อภิญญาคืออะไร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย เนยนพนะโม, 13 มิถุนายน 2013.

  1. เนยนพนะโม

    เนยนพนะโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    76
    ค่าพลัง:
    +429
    เห็นบทความน่าสนใจ ก็เลยขออนุญาต Copy มาให้อ่านกันนะคะ

    อภิญญา แปลว่า ความรู้ยิ่ง หมายถึงปัญญาความรู้ที่สูงเหนือกว่าปกติ เป็นความรู้พิเศษที่เกิดขึ้นจากการอบรมจิตเจริญปัญญาหรือบำเพ็ญกรรมฐาน

    บางครั้ง อภิญญา ก็หมายถึง คุณสมบัติพิเศษของพระอริยบุคคล อันเป็นเหตุให้มีอิทธิฤทธิ์ต่างๆ มี 6 อย่าง ประกอบด้วย

    1. อิทธิวิธี แสดงอิทธิฤทธิ์ได้ เช่น ล่องหน เหาะเหินเดินอากาศ ดำดิน เดินบนผิวน้ำ เรียกลมเรียกฝน

    2. ทิพพโสต มีหูทิพย์ สามารถได้ยินชัดเจนไม่ว่าจะไกลแค่ไหน

    3. เจโตปริยญาณ กำหนดรู้ใจผู้อื่นได้

    4. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติได้

    5. ทิพพจักขุ มีตาทิพย์มองเห็นไกลกว่าคนธรรมดาและมองเห็นในสิ่งลี้ลับเหนือโลก

    6. อาสวักขยญาณ รู้การทำอาสวะ (กิเลส) ให้สิ้นไป

    อภิญญา 5 ข้อแรก เป็นของสาธารณะ (โลกียญาณ) หรือพระอริยบุคคลตั้งแต่ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี ส่วนข้อ 6 มีเฉพาะใน พระอรหันต์

    หากมีโอกาสพบผู้แสดงฤทธิ์ได้ อย่าเพิ่งคิดว่าผู้นั้นจะเป็น อริยบุคคล เพราะอาจไม่ไช่ก็ได้



    อริยบุคคล แปลว่า บุคคลผู้ประเสริฐ, ผู้ไกลจากข้าศึก, ผู้หักกำล้อแห่ง “วัฏสงสาร” ได้แล้ว

    อริยบุคคล สามารถแบ่งออกได้ 2 อย่างคือ

    1. พระเสขะ คือพระผู้ยังค้องศึกษาไตรสิกขาเพิ่มขึ้นต่อไปจนกว่าจะสำเร็จมรรคผล

    2. พระอเสขะ คือ พระผู้ศึกษาสำเร็จแล้ว เสร็จกิจการศึกษาแล้ว ไม่ต้องศึกษาอะไรต่อไปอีก

    และ อริยบุคคล แบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ

    -พระโสดาบัน สามารถละสังโยชน์ได้ 3 ประการ ผู้ที่บรรลุธรรมนี้อาจเป็นฆราวาสหรือบรรพชิต

    -พระสกิทาคามี ละสังโยชน์ได้ 3 ประการ แต่สามารถทำกิเลสให้เบาบางลงกว่าพระโสดาบัน

    -พระอนาคามี ละสังโยชน์ได้ 5 ประการ

    -พระอรหันต์ ละสังโยชน์ได้ครบ 10 ประการ หลุดพ้นจากกิเลสและวัฏสงสาร (การเวียนว่ายตายเกิด)



    อริยบุคคล แบ่งออกเป็นประเภทย่อย ๆ มี 8 หรือ 4 คู่ ได้แก่

    คู่ที่ 1 พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรคและโสดาปัตติผล

    คู่ที่ 2 พระผู้ตั้งอยู่ในสกิทาคามีมรรคและสกิทาคามีผล

    คู่ที่ 3 พระผู้ตั้งอยู่ในอนาคามีมรรคและอนาคามีผล

    คู่ที่ 4 พระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตมรรคและอรหัตผล

    การทำให้ไปสู่การเป็น อริยบุคคล จะต้องอาศัย ปัญญา พิจารณาเพื่อลดละกิเลส ลดละความโลภ ความโกรธ ความหลง

    ปัญญา แปลว่า ความรู้ทั่ว คือรู้ทั่วอย่างถึงเหตุถึงผล รู้อย่างชัดเจน รู้เรื่องบาปบุญคุณโทษ รู้สิ่งที่ควรทำควรเว้น เป็นต้น เป็นธรรมที่คอยกำดับศรัทธาให้มีเหตุผลและไม่หลงเชื่ออย่างงมงาย

    การเกิดปัญญาทำได้ 3 วิธี ประกอบด้วย

    1. โดยการสดับรับฟัง การศึกษาเล่าเรียน (สุตมยปัญญา)

    2. โดยการคิดค้น การตรึกตรอง (จินตามยปัญญา)

    3. โดยการอบรมจิต การเจริญภาวนา (ภาวนามยปัญญา)

    (ปัญญา ที่เป็นระดับ อธิปัญญา คือปัญญาอย่างสูง จัดเป็น สิกขา ข้อหนึ่งในสิกขา 3 หรือ ไตรสิกขา คือ อธิศีล อธิสมาธิ อธิปัญญา)



    กรรมฐาน หมายถึง ที่ตั้งแห่งการทำงานของจิต สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญภาวนาหรือวิธีใช้ในการฝึกอบรมขัดเกลาจิตหรืออุบายหรือกลวิธีเหนี่ยวนำให้เกิดสมาธิ

    กรรมฐาน เป็นสิ่งที่จิตกำหนดเพื่อให้เกิดความสงบ ไม่เตลิดลอยฟุ้งซ่านอย่างไร้จุดหมาย

    กรรมฐาน 40 เป็นอุบาย 40 วิธี ที่ใช้ฝึกจิตให้เกิดสมาธิ คือสิ่งที่เอามาให้จิตกำหนด เพื่อชักนำให้เกิดสมาธิ พอจิตกำหนดจับสิ่งนี้แล้ว จะชักนำให้เกิดความแน่วแน่อยู่กับสิ่งนี้จนเป็นสมาธิได้มั่นคงและเร็วที่สุด ในคัมภีร์ อรรถกถาและปกรณ์ ได้รวบรวมกรรมฐานไว้ 40 อย่าง ประกอบด้วย

    กสิณ 10 แปลว่า วัตถุอันจูงใจหรือวัตถุสำหรับเพ่งเพื่อจูงจิตให้เป็นสมาธิ เป็นวิธีใช้วัตถุภายนอกเข้าช่วย โดยการเพ่งเพื่อรวมจิตให้เป็นหนึ่ง มี 10 อย่าง คือ

    กสิณ 4 ได้แก่ ปฐวีกสิณ (ดิน) อาโปกสิณ (น้ำ) เตโชกสิณ (ไฟ) วาโยกสิณ (ลม)

    วรรณกสิณ 4 ได้แก่ นีลกสิณ (สีเขียว) ปีตกสิณ โลหิตกสิณ (สีแดง) โอทาตกสิณ

    กสิณแบบอื่น ๆ ได้แก่ อาโลกกสิณ อากาสกสิณ เป็นต้น

    อสุภะ 10 คือ การพิจารณาซากศพในระยะต่าง ๆ รวมกัน 10 ระยะ ตั้งแต่หมดลมหายใจ ขึ้นอืด น้ำเหลืองน้ำหนองไหล เนื้อหนังเปื่อยยุ่ยจนเหลือแต่โครงกระดูก

    อนุสติ 10 คือ อารมณ์ดีงามที่ควรระลึกถึงเนือง ๆ ได้แก่ พุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ สีลานุสติ จาคานุสติ เทวตานุสติ มรณสติ กายคตาสติ อานาปานสติ อุปสมานุสติ

    อัปปนัญญา 4 คือ ธรรมที่พึงแผ่ไปในมนุษย์ สัตว์โลกทั้งหลายอย่างมีจิตใจสม่ำเสมอทั่วกันไม่มีประมาณ ไม่จำกัดขอบเขต หรือเรียกอีกอย่างว่า พรหมวิหาร 4 ได้แก่

    1. เมตตา คือ ปรารถนาดี มีไมตรีอยากให้มนุษย์ สัตว์ทั้งหลาย มีความสุขทั่วหน้า

    2. กรุณา คือ อยากช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์

    3. มุฑิตา คือ พลอยมีใจแช่มชื่นบาน เมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข และเจริญงอกงาม ประสบความสำเร็จยิ่งขึ้นไป

    4. อุเบกขา คือ วางจิตเรียบสงบ สม่ำเสมอ เที่ยงตรงดุจตาชั่ง มองเห็นมนุษย์ สัตว์ทั้งหลาย ได้รับผลดีร้าย ตามเหตุปัจจัยที่ประกอบ ไม่เอนเอียงไปด้วยชอบหรือชัง



    อาหาเร ปฏิกูลสัญญา กำหนดหมายความเป็นปฏิกูลในอาหาร



    จตุธาตุววัฏฐาน กำหนดพิจารณาธาตุ 4 คือ พิจารณาเห็นร่างกายของตน โดยสักว่าเป็นธาตุ 4 แต่ละอย่างๆ

    อรูป 4 กำหนดสภาวะที่เป็นอรูปธรรมเป็นอารมณ์ ใช้ได้เฉพาะผู้ที่เพ่งกสิณ 9 อย่างแรก จนได้จตุตถฌานมาแล้ว กรรมฐานแบบอรูป มี 4 อย่าง คือ อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ



    เมื่อเจริญภาวนาจนเกิดปัญญาขั้นสูงสุดแล้วก็จะบรรลุมรรคผลสำเร็จเป็น พระอรหันต์



    สำหรับบรรดาเกจิอาจารย์ทั้งหลายหากสามารถบำเพ็ญเพียรภาวนาไม่ว่าจะยึดแนวทางใด หากละกิเลสได้แล้วก็ถือว่าเป็น "พระอริยสงฆ์" หรือ "พระอริยบุคคล" ที่น่าเคารพศรัทธา ส่วนจะมีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์หรือไม่ขึ้นอยู่กับการสำเร็จมรรคผลขั้นใดและแนวทางการฝึกจิตบำเพ็ญเพียรบางท่านอาจแสดงอิทธิฤทธิ์ได้แต่ยังไม่บรรลุพระอรหันต์ก็มี บางท่านไม่มีอิทธิฤทธิ์แต่เป็นพระอรหันต์ก็มีเช่นเดียวกัน
     
  2. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    คัดลอกมาจากที่ไหน น่าจะอ้างอิงมาด้วยนะครับ
     
  3. เนยนพนะโม

    เนยนพนะโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    76
    ค่าพลัง:
    +429

แชร์หน้านี้

Loading...