ใครเคยเข้าถึงฌาน 4 มีอาการณ์อย่างไร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย localpood, 13 พฤศจิกายน 2012.

  1. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,430
    ค่าพลัง:
    +35,010
    กระทู้เห็นว่าผ่านมาพอสมควรแต่ก็มีประโยชน์ดีนะครับ..
    ขอเล่าให้เป็นข้อคิดสะกิดใจดังนี้สำหรับการเริ่มต้นนะครับ..
    ถ้าจะเอาอารมย์นี้ให้ชัวจริงๆเลยขอแยกเป็นสายดังนี้นะครับ..


    ๑.กรณีที่มาทางสายสมถะหรืออาปาฯนะครับ. กายทิพย์หรือว่าจิตต้องออกไปอยู่นอกร่างกายได้หรือพูดง่ายๆว่าเห็นตัวเองนั่งอยู่ หรือออกไปนอกร่างกายได้แต่ว่าไปได้ไม่ไกลมากคือบริเวณสถานที่ใกล้เคียงกับที่
    ตัวเองนั่งอยู่..
    ส่วนสภาพแวดล้อมการมองเห็นถ้าทำได้กลางวันก็เห็นเหมือนตอนกลางวัน
    ถ้าทำได้กลางคืนก็เห็นเหมือนตอนกลางคืนคือเป็นไปตามสภาพแวดล้อมบนโลก
    ณ ขณะนั้น.แต่จุดนี้ยังไปปลอดภัย


    .กรณีสำหรับคนที่ชอบหรือมีพื้นฐานจากกสิณหรือการสร้างรูปแบบต่างๆหรือวิธีการพิเศษ.ให้สังเกตุว่าสถานที่ๆไป..
    สามารถไปได้ไกลแค่ไหน.อย่างน้อยควรจะต้องเลยชั้น
    พรหมหรือไปถึงชั้นดุสิตขึ้นไปและสภาพแวดล้อมการมองเห็นต้องเห็นแบบตอนกลางวันถึงจะถือว่าปลอดภัย


    กรณีที่ ๑ ถ้าหากทำได้ในครั้งแรกแล้ว ถ้ามีความอยากอยู่แม้เพียงน้อยนิดจะทำไม่ได้
    หรือถ้าทำได้ จะโดนฝ่ายมารหลอกได้.เพราะอารมย์จะใกล้เคียงกันมากๆ..ต้องมาฝึกสร้าง
    สติในชีวิตประจำวัน.จนถึงอารมย์ที่กายกับจิตแยกกันได้ แต่ว่าบังคับจิตให้อยู่ในร่างกาย
    ได้ เรียกว่า จิตจะออกแต่ไม่ให้ออก ถึงจุดนี้จะปลอดภัย.และต่อมาจะเริ่มเห็น กิริยาต่างๆ
    ของจิตได้ ตั้งแต่ก่อตัวแล้ว กำลังก่อตัว เริ่มขึ้นจะก่อตัว.และถ้ารักษาอารมย์ไว้ให้นานได้
    จะสามารถมองเห็น ขันธ์ ส่วนนามธรรมได้..


    กรณีที่ ๒.ต้องมาวิปัสสนาเพิ่ม ด้วยการพิจารณานึกถึงความตายเป็นอารมย์ พิจารณาตัดร่างกายให้เป็นปกติให้บ่อยๆ
    จนกว่าสภาพแวดล้อมการมองเห็นจะคล้ายมอง
    ผ่านกล้องส่องกลางคืนหรือก็ชัดเจนแจ่มใสคล้ายกลางวัน ถึงจุดนี้จะปลอดภัย..
    .ส่วนจุดหรือหลักการสังเกตุไว้ต่อตอนต่อไปนะครับ
     
  2. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,430
    ค่าพลัง:
    +35,010
    จุดหรือหลักสังเกตุความปลอดภัยสำหรับทั้ง กรณี


    ๑.มีความเมตตาเพิ่มมากขึ้นในชีวิตปกติไหม

    .ยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นได้ไหม หากไม่ตรงกับตนเอง

    ๓.ยังมั่นใจว่าความคิดเห็นตนเองต้องถูกเสมอไปหรือไม่..หากมีผู้ท้วงติงด้วยเหตุด้วยผลแล้วแต่ก็ยังมั่นใจ
    ความคิดเห็นของตนเองเสมอและยังดื้อดึงอยู่หรือไม่


    .เป็นคนมีเหตุมีผลเพิ่มขึ้นมากไหม..อ่านอะไรก่อนที่จะแสดงความเห็นรอบคอบหรือไม่

    ๕.ให้สังเกตุระดับภพภูมิที่เข้ามา ว่าสูงขึ้นเรื่อยๆจนไปถึงระดับสูงไหม หรือแค่เท่าเดิม
    หรือว่ามีระดับภพภูมิที่สูงๆเข้ามาโมทนาหรือมาให้เห็นหรือไม่


    ๖.เรื่องราวที่ผ่านมาในอดีต.ยังเก็บมาคิดเล็กคิดน้อย หรือ ว่ายังวางไม่ลงหรือไม่ ทั้งๆที
    บางเรื่องผ่านมาแล้วเป็นสิบๆปี เช่น โกรธแค้นใครตั้งแต่เด็ก ก็ยังจำได้อยู่


    .รู้จักการให้อภัยคนอื่นหรือไม่ การให้อภัยมีความเมตตาร่วมด้วยหรือไม่


    .สนใจมาเจริญสติในชีวิตประจำวันหรือไม่ มาเดินปัญญาหรือสนใจวิปัสสนาและมีศีลมั่นคงมากขึ้นหรือไม่ ทำทานเพิ่มขึ้นหรือไม่


    ๙.ชอบพูดอะไรโดยที่ยกตัวเองเป็นที่ตั้งหรือไม่ โดยที่ไม่ได้แสดงออกในทางธรรมแต่ยก
    เพื่อสนองกิเลสตัวเอง เพื่อให้ตัวเองเหมือนดูวิเศษ เป็นคนมีความสามารถพิเศษหรือไม่


    ๑o.รู้ดีว่าอะไรอกุศล อะไรเป็นกุศลหรือไม่....

    ๑๑.มีระเบียบวินัยในชีวิตประจำวันมากขึ้นหรือไม่ เช่น ห้องรกเหมือนเดิมไหม มีความขยัน
    เพิ่มขึ้นไหม อดทนต่ออารมย์ของคนใกล้ชิดได้มากขึ้นไหม..


    ๑๒.ความโกรธ โลภ หลง ลดน้อยลงไหม..

    ให้ดูตามนี้ประกอบการพิจารณาหลังจากที่ถึงอารมย์ฌานได้ถ้าไม่เป็นตามนี้มีโอกาสเสร็จมารในสมาธิได้.และจะกลายเป็นมิจฉาทิฐิ
    โดยที่ไม่รู้ตัว เรียกว่า สมาธิผิดทางสร้างปัญหา ให้พิจารณาให้รอบก่อนมากกว่าที่จะมาสน
    ใจว่าอารมย์ฌาน เป็นอย่างไร ขอบคุณครับ​
     
  3. view2004

    view2004 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    233
    ค่าพลัง:
    +1,107
    ฌาน 4 ผมรู้สึกว่า ตัดความสุข และทุกข์ ได้อย่างสิ้นเชิง มีอารมณ์แน่วแน่ในสามาธิ มีอารมณ์อุเบกขาคือ วางใจเป็นกลาง ที่สำคัญที่สุดยังคงมีสติสัมปชัญญะ คือ มีความรู้สึกครบถ้วนด้วยสติ แต่ไม่หลงใหลไปกับสิ่งใดๆ

    แต่พอออกจากฌาน 4 ก็ยังมีสุขทุกข์เหมือนเดิม แต่มันเบาลงเยอะมากครับ คือ ทรงอารมณ์ยังไม่นาน แต่ก็จะหมั่นฝึกฝนพยายามให้ทรงอารมณ์ได้ทั้งวันครับ สุดท้ายเอาใจช่วย จขกท ครับ :cool:
     
  4. student888

    student888 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    19
    ค่าพลัง:
    +21
    เคยเเค่ครั้งเดียว พุธเข้า โธออก คำบริกรรมหาย ตามด้วยลมหายใจหาย มีอาการเหมือนคนหูดับ มีความนิ่งว่าง เป็นเครื่องอยู่ ไม่ถึงนาทีก็หลุด สาธุ
     
  5. phrawizean

    phrawizean สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +20
    วิธีสังเกตุ คนเข้าฌาน 4 ง่ายๆ คือ ตัวแข็งดุจท่อนไม้ หามไปไว้ที่ไหนก็อยู่ยังงั้น ไม่ว่า จะเป็นแดด หรือ รังมดคันไฟก็ตาม และ ไม่มีลมหายใจ
     
  6. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    ฌานสี่เป็นเรื่องการทำกาย
    ท่านไปเอ่ยถึงจิตถูกต้อง
    แต่ยังไม่หมด

    การทำกายเวทนาจิตให้เดินทางมาครึ่งหนึ่ง
    แต่สิ่งที่เรารู้ได้เพราะสามรถสื่อได้โดยเอากายเป็นสื่อ
    พอรู้ลมคือรู้สึกว่าเหมือนไม่มีลมหายใจ
    เขากำลังเตรียมที่จะละกายนี้
    แต่เขาครึ่งๆกลางๆในฌานสี่
    คือเบื่อๆอยากๆ

    อยากไปบวชแต่พร้อมสึกเมื่อเบื่อบวชอีก
    ตรงนี้น่ากลัว

    อะไรที่เขาเตรียมละกายนี้แบบเบื่อๆอยากๆ
    ท่านอย่าบอกว่าจิตนะขอรับ
    หรือไม่อย่างไร
     
  7. tassumalee

    tassumalee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2013
    โพสต์:
    1,579
    ค่าพลัง:
    +8,825




    ดิฉันเกิดอาการแบบนี้ค่ะ...ในขณะที่ปฏิบัติธรรมอยู่ที่ วัดนึง เป็นเวลา 7 วัน


    จะเป็น 2 ครั้งค่ะเป็นวันสุดท้ายที่ กำลังจะกลับ พระอาจารย์ท่านจะให้นั่งตามเวลาที่ท่าน

    กำหนด ดิฉันก็เดิน 1ชม. แล้วก็กำหนดนั่ง 1ชม. " ตอนนั่งก็กำหนดไปตาม สภาวะที่กำ


    ลังเกิดขึ้น คือ เสียง, เมื่อย ปวด แมลงมาเกาะ ก็กำหนดไปเรื่อยๆเมื่อไม่มี สภาวะให้


    กำหนด ก็ระลึกรู้กำหนดลมหายใจ เข้าออก พองหนอ,ยุบหนอ ไปเรื่อยๆ




    ดิฉันก็กำหนดไปตามสภาวะอารมณ์ คือตอนนั้นมีเวทนาค่ะ ( ปวดขามาก )

    ก็กำหนดปวดหนอๆ ไปเรื่อยๆ จนจิตไม่รับรู้ความเจ็บปวดใดๆที่เกิดขึ้น ได้ยินเสียงก็เหมือน


    ไม่ได้ยิน แม้แต่เสียงลมหายใจ ก็ไม่รับรู้ได้ รู้แต่เพียงตัว เบา สบาย โล่ง เวทนาที่เคย


    เกิดขึ้นมันมลายหายไปสิ้น มีแต่อาการปิติเกิดขึ้นแทน ไม่ยินดียินร้ายอะไร จนถึงเวลา


    พระอาจารย์ บอกเสียงหนอๆ คือให้เราหยุดกำหนด ( ตอนนั้นเรากำหนด ปิติ หนอๆ ) เพื่อ


    ที่จะแผ่เมตตา ( โดยที่ยังหลับตาอยู่และไม่เอาขาลง คือนั่งในท่าเดิมไม่ขยับตัว ) เราก็ไม่มี


    อาการปวดใดๆเลย ( ปกติจะยังมีเวทนาอยู่ คือปวดขา, ปวดหลัง ) มันเบาสบายโล่ง จนแผ่


    เมตตาเสร็จ ก็เปลี่ยนท่านั่งเป็นนั่งพับเพียบ ( ก็ยังโล่งเบา สบาย ไปตลอดเหมือนไม่เคยมี


    อาการปวดเกิดขึ้นมาก่อนเลย ) จนถึงกราบพระและเลิกปฏิบัติ ก็ไม่มีอาการเมื่อยปวดใดๆ


    เป็น 2 ครั้งค่ะ พอนั่งอีกคิดสงสัยในอาการที่เกิดขึ้น และอยากให้เกิดขึ้นอีกมันก็ไม่เกิด


    ค่ะ พระอาจารย์บอกว่า ให้ตัดความกังวล สงสัย ความอยาก ทุกอย่างออกไป ( แต่มันทำ


    ยากค่ะ แต่ก็พอจะทำได้ ) ลืมไป จะมีเวทนา คือ ง่วงนอนค่ะ ง่วงมากด้วยก็เลยกำหนด

    ง่วงนอนหนอๆ ที่อุนาโลม จนง่วงทนไม่ไหว ( ตอนเดินจงกรม ตานี้จะปิดซะให้ได้ เวลาเดิน

    นี่แทบจะหงายท้องเลยค่ะ มันง่วงจริงๆ ก็เลยเปลี่ยนมากำหนดรู้หนอที่ ลิ้นปี่ และเปลี่ยนไป

    กำหนดที่ อุนาโลมว่าง่วงหนอๆ จนมันหาย แล้วก็หมดเวลาพอดีจึงกำหนดนั่ง พอเกิด

    เวทนาใด ก็กำหนดไปตามนั้น จนเกิดอาการปิติ เกิดขึ้น คือมันไม่รับรู้อาการใดๆ ได้ยิน

    ก็เหมือนไม่ได้ยิน หายใจก็เหมือนไม่หายใจ )




    ไม่รู้ว่าอาการที่เกิฏับดิฉันเรียกว่าอะไร ดิฉันคิดแค่เพียงว่าเป็นประสพการณ์ใน

    การปฏิบัติกรรมฐาน ครั้งที่ 2 ที่ได้เกิดขึ้นในการปฏิบัติ สติปัฎฐาน 4 ค่ะ
     
  8. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    ฌานที่ห้า
    สภาวะคล้ายอากาศทั้งหมด
    เราเข้าไปอยู่ในนิมิตรด้วย

    อย่างไร
     
  9. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    สภาวะทางโลกเป็นอย่างไร
    ทางธรรมท่านอยู่ในธรรมไหน
    มีอะไรเป็นผลในทางโลกและทางธรรมหรือไม่อย่างไร
    ไม่อยากถามบ่อยๆขอรับเลยถามตรงประเดนไปเลย
    หากเกิดอุปทานแล้วทำอย่างไร
     
  10. Aunyadham

    Aunyadham ธรรมใด เกิดขึ้นเพราะเหตุใด ย่อมดับที่เหตุนั้นแล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2012
    โพสต์:
    441
    ค่าพลัง:
    +627
    คำถามลักษณะนี้ ผมว่าพระอรหันต์ เท่านั้นที่จะตอบได้เด็ดขาดชัดเจนครับ คุณมะหน่อ..
     
  11. Aunyadham

    Aunyadham ธรรมใด เกิดขึ้นเพราะเหตุใด ย่อมดับที่เหตุนั้นแล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2012
    โพสต์:
    441
    ค่าพลัง:
    +627
    หากเกิดอุปาทานแล้วทำอย่างไรนี่ก็คำถามเด็ด ...
     
  12. อภิมาร

    อภิมาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    711
    ค่าพลัง:
    +2,154


    ก่อนอื่นขออนุโมทนากับท่าน จขกท และทุกๆท่านครับ

    ตามที่เคยศึกษาฌาณเป็น อนันตริยกรรมทางฝ่ายกุศล

    ท่าน จขกท อยากให้ดูเรื่องศีลอย่างที่ท่าน นิวรณ์ติงไว้ครับ

    และอยากให้ทำความเพียรไปเรื่อยขณะนี้อยู่กับรูปแบบภาวนา

    อย่างไหนก็ให้เป็นหน้าที่หลักไปก่อน เรื่องของฌาณตาม

    อาการที่ปรากฎให้ถือว่าเป็นของแถม ตามที่เราสั่งสมมา

    ถามได้เรียนรู้ได้อาจสนุกกับความแปลกใหม่ ไม่ผิดอะไร

    แต่ระวังเอาสิ่งที่ท่านสอนและอธิบายมาเป็นความจำ

    และอาจทึกทักว่าใช่ แต่สิ่งที่ถามมานี้ยังอยู่ในกฎของไตรลักษณ์

    ที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ จึงไม่อยากให้ไปติดมาก

    จะทำให้เสียเวลา ทำงานหลักก่อน คนเคยมีอย่างไร

    มันจะมาและอาจได้รับคำชี้แนะหน่อยก็จะเข้าใจเอง

    อยู่ที่การสั่งสมมาด้วยครับ สาธุ. yimm
     
  13. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    สภาวะตัวเราเข้าไปอยู่ในนิมิตรมีลักษณะคล้ายกับการฝันครับ แต่ชัดเจนเหมือนสภาพที่เราเห็น เราเป็นอยู่โดยปรกติ
    ผมยกตัวอย่างสภาวะส่วนตัวของผมเช่นว่าขณะนี้ผมนั่งปฏิบัติอยู่...ความรู้สึกทางกายผมค่อยๆหายไป จนไม่รู้สึกว่ามีร่างกายแต่มีความรู้สึกเฉพาะจุดมโนทวารที่เพ่งเท่านั้น (ใหญ่บ้าง เล็กบ้าง) จากนั้นความรู้สึกทั้งกายและจุดเพ่งก็หายไปทั้งหมด มาสึกว่าตัวเองมานั่งในที่แห่งหนึ่งซึ่งรอบกายว่างเปล่า, บ้างครั้งก็ไปรู้สึกว่ากำลังขับรถจนขับรถไปติดไฟแดง, บางครั้งไปหาญาติที่อยู่ห่างกันหลายร้อยกิโล, ไปเห็นกองไฟ, ไปนั่งกลางทุ่งและมีแสงฟ้าแล๊ปเป็นช่วงๆ พอระลึกได้ว่ากำลังปฏิบัติก็กลับมาที่เดิม......ฯลฯ แค่นี้คุณคงพอเข้าใจ สภาวะนี้อยู่ประมาณต้นๆของฌานที่ ๖ ครับ
    เจริญในธรรมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มิถุนายน 2013
  14. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    ที่คุณพูดมาทั้งหมดก็เป็นคำตอบอยู่ในตัวครับ ตรงนี้ก็คือปิติครับ อารมณ์นี้อยู่ประมาณฌานที่ ๓ ครับ
    เจริญในธรรมครับ
     
  15. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    สำหรับผู้ที่ยังไม่สำเร็จพระอรหันต์ก็ต้องมีอุปทานกันทุกคน ตัวอุปทานก็เป็นตัวกิเลสนี้ละ หากไม่มีกิเลสก็ไม่มีอุปทาน สำหรับผู้ที่มีกิเลสก็ยังเป็นผู้ที่ต้องปฏิบัติ หากเกิดอุปทานหลวงปู่ก็สอนให้เพ่งฌานสู้ สู้ได้ก็สู้ สู้ไม่ได้ก็ต้องสู้ครับ
    สำหรับพระอรหันต์ท่านหมดกิเลสไปแล้ว ท่านไม่มีอุปทานครับ
    เจริญในธรรม
     
  16. Aunyadham

    Aunyadham ธรรมใด เกิดขึ้นเพราะเหตุใด ย่อมดับที่เหตุนั้นแล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2012
    โพสต์:
    441
    ค่าพลัง:
    +627
    ผมก็เห็นเป็นเช่นนั้น เพราะถ้ายังไม่บรรลุพระอรหันตผล อุปทานก็ย่อมมีด้วยกันทุกคน ผู้ที่ยังมีเชื้อแห่งกิเลสตัณหาอาสวะทั้งหลายอยู่ ไหนเลยจะหลีกหนีได้ เมื่อมีเหตุ ผลย่อมเกิด เมื่อดับเหตุ ผลย่อมดับ ตรงนี้มิใช่ใครก็จะเข้าใจได้ง่ายๆเพราะเป็นยอดพระธรรมกัมมัฎฐานของพระพุทธองค์เลยทีเดียว ลึกซึ้ง สุขุมคัมภีรภาพ มีแต่พระอรหันต์เท่านั้นจึงจะรู้แจ้งแทงตลอดในปฏิจจสมุปบาทได้
     
  17. จิ-โป

    จิ-โป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,006
    ค่าพลัง:
    +2,196
    Jubga
    สมาชิก

    วันที่สมัคร: Jun 2012
    ข้อความ: 228
    Groans: 6
    Groaned at 11 Times in 10 Posts
    ได้ให้อนุโมทนา: 91
    ได้รับอนุโมทนา 291 ครั้ง ใน 124 โพส
    พลังการให้คะแนน: 49

    ใครเคยเข้าถึงฌาน 4 มีอาการณ์อย่างไร




    เห็นมีบางคนไปสอนกันบอกวันเดียวก็ได้ฌาน 4 แล้ว ใครไปเรียนก็เห็นบอกนี่ได้แล้วฌาน 4

    ไม่ทราบว่าพอได้ฌาน 4 แล้วมีอากาณณ์เป็นยังไง เช่น ขยับตัวได้ไหม เห็นอะไร ลมหายใจเป็นยังไง ได้ยินเสียงรอบข้างไหม สภาวะ ความรู้สึกเป็นยังไงครับ



    คุณชื่อยาก(ฐสิษฐ์)ตอบถูกและตรงแต่อธิบายสภาวะไม่ละเอียด
    รูปฌาณ4ทั้งหมดเห็นนิมิตดังตัวเราแสดงหนังในจอทีวี โดยเรานี่ล่ะนั่งดู
    สามารถบังคับเดินไปเดินมาปกติเหมือนเล่นเกมส์กด
    จากฌาณ5ขึ้นไปถึง8 นิมิตนั้นจะเป็นเหมือนตัวเราแสดงเอง กินก็กินเอง
    โดนเค้าตีก็เจ็บจริงๆ อันนี้นิมิตจะเหมือนจริงมากๆ เห็นไฟใหม้ก็จะลุกวิ่ง
    หนีเลยทีเดียว

    ตอบเจ้าของกระทู้ว่า เวลาอยู่ในฌาณ4 ลมหายใจเอย เสียงเอย สิ่งรอบ
    ข้างเอย เหล่านี้มันแล้วแต่ตัวคนทำสมาธิว่ามีความสามารถขั้นไหน แรกๆ
    อาจจะเหมือนลมหายใจไม่มีนะก็อย่าพึ่งไปว่าเขาว่าไม่ใช่ และขั้นสุดท้าย
    ที่เราเรียกว่าวสี เค้าก็จะบอกว่าลมหายใจก็ปกตินี่นา อะไรๆก็ปกติ แม้กระทั่ง
    ที่ว่าเข้าฌาณ มันเข้าตรงไหนหรือ เพราะมันไม่ได้เข้าไม่ได้ออก อะไรๆก็ปกติ
    หมด เราอยากรู้อะไรลืมตากินข้าวอยู่นี่ล่ะ มีคนถามปั๊ป เรานึกดูปุ๊ป ภาพนิมิต
    อันชัดแจ๋วก็ปรากฏในมโนจิต ตาเราก็มองข้าวตักกินปกติ นี่เรียกว่าวสีนะ
    เลยทำให้คิดว่า มันเข้ามันออกตรงไหนเจ้าฌาณเนี่ย
    เว้นจากอรูปฌาณนะว่า เจ้าอรูปฌาณเนี่ยท่านทำแบบลืมตายังไง ทำได้ใหม
    เพราะผมก็ไม่เคยทำได้ ที่ทำๆก็ต้องหลับตาก่อนถึงเข้าอรูปได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มิถุนายน 2013
  18. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796

    วันอาทิตย์ที่ 06 มิถุนายน 2010 เวลา 00:00 น. | เขียนโดย เชอรี่ | PDF | พิมพ์ | อีเมล
    1 2 3 4 5
    (18 VOTITALY_VOTES, VOTITALY_AVERAGE: 4.89 VOTITALY_OUTOF)
    User Rating: / 18
    แย่ดีที่สุด
    alt

    รูปฌาน ๔

    เกศา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกศา

    พระธรรมคำสอน โดย พระครูภาวนาภิรมย์ (หลวงพ่อสรวง ปริสุทฺโธ)

    รูปฌาน ๔ การปฏิบัติธรรมตามแบบสมถวิปัสสนานั้นขอให้ศิษย์ทุก ๆ คนพึงมีความเห็นทำความเข้าใจให้ถูกต้อง คือทุกๆคนที่จะ

    ปฎิบัติกรรมฐานได้ก่อนอื่นก็จำต้องรู้จักรักษาศีลห้า ให้ได้เมื่อมีศีลแล้วก็เริ่มปฏิบัติได้การปฏิบัติเมื่อมีศีลห้าแล้ว ก็เริ่มฝึกหัดทำฌาน

    (ชาน) ซึ่งเป็นการทำสมาธิแบบหนึ่งและมีขั้นตอนวิธีการปฏิบัติเป็นขั้นๆ ไปฌาน นั้นมี ๘ องค์

    แบ่งเป็น รูปฌาน ๔ และ อรูปฌาน๔ ? ในที่นี้เราจะ ทำแค่รูปฌาน ๔ ก็นับว่าเพียงพอแล้วรูปฌาน ๔ นั้นมี ๔ องค์ คือ

    ฌานที่ ๑ วิตก วิจาร

    ฌานที่ ๒ ปิติ

    ฌานที่ ๓ ฌานสุข

    ฌานที่ ๔ เอกัคคตา อุเบกขา

    ทำไมเราต้องทำฌาน ทั้งนี้ก็เพราะเหตุว่าตามที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่าการที่เรามุ่งหวัง ไปพระนิพพานให้เข้าถึง พระ

    นิพพาน?นั้น ต้องปฏิบัติตามมรรค มีองค์ ๘

    องค์ที่ ๑ สัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นชอบ

    องค์ที่ ๒ สัมมาสังกัปปะ คือ ความดำริชอบ

    องค์ที่ ๓ สัมมาวาจา คือ วจีกรรมชอบ

    องค์ที่ ๔ สัมมากัมมันตะ คือ ทำการงานชอบ

    องค์ที่ ๕ สัมมาอาชีวะ คือ การเลี้ยงชีพชอบ

    องค์ที่ ๖ สัมมาวายามะ คือ ความเพียรชอบ

    องค์ที่ ๗ สัมมาสติ คือ ความระลึกชอบ

    องค์ที่ ๘ สัมมาสมาธิ คือ ความตั้งจิตมั่นชอบ

    ตั้งแต่มรรคองค์ที่ ๑ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบนั้นจะต้องเห็นชอบในอริยสัจ ๔ อันมีทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค ส่วนมรรค

    องค์ที่ ๘ เป็นบัญญัติสัมมาสมาธิท่านบอกไว้ว่าให้มีรูปฌาน ๔ ?ถ้าเราไม่รู้จักฌาน ๔ เราก็ทำวิปัสสนาไม่ได้ มีความจำเป็นมาก

    การจะทำ สมาธิเฉย ๆ คือสมาธิแบบที่บัญญัติเหมือนกัน

    สมาธิมี ๓ องค์ คือ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปณาสมาธิ ในสมาธิทั้ง ๓ ขั้นนี้ ยากที่เราจะรู้ได้ เพราะก้าวแต่ละก้าว แต่ละขั้นตั้ง

    แต่ขณิกสมาธิ ไปอุปจารสมาธิมันละเอียดมาก จิตละเอียดเป็นขั้น ๆ จากอุปจารสมาธิิเป็นอัปปณาสมาธิก็ยิ่งละเอียดที่สุด

    แต่เมื่อมาทำเป็นฌานแล้วมันซอยถี่เข้าเป็น ๔ ขั้น ความจริงฌานนั้นมีอยู่ ๕ ตามบัญญัตตามแผน ๕ เรียกปัญจฌาน แต่ที่นิยมใน

    ตำราในพระสูตรกล่าวไว้มี ๕ ?ในพระอภิธรรมหรือบัญญัติไว้ในธรรมวิภาครูปฌาน ๔ เรียกฌาน ๔ ไม่ได้เรียกฌาน ๕ คือรูปฌานที่ ๑

    นั้นแยกวิตกเป็นฌาน หนึ่ง วิจารเป็นฌานหนึ่ง วิตกก็คือความนึกคิดนั่นเอง วิจารก็คือ ความหยุด ความนึกคิดได้ เมื่อเราหยุด

    ความนึกคิดได้ ฌาน ๑ ก็เกิดแก่จิตเรา

    การนั่งกัมมัฏฐาน ก่อนที่จะนั่งต้องกราบ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ที่ต้องมีศรัทธาเชื่อมั่นใน พระพุทธ พระธรรมพระสงฆ์ ว่าเป็น

    ของมีจริง เป็นของที่เราเคยเคารพศรัทธาอย่างสูง ไม่มีสิ่งใดที่เราจะเคารพยิ่งกว่าพระรัตนตรัยนี้แล้วก็กราบคุณบิดา มารดา อีกครั้ง

    หนึ่ง กราบครูบาอาจารย์อีกครั้งหนึ่งเรียกว่า ปัญจเคารพ และเมื่อเราออกจากการนั่งสมาธิก็เช่นเดียวกัน กราบอีก ๕ ครั้ง ทั้งนี้ก็เพื่อ

    ว่าให้เรามีศรัทธา มีความเคารพ ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดา มารดาครูอาจารย์ บิดา มารดาของเรา ก็เป็น พระอรหันต์ของ

    ลูก พระพุทธองค์ตรัสไว้อย่างนั้นและก็เป็นความจริงเช่นนั้น

    เราจึงจำเป็นที่จะต้องกราบไหว้บูชาเป็นการระลึกถึง พระคุณของท่านครูบาอาจารย์ก็เช่นเดียวกัน การที่เรามีความรู้ในปัจจุบันได้

    ต้องอาศัยครูบาอาจารย์ ผู้มีความรู้สั่งสอนเรา เราจึงได้ ความรู้ ไม่มีใครรู้ขึ้นมาเองต้องอาศัยครูบาอาจารย์ทั้งสิ้นแม้จะทางโลก

    ก็ตามยิ่งทางธรรมด้วยแล้วยิ่งสำคัญมาก เพราะการไม่รู้หรือ รู้ผิด ๆ แล้วมาสอนเรา ผู้เป็นศิษย์ก็ต้องรู้ผิดไปด้วย ต้องหลงไปด้วยเมื่อ

    ครูบาอาจารย์เรายังเป็นผู้หลงอยู่ เหตุไฉนจะสอนศิษย์ ให้เป็นผู้หลงไม่ได้ ก็ต้องสอนศิษย์ให้เป็นผู้หลง

    เมื่อครูอาจารย์ยังไม่รู้แจ้งเห็นจริงจะไปสอนศิษย์ให้รู้แจ้งเห็นจริงได้อย่างไร ?ก็รู้ไม่ได้นี่ให้ทำความเห็นอย่างนี้ให้ถูกต้อง

    ฉะนั้น จึงจำเป็นที่เราต้องระลึกถึงพระคุณของครูอาจารย์ด้วย เหมือนกับตัวอาจารย์นี้ไม่เคยคิดว่า ให้พวกศิษย์หรือใคร ๆ กราบไหว้

    ครูอาจารย์หนักหนา เพราะในความคิด ความนึกในใจของอาจารย์ไม่มีสิ่งเหล่านี้เพราะไม่ได้ยึดถือ โลกธรรม ๘ ลาภ ยศ สรรเสริญ

    สุข ไม่ต้องการอะไรทั้งสิ้น เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ ก็เช่นเดียวกันนี่เป็นโลกธรรม ๘ ฝ่ายดี ๔ ฝ่ายไม่ดี หรือฝ่ายชั่ว ๔ ก็ไม่

    เดือดร้อนอะไรทั้งสิ้น ในการสั่งสอนศิษย์ก็เพื่อเป็นแบบแผนให้ศิษย์มีปัญญา

    ถ้าศิษย์ไม่เคารพ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดา มารดา และครูอาจารย์แล้ว จะไปเคารพอะไรเมื่อไม่ศรัทธาในการกราบไหว้บูชา

    การกราบไหว้บูชา นี้เป็นการแสดงความกตัญญู กตเวที รู้คุณด้วยและการตอบแทนบุญคุณคือการกราบ ไหว้นั้นการกราบไหว้นั้น

    เป็นการทำจิตใจเราให้ผ่องใสเป็นสิริมงคล เราจึงจำเป็นต้องปฏิบัติ การนั่งก็เช่นเดียวกัน เวลานั่งกัมมัฏฐานถ้าเป็นฝ่ายอุบาสิกาจะนั่ง

    พับเพียบก็ได้ จะนั่งขัดสมาธิก็ได้ ฝ่ายอุบาสก หรือผู้ชายนิยมนั่งขัดสมาธิคือนั่งเอาเท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาวางบนมือซ้ายบนตัก

    ของเรา และตั้งตัวให้ตรงอย่าให้ตัวงอ หน้าตรงอย่าก้ม ถ้านั่งหลังงอแล้วนั่งได้ไม่ทน มันจะปวดเอว ปวดหลังทำให้เรานั่งนานเป็น

    ชั่วโมงหรือ ๔๐,๕๐ นาทีไม่ได้ฉะนั้นกายให้ตั้งตรงเมื่อเสร็จแล้วก็ ?เริ่มบริกรรมภาวนาคือใช้เกศา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ ตะโจ

    ทันตา นะขา โลมา เกศาว่าเป็นอนุโลม คือว่าไปข้างหน้า ปฏิโลม คือถอยหลัง ว่าซ้ำอยู่อย่างนั้น เมื่อมีความคิดใดๆ ขึ้นมาที่จิตไม่

    ว่าเรื่องอะไรโดยมากจิตเรา นั้นชอบนึกชอบคิดเสมอเวลานั่งกัมมัฏฐาน จึงหาอุบายให้ว่ากัมมัฏฐาน

    พระพุทธองค์จึงมีอุบายให้จิต ไปยึดกัมมัฏฐาน ๕ เสีย นอกจาก กัมมัฏฐาน นั้นมีกัมมัฏฐานอื่น ๆ อีกทั้งหมดตั้ง ๔๐ อย่าง แต่จะไม่

    สอนเพราะถือว่ากัมมัฏฐาน ๕ เป็นสิ่งสำคัญ เหตุใดจึงเป็นสิ่งสำคัญ ก็เพราะว่าตามบัญญัติเรียกว่าเป็นโกฏฐาต คือเป็นสิ่งขอที่หยาบ

    มีอยู่ในตัวเราทั้งสิ้น สามารถเห็นได้ด้วยตาเนื้อ เมื่อว่าไป ๆ แล้วจิตมันก็ยึดกัมมัฏฐานได้ การที่จิตยึดกัมมัฏฐานได้ไม่หลง ถ้าหลง

    อย่าไปเที่ยวค้นหา เช่นว่า เกศา โลมา แล้วมันลืมเสียไม่รู้อะไรจำไม่ได้ อย่าเที่ยวนึก

    ถ้านึกแล้วเดี๋ยวสังขารขันธ์ของเรานั่นมันเอาตัวอื่นมาใส่ให้เอาเรื่องอื่นมาใส่ให้ อ้าว…เราไปกับเรื่อง อื่นเสียพักหนึ่งแล้วฉะนั้นอย่าไป

    นึกขึ้น ให้ตั้งต้นว่า เกศา โลมา ใหม่ ไม่นึกอะไร ถ้ามันเกิดนึกคิดอะไรก็ละเสีย เพราะธรรมชาติของจิต มันชอบนึกคิดอยู่นิ่งไม่ได้

    เราว่าอย่างนี้ เมื่อจิตตั้งมั่นไว้ได้ดีแล้วฌาน ๑ จับได้ดี ไม่มีความนึกคิดอื่นยึดกัมมัฏฐานได้มั่นคงแล้ว จะเกิด ความรู้สึกขึ้นมา รู้สึกว่า

    ขนลุกขนพอง หรือซาบซ่านที่ผิวกายลุกซู่ ๆ ซ่า ๆ อะไรอย่างนี้ บางทีก็รู้สึกตัวพองออกไปตัวมันยาวขึ้นบางที ตัวมันเตี้ยลง แล้วมา

    ตัวเล็กตัวเบา ทีนี้มันก็มีการกระตุกที่มือ หรือที่เท้า นี่ฌาน ๒ เริ่มจับแล้วรูปฌานที่ ๒ ที่เริ่มกระตุก เมื่อกระตุกแล้วอย่ากักไว้กดไว้ คือ

    เราอย่าเกร็งข้อ เกร็งมือไว้ ปล่อยให้มันสั่นการที่กายโยก กายสั่นโยกคลอน ดังสนั่นหวั่นไหว นั่นแหละเป็นปิติ ฌาน ๒ ชื่อของปิติอัน

    นี้ชื่อว่า "อุพเพงคาปิตติ"ส่วนที่รู้สึกซาบซ่านตามผิวกายเรียกว่า "ผรณาปิติ" นี้ผู้ปฏิบัติจะต้องให้มีอุปเพงคาปิติจึงจะสมบูรณ์ เพราะ

    เหตุว่าฌาน ๒ นี้ อุปเพงคาปิตินี้เป็นฤทธิเป็นกำลังที่เราต้องทำฌาน ก็เนื่องจากว่า ฌานนี้เมื่อได้ฌาน ๔ มันก็สู้กับทุกขเวทนาได้ คือ

    เจ็บปวดต่างๆ หรือง่วงเหงาหาวนอนมันสู้ได้ถ้าไม่มีฌานแล้วสู้ไม่ได้นอกจากนั้นเมื่อปฏิบัติสูงแล้ว

    การเหาะเหินเดินอากาศด้วยกายในกายของเราหรือที่เรียกว่า กายทิพย์ ก็อาศัยฌานนี่เหละเหาะเหินเดิน อากาศ การรู้การเห็น

    ต่าง ๆ การได้ยินเสียง การได้กลิ่น การได้รส การมีโผฏฐัพพะการทบกายต่างๆ รู้ได้ด้วยฌานทั้งสิ้น หูทิพย์ ตาทิพย์ หยั่งรู้ใจคน มี

    อิทธิฤทธิ์ระลึกชาติได้ แล้วก็มีฤทธิ์ทางใจเรียกว่า มโนมยิทธิ แล้วทำกิเลสให้หมดไปจากจิตใจได้ ก็อาศัยการฟอกจิตใจ ให้สะอาด

    ด้วยฌานนี่เหละ จึงจำเป็นถ้าขาดฌานเสียมรรคตัวที่ ๘ ก็ไม่มี

    ฉะนั้น ใครจะไปพระนิพพานกับมรรค ๗ ตัว ๖ ตัว ๕ ตัว หรือมรรคตัวเดียวไม่ได้ทั้งสิ้นมรรคต้องครบทั้ง ๘ ตัว ๘ องค์รูปฌานที่ ๓

    เมื่ออุเพงคาปิติขึ้นโครมๆ ดีแล้ว การสั่นมาท่าต่าง ๆ มันโยกหน้า โยกหลัง มีสติอยู่ไม่ให้ล้ม หงายไปเมื่อมีสติอยู่รักษาจิตมันก็มี

    สัมปชัญญะสำหรับคุมกายไว้เอง เพราะสัมปชัญญะอยู่คู่กับสติ สตินี่ เป็นสิ่งสำคัญคุมจิต สัมปชัญญะคุมกายธรรม ๒ ประการนี้เป็น

    ธรรมที่มีอุปการมาก คือส่งเราให้ไปถึงพระนิพพานได้ทีเดียว ธรรมที่มีอุปการมาก คือ สติสัมปชัญญะ คนขาดสติ คนบ้าใบ้ คนสติ

    ฟั่นเฟือน ปฏิบัติไม่ได้นี่เป็นหลักสำคัญ เมื่อเราเข้าได้ฌาน ๒ ดี แล้ว เราก็กระตุกขึ้นไป จิตคิดว่าฌาน ๓ อย่านึกถึงฌาน ๒ อีก ถ้านึก

    มันก็ขึ้นอีก ขึ้นโครมๆ คือจิตถอยลงมาเสีย เมื่อไปถึงฌาน ๓ แล้ว ฌาน ๓ เราจะมีความรู้สึกแต่ไม่ทุกครั้ง บางครั้งแต่ เป็นส่วนมาก

    เรียกว่าฌานสุข กายก็มีความสุขฌานที่ ๓ จึงได้ชื่อว่า ฌานสุข เมื่อเราไปอยู่ในฌาน ๓ พอสมควรแล้วเราก็มีสติกำหนดที่จิต ว่า ๔

    กระตุกตัวขึ้นไปอีกแล้วก็อย่าลดตัวลงมา เมื่อกระตุกตัวขึ้นไปแล้วอย่าลดลงมาให้อยู่เฉย แล้วก็ผ่อนลมหายใจให้อ่อน ว่า

    กัมมัฏฐาน เรื่อยไป จิตมันจะแนบขึ้นๆแนบเข้าๆ มือจะเริ่มชาขึ้นมา เท้าก็จะเริ่มชา คือชาทั้งปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า ที่ก้นของเราก็เริ่มชา

    ขึ้นมา ไม่ใช่เหน็บชา ชานั้นไม่เจ็บไม่ปวด ริมฝีปากนี้ก็ชา แล้วลิ้นนี้ก็ชา ถ้าจับดีจะมาถึงข้อมือ แล้วถึง กลางแขน ถึงข้อศอก ถึงหัว

    ไหล่ ตัวนี้มันจะเหยียดตรงเลยมันเกร็งเหมือนกับเกร็งอย่างนั้นเอง นั่นคือเป็นเรื่องของ ฌาน ?๔ รูปฌานที่ ๔ ที่เรียกว่า

    เอกัคตาอุเบกขา เอกัคตาอุเบกขาคือ ฌาน ๔ นี้ เสียงอะไรที่มากระทบเรา กระทบหู เราได้ยินไม่ใช่ไม่ได้ยิน แต่ทุกอย่างมันจะไม่

    รับเข้าไปเพราะใจมันวางเฉย ที่เรียกว่าอุเบกขาก็คือ ความวางเฉย นั่นเอง

    ตรงนี้ฝ่ายคณะที่เขาปฏิบัติทางวิปัสสนาเขาตำหนิติเตียนว่า ทำทางสมถะ คือทำฌานนั้นอ้า…ไป พระนิพพานไม่ได้เพราะว่าไปติด

    ฌานเสีย นั่นเป็นความหลง เป็นโมหะของผู้ที่คิดเช่นนั้น ไม่รู้วิธีของการทำฌานแล้วทำอย่างไรถึงจะไม่ให้ติดฌานโดยมาก ส่วนใหญ่

    ที่เห็นพวกปฏิบัติทางวิปัสสนาแล้วก็นั่ง เวลานั่งแล้วถึงเวลาออกก็ลืมตาออกมาเฉยๆ เมื่อเป็นเช่นนั้นถ้ามีฌานจะต้องถอยฌานออก


    เป็นขั้นๆ จนถึงฌาน ๑ ?แล้วสลัดกายพร้อมกับสติคิดที่ใจนึกว่าออก

    พระพุทธเจ้าพระองค์สอนไว้ดี สอนไว้สมบูรณ์ทุกอย่าง โดยให้ เข้าฌานออกฌานเป็นให้ชำนิชำนาญเป็นวสี ?การเข้าฌานนั้น

    เราเข้าไปตั้งแต่ฌาน ๑ ขึ้นฌาน ๒ จากฌาน ๒ ขึ้นฌาน ๓ จากฌาน ๓ ขึ้นฌาน ๔ เรียก ว่า "เข้าฌาน"

    และที่จะต้องรู้จักออกฌาน ด้วย การออกฌาน กำหนดที่จิตว่าถอย ๓ คือถอยจากฌาน ๔ ลงมาฌาน ๓ พอถอยลงมา ๓ คือลด

    ตัวลงมาหน่อยฌานก็ถอยแล้วเมื่อจิตคิดถอย ฌานมันก็ถอยลงมา อุเบกขาก็ค่อยหมดไปมาอยู่ที่ฌาน ๓ ฌานสุข แล้วก็ถอยจาก

    ฌาน ๓ อีกแหละมาฌาน ๒ พอถอยมาถึงฌาน ๒ ปิติ อุปเพงคาปิติก็ขึ้นโครมๆกายโยกกายสั่นอีก ตรงนี้มีพวกที่ได้ฌานใหม่ๆ ติด

    มาก มันติดเพราะมันสนุกมันเพลินมากรู้สึกเพลินมาก รู้สึกมีกำลังวังชาด้วย แล้วก็รู้สึก กายมันเบา อยากกระโดดโลดเต้นไปด้วยซ้ำ

    มันกระโดดโลดเต้น แต่ว่ามันออกจะอึกทึกไปเอาเพียงให้มันสั่น กายโยกกายสั่นกายคลอนบางทีหมุนติ้วบางทีก็เอาแขน ๒ ข้างตีปีก

    ดังเหมือนไก่ตีปีก บางคนก็ตบมือ ๒ มือเลยมีลักษณะต่าง ๆ ปีติทั้งหมดมี ๕ ชนิดแต่ละชนิดมี ๘,๙ อย่างเรื่องของอาการของปีติ

    ทั้งหมด ๓๘,๓๙ ปีตินี่ให้พึงเข้าใจ เมื่อออกมา ฌาน ๒ แล้ว เราก็ถอยออกฌาน ๑ อีกถอยมาที่ ๑ ถอยฌาน ๑ แล้วเวลาออกฌานก็

    สลัดหัวคิดว่าออกคือออกจากฌาน ๑ หรือออกจากฌาน นั่นเองการเข้าฌานตามขั้นเหมือนกับเราขึ้นบันไดเรือนขั้น ๑ ขั้น ๒ และ ๑

    และก็ลงอีกเป็นแบบนี้ ถ้าใครอวดดีไม่ลงตามฌาน คือไม่ถอยลงมาจะเจอดีไปติดฌาน ๔ มันถอยไม่ออก มันเที่ยวเดินซึม

    อยู่นั่นแหละ ถ้าฌาน ๔ ไม่ออกจะเป็นคนไม่พูด และบางครั้งเขาถามอะไร ก็ไม่ได้ยิน บางทีพูดอะไรคำหนึ่งและไม่พูดต่อ มันเฉย

    เสียให้รู้ว่าใครถึงฌาน ๔ ?แม้ฟ้าผ่าลงมาเปรี้ยงไม่สะดุ้งเลย แล้วในฌานนี้ทั้งหมด ผู้ได้ฌานแล้วตั้งแต่ฌาน ๒,๓,๔ ไปแล้วมี

    ฤทธิ์มีอำนาจวาจาสิทธิ์ วาจามีสัจจะเราจะว่าใครให้ฉิบหายป่นปี้อย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้

    ถ้าว่าไปแล้วเป็นจริง ๆ เป็นไปได้เพราะตอนที่เรามีฌานทำฌานอยู่ทุกวันนั้น จิตเราเป็นพรหม กายเราเป็นมนุษย์จริงแต่จิตเป็นพรหม

    มีวาจาที่ศักดิ์สิทธิ์อย่าได้พูดปรักปรำใคร อย่าได้กล่าวตำหนิใครในทางที่เสีย เสียไปจริง ๆเช่นสมมุติว่าเห็นคนขึ้นต้นไม้ เราพูด

    ขึ้นเชิงเล่นว่า " เออ...ระวังนะ...มันจะตกลงมา " อย่าพูดเข้า ถ้าพูดมันตกลงมาจริง ๆ นี่สำคัญมาก ฉะนั้นเราต้องระวังการทำฌานมี

    อานิสงส์สำหรับตัวฌานอยู่นอนก็หลับสบายไม่ฝันเลอะเทอะ ตื่นขึ้นมาก็สบายจิตใจผ่องใส ไม่เศร้าหมองหน้าตามีสง่าราศีอิ่มเอิม

    ด้วยเลือดฝาด ศาสตราวุธก็ไม่กินกาย ไฟก็ไม่ไหม้บ้าน แม้ยาพิษก็ทำอันตรายตนไม่ได้ และเป็นที่เอ็นดูรักใคร่ของมนุษย์ และ

    อมนุษย์ทั้งหลายเทวดาคุ้มครองรักษา และเป็นผู้ที่มีโชคลาภ โรคภัยไม่ค่อยเบียดเบียน

    ถ้าใครเกิดตายลงขณะที่มีฌานไม่ไปเกิด ในอบายภูมิ ต้องไปเกิดในพรหมโลกพรหมโลก รูปพรหมมี ๑๖ ชั้น แล้วแต่กำลังที่เรามี

    ฌานอยู่ถ้าเราอยู่ในฌานที่ ๔ เต็มที่เวลาเราตาย ไปเกิดในชั้นที่ไม่เกินชั้นที่ ๑๑ คือวิสัญญีภพ อายุยืน ๕๐๐ กัลป์ ( ๑ กัลป์ เท่ากับ

    ๖,๔๒๐ ล้านปี ) ทุกสิ่งทุกอย่างที่อาจารย์แสดงธรรมในเรื่องการปฏิบัติฌานที่ว่า ตาทิพย์ หูทิพย์ ?อาจารย์ได้รู้ได้พบ ได้เห็นมาแล้ว

    ทั้งสิ้นเป็นของมีจริง จึงยืนยันให้ศิษย์ทุก ๆ คน จงเชื่อมั่นในคำสั่งสอนที่ให้ไว้ที่นี้

    คือตั้งใจปฏิบัติ เมื่อเราได้ฌานแล้ว เราจะรู้ทันทีว่า คำสั่งสอน ของพระพุทธเจ้าเป็นของมีจริง ทำให้เรามีศรัทธาอันแรงกล้าขึ้นที

    เดียว แล้วที่เมื่อก่อน เคยดูหมิ่นว่าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บางคนคิดเลอะเทอะไปว่าไม่มีอะไรจริงเหล่านี้ เมื่อเราทำฌานได้ เรา

    จะรู้คุณค่าของพระธรรม ว่าพระธรรมเป็นของมีจริงเมื่อมี พระธรรมก็ต้องมีพระพุทธเจ้าจริง เมื่อมีพระพุทธเจ้า พระสงฆ์ก็ต้องมีจริง

    พระสงฆ์ก็อาศัยพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ?นี่แหละประพฤติปฏิบัติตามจนหมดอาสวะ ตามเยี่ยงอย่างพระพุทธเจ้า

    ผู้ปฏิบัติมั่นคงอยู่ในศีลในธรรมทำฌานให้ได้ เมื่อทำฌาน ๔ ได้ดีแล้วจึงจะเริ่มวิปัสนาคืกการขึ้นไปหา ธรรมปัญญา ?ปัญญา

    รู้จักกิเลส ในขณะที่ทำฌานนี้ยังไม่ต้องละกิเลสอะไร

    และขอเตือนสติไว้อย่างหนึ่งว่าในขณะที่เรานั่งฌานจัตอย่าได้คิดอยากได้อยากเป็นฌาน อยากเห็น อยากรู้อะไร ตัวอยากนี้

    เป็นตัวปัญหา เป็นภวตัญหา คือความอยากมีอยากเป็นอยากรู้อยากเห็นถ้ามีตัญหามันก็มีกิเลส เมื่อมีกิเลส มันก็ไม่ได้ มีตัณหามันก็

    ไม่ได้ เราทำใจของเราเฉยๆ เป็นกลาง อย่าได้คิดอยากได้นั่นได้นี่ถึงจะนานแสนนานที่นั่งอยู่ก็ต้องอดทน ขั้นต้น ก็ต้องมีความอดทน

    มันจะเจ็บปวดอะไรก็ตามอย่าคิดอย่าเกา เช่นสมมุติมันคันขณะนั่งอย่าไปเกาถึงแม้ยุงกัดหรืออะไรก็ตามก็ต้องมีความอดทน ?ถ้าจิต

    ให้มือไปเกาหรือเคลื่อนไหว จิตก็เริ่มถอยไม่ยึดฌานเสียแล้ว นี่เป็นสิ่งสำคัญฉะนั้นทุกๆ คนเมื่อมีความมุ่งหมายที่จะไป พระนิพพาน

    หรือรู้จักพระนิพพาน เราก็ต้องปฏิบัติตามคำสั่งสอนนี้แหละอย่างเคร่งครัดพระเครื่องรางต่างๆ ที่มีความศักดิ์สิทธิ์นั้น อาศัยฌานทั้ง

    สิ้น ไม่ใช่อาศัยอื่น ตัวคาถาที่เขียนเป็นอักษรขอมไว้นั้น มันไม่ได้มีอะไรขึ้นมาหรอก มันตัวหนังสือ ถ้าขลังจริงที่ตัวหนังสือ ก็ไม่

    จำเป็นต้องเอามานั่ง ที่เรียกว่านั่งเสก นั่งปรกอะไรนั่น ที่เขาทำๆกันนั้นแต่อาจารย์นี้ไม่สอนตามนั้น

    พระพุทธเจ้าได้ห้ามไว้ การเล่น เครื่องลางของขลังเล่นไสยศาสตร์ต่างๆ ผิดศีลผิดวินัยพระ เป็นอาบัติทีเดียวแหละ ?งั้นผู้ที่มีความมุ่ง

    หมายที่จะไปพระนิพพาน หรือพบ พระนิพพานจงเลิกสิ่งเหล่านี้เสียอย่าไปเล่นอย่าริเล่น เราตั้งใจให้มันเป็นแล้วจะได้ละกิเลส รูปเสียง

    กลิ่น รส โผฏฐัพพะธรรมารมณ์ มันเกิดขณะที่เรานั่งฌานนี่แหละ ?

    ทุกอย่างไม่ใช่ไปหาของข้างนอก มันเกิดขึ้นมาให้เราพบให้เราเห็นให้เรารู้ เราได้ยินเสียง เราก็ทำการละ มันเรื่อยไป จึงเรียกว่าทำ

    วิปัสสนา ส่วนวิปัสสนานั้นได้สอนไว้ ได้แสดงธรรมไว้เรื่องอิทธิบาท ๔ กับพละ ๕ ซึ่งต่อจากรูปฌาน ๔ นี้ไว้แล้วที่แสดงธรรมมานี้

    เราทุกคน จงปลูกศรัทธาให้มั่นคง มีความอดทนเป็นสิ่งสำคัญ มีสัจจะคือ มีความจริง ใจในการที่จะกระทำที่จะปฏิบัติ

    อย่าเป็นคนเหลวไหล หละหลวม ผัดวันประกันพรุ่ง อย่าเป็นคนเกียจคร้าน และรักษาศีลให้ดีให้เรียบร้อย ศีลขัดเกลากิเลส หยาบ

    ธรรมะหรือสมาธิคือขัดเกลากิเลสอย่างกลาง ที่จิตเมื่อเรารักษาศีลดี เรานั่งสมาธิก็ได้เร็วเป็นหลักอยู่ในตัวคือศีลวิสุทธิ ทิฏฐิก็คือ

    ปัญหานั่นเองกล่าวโดยสรุปคือศีล สมาธิ กับ ปัญญา เป็นองค์ของมรรค ๘ ย่อลง ถ้าเราปฏิบัติตรงแล้วทุกอย่าง รักษาศีลดีแล้ว ทำ

    สมาธิ คือฌานเพื่อให้เกิดปัญญาจะได้รู้จักกิเลส จึงมีความจำเป็นอย่างนี้ ขอเน้นว่าจงทำตามที่สั่งสอนนี้ ขึ้นไปตามขั้นตอนสูงขึ้น

    เรื่อยๆตรงตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ที่อาจารย์ปฏิบัตินี้ รู้แน่ชัด ขอยืนยันไว้กับศิษย์ทุกคน ว่าไม่มีคำสั่งสอนใดที่อาจารย์คิด

    ขึ้นเองทำตามคำ สั่งสอนของพระพุทธองค์ครบถ้วนทั้งสิ้น จึงสามารถสอนพวกเราได้

    ถ้าไม่รู้จริงอาจารย์ไม่กล้าสอนพวกเรา เพราะ?นรกเป็นของมีจริงการสอนให้ศิษย์ทำผิด ครูบาอาจารย์เป็นผู้ลงนรกศิษย์ไม่เท่าไหร่

    หรอก นี่เป็นหลักสำคัญ จะอวดดี อวดเก่งไม่ได้ ในการที่ปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้าพระพุทธองค์ก็ได้ตรัสรู้แล้วเป็นพระอรหันต์

    แล้ว และพระอรหันต์ต่างๆ เช่น พระสารีบุตร เอกอัครสาวก พระโมคคัลลานะ อัครสาวก พระกัสสปะเถระเป็นพระอรหันต์ ประกอบด้วย

    มีอภิญญา ๖ ปฏิสัมภิทาญาณ ๔ ?การเขียนตำราใดๆ ขึ้นใหม่โดยอัตโนมัติเพื่อสั่งสอน ผู้อื่น ที่คิดว่าวิเศษยิ่งกว่าคำสั่งสอน

    ของพระพุทธองค์ที่มีอยู่ในพระธรรมนั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่สมควรกระทำ รู้ที่ใจไม่ใช่รู้จากการพูด
     
  19. คุณตุ๊ก

    คุณตุ๊ก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    127
    ค่าพลัง:
    +131
    อันนี้ผมว่ามันเกินไปนะ ^^" คือวางความกลัวนะถูกแล้ว ถ้ากลัวตายนี้ไม่ได้แน่ๆ ถ้าวางได้ ไม่กลัวตาย ...โป๊ะ...!!! อันนี้จะรู้เอง แต่จะไปดูอนิเมชั่นต่อ นี้ผมว่ามันยังไม่ได้หรอกถ้าไม่มีของเก่า หรือ ฝึกมโนยิทธิ หรือ อีกทางก็คือจับอารมณ์นั้นจนชิน ถึงจะไปได้ อนุโมทนาครับ

    แต่หนีมาวิปัสณานี้จะดีมากถ้าถึงฌานสี่
     

แชร์หน้านี้

Loading...