อยากทราบว่าของดีในความหมายของหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวันคืออะไรคะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย girlbearly, 19 พฤศจิกายน 2013.

  1. girlbearly

    girlbearly Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    39
    ค่าพลัง:
    +46
    คือมีความตั้งใจจะไปปฏิบัติกรรมฐานที่วัดอัมพวันค่ะ ส่วนตัวแล้วนั่งสมาธิไม่ค่อยเป็นค่ะ เลยคิดอยากไปเรียนที่วัดอัมพวัน ประมาณ 7วัน อยากทราบว่าต้องปฏิบัติกาย ใจ อย่างไรคะ ถึงจะได้ของดีกลับบ้านไปด้วยค่ะ ช่วยแนะนำด้วยค่ะ ม
     
  2. mahamettayai

    mahamettayai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    1,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +10,673
    ถ้าตั้งใจ ประพฤติปฏิบัติ ก็เท่ากับเป็นการเริ่มสะสมอริยทรัพย์ภายใน เป็นเสบียงบุญต่อไปภายหน้า ซึ่งจะเป็นอะไรบ้างนั้นต้องไปสัมผัสและรู้ได้ด้วยตัวเอง ค่ะ

    เพราะของดีที่จะได้มาหลังจากปฏิบัติธรรม แต่ละคนจะไม่เหมือนกัน และไม่เท่ากัน อนุโมทนาบุญด้วยค่ะ
     
  3. ABT

    ABT เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +1,524
    ของดีนะต้องไป ปฏิบัติเอา แล้วแต่ใครจะได้อะไรกลับมา บอกกันไม่ได้ครับ ต้องไปเอง ส่วนตัวผมก็ยังไม่เคยไปนะครับ แต่ขออนูโมทนาครับ นำของดีติดตัวกลับบ้านมาเยอะ ๆ นะครับ อนุโมทนา
     
  4. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    625
    ค่าพลัง:
    +572
    - ของดีที่ วัดอัมพวัน คือการทำได้ สติเกิด หลวงพ่อท่านต้องการให้ของดีนี่คือ สติ เมื่อได้สติมาทำต่อยอด สติ จะออกดอก ออกผล มากมายจนถึงที่สุดแห่งทุกข์
     
  5. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,311
    ค่าพลัง:
    +3,090
    ยกตัวอย่างของดีนะครับ

    สมมติเรามีชีวิตที่เร่งรีบทำงานงกๆๆๆ
    หยุดเสาร์อาทิตย์ก็ไปเที่ยว ชอบปิ้ง ต่างๆนาๆ
    เป็นวงจรแบบนี้ แล้วเราคิดว่า โอเค สุขแล้วกับชีวิต

    วันหนึ่งมีโอกาส ไม่ว่าจะมีใครชวนหรือโดนบังคับก็แล้วแต่
    ให้ได้มาฝึกมาปฏิบัติ ณ สถานที่ต่างๆ
    แล้วได้พบกับความผ่อนคลาย
    ความแปลกใหม่ ในสังคมเย็นกายสบายใจ
    ตัดขาดจากงาน ตัดขาดจากเรื่องวุ่นๆต่างๆ
    ทำให้ได้พบความสุขที่ดียิ่งกว่าที่เราเคยพบ
    จนได้เข้าใจว่า ชีวิตที่เร่งรีบ ชีวิตที่สะสมเงินนั้น
    เทียมไม่ได้กับชีวิตแบบพอเพียง
    ชีวิตแบบนักปฏิบัติ ที่ไม่จำเป็นต้องไปเร่งร้อนเร่งรีบอะไร
    ก็อยู่มีความสุขได้
    ทำให้มุมมองต่องานที่เราทำนั้น เปลี่ยนไป
    รักตนรักสุขภาพมากขึ้น
    เมื่อรักตนเองแล้ว ก็รักคนอื่นได้มากขึ้นไปอีก
    เมื่อมองเห็นความสำคัญของงานน้อยลง
    ความทุกข์จากงานมันก็ลดลง

    นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของ "ของดี" ที่ว่า
     
  6. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    ผมเคยไปปี ๒๕๕๒ โดยตั้งใจ จะรบกวนท่านครั้งเดียว ผมจึงเต็มที่เลย
    โดยไม่สนใจคนรอบข้างว่าเขาจะเป็นอย่างไร มีทั้งพอใจและไม่พอใจ
    สนใจธรรมะอย่างเดียว อย่างเช่น เดินจงกรมถึงเวลานั่ง ทุกคนจะเดินไปเอา
    อาสนะ มารองนั่ง ผมจะนั่งกับพื้นเลย ตาตุ้มพองด้วย (เดินแล้วนั่งเลยอารมณ์จะต่อเนื่อง)
    ส่วนของดี(ถาวร) คือ ความเป็นอริยะ
     
  7. THE SEVEN

    THE SEVEN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    154
    ค่าพลัง:
    +870
    ของดีมีหลายระดับ มองได้หลายมุม
    เช่น ศีล สมาธิ ปัญญา
    รู้จักละบาป ทำดี ทำจิตผ่องใส
    รู้จักทุกข์ หาทางพ้นทุกข์ ปฏิบัติให้พ้นทุกข์
    รู้จักใจตัวเองมากขึ้นในรัก โลภ โกรธ หลง
    รู้จักการภาวนา สะสมบุญ สะสมปัญญา
    เห็นความสำคัญของสติ ความสบายใจ ฯ

    อยากทราบว่าต้องปฏิบัติกาย ใจ อย่างไร

    1) "กินน้อย นอนน้อย พูดน้อย ทำความเพียรมาก"
    เป็นวลีสั้นๆ แต่จริงๆสำคัญเพราะเป็นการสำรวมอินทรีย์ และทำให้อยู่กับใจอย่างต่อเนื่อง ช่วยสำรวมจิตไม่ให้จิตส่งออก

    กินน้อย กินแค่ท้องอิ่มมีกำลัง ให้ร่างกายได้รับประโยชน์จากอาหาร
    นอนน้อย ที่วัดปฏิบัติสี่รอบ นอนน้อยอยู่แล้ว
    พูดน้อย ปิดมือถือไปเลย ก่อนมาก็บอกที่บ้านก่อน ถ้ามีคนชวนคุยก็คุยนิดหน่อยเป็นมารยาท แล้วเลี่ยงการคุยโดยการสำรวม ภาวนาโดยใช้ฐานกายเป็นหลัก
    ทำความเพียรมาก นอกจากอริยาบถหลัก คือ ยืน เดิน นั่ง นอน ที่เราเจริญสติแล้ว การเจริญสติในอริยาบถย่อยก็สำคัญมาก เช่น การกิน การเคี้ยว การพูดคุย
    การเดินปกติที่นอกเหนือจากเดินจงกรม

    ทั้งอริยาบถหลักและย่อย ต้องไม่ทิ้งการกำหนด ทางวัดจะสอนเรื่องการกำหนด การกำหนดเป็นการฝึกเจริญสติ มีวิตก วิจารณ์ เมื่อเจริญสติต่อเนื่องจะเกิดสัมปชัญญะ เมื่อรักษาอารมณ์ต่อเนื่องจะเกิดสัมปชัญญะมั่น หรือฌาน ปฐมฌาน หรือ ลักขณูปนิชฌาน

    สัมปชัญญะมั่น หรือฌาน ลักขณูปนิชฌาน นี่แหละที่จะเป็นกำลังในการทำ
    อาตาปี ทำความเพียรเผากิเลส (กายคตานุสสติ อสุภกรรมฐาน ธาตุ ฯ
    หาศึกษาเพิ่มเติมจาก หัวข้อ สติปัฏฐาน (ท่านพ่อลี ธมฺมธโร))
    รวมทั้งกำลังของฌานนี้จะช่วยให้ได้รู้ ได้เห็น ทุกขเวทนาตลอดทั้งการเกิด
    ตั้งอยู่ ดับไปของเวทนา พูดง่ายๆคือช่วยให้สู้กับทุกขเวทนาหนักๆได้

    2) ละความกังวลใดๆทั้งหมด ไม่ต้องสนใจอดีต อนาคต รวมทั้งปริยัติที่เราศึกษามา สนใจแต่ปัจจุบัน ที่เรากำลังเจริญสติ(ปริยัติให้นำมาพิจารณาประกอบทีหลัง)

    3) รักษาอุโบสถศีล8 ที่ปฏิบัตินั้นสำคัญมาก เพราะเป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้บารมีสิบครบ ศึกษาและรักษาในช่วงปฏิบัติให้เป็นปกติ

    4) ความตั้งใจ เช่นการเดินจงกรม ขวา-ย่าง-หนอ ในขณะที่นึกว่าขวา จิตต้องอยู่ที่เท้าขวา หรือส้นเท้าขวา ไม่ใช่จิตไปคิดเรื่องโน้นเรื่องนี้ ถ้ามันคิดก็กำหนดคิดหนอ หรือรู้หนอ ให้สติ ให้จิตอยู่กับอารมณ์กรรมฐานที่ทำอยู่(กาย เวทนา จิต ธรรม)ไม่ใช่แค่ท่องภาวนา ขวา-ย่าง-หนอ พองหนอยุบหนอ ยืนหนอ เท่านั้น

    5) ความสำคัญของการกำหนด
    ให้ความสำคัญในการกำหนด การกำหนดจะเป็นวิธีการฝึกสติ มีวิตก วิจารณ์
    อันจะทำให้เกิดสัมปชัญญะมั่น ที่จะเป็นสัมมาสมาธิในการรวมมรรคในการเดินปัญญา

    การกำหนดรู้อารมณ์ต่างๆ
    กาย -การกำหนดตามอริยาบถหลัก อริยาบถย่อย ยืนหนอ พองหนอยุบหนอ
    ขวาย่างหนอ นอนหนอ เคี้ยวหนอ หยิบหนอ ยกหนอ เงยหนอ ฯ

    เวทนา -สุขหนอ ปวดหนอ เจ็บหนอ คันหนอ แสบหนอ แน่นหนอ เหนื่อยหนอ ฯ

    จิต- เห็นหนอ เสียงหนอ กลิ่นหนอ รสหนอ ถูกหนอ คิดหนอ ฟุ้งซ่านหนอ เบื่อหนอ ชอบหนอ ไม่ชอบหนอ ฯ

    การกำหนด ทั้งกาย เวทนา จิต ผู้ปฏิบัติต้องวางจิต สติ ณ ที่ที่เรากำหนดตามข้างบน ซึ่งทางวัดหลวงพ่อจรัญจะสอนวิธีกำหนดไว้ เราไม่ได้แค่คิดกำหนดคำนั้นๆเพียงอย่างเดียว

    ธรรม-กาย เวทนา จิต จะลงที่ธรรม ซึ่งส่วนใหญ่จะกำหนดรู้ รู้หนอ ขณะรู้เห็นธรรมนั้น

    คำกำหนดกลาง คือ "รู้หนอ" กำหนดที่ลิ้นปี่ วางจิต สติที่ลิ้นปี่ เป็นการกำหนดที่มีประโยชน์กว้างขวางมาก
    ส่วนใหญ่จะกำหนด รู้หนอ เมื่อ
    1 รู้ว่ามีอารมณ์กระทบจากการผัสสะอายนะ6 แต่ยังไม่รู้ว่าจะกำหนดคำว่าอะไรที่ตรงกับอารมณ์นั้นที่สุด ให้กำหนดว่า รู้หนอ ไว้ก่อน เมื่อรู้ว่าควรกำหนดอย่างไรก็ให้กำหนดให้ตรงกับอารมณ์นั้นในคราวหน้า
    2 มีอารมณ์กระทบ รู้ว่าจะกำหนดคำว่าอะไร แต่กำหนดไม่ทัน อารมณ์นั้นผ่านไปแล้วเป็นอดีตไปแล้ว ให้กำหนดรู้หนอ แล้วกำหนดตามอารมณ์นั้นถ้ายังกระทบอยู่มีอยู่
    3 กำหนดรู้หนอ ขณะเกิด ขณะดับ ของอารมณ์กระทบ หรือสภาวธรรม
    กำหนดรู้หนอขณะเกิด อารมณ์นั้นตั้งอยู่ จนกระทั่งอารมณ์นั้นดับ
    กำหนดรู้หนอขณะดับ (จะเป็นการสะสมทางหนึ่งที่ทำให้ ได้เห็นไตรลักษณ์)
    4 มีสภาวธรรม อารมณ์ ที่ต้องการกำหนดรู้ รู้หนอ เท่านั้น เช่น มีปิติ5เกิด
    มีนิมิตเกิด ฯ
    5 มีอีกไหม ผมลืมหรือเปล่า ถ้านึกได้จะเพิ่มเติมทีหลังแล้วกันครับ

    6) ขันติ วิริยะ อดทนกับทุกเวทนา เพียรปฏิบัติ ตาม รอบ วัน เวลา
    ปฏิบัติต่อเนื่อง ทั้งที่วัด และชีวิตประจำวัน
    7) สัจจะ ตั้งใจทำกี่วันก็ทำให้สำเร็จ แต่ละรอบตั้งใจทำรอบละกี่นาทีก็ตั้งใจตามนั้น รักษาศีลตามที่ตั้งใจ สัจจะทำให้สำเร็จผลต่างๆไว
    8) อธิษฐาน
    ตอนที่สมัครอบรมที่วัดจะมีการลงรายละเอียดว่ามาปฏิบัติกี่วัน นั่นแหละเป็นการตั้งสัจจะ จะทำกี่วัน มาปฏิบัติเพื่ออะไร เป็นการอธิษฐานตามความปราถนา

    หลังจากเดินจงกรม นั่งสมาธิ จะมีการแผ่เมตตา อุทิศกุศล และ อธิษฐาน
    ขณะอธิษฐานนี้ เราสามารถตั้งความปรารถนาทางโลกได้ ไม่ผิด แต่เราอธิษฐานแล้วก็แล้วกัน ไม่ต้องวิตกกังวล หรือคาดหวังผล
    เช่นอธิษฐาน สุขภาพเจาะจงที่เป็นอยู่ เรื่องงาน
    ถ้าปราถนาเพื่อพ้นทุกข์ ก็เพิ่ม ขอให้ญาณ ฌานเจริญ ละกิเลส ถึงพระโสดาบันในเบื้องต้น ถึงพระอนาคามีในท่ามกลาง ถึงพระนิพพานในที่สุด(ท่อนนี้ถ้ามั่นใจว่า ตั้งใจปฏิบัติจริง ก็เปลี่ยนเป็น ถึงนิพพานชาตินี้ในที่สุด)

    ที่ต้องอธิษฐานพระโสดาบันในเบื้องต้นเพราะจะได้ไม่หนักเกินไป เริ่มจากละสามสังโยชน์แรกก่อน
    การอธิฐานนี้สำคัญมาก เป็นเจตนา เป็นความตั้งใจ เป็นเป้าหมาย ถ้าไม่อธิษฐานถึงแม้บารมีสิบในข้ออื่นเต็มแล้วแต่ไม่ได้อธิษฐานก็จะไม่สำเร็จผล

    การอธิษฐานนิพพานในชาตินี้อย่างเดียว จะมีความเสี่ยงที่กรรมเก่าจะเร่งมาอย่างหนัก โดนทดสอบหนัก จนอาจสิ้นอายุก่อนที่จะได้ปฏิบัติถ้าหากว่าเราอธิษฐานเกินกำลังใจเรา ดังนั้นต้องอธิษฐานไม่เกินกำลังใจเรามาก จึงอธิษฐานให้ข้ามจากปุถุชนเป็นพระโสดาบันให้ได้ก่อนในเบื้องต้น

    9) ควรปฏิบัติต่อเนื่อง อาจจะ 7วัน 15วัน ต่อเนื่อง เพราะถ้าเราปฏิบัติในสถานที่ที่ส่งเสริมต่อการเจริญสติ สมาธิ จะทำให้จิตส่งนอกน้อยที่สุด สติสัมปชัญญะจะต่อเนื่องกล้าแข็ง ญาณทัศนะ ปัญญาญาณจะเจริญต่อเนื่อง ทำให้วิปัสสนาญาณเจริญตลอดรอบ ไม่ติดญาณเมื่อเราเลิกปฏิบัติ หรือปฏิบัติน้อยลงไม่ต่อเนื่อง อันเนื่องจากภาระหน้าที่ ทำให้จิตส่งออก สัมปชัญญะถดถอย ทำให้ญาณเจริญไม่ตลอด ต้องมาเริ่มสะสมญาณใหม่
    อนุโลม ปฏิโลมใหม่ เหมือนเราจะกระโดดสูง เราซ้อมมาแล้ว เราวิ่งมาแล้ว วิ่งอัดมาเต็มที่แล้ว แต่เราหยุด ไม่กระโดดสูง ถ้าจะกระโดดครั้งต่อไป เราก็ต้องไปเริ่มซ้อม เริ่มวิ่งอัดใหม่
    ดังนั้นจึงควรปฏิบัติต่อเนื่อง 7วัน 15วัน และทำต่อเนื่องครั้งละ 7-15วัน ต่อไปเรื่อยๆ

    10) อาตาปี สัมปชาโน สติมา
    สติปัฐาน4 ต้องครบทั้ง อาตาปี สัมปชาโน สติมา

    จะเจริญ สมถกรรมฐานมาแล้วเจริญสติทีหลังเพื่อให้เกิดสัมปชัญญะมั่น
    หรือจะเจริญสติเพื่อให้เกิดสัมปชัญญะมั่น แต่ถ้าทั้งสองทางไม่ได้ทำอาตาปี หรือทำ แต่ไม่ได้ทำอาตาปีขณะมีสัมปชัญญะมั่น ก็จะไม่ทำให้เกิดวิปัสสนาญาณได้

    สำหรับอาตาปี หลวงพ่อจรัญท่านให้พิจารณา กายคตานุสสติ ขณะยืนหนอ
    5ครั้ง (พิจารณาอาการ32 กายคตานุสสติ พิจารณาอาการ32 เกสา โลมา
    นะขา ทันตา ตะโจ ฯ)
    ผมแนะนำเป็นการส่วนตัว ยืนหนอ5ครั้ง ควรจะทำให้ช้าที่สุด ในยืนหนอ5ครั้งนี้ควรใช้เวลารวมแล้วประมาณ5นาที ต่อเวลาเดินจงกรมรวม90นาที
    (ผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่ไม่เห็นความสำคัญการยืนหนอนี้ จึงทำให้ทำกันเร็วมากเกือบทั้งหมด เมื่อเราเดินจงกรม นั่งสมาธิหลายรอบ จนเกิดสัมปชัญญะมั่น
    จนสติมั่น ขณะนี้เองที่การทำอาตาปีจะเกิดผล จากรูปแบบการปฏิบัติ อนุโลม ปฏิโลมต่อเนื่อง)

    รายละเอียดการทำอาตาปี แบบต่างๆหาศึกษาเพิ่มเติมจาก หัวข้อ
    สติปัฏฐาน (ท่านพ่อลี ธมฺมธโร)

    อนุโมทนาบุญ ที่ตั้งใจจะไปภาวนา สติปัฏฐาน4
     

แชร์หน้านี้

Loading...