโรคถ้ามีแอกซิเดนท์ คนเข้ามาป่วยในประเทศ

    โอกาสที่จะมีผู้ติดเชื้อเข้ามาป่วยในประเทศ มีน้อยมาก เพราะ

    หนื่ง ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ที่สุด จะเริ่มมีอาการตั้งแต่วันที่สอง จนถืงวันที่4-6 หลังจากได้รับเชื้อ เมื่อมีอาการ ร่างกายจะอ่อนเพลียรวดเร็วมาก จนสังเกตุได้ เดินทางไม่ไหวหรอก ยกเว้นมาติดเชื้อที่สนามบิน ซื่งยาก

    สอง การเดินทางจากกินี ไนจีเรีย เซียราลีอองมาไทย ต้องมาต่อเครื่องที่ปารีส หรือแฟรงค์เฟิร์ต ใช้เวลาบินเฉลี่ยๆราว 7 ชั่วโมง รวมเวลาเดินทางมาสนามบิน เวลารอเปลี่ยนเครื่องก็ราว 14 ชั่วโมง คนทั่วไปจะแวะนอนปารีสหรือแฟรงค์เฟิร์ตหนื่งคืน ถ้าป่วย อาการออกแถวนั้นแหละ

    บินจากปารีสมาไทยราว 12 ชัวโมง ถ้าบินสายการบินจีน 13 ชั่วโมง กว่าจะมาถืงไทยได้ก็สองสามวัน เหนื่อยมากทีเดียว ใครมีเชื้ออาการออกแน่นอน

    ผมไม่รู้ว่าสนามบินชาร์ล เดอ โกลตอนนี้มีสแกนผู้ป่วยtransit passenger หรือเปล่า ใครรู้บ้าง พวกรอเปลี่ยนเครื่อง มาถืงไทยเจอสแกนอีกครั้ง หลุดยากครับ อาการไข้รุนแรงเห็นได้ชัด ตอนนี้เชื้อยังไม่อันตราย หมอจะแนะนำให้ดูอาการผู้โดยสารแถวหลังสองแถวหนื่งสัปดาห์ ถ้ามีผู้ป่วยในเครื่อง

    สาม คนที่จะมาถืงไทยได้ มักจะเป็นพวกทำธุรกิจ เพราะค่าใช้จ่ายเดินทางสูง เมื่อเทียบกับรายได้ ก็เป็นการคัดกรองผู้โดยสารอีกชั้นหนื่ง

    สี่ คนจากประเทศเสี่ยงมาไทยน้อย มีมาเมืองไทยจากสามประเทศนั้นแค่ 6 คน ส่วนที่มาจากไนจีเรียผมไม่ห่วง มีผู้ป่วยแค่ 13 คน ไนจีเรียน่าจะเอาอยู่ สนามบินลากอส มีการสแกนกันพรื่บพรั่บ ทุกสายการบินตอนนี้มีระบบป้องกันเข้มงวดมาก มีระบบสื่อสารบอกอาการผู้สงสัยรวดเร็ว นักธุรกิจของไทยไปติดต่อธุรกิจก็นอนโรงแรม โรงแรมแถวนั้นใหญ่โตดีนะครับ

    ห้า โรคนี้ร้ายแรง แต่ถ้าเทียบกับจำนวนประชากรกับผู้ป่วย ยิ่งน้อยใหญ่ ไนจีเรียมีพลเมือง 140 ล้านคน คนมีอายุเฉลี่ย 48 ปี ตายเร็ว ผู้ป่วย 13

    อาฟริกาทั้งทวีปหนื่งพันล้านคน เกือบห้าสิบประเทศ มีคนป่วยอยู่ ราวพันคนในสี่ประเทศ
    กีนีพลเมือง 11.5 ล้านคน ไลบีเรีย4ล้าน เซียร่าลีออง 5ล้าน

    คนที่จะติดเชื้อคือโรงพยาบาล ญาติ คนทำศพ คนทั่วไปไม่ค่อยเกี่ยว

    หก ข้อมูลที่พวกเราควรรู้อีกเรื่อง คือ จำนวนคนเดินทางโดยเครื่องบินจากสนามบินในลากอส ไนจีเรียนี่แค่หนื่งในแปดสิบของไทย จากสนามบินในกีนี ไลบีเรีย เซียราลีออง ยิ่งน้อยไปใหญ่ สายการบินหลายสายเลิกบินไปแล้ว ความเสี่ยงจืงลดลง

    ไลบีเรียน่ากลัว สภานทูตอเมริกาให้ครอบครัวย้ายออกจากประเทศไปแล้ว

    สรุป โอกาสที่จะมีผู้ป่วยเข้าไทยน้อยสุดๆ เพราะ

    หนื่ง คนที่มาจากประเทศเสี่ยงสามประเทศมีน้อย 6 คน การเดินทางใช้เวลานาน โอกาสที่คนจะติดเชื้อก่อนขื้นเครื่องสองวันมีน้อยไปใหญ่ คนทำธุรกิจอยู่ในสภาพแวดล้อมต่างจากผู้ป่วย เสี่ยงต่ำครับ มีปารีสคอยสแกนอยู่ ไนจีเรียด้วย สายการบินด้วย สนามบินไทยด้วย

    สอง นักธุรกิจไทยส่วนใหญ่ไปติดต่อตลาดใหญ่ เช่น กานา อียิปต์ เคนยา อาฟริกาใต้ ไนจีเรีย ห้าประเทศนี้เป็นที่ตั้งศูนย์การพาณิชย์ของไทยในอาฟริกาด้วยอยู่กันสบายดี สถานทูตของไทยในประเทศต่างๆก็สบายดี

    สาม อินเดียมีคนทำงานในอาฟริการาว50000 เขาก็บินตรงกลับบ้านเขา
    สี่ คนจีนที่ไปเที่ยวไปในประเทศที่สวยงามอย่างอาฟริกาใต้ เคนยา กันเยอะ
    ผมรู้จักอาฟริกาใต้ นามิเบีย เคนยา มีเพื่อนอาฟริกันร่วมยี่สิบประเทศ พอเข้าใจครับ

    @ ถ้าเกิดมีแอกซิเดนท์หนื่งในห้าร้อยล้านเข้ามาในเมืองไทย ผมแนะนำว่า เอาแยกไปอยู่ที่พักเฉพาะ ไกลๆ ดีกว่ ดูแลมากก็ไม่ช่วย เพราะไม่มียา โอกาสรอด 40%-10%

    ไปตามดวง

    ล่าสุด ไนจีเรียยืนยันว่าจะส่งคนไปร่วมพิธีฮัจจ์ เดือนตุลาคมนี้ เป็นหมื่น คงมั่นใจว่าเอาอยู่ sรือสร้างความมั่นใจ

    ผมมีเพื่อนอาฟริกันสมัยเรียนมาก หลายชาติ นิสัยดี ฮาดี

    อาฟริกาเป็นทวีปที่ผมอยากกลับไปเที่ยวอีกหลายครั้ง เสน่ห์รุนแรงมาก

    วันนี้เขาเดือดร้อน ต้องให้กำลังใจ ครับ สร้างมิตรภาพวันนี้ ถาวรยั่งยืน เป็นโอกาสเข้าตลาดอาฟริกา เสี่ยงต่ำ อนาคตดี

    เหมือนตอนเรามีหวัดนก ใครมาด่า จำนานทีเดียว อกเขา อกเรา ใครพูดดี เราก็จำ

    โรคนี้จะหายไปได้ ถ้าทำตามหลักระบาดวิทยาเคร่งครัด >> หาผู้ป่วย แยกผู้ป่วย กันไม่ให้คนเข้าใกล้ชิดมาก จะได้ไม่ระบาด
     
  13. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    2 Cm.หลังข้างบนนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลทางการบริหาร
    ประเทศในสภาวะแตกตื่นได้เลยครับ

    รายละเอียดมาจากประสบการณ์แน่นปึ้ก ปึ้ก
     
  14. kiatp123

    kiatp123 โมฆะแมน

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,493
    ค่าพลัง:
    +19,616
    [​IMG]

    เอ ใครพอจะรู้บ้าง พวกพ่อมด หมอผี หมอดู หายไปไหนหมด
    ไม่โผล่ในเพจเลยแฮะ

    หวังจะพึ่งซักกะหน่อย หายจ้อยหมด
    :boo:
     
  15. Pizzaa

    Pizzaa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +66
    สงครามโรคระบาด ทำลายล้างเผ่าพันธ์และดุลอำนาจโลก

    ไม่มีอาวุธใดที่มีประสิทธิภาพในการทำลายล้างเผ่าพันธ์มนุษย์ มากเท่าเชื้อโรค

    การเข้ายืดครองหลายๆทวีปเกิดจากการทำสงครามเชื้อโรค ทำสงครามโรคระบาด

    ประเทศที่มีความรู้เรื่องเชื้อโรค สามารถนำมาใช้เป็นอาวุธโดยไม่ต้องใช้กำลังทหาร

    สภาความมั่นคงแห่งชาติของประเทศสำคัญๆ จืงจัดความสำคัญของอาวุธชีวภาพที่เกิดจากการใช้เชื้อโรคไว้ในระดับสูงมาก ทั้งการป้องกัน และการสะสมเชื้อโรคร้ายแรง

    ตอนนี้รวบรวมข้อมูลอีโบล่าที่สำคัญไว้ได้ครบพอจะเสนอแผนปฏิบัติการได้ แต่ในเบื้องแรก ต้องเข้าใจอานุภาพของสงครามเชื้อโรคกัน

    เคยสอนหนุ่มสาวหน้าตาดี หัวไบรท์ที่คณะแพทย์ เภสัช และสัตวแพทย์ที่ จุฬามาหลายปีจืงพอจะรู้อยู่บ้างนิดหน่อย

    ตัวอย่าง

    >>โรคไข้ทรพิษ ทำให้ประชากรอเมริกันพื้นเมืองดั้งเดิมที่เรียกว่า อินเดียนแดง ล้มตายไปจำนวนมาก ประชากรลดจากสิบสองล้านคน เหลือเพียง235000 คน คนผิวขาวที่จำนวนน้อยกว่าจืงเข้ายืดครองได้

    ก่อนหน้านั้น เกิดการระบาดในยุโรป คนตายไป60 ล้านคน คนที่รอดจะตาบอดจำนวนมาก ผู้ที่รอดชีวิต มีภูมิคุ้มกัน เมื่ออพยพไปทวีปอื่น เช่น อเมริกา คนพื้นเมืองที่ไม่มีภูมิคุ้มกันตายเรียบ

    ด้วยความรู้เรื่องโรคไข้ทรพิษ เมื่อกองทัพสเปนจะยืดละตินอเมริกา ทหารสเปนขอเจรจา มอบของขวัญให้หัวหน้าเผ่าที่ห่อด้วยผ้าขาวคลุมศพผู้ตายด้วยไข้ทรพิษ ชนหื้นเมืองตายเรียบ จืงยืดได้ง่ายดาย นี่เป็นการใช้อาวุธชีวภาพครั้งแรกของโลกครับ

    โรคนี้เกิดจากวัว หลายๆประเทศเก็บสต้อกไว้เป็นอาวุธ

    โรคนี้ทำให้คนตายทั่วโลกสองร้อยล้านคน

    กาฬโรค การะบาดครั้งใหญ่เกิดแถวเอเซียกลางแล้วเข้ายุโรป ตายไปทั้งหมด 75 ล้านคน ซื่งมากในยุคนั้น คนยุโรปตายไปราวสองในสาม ราวสามสิบล้านคน
    เอดส์ โรคยุคใหม่ เริ่มที่อาฟริกา คนตายไปแล้ว 25 ล้านคน

    หวัดสเปน ตายไป 50-100 ล้านคน เกิดช่วงสงครามโลกครั้งที่หนื่ง นี่คือสาเหตุใหญ่ที่เลิกรบกัน ระบาดหนักแถวยุโรป และอเมริกา

    โรคหวัดประจำปี ตายไปปีละสี่หมื่นคน ตายกันมากย่านประเทศอากาศหนาว

    โรคระบาดยุคใหม่ที่คนสนใจเฝ้าดู คือ อีโบล่า และสายพันธ์ใกล้เคียงอีกสองตัวในอาฟริกา กับไข้หวัดมรณะ

    เพราะอัตราการทำลายล้างสูงมาก

    แปลกนะครับ การเรียนประวัติศาสตร์ของไทยไม่มีการเรียนประวัติศาสตร์โรคระบาดและการแพทย์เลย

    ต้องเริ่มจากตรงนี้จืงจะเข้าใจเรื่องการสร้างอาณานิคม การเป็นมหาอำนาจ ดุลอำนาจทางการทหาร ระบบการปกครอง จนถืงสงครามศาสนา

    เชื้อโรคและการแพทย์เป็นตัวกำหนดความเป็นมหาอำนาจและการยอมรับ

    ผมห่วงว่าจะมีคนใช้อีโบล่ามาทำสงคราม ระบาดเข้าประเทศมุสลิมในอาฟริกา แล้วขื้นเหนือต่อไปแถวลิเบีย ซาอุดิอารเบีย อิรัก อิหร่าน ซีเรีย ปาเลสไตน์ เพื่อเปลี่ยนดุลอำนาจ เผ่าพันธ์โลก มันจะยุ่งกันใหญ่

    ฟังผลการประชุมของอนามัยโลกแล้วหมดหวัง

    อย่าให้ถืงขั้นทำสงครามโรคระบาดกันเลย

    แล้วจะมีข้อมูลป้องกันประเทศไทยมานำเสนอครับ

    โรคระบาดเกิดจากสองสาเหตุ เกิดจากสัตว์แบบธรรมชาติ และเกืดจากคนสร้าง
     
  16. Pizzaa

    Pizzaa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +66
    ที่มา : FB / Somkiat Osotsapa

    แนะนำ คสช และสาธารณสุขเรื่องอีโบล่านิดนืง

    เพิ่งหาเจอว่า เคยให้สัมภาษณ์เนชั่นสุดสัปดาห์เรื่องสงครามโรคระบาดไว้เมื่อปี 2546 หนังสือพิพ์ วิทยุ โทรทัศน์ด้วย ยุคโรคซาร์สระบาด ก็ร่วมสิบปีมาแล้ว

    ติดตามดูการรับมืออีโบล่าตอนนี้ คนเก่าของสาธารณสุขเกษียรไปแล้ว คสชก็คงไม่มีประสบการณ์เรื่องนี้เท่าใดนัก เป็นทั้งศาสตร์และศิลปะของสงครามป้องกันประเทศทีเดียว

    มีอะไรที่ต้องทำเพิ่มหลายอย่าง

    หนื่ง การระงับข่าวลือ ความหวาดกลัวในประเทศ มีข่าวเรื่องนักฟุตบอลทีมบุรีรัมย์ เรื่องพม่าเสียชีวิต ควรมีผู้ติดตาม social media ที่สามารถประสานต่อหน่วยเกี่ยวข้อง สั่งการหน่วยในพื้นที่ หรือส่งทีมเคลื่อนที่เร็วไปตรวจสอบ ปฏิบัติการได้ทันที เพื่อสยบข่าวลือในหนื่งถืงสองวัน

    ช่วงนี้เพิ่มความถี่ในการชี้แจงหน่อยครับ ต้องพูดเป็นนา

    สอง การติดตามการสร้างข่าวจากต่างประเทศ สำนักข่าวออนไลน์ International Business Time ที่มีที่ตั้งในนิวยอร์ค ได้ทำแผนที่เสี่ยง Ebola Map ขื้น ใส่พื้นที่เฝ้าระวังประเทศไทยเป็นสีเหลือง สำนักข่าว New.com ของออสเตรเลียเอาไปขยายต่อ ตามมาด้วยการลงสื่อหลักอื่นๆ

    ต้องระวังว่ามีคนคอยหาเรื่องใส่ประเทศเราอยู่ ที่จริงของเราเป็นเพียงตรวจระวังภัยสาธารณสุขปกติ

    งานพวกนี้ไม่ต้องแจ้ง Who และสำนักข่าวต่างประเทศ ระบุจำนวนคน เพียงบอกว่าเรามีระบบการทำงานก็พอแล้ว ไม่ควรแจ้งรายละเอียดเหมือนตอนไข้หวัดนก ซาร์ส

    เราไม่ต้องการข่าวเกี่ยวข้องใดๆกับอีโบล่าทั้งสิ้น โดนเพื่อนเล่นเอาได้ เสียรังวัดเปล่าๆ

    ต้องมีคนที่รู้ภาษาต่างประเทศดี รู้วิธีติดตามข่าวนะครับ เข้าใจเรื่องราว วิธีชี้แจงด้วย ต้องมีศิลปะสูงมาก

    สาม จัดตั้ง task force ที่ฉลาดที่สุด มีความพร้อมสูงสุด จากด้านการบิน สาธารณสุข มหาดไทย ต่างประเทศ พาณิชย์ ทหาร ตำรวจเข้าร่วมกันทำงาน ทีมนี้ต้องรู้เรื่องอีโบล่า การบิน แผนปฏิบัติการ pandemic สามารถติดต่อขอการสนับสนุนจากระดับตัดสินใจได้ทันที รู้เรื่องเศรษฐกิจ การทูต ข่าวสารต่างประเทศ รู้วิธีการทำงานโรคระบาด

    จัดอบรมทีม ซ้อมแผนเลยครับ ลองจำลองสถานการณ์ต่างๆดู ว่าจะมีอุปสรรคอย่างไรบ้าง ต้องเตรียมอะไรบ้าง

    จัดงบฉุกเฉินด้วย ระยะเวลาหนื่งปี

    สี่ ทีม detective ต่างประเทศสำคัญมาก เป็นอาวุธชีวภาพหรือไม่ ตอนนี้ไม่มียา
    ถ้าอาวุธชีวภาพต้องวางแผนรับมือป้องกันกลุ่มเป้าหมายทันที ต้องเตือนภัยให้พี่น้องมุสลิมทางใต้ทันที

    ห้า การส่งทีมแพทย์อาสาไปดีมากครับ หาประสบการณ์ป้องกันโรคระบาดให้ไทย กลับมาให้ช่วยเสนอแผนด้วย

    ห้า ถ้าไม่มีอุปกรณ์ป้องกันโรคระดับ 4 ไม่ควรตรวจเลือดผู้ป่วย ตายกันไปเยอะแล้ว

    หก ควรเตรียมโรงพยาบาลขนาดเล็กแยกพิเศษ ไม่ใช่โรงพยาบาลทั่วไป เอาให้ห่างไกลผู้คนหน่อย ป้องกันไม่ให้เกิดอาการกลัวโรงพยาบาลขื้น หมอไทยไม่ต้องโชว์ครับ งานนี้ความเสี่ยงสูง ไม่คุ้มหมอทุกชาติโชว์มาแล้วที่นั่น ตายไปเยอะ
    หก ทางฝ่ายพาณิชย์ควรติดตามว่า คนที่เข้ามามาทำธุรกิจอะไร นักท่องเที่ยวไม่ต้องรับก็ได้ ค่าตามดูก็ไม่คุ้มแล้ว เอาเฉพาะนักธุรกิจจริงๆ

    เจ็ด กระทรวงการต่างประเทศควรพิจารณาว่า ควรให้มีการยื่นขอวีซ่าในประเทศเสี่ยงหรือไม่ ผู้ที่จะมาควรได้รับวีซ่าล่วงหน้าสิบวัน ก่อนเดินทาง ออกให้ตอนใกล้เดินทางจะดีไหม ป้องกันได้เพิ่มอีกทาง

    แปด ผู้เชี่ยวชาญด้านการบินต้องคอยรายงานการเปลี่ยนแปลงของสายการบินต่างๆ มีเครื่องบินตรงมาไทย สายอะไรบ้าง ระบบสแกนของสายการบินต่างๆเป็นอย่างไร

    เก้า ระบบ chain of command เป็นอย่างไร งานใดที่กระทรวงทำได้ทันที งานใดคสช สั่ง งานพวกนี้ emergency สูงมาก ใครพูดทีวีบ้าง อย่าพูดกันคนละทีครับ

    อือม์ ช่วงนี้มัวยุ่งการเมืองกัน ใครรับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรง ศักยภาพการนำพอไหม

    สิบ ต้องมี think tank คอยติดตามสถานการณ์โดยรวม รวมถืงสงครามชีวภาพด้วย ต้องวางแผนต่อเนือง

    สิบเอ็ด ติดตามต่างประเทศ หลายประเทศใหญ่ขนเจ้าหน้าที่ออกกันแล้ว เช่น ญี่ปุ่น อเมริกา เราควรส่งระดับตัดสินใจของกระทรวงต่างๆไปดูหน่อยมั้ยครับ ว่าช่วงไหนควรทำอะไร ปิดตรงไหนบ้าง

    วันนี้ข่าวมาแรง ญี่ปุนถอน หมอ พยาบาลโดนกักร่วม 30 ทั้งต่างชาติและพื้นเมืง คนตายเพิ่ม คนติดเชื้อเพิ่ม ยาของอเมริกาไม่ได้ผล เข้าแคนาดาแล้ว
     
  17. kiatp123

    kiatp123 โมฆะแมน

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,493
    ค่าพลัง:
    +19,616
    [​IMG]

    หลายประเทศในตะวันออกกลางกำลังเผชิญกับโรคติดต่อสายพันธ์ุใหม่ ชื่อว่า กลุ่มอาการทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือ เมอร์ส ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มโคโรนาไวรัสเช่นเดียวกับโรคซาร์ส ไวรัสตัวนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่าร้อยรายทั่วโลก โดยเฉพาะในซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเป็นประเทศแรกที่มีการพบไวรัสตัวนี้ มีผู้เสียชีวิตถึง 107 ราย และในช่วงไม่กี่เดือนมานี้ เริ่มมีข่าวพบผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตในภูมิภาคอาเซียนอย่างมาเลเซีย และฟิลิปปินส์ แต่ทั้งสองกรณีล้วนเป็นการไปติดโรคจากประเทศในตะวันออกกลาง ขณะที่หน่วยงานสาธารณสุขในโลก กำลังจับตาดูและศึกษาไวรัสตัวนี้ เพราะมีโอกาสที่มันจะกลายพันธ์ุจนสามารถติดต่อระหว่างคนสู่คนได้โดยง่ายยิ่งขึ้น แม้องค์การอนามัยโลกจะยืนยันมาตลอดจนถึงตอนนี้ว่า สถานการณ์ยังไม่ถึงขั้นระบาดก็ตาม

    เหตุการณ์ไวรัสเมอร์สทำให้นึกย้อนไปถึงความน่าสะพรึงกลัวของการระบาดของโรคร้ายแรงต่างๆ ในอดีต ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตนับสิบล้านหรือร้อยล้านคนทั่วโลก โดยไทยรัฐออนไลน์จะขอนำท่านผู้อ่านไปรู้จักกับ โรคติดต่อที่ร้ายแรงที่สุดที่เคยระบาดไปทั่วโลก และบางชนิดยังพบเห็นอยู่ในปัจจุบันเสียด้วย



    กาฬโรค

    กาฬโรค เป็นโรคที่พบเจอตลอดประวัติศาสตร์ของมนุษย์ และเป็นโรคที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดชนิดไม่มีโรคใดเทียบติด มีสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย 'เยอร์ซิเนีย เปสติส' (Yersinia pestis) โดยมีสัตว์ฟันแทะและหมัดเป็นพาหะนำโรค รวมถึงสามารถแพร่ในอากาศ ผ่านการสัมผัสโดยตรง หรือโดยอาหารหรือวัสดุที่ปนเปื้อน อาการของกาฬโรคขึ้นอยู่กับบริเวณที่มีเชื้อมากในแต่ละบุคคล เช่น กาฬโรคที่ต่อมน้ำเหลือง (bubonic plague) กาฬโรคแบบโลหิตเป็นพิษ (septicemic plague) ในหลอดเลือด กาฬโรคแบบมีปอดบวม (pneumonic plague) หากไม่นับยุคก่อนคริสตกาล การระบาดของกาฬโรคแบ่งได้ 3 ช่วงใหญ่ ได้แก่

    ช่วงที่ 1 ยุคกลางตอนต้น เริ่มจากเหตุการณ์ที่เรียกว่า 'กาฬโรคแห่งจัสติเนียน' ที่จักรวรรดิโรมันตะวันออกในปี ค.ศ. 541-542 เป็นการระบาดครั้งแรกเท่าที่มีการบันทึก และเป็นครั้งแรกที่มีการพบกาฬโรคที่ต่อมน้ำเหลือง โดยคาดกันว่ากาฬโรคซึ่งมีต้นกำเนิดในจีน แพร่กระจายสู่กรุงคอนสแตนติโนเปิล จากธัญพืชที่นำเข้าจากอียิปต์ กอปรกับนครแห่งนี้มีหนูและหมัดเป็นจำนวนมากจึงระบาดอย่างรวดเร็ว ช่วงที่กาฬโรคระบาดถึงขีดสุด ชาวคอนสแตนติโนเปิลต้องเสียชีวิตอย่างน้อยวันละ 10,000 คน และสุดท้ายต้องเสียประชากรไปกว่า 40% ต่อมามันแพร่เข้าสู่เมดิเตอร์เรเนียนในปี ค.ศ. 588 ในดินแดนที่ปัจจุบันคือฝรั่งเศส นักวิจัยประเมินว่า กาฬโรคแห่งจัสติเนียน ทำให้มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกมากกว่า 100 ล้านคน จำนวนประชากรในยุโรปลดลงกว่า 50% ในช่วง ค.ศ. 541-700

    ช่วงที่ 2 แบล็กเดธ (Black Death) ถึงศตวรรษที่ 19 เหตุการณ์แบล็กเดธเกิดในระหว่างปี ค.ศ. 1347-1351 เริ่มต้นจากประเทศจีนและระบาดตลอดเส้นทางสายไหม (Silk Road) และกระจายไปทั่วเอเชีย, ยุโรป และแอฟริกา รวมถึงมีปัจจัยเสริมอย่างวิกฤตการณ์ขาดแคลนอาหาร ทำให้ประชากรโลกในขณะนั้นลดลงจาก 450 ล้านคน เหลือระหว่าง 350-375 ล้านคน จีนเสียประชากรราวครึ่งประเทศจาก 123 ล้านคนเหลือเพียง 65 ล้านคน ยุโรปเสียประชากร 1 ใน 3 จาก 75 ล้านคน เหลือราว 50 ล้านคน ขณะที่แอฟริกาเสียประชากรราว 1 ใน 8 จาก 80 ล้านคน เหลือ 70 ล้านคน จากนั้นกาฬโรคยังคงหลอกหลอนชาวยุโรปและเมดิเตอร์เรเนียนตลอดศตวรรษที่ 14-17 รวมถึงในโลกมุสลิมช่วงศตวรรษที่ 17-19 ทำให้มีผู้เสียชีวิตอีกหลายล้านคน

    ช่วงที่ 3 ศตวรรษที่ 19-20 เริ่มขึ้นที่มณฑลยูนนาน ประเทศจีน ในปี ค.ศ. 1855 และแพร่ระบาดไปทั่วทุกทวีป มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 12 ล้านคน ในอินเดียและจีน ส่วนใหญ่เป็นกาฬโรคชนิดในต่อมน้ำเหลือง และกาฬโรคแบบมีปอดบวม ในช่วงนี้เป็นช่วงที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบแบคทีเรีย 'เยอร์ซิเนีย เปสติส' นำไปสู่การคิดวิธีรักษากาฬโรคสมัยใหม่ มีการพัฒนาและทดลองใช้วัคซีนต้านเชื้อกาฬโรคในต่อมน้ำเหลืองเป็นครั้งแรกในปี 1897 ปัจจุบัน กาฬโรคสามารถรักษาหายได้หากตรวจพบเร็ว โดยใช้ยาปฏิชีวนะต่างๆ

    ฝีดาษ

    ฝีดาษเกิดจากเชื้อไวรัส 2 ชนิด คือ 'วาริโอลา เมเจอร์' (Variola major) และ 'วาริโอลา ไมเนอร์' (Variola minor) ซึ่งมีความรุนแรงน้อยกว่า เป็นโรคติดต่อร้ายแรง มีลักษณะเฉพาะคือมีผื่นขึ้นตามตัว ไข้สูง ปวดศีรษะ ชัก และอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน มีอัตราการเสียชีวิต 30% เชื่อกันว่าฝีดาษเกิดขึ้นมาบนโลกนี้นานกว่า 10,000 ปีก่อนคริสตกาลแล้ว หลักฐานที่น่าเชื่อถือที่สุดพบในมัมมี่ของฟาโรห์ รามเสส ที่ 5 แห่งอียิปต์โบราณ ซึ่งสวรรคตด้วยโรคนี้ เมื่อ 1,145 ปี ก่อนคริสตกาล และคาดว่าเชื้อเดินทางเข้าสู่ประเทศจีนในช่วงศตวรรษที่ 1 และแพร่กระจายจากจีนเข้าสู่ญี่ปุ่นในศตวรรษที่ 6 และเกิดการระบาดครั้งใหญ่ในญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 735-737 ส่งผลให้ประชากร 1 ใน 3 ของประเทศในขณะนั้นเสียชีวิต

    ฝีดาษเป็นโรคที่คุกคามชีวิตมนุษย์โลกยาวนานกว่า 2,000 ปี มันค่อยๆ แพร่เข้าสู่ประเทศต่างๆ ในยุโรป ตั้งแต่ศตวรรษที่ 2 จนกระทั่งในศตวรรษที่ 16 มันก็กลายเป็นโรคที่พบเจอได้ทั่วยุโรป รวมถึงในจีนและอินเดีย และกลายเป็นสาเหตุหลักของการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตของประชากรในหลายประเทศ ก่อนเกิดการระบาดครั้งใหญ่ไปทั่วโลกยกเว้นเพียงออสเตรเลียและเกาะเล็กๆ ในช่วงกลางศตวรรษที่ 18 โดยในยุโรปแต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตประมาณ 400,000 ราย เด็กแรกเกิดในสวีเดนราว 10% เสียชีวิตทุกปี ขณะที่จำนวนทารกเสียชีวิตในรัสเซียน่าจะสูงกว่ามาก แต่ไม่มีการบันทึกสถิติ ต่อมามีการพัฒนาวัคซีนต้านโรคฝีดาษในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ทำให้จำนวนผู้ป่วยในยุโรปและอเมริกาเหนือลดลง และมีการพบไวรัส วาริโอลา ไมเนอร์ ซึ่งทำให้เกิดโรคฝีดาษที่มีอาการเบากว่าเป็นครั้งแรก

    ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 เกิดการระบาดของโรคฝีดาษจากไวรัส วาริโอลา ไมเนอร์ พร้อมๆ กับฝีดาษจากไวรัส วาริโอลา เมเจอร์ ในหลายพื้นที่ของแอฟริกาและในโลก ทำให้มีผู้เสียชีวิตราว 300-500 ล้านราย โดยข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกระบุว่า ในปี 1967 เพียงปีเดียวก็มีผู้เสียชีวิตจากฝีดาษถึง 15 ล้านคนแล้ว อย่างไรก็ตาม ผลจากการรณรงค์ฉีดวัคซีนตลอดศตวรรษที่ 19-20 ทำให้ผู้ป่วยฝีดาษทั่วโลกลดลงอย่างมาก และองค์การอนามัยโลกก็ออกประกาศในปี 1979 ว่า โรคฝีดาษถูกกำจัดไปจากโลกนี้แล้ว

    มาลาเรีย

    มาลาเรีย หรือไข้จับสั่น เป็นโรคที่มียุงก้นปล่องเป็นพาหะ สาเหตุคือ ปรสิตโปรโตซัว สกุล 'พลาสโมเดียม' (Plasmodium) ก่อให้เกิดอาการป่วยทั่วไป เช่น มีไข้และปวดศีรษะ แต่กรณีที่ติดเชื้อรุนแรง อาการอาจหนักถึงโคม่า หรือเสียชีวิตได้ มาลาเรียพบมากในพื้นที่เขตร้อนและกึ่งเขตร้อน มักพบในพื้นที่ชนบทมากกว่าในเมือง เช่นหลายเมืองแถบลุ่มแม่น้ำโขงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แทบเรียกได้ว่าปลอดเชื้อมาลาเรีย แต่โรคนี้กลับปรากฏในเขตชานเมืองหลายแห่ง รวมถึงบริเวณตะเข็บชายแดนและแนวป่า ตรงข้าม มาลาเรียในแอฟริกาปรากฏทั้งในชนบทและในเมือง แต่ความเสี่ยงในเมืองที่ใหญ่มีน้อยกว่า

    เมื่อปี 2010 องค์การอนามัยโลก (ฮู) ประเมินว่าในปีนั้นมีผู้ป่วยมาลาเรีย 219 ล้านคนทั่วโลก ในจำนวนนี้เสียชีวิตกว่า 660,000 ราย แต่สถาบันอื่นๆ เชื่อว่าทั่วโลกมีผู้ป่วยระหว่าง 350-550 ล้านคน และเสียชีวิตถึง 1.24 ล้านคน เพิ่มจากประมาณ 1 ล้านคนในปี 1990 โดยส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี นอกจากนี้ ฮูเคยเตือนด้วยว่า ทุกปีจะมีสตรีมีครรภ์ 125 ล้านคน ในภูมิภาคแอฟริกาใต้ ทะเลทรายซาฮารา เสี่ยงติดโรคมาลาเรีย และมีทารกตายจากการติดเชื้อมาลาเรียผ่านมารดาถึงปีละ 200,000 ราย ส่วนในยุโรปตะวันตกแต่ละปีจะมีผู้ป่วยมาลาเรียเฉลี่ยปีละ 10,000 คน ในสหรัฐอมเริกา อยู่ที่ปีละ 1,300-1,500 คน จำนวนผู้เสียชีวิตจากมาลาเรียในยุโรประหว่างปี 1993-2003 มีประมาณ 900 ราย

    ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จำนวนผู้ป่วยและเสียชีวิตจากมาลาเรียลดน้อยลงมา โดยฮูระบุว่า จำนวนผู้เสียชีวิตจากมาลาเรียในปี 2010 ลดลงจากปี 2000 ราว 1 ใน 3 จากการใช้มุ้งกันยุงและการใช้ยาต้านมาลาเรีย ชื่อ 'อาตีมิซินิน' (artemisinin) อย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้เสียชีวิตในทวีปแอฟริกายังสูงมาก มีอัตราการเสียชีวิตถึง 85-90% และจากทำแผนที่การระบาดของปรสิต พลาสโมเดียม สปีชีส์ 'ฟอลซิปารัม' (P. falciparum) ในปี 2010 พบว่า มีประมาณ 100 ประเทศที่มีการระบาดของโรคมาลาเรีย และทุกๆ ปีจะมีนักท่องเที่ยวนานาชาติเดินทางไปยังประเทศเหล่านี้ และมากกว่า 30,000 คน จะติดโรคมาลาเรีย



    อหิวาตกโรค

    อหิวาตกโรค หรือ โรคห่า เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย 'ไวบริโอ คอเลอรา' (Vibrio cholerae) ที่ลำไส้เล็ก ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการท้องร่วง อาเจียน ร่างกายจะขับน้ำออกมาเป็นจำนวนมาก นำไปสู่ภาวะขาดน้ำ เสียสมดุลเกลือแร่ในร่างกาย กระทั่งเสียชีวิต การติดต่อเกิดจากการดื่มน้ำหรือกินอาหารที่ปนเปื้อนเชื้ออหิวาฯ เช่น อาหารที่มีแมลงวันตอม อาหารสุกๆ ดิบๆ โรคอหิวาฯ ระบาดครั้งแรกที่รัฐเบงกอล ประเทศอินเดีย ในปี ค.ศ. 1817 (จนถึง 1824) เชื่อว่าเกิดจากสภาพการใช้ชีวิตที่แร้นแค้น รวมถึงแหล่งน้ำที่มียังเป็นน้ำนิ่ง เหมาะแก่การเติบโตของเชื้ออหิวาฯ ปีเดียวกัน โรคนี้แพร่กระจายสู่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, จีน, ญี่ปุ่น, ตะวันออกกลาง และทางใต้ของรัสเซีย ผ่านเส้นทางค้าขายทั้งทางบกและทะเล

    ส่วนการระบาดครั้งที่ 2 เกิดระหว่างปี ค.ศ. 1827-1835 ที่สหรัฐฯ และยุโรป จากความก้าวหน้าด้านการขนส่งและการค้าโลก การระบาดครั้งที่ 3 เกิดในปี ค.ศ. 1839-1856 โรคนี้แพร่กระจายสู่แอฟริกาเหนือจนถึงอเมริกาใต้ ก่อนจะส่งผลกระทบต่อภูมิภาคแอฟริกาใต้ทะเลทรายซาฮาราในการระบาดครั้งที่ 4 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1863-1875 การระบาดครั้งที่ 5 และ 6 เกิดระหว่างปี ค.ศ. 1881-1896 และ 1899-1923 แต่การระบาดในช่วงนี้มีผู้เสียชีวิตน้อย เนื่องจากโลกเข้าใจแบคทีเรียก่อโรคอหิวาฯ มากขึ้น และการระบาดครั้งสุดท้ายเกิดในอินโดนีเซีย ในปี ค.ศ. 1961 และพบอหิวาฯ สายพันธ์ุใหม่ เรียกว่า เอล ตอร์ (El Tor) ซึ่งยังคงพบเจอในประเทศกำลังพัฒนาในปัจุบัน

    จากโรคท้องถิ่น อหิวาฯ กลายเป็นหนึ่งในโรคที่แพร่กระจายและเป็นอันตรายต่อชีวิตมากที่สุดในยุคศตวรรษที่ 19 ทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายสิบล้านคน ที่รัสเซียระหว่างปี ค.ศ. 1847-1851 ประชาชนมากกว่าล้านคนเสียชีวิตเพราะโรคนี้ อหิวาฯ ยังคร่าชีวิตชาวอเมริกันถึง 150,000 คน ในการระบาดครั้งที่ 2 กลายเป็นโรคแรกที่รัฐบาลสหรัฐฯ กำหนดให้ต้องรายงานทันทีเมื่อพบผู้ป่วย และระหว่างปี ค.ศ. 1900-1920 มีผู้เสียชีวิตเพราะโรคอหิวาฯ ราว 8 ล้านคนในอินเดีย อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันอหิวาฯไม่ใช่โรคที่เป็นภัยคุกคามในยุโรปและอเมริกาเหนืออีกแล้ว เพราะมีระบบการกรองน้ำและการฆ่าเชื้อด้วยคลอรีนในระบบน้ำประปา แต่อหิวาฯ ยังส่งผลกระทบในประเทศที่กำลังพัฒนา



    เอดส์

    เอดส์ เกิดจากไวรัส เอชไอวี (HIV) ตระกูลเรโทรไวรัส เป็นสาเหตุทำให้ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือระบบภูมิต้านทานล้มเหลว ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนมากมายอันเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต ติดต่อได้ทางเลือด, อสุจิ, สารคัดหลั่งในร่างกาย หรือน้ำนม ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีหากไม่ได้รับการรักษาจะมีชีวิตอยู่ได้เพียง 9-11 ปี จัดเป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่สุดชนิดหนึ่ง ที่ยังพบได้มากในปัจจุบัน และยังไม่มียาหรือวัคซีนสำหรับรักษาโดยเฉพาะด้วย อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันในหลายพื้นที่ของโลก เอดส์กลายเป็นโรคเรื้อรังมากกว่าโรคที่ทำให้ถึงตาย โดยกระบวนการรักษาที่เรียกว่า การบำบัดด้วยยาต้านเรโทรไวรัสที่มีประสิทธิภาพรุนแรง (HAART) และการป้องกันที่เหมาะสม สามารถลดอัตราการเสียชีวิตได้ถึง 80%

    โรคเอสด์ถูกค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1981 ในสหรัฐอเมริกา ในกลุ่มผู้ที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกันและคนรักร่วมเพศ โดยพวกเขามีอาการของโรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อ นิวโมซิสติส จิโรเวซิไอ (Pneumocystis jirovecii) ซึ่งพบได้ในคนที่มีภูมิต้านทานบกพร่องอย่างมากเท่านั้น ก่อนที่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการของโรคมะเร็งผิวหนังหายากที่เรียกว่า 'คาโปซี' (Kaposi's sarcoma) จากนั้นจำนวนผู้ป่วยสองโรคนี้ในสหรัฐฯ มากขึ้น ส่งผลให้ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ต้องจัดตั้งเจ้าหน้าที่เฉพาะกิจขึ้นมาติดตามการระบาดครั้งนี้ โดยตั้งชื่อโรคว่า โรคความคุ้มกันบกพร่องอันเกี่ยวเนื่องกับคนรักร่วมเพศ (GRID) ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็นเอดส์ (AIDS: กลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อม) ในปี ค.ศ. 1982 เมื่อพบว่าโรคนี้ไม่ได้เกิดเฉพาะในกลุ่มเกย์เท่านั้น และชื่อเดิมทำให้เข้าใจผิด

    ตั้งแต่พบโรคเอดส์ใน ค.ศ. 1981 จนถึง ค.ศ. 2009 มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคร้ายนี้แล้วเกือบ 30 ล้านคน ขณะที่ในปี ค.ศ. 2012 มีการประเมินว่า ในปีนั้นมีผู้ที่ใช้ชีวิตอยู่โดยมีเชื้อเอชไอวีอยู่ในร่างกายทั่วโลกประมาณ 35.3 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นชาย 17.2 ล้าน, ผู้หญิง 16.8 ล้าน และอีก 3.4 ล้านคน เป็นผู้มีอายุไม่เกิน 15 ปี ก่อนหน้านั้นในปี ค.ศ. 2010 มีผู้เสียชีวิตจากโรคเอดส์ราว 1.8 ล้านคน โดยกว่า 66% อยู่ในภูมิภาคแอฟริกาใต้ทะเลทรายซาฮารา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีผู้ป่วยเอดส์มากที่สุด 22.9 ล้านคน หรือคิดเป็น 68% ของผู้ติดเชื้อทั้งหมดในปี 2010 ขณะที่เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับผลกระทบมากที่สุดเป็นลำดับ 2 มีผู้ติดเชื้อ 4 ล้านคน จากประชากร 30 ล้านคน มีผู้เสียชีวิตประมาณ 250,000 คน


    ข้อมูลและภาพจาก http://www.thairath.co.th/content/420164
     
  18. kiatp123

    kiatp123 โมฆะแมน

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,493
    ค่าพลัง:
    +19,616
    ถึงดูแล้วจะเวอร์ไปหน่อย
    ไม่ใช่ แต่ก็ใกล้เคียง
    ไวรัสในเรื่องก็คือ Ebola นั่นแหละ
    แต่ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น Motaba

    ที่อยากให้ดูก็เพราะว่า
    ถ้า outbreak จริงๆ เราจะโดนทหารกักโรคไว้
    ประมาณในหนังนั่นแหละ

    ดูไว้เป็นอุทาหรณ์ แต่อย่างจริงจังมากนักครับ

    [​IMG]

    ดูหนังOutbreak วิกฤตไวรัสสูบนรก [HD]

    แต่ถ้าหลุดเข้าไทยเมื่อไหร่ ก็ตัวใครตัวมันนะครับ
    ซี้แหงแก๋ :boo:
     
  19. atta454

    atta454 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    131
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +263
    สรุปปแล้ว คน คน คน สร้างมาเองทั้งนั้น...
    (คนหรือมาร ก็ไม่รู้)
     
  20. kiatp123

    kiatp123 โมฆะแมน

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,493
    ค่าพลัง:
    +19,616
    [​IMG]

    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    ข้อมูลจาก CDC สหรัฐอเมริกา
    สรุปถึงวันนี้ ก็ตายไปพันกว่าแล้ว
    การแพร่ระบาดยังจำกัดอยู่ในแอฟริกาตะวันตก
    ประเทศเซียร่าลีโอนยังครองแชมป์

    ยาซีแมปป์ใช้ได้ผลดีกับหมอและพยาบาลของอเมริกัน คาดว่ารอดตายแล้ว
    ส่วนบาทหลวงสเปน ได้ใช้เหมือนกันแต่ไม่รอด
    ยาถูกส่งไปให้หนูลองยาทั้งหลายในประเทศที่มีการแพร่ระบาด
    จะได้ผลแค่ไหนไม่รู้ แต่ก็ต้องใช้ดีกว่าตายไปเปล่าๆ

    ห่วงแต่หมอเมืองไทย มัวเงื้อง่าราคาแพง
    ยังไม่หาชุดป้องกัน BSL-4 มาเตรียมไว้ก่อน
    ตายไปผมไม่สงสารนะ จะบอกให้

    ยกตัวอย่างเช่น มนุษย์ข้าราชการไทยคนนี้
    ดูจากภาพแล้วเหมือนว่ากำลังคัดกรองคนป่วยที่ไหนที่ซักแห่ง
    [​IMG]
    แบบนี้ ถ้ามีคนติดเชื้อมาอยู่ตรงหน้า
    หมอคนนี้ ซี้แหงแก๋

    ควรจะมีทั้ง Lab + suit + Process + Expert
    แบบนี้นะครับ ตามไปดูซิ
    http://www.bu.edu/today/2013/video-offers-glimpse-of-biosafety-level-4-lab/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 สิงหาคม 2014

แชร์หน้านี้

Loading...