{{หลวงพ่อคูณ257}}ศึกษาพระสมเด็จ/เบญจภาคีองค์ครู26ขุนแผนพรายกุมาร4ลพ.พรหม68พ่อท่านคลิ้ง105

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย Amuletism, 2 มกราคม 2012.

  1. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    ๏ เพชรน้ำหนึ่งแห่งลุ่มน้ำนครชัยศรี

    หลวงพ่อท่านได้มองถึงประโยชน์ของการศึกษาวัฒนธรรมความเจริญของท้องถิ่นแห่งนี้เมื่อสมัยก่อน ในการที่จะพัฒนาบุคคลให้มีความรู้คู่คุณธรรม และมีจิตสำนึกรักภูมิลำเนาบ้านเกิดของตน โดยที่ท่านได้วางโครงการก่อสร้าง “พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน” ที่ตั้งใจจะสร้างไว้นานแล้ว เพื่อเป็นที่รวบรวมสรรพวิชาความรู้ภูมิปัญญาชาวบ้าน และของเก่าแก่ของแถบลุ่มน้ำนครชัยศรี บริเวณตำบลบางแก้วฟ้านี้ ที่เมื่อครั้งหนึ่งเคยเป็นแหล่งที่มีการติดต่อค้าขายกัน มีชาวบ้านอยู่มากมาย เป็นแหล่งรวมสรรพวิชาความรู้ที่สำคัญแห่งหนึ่งในบริเวณนี้ ซึ่งสามารถดูได้จากโบสถ์เก่าสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เรือสำเภาโบราณที่มีเจดีย์เล็กๆ บนเรือนั้น

    ส่วนวิชาความรู้ต่างๆ ในสายพระเวทคาถา ท่านเองได้ศึกษามามากจากหลวงปู่หิ่ม (พระอุปัชฌาย์), หลวงพ่อโอภาสี, หลวงพ่อแดง วัดทุ่งคอก และหลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน เป็นต้น และออกฝึกปฏิบัติทางจิตตามแนวทางในพระพุทธศาสนา เพื่อให้รู้ถึงสภาวธรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในจิตของตน โดยปฏิบัติธุดงควัตรในสถานที่ต่างๆ

    ท่านเองเป็นตัวอย่างของพระนักศึกษา ทั้งทางรูปธรรมและนามธรรมอย่างเห็นได้ชัด จนกระทั่งสามารถนำวิชาความรู้ต่างๆ มาช่วยเหลือชี้นำแนวทาง และพัฒนาจิตใจแก่พุทธศาสนิกชนได้ หลวงพ่อเองเป็นผู้ที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตน และมีความเมตตาต่อผู้ที่มาหาท่าน รวมถึงสัตว์ต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในบริเวณวัดบางพระ

    หลวงพ่อได้ฝากปริศนาธรรมต่างๆ โดยการปฏิบัติและสร้างสิ่งต่างๆ ให้เห็นเป็นประจักษ์ทั้งรูปธรรมและนามธรรมหลายต่อหลายอย่างซึ่งปรากฏแก่ผู้ที่ใกล้ชิดท่าน อันพระภิกษุสงฆ์รูปหนึ่งได้ระลึกเสมอว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ได้ยังประโยชน์ตนประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท ตามพระวาจาที่พระพุทธองค์ทรงตรัสฝากไว้ครั้งสุดท้าย นอกจากนี้แล้ว หลวงพ่อเป็นพระสุปฏิปันโณ ผู้มีศีลและจริยวัตรอันงดงามหมดจดแล้วด้วยดี ในขณะที่ธาตุสี่ขันธ์ห้ายังประชุมอยู่ ถือได้ว่าเป็นพระแท้ที่หาได้ยากยิ่งในยุคนี้
     
  2. Soul Power

    Soul Power เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    227
    ค่าพลัง:
    +452
    หลวงพ่อคูณอารมณ์ดี หลังอาการอาพาธดีขึ้นต่อเนื่อง
    บ่นอยากกลับวัดบ่อยขึ้น ขณะที่แพทย์ระบุปลายสัปดาห์นี้
    หากอาการดีขึ้นมาก จะเริ่มฟื้นฟูร่างกายให้แข็งแรง
    และหารือเรื่องเดินทางกลับวัดบ้านไร่

    [​IMG]

    นพ.พินิศจัย นาคพันธุ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจและหลอดเลือด รพ.มหาราชนครราชสีมา เปิดเผยความคืบหน้าอาการอาพาธของหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ เจ้าอาวาสวัดบ้านไร่ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา ที่เข้ารับการรักษาภาวะปอดอักเสบที่ รพ.มหาราชนครราชสีมา ตั้งแต่วันที่ 29 พ.ย.55 รวมระยะเวลา 56 วัน ว่า ภาพรวมถือว่าดีขึ้นมาก ไม่มีไข้ติดต่อกันมากกว่า 10 วันแล้ว พูดคุยอารมณ์ดี ยิ้มออก เริ่มบ่นว่าอยากกลับวัดบ้านไร่บ่อยครั้งขึ้น

    ขณะที่ภาวะปอดติดเชื้อถือว่าดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับตอนแรกที่เข้า รพ.เสมหะลดลง แต่ก็ยังมีอยู่บ้าง แพทย์ยังคงให้ยาละลายเสมหะและยาขยายหลอดลมไปเรื่อย ๆ ส่วนภาวะท่อทางเดินปัสสาวะติดเชื้อ ขณะนี้เริ่มดีขึ้นมากกว่าสัปดาห์ก่อน ปัสสาวะใสขึ้น ยังเหลือความขุ่นอยู่บ้าง จึงต้องให้ยาปฏิชีวนะแบบฉันพร้อมอาหารเหลวต่อไปอีก 2-3 วัน วันที่ 25 ม.ค.นี้ จะประเมินว่าอาการดีขึ้นหรือไม่ หรือจะให้ฉันยาต่อหรือไม่ ถ้าหากไม่มีภาวะแทรกซ้อน ก็น่าจะดีขึ้น หลังจากนั้นก็จะเร่งฟื้นฟูร่างกาย ทำกายภาพบำบัด ปั่นจักรยาน พร้อมกับหารือกับคณะลูกศิษย์เรื่องการเดินทางกลับวัดบ้านไร่ โดยเฉพาะการดูแลหลวงพ่อขณะจำวัดอยู่ที่วัด จะต้องอยู่ในห้องพักที่ปลอดเชื้อและควบคุมอุณหภูมิห้องอย่างเหมาะสม

    อย่างไรก็ตาม จากภาวะท่อทางเดินปัสสาวะอักเสบ จำเป็นต้องใส่เครื่องสวนปัสสาวะ อาจเสี่ยงทำให้หลวงพ่อมีภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อขึ้นได้ตลอดเวลา จึงต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการห้ามบุคคลภายนอกเข้าเยี่ยมหลวงพ่อ ต้องเข้มงวดเรื่องนี้ในทุกกรณี ถ้าทุกคนรักหลวงพ่อ ก็ไม่ควรเข้ามาเป็นการรบกวนหลวงพ่อ.

     ที่มา เดลินิวส์ 22 ม.ค. 56
     
  3. 24hrs

    24hrs เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    1,200
    ค่าพลัง:
    +2,491
    สวัสดีท่านพี่ Amuletism และท่านพี่ทุกๆท่านครับ อยากรบกวนขอข้อมูลการดูพระเก๊ โดยใช้การถอดพิมพ์จากองค์จริงครับ จะมีวิธีการดูอย่างไร หากเราไม่เคยเห็นพระแท้มาก่อน(ทั้งพระเนื้อดิน เนื้อผง เนื้อโลหะ) ขอบพระคุณท่านพี่ล่วงหน้าครับ;aa47
     
  4. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    "พระเก๊มาจากไหน"

    --------------------------------------------------------------------------------


    ปัจจุบันวงการพระขยายตัวเป็นอย่างมาก ได้รับความนิยมจากบุคคลทุกกลุ่มทุกชนชั้น ทำให้มีศูนย์พระเครื่องชมรมพระเปิดขึ้น ทั้งซื้อ ขาย แลกเปลี่ยนกันอย่างมาก แม้กระทั่งทางอินเทอร์เน็ตก็มีการเปิดเวบไซต์เกี่ยวกับพระเครื่องเพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา

    เมื่อมีผู้นิยมพระเครื่องกันมากขึ้นความต้องการในพระเครื่ององค์นั้นๆ ก็เพิ่มมากขึ้น ทำให้ราคาเช่าหาพระเครื่องในปัจจุบันสูงขึ้นมากเป็นสัจธรรม เมื่อของหายากมีราคาแพง ของปลอมหรือของเลียนแบบย่อมมีเป็นธรรมดา และเมื่อขายได้ราคาสูงของปลอมจึงมีการลงทุนและพัฒนาฝีมือเพิ่มขึ้น

    จนปัจจุบันนี้แม้เซียนพระเครื่องในวงการยังออกปากว่า “ของปลอมสมัยนี้ มันทำได้เหมือนมาก เผลอเป็นโดน”

    โดยเฉพาะพระยอดนิยม เช่น พระหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง พระคงลำพูน พระกริ่งคลองตะเคียน ฯลฯ ปัจจุบันนี้พระที่ยกตัวอย่างมานี้ถือได้ว่าเป็นพระที่มีการปลอมได้น่ากลัว มีความเหมือนของจริงมากๆ

    ผู้เขียนได้มีโอกาสสนทนาและสอบถามจากผู้รู้หลายๆ ท่าน และจากประสบการณ์ที่ผ่านมา พอจะประมาณได้ว่า พระปลอม เหล่านี้มาจากวิธีการผลิตทั้งหมด ๔ แบบ ซึ่งถ้าเราวิเคราะห์ก็จะได้รายละเอียดดังนี้

    ๑.พระเครื่องปลอมที่เกิดจากการแกะแม่พิมพ์ใหม่ คือเมื่อนักปลอมแปลงพระต้องการจะปลอมพระเครื่องสักแบบหนึ่งก็ต้องทำแม่พิมพ์ขึ้นมาใหม่ การแกะแม่พิมพ์ขึ้นมาใหม่นี้เป็นวิธีแรกๆ ในการปลอมพระ ความเหมือนของพระปลอมแบบนี้ค่อนข้างจะไม่เหมือนมากนักเพราะการแกะขึ้นใหม่นั้น โอกาสผิดพลาดสูงมาก

    พระปลอมจากกรรมวิธีนี้จึงมักจะเป็นพระปลอมที่ผิดพิมพ์ แต่เนื่องจากวิธีการปลอมพระแบบนี้กระทำมาหลายสิบปีแล้ว พระปลอมบางองค์จึงถูกจับต้องสัมผัสจนเกิดมีความจัดขึ้นได้ พระปลอมชุดนี้จึงเป็นพระที่เรามักเรียกว่า "พระเก๊เก่า” หรือที่ท่านอาจจะได้ยินว่า “พระผิดพิมพ์แต่เนื้อเก่า” นั่นเอง

    ๒.พระเครื่องปลอมที่เกิดจากการถอดพิมพ์ เมื่อวงการพระเครื่องเริ่มมีการพัฒนามากขึ้น พระปลอมมีโอกาสขายได้ราคา การปลอมพระจึงมีการลงทุน โดยการนำพระเครื่องที่แท้และมีความสวยงาม มาถอดแบบแม่พิมพ์ โดยวัสดุที่มากดแบบพิมพ์นี้มีตั้งแต่ ดินเหนียว ปูนพลาสเตอร์ ยางฟันปลอม จนถึงเรซิ่นหรือซิลิโคน ในปัจจุบัน

    พระปลอมที่เกิดจากการถอดพิมพ์นี้ความเหมือนของพิมพ์ทรง มีสูงมาก หรือเรียกได้ว่า ถูกพิมพ์เลยทีเดียว แต่ถ้าสังเกตจริงๆ ก็จะมีสรีระบางส่วนที่อาจจะผิดไป ซึ่งมักจะเกิดจากการบิดตัวของวัสดุตอนถอดแม่พิมพ์ และที่สำคัญ เมื่อมีการถ่ายสำเนาเกิดขึ้น ตัวลูกย่อมไม่คมชัดเหมือนต้นฉบับแน่นอน พระปลอมชนิดนี้ก็เช่นกัน ความคมชัดของเส้นสายต่างๆ จะไม่ชัดเจนเท่าของแท้ ตำหนิจุดตาย ไม่ปรากฏให้เห็นเหมือนของจริง เราสามารถสังเกตได้ไม่ยากนัก

    ๓.พระเครื่องปลอมที่เกิดจากการถอดพิมพ์แล้วตกแต่งแม่พิมพ์ พระปลอมที่เกิดจากกรรมวิธีนี้ ถือได้ว่าน่ากลัวที่สุด ในขบวนการพระปลอมที่พบในปัจจุบันเพราะว่าจากกรรมวิธีนี้ พระปลอมจะขาดความคมชัด ตำหนิจุดตายมักจะไม่ติดหรือติดให้เห็นน้อยมาก นักปลอมพระจึงต้องจึงต้องตกแต่งแม่พิมพ์ในส่วนที่ขาดหายไป

    พระปลอมชุดนี้จะปรากฏตำหนิจุดตายครบ แต่เราสามารถสังเกตจริงๆ จังๆ ได้ว่า ตำหนิที่ปรากฏต่างๆ จะมีความเด่นชัดและดูแข็งทื่อ ไม่เป็นธรรมชาติ เหมือนกับพระแท้ ซึ่งข้อนี้สำคัญมาก ต้องพยายามหาของแท้มาสังเกต จดจำกันถึงจะปลอดภัย และที่จะช่วยพิจารณาได้อีกอย่างหนึ่งคือด้านข้างและด้านหลังของพระนั้นๆ ว่าเป็นอย่างไรประกอบด้วย

    โดยมาก พระปลอมโดยการถอดพิมพ์นั้นมักจะปรากฏขอบข้างเป็นสองชั้น ซึ่งเกิดจากของพระแท้นำไปถอดหนึ่งชั้นและขอบจากการตัดขอบของแม่พิมพ์เก๊อีกหนึ่งชั้น พระที่มีของ ๒ ชั้น ต้องพิจารณาดูอย่างละเอียดเพราะอาจจะเป็นพระปลอมถอดพิมพ์มาก็ย่อมได้

    ๔.พระปลอมที่เกิดจากแม่พิมพ์แท้ การทำพระเครื่องขึ้นแต่ละครั้ง แม่พิมพ์อาจไม่ได้ถูกทำลายก็เป็นได้ เมื่อพระนั้นมีราคาจึงมีการนำกลับมาปั๊มใหม่อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งบางครั้งก็สุดวิสัยในการดู แต่มักจะเกิดกับพระเครื่องยุคใหม่ๆ ที่เราเรียกกันว่า “ของเสริม” นั่นเอง แต่ถ้าเป็นพระกรุหรือพระเกจิโบราณ แม่พิมพ์อาจมีการค้นพบ แต่ก็มักจะชำรุดไม่สามารถนำกลับมาทำใหม่ได้อีกครั้ง

    อย่างไรก็ตาม ในวงการพระเครื่องมีคำพูด (ภาษาเซียน) ซึ่งมีความหมายว่า "ปลอม" อยู่หลายคำ เช่น ชุกซัว ซาลูตู้ ดุ๊ย กระตู้ฮู้ พระไม่ถูกพิมพ์แต่เนื้อถึง พระไม่มีพุทธคุณ พระไม่มีพลัง ไม่ถึงยุค อายุไม่ถึง ไม่ถนัดพระเนื้อนี้ ผิดทาง และ พระดูยาก (คำนี้อาจจะใช้ได้ทั้งเก๊ดูยากและแท้ดูยาก) หากใครได้ยินคำเหล่านี้เข้า ก็ขอให้ทำใจเผื่อไว้ล่วงหน้าด้วย

    จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า พระปลอม นั้นไม่ใช่เรื่องที่จะประมาทได้ พระมีการพัฒนาและลงทุนมากขึ้นทุกขณะ เพื่อให้นักสะสมหลงควักสตางค์กับพระเหล่านี้ เพราะฉะนั้น จึงควรนำหลักการข้างต้นไปประยุกต์ใช้ในการพิจารณาประกอบการตัดสินใจ โอกาสที่ท่านนักสะสมจะพลาดก็น้อยลงด้วย

    สิ่งหนึ่งที่อยากฝากเป็นข้อคิด คือ ในส่วนของพระเครื่องที่เป็นมรดกตกทอดจากปู่ ยา ตา ยาย รวมทั้งผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ หากนำพระที่ห้อยอยู่ไปให้เซียนพระดูแล้วบอกว่าเป็นพระไม่ถึงยุค ก็อย่าคิดถอดพระหรือไม่แขวนพระองค์นั้นเลย ให้คิดเสียว่าพระองค์นั้นๆ เป็นของที่ระลึก ผู้ให้มีเจตนาดี พระทุกองค์สามารถใช้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจได้เสมอ
     
  5. โอ๋สะพาน

    โอ๋สะพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    2,494
    ค่าพลัง:
    +3,973
    สวัสดีครับ คุณ Amuletism คุณ กรุพระ คุณ captainzire คุณ ryan boy คุณ ทิพย์มงคล คุณ โอกระบี่ คุณ 24hrsคุณ 001notคุณ Soul Powerและ ทุกท่านครับ
    (k)(k)(k)(k)(k)
     
  6. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    สวัสดีครับ พี่โอ๋สะพาน พี่ 24 hrs
    พี่ Amuletism เห็นคำถามเกี่ยวกับพระถอดพิมพ์
    ก็เลยขอนำบทความพระเก๊มาให้ข้อมูลกันครับ
     
  7. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    ชั่วโมงเซียนเต้สระบุรี-CLOSE UP พระปลอม!

    สิ่งที่ควบคู่กับวงการพระเครื่องมาตั้งแต่แรกเริ่มนอกเหนือจากเซียนพระแล้วนั้น คงจะหลีกหนีสิ่งนี้ไปไม่ได้นั่นคือ "พระปลอม" จวบจนปัจจุบันจำนวนพระปลอมเพิ่มขึ้นหลายเท่าทวีคูณ จนมากกว่าจำนวนพระแท้นับพันนับหมื่นเท่า จนเรียกได้ว่าการหาพระแท้ในวงการนักสะสมนั้นยากยิ่งกว่างมเข็มในมหาสมุทรเลย

    ชั่วโมงเซียนเต้สระบุรี-CLOSE UP พระปลอม! : พระปลอมในอดีตที่ผ่านมามักเกิดขึ้นโดยการอุปโลกน์พระพิมพ์อื่นๆขึ้นมาให้คนหลงเชื่อว่าเป็นเรื่องจริง เช่น พระสมเด็จที่มีเรือแจวอยู่เป็นส่วนประกอบ ในวงการพระนั้นเรียกว่า "สมเด็จแจวเรือจ้าง" ซึ่งมีตำนานอ้างว่า เป็นรูปสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี กับลูกศิษย์กำลังพายเรือบิณฑบาต หรืออีกแบบหนึ่งเป็นพระสมเด็จที่ด้านหลังมีก้างปลาติดอยู่ วงการพระเรียกว่า "สมเด็จหลังก้างปลา" ซึ่งก็มีตำนานกล่าวไว้อีกว่า เมื่อสมเด็จโตฉันอาหารเสร็จแล้ว ก็ได้นำเศษก้างปลาที่เหลือมาติดไว้ด้านหลังองค์พระ ซึ่งเรื่องเหล่านี้ยังมีอีกมากมายหลายเรื่องซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการแต่งขึ้นมาทั้งหมด เพื่อเป็นการเสริมให้พระที่ผลิตขึ้นมาใหม่นั้นมีราคาและเป็นที่ต้องการ

    ในยุคต่อมาวงการพระเริ่มมีการจับกลุ่มแลกเปลี่ยน มีสนามพระเกิดขึ้น  พระเครื่องมีความสวยงาม พุทธคุณโด่งดังเริ่มเป็นที่รู้จักของนักสะสมมากขึ้น จึงเกิดการเลียนแบบพระเครื่องเหล่านั้นกันมากขึ้น โดยการแกะแม่พิมพ์พระเครื่องดังๆ เหล่านั้นขึ้นมาใหม่ แล้วผลิตออกมาเพื่อหลอกนักสะสมที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ว่ามีพระปลอมประเภทนี้แล้ว เราจะสังเกตได้ง่ายเนื่องจากพระปลอมเหล่านี้ จะมีรูปแบบแตกต่างจากพระแท้อย่างเห็นได้ชัด 

    เนื่องจากผู้ผลิตแกะแม่พิมพ์พระปลอมขึ้นมาใหม่หมดดังนั้นหนังสือพระเครื่องในยุคแรก จึงเริ่มมีการเผยแพร่ตำหนิ จุดตาย ของพระเครื่องแบบต่างๆ อย่างหยาบๆ ก็สามารถแยกพระแท้กับพระปลอมได้เป็นอย่างดี (มาในปัจจุบันพระปลอมยุคนี้เนื้อหาได้เก่าพอสมควรแล้ว ผู้ที่ชอบพระเครื่องเนื้อจัดๆ สมควรระวัง)

    เมื่อพระปลอมยุคแรกเริ่มไม่ได้ผลในการหลอกลวงแล้วผู้ผลิตหัวใสเหล่านั้นจึงคิดนำพระแท้ๆ มาถอดแบบแม่พิมพ์ ทำพิมพ์พระปลอมออกมามีรูปแบบตำหนิได้อย่างใกล้เคียงพระแท้มาก (ก็เล่นเอาพระแท้มาถอดพิมพ์ก็เหมือนนะสิ) ส่วนเหรียญคณาจารย์ก็ทำเป็นแบบหล่อขึ้นมา ไม่ได้ปั๊มเหมือนของแท้ ทำให้บรรดานักสะสมที่ยึดตำหนิทั้งหลายโดยมิได้ดูรายละเอียดอื่นๆ ถึงกับเสียสตางค์กันอย่างทั่วหน้า ถือได้ว่าพระปลอมในยุคนี้เป็นการเปิดศักราชการปลอมพระยุคใหม่ที่ทำให้เซียนพระต้องปรับตัวกันอย่างรุนแรง

    แต่ข้อเสียของการถอดแบบแม่พิมพ์พระปลอมในยุคแรกนั้นก็ยังสามารถแยกแยะพระปลอมกับพระแท้ได้ไม่ยากเกินความสามารถของนักสะสมเพราะว่าวัสดุที่นำมาถ่ายแบบพิมพ์นั้น ยังไม่มีคุณภาพที่ดี รายละเอียดต่างๆ ที่ถอดออกมาจึงขาดความชัดเจน เมื่อปั๊มเป็นพระปลอมแล้ว ตำหนิจุดตายที่ปรากฏในพระปลอมจึงไม่คมชัด ติดเห็นบ้าง ไม่เห็นบ้าง ไม่ยากที่จะแยกแยะ ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาการใช้วัสดุการถอดพิมพ์ที่มีคุณภาพมากขึ้นตำหนิความคมชัดของจุดตายต่างๆ ของพระปลอมจึงใกล้เคียงกับของแท้เป็นอย่างมาก เรียกได้ว่าถ้าไม่เคยเห็นพระแท้ เป็นแบบอย่างจนจำได้ติดตาขึ้นใจแล้ว มีโอกาสที่จะพลาดได้เสมอ ถ้าเพียงแค่ยึดภาพจากในตำรา

    เหล่าบรรดาเซียนพระทั้งหลายที่มีความชำนาญนอกจากจะดูตำหนิ จุดตาย ที่ถูกต้องชัดเจนแล้วนั้น ยังต้องจำลักษณะของเนื้อหา ผิวพรรณของพระ รวมถึงด้านหลังขององค์พระแบบต่างๆ ด้วยว่ามักจะเป็นเช่นไร อาทิ พระหลวงพ่อโต กรุบางกระทิงอยุธยา ด้านหลังมักปรากฏรอยปาด และมีรอยเม็ดกรวดครูดกับเนื้อปรากฏให้เห็น หรือพระท่ามะปรางค์ กรุวัดสะตือ พิษณุโลก ด้านหลังมักเป็นแอ่ง เป็นที่สังเกตได้อย่างชัดเจน หรือพระชินราชใบเสมา กรุวัดใหญ่พิษณุโลก ด้านหลังมักปรากฏเป็นลายผ้า แบบยับไปมา

    นอกจากนี้แล้วนักประดิษฐ์พระปลอมทั้งหลายอัพเกรดพระปลอมให้ได้ใกล้เคียงพระแท้ขึ้นไปอีก ด้วยการศึกษาและพยายามทำด้านหลังให้ใกล้เคียงกับด้านหน้าให้มากที่สุด จวบจนในปัจจุบัน พระปลอมที่ฝีมือเฉียบขาดนั้น ได้มีการถอดพิมพ์ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง จากพระแท้เพื่อให้พระปลอมที่ผลิตขึ้นมานั้นมีรูปแบบทั้งด้านหน้า และด้านหลังมีความเหมือนของแท้มากที่สุด 

    พระปลอมเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นสุดยอดเทคโนโลยีก๊อบปี้ในวงการพระแต่ก็จะมีข้อแตกต่างให้ผู้ชำนาญการได้สังเกตอีกนั่นก็คือ พระแท้นั้นมักจะเกิดจากแม่พิมพ์ด้านหน้าตัวเดียว (ไม่รวมเหรียญ หรือพระสองหน้า) แต่พระเก๊ชุดเหล่านี้เกิดจากแม่พิมพ์ ๒ หน้า (ด้านหน้า และด้านหลัง) ผลต่างก็คือด้านข้างของพระแท้กับพระปลอม จึงมีความแตกต่างให้เห็นคือของปลอมมักปรากฏให้เห็นรอยประกบของแม่พิมพ์ด้านหน้าและด้านหลัง ส่วนของแท้นั้นมักเป็นรอยตัดตามธรรมชาติ หรือรอยเนื้อเกิน ปีกนอก ที่มีความเป็นธรรมชาติให้เห็น

    ที่กล่าวมานั้นเป็นขั้นตอนการพัฒนาการผลิตพระปลอมจากอดีตจนปัจจุบันส่วนอนาคตนั้นไม่สามารถคาดเดาได้ เพราะฉะนั้นพระแท้ในแต่ละชนิด แต่ละแบบในปัจจุบันนี้ ผู้มีความชำนาญอย่างจริงแท้เขาจะต้องพิจารณาองค์ประกอบดังต่อไปนี้ จึงจะระบุว่าพระนั้นๆ เป็นของแท้จริงๆ

    ๑.แม่พิมพ์ด้านหน้า ถูกต้อง 

    ๒.ลักษณะด้านหลังถูกต้อง

    ๓.ลักษณะด้านข้างถูกต้อง

    ๔.ลักษณะการตัดแต่งกรรมวิธีผลิต ถูกต้อง 

    ๕.ขนาดถูกต้อง

    ๖.เนื้อหาถูกต้อง

    ๗.ผิวพรรณธรรมชาติที่ปรากฏ เช่น คราบกรุ สนิม ออกไซด์ ขี้เบ้า ฯลฯ

    จะเห็นได้ว่าการพิจารณาพระแท้จริงๆ นั้นมีรูปแบบรายละเอียดที่มากและต้องใช้การสังเกตและจำจากแท้จริง ดังนั้นหากท่านมีโอกาสจับต้องพระแท้ๆ แล้วจงระลึกถึงข้อที่น่าสังเกต และจดจำทั้ง ๗ ข้อนี้ไว้ในโอกาสข้างหน้า ท่านก็จะสามารถแยกแยะพระแท้พระปลอมได้อย่างแน่นอน  

    ที่มา หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
    -------------------------------------------------------------------------------------------

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มกราคม 2013
  8. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    พระฝีมือ ตอนที่1
    คอลัมน์ คำคมคารมเซียน


    กลับมาอีกครั้งกับคารมเซียนคมๆ ที่อุดมไปด้วยเรื่องราวมันๆ ในวงการพระเครื่องฯ

    คราวนี้ต้องเหลากันหลายตอน เพราะซอกซอนไปเซาะข้อมูลเซียนมาเพียบ

    นำมาขยายผ่านศัพท์คำว่า "พระฝีมือ"...เฉียบ!

    ยังเป็นภาษาสื่อสารในสังคมเซียนไม่เปลี่ยนมาหลายปี

    ทั้งนี้เพราะขบวนการด้านมืดยังตอแยอย่างยืดเยื้อ ยังเดินหน้าพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กอย่างไม่ลดละ

    คำนี้จึงถูกเอ่ยด้วยเสียง อ่อยๆ พร้อมถอนหายใจเฮือกใหญ่ในทุกครั้งที่เจอว่า "เฮ้อ...พระฝีมือ"

    พระฝีมือ : พระเก๊ที่ทำได้เกือบแท้ หรือพระแท้แต่ผ่านการศัลยกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้น

    "ฝีมือ" แปลตรงๆ ก็คือความเชี่ยวชาญในการใช้มืออย่างมีศิลปะ

    เช่นฝีมือทำครัว ฝีมือเล่นกีตาร์ ฝีมือเขียนรูป-ทำหัตถกรรม

    ซ้ำยังเป็นเสมือนคำชมว่า...เก่งเยี่ยมยุทธ์สุดยอด!

    แบบที่เวลาพูดจะยกนิ้วหัวแม่โป้งมือประกอบความชอบใจยกย่อง

    แต่การนับถือว่าเป็น "ยอดฝีมือ" ไม่จำกัดเฉพาะกิจกรรมด้านการสร้างสรรค์ กิจการที่ผลิตผลงานของหมู่มารก็ได้รับการชื่นชมเช่นนี้...เช่นกัน

    อย่างพระเครื่องรางที่มีราคาอู้ฟู่เฟื่องฟูในปัจจุบัน บรรดามือผีไม่มีย่นระย่อ

    ขยันสานต่ออุดมการณ์สรรหากรรมวิธีในการปลอมและดัดแปลงมาทุกยุค บุกบั่นมาทุกสมัย...นับครั้งไม่ถ้วน

    ก่อกวนวงการจนเป็นตำนาน "มารปราบเซียน" เขียนเล่าได้เป็นหนังสือเล่มหนา พระเก๊ที่เก๊แล้วเก๊เล่า ผ่านกาลเวลาจนถูกตราหน้าว่า "เก๊เก่า" แต่ก็ยัง...เก๊อีก หรือบางพวกก็เอาดีทางด้านการผ่าตัดปรับปรุงโฉมพระแท้ให้แปรเปลี่ยน เป้าหมายเพื่อตบตาเซียนให้ตาลายเข้าใจว่าเป็นพระรุ่นราคาแพงๆ ด้วยวิธีสารพัด ผลัดเปลี่ยนเวียนวนจนเซียนเวียนหัว ทุ่มสุดตัวจนเป็นผลงานเก๊ยอดเยี่ยมหรือพระศัลย กรรมเกรด A เรียกเท่ๆ ว่า...พระฝีมือ

    ต้องขออ้างอิงบทความตอน "เก๊เก่า" ที่เคยเล่าถึงขบวนการปลอมพระผงสมเด็จ วัดระฆังอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยตั้งแต่ ปี ๒๔๙๐

    จากงานเก๊ดูง่ายประเภท "พิมพ์ไม่ได้-เนื้อไม่โดน" มาสู่ "พิมพ์ไม่โดน-เนื้อพอได้"

    ด้วยการนำพระผงเก่าๆ เนื้อจัดๆ ชำรุดหักๆ ของหลากคณาจารย์มาบดกด ผสม ผ่านกรรมวิธีต่างๆ สร้างเป็นพระสมเด็จขึ้นมาใหม่

    แต่พิมพ์ยังไม่ใกล้เคียง...จึงจบไป

    จนมาถึง "เก๊แกะ" โดยการหาพระ แท้เนื้อผงพิมพ์ทรงใกล้เคียงจากหลากเกจิอาจารย์ ที่ผ่านการใช้จนสึกเก่า

    คัดเอาแต่องค์ที่เนื้อพระหนาๆ นำมาแกะเป็นพระสมเด็จ

    สำเร็จเป็นงานเก๊ระดับ "พระฝีมือ" ในยุคนั้น

    ซึ่งปัจจุบันได้พัฒนาเลยไปไกล โดยการใช้องค์แท้สวยๆ มาถอดแบบ

    ผสมผสานทุกกรรมวิธีสุดแสบจนคล้ายพระผงชั้นดีราคาแพง จากต้นทุนที่ถูกเหลือหลาย

    แต่พระฝีมือเนื้อผงซึ่งดูลงตัวที่สุดกลับต้องยกนิ้วให้กับพระเก๊ที่เลียนพิมพ์พระ "หลวงปู่ภู วัดอินทร์"

    เพราะงานไม่หินเท่ากับการปลอมพระสมเด็จวัดระฆัง และบางขุนพรหมที่เนื้อเก่าจัดกว่ามาก

    การทำพระฝีมือเหล่านี้ จะทดลองทำขึ้นมาจำนวนหนึ่งเพื่อทดสอบสายตาเซียนในสนาม

    ฝ่าด่านจนย่ามใจ จึงเข้าสู่สายพานการผลิต

    จนทุกวันนี้ชุมชนเซียนต้องเปลี่ยนกลยุทธ์จากตั้งรับเป็นรุกรบ...รู้เขารู้เรา

    เข้าคลุกวงในกับพวกมือผี เหมือนที่ตำรวจเลี้ยงโจรเพื่อสืบข่าว

    พระฝีมือรุ่นอะไรตกมาใหม่ต้องเท่าทัน

    บางท่านถึงขั้นรู้วิธีดูตำหนิของพระเก๊ เรียกว่าเรียนแก้ในทางกลับกัน

    จริงๆ แล้วนักปลอมพระฝีมือดี...หาใช่ใครที่ไหน

    คนทั่วไปทำไม่ได้ เพราะไม่เก่ง ไม่เป็นเรื่องพระ

    ว่ากันว่าเซียนนั่นแหละ...ตัวดี

    สัจธรรมบอกไว้ในทุกกลุ่มชั้นชนย่อมมีปะปน...คนชั่ว

    สังคมเซียนก็ย่อมมีเซียน...ตกสวรรค์

    เรื่องราว "พระฝีมือ" กับ "มือผี" เพิ่งเริ่มต้นยังไม่จบ

    ตอนต่อๆ ไปจะแฉให้ครบทุกกระบวนท่า

    รู้แล้วจะหนาวแม้จะเข้าหน้าร้อน...เชื่อมั้ย

    ที่มา ข่าวสด
     
  9. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    พระฝีมือ ตอนที่ 2


    เปิดประเด็นเป็นการปิดท้ายคอลัมน์ตอนที่แล้ว

    ว่าด้วยเรื่องเซียนนอกลู่แตกแถว ใช้ความรู้ในแนวทางผิดๆ

    คบคิดกับมิจฉาชีพผลิตผลงานเก๊ฝีมือระดับ "บร๊ะเจ้า" เข้าสู่ตลาด

    ทำตัวเป็นหนอนบ่อนไส้ หวังกอบโกยกำไรมหาศาล

    คือเรื่องราวอีกด้านของเหรียญจากประชา ชนชาวเซียน

    นำมาเขียนเล่าได้ยืดยาวหลายตอน...ดังต่อไปนี้

    หากพระเครื่องฯมีมากมายให้เลือกเล่น พระฝีมือก็มีหลากหลายให้หลบหลีก...ต้องระวัง

    อย่างที่จะแฉ-แชร์ให้ฟังในตอนนี้ เป็นงานฝีมือประเภท...พระเนื้อดิน

    ที่โดดเด่นสุดๆ หยุดทุกความมั่นใจ ต้องยกให้ขบวนการปลอมพระปลาร้าทรงสี่เหลี่ยมของพระคุณเจ้า "หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค"

    พระเครื่องฯ จากเมืองกรุงเก่าอยุธยา ที่ผู้คนหวงแหนศรัทธามาตั้งแต่ปี 2460

    พุทธคุณครอบจักรวาล ขนาดกะทัดรัดน่าแขวน

    ค่านิยมขยับเป็นหลายหมื่นหลายแสนในหลายปีมานี้

    ถูกย่ำยีป่นปี้มาตลอด จากเก๊เก่า เก๊กลาง เก๊ห่าง จนถึงเก๊ครั้งหลังล่าสุด ต้องยอมยกย่องว่า...พระยอดฝีมือ

    ลือกันว่าไปแกะบล็อกไกลถึงญี่ปุ่น ลงทุนหาพระองค์สวยไปเป็นต้นแบบ

    แล้วแอบกลับมาเอาดินในประเทศกดพิมพ์ปลอมขาย

    มีให้เลือกบานตะไท ทั้งพิมพ์ทรงครุฑ ทรงปลา หนุมานหรือเม่น

    แต่ที่เน้นๆ คือ "พิมพ์ทรงไก่หางพวง"...เพราะแพงล้น

    เล่นเอาเซียนแทบตาถลน ประกวดจนติดรางวัลก็มากโข

    เซียนขาโจ๋ฝากเตือนว่าอย่าดูที่ "เนื้อ" เป็นอันขาด เพราะสามารถทำได้เนียนมาก...ขอบอก

    ต้องแม่น "พิมพ์" และ "รอยตัด" ด้านข้าง ซึ่งเห็นว่ายังเป็นจุดอ่อน

    ยิ่งช่วงนี้แดดร้อนๆ ตากมาขายกันเพลินแน่ๆ (ฮา)

    พบเห็นได้ตามตลาดนัดช่วงเช้าๆ

    แกล้งปล่อยเช่าราคาเสียวๆ กั๊กๆ ไม่แพง...แต่ก็ไม่ถูกนัก

    ไหลทะลักเข้าห้างมาวางตามตู้ จนดูเป็นแท้ไปก็มีนะจ๊ะ

    ซีรีส์ลำดับถัดไป ได้ยินว่า "ขุนแผนบ้านกร่าง" กำลังเข้าสู่สายการผลิต...โปรดระวัง!

    จากภาคกลางเราตีรถขึ้นเหนือ

    ไปดูพระฝีมือเนื้อดินอีกตระกูล...สกุลลำพูนชื่อ "พระคง"

    เดิมเป็นพระน้ำจิ้มแถมฟรี ไม่ค่อยมีค่าเพราะขุดหาได้เรื่อยๆ...มีปริมาณมาก

    แต่วันนี้เป็นพระหายากแล้วครับ ปรับราคากันจนหน้ามืด

    องค์สวยสุด ราคาหืดหลุดโลก...สนนเป็นล้าน!

    ความที่เป็นพระดินเผา ทำให้เกิดปฏิกิริยาในการไหม้ไฟ

    ได้พระสีสันแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิองศาความร้อน

    ความสวยก็แล้วแต่...คนละมุมมอง

    แบ่งเกรดแบ่งสี...ความนิยม ไม่สอดคล้อง-ไม่เท่าเทียม

    พระที่โซนเขียวเข้ม-ดำๆ จะมีน้อย เห็นได้ไม่บ่อยราคาก็ต้องแพง...แหงม

    ส่วนพระสีอ่อนๆ ขาวๆ เหลืองๆ หรือแดงๆ จะไม่แพงเพราะมีมาก

    ขึ้นคอแล้วมีคนแขวนตาม...ไม่โดดเด่น

    เกิดประเด็นเห็นช่องว่างทางการตลาดโดยบางเซียนหัวใสใจร้าย

    คราวนี้ไม่ปลอมแต่จะใช้ลูกไม้ในการอัพเกรดราคาพระ

    นำเอาพระคงกรุใหม่ที่ขุดได้ใน ปี 2518 นับถึงวันนี้ก็ออกจากกรุมาหลายสิบปี...ดินเซ็ตตัวดีแล้ว

    เลือกเอาแต่ที่สีอ่อนๆ ขาวๆ มาเข้าเตาเผาจนพระเปลี่ยนเป็น...สีเขียว

    จนเดี๋ยวนี้ถ้าเจอพระคงเขียวๆ สวยๆ ต้องส่องดูให้ดี

    สังเกตว่าถ้ามีรอยลั่นหรือคราบม่วงๆ อาจดวงซวยถ้าซื้อ...ไวไป

    ยังมีอีกเทคนิคในการทำพระคงให้เป็น... สีดำ

    พวกจะนำไปจุ่ม "น้ำมันขี้โล้" แล้วค่อยเข้าเตาเผา

    เซียนชาวเหนือเรียกกรรมวิธีนี้ว่า... "เอสโซ่"

    คุยโวว่าได้พระคงสีดำอย่างใกล้เคียง เพียงแต่ผิวจะด้านๆ สากๆ ซุยๆ

    ไร้คราบกรุ-ไม่มันจัด ขาดความเป็นธรรม ชาติแบบ...ดำดั้งเดิม

    ใครฮึกเหิม-ประมาท...อาจพลาดได้

    เรื่องของพระฝีมือเยี่ยมๆ ยังต้องไปกันต่อ

    ทั้งพระหล่อ-พระเหรียญ-เครื่องราง-มีด-งา-กะลาแกะ อุ๊ยยย...แยะ

    ศึกษากันตาแฉะแหละครับ...งานนี้ยาว!

    ที่มา ข่าวสด
     
  10. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    พระฝีมือ ตอนที่3
    คอลัมน์ คำคมคารมเซียน

    เอ่ยถึง "พระรูปหล่อ"...ใครที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงคงเข้าใจผิด

    คิดว่าเป็นพระหนุ่มๆ หน้าตาดีหล่อเหลา

    แท้จริงคือพระเครื่องฯ ประเภทนึงซึ่งสร้างจากการหล่อด้วยโลหะชนิดต่างๆ ประ กอบร่างเป็นรูปเหมือนลอยองค์ หรือเป็นวัตถุมงคล "เหรียญหล่อ" ก็มี

    ซึ่งก็คือเนื้อหาหลักของตอนต่อ "พระฝีมือ" ลำดับที่ 3

    นำมาเสนอกันแบบเน้นๆ ในคราวนี้ครับ

    "พระรูปหล่อ" จัดเป็นพระเครื่องฯ ในฝันของนักนิยมพระโลหะ

    โดยเฉพาะโลหะผสมพิเศษประเภท สัมฤทธิ์ เมฆสิทธิ์ เมฆพัด สัตตโลหะ ขันลงหิน เบญจโลหะ นวโลหะ ฯลฯ

    ซึ่งปัจจุบันมีวิธีการหล่อที่ทันสมัย ได้พระสวยประณีต ฉีดโลหะได้ครั้งละมากๆ

    แต่ในสมัยก่อนเก่า เหล่าคณาจารย์จะสร้าง สรรค์พระรูปหล่อนี้ได้ทีละองค์

    ลงมือขึ้นรูปเป็นหุ่นเทียน ให้ได้แบบตามจินตนาการ

    จากนั้นจะใช้น้ำขี้วัวหมักทาแล้วเอาดินมาพอก นำออกตากแดดแล้วเผาให้หุ่นเทียนสำรอกไหล ได้เป็นเบ้าจึงเอาโลหะร้อนหลอมละลายที่เตรียมไว้เทหล่อลงไป

    รอโลหะเย็นแข็งตัวจึงทุบเบ้าทิ้ง ได้เป็นพระที่เดี๋ยวนี้เรียก "รูปหล่อโบราณ"

    กาลต่อมาจึงพัฒนาให้สามารถหล่อได้คราวละหลายๆ องค์

    คงเคยได้ยินที่เค้าพูดกันบ่อยๆ นะครับว่า... "หล่อช่อ"

    พระทำมือเหล่านี้เมื่อสำเร็จแล้วจะคล้ายศิลปะแบบ "งานทิ้ง"

    ไม่เน้นเส้นสายรายละเอียด เขรอะๆ ดู...ไม่เนี้ยบ

    ริ้วรอยอย่างเพียบ ทั้งยับ-ย่น-ยุบ หลุมบ่อ เม็ดเนื้อ ฟองอากาศ และขี้เบ้าที่เผาไหม้ติดแน่นมากับองค์พระ

    สัดส่วน-หน้าตาก็ดูเพี้ยน...บิดเบี้ยว

    แต่ทั้งหมดกลับกลายเป็นงานที่ลงตัว ดูดีมีเสน่ห์ชวนหลงใหลไม่น่าเชื่อ!

    รูปหล่อแนวนี้จึงกลายเป็นพระยอดนิยมที่มีราคาหอมหวน...ชวนให้ปลอมอย่างยิ่ง!

    วิธีการหลักๆ ของเหล่าสำนักยอดฝีมือคือ...นำพระแท้มาถอดพิมพ์

    ออกแรงเอาแปรงทองเหลืองมาขัดสีองค์แท้ต้นแบบนั้น เพื่อให้มีร่องลึกคมขึ้น

    ภาษาเซียนเรียก "ตีแปรง" และแปรงยี่ห้อฮิตที่ใช้คือ "East man"

    จึงค่อยเอาวัสดุที่ยืดหยุ่น สามารถเก็บรายละเอียดได้ดีมากดอัดกับองค์พระเพื่อถอดแบบ

    เชื่อมั้ยครับ เค้าใช้...ยางทำฟัน!

    ได้เป็นแม่พิมพ์ขั้นต้น จึงนำเข้าสู่ขั้นตอนการผลิตลำดับต่อๆ ไป

    การพิจารณาเก๊-แท้ จึงต้องแม่นพิมพ์และเข้าใจเรื่อง "ธรรมชาติ" ขององค์พระ

    อย่างธรรมชาติจากการหล่อที่มักก่อให้เกิดฟองอากาศบริเวณผิวพระ ที่เรียกว่า "ลูกเดือด"

    เวลาเอาพระแท้มาถอดแบบ...ลูกเดือดนั้นๆ ก็จะติดพิมพ์มาด้วยกับองค์ "เก๊ต้นแบบ"

    ทีนี้พอหล่อปลอมครั้งใหม่ ก็จะเกิดเจ้าลูกเดือดนี้อีกเช่นกัน...แต่ลักษณะธรรมชาติจะแตกต่าง

    มือผีที่รู้ทางจะเจียเจ้าลูกเดือดในพิมพ์นั้นทิ้ง เหลือติ่งไว้เพียงลูกเดือดครั้งใหม่

    นอกจากนี้ยังมีความพยายามทำผิวพรรณพระเก๊ให้คล้ายโลหะเก่า โดยเอาโลหะยุครัตนะมาหลอมผสม เสริมเทคนิคด้วยการใช้ "ใบพลู" มาห่อให้เกิดปฏิกิริยา ปรับโทนสีโลหะในขั้นสุดท้าย

    เก๊ฝีมือที่เฉือนคมเชือดคอเซียนมามากก็เช่น "หลวงปู่ทวด พิมพ์หลังเตารีด A วัดช้างให้" ปี?05

    อาศัยช่องที่พระมีหลากพิมพ์จนจำยาก

    โลหะทำพระก็ไม่ลำบาก...ปลอมง่าย

    หนำซ้ำยังใช้วิธีหล่อแบบตั้งเตาดั้งเดิม จึงเกิดคราบเบ้าที่บางคนเหมาว่ามีเฉพาะในพระแท้

    ส่วนแชมป์เก๊ล่าสุดปลายปี?54 หนีไม่พ้น "หลวงพ่อเดิม วัดหนองหลวง พิมพ์ฐานสูง"

    แหล่งข่าวเล่าว่าทีมงานสร้างครั้งนี้...ไม่ธรรมดา!

    ผลิตผลออกมาจึงเป็นพระฝีมือ...เหี้ยม

    บอดี้ดี หน้าตาดี ผิวพรรณดี รอยตะไบดี ...ติยาก

    ดีขนาดรอดสายตากรรมการเข้าไปรับรางวัลมาแว้ว

    เซียนที่ว่าแจ๋วๆ ถึงกับครางเสียงแผ่วๆ ว่า "ดีโคตร"

    กับเรื่องนี้คงต้องขอเตือน


    ที่มา ข่าวสด


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มกราคม 2013
  11. 24hrs

    24hrs เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    1,200
    ค่าพลัง:
    +2,491
    ขอบพระคุณครับ

    สวัสดีครับ ท่านพี่ captainzire ขอบพระคุณอย่างสูงครับ สำหรับข้อมูลที่อุตส่าห์สละเวลานำเสนอมาอย่างอัดแน่นไปด้วยความรู้ ขอขอบคุณแทนเพื่อนๆพี่ๆทุกท่านเลยนะครับ ;41;41
     
  12. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    พระฝีมือ ตอนที่ 4
    คอลัมน์ คำคมคารมเซียน


    "พระฝีมือ" ยื้อมาถึงตอนที่ 4

    ต้องขอบคุณเซียนน้ำดีหลายท่านที่ให้ข้อมูลเชิงลึก

    เพราะเรื่องงานฝีมือประเภท "เครื่องราง-ของขลัง" ที่จะนำเสนอในตอนนี้ ช่างซับซ้อนสุดซึ้ง

    น่าทึ่งในความพยายาม...อยากให้ติดตามครับ

    ต้องออกตัวกันก่อนว่า "เครื่องราง-ของขลัง" แม้ไม่ใช่ "พระ"

    แต่ด้วยสาระมันเกี่ยว เลยขอเอี่ยวอาศัยพื้นที่ศัพท์ "พระฝีมือ" มาขยาย

    เรียกคล้ายกันอยู่แล้วว่า "ของฝีมือ"...คงไม่ถือสานะครับ

    เคยเล่าไปแล้วว่าคนโบราณไม่แขวนพระแต่จะนิยมใช้เครื่องราง-ของขลัง

    มายุคหลังๆ ก็ยังคลั่งไคล้ ยืนยันได้จากร้อยกรองเขียนคล้องจองโดยเซียนรุ่นพี่...

    "หมากดีที่วัดหนัง ถ้าเบี้ยขลังวัดนายโรง

    ไม้ครูอยู่คู่วัดอินทร์ ส่วนมีดบินวัดหนองโพธิ์

    พิสมรวัดพวงมาลัย ครั่งเหลือร้ายวัดโตนดหลวง

    ราหูคู่วัดศรีษะฯ แหวนอักขระวัดหนองบัว

    ลูกแร่ที่วัดบางไผ่ ฤทธิ์เหลือร้ายหาใดปาน

    เก้าสิ่งล้วนเป็นมงคล ทั่วทุกคนควรค้นหา

    ติดกายายามญาตตรา ภัยมิกล้ามาแผ้วพาน"

    ไม่ใช่แค่นี้ ยังมี ตะกรุด-ลูกอม-ลูกสะกด-ผ้ายันต์-ผ้าประเจียด-น้ำเต้า-ปลัดขิก...

    กับอีกที่เป็นสิงสาราสัตว์ เช่น หนุมาน ช้าง เสือ สิงห์ ลิง แพะ ตุ๊กแก จิ้งจก นก จระเข้ ปลา หมู วัว ควาย กระต่าย เต่า...

    เรื่องมันยุ่งยากที่ส่วนมากมักเป็นงาน Hand made ...มีฝีมือช่างเข้ามาเกี่ยว

    ลำพังถ้าเป็นงานสร้างของหลวงปู่-หลวงพ่อเพียวๆ ก็คงไม่มีปัญหา

    แต่หลักๆ ท่านเพียงเมตตาปลุกเสกให้

    อาจมีบ้างที่จารอักขระลายมือ ให้ยึดถือเป็นจุดจดจำ

    จึงต้องอ่าน "ศิลป์" ในแต่ละทางของเครื่องรางฯ แต่ละชนิด...ให้ขาด

    จำลีลา "สั้น-ยาว-หนัก-เบา" ของเชิงช่างรุ่นเก่า... ให้แม่น

    อย่าดูแค่ความเก่า ความฉ่ำ...มันทำ-หลอกกันได้

    ยกตัวอย่างของฝีมือประเภท "สิงห์" เก๊แกะใหม่จากงาช้าง

    ก็จะเอาไปทอด-ไปหุง-ไปคั่ว-ไปย่าง-ไปปิ้ง

    ทำทุกสิ่งอย่างให้แตก-ให้ลั่น-ให้ลาน...ดูเก่า

    ถึงขนาดเอาไปเลี่ยมนาก ร้อยต่อกันมากๆ ชิ้นเป็นสร้อยสังวาล

    จากนั้นนำมาแขวนอบแนบเนื้อ สวมทับด้วยเสื้อหนาๆ ทนร้อนเป็นปีๆ

    บ้างลงทุนจ้างสามล้อ ชาวนา ชาวไร่ สะพายใส่ทำงาน

    เรียกกันว่า "เล่นเหงื่อ" จนงาซีดเก่าดูคล้ายแล้วจึงค่อยเอาออกขาย

    ของฝีมือตัวร้ายประเภท "มีด" ก็อย่างขยัน

    เคยเห็นกันจะจะ-จะเอาจอบ-เสียม...เหล็กเก่าๆ มาเผาตีเป็นใบมีด

    แล้วเอาไปฝังดิน-เสียบต้นกล้วยหรือหยอดด้วยน้ำยา รอเวลาให้เกิดสนิม...ดูถึงยุค

    ไม่ต้องปลุกเสก เพียงหาด้าม-ฝักของจริงที่ไม่ใช้ หรือทำใหม่ให้คล้าย...สวมซะก็เสร็จ

    บ้างเอา "ของจริง" เศษๆ เหลือๆ จากหลากอาจารย์มาผสมผสานกันเป็นงาน "มีดฝีมือ"

    ปิดท้ายด้วยงานถนัดก็คือ...การแอบอ้าง

    อย่างที่ทราบแล้วว่ามีดหมอและสิงห์งาเสกทำกันหลายวัดในจังหวัดนครสวรรค์

    ทั้ง หลวงพ่อกัน หลวงพ่อโอด หลวงพ่อสด หลวงพ่อโม ฯลฯ

    แต่จะได้ราคาถ้าโม้-มั่วเป็นของ...หลวงพ่อเดิม!

    อีกเมื่อสิ้นพระอาจารย์ทั้งหลาย

    ปฏิเสธไม่ได้ว่าช่างฝีมือเหล่านั้นยังต้องขยันทำงานศิลปะเหล่านี้เพื่อหาเลี้ยงครอบครัว

    ก็อย่าแปลกใจถ้าเครื่องรางฯ ที่ว่าหาไม่ง่าย จะพบได้ไม่ยากในวันนี้

    ศิลป์ใช่ แท้-ทันยุค...แต่อาจไม่ได้ปลุกเสก!

    เซียนคุณภาพจึงมักแนะให้เล่นเครื่องรางฯ เฉพาะที่มี "เอกลักษณ์" ชัดเจน

    เช่นที่มีลายมือ-รอยจารหรือพยานหลักฐานที่ยืนยันพิสูจน์ได้

    พยายามเน้นเฉพาะศิลป์ในยุคต้นที่สืบค้นกันแล้วว่าทันปลุกเสกแน่นอน

    สุดท้ายควรปรึกษา-ศึกษา-หาเช่ากับเซียนสายตรงตัวจริง

    จะให้ยิ่งดีต้องมีใบการันตีความแท้ประเภทประกัน ชั้นหนึ่ง...ชั้นยอด

    ของแท้ต้องแท้ตลอดและ...แท้ทุกวัน

    รับประกันยันลูกบวชไปเลย...ไหวมั้ยอ่ะ


     
  13. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    ไม่มีปัญหาครับ พี่ 24 hrs
    ผมตามนโยบายกระทู้นี้อยู่แล้ว
    มีข้อมูลอะไรก็แบ่งปันกันครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มกราคม 2013
  14. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    พระฝีมือ ตอนที่ 5
    วิเชียร ฤกษ์ไพศาล


    "พระฝีมือ"กำลังเข้มข้นจนจบไม่ลงใน ตอนนี้

    เป็นวาระ "พระเหรียญ" ที่เซียนรุ่นใหม่โปรดปรานกันนักหนา มีเนื้อหามันๆ ไม่น้อยหน้าพระเครื่องประเภทอื่น

    ปลอมกันมามากจนซ้ำซาก หนักหน่วง

    ไม่ต้องห่วงครับ...ครบทุกหลวงปู่!

    โดยเฉพาะที่อยู่ในกระแสความนิยมของคนรวย

    ยิ่งมีเครื่องจักรทันสมัยมาเป็นตัวช่วย จากที่เคยเก๊ห่วยๆ กลับกลายเป็นงานฝีมือสวย

    ใครที่ดวงซวยเจอมาแล้วลองอ่านดูครับ



    ***************

    จะคุยกันเรื่องการปลอมพระเหรียญทั้งที ก็ต้องมีเซียนเหรียญตัวจริงมาชี้แนะ

    ครั้งนี้ผมได้คุณ "ณัฐพงษ์ ชวาลรัตนสกุล" หรือฉายาในวงการว่า "ต้น ท่าพระจันทร์"

    เซียนหนุ่มรุ่นใหม่ไฟแรง สุดยอดแฟนพันธุ์แท้พระเหรียญในปี 2541 ให้เกียรติมาให้ข้อมูลดีๆ

    แชมป์ของเราแบ่งประวัติศาสตร์เหรียญเก๊เป็น 3 ยุค

    ผมเลยตั้งชื่อช่วยจำดังนี้ครับ

    ยุคแรก...ตะกั่วมั่วนิ่ม

    เพราะเหรียญเก๊ในยุคแรกๆ จะปลอมด้วยตะกั่ว

    มั่วแบบไม่สนเลยว่าเหรียญแท้-องค์จริงจะใช้โลหะชนิดไหน

    หน้าตา-ตำหนิ-พิมพ์พระเป็นไงก็ไม่ใส่ใจ

    ทำไมถึงชุ่ยกันได้ขนาดนั้น? มันต้องมีสาเหตุ

    1.ไม่มีสื่อในการเผยแพร่ภาพ-ความรู้ คนส่วนใหญ่จึงดำน้ำเล่นแบบไม่เคยเห็นเหรียญแท้

    2.พระเหรียญยังมีค่านิยมไม่แพง คนจึงยังไม่คิดมากไม่ระวังตัว

    3.ตะกั่วเป็นโลหะที่นิ่ม หาง่ายผลิตง่าย ต้นทุนต่ำ จึงปลอมกันง่ายขายง่าย...สบายใจ

    ยุคสอง...มีสื่อชี้นำ

    เป็นสมัยในยุคที่วิวัฒนาการทางด้านการถ่ายภาพพระเครื่องดีขึ้นมาก

    สื่อหลายสำนักจึงคัดรูปสวยๆ มาตีพิมพ์พร้อมประวัติการสร้างและเรื่องราวสารพัน

    ผู้คนเริ่มให้ความสำคัญหันมาศึกษาพิจารณาข้อเท็จจริง แทนการรับฟังข้อมูลแบบ "นิทาน-นิยาย"

    ขบวนการพระฝีมือจึงมั่วมักง่ายแบบเดิมไม่ได้อีกแล้ว

    ต้องปรับแนวเปลี่ยนนโยบายของเครือข่ายพลพรรคนักปลอมพระ

    พิมพ์จึงเริ่มจะคล้าย โลหะจึงเริ่มจะใกล้

    แต่นับว่ายังห่างไกล ถ้าเทียบกับพระฝีมือรุ่นใหม่ๆ ในวันนี้

    ยุคใหม่-พระแพง

    ไม่ใช่พระเพื่อน-พระแพงนะครับ

    แต่เป็นยุคที่ความศรัทธาสะสมพระเครื่องเลยเถิดเป็นการเก็บพระเพื่อการลงทุน

    วงการพระกลายสถานะคล้ายเป็นตลาดหุ้น

    มีการหมุนเวียนเปลี่ยนถ่ายซื้อขายพระกันทุกวัน

    พระเครื่องจึงมิใช่เป็นเพียงวัตถุมงคลอีก ต่อไป

    แต่ยังได้เปลี่ยนเป็น "ทรัพย์-ศิลป์" อันทรงคุณ-มูลค่าด้วย

    นับเป็นสิ่งสร้างขวัญกำลังใจราคาแพงที่สุดในโลก

    หลายคนต้องย้ายที่วาง-ที่เก็บ...จากหิ้งไปสู่ในเซฟ

    ความเจ็บปวดอยู่ที่ว่า...เหตุการณ์นี้ได้กลับกลายเป็นแรงบันดาลใจให้บรรดานักปลอมแปลงทุ่มทุนพัฒนาคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้ง

    ฝรั่งเรียกว่า "High risk high return" คือ...เสี่ยงมากได้มาก

    คุณต้นให้ข้อสังเกตว่าเดี๋ยวนี้คนชอบซื้อพระเหรียญสวยๆ แม้ว่าราคาจะแพง

    เพราะเหรียญสวยให้รายละเอียดที่ครบ-คมชัด ส่องแล้วเพลินตาอิ่มใจ

    นักปลอมก็ชอบ...

    เพราะสามารถนำไปถอดแบบแกะพิมพ์ได้ลึกดี แม้จะมีค่าใช้จ่ายมากก็ตาม

    คิดง่ายๆ แค่ขายเหรียญเก๊ฝีมือเฉียบเพียงไม่กี่เหรียญ ก็คาดว่าน่าจะได้เงินเกินทุนที่ลงไปแล้วแบบ...ล้นๆ

    จนเมื่อผู้คนเริ่มระแคะระคาย จึงรีบเทขายกันแบบถูกๆ รั่วๆ ก็ยังมีกำไรอีก...เหลือๆ

    แถมมีพระแท้องค์สวยเป็นโบนัส...จะเก็บก็ได้จะขายก็รวย

    กรรมหนักคือพระเหรียญนั้นทำด้วยเครื่องจักร...เข้าข่ายงานอุตสาหกรรม

    ถ้าทำบล็อกแม่พิมพ์ได้ดีก็สามารถปลอมกันได้ทีละหลายๆ และรวดเร็ว

    คนที่ชอบพระเหรียญจึงต้องหมั่นเพียรติดตามความเคลื่อนไหว

    อย่าไว้ใจแม้จะเป็นเหรียญราคาหลักสิบ-หลักร้อย หรือรุ่นที่เพิ่งทยอยถอยออกจากวัด...ใหม่ๆ ซิงๆ

    เห็นกลิ้งกันไม่เป็นท่า ชะล่าใจกันมานักต่อนักแล้ว

    สำหรับในตอนหน้าจะพาเข้าเยี่ยมชม "โรงซ่อมพระ"

    เหรียญไม่สวย-ซ่อมได้...โปรดติดตาม

    ที่มา ข่าวสด
     
  15. ทิพย์มงคล

    ทิพย์มงคล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2011
    โพสต์:
    3,892
    ค่าพลัง:
    +8,215
    สวัสดีพี่ๆทุกท่าน ขอบคุณพี่ Amuletism พี่captainizire นำสิ่งดีๆมาแบ่งปัน ดีมากๆครับ
     
  16. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    พระฝีมือ ตอนจบ
    คอลัมน์ คำคมคารมเซียน



    อาสาว่าจะพาทัวร์ "โรงซ่อมพระ" ในตอนนี้

    แต่แหะๆ...ไม่มีหรอกครับไอ้ "โรง" ที่ว่า เนี่ยะ ผมอำเล่น

    จริงๆ เป็นแค่ขบวนการ "ศัลยกรรม-ทำผิว-บิลด์พระ"

    เหมือนกะที่ดาราสาวเกาหลีมักสวยสั่งได้ในชาตินี้ด้วยฝีมือหมอ (ไม่ยอมรอไปเกิดใหม่ชาติหน้า)

    "พระฝีมือ" บ้านเราก็สวยซ่อมได้ เข้าสไตล์ "ธงไชยเซอร์วิส"...เป๊ะเลย!

    เคยบอกไว้..."พระฝีมือ" ใช่จะหมายความแค่พระเก๊บาดตาเซียน

    แต่ยังรวมถึงพระที่ถูกเปลี่ยน-แปลงสภาพ จากบู้บี้จนดูดีขึ้น

    โดยเฉพาะประเภทที่เป็นพระเหรียญนั้น ต้องขอใช้ภาษาโก๋หลังวังว่า...มันส์พ่ะย่ะค่ะ

    ซึ่งอันที่จริงปฏิบัติการปรับปรุงโฉมนี้ น่าจะได้รับคำชม

    แต่มันเสียอารมณ์ตรงที่เวลาทำแล้วไม่บอก

    แถมชอบหลอกว่า สวยแชมป์-ไม่ได้ใช้...อะไรประมาณนั้น

    พระสภาพนี้วงการเค้าเรียก..."ไม่เดิม"

    ขั้นต้นเบาะๆ ก็แค่การ "ล้างพระ"

    โดยจะสรงน้ำทำความสะอาดท่านให้สดใส

    คราบขี้ไคล-คราบเขียว-สนิมเขรอะๆ เลอะแค่ไหน...ล้างได้หมด

    กรรมวิธีมีหลากหลาย แล้วแต่เนื้อพระและสภาพ

    เป็นความลับ สูตรใครสูตรมัน แถมมีการรับจ้างล้าง...อย่างไม่เปิดเผย!

    สนนราคาค่าล้างจะอ้างอิงแปรผันตามราคาพระ

    ทั่วไปก็จะประมาณเลยพันบาท ถึงขนาดหลายๆ พันก็ยังมี ถ้าเป็นรุ่นที่แพงๆ

    รับประกันผลงานว่าล้างแล้วแพงขึ้นอีกโข

    บ้างโชว์ฝีมือทำผิวกลับให้คล้ายพระสภาพเดิมๆ เหมือนไม่เคยล้าง

    มีตำราเขียนเป็นหนังสือ หาซื้ออ่านได้

    เมื่อสะอาดแล้ว...ลำดับต่อมาก็ต้องประแป้งแต่งเติมเสริมให้สวย

    โบราณว่าไว้ "ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง"

    แต่พระจะแพงต้อง...บิลด์

    คำว่า "บิลด์-build" ที่จริงก็เป็นศัพท์เซียนอีกคำ ก็แปลว่า "ทำ" นั่นแหละ

    อย่างเช่นเหรียญประเภทรมดำที่เปิดนิดๆ ก็ต้องปิด-ต้องทำให้ดำปลอด

    ใช้น้ำยาแต้มบางๆ ปิดบังรอยด่าง-แดงนั้นให้มองไม่เห็น

    เป็นอันว่า...พระแพงขึ้นทันตา

    แต่ถ้าผิวเยินยากเกินเยียวยา อาจต้องหาวิธีจัดหนัก ถึงขั้น...ทำผิวใหม่

    ต้องลอกของเก่าแล้วเอาไปรมใหม่ หรือประ เภทเหรียญกะไหล่ก็เอาไปชุบ...ซ่อมได้

    ทำได้หมด แม้กระทั่ง "ผิวไฟ" ของเหรียญทองแดงหรือทองเหลือง

    จุ่มน้ำยาจนเป็นผลงานพระผิวเรืองรองสวยผ่องคล้ายของใหม่

    ไม่ยี่หระแม้การเปลี่ยนเหรียญทองแดงให้กลายเป็นนวโลหะ...ก็ทำได้

    ทั้งหมดนี้มีให้เห็นหน้างานประกวดพระ...รับจ้างทำกันขะมักเขม้นเป็นล่ำเป็นสัน

    ที่ดุเดือดคือการศัลยกรรมที่ต้องแอบทำกันในที่ลับ

    ไม่ว่าจะเป็นการ เหลา-เกลา-กอบ-กรอ-กลึง...เพื่อให้พระสวยดึงดูดน่าดู

    ส่วนมากมักทำกับบริเวณที่เคยนูนบนองค์พระแต่ได้เกิดความสียหาย เช่น จมูก

    หรือส่วนสำคัญอื่นๆ ที่ถ้าทำแล้วพระจะได้ราคา

    ครั้งนึงเคยเจอมา...ถึงกับอึ้ง

    ครั้งนั้นมีพรรคพวกเอา "เหรียญสามเหลี่ยมพระพุทธโสธร 2 หน้า" ปี 2497 พิมพ์พระศก 57-57 มายื่นให้ดู

    เป็นบล็อกนิยม เพราะที่พระอุระขององค์พระมีส่วนนูนเป็นรูป "วงแหวน"

    องค์ที่เห็นนี้ก็สมบูรณ์ครบเต็มวงไม่ขาดแหว่ง คิดในใจว่าคงแพงได้ใจ

    จึงถามไป "เปิดเท่าไหร่"

    เพื่อนสวนกลับว่า "ไม่ขาย"

    งงว่าทำไม "มีคนจองแล้วเหรอ"

    เพื่อนตอบว่า "เปล่า"

    "อ้าว" ผมถามกลับไปอีก "หวงเหรอ"

    เพื่อนอึกอักตอบว่า "เปล่า คือว่า...วงแหวนไปบิลด์มา"

    พร้อมอธิบายว่าเดิมวงแหวนองค์นี้มีแค่ครึ่งวง

    แต่เจ้าของพระจะเอาไปเป็นของขวัญให้ผู้ใหญ่

    เลยจ้างให้ช่างช่วยกอบเนื้อพระแล้วกรอ-เกลา-กลึง จนวงแหวนเต็มวง...เป็นซะงั้น

    เรื่องราวของพระเหรียญฝีมือจัดจ้านยังมีเรื่องเล่าขานอีกยาว ปูพื้นกันคร่าวๆ แค่นี้ก่อน

    จะกลับมาเสนอเป็นตอนเฉพาะเจาะกึ๋น...แน่นอน!

    คงเคยได้ยิน "บล็อกฮ่องกง-บล็อกคอมพิว เตอร์"...แล้วเจอกัน

    ที่มา ข่าวสด


     
  17. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    ขอบคุณเช่นกันครับ พี่ทิพย์มงคล
     
  18. ponzatana

    ponzatana สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2013
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +20
    รบกวนด้วยครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. ae noi

    ae noi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    4,134
    ค่าพลัง:
    +1,880
    ขอบคุณครับ
     
  20. กำแพงพระ

    กำแพงพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,025
    ค่าพลัง:
    +1,966
    ได้อ่านข้อมูลดีๆมากมาย ขอแจมด้วยคนครับ


    พระเหรียญทุกชนิด พระแท้หรือปลอม ดูกันอย่างไร

    พระจะแท้หรือปลอมขึ้นอยู่ที่องค์พระเป็นหลัก ไม่ใช่ว่าเดิมเป็นพระของใคร ได้จากที่ไหน เคยผ่านสงครามอะไรใครแขวนแล้วโดนยิงไม่เข้า ฟันไม่ออกมามั่ง นั่นไม่ใช่แนวทางที่ถูกต้องในการสะสมพระเครื่องแบบอาศัยเหตุและผลเป็นข้อ สรุป แล้วแนวทางที่ถูกมันเป็นอย่างไร ?

    แนวทางและพื้นฐาน

    ที่ถูกต้องในการที่จะศึกษาและสะสมพระเครื่องครับ ถ้าท่านใช้เหตุและผลมากกว่าใช้หู หรือใช้ความน่าเชื่อถือต่อบุคคลที่ท่านจะเช่าพระเครื่องต่อจากเขา เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจ มีหลักสำคัญอะไรบ้าง
    1 รู้จัก ผู้สร้างรู้จักวัดที่สร้างรู้ประวัติการสร้าง ศึกษาเรื่องแบบและแม่ พิมพ์ของพระที่จะสะสม........ศึกษาเรื่องธรรมชาติ การแปรเปลี่ยนตามอายุของโลหะที่สร้างเหรียญ......ศึกษาเรื่องตำหนิ จุดตาย เส้นขนแมว เนื้อปลิ้น เนื้อเกิน การตัดขอบ........ข้อสุดท้าย....สำคัญนะครับต้องเคยเห็นของแท้ และเห็นบ่อยๆ ในเน็ตฯมีเยอะแยะตามศูนย์พระชื่อดังต่างๆ.....


    แต่เอาเข้าจริงแล้วก็ไม่ค่อยมีใครใส่ใจกับการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของพระ เหรียญเลยจะจำแต่ตำหนิพิมพ์อย่างเดียว แปลกแต่จริง...


    เมื่อได้พระมาก็จะส่องกันตะพึดตะพือ แล้วก็มาเปิดตำราดูตำหนิพระเครื่อง พระเหรียญกันอย่างเดียว การกระทำอย่างนี้จะเป็นเครื่องขวางกั้นภูมิปัญญาและความรู้ไม่ทำให้ดูพระ เป็นได้จริงๆสักที อย่างมากก็จะรู้ว่าพระรุ่นนี้ชื่ออะไร ใครสร้าง ออกที่ไหน เท่านั้นเองที่เหลือก็อาศัยวัดดวงหรือให้คนอื่นดูให้ถึงจะแน่ใจว่าใช่พระแท้ หรือเปล่า สุดท้ายดูกันสิบตาก็ว่าไม่เหมือนกันสักคน
    2 การศึกษาพระเครื่องทุกชนิดควรศึกษาและจดจำเรื่องแบบพิมพ์มาก่อนเป็นอันดับ แรก ยิ่งรู้ถึงที่ไปที่มาว่ามีการทำแม่พิมพ์อย่างไร วิธีไหน เป็นสิ่งที่ควรเรียนรู้ให้มากเข้าไว้ นั่นจะทำให้เรามีความรู้ในการดูพระเครื่อง พระเหรียญยิ่งขึ้น สามารถ แยกออกระหว่างของแท้และของปลอมได้อย่างชำนาญยิ่งขึ้นแม่พิมพ์ของพระเครื่อง พระเหรียญพระทุกชนิดย่อมสร้างจากแม่พิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นพระชนิดใดก็ตาม ทั้งเนื้อชิน ดิน ผง พระเหรียญ ยกเว้นแต่พระเครื่องที่ลอยองค์เท่านั้น
    เวลาที่ท่านเอาพระเครื่องของท่านไปให้เซียนพระดูว่าแท้หรือไม่ประการใด ในตอนแรกเขาจะดูด้วยตาเปล่าก่อนหากดูดีแล้วจึงจะหยิบกล้องมาส่องดู หรือไม่ก็หยิบพลิกไปพลิกมาแล้วก็ส่งคีนให้พร้อมกับพูดว่า “ผิดพิมพ์ครับ”
    แม่พิมพ์ของพระเหรียญนั้นสามรถแบ่งออกเป็น 2 ยุค คือ

    ยุคที่ 1.ประมาณ 2440-2499 พระเก่า
    ยุคที่2.ประมาณ 2500-ปัจจุบัน พระใหม่

    ในยุคโบราณนั้นสามารถแยกวิธีการสร้างเป็น 2 ชนิด คือ เหรียญชนิดปั้มข้างเลื่อยและเหรียญข้างกระบอก วิธีการสร้างนั้นเขานำเอาแม่พิมพ์ทั้งด้านหน้าและด้านหลังใส่เครื่องปั้ม แล้วกระแทกอย่างแรงบนแผ่นโลหะที่รีดจนบางแล้ว ถ้าเป็นชนิดข้างเลื่อยนั้นจะนำแผ่นโลหะที่ใหญ่กว่าขนาดของเหรียญมาปั้มให้ ได้ตามรูป แล้วจึงนำไปเลื่อยฉลุให้สวยงามตามแบบรูปทรงของเหรียญนั้นๆ การสร้างพระเหรียญในยุคประมาณ ปีพ.ศ.24....กว่าๆโลหะที่นำมาปั๊มส่วนมากมักจะเป็นโลหะประเภททองแดงเป็นหลัก ยกเว้นเป็นพิธีการสร้างของเจ้าขุนมูลนายทั้งหลาย ที่มียศถาบรรดาศักดิ์อาจจะมีเนื้อทองคำและเนื้อเงินเพิ่มเข้ามาด้วย
    แม่พิมพ์ของพระเหรียญในสมัยก่อนนั้นจะนำเอารางรถไฟเก่าๆมาทำเพราะมีความคงทน แข็งแรงมาก แบบของเหรียญก็จะออกแบบเตรียมไว้ทั้งหน้า-หลัง โดยเขียนเอาไว้บนกระดาษสา แล้วค่อยเขียนแบบตามที่ปรากฏบนแผ่นกระดาษสาลงบนเหล็กรางรถไฟ แล้วจึงนำเหล็กนั้นมาเผาไฟให้แดงทั้งแท่ง รอจนเหล็กเริ่มเย็น ตอนนี้เองเนื้อเหล็กจะแข็งแต่ไม่ถึงกับแข็งมาก จึงนำเอาเครื่องมือมาแกะตามรูปที่เขียนเอาไว้บนเหล็กก่อนที่จะเผาไฟการแกะ ด้วยมือนั้นความลึกจะไม่ได้มากเหมือนกับการแกะด้วยเครื่อง จึงทำให้เกิดเป็นมิติแบบนูนต่ำออกมา ไม่นูนสูงเหมือนเหรียญรุ่นใหม่ บางครั้งอาจจะแกะพลาดบ้างเป็นริ้วรอยเส้นบางๆที่เราเรียกว่า “เส้นขนแมว” นั่นเอง

    เหรียญยุคโบราณ นั้นตอนที่ช่างแกะมักจะไม่ได้แกะหูเหรียญเอาไว้เลย(สงสัยจะลืมหรือตั้งใจก็ ไม่ทราบได้) จึงต้องนำมาเชื่อมติดเอาไว้ทีหลังโดยใช้ตะกั่วหรือเงินมาเชื่อมติดเอาไว้ ขึ้นอยู่กับโลหะที่นำมาสร้างพระนั้นเป็นหลัก ต่อมาค่อยมีการพัฒนาขึ้นประมาณปี พ.ศ. 2484 ขึ้นมา ค่อยเริ่มมีการแกะให้มีหูในตัวอยู่ในแม่พิมพ์เลย ไม่ต้องมาเชื่อมติดทีหลัง เหรียญลักษณะนี้มักจะมีเนื้อปลิ้นมาทางด้านหลังบริเวณหูเหรียญ ในวงการเรียกว่า “ตาไก่” เหรียญยุคนี้ต้องนำมาเข้าเครื่องตัด หรือนำมาเลื่อยฉลุอีกทีหนึ่ง เพราะเมื่อปั๊มออกมาแล้วจะไม่ออกมาเป็นเหรียญแบบสำเร็จเลย เมื่อปั๊มแล้วจะมีเนื้อเกินติดมาด้วยเรียกว่าปีกเหรียญ ต้องนำมาตัดอีกทีจึงจะออกมาเป็นเหรียญอย่างที่เห็น.......

    หรียญโบราณตั้งแต่ พ.ศ. 2460-2469 มีจุดสังเกตเกี่ยวกับพื้นฐานของแม่พิมพ์ โดยไม่ได้แยกสำนัก แยกพระเกจิเลยดังนี้

    ก. ศิลปะของเหรียญเป็นแบบนูนต่ำ เพราะว่าแกะด้วยมือสังเกตได้จากรูปพระเกจิ-อาจารย์จะไม่นูนสูงขึ้นมาจากพื้น ผนังของเหรียญนั้นมาก ลูกตา แก้ม หรือเค้าโครงหน้าจะดูเหมือนมีชีวิตจริงๆตัวอักษรตลอดไปถึงอักขระเลขยันต์ ต่างๆทั้งตัวเลขบอก พ.ศ.ก็ดีจะแกะเป็นเลขไทยที่มีศิลปะสวยสดงดงาม ไม่นูนสูงจากพื้นเหรียญมากนักแต่ทว่าจะมีความคมชัดอยู่ในที ไม่เบลอหรือเอียงโย้เย้เลย
    ข. เส้นสายรายละเอียดที่นำมาจัดเป็นองค์ประกอบขึ้นรูปจะเป็นเส้นเรียวเล็กบางหากแต่ว่าคมชัดมาก
    ค. หูหรือว่าห่วงเหรียญมักจะใช้วิธีเชื่อมติดกับเหรียญด้วยตะกั่วหรือเงินตามแต่โลหะที่นำมาสร้างพระนั้นๆ สามรถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
    ง. ขอบเหรียญมักจะเรียบไม่ค่อยมีรอยเส้นฟันเลื่อย ขอบเหรียญจะบางและไม่มีความคม เพราะผ่านกาลเวลามานานปริ่มๆร้อยปีเข้าไปแล้ว หากใช้มือลูบดูแล้วมีความคมเหรืออยู่โอกาสที่จะเป็นของเลียนแบบมีสูงมากให้ ระวัง
    จ. พื้นผนังทั้งด้านหน้าและด้านหลังมักจะตึง การสร้างเหรียญนั้นเกิดจากการกระแทกอย่างแรงของแม่พิมพ์ทั้งด้านหน้าและด้าน หลังลงบนโลหะ เพราะเช่นนั้นตามหลักวิทยาศาสตร์และหลักแห่งความเป็นจริงแล้ว เมื่อถูกกระแทกอย่างแรงแล้วพื้นผิวเหรียญต้องเรียบตึง แต่ก็มีเหรียญอีกประเภทหนึ่งที่พื้นผิวเหรียญมีเม็ด”ขี้กลาก”อยู่ ซึ่งก็มี อยู่ได้ ขึ้นอยู่กับประวัติการสร้างของทางวัดอีกทีหนึ่ง หากว่าวัดนั้นเกิดสร้างเหรียญมาแล้วเกิดเหตุการณ์ว่าเหรียญเป็นที่ต้องการ ของประชาชนคนทั่วไปไม่พอกับความต้องการ แล้วปั๊มใหม่โดยใช้แม่พิมพ์ตัวเดิม อาจจะก่อให้เกิดร่องรอยขี้กลากขึ้นได้ แต่ถ้าพบว่าตามประวัติของทางวัดไม่เคยนำเอาแม่พิมพ์ตัวเก่ามาปั๊มใหม่เลยก็ แสดงว่าท่านได้เจอกับของเลียนแบบเข้าแล้ว เพราะก่อนการปั๊มเหรียญแบบโบราณ ก่อนที่จะปั๊มจะต้องนำแม่พิมพ์มาขัดทำความสะอาดก่อน โอกาสที่จะเกิดรอยขี้กลากที่พื้นผิวนั้นมักจะไม่มี ส่วนเหรียญโบราณในยุคกลางตั้งแต่ พ.ศ.2470 ขึ้นมาจะเริ่มมี เหรียญแบบมีห่วงในตัวขึ้นแล้ว ในบางพระเกจิบางหลวงพ่อยังใช้วิธีการสร้างแบบเดิมอยู่ก็มี จุดสังเกตโดยรวมของเหรียญยุคนี้ที่แตกต่างจากเหรียญยุคแรกมีดังนี้คือ
    1.ถ้า เป็นเหรียญที่มีหูในตัวต้องมีเศษโลหะปลิ้นพับไปด้านหลัง จุดนี้เกิดจากแรงกระแทกของการปั้มเป็นส่วนของธรรมชาติต้องมีทุกเหรียญทุก คณาจารย์ที่สร้างในยุคนั้น
    2.ขอบเหรียญมักจะมีรอยเลื่อยฉลุ ส่วนจุดอื่นเหมือนเหรียญโบราณยุคแรกทั้งหมด
    หากว่า ท่านมีเหรียญยุคเก่าสักเหรียญหนึ่ง ลองนำเหรียญนั้นมาเทียบกับทฤษฏี ที่ได้กล่าวมาในเบื้องต้นดู ว่าเข้ากับหลักเกณฑ์ของเหรียญยุคโบราณหรือไม่ ทั้งหูเหรียญ ขอบเหรียญ ความสูงต่ำของเค้าโครงหน้าและตัวอักษร ว่าตรงกับที่ว่ามาหรือไม่ ถ้าเข้ากับหลักเกณฑ์แล้วก็มาว่ากันต่อที่โลหะของเหรียญต่อไป โลหะเก่านั้นจะไม่มีความแวววาว ความสดใส หากสัมผัสจับต้องแล้วจะเป็นมันๆขึ้นมา ถ้าทิ้งไว้สักครู่ก็กลับคืนสู่สภาพเดิมเพราะว่าเนื้อโลหะมีอายุสูง และวรรณะสีสันของเหรียญเก่านั้นมักจะมีสีซีดจางไม่ว่าจะเป็นทองคำ(มักจะออก แดงๆบางท่านว่าเป็นทองบางสะพาน) ทองแดง เงินและนาก

    เหรียญ ทำเทียมเลียนแบบของเก่า ส่วนมากใช้วิธีถอดพิมพ์มาขนาดของเหรียญจะเล็กกว่าของแท้เพราะการหดตัวของแม่ พิมพ์ การถอดพิมพ์เหรียญนั้น จะใช้ซิลิโคนมาถอดเพราะซิลิโคนเป็นของเหลวจะซึมไปได้ทุกอณูของเหรียญแม้แต่ เส้นขนแมวหรือจุดลับต่างๆก็ถอดติด (ขึ้นอยู่กับคุณภาพของซิลิ โคนที่นำมาถอดพิมพ์ด้วย) รอจนซิลิโคนแข็งตัวแล้วก็ถอดออกแล้วพลิกด้านทำแบบเดิมกับด้านหลังอีกเมื่อ แข็งแล้วก็ถอดออกเอาปูนทนไฟมากรอกใส่ไปในยางแม่พิมพ์ที่ได้ เมื่อปูนแข็งตัวแล้วแกะเอาซิลิโคนออกแล้วจึงหลอมเอาโลหะที่จะทำแม่พิมพ์พระ นั้นให้ละลายเทใส่ในปูนทนไฟนั้น ทิ้งไว้จนเย็นจึงทุบเอาปูนออกก็จะได้แม่พิมพ์เหรียญที่ถอดพิมพ์มา ผ่านขั้นตอนขนาดนี้เหรียญจะไม่หดตัวยังไงไหว

    เหรียญ ทำเทียมใน ลักษณะนี้ส่วนมากจะใช้วิธีเหวี่ยงโดยเอาโลหะเหวี่ยงเข้าไปในแม่พิมพ์เหล็ก กล้า แล้วจึงตกแต่งพื้นผิวเหรียญโดยใช้น้ำยาเคมี มีเรื่องที่ทำให้สังเกตอย่างหนึ่งคือ เส้นสายรายละเอียดต่างต่างของเหรียญที่ถอดได้จะไม่คม ไม่พลิ้ว เช่นว่า ดวงตาหลวงพ่อจะบี้แบนไม่คมเท่าที่ควร เค้าหน้าจะตื้นกว่าดูแล้วไม่เป็นธรรมชาติ ตัวหนังสืออักขระต่างๆจะล้มเอียงโย้เย้เพราะใช้แรงเหวี่ยงมากนั่นเอง ขอบเหรียญก็เช่นกัน หากเป็นการทำเทียมยุคแรกๆจะทำเป็นห่วงเชื่อมเช่นกัน แต่ตะกั่วที่นำมาเชื่อมจะสีสดดูใหม่อย่างเห็นได้ชัดไม่ซีดแห้งเหมือนของแท้ โดยส่วนมากมักจะทำอะไรอำพรางเช่นทำให้เป็นสนิม บิดห่วงให้หัก มีคราบน้ำหมากทับถมอยู่หรือไม่ก็เลี่ยมพลาสติกเลี่ยมทองเพื่ออำพรางร่องรอย ทำให้ดูยากเป็นต้นฯ หากเป็นเหรียญในยุค พ.ศ. 2470 ยิ่ง ทำเทียมยากขึ้นไปอีกเพราะหูเหรียญตรงจุดที่เป็นตาไก่ทำเลียนแบบยากพอ สมควร(ปัจจุบันเห็นทำตาไก่ได้แล้วแต่ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นเป็นรอยคล้ายๆรอย ตะไบอยู่ด้านในรูห่วง)แม้ว่าทำได้ก็ดูไม่เป็นธรรมชาติ ในด้านจุดตำหนินั้นเหรียญทำเทียมเลียนแบบเมื่อถอดออกมาจากของแท้แล้วก็ย่อม จะมีเหมือนกัน แต่ก่อนที่จะดูตำหนิให้ไล่ดูตามขั้นตอนต่างๆที่ได้แนะนำเอาไว้ก่อนหากว่าไม่ เข้าตามองค์ประกอบที่แนะนำเอาไว้เรื่องตำหนิไม่ต้องพูดถึง.....เพราะของ เลียนแบบก็มีตำหนิตรงจุดเดียวกันกับของแท้ทุกประการ แต่เป็นเพราะว่าของทำเทียมมีการหดตัวดังนั้นจึงจะดูไม่ค่อยเป็นธรรมชาติสัก หน่อยดูเพี้ยนๆผิดไปจากของจริง แต่ก็อย่างว่าเหรียญของเก่าจริงๆมักจะหาดูเป็นต้นแบบก็ยากเพราะมีราคาแพง เป็นส่วนใหญ่แถมบางท่านมักจะเข้าข้างตัวเองไม่ยอมดูในด้านพื้นฐานเลย มักจะข้ามไปดูที่ตำหนิกันเลยมันก็ต้องมีครบอยู่แล้วเพราะถอดมาจากของจริง ยกเว้นบางจุดเท่านั้นที่จะถอดไม่ค่อยติดตรงนี้เซียนใหญ่ทั้งหลายท่านจะยึด เป็นจุดตายและไม่ยอมสอนให้เพราะเป็นเครื่องมือหากินของเขา พอนักสะสมมือใหม่ไล่ดูตำหนิครบแล้วก็ทึกทักเอาว่าของข้าแท้อย่างเดียวโดยลืม ดูธรรมชาติความเก่าของเหรียญไปซะฉิบ เฮ้อ........

    แม่ พิมพ์เหรียญยุคใหม่มักจะเอาภาพหลวงพ่อต่างๆที่จะมาทำเหรียญนั้น มาออกแบบบนกระดาษก่อนแล้วจึงเอาไปถ่ายฟิล์ม แล้วนำไปประกบกับเหล็กอ่อนค่อยใช้เครื่องหรือช่างแกะออกมา แล้วจึงนำเหล็กไปชุบกับน้ำยาทำให้เหล็กแข็งตัวก่อนค่อยนำไปใส่ที่เครื่อง ปั๊มซึ่งก็มีอยู่สามแบบ คือ 1...เหรียญ ปั๊มข้างเลื่อย โดยนำเอาแผ่นโลหะที่มีขนาดใหญ่กว่าขนาดของเหรียญมาปั๊มให้ได้รูปแล้วนำมา เลื่อยฉลุให้สวยงามตามแบบของเหรียญนั้นๆ
    2...เหรียญปั๊ม ข้างกระบอก นำเอาแผ่นโลหะมาเลื่อยให้ได้รูปทรงของเหรียญที่จะปั๊มก่อนเพื่อเข้ากระบอก ด้านข้างของเหรียญชนิดนี้จะมีความเรียบเนียนเนื่องจากกดปั๊มโดยมีกระบอกเป็น ตัวบังคับ บางเหรียญจะมีการตกแต่งให้สวยงามทำให้เกิดเส้นทิวบางๆที่ขอบเหรียญบ้าง
    3...เหรียญปั๊มตัด พ.ศ.2500-ปัจจุบัน เหรียญในยุคใหม่นี้ด้วยวิทยาการเครื่องจักรอันทันสมัย แรงอัดกระแทกดี ดังนั้นเวลาที่ป็มเหรียญออกมาจึงสวยคมชัดมากมีลักษณะเป็นภาพนูนสูง สังเกตที่ผนังเหรียญจะอยู่ต่ำกว่ารูปของพระเกจิอาจารย์มาก จุดสังเกตของเหรียญยุคใหม่ คือ ผิวเรียบตึง ไม่มีขี้กลาก หรือเป็นหลุมเป็นบ่อเลยแม้แต่น้อยที่ขอบจะมีความเรียบเนียนแต่ว่าคมและมีรอย ตัด แววตาของหลวงพ่อจะแลดูแข็งๆ
    อย่างที่กล่าวมาแล้วใน เบื้องต้นว่าเหรียญเก่าแท้ๆหากจะทำเลียนแบบด้วยการทำ แม่พิมพ์ใหม่แล้วนำมาปั๊ม ปั๊มอย่างไรก็ไม่เหมือนเพราะว่าถ้าแกะบล็อกใหม่เส้นสายรายละเอียดเดิมๆที่ ช่างได้ทิ้งเอาไว้ (ที่เราเรียกว่า”ตำหนิ”) ไม่ มีทางทำให้เหมือนได้ เพราะเป็นการทิ้งใว้แบบไม่ตั้งใจ ไม่จงใจ แต่ก็เป็นประโยชน์กับพวกเรานักสะสมมือใหม่เป็นอย่างยิ่ง หากรู้จักสังเกตและจดจำ หากเอาเครื่องปั๊มยุคปัจจุบันไปปั๊มยิ่งจะทำให้เกิดความแตกต่าง อย่างมากเพราะกรรมวิธีการสร้างที่แตกต่างกันตามยุคสมัยที่ได้กล่าวเอาไว้ ตั้งแต่เบื้องต้น ดังนั้นก็จะทำได้เพียงวิธีเดียวคือ ต้องอาศัยวิธีถอดพิมพ์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
    ดังนั้นพระ แท้ก็ต้องแท้อยู่วันยันค่ำ ของเลียนแบบก็เช่นเดียวกัน เพราะตามหลักแห่งความเป็นจริงแล้วหากว่าแยกแยะพระแท้กับของเลียนแบบไม่ได้ เลยนั้น พระเครื่องประเภทพระเหรียญก็คงจะต้องเลิกเล่นกันไปตั้งนานแล้ว แต่ทุกวันนี้ก็ยังเล่นหากันอยู่นั่นแสดงว่ายังสามารถที่จะแยกพระแท้กับพระทำ เลียนแบบกันได้ ขออย่าให้ความโลภครอบงำก็แล้วกัน พระอะไรที่ดูก้ำกึ่ง คาบเกี่ยว ดูน่าสงสัย มีพิรุจ แถมยังราคาถูกกว่าค่านิยมสากล ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตามให้พยายามหลีกเลี่ยงหรือปรึกษาผู้รู้ ผู้ชำนาญการจะเป็นการปลอดภัยที่สุด.....
    ขอส่งท้ายและเน้น ย้ำถึงธรรมชาติของเหรียญเก่าโบราณอีกครั้งหนึ่ง พระเหรียญ วิธีสร้างก็คือการนำเอาโลหะมาปั๊มไม่ว่าจะเป็น เงิน ทองแดง นาก ทองคำ หรือโลหะผสมเช่น นวโลหะก็ดี ธรรมชาติของโลหะธาตุเหล่านี้ย่อมจะมีอยู่ในตัวของมันเองอยู่แล้ว ซึ่งสามารถแยกแยะได้ดังนี้

    1…พื้นผิวเหรียญต้องแห้งผากไม่มีความมันเงาแวววาวใดใดเลย
    2...สีสันวรรณะของเหรียญต้องดูซีดจาง ไม่สดใส
    3...เมื่อถูกสัมผัสจับต้องแล้วสีสันอาจจะเปลี่ยน แต่เมื่อทิ้งเอาไว้ระยะเวลาหนึ่งก็จะกลับคืนเป็นดังเดิม
    4...ไม่มีความคมหลงเหลืออยู่ไม่ว่าจะเป็นส่วนไหน
    5...ขอบเหรียญมักจะบาง
    6...เหรียญ ที่ผ่านการใช้มาแล้ว มักจะมีคราบสนิมเกาะอยู่จะเป็นสีอะไรก็ขึ้นอยู่กับว่าเหรียญเนื้ออะไรเช่น กันเมื่อล้างคราบสนิมออก หรือ หลุดออกเองก็ดีเมื่อเราส่องดูที่พื้นเหรียญมักจะมีรูพรุนคล้ายตามดเพราะถูก สนิมกัดกร่อนไปถึงเนื้อโลหะแต่ถ้ารักษาอย่างดีก็จะไม่มีหลุมดังกล่าวและจะทำ ให้เหรียญมีราคาค่านิยมที่แพงยิ่งขึ้นไปอีกหลายเท่าตัว(ที่เขาเรียกว่า เหรียญสวยระดับแชมป์นั่นแหละ ของแพง) ถ้าท่านมีเหรียญเก่าๆลองนำมาเทียบกับความเก่าตามธรรมชาติที่ได้เขียนเอาไว้ ตั้งแต่ต้นดู ว่าตรงกันหรือเปล่า แต่ต้องทำใจให้เป็นกลางด้วย ไม่เช่นนั้นอาจหลงเข้าข้างตัวเองได้ เอวัง
     

แชร์หน้านี้

Loading...