ของดีราคาถูก พระหลักร้อย พุทธคุณหลักล้าน

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย mayakarn, 22 กรกฎาคม 2011.

  1. วุฒิ สิงห์

    วุฒิ สิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    1,428
    ค่าพลัง:
    +13,055
    เวรกรรมลืมลงรูปครับ แหะ..แหะ นี่ครับ หลวงพ่อช้อย วัดหัวงิ้ว น.ว. ครับ[​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC04713.JPG
      DSC04713.JPG
      ขนาดไฟล์:
      216 KB
      เปิดดู:
      25,927
    • DSC04714.JPG
      DSC04714.JPG
      ขนาดไฟล์:
      222.3 KB
      เปิดดู:
      1,254
  2. nitikoon kongkhaw

    nitikoon kongkhaw เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,314
    ค่าพลัง:
    +53,506
    [​IMG]

    [​IMG]
     
  3. nitikoon kongkhaw

    nitikoon kongkhaw เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,314
    ค่าพลัง:
    +53,506
    [​IMG]

    [​IMG]
     
  4. nitikoon kongkhaw

    nitikoon kongkhaw เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,314
    ค่าพลัง:
    +53,506
    [​IMG]

    [​IMG]
     
  5. พลศิริ

    พลศิริ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    7,978
    ค่าพลัง:
    +18,982
    รายงานตัวอย่างเป็นทางการครับ
    หวัดดีครับพี่น้องทุกท่าน
    เลยห่างหายไปจักหน่อย ตอนนี้ค่อยไคแหน่แล้ว
    คิดฮอดทุกท่านนะครับผม
     
  6. คริสตัลบอย

    คริสตัลบอย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    82
    ค่าพลัง:
    +135
    [​IMG]
    เป็นพระที่มีมวลสารพระสมเด็จโตกรุบางขุนพรหมและพระเนื้อว่านหลวงพ่อทวดวัดช้างไห้ พระหลักร้อยแต่พุทธคุณหลักล้าน

    มวลสารดี

    มวลสารที่นำมาผสมพระหลวงปู่ทวดรุ่นบูรณะโบสถ์ คือพระหลวงปู่ทวดเนื้อลังเม้ง (เนื้อแก่ว่าน) จำนวนหนึ่งปี๊บ ซึ่งเป็นเนื้อที่หายากที่สุด

    เจ้าอาวาสวัดประสาทบุญญาวาสท่านมาเปิดเผยเมื่อปี2555ในหนังสือรวมพระหลวงปู่ทวดวัดประสาทบุญญาวาส หลังจากพระถูกบูชาหมดจากวัดไปแล้ว 19 ปี

    พระหลวงปู่ทวดเนื้อลังเม้งมีราคาแพง เพราะมีส่วนผสมของพระสมเด็จบางขุนพรหมที่เปิดกรุเมื่อปี พ.ศ. 2500 และผสมมวลสารของหลวงปู่ทวดเนื้อว่านปี พ.ศ. 2497
    ส่วนพระอาจารย์ที่มาปลุกเสกพระหลวงปู่ทวดเนื้อลังเม้งที่ถูกนำมาใช้ผสมสร้างพระหลวงพ่อทวดรุ่นนี้ ก็เป็นพระเกจิระดับประเทศ ดังนี้ครับ

    อาจารย์ทิม วัดช้างไห้
    ลพ.คล้าย วัดสวนขัน
    ลพ.ดิษฐ์ วัดปากสระ
    ลพ.น้อย วัดธรรมศาลา
    ลพ.ใจ และ ลพ. พล วัดวังยายหุ่น
    ลป.โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
    ลพ.แดง วัดเขาบันไดอิฐ
    ลพ.มุ่ย วัดดอนไร่
    ลพ.เงิน วัดดอนยายหอม
    ลพ.กวย วัดโฆสิตาราม
    ลพ.พรหม วัดช่องแค
    ลพ.ทบ วัดชนแดน
    ลป.ทิม วัดละหารไร่
    ลป.เขียว วัดหรงมล
    ลพ.จง วัดหน้าต่างนอก
    ลป.ดู่ วัดสะแก
    ลป.สี วัดสะแก
    ลพ.แพ วัดพิกุลทอง
    ลป.นาค วัดระฆังฯ
    ลป.หิน วัดระฆังฯ
    ลพ.โบ๊ย วัดมะนาว
    พระอ.นำ วัดดอนศาลา
    ลพ.เส่ง วัดกัลยา
    ลพ.ถิร วัดป่าเลไลย์
    ลพ.เต๋ วัดสามง่าม
    ลพ.หน่าย วัดบ้านแจ้ง
    ลพ.บุญมี วัดเขาสมอคอน
    ลพ.เหรียญ วัดบางระโหง
    ลป.เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว
    ลพ.ครื้น วัดสังโฆ
    ลพ.แช่ม วัดนวลนรดิษฐ์
    ลพ.นอ วัดกลางท่าเรือ
    ลพ.ผล วัดเทียนดัด
    ลพ.โด่ วัดนามะตูม
    ลพ.ชื้น วัดญาณเสน
    ลพ.สุด วัดกาหลง
    ลพ.เนื่อง วัดจุฬามณี
    ลพ.กี๋ วัดหูช้าง
    ลพ.แก้ว วัดช่องลม
    ลพ.กัน วัดเขาแก้ว
    ลพ.ทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง
    ลพ.ฑูรย์ วัดโพิ์นิมิตร
    เจ้าคุณเจีย วัดโพธิ์
    เจ้าคุณประหยัด วัดสุทัศน์
    ลพ.ดี วัดเหนือ
    ลพ.แขก วัดหัวเขา
    ลพ.ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ด
    ลพ.ทองสุข วัดสะพานสูง
    ลพ.มิ่ง วัดกก
    ลพ.เฮี้ยง วัดป่าฯ
    ลพ.จวน วัดหนองสุ่ม
    ลพ.อั้น วัดพระญาติ
    ลพ.เทียม วัดกษัตราธิราช
    ลพ.สอน วัดเสิงสาง
    ลพ.แทน วัดธรรมเสน
    ลพ.เทียน วัดโบสถ์
    ลพ.นิล วัดครบุรี
    ลพ.บุดดา วัดกลางชูศรี
    ฯลฯ........................

    ท่านเหล่านี้ได้ปลุกเสกพระหลวงปู่ทวดเนื้อลังเม้ง และได้ถูกนำมาเป็นมวลสารสร้างพระหลวงปู่ทวดรุ่นบูรโบสถ์ ปึ2536


    ครั้งนั้นมีการจัพิธีพุทธาภิเษก 6-7-8-9 มีนาคม พ.ศ. 2506 มีคณาจารย์ร่วมปลุกเสกถึง 234 รูปจนนั่งภายในพระอุโบสถไม่หมด ต้องให้นั่งข้างนอกพระอุโบสถแล้วโยงสายสิญจน์ออกมาซึ่งพระอาจารย์ท่านใดเก่งๆในสมัยนั้นก็จะนิมนต์มาหมด พิธีในครั้งนั้นจึงจัดว่าเป็นพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลที่ยิ่งใหญ่และศักดิ์สิทธิ์ที่สุดนับตั้งแต่พิธีปลุกเสกพระเครื่องฉลอง 25 พุทธศตวรรษเป็นต้นมาครับ


    เจตนาการสร้างดี
    ปี 2536 ท่านพระครูได้เดินทางลงปัตตานี เพื่อกราบไหว้สถูป ณ วัดช้างให้ และได้บอกกล่าวดวงพระวิญญาณของหลวงปู่ทวดขออนุญาตสร้างรูปเหมือนหลวงปู่ทวด เพื่อหาปัจจัยสร้างโบสถ์ให้เสร็จ โดยจะให้ชื่อพระที่สร้างว่า " รุ่นบูรณะโบสถ์ "
    พอตกดึกขณะนอนหลับ ได้นิมิตฝันไปว่า หลวงปู่ทวดมาหา เอาพระเครื่องใส่ถุงปูนมายื่นส่งให้ มีพระภิกษุสงฆ์หลายรูปเดินตามหลวงปู่ทวดมาเป็นสักขีพยาน เมื่อเปิดถุงดูเห็นเป็นพระเครื่องหลวงปู่ทวดทั้งนั้น ในฝันท่านพระครูได้กราบหลวงปู่ทวดขออนุญาตสร้าง หลวงปู่ทวดอนุญาตให้สร้างได้ แล้วพาคณะสงฆ์กลับไป
    เมื่อกลับถึงวัดประสาทบุญญาวาส ท่านพระครูได้ให้ช่างทำบล็อกพิมพ์ตามรูปแบบในนิมิตฝัน เมื่อสร้างบล็อกเสร็จ ปรากฏว่าหลวงปู่ทวดได้มาเข้าฝันอีกว่า บล็อกแม่แบบ ทำไม่เหมือน ใช้ไม่ได้ ให้ทำใหม่
    เมื่อท่านพระครูได้แก้ไข หลวงปู่ทวดได้มาเข้าฝันอีกว่า " บล็อกพิมพ์ใช้ได้ แต่ห้ามไปจ้างให้ชาวบ้านทำอย่างเด็ดขาด ให้พระเณรในวัดช่วยกันทำเอง "

    ตลอดเวลาที่พระเณร ช่วยกันทำพระ หลวงป่ทวดได้มาเข้าฝันท่านพระครูอยู่เสมอ เป็นการเตือนให้ดูแลการทำพระให้ดี

    ที่มา ว่าด้วยเรื่องหลวงปู่ทวด .. อ้างอิงจากหนังสือตามรอยเท้าหลวงปู่ทวด


    จะเห็นได้ว่าพระรุ่นบูรณะโบสถ์ไม่ได้จ้างโรงงานผลิตแต่พระเณรที่วัดกดพิมพ์กันเอง และมีการควบคุมจำนวนพระไม่ให้ขาดเกินจึงไม่มีพระเสริม


    พิธีดี
    พระหลวงปู่ทวดรุ่นบูรณะโบสถ์ปี พ.ศ. 2536 มีอาจารย์นอง วัดทรายขาว ซึ่งร่วมสร้างพระหลวงปู่ทวดกับอาจารย์ทิม วัดช้างไห้ และมีพระเกจิกว่า 200 รูปรวมทั้งพระเกจิสายเขาอ้อ มาร่วมพิธีปลุกเสกในวันที่ 25-26-27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 ต่อเนื่องกันเป็นเวลา 3 วัน 3 คืน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 กรกฎาคม 2013
  7. mayakarn

    mayakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    354
    ค่าพลัง:
    +19,921
    พระหลักร้อย มาอีกแล้วววว

    [​IMG]
     
  8. mayakarn

    mayakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    354
    ค่าพลัง:
    +19,921
    [​IMG]
     
  9. mayakarn

    mayakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    354
    ค่าพลัง:
    +19,921
    [​IMG]
     
  10. mayakarn

    mayakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    354
    ค่าพลัง:
    +19,921
    ใครรู้ที่มาที่ไปองค์นี้บ้างครับ

    [​IMG]
     
  11. คริสตัลบอย

    คริสตัลบอย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    82
    ค่าพลัง:
    +135
    แนะนำพระดี ที่แขวนแล้วรวย ชีวิตก้าวหน้า ข้อมูลโดยคุณหนุ่มเมืองแกลง www.palungjit.org

    พระดี ที่แขวนแล้วรวย ชีวิตก้าวหน้า
    ...พระ เครื่องและของขลังในเมืองไทยเรามีมากมายมหาศาล อาจมากที่สุดในโลกก็ว่าได้ มีทุกแบบ ทุกชนิดให้สะสมบูชาตามจริตของแต่ละคน และด้วยคนไทยเราส่วนมากนับถือศาสนาพุธเป็นหลัก จึงมักแขวนพระกันเป็นนิสัยและปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก แต่มีน้อยคนนักที่จะเข้าใจในอำนาจพระพุทธคุณของพระที่เรานับถือและแขวนบูชา ยิ่งคนที่แขวนหรือสะสมตามกระแสนิยมยิ่งไม่มีจุดยืนหรือความศรัทธาจากใจของตน เองมากนัก ถึงจะแขวนเป็นพวงครั้งละสามหรือห้าองค์ พระดีราคาสูงอย่างไร แต่ก็ไม่เคยรับรู้ประสบการณ์อะไร แต่มักปลอบใจตนเองว่า การไม่มีอะไรคือประสบการณ์ แต่ คุณรู้หรือไม่ว่า คำว่าประสบการณ์ไม่ใช่ต้องเป็นรูปธรรม โดนแทง รอดจากอันตรายเท่านั้น ส่วนที่เป็นนามธรรมก็สามารถรับรู้และสัมผัสได้ ผมเขียนแง่คิดนี้จากประสบการณ์ของตนเองที่แขวนพระมาตลอด เลือกบูชามามากและก็ไม่ได้เป็นเซียนหรือเสี้ยนพระอะไร ไม่ใช่นักปฏิบัติธรรมฝันเฟื่อง โดย สังเกตมาทุกวัน จนพบกับประสบการณ์ใหญ่ๆหลายครั้งและส่งผลให้ชีวิตก้าวมาอยู่ในจุดที่อาจ เรียกได้ว่าสูงสุดของความต้องการในชีวิตของผู้ชายคนหนึ่งที่อยากมี อยากดี อยากได้ อยากรวย อยากให้คนรอบข้าง พ่อแม่ ลูกเมีย กินดีอยู่ดี มีใช้
    ตลอด สามปีหลังนี้ ผมพบกับสิ่งดีๆ ตลอดจนอำนาจเร้นลับที่เกื้อหนุนช่วยบันดาลให้งานของผมก้าวหน้าแบบไม่คาดฝัน ทั้งงานในประเทศและต่างประเทศ และทดลองซ้ำไปซ้ำมาจากพระเครื่องที่อธิษฐานขอได้และเห็นผลอย่างชัดเจนมาก เหตุการณ์แบบนี้เกิดกับผมมากกว่า 20 ครั้งในสามปี ทำให้ผมอยากเผยแพร่สิ่งดีๆที่ทดลองและคัดเลือกมานานจนเห็นผลชัดเจน ที่บางคนอาจนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตบ้าง ไม่ ได้มีเจตนาโอ้อวดแต่อย่างใดและไม่คิดว่าจะเป็นการทำให้มีผู้เสียประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่มีเจตนาลบหลู่ดูหมิ่นในองค์อาจารย์ของคนหนึ่งคนใดทั้ง สิ้น เพียงแต่เล่าจากสิ่งดีๆที่ได้สัมผัสโดยตัวเองไม่ใช่ตามคำร่ำลือ ไม่ได้อยากโชว์หรืออยากดัง ไม่ใช่การโปรโมตขายพระในสต๊อก และผมไม่มี blog หรือweblog ของตัวเองเพื่อคุยในเนตหรือขายของสักอย่างเดียว
    ก่อน อื่นลองตั้งใจและตั้งข้อสังเกตดูตนเองและรอบๆตัวในสังคมของคนที่สนใจและ นับถือพระเครื่องกันดูซิว่า เราอยู่ในจุดไหนของคำว่าผู้มีศรัทธาในอำนาจพระพุทธคุณ และความศักดิ์สิทธิ์ แม้จะมีบางคนบอกว่าธรรมมะเป็นของแท้แน่จริง ผมก็ไม่เถียงว่าไม่จริง อย่าลืมว่าคนเราจิตละเอียดไม่เท่ากัน แต่หากพระเครื่องไม่ดีจริงหรือไม่มีผลกับผู้บูชา พระอริยะหลายองค์คงไม่เมตตาสร้างหรือปลุกเสกให้ผู้ศรัทธาในตัวท่านหรอก คนโบราณสมัยก่อนก็คงไม่เอามาแขวนให้หนักคอสืบต่อกันมาแน่นอน เขาลอง เขาเห็นผลกันมาแล้วจึงจดจำสืบต่อกันมาเหมือนยาสมุนไพร มีแต่ยุคนี้ที่เบี่ยงเบนเจตนาให้เป็นแฟชั่นตามกระแสที่มีผลประโยชน์เกี่ยว พัน ฉลาดมากเลยโง่นาน ที่รู้มากก็ฉลาดน้อย

    คนชอบพระและของขลังมีหลายแบบ หากจัดแบบง่ายๆ ท่านจัดอยู่ในกลุ่มไหน


    กลุ่ม แรก เป็นนักเลงพระเครื่อง มักเป็นคนใจนักเลง กล้าได้กล้าเสีย หลงตัวเองอยู่ไม่น้อย เจ้าชู้ ขี้โอ่อีโก้สูง และมีความมั่นใจในตัวเองสูงส่ง ชอบอวด อยากโชว์ แขวนพระเพราะอยากมีระดับในสังคมพระเครื่องมากกว่าจากใจศรัทธา มุ่งหาแต่พระดังและมีราคาแพง อยากให้ลองสังเกตดูคนรอบข้างได้เลยว่าเป็นอย่างนี้หรือไม่ กลุ่มนี้มักไม่ได้รับผลในแรงอธิษฐานมากนัก เพราะศรัทธาไม่ได้เกิดจากจิตใต้สำนึกหรือจากพื้นฐานของจิตใจ แต่มาจากการทำธุรกิจพระเพื่อการพาณิชย์ แต่ไม่ใช่ทุกคนนะครับ

    กลุ่ม ที่สอง คนที่หลงใหลในพระเครื่อง มักเป็นคนจิตตก ใจไม่มั่นคง เกิดวิตกจริตได้ง่าย เห็นอะไรก็มักเกิดอุปาทานไปในทางพระทางผีได้ง่ายๆ ไม่มีจุดยืนของตนเอง ชอบเปลี่ยนพระไปเรื่อยๆไม่สิ้นสุดตามแต่ใครว่าอะไรดีก็เฮไปตามๆกัน บ้าตามโฆษณา ชอบอ่านชอบโชว์ อยากวิจารณ์ จึงมักไม่มีประสบการณ์เด่นชัดเพราะใจไม่นิ่งเลยถือไม่ขึ้นตามคำโบราณว่า ในโลกอินเตอร์เน็ตมีคนพวกนี้มาก
    มีความมั่นใจในตัวเองสูงส่ง
    กลุ่มที่สาม คนที่ศรัทธาในพระเครื่อง มักมีความมั่นคงในพระที่แขวนบูชา ไม่สนใจว่าถูก ว่าแพง และมักมีพระน้อยไม่มากมายอย่างสองพวกแรก ส่วนใหญ่เป็นคนธรรมดาทั่วไป ชอบทำบุญทำทาน ไม่ชอบซื้อพระ ยึดมั่นถือมั่นในครูบาอาจารย์ ใจมั่นคง พระพื้นๆทั่วไปก็ศรัทธาไม่ดูแคลน แขวนองค์ไหนก็อยู่ติดตัวนาน มักมีประสบการณ์เกิดขึ้นกับตัวให้เห็น

    คน สองกลุ่มหลังนี้ผมอยากแนะนำว่าลองอ่านเอาเกร็ดเล็กน้อยไปเป็นมุมมองเล็กๆของ ประสบการณ์สำหรับกลุ่มแรกนั้น ขอให้มองข้ามผ่านไปเลย หากอ่านแล้วมันบาดอารมณ์ของผู้เจนจัดวงการพระ...

    http://www.prommapanyo.com/smf/index.php?topic=859.0

    ..................................................................................................................................

    แรกเรื่มผมก็แขวนพระโดยไม่ได้คิดถึงมูลค่าหรือความดัง พระที่บ้านที่พ่อแม่ปูย่าได้มาจากไปทำบุญ ดูว่าองค์ไหนถูกใจก็อาราธนาท่านติดต้ว ไม่รู้ว่าองค์ไหนดัง องค์ไหนแพง ช่วงนั้นมีประสบการณ์ทั้งโชคลาภ เมตตา แคล้วคลาด นับไม่ถ้วน

    ต่อมาผมได้รู้จักกับพวกเซียนพระ ได้อ่านหนังสือพระ ได้ข้อมูลต่างๆจากทางอินเตอร์เน็ต เห็นว่าองค์นั้นก็ดี องค์นี้ก็อยากได้ ผมก็เริ่มโลเลกลายเป็นคนประเภทที่คุณหนุ่มเมืองแกลงเรียกว่าคนที่หลงใหลในพระเครื่อง เปลี่ยนพระแขวนบูชาไปเรี่อยๆ พระองค์ไหนที่ว่าดัง มีประสบการณ์ แม้มีราคาแพงก็เสาะแสวงหามาไว้ในครอบครอง และช่วงนั้นก็ไม่ได้มีประสบการณ์ดีๆใดๆจากการแขวนพระ

    เคยสงสัยว่าทำไม เมื่อมีโอกาสก็ถามหลวงปู่ที่ผมนับถือ ท่านบอกผมว่า พระที่เป็นรูปจำลองของพระพุทธเจ้านั้นศักดิ์สิทธิ์โดยไม่ต้องปลุกเสกอยู่แล้ว เพราะมีเทวดารักษาองค์พระอยู่ พระพุทธรูปโบราณที่สร้างมานับพันปีที่อยู่ตามต่างประเทศก็ศักดิ์สิทธิ์โดยไม่ต้องปลุกเสก ในประเทศไทยสมัยโบราณคนธรรมดาทั้่วๆไปมักไม่นิยมแขวนพระติดตัว ไม่มีพระบูชาไว้บูชาตามบ้าน พระบูชาจะอยูตามวัด คนไทยนิยมนำเครื่องลางติดต้วมากกว่า เหตุเพราะความเชื่อเรื่องเทวดารักษาองค์พระ ไม่อยากนำพระติดตัวเพราะบางทีอาจทำอะไรที่ไม่เหมาะโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ

    หลวงปู่ท่านให้สติว่า แทนที่จะมองว่าพระองค์ไหนรุ้นไหนแขวนแล้วดีมีประสบการณ์ ให้มองว่าแขวนพระแล้วประพฤติปฎิบัติต้วอย่างไรถึงจะมีประสบการณ์ดีๆจะดีกว่า

    หลังจากวันนั้นผมก็กลับมาแขวนเดี่ยวพระที่ได้มาจากการทำบุญที่วัด ซึ่งแทบจะไม่มีราคาหรือมูลค่าในเชิงพาณิชย์ เหมือนสมัยก่อน
    ไม่ดิ้นรนหาพระดีๆ พระที่แขวนแล้วรวย พระที่แขวนแล้วชีวิตก้าวหน้า แต่มูลค่าราคาหลักหมื่นหลักแสน เพราะพบด้วยประสบการณ์ของตัวเองว่าแขวนพระองค์ไหนก็ได้ที่เราศรัทธา หากเราคิดดีทำดี หมั่นทำบุญ สวดมนต์ไหว้พระเป็นประจำและอุทิศส่วนกุศลจากการสวดมนต์ให้กับเทวดาที่รักษาองค์พระทุกๆองค์ที่มีอยู่ที่บ้าน พลังพุทธคุณ และเทพ เทวดาท่านจะคุ้มครองเราและสถิตย์ที่องค์พระตลอดไป พระองค์เดียวกันที่เคยแขวนแล้วไร้ประสบการณ์ ก็จะกลายเป็นพระที่แขวนแล้วมีแต่ประสบการณ์ดีๆ ชีวิตมีแต่ความเจริญก้าวหน้า


    ส่วนพวกนักเลงพระที่คุณหนุ่มเมืองแกลงคิดว่าคนกลุ่มนี้มีความมั่นใจในตัวเองสูงส่ง ผมกลับมองว่าคนกลุ่มนี้ขาดความมั่นใจในตัวเองและโลเลไม่มั่นคงเสียยิ่งกว่ากลุ่มคนที่หลงไหลในพระเครื่อง ถ้ามีโอกาสรู้จักกับคนพวกนี้ตั้งแต่เซียนเล็กจนถึงเซียนใหญ่คับประเทศจะพบว่าในตัวของพวกเขามีพระแขวนติดต้วอย่างน้อย10องค์ จัดเป็นพวกที่ขาดความเชื่อมั่นในพุทธคุณและขาดความมั้่นใจในตัวเองอย่างมากๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 สิงหาคม 2013
  12. nitikoon kongkhaw

    nitikoon kongkhaw เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,314
    ค่าพลัง:
    +53,506
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  13. nitikoon kongkhaw

    nitikoon kongkhaw เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,314
    ค่าพลัง:
    +53,506
    [​IMG]

    [​IMG]
     
  14. คริสตัลบอย

    คริสตัลบอย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    82
    ค่าพลัง:
    +135
    เหรียญปั๊มรูปเหมือนสมเด็จโต 122ปี วัดระฆัง พิธีใหญ่

    [​IMG]
     
  15. คริสตัลบอย

    คริสตัลบอย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    82
    ค่าพลัง:
    +135
    พระผงน้ำมัน วัดพระพุทธบาท สระบุรี

    [​IMG]
     
  16. phedphed

    phedphed เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    48
    ค่าพลัง:
    +115
    มาดันเบา ๆ อีกสักที อยากเห็นอีกเยอะ ๆ ครับ
     
  17. kravity

    kravity เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    1,472
    ค่าพลัง:
    +34,745
    [​IMG]
    [​IMG]
     
  18. kravity

    kravity เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    1,472
    ค่าพลัง:
    +34,745
    [​IMG]
    [​IMG]
     
  19. kravity

    kravity เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    1,472
    ค่าพลัง:
    +34,745
    [​IMG]
    [​IMG]
     
  20. kravity

    kravity เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    1,472
    ค่าพลัง:
    +34,745
    [​IMG]
    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...