เกร็ดธรรมคำสอน..ครูบาอาจารย์

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย จิตนิพพาน, 6 กันยายน 2013.

  1. จิตนิพพาน

    จิตนิพพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    233
    ค่าพลัง:
    +414
    หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ..

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • sSrkiIf.jpg
      sSrkiIf.jpg
      ขนาดไฟล์:
      76.5 KB
      เปิดดู:
      13,476
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 6 กันยายน 2013
  2. จิตนิพพาน

    จิตนิพพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    233
    ค่าพลัง:
    +414
    ยากจะด่าใครคนใดคนหนึ่ง
    ก็ให้ด่าตัวเองก่อน แต่งตัวเองให้ดีเสียก่อน
    จึงพูด จึงทำ ถึงจะพูดแรงหน่อยก็ได้
    จะพูดหนักหน่อยก็เป็น แต่ให้รู้จักเสียก่อน
    ให้ดูเราเสียก่อน ให้เราดีเสียก่อน
    ให้เรารู้เสียก่อน สอนเราเสียก่อน..

    หลวงปู่ชา สุภัทโท..


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 211.jpg
      211.jpg
      ขนาดไฟล์:
      9.9 KB
      เปิดดู:
      2,567
  3. จิตนิพพาน

    จิตนิพพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    233
    ค่าพลัง:
    +414
    วันเวลามีค่านัก..

    เวลาที่หมดไปสิ้นไป โดยไม่ทำอะไรที่เป็นคุณประโยชน์แก่ตัวเองบ้าง
    ในชีวิตที่เกิดมาในโลกและได้พบพระพุทธศาสนานี้ ช่างเป็นเวลาที่น่าเสียดายยิ่งนัก

    เวลาแม้เพียงหนึ่งนาทีที่ผ่านไปนั้น แม้ว่าจะทุ่มเงินจำนวนมหาศาล
    ก็ไม่สามารถซื้อกลับคืนมาได้

    ฉะนั้น สิ่งที่น่าเสียดายในโลกนี้ จะมีอะไรน่าเสียดายเท่ากับปล่อยวันเวลา
    ผ่านเลยไปโดยเปล่าประโยชน์ แม้ว่าจะเพียงแค่นาทีเดียว...

    หลวงปู่สิม พุทธาจาโร..


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1242833672.jpg
      1242833672.jpg
      ขนาดไฟล์:
      47 KB
      เปิดดู:
      2,613
  4. จิตนิพพาน

    จิตนิพพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    233
    ค่าพลัง:
    +414
    ..
    ใครจะหยาบละเอียดแค่ไหน นิสัยวาสนามีมากมีน้อยเพียงใด
    จงยกตนให้เหนือกิเลสประเภทต่าง ๆ ด้วยความเพียร
    จะจัดว่าเป็นผู้มีวาสนาบารมีเต็มหัวใจด้วยกัน

    หากไม่มีความเพียรเป็นเครื่องแก้
    อย่างไรก็นอนกอดวาสนาที่เต็มไปด้วยกิเลสตัวหยิ่ง ๆ อยู่นั่นแล

    บาง... ก็ฟาดมันลงไปให้แหลกละเอียด
    หนา... ก็ฟาดมันลงไปให้แหลกเหมือนกันหมด
    จะสมนามว่าเป็นนักรบ นักปฏิบัติ
    เพื่อกำจัดสิ่งที่เป็นข้าศึกออกจากใจโดยแท้...

    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน..


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. จิตนิพพาน

    จิตนิพพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    233
    ค่าพลัง:
    +414
    สงครามระหว่างกิเลสกับธรรม ต่อสู้กันภายในวงความเพียร
    ของนักปฎิบัติจิตภาวนา โดยยึดใจเป็นเวทีสนามรบ
    มายุติที่ดวงใจบริสุทธิ์ หลังจากกิเลสสิ้นซากไปหมดแล้ว
    ปัญญาทั้งมวลมาหมดกันที่นี่แล..

    หลวงปู่ขาว อนาลโย..


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1337657601.jpg
      1337657601.jpg
      ขนาดไฟล์:
      77.4 KB
      เปิดดู:
      3,491
  6. จิตนิพพาน

    จิตนิพพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    233
    ค่าพลัง:
    +414

    “ขอให้ท่านทั้งหลายจงสำรวจดูความสุขว่าตรงไหนที่ตนเห็นว่ามันสุขที่สุดในชีวิต
    ครั้นสำรวจดูแล้วมันก็แค่นั้นแหละ แค่ที่เราเคยรู้เคยพบมาแล้วนั่นเอง
    ทำไมจึงไม่มากกว่านั้น มากกว่านั้นไม่มี โลกนี้มีอยู่แค่นั้นเอง แล้วก็ซ้ำๆ ซากๆ
    อยู่แค่นั้น เกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่ร่ำไป มันจึงน่าจะมีความสุขชนิดพิเศษกว่า
    ประเสริฐกว่านั้น ปลอดภัยกว่านั้น พระอริยเจ้าทั้งหลาย ท่านจึงสละสุขส่วนน้อยนั้นเสีย
    เพื่อแสวงหาสุขอันเกิดจากความสงบกาย สงบจิต สงบกิเลส
    เป็นความสุขที่ปลอดภัย หาสิ่งใดเปรียบมิได้เลย”

    หลวงปู่ดูลย์ อตุโล..


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. จิตนิพพาน

    จิตนิพพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    233
    ค่าพลัง:
    +414
    “จิตปรุงกิเลส คือ การที่จิตบังคับให้กาย วาจา ใจ กระทำสิ่งภายนอก
    ให้มี ให้เป็น ให้ดี ให้เลว ให้เกิดวิบากได้ แล้วยึดติดอยู่ว่า นั่นเป็นตัว
    นั่นเป็นตน ของเรา ของเขา กิเลสปรุงจิต คือการที่สิ่งภายนอกเข้ามา
    ทำให้จิตเป็นไปตามอำนาจของมัน แล้วยึดว่ามีตัว มีตนอยู่
    สำคัญผิดจากความเป็นจริงอยู่ร่ำไป”

    หลวงปู่ดูลย์ อตุโล..


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. จิตนิพพาน

    จิตนิพพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    233
    ค่าพลัง:
    +414
    ทางสายกลาง..​


    คำว่าทางสายกลาง ไม่ได้หมายถึงในด้านกาย และวาจาของเรา แต่หมายถึงในด้านจิตใจเมื่อถูกอารมณ์มากระทบ ถ้าอารมณ์ที่ไม่ถูกใจมากระทบกระทั่ง ก็ทำให้วุ่นวาย ถ้าจิตวุ่นวายหวั่นไหวเช่นนี้ ก็ไม่ใช่หนทาง เมื่ออารมณ์ที่ชอบใจดีใจเกิดขึ้นมา แล้วก็ดีอกดีใจ ติดแน่นอยู่ในกามสุขัลลิกานุโยโค อันนี้ก็ไม่ใช่หนทาง

    มนุษย์เราทั้งหลายไม่ต้องการทุกข์ ต้องการแต่สุข ความจริง สุขนั้นก็คือทุกข์อย่างละเอียดนั่นเอง ส่วนทุกข์ก็คือทุกข์อย่างหยาบ พูดอย่างง่ายๆ สุขและทุกข์นี้ก็เปรียบเสมือนงูตัวหนึ่ง ทางหัวมันเป็น ทุกข์ ทางหางมันเป็นสุข เพราะถ้าลูบทางหัวมันมีพิษ ทางปากมันมี พิษ ไปใกล้ทางหัวมัน มันก็กัดเอา ไปจับหางมันก็เหมือนเป็นสุข แต่ถ้าจับไม่วาง มันก็หันกลับมากัดได้เหมือนกัน เพราะทั้งหัวงูและหางงู มันก็อยู่ในงูตัวเดียวกัน

    ความดีใจ ความเสียใจ มันก็เกิดจากพ่อแม่เดียวกัน คือ ตัณหา ความลุ่มหลงนั่นเอง ฉะนั้น บางทีเมื่อมีสุขแล้วใจก็ยังไม่ สบาย ไม่สงบ ทั้งที่ได้สิ่งที่พอใจแล้ว เช่น ได้ลาภ ยศ สรรเสริญมา แล้วก็ดีใจ ก็จริง แต่มันก็ยังไม่สงบจริงๆ เพราะยังมีความเคลือบ แคลงในใจว่า มันจะสูญเสียไป กลัวมันจะหายไป ความกลัวนี่แหละ เป็นต้นเหตุให้มันไม่สงบ บางทีมันเกิดสูญเสียไปจริงๆ ก็ยิ่งเป็นทุกข์ มาก นี่หมายความว่า ถึงจะสุขก็จริง แต่ก็มีทุกข์ดองอยู่ในนั้นด้วย แต่ เราก็ไม่รู้จัก เหมือนกันกับว่าเราจับงู ถึงแม้ว่าเราจับหางมันก็จริง ถ้า จับไม่วาง มันก็หันกลับมากัดได้

    ฉะนั้น หัวงูก็ดี หางงูก็ดี บาปก็ดี บุญก็ดี อันนี้ในวงวัฏฏะ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลง ดังนั้นความสุข ความทุกข์ ความดี ความชั่ว ก็ไม่ใช่หนทาง..

    หลวงปู่ชา สุภัทโท..


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Lp034.jpg
      Lp034.jpg
      ขนาดไฟล์:
      80.7 KB
      เปิดดู:
      2,539
  9. จิตนิพพาน

    จิตนิพพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    233
    ค่าพลัง:
    +414
    ปฏิบัติแล้ว โกรธ โลภ หลง
    ของแกลดน้อยลงหรือเปล่าละ
    ถ้าลดลง ข้าก็ว่าแกใช้ใด้..

    หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ..


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. จิตนิพพาน

    จิตนิพพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    233
    ค่าพลัง:
    +414

    เราถ้ายังรู้สึกว่าคนอื่นเขาชั่ว ก็แสดงว่าเราชั่วมาก ทั้งนี้เพราะอะไร
    เพราะว่าถ้าเราดีแล้วไม่มีใครชั่ว เพราะว่าเรายอมรับนับถือกฎของกรรม
    อะไรจะมีชั่ว เรายังนินทาว่าร้ายบุคคลอื่น นั่นเรายังชั่วอยู่
    อาการอย่างนี้จงลืมเสียให้หมด

    หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • art_242809.jpg
      art_242809.jpg
      ขนาดไฟล์:
      25.8 KB
      เปิดดู:
      2,322
  11. จิตนิพพาน

    จิตนิพพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    233
    ค่าพลัง:
    +414

    อย่ายุ่งกับเรื่องของคนอื่น ภาวนามากๆ ดูตัวเองมากๆ

    "ธรรมดาเราดูแต่คนอื่น 90% ดูตัวเองแค่ 10 %
    คือคอยดู แต่ความผิดของคนอื่น เพ่งโทษคนอื่น
    คิดแต่จะแก้ไขคนอื่น"

    หลวงปู่ชา สุภัทโท

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. จิตนิพพาน

    จิตนิพพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    233
    ค่าพลัง:
    +414
    • การดู...นักปฏิบัติธรรม

    - เมื่อปฏิบัติธรรม จนถึงระดับจิตมีธรรม
    จิตจะส่งผลมาสู่...ระบบร่างกายด้วย
    ให้มีความสอดคล้องกับจิต...
    เราพอสังเกตุ ได้จาก...

    1.ดวงตา ตาที่มีสมาธิจะนิ่ง ตาที่มีตบะจะแข็ง นิ่ง
    ตามีความสุข จะใส,ตามีเมตตาแต่ไม่มีสมาธิจะใสแต่ไม่นิ่ง,
    มีเมตตาด้วยสมาธิด้วย จะใสนิ่ง
    ตาที่มีความหลุดพ้น จะนิ่ง ใส ว่าง ไร้อารมณ์,
    ตาที่เหม่อลอย...ว่างแต่พร่าขุ่น ไม่ใส
    - ดวงตาบอกถึงอารมณ์สารพัดอย่าง บอกถึงสภาพจิต
    หากใครมีธรรมโดยแท้จริง ดวงตาต้องเปลี่ยน...
    ซึ่งเป็นความตายตัว ของกลไกธรรมชาติ หลอกกันไม่ได้เลย
    อยากรู้ใครมีธรรม ดูที่ดวงตานี้อย่างหนึ่ง...

    2.ดูจากน้ำเสียง
    จิตเมื่อสงบ ลมหายใจจะละเอียด.....
    ส่งผลให้จังหวะการพูด...เนิบ และช้า เพราะการพูดในขณะ
    ที่จิตสงบ ส่งผลให้เหนื่อยง่าย
    ในขณะพูด อาจจะหายใจยาวเข้าไป...เหมือนคนขาดลม
    มาเป็นเวลานาน ต้องกระเสือกลมเข้าอยู่เป็นระยะๆ

    • ขณะพูดในเวลาจิตสงบมากๆ การพูดเหมือนไม่มีลมหายใจ

    • ในขณะพูด น้ำเสียงจะฟังดู ก็รู้สึกได้ถึงกระแสของความสงบ
    ที่แฝงอยู่ในน้ำเสียง...
    ผู้ฟัง ฟังแล้วจะรู้สึกสงบตาม...ได้เลย ถ้าปล่อยจิต...
    ให้ไหลตามธรรมกับน้ำเสียงได้

    • ผู้มีสมาธิสมบูรณ์ ลมหายใจจะละเอียด อยู่ทุกเวลานาที
    การพูดอะไรแม้ไม่ใช่เรื่องธรรมะ ก็มีสมาธิแฝงอยู่...
    เสมอกันกับการพูดธรรมะ
    * * * เสียง สามารถบอกนิสัยได้ ซึ่งต้องลองไปสังเกตุดูเอาเอง
    .
    3.กิริยา
    กิริยาการเคลื่อนไหวทุกส่วน ดูเป็นระเบียบ
    เป็นจังหวะที่กลมกลืน ทำให้ผู้สัมผัส...เห็นได้ถึงสติที่ไหลรู้
    ต่ออิริยาบถอย่างละเอียดอ่อน โดยไม่ต้องกำหนด ระลึก
    ถ้าสมาธิมากอิริยาบถจะช้า

    4.กระแส
    รู้ได้ด้วยการสัมผัส...โดยตรงจากจิต
    เมื่อเราเข้าใกล้ใคร ลองวางจิตว่างๆแล้วสังเกตุดู...
    ความว่างของจิตตน ดู...ว่ามีกระแสอะไรแทรกมาบ้าง
    ถ้าใจสงบ.....กระแสสงบก็มี ใจเมตตา.....กระแสเมตตาก็มี

    • * * ถ้ามีธรรมแล้ว กระแสจะสะอาด เบา โล่ง เย็น นิ่ง หนัก
    ในเรื่องของกระแส จะไม่ตายตัวอยู่ที่กระแส
    อย่างใดอย่างเดียว จิตเปลี่ยนกระแสได้ หลายอารมณ์

    * * *แต่มีสิ่งหนึ่งที่ไม่เคยขาดไป จากกระแส คือ.....
    ความสะอาดของอารมณ์ และสมาธิ
    เพียงแต่จะมากหรือน้อยเท่านั้น...
    นี้ สำหรับผู้ที่มี ความสมบูรณ์ของจิต ในระดับ โลกุตระ

    • 5.ดูจากถ้อยคำของธรรมะที่พูดออกมา.....
    ในขณะแสดงธรรม เราสามารถดูว่า...พูดออกมาจากสภาวะ
    หรือพูดออกมาจากการจำมา หรือพูดออกมาจากชั้นคิดวิเคราะห์

    • การพูดอะไรออกจากสภาวะ น้ำเสียงจะหนักแน่น มั่นใจ
    และเสียงกับธรรมะ มีความกลมกลืนกัน.....
    กลมกลืนด้วยอารมณ์ กระแส สติ สมาธิ ปัญญา
    เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน...!!!

    • หากพูดมาจากการจำมา หรือจากการคิดวิเคราะห์
    ตัวธรรมะที่พูด จะไม่มีพลัง และไม่กลมกลืนกับจิต

    • สำหรับการจะดูว่าใครมีธรรมะ เท่าไหนนั้น.....
    ก็ดูว่าการพูดธรรมะ...ของเขาไปจบที่อะไร
    แต่การแสดงธรรมที่หมดจด จะสมบูรณ์ทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง
    และที่สุด...คือจบลงที่...นิพพาน!

    * * * การปฏิบัติธรรม เมื่อมีธรรมโดยแท้จริง
    อยู่กับใจแล้ว จะเห็นความเปลี่ยนแปลง...เหล่านี้ได้ทุกคน
    ใครบอกว่ามีธรรม...แล้วไม่มีความเปลี่ยนแปลงอะไรเลย...
    สิ่งนี้...ย่อมเป็นไปไม่ได้ นอกจากหลงว่า......มีธรรม!

    * * * นีลวณฺโณ ภิกขุ
     
  13. จิตนิพพาน

    จิตนิพพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    233
    ค่าพลัง:
    +414
    “การปล่อยใจไปตามอารมณ์ของตน
    นั้นจะไม่มีวันเข้าถึง ธรรมะ”

    หลวงปู่ชา สุภัทโท


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 07.jpg
      07.jpg
      ขนาดไฟล์:
      34.6 KB
      เปิดดู:
      2,394
  14. จิตนิพพาน

    จิตนิพพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    233
    ค่าพลัง:
    +414

    พูดมากเสียมาก พูดน้อยเสียน้อย
    ไม่พูดไม่เสีย นิ่งเสียโพธิสัตว์

    (หลวงปู่ทวด)​


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 000.jpg
      000.jpg
      ขนาดไฟล์:
      78.3 KB
      เปิดดู:
      2,533
  15. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,482
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,025
    ค่าพลัง:
    +70,077
    จากครูใหญ่ พระบรมศาสดาสมเด็จพระสมณโคดม



    ทูรงฺคมัง เอกจรัง
    อสรีรัง คุหาสยัง
    เย จิตฺตัง สญฺญเมสฺสนฺติ
    โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา ฯ

    ขุ. ธ. ๒๕/๑๒/๑๙
     
  16. จิตนิพพาน

    จิตนิพพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    233
    ค่าพลัง:
    +414
    ในหลักธรรมชื่อ "พรหมวิหารธรรม" พระพุทธองค์ทรงสอนให้พุทธสาวกรวมทั้งชาวพุทธและมนุษยชาติทั่วโลกมองกันและ กัน อยู่ร่วมกันและกัน คบหากันและกัน ด้วยจิตอันเปี่ยมด้วยเมตตา กล่าวคือ มองไปทางไหนก็ตาม ก็ขอให้กอปรไปด้วยความรู้สึกว่าทุกคน ทุกชีวิต ล้วนแล้วแต่เป็นมิตรของเรา เป็นญาติของเรา เป็นสหายของเรา เป็นเพื่อนร่วมเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏเดียวกันกับเรา เป็นเพื่อนร่วมกฎแห่งกรรมเช่นเดียวกันกับเรา

    เรารักสุข เกลียดทุกข์ กลัวความตาย หวั่นไหวต่อาชญาอำนาจ ฉันใด เขาเหล่านั้น สัตว์เหล่านั้น สิ่งมีชีวิตเหล่านั้น ก็รักสุข เกลียดทุกข์ กลัวความตาย หวั่นไหวต่ออาชญา/อำนาจ เช่นเดียวกันกับเราฉันนั้น ดังนั้นเราจึงไม่ควรทำร้ายใคร ไม่ควรเกลียดใคร ไม่ควรเข่นฆ่าราวีใคร ทั้งด้วยตนเองและด้วยการสั่งให้คนอื่นลงมือทำ..

    การปฏิบัติตามหลักพรหมวิหารธรรมที่ชื่อว่าเมตตานี้ ในระดับสูงสุด ทรงแนะนำให้แผ่ความรัก ความเมตตา ความปรารถนาดีออกไปอย่างกว้างไกล ไร้พรมแดน (=อัปปมัญญา) โดยปราศจากการแบ่งแยกเป็นเขา เป็นเรา เป็นคนที่ตนรัก เป็นคนที่ตนชัง หรือแม้กระทั่งเป็นคน เป็นสัตว์ เป็นเทวดา แต่ทรงแนะนำว่า จงแผ่พลังแห่งความรักความเมตตานี้ออกไปครอบคลุมโลกทั้งโลก จักรวาลทั้งจักรวาลนี้เลยทีเดียว ผู้ที่เปี่ยมด้วยพลังแห่งเมตตาในขั้นสมบูรณ์ที่สุดคือพระอรหันต์ จะมีภาวะจิตอย่างหนึ่งที่เรียกว่า 'วิมริยาทิกตจิต' คือ จิตใจไร้พรมแดน ซึ่งหมายถึง การมีภาวะจิตที่ก้าวข้ามการแบ่งแยกทั้งปวง พระอรหันต์ จึงเป็นผู้ที่เปี่ยมด้วยพลังแห่งเมตตาอย่างสูงสุด สามารถรักคนทั้งโลกได้อย่างไร้เงื่อนไข ความรักของท่านเป็นดังหนึ่งแสงเดือนแสงตะวันที่สาดโลมผืนโลกโดยไม่เลือกที่ รักไม่มักที่ชังและไม่เคยทวงถามถึงการตอบแทน

    พระอรหันต์ มีความรัก มีเมตตาต่อสรรพชีพ สรรพสัตว์ อย่างไร้พรมแดนฉันใด เราทุกคนก็ควรแผ่เมตตาคือความมีไมตรีต่อสัตวโลกทั่วทั้งสากลจักรวาลให้ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน โลกที่เปี่ยมด้วยไมตรีจิต สังคมที่เปี่ยมด้วยคนมีเมตตา คือ สังคมที่มีแต่มิตร ด้วยพลังของมิตรภาพนี้เอง โลกนี้จึงมีสันติภาพ ...

    (อหิงสา'มรรคาสู่สันติ(๕)เมตตาไร้พรหมแดน)

     
  17. mahamettayai

    mahamettayai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    1,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +10,670
    อนุโมทนาสาธุ กับทุกโอวาทธรรมที่อุตส่าห์นำมาลงเป็นธรรมทานค่ะ ^^
     
  18. จิตนิพพาน

    จิตนิพพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    233
    ค่าพลัง:
    +414
    [​IMG]

    วิปัสสนูปกิเลส..

    (หลวงพ่อทูล ขิปปฺปญฺโญ)

    จากนี้ไปจะได้อธิบายเรื่อง วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ อย่าง เพื่อให้นักปฏิบัติได้เข้าใจเอาไว้สำหรับป้องกันตัว วิปัสสนูปกิเลสนี้เกิดขึ้นจากมิจฉาทิฏฐิที่มีความเห็นผิด ในส่วนลึกของใจยังไม่ได้แก้ไข เมื่อทำสมาธิให้ใจมีความสงบแล้ว ความเห็นผิดนี้ก็แสดงกิริยาออกมาจากใจ ลักษณะของวิปัสสนูปกิเลสนี้มีความใกล้เคียงกันกับวิปัสสนามาก ผู้ที่ไม่เข้าใจก็จะเกิดความมั่นหมายว่าเป็นวิปัสสนาไป แม้ผู้อื่นที่ไม่เข้าใจในเรื่องนี้ก็รู้ได้ยาก ไม่ทราบว่าของจริงหรือของปลอม เพราะกิริยามรรยาท ความเคลื่อนไหวทางกายและวาจามีความสำรวมดีมาก ตลอดความเพียรก็โดดเด่นน่าเชื่อถือ การอธิบายธรรมะในทางปฏิบัติแล้วมีทั้งละเอียดอ่อนและโลดโผน การวิจัยวิเคราะห์ในหมวดธรรมต่างๆ ได้อย่างชัดเจน ถ้าผู้ได้รับฟังไม่เข้าใจในเรื่องนี้ ก็จะรับรองว่าถูกต้องและส่งเสริมกันต่อไป ดังจะอธิบายในวิปัสสนูปกิเลส ดังนี้ ขอให้นักภาวนาปฏิบัติทั้งหลายได้มีความระวังตัว

    ๑.โอภาส ความสว่าง ความสว่างนี้จะเกิดขึ้นจากทำสมาธิ เมื่อจิตมีความสงบแล้วจะปรากฏเห็นแสงสว่างขึ้น แสงสว่างนั้นจะมีความนุ่มนวลลักษณะไม่เหมือนกัน บางครั้งก็เป็นแสงสว่างพุ่งออกไปเหมือนแสงไฟฉาย บางครั้งเป็นวงแคบ บางครั้งเป็นวงกว้าง และเป็นในลักษณะหลายอย่างที่ต่างกัน แต่ก็เป็นโอภาสความสว่างทั้งหมด เมื่อทำสมาธิมีลักษณะนี้เกิดขึ้น ถ้าผู้ไม่เข้าใจก็จะเกิดความเชื่อไปว่านี้เป็นแสงธรรมที่เกิดขึ้นที่ใจเราแล้ว หรือเข้าใจว่าเป็นปัญญาได้เกิดขึ้นแก่เรา หรือเข้าใจว่าตรงกับภาษิตบทหนึ่งคือ นัตถิ ปัญญาสมา อาภา แสงสว่างอื่นใดเสมอด้วยปัญญาไม่มี ก็เลยเข้าใจเอาเองว่าสิ่งที่เกิดความสว่างอย่างนี้เป็นตัวปัญญาไป ก็เลยเข้าใจว่าปัญญาได้เกิดขึ้นกับเรา จะมีความพอใจยินดีอยู่กับความสว่างนั้น ถ้าวันใดนั่งสมาธิ ไม่มีแสงสว่างอย่างนี้เกิดขึ้น จะนั่งต่อไปไม่ได้เลย จึงขอเตือนแก่นักปฏิบัติว่า เมื่อมีแสงสว่างลักษณะอย่างนี้เกิดขึ้นแก่เราก็ให้มันเกิดไป อย่าไปสนใจว่าเป็นแสงธรรมแสงปัญญาแต่อย่างใด นั้นเป็นสังขารจิตอาการของจิตที่เป็นมารหลอกใจให้เราหลงเท่านั้น ถ้ามีความพอใจยินดีกับแสงสว่างนี้อยู่ ก็เริ่มจะเข้าสู่วิปัสสนูปกิเลสทันที

    ๒.ปีติ ความเอิบอิ่มใจ เบิกบานใจ จะยืน เดิน นั่ง นอน ก็จะมีความเอิบอิ่มใจตลอดทั้งวันทั้งคืน มีความยิ้มแย้มแจ่มใสเพลิดเพลินอยู่กับปีตินี้อยู่ตลอดเวลา จะไม่กินข้าวกินน้ำทั้งวันทั้งคืนก็ไม่มีความอยากความหิว หรือเป็นลักษณะขนพองสยองเกล้า น้ำตาไหลในบางขณะ ผู้มีความปีติ ในลักษณะอย่างนี้เกิดขึ้น จะมีความรู้สึกว่าสบายใจเบิกบานใจเป็นอย่างมากทีเดียว อยากให้ลักษณะอย่างนี้มีอยู่กับตัวตลอดไป และเข้าใจว่าเป็นคุณธรรมที่เกิดขึ้นกับตน และเป็นผลของการปฏิบัติอย่างแท้จริง ถ้าหากนักภาวนาเป็นไปในลักษณะอย่างนี้ ให้มีความรู้เท่าว่าไม่ใช่ความเป็นจริงของธรรมะ เมื่อเกิดขึ้นได้มันก็ต้องเสื่อมไปได้ อย่าไปดีใจพอใจกับเรื่องนี้เลย

    ๓.ปัสสัทธิ เกิดความสงบกายสงบใจเป็นอย่างมาก ใจไม่คิดวอกแวกออกไปสู่ภายนอกเหมือนที่เคยเป็นมา ใจมีความสงบเยือกเย็น ไม่ร้อนไม่หนาวไปตามอากาศที่เปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด เพราะใจไม่รับเอาความร้อนความหนาว มีแต่ความสงบใจเหมือนไม่มีอะไรจะก่อให้เกิดทุกข์ได้ ถึงตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ได้สัมผัสกับรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะอยู่ก็ตาม ความผูกพัน ความยินดี จะไม่มีอารมณ์เหล่านี้เกิดขึ้นที่ใจ จะยืน เดิน นั่ง นอน อยู่ที่ไหนใจก็มีความสงบแน่วแน่อยู่ทั้งวันทั้งคืน ความพอใจ ความยินดีในความสงบนี้ อยากให้มีตลอดไป ในขณะใจมีความสงบอยู่อย่างนี้ เหมือนกับว่า กิเลสตัณหา ความรัก ความใคร่ ความพอใจในกามคุณไม่มีในใจเลย อาจเข้าใจว่า กิเลสตัณหาได้หมดไปจากใจแล้วก็เป็นได้ หรืออาจเข้าใจว่าเราได้บรรลุมรรคผลขั้นใดขั้นหนึ่งไปแล้ว ถ้านักปฏิบัติเป็นไปในลักษณะนี้ก็อย่าตื่นเต้น อย่าเข้าใจผิดว่าคุณธรรมได้เกิดขึ้นกับเรา นี้เป็นเพียงอาการของจิตที่เกิดขึ้นจากความสงบเท่านั้น

    ๔.สุขะ มีความสุขกาย มีความสุขใจเป็นอย่างยิ่ง ไม่มีความสุขใดในโลกเสมอเหมือน ชีวิตที่เกิดมาเพิ่งได้พบเห็นอยู่ในขณะนี้เอง ความติดใจ ความสุขใจ ความดีใจ อยากจะร้องตะโกนให้คนทั้งโลกได้ยินว่า ข้าพเจ้าได้พบความสุขอย่างแท้จริงแล้ว จะเดินก็เป็นสุข จะนั่งก็เป็นสุข จะยืนก็เป็นสุข จะนอนก็เป็นสุข จะอยู่ในที่ไหนก็มีแต่ความสุข ทั้งวันทั้งคืน อยากจะให้ความสุขอย่างนี้มีอยู่กับเราตลอดไป ดังภาษิตว่า ความสุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี ความสุขนี้ไม่เหมือนกับความสุขในทางโลกแต่อย่างใด ฉะนั้นนักปฏิบัติจึงมีความพอใจในความสุขนี้เป็นอย่างมาก อยากให้มีความสุขอย่างนี้มีอยู่กับใจตลอดไปไม่เสื่อมคลาย เมื่อนักปฏิบัติเป็นอย่างนี้ก็อย่าให้เกิดความหลงอยู่กับความสุขนี้เลย อีกไม่นานความสุขนี้ก็เสื่อมจากใจไปเท่านั้นเอง เพราะความสุขนี้เจือด้วยสังขาร อีกไม่นานก็เสื่อมไป

    ๕.ญาณะ มีญาณรู้เกิดขึ้นที่ใจ บางครั้งก็เป็นความรู้เกี่ยวกับทางโลก บางครั้งก็เป็นความรู้ทางธรรมในหมวดต่างๆ บางครั้งก็เข้าใจในธรรมหมวดนั้นๆ บางครั้งไม่รู้เลยต้องไปหาถามคนนั้นถามคนนี้จึงรู้ได้ ถ้าธรรมะที่ตรงกับตำราที่เคยศึกษามา หรือธรรมะที่ได้ยินจากครูอาจารย์เคยสอนมาแล้ว เมื่อเกิดความรู้ตรงตามนี้ก็จะเกิดความมั่นใจว่า ธรรมะที่เกิดขึ้นกับเราเป็นหลักความจริง ตรงตามที่ได้ศึกษามา บางครั้งก็เป็นความรู้เกิดขึ้นในทางโลก เช่นรู้ว่าเหตุการณ์ต่างๆ จะเป็นอย่างนี้ๆ เมื่อไม่นานนักก็มีเหตุการณ์เกิดขึ้นตามที่รู้มาอย่างนี้จริงๆ สิ่งทั้งหมดนี้จะทำให้เกิดความมั่นใจในตัวเองสูงมาก จึงเกิดความมั่นใจว่า คุณธรรม ปัญญาธรรมได้เกิดขึ้นกับเราแล้ว เมื่ออยากรู้ในสิ่งใดก็กำหนดถามใจตัวเอง แล้วก็มีความรู้ตอบขึ้นมาที่ใจ ญาณรู้นี้ ถ้าเร่งความเพียรมากขึ้นเท่าไรก็จะเกิดญาณรู้ชัดเจนมากขึ้น เมื่อญาณรู้เกิดขึ้น ใครผู้นั้นจะชอบพูดชอบถามในความรู้ที่เกิดขึ้นกับตัวเองอยู่เสมอ คำพูดคำถามนั้นเป็นลักษณะข่มผู้อื่นไปในตัว และพูดด้วยความจริงจังมาก แต่ก็มีความเย่อหยิ่งอวดดีไปในตัว อยากลองภูมิจากผู้อื่นว่าจะรู้ธรรมอย่างนี้เหมือนเราหรือไม่ ถ้าผู้อื่นไม่รู้ ก็จะพูดอวดธรรมะนั้นๆ ให้ฟัง พูดในลักษณะให้เขาสยบยอมรับความรู้ของตัวเอง ญาณรู้นี้ถ้าเกิดขึ้นกับนักเทศน์นักคุยแล้ว จะมีความโดดเด่นในการแสดงธรรมอาจหาญมาก ในขณะที่แสดงธรรมอยู่ก็จะมีความรู้นี้ผุดขึ้นๆ เป็นระยะๆ แทบจะพูดออกมาเป็นเสียงไม่ทัน ลีลาการแสดงธรรมนั้นน่าเชื่อถือ และพูดไม่รู้จักจบด้วย ถ้าผู้เป็นในลักษณะญาณรู้นี้เหมือนกัน จะคุยกันกี่วันกี่คืนก็ไม่จบ บางคนจึงพยากรณ์ตัวเองว่าได้บรรลุธรรมไปแล้วก็มี นี้ก็ขอฝากกับนักปฏิบัติทั้งหลายเอาไว้ เมื่อเกิดญาณรู้ในลักษณะอย่างนี้ขึ้นก็อย่าลืมตัว นี้เป็นเพียงสังขาร เป็นญาณรู้เกิดขึ้นเท่านั้นเอง

    ๖.อธิโมกข์ คือน้อมใจเชื่อในสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดว่าเป็นความจริง เริ่มมีความเชื่อมั่นมาจากโอภาส ความสว่างมาแล้ว จากนั้นก็มาเชื่อ ปีติ ที่มีความเอิบอิ่มใจในตัวเอง แล้วก็มาเชื่อปัสสัทธิ คือความสงบสงัดใจตัวเอง แล้วก็มาเชื่อใน สุขะ คือความสุขที่เกิดขึ้นจากใจตัวเอง แล้วก็มาเชื่อใน ญาณะ คือความรู้ที่เกิดขึ้นทางใจ เมื่อมีญาณรู้เกิดขึ้นอย่างนี้ จะมีความเชื่อมั่นในส่วนลึกของใจอย่างฝังแน่นทีเดียว และเชื่อมั่นว่าสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดเป็นแนวทางที่ถูกต้อง การน้อมใจเชื่ออย่างนี้เป็นความเชื่อที่ขาดจากเหตุผล จึงเรียกว่า ศรัทธาวิปปยุต คือความเชื่ออย่างงมงาย ไม่มีความฉลาดรอบรู้ทางปัญญาเลย คำว่าความเชื่อมิใช่ว่าจะเชื่ออะไรทั้งหมด ให้เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อเท่านั้น ก่อนจะเชื่อในสิ่งใดต้องใช้ปัญญาพิจารณาให้รอบคอบรอบรู้ด้วยเหตุด้วยผล จึงเรียกว่า ศรัทธาญาณสัมปยุต คือเชื่ออย่างมีความฉลาดทางสติปัญญา จึงขอเตือนนักภาวนาไว้ว่า อะไรเกิดขึ้นจากทำสมาธิ อย่าพึงน้อมใจเชื่อว่าเป็นของจริงทั้งหมด การปักใจเชื่อเร็วเกินไปจะทำให้เกิดความผิดพลาดได้ง่าย ถ้าผิดพลาดไปแล้วก็ยากที่จะแก้ไข ก็จะกลายเป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นผิดจนตลอดวันตาย

    ๗.ปัคคาหะ มีความเพียรที่เข้มแข็งดีมาก จะเดินจงกรม นั่งสมาธิ มีความขยันหมั่นเพียรเป็นพิเศษ เป็นผู้มีความตั้งใจจริงจังในการปฏิบัติ เป็นผู้ไม่ประมาทจะปรารภความเพียรอยู่ตลอดเวลา มีความขยันอดทนเพื่อมรรคผลนิพพานเป็นที่ตั้ง จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอนในที่ไหน อยู่อย่างไร ใจจะมีความมั่นคงแน่วแน่อยู่กับความเพียรไม่ลดละ มีปณิธานตั้งไว้ในใจว่า ความเพียรอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น ความเพียรของผู้เป็นวิปัสสนูปกิเลสนี้ จะเน้นหนักในการทำสมาธิอย่างจริงจังทีเดียว จะเดินจงกรมก็เดินกำหนดจิตให้เป็นสมาธิ จะนั่งก็กำหนดจิตนึกคำบริกรรมให้เป็นสมาธิ จะยืนจะนอนก็เพื่อสงบในสมาธิอยู่ตลอดเวลา จะปรารภความเพียรในอิริยาบถใด ก็เป็นไปในสมาธิเพียงอย่างเดียว มีความเข้าใจว่าการใช้ปัญญาพิจารณานั้นจะทำให้จิตเกิดความฟุ้งซ่าน ไม่มีความสงบตั้งมั่น ไม่เป็นเอกัคตารมณ์ ฉะนั้นจึงทำสมาธิให้จิตเป็นหนึ่งอยู่ตลอดเวลา ความเพียรในลักษณะอย่างนี้จะเป็นกำลังหนุนให้วิปัสสนูปกิเลสข้ออื่นๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้น ได้เกิดความเด่นชัดมากขึ้น หลงว่าเป็นความจริงโดยไม่รู้ตัว จึงได้น้อมใจปักใจ เชื่ออย่างฝังใจ อย่างแนบแน่นทีเดียว

    ๘.อุปัฏฐาน มีสติระลึกได้อย่างชัดเจนมาก จะระลึกในคำบริกรรมทำสมาธิด้วยอุบายใด สติก็จะระลึกในคำบริกรรมนั้นไม่ให้เผลอ ถ้ากำหนดในอานาปานสติ กำหนดลมหายใจเข้า กำหนดลมหายใจออก ก็มีสติระลึกรู้อยู่กับลมหายใจเข้าออกไม่ให้เผลอ ลมหายใจจะเข้ายาวออกยาวก็รู้ ลมหายใจเข้าสั้นออกสั้นก็รู้ ลมหายใจเข้ายาวออกสั้นก็รู้ ลมหายใจเข้าสั้นออกยาวก็รู้ ลมหายใจหยาบก็รู้ ลมหายใจละเอียดก็รู้ จะปรารภความเพียรด้วยอุบายใด สติก็จะอยู่กับความเพียรนั้นๆ อยู่ตลอดเวลา จะยกขาก้าวขาอย่างไรจะมีสติระลึกได้ทันตามก้าวขาทุกครั้งไป จะคู้แขนเหยียดแขนมองซ้ายแลขวา สติก็จะระลึกได้ในความเคลื่อนไหวของกายทุกส่วนไป คำพูดออกมาอย่างไร พูดเรื่องอะไร สติก็มีความระลึกได้ในคำพูดของตัวเองทุกครั้งไป แม้แต่จิตมีความนึกคิดอย่างไร สติก็จะมีความระลึกได้ในความนึกคิดของตัวเองอยู่เสมอ นักปฏิบัติอาจมีความสงสัยอยู่ว่า ทำไมมีสติดีถึงขนาดนี้ จึงเป็นวิปัสสนูปกิเลสได้ ตอบ สติดีก็จริง แต่ดีในปลายเหตุ ความผิดเดิมที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิด ความเข้าใจผิด ที่ฝังลึกอยู่ในหัวใจมาก่อนยังไม่ได้แก้ไข เหมือนขวดยาพิษยังไม่ได้ล้าง จะเอายาดีๆ อะไรกรอกลงไปในขวดยาพิษนั้นแล้ว ยาที่ดีมีคุณภาพทั้งหมดนั้น ก็จะแปรเปลี่ยนไปตามยาพิษนั้นทันที นี้ฉันใด สติที่เป็นหลักสำคัญในการปฏิบัติ เมื่อเข้าไปรวมอยู่กับมิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดเมื่อไร ก็จะกลายเป็นมิจฉาสติ ระลึกผิดไปตามกันทั้งหมด ขอให้นักภาวนาปฏิบัติทั้งหลาย จงเข้าใจตามนี้เถิด

    ๙.อุเบกขา ความวางเฉยของใจ ความวางเฉยในที่นี้มิใช่ว่า จะวางเฉยไปเสียทั้งหมด ความเพียรเคยปฏิบัติมาอย่างไร ก็จะปฏิบัติตามความเพียรอย่างนั้นไป เคยเดินจงกรมนั่งสมาธิมาอย่างไรก็ทำไปตามนั้น ความวางเฉยเป็น อกิริยา มีอยู่เฉพาะใจโดยตรง ส่วนกิริยาเคยทำทางกายมาอย่างไร และเคยพูดอย่างไรก็พูดไปตามปกติ ส่วนใจที่เป็น อกิริยานั้นจะวางเฉยเฉพาะใจเท่านั้น จะมีคนอื่นพูดดุด่าว่ากล่าว พูดส่อเสียดเบียดบังอย่างไรใจก็วางเฉย หรือพูดยกยอสรรเสริญอย่างไรใจก็ไม่ฟูไปตามคำพูดนั้นๆ จะสัมผัสกับรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่มีความน่ารัก น่าใคร่ น่าพอใจยินดี ใจก็ไม่เกิดอารมณ์ตามในสิ่งที่เข้ามาสัมผัสนั้นเลย อารมณ์แห่งความรัก อารมณ์แห่งความชัง อารมณ์ของราคะตัณหา อารมณ์แห่งความใคร่ความยินดีไม่มีในใจนี้เลย จะยืน เดิน นั่ง นอน ในอิริยาบถใด ใจก็วางเฉย ไม่มีความกระตือรือร้นไปกับสิ่งใดๆ เพราะใจวางเฉยอยู่แล้ว ถึงจะมีความเพียรภาวนาปฏิบัติอยู่ก็เป็นลักษณะเฉยๆ เช่นกัน ถึงเขาจะมีสติก็มีเฉยๆ ถ้านักปฏิบัติเป็นอุเบกขาอย่างนี้ การสำรวมกาย การสำรวมวาจาและการสำรวมใจจะเยี่ยมยอดทีเดียว จะเป็นความเคารพเชื่อถือแก่ผู้พบเห็นเป็นอย่างมาก ถ้าอุเบกขาในวิปัสสนูนี้เกิดขึ้นกับผู้กำลังศึกษาอยู่ ผู้นั้นก็จะหมดอนาคตในการศึกษานี้ไปเลย เพราะไม่มีจิตใจเกิดความฝักใฝ่ในการศึกษานั่นเอง ถ้าเป็นลักษณะอย่างนี้จะแก้ไขได้ยากมาก หรือแก้ไขไม่ได้เลย นี้ก็เป็นเพราะพื้นฐานเดิมมีความเห็นผิดในมิจฉาทิฏฐิมาก่อน ผลจึงออกมาในลักษณะอย่างนี้ ฉะนั้นขอให้นักภาวนาปฏิบัติทั้งหลายต้องระวังสำรวมต่อไป

    ๑๐.นิกันติ จะเกิดความพอใจในสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดที่ผ่านมาแล้ว ว่าเป็นแนวทางที่ถูกต้องที่สุด ใครจะมาแก้ไขให้เป็นอย่างอื่นนั้นไม่ได้เลย นี้คือวิปัสสนูปกิเลสตัวสุดท้าย ถ้าใครได้พบเห็นผู้ที่เป็นลักษณะอย่างนี้ จะช่วยชี้แนะแนวทางให้เขากลับใจเป็น สัมมาทิฏฐิ นั้นยากมาก เพราะแนวทางปฏิบัติของเขาเป็นมาอย่างนี้ ผลที่ได้รับก็ออกมาอย่างนี้ ความเชื่อถือ ความพอใจ ความยินดี ได้หยั่งรากฝังลึกในความรู้สึกอย่างนี้แล้ว จะไม่ยอมกลับใจอย่างแน่นอน จะมอบกายถวายชีวิตอุทิศตัวเองให้เป็นไปในลักษณะนี้จนตลอดวันตาย ไม่มีใครแล้วในยุคนี้จะแก้ไขได้ แต่ถ้าผู้นั้นเป็นเพียงข้อ ๑ ถึงข้อ ๔ พอมีทางแก้ไขได้ แต่ถ้าเป็นข้อ ๕ ขึ้นไปก็ยากที่จะแก้ไข หรือแก้ไขไม่ได้เลย เพราะผู้เป็นวิปัสสนูนี้มีมานะทิฏฐิสูงมาก มีความรู้เห็นเฉพาะตัว ใครจะไปพูดว่าผิดนั้นไม่ได้เลย ยกเว้นผู้มีนิสัยเคยเกี่ยวข้องกันมาในอดีตชาติเท่านั้น พอจะแก้ไขได้ ถ้าไม่อย่างนี้ เขาก็จะไม่เข้าใจในคำตักเตือนจากใครๆ ทั้งนั้น

    ฉะนั้น นักภาวนาปฏิบัติทั้งหลาย เมื่อท่านได้อ่านเรื่องของ วิปัสสนูปกิเลส ทั้ง ๑๐ ข้อนี้แล้ว ท่านจะมีความคิดเห็นเป็นอย่างไรนั้น ขอมอบให้ท่านพิจารณาตัดสินด้วยตนเอง ข้าพเจ้าเป็นเพียงชี้แนะแนวทางความผิดความถูกให้รับรู้เท่านั้น เพราะหลักการในการทำสมาธิมีมากมายในปัจจุบัน แต่ละสำนักแต่ละชมรมก็มีหลักการวิธีทำสมาธิเป็นของตนเอง วิธีภาวนาทำสมาธิแต่ละสำนักก็มีเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อจิตมีความสงบเหมือนกัน การศึกษาแนวทางก็เป็นหมวดธรรมเล่มเดียวกัน แต่ว่าใครจะตีความหมายในหมวดธรรมนั้นๆ ไปอย่างไรก็เป็นเรื่องของผู้นำ ถ้าผู้นำตีความหมายถูก ก็นำมาสอนลูกศิษย์ให้ปฏิบัติถูกต่อไป ถ้าผู้นำตีความหมายในหมวดธรรมนั้นผิด ก็จะนำมาสอนลูกศิษย์ให้ปฏิบัติผิดต่อไป ในยุคปัจจุบันนี้มีความนิยมภาวนาทำสมาธิเป็นส่วนมาก การทำสมาธิ ขอให้เป็นสัมมาสมาธิก็แล้วกัน เพราะสัมมาสมาธิเป็นแนวทางที่ถูกต้องที่สุด เป็นแนวทางที่จะให้เกิดเป็นวิปัสสนา ไม่เหมือนทำสมาธิแล้วกลายเป็นมิจฉาสมาธิ เพราะมิจฉาสมาธิจะทำให้เกิดเป็นวิปัสสนูปกิเลสขึ้นมาโดยไม่รู้ตัว มิจฉาสมาธิ สัมมาสมาธิ มีความสงบได้เหมือนกัน แต่ความเห็นที่เกิดขึ้นจะไม่เหมือนกัน สัมมาสมาธิจะมีความเห็นเป็นไปในสายของพระอริยเจ้า มิจฉาสมาธิจะมีความเห็นผิดสายทางของพระอริยเจ้า

    ฉะนั้น ข้าพเจ้าได้เขียนเรื่อง มิจฉาสมาธิที่เป็นสายทางให้เกิดเป็นวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ อย่างนี้เอาไว้ เพื่อจะได้ศึกษาและสังเกตดูตัวเองว่า เป็นไปในวิปัสสนูปกิเลสนี้หรือไม่ ถ้าเป็นไปในลักษณะนี้เกิดขึ้นแก่เราก็ให้หยุดเอาไว้ เพื่อจะมาทำความเข้าใจในตัวเองเสียใหม่ หรือไปถามครูอาจารย์ผู้ที่มีความชำนาญในการทำสมาธิที่ถูกต้อง อย่าฝืนทำสมาธิที่ผิดให้มากไปกว่านี้ มันจะเกิดปัญหาตามมาทีหลัง เพราะวิปัสสนูปกิเลสเป็นผลเกิดขึ้นจากมิจฉาสมาธิ คือความตั้งใจไว้ผิด มิจฉาสมาธิเป็นผลเกิดขึ้นจากมิจฉาทิฏฐิ คือความเห็นผิดเป็นต้นเหตุ เมื่อต้นเหตุเป็นฐานความเห็นผิดไว้แล้ว จะภาวนาปฏิบัติอย่างไรด้วยอุบายใดก็ตาม ก็จะภาวนาผิดไปทั้งหมด ฉะนั้นขอให้นักภาวนาปฏิบัติทั้งหลาย จงมีความรอบรู้ในการปฏิบัติของตนนับแต่บัดนี้เป็นต้นไป..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 กันยายน 2013
  19. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,482
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,025
    ค่าพลัง:
    +70,077
    จาก ครูคนหนึ่งที่ไม่ใช่ศิษย์วัดฯ ที่ปทุมธานี แต่พยายามดำรงวิชชาตรงจากหลวงปู่สด




    สมถวิปัสสนากรรมฐานแบบไตรลักษณ์


    มีหลายท่านที่จะพยายามยกย่อง การเจริญวิปัสสนาแบบไตรลักษณ์ว่า เป็นการเจริญวิปัสสนา แบบสติปัฏฐาน


    การยกย่องเช่นนี้รู้สึกว่า ออกจะมีนโยบายรุกรานมากไปสักหน่อย ทั้งนี้เพราะ

    พระพุทธองค์ทรงประทานมหาสติปัฏฐานสูตรแก่ชาวโลก ในฐานะเป็นของกลาง

    ไม่ว่าวิปัสสนาแบบไหน ก็มีโอกาสได้แอบอิงมหาสติปัฏฐานสูตรได้ทุกประเภท

    การเจริญวิปัสสนาแบบไตรลักษณ์เป็นการเจริญกรรมฐาน เพื่อหวังปัญญาวิมุตติ สามารถบรรลุมรรคผลได้ง่ายกว่า การเจริญวิปัสสนาแบบอื่น แต่ก็ได้เพียงผลอันสืบมาแต่ปัจจัยภายนอก ไม่มีความสามารถกระจุ๋มกระจิ๋มที่เรียกว่า อภิญญา ไว้ประดับสติปัญญา นอกเสียจากว่า จะกลับมาเจริญกรรมฐาน เพื่อหวังเจโตวิมุตติอีกครั้ง



    โดยทั่วไป การเจริญวิปัสสนามีอยู่ 3 ลักษณะ คือ
    1. เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น
    2. เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น
    3. เจริญสมถะคู่กับวิปัสสนา


    วิปัสสนาแบบไตรลักษณ์นี้ อาจอธิบายวิปัสสนาได้สองนัย

    นัยหนึ่งอธิบายโดยแสดงการเจริญอย่างมีสมถะเป็นเบื้องต้น
    และอีกนัยหนึ่งอย่างมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น


    แต่ในที่นี้ จะอธิบายทั้งสองนัยนี้พร้อมกัน ในแง่การปฏิบัติวิปัสสนาแบบไตรลักษณ์ มีวิปัสสนาญาณอยู่ 16 ญาณ ญาณทั้ง 16 นี้ใกล้ชิดกันมาก ยากต่อการอธิบาย ฉะนั้น จึงปรากฏว่า ไม่ว่าตำราไหนก็ตำรานั้น พากันลอกวิสุทธิมรรคกันมาเป็นแถวๆ ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะกลัวจะถูกหาว่าเก่งกว่าพระอรหันต์ มีแต่ตำราของพระสังฆราชไก่เถื่อน และ แบบเวียงจันทน์เท่านั้น ที่อธิบายความเข้าใจ แต่ก็อธิบายไว้สั้นๆ อ่านไม่ค่อยเข้าใจ



    การกำหนดอิริยาบถและสัมปชัญญะเพื่อเจริญวิปัสสนานั้น ไม่มีอะไรดีไปกว่าการกำหนดเสียง เพราะถ้ากำหนดด้วยสัมผัสอย่างอื่น อาจมีอารมณ์ลวงเกิดขึ้นได้



    วิปัสสนา 16 ญาณ ได้แก่
    1. นามรูปปริจเฉทญาณ คือการกำหนดรู้หรือเห็นว่า กายนั้นอยู่ส่วนหนึ่ง จิตนั้นอยู่อีกส่วนหนึ่ง

    2. นามรูปปัจจยปริคคหญาณ คือการกำหนดรู้หรือเห็นว่ากายนั้นเป็นผู้ทำการเคลื่อนไหว ส่วนจิตเป็นผู้บังคับบัญชาการเคลื่อนไหวของกาย หรืออีกนัยหนึ่ง เห็นหรือกำหนดรู้ว่ากายนั้นเป็นอนิจจัง ส่วนจิตซึ่งขณะนี้ยังนับเนื่องในวิญญาณนั้นคงที่ ไม่ว่ากายจะเป็นรูปมนุษย์และสัตว์ เห็นและกำหนดรู้ว่า การมีกายนี้เกิดขึ้นทำให้มีความทุกข์ และกายไม่ใช่ตัวตนของเรา เป็นเพียงผลของตัณหาและกรรม

    3. สัมมสนญาณ คือการกำหนดรู้และเห็นกายและจิตได้ตามความเป็นจริง และกำหนดรู้เห็นว่ากายและจิต สามารถแยกจากกันได้ การปฏิบัติวิปัสสนาแบบไตรลักษณ์ จะกำหนดรู้ญาณนี้ได้ว่า กายภายในนั้น เปรียบเหมือนถ้ำที่กักขังจิตไว้ ส่วนจิตดิ่งอยู่ตรงกลางถ้ำกายภายใน ตามความเป็นจริงนั้นเป็นรูปถุง ปากถุงอยู่ตรงส่วนบนของลิ้นปี่ แล้วโค้งตามชายโครงไปตามสีข้าง แล้วโค้งตามลำตัวห่างจากสีข้างเข้าไปประมาณครึ่งนิ้ว ลงไปยังท้องน้อย บรรจบกันเป็นรูปถุง ส่วนจิตนั้นลอยอยู่ตรงกลาง จิตตามความเป็นจริงในที่นี้คือ มหาภูตรูป พร้อมด้วยจิตและวิญญาณและดวงอากาศธาตุ ตรงจุดนี้เป็นจุดที่วิชชาธรรมกายเริ่มต้น โดยเดินไปคนละทิศ คือเดินไปทางทิศตรงกันข้าม การแทงตลอดลึกเข้าไปในปัจจัยภายใน ตามวิธีปฏิบัติในวิชชาธรรมกายมากเท่าใด วิปัสสนาญาณเช่นที่เกิดในวิปัสสนาแบบไตรลักษณ์ ก็เกิดสูงขึ้นเท่านั้นพร้อมกันไปด้วย นักปฏิบัติตามแบบของวิชชาธรรมกาย จะสามารถเห็นญาณนี้ ได้โดยละเอียด ญาณนี้แปลกกว่าญาณอื่นอีก 13 ญาณถัดไป กล่าวคือ ญาณนี้ต้องเห็นเสียก่อน จึงจะกำหนดรู้ได้อย่างละเอียด ญาณทั้งสามญาณที่กล่าวมาแล้วนี้ เห็นและกำหนดรู้พร้อมกัน ด้วยเหตุนี้ นักปฏิบัติโบราณจึงกำหนดว่า วิปัสสนาญาณเริ่มตั้งแต่ สัมมสนญาณ สมมุติว่าในขณะปฏิบัติอยู่นั้น เกิดปวดฟันขึ้นมา และได้หันไปกำหนดที่การปวดฟันนั้น จะรู้สึกว่าฟันและการปวดออกไปอยู่ทางหนึ่ง จิตอยู่อีกทางหนึ่ง ความเจ็บปวดไม่เกาะอยู่ที่จิต คือไม่มีความเจ็บเลย นี่เป็นการกำหนดรู้เวทนาในเวทนา เป็นการกำหนดรู้ทั้งเวทนาภายในและเวทนาภายนอก การกำหนดที่การปวดฟันนี้ ต้องมีตัวรู้ตามไปด้วยทุกขณะ มิฉะนั้นจะปวดมากขึ้น นิมิตวิมาน ปราสาท เทพ พรหม และสิงสาราสัตว์ที่ได้เคยก่อกรรมทำเข็ญไว้ ถ้าจะปรากฏให้เห็น ก็จะปรากฏนอกขอบถุง ในทางปฏิบัติจะต้องสละคืนนิมิตเหล่านี้ และสละคืนตัวถุงด้วย ให้ความรู้สึกเกาะอยู่ที่จิตอย่างเดียว นิ่งอยู่ได้สำเร็จ ญาณต่อไปก็เกิดขึ้น

    4. อุทยัพพยญาณ คือ ญาณกำหนดรู้การเกิดดับของกายและจิต ได้แก่ จิตเต้นถี่เร็วเข้าๆ คล้ายกระแสความถี่ของวิทยุ หรือคล้ายฝนตกจั้กๆ ทำท่าจะดับ ว่างเปล่าไป ญาณนี้ทางสมถะก็อาจปฏิบัติได้ แต่ ที่ไม่เป็นวิปัสสนาก็เพราะ ไม่ได้เห็นกายและจิต จึงไม่มีเชื้อของ นิพพิทาญาณ

    5. ภังคญาณ คือ ญาณกำหนดรู้ความดับ หรือ แตกสลายของกายและจิต เมื่อจิตเต้นถี่เร็วๆเข้า กายก็ดับว่างเปล่าไป ญาณนี้เป็นที่เริ่มต้นของคำว่า จิตว่าง ไม่มีการเห็นตั้งแต่ญาณนี้เป็นต้นไป กล่าวคือ แต่ญาณนี้เป็นอารมณ์ปรมัตถ์ มีข้อสังเกตว่า กายหรือรูปได้ดับไปแล้วอย่างเด็ดขาด วิปัสสนาญาณต่อไป จะไม่มีอาการที่สืบมาแต่กาย โดยกายเป็นใหญ่เกิดขึ้นเลย ถ้ามีอาการเกี่ยวกับกาย โดยกายเป็นใหญ่เกิดขึ้น อาการนั้นเป็นอาการของปีติ ไม่ใช่วิปัสสนาญาณญาณต่อไป เป็นการแยกนาม หรือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ออกจากมหาภูตรูป จิตจึงเริ่มมีความหมายใหม่ ว่า นามรูป

    6. ภยตูปัฏฐานญาณ คือการกำหนดรู้ว่านามรูปเป็นภัยที่น่ากลัว ได้แก่ อาการรู้สึกกระสับกระส่ายอย่างแรง ญาณนี้เป็นญาณแรกใน 6 ญาณ ที่แสดงอาการของทุกข์ในวิปัสสนา ญาณนี้จะกำหนดรู้ได้ชัดในเที่ยวที่สอง

    7. อาทีนวญาณ คือการกำหนดรู้โทษของนามรูป เนื่องจากอาการกระสับกระส่ายของญาณที่ 6 ผู้ปฏิบัติจะมีความรู้สึกอึดอัด คล้ายถูกขังอยู่ในห้องเล็กๆ ที่มีอากาศน้อย ญาณนี้เป็นญาณที่สองที่แสดงอาการของทุกข์ และจะกำหนดรู้ได้ชัดในเที่ยวที่สอง

    8. นิพพิทาญาณ คือการกำหนดรู้ความเบื่อหน่ายในสังขาร ได้แก่ ความรู้สึกเบื่อหน่ายในชีวิต พร้อมกับรู้สึกว่าชีวิตเราเกิดมานี้ เป็นอนิจจัง ไม่มีความแน่นอนเป็นแก่นสารอะไรเลย มีแต่ความทุกข์ ถ้าไม่ต้องเกิดเสียได้ ก็จะไม่มีทุกข์อีกต่อไป เป็นการรู้ว่าจิตมีธรรมอื่นๆยิ่งกว่า หรือเป็นการกำหนดรู้จิตในจิต ในเที่ยวที่สอง ญาณนี้จะปรากฏขึ้นระหว่างอาการของทุกข์แวบเดียว เพื่อให้กำหนดรู้ สมุทัย ญาณนี้เป็นญาณที่สาม ที่แสดงอาการของทุกข์ ญาณนี้จะกำหนดรู้ ปฏิจจสมุปบาทธรรม รวมทั้งรู้ว่า ถ้าดับตัณหาและอุปทานเสียได้ ก็จะเป็นการดับทุกข์

    9. มุญจิตุกัมยตาญาณ คือการกำหนดรู้ความปรารถนา ใคร่จะหลุดพ้นไปจากทุกข์ เมื่อผู้ปฏิบัติรู้สึกอึดอัด จิตนั้นก็เริ่มพยายามดิ้น เพื่อจะออกไปนอกตัว คล้ายปลาที่อยากออกไปจากแห ญาณนี้เป็นญาณที่สี่ ที่แสดงอาการของทุกข์ จะกำหนดรู้ได้ชัดในเที่ยวที่สอง

    10. ปฏิสังขาญาณ คือการกำหนดรู้ความพยายามจะให้พ้นไปจากทุกข์ ได้แก่การกำหนดรู้ว่า เมื่อพยายามอย่างนิ่มนวลไม่สำเร็จ จิต ก็ดิ้นแรงขึ้น แต่ภังคญาณเป็นต้นมา กายได้ดับลงสนิทแล้ว จิตจึงมีความเป็นใหญ่ ฉะนั้น เมื่อจิตดิ้นกายก็ดิ้นตามไปด้วย การดิ้นของจิต เพื่อหนีจากทุกข์นี้ มีความรุนแรงถึงกับดิ้นปัดๆ ในอาการเช่นเดียวกับปลาติดแหแล้วดิ้น และจะมีกลิ่นสาบออกมาจากตัวด้วย ญาณนี้เป็น ญาณที่ห้า ที่แสดงอาการของทุกข์ จะกำหนดรู้ได้ชัดในเที่ยวที่สอง

    11. สังขารุเปกขาญาณ คือการกำหนดรู้การวางเฉยของนามรูป เมื่อพยายามจะออกไปจากกองทุกข์นี้ไม่สำเร็จ ก็ปล่อยไปตามเรื่อง หรือวางเฉยเสีย บางท่านว่าเหมือนความรู้สึกต่อสตรี ที่ได้หย่าขาด จากกันแล้ว นี่เป็นการรู้นิโรธในความหมายว่าเป็นการดับทุกข์ ในทางปฏิบัติจะเห็นญาณนี้แวบเดียว แต่ก็สามารถทำให้ทุกข์มหาศาลในวิปัสสนาดับลงได้โดยฉับพลัน ญาณนี้ เป็นญาณสุดท้าย ที่แสดงอาการของทุกข์ จะกำหนดรู้ได้ในเที่ยวที่สอง นิโรธในวิปัสสนาแบบไตรลักษณ์ มีความหมายแต่เพียงว่าเป็นการดับทุกข์ ส่วนนิโรธในความหมายว่า ทำให้แจ้งแห่งสภาพที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ตามสัจจกถาปฏิสัมภิทามรรคนั้น มีอยู่แต่ในวิชชาธรรมกาย และ วิปัสสนาแบบโบราณเท่านั้น

    12. อนุโลมญาณ คือการปล่อยไปตามวิถีแห่งอารมณ์นิพพาน จะมีปัญญาแนะให้รู้ว่า มีญาณวิถีเกิดขึ้น เพื่อจะช่วยให้ข้ามไปยังฐานะใหม่ พ้นไปจากทุกข์ของโลกนี้ ถ้าผู้ปฏิบัติยังเสียดายโลกียวิสัย ก็จะไม่กล้าเกาะญาณวิถีนี้ไป แต่ถ้าเบื่อหน่ายชีวิตในสภาพปัจจุบันนี้ ก็จะ มีปัญญา แนะให้ยอมเป็น ยอมตาย เกาะญาณวิถีนี้ไป สำหรับผู้เคยปฏิบัติทางสมถะมาก่อน ญาณวิถีที่เกิดขึ้นในตอน นี้ จะมีอาการดูดหนุบๆ ถ้ามีสติไม่ตกใจมาก ก็จะชะงักอยู่นิดหนึ่ง แล้วข้ามโคตรปุถุชนไป ถ้าตกใจมากก็ไม่อาจจะข้ามไปได้

    13. โคตรภูญาณ คือการกำหนดรู้การข้ามโคตรปุถุชน เมื่อ ตัดสินใจ เกาะญาณวิถีต่อไป ญาณวิถีจะพากระโดดข้ามโคตรปุถุชน

    14. มัคคญาณ ได้แก่ ระยะทางจากจุดที่เริ่มตัดสินใจเกาะญาณวิถี กระโดดข้ามโคตรปุถุชน มาถึงจุดที่ญาณวิถีกระโดดมาถึงที่หมาย อาการของมรรคที่เกิดขึ้นในลักษณะนี้ มีผู้นำไปผูกเป็นสำนวนว่า เป็นการข้ามไปยังฝั่งขวา ที่ระบุว่าเป็นฝั่งขวา เพราะในพระพุทธศาสนานิยมการเวียนขวา

    15. ผลญาณ คือการกำหนดรู้ จุดที่ญาณวิถีกระโดดข้ามมาถึงที่หมาย การปฏิบัติแบบวิชชาธรรมกาย จะทำให้สามารถเห็นผลญาณ คือ อายตนะนิพพาน อีกด้วย


    16. ปัจจเวกขณญาณ ต่อจากผลญาณ จะมีภวังค์คั่นอยู่หน่อยหนึ่ง แล้วจะมีญาณบอกให้รู้ว่า มีปัญญาได้อะไรมาแล้วบ้าง การปฏิบัติในเที่ยวแรก วิปัสสนาญาณจะเกิดแต่สัมมสนญาณขึ้นมาตามลำดับ จนถึงภังคญาณ ข้ามไปกำหนดรู้นิพพิทาญาณ แล้วก็อนุโลมญาณ ต่อไป ก็บรรลุมรรคผล เป็นการได้ อนิจจสัญญา ในเที่ยวนี้จะกำหนดรู้สมุทัยและมรรคได้ชัดเจน มีข้อสังเกตว่าการปฏิบัติวิปัสสนาแบบไตรลักษณ์นี้ จะต้องมีศีล ต้องสละคืนสมาธิ ต้องมีสติอยู่เสมอ คือให้มีตัวรู้ตามติดญาณไปทุกขณะ แล้วตัวรู้นี้จะกลายเป็นปัญญา


    ระวังอย่าหลงอยู่ใน วิปัสสนูปกิเลส ซึ่งจะเกิดขึ้นในระหว่างการปฏิบัติ


    การจะเจริญวิปัสสนาแบบไตรลักษณ์เที่ยวสองได้ นิพพิทาญาณจะต้องมีกำลังถึงกับแผ่เป็นวงกลม ออกไปนอกตัว ราว 1 ศอก กำลังสมาธิในตอนนี้ เท่ากับกำลังสมาธิขั้น อรูปฌาน นิพพิทาญาณหรือ ตัวอนิจจัง หรือ สมุทัยนี้ จะเป็นพื้นของวิปัสสนาญาณตลอดการปฏิบัติในเที่ยวสอง การปฏิบัติจะเจริญขึ้น ตามลำดับ จนถึงภังคญาณ แล้วก็จะกำหนดรู้ทุกข์ใน ภยตูปัฏฐานญาณ และ อาทีนวญาณ จะกำหนดรู้ นิพพิทาญาณ นิดหนึ่ง แล้วก็จะรู้อาการของทุกข์ ต่อไป ในมุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขาญาณ และ สังขารุเปกขาญาณในที่สุด ซึ่งแสดงว่าทุกข์ในวิปัสสนานั้นใหญ่หลวงนัก ต้องใช้ญาณถึง 6 ญาณ จึงจะกำหนดรู้อาการของทุกข์ได้ครบ ภยตูปัฏฐานญาณ อาทีนวญาณ และ นิพพิทาญาณ เป็นการกำหนดรู้ทุกข์ ส่วน มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขาญาณ และ สังขารุเปกขาญาณ เป็นการกำหนดรู้ความพยายามให้พ้นทุกข์ อาการของทุกข์เป็นสภาวะที่ไม่อาจจะทนทานได้ทีเดียว จะระงับอย่างไรก็ไม่ได้ แม้จะพยายามใช้สมาธิระงับก็เข้าไม่ถึง พอทุกข์แรงจนถึงขีดสุด ก็จะกำหนดรู้นิโรธใน สังขารุเปกขาญาณ แล้วก็อนุโลมไปตามญาณวิถี ต่อจากนั้นก็จะกำหนดรู้อนัตตา ในความหมายว่าไม่ใช่ตัวตนของเรา และ ทุกข์เป็นสภาพที่ไม่อาจบังคับบัญชาได้ ซึ่งเท่ากับเป็น ปัญญาผ่าน มัคคญาณ ผลญาณไปด้วยในตัว และเป็นการปรากฏของ อนัตตสัญญา มีข้อสังเกตว่า จะต้องผ่านการปฏิบัติในเที่ยวแรกเสียก่อน จึงจะสามารถกำหนดรู้พระไตรลักษณ์ได้ชัดเจน และ ในเที่ยวที่สองนี้ จะได้ผ่านอริยสัจ 4 อีกครั้ง ทำให้สามารถกำหนดรู้อริยสัจ 4 ได้ชัดขึ้น ซึ่งเท่ากับเป็นการเห็นธรรมในธรรม นิโรธมีอยู่แล้วที่สังขารุเปกขาญาณ และ นิพพิทาญาณ แต่นิโรธทั้งสองแห่งเป็นนิโรธที่ยังหยาบอยู่ สำหรับการปฏิบัติในเที่ยวสาม ท่านผู้รู้แนะให้แต่เพียงว่า นิพพิทาญาณ จะเป็นเจ้าเรือนอยู่ตามเดิมตามที่อธิบายมาข้างต้นว่า การปฏิบัติในเที่ยวแรก ได้ข้ามวิปัสสนาญาณไปสองแห่ง ไม่ได้กำหนดรู้วิปัสสนาญาณรวม 5 ญาณนั้น ไม่ได้หมายความว่า ญาณนั้นๆไม่ได้เกิดขึ้น ถ้าอาจารย์ผู้ควบคุมตรวจสอบอารมณ์กรรมฐานดู จะรู้ว่า อันที่จริง ญาณนั้นเกิดขึ้นแต่ไม่ชัด ผู้ปฏิบัติจึงไม่อาจรู้ได้ ต้องปฏิบัติเที่ยวที่หนึ่ง สามารถกำหนดรู้สาเหตุแห่งทุกข์ได้แล้ว จึงสามารถรู้ทุกข์ได้ชัด ผู้ที่ผ่านการปฏิบัติสมถภาวนามาแล้วอย่างโชกโชน ย่อมผ่านอาการกายดับ จิตว่างมาแล้วอย่างนับครั้งไม่ถ้วน ถ้ามีอะไรผิดสังเกต จิตจะรีบกลับไปนิ่งอยู่ที่ศูนย์ที่ตั้งจิตโดยอัตโนมัติทันที ส่วนมากเห็นกายในกายและ จิต หรือ สัมมสนญาณแล้ว การที่ไม่อาจบรรลุมรรคผลได้ ก็เพราะไปอธิษฐานจิตเสีย ถ้าเผอิญเกาะจิตนิ่งอยู่ ไม่คิดอะไรเลย ได้นานพอเพียง ก็อาจบรรลุมรรคผลได้ ในกรณีพระสาวกที่บรรลุมรรคผลได้โดยฉับพลันก็เช่นเดียวกัน ในขณะที่เลื่อมใสพระธรรมข้อหนึ่งข้อใดนั้น ศรัทธาในพระธรรมเอิบอาบซาบซ่านไปทั่วกายอย่างลึกซึ้ง จนทำให้ความรู้สึกย้อนกลับมาดูกายและจิตทันที เมื่อนิ่งอยู่ที่นั่น อุทยัพพยญาณ และ ภังคญาณ หรืออาการจิตว่างก็เกิด แล้วนิพพิทาญาณก็จะเกิดตามมาโดยรวดเร็ว ถ้าจิตละเอียดมากอยู่แล้ว ก็อาจบรรลุมรรคผลขั้นต่ำ สำหรับผู้ที่เคยปฏิบัติสมถภาวนามาบ้าง ถ้าเปลี่ยนศูนย์ที่ตั้งจิตมาตั้งอยู่ที่เหนือสะดือสองนิ้ว แล้วหยุดอธิษฐานจิต อาจจะบรรลุมรรคผลได้เร็วกว่าการตั้งจิตอยู่ที่ศูนย์อื่น ถ้าเริ่มปฏิบัติสมถกรรมฐานมาก่อน แล้วหันมาปฏิบัติวิปัสสนา เรียกว่า เป็นการเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น ถ้าเริ่มปฏิบัติวิปัสสนาโดยตรงแล้ว ความสามารถทางสมถะเกิดขึ้นเป็นผลพลอยได้ เรียกว่า การเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น



    เมื่อได้ อุทยัพพยญาณ แล้ว จะมี วิปัสสนูปกิเลส เกิดขึ้น 10 ประการ คือ1. โอภาส เห็นแสงสว่างมากผิดปกติ สามารถเห็นที่ ต่างๆได้ ถ้าได้ปัญจมฌานแล้ว อาจ เห็นได้ถึงพรหม2. ปีติ ขนลุก และ รู้สึกวาบๆไปทั่วตัว ลมพัด ไปทั่ว กายเป็นละลอก มีอาการตัวจะ ลอยขึ้น และ มีความเย็นเยือกวาบลงไป กลางกาย แล้วแผ่ไปทั่วตัว คล้ายน้ำ โกรกชะโงกผา3. ปัสสัทธิ รู้สึกว่าร่างกายโปร่ง เบา สงบมาก มีความเย็นอย่างละเอียดเนียนๆ4. อธิโมกข์ มีศรัทธาแก่กล้า อยากให้คนทั้งโลกมา เจริญวิปัสสนา5. ปัคคหะ มีความเพียรอยากปฏิบัติวิปัสสนา อย่าง หามรุ่ง หามค่ำ6. สุข เป็นอุปกิเลสที่เกิดต่อจากปัสสัทธิ คือ เมื่อสงบแล้ว ก็มีความรู้สึกเป็นสุข ชนิด ที่ไม่อาจจะหาได้ในโลกนี้7. ญาณ ทำวิปัสสนาญาณได้คล่องผิดกว่าปกติ8. อุปัฏฐาน กำหนดสติได้คล่องแคล่วทุกอิริยาบถ9. อุเบกขา วางเฉยไม่ยินดียินร้ายในเรื่องอะไรเลย10. นิกันติ ความอยาก หยุดเพียงอุปกิเลสอย่าง หนึ่งอย่างใด ก็ตาม ที่กล่าวมาข้างต้นวิปัสสนูปกิเลสนี้ อาจทำให้สำคัญผิดไปว่า ตนได้บรรลุมรรคผลแล้ว หรือไม่ ก็หลงเพลิดเพลิน อยู่ในอารมณ์เหล่านี้ จนไม่เป็นอันปฏิบัติสืบต่อไปตามมติของสำนักวัดมหาธาตุ ผู้ปฏิบัติได้ญาณ 16 ญาณนี้ครั้งหนึ่งจะบรรลุมรรคผลขั้นโสดาบัน ถ้าได้สองครั้งจะบรรลุมรรคผลขั้นสกิทาคามี ถ้าสามครั้งได้อนาคามี สี่ครั้งได้อรหัตผล ปัจจัยสำคัญที่ทำให้บรรลุมรรคผล โดยการเจริญวิปัสสนาแบบนี้ อาจจะกล่าวได้ว่า มีดังต่อไปนี้1. ต้องมีศีล2. ต้องสละคืนสมาธิ3. ต้องมีสติอยู่เสมอ คือ ให้มีตัวรู้ ตามติดญาณไป ทุกขณะแล้วตัวรู้นี้ จะกลายเป็น ปัญญา4. ต้องพยายามพิจารณา อุทยัพพยญาณ ให้เห็น ลักษณะของ อนิจจัง ทุกขัง หรือ อนัตตา5. ระวังอย่าหลงอยู่ใน วิปัสสนูปกิเลส (ข้อนี้ใช้เฉพาะการปฏิบัติในครั้งแรกเท่านั้น)



    เมื่อครั้งพุทธกาล มีการบรรลุมรรคผลกันโดยฉับพลันเป็นจำนวนมาก ถ้าพิจารณาดูให้ดี จะเข้าใจว่าผู้บรรลุมรรคผลได้โดยฉับพลันเหล่านั้น มีเงื่อนไขอยู่หลายประการ เช่น1.ด้วยอภินิหารของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า2.ตนเองได้สร้างบุญบารมี หรือ มีนิสัยมาแล้วในชาติก่อน อย่างแก่กล้า3.บุคคลชั้นกษัตริย์และพราหมณ์ ได้เจนจบไตรเพทมาแล้ว ส่วนมากได้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ถ้าได้คำแนะนำที่ถูก ต้องอาจบรรลุอาสวักขยญาณได้ทันที4.พระพุทธองค์สามารถทราบได้ว่า ในชาติก่อนบุคคลเหล่า นั้นได้เคยมีความสลดใจในอาการอย่างไร หรือ เคยใช้ อารมณ์อะไรมาเป็นกรรมฐาน จึงต่อกรรมฐานให้แก่บุคคลผู้ นั้นในอารมณ์เดียวกับที่ได้เคยมีมาในกาลก่อน5.เป็นผู้ที่ได้ประสบกับความไม่เที่ยง และ ความทุกข์อย่าง รุนแรงในโลกนี้ เพียงแต่แนะให้เข้าใจ ลักษณะอนัตตา ก็อาจหลุดพ้นได้




    ด้วยเหตุนี้ ผู้บรรลุมรรคผลโดยฉับพลัน จึงมีหลายประเภท บางท่านก็เป็น สุกขวิปัสสก คือ บรรลุปัญญาวิมุตติ บางท่านบรรลุ เจโตวิมุตติ บางท่านก็บรรลุทั้งสองทางหรือประกอบด้วย จตุปฏิสัมภิทา ผู้สำเร็จมรรคผล ชั้นโสดาบัน สามารถอดทนต่อความทุกข์ยากได้ดี อย่างน้อยจะรู้สึกตนว่าโชคดี ไม่เสียทีที่ได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนา บัดนี้ตนเองได้ประสบชัยชนะต่อทุกข์แล้ว เป็นอันหวังได้ว่า ชีวิตในชาติหน้า ไม่มีทางจะตกต่ำ พระโสดาบันอาจทำความผิดเล็ก น้อยได้ ถ้าเป็นผู้เห็นทุกขลักษณ์ชัด จะมีกามราคะเบาบางมาก แต่ความรู้สึกทางอารมณ์ยังมีอยู่ ส่วนผู้ที่เห็นชัดในด้านอนิจจัง และอนัตตา อาจมีชีวิตครองเรือนบ้าง เพราะกามราคะถูกตัดไปไม่มากกามราคะของพระสกิทาคามี จะเบาบางลงไปอีก ขนาดมองเห็นของสวยของงาม โดยจิตใจไม่เคลื่อนที่ แต่ความรู้สึกทางอารมณ์ยังมีอยู่บ้างในยามเผลอ ถ้าได้มรรคผลทางทุกขลักษณ์ ความรู้สึกทางอารมณ์จะสงบลงไป แต่ยังอาจเกิดขึ้นได้ ต้องบรรลุมรรคผลชั้นอนาคามี กามราคะจึงจะหมดไปอย่างเด็ดขาด ในปัจจุบันนี้มักจะมีการพูดกันอย่างหนาหูว่า มนุษย์ผู้หญิงหรือผู้ชายก็คือ โครงกระดูกที่หุ้มด้วยหนัง หรือ ถุงที่บรรจุสิ่งปฏิกูล ฟัง ๆ ดูอาจเข้าใจไปได้ว่า ผู้พูดเป็นผู้ปลงตกแล้ว เพราะสำนวนนี้ถอดมาจากวิสุทธิมรรค ขอแนะนำว่าอย่าได้ไปหลงลมเป็นอันขาด จะเสียตัว อารมณ์ของผู้ละกามราคะได้อย่างแท้จริงนั้น คือ ผู้ที่มองเห็นความงามอ่อนช้อย หรือ ความงามที่บาดตา มองเห็นความงามที่เยือกเย็น หรือความงามที่ยั่วยวน ด้วยอารมณ์อันว่างเปล่า ถ้าเห็นมนุษย์เป็นโครงกระดูกได้จริงๆ ก็เป็นเพียงผู้มีความสามารถทางสมาธิสูงเท่านั้น เมื่อใดกามราคะเกิดขึ้น ตัณหาจะรุนแรงยิ่งกว่าคนธรรมดา คนจำพวกนี้แหละที่สำคัญนัก ต้องนำโครงกระดูกมาพิจารณา ให้เกิดความสังเวชสลดใจใน อนิมิตตสมาธิ กามวิตก พยาบาทวิตก และ วิหิงสาวิตก จึงจะหลุดพ้นไปได้ หรือ ถ้าบุญบารมีถึง อาสวกิเลสอาจสิ้นไปด้วย อาการหลุดพ้นจาก กามวิตก เสมือนความโล่งใจ เมื่อสามารถถอดแหวนที่คับนิ้วออกมาได้ หากแต่ในกรรมฐาน เป็นความเบาระคนไปด้วยความสุขสงบ เมื่อพ้นมาจากพันธนาการของตัณหา
    <CENTER></CENTER>


    </PRE>


    </PRE><!-- google_ad_section_end -->

    ****************************************************************



    สมถวิปัสสนากรรมฐานแบบวิชชาธรรมกาย


    วิปัสสนากรรมฐาน ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นวิปัสสนาแบบที่มุ่งหวังผลอันสืบแต่ปัจจัยภายใน หรือ สูงกว่าวิปัสสนาแบบไตรลักษณ์ ได้แก่การเจริญวิปัสสนาโดยใช้ เจโตสมาธิเป็นบาท


    เจโตสมาธิ คือ สมาธิที่ประดับด้วยอภิญญา หรือวิชชาสาม ถ้าบรรลุความหลุดพ้นโดยทางนี้ เรียกว่า หลุดพ้นโดยทางเจโตวิมุตติ วิปัสสนาประเภทนี้ เป็นประเภทที่ใคร่เชิญชวนให้ท่านทั้งหลาย ลองปฏิบัติดูบ้าง ถึงแม้จะปฏิบัติไปยังไม่ถึงขั้นบรรลุมรรคผล ก็ยังอาจจะได้ ความสามารถทางสมาธิบางประการ ไว้เป็นเครื่องแก้เหงา ถ้าโชคดีบรรลุมรรคผล ก็จะตระหนักด้วยตนเองว่า สุขใดจะสุขยิ่งไปกว่าสุขในกายตนนิพพานไม่มี ทั้งในขณะที่กำลังปฏิบัติวิปัสสนาแบบนี้อยู่ ใคร่จะปฏิบัติวิปัสสนาแบบไตรลักษณ์บ้าง เพียงแต่น้อมใจไปพิจารณาวิปัสสนาญาณ ไม่ช้าก็อาจจะบรรลุมรรคผลทางปัญญา เป็นผลพลอยได้อีกทางหนึ่ง


    การเจริญวิปัสสนาโดยใช้เจโตสมาธิเป็นบาท ปฏิบัติกันมากในหมู่ผู้เลื่อมใสในนิกายมหายาน ในพระไตรปิฎกของฝ่ายเถรวาทก็อ้างถึงวิชชาแขนงนี้ไว้หลายตอน พุทโธวาทตอนใน ที่กล่าวถึงอาโลก หรือแสงสว่าง ที่กล่าวถึง


    ทิพพจักขุ วิชชาสาม และธรรมกาย เป็นเรื่องของวิปัสสนาแบบนี้ทั้งสิ้น การเจริญวิปัสสนาแบบนี้ไม่รุ่งเรืองทางฝ่ายเถรวาท แต่ทางมหายานกลับนิยมปฏิบัติกันทั่วไป อาจจะสันนิษฐานได้ว่า คงสืบมาแต่การกระทำทุติยสังคายนา ที่เมืองไพสาลี หลังจาก ปฐมสังคายนาราว 100 ปี ในครั้งนั้น พระสงฆ์ได้แตกแยกออกไปเป็นสองนิกาย เถรวาทนิกายหนึ่ง มหายานนิกายหนึ่ง ต่อมาต่างฝ่ายต่างพยายามแสดงว่าตนสังกัดในนิกายหนึ่งนิกายใดอย่างเคร่งครัด ผลก็คือว่า หลักปฏิบัติวิปัสสนาแขนงนี้ได้สูญไปจากนิกายเถรวาท หลวงพ่อวัดปากน้ำ เพิ่งได้ค้นพบวิชชานี้อย่างใหม่อย่างพิสดาร เมื่อปี พ.ศ. 2459 นี้เอง และได้ให้นามว่า “วิชชาธรรมกาย”


    วิชชาธรรมกาย เป็นกรรมฐานแบบเจริญสมถะคู่กับวิปัสสนา อาการของคู่กันนั้น ตามปฏิสัมภิทามรรค ยุคอรรถกถากล่าวว่า 1.คู่กันด้วยอารมณ์ 2.ด้วยความเป็นโคจร 3.คู่กันด้วยความละ 4.ด้วยความสละ 5.ด้วยความออก 6.ด้วยความหลีกพ้นไปจากกิเลส 7.คู่กันด้วยความเป็นธรรมละเอียด 8.ด้วยความเป็นธรรมประณีต 9.ด้วยความหลุดพ้น 10.ด้วยความไม่มีอาสวะ 11.ด้วยความเป็นเครื่องข้าม 12.คู่กันด้วยความไม่มีนิมิต 13.ด้วยความไม่มีที่ตั้ง 14.ด้วยความว่างเปล่า 15.คู่กันด้วยการภาวนา 16.คู่กันด้วยความเป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน 17.ด้วยความไม่ล่วงเกินกันและกัน และ 18.คู่กันด้วยความเป็นคู่กัน
    อาการคู่กันข้างต้น มีข้อที่น่าสนใจเป็นพิเศษอยู่ข้อหนึ่ง ได้แก่อาการคู่กันด้วยความไม่มีนิมิต การเจริญสมถะคู่กับวิปัสสนา ด้วยความไม่มีนิมิตนี้ ก็คือ อนิมิตเจโตสมาธิ นั่นเอง พระพุทธองค์ได้ตรัสแก่พระอานนท์ ณ บ้านเวฬุคาม ในนครไพสาลี ก่อนจะทรงปลงอายุสังขารเล็กน้อยว่า [FONT=Verdana, Tahoma, Helvetica, sans-serif]
    <CENTER>"อนิมิตเจโตสมาธินี้ ถ้าทำให้มากแล้วสามารถทำให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ตลอดกัป หรือเกินกว่านั้น"</CENTER>
    [/FONT]
    [FONT=Verdana, Tahoma, Helvetica, sans-serif]ถ้าจะอธิบาย อนิมิตเจโตสมาธิ ตามหลักของสมาธิแล้วอาจอธิบายได้ว่า ได้แก่การเกิดสมาบัติภายหลังที่ได้เป็นพระอรหันต์แล้ว โดยเดินสมาบัติตามแบบของเจโตสมาธิ ให้นิมิตละเอียดเข้าๆ จนไม่เห็นนิมิต ทำนองอรูปฌาน ถึงขั้นนี้อำนาจสมาบัติจะทำให้ไม่มีมลทินและเชื้อโรคอะไรเหลืออยู่ในกายเลย การเดินสมาบัติทำนองนี้มากๆ ก็เท่ากับเป็นการพักผ่อนระบบของร่างกาย รวมทั้งสมองไปในตัว จึงมีเหตุผลพอเพียงที่จะทำให้อายุยืนได้ [/FONT]มีผู้แปลความหมายของ อนิมิตเจโตสมาธินี้ว่า เป็นอิทธิบาท 4 บ้าง นำความหมายของวิโมกข์ มาอธิบายว่า เป็นสมาธิที่ไม่มี ราคะ โทสะ โมหะ เป็นนิมิตบ้าง ซึ่งก็ถูกด้วยกันทั้งสิ้น แต่ถ้าจะให้ตรงกันจริงแล้ว น่าจะอธิบายดังที่ได้อธิบายมา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 กันยายน 2013
  20. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,482
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,025
    ค่าพลัง:
    +70,077
    ผู้ปฏิบัติไม่เห็น “นิมิตธรรมกาย” (นี่คิดผิดนะครับ) คือปฏิบัติสายอื่น แต่ระดับจิตถึงพระธรรมกาย นั้นมีไหม ?
    ข้อหนึ่ง คำว่า “นิมิตธรรมกาย” นั้นอย่าพูดเลยนะครับ ธรรมกายไม่ใช่นิมิต นะครับ... ของจริงนิมิตมีสองสามอย่างให้เข้าใจ ประเภทของนิมิต
    หนึ่ง.. นึกขึ้น นึกให้เห็น เช่น นึกให้เห็นดวงแก้ว เรียกว่าบริกรรมนิมิต เจริญภาวนา ไป ใจมันหยุดรวม ได้อุคคหนิมิตเห็นเป็นดวงใสขึ้นมา แต่เห็นอยู่ไม่ได้นาน ใจก็รวมหยุดแน่วแน่ เข้าไปอีกถึงปฏิภาคนิมิต (นิมิตติดตา) ระดับสมาธิมันก็ชั้นสูงจาก ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ นี่ระดับต่ำสูงขึ้นไปเป็นปฏิภาคนิมิต ก็อัปปปนาสมาธินั่นระดับปฐมฌาน ตรงนั้นชื่อว่านิมิต อย่างหนึ่ง คิดเอาแล้วจิตมันค่อยหยุดนิ่ง ถ้าที่คิดเอานั้น กลายเป็นอุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิต นี่ประเภทหนึ่ง
    อีกประการหนึ่ง..นอนฝัน ฝันก็เป็นนิมิตเรียกว่า สุบินนิมิต ถ้าไม่นอนฝัน..อะไร ๆ ที่เรามองเห็น นี่เรียกว่า นามรูป ก็เห็นเป็นนิมิตก็ได้ อย่างตัวท่านจะเรียกเป็นนิมิตก็ได้.. การมองเห็นข้างในก็เป็นนิมิต คือจากการมนุษย์ เห็นกายมนุษย์ละเอียด ทิพย์ ทิพย์ละเอียด พรหม พรหมละเอียด อรูปพรหม อรูปพรหมละเอียด แต่นิมิตมันมีของปลอมกับของจริง
    ของปลอม คือ ไม่นึกจะเห็น แต่ก็เห็นแปลกประหลาดไป ไม่เป็นไปตามที่เป็นจริง จริงนี้หมายถึงจริงโดยสมมติบางทีนั่งแล้วเห็นเสือกระโดด โฮ้ก..เข้าใส่ แต่เปล่า เสือไม่มี นี่ก็เห็นได้เช่นกัน หรือบางคนนั่งแล้วเห็นผี.. แต่เปล่าผีไม่มี นี่เรียกว่า เห็นของไม่จริง จะเกิดแก่ ผู้ที่เอาใจออกนอกตัว หลวงพ่อวัดปากน้ำจึงให้เอาใจเข้าในตัว เพื่อชำระใจของเราให้สะอาด บริสุทธิ์ หยุดนิ่งเป็นอารมณ์เดียว ปราศจากกิเลสนิวรณ์ จิตใจก็เที่ยง เห็นตามที่เป็นจริง พอ..ใจ หรือเห็น จำ คิด รู้ ที่มันเห็นนะ มันไปวางอยู่ตรงกำเนิดธาตุธรรมเดิม ซึ่งเป็นที่ตั้งของกาย เวทนา จิต ธรรม ณ ภายใน มันก็เห็นตรงตามนั้น สิ่งที่เห็นอย่างนั้น เห็นจริงโดยสมมติ
    นิมิตจริง ก็เห็น นาย ก. นาย ข. เห็นพระ เห็นเณร แม่ชี เห็นของจริงทั้งนั้น ที่เห็น ๆ อยู่นี่ เห็นเข้าไปข้างในตามที่เป็นจริง ก็จริง แต่ว่าจริงโดยสมมติ
    นี่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อไม่โดดเดี่ยว ยินดียิ่งในความ เงียบสงัดแล้ว จักถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิต และวิปัสสนาจิตได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้”
    แต่ถ้ามันเลยนิมิตนี่ไปเห็นธาตุล้วนธรรมล้วน จริง ๆ เขาไม่เรียกว่านิมิต เพราะนิมิต ชื่อว่า เบญจขันธ์หรือนามรูป เกิดแต่อวิชชา แต่ธรรมกาย ไม่ใช่เบญจขันธ์ เป็นธรรมบริสุทธิ์ จึงเรียกว่า ธรรมขันธ์ เหมือนพระรุ่น ๔ ที่ว่าดัง ๆ นั่น...พระผงธรรมขันธ์ ก็ธรรมกายนั่นแหละ ไม่เกิดแต่อวิชชา เป็นกายที่พ้นภพ ๓ นี้ไป เป็นของจริงครับ เป็นปรมัตถธรรม แต่ว่าจำเพาะส่วน ที่ยังไม่บรรลุ คือจัดเป็น โคตรภู คืออยู่ระหว่างโลกิยะกับโลกุตตระ แต่กำลังจะขึ้นไป แต่ถ้าว่า เป็นธรรมกาย มรรค ธรรมกายผล พระนิพพาน แล้วหละก็เป็นธรรมขันธ์แท้ ๆ ชัดเจน ไม่เรียกว่า นิมิตครับ ไปเข้าใจผิดกันแล้วเอามาโจมตีกันเรื่องนี้แหละครับ เพราะเขาแยกนิมิต แยกของจริง ของปลอมไม่ค่อยชัดเจน ก็มั่วไป ก็ไปคลุมว่าเห็นอะไรเห็นได้ เรียกว่านิมิต จริง ๆ นิมิตอยู่ใน ครรลอง ในสภาวะที่จะสัมผัสได้ด้วยอายตนะของกายในภพ ๓ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เช่นเห็นกายมนุษย์ คือ ตาเห็นรูป หรือว่า ทิพพจักขุ เห็นกายทิพย์ พรหมจักขุเห็นกายพรหม อย่างนี้เป็นของในภพ ๓
    แต่ว่าเห็นโดยพุทธจักขุ ตรงนี้ไม่ใช่นิมิตหละ ของจริง..มันเข้าเขตปรมัตถ์ ที่โจมตีกัน มันไม่ถูกหรอกครับ เพราะมันเข้าไม่ถึง มันเลยไม่รู้เรื่อง ก็ตีกันไป ก็ไม่ว่ากระไร เป็นเรื่องของท่าน จะเข้าใจอย่างไรก็ว่ากันไปตามเรื่อง แต่ว่าจะได้ผลเป็นบุญเป็นบาปอย่างไร นั่นก็เป็นเรื่องของท่าน อีกเหมือนกัน



    สรุปว่า เขาถามว่าปฏิบัติสายอื่น แต่ระดับจิตถึงธรรมกายน่ะ มีไหม?


    มีครับ..ต้องมีครับ อันนี้ไม่ปฏิเสธนะครับ จะสายพุทโธ ยุบหนอ พองหนอ สัมมา­อะระหังหรือว่าอะไร ๆ ก็ตาม ถ้าจิตถึงก็ถึงครับ ไม่มีปัญหาครับ
    ถ้ามีจะหลุดพ้นหรือไม่ ? หลุดสิครับ ทำไมจะไม่หลุด
    <!-- google_ad_section_end -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...