นังสมาธิแบบ ดูความคิดไปเรื่อยๆ หรือ พยายามควบคุมไม่ให้คิดดีครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย saxford, 4 มิถุนายน 2013.

  1. saxford

    saxford Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    40
    ค่าพลัง:
    +78
  2. RYO

    RYO เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2005
    โพสต์:
    153
    ค่าพลัง:
    +456
    ได้เหมือนกันครับ แต่ให้พยายามควบคุมให้อยู่กับลมหายใจก่อน
    ถ้าไม่ได้จริงๆมันฟุ้งซ่านไม่หยุดก็ปล่อยให้มันคิดไปแล้วตามดูเอา
    หรือจะพักก่อนก็ได้ครับ
     
  3. saxford

    saxford Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    40
    ค่าพลัง:
    +78
    แสดงว่าไม่มีอันไหนที่มันดีกว่ากันใช่ไหมครับ
     
  4. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    การศึกษาธรรมะ ไม่ใช่เรื่อง การมาฟังแล้วนั่งเปรีบเทียบว่าอันไหนดี อันไหนเลว

    การศึกษาธรรมะ จะว่าไปก็ไม่ต่างกับ การรับทำเว็บไซท์

    คือ เราต้องฟังความต้องการในเวลานั้นๆ จากผู้ที่ต้องการทำเว็บไซท์
    ซึงเวลาหนึ่งๆ ก็อาจจะให้ทำอย่างหนึ่ง พอถึงเวลาหนึ่ง ก็ถอนสิ่งที่
    ทำไว้ก่อนออก แล้วใส่สิ่งใหม่เข้าไป หรือ ประกอบขึ้นให้มีทั้งสอง
    เคียงคู่กันไป หรือ พัฒนาไปพร้อมๆกัน ไม่มีส่วนไหนก้ำเกิน หรือ
    เด่นกว่ากัน ก็ได้

    ดังความตอนหนึ่ง ที่ พระสารีบุตร กับ มาเถระอีกสองท่าน ถกกันว่า
    กายสักขี ทิฏฐิปุตตะ กับ ศรัทธานุสารี อย่างไหนเลิศกว่ากัน ( ระดับ
    พระอรหันต์ยังอดเปรียบเทียบไม่ได้ ) ซึ่งพอถกกันไป ต่างคนก็ต่าง
    ยกวิธีที่ตนทำมาว่า ดีกว่า

    ทำให้ทั้งสามท่านไปหาพระพุทธองค์เพื่อให้ตัดสิน จำแนก แจกแจง

    พระพุทธองค์ก็ตรัสตอบว่า ทุกอันดีเสมอกันหมด เหตุผลก็เพราะว่า
    คนๆหนึ่ง ล้วนแต่ใช้ วิธีการปฏิบัติทั้งสามแบบ สลับกันไปมา ถ้าไม่ใช้
    สลับกันไปมา ก็ไม่พบทางหนึ่ง ที่อยู่เหนือกว่า หนทางทั้งสามนั้นทั้งหมด

    วิธีการทั้งสาม จึงเป็นเพียง อุบายอบรมจิตอย่างหนึ่ง เวลาหนึ่งก็อาจจะใช้
    อย่างหนึ่ง พอถึงเวลาหนึ่งก็ใช้อีกอย่างหนึ่ง แปรปรวน ไม่เที่ยง เป็นธรรมดา

    แต่เป็นความธรรมดาที่มี การประกอบเข้ามา

    เหมือน เว็บไซท์ที่รับจัดทำ พอเขาส่งรายละเอียดความต้องการมาแล้ว
    แม้นว่า ความแปรปรวนในความต้องการจะมี เดี๋ยวเอาเข้า เดี๋ยวเอาออก
    อย่างไรก็แล้วแต่ ก็ต้อง ประกอบมันขึ้นมา

    ไม่ใช่ ไปเปรียบเทียบล่วงหน้า พอทราบว่า เดี๋ยวก็เอาโมดูลนี้ออก ก็เลย
    บอกลูกค้าว่า งั้นผมไม่ทำตรงนี้ละกัน เพราะ เดี๋ยวคุณก็เอาออก ดังนั้น
    ผมถือว่า ได้จัดทำให้แล้ว ให้จ่ายกตังค์มา ....ซึ่งเป็นเรี่อง ฉ้อฉล ไป

    ถ้าไม่ ฉ้อฉล ทราบอุบายอะไรมา หาก มันเหมาะสมกบ กาล เวลา ก็ใช้อันนั้น

    ใช้ในเชิว ศาสตร์(ฟังธรรมให้มากๆ) และ ศิลป(ลงมือประกอบ ล้มลุก คลุกคลาน
    กันไป )

    พอเข้าใจไหมครับ
     
  5. saxford

    saxford Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    40
    ค่าพลัง:
    +78
    ผมเข้าใจว่า
    ให้ไปลองทำทั้ง 2 วิธีดูก่อน
    ให้รู้สึกถึงข้อดี ข้อเสียทั้ง 2 วิธี แล้วเลือกใช้ตามความเหมาะของตนเอง อะไรแบบนี้อะครับ
     
  6. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ทำสองวิธี ไม่ได้หรอกครับ

    ควร สงบใจ พิจารณาโลภะ(ความอยากได้ผล) โทษะ(เร่งเร้าให้ได้เร็วๆ)
    และ โมหะ(ลังเล เลือกมันทั้งสอง )

    เมื่อพิจารณา โลภะ โทษะ โมหะ ข้างต้นแล้ว หาก จิตใจคุณยังใฝ่ธรรม

    มีกระแสจิตแล่นมุ่งไปนิพพาน เดี๋ยว คุณจะ พิจารณาได้เองว่า ทำอันไหน

    มุ่งไปอันเดียวเลย กี่ปีว่าไป

    แต่ระหว่างนั้น พฤติจิต หรือ การบริหาร การทำกรรมฐานเป็นอย่างไร ก็
    ว่ากันไปตาม ความเป็นจริง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มิถุนายน 2013
  7. Ndantchor

    Ndantchor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +1,123
    บ่ๆ
    ดูความคิด เป็นการดูอาการของจิต (จิตสังขาร) ส่วนการตามรู้ตามดูไปเรื่อยๆ
    เสมือนเป็นการสร้างภาระให้แก่ขันธ์ ไม่เป็นอิสระต่อการรู้เฉพาะหน้า ด้วยการวิ่งไล่จับเงา

    ครูบาอาจารย์บางท่าน ท่านสอนว่า กิเลสใดๆเกิดขึ้น ก็ให้พิจารณาละสิ่งนั้น ให้เห็นการเกิดดับ ตามบัญญัติในไตรลักษณ์

    ดังนั้น เราจะพิจารณาเพื่อคลายอุปทานลงในปัจจุบัน หรือพิจารณาเพื่อสร้างภาระต่อยอดอุปทานให้แก่ขันธ์ในอนาคต ด้วยการตามรู้ตามดูไปเรื่อยๆ ดังกล่าว กิเลส กรรม วิบาก ย่อมไม่จบสิ้น

    เพื่อให้ตรงต่อธรรมเฉพาะหน้า บาลีท่านว่า "อตฺถิ จิตฺตนฺติ วา ปนสฺส สติ ปจฺจุปฎฐิตา โหติ" ตามรู้จิต ก็เพื่อให้เห็นเป็นสักว่า ณ ปัจจุบันขณะ

    หากเข้าใจผิด เกี่ยวกับตามรู้ตามดู เผลอๆ แมงวี่แมลงวัน บินเข้าปากแน่นอน ไม่รู้ด้วย และจะไม่เป็นสัปปะรด

    แนวทางญาณรู้รอบในอริยสัจย่อมไม่บังเกิด หากเข้าใจผิดไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 4 มิถุนายน 2013
  8. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ส่วนใหญ่ ไม่ค่อยเรียนรู้และไม่ค่อยจะฟังวิธีการฝึก

    ฟังวิธีการฝึกได้ที่นี่ หลวงปู่พุธ ฐานิโยแนะนำไว้

    ตัวอย่างที่ 1
    พุทโธก็คือความคิด
    http://palungjit.org/threads/พุทโธก็คือความคิด.230787/
     
  9. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    อีกตัวอย่างนึงที่หลวงปู่แนะนำ

    ความฟุ้งในการทำสมาธิ
    http://palungjit.org/threads/ความฟุ้งในการทำสมาธิ.230790/
     
  10. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    ถ้าใช้คำว่า นั่งสมาธิ..นั่นคือ ต้องการความสงบระงับให้จิตมีกำลังอยู่กับที่ต้องไม่ใช่ตามดูความคิดแน่นอนครับ อิอิ
    ..ส่วนการตามดูความคิดนั้น..พวกดูหิตสดๆเขาสอนกันครับ คนที่สอน กับคนที่เป็นผู้ฝึก..ทำส่วนใหญ่ทั้งหมด99 เปอร์เซ็นต์.99 ..ไม่มีสมาธิเลยครับ อิอิ(k)
     
  11. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    625
    ค่าพลัง:
    +572
    -ตามดูจิตดูความคิดไปเรื่อยๆ แล้วจะดี หาก สติ ไม่ดีคงจะ หลง ไปกับ ความคิดได้

    - เมื่อพยามไม่ให้ คิด ถึงหยุดไม่ให้เกิดความคิดได้ ปัญหาการตามดูจิตดูความคิดก็จบลง นี้ละจะเข้าถึงความสงบได้
     
  12. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    นั่งสมาธิแบบดูความคิดไปเรื่อยๆ มีจุดมุ่งหมายหรือเปล่า..
    หากอยากจะคิด คิดอะไรให้ออก แต่ไปพยายามหยุดคิด จะยิ่งทำให้ยุ่งยากมาก

    แต่ถ้ามีจุดหมายจะทำสมถะ... เพ่งกสิณ ก็ต้องหาอารมณ์ให้จิตเกาะจนเป็นหนึ่ง เพื่อไม่ให้ความคิดรบกวน พยายามหยุดความคิดโดยจิตไปเกาะกับกสิณ

    แต่ถ้ามีจุดหมายจะตามดูจิต ไม่ว่าจะคิด..ไม่คิด ฟุ้งไม่ฟุ้ง โดยความระลึกรู้มีสติ ให้เห็นการทำงานของรูปนาม เกิดปัญญา เข้าใจสภาพรูปนามตามจริง ก็เอา กาย เวทนา จิต ธรรม เป็นหลักให้จิต จะได้ไม่ฟุ้งกิเลส แต่ฟุ้งธรรม.. มีสติตามรู้การทำงานของนาม(ความคิด)และรูป เกิดวิปัสสนาภูมิหก(ลองค้นกูเกิ้ลดูจ๊ะ)

    สมัยที่ทำงานแรกๆ มีปัญหาทุกวัน ต้องกลับมาทำสมาธิเพื่อจะคิดงาน คิดว่าจะทำอะไรต่อไปในวันต่อๆไป พอคิดแล้วก็เห็นความคิดขึ้นมา เห็นธรรมชาติของความคิดที่เกิดตั้งอยู่ดับไปขึ้นมา แบบนี้ก็ได้งานด้วย ได้เห็นธรรมชาติของความคิดไปด้วย เวลาที่แนบแน่นเกิดสมาธิ ปัญญาก็จะเกิด..มีการเข้าใจสัจธรรมอะไรหลายๆอย่างขึ้นมา ยิ่งพอแนบแน่นมากๆจะเห็นว่า เมื่อตั้งใจจะคิดอะไรจะแนบแน่นอยู่กับความคิดนั้นความคิดเดียว ไม่มีความคิดอื่นๆแทรก.. แบบนี้เพราะเกิดกำลังสมาธิมีพลังในการคิด ซึ่งหากถึงจุดที่จิตเป็นหนึ่งขึ้นมา ความคิดมันหยุดไปเข้าเอกัคตาหรือเข้าฌานเหมือนกัน คือไม่สามารถคิดต่อได้ จนกว่าฌานจะถอยลงมา

    การคิดพิจารณาแบบนี้ ไม่ใช่คิดด้วยกิเลสโลภโกรธหลงที่จะทำให้ยิ่งห่างไกลความจริงและจิตแตกซ่านออกไป.. แต่การพิจารณาจะทำใหเกิดสมาธิ เกิดความสงบใจ พอจิตใจเข้าสภาวะสงบ ก็ไม่อยากคิด (เราย่อมเป็นไปตามจิต)
    บางวัน จิตก็ไม่อยากคิด อยากจะสงบดูลมหายใจเฉยๆ การดูลมบางท่านก็เป็นสมถะ(จิตสงบ) บางท่านก็ตามรู้ลมก็เป็นทั้งสมถะวิปัสสนา(เห็นไตรลักษณ์ของกองลม(กายสังขารอย่างหนึ่ง))
     
  13. saxford

    saxford Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    40
    ค่าพลัง:
    +78
    ของผมเป็นแบบ สมถะ ครับ
    ใช้พุทโธ แล้วก็ดูลมครับ
     
  14. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    เอาแบบง่าย หรือยากละ
    ถ้าแบบง่าย และนาน ก็ดูไปเรื่อยๆนั่นแหละ

    เอาแบบสั้น และเร็ว แต่ยากในตอนขึ้นต้น ก็จับจิตให้อยู่ในอารมณ์เดียวครับ
    ถ้าทำได้แล้ว อยากจะดูอะไรมันก็ดูได้หมด
     
  15. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ทำได้ทุกครั้งไหม

    คือ พอจบพุทโธ หรือ บริกรรมพุทโธ จนพอเพียง จิตก็ไหลไป ดูลม อัตโนมัติ
    โดยไม่ได้จงใจจะดูลม

    หรือ

    ไม่รู้จะทำอะไรแล้ว เบื่อบริกรรม ไปดูลมดีกว่า

    จะแบบไหนก็แล้วแต่

    ให้สังเกต จิตที่ไหลเข้ามาเคล้าเคลีย วนเวียน อยู่กับ การรู้ลม

    จิตที่เข้ามาเคล้าเคลียร เข้ามา พิจารณา ลม วนเวียนอยู่อย่างนั้น
    หากเกิดขึ้นด้วยความไม่จงใจ อันนี้ เราเรียกว่า จิตมีวิตก วิจาร
    อยู่กับ กองลมทั้งปวง

    การที่จิตเกิด วิตก วิจาร เข้ามาเคล้าเคลียร วนเวียนรู้ลม อันนี้
    แหละ คือ จิตมันเกิดความคิด ไหลไปคิด

    การมีวิตก วิจาร ในจิต เราจะถือว่า จิตมี " วจีสังขาร "

    วจีสังขาร ก็คือ อาการจิตมันคิด

    ดังนั้น

    การตามดูความคิด ก็คือ การเห็น จิตเข้ามาวิตก วิจาร ในกองลมทั้งปวง

    ดูไปเรื่อยๆ แล้วได้อะไร

    ก็จะได้ความรู้ว่า หาก ดูอยูแค่นี้ จิตก็ไม่สามารถขึ้น ฌาณ 2 ได้
    เพราะ วจีสังขาร มันปรากฏ วิตก วิจาร ปรากฏ ก็จะไม่ถือว่า จิต
    ก้าวล่วงวิตกวิจาร ไปอยู่ที่ " รู้ปิติ สุข เอกัคคตา "

    พอเข้าใจ การตามดูจิตคิดไปเรื่อยๆ หรือ ยัง !?
     
  16. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    วิธีดู หรือ วิธีศึกษา คือ สิ่งใดเกิด รู้ว่าสิ่งนั้นเกิด สิ่งใดเปลี่ยนแปลง รู้ว่าสิ่งนั้นเปลี่ยนแปลง สิ่งใดดับ รู้ว่าสิ่งนั้นดับ

    คือการ รู้ปัจจุบัน ตามความเป็นจริง

    แต่สำหรับผู้ปฏิบัติเริ่มต้น ไม่พ้นที่จะต้องเจอปัญหา ว่า จะตามดูจิตมันคิดไปเรื่อยๆ ดี หรือ จะบังคับให้มันหยุดคิดดี

    ทั้งสองทางนั้น ไม่เข้าในทางสายกลาง การดูจิตคิดไปเรื่อยๆ ที่เราคิดว่าเรากำลังดูมัน แท้จริงแล้วคือ เรากำลังป้อนอาหารให้มันฟุ้งซ่านไปเรื่อยๆ เป็นทางสายหย่อนเกินไป

    ถ้าบังคับให้จิตมันไม่คิด ให้มันเงียบอย่างเดียว ก็เป็นการละเลยความจริง เพราะขันธ์ 5 ของสัตว์ทั้งหลาย แม้แต่ของพระอริยบุคคล ก็ยังมีข้นธ์ 5 ที่ทำงานตามปกติ ดังนั้น ความเกิด ก็เกิดได้ตามเหตุธรรมชาติของมัน

    เช่นนั้นแล้ว ทางสายกลางเป็นอย่างไร?

    ก็คือ การ "รู้" เฉยๆ ก็กลับไปสู่คำสอนของพระพุทธองค์ ให้รู้ปัจจุบัน ตามความเป็นจริง นั่นแหละ

    แต่การจะรู้แบบนี้ได้ ต้องเริ่มจากการฝึก ขอให้พยายามฝึกไปเรื่อยๆ เจอสภาวะของจิตแบบใด ก็มาคุยกันเรื่อยๆ จะได้ค่อยๆ ปรับกันไป

    จะเดินให้เข้าทางสายกลาง จะเริ่มจากหย่อนก็ได้ จะเริ่มจากตึงก็ได้ สำคัญที่ว่า กำลังเดินเข้าตรงกลาง หรือ กำลังเดินห่างออกไป
     
  17. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ต่อนะ

    สมมติว่า คุณบริกรรมพุทโธ จน พอเพียง เพียงพอ แก่การเข้าสู่อานาปานสติ
    เข้ามา อนุรักษ์ และ ทำให้ อานาปานสติ เจริญ ต่อ

    เมื่อเห็น จิตละบริกรรม เข้ามาเคล้าเคลียกองลม แล้ว ยกเห็น วิตก วิจาร คือ วจีสังขาร
    เมื่อตามดูไปเรื่อยๆ เห็นความไม่เที่ยงได้ ก็จะไม่ยึดมั่นถือมั่น เอาแต่ วิตก วิจาร อยู่กับลม

    จิตคุณจะแฉลบไปรับรู้ อาการ ปิติ5 สารพัด ไม่เกิน กายหนาคืบกว้างศอก อย่าให้ ปิติ
    แล่นไปนอกกาย ให้พิจารณาเฉพาะที่เกิดที่กาย ตั้งแต่หัวจรกเท้า เท้าจรดหัว เหมือน
    กับ อาบปิติ ไปทั่วกาย ทำไปสักพัก

    คุณจะค่อยๆเห็น จิตมันละ วิตก วิจาร จากการรู้ลมหายใจ แต่...มีแต่นะ ถ้าเป็น
    อานาปานสติ จะต้องมีแต่ คือ แต่ต้องไม่ละทิ้งการรู้ลมหายใจเข้า รู้ลมหายใจออก

    และ ทั้งที่ยังรู้ลมหายใจเข้า รุ้ลมหายใจออก คุณจะเห็น ระดับ การประกอบสมาธิที่
    พอเพียง ที่จะไปรับรู้ " ปิติ สุข เอกัคคตา "

    พอเห็นความพอเพียง คุณจะเห็นว่า วิตก วิจาร เป็นของเกิดดับ เกิดเอง ดับเองโดย
    เราไม่ได้จงใจ ขอเพียงจิตมาพิจารณา ปิติ ให้มากๆ วิตก วิจาร มันดับ

    อาการที่ วิตก วิจารดับ อันนี้แหละ ที่เขาเรียกว่า ความคิดแทรกไม่ได้ สำหรับอานาปานสติ

    ซึ่งก็หมายถึง วิตก วิจาร ดับ เหลือแต่ " ปิติ สุข เอกัคคตา " ขึ้นลำดับฌาณขึ้นมาอีกขั้น

    และเนื่องจาก อานาปานสติ เราจะไม่ให้ ทิ้งการรู้ลมหายใจเข้า รู้ลมหายใจออกเด็ดขาด

    ทำเพื่ออะไร

    ทำเพื่อให้เห็นว่า " ปิติ สุข เอกัคคตา " ก็เป็นสภาวะชั่วคราว เกิดขึ้น ตั้งอยู่ดับไป

    โดยการดับไปจะมีสองเหตุ คือ จิตปักในปิติตัวใดตัวหนึ่ง แล้ว เกิดนิวรณ์แทรก
    วิตก วิจาร มันจะกลับมา หรือ อาจจะเลยเถิดไปคิดแบบโลกๆ เปลี่ยนกรรมฐาน
    เอาหัวโขกขอขมาใครต่อใครไปโน้น หรือไม่ก็ไปนั่งสวดมนต์กลัวไม่ร่ำไม่รวย ไม่มี
    บารมีกำหราบ ตกจาก อานาปานสติไป อันนี้ อาการหนึ่ง

    อีกอาการหนึ่งคือ จิตแล่นมารับรู้ " สุข เอกัคคตา " อยู่แถวๆ หทัยวัตถุ ประมาณ
    กลางกาย แต่ เห็นให้ดีๆนะ ต้องเห็นว่ามันเป็น " สุข " เป็น นามธรรม อย่าไป
    เพ่งจนเป็นรูปธรรม เท่าฝองไข่ไก่ จะเพี้ยน

    มาถึงตรงนี้ ก็จะเห็นว่า อานาปานสติ พามาห็น นามกาย ที่เสพ สุข ตลอดเวลา

    โดยยังคงระดับเพื่อความพอเพียง ( ต้อง กลับไปรู้ลมหายใจเข้า หายใจออกให้ได้ )
    อย่าให้หายไป ถ้าหายไป แปลว่า จมเข้าไปในภพ " สุข เอกัคคตา " จะพลาด
    การยกเห็นความไม่เที่ยงของ " สุข เอกัคคตา "

    เอาเท่านี้ก่อน

    เพราะตรงนี้ พอมาถึง ส่วนใหญ่ อินทรีย์ภาวนาเดิมๆ จะปรากฏ ซึ่ง
    มันจะบอกว่า ควรทำอานาปานสติต่อไป หรือ เดินไปทางกรรมฐานอื่น

    ก็จะเห็นว่า

    การบริหาร การใช้ศาสตร์ และ ศิลป ในการภาวนา มันจะ สลับกันไป

    ไม่ใช่ จมปลักด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง

    **********************

    ทั้งนี้ เป็นเพราะ จขกท กล่าวถึง อานาปานสติกรรมฐาน

    ถ้าเป็น การทำกรรมฐานกองอื่น จะมุ่งทำ กรรมฐานกองนั้นให้สำเร็จเป็นอย่างๆไป

    แต่ กรณีอานาปานสติ การมุ่งสำเร็จอานาปานสติ มันจะเจือ ความสำเร็จในกรรม
    ฐานอื่นๆ ร่วมด้วยเป็นจำนวนมาก ไม่ใช่แค่ 40
     
  18. saxford

    saxford Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    40
    ค่าพลัง:
    +78
    น้อมรับฟัง คำตอบของทุกท่าน
    ขอให้ผมนำไปปรับใช้สักพักก่อนแล้วจะมาถามต่อครับ
     
  19. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    พิจรณาความเกิด-ความดับครับ...
     
  20. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    สมาธิก็คือสมาธิครับ ถ้ายังตามดูอยู่ยังไม่ใช่สัมมาสมาธิ สัมมาสมาธิคือสมาธิ เมื่อสมาธิก็พิจรณาความเกิด-ความดับ เอาในวงปัจจุบัน ไม่ต้องรอพระศรีอริยะเมตไตรย์.....
     

แชร์หน้านี้

Loading...