คุณชอบสวดมนต์บทใดมากที่สุด

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย onlyone, 6 พฤศจิกายน 2007.

  1. chatyamn

    chatyamn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    664
    ค่าพลัง:
    +4,058
    สวดทุกวัน ก่อนล้างหน้า ยามตื่นนอนตอนเช้า....มุงกุฎพระพุทธเจ้า.....จากนั้นก็ไม่ได้สวดแล้ว ยืนเฝ้าประตูเมือง คอยจับลมหายใจเข้าออก นับลมหายใจไปด้วย.
     
  2. เทพบุตร

    เทพบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +114
    ชอบบท ธรรมจักร ครับ เคยสวดที่วัด ทำนองเสนาะหู คำแปลชัดเจนถึงแก่นธรรมครับ
     
  3. newhatyai

    newhatyai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,768
    ค่าพลัง:
    +6,203
    ของผมสั้นๆ คงจำได้กันทุกคน...

    1 นโมตัสสะ ภควะโต อรหะ โต สัมสัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)
    2. พุทธัง สรนัง คัจฉามิ ธัมมัง สรนัง คัจฉามิ สังฆา สรนัง คัจฉามิ

    พุทธัง สรนัง คัจฉามิ ธัมมัง สรนัง คัจฉามิ สังฆา สรนัง คัจฉามิ
    ป้องกันคุณไสย์ได้ครับ สมเด็จโตท่านท่องอันนี้เป็นประจำ ....
     
  4. onlyone

    onlyone เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2007
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +4,569

    ใครอยากแชร์อินเดียก็แชร์ๆกันไปนะจ๊ะ พอดีเราไม่ใช่เจ้าของประเทศน่ะ

    ส่วนนิยมดอกไม้ฟรีเนี่ย ประหยัด มัธยัสถ์ ดีนะคะคุณพี่(b-deejai)
     
  5. onlyone

    onlyone เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2007
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +4,569

    สาธุ
     
  6. onlyone

    onlyone เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2007
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +4,569

    เวลาสวดชอบแบบมีคำแปลเหมือนกันค่ะ
     
  7. onlyone

    onlyone เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2007
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +4,569
    มะวานสวดบทนี้

    อาทิตตปริยายสูตร



    เอวมฺเม สุตํ

    อันข้าพเจ้า(คือพระอานนทเถระ)ได้สดับมาแล้วอย่างนี้

    เอกํ สมยํ ภควา

    สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า

    คยายํ วิหรติ คยาสีเส

    เสด็จประทับอยู่ที่คยาสีสะ ใกล้แม่น้ำคยา

    สทฺธึ ภิกฺขุสหสฺเสน

    พร้อมด้วยพระภิกษุพันหนึ่ง

    ตตฺร โข ภควา

    ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

    ภิกฺขู อามนฺเตสิ

    ตรัสเตือนพระภิกษุทั้งหลาย (ให้ตั้งใจสดับพุทธภาษิตนี้) ว่า

    สพฺพํ ภิกฺขเว อาทิตฺตํ

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน

    กิญฺจ ภิกฺขเว สพฺพํ อาทิตฺตํ

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าชื่อว่า สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน

    จกฺขุง ภิกฺขเว อาทิตฺตํ

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ(คือนัยน์ตา)เป็นของร้อน

    รูปา อาทิตฺตา

    รูปทั้งหลาย เป็นของร้อน

    จกฺขุวิญฺญาณํ อาทิตฺตํ

    จักขุวิญญาณ(วิญญาณอาศัยจักษุ) คือความรู้อารมณ์ทางตา เป็นของร้อน

    จกฺขุสมฺผสฺโส อาทิตฺโต

    จักขุสัมผัส(สัมผัสอาศัยจักษุ) คือสัมผัสทางตา เป็นของร้อน

    ยมฺปิทํ จกฺขุสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ

    เวทนาคือความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้ เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุสัมผัส คือสัมผัสทางตา เป็นปัจจัย แม้อันใด (ความเสวยอารมณ์เป็นสุขเป็นทุกข์ หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย)

    สุขํ วา ทุกฺขํ วา

    เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี

    อทุกฺขมสุขํ วา

    ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก์ดี

    ตมฺปิ อาทิตฺตํ

    แม้อันนั้น ก็เป็นของร้อน

    เกน อาทิตฺตํ

    ร้อนเพราะอะไร

    อาทิตฺตํ ราคคฺคินา โทสคฺคินา โมหคฺคินา

    ร้อนเพราะไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ

    อาทิตฺตํ ชาติยา

    ร้อนเพราะความเกิด

    ชรามรเณน

    เพราะความแก่และความตาย

    โสเกหิ ปริเทเวหิ

    เพราะความโศก และความร่ำไรรำพัน

    ทุกฺเขหิ โทมนสฺเสหิ

    เพราะความทุกข์ เพราะความเสียใจ

    อุปายาเสหิ

    เพราะความคับแค้นใจ

    อาทิตฺตนฺติ วทามิ ฯ

    เราจึงกล่าวว่าเป็นของร้อน

    โสตํ อาทิตฺตํ

    โสตะ (คือหู) เป็นของร้อน

    สทฺทา อาทิตฺตา

    เสียงทั้งหลาย เป็นของร้อน

    โสตวิญฺญาณํ อาทิตฺตํ

    โสตวิญญาณ(วิญญาณอาศัยโสตะ) คือความรู้อารมณ์ทางหู เป็นของร้อน

    โสตสมฺผสฺโส อาทิตฺโต

    โสตสัมผัส(สัมผัสอาศัยโสตะ) คือสัมผัสทางหู เป็นของร้อน

    ยมฺปิทํ โสตสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ

    เวทนาคือความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้ เกิดขึ้นเพราะอาศัยโสตสัมผัส คือสัมผัสทางหู เป็นปัจจัย แม้อันใด (ความเสวยอารมณ์เป็นสุขเป็นทุกข์ หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย)

    สุขํ วา ทุกฺขํ วา

    เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี

    อทุกฺขมสุขํ วา

    ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก์ดี

    ตมฺปิ อาทิตฺตํ

    แม้อันนั้น ก็เป็นของร้อน

    เกน อาทิตฺตํ

    ร้อนเพราะอะไร

    อาทิตฺตํ ราคคฺคินา โทสคฺคินา โมหคฺคินา

    ร้อนเพราะไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ

    อาทิตฺตํ ชาติยา

    ร้อนเพราะความเกิด

    ชรามรเณน

    เพราะความแก่และความตาย

    โสเกหิ ปริเทเวหิ

    เพราะความโศก และความร่ำไรรำพัน

    ทุกฺเขหิ โทมนสฺเสหิ

    เพราะความทุกข์ เพราะความเสียใจ

    อุปายาเสหิ

    เพราะความคับแค้นใจ

    อาทิตฺตนฺติ วทามิ ฯ

    เราจึงกล่าวว่าเป็นของร้อน

    ฆานํ อาทิตฺตํ

    ฆานะ (คือจมูก) เป็นของร้อน

    คนฺธา อาทิตฺตา

    กลิ่นทั้งหลาย เป็นของร้อน

    ฆานวิญฺญาณํ อาทิตฺตํ

    ฆานวิญญาณ(วิญญาณอาศัยฆานะ) คือความรู้อารมณ์ทางจมูก เป็นของร้อน

    ฆานสมฺผสฺโส อาทิตฺโต

    ฆานสัมผัส(สัมผัสอาศัยฆานะ) คือสัมผัสทางจมูก เป็นของร้อน

    ยมฺปิทํ ฆานสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ

    เวทนาคือความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้ เกิดขึ้นเพราะอาศัยฆานสัมผัส คือสัมผัสทางจมูก เป็นปัจจัย แม้อันใด (ความเสวยอารมณ์เป็นสุขเป็นทุกข์ หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย)

    สุขํ วา ทุกฺขํ วา

    เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี

    อทุกฺขมสุขํ วา

    ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก์ดี

    ตมฺปิ อาทิตฺตํ

    แม้อันนั้น ก็เป็นของร้อน

    เกน อาทิตฺตํ

    ร้อนเพราะอะไร

    อาทิตฺตํ ราคคฺคินา โทสคฺคินา โมหคฺคินา

    ร้อนเพราะไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ

    อาทิตฺตํ ชาติยา

    ร้อนเพราะความเกิด

    ชรามรเณน

    เพราะความแก่และความตาย

    โสเกหิ ปริเทเวหิ

    เพราะความโศก และความร่ำไรรำพัน

    ทุกฺเขหิ โทมนสฺเสหิ

    เพราะความทุกข์ เพราะความเสียใจ

    อุปายาเสหิ

    เพราะความคับแค้นใจ

    อาทิตฺตนฺติ วทามิ ฯ

    เราจึงกล่าวว่าเป็นของร้อน

    ชิวฺหา อาทิตฺตา

    ชิวหา (คือลิ้น) เป็นของร้อน

    รสา อาทิตฺตา

    รสทั้งหลาย เป็นของร้อน

    ชิวฺหาวิญฺญาณํ อาทิตฺตํ

    ชิวหาวิญญาณ(วิญญาณอาศัยชิวหา) คือความรู้อารมณ์ทางลิ้น เป็นของร้อน

    ชิวฺหาสมฺผสฺโส อาทิตฺโต

    ชิวหาสัมผัส(สัมผัสอาศัยชิวหา) คือสัมผัสทางลิ้น เป็นของร้อน

    ยมฺปิทํ ชิวฺหาสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ

    เวทนาคือความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้ เกิดขึ้นเพราะอาศัยชิวหาสัมผัส คือสัมผัสทางลิ้น เป็นปัจจัย แม้อันใด (ความเสวยอารมณ์เป็นสุขเป็นทุกข์ หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย)

    สุขํ วา ทุกฺขํ วา

    เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี

    อทุกฺขมสุขํ วา

    ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก์ดี

    ตมฺปิ อาทิตฺตํ

    แม้อันนั้น ก็เป็นของร้อน

    เกน อาทิตฺตํ

    ร้อนเพราะอะไร

    อาทิตฺตํ ราคคฺคินา โทสคฺคินา โมหคฺคินา

    ร้อนเพราะไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ

    อาทิตฺตํ ชาติยา

    ร้อนเพราะความเกิด

    ชรามรเณน

    เพราะความแก่และความตาย

    โสเกหิ ปริเทเวหิ

    เพราะความโศก และความร่ำไรรำพัน

    ทุกฺเขหิ โทมนสฺเสหิ

    เพราะความทุกข์ เพราะความเสียใจ

    อุปายาเสหิ

    เพราะความคับแค้นใจ

    อาทิตฺตนฺติ วทามิ ฯ

    เราจึงกล่าวว่าเป็นของร้อน

    กาโย อาทิตฺโต

    กาย เป็นของร้อน

    โผฏฺฐพฺพา อาทิตฺตา

    โผฏฐัพพะ(คือสิ่งที่ถูกต้องทางกาย) เป็นของร้อน

    กายวิญฺญาณํ อาทิตฺตํ

    กายวิญญาณ(วิญญาณอาศัยกาย) คือความรู้อารมณ์ทางกาย เป็นของร้อน

    กายสมฺผสฺโส อาทิตฺโต

    กายสัมผัส(สัมผัสอาศัยกาย) คือสัมผัสทางกาย เป็นของร้อน

    ยมฺปิทํ กายสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ

    เวทนาคือความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้ เกิดขึ้นเพราะอาศัยกายสัมผัส คือสัมผัสทางกาย เป็นปัจจัย แม้อันใด (ความเสวยอารมณ์เป็นสุขเป็นทุกข์ หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย)

    สุขํ วา ทุกฺขํ วา

    เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี

    อทุกฺขมสุขํ วา

    ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก์ดี

    ตมฺปิ อาทิตฺตํ

    แม้อันนั้น ก็เป็นของร้อน

    เกน อาทิตฺตํ

    ร้อนเพราะอะไร

    อาทิตฺตํ ราคคฺคินา โทสคฺคินา โมหคฺคินา

    ร้อนเพราะไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ

    อาทิตฺตํ ชาติยา

    ร้อนเพราะความเกิด

    ชรามรเณน

    เพราะความแก่และความตาย

    โสเกหิ ปริเทเวหิ

    เพราะความโศก และความร่ำไรรำพัน

    ทุกฺเขหิ โทมนสฺเสหิ

    เพราะความทุกข์ เพราะความเสียใจ

    อุปายาเสหิ

    เพราะความคับแค้นใจ

    อาทิตฺตนฺติ วทามิ ฯ

    เราจึงกล่าวว่าเป็นของร้อน

    มโน อาทิตฺโต

    มนะ (คือใจ) เป็นของร้อน

    ธมฺมา อาทิตฺตา

    ธรรมารมณ์ทั้งหลาย(คืออารมณ์ที่เกิดแก่ใจ) เป็นของร้อน

    มโนวิญฺญาณํ อาทิตฺตํ

    มโนวิญญาณ(วิญญาณอาศัยมนะ) คือความรู้อารมณ์ทางใจ เป็นของร้อน

    มโนสมฺผสฺโส อาทิตฺโต

    มโนสัมผัส(สัมผัสอาศัยมนะ) คือสัมผัสทางใจ เป็นของร้อน

    ยมฺปิทํ มโนสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ

    เวทนาคือความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้ เกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนสัมผัส คือสัมผัสทางใจ เป็นปัจจัย แม้อันใด (ความเสวยอารมณ์เป็นสุขเป็นทุกข์ หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย)

    สุขํ วา ทุกฺขํ วา

    เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี

    อทุกฺขมสุขํ วา

    ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก์ดี

    ตมฺปิ อาทิตฺตํ

    แม้อันนั้น ก็เป็นของร้อน

    เกน อาทิตฺตํ

    ร้อนเพราะอะไร

    อาทิตฺตํ ราคคฺคินา โทสคฺคินา โมหคฺคินา

    ร้อนเพราะไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ

    อาทิตฺตํ ชาติยา

    ร้อนเพราะความเกิด

    ชรามรเณน

    เพราะความแก่และความตาย

    โสเกหิ ปริเทเวหิ

    เพราะความโศก และความร่ำไรรำพัน

    ทุกฺเขหิ โทมนสฺเสหิ

    เพราะความทุกข์ เพราะความเสียใจ

    อุปายาเสหิ

    เพราะความคับแค้นใจ

    อาทิตฺตนฺติ วทามิ

    เราจึงกล่าวว่าเป็นของร้อน

    เอวํ ปสฺสํ ภิกขเว สุตวา อริยสาวโก

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับมาแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้

    จักฺขุสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ

    ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในจักษุ

    รูเปสุปิ นิพฺพินฺทติ

    ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในรูปทั้งหลาย

    จกฺขุวิญฺญาเณปิ นิพฺพินฺทติ

    ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในวิญญาณอาศัยจักษุ

    จกฺขุสมฺผสฺเสปิ นิพฺพินฺทติ

    ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในสัมผัสอาศัยจักษุ

    ยมฺปิทํ จกฺขุสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ

    เวทนาคือความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้ เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุสัมผัส คือสัมผัสทางตา เป็นปัจจัย แม้อันใด (ความเสวยอารมณ์เป็นสุขเป็นทุกข์ หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย)

    สุขํ วา ทุกฺขํ วา

    เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี

    อทุกฺขมสุขํ วา

    ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก์ดี

    ตสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ

    ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในความรู้สึกนั้น

    โสตสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ

    ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในโสตะ

    สทฺเทสุปิ นิพฺพินฺทติ

    ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในเสียงทั้งหลาย

    โสตวิญฺญาเณปิ นิพฺพินฺทติ

    ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในวิญญาณอาศัยโสตะ

    โสตสมฺผสฺเสปิ นิพฺพินฺทติ

    ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในสัมผัสอาศัยโสตะ

    ยมฺปิทํ โสตสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ

    เวทนาคือความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้ เกิดขึ้นเพราะอาศัยโสตสัมผัส คือสัมผัสทางหู เป็นปัจจัย แม้อันใด (ความเสวยอารมณ์เป็นสุขเป็นทุกข์ หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย)

    สุขํ วา ทุกฺขํ วา

    เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี

    อทุกฺขมสุขํ วา

    ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก์ดี

    ตสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ

    ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในความรู้สึกนั้น

    ฆานสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ

    ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในฆานะ

    คนฺเธสุปิ นิพฺพินฺทติ

    ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในกลิ่นทั้งหลาย

    ฆานวิญฺญาเณปิ นิพฺพินฺทติ

    ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในวิญญาณอาศัยฆานะ

    ฆานสมฺผสฺเสปิ นิพฺพินฺทติ

    ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในสัมผัสอาศัยฆานะ

    ยมฺปิทํ ฆานสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ

    เวทนาคือความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้ เกิดขึ้นเพราะอาศัยฆานะสัมผัส คือสัมผัสทางจมูก เป็นปัจจัย แม้อันใด (ความเสวยอารมณ์เป็นสุขเป็นทุกข์ หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะฆานะสัมผัสเป็นปัจจัย)

    สุขํ วา ทุกฺขํ วา

    เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี

    อทุกฺขมสุขํ วา

    ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก์ดี

    ตสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ

    ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในความรู้สึกนั้น

    ชิวฺหายปิ นิพฺพินฺทติ

    ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในชิวหา

    รเสสุปิ นิพฺพินฺทติ

    ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในรสทั้งหลาย

    ชิวฺหาวิญฺญาเณปิ นิพฺพินฺทติ

    ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในวิญญาณอาศัยชิวหา

    ชิวฺหาสมฺผสฺเสปิ นิพฺพินฺทติ

    ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในสัมผัสอาศัยชิวหา

    ยมฺปิทํ ชิวฺหาสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ

    เวทนาคือความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้ เกิดขึ้นเพราะอาศัยชิวหาสัมผัส คือสัมผัสทางลิ้น เป็นปัจจัย แม้อันใด (ความเสวยอารมณ์เป็นสุขเป็นทุกข์ หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย)

    สุขํ วา ทุกฺขํ วา

    เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี

    อทุกฺขมสุขํ วา

    ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก์ดี

    ตสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ

    ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในความรู้สึกนั้น

    กายสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ

    ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในกาย

    โผฏฺฐพฺเพสุปิ นิพฺพินฺทติ

    ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในโผฏฐัพพะทั้งหลาย

    กายวิญฺญาเณปิ นิพฺพินฺทติ

    ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในวิญญาณอาศัยกาย

    กายสมฺผสฺเสปิ นิพฺพินฺทติ

    ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในสัมผัสอาศัยกาย

    ยมฺปิทํ กายสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ

    เวทนาคือความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้ เกิดขึ้นเพราะอาศัยกายสัมผัส คือสัมผัสทางกาย เป็นปัจจัย แม้อันใด (ความเสวยอารมณ์เป็นสุขเป็นทุกข์ หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย)

    สุขํ วา ทุกฺขํ วา

    เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี

    อทุกฺขมสุขํ วา

    ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก์ดี

    ตสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ

    ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในความรู้สึกนั้น


    มนสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ

    ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในมนะ

    ธมฺเมสุปิ นิพฺพินฺทติ

    ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในธรรมทั้งหลาย

    มโนวิญฺญาเณปิ นิพฺพินฺทติ

    ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในวิญญาณอาศัยมนะ

    มโนสมฺผสฺเสปิ นิพฺพินฺทติ

    ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในสัมผัสอาศัยมนะ

    ยมฺปิทํ มโนสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ

    เวทนาคือความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้ เกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนสัมผัส คือสัมผัสทางใจ เป็นปัจจัย แม้อันใด (ความเสวยอารมณ์เป็นสุขเป็นทุกข์ หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย)

    สุขํ วา ทุกฺขํ วา

    เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี

    อทุกฺขมสุขํ วา

    ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก์ดี

    ตสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ

    ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในความรู้สึกนั้น

    นิพฺพินฺทํ วิรชฺชติ

    เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายความติด

    วิราคา วิมุจฺจติ

    เพราะคลายความติด จิตก็พ้น

    วิมุตฺตสฺมึ วิมุตฺตมิติ ญาณํ โหติ

    เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็เกิดญาณรู้ว่าพ้นแล้ว ดั่งนี้

    ขีณา ชาติ วุสิตํ พฺรหฺมจริยํ กตํ กรณียํ นาปรํ อิตฺถตฺตายาติ ปชานาตีติ

    อริยสาวกนั้น ย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์เราได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำเราได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

    อิทมโวจ ภควา

    พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสธรรมปริยายอันนี้แล้ว

    อตฺตมนา เต ภิกฺขู

    พระภิกษุเหล่านั้น ก็มีใจยินดี

    ภควโต ภาสิตํ อภินนฺทุง

    เพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจัา

    อิมสฺมิญจ ปน เวยฺยากรณสฺมึ ภญฺญมาเน

    ก็แลเมื่อเวยยากรณ์นี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่

    ตสฺส ภิกฺขุสหสฺสสฺส อนุปาทาย อาสเวหิ จิตฺตานิ วิมุจฺจึสูติ

    จิตของพระภิกษุพันรูปนั้น ก็พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทานแล


    จบ อาทิตตปริยายสูตร

    (b-evil2)
     
  8. onlyone

    onlyone เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2007
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +4,569
    บทนมัสการพระพุทธเจ้าทั้ง ๒๘ พระองค์


    นะโม เม สัพพะพุทธานัง ตัณหังกะโร มะหาวีโร สะระณังกะโร โลกะหิโต โกณฑัญโญ ชะนะปาโมกโข สุมะโน สุมะโน ธีโร ปะทุโม โลกะปัชโชโต ปะทุมุตตะโร สัตตะสาโร สุชาโต สัพพะโลกัคโค อัตถะทัสสี การุณิโก สิทธัตโถ อะสะโม โลเก ปุสโส จะ วะระโท พุทโธ สิขี สัพพะหิโต สัตถา กะกุสันโธ สัตถะวาโห กัสสะโป สิริสัปปันโน เตสาหัง สิระสา ปาเท วะจะสา มะนะสา เจวะ อะโนมะ ทัสสี ชะนุตตะโม สะยะเน อาสะเน ฐาเน อุปปันนานัง มะเหสินัง เมธังกะโร มะหายะโส ทีปังกะโร ชุตินธะโร มังคะโล ปุริสาสะโภ เรวะโต ระติวัฑฒะโน นาระโท วาระสาระถี สุเมโธ อัปปะฏิบุคคะโล ปิยะทัสสี นะราสะโภ ธัมมะทัสสี ตะโมนุโท ติสโส จะ วะทะตัง วะโร วิปัสสี จะ อะนูปะโม เวสสะภู สุขะทายะโก โกนาคะมะโน ระณัญชะโห โคตะโม สักยะปุงคะโวฯ วันทามิ ปุริสุตตะเม โสภิโต คุณะสัมปันโน วันทาเมเต ตะถาคะเต คะมเน จาปิ สัพพะทา
     
  9. ajaree

    ajaree เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    45
    ค่าพลัง:
    +205
    พระไตรญาณชินบัญชร, บทสวดบูชาเทพเทวาทุกพระองค์ทุกชั้นทั่วแสนโกฐจักรวาล

    จากหนังสือธรรมะ อมตะธรรม สมเด็จโต
     
  10. สังขารไม่เที่ยง

    สังขารไม่เที่ยง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,943
    ค่าพลัง:
    +24,697
    อนุโมทนาบุญกับทุก ๆ ท่านที่ได้สวดมนต์นะคะไม่ว่าจะเป็นบทสวดมนต์อะไรก็แล้วแต่ค่ะ ดีทั้งนั้นค่ะ
     
  11. deneta

    deneta เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    2,712
    ค่าพลัง:
    +5,723
    พาหุงมหากา ชินบัญชร เป็นต้น
     
  12. คนมีกิเลส

    คนมีกิเลส เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,973
    ค่าพลัง:
    +19,431
    ขออนุโมทนาสาธุการกับทุกๆท่านนะครับ
    สาาาาา...ธุ
    สาาาาา...ธุ
    สาาาาา...ธุ
    ให้ดังไปถึงพระนิพพานเทอญ<O:p</O:p
     
  13. onlyone

    onlyone เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2007
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +4,569
    การบรรลุธรรมมีได้ทั้งหมด ๕ อย่าง

    อันดับหนึ่งสูงสุดในพระศาสนา คือ การบรรลุธรรมเพราะการฟัง ฟังแล้วบรรลุธรรม ฟังแล้วสงบ ฟังแล้วละกิเลส

    อันดับสอง คือ การบรรลุธรรมเพราะการสอนคนอื่น ฟังแล้วไม่บรรลุธรรม แต่เทศน์สอนคนอื่นไป ก็พิจารณาธรรมตามไปในการสอนนั้นแล้วก็บรรลุธรรม

    อันดับสาม คือ การบรรลุธรรมเพราะการสวดสาธยาย ฟังแล้วก็ไม่บรรลุธรรม สอนคนอื่นแล้วก็ไม่บรรลุธรรม แต่เอาธรรมะที่ฟังมาสวดสาธยายพิจารณาไปตามที่สวด จนจิตสงบระงับปัสสัทธิปีติยินดีปรีดาปราโมทย์แล้ว ก็ปลงปัญญาสู่ไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สวดไปด้วยก็พิจารณาไปในการสวดนั้นสาธยายนั้นแล้วก็บรรลุธรรม เช่นสวดว่า

    รูปัง อนิจจา รูปไม่เที่ยง
    เวทนา อนิจจา เวทนาไม่เที่ยง
    สัญญา อนิจจา สัญญาไม่เที่ยง


    สวดสาธยายไปพิจารณาไป โอ้ !!! เรามาสุขมาทุกข์ยินดียินร้ายอยู่ทำไม ? สิ่งที่เกิดขึ้นเป็น "สภาวะ" อย่างหนึ่ง แต่เรากลับยึดหลงว่าเป็นเราเป็นเขา พิจารณาไปๆ จนคลายทุกข์ลงๆ จนดับทุกข์ลงเพราะการสวดสาธยาย

    อันดับสี่ คือ การบรรลุธรรมเพราะการใคร่ครวญ เป็นการพ้นทุกข์เพราะเอาธรรมะที่เรียนที่ฟังมานั้นมาใคร่ครวญภายในจิต ไม่ได้สวดสาธยายออกมาทางปาก ใคร่ครวญไปก็ลึกซึ้งปีติปราโมทย์สงบระงับดับกิเลสและกองทุกข์ มีปัญญาสว่างไสวดับกิเลสได้

    อันดับห้าข้อสุดท้าย คือ การบรรลุธรรมเพราะการเจริญสมาธิภาวนา เมื่อใช้วิธีการทั้ง ๔ ข้อข้างต้นแล้วยังไม่บรรลุธรรม ก็ต้องมาฝึกสมาธิภาวนา ยืนเดินนั่งนอนตั้งสติฝึกสติให้แก่กล้า ฟังก็แล้ว สอนคนอื่นก็แล้ว สวดมนต์ก็แล้ว ใคร่ครวญก็แล้ว ก็ยังมีกิเลสอยู่เหมือนเดิม จึงต้องมาฝึกตั้งสติสมาธิภาวนา พิจารณาจนจิตสงบระงับแล้วเอาความสงบนั้นมาพิจารณาวิปัสสนากรรมฐาน แยกแยะในสภาพ ในธาตุขันธ์ ดินน้ำลมไฟ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จนบริสุทธิ์สะอาดปราศจากกิเลสมลทิน

    จากพระธรรมเทศนาเรื่อง "คลายอารมณ์ร้าย" พระอาจารย์สุโข กตปุญโญ
     
  14. ธัมมนัตา

    ธัมมนัตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +9,766
    สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทนามิ

    เห็นด้วยอน่างยิ่ง ที่เมื่อได้สวดคำแปลแล้ว จิตจะสงบระงับ เกิดปัญญาจากการ
    ไตร่ตรองธรรมะ เข้าถึงธรรมไตรลักษณ์ ได้โดยง่าย โดยเฉพาะ พระสูตรหลัก ๆ เช่น ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร อาทิตตปริยาย อนัตลักขณะ อาการวัตตาสูตร เป็นต้น
    หากจิตดับไปในขณะสาธยายมนตร์ศักดิ์สิทธิ์ ส่วนใหญ่จะไป อยู่ในชั้นพรหม แต่ขึ้นอยู่กับระดับของฌาณ หากได้จตุฌาณก็ จะอยู่ในชั้นสุทธาวาส ตั้งแต่
    อวิหาพรหมาขึ้นไป

    ขอให้พ้นจากความมืดได้พบความสว่าง และเจริญในธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไป

    ภูตังคมะหิ ตะมังคะลัง
     
  15. ncc2

    ncc2 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +84
    พาหุง
    ชะยันโต
     
  16. ตระกูลศักดิ์

    ตระกูลศักดิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    167
    ค่าพลัง:
    +1,371
    สวดมนต์คือยาทา วิปัสสนาคือกิน

    (b-hmm) (b-hmm) (b-hmm) สวัสดีครับเพื่อนๆพี่ๆน้องๆสหายธรรมทุกท่าน
    ผมขออนุญาตทุกท่านเล่ากิจวัตรประจำของผมที่ทำโดยปกติเหมือนเช่นท่านทั้งหลาย คือการสวดมนต์เป็นประจำทุกวัน โดยมีข้อวัตรปฏิบัติตากปกติตามจริตตัวผมนะครับ ดังนี้
    เวลาตอนเย็นวันปกติโดยทั่วไปนั้นถ้าที่ไม่ใช่วันพระก็จะถือศิลห้า และถ้าเป็นวันพระก็ถือศิลแปด
    พอหลังจากเลิกทำงานตอนเย็นเสร็จแล้วถ้าไม่ได้เข้าเวรที่ทำงาน ก็จะกลับที่พักก่อนถึงที่พักจะแวะไปซื้อดอกบัวมาสีขาวมา3 ดอกบ้างหรือ9 ดอกบ้าง พร้อมดอกมะลิสีขาวร้อยด้วยดอกดาวเรือง 1 พวง แล้วมาล้างให้สะอาดแล้วก็จะจัดกลีบให้เป็นดอกบัวที่บาน แล้วใส่ในภาชนะที่เตรียมไว้เพื่อบูชาพระรัตนตรัย อาบน้ำชำระกายให้สะอาด ใส่ชุดขาวทำจิดใจให้ผ่องแผ้วงดอารมณ์ที่ขุ่มมัวให้หมด
    จุดธุปและเทียน นำดอกบัวและดอกมะลิเตรียมไว้บูชาพระรัตนตรัย พร้อมนำน้ำสะอาดใส่ขันสีขาว 1 ขัน เพื่อบูชาพระรัตนตรัยแล้วตั้งสัจจะอธิฐานขอมอบกายถวายชีวิตแด่พระรัตนตรัยด้วยสัจจะวาจา และต่อมาก็เริ่มสวดมนต์ ดังนี้
    1.กราบพระว่าอรหังสัมมาฯ ครั้งที่ 1 ขอน้อมระลึกถึงคุณพระพุทธ
    2.กราบพระว่าสาวากขาโตฯ ครั้งที่ 2 ขอน้อมระลึกคุณพระธรรม
    3.กราบพระว่าสุปฏิปันโนฯ ครั้งที่ 3 ขอนน้อมระลึกถึงคุณพระสงฆ์
    4.กราบครั้งที่ 4 ขอน้อมระลึกถึงคุณบิดามารดาขอให้ท่านมีความสุขความเจริญ
    5.กราบครั้งที่ 5 ขอน้อมระลึกถึงคุณอุปชาอาจารย์ปู่ย่าตายายขอให้ท่านทั้งหลายมีความสุขความเจริญ
    6.กล่าวสมาทานพระไตรสรณคมน์
    7.กล่าวสมาทานศีล5ให้บริสุจน์
    8.สวดชุมนุมเทวดาอัญเชิญเทวดาทั้งหลายในสากลโลกมาร่วมสวดมนต์และร่วมอนุโมทนาบุญ
    9.สวดอิติปิโส เพื่อบูชาพระรัตนตรัย
    10 สวดพาหุงฯ
    11สวดชยปริตร ชะยันโตฯ ถึงภวันตุสัพพะมังคะลังฯ
    12 อาราธนาพระปริตร
    13 สวดยอดพระกันฑ์ไตรปิฎก
    14 สวดพระคาถาชินบัญชร
    15 สวดพระคาถาอาการะวัตตาสูตร ก่อนสวด ขออนุญาตพระพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ด้วยการเอ่ยนามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง 28 พระองค์ด้วยใจเคารพ
    16 สวดพระธรรมจักรกัปปะวัตนะสูตร
    17 นำเงินจำนวน 3 เหรียญหรือ 28 เหรียญ พนมมือตั้งจิตสัจจะอธิฐานขอบำเพ็ญทานบารมีโดยใส่ไว้ในพานเพื่อนำไปร่วมทำบุญต่อไป
    17สวดพระคาถากรณียะเมตตาสูตร
    18 สวดพระคาถาบูชาพระสยามเทวาธิราช
    19 สวดพระคาถาบูชาพระอินทร์และสรรเสริฐวัตรปฏิบัติ7ประการของท่าน
    20 สวดพระคาถาบูชาพระยายมราช
    20 สวดคาถาบูชาดวงชะตาตัวเราให้เจริญๆมีแต่ความสุข
    21 นั่งสมาธิเจริญปัญญาพิจารณากายตัวเอง ให้จิตมันไม่ยินดีกับกายให้เกิดความเบื่อหน่าย (แล้วแต่จะมีโอกาศจะเอื้ออำนวย)เพราะต้องใช้เวลานานพอสมควร
    21 แผ่เมตตาตัวเองให้มีความสุขความเจริญ
    22 แผ่เมตตาให้อินทร์ พรหม ยม ยักษ์ คนธรรม นาคา รุกขเทวาภูมิเทวาอากาศเทวาพระแม่ธรณีพระเม่คงคาพระแม่โพสพ พระยายมราช นายนริยบาล ท่านท้าวจตุโลกบาลทั้ง4 เจ้ากรรมนายเวร เทวดาประจำตัว บิดามารดาญาติทั้งหลายหรือทั้งไม่ใช่ญาติทั้งหลาย เปรตภูมิ อสุรกายภูมิ สัจเดรัชฉานภูมิ นรกภูมิ สัมภเวสีต่างๆ โดยขออำนาจพุทธพระบารมี 30 ทัศน์ของพระพุทธเจ้าที่ 28 พระองค์ ได้ทุกๆพระองค์ได้โปรดแผ่สัพพันรังสีรัศมี 6 ประการไปทั่วจักรวาล ขอให้ทุกท่านจงมีความสุขพ้นทุกข์ ขอให้ถึง ซึ่งพระนิพพานสมบัติ เป็นที่ตั้งใจหลุดพ้นอาสวะกิเลสทั้งหลาย รวมทั้งเพื่อนสหายธรรมเวปพลังจิตทุกท่านด้วยครับ
    ที่ได้กล่าวบอกเพื่อนๆสหธรรมิกได้ฟังนี้คือกิจวัตรประจำวันของกระผมครับ
    ส.ต.ท.ตระกูลศักดิ์ [b-hi] [b-hi] [b-hi]
    <!-- / message -->
    <!-- / message -->
     
  17. onlyone

    onlyone เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2007
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +4,569
    ขอบพระคุณ คุณตระกูลศักดิ์และทุกๆท่านมาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ให้คนอื่นๆได้ทราบ เพื่อเป็นกำลังใจซึ่งกันและกันในการปฏิบัติด้วยค่ะ

    ใครยังมีประสบการณ์หรือวิธีปฏิบัติที่เห็นว่าน่าจะมาบอกกล่าว เป็นแรงหนุนซึ่งกันและกัน ก็เรียนเชิญเลยนะคะ....อยากอ่าน และโมทนากับทุกๆท่านเลยค่ะ
     
  18. คนเก่า

    คนเก่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,355
    ค่าพลัง:
    +15,055
    อีตาลุงอักนี่ ถ้าไม่บังเอิญมีขนาดเท่าหมีควาย อายุคงไม่ยืนมาถึงป่านนี้หรอก
     
  19. vilawan

    vilawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    836
    ค่าพลัง:
    +1,432
    สวดพาหุง และตามด้วยคาถาชินบัญชร
    ตอนนี้มีคำแปลของคาถาชินบัญชรเป็นเพลงแล้วนะคะ
    ถ้า upload เป็นเมื่อไรจะส่งให้เพื่อน ๆ คะ
     
  20. onlyone

    onlyone เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2007
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +4,569

    ก็คงพอๆกะคุณอามั้งฮะ รอดมาได้งัยเนี่ย หุหุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...