ตัวเบามาก คิดไปเองหรือเปล่า ช่วยแนะนำการทำสมาธิให้หน่อย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย twojit, 15 พฤศจิกายน 2013.

  1. twojit

    twojit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2010
    โพสต์:
    119
    ค่าพลัง:
    +239
    เมื่อเดือนเมษายน ได้ไปปฏิบัติธรรม 15 วัน ก็ตื่นเช้า ทำวัตร สวดมนต์เช้า-เย็น ทำสมาธิไม่เกิน 15 นาที และก็ทำบ้างนอกเหนือเวลาจากนั้น ในวันไหนสมาธิดีๆ ก็ฝันว่า ลอย ฝันต่อเนื่องกันหลายวัน จนวันสุดท้ายฝันว่า ในฝันฝันว่าทำสมาธิก็ยังสามารถเอาก้อนอิฐมาวางซ้อน 3 อันก็ยังลอยได้ พอเช้าวันนั้น วันก่อนสุดท้ายการปฏิบัติ ก็ทำสมาธิเพียง 10 นาที แต่ปรากฎว่าตัวของเราเบามากอาการเจ็บต่างๆ ในการคลายไปหมด เพราะเป็นคนที่กระดูกสะโพกซ้ายร้าวหมอก็ห้ามขัดสมาธิ ก็ฝืนทำอยู่ช่วงนั้น เพราะไม่ได้นั่งนานมาก และวันสุดท้านฝันว่าทำสมาธิในฝัน และรู้สึกว่าจะสามารถถอดกายได้โดยปวดที่หน้าผากมาก แล้วทุกอย่างก็ดับวูบไปพักหนึ่ง เห็นตัวเองทำสมาธิร่างหนึ่ง และตัวที่เห็นก็อีกความรู้สึกหนึ่ง (นี่ความฝันนะครับ) หลังจากนั้นก็ทำสมาธิเกือบทุกวัน และสนใจการทำสมาธิมากขึ้น ทำได้นานขึ้น อยู่พักหนึ่ง จนเปิดเทอม เรียนหนังสือ ความบ่อยในการทำก็น้อยลงจนไม่ได้ทำ พอปิดเทอมก็มาทำใหม่ ปรากฎว่าปฏิบัติได้ไม่เหมือนเดิม ช้ากว่าเดิม และเคยได้ยินว่าการทำสมาธิสามารถทำให้เราแก้ปัญญาต่างๆ ได้ด้วยตนเองโดยปฏิบัติให้ถึงฌาณ 4 จะปฏิบัติอย่างไรสังเกตอย่างไร นานเท่าไหร่ จึงจะถึงรู้ผล แล้วการวิปัสสนาเหมือนหรือแตกต่างจากการคิดหรือไม่ หรือเป็นการทำความเข้าใจของเราให้ตรงทางพระพุทธศาสนา

    - เคยฝันและฝันว่ารู้ว่าตนเองฝัน แล้วก็บังคับ ให้สิ่งต่างๆ หรือ คนในฝันหยุด และทำตามที่ตัวเองสั่งได้ด้วย แปลกและสนุกดี
    - ถ้าทำสมาธิก่อนนอน ความฝันก็จะอยู่ในระดับ HD คือรายละเอียดของฝันชัดมาก แล้วก็จะรู้ตัวบ้างว่าฝันอยู่ แต่ก็ไม่รู้มากเท่าฝันข้างต้น
     
  2. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,311
    ค่าพลัง:
    +3,090

    ขออธิบายแบบบ้านๆภาษาคนทั่วไปที่เป็นวิทยาศาสตร์แล้วกันนะครับ
    การทำสมาธิ เราฝึกคุมจิต คุมความรู้สึก ไม่ปล่อยกาย ไปตามอารมณ์
    คือมีอะไรมากระทบในระหว่างทำสมาธิ เรารู้ แต่จะกดกายไว้
    แล้วพิจารณาสิ่งเร้านั้นๆ มีประโยชน์กับชีวิตประจำวันอย่างไร
    คือ เมื่อเราฝึกสมาธิบ่อยๆแล้ว ปฏิกริยารีเฟรก(สะท้อนกลับอัตโนมัติ)
    จากจิตใต้สำนึกจะลดลง หมายความว่า เวลามีสิ่งเร้ามากระทบ
    เช่น โดนด่า โดนว่า ปฏิกริยาทางกายที่จะเกิดขึ้นพร้อมกับอารมณ์จะลดลง
    ทำให้เป็นคนใจเย็น มีโอกาสพิจารณาอารมณ์มากขึ้น
    ทำให้มีเวลาในการตัดสินที่จะกระทำการใดๆลงไป
    เพื่อให้เกิดผลกระทบในด้านบวกมากกว่าด้านลบ
    เมื่อสงบจากอารมณ์บ้างแล้ว สมาธิมีมากแล้ว จิตใจไม้ว้าวุ่น
    อ่านหนังสือหรือเข้าเรียนฟังที่อาจารย์สอน ก็สามารถทำความเข้าใจได้ง่าย

    สมาธิก็เป็นธรรมที่เสื่อมได้ ขาดการฝึกฝน ก็ย่อมหายไป
    ผู้เคยได้ฌาน ร้างราจากฌานไปนานปี
    กลับมาทำสมาธิ เหมือนผู้ไม่เคยได้ฌาน

    การฝันโดยมีสติ ก็ถือเป็นสิ่งที่ดี
    แต่ถ้ามีสติแล้ว ก็หยุดความฝันเสีย แล้วทำสมาธิในความฝัน
    เราสามารถทำสมาธิในอริยาบถ นั่ง ยืน เดิน นอน ได้
    และแม้แต่ในความฝัน เราก็ยังทำสมาธิได้
    และได้ผลเหมือนกัน หรืออาจจะดีกว่า

    ผู้ทำสมาธิปรกติ ต้องทำสภาวะจิตให้อยู่กึ่งกลางระหว่างตื่นกับหลับ
    เรานั่งสมาธิ เพื่อให้ข้ามสภาวะจากตื่น ไปเข้าฌาน(กึ่งหลับ)
    แม้เราหลับอยู่ แล้วควบคุมจิตให้ใกล้จะตื่น แต่ไม่ถึงตื่น(กึ่งตื่น)
    ก็ได้สภาวะเดียวกัน(ฌาน) ขาดการรับรู้ทางกายมีแต่จิตล้วนๆ
    สิ่งที่ต่างกันระหว่างการทำสมาธิสองแบบนี้ คือ


    ผู้ที่ทำสมาธิปรกติ ไต่ระดับฌานไปเรื่อย จากฌาน ๑ ไป ๒ ไป ๓
    ความคิดฟุ้งซ่านลดลงตามลำดับ ลดสัมผัสทางกายออกเรื่อย
    จนไม่เหลือ และเข้าสู่ฌาน ๔ เหลือจิตล้วนๆ
    ฝึกแบบปรกติ ยากตรงที่การพัฒนาองค์ฌานจาก ๓ ไป ๔

    ส่วนผู้ที่หลับก่อนแล้วถอยมาเข้าฌาน
    ต้องบอกก่อนว่า ไม่ใช่ว่าฝันอยู่ แล้วไปจินตนาการว่าทำสมาธิ
    ต้องถอยระดับจิตออกมาจากฝัน ให้เกือบจะตื่น
    ผู้ฝึกสมาธิบ่อยๆ ย่อมรู้ได้ง่ายถึงอาการก่อนจะตื่นจากฝัน
    แต่การจะทรงอาการนั้นไว้ยาก ส่วนใหญ่เมื่อรู้ว่าจะตื่น
    ไม่กี่วินาทีก็จะตื่นทันที
    แต่หากทรงอารมณ์กึ่งหลับกึ่งตื่นไว้ได้
    สภาวะนั้น สัมผัสทางกายยังไม่ปรากฏ
    และมีสภาวพจิตที่เด่นชัดออกมา
    และไม่มีความฝันเจือปน
    สภาวนะนี้เป็นสภาวะเกือบๆเหมือนฌาน ๔
    แต่อาจยังไม่ใช่
    เพราะถึงสัมผัสทางกายจะไม่มี
    แต่จิตที่ถอยมาจากความฝัน
    มักจะติดกับอารมณ์จำพวก ปีติ หรือ สุข
    ต้องผ่านอารมณ์ความสุขไปให้ได้
    ต้องทิ้งไปให้ได้ จึงจะเป็นอารมณ์เฉยๆ(อุเบกขา)
    เมื่อนั้นถึงเรียกได้ว่า เป็นฌาน ๔ จริงๆ
    ฝึกแบบนี้ ยากตรงที่ ต้องมีสติในฝันให้ได้ก่อน
    และต้องบังคับจิตให้อยู่ในสภาวะเกือบจะตื่นให้ได้
    และก็ไปถึงฌานที่เคยได้เท่าที่ฝึกแบบปรกตินั่นแหละ

    ความยากของการฝึกสมาธิให้ได้ถึงฌาน ๔ อย่างสมบูรณ์
    ก็คือ การละจากความยึดมั่นจากอาการของ "สุข" ที่เกิดระหว่างปฏิบัติ

    สรุป สมาธิต้องฝึกบ่อยๆ
    วันนี้ได้ถึงฌาน ๓ พรุ่งนี้แค่ ๑ วันต่อไปได้ ๒
    เอาแน่เอานอนไม่ได้ เพราะกิเลสมันแปรปรวน
    บางวันมาก บางวันน้อย
    เพื่อระงับมัน กดมันให้อยู่ต่ำๆอยู่ลึกๆ
    ให้มันออกมาได้ช้า จะได้ไม่มาขัดขวางสมาธิ
    จึงต้องฝึกๆๆๆๆๆบ่อยๆ สมาธิจึงจะก้าวหน้า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤศจิกายน 2013
  3. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    การทำสมาธิขั้นสูงถึงฌานที่4 ตรงนี้ใช่ครับ
    ตัวเบามากเป็นอารมณ์ของปิติ อยู่ที่ฌาน2
    ระดับฌานจะเกิดขั้นก็เพราะความเพียร ทำไปเรื่อยๆครับ ถึงเวลาก็ได้เอง
    เรื่องฝันไม่ขอวิจารณ์ครับ ผมถือว่าเป็นคนละเรื่องกับการปฏิบัติครับ
    เจริญในธรรมครับ
     
  4. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    จะตอบให้แค่นี้ ก็แล้วกันนะ

    ปฏิบัติให้ถึงฌาณ 4 จะปฏิบัติอย่างไรสังเกตอย่างไร นานเท่าไหร่ จึงจะถึงรู้ผล

    +++ ยามใดที่ สงบ นิ่ง เฉย อยู่ด้วยตัวของตัวเอง ไม่ใส่ใจกับสิ่งนอก "ตน" ยามนั้นเรียกว่า "ฌาน 4" มันเป็นแค่คำศัพท์ตัวหนึ่งเท่านั้นเอง

    แล้วการวิปัสสนาเหมือนหรือแตกต่างจากการคิดหรือไม่

    +++ วิปัสนา แตกต่างจาก การคิด โดยสิ้นเชิง

    +++ วิปัสนา คือ การเห็นที่ถูกต้อง ตรงตามความเป็นจริง และเป็นการเห็นของ "สติ" เท่านั้น หากไม่ใช่ สติเห็น ย่อมไม่ใช่ วิปัสสนา
    +++ การคิด คือ การยก "สมมติ" ขึ้นมาพรรณา (เพ้อเจ้อ) ไปเรื่อย ๆ เมื่อ "พอใจ" (ถูกกันกับกิเลส) ก็ยอมรับ เมื่อไม่พอใจ ก็เป็น "ศัตรู" กับแหล่งกำเหนิดของความไม่พอใจนั้น (จำผิดบ้างถูกบ้าง แต่การจองเวรเกิดจนมั่วไปหมด)
    +++ ยามใดที่ "ความคิด" เกิดขึ้น ยามนั้น "สัจจธรรมแห่งความเป็นจริง" ย่อมสูญหาย เพราะ จิตไปอยู่กับ "ความคิด" ไม่ได้อยู่กับ "ความจริงแห่งปัจจุบันขณะ" อีกต่อไป และ "ความคิด คือศัตรูของ วิปัสสนา"

    หรือเป็นการทำความเข้าใจของเราให้ตรงทางพระพุทธศาสนา

    +++ พุทธะ คือ ผู้รู้ (สติ) ผู้ตื่น (สติที่เป็นสมาธิ) ผู้เบิกบาน (จากวิมุติสุข)
    +++ ศาสนา คือ คำสอน

    +++ พระพุทธศาสนา คือ คำสอนเพื่อให้เข้าสู่ สภาวะของ ผู้รู้ (สติ) ผู้ตื่น (สติที่เป็นสมาธิ) ผู้เบิกบาน (จากวิมุติสุข)

    +++ คงได้รับประโยชน์พอสมควร นะครับ
     
  5. twojit

    twojit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2010
    โพสต์:
    119
    ค่าพลัง:
    +239
    ถามต่อเรื่องวิปัสสนาครับ ตอนทำสมาธิ ผมไม่มีความคิดเลย (ผมฝึกเอาเองเพราะผมรำคาญความคิดมากมันชอบหลอกและทำให้เราฟุ้งซ่าน) ตอนทำสมาธิ ผมไม่ภาวนา ผมจะสังเกตุลมหายใจเข้าออกไปเรื่อยๆ และสังเกตุความรู้สึกในร่างกายว่าปวด ว่าชา แล้วก็เห็นมโนภาพ ผ่านไปมาบ้างช่วงต้นๆของการทำสมาธิ แต่น้อย ผมสงเกตว่าลมหายใจแผ่วเบาแทบหาจุดกระทบไม่ได้ไปทุกที แล้วความปวดในกายก็ทวีความรุนแรงขึ้น แต่ลมหายใจกลับเบาลงๆ จนผมไม่อยากจะทนความเจ็บที่เกิดขึ้น แล้วผมก็เลิกทำเมื่อมันเจ็บ แต่เมื่อก่อนเคยฝืนความเจ็บที่ขาจนความรู้สึกปวดหาย แต่ความรู้สึกเกล็งทั้งกายกลับมาแทนที่และหนักกว่าอาการเจ็บของขาและก็ต้องเลิกการทำสมาธิไปเช่นกัน การที่ผมทำอยู่มีลักษณะของวิปัสสนาอยู่บ้างไหมต้องปรับปรุงอย่างไร ผมเข้าใจว่าตัวสติ คือตัวรู้ที่ ไม่มีความคิดมาเจอปน ใช่ไหมครับ กรุณาแนะนำผมหน่อยผมเข้าใจศัพท์พวกนี้ยากมาก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 พฤศจิกายน 2013
  6. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    ถามต่อเรื่องวิปัสสนาครับ ตอนทำสมาธิ ผมไม่มีความคิดเลย (ผมฝึกเอาเองเพราะผมรำคาญความคิดมากมันชอบหลอกและทำให้เราฟุ้งซ่าน) ตอนทำสมาธิ ผมไม่ภาวนา ผมจะสังเกตุลมหายใจเข้าออกไปเรื่อยๆ

    +++ คุณเป็นบุคคลที่ "ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ คำภาวนา ในการกำกับจิต" เพราะ คุณสามารถ "ใช้ลมหายใจ เป็นเครื่องอยู่" ได้ด้วยตนเอง

    และสังเกตุความรู้สึกในร่างกายว่าปวด ว่าชา แล้วก็เห็นมโนภาพ ผ่านไปมาบ้างช่วงต้นๆของการทำสมาธิ แต่น้อย ผมสงเกตว่าลมหายใจแผ่วเบาแทบหาจุดกระทบไม่ได้ไปทุกที แล้วความปวดในกายก็ทวีความรุนแรงขึ้น แต่ลมหายใจกลับเบาลงๆ จนผมไม่อยากจะทนความเจ็บที่เกิดขึ้น แล้วผมก็เลิกทำเมื่อมันเจ็บ

    +++ ตรงนี้คุณ "ย้าย" จากลมหายใจมา "อยู่" กับความเจ็บ ให้สังเกตุคำว่า "ย้าย" กับ "อยู่" ให้ดี ๆ นะครับ

    +++ ทั้งการ "ย้าย" กับ "อยู่" นี้ต้องอาศัย "การกำหนดจิต" ในการย้าย หลังจากย้ายลงไป "ที่" ลมหายใจแล้ว จึง "กำหนดวางจิต" อาการ "อยู่" จึงเกิดขึ้นได้

    +++ หลังจาก "อยู่" กับลมหายใจได้เหมือนเดิมแล้ว ให้ทำความรู้สึกของอารมณ์ ให้เหมือนเดิมในตอนก่อนที่จะหลุด ทุกประการ ก็จะกลับมาเป็น "ลมหายใจแผ่วเบาแทบหาจุดกระทบไม่ได้" เหมือนเดิม

    +++ หากสังเกตุตรงนี้ให้ดีก็จะรู้ได้ว่า "จะเกิดความรู้สึกทั้งตัวขึ้นมาเบา ๆ ชั่วขณะหนึ่ง" แล้วก็จะเริ่มรู้ได้ว่า "มันเริ่มหายใจทางผิวหนัง ผ่านทางรูขุมขน" และ ลมหายใจจะละเอียดเกินกว่าที่จะหายใจผ่านจมูกได้อีกต่อไป

    +++ จากนั้น "จะเกิดความรู้สึกทั้งตัวขึ้นมาที่เบากว่าเดิม อีกครั้ง" แล้วจะรู้ได้ว่า "ไม่สามารถหายใจผ่านทางรูขุมขนได้อีก แต่กลายมาเป็นลักษณะของ osmosis ผ่านเซลล์ผิวหนังโดยตรง" เพราะลมหายใจจะละเอียด จนกลายเป็นอากาศที่ซึมเข้าออกทางเซลล์ผิวหนังทั้งตัว

    +++ จากนั้นก็ "จะเกิดความรู้สึกทั้งตัวขึ้นมาอีกนิดหน่อย" แล้วจะรู้ได้ว่า "กองลมหยุด osmosis ทางเซลล์ผิวหนังลงแล้ว" และเปลี่ยนมาเป็น หมุนควงอยู่ภายในร่าง แบบเดียวกับ galaxy แล้วหมุนช้าลงเรื่อย ๆ จนหยุด และ ณ ขณะที่หยุดนั้น จิตจะไม่สามารถอยู่กับร่างได้อีกต่อไป จะเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "ตัวเองถอดออกมาจากตนเอง" ในลักษณะของการ ถอดดาบออกจากฝัก ฉันใดฉันนั้น ซึ่งตรงนี้ในพระไตรปิฏกเรียกว่า "มโนมยิทธิ"

    +++ ทั้งหมดนี้เรียกว่า "อานาปานสติ" จนถึง "สิ้นสุดแห่งกองลม" หากสามารถทำได้ก็จะรู้ได้ว่า "ความตายที่แท้จริงนั้น ไม่มี" จะมีได้ก็แต่ "การเปลี่ยนจาก กายหนึ่งไปเป็นอีกกายหนึ่ง ซึ่งอาจจะ หยาบ-ละเอียด ต่างกัน ตามความ ทุกข์-สุข ก่อนเปลี่ยนกาย เท่านั้น"

    +++ ทั้งหมดนี้ เป็นเรื่องของ "จิต" ส่วนเรื่องของ "สติ" จะมีเข้ามาประกอบนิดเดียวเท่านั้นคือตอนที่ "เกิดความรู้สึกทั้งตัวเป็นช่วงสั้น ๆ เท่านั้น"

    แต่เมื่อก่อนเคยฝืนความเจ็บที่ขาจนความรู้สึกปวดหาย แต่ความรู้สึกเกล็งทั้งกายกลับมาแทนที่และหนักกว่าอาการเจ็บของขาและก็ต้องเลิกการทำสมาธิไปเช่นกัน

    +++ การฝืน เป็นการฝึกที่ "ผิดวิธี" ไม่ว่าใครก็ตามที่ใช้วิธีฝืน "จะหมดโอกาส เห็นตามความเป็นจริง" และจะเป็น "การขาดทุน" ไปกับความทุกข์แบบ ฟรี ๆ

    การที่ผมทำอยู่มีลักษณะของวิปัสสนาอยู่บ้างไหมต้องปรับปรุงอย่างไร ผมเข้าใจว่าตัวสติ คือตัวรู้ที่ ไม่มีความคิดมาเจอปน ใช่ไหมครับ กรุณาแนะนำผมหน่อยผมเข้าใจศัพท์พวกนี้ยากมาก

    +++ การฝึกทั้งหมดที่กล่าวมานี้ "เป็นการฝึก ภาคสมถะ" แม้จะใช้คำว่า "อานาปานสติ" ก็ตาม แต่เป็นการฝึกแบบ "ตั้งจิตมั่น" ไม่ใช่ "ตั้งสติมั่น"

    +++ การฝึกที่เป็นลักษณะของวิปัสสนานั้น เป็นการฝึกที่อยู่ในลักษณะของ "สติ เห็น ขันธ์" ในขณะที่ "ขันธ์ แยกออกจาก ตน" จึงสามารถรู้ และ เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่า "ขันธ์ ไม่ใช่ ตน"

    +++ หลังจากที่ "รู้แจ้ง" แล้วว่า "ขันธ์ไม่ใช่ตน" จึงฝึกทำการ "วางขันธ์ ดับขันธ์" ทั้งหมด (นิโรธสมาบัติ) เพื่อให้รู้ว่า "ตนคือใคร หรือ เป็นสภาวะใด" กันแน่

    +++ เมื่อรู้ชัดเจนแล้วว่า "ตนคือ สภาวะรู้" ไม่ใช่ "สภาวะขันธ์" ก็ย่อมสิ้นสงสัยในสภาวะธรรมทั้งมวลได้เอง

    +++ หากต้องการฝึกภาค "วิปัสสนา" จริง ๆ ก็ให้ศึกษาได้จาก กระทู้นี้ นะครับ

    http://palungjit.org/threads/ฝึก-กรรม-ฐาน-ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย.512443/
     
  7. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    คำตอบนี้ ตอบไม่ยาก คุณเอง ก็ตอบได้ หากได้ มุข หรือ นัย ไปตรวจสอบ

    มุข หรือ นัย ที่จะให้ก็คือ

    ฝัน เนี่ยะ จัดเป็น กุศล หรือ อกุศล หรือ อัพยากตา

    ธรรมะ เนี่ยะ เป็นธรรม ฝ่านกุศล หรือ ฝ่ายอุกศล หรือ ฝ่ายอัพยากตา หรือ พ้นทั้ง3

    ทีนี้ ลองเอาคำตอบ ฝันว่าเป็น "....."

    แล้ว ลองทวนใหม่ว่า หากเกิด สติรู้ว่าฝัน สิ่งที่ควรเกิดขึ้นเป็น สัมมาปฏิปทา คือ "....."
     

แชร์หน้านี้

Loading...