สตินำ หรือ พร้อมดีครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย cola-boys, 24 กุมภาพันธ์ 2013.

  1. cola-boys

    cola-boys Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +51
    เราพิจารณาสิ่งๆต่างๆที่มาทาง
    จิตเเบบไหนดีครับ
    1 ใช้สตินำจิต
    2 ใช้ไปพร้อมกัน
    3 พอจิตมันนำใช้สติคุมไป

    เเตกต่างกันยังไงครับผมชี้เเนะหน่อย
     
  2. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    วิธีไหนก็ได้

    ขอให้ จิต เป็น สมาธิ ก่อนครับ

    จิต ยังไม่เป็น สมาธิ จะพิจารณา อะไรก็แล้ว มันเป็น วิปัสสนึก

    นึกเอง เออเอง



    จำเป็นไหม ที่จะต้องทำ สมาธิ ให้ได้ก่อน
    จำเป็นที่สุด ในการ ปฏิบัติ เลยครับ


    ครูบาอาจารย์ พระป่าสายหลวงปู่มั่น

    เทศน์สอน อบรมเอาไว้เลย ว่า เป็นสิ่งสำคัญที่สุด


    จิต ต้องเป็น สมาธิ เป็นเบื้องต้น

    เป็นฐาน เป็น กรรมฐาน

    ภาวนามยปัญญา จะเกิดได้ ต่อเมื่อ

    จิต เป็น สมาธิ แล้วออก พิจารณาสติปัฏฐาน 4 กาย เวทนา จิต ธรรม

    ครับ


    หลวงปู่ฝากไว้
    หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

    <TABLE style="LINE-HEIGHT: 1.7; MARGIN-TOP: -3mm; MARGIN-BOTTOM: 0px" border=2 cellSpacing=0 borderColorLight=#785a1d borderColorDark=#dea635 width=78 bgColor=white align=center><TBODY><TR><TD height=84 vAlign=top width=68 align=left>[​IMG]





    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    ปรารภธรรมะเรื่องอริยสัจสี่
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse; FONT-FAMILY: 'MS Sans Serif'; FONT-SIZE: 14pt" class=MsoNormalTable border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=520 align=center><TBODY><TR><TD width=278>จิตที่ส่งออกนอก





    </TD><TD width=242>เป็นสมุทัย





    </TD></TR><TR><TD width=278>ผลอันเกิดจากจิตที่ส่งออกนอก





    </TD><TD width=242>เป็นทุกข์





    </TD></TR><TR><TD width=278>จิตเห็นจิต





    </TD><TD width=242>เป็นมรรค





    </TD></TR><TR><TD width=278>ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิต





    </TD><TD width=242>เป็นนิโรธ





    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [Webmaster-ข้อธรรมแสดงหลักธรรมอริยสัจ ๔ รวมทั้งหลักปฏิบัติต่อจิต ทั้งเวทนานุปัสสนาและจิตตานุปัสสนาในสติปัฏฐาน ๔ อย่างแจ่มแจ้ง]
    http://www.nkgen.com/pudule.htm


    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse; FONT-FAMILY: 'MS Sans Serif'; FONT-SIZE: 14pt" class=MsoNormalTable border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=520 align=center><TBODY><TR><TD width=278>จิตเห็นจิต






    </TD><TD width=242>เป็นมรรค</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse; FONT-FAMILY: 'MS Sans Serif'; FONT-SIZE: 14pt" class=MsoNormalTable border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=520 align=center><TBODY><TR><TD width=278>จิตเห็นจิต






    </TD><TD width=242>เป็นมรรค</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse; FONT-FAMILY: 'MS Sans Serif'; FONT-SIZE: 14pt" class=MsoNormalTable border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=520 align=center><TBODY><TR><TD width=278>จิตเห็นจิต






    </TD><TD width=242>เป็นมรรค</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ท่องให้ขึ้นใจได้เลยครับ โดยเฉพาะ คนที่ฝึกมาทางสายดูจิต ตามใดที่ จิต ยังไม่เป็นสมาธิ จิต ยังไม่เห็น จิต นั้น ​

    ตราบใด ที่ จิต ยังไม่เป็น สมาธิ
    ตามใดที่ จิต ยังไม่เห็น จิต ไม่เรียกว่าดูจิต



    *************************************************************************************************************************




    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
    ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    <CENTER></CENTER><CENTER>ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา</CENTER>[๕๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้พระนครโกสัมพีณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลายภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์อรหัตในสำนักเรา ด้วยมรรค ๔ ทั้งหมดหรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง มรรค ๔ เป็นไฉน ฯ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้น เมื่อภิกษุนั้นเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น เมื่อภิกษุนั้นเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป เมื่อภิกษุนั้นเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป มรรคย่อมเกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจนึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้สมัยนั้น จิตย่อมตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์อรหัตในสำนักเรา ด้วยมรรค ๔ นี้ทั้งหมด หรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง ฯ [๕๓๕] ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะเป็นสมาธิวิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ด้วยประการดังนี้สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น ฯ ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ มี ๔ คือ ภาวนาด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรมที่ไม่ล่วงเกินกัน ๑ ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ๑ ฯ คำว่า มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคเกิดอย่างไร ฯ สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น เป็นมรรคย่อมเกิด สัมมาสังกัปปะด้วยอรรถว่าดำริ เป็นมรรคย่อมเกิด สัมมาวาจาด้วยอรรถว่ากำหนด เป็นมรรคย่อมเกิด สัมมากัมมันตะด้วยอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน เป็นมรรคย่อมเกิดสัมมาอาชีวะด้วยอรรถว่าผ่องแผ้ว เป็นมรรคย่อมเกิด สัมมาวายามะด้วยอรรถว่าประคองไว้ เป็นมรรคย่อมเกิด สัมมาสติด้วยอรรถว่าตั้งมั่น เป็นมรรคย่อมเกิด สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน เป็นมรรคย่อมเกิด มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯ คำว่า ย่อมเสพ ในคำว่า ภิกษุนั้นย่อมเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ดังนี้ ความว่า ย่อมเสพอย่างไร ฯ ภิกษุนั้น นึกถึงอยู่ชื่อว่าเสพ รู้อยู่ชื่อว่าเสพ เห็นอยู่ชื่อว่าเสพพิจารณาอยู่ชื่อว่าเสพ อธิษฐานจิตอยู่ชื่อว่าเสพ น้อมจิตไปด้วยศรัทธาชื่อว่าเสพ ประคองความเพียรไว้ชื่อว่าเสพ ตั้งสติไว้มั่นชื่อว่าเสพ ตั้งจิตไว้อยู่ชื่อว่าเสพ ทราบชัดด้วยปัญญาชื่อว่าเสพ รู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งอยู่ชื่อว่าเสพกำหนดรู้ซึ่งธรรมที่ควรกำหนดรู้ชื่อว่าเสพ ละธรรมที่ควรละชื่อว่าเสพ เจริญธรรมที่ควรเจริญชื่อว่าเสพ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งชื่อว่าเสพ ย่อมเสพอย่างนี้ ฯ คำว่า เจริญ ความว่า เจริญอย่างไร ฯ ภิกษุนั้นนึกถึงอยู่ชื่อว่าเจริญ ...[๕๓๗] ภิกษุนั้นย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์ เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิด้วยประการดังนี้ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่าเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพฯลฯ คำว่า มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นเป็นอารมณ์และความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ ด้วยประการดังนี้ วิปัสสนามีก่อน สมถะมีภายหลัง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ฯ คำว่า มรรคย่อมเกิด ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นเวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชรา และมรณะ โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ฯลฯ โดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ โดยความเป็นอนัตตา ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นเป็นอารมณ์ และความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ ด้วยประการดังนี้ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลังเพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ ฯลฯ คำว่า ย่อมเกิด ความว่ามรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอย่างนี้ ฯ [๕๓๘] ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปอย่างไร ฯ ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป ด้วยอาการ ๑๖ คือ ด้วยความเป็นอารมณ์ ๑ ด้วยความเป็นโคจร ๑ ด้วยความละ ๑ ด้วยความสละ ๑ด้วยความออก ๑ ด้วยความหลีกไป ๑ ด้วยความเป็นธรรมละเอียด ๑ ด้วยความเป็นธรรมประณีต ๑ ด้วยความหลุดพ้น ๑ ด้วยความไม่มีอาสวะ ๑ ด้วยความเป็นเครื่องข้าม ๑ ด้วยความไม่มีนิมิต ๑ ด้วยความไม่มีที่ตั้ง ๑ ด้วยความว่างเปล่า ๑ ด้วยความเป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยความไม่ล่วงเกินกันและกัน ๑ ด้วยความเป็นคู่กัน ๑ ฯ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยอารมณ์อย่างไร ฯ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นอารมณ์ ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกันเป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นอารมณ์ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่าเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นอารมณ์ ฯ ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพฯลฯ คำว่า มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นอารมณ์ อย่างนี้ ฯ ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นโคจรอย่างไร ฯ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่านมีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กันไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นโคจร เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่าเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นโคจร ฯ [๕๓๙] ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความละอย่างไร ฯ เมื่อภิกษุละกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และขันธ์ สมาธิ คือความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละกิเลสอันประกอบด้วยอวิชชา และขันธ์ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความละ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความละ ฯ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความสละอย่างไร ฯ เมื่อภิกษุสละกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และขันธ์ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุสละกิเลสอันประกอบด้วยอวิชชา และขันธ์ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความสละ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความสละ ฯ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความออกอย่างไร ฯ เมื่อภิกษุออกจากกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และจากขันธ์ สมาธิคือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุออกจากกิเลสอันประกอบด้วยอวิชชา และจากขันธ์ วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกันเป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความออก เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความออก ฯ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความหลีกไปอย่างไร ฯ เมื่อภิกษุหลีกไปจากกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และจากขันธ์ สมาธิคือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุหลีกไปจากกิเลสอันประกอบด้วยอวิชชา และจากขันธ์ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นมีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกันเป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความหลีกไป เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความหลีกไป ฯ [๕๔๐] ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นธรรมละเอียดอย่างไร ฯ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านเป็นธรรมละเอียด มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมละเอียด มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นธรรมละเอียด เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นธรรมละเอียด ฯ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นธรรมประณีตอย่างไร ฯ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านเป็นธรรมประณีต มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมประณีต มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นธรรมประณีต เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นธรรมประณีต ฯ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความหลุดพ้นอย่างไร ฯ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านเป็นธรรมหลุดพ้น มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นหลุดพ้น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ ชื่อว่าเจโตวิมุติเพราะสำรอกราคะ ชื่อว่าปัญญาวิมุติเพราะสำรอกอวิชชา ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความหลุดพ้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความหลุดพ้น ฯ [๕๔๑] ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีอาสวะอย่างไร ฯ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านเป็นธรรมไม่มีอาสวะด้วยกามาสวะ มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชาวิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมไม่มีอาสวะด้วยอวิชชาสวะ มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กันไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความไม่มีอาสวะ เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่าเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีอาสวะ ฯ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นเครื่องข้ามอย่างไร ฯ เมื่อภิกษุข้ามจากกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และจากขันธ์ สมาธิ คือความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุข้ามจากกิเลสอันประกอบด้วยอวิชชา และจากขันธ์ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กันไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นเครื่องข้าม เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นเครื่องข้าม ฯ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนา ด้วยความไม่มีนิมิตร อย่างไร ฯ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านเป็นธรรมไม่มีนิมิตรด้วยนิมิตรทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชาวิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมไม่มีนิมิตรด้วยนิมิตรทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กันไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความไม่มีนิมิตร เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่าเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีนิมิตร ฯ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีที่ตั้ง อย่างไร ฯ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านเป็นธรรมไม่มีที่ตั้งด้วยที่ตั้งทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมไม่มีที่ตั้งด้วยที่ตั้งทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจรด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความไม่มีที่ตั้ง เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีที่ตั้ง ฯ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความว่างเปล่า อย่างไร ฯ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านเป็นธรรมว่างเปล่าจากความยึดมั่นทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชาวิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมว่างเปล่าจากความยึดมั่นทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กันไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความว่างเปล่า เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่าเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความว่างเปล่า ฯ ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ คือ ภาวนาด้วยอรรถว่า ธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรมที่ไม่ล่วงเกินกันและอินทรีย์มีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ๑ ฯลฯ คำว่า มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความว่างเปล่าอย่างนี้ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยอาการ ๑๖เหล่านี้ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันอย่างนี้ ฯ [๕๔๒] ใจที่นึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ ย่อมมีอย่างไร ฯ เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โอภาสย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงโอภาสว่า โอภาสเป็นธรรม เพราะนึกถึงโอภาสนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความปรากฏโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า มีใจที่นึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น จิตที่ตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้นตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้นมรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ญาณปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ (ความน้อมใจเชื่อ) ปัคคาหะ (ความเพียร)อุปัฏฐานะ (ความตั้งมั่น) อุเบกขา นิกันติ (ความพอใจ) ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงความพอใจว่า ความพอใจเป็นธรรม เพราะนึกถึงความพอใจนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงซึ่งความปรากฏโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น จิตที่ตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ฯลฯ เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นอนัตตา โอภาสญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ อุเบกขา นิกันติย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงความพอใจว่า ความพอใจเป็นธรรม เพราะนึกถึงความพอใจนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความปรากฏโดยความเป็นอนัตตา โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เพราะเหตุนั้น ท่านกล่าวว่า มีใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป อย่างนี้ ฯ [๕๔๓] เมื่อภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ฯลฯ เมื่อภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นทุกข์ เมื่อภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นอนัตตาเมื่อภิกษุมนสิการเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา โอภาสญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ อุเบกขา นิกันติย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงความพอใจว่า ความพอใจเป็นธรรม เพราะนึกถึงความพอใจนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งชราและมรณะอันปรากฏโดยความเป็นอนัตตาโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่ามีใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น จิตที่ตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ อนุสัยย่อมสิ้นไป อย่างนี้ ใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้อย่างนี้ ฯ จิตย่อมกวัดแกว่งหวั่นไหวเพราะโอภาส ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ ความวางเฉยจาก ความนึกถึงอุเบกขา และนิกันติ ภิกษุนั้นกำหนดฐานะ ๑๐ ประการนี้ ด้วยปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความ นึกถึงโอภาสเป็นต้นอันเป็นธรรมฟุ้งซ่าน และย่อมไม่ถึง ความหลงใหล จิตกวัดแกว่ง เศร้าหมอง และเคลื่อนจาก จิตภาวนา จิตกวัดแกว่ง เศร้าหมอง ภาวนาย่อมเสื่อมไป จิตบริสุทธิ์ ไม่เศร้าหมอง ภาวนาย่อมไม่เสื่อม จิตไม่ ฟุ้งซ่าน ไม่เศร้าหมอง และไม่เคลื่อนจากจิตภาวนาด้วย ฐานะ ๔ ประการนี้ ภิกษุย่อมทราบชัดซึ่งความที่จิตกวัด แกว่งฟุ้งซ่าน ถูกโอภาสเป็นต้นกั้นไว้ ด้วยฐานะ ๑๐ ประการ ฉะนี้แล ฯ

    <CENTER>จบยุคนัทธกถา</CENTER><CENTER></CENTER>*******************************************************************************************************************************************



    ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
    ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโส
    ทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์อรหัตในสำนักเรา ด้วย
    มรรค ๔ ทั้งหมดหรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง มรรค ๔ เป็นไฉน ฯ



    อรหัตในสำนักเรา ด้วยมรรค ๔ นี้ทั้งหมด

    1.ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น

    2.ภิกษุเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น

    3.ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป

    4.ภิกษุมีใจนึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้




    ของจริงตามที่พระอานนท์ กล่าวไว้ดังนี้

    1.ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น

    จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะเป็นสมาธิ แล้ว วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น


    2.ภิกษุเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น

    วิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์ เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน จนเป็น เป็นสมาธิ



    3.ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป

    เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ และมี สมาธิ คือความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นอารมณ์ ด้วยประการดังนี้ เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านกล่าวว่าเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นอารมณ์ ฯ





    4.ภิกษุมีใจนึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้

    ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ดังนั้น ท่านกล่าวว่า มีใจที่นึก
    ถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป อย่างนี้ ฯ







    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓











    <CENTER>ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา
    </CENTER>

    [๕๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้พระนครโกสัมพี
    ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
    ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโส
    ทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์อรหัตในสำนักเรา ด้วย
    มรรค ๔ ทั้งหมดหรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง มรรค ๔ เป็นไฉน ฯ
    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะ
    เป็นเบื้องต้น เมื่อภิกษุนั้นเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อม
    เกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ
    ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ
    อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น เมื่อภิกษุ
    นั้นเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นเสพ เจริญ
    ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
    ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ
    อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป เมื่อภิกษุนั้น
    เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป มรรคย่อมเกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำ
    ให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อม
    ละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ
    อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจนึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้
    สมัยนั้น จิตย่อมตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่
    มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อ
    ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัย
    ย่อมสิ้นไป ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์
    อรหัตในสำนักเรา ด้วยมรรค ๔ นี้ทั้งหมด หรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรค
    หนึ่ง ฯ



    อรหัตในสำนักเรา ด้วยมรรค ๔ นี้ทั้งหมด

    1.ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น

    2.ภิกษุเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น

    3.ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป

    4.ภิกษุมีใจนึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้




    1.ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น

    [๕๓๕] ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ
    ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะเป็นสมาธิ
    วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น โดยความเป็นสภาพ
    ไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ด้วยประการดังนี้
    สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญ
    วิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น ฯ


    2.ภิกษุเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น

    [๕๓๗] ภิกษุนั้นย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ
    วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความ
    เป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดใน
    วิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์ เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ
    ด้วยประการดังนี้ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
    เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ


    3.ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป

    ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยอารมณ์อย่างไร ฯ
    เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มี
    นิโรธเป็นอารมณ์ ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน
    เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นอารมณ์ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่าน
    จึงกล่าวว่าเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นอารมณ์ ฯ


    4.ภิกษุมีใจนึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้

    [๕๔๒] ใจที่นึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ ย่อมมี
    อย่างไร ฯ
    เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โอภาสย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึก
    ถึงโอภาสว่า โอภาสเป็นธรรม เพราะนึกถึงโอภาสนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ
    ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความปรากฏโดย
    ความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา เพราะเหตุนั้น
    ท่านจึงกล่าวว่า มีใจที่นึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น จิต
    ที่ตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้นตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น
    มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้
    อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ญาณ
    ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ (ความน้อมใจเชื่อ) ปัคคาหะ (ความเพียร)
    อุปัฏฐานะ (ความตั้งมั่น) อุเบกขา นิกันติ (ความพอใจ) ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุ
    นึกถึงความพอใจว่า ความพอใจเป็นธรรม เพราะนึกถึงความพอใจนั้น จึงมีความ
    ฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความ
    เป็นจริงซึ่งความปรากฏโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความ
    เป็นอนัตตา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรม
    ถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น จิตที่ตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้ง
    มั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิด
    อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ฯลฯ เมื่อภิกษุ
    มนสิการโดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นอนัตตา โอภาส
    ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ อุเบกขา นิกันติ
    ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงความพอใจว่า ความพอใจเป็นธรรม เพราะนึกถึงความ
    พอใจนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อม
    ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความปรากฏโดยความเป็นอนัตตา โดยความ
    เป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เพราะเหตุนั้น ท่านกล่าวว่า มีใจที่นึก
    ถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัย
    ย่อมสิ้นไป อย่างนี้ ฯ



    ของจริงตามที่พระอานนท์ กล่าวไว้ดังนี้

    1.ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น

    จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะเป็นสมาธิ แล้ว วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น


    2.ภิกษุเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น

    วิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์ เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน จนเป็น เป็นสมาธิ


    3.ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป

    เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ และมี สมาธิ คือความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นอารมณ์ ด้วยประการดังนี้ เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านกล่าวว่าเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นอารมณ์ ฯ


    4.ภิกษุมีใจนึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้

    ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ดังนั้น ท่านกล่าวว่า มีใจที่นึก
    ถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป อย่างนี้ ฯ

    ******************************************************************************************************************************


    1.คือการที่ จิต เป็นอารมณ์เดียว จนเป็น สมาธิ แล้ว วิปัสสนา พิจารณาธรรมที่เกิดในสมาธิ

    2.คือการใช้ เอา วิปัสสนา เป็นอารมณ์ จน จิต เป็นสมาธิ

    3.คือทางปฏิบัติ ละอุทธัจจะ และมี สมาธิ เป็นอารมณ์ อยู่ สมถะ และ วิปัสสนาจึงไปคู่กัน

    4.คือการที่ ใจ นึกถึง โอภาส ธรรม ที่ถูก ธัจจะกั้นไว้ จนละสังโยชน์ได้




    แม้กระทั้งใน พระไตรปิฏก ก็ยังบอกไว้ ไม่ว่าจะ ปฏิบัติ สายไหน ก็ต้อง มี สมาธิ เป็นฐาน

    ก็ต้องมาลง ที่ จิต เป็น สมาธิ ในการออก วิปัสสนา

    โดยเฉพาะ พวก สำนัก หรือ กลุ่มคนที่ ที่สอนผิดๆ

    สมาธิ ไม่ต้อง ทำ วิปัสนา ไปเลย


    เจอพวกนี้ หนีให้ไกลๆ ครับ

    เจอพวกนี้ หนีให้ไกลๆ ครับ สมาธิ ไม่ต้อง ทำ วิปัสนา ไปเลย

    .

    พระอานนท์ กล่าวไว้

    2.ภิกษุเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น

    พระอานนท์ กล่าวไว้ วิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์ เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน จนเป็น เป็นสมาธิ


    หลวงปู่พุธ ฐานิโย

    เพราะฉนั้น อย่าไปติดวิธีการ

    สมถะก็ดี วิปัสนาก็ดี เป็น วิธีการปฏิบัติ ทั้งสองอย่าง

    เพื่อมุ่งประสงค์ให้จิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กุมภาพันธ์ 2013
  3. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ระวังหน่อยนะ ท่านเจ้าของกระทู้ เรื่องของ ปัญญา หากให้ "กาสร" มาตอบ
    มันก็จะตอบแบบ " กาสรแก้วกาสรขุนทอง " พวกที่ สอนบอกให้เอา สมาธิ
    นำเสียก่อน แท้จริงแล้วพวกนี้สอนไม่เป็น สอนให้ทำกรรมฐานแบบ เบี้ยหัวแตก
    เหมือน กาสรที่เขาเอาไว้เทียวคันไถ ได้งานไหม ได้ ก็เพราะว่า ไถไปจนครบ
    สี่ไร่ สี่ไร่มันก็ได้หนึ่งงาน

    มาดูเรื่อง การเจริญปัญญา การพิจารณา ว่าจะใช้จิตแบบไหนดี ซึ่งมันก็มีอยู่
    สามอย่าง เพื่อไม่ให้ สับสน เข้ามายุ่งวุ่นวาย ลองสดับธรรมจาก หลวงพ่อทูล
    ดูสักหน่อย เนาะ

     
  4. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    .............................
    .............................

    กลับมาที่ คำถาม ถ้า อ่านธรรมะของหลวงพ่อทูล พอเข้าใจ ก็อย่าช้า
    อย่าไปเสียเวลา หาทางลัด ว่่า จะเอาท่าไหน จะปฏิบัติด้วยวิธีไหน

    ให้ฟังธรรม รู้ หรือ ทราบ หนทางภาวนา มันมี 3 ทาง คุณก็เพียงแต่
    ทราบไปตามนั้น เสร็จแล้ว ลงมือปฏิบัติไปเลย ปฏิบัติแบบไหนก็ได้
    ไม่ต้องไปเลือก

    แล้วระหว่างปฏิบัติ คุณจะค่อยเห็นเองว่า ปัจจุบัน ขณะ นั้นๆ คุณกำลัง
    ฝึกฝนใช้ หนทางการภาวนา เหล่านั้นอยู่แล้ว อาจจะใช้มันทั้งสามทาง
    ที่คุณกล่าวมานั่นแหละ แต่ อันไหนปรากฏมาก หรือ คุณ ใช้มันมาก
    เป็นพิเศษกว่า แนวอื่น นั่นก็คือ ลักษณะของการปรากฏของเก่า ที่เคย
    ทำมา

    สังเกตดีๆนะ

    ของเก่าจะปรากฏ ก็ต่อเมื่อ ทำบ่อยๆ แล้ว สังเกตเอาว่า ไอ้ที่ทำมา
    บ่อยๆเนี่ยะ มันไปแนวไหน [ แต่ อย่าลืมเฉลียวใจ ไว้บ้างว่า ของเก่า
    หากไปทำอย่างเก่า มันมีแนวโน้ม ก้าวหน้า หรือว่า ติด แง๊ก อยู่กับ
    ของเก่า อันนี้ ก็ พิจารณาเอาไว้ด้วย ]


    ดังนั้น

    การปฏิบัติกรรมฐาน เขาไม่ได้ ให้คุณมานั่งเลือก แต่ ให้ดูไปตามความ
    เป็นจริง โดยที่คุณ ต้องลงมือปฏิบัติให้เต็มที่เข้ามาเสียก่อน

    ส่วนไอ้พวกที่บอกว่า เอะอะอะไร ก็ให้ไปทำ ความสงบก่อน ทำสมาธิก่อน
    นั้น มันโง่ สอนแบบโง่ๆ หลวงพ่อทูลกล่าวว่า ไม่ต้องไปฟังตามๆมันไป


    ที่มา ปัญญาสาม โดยหลวงพ่อทูล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กุมภาพันธ์ 2013
  5. cola-boys

    cola-boys Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +51
    หายสงสัยละพี่ขอบคุณครับ พอดีผมลองมาดูตัวเองเเล้วมันก้อผูดขึ้นมา 3 ปัญหาจากการที่ผมได้ปฏิบัติเเล้วเห็น
    1 ใช้สตินำจิต ผล รู้ว่าจะทำอะไรจะคิดอะไรสติจะมาบอกก่อน
    2 ใช้ไปพร้อมกัน ผล ทำอะไรจะไวตามนิสัยผมเเต่ในระหว่างที่ทำจะหยุดคิดก่อนว่าดีหรือไม่
    3 พอจิตมันนำใช้สติคุมไป รู้ว่าจะทำอะไรสติมาคุมว่าดีหรือไม่เเล้วทำช้าเเละก็คิดก่อนทำ เหมือนเอาอันที่1+2 = 3
     
  6. cola-boys

    cola-boys Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +51
    ผมฝึกเเนวทางหลวงพ่อจรัญมา 3 ปี มาปีนี้ผมเข้าใจละสิ่งที่ติดตัวมันอยู่ในร่างกายผมมาตลอด 1 ปี หลัง คือ อำนาจหรือพลังเเห่งสติในการที่จะใช้มันระลึกรู้อยู่ในขณะที่ผมกำลังคิดหรือกำลังทำอะไรซึ่งตรงนี้ผมสามารถให้มันรู้ร่างกายของเราได้หมดทุกส่วนโดยใช้ความคิดหรือจิตเนี่ยสั่งมันไปว่ามันกำลังทำงานอยู่เเละให้มันตามดูตามรู้ในสิ่งที่จิตกำลังคิดหรือกำลังทำอะไรสิ่งนี้มันไวมากเลยในการรับรู้ ตอนเเรกผมก็คิดว่าเป็นอำนาจของสมาธิที่ใช้ในการกำหนดจิต
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กุมภาพันธ์ 2013
  7. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    บรรยายแบบนี้ ค่อยดูเหมือนคนมี กำลังสมาธิ ขึ้นมาหน่อย

    กำลังของสมาธินั้น จะได้จากการ พิจารณาจิต ไปตามความเป็น
    จริงว่า สงัดจากอกุศล และ ปราศจากนิวรณ์

    ภูมิปัญญาที่เราใช้พิจารณา มันจะเป็น เรื่องเกี่ยวกับ ธรรมะ มันจะ
    ไม่ใช่การตรึกเพื่อไปสนองกิเลส การตรึกอย่างถูกวิธี ย่อมทำให้
    ได้ ฌาณ หรือ ความสงบกับจิต อัตโนมัติ

    แต่ คราวนี้มาดูเรื่อง สัมปชัญญะ เพิ่มไว้อีกตัว

    ปรกติเราจะเห็น สติ ไประลึกสภาพธรรม แล้ว เมื่อมีสติคอยสอด
    ส่องสภาพความแปรปรวนของพฤติจิต หากพิจารณาเป็นปัจจุบัน
    ไม่เป็นอดีตเกินไป ไม่ล่วงไปอนาคตเกินไป จะได้ ความสงบ เกิด
    ขึ้นกับจิต และหากจิตมีความสงบ เนื่องจากสติเกิด แล้ว ขณะนั้น
    เป็นการพิจารณาลง รูปนาม ธาตุ กิเลส หรือ นิวรณ์ ภาวะสวะ อะไร
    ก็ตาม
    พึงทราบว่า ภูมิจิตจะเป็น " ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน "

    แต่ สัมปชัญญะ ของ ธรรมานุสติปัฏฐาน จะอยู่ที่ การพิจารณา
    อาการเข้าไปรู้ อาการเข้าไปตรึก อาการไตร่ตรอง อาการของปัญญา
    ที่มันให้ผลออกมา ตรงนี้จะต้องแสดงการดับ ลงไปด้วย ที่ตรึกใน
    เรื่องนั้นๆเสร็จ เหมือน กับ กิเลสเป็นกองไฟ นิวรณ์เป็นกองไฟ
    สติระลึก สมาธิจี้ลงไปที่ฐานของไฟ ปัญญาทวนกระแสไปเห็นต้น
    ตอของมูลเหตุ เมื่อพิจารณาถึงจุดแล้ว ตัวปัญญาที่ทวนกระแสไป
    นั้นจะต้องดับไปจากจิต ไม่ติดค้าง ไม่มีความเพลินในการพิจารณา
    ไม่มี กูเห็น กูรู้ กูพิจารณาเก่ง ขึ้นมา เพราะ เหตุนั้นดับไปแล้ว เหตุ
    ในการภาวนาก็ต้องดับด้วย ไม่จำเป็นต้องใช้อีก

    ซึ่ง ปัญญาที่เกิดจากการพิจารณาใคร่ครวญที่ถูกวิธี หากดับไป ไม่
    ติดค้าง ไม่ทำให้ใจลำพอง ดีใจ ตรงนี้จะเรียกว่า มีสัมปชัญญะ

    ดูดีๆ นะ

    หากฟังธรรมแบบคนโง่แถวๆนี้ มันจะฟังที่กล่าวไปแล้วนั้น เหมือน
    กับว่าเราไม่ได้ภาวนาดับกิเลส ดับนิวรณ์ ห่างจากธาตุ ห่างจากขันธ์
    เลย แต่ ถ้าเรา ปฏิบัติแล้วเห็นพฤติจิตวิวัฏไปตามนี้ เราจะรู้และ
    มั่นใจของเราแล้วว่า

    กิเลส อาสวะ ใดๆ ดับไปแล้ว ด้วย ปัญญาทวนกระแสไปเห็น เมื่อ
    เห็นแล้ว เรื่องก็จบ ปัญญานั้นจะต้องดับไปจากจิตด้วย ( ถ้าปัญญา
    ค้างเติ่ง มีความภูมิใจ ฟูใจ สังเกตเลย ตัวเรา มันยังอยู่ ถ้าตัว
    เรายังอยู่ ปัญญาค้างเติ่ง ก็มีสองอย่างคือ คนๆนั้นไม่รู้จักสมาธิที่ถูกตัว กับ อีกพวก
    คือ ภาวนาไม่เป็นแล้วเที่ยวอมคำสอนครูบาอาจารย์มาแจ้วๆ )


    แล้ว สัมปัชญญะ จึงจะถือว่ามี เพราะ จะค่อยๆเห็นเลยว่า ทุกสิ่ง
    ทุกอย่างมันไม่ใช่เรื่องของ สัตว์ ในภพ ภูมิใดทั้งนั้น มันเป็นเรื่อง
    หลงติดอยู่ในความหลงผิดของ เหตุปัจจัยการ เท่านั้น ...ซึ่งตรง
    นี้จะเริ่มพิจารณา "อริยสัจจ" ยกอริยสัจจได้ ก็เท่ากับรู้รสแกง
    ของ ธรรมานุปัสนาสติปัฏฐาน

    ปัญญา3 เป็นอย่างไร คุณจะไม่ต้องให้ใครหน้าไหน มาช่วย
    ตอบคำถามอีก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กุมภาพันธ์ 2013
  8. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ทีนี้ เจ้าของกระทู้ จะพิสูจน์ดู ก็ได้

    ลองสังเกตเลย จิตคุณที่ตรึกอยู่อย่างนี้ มันจะรู้สึกว่า ขาดบางอย่างไป

    การไตร่ตรองอย่างนี้ อย่างที่คุณพิจารณาอยู่ คุณสำรวจลงไปแล้วจะพบ
    ว่า สติมีไหม ก็พบว่ามี สมาธิมีพอไหม ก็พบว่ามี บางจังหวะ ยังพบ
    สมาธิที่แนบแน่นกระเดียดไปทางปิติ5 หรือ เป็นประเภทจิตทรงฌาณ
    แฉลบไปทางการเล่นฌาณ ด้วยซ้ำ

    แล้วปัญญาหละ ก็ ใคร่ครวญอยู่ ดังนั้น ปัญญามันก็มี

    เรียกว่า สำรวจลงไปแล้ว " ทาน ศีล ภาวนา " " ศีล
    สมาธิ ปัญญา " มันก็มีหมดแล้ว แต่....มันยังขาดสิ่ง
    หนึ่ง เหมือนพิจารณาไม่ครบรอบ

    ก็นั่นแหละ ธรรมเขากำลังสอนเรื่อง สัมปชัญญะ มันขาดหายไป

    "ศีล สมาธิ ปัญญา" มีหมด แต่ สัมปชัญญะ ขาด เอาหละ เดี๋ยวก็
    มาแล้ว พระโพธิสัตว์2553บ้าง โสดาบันบ้าง อนาคามีบ้าง อรหันต์
    บ้าง พระสัพพัญญูเจ้าสามสีห้าสีบ้าง ซึ่งบุคคลเหล่านี้ เวลาฟังเขา
    แสดงธรรม ก็จะเหมือนๆว่า ศีลเขาก็รู้ สมาธิเข้าก็รู้ สมาบัติเขาก็รู้ โลกก็รู้
    สวรรคิ์ก็รู้ นรกก็รู้ ปัญญาเขาก็รู้ แต่ ขาดตัวเดียว ...................สัมปชัญญะ

    ซึ่งก็คือ "ศีล สมาธิ ปัญญา" มันไม่ดับไปจากจิต ของคนเหล่านี้ เมื่อ
    ไม่ดับไปจากจิต ก็เลยไม่มีสิกขาตามความเป็นจริงให้พิจารณา ไม่มีสัมปัชญญะ
    พอขาด สัมปชัญญะ ก็จะออกอาการไปตามอุปทาน เมาความเป็นพระพรหม
    เทพเทวา เมาความเป็นสัตว์ ไม่เลิก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กุมภาพันธ์ 2013
  9. cola-boys

    cola-boys Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +51
    ผมเคลีย์เเละพี่นิวรณ์ ผมไม่มานั่งถามเเละผมรู้ซึ้งหมดเเล้วที่ถามพี่ วันนี้อัดไป 4 ชั่วโมง
    เดิน 2 นั่ง 2 เห็นตัวเองหมดเลย เสียดายเวลานาจะทำให้มากกว่าถาม
    ตอบคำถามที่สงสัยด้วยตัวเองได้หมดเเละพี่ไม่มานั่งดูโพสเเละ ยิ่งให้ยิ่งได้จริงๆ
    วันนี้ไห้เวลากับกรรมฐานเยอะ ปกติไห้ 2 ชั่วโมง ซึ้งน้ำใจพี่จริงๆ เพราะผมสงสัยตัวเองเเท้จำคำหลวงพ่อได้เลย ให้ทำเยอะๆวันนี้ก่อนเเผ่เมตตานินิตท่าลอยมายิ้มเเฉ่งเลย เเต่ผมก็กำหนดตามว่าเห็นหนอ ไม่งั้นเด๋วหลุดเเย่เลย ยังไงก็ขอบคุณครับ

    ตามที่พี่โพส 2 อันท้าย วันนี้ผมเจอด้วยตัวเองละ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กุมภาพันธ์ 2013
  10. cola-boys

    cola-boys Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +51
    แต่ สัมปชัญญะ ของ ธรรมานุสติปัฏฐาน จะอยู่ที่ การพิจารณา
    อาการเข้าไปรู้ อาการเข้าไปตรึก อาการไตร่ตรอง อาการของปัญญา
    ที่มันให้ผลออกมา ตรงนี้จะต้องแสดงการดับ ลงไปด้วย ที่ตรึกใน
    เรื่องนั้นๆเสร็จ เหมือน กับ กิเลสเป็นกองไฟ นิวรณ์เป็นกองไฟ
    สติระลึก สมาธิจี้ลงไปที่ฐานของไฟ ปัญญาทวนกระแสไปเห็นต้น
    ตอของมูลเหตุ เมื่อพิจารณาถึงจุดแล้ว ตัวปัญญาที่ทวนกระแสไป
    นั้นจะต้องดับไปจากจิต ไม่ติดค้าง ไม่มีความเพลินในการพิจารณา
    ไม่มี กูเห็น กูรู้ กูพิจารณาเก่ง ขึ้นมา เพราะ เหตุนั้นดับไปแล้ว เหตุ
    ในการภาวนาก็ต้องดับด้วย ไม่จำเป็นต้องใช้อีก

    ซึ่ง ปัญญาที่เกิดจากการพิจารณาใคร่ครวญที่ถูกวิธี หากดับไป ไม่
    ติดค้าง ไม่ทำให้ใจลำพอง ดีใจ ตรงนี้จะเรียกว่า มีสัมปชัญญะ

    เป๊ะเลยพี่อันนี้จริงๆ พอพิจารณาเสร็จนะอารมณ์ไม่ค้างเดินปัญญาพิจารณาเสร็จดับไปพิจารณาตัวอื่นต่อ เป็นงี้ไปเรื่อย
    ตั้งเเต่เข้ามาดูเวปนี้นะพี่ตอบเหมือนเเบบพี่อ่านใจผมตอบเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กุมภาพันธ์ 2013
  11. cola-boys

    cola-boys Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +51
    ตอนผมไปวัดอัมพวันช่วงน้ามท่วมนั้นคนน้อยมากๆ หลังจากปฏิบัติธรรมเสร็จ 12 วันก็ไปลาหลวงพ่อที่กุฏ ป้าผมให้ผมเข้าไปหาหลวงพ่อให้หลวงพ่อลูบหัวให้ตอนเเรกผมก็กลัวไม่กล้า สุดท้ายผมก็เข้าไปท่านลูบหัวผมเบาๆ3 ครั้ง จนลุกเลยบุญหัวผมมาก จนคนอื่นมองผมเเปลกๆ เเล้้วมาคุยกับป้าผมบอกว่าผมโชคดีมากที่หลวงพ่อท่านเมตตาปกติเเล้วจะไม่ค่อยได้เห็นคนอื่นทำกัน ซึ้งใจซึ่งจิตๆ จริงๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...