ดินธรรมดาไม่มีใครกราบไหว้ พอเป็นพระพุทธรูปคนนำไว้เหนือหัว

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 17 กรกฎาคม 2013.

  1. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002

    อย่างพระพุทธรูปก็เหมือนกัน เราเห็นทีไรเราสลดสังเวชๆ ถ้าควรจะเตือนเราก็เตือนบ้าง ถ้าไม่ควรเตือน เดี๋ยวพวกนั้นจะหาบกรรมเอาอีก แทนที่จะได้รับผลประโยชน์จากการเตือนของเราจะกลายเป็นโทษไป เอะอะมาก็มีแต่พระพุทธรูป ซื้อพระพุทธรูปมา ขายทั่วตลาด พระพุทธเจ้าเป็นสินค้าอันใหญ่หลวง โรงงานมันก็ผลิตขึ้นๆ พระพุทธเจ้ากลายเป็นสินค้าขึ้นมา เราจริงๆ เคารพพระพุทธเจ้าแต่ไม่อยากรับไว้ เพราะเป็นการส่งเสริมในทางที่ไม่ดี เรากราบพระพุทธเจ้าอยู่ภายในใจดีกว่าที่จะมาแบกมาหามจากบรรดาศรัทธาทั้งหลายมาถวายอย่างไม่มีประมาณเช่นนี้ เราว่างั้น

    ทำง่ายนี่พระพุทธรูป ทำง่ายๆ ซื้อง่ายขายคล่องเชียว โรงงานก็ผลิตขึ้นๆ ใครจะไปคำนึงถึงอรรถถึงธรรมว่าเป็นสินค้าหากินได้ง่าย มันก็เอาๆ น่ะซิ นี่ดูอยู่ทุกวัน พิจารณาทุกวัน หากว่าจะทำเป็นการบูชาเฉพาะกาลเวลา ไม่ใช่ทำแบบสินค้านั้นก็ไม่ขัดข้องอะไรนัก นี่ทำเป็นสินค้าไปเลย พระพุทธรูปไม่มีค่ามีราคา กลายเป็นสินค้าไปหมด เราสลดสังเวชนะ ควรฟังบ้างพี่น้องทั้งหลาย ทำอะไรให้มีเหตุมีผล อย่าให้เลยเถิดเตลิดเปิดเปิงใช้ไม่ได้ ธรรมพระพุทธเจ้ามีประมาณทุกอย่างๆ เอาไปไว้ในบ้านแล้วมันก็ไม่ได้กราบนะ ทิ้งไว้โก้ๆ ดีไม่ดีเอาไปประดับบ้านประดับร้านเสียอีก เป็นอย่างนั้นนะ พระพุทธรูปกลายเป็นเครื่องประดับบ้านประดับร้าน กลายเป็นลายครามไปแล้ว


    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
    เทศน์อบรมฆราวาส ณ วัดป่าบ้านตาด
    เมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๔๗
     
  2. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระเครื่องที่แขวน ๆ กันไว้นั้น มันไปเป็นฝ่ายไสยศาสตร์ไปเสียแล้ว,
    พระเครื่องที่เขาเอามาแขวนคอกันไว้นั้น มันไปเข้าฝ่ายไสยศาสตร์ไปเสียแล้ว.
    เอาพระเจ้าอิทัปปัจจยตามาแขวนที่คอซิ.
    ทำไมว่าพระเครื่องที่เขาแขวน ๆ คอกันอยู่นั้นเป็นไสยศาสตร์ไปเสียแล้ว?
    เพราะเขานีบถืออย่างสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไม่มีเหตุผล,
    บนบานอ้อนวอน เอาสิ่งอื่นนอกจากตัวมาเป็นที่พึ่ง
    ยกแก้วเหล้าข้ามหัวทุกวัน ๆ มันจะศักสิทธิ์ไปได้อย่างไร.
    จะต้องมีพระเจ้าอิทัปปัจจยตา มาประคับประคองขนาบแวดล้อมจิตใจของเราอยู่เสมอ,
    แล้วจะมีการกระทำที่ถูกต้อง ตามหลักพุทธศาสนา

    ท่านพุทธทาสภิกขุ
     
  3. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ทุกคนต้องการอำนาจที่จะเหนือผู้อื่น มันอยากเหนือผู้อื่นทั้งนั้นแหละ.
    นี้ก็เป็นความรู้สึกอย่างสัญชาตญาณ หมู หมา กา ไก่ ตัวไหนก็ตาม
    มันอยากเก่งเหนือตัวอื่นทั้งนั้นแหละ มันจะยกตัวข่มตัวอื่นทั้งนั้นแหละ.
    อาตมาเลี้ยงไก่เลี้ยงสุนัขเลี้ยงแมวมามากแยะแล้ว เห็นชัดเลย
    ว่าแต่ละตัวอยากจะเหนือตัวอื่น อยากจะข่มตัวอื่น, มันเป็นสัญชาตญาณ.
    ฉะนั้นคนนี่มันก็เหมือนกันละ มันอยากจะเหนือผู้อื่น พอเขามาบอกว่าถือคาถานี้สิ
    จะเหนือใครหมด ชนะใครหมดเลย, คือคาถานี้สอง - สามคำสิ คนก็รับเอาไป.
    เราจะเก่งกว่าผู้อื่นจะเหนือกว่าผู้อื่น. มีตบะมีเดชมีอะไรก็ไม่ทราบ,
    ที่ว่ามันถือคาถานี้เท่านั้นแหละ แล้วมันจะเหนือผู้อื่น.
    เพราะฉะนั้นไสยศาสตร์มันก็เต็มไปหมด ที่จะมีอำนาจเหนือผู้อื่น ;
    อุตส่าห์ทำสมาธิทำอะไรต่าง ๆ นานา เพื่อจะมีตบะเดชะอยู่เหนือผู้อื่น,
    ไสยศาสตร์เป็นอย่างนั้น

    ท่านพุทธทาสภิกขุ
     
  4. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ไสยศาสตร์ได้เปรียบ เพราะว่ามันเข้ากันได้กับสัญชาตญาณของมนุษย์ของคนนี้ ที่มันต้องการความปลอดภัยเพราะมันขี้ขลาด,
    มันต้องการร่ำรวยด้วยปัจจัยสี่, มันต้องการจะมีอำนาจเหนือ ผู้อื่น,มันอยากจะให้ทุกคนรัก.
    ดูเถอะ ไม่มีอิทัปปัจจัยตาอยู่ที่ตรงไหนเลย, ในสิ่งเหล่านี้ไม่มีอิทัปปัจจยตาอยู่ที่ตรงไหนเลย,
    แล้วเราก็ถือกันมา ถือกันมา แล้วจะเป็นพุทธศาสนาได้อย่างไร
    วันก่อนก็ได้พูดถึงปัญหาเรื่องนี้ เรามีสรณาคมน์ไสยศาสตร์กันเสียมากให้พระพุทธเจ้าเป็นผู้วิเศษศักดิ์สิทธิ์คอยช่วยเรา,
    ให้พระสงฆ์คอยช่วยเรา; ไม่มีเรื่องช่วยตัวเอง ไม่มีการปฏิบัติธรรมะที่ช่วยตัวเอง. สรณาคมน์มันเขวหมด, มันเป็นสรณาคมน์ไสยศาสตร์.
    ทีนี้แม้จะมีกว่านั้นก็สรณาคมน์ตามเขาว่า ว่าตาม ๆ, สรณาคมน์นกแก้วนกขุนทอง, จนกว่าเมื่อไรจะรู้ธรรมะโดยเฉพาะเรื่องอิทธิตานี่อย่างแท้จริง
    เมื่อนั้นจึงจะเป็นสรณาคมน์ที่แท้จริงของพุทธบริษัทเรา, นี่มันต้องปรับปรุง.

    มีปัญหาปัจจุบัน พุทธศาสตร์เสียเปรียบไสยศาสตร์ เพราะมันไม่ถูกกับสัญชาตญาณเดิม ๆ ของคน,
    ไม่ถูกกับสัญชาตญาณของคน, ถ้าฟังไม่ถูกก็ว่าพุทธศาสตร์มันไม่ถูกกับความโง่เดิม ๆ ของคนมันก็เสียเปรียบไสยศาสตร์.
    ไสยศาสตร์มันก็รุ่งเรืองซิ ก็ขึ้นหน้าซิ เพราะมันถูกับความโง่เดิม ๆ ของคน,
    ถ้าเราไม่เปลี่ยนแปลงความโง่เดิม ๆ เสีย มันก็ยังต้องบูชาไสยศาสตร์กันต่อไป.

    มันน่าสงสัยอยู่ว่า ถ้าพลเมืองทั้งหมดบูชาไสยศาสตร์นี้ มันจะสร้างความเจริญให้แก่ประเทศชาติได้หรือไม่ ?
    ช่วยกันคิดดูกันทุกคนด้วย ถ้าพลเมืองยังบูชาไสยศาสตร์อยู่ทุกคน นี้มันจะทำประเทศชาติให้เจริญได้หรือไม่ ?
    อาตมาสงสัยแต่ไม่กลัวพูด, ให้เป็นสิทธิของทุกคนพูดดีกว่า. เราจะสร้างชาติกันไดโดยวิธีใด ถ้ายังบูชาไสยศาสตร์กันอยู่
    อย่างที่มีพิธีรีต้องเต็มไปหมด. นี่ข้อนี้ไม่ออกชื่อ มันกระทบกระเทือนแต่ว่าเรามีสิทธิที่จะวิพากษ์วิจารณ์,
    ยิ่งสร้างด้วยไสยศาสตร์ก็ยิ่งเพิ่มปัญหา.

    อาตมาว่า ถ้าเราสร้างอะไรที่เป็นความเจริญสร้างด้วยไสยศาสตร์จะเพิ่มปัญหา;
    ถ้าเราสร้างด้วยพุทธศาสตร์จะหมดปัญหา. ถ้าเราจะไปสร้างอะไรที่ว่า ความดีความงามความเจริญ สร้างด้วยไสยศาสตร์นี้ มันจะเพิ่มปัญหา ;
    ฉะนั้นเราจะต้องสร้างด้วยพุทธศาสตร์ มันจึงจะลดปัญหา, ถ้าสร้างด้วยไสยศาสตร์มันเพิ่มปัญหา แล้วมันก็จะกระจายออกไปนอกทาง ขยายตัวออกไปนอกทาง,
    แล้วปัญหามันก็จะมากกว่าเก่า. ฉะนั้น ช่วยกันกระทำเถิด บ้านเรือน ก็ดี วัดวาอารามโบสถ์วิหารก็ดี ให้มันเต็มไปด้วยพุทธศาสตร์, อย่าให้ไสยศาสตร์เข้ายึดครอง.

    ท่านพุทธทาสภิกขุ
     
  5. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    เรื่องวัตถุมันพิลึก เอะอะวัตถุๆ มันเอาวัตถุออกหน้าวัตถุเป็นศาสนา
    หัวใจไม่ได้เป็นเจ้าของของศาสนานะเดี๋ยวนี้ มองเห็นนี้
    เราเคารพระพุทธเจ้าแต่ไม่เคารพวัตถุของจิตใจคนต่ำทราม เอาเท่านั้นแหละ สนใจปฏิบัติตัวเอง
    ให้ดีเยี่ยมไม่มีนี่นะ มองดูแล้วสะเทือนใจๆ ว่าเอาเสียบ้างซิ
    พระพุทธเจ้าท่านไม่เห็นแบกพระพุทธรูปไป สาวกไปทำความเพียรในป่าสำเร็จ
    เป็นอรหัตอรหันต์มา ท่านไม่เห็นแบกพระพุทธรูปไป ไปไหนมีแต่พระพุทธรูป
    วัตถุๆ หัวใจไม่ดู มันน่าสังเวชนะเรา เอะอะวัตถุออกแล้วๆ ออกหน้าๆ
    ธรรมในหัวใจไม่ได้ออก

    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
     
  6. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    หลวงตา เขาเอากระดูกพ่อแม่ครูจารย์มั่นไปปั้นเอาไว้ที่ที่เราพัก กุฏินั่นนะ ไปอยู่ที่นั่น เป็นอะไร เป็นทองคงไม่ใช่ เขาเรียกอะไรมันหลายอย่างนะ ที่ปั้นรูปเหมือนท่านน่ะ มันมีอะไรบ้างที่เอามาปั้น

    โยม สัมฤทธิ์ครับ

    หลวงตา นั่นซิ ทองแท้คงไม่ใช่ พวกทองพวกอะไร พวกเหล็กพวกทอง เขาอาจจะมีอะไรบ้าง รูปเรามันก็แอบไปมีแล้วนะ รูปเราน่ะ มันค่อยขโมยแบบนี้ก็มี เข้าใจไหม ขโมยแบบโลกก็มี ขโมยแบบธรรมนี้ก็มี มันขึ้นหน้าขึ้นตาเหลือเกินเรื่องวัตถุ เพราะฉะนั้นเราจึงได้ตีไว้ เอามาให้เราก็ไม่เอา ให้เอาคืน แม้รูปพระพุทธเจ้าก็ตาม เราเคารพพระพุทธเจ้าแต่ไม่เคารพกิริยาที่ทำมาอย่างนี้ ทำให้ลืมตัว ทำง่ายๆ นิดเดียวๆ การปฏิบัติตัวไม่สนใจเลย พระสาวกทั้งหลายท่านไปบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ในป่าจนกระทั่งสำเร็จมรรคผลนิพพานเป็น สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ ของพวกเรา ไม่ปรากฏมีองค์ไหนบ้างที่ได้แบกพระพุทธเจ้า หามพระพุทธเจ้าไปด้วย

    ท่านก็บอกว่าธรรมอยู่ที่ใจ สอนลงที่ใจ สอนที่ใจ ไม่ได้สอนให้แบกพระพุทธเจ้า ไปไหนให้แบกไปนะ ท่านไม่ได้สอนอย่างนั้น นั้นเป็นด้านวัตถุ หยาบๆ ด้านธรรมะที่จะเป็นผลเป็นประโยชน์แก่ตน ท่านเน้นหนักในจุดนี้ต่างหาก ไม่มีใครละที่จะห้ามอย่างเรา เรามันไม่สนใจกับอะไรมีแต่เหตุผลอรรถธรรมเท่านั้น นอกนั้นใครจะมาใหญ่กว่าธรรมไม่ได้

    มานี้ โอ๋ย พระพุทธรูปเอาไปถวายพระ ท่านก็เกรงใจ ใครก็ขนไปๆ ให้พระท่านแบก ในห้องมีตั้งแต่พระพุทธรูปที่เขาเอาไปถวายท่านนั่นแหละ จนจะหาที่หลับที่นอนก็ไม่มี เราเห็นด้วยตานี่ เราก็ทราบว่านี้เพราะความเกรงใจอะไรๆ อาจประกอบกับท่านก็ชอบของขลังอยู่ด้วย มันก็เลยบวกขึ้นเป็นอย่างนั้น เลยเกลื่อนไปหมดเรื่องวัตถุ เอะอะปุ๊บปั๊บเอามาแล้ว ปุบปับเอามาแล้ว ปัดเรื่อยนะเรา ไม่เหมือนใคร มันไปอย่างนั้นแหละ มันไม่ได้เข้าไปข้างใน ข้างนอกยุ่งมากที่สุด ข้างในไม่สนใจปฏิบัติ ฝึกฝนทรมานตน

    อันนั้นเป็นเครื่องอาศัยเพียงเล็กน้อยภายนอก เช่น พระพุทธรูป ไปอยู่ที่ไหนพอกราบพอไหว้แล้วก็พอ อันนี้จะกลายเป็นโรงงานขายพระพุทธเจ้าทั้งองค์ๆ ทั่วประเทศเขตแดน มันเป็นอย่างนั้นแล้วนะ โรงงานขายพระพุทธเจ้า โรงงานขายพระเต็มไปหมด ใครมาก็ยื่นให้ๆ ปัดเลยเรา ไม่เอา ไม่เล่นด้วย เราคิดด้วยเหตุด้วยผลเรียบร้อยแล้ว อย่างน้อยทำให้คนลืมตัว มากกว่านั้นก็เลอะเทอะ ไม่รู้สึกตัวเลย

    จุดสำคัญ พระพุทธเจ้าท่านสอนลงนั้นนะ ไม่เคยมีตำราใดที่สอนไปที่ไหนให้แบกเราตถาคตไปด้วย ถ้าแบกไม่ได้ให้หามนะ ถ้าองค์ใหญ่ให้หามไปนะ ไม่เห็นว่า บอกศีลบอกธรรม บอกการประพฤติปฏิบัติแก้ไขข้าศึกศัตรูซึ่งมีอยู่ภายใน ให้แก้ลงภายในนี้ ดัดแปลงตัวเองนี้ให้ดี มันก็ดีขึ้นๆ กราบพระพุทธเจ้า กราบสนิทอยู่ภายในใจ นั่นกราบโดยแท้ มันเป็นอย่างนั้นนะ ในวัดจึงไม่เห็นมีเท่าไร พระพุทธรูปเห็นไหม แท่นพระเรา ใครอย่ามายุ่งไม่ได้ ให้เอาคืนต่อหน้าเลย

    ใครจะว่าเราประมาทพระพุทธเจ้า เราเทิดทูนพระพุทธเจ้านั่นเอง ตรงกันข้ามนะ เอามาเหมือนของไม่มีค่า เอามาโยนมาทิ้งไว้อย่างง่ายดายๆ สร้างง่าย สร้างพระพุทธรูป เท่าไรบาทก็แล้ว แต่จะสร้างตัวเองไม่สนใจ เอานั้นสร้างนั้นแทน มันเลยเลอะเทอะไปหมดด้วยวัตถุ อยู่ที่ไหนเกลื่อนไปหมด ไม่มีเฉพาะวัดป่าบ้านตาด มีเฉพาะองค์ที่จำเป็นๆ ครูบาอาจารย์ก็เหมือนกัน เอาไว้ด้วยเหตุด้วยผลทุกอย่าง ไม่ได้เลอะๆ เทอะๆ

    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
    วันที่ 30 ธันวาคม 2547 เวลา 18:10 น.
    สถานที่ : กุฏิกลางน้ำ สวนแสงธรรม กรุงเทพฯ
     
  7. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    สิ่งที่ยึดถือได้ไม่ผิดหวังก็คือพุทโธ ธัมโม สังโฆ ดังที่ท่านแสดงไว้ในธรรมว่า พุทฺธญฺจ ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ สรณํ คตา.
    ผู้ใดมาถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์แล้ว ผู้นั้นเป็นผู้ที่จะหลุดพ้นจากทุกข์ได้โดยลำดับโดยไม่ต้องสงสัย
    การไปพึ่งที่นั่นที่นี่ว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์วิเศษ มันศักดิ์สิทธิ์วิเศษแต่ความสำคัญเจ้าของเฉยๆ ไปไหว้เจดีย์ร้าง ต้นไม้ใหญ่
    ว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านั้นจะมาให้ความดีความชอบแก่เรา ต้นไม้ก็เป็นต้นไม้ อิฐปูนหินทรายที่ก่อเจดีย์ร้างเอาไว้มันก็เป็นอิฐปูนหินทราย
    ตั้งแต่ตัวมันเองก็ยังร้าง มันจะดิบดีที่ตรงไหน


    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
     
  8. nai_Prathom

    nai_Prathom เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    190
    ค่าพลัง:
    +694
    ถ้าคนเรารู้จักแยกแยะ ก็ไม่เห็นว่าจะมีปัญหาอะไร
    ขออนุญาตยกเรื่องหลวงปู่แหวน สุจิณโณ มาไว้ให้อ่านกัน

    เรื่องเครื่องรางของขลัง
    เรื่องเครื่องรางของขลัง หรือวัตถุมงคล ที่พวกเราเสาะแสวงหา มาไว้ครอบครองนั้น หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ท่านให้ความเห็นดังนี้ :-
    หลวงปู่พูดอยู่เสมอว่า คนเรานี้แปลก เอาของจริงคือธรรมะให้ไม่ชอบ ไปชอบเอาวัตถุภาย นอกกันเสียหมด ที่พึ่งที่ประเสริฐ คือพระรัตนตรัย นั้นประเสริฐอยู่แล้ว แต่กลับไม่สนใจ พากันไป สนใจแต่วัตถุภายนอก
    จึงอาจกล่าวได้ว่า เมื่อคนเราไม่สามารถจะเอาคุณพระรัตนตรัยมาเป็นที่พึ่งของตนได้ เพราะอินทรีย์ยังอ่อนอบรมมา ยังไม่เข้าถึงเหตุผล จะถือเอาวัตถุภายนอก เช่นพระเหรียญ ซึ่งเป็น รูปเหรียญรูปแทนของพระพุทธเจ้า นั้นก็ดีเหมือนกัน ถ้าผู้นั้นรู้ความหมายของวัตถุนั้นๆ
    หลวงปู่ท่านให้ข้อคิดในทางธรรมะว่า วัตถุมงคลเหล่านั้นหากจะนำไปป้องกันตัว ถ้ากรรมมา ตัดตอนแล้ว ป้องกันไม่ได้ ไม่ว่าสิ่งไหนจะไปต้านทานอำนาจกรรมนั้นไม่มี
    แต่ถ้าผู้นั้นรู้ความหมายในวัตถุนั้นๆ ว่า เขาสร้างขึ้นมาส่วนมาก เขาใช้สัญลักษณ์ของผู้ที่ ทำแต่ความดี

    การมีวัตถุมงคลไว้ติดตัว ก็มีไว้เป็นเครื่องเตือนสติปัญญาของตน
    เองไม่ให้ประมาทในการ กระทำของตน ต้องทำแต่ความดีเสมอ เพราะโลกเขาบูชานับถือแต่คนดี
    เรามีของดีอยู่กับตัว ก็ต้องทำแต่ความดีอย่างนี้แล้ว ก็นับว่าผู้นั้นได้ประโยชน์จากวัตถุมงคล นั้นๆ
     
  9. pagapong

    pagapong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2012
    โพสต์:
    104
    ค่าพลัง:
    +531
    ที่นำมากล่าวอ้างนั่นถูกต้องตามนั้นครับ ใครจะบ้ากราบไหว้อิฐ-ปูน-ทองเหลือง-ทองแดง-ทองคำ-หรือไม้-ดินนั้น จึงต้องปั้นขึ้นมาให้เป็นรูปเป็นร่างแล้วสมมุติว่าเป็นองค์ท่าน ระลึกถึงความดีขององค์ท่าน แล้วน้อมกราบบูชาถึงท่าน ไม่มีใครนึกถึง อิฐ-ปูน-ทองเหลือง-ทองแดง-ทองคำ-หรือไม้-ดิน นั้นหรอก ถ้าไม่มีพระพุทธปฏิมากรนี้ เราเกิดไม่ทันยุคพุทธกาลแล้วเราจะรู้ไหมว่าองค์ท่านเป็นอย่างไร จึงต้องมีสมมุติขึ้นมาเพื่อระลึกถึงท่าน
     
  10. pagapong

    pagapong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2012
    โพสต์:
    104
    ค่าพลัง:
    +531
    กำลังใจของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
    หลวงปู่ดู่ พรฺหมฺปญฺโญ วัดสะแก อยุธยา ท่านบอกว่า ถ้าติดในวัตถุมงคลก็ดีกว่าติดในวัตถุอัปมงคล โบราณาจารย์ท่านมีปัญญา ท่านฉลาดมาก ท่านสอนให้เรายึดในพุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ คือ ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ด้วยการสร้างวัตถุมงคลขึ้นมา ให้เราปฏิบัติกรรมฐานใหญ่โดยที่เราไม่รู้ตัว ท่านให้เราอาราธนาทุกวัน โดยระลึกถึงทุกวันเป็นอนุสติอยู่ แล้วมีข้อกำกับว่า ถ้าหากว่าศีลบริสุทธิ์ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ ก็จะมีอานุภาพคุ้มครองเราได้ระดับหนึ่ง ที่ไม่เกินกฎของกรรม
     
  11. nai_Prathom

    nai_Prathom เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    190
    ค่าพลัง:
    +694
    สมัยก่อนวัดที่ครูบาอาจารย์ท่านอยู่ ก็มีโบสถ์วิหาร มีพระประธานประจำโบสถ์วิหาร
    แล้วมันเดือดร้อนอะไรกันหรือ?

    ครูบาอาจารย์ท่านกราบไหว้ พระอิฐ พระปูน พระทองเหลือง แล้วยังไง ครูบาอาจารย์ท่านไม่ตั้งอยู่ในธรรมวินัยหรือ?

    ก็ไม่เคยได้ยินได้ฟังได้อ่านว่า พระอาจารย์มั่นท่านนำพาศิษยานุศิษย์ทั้งพระและฆราวาสทำลายพระพุทธรูปเพราะด้วยเห็นว่า พระปฏิมา ทองเหลือง ทองแดง อิฐ หิน ปูน ทราย จะเป็นภัยต่อการปฏิบัติธรรม แต่อย่างใด

    ครูบาอาจารย์ท่านก็ทำวัตรสวดมนต์ต่อหน้าพระปฏิมาที่สร้างจากทองเหลือง ทองแดง อิฐ หิน ปูน ทราย แล้วมันเป็นยังไงกัน?

    ครูบาอาจารย์ที่ท่านกราบไหว้พระปฏิมา ทองเหลือง ทองแดง อิฐ หิน ปูน ทราย ที่ท่านสำเร็จมรรคผลก็มีให้เห็นเกลื่อนกล่นอยู่ทั่วประเทศไทย มีคุณความดีเป็นที่ประจักษ์

    แม้รูปเสมือนพระพุทธนั้น ครูบาอาจารย์หลวงปู่มั่นท่านก็ไม่ยอมให้ใครเหยียบย่ำไม่ว่าจะเจตนาหรือไม่ก็ตาม หลวงพ่อชา ท่านเคยกล่าวว่า มีอยู่ครั้งนึงหลวงปู่มั่นท่านได้เดินไปเจอซองธูปที่มีฉลากเป็นรูปพระพุทธตกอยู่บนพื้นทางเดิน ท่านก็ก้มหยิบขึ้นมาเก็บรักษาไว้ ด้วยเกรงว่าจะมีผู้ใดเหยียบย่ำเข้าจะเป็นบาปติดตัวไป

    ประสาอะไร กับผู้ที่บวชเข้ามาเป็นพระในพระพุทธศาสนา รู้ก็รู้อยู่ว่ารูปเสมือนพระพุทธเจ้านั่นเป็นสิ่งที่ผู้คนกราบไหว้บูชา ได้น้อมรำลึกถึงพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ยังทำลายพระพุทธปฏิมาได้ลงคอ
     
  12. เมธาสิทธ์

    เมธาสิทธ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +78
    ต้องขอขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งที่ได้โปรดชี้แนะ ตัวผมนั้นก็พอรู้ในสิ่งที่ท่านบอกอยู่บ้าง จึงได้ทิ้งตอนสุดท้ายไว้ หากพบผมในนรกก็ทักผมบ้าง ด้วยตัวผมนั้นจิตหยาบเต็มทีอีกทั้งกิเลสเต็มขั้น ตอนนี้ก็ได้แต่เพียงมีที่ฝากจิตฝากใจไปกับทองเหลืองแหล่ะดินปั้น หรือเป็นปูนปลาสเตอร์บ้างก็มีบางโอกาส พยายามพุทโธไปตามประสา เจอนมโตๆก็ต้องเหลือบบ้างแต่ก็จะพยายามกลับมาอยู่ที่พุทโธให้เร็วที่สุด ให้ละอย่างท่านว่าสำหรับปุถุชนอย่างผมมันยากเหลือเกิน แต่ก็จะพยายามนะครับ คุณอุรุเวลาละได้แล้วผมก็ดีใจด้วยอย่างยิ่งครับ
     
  13. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    "เราพากันกราบไหว้พระพุทธปฏิมากรนี้ มิใช่ว่าเราไหว้หรือนอบน้อมต่ออิฐ-ปูน-ทองเหลือง-ทองแดง-ทองคำ-หรือไม้-ดิน เพราะนั่นเป็นแต่เพียงวัตถุก่อสร้างธรรมดาอย่างหนึ่งเท่านั้น เมื่อเราจะกราบไหว้พระพุทธรูป เราต้องกราบไหว้คุณธรรม คือมาระลึกถึงว่า พระพุทธเจ้าพระองค์ท่านตรัสรู้เองโดยชอบ เป็นผู้ไกลจากกิเลสเครื่องยั่วยวน ซึ่งถ้าไม่ไกลจากกิเลสแล้วเราก็ไม่ไหว้ เราไหว้เฉพาะท่านที่ห่างไกลจากกิเลสเท่านั้น อย่างนี้ชื่อว่า ไหว้พระองค์ท่านด้วยคุณธรรม จึงจะไม่ชื่อว่า ไหว้อิฐ-ปูน ฯลฯ"

    ประวัติพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ฉบับสมบูรณ์ โดยพระอาจารย์วิริยังค์

    พิจารณาคำสอนของพระอาจารย์ลึกๆ ครับ เรากราบไหว้พระเราไม่ได้กราบไหว้อิฐปูน กราบพระแล้วใช้ตาและใจมองดูสิครับ พระพุทธรูปสอนอะไรเราบ้าง ธรรมอย่างหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ทำให้มากเจริญให้มากนั้นคือ "กายคตาสติ" พระพุทธรูปสอนให้เรานั่งสมาธิ สอนในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสอน กายคตาสติทำให้มากเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข เพื่อนิพพาน ถ้าท่านอยู่ในนรก ไม่ต้องรอผมทัก อยากพ้นนรก ท่านต้องช่วยตัวท่านเอง ไหว้พระให้ถูกต้องไหว้พระอย่าได้นอบน้อมต่ออิฐปูนครับ
     
  14. DarKKazE

    DarKKazE เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    166
    ค่าพลัง:
    +239
    1.ที่ว่ารูปเป็นทุกข์ รูปเป็นทุกข์น่ะ ท่านเข้าใจไหมว่ารูปไหน
    ผมอ่านที่ท่านเขียน ผมคิดว่าท่านอุรุเวลาเข้าใจพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จ
    ดุจนกแก้วท่องจำตำรา จวักที่ตักจ้วงแกงนะครับ

    ปล.ที่ว่ารูปเป็นทุกข์น่ะหมายถึงรูปในขันธ์5 ไม่ให้ยึดติดในร่างกายตัวเอง รู้ว่ามันเป็นธาตุทั้งหลายมาประชุมกัน ไม่ใช่ของสะอาด เป็นของสกปรก เป็นของเสื่อมได้ เป็นของถูกทำลายได้ ไม่ใช่สิ่งที่จะยึดถือเป็นสรณะได้
    และถ้ารูปในขันธ์5 มันละกันได้ง่ายๆ องค์พระศาสดาท่านคงคงไม่ใช้เวลาเนิ่นนานในการบำเพ็ญบารมีหรอกครบ ทศบารมีขั้นปรมัตถ์ไม่ได้ทำสำเร็จกันในวันสองวันนะครับ

    2.รูปเคารพที่คนสร้าง ผมไม่ปฏิเสธหรอกครับว่าคนสร้างอยากได้บุญ ก็จริงครับเป็นกรรมของคนสร้าง แต่เป็นกุศลกรรมที่จะพาเข้าถึงพุทธานุสติเป็นกำลังส่งเข้านิพพานได้
    คนที่คิดจะสร้างได้ อย่างน้อยผู้นั้นก็ระลึกนึกถึงความดีของพระศาสดา ทว่าคนที่เห็นพระพุทธรูปปกติดีอยู่ แล้วไปทุบทำลาย อ้างว่า เป็นเพียงวัตถุธาตุ เป็นปูน เป็นโลหะ ตรึกดูแล้ว คล้ายปรัชญาโจรในเรื่องกามนิต ที่ว่าการฆ่าคนไม่เป็นบาป เพราะคมดาบแหวกเข้าไปในช่องว่างของปรมาณู
    เห็นรูปองค์สมเด็จถูกทำลายใจผมหมองบ้างตามประสาปุถุชน แต่สลดใจมากกว่าที่คนสั่งทำลายน่ะ จิตละเอียดพอจะระลึกถึงคุณความดีขององค์สมเด็จไหม ครูบาอาจารย์รุ่นเก่าๆไม่ทำกัน ไฉนเลยคนสั่งถึงนอกครู สั่งทำลายหนอ แถมเขายังอ้างหลักธรรมคำสอนของพระองค์มาตีความผิดๆ ทำให้ผู้อื่นเกิดมิจฉาทิฏฐิด้วย
    เขากินข้าว ใช้ข้าวของ ที่เกิดจากบุญขององค์สมเด็จฯ แต่ก็ทำลายรูปที่คนเขาหล่อเขาสร้างเอาไว้ระลึกถึงพระองค์ แล้วเอาหลักธรรมของพระองค์มาอ้างเอาจากมิจฉาทิฏฐิของเขา
    ขอโทษนะครับ................แบบนี้ ผมเรียกว่าจิตหยาบครับ
    ผมเชื่อว่าหลายๆคน รวมถึงผมด้วย ถ้าเขามาแถวบ้านคงไม่ใส่บาตร มือก้ไม่ยกไหว้
    ถ้าคนไหนว่าเขาเป็นอรหันต์ ผมคงแค่ยิ้มครับ
    แค่ยิ้ม
     
  15. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    [๕๑๕] รูปเป็นอุปาทา นั้น เป็นไฉน?
    จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ รูปายตนะ สัททายตนะ
    คันธายตนะ รสายตนะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ อากาสธาตุ
    รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปอุปจยะ รูปสันตติ รูปชรตา รูปอนิจจตา กพฬิงการาหาร
    [๕๑๖] รูปที่เรียกว่า จักขายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    จักขุใด เป็นปสาท(ส่วนของร่างกาย)รูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ(ลักษณะความเป็นตัวตนหรือบุคคล)
    เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, สัตว์นี้เห็นแล้ว หรือเห็นอยู่ หรือจักเห็น หรือพึงเห็น ซึ่งรูปอันเป็นสิ่งที่เห็นได้
    และกระทบได้ ด้วยจักขุใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า จักขุบ้าง จักขายตนะ
    บ้าง จักขุธาตุบ้าง จักขุนทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง
    วัตถุบ้าง เนตรบ้าง นัยนะบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า จักขายตนะ
    รูปที่เรียกว่า จักขายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    จักขุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้, รูปอันเป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ
    หรือพึงกระทบ ที่จักขุใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า จักขุบ้าง จักขายตนะ
    บ้าง จักขุธาตุบ้าง จักขุนทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง
    วัตถุบ้าง เนตรบ้าง นัยนะบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า จักขายตนะ
    รูปที่เรียกว่า จักขายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    จักขุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้, จักขุใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่
    หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่รูปอันเป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้, นี้เรียกว่า จักขุบ้าง
    จักขายตนะบ้าง จักขุธาตุบ้าง จักขุนทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง
    เขตบ้าง วัตถุบ้าง เนตรบ้าง นัยนะบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า จักขายตนะ.
    รูปที่เรียกว่า จักขายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    จักขุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้, เพราะอาศัยจักขุใด จักขุสัมผัสปรารภรูป เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น
    หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยจักขุใด เวทนา อันเกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ
    เจตนา ฯลฯ จักขุวิญญาณปรารภรูป เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ
    เพราะอาศัยจักขุใด จักขุสัมผัส มีรูปเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น
    หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยจักขุใด เวทนาอันเกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ
    เจตนา ฯลฯ จักขุวิญญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น
    หรือพึงเกิดขึ้น, นี้เรียกว่า จักขุบ้าง จักขายตนะบ้าง จักขุธาตุบ้าง จักขุนทรีย์บ้าง โลกบ้าง
    ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง เนตรบ้าง นัยนะบ้าง ฝั่งนี้บ้าง
    บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า จักขายตนะ.
    [๕๑๗] รูปที่เรียกว่า โสตายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    โสตใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้, สัตว์นี้ฟังแล้ว หรือฟังอยู่ หรือจักฟัง หรือพึงฟัง ซึ่งเสียงอันเป็นสิ่งที่เห็น
    ไม่ได้ แต่กระทบได้ ด้วยโสตใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า โสตบ้าง
    โสตายตนะบ้าง โสตธาตุบ้าง โสตินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง
    เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า โสตายตนะ
    รูปที่เรียกว่า โสตายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    โสตใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้, เสียงอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือ
    จักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่โสตใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า โสตบ้าง
    โสตายตนะบ้าง โสตธาตุบ้าง โสตินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง
    เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า โสตายตนะ
    รูปที่เรียกว่า โสตายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    โสตใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้, โสตใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่
    หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่เสียงอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า โสตบ้าง
    โสตายตนะบ้าง โสตธาตุบ้าง โสตินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง
    เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า โสตายตนะ
    รูปที่เรียกว่า โสตายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    โสตใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้, เพราะอาศัยโสตใด โสตสัมผัสปรารภเสียง เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่
    หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยโสตใด เวทนาอันเกิดแต่โสตสัมผัส ฯลฯ
    สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ โสตวิญญาณปรารภเสียง เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น
    หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยโสตใด โสตสัมผัส มีเสียงเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้ว หรือ
    เกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยโสตใด เวทนาอันเกิดแต่โสต
    สัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ โสตวิญญาณ มีเสียงเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้ว หรือ
    เกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น, นี้เรียกว่า โสตบ้าง โสตายตนะบ้าง โสตธาตุบ้าง
    โสตินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง
    บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า โสตายตนะ
    [๕๑๘] รูปที่เรียกว่า ฆานายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    ฆานะใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้, สัตว์นี้ ดมแล้ว หรือดมอยู่ หรือจักดม หรือพึงดม ซึ่งกลิ่นอันเป็นสิ่งที่เห็น
    ไม่ได้ แต่กระทบได้ ด้วยฆานะใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า ฆานะบ้าง
    ฆานายตนะบ้าง ฆานธาตุบ้าง ฆานินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง
    เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า ฆานายตนะ
    รูปที่เรียกว่า ฆานายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    ฆานะใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้, กลิ่นอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือ
    จักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่ฆานะใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า
    ฆานะบ้าง ฆานายตนะบ้าง ฆานธาตุบ้าง ฆานินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง
    ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า ฆานายตนะ
    รูปที่เรียกว่า ฆานายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    ฆานะใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้, ฆานะใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่
    หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่กลิ่นอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า
    ฆานะบ้าง ฆานายตนะบ้าง ฆานธาตุบ้าง ฆานินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง
    ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า ฆานายตนะ.
    รูปที่เรียกว่า ฆานายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    ฆานะใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้, เพราะอาศัยฆานะใด ฆานสัมผัสปรารภกลิ่น เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่
    หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัย ฆานะใด เวทนาอันเกิดแต่ฆานสัมผัส ฯลฯ
    สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ฆานวิญญาณ ปรารภกลิ่น เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือ
    จักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยฆานะใด ฆานสัมผัสมีกลิ่นเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้ว
    หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยฆานะใด เวทนาอันเกิดแต่
    ฆานสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ฆานวิญญาณ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้ว
    หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น, นี้เรียกว่า ฆานะบ้าง ฆานายตนะบ้าง
    ฆานธาตุบ้าง ฆานินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง
    ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียก ฆานายตนะ.
    [๕๑๙] รูปที่เรียกว่า ชิวหายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    ชิวหาใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้, สัตว์นี้ ลิ้มแล้ว หรือลิ้มอยู่ หรือจักลิ้ม หรือพึงลิ้ม ซึ่งรสอันเป็นสิ่งที่เห็น
    ไม่ได้ แต่กระทบได้ ด้วยชิวหาใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า ชิวหา
    บ้าง ชิวหายตนะบ้าง ชิวหาธาตุบ้าง ชิวหินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระ
    บ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า ชิวหายตนะ
    รูปที่เรียกว่า ชิวหายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    ชิวหาใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้, รสอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือ
    จักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่ชิวหาใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า
    ชิวหาบ้าง ชิวหายตนะบ้าง ชิวหาธาตุบ้าง ชิวหินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง
    ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า ชิวหายตนะ
    รูปที่เรียกว่า ชิวหายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    ชิวหาใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้, ชิวหาใด เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่
    หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่รสอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า ชิวหา
    บ้าง ชิวหายตนะบ้าง ชิวหาธาตุบ้าง ชิวหินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระ
    บ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า ชิวหายตนะ
    รูปที่เรียกว่า ชิวหายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    ชิวหาใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้, เพราะอาศัยชิวหาใด ชิวหาสัมผัสปรารภรส เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือ
    จักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยชิวหาใด เวทนาอันเกิดแต่ชิวหาสัมผัส ฯลฯ
    สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ปรารภรส เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิด
    ขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยชิวหาใด ชิวหาสัมผัส มีรสเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้ว
    หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยชิวหาใด เวทนาอันเกิดแต่
    ชิวหาสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ มีรสเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้ว
    หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น. นี้เรียกว่า ชิวหาบ้าง ชิวหายตนะบ้าง ชิวหา
    ธาตุบ้าง ชิวหินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง
    ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า ชิวหายตนะ
    [๕๒๐] รูปที่เรียกว่า กายายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้, สัตว์นี้ ถูกต้องแล้ว หรือถูกต้องอยู่ หรือจักถูกต้อง หรือพึงถูกต้อง ซึ่งโผฏฐัพพะ
    อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ ด้วยกายใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้
    เรียกว่า กายบ้าง กายายตนะบ้าง กายธาตุบ้าง กายินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง
    ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า กายายตนะ
    รูปที่เรียกว่า กายายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่
    กระทบได้, โผฏฐัพพะ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือ
    จักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่กายใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า กายบ้าง
    กายายตนะบ้าง กายธาตุบ้าง กายินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง
    เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า กายายตนะ.
    รูปที่เรียกว่า กายายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้, กายใด เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือ
    จักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่โผฏฐัพพะ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า
    กายบ้าง กายายตนะบ้าง กายธาตุบ้าง กายินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระ
    บ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า กายายตนะ
    รูปที่เรียกว่า กายายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ นับเนื่องในอัตภาพ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้, เพราะอาศัยกายใด กายสัมผัส ปรารภโผฏฐัพพะ เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่
    หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยกายใด เวทนาอันเกิดแต่กายสัมผัส ฯลฯ
    สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ กายวิญญาณ ปรารภโผฏฐัพพะ เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือ
    จักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยกายใด กายสัมผัส มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ เกิด
    ขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะอาศัยกายใด เวทนาอัน
    เกิดแต่กายสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ กายวิญญาณ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ เกิด
    ขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น, นี้เรียกว่า กายบ้าง กายายตนะบ้าง
    กายธาตุบ้าง กายินทรีย์บ้าง โลกบ้าง ทวารบ้าง สมุทรบ้าง ปัณฑระบ้าง เขตบ้าง วัตถุบ้าง
    ฝั่งนี้บ้าง บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า กายายตนะ
    [๕๒๑] รูปที่เรียกว่า รูปายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    รูปใด เป็นสี อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ ได้แก่ สีเขียวคราม
    สีเหลือง สีแดง สีขาว สีดำ สีหงสบาท สีคล้ำ สีเขียวใบไม้ สีม่วง ยาว สั้น ละเอียด
    หยาบ กลม รี สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม สิบหกเหลี่ยม ลุ่ม ดอน เงา แดด
    แสงสว่าง มืด เมฆ หมอก ควัน ละออง แสงจันทร์ แสงอาทิตย์ แสงดาว แสงกระจก
    แสงแก้วมณี แสงสังข์ แสงมุกดา แสงแก้วไพฑูรย์ แสงทอง แสงเงิน หรือรูปแม้อื่นใด
    เป็นสี อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ มีอยู่, สัตว์นี้ เห็นแล้ว หรือเห็นอยู่
    หรือจักเห็น หรือพึงเห็น ซึ่งรูปใด อันเป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ด้วยจักขุ อันเป็นสิ่งที่
    เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า รูปบ้าง รูปายตนะบ้าง รูปธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า
    รูปายตนะ.
    รูปที่เรียก รูปายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    รูปใด เป็นสี อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ ได้แก่ สีเขียวคราม
    สีเหลือง สีแดง สีขาว สีดำ สีหงสบาท สีคล้ำ สีเขียวใบไม้ สีม่วง ยาว สั้น ละเอียด
    หยาบ กลม รี สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม สิบหกเหลี่ยม ลุ่ม ดอน เงา แดด
    แสงสว่าง มืด เมฆ หมอก ควัน ละออง แสงจันทร์ แสงอาทิตย์ แสงดาว แสงกระจก
    แสงแก้วมณี แสงสังข์ แสงมุกดา แสงแก้วไพฑูรย์ แสงทอง แสงเงิน หรือรูปแม้อื่นใด
    เป็นสี อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ มีอยู่, จักขุอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่รูปใด อันเป็น
    สิ่งที่เห็นได้และกระทบได้, นี้เรียกว่า รูปบ้าง รูปายตนะบ้าง รูปธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า
    รูปายตนะ.
    รูปที่เรียกว่า รูปายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    รูปใด เป็นสี อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ ได้แก่ สีเขียวคราม
    สีเหลือง สีแดง สีขาว สีดำ สีหงสบาท สีคล้ำ สีเขียวใบไม้ สีม่วง ยาว สั้น ละเอียด
    หยาบ กลม รี สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม สิบหกเหลี่ยม ลุ่ม ดอน เงา แดด
    แสงสว่าง มืด เมฆ หมอก ควัน ละออง แสงจันทร์ แสงอาทิตย์ แสงดาว แสงกระจก
    แสงแก้วมณี แสงสังข์ แสงมุกดา แสงแก้วไพฑูรย์ แสงทอง แสงเงิน หรือรูปแม้อื่นใด
    เป็นสี อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ มีอยู่, รูปใด อันเป็นสิ่งที่เห็นได้
    และกระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่จักขุ อันเป็น
    สิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ นี้เรียกว่า รูปบ้าง รูปายตนะบ้าง รูปธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า
    รูปายตนะ.
    รูปที่เรียกว่า รูปายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    รูปใด เป็นสี อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ ได้แก่ สีเขียวคราม
    สีเหลือง สีแดง สีขาว สีดำ สีหงสบาท สีคล้ำ สีเขียวใบไม้ สีม่วง ยาว สั้น ละเอียด
    หยาบ กลม รี สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม สิบหกเหลี่ยม ลุ่ม ดอน เงา แดด
    แสงสว่าง มืด เมฆ หมอก ควัน ละออง แสงจันทร์ แสงอาทิตย์ แสงดาว แสงกระจก
    แสงแก้วมณี แสงสังข์ แสงมุกดา แสงแก้วไพฑูรย์ แสงทอง แสงเงิน หรือรูปแม้อื่นใด
    เป็นสี อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ มีอยู่, เพราะปรารภรูปใด จักขุสัมผัส
    อาศัยจักขุ เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะปรารภรูปใด
    เวทนาอันเกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ จักขุวิญญาณอาศัยจักขุ
    เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ จักขุสัมผัส มีรูปใดเป็นอารมณ์
    อาศัยจักขุ เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เวทนาอันเกิดแต่
    จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ จักขุวิญญาณ มีรูปใดเป็นอารมณ์ อาศัยจักขุ
    เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น, นี้เรียกว่า รูปบ้าง รูปายตนะบ้าง
    รูปธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปายตนะ.
    [๕๒๒] รูปที่เรียกว่า สัททายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    เสียงใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ ได้แก่ เสียงกลอง
    เสียงตะโพน เสียงสังข์ เสียงบัณเฑาะว์ เสียงขับร้อง เสียงประโคม เสียงกรับ เสียงปรบมือ
    เสียงร้องของสัตว์ เสียงกระทบกันของธาตุ เสียงลม เสียงน้ำ เสียงมนุษย์ เสียงอมนุษย์
    หรือเสียงแม้อื่นใด ซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ มีอยู่, สัตว์นี้ ฟังแล้ว
    หรือฟังอยู่ หรือจักฟัง หรือพึงฟัง ซึ่งเสียงใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ ด้วยโสต
    อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า สัททะบ้าง สัททายตนะบ้าง สัททธาตุบ้าง
    รูปทั้งนี้เรียกว่า สัททายตนะ.
    รูปที่เรียกว่า สัททายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    เสียงใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ ได้แก่ เสียงกลอง
    เสียงตะโพน เสียงสังข์ เสียงบัณเฑาะว์ เสียงขับร้อง เสียงประโคม เสียงกรับ เสียงปรบมือ
    เสียงร้องของสัตว์ เสียงกระทบกันของธาตุ เสียงลม เสียงน้ำ เสียงมนุษย์ เสียงอมนุษย์
    หรือเสียงแม้อื่นใด ซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ มีอยู่, โสต
    อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ หรือพึง
    กระทบ ที่เสียงใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า สัททะบ้าง สัททายตนะบ้าง
    สัททธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า สัททายตนะ.
    รูปที่เรียกว่า สัททายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    เสียงใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ ได้แก่ เสียงกลอง
    เสียงตะโพน เสียงสังข์ เสียงบัณเฑาะว์ เสียงขับร้อง เสียงประโคม เสียงกรับ เสียงปรบมือ
    เสียงร้องของสัตว์ เสียงกระทบกันของธาตุ เสียงลม เสียงน้ำ เสียงมนุษย์ เสียงอมนุษย์
    หรือเสียงแม้อื่นใด ซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ มีอยู่, เสียงใด
    อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ
    ที่โสต อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า สัททะบ้าง สัททายตนะบ้าง สัททธาตุบ้าง
    รูปทั้งนี้เรียกว่า สัททายตนะ.
    รูปที่เรียกว่า สัททายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    เสียงใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ ได้แก่ เสียงกลอง
    เสียงตะโพน เสียงสังข์ เสียงบัณเฑาะว์ เสียงขับร้อง เสียงประโคม เสียงกรับ เสียงปรบมือ
    เสียงร้องของสัตว์ เสียงกระทบกันของธาตุ เสียงลม เสียงน้ำ เสียงมนุษย์ เสียงอมนุษย์
    หรือเสียงแม้อื่นใด ซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ มีอยู่, เพราะ
    ปรารภเสียงใด โสตสัมผัส อาศัยโสต เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึง
    เกิดขึ้น ฯลฯ เพราะปรารภเสียงใด เวทนาอันเกิดแต่โสตสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ
    โสตวิญญาณ อาศัยโสตเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ
    โสตสัมผัส มีเสียงใดเป็นอารมณ์ อาศัยโสตเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น
    หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เวทนาอันเกิดแต่โสตสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ โสตวิญญาณ
    มีเสียงใดเป็นอารมณ์ อาศัยโสต เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น,
    นี้เรียกว่า สัททะบ้าง สัททายตนะบ้าง สัททธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า สัททายตนะ.
    [๕๒๓] รูปที่เรียกว่า คันธายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    กลิ่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ ได้แก่ กลิ่นรากไม้
    กลิ่นแก่นไม้ กลิ่นเปลือกไม้ กลิ่นใบไม้ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ กลิ่นบูด กลิ่นเน่า กลิ่นหอม
    กลิ่นเหม็น หรือกลิ่นแม้อื่นใด ซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้
    มีอยู่, สัตว์นี้ ดมแล้ว หรือดมอยู่ หรือจักดม หรือพึงดม ซึ่งกลิ่นใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้ แต่กระทบได้ ด้วยฆานะ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า
    คันธะบ้าง คันธายตนะบ้าง คันธธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า คันธายตนะ.
    รูปที่เรียกว่า คันธายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    กลิ่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ ได้แก่ กลิ่นรากไม้
    กลิ่นแก่นไม้ กลิ่นเปลือกไม้ กลิ่นใบไม้ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ กลิ่นบูด
    กลิ่นเน่า กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น หรือกลิ่นแม้อื่นใด ซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ อันเป็นสิ่งที่เห็น
    ไม่ได้ แต่กระทบได้ มีอยู่, ฆานะอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือ
    กระทบอยู่ หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่กลิ่นใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้,
    นี้เรียกว่า คันธะบ้าง คันธายตนะบ้าง คันธธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า คันธายตนะ.
    รูปที่เรียกว่า คันธายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    กลิ่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ ได้แก่ กลิ่นรากไม้
    กลิ่นแก่นไม้ กลิ่นเปลือกไม้ กลิ่นใบไม้ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ กลิ่นบูด กลิ่นเน่า กลิ่นหอม
    กลิ่นเหม็น หรือกลิ่นแม้อื่นใด ซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้
    มีอยู่, กลิ่นใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่ หรือจักกระทบ
    หรือพึงกระทบ ที่ฆานะอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า คันธะบ้าง คันธายตนะบ้าง
    คันธธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า คันธายตนะ.
    รูปที่เรียกว่า คันธายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    กลิ่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ ได้แก่ กลิ่นรากไม้
    กลิ่นแก่นไม้ กลิ่นเปลือกไม้ กลิ่นใบไม้ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ กลิ่นบูด กลิ่นเน่า กลิ่นหอม
    กลิ่นเหม็น หรือกลิ่นแม้อื่นใด ซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้
    มีอยู่ เพราะปรารภกลิ่นใด ฆานสัมผัส อาศัยฆานะ เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น
    หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะปรารภกลิ่นใด เวทนาอันเกิดแต่ฆานสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ
    เจตนา ฯลฯ ฆานวิญญาณ อาศัยฆานะ เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น หรือ
    พึงเกิดขึ้น ฯลฯ ฆานสัมผัส มีกลิ่นใดเป็นอารมณ์ อาศัยฆานะ เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่
    หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เวทนาอันเกิดแต่ฆานสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ
    ฆานวิญญาณ มีกลิ่นใดเป็นอารมณ์ อาศัยฆานะ เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น
    หรือพึงเกิดขึ้น นี้เรียกว่า คันธะบ้าง คันธายตนะบ้าง คันธธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า คันธายตนะ.
    [๕๒๔] รูปที่เรียกว่า รสายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    รสใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ ได้แก่ รสรากไม้
    รสลำต้น รสเปลือกไม้ รสใบไม้ รสดอกไม้ รสผลไม้ เปรี้ยว หวาน ขม เผ็ด เค็ม ขื่น
    เฝื่อน ฝาด อร่อย ไม่อร่อย หรือรสแม้อื่นใด ซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้ มีอยู่, สัตว์นี้ ลิ้มแล้ว หรือลิ้มอยู่ หรือจักลิ้ม หรือพึงลิ้ม ซึ่งรสใด อันเป็น
    สิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ด้วยชิวหาอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า รสบ้าง
    รสายตนะบ้าง รสธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า รสายตนะ.
    รูปที่เรียกว่า รสายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    รสใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ ได้แก่ รสรากไม้
    รสลำต้น รสเปลือกไม้ รสใบไม้ รสดอกไม้ รสผลไม้ เปรี้ยว หวาน ขม เผ็ด เค็ม ขื่น
    เฝื่อน ฝาด อร่อย ไม่อร่อย หรือรสแม้อื่นใด ซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้ มีอยู่, ชิวหาอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่
    หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่รสใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า
    รสบ้าง รสายตนะบ้าง รสธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า รสายตนะ.
    รูปที่เรียกว่า รสายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    รสใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ ได้แก่ รสรากไม้
    รสลำต้น รสเปลือกไม้ รสใบไม้ รสดอกไม้ รสผลไม้ เปรี้ยว หวาน ขม เผ็ด เค็ม ขื่น
    เฝื่อน ฝาด อร่อย ไม่อร่อย หรือรสแม้อื่นใด ซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้ มีอยู่, รสใด อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ กระทบแล้ว หรือกระทบอยู่
    หรือจักกระทบ หรือพึงกระทบ ที่ชิวหาอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้, นี้เรียกว่า รสบ้าง
    รสายตนะบ้าง รสธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า รสายตนะ.
    รูปที่เรียกว่า รสายตนะ นั้น เป็นไฉน?
    รสใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ ได้แก่ รสรากไม้
    รสลำต้น รสเปลือกไม้ รสใบไม้ รสดอกไม้ รสผลไม้ เปรี้ยว หวาน ขม เผ็ด เค็ม ขื่น
    เฝื่อน ฝาด เผ็ด อร่อย ไม่อร่อย หรือรสแม้อื่นใด ซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้
    แต่กระทบได้ มีอยู่, เพราะปรารภรสใด ชิวหาสัมผัส อาศัยชิวหา เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่
    หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะปรารภรสใด เวทนาอันเกิดแต่ชิวหาสัมผัส ฯลฯ
    สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ อาศัยชิวหา เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่ หรือจักเกิดขึ้น
    หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ ชิวหาสัมผัส มีรสใดเป็นอารมณ์ อาศัยชิวหาใด เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่
    หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น ฯลฯ เวทนา อันเกิดแต่ชิวหาสัมผัส ฯลฯ สัญญา ฯลฯ
    เจตนา ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ มีรสใดเป็นอารมณ์ อาศัยชิวหา เกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดขึ้นอยู่
    หรือจักเกิดขึ้น หรือพึงเกิดขึ้น, นี้เรียกว่า รสบ้าง รสายตนะบ้าง รสธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า
    รสายตนะ.
    [๕๒๕] รูปที่เรียกว่า อิตถินทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
    ทรวดทรงหญิง เครื่องหมายรู้ว่าหญิง กิริยาหญิง อาการหญิง สภาพหญิง ภาวะหญิง
    ของหญิง ปรารภได้ด้วยเหตุใด รูปทั้งนี้เรียกว่า อิตถินทรีย์.
    [๕๒๖] รูปที่เรียกว่า ปุริสินทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
    ทรวดทรงชาย เครื่องหมายรู้ว่าชาย กิริยาชาย อาการชาย สภาพชาย ภาวะชาย
    ของชาย ปรากฏได้ด้วยเหตุใด รูปทั้งนี้เรียกว่า ปุริสินทรีย์.
    [๕๒๗] รูปที่เรียกว่า ชีวิตินทรีย์ นั้น เป็นไฉน?
    อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการที่สืบเนื่องกันอยู่ ความ
    ประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ชีวิต อินทรีย์คือชีวิต ของรูปธรรมนั้นๆ อันใด รูป
    ทั้งนี้เรียกว่า ชีวิตินทรีย์.
    [๕๒๘] รูปที่เรียกว่า กายวิญญัติ นั้น เป็นไฉน?
    ความเคร่งตึง กิริยาที่เคร่งตึงด้วยดี ความเคร่งตึงด้วยดี การแสดงให้รู้ความหมาย
    กิริยาที่แสดงให้รู้ความหมาย ความแสดงให้รู้ความหมาย แห่งกายของบุคคลผู้มีจิตเป็นกุศล
    หรือมีจิตเป็นอกุศล หรือมีจิตเป็นอัพยากฤต ก้าวไปอยู่ ถอยกลับอยู่ แลดูอยู่ เหลียวซ้ายแล
    ขวาอยู่ คู้เข้าอยู่ หรือเหยียดออกอยู่ อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า กายวิญญัติ
    [๕๒๙] รูปที่เรียกว่า วจีวิญญัติ นั้น เป็นไฉน?
    การพูด การเปล่งวาจา การเจรจา การกล่าว การป่าวร้อง การโฆษณา วาจา วจีเภท
    แห่งบุคคลผู้มีจิตเป็นกุศล หรือมีจิตเป็นอกุศล หรือมีจิตเป็นอัพยากฤต อันใด นี้เรียกว่า วาจา,
    การแสดงให้รู้ความหมาย กิริยาที่แสดงให้รู้ความหมาย ความแสดงให้รู้ความหมาย ด้วยวาจานั้น
    อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า วจีวิญญัติ.
    [๕๓๐] รูปที่เรียกว่า อากาสธาตุ นั้น เป็นไฉน?
    อากาศ ธรรมชาติอันนับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติอันนับว่าความว่างเปล่า
    ช่องว่าง ธรรมชาติอันนับว่าช่องว่าง อันมหาภูตรูป ๔ ไม่ถูกต้องแล้ว อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า
    อากาสธาตุ
    [๕๓๑] รูปที่เรียกว่า รูปลหุตา นั้น เป็นไฉน?
    ความเบา ความรวดเร็ว ความไม่เชื่องช้า ความไม่หนัก แห่งรูป อันใด รูปทั้งนี้
    เรียกว่า รูปลหุตา.
    [๕๓๒] รูปที่เรียกว่า รูปมุทุตา นั้น เป็นไฉน?
    ความอ่อน ภาวะที่อ่อน ความไม่แข็ง ความไม่กระด้าง แห่งรูป อันใด รูปทั้งนี้
    เรียกว่า รูปมุทุตา.
    [๕๓๓] รูปที่เรียกว่า รูปกัมมัญญตา นั้น เป็นไฉน?
    กิริยาที่ควรแก่การงาน ความควรแก่การงาน ภาวะที่ควรแก่การงาน แห่งรูป อันใด
    รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปกัมมัญญตา.
    [๕๓๔] รูปที่เรียกว่า รูปอุปจยะ นั้น เป็นไฉน?
    ความสั่งสมแห่งอายตนะทั้งหลาย อันใด อันนั้น เป็นความเกิดแห่งรูป รูปทั้งนี้
    เรียกว่า รูปอุปจยะ.
    [๕๓๕] รูปที่เรียกว่า รูปสันตติ นั้น เป็นไฉน?
    ความเกิดแห่งรูป อันใด อันนั้น เป็นความสืบต่อแห่งรูป รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปสันตติ.
    [๕๓๖] รูปที่เรียกว่า รูปชรตา นั้น เป็นไฉน?
    ความชรา ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว ความ
    เสื่อมอายุ ความหง่อมแห่งอินทรีย์ แห่งรูป อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปชรตา.
    [๕๓๗] รูปที่เรียกว่า รูปอนิจจตา นั้น เป็นไฉน?
    ความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความแตก ความทำลาย ความไม่เที่ยง ความอันตรธาน
    แห่งรูป อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปอนิจจตา.
    [๕๓๘] รูปที่เรียกว่า กพฬิงการาหาร นั้น เป็นไฉน?
    ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ นมสด นมส้ม เนยใส เนยข้น น้ำมัน
    น้ำผึ้ง น้ำอ้อย หรือรูปแม้อื่นใด มีอยู่ อันเป็นของใส่ปาก ขบเคี้ยว กลืนกิน อิ่มท้อง ของ
    สัตว์นั้นๆ ในชนบทใดๆ สัตว์ทั้งหลาย เลี้ยงชีวิตด้วยโอชา อันใด รูปทั้งนี้ เรียกว่า
    กพฬิงการาหาร.
    รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอุปาทา.

    พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑ ธรรมสังคณีปกรณ
     
  16. ธรรมจิตต์

    ธรรมจิตต์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    197
    ค่าพลัง:
    +419
    เกิดมาบนโลกใบนี้เราก็เจอแต่สิ่งสมมติทั้งนั้น ตั้งแต่เกิดจนตาย ถ้าจะตัดสมมติเลยก็ไม่ต้องมาเกิด แต่เมื่อเกิดมาแล้วก็เพียงแต่ขอให้รู้ว่าว่าอะไรคือสิ่งสมมติ เมื่อรู้แล้วก็อย่าไปหลงไปยึด เพราะสุดท้ายผู้(สิ่ง)ที่ไปยึดและผู้(สิ่ง)ที่ถูกยึดมันก็สมมติ...เลยไม่มีอะไรไปยึดและถูกยึดทั้งนั้น

    เอาเป็นว่าแค่รู้ว่าอะไรคือสมมติแล้วอยู่กับสมมติอย่างรู้เท่าทันก็พอแล้ว..สำหรับปุถุชนที่เกิดมาแล้วในโลกสมมติใบนี้
     
  17. ปัญจทสเทพา

    ปัญจทสเทพา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +143
    แม้แต่อาการเคารพ กราบไหว้ ของผู้คน ก็เป็นเรื่องของรูปและนาม (ไร้แก่นสาร หาสาระไม่ได้)
     

แชร์หน้านี้

Loading...