วิชชาที่จะทำให้อยู่รอดจากยุคสมัยแห่งภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย kananun, 17 กรกฎาคม 2006.

  1. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,696
    ค่าพลัง:
    +51,932
    *** อภิญญาใหญ่ ****

    สมัยโบราณเรียก "ปริญญา"
    อภิญญา...ที่รอ คือ "สัจจะ"

    อภิญญาหก...ก็คือ ปริญญาหก

    ใครทำ...ใครได้....ใครสำเร็จ
    ผู้ที่เชื่อ....ผู้ที่ทำได้...จะสำเร็จ จะบรรลุ จะหลุดพ้น

    เชื่อ ไม่เชื่อ...อยู่ที่ตัวของเรา
    ท่านจะเลือกเป็น ดอกบัวแบบไหน ???

    ข้าพระพุทธเจ้าบอกแล้วนะ
    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
    วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๐
     
  2. ขิก

    ขิก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,338
    ค่าพลัง:
    +18,756
    (sing) ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้ได้ประโยนช์สูงสุด :555:
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    เอ..... แบบนี้เค้าเรียกว่าเกินคุ้มรึเป่าครับพี่คลิก อิอิ
     
  4. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    พี่คลิกชอบมีภาพปริศนาธรรมมาโปรดน้องๆ เสมอ

    พุทธภูมิก็ต้องแบกหนักเกินกำลังใจของชาวบ้านเขาเป็นธรรมดา ครับ
     
  5. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ช่วงนี้ไม่ค่อยได้เข้ากระทู้นี้เท่าที่ควรต้องขออภัยด้วยครับผม

    ขอสนนทนาธรรมให้ฟังกันในเรื่องที่พุทธภูมิหลายๆท่านกำลังประสบกันอยู่ถ้วนหน้า

    เจออุปสรรคกันบ้าง

    เจอวิบากกรรมกันบ้าง

    เจอมารมาขัดขวางบ้าง

    หลายสิ่งหลายอย่างที่พุทธภูมิทั้งหลายต้องประสบพบเจอนั้น ขอบอกเอาไว้เลยว่าเป็นข้อสอบที่ต้องเจอกันทุกๆคน เลี่ยงไม่ได้ แต่หากรู้ล่วงหน้าก้ทำให้พอตั้งรับได้ เบาหน่อย ปล่อยวางกันได้เร็ว

    การวางกำลังใจของพุทธภูมิเมื่อเจอกับอุปสรรคทั้งหลายนั้น อารมณ์ใจที่ต้องการก็คือ

    "เมื่อเราพบกับอุปสรรคใหญ่หลวงสักปานใด เรานั้นเองจะล้มเลิกอุดมการณ์ ล้มเลิกในปณิธาน ล้มเลิกในการตั้งจิตปรารถนาเพื่อสัมมาสัมโพธิญาณหรือไม่"

    สิ่งที่เราจะต้องไปพบไปเจอนั้น ข้อสอบใครก็ข้อสอบมัน แต่ละท่านโดนกระแทกใจแตกต่างกัน บางท่านก็โดนกับตัวเอง บางท่านก็โดนจากคนรอบๆด้าน บางท่านก็โดนกับคนใกล้ตัว บางท่านก็โดนเป็นการนินทาว่าร้าย ถูกดูหมิ่นเหยียดหยามจากคนที่ต่ำกว่าทั้งความดีและชาติสกุล ที่หนักๆเป็นปรมัตถะบารมีก็เจอกันแบบครบทุกข้อ

    หากถามว่า เราก็เป็นคนดี จิตใจดีงาม ทำเพื่อผู้อื่นและส่วนรวม แต่ทำไม ทำดีไม่ได้ดี ทำดีคนอื่นมองไม่เห็นค่า ทำดีแต่คนก็ยังอิจฉาริษยาว่าร้ายป้ายสีและเข้าใจเราผิดต่างๆนาๆ ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น

    ก็ขอตอบว่า เป็นการทดสอบกำลังใจของพุทธภูมิในระดับปรมัตถะบารมีว่ามีความมั่นคงเข้มแข็งสักปานใด มั่นคงในสัมมาสัมโพธิญาณมากแค่ไหน



    การทำความดีนั้น โดยกำลังใจของผู้ที่ทำความดีมีระดับของกำลังใจดังนี้

    1.ทำความดีเพื่อหวังอานิสงค์จากผลของกรรมดีนั้นให้เรามีความสุข ความสบาย ทรัพย์สินเงินทอง อันเป็นอานิสงค์ในชาตินี้

    2.ทำความดีเพื่อหวังอานิสงค์ในสัมปรายภพ ในอนาคตชาติ

    3.ทำความดีเพื่อมุ่งหวังการหลุดพ้นเป็นสำคัญ มีพระนิพพานเป็นที่สุด

    ส่วน สำหรับพุทธภูมินั้น

    1.ทำความดีเพื่อสัมมาสัมโพธิญาณเป็นสำคัญ

    2.ทำความดีด้วยดวงจิตที่เมตตาไม่หวังผลหรือสิ่งตอบแทนใดๆ

    3.ทำความดีเพื่อความดีปราศจากการปรุงแต่งของจิต ด้วยอุเบกขาญาณ

    4.ทำความดีโดยปรารถนาให้ผู้อื่นได้เข้าถึงความดีแม้สักเพียงเล็กน้อยก็ตาม


    ดังนั้นหากเราทำความดีสร้างบารมีด้วยกำลังใจของพุทธภูมิ ด้วยกำลังใจของพระโพธิสัตว์แล้ว ไม่ว่าทำดีแล้วมีคนด่า คนว่า คนนินทา คนกลั่นแกล้งใดๆ ขอเพียงความดีที่เราทำประสบผล มีผู้ได้รับผลแห่งความดีนั้นๆแล้วเราเองก็พึงมีความปิติอิ่มเอิบใจเป็นธรรมดา เพราะเราเองไม่ได้หวังอานิสงค์เพื่อตนเองแต่เราต้องการให้ท่านผู้อื่นได้อานิสงค์สูงที่สุด สุขของเราอยู่ที่ได้เห็นความดีของผู้อื่น เมื่อเป็นดังนี้แล้ว กำลังใจของพุทธภูมิแม้จะทำดีไปมากมายแต่กลับโดนด่า โดนว่า โดนกระทบใจ โดนวิบาก แต่หากมีผลแห่งอานิสงค์ปรากฏต่อส่วนรวมแล้วไซร้ ก็ประดุจน้ำทิพย์ชะโลมใจให้มีกำลังบารมีในการสร้างความดีต่อไปไม่สิ้นสุด


    หากสร้างความดี บารมีกับคนแล้ว ทำไม่ขึ้นก็พึงพักใจ สร้างบารมีกับผีบ้าง เทวดาบ้าง เพราะท่านเหล่านี้ ไม่โลเลเหมือนคน โกหกกันไม่ได้ แผ่เมตตาให้ท่าน ท่านได้รับท่านโมทนา ท่านยกสู่ภพภูมิให้เห็นแก่จิตแก่ใจของเรา ทำให้จิตใจของเราปิติอิ่มใจขึ้นได้

    พอกำลังกลับมาก็ค่อยกลับไปรบกับ"คน"กันใหม่

    มีจุดหนึ่งที่พระท่านฝากเตือนมา สำหรับท่านที่ปฏิบัติธรรมแล้ว พอเจอข้อสอบหนักเข้า จิตเกิดความโกรธ ความเกลียดชัง ความคับแค้น ความริษยา จนจิตพลิกเข้าสู่ความเป็นมิจฉาทิษฐิเอาได้ บางท่านปฏิบัติธรรมได้ดีมาก แต่กลับลำบากยากเข็ญทางโลกจนคับแค้นใจเลิกปฏิบัติหันชีวิตเข้าสู่ทางโลกก็มีอยู่ พลิกจิตจากสัมมาทิษฐิเป็นมิจฉาทิษฐิด้วยเหตุแห่งความริษยาเห็นผู้อื่นดีกว่าเก่งกว่า มีภูมิธรรมความดีสูงกว่าก็มีอยู่

    วิธีป้องกันเรื่องการพลิกจิตจากขาวเป็นดำ จากสัมมาทิษฐิกลับเป็นมิจฉาทิษฐิ นั้น ก็ได้แก่การตั้งจิตอธิฐานให้มั่นคงในแนวทางแห่งสัมมาทิษฐิเป็นสำคัญ วางกำลังใจ ว่าหากขึ้นชื่อว่า "ความดี" จะเป็นของเราเองก็ดี ของผู้อื่นก็ดี เรายินดีและโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยทั้งหมด ให้ผู้อื่นเก่งเราก็ยินดี เห้นเขาได้ดีเราก็ชื่นใจทรงพรหมวิหารสี่เอาไว้ให้เป็นปกติของใจ

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งพุทธภูมิหากเจริญพรหมวิหารสี่ไม่เป็นนี่ยังใช้ไม่ได้ ไม่นานก็ลาพุทธภูมิ เพราะกำลังไม่พอ

    แต่ถ้าระดับพระโพธิสัตว์แล้ว ทรงอารมณ์อยู่ในเมตตาฌานเป็นปกติ

    ปรารถนาแต่จะโปรด จะสงเคราะห์ผู้อื่นอยู่ตลอดเวลาเป็นสำคัญ ได้โอกาสก็สร้างบารมีกันตลอดทุกขณะจิต ใครจะว่าร้ายอย่างไรไม่สน ใครจะรู้ใครจะเห็น ใครจะไม่รู้ไม่เห็นก็ไม่สนใจทำความดีบำเพ็ยบารมีแต่ถ่ายเดียว


    ดังนั้นหากมีอุปสรรคประการใด จะหนักหนาสาหัสเพียงไหน กำลังใจเป็นสิ่งสำคัญ เขาต้องการวัดกำลังใจของเรา มีท้อได้ แต่อย่าถอย มีล้มได้ แต่จงลุกขึ้นสู้ใหม่

    เมื่อมีอุปสรรคจงสร้างกำลังใจ(บารมี)เอาไว้ว่า ยิ่งเจออุปสรรคใดๆก็ตาม ยิ่งบาดเจ็บเพียงไรก็ตาม เราจะยิ่งเข้มแข็งขึ้นเป็นทวีคูณ ยิ่งแข็งแกร่งขึ้นเป็นทวีคูณ ยิ่งสร้างบารมีขึ้นมากเป็นทวีคูณ ยิ่งฉลาดยิ่งทรงประสิทธิภาพขึ้นอีกทวีคูณ ทำตัวให้เหมือนดาบ ยิ่งถูกตี ถูกเผา ถูกลับ ก็ยิ่งแข็งแกร่ง ยิ่งแหลมคม จิตใจเราก้เช่นกัน ยิ่งถูกทดสอบกำลังใจเราก็ยิ่งแกร่งเป็นเพชร มั่นใจมั่นคงในเส้นทางแห่งความดีตลอดไป


    ขอให้กำลังใจ(บารมี)จงหล่อหลวมรวมเต็มในดวงจิตดวงใจของทุกท่าน ให้ชนะต่ออุปสรรคทั้งปวงได้อย่างง่ายดาย ฟันฝ่าปัญหาทั้งปวงไปได้ด้วยจิตใจที่เข้มแข็งมั่นคงในสัมมาทิษฐิด้วยเทอญ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ตุลาคม 2007
  6. marine24

    marine24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    2,223
    ค่าพลัง:
    +15,633
    ผมโดนเต็มๆทุกรูปแบบ ฝ่ายที่เล่นงานผม ว่า มัน(ตัวผม) แมว 9 ชีวิต ทั้งถอดน็อตยึดจานเบรคหลัง และยังตัดสายเบรคหน้า 2 ครั้ง รถมอเตอร์ไซค์ มันก็ยังรอดตายไปได้ พวกไปแจ้งความหลอกตำรวจทหาร บอกผมเป็นมือปืน โจรบ้าง ปากฏฝ่ายที่เล่นงานผมรถคว่ำบ้าง เข้าโรงพยาบาลบ้าง บ้านแตกสาแหรกขาดบ้างวิบัติไปตามกัน
     
  7. aonlin

    aonlin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2006
    โพสต์:
    199
    ค่าพลัง:
    +1,608
    เพิ่งได้เข้ามาอ่านกระทู้นี้เองค่ะ วันนี้ได้ทำตามทำตามที่คุณ kananun
    ได้โพสท์ไว้เกี่ยวกับการชำระล้างจิต และการพลิกจิตสู่จิตระดับสูง
    ช่วงที่นั่งสมาธิแล้วทำตามขั้นตอนนั้น ได้กลิ่ิน ซึ่งบอกไม่ได้ว่าเป็นกลิ่นอะไร กลิ่นจะคล้ายๆธูปผสมกับอะไรบางอย่าง
    ได้กลิ่นหลายครั้งมากๆค่ะ โดยช่วงแรกนั้น ตกใจ และจิตเริ่มวอกแวกมาอยู่ที่จมูก แต่สุดท้ายก็กลับมามีสมาธิดังเดิมและทำตามที่ตั้งใจไว้จนเสร็จ

    ที่จริงเคยได้กลิ่นแบบนี้มาแล้ว ครั้งสองครั้ง ในการนั่งสมาธิในวันก่อนๆ แต่ตอนนั้นคิดว่าเป็นอุปาทาน มาวันนี้ ได้กลิ่นนี้ แทบจะตลอดการนั่งสมาธิ
    จึงรู้ว่าไม่ได้คิดไปเอง เลยมาเล่าสู่กันฟังค่ะ
     
  8. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    สวัสดีครับผมพึ่งหายจากไข้หวัดมาได้ไม่นาน ระหว่างนั้นไม่สามารถหายใจทางจมูกได้เลย อยากจะเรียนถามว่าถ้าผมจะหายใจทางปากจะสามารถจับเป็นอานาปานสติได้เหมือนกันไหมครับ ขอบพระคุณครับ
     
  9. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    พอได้ครับสำหรับการหายใจทางปาก แต่จะมีอารมณ์ฝืนอยู่นิดๆครับ จุดสำคัญคืออุบายในการทำจิตให้เป็นสมาธิ


    ต้องค่อยๆทำไปจนจิตเบาสบายครับ
     
  10. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    สำหรับพี่มารีนนั้น พี่ๆน้องๆทุกๆท่านในเวบขอเป็นกำลังใจให้พี่เสมอครับ

    วันอาทิตย์ได้คุยกับพี่ทศพรและพี่เกษมก็ได้พบว่ามีเพื่อนพุทธภูมิอีกท่านหนึ่งที่ประสบกับการถูกใส่ร้าย ทำร้ายในรูปแบบเดียวกันกับพี่ครับ จะเอากันถึงตายเช่นกัน

    ไม่ว่าอย่างไรผมเชื่อในเรื่องบุญรักษา พระคุ้มครอง เทวดาผู้พิทักษ์ผู้ปฏิบัติธรรมครับ

    ขอให้เรามั่นคงในคุณความดีตลอดไปเป็นสำคัญครับ วิบาก อุปสรรค ไม่อาจทำให้เราเปลี่ยนจากความตั้งมั่นในการทำความดีได้ เป็นกำลังใจปรมัตถะบารมีครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2007
  11. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    <TABLE class=tborder id=post768751 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>aonlin<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_768751", true); </SCRIPT>
    ทีม เสียงพระธรรมเทศนา

    วันที่สมัคร: Sep 2006
    ข้อความ: 56 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    ได้ให้อนุโมทนา 343 ครั้ง
    ได้รับอนุโมทนา 347 ครั้ง ใน 55 โพส <!-- End Post Thank You Hack -->
    พลังการให้คะแนน: 54 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG]

    </TD><TD class=alt1 id=td_post_768751 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- icon and title -->[​IMG]
    <HR style="COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->เพิ่งได้เข้ามาอ่านกระทู้นี้เองค่ะ วันนี้ได้ทำตามทำตามที่คุณ kananun
    ได้โพสท์ไว้เกี่ยวกับการชำระล้างจิต และการพลิกจิตสู่จิตระดับสูง
    ช่วงที่นั่งสมาธิแล้วทำตามขั้นตอนนั้น ได้กลิ่ิน ซึ่งบอกไม่ได้ว่าเป็นกลิ่นอะไร กลิ่นจะคล้ายๆธูปผสมกับอะไรบางอย่าง
    ได้กลิ่นหลายครั้งมากๆค่ะ โดยช่วงแรกนั้น ตกใจ และจิตเริ่มวอกแวกมาอยู่ที่จมูก แต่สุดท้ายก็กลับมามีสมาธิดังเดิมและทำตามที่ตั้งใจไว้จนเสร็จ

    ที่จริงเคยได้กลิ่นแบบนี้มาแล้ว ครั้งสองครั้ง ในการนั่งสมาธิในวันก่อนๆ แต่ตอนนั้นคิดว่าเป็นอุปาทาน มาวันนี้ ได้กลิ่นนี้ แทบจะตลอดการนั่งสมาธิ
    จึงรู้ว่าไม่ได้คิดไปเอง เลยมาเล่าสู่กันฟังค่ะ
    <!-- / message --></TD></TR><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">[​IMG] [​IMG]<SCRIPT type=text/javascript> vbrep_register("768751")</SCRIPT> [​IMG] [​IMG] </TD><TD class=alt1 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right><!-- controls --><TABLE id=table1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=left><!-- Start Post Groan Hack -->[​IMG] <!-- End Post Groan Hack --></TD><TD><!-- Start Post Thank You Hack -->[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>


    กลิ่นหอมที่ได้สัมผัสนั้นเป็นกลิ่นของเทวดาพรหมและพระที่ท่านเมตตามาสงเคราะห์ให้เราเกิดกำลังใจในการปฏิบัติธรรมครับ

    แสดงว่าเราเดินมาถูกทางแล้ว

    สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัตตัง รู้เห็นได้ด้วยตนเอง ปฏิบัติได้และจะทราบได้ด้วยตนเองครับ

    กำลังความก้าวหน้าในการปฏิบัติมีผลมาจากบุญที่เราเคยได้ทำมาในอดีตชาติครับ

    ขอโมทนาบุญกับความก้าวหน้า ความเจริญในธรรมด้วยครับ
     
  12. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,696
    ค่าพลัง:
    +51,932
    *** ความดี ****

    ขอให้ทุกคนมี "สัจจะ" นำตนเอง
    ในการ
     
  13. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,696
    ค่าพลัง:
    +51,932
    *** สอนคน สอนตน ****

    สอนอะไร...ไม่เท่า สอนคนให้มี สัจจะ
    จะสอนสัจจะใครได้....ต้องสอนตนเองให้มีสัจจะก่อน

    -" หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  14. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,696
    ค่าพลัง:
    +51,932
    *** ความดี ไม่ได้ทำกันง่ายๆ ****

    *** ทำดี ****

    คน ๒ คน...ตั้งใจทำดีเหมือนกัน
    มีเจตนาทำดี... เหมือนกัน
    แต่ผลการกระทำ....ไม่เหมือนกัน

    คนหนึ่ง...มีผลการกระทำแบบ "ตามใจ"
    คือ ทำบ้าง ลืมตัวบ้าง นึกได้ก็ทำ เผลอตัวหลายครั้ง ขี้เกียจก็ไม่ทำ อยากทำจึงทำ
    ผลการกระทำ ในแต่ละวินาทีที่ผ่านไป...จึงไม่เที่ยง
    ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง...สลับกันไป

    อีกคนหนึ่ง... มีผลการกระทำด้วย "สัจจะ"
    คือ ตั้งใจทำดีในสิ่งหนึ่งที่เป็นไปได้จริง ในเวลาที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน
    ผลการกระทำ ที่ผ่านไปแต่ละวินาที....จึงเต็มไปด้วยความตั้งใจจริง ควบคุมอย่างจริงจัง
    ผลการกระทำที่ได้... จึงสามารถทำได้จริงตามตั้งใจ.... เกิดเป็น "กรรมเที่ยง"

    สองคน...ผลการกระทำต่างกันโดยสิ้นเชิง
    - คนหนึ่ง....ผลการกระทำไม่เที่ยง....กรรมจึงไม่เที่ยง...
    ชีวิตอนาคต จึงต้องพบทุกข์ๆ สุขๆ สลับไปเรื่อย ไม่รู้จบ
    - อีกคนหนึ่ง...ผลการกระทำเที่ยงด้วย "สัจจะ"...กรรมจึงเที่ยง
    ชีวิตต่อไป...จึงค่อยๆ ดีขึ้นเรื่อย ... เพราะ นิสัยจะค่อยๆ เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น
    อนาคตชีวิต ก็จะมีความสุขมากกว่าความทุกข์
    เพราะ เขาจะควบคุมตนเองให้กระทำความดีอย่างจริงจัง ด้วย "สัจจะ"


    ขอเชิญทุกท่านมีส่วนร่วมใน
    .......โครงการ "สัจจะทำดีวันละข้อ ถวายพ่อหลวง".......

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    ความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นสิ่งที่ติดอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน

    ไม่มีใครที่ตัดมันขาดเลย ความโลภความโกรธความหลง ถ้ามีมากเกินก็เรียกว่าไม่เจียม เจ็บไม่จำ แล้วเรารู้สึกไหมว่าคนประเภทเหมือนคนที่หน้ามืดตาบอด เหมือนคนที่ทำร้ายตัวเอง

    เราจะเทียบให้ง่ายๆ คนที่โลภ โกรธ หลง เหมือนอะไร

    ถ้าเทียบกับธรรมชาติ ความโกรธ เหมือนฟ้าผ่าเปรี้ยง เสียงมาก่อนตัวทุกที เวลาคนโมโหเสียงมาก่อนตัวไหม บางทีไม่ได้ยินเสียงก็รู้ว่าตอนนี้แม่โกรธอยู่ เสียงยังไม่มาแต่รู้เลยว่าโกรธมาแต่ไกล แล้วแม่ค่อยมาปรากฏตัว

    ดังนั้นเขาจึงบอกว่าความโกรธเหมือนฟ้าผ่า

    หรือบางคนอาจจะเปรียบความโกรธเหมือนไฟ เข้าใกล้ใครก็เป็นจุล ไหม้ไปหมด แต่ในความโกรธนั้นสามารถฝึกตัวเราได้อย่างหนึ่ง ถ้าเขาโกรธแล้วเราไม่โกรธตอบเราจะเป็นผู้ชนะที่ชนะเหนือสงครามใดๆ ในโลก เพราะเราชนะตัวเอง ช่วงที่เขาโกรธอยู่นั้นเราพยายามข่มใจไม่โกรธตอบเราจะสามารถสร้างคุณให้เขาได้ด้วยแต่ช่วงที่เขาโกรธแล้วเราโกรธตอบ เราชั่วยิ่งกว่าเขา

    ฉะนั้น ช่วงนั้นจะเป็นช่วงที่วัดตัวเรา ว่าเราจะดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับว่า จะขุดตัวเองฝังลงไปหรือว่าจะฉุดตัวเองให้ตื่นขึ้น นี่คือโทษของความโกรธ และในโทษของความโกรธนั้นยังก่อให้เกิดอะไรอีกมาก โทษของความโกรธ จะก่อให้เกิดการเวียนว่ายตายเกิดไม่รู้จักกี่กัปกี่กัลป์ถ้าเราไม่รู้จักเลิกโกรธเขาได้เพราะว่าฆ่ามาแล้วฆ่าตอบ โกรธมาแล้วโกรธตอบ ร้ายมาแล้วร้ายตอบท่านจะอยู่ในวังวนแห่งวัฏฏะไม่จบไม่สิ้น ท่านก็จะต้องติดอยู่แต่ในความโกรธนั้น แต่ความโกรธก็สามารถฝึกตัวเราได้อย่างหนึ่ง ถ้าเขาโกรธแล้วเราไม่โกรธตอบ โกรธมาเราเย็นตอบ ร้ายมาเราดีตอบอยากตัดภพตัดชาติไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดก็ต้องอย่าโกรธตอบอย่าร้ายตอบ แม้เขาจะร้ายมา โกรธมา จำไว้นะ

    ต่อไป ความโลภ เหมือนอะไรในธรรมชาติ

    เหมือนฝนไหม ฝนตกน้อยๆ เรารู้สึกยินดี ความโลภเวลาโลภน้อยๆ โลภพอแต่เพียงรู้จักเย็นสบายใจ ทำให้เราอยู่ได้ แต่ถ้าอยากมากเกินไป อยากจนเบียดเบียนคนอื่น มักจะเกิดภัยพิบัติ สังเกตสิว่าคนที่อยากมากๆ แล้วไม่สนใจผู้อื้นก็มักจะทำร้ายคนได้เจ็บปวดเพราะความอยากจริงไหม ก็เหมือนกับฝนตกพรำๆ ตกเล็กๆ น้อยๆ มักจะทำให้โลกชุ่มชื่นใครๆ ก็สดชื่นไปด้วย แต่ถ้าตกหนักๆ ไม่มีวันหยุด อยากแบบไม่รู้จักพอ ตกทั้งคืนทั้งวัน เกิดภัยไหม เรียกว่า (ภัยพิบัติ)

    สุดท้ายตอบให้ฟังหน่อย ความหลง เหมือนอะไรในธรรมชาติ

    เหมือนหิมะ เหมือนไหม หิมะชอบตกมืดๆ ตกตอนเย็นๆ ตกแล้วทำให้มองอะไรไม่เด่นชัด แต่ดูเหมือนชัด ขาวๆ ไปหมด แล้วยิ่งถ้าเข้าไปเล่นด้วยอาจทำให้เราตายทั้งเป็นได้ สังเกตดูว่าคนที่ตายในหิมะยังดูสวยอยู่เลยจริงไหม คนที่ตายเพราะความหลงก็ยังดูสวย แต่ตายแล้วตายทั้งเป็นคิดให้ดีๆ นะเพราะว่ามนุษย์ตายเพราะความโลภ โกรธ หลงมานักต่อนักแล้ว อาจจะไม่ถึงตายแต่ก็เจ็บปางตาย ใช่หรือไม่

    เราก็รู้วิธีหยุดความโกรธแล้ว ความโลภเล่าจะหยุดอย่างไรง่ายๆ

    แค่สองประโยคคือ พอใจในสิ่งที่มี ยินดีกับสิ่งที่ได้รับ ถ้าทำสองอย่างนี้ได้ เราจะลดความโลภได้ หรือให้รู้จัก “สมถะ” เพราะเมื่อรู้จักสมถะ ความโลภก็จะไม่ครอบงำตัวเราได้

    แต่ ความหลงนี่จัดการยาก เพราะว่ามนุษย์เกิดขึ้นมาด้วยความรัก แล้วถูกหล่อเลี้ยงมาจากความรัก

    เราเติบโตเป็นตัวเป็นตนได้เพราะความรักของพ่อแม่ มนุษย์ตั้งแต่ตอนเป็นเด็กแรกเกิดก็อยากได้ความรัก ถึงแม้พ่อจะกอดแล้ว แม่จะกอดแล้ว ลูกก็ยังร้องไห้ อยากให้กอดอีกนานๆ ยิ่งแม่กอดด้วยให้นมลูกไปด้วย ลูกก็ยิ่งนอนหลับอย่างสบายใช่ไหม แม้แต่ตอนนี้แก่แล้ว ถามจริงๆ ยังอยากได้ความรักไหม(อยาก) ถูกหล่อเลี้ยงมาด้วยความรัก แล้วก็อยากให้มีความรักนั้นฟูมฟักอยู่ แต่ผลสุดท้ายก็ต้องตาย เพราะรัก เพราะอะไรถึงตายเพราะรักเพราะท้ายที่สุดชีวิตของมนุษย์ก็ต้องพลัดพรากจากสิ่งที่รัก

    ถูกหรือไม่เพราะรักเป็นจึงหลงได้ ถ้ารักไม่เป็นก็หลงไม่ได้ ฉะนั้น จงแยกให้ออกระหว่างรักกับหลง เมื่อรักแล้วเหมือนพ่อแม่รักลูก แต่ก็ยังรู้ว่าลูกมีอะไรดีอะไรไม่ดี แต่หลงนั้นแยกไม่ออกว่าอะไรดีอะไรไม่ดี รู้แต่เพียงว่าเขาดี เขาสวย อย่างเดียว

    ท่านแปดเซียนเหอเซียนกู
    สถานธรรมหงเต้า จ.เชียงราย
    4 มิถุนายน 2547
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช

    ถาม: ดิฉันสนใจการปฏิบัติธรรมค่ะ เพิ่งจะเริ่มต้น ไม่ทราบว่าจะเริ่มอย่างไรดีคะ?

    ฟังธรรมะฟังบ่อยๆ หน่อย
    ฟังธรรมะที่หลวงพ่อพูดแล้วหัดสังเกตสภาวะในใจเรา
    บางทีเราฟังอยู่ ใจแอบไปคิดเรื่องอื่นก็มี
    ฟังๆ อยู่ใจเราเงียบๆ ไป หรือใจเราฟุ้งซ่าน
    ใจเราคิดมากกว่าเก่า ใจเราสงบ ใจเราสบาย อะไรอย่างนี้
    ให้คอยดูความเปลี่ยนแปลงของใจไปเรื่อยๆ

    ฟังธรรมะที่หลวงพ่อพูดอย่าฟังไปคิดไป
    ธรรมะรู้ไม่ได้ด้วยการคิด
    ธรรมะเป็นเรื่องเฉพาะตัว ที่เจ้าตัวต้องเข้าไปรู้ไปเห็นด้วยตัวเอง
    ธรรมะเรียนที่ไหน? ที่กายที่ใจของเราเอง อย่าเรียนธรรมะที่อื่น
    อย่างธรรมะมาฟังครูบาอาจารย์พูด มันก็ธรรมะของครูบาอาจารย์ ไม่ใช่ของเรา
    ธรรมะของเราเกิดจากการที่เราไปคอยรู้กายรู้ใจตัวเองบ่อยๆ
    อย่าใจลอย รู้จักใจลอยมั้ย? คนเราจะใจลอยไปทั้งวันนะ
    ขณะที่เราใจลอยไป เราจะลืมตัวเอง ลืมกายลืมใจ

    ศัตรูสำคัญอีกอันหนึ่งของนักปฏิบัติคือการ เพ่ง เอาไว้
    พวกที่เคยปฏิบัติเกือบทั้งหมดจะติดการเพ่ง
    ไปบังคับใจให้นิ่งๆ เฉยเมย ทำเฉย ไม่มีความรู้สึก
    ใครด่า ใครชมก็เฉย มันแกล้งทำ มันไปข่มไว้
    มันไปกำหนดไว้ มันไปควบคุมไว้ ไปบังคับเอาไว้
    คนที่ไม่เคยปฏิบัติ หลง ลูกเดียว หลงไปเรื่อยๆ
    พวกนักปฏิบัตินะ ถ้าไม่หลงไปก็เพ่งเอาไว้
    โดยเฉพาะความพยายามจะให้มีสติต่อเนื่อง ความพยายามจะให้สติเกิด
    สติจะไม่เกิดหรอก สติไม่ได้เกิดจากความพยายาม

    อย่างเป็นต้นว่าเราพยายามไปขยับนิ้ว จะให้รู้สึกตัว
    ความรู้สึกตัวจริงๆ จะไม่เกิดขึ้น
    ความรู้สึกตัว หรือ สติ เกิดไม่ได้ด้วยการบังคับให้เกิด
    เพราะฉะนั้น บางคนเดินจงกรม พยายามกระแทกเท้าแรงๆ จะไม่ให้ขาดสติ
    จะหยิบจะจับอะไร เพ่งใส่มือแรงๆ ไม่ให้จิตเคลื่อนไปจากมือ
    จ้องไว้ๆ จะไม่ให้ขาดสติ นั่งขยับนิ้ว ขยับมือ นั่งเคาะ นั่งทำจังหวะ หวังว่าจะไม่ขาดสติ
    สติไม่ได้เกิดด้วยวิธีนั้น สติไม่ได้เกิดจากการบังคับ ไม่มีใครสั่งสติให้เกิดได้
    สติเป็นอนัตตา ถ้ามันมีเหตุ สติถึงจะเกิด
    คือ เราต้องศึกษาว่าอะไรเป็นเหตุให้เกิดสติ
    ไม่ใช่นึกเอาเองว่าบังคับไปเรื่อย จ้องๆ เอาไว้ แล้วจะไม่ขาดสติ
    แค่อยากจะไม่ขาดสติ ตรงนั้นน่ะ ขาดสติแล้ว แค่อยากจะปฏิบัติก็ขาดสติแล้ว
    ความอยากมันเกิดขึ้นมาครอบงำจิตใจ
    เกิดพฤติกรรมทางกายทางใจ ที่เรียกว่า "การปฏิบัติ"
    เป็นพฤติกรรมที่บังคับตัวเองทั้งนั้น
    เพราะฉะนั้นนักปฏิบัติก็คือนักบังคับตัวเอง

    แต่ถ้าเราหัดรู้จักสภาวะ ถ้าจิตมันรู้จักสภาวะแล้ว สติจะเกิดเอง
    เพราะการที่จิตจำสภาวธรรมได้แม่นยำนี่แหละ เป็นเหตุให้เกิดสติ
    ถ้าเราไม่รู้ว่าอะไรเป็นเหตุให้เกิดสติ เราก็พยายามถูลู่ถูกัง จะให้มีสติ
    มันไม่มีหรอก มันมีไม่ได้ เหมือนเราอยากได้มะม่วงแล้วไปทำนา มันไม่ได้มะม่วงหรอก
    อยากมีสติก็ต้องทำเหตุของสติ แล้วสติเกิดเองเมื่อมันมีเหตุ หัดรู้สภาวะไปเรื่อยๆ


    ถาม: สิ่งที่สำคัญในการปฏิบัติธรรมคืออะไร
    คือการพยายามทำความสงบหรือเปล่าคะ
    ถ้าหากเราพยายามทำจิตใจให้สงบมากๆ
    เราก็จะได้ความสงบ ความสุขอย่างถาวรใช่หรือไม่คะ?

    เครื่องมือสำคัญในการปฏิบัติธรรมคือ สติ
    สติเป็นความระลึกได้ ถึงกายถึงใจตัวเอง
    ต้องกายกับใจของเราเองด้วยนะ ไประลึกสิ่งอื่นไม่ได้
    ทำไมเราต้องมาระลึกรู้กายรู้ใจตัวเอง?
    เพื่อวันหนึ่งจะได้เกิดปัญญา เห็นความจริงว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา
    ถ้ามีปัญญาเห็นอย่างนี้ ได้โสดาบัน
    มารู้กายรู้ใจต่อไปจะเห็นเลยมันไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ล้วนๆ มันบังคับไม่ได้
    ถึงจุดสุดท้าย จะปล่อยว่างความยึดถือกาย ปล่อยวางความยึดถือใจ
    เป็นเรื่องกายกับใจตลอดสาย คนที่ปล่อยวางความยึดถือใจได้เรียกว่า พระอรหันต์
    ทีนี้เราต้องรู้กายรู้ใจจนเห็นความจริงของกายของใจ
    การเห็นความจริงเรียกว่า ปัญญา
    รู้ความจริงของกายของใจว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวเรา
    นี่คือทางที่เราจะต้องเดินไปสู่จุดนี้ จะเห็นความจริงของกายของใจ

    เครื่องมือที่จะทำให้เราเห็นความจริงของกายของใจเรียกว่า สติ
    สติระลึกรู้กาย สติระลึกรู้ใจ เรียกว่า สติปัฏฐาน
    สติทั่วๆ ไปก็ไประลึกรู้อารมณ์ที่เป็นกุศลทั่วๆ ไป
    แต่สติปัฏฐานนี่ระลึกรู้กายระลึกรู้ใจตัวเอง
    รู้ไปเรื่อย จนวันหนึ่งเห็นว่าตัวเราไม่มี กายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา

    สติเกิดเพราะว่าจิตจำสภาวะได้
    สติจะระลึกรู้กายได้ถ้าสติเคยรู้จักกาย กายเคลื่อนไหวสติจะเกิดเอง
    ถ้าสติจำสภาวะที่เป็นนามธรรมได้
    พอนามธรรมเกิด สติจะเกิดเอง ไม่มีใครสั่งให้เกิดได้
    เพราะฉะนั้น หน้าที่ของเราต้องหัดรู้สภาวธรรม
    นี่คือจุดตั้งต้นของการปฏิบัติทั้งหมดเลย

    หัดรู้สภาวะไปเรื่อยๆ ถึงจุดหนึ่งสติจะเกิดเอง
    หัดอะไรยังไม่ถูก ฟังซีดีหลวงพ่อไปเรื่อยๆ นะ แล้วสติจะเกิด
    คนที่ฟังซีดีหลวงพ่อ ฟังแล้วฟังอีก ฟังไปเรื่อยๆ
    สติเกิดขึ้นมามีหลายร้อยคนแล้วนะ นับไม่ถูกแล้ว
    เพราะหลวงพ่อพูดธรรมะมีแต่เรื่อง ความรู้สึกตัว ทั้งหมดเลย

    หรือจะเริ่มต้นด้วยการทำกรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
    ใครเคยพุทโธก็พุทโธไป ใครเคยรู้ลมหายใจก็รู้ลมหายใจไป
    ใครเคยดูท้องพองยุบก็ดูไป แต่ไม่ใช่ดูแบบที่เคยดูกันมา
    ส่วนใหญ่เรารู้ลมหายใจ เราก็ไปเพ่งลมหายใจ ไปดูท้องพองยุบ ก็ไปเพ่งท้อง
    ไปขยับร่างกายขยับมืออะไรอย่างนี้ ขยับเท้าเดินจงกรม ก็ไปเพ่งใส่มือใส่เท้า
    ดูอิริยาบถ ๔ เพ่งกายทั้งกาย มีแต่เรื่องเพ่งทั้งหมดเลย อย่างนั้นใช้ไม่ได้นะ ได้แค่สมถะ
    ต้องหัดรู้สภาวะ เบื้องต้นทำอารมณ์กรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาก่อน
    รู้ท้องก็ได้ รู้มือก็ได้ รู้เท้าก็ได้ รู้ลมก็ได้ บริกรรมก็ได้ พุทโธๆ ไป
    เสร็จแล้วก็หัดรู้ทันจิตใจของตัวเองที่เปลี่ยนแปลง

    เช่น เราหายใจเข้า หายใจออก คอยรู้สึกไป
    หายใจไปสักพักหนึ่ง จิตไปเพ่งลมหายใจแล้ว
    จิตไหลไปเพ่ง ให้รู้ทันสภาวะของการเพ่ง
    ตอนนี้เพ่งแล้ว หรือหายใจไปๆ จิตไปคิดเรื่องอื่น ให้รู้ทันว่าจิตหนีไปคิดแล้ว
    หายใจไปๆ จิตชักเคลิ้มๆ ลืมเนื้อลืมตัว ให้รู้ทันว่าจิตใจชักเคลิ้มๆ แล้ว
    หายใจไปแล้วเกิดมีปีติขึ้นมา ขนลุกขนพอง จิตใจขยับไปขยับมา มีปีติก็รู้ทันว่ามีปีติ
    หายใจแล้วเกิดความสุข รู้ว่ามีความสุข หายใจแล้วใจเป็นกลางๆ รู้ว่าเป็นกลางๆ
    หายใจไปแล้ววันนี้ฟุ้งซ่านไม่ยอมสงบเลย ให้รู้ว่าฟุ้งซ่าน ไม่ใช่หายใจให้สงบนะ
    หายใจแล้วก็หัดรู้สภาวะไปเรื่อยๆ นี่พวกหายใจนะ

    พวกดูท้องพองยุบก็อย่างเดียวกัน ดูท้องพองยุบแล้วอย่าไปเพ่งอยู่ที่ท้องนิ่งๆ
    เกือบทั้งหมด เกือบร้อยละร้อยคือไปเพ่งอยู่ที่ท้องแล้วก็บริกรรมไปด้วย นี่สมถะ
    ตราบใดที่ยังบริกรรมอยู่ตราบนั้นยังเป็นสมถะอยู่ เพราะวิปัสสนาต้องพ้นจากความคิด
    ทีนี้เราลองใหม่ เราลองดูท้องพองยุบไป จิตเราแอบไปคิดเรื่องอื่นเราก็รู้
    จิตเราไปคิดเรื่องพองเรื่องยุบเราก็รู้ จิตไหลเข้าไปเกาะอยู่ที่ท้องเราก็รู้
    จิตเป็นสุขจิตเป็นทุกข์ จิตสงบจิตฟุ้งซ่านคอยรู้ไปเรื่อยๆ
    จิตมีปีติขนลุกขนพองขึ้นมาก็รู้ จิตมีความสุขก็รู้ จิตเฉยๆ เป็นอุเบกขาก็รู้
    จิตใจเป็นยังไงคอยรู้ไปเรื่อยๆ นี่คือการหัดรู้สภาวะ

    คนไหนขยับมืออย่างสายหลวงพ่อเทียนก็ขยับไป
    ขยับแล้วจิตไหลไปเพ่งอยู่ในมือก็รู้ทัน ขยับแล้วจิตหนีไปคิดเรื่องอื่นก็รู้ทัน
    หัดรู้สภาวะอย่างนี้นะ ที่มาใหม่ๆ หัดรู้สภาวะไปเรื่อยๆ จนจิตจำสภาวะได้
    ไม่ใช่เราจำได้นะ จิตเขาจำได้ของเขาเอง
    ถ้าเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีกจิตถึงจะจำได้
    พอจิตจำได้แล้ว พอสภาวะอันนั้นเกิด สติจะเกิดเอง
    เพราะสติเกิดจาก ถิรสัญญา ถิรสัญญาคือการที่จิตจำสภาวะได้แม่น
    จิตจำได้แม่นเพราะจิตเห็นบ่อยๆ

    เพราะฉะนั้น หน้าที่ของเราผู้ปฏิบัติเบื้องต้น
    ทำกรรมฐานขึ้นมาอันหนึ่ง แล้วหัดรู้สภาวะบ่อยๆ
    จิตหนีไปคิดก็รู้ จิตไปเพ่งก็รู้ จิตเป็นสุขเป็นทุกข์
    จิตมีความโลภ ความโกรธ ความหลง อะไรหัดรู้ไปเรื่อยๆ
    ทุกวันๆ แบ่งเวลาไว้ส่วนหนึ่ง วันละ ๕ นาที ๑๐ นาที ครึ่งชั่วโมงอะไรก็ได้
    ทำกรรมฐานแล้วก็หัดรู้สภาวะไป ทีนี้พอจิตจำสภาวะได้ แล้วต่อไปเราไม่ได้จงใจนะ

    เช่น เราเห็นหน้าเพื่อนเดินมา
    พอเห็นเพื่อนเดินมา ความดีใจเกิดขึ้น แล้วสติจะระลึกได้เลยว่าดีใจแล้ว
    สติคือความระลึกได้ พวกเรารุ่นหลังไปแปลสติว่า "กำหนด"
    สติไม่ได้แปลว่ากำหนด พระไตรปิฎกไม่ได้แปลสติว่ากำหนด
    สติ คือ ความระลึกได้
    เช่น เห็นหน้าเพื่อนมาแล้วมันดีใจ ระลึกได้
    คือรู้ทันเลยว่าตอนนี้มันดีใจขึ้นมาแล้ว
    ความดีใจเกิดขึ้นก่อน แล้วรู้ว่าดีใจ อย่างนี้เรียกว่าระลึกได้
    เสร็จแล้วก็อยากไปคุยกับเพื่อน เห็นเลยว่าอยากไปคุยกับเขา อยากไปทักทาย
    เห็นแล้วก็ไปทักทายไปคุยกัน คุยไปคุยมามันขัดคอ จากดีใจเป็นโมโหแล้ว
    สติระลึกได้ว่าความโกรธเกิดขึ้นแล้ว นี่ให้คอยระลึกไปอย่างนี้ทั้งวัน
    ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจของเรา กระทบอารมณ์ไปตามธรรมชาติ
    ไม่หนีการกระทบอารมณ์ ไม่หลีกเลี่ยงการกระทบอารมณ์
    แต่พอกระทบอารมณ์แล้วจิตใจของเราเกิดความรู้สึกอะไรขึ้นมา
    ให้คอยตามรู้ไปเรื่อยๆ ตามรู้นะอย่าไปดักไว้ก่อน
    ให้ตามรู้ไปเรื่อยๆ เราจะเห็นเลย จิตใจเดี๋ยวก็สุข จิตใจเดี๋ยวก็ทุกข์
    เดี๋ยวก็โลภ เดี๋ยวก็โกรธ เดี๋ยวก็หลง เดี๋ยวเศร้าหมอง เดี๋ยวหดหู่ นานาชนิด
    เดี๋ยวก็เบิกบานแจ่มใส นี่เราเห็นอย่างนี้เพื่อจะได้เห็นว่าทุกอย่างไม่เที่ยง

    ไม่ได้ฝึกเพื่อให้สงบถาวรให้สุขถาวร
    พวกเราหลายคนเข้าใจผิด พยายามปฏิบัติธรรมเพื่อจะให้มันสงบถาวรให้สุขถาวร
    ให้มันดี ไม่มีกิเลสถาวร ไม่ได้ฝึกเอาอย่างนั้นหรอก
    แต่ฝึกเพื่อให้เห็นกายเห็นใจเป็นไตรลักษณ์ ฝึกเพื่อให้เกิดปัญญา
    "บุคคลถึงความบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา" พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้

    เพราะฉะนั้นเราทำกรรมฐานเพื่อให้มันเกิดปัญญา
    ให้มันเข้าใจความเป็นจริงของกายของใจ เรียกว่า "ปัญญา"
    เพราะฉะนั้นเรารู้กายเรารู้ใจไปเรื่อย
    ดูจิตดูใจเราก็จะเห็นจิตใจเปลี่ยนแปลงทั้งวัน แต่ละวันก็ไม่เหมือนกัน
    ในวันเดียวกันแต่ละเวลาก็ไม่เหมือนกัน เช้าสายบ่ายเย็นไม่เหมือนกัน
    เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์
    นี่หัดดูเพื่อให้เห็นความจริงจนใจยอมรับความจริง
    ว่าทุกสิ่ง ความรู้สึกทุกอย่างที่เกิดขึ้น ล้วนแต่ดับทั้งสิ้น
    สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นดับไปเป็นธรรมดา
    พระโสดาบันเห็นตรงนี้เท่านั้นเอง

    ทีนี้เราปฏิบัติมันอ้อมค้อมไป เราไม่รู้ว่าเราทำอะไรเพื่ออะไร
    ส่วนใหญ่ทำไปโดยมุ่งหวังจะได้รับความสุขความสงบความดี
    มุ่งไปตรงนั้น ก็พยายามบังคับกายบังคับใจเรื่อยๆ ไป มันไม่ได้ปัญญา
    ถ้าอยากได้ปัญญาต้องรู้กายรู้ใจอย่างที่มันเป็น
    รู้ลงไป มันรู้ได้ก็เพราะว่าสติมันเกิด
    สติมันเกิดเพราะมันจำสภาวะได้ มันจำสภาวะได้เพราะหัดรู้สภาวะบ่อยๆ
    เพราะฉะนั้นทุกวันต้องหัดรู้สภาวะ แบ่งเวลาไว้ ๑๐ นาที ๑๕ นาทีอะไรอย่างนี้
    แล้วทำกรรมฐานอันหนึ่งขึ้นมา อะไรก็ได้แล้วแต่เราคุ้นเคย
    ทำกรรมฐานแล้วก็หัดรู้สภาวะไป หัดรู้จิตรู้ใจตัวเองไปบ่อยๆ
    ต่อไปแล้วสติจะเกิดในชีวิตประจำวัน
    พอสติเกิดจะไม่ต้องมาถามหลวงพ่อเลยว่าตื่น หรือไม่ตื่น

    ก่อนที่สติจะเกิด หลายคนมักจะได้ยินหลวงพ่อพูดว่า
    "ในโลกนี้ไม่มีคนตื่น ในโลกนี้มีแต่คนหลับคนฝัน"
    หัดใหม่ๆ มาฟังหลวงพ่อใหม่ๆ ไม่เข้าใจ นึกว่าหลวงพ่อแกล้งปรามาสลบหลู่เล่น
    หลวงพ่อพูดซื่อๆ นะ พูดอย่างจริงใจเลย
    ในโลกนี้ไม่มีคนรู้สึกตัวหรอก ถ้ารู้สึกตัวเป็นจริงๆ พระอริยะจะเต็มโลกแล้ว
    ทุกวันนี้กะพร่องกะแพร่งเต็มที มีแต่อริยะเถื่อนๆ เต็มไปหมด
    ภาวนาแล้ววูบๆ วาบๆ บอกเป็นพระอริยะ
    เพราะฉะนั้นอยากเป็นพระอริยะ ต้องมีสติขึ้นมา หัดรู้สภาวะ
    พอสติเกิด มันจะเห็นเลย ทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทุกอย่างเกิดแล้วดับ
    วันใดใจยอมรับความจริงว่า "สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นดับไปเป็นธรรมดา" นี่พระโสดาบัน
    เพราะฉะนั้นเรียนต้องเข้าเป้า ไม่ใช่เรียนอ้อมไปเรื่อย
    อาจารย์ให้รู้ลมหายใจก็รู้ไปเรื่อยๆ ไม่รู้ว่ารู้เพื่ออะไร
    อาจารย์ให้ดูพองยุบก็ดูไปเรื่อย ไม่รู้ว่าดูเพื่ออะไร
    หวังว่าวันหนึ่งมันจะดี มันต้องเทียบเข้ากับคำสอนของพระพุทธเจ้าให้ได้
    ศรัทธาเคารพครูบาอาจารย์ก็ดีแล้ว แต่อย่าลืมว่าเราเป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้า
    เราเป็นชาวพุทธต้องเรียน ศาสนาพุทธไม่ใช่เรื่องนึกเอาเอง หรือไม่ใช่เรื่องศรัทธา
    ศรัทธาหลวงพ่อก็มาฟังหลวงพ่อ ก็เชื่อหลวงพ่อ ก็โง่ตามหลวงพ่อ
    ธรรมะมันไม่ใช่เรื่องไปฟังคนอื่นได้
    ต้องมารู้กายมารู้ใจตัวเองจนเข้าใจความจริงของกายของใจนั่นแหละ เรียกว่าเข้าใจธรรมะ
    เพราะกายกับใจของเรานี่แหละเรียกว่าธรรมะ
    กายเรียกว่า รูปธรรม ใจเรียกว่า นามธรรม ธรรมะอยู่ที่นี่
    ธรรมะไม่ได้อยู่กับพระ ธรรมะไม่ได้อยู่ที่วัด ไม่ได้อยู่ตอนเข้าคอร์ส
    ธรรมะอยู่กับเราตลอดเวลา เราละเลยที่จะรู้ธรรมะของเราเอง
    มัวแต่เรียนธรรมะภายนอก วิ่งไปเรียนสำนักโน้นสำนักนี้อะไรอย่างนี้ มันไม่เข้าใจหรอก


    ถาม: ทำไมเมื่อเราปฏิบัติแล้วยิ่งรู้สึกว่ามีแต่กิเลสคะ
    กิเลสเยอะมากค่ะ เกิดขึ้นทั้งวันเลย มีวิธีไหนที่ช่วยให้มีกิเลสน้อยลงได้บ้างคะ?

    เวลาเราปฏิบัติเราไม่ได้ปฏิบัติเพื่อไม่ให้กิเลสเกิด กิเลสเกิดก็ได้
    แต่ว่ากิเลสเกิดแล้ว พอรู้แล้ว ก็ต้องเป็นกลางกับมัน
    อย่างใจจะปรุงกิเลส ปรุงโทสะอะไรนี่ห้ามไม่ได้
    มันปรุงขึ้นมาแล้ว พอสติเราไประลึกรู้แล้วเราอย่าทำอะไรต่อ
    ให้สักว่ารู้ สักว่าเห็น แล้วจบลงแค่รู้

    ไม่ใช่พอโทสะเกิดขึ้นมา เห็นปั๊บ หาทางแก้
    ตรงที่เราหาทางแก้นี่คือเราเข้าไปปรุงแต่งแล้ว
    ธรรมดาจิตมันจะปรุงแต่งกิเลสขึ้นมาไม่เป็นไร แต่เราอย่าไปปรุงแต่งจิต
    นักปฏิบัติส่วนมากที่ทำให้เนิ่นช้า ภาวนาแล้วไม่เกิดมรรคผลสักที
    เพราะชอบเข้าไปปรุงแต่งจิต ปรุงแต่งกาย
    ไปคิดถึงเรื่องปฏิบัติก็เริ่มเข้าไปปรุงแต่ง ไปบังคับกาย บังคับใจกันส่วนใหญ่

    แต่ถ้าเราปล่อยให้กาย ให้ใจ ให้ขันธ์ห้า เขาทำงานของเขา
    เราตามรู้ ตามดูไป อย่าเข้าไปแทรกแซงเขา
    ถ้าใจเราไม่ปรุงแต่ง ใจมันจะไม่ดิ้น ใจไม่ดิ้น ใจก็มีความสงบสุข
    เห็นขันธ์มันปรุงแต่งไป แต่ใจตั้งมั่นเป็นผู้รู้ ผู้ดู มีความสงบสุขอยู่
    ทีนี้ปัญญาจะเกิด จะเห็นเลยขันธ์นี้ทำงานได้เองทั้งวันทั้งคืน ขันธ์ไม่เที่ยง
    เราจะเห็นเลยขันธ์นี่เราบังคับไม่ได้ มันทำงานเอง บังคับไม่ได้ มันทำงานของมันได้เอง

    เราต้องปฏิบัติจนเราเห็นขันธ์ห้า เห็นกาย เห็นใจ เห็นรูป เห็นนาม
    มันเป็นความปรุงแต่ง มันก็ปรุงไปตามหน้าที่ของมัน
    ขันธ์ห้าเป็น สังขตธรรม ธรรมที่ยังปรุงแต่งอยู่
    ยังไม่ได้ไปฝึกให้มันไม่ปรุงแต่ง หลายคนพยายามไปฝึกให้มันไม่ปรุงแต่ง
    อย่างเช่น หาทางทำยังไงใจเราจะไม่คิดไม่นึก
    ไม่ได้ ใจต้องคิด ต้องนึก
    หน้าที่ของจิตใจต้องคิดต้องนึก ไม่ให้ไปแกล้งทำ
    ให้ขันธ์ห้าปรุงไป ให้จิตใจทำงานไป อย่าไปแทรกแซง
    ตรงนี้สำคัญ ที่เนิ่นช้าไม่เกิดมรรคเกิดผลก็เพราะเข้าไปแทรกแซง
    ไม่สักว่ารู้สักว่าเห็น ส่วนใหญ่พอความโกรธเกิดขึ้น ทำยังไงจะหายโกรธ
    ความเศร้าเกิดขึ้น ทำยังไงจะหายเศร้า
    แทนที่จะดูว่า ความโกรธเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ก็ดับไป
    ความเศร้าเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ก็ดับไป
    ธรรมทั้งหลายเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
    แทนที่จะเห็นอย่างนี้ เห็นทุกอย่างเกิดแล้วดับไป พยายามแทรกแซง
    พอความโกรธเกิด ก็แผ่เมตตาบ้าง พุทโธบ้าง โกรธหนอบ้าง พอหายไปเราก็ดีใจ
    ความโลภเกิดขึ้น หรือราคะเกิดขึ้น ก็พิจารณาอสุภะบ้าง
    พุทโธบ้าง หายใจบ้าง โลภหนอบ้าง หาทางแก้ไข

    ยิ่งเราขยันแก้ไข เราจะสะสมความเห็นผิดมากขึ้นๆ
    ฝึกไปจนแก่ชำนาญ เราจะรู้สึกว่าจิตใจนี้เป็นอัตตา เป็นของบังคับได้
    แทนที่จะเห็นว่าเป็นอนัตตา กลับไปเห็นว่าเป็นอัตตา
    ยิ่งเราฝึกทำสมาธิเยอะๆ เราบังคับจิตได้
    ยิ่งพอกพูนความเห็นว่า จิตเป็นของบังคับได้
    "วิปัสสนา" ไม่ใช่เรื่องการบังคับจิต ไม่ใช่เรื่องบังคับกาย
    แต่ให้รู้กายให้รู้จิต ตามความเป็นจริง


    ถาม: ช่วงที่ผ่านมา การปฏิบัติ ถ้าเปรียบเหมือนกราฟ
    มันจะขึ้นๆ ลงๆ เหมือนกับว่าบางช่วงก็ดี บางช่วงก็เหมือนกับว่า
    มันมีแบบเห็นชัดๆ บางช่วงก็ไม่ชัดอย่างนี้ครับ
    เปรียบเทียบเหมือนบางทีดูความฟุ้งดูไปเรื่อยๆ
    พอซักพักปุ๊บ มันก็เหมือนเงียบสงัดไปหมดเลย เป็นช่วง แต่แป๊บเดียวเอง
    โทสะก็มีเห็นชัดๆ บางทีก็มานึกว่า เอ๊ะ...ทำไมเป็นถึงขนาดนี้?

    อันนั้นแหละ จริงๆ แล้วเราร้ายกว่าที่เราคิด
    ถ้าเราภาวนาไม่เป็นนะ เราจะเป็นคนดี
    ภาวนาเป็นแล้วเรารู้เลย เราร้ายมากเลย กิเลสนี่เกิดทั้งวันเลย
    ของคุณพื้นฐานเดิมมันขี้โมโห ไม่งั้นไม่ขึ้นมาเยอะ
    แต่ว่าเราภาวนา ไม่ได้เอาดี ไม่ได้เอาสุข ไม่ได้เอาสงบ
    ภาวนาเพื่อเอาความจริง ให้เห็นเลย จิตนี้ เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็สงบ
    ดูอย่างนี้ เมื่อมันไปรู้ความดี ความร้าย ความสุข ความสงบ
    แล้วมันหวั่นไหว มันยินดียินร้าย ให้รู้ทันตัวนี้
    ในที่สุด ใจจะเป็นกลางกับทุกๆ สภาวะ
    พอรู้แล้วก็รู้สภาวะไปด้วยใจที่เป็นกลาง

    โดยธรรมดาของขันธ์นั้น ขันธ์เป็นสังขารธรรม
    เป็นสังขตธรรม เป็นธรรมะที่ยังปรุงแต่งอยู่
    เราจะห้ามขันธ์ไม่ให้ปรุงแต่งไม่ได้
    อย่างเราจะห้ามจิตไม่ให้ปรุงแต่งไม่ได้ เพราะจิตมีหน้าที่ปรุงแต่ง
    จิตชื่อว่าจิต เพราะมันวิจิตรนะ มันช่างปรุงแต่ง มันวิจิตรพิสดาร
    เราจะไปห้ามไม่ให้มันคิดนึกปรุงแต่งไม่ได้
    เราไม่ได้ปฏิบัติธรรมเพื่อทำให้ขันธ์ผิดไปจากธรรมชาติเดิม
    แต่เราจะรู้ความปรุงแต่งของขันธ์ โดยใจที่ไม่ปรุงแต่งเพิ่มเติม
    ตัวนี้สำคัญ ขันธ์มันปรุงแต่งโดยตัวของมันเองหรอก
    ร่างกายก็ปรุงแต่ง มีธาตุไหลเข้า มีธาตุไหลออก นี่มันก็ปรุงของมัน
    จิตใจก็ปรุงแต่ง เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย
    เดี๋ยวคิดโน่น เดี๋ยวคิดนี่ เดี๋ยวสงบ เดี๋ยวฟุ้งซ่าน
    เขาปรุงของเขา เราไม่แทรกแซง
    ให้รู้ความปรุงแต่งของขันธ์โดยใจเราไม่เข้าไปปรุงแต่งอะไรเพิ่มเติม
    เพราะฉะนั้น จิตมีความโกรธขึ้นมาไม่ใช่อยากให้หายโกรธ
    ไม่ต้องไปพุทโธๆ โกรธหนอๆ อันนั้นสมถะ
    ถ้ามุ่งดับความโกรธ มุ่งดับอกุศล มุ่งจะให้มีแต่ความสุข
    มุ่งจะเอาความสงบ เอาความดี เรื่องของสมถะทั้งหมดเลย

    วิปัสสนาทำเพื่อเอาความจริง
    ความจริงของขันธ์ก็คือ
    ขันธ์เป็นของปรุงแต่ง มันเลยไม่เที่ยง
    ขันธ์เป็นของปรุงแต่ง มันเลยเป็นทุกข์
    ขันธ์มันปรุงแต่งของมันเอง บังคับไม่ได้ มันเป็นอนัตตา
    ดูไปจนกระทั่งใจมันมีปัญญา ใจไม่เข้าไปปรุงแต่งขันธ์
    ขันธ์ก็ปรุงแต่งส่วนของขันธ์นั้นแหละ แต่ใจเราไม่เข้าไปปรุงแต่งขันธ์
    เมื่อใจเราไม่เข้าไปปรุงแต่งขันธ์ ใจไม่ทำงาน ตัวนี้เรียกว่าไม่สร้างภพอันใหม่ขึ้นมา
    การทำงานของใจ ของจิต ก็คือ การสร้างภพนั่นเอง
    คำว่า "ภพ" ภาษาบาลีใน "ปฏิจจสมุปบาท" นี่
    คำเต็มๆ ของมันคือคำว่า "กรรมภพ" คือ การทำงานทางใจนั่นเอง

    ถ้าเรามีตัณหาขึ้นมา เราอยากโน่นอยากนี่ เราไม่เป็นกลางกับสภาวะ
    เราอยากสุข อยากพ้นทุกข์ อยากสงบ ไม่อยากฟุ้งซ่าน อะไรอย่างนี้
    ใจจะดิ้นรน ใจจะทำงาน แล้วใจจะมีความทุกข์ซ้อนขึ้นมาอีกตัว
    ขันธ์ก็เป็นทุกข์โดยตัวของขันธ์แล้ว ใจยังเป็นทุกข์แถมขึ้นมาอีกอันหนึ่ง
    นี่ถ้าเรารู้ทันนะ เราก็ไม่ปรุงแต่งต่อ เราก็เห็นขันธ์เป็นทุกข์ ส่วนของขันธ์ไป
    ใจเราไม่ทุกข์ด้วย ใจเป็นธรรมชาติรู้
    รู้ขันธ์ไปก็เข้าใจเลย ขันธ์นี่เป็นกองทุกข์ล้วนๆ เลย
    นี่เรียกว่า "รู้ทุกข์" นะ รู้ทุกข์แจ่มแจ้ง ต่อไปไม่มีสมุทัย
    ใจไม่อยากให้ขันธ์นี้มีความสุขอีกแล้ว เพราะขันธ์นี้เป็นตัวทุกข์
    ไม่อยากให้ขันธ์เที่ยงแล้ว รู้ว่าขันธ์ไม่เที่ยง
    ไม่อยากเห็นว่าขันธ์เป็นตัวเรา เพราะรู้แล้วไม่ใช่เราหรอก
    ปัญญามันรู้ รู้ขันธ์แจ่มแจ้ง เรียกว่ารู้ทุกข์แจ่มแจ้ง
    สมุทัยคือความอยากของจิตนี่จะหายไปอัตโนมัติ ไม่เกิดอีก
    พอจิตใจมันหมดความอยาก หมดความดิ้นรน
    มันจะเข้าถึงความสงบสุขที่เรียกว่า "นิโรธ" หรือ "นิพพาน"

    นิพพาน คือ สันตินะ
    นิพพาน มีสันติลักษณะ
    ถ้าเรียนอภิธรรม อภิธรรมจะบอก ใจของเราสงบสันติแล้วไม่ดิ้นรน
    เพราะฉะนั้น เราคอยรู้นะ รู้ขันธ์ไป ขั้นต้นนี่ รู้ขันธ์ไป
    ขันธ์เป็นทุกข์ ขันธ์ไม่เที่ยง ขันธ์ปรุงแต่ง
    เราอย่าปรุงแต่งขันธ์ รู้ด้วยความเป็นกลาง
    ถ้าไม่เป็นกลาง รู้ทันว่าไม่เป็นกลาง
    เหมือนที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า
    ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใจรู้ธรรมารมณ์ หรือ เมื่อตาเห็นรูปอะไรก็ตาม
    ความยินดี ยินร้ายเกิดที่จิต ให้มีสติรู้ทัน
    รู้ทันความยินดี ยินร้าย ในที่สุด จิตมันก็เป็นกลาง
    อันนี้เป็นกลางด้วยสมาธินะ
    เป็นกลางด้วยการไปรู้เท่าทันความยินดี ยินร้าย
    ความยินดี ยินร้ายขาดกระเด็นไป ใจก็ตั้งมั่น รู้ขันธ์ทำงานต่อไป
    รู้ขันธ์ทำงานต่อไปแล้วเห็นชัดๆ เลย
    เขาแสดงไตรลักษณ์ตลอด เขาไม่ใช่เรานะ มันจะวางขันธ์
    พอวางขันธ์ จะหมดตัณหา คือ หมดความอยากจะให้ขันธ์มีความสุข
    หมดความอยากจะให้ขันธ์พ้นทุกข์
    พอจิตใจหมดตัณหาอย่างแท้จริง
    "นิโรธ" หรือ "นิพพาน" ก็ปรากฏขึ้นต่อหน้าต่อตา

    นิพพานไม่ได้อยู่ไกลนะ
    เมื่อไรสิ้นตัณหา เมื่อนั้นก็เห็นนิพพาน
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    <table id="post32877" class="tborder" align="center" border="0" cellpadding="9" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr valign="top"><td class="alt1" id="td_post_32877" style="border-right: 1px solid rgb(224, 224, 224);">มนุษย์ประกอบด้วย 2 ธาตุ มีธาตุหยาบเป็นของทางโลก ซึ่งมารเป็นใหญ่ปกครองอยู่ กับธาตุละเอียดเป็นของทางธรรม
    จะต้องสร้างขึ้นด้วยการปฏิบัติสมาธิจิตให้ธาตุละเอียด ละเอียดยิ่งๆขึ้นไปด้วยตนเอง ซึ่งเป็นทางเดียวไปสู่ปัญญาธรรม
    ให้เกิดบุญโดยมีญาณหยั่งรู้สัจธรรมเป็นสิ่งที่เที่ยง จะสามารถแยกแยะสิ่งที่ทำไปนั้นว่าจะได้บุญหรือบาป


    มิฉะนั้นแล้วจะถูกมิจฉาธรรมครอบงำได้ง่าย แม้ตำราที่เรียนใช้เล่มเดียวกัน ก็ยังเข้าใจแตกต่าง
    ผู้ที่ไม่ได้ฌาณไม่ควรสอนธรรมะแก่ผู้อื่น เมื่อไปผิดธรรมชาติเข้า จะเกิดภัยแก่ตนและทรัพย์สินได้ ถ้าไม่มีจิตธาตุที่เข้มแข็ง
    จะไม่เกิดบุญ แล้วชาติหน้าก็จะไปรับกรรมเป็นเปรตหรือสัตว์โลกแน่นอน


    การหลุดพ้นของจิต

    ธาตุหยาบของมนุษย์คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ยังอยู่ในโลกมาร อันมีใจเป็นใหญ่ซึ่งเป็นของทางโลกปรุงแต่งขึ้นด้วยธรรมชาติของธาตุธรรมทั้งสิ้น
    ต้องอาศัยจิตของวิญญาณธาตุที่เข้มแข็งจากการปฏิบัติสมาธิมาประคับประคองใจไม่ให้ทำตามใจชอบโดยลำพัง


    ฉะนั้นจิตที่เป็นวิญญาณธาตุที่ละเอียดกว่าซึ่งสถิตอยู่ศูนย์กลางของใจเป็นสิ่งที่เที่ยง ผู้ใดปฏิบัติถึงทั้งฝ่ายสัมมาทิฐิและมิจฉาทิฐิ
    ของแต่ละโลกธาตุและวิญญาณธาตุแล้ว จะต้องเดินวิชาให้สูงขึ้นไปอีก แล้วรวมทั้งสองอย่างเข้าด้วยกันอีกครั้งให้เป็นหนึ่งเดียวกัน
    จิตจะหลุดพ้นได้ ด้วยผลบุญที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติเท่านั้น
    อันจะส่งผลให้ผู้นั้นอยู่เหนือธรรมชาติของธาตุอเนกอนันต์
    จึงจะสามารถแสดงบุญฤทธิ์และอิทธิฤทธิ์ด้วยตนเองได้ ไม่ต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายนอกอื่นใดอีกต่อไป



    เมื่อธาตุเข้มแข็งแล้ว ทำให้จิตมั่นคง จะรู้แจ้งสัจธรรมได้อย่างเที่ยงธรรม ฉะนั้นการปฏิบัติธรรมะทางจิตไม่ติดวัตถุควรส่งเสริมเป็นอย่างยิ่ง
    ไม่จำกัดเพศวัย เชื้อชาติ และศาสนา


    พลังจิตเท่านั้นทำให้เกิดบุญ

    จิตเป็นพลังอำนาจธรรมชาติของสิ่งที่มีชีวิต เช่นโลกธาตุและวิญญาณธาตุอันนับประมาณไม่ได้ ผู้ใดปฏิบัติถึงจะรู้แจ้งสัจธรรม
    และจะมีบารมีเหนือธาตุอเนกอนันต์ในที่สุดซึ่งบุญอันนี้เกิดขึ้นจากการปฏิบัติสมาธิอย่างเดียว ไม่ต้องอาศัยสิ่งปรุงแต่งขึ้นของ
    มารในโลกนี้มาช่วยอีกต่อไป ก็สามารถบังคับใจไปในทิศทางธรรมะเดียวกันหมด และจะไม่มีความคิดแตกต่างกันเกิดขึ้นอีกเช่นทุกวันนี้


    เพราะสัตว์โลกมีธาตุธรรมอันเดียวกันจะต้องมีการเกิดแก่เจ็บตายเช่นกัน ทำไมจึงมาแตกแยกความคิดกันเพื่อประสงค์อันใด
    ธรรมะก็ไม่ใช่ของบุคคลใดทุกชีวิตจะต้องอยู่ใต้กฎแห่งกรรมนี้
    ฉะนั้นผู้ที่เข้าถึงมีหน้าที่ถ่ายทอดวิชาธรรมะแก่มนุษย์โลกโดย
    ไม่หวังผลประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้งเพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์เห็นที่มนุษย์ทำปฏิบัติตามกันมาจนทุกวันนี้นั้นมันเป็นของทางโลก
    ผู้ที่มีพลังจิตสูงมีญาณหยั่งรู้พฤติกรรมเหล่านี้มาตลอดจงเข้าใจกันว่าเราเกิดมาเป็นหนึ่งเดียวกันหมด


    สัจธรรม


    การปฏิบัติสมาธิให้จิตเข้มแข็งเพื่อไปยึดสิทธิธาตุธรรมให้รู้แจ้งสัจธรรมเป็นสิ่งที่เที่ยงไม่มีการปรุงแต่งขึ้นซึ่งเป็นทางเดียวไปสู่มรรคผลนิพพาน


    โลกธาตุและวิญญาณธาตุจะต้องอยู่ภายใต้กฎอันนี้ไม่มีข้อยกเว้นและไม่มีใครเป็นใหญ่กว่ากันวิชาสัจธรรมเป็นใหญ่เป็นอมตะเปลี่ยนแปลงแก้ไขไม่ได้
    และแต่งตั้งให้บุคคลอื่นไปสอนชี้แนะทำตามให้เหมือนกันก็ไม่ได้ ผู้ปฏิบัติจะรู้ด้วยตนเองทั้งสิ้นผู้ใดประพฤติไม่ถูกจะวิบัติไปในที่สุดถ้าปฏิบัติได้ถูกวิธ
    ีและเข้าถึงธรรมที่แท้จริงแล้วจะเป็นที่ยอมรับและเคารพนับถือของปวงชนทั่วไป มันขึ้นอยู่กับว่าธาตุธรรมของใครปฏิบัติได้ละเอียดกว่ากันไม่ใช่จากการเรียนรู้



    จิตเป็นวิญญาณธาตุส่งเสริมในทางธรรมเป็นที่พึ่งที่แท้จริงของใจซึ่งมีอารมณ์ของตนเป็นใหญ่ ผู้ที่ปฏิบัติถึงฌาณสมาบัติจะสามารถบังคับประสาทอารมณ์
    และแก้พรหมลิขิตของตนถ้าหลุดพ้นได้จะมีบารมีเหนือธาตุเอนกอนันต์
    และมีอำนาจสิทธิการปกครองแคล้วคลาดจากภัยวิบัติทั้งปวง


    วงจรพลังจิต

    จิตเป็นวิญญาณธาตุ เป็นที่ตั้งของบุญ เกิดขึ้นได้จากการปฏิบัติสมาธิจิตเพียงทางเดียวเท่านั้น และมีอำนาจบังคับใจให้อยู่ในธรรม ไม่ให้ฟุ้งซ่านและทำตามอารมณ์ของตน

    ฌาณเป็นพลังจิตที่แผ่ขยายวงกว้างเป็นวงกลมเป็นรัศมีออกจากกายไม่มีที่สิ้นสุด สามารถหยั่งรู้เกิดปัญญาและอำนาจบารมีขึ้นมาตามความละเอียดของธาตุ
    เมื่อจิตหลุดพ้นระหว่างยังมีชีวิตอยู่ ก็ทำหน้าที่ปกครองโลกธาตุและวิญญาณธาตุ ถ้าดับขันธ์ไปแล้ว จิตจะจุติเป็นอัตตาในธาตุจิต จะไม่มีการเวียนว่ายตายเกิดอีก มีหน้าที่กำกับดูแลบาปบุญคุณโทษของสรรพสัตว์ตามกรรมดีหรือกรรมชั่วที่ได้สะสมมาในปัจจุบันไปส่งผลชาติหน้าตลอดไป


    ชีวิตต้องอาศัยจิต จึงจะเกิด ฉะนั้น มนุษย์จะต้องเสริมสร้างให้จิตเข้มแข็งด้วยการปฏิบัติสมาธิจิต ถ้าจิตมัวหมอง ชีวิตจะไม่ราบรื่นพบแต่อุปสรรคอยู่เนือง ๆ



    วงจรชีวิต

    โลกธาตุและวิญญาณธาตุเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติได้มนุษย์ไม่ควรยึดติดและทำลายควรปรุงแต่งขึ้นด้วยจิตซึ่งเป็นศูนย์รวมของทุกชีวิต
    ถ้าไม่มีธาตุธรรมแล้วจิตก็เกิดขึ้นไม่ได้ ผู้ใดมีจิตที่เข้มแข็งจะสามารถบรรยายธรรมได้อย่างเที่ยงธรรม ดังเช่นในอดีตที่ทุกๆองค์ศาสดาได้แสดงมาแล้วจะไม่ผิดเพี้ยนไปอย่างทุกวันนี้


    อนันตพลังนี้ เมื่อปฏิบัติอย่างถูกวิธีอย่างต่อเนื่องแล้วจะเสริมสร้างบุญบารมี รัศมี กำลัง ฤทธิ์ อำนาจ สิทธิเฉียบขาดให้เจริญยิ่งขึ้นไปด้วยตนเอง
    และจะยืนยงอยู่ได้โดยไม่เสื่อมสลายไปตามวัยและสังขาร


    ผู้ที่เริ่มปฏิบัติสมาธิจะไม่สามารถบังคับกายของตนเองให้อยู่นิ่งได้ตามที่ต้องการเพราะพลังภายในกายและภายนอกกายมันแยกออกจากกันเป็นฝ่ายสัมมาทิฐ
    ิและมิจฉาทิฐิเมื่อปฏิบัติจนได้ฌาณแล้วจะเข้าใจเรื่องของกฎธรรมชาติของธรรมไปในทิศทางเดียวกัน





    บุญและบาปส่งผลชาติหน้าในภพเวียนว่ายตายเกิดแน่นอน ผู้ใดมีบุญติดตัวจะไปเกิดอีกตามวรรณะต่างๆ ของบุญ ส่วนผู้ที่ไม่มีบุญมีแต่บาปอย่างเดียวจะไปรับกรรม เช่น เป็นสัตว์นรก สัตว์ป่า สัตว์เนื้อ หรือสัตว์เลี้ยงลดหลั่นกันไปตามบาปที่ส่งผล ผู้ใดบรรลุมรรคผลนิพพานแล้ว จิตของผู้นั้นจะสถิตย์อยู่เป็นผู้กำกับและดูแลในโลกธาตุและวิญญาณธาตุตลอดไป แม้ผู้นั้นจะมีชีวิตอยู่หรือดับขันธ์ไปแล้วก็ตาม


    ทุกศาสนาสอนสังคมให้ได้ศีลธรรม ผู้ทรงศีลถ้ายังไปยึดติดวัตถุและประเพณีอีก ก็จะได้แต่กุศลซึ่งเป็นของทางโลก จะไม่เกิดบุญที่แท้จริง
    <!-- text below generated by server. PLEASE REMOVE -->
    <!-- text below generated by server. PLEASE REMOVE -->
    </td> </tr> <tr> <td class="alt1" style="border-right: 1px solid rgb(224, 224, 224);" valign="bottom"> <hr style="color: rgb(224, 224, 224);" size="1"></td></tr></tbody></table>
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    การปฏิบัติจะไม่มีการเดินสายกลาง



    การปฏิบัติสมาธิให้ถูกวิธีนั้น จะต้องเริ่มจากสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน จนได้โลกุตรธรรม จึงจะสามารถประหารมิจฉาทิฐิของโลกธาตุและวิญญาณธาตุได้สำเร็จ บังคับประสาท อารมณ์ และแก้พรหมลิขิตของตนเองได้

    ส่วนใหญ่ปฏิบัติไม่ถูกวิธี จะไม่เกิดพลังจิตที่เข้มแข็งพอที่จะช่วยผลักดันให้ฌานขยายวงกว้างออกไปได้อีก เพราะไปติดอยู่กับตำราและวัตถุบูชาต่างๆ จะไม่เกิดบุญซึ่งมีปัญญา อำนาจ บารมีในทางธรรมเลย จำต้องไปตามเวรตามกรรมที่ผู้นั้นกระทำไว้ตลอดไปไม่มีที่สิ้นสุด ส่งผลชาติหน้าด้วยจิตสำนึกของตนเอง

    อย่าลืมว่าธาตุธรรมไม่ได้สร้างขึ้นด้วยมนุษย์ ฉะนั้นอย่าคิดไปทำลาย จะถูกสนองตอบกลับทันทีโดยธรรมชาติ ผู้ใดปฏิบัติถึงโลกุตตรฌาน แม้ยังมีชีวิตอยู่หรือดับขันธ์ไปแล้วก็ตาม มีหน้าที่ควบคุมกำกับดูแลพฤติกรรมของพวกโลกียธรรมในธาตุจิต ชั่วนิรันดร อย่าแตกแยกความคิดเรื่องเชื้อชาติและศาสนากันอีกเลย จงปฏิบัติให้ถึงธรรมะในชีวิตนี้กันเถิด



    ารปฏิบัติแยกออกเป็น2สถานดังนี้


    1.โลกียธรรม

    ก. ขั้นสมถกรรมฐาน - เมื่อจิตเข้มแข็งเกิดบุญส่งผลดับกรรมเก่าและประหารกิเลสเริ่มเรียนรู้กฎธรรมชาติ
    และเข้าใจศีลธรรมดียิ่งขึ้น


    ข. ขั้นวิปัสสนากรรมฐาน - เมื่อจิตมีพลังแล้วจะมีปรีชาญาณหยั่งรู้เข้าถึงธรรมชาติเกิดปัญญาอำนาจบารมีและรัศมีกำลังฤทธิ์



    2.โลกุตตรธรรม ปรินิพพาน-อยู่เหนือธรรมชาติเป็นอัตตามีหน้าที่กำกับดูแลพฤติกรรมในจิตของโลกียธรรม






    ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน


    ธาตุหยาบคือ กาย ประกอบไปด้วยธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ อากาศธาตุ และวิญญาณธาตุ โดยธรรมชาติแล้ว ธาตุในกายของแต่ละสรรพสัตว์ในโลกธาตุ และวิญญาณธาตุรวมทั้งฝ่ายสัมมาทิฐิและมิจฉาทิฐิมีพลังสัดส่วนไม่เท่ากัน เพราะอยู่ในไตรลักษณ์ จะต้องเดินสมาธิให้ธาตุเหล่านี้เข้มแข็งและละเอียดยิ่งขึ้น เมื่อรวมกันแล้วจะเป็นที่ตั้งของฐานบุญเพื่อไปสู่โลกุตรธรรม จะมีปัญญา อำนาจ บารมี รัศมี สามารถรู้แจ้งสัจธรรม และเอาชนะธรรมชาติได้




    ผลกระทบจากมิจฉาทิฐิ


    ผู้ปฏิบัติสมาธิของฝ่ายสัมมาทิฐิในโลกียธรรมจะถูกฝ่ายมิจฉาทิฐิของโลกธาต
    ุและวิญญาณธาตุกระทบไม่ให้ผู้นั้นเจริญภาวนาอีกต่อไปได้ หรือมาทดสอบความเข้มแข็งของจิตผู้นั้น ถ้าหากเอาชนะมันได้ก็จะประสบผลสำเร็จยิ่งๆขึ้นไป และจะไม่มีอุปสรรคอีกต่อไป


    ขอเตือนว่า ผู้ที่จะใช้พลังจิตไปรักษาโรคให้ผู้อื่นหรือทำลายวัตถุภายนอกนั้น จะต้องมีจิตที่มีพลังเข้มแข็งและเหนือกว่า จึงจะทำสำเร็จได้ มิฉะนั้นแล้วจะถูกสิ่งนั้นกระทบอย่างมหันต์จนถึงกับเสียสติและถึงกับชีวิตได้

    <!-- text below generated by server. PLEASE REMOVE -->


    สิ่งที่ควรละในการปฏิบัติสมาธิ


    การปฏิบัติสมาธิทำให้จิตผ่องใสมีพลัง จะต้องทำลายทุกสิ่งที่ปรากฎเห็นในสมาธิและนอกสมาธิให้สิ้นซากไม่เหลือเศษ
    และจะได้บุญที่แท้
    การสอนสมาธิให้เดินสายกลางนั้นเป็นการคิดที่ผิดของมนุษย์ที่มีใจเป็นใหญ่ทำตามใจ
    ชอบเพราะไม่เข้าใจกฎแห่งกรรมจะถูกมารเล่นเอาได้ในที่สุด



    ตามธรรมชาติแล้ว มนุษย์เกิดมาเพื่อมาแก้กรรมของตนเองและสร้างบุญอย่างเดียวไม่มีความประสงค์อื่นใด
    บุญจากอดีตส่งผลให้มนุษย์ไปสู่วรรณะต่างๆในโลกนี้และบุญปัจจุบันที่ทำขึ้นมาใหม่ส่งผล
    ชาติหน้าส่วนที่เหลือจะแผ่ไปสู่ทุกชีวิตที่อยู่ในความดูแลของตน



    การอุทิศทั้งกายของตนเมื่อดับขันธ์แล้วเพื่อให้เป็นการศึกษานั้นไม่ได้บุญจะไปกระทบกาย
    ในโลกธาตุหรือวิญญาณธาตุให้หวั่นไหวได้ไม่มีความสุขเพราะผู้บริจาคกายนั้นเมื่อตายไปแล้ว
    จะยังมีธาตุเป็นสื่อสัมพันธ์ถึงกันอยู่ตลอดเวลาแม้จะอยู่ในภพใดก็ตาม



    มนุษย์ควรบูชาสัจธรรมและเคารพองค์ศาสดาทุกๆพระองค์ที่ถ่ายทอดวิชาความรู้ธรรมะ
    ที่เที่ยงแก่พวกเราเป็นอย่างยิ่งไม่ควรไปติดหรือบูชาวัตถุต่างๆจะทำให้จิตซึ่งเป็นที่ตั้งของบุญ
    ออกนอกกายจะทำให้การเจริญภาวนาไม่สำเร็จและจะมัวหมองไปในที่สุด



    การสวดมนต์เป็นสิ่งที่ดีถ้าเราเข้าใจเนื้อหาของมัน และปฏิบัติตามที่เราได้ลั่นวาจาไว้ มิฉะนั้นแล้วจะเป็นการโกหกตนเอง ผู้กระทำเช่นนี้จะได้รับโทษมหันต์ เพราะทำผิดศีลธรรม วิชานี้สอนให้รู้ว่าจิตสร้างบุญบุญสร้างมนุษย์





    ธรรมชาติของธรรม


    การฝึกสมาธิให้จิตปราศจากมลทินนั้น ผู้ปฏิบัติจะต้องกำจัดสิ่งต่างๆที่เห็นในหรือนอกสมาธิ เพราะมันเป็นวิชามาร ไม่ควรไปยึดติด มิฉะนั้นจะทำให้จิตฟุ้งซ่าน ไม่เป็นตัวของตน ควรเจริญภาวนาให้สูงขึ้นไป จิตจึงจะเกิดพลังเข้มแข็งและจะรู้สึกในสมาธิว่า ธาตุหยาบกับธาตุละเอียดกำลังจะแยกตัวออกจากกันไปเข้าสู่สัจธรรมมากขึ้น ซึ่งเป็นกฎธรรมชาติของโลกธาตุและวิญญาณธาตุ เป็นสิ่งที่เที่ยง แก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ทุกๆพระองค์จะต้องปฏิบัติตามภายใต้กฎนี้ ไม่มีข้อยกเว้น


    ผู้ใดคิดจะทำให้ผิดเพี้ยนไปจากนี้ก็จะประสบภัยวิบัติไปด้วยตัวเองดังที่ปรากฏให้รู้ให้เห็นอยู่ทุกวันนี้ การปฏิบัติสมาธิเป็นการสร้างบุญใหม่ เป็นทางเดียวเท่านั้นเพื่อให้หลุดพ้น จงรักษาบุญที่สร้างขึ้นมานี้ไว้ให้นานและเพิ่มพูนมากขึ้น เมื่อมีบารมีสูงแล้วจะมีวาจาแก้วประกาศิตของตนเอง พูดสิ่งใดไปก็จะสัมฤทธิ์ผล ไม่เหมือนกับคนที่เห็นด้วยตาทิพย์ จะพูดจะทำก็ไม่เกิดผลสำเร็จ จะต้องคอยพึ่งอำนาจโลกียธรรมช่วย
    <!-- text below generated by server. PLEASE REMOVE --><!-- text below generated by server. PLEASE REMOVE -->
    <hr style="color: rgb(224, 224, 224);" size="1">
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    [​IMG]

    [​IMG]


    1. ผู้ไม่มีศาสนา - พวกที่มีการศึกษาสูงและมีอำนาจ แต่ขาดศีลธรรม คิดฝักใฝ่หาแต่ผลประโยชน์ในทางโลก จะไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต

    2. ผู้เข้าถึงศาสนา - พวกนี้ยังไม่เข้าใจเรื่องศีลธรรมอย่างถ่องแท้ มักไปยึดติดกับวัตถุและประเพณีต่างๆตามความเชื่อของตน

    3. ผู้ปฏิบัติสมถกรรมฐาน - เมื่อผู้ปฏิบัติถึงขั้นนี้ พลังธาตุก็จะเข้มแข็ง สามารถดับทุกข์ โศก โรค ภัยของตน เป็นจุดเริ่มเรียนรู้กฎแห่งกรรม และจะเข้าใจศีลธรรมดีขึ้น ไม่ต้องพึ่งตำราและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายนอกอีกต่อไป

    4. ผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน-เมื่อปฏิบัติได้ฌาณจะมีปรีชาญาณ หยั่งรู้สัจธรรมอย่างเที่ยงธรรมด้วยตนเอง เป็นการสร้างบุญอำนาจ บารมี รัศมีกำลังฤทธิ์ไว้ในปัจจุบันชาติและชาติหน้าก็สามารถประหารกิเลสและมารด้วยตนเอง

    5. ผู้บรรลุนิพพาน - เป็นผู้อยู่เหนือธรรมชาติ มีหน้าที่กำกับดูแลพฤติกรรมในธาตุจิตของโลกียธรรมชั่วนิรันดร แม้จะยังมีชีวิตอยู่หรือดับขันธ์ไปแล้ว
    <!-- text below generated by server. PLEASE REMOVE -->
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    กฎธรรมชาติ

    โลกธาตุและวิญญาณธาตุมีทั้งฝ่ายสัมมาทิฐิและมิจฉาทิฐิอยู่ในธาตุทั้งสอง ฝ่ายใดจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการปฏิบัติสมาธิที่ได้ธาตุละเอียดกว่ากันเท่านั้น ก่อนอื่นจะต้องเข้าใจว่าสรรพสัตว์ทั้งหลายประกอบไปด้วยธาตุหยาบคือกายมนุษย์ ซึ่งมีใจเป็นใหญ่ มักทำตามใจชอบอยู่เสมอ จะต้องอาศัยธาตุละเอียดที่ซ่อนเร้นอยู่ในธาตุหยาบอีกชั้นหนึ่งและคอยควบคุมดูแล
    พฤติกรรมอยู่แล้วนั้นให้ช่วยชี้แนะไปในทางที่ถูกที่ควร



    เมื่อมนุษย์ปฏิบัติจนได้ฌาน ธาตุละเอียดก็จะเจริญขึ้น ส่งผลบุญกลับผ่านทางจิตสู่ธาตุหยาบ ธาตุหยาบก็จะได้อานิสงส์เพิ่มพลังแบบนี้อยู่ตลอดไปจนบรรลุธรรม และจะรู้แจ้งสัจธรรมได้อย่างเที่ยงธรรมด้วยตนเอง ไม่ต้องพึ่งพาสิ่งภายนอกอื่นใดอีกต่อไป ทุกชีวิตจะต้องปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกันหมด


    เมื่อมนุษย์ดับขันธ์ไปแล้ว ธาตุหยาบกับธาตุละเอียดจะแยกออกจากกันทันที แต่ยังมีจิตเป็นสื่อติดต่อถึงกันอยู่ ส่วนธาตุละเอียดจะไปรับบุญหรือบาปส่งผลในภพหน้า จงอย่าลืมว่าธรรมชาติไม่มีการปรุงแต่งขึ้น เป็นกฎตายตัวของมันอยู่แล้ว มนุษย์จะไปแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎอันนี้อีกให้เหมือนกับตำราอื่นไม่ได้เป็นอันขาด แค่คิดจะกระทำก็จะวิบัติไปเอง มนุษย์มีสิทธิเท่าเทียมกันหมดทุกคน สามารถปฏิบัติสมาธิได้โดยไม่จำกัดเพศ วัย เชื้อชาติ วรรณะและศาสนา เพราะมีธาตุธรรมอันเดียวกัน อย่าลืมว่าเราเกิดมาชาตินี้ เพื่อมาแก้กรรมของตนเองเท่านั้น





    ความหมายของจิตเข้มแข็งกับพลังจิต


    ในโลกธาตุประกอบไปด้วยธาตุหยาบและธาตุละเอียดธาตุหยาบก็คือกายของสรรพสัตว
    ์ซึ่งมีธาตุละเอียดอยู่ในกายคอยส่งผลบุญบาปคุณโทษจากอดีตชาติให้เกิดมีชีวิตขึ้น
    จะเป็นสัตว์หรือมนุษย์ตามกฎแห่งกรรมของภพเวียนว่ายตายเกิด


    ในการปฏิบัติสมาธิจะต้องเดินสมาธิด้วยใจกับจิตพร้อมกันธาตุละเอียดก็จะส่งผลบุญให้
    จิตเข้มแข็งสามารถแก้กรรมเก่าของตนและประหารกิเลสได้เมื่อพลังจิตเกิดฌานก็มีหน้าที่สูงขึ้น
    ทำลายสิ่งอัปมงคลทุกอย่างของใจที่ปรากฏเห็นในและนอกกายให้หมดสิ้น
    เหลือแต่ธรรมล้วนๆ
    เพราะตนเป็นที่รู้แห่งตนเป็นสิ่งที่เที่ยง
    ถ้าไปพึ่งตำราอย่างเดียวจะสับสนการปฏิบัติธรรมทำได้ทุกอิริยาบถ
    และไม่จำกัดเวลา







    สมาธิจิต


    การเดินสมาธิ ธาตุละเอียดในกายจะส่งผลผ่านทางจิตให้ธาตุหยาบมีวาสนาขึ้น ถ้าไม่มีธาตุหยาบ ธาตุละเอียดจะไม่เกิด เมื่อปฏิบัติถึงขั้นบรมจักรจะมีอำนาจเหนือธาตุเอนกอนันต์ทั้งหมด จะไม่มีฝ่ายสัมมาทิฐิหรือมิจฉาทิฐิอีกต่อไป ก็จะสามารถดลบันดาลให้ปราศจากทุกข์ โศก โรคภัยแก่ตนและผู้อื่นได้ ถ้าผู้รับปฏิบัติจริงจังด้วยจึงจะสัมฤทธิ์ผล ต้องจำไว้ว่าธาตุละเอียดคือบุญ เป็นสิ่งที่ซื้อให้ขายกันไม่ได้ จะต้องปฏิบัติด้วยตนเป็นที่พึ่งอย่างเดียว ซึ่งเป็นกฎธรรมชาติตายตัวไปสู่มรรคผลของทุกๆพระองค์


    ในการเดินวิชานี้จะต้องมีผู้อยู่ช่วยชี้แนะตลอด เพราะจะต้องฝ่าฟันอุปสรรคที่คาดไม่ถึงของธาตุทั้งหลายที่เหนือกว่าจะมากระทบได้
     

แชร์หน้านี้

Loading...