พระคาถาอาการวัตตาสูตร

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย ser_dool, 9 มกราคม 2013.

  1. ser_dool

    ser_dool เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    437
    ค่าพลัง:
    +808
    ถามผู้รู้ครับ พระคาถาอาการวัตตาสูตร
    ตรงวรรคที่ 11 ของพระคาถานี้ บทที่ถูกต้องเป็นบทไหนครับ ระหว่าง
    อิติปิ โสภะคะวา วิปากะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โสภะคะวา กัมมะวิปากะ ญานะ ปาระมิสัมปันโน

    ตัวอย่างตำราที่หนึ่ง
    วรรคที่ 11. อิติปิโสภะคะวา ทะสะพะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ฐานาฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา วิปากะญาณะ ปาระมิสัมปันโน*****
    อิติปิโสภะคะวา สัพพัตถะคามินีปะฏิปะทา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา นานาธาตุญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา นานาธิมุตติกะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อินทริยะปะโรปะริยัตตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา นิโรธะวุฏฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา จุตูปะปาตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อาสะวักขะยะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    (ทะสะพะละญาณะวัคโค ทะสะโม)


    ตัวอย่างตำราที่สอง
    วรรคที่ 11.อิติปิ โส ภะคะวา ทะสะพะละญานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ฐานาฐานะญานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา กัมมะวิปากะ ญานะ ปาระมิสัมปันโน*****
    อิติปิ โส ภะคะวา สัพพัตถะคามินีปะฏิปะทาญานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา นานาธาตุญานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา นานาธิมุตติกะญานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อินทรียะ ปะโรปะริ ยัตติญานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา นิโรธวะวุฏฐานะญานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ฌานาทิสังกิเลสาทิญานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติญานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา จุตูปะปาตะญานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อาสะวักขะยะญานะ ปาระมิสัมปันโน
    (ทะสะพะละญานะวัคโค เอกาทะสะโม)
     
  2. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ของแบบนี้ ต้องพิสูจนเองครับ เราสามารถพิสูจน์ได้

    แต่จะต้อง มีสติ และ สัมปชัญญะที่ ไวพอ

    ไวพอจะตรวจพฤติจิตที่ไหลไปคิด ขณะที่ สวดมนต์

    การสวดมนต์นั้น แรกๆ จะต้อง ท่องให้คล่องปากก่อน

    หลังจากนั้น ต้อง อัพเกรดมาเป็น ถอดความหมาย

    พอถอดความหมาย ต้องแทงตลอดด้วยการ ไตร่ตรอง

    เหมือน เราเริ่มต้น ท่องสูตรคูณ แรกๆ อาศัย จดจำ อักขระวิธี รูปตาราง รูปนิมิต
    ตัวเลข ตัวคุณและผลลัพธ์ หลังจากนั้น เอาผลลัพทธ์ไปฝึกใช้ พอฝึกใช้แล้ว
    คำนึงถึงประโยชน์ ประยุกต์ เรียกว่า เวลาซื้อขายของแบบเทน้ำเทท่า เรา
    สามารถรับเงินจากลูกค้าได้ครบ และ จ่ายของ พร้อมทอนตังให้เสร็จไปในคราวเดียว

    การท่องบทสวดก็เหมือนกัน ท้ายที่สุดเราจะต้อง ไวพอที่จะเห็น ใจที่ไหลไปคิด
    ไหลไปไตร่ตรองความหมายตามบทสวด จะไม่ใช่ท่องเอา เสียงสูงต่ำ เทห์ อย่างเดียว

    ลองดูนะครับ

    พอ ฝึกได้ พยายามจะถอดความหมาย ให้ทัน ทุกคำที่กล่าวสวด สวดแต่ละคำจะต้อง
    มีความหมายพุ่งออกมาประกอบพร้อมกัน ไม่มีก้ำเกินกัน ปากออกรูปเสียงสำเนียง
    ใส ใจรับรู้ความหมายของรูปเสียงที่เปล่ง พอทำได้แบบนี้ ก็ วกกลับมาพิจารณา

    " วิปาก " ว่าแปลว่าอะไร .............. ถ้า ปัญญาใคร่ครวญไม่ทันรูปเสียง หรือ การ
    รับรู้ความหมายยังไม่มีการกระดิก เกิดความ ถึงพร้อมทิฏฐิ มีความเข้าใจ ร้อยละร้อย
    คำว่า "วิปาก" นักสวดมนต์จะแปลผิด หากอัตตามาก จะแล่นไปจับความหมายงว่า
    "ลำบาก" แบบเจือการปฏิเสธ ไม่ชอบใจ หน่อยๆ ถึงปานกลาง หรือ หนักมาก

    แต่ถ้า ทิฏฐิธรรม รู้เท่าเอาทัน วิปาก จะแปลว่า ผลของกรรม

    ทีนี้ ..........ก็ลองพิจารณาดู ...... หากเราปรับใช้ กัมมวิปาก โอกาสเราจะ
    ตรึกธรรมผิดมันจะมีไหม หากไม่มี จะต้องสร้างภาระในการถือมั่นไหมว่าอย่าง
    ไหนถูก ต้องมี พยัญชนะ อักขระ กี่ตัว หรือ ทั้งหมด ไม่ต้องสวดเลย ความ
    หมายครบหมด ตั้งแต่ " ลุกขึ้นเม้มปากแล้วนั่งลง " มีความสุข ยิ้ม !
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มกราคม 2013
  3. ธัมมนัตา

    ธัมมนัตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,515
    ค่าพลัง:
    +9,765
    บทนี้เป็นบทสรรเสริญพทธคุณด้าน ทศพลญาณ ญาณหยั่งรู้สิบประการของพระพุทธองค์
    มีคำอธิบายโดยพระพรหมคุณาภรณ์ดังนี้

    พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)


    [323] ทศพลญาณ (บาลีเรียก ตถาคตพลญาณ 10 คือ พระญาณอันเป็นกำลังของพระตถาคต 10 ประการ ที่ทำให้พระองค์สามารถบันลือสีหนาท ประกาศพระศาสนาได้มั่นคง — the Ten Powers of the Perfect One)
    1. ฐานาฐานญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและอฐานะ คือ รู้กฏธรรมชาติเกี่ยวกับขอบเขตและขีดขั้นของสิ่งทั้งหลายว่า อะไรเป็นไปได้ อะไรเป็นไปไม่ได้ และแค่ไหนเพียงไร โดยเฉพาะในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล และกฎเกณฑ์ทางจริยธรรมเกี่ยวกับสมรรถวิสัยของบุคคล ซึ่งจะได้รับผลกรรมที่ดีและชั่วต่างๆ กัน — knowledge of instance and no instance; knowledge of possibilities and impossibilities)
    2. กรรมวิปากญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ผลของกรรม คือ สามารถกำหนดแยกการให้ผลอย่างสลับซับซ้อน ระหว่างกรรมดีกับกรรมชั่ว ที่สัมพันธ์กับปัจจัยแวดล้อมต่างๆ มองเห็นรายละเอียดและความสัมพันธ์ภายในกระบวนการก่อผลของกรรมอย่างชัดเจน — knowledge of ripening of action; knowledge of the results of karma)
    3. สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่คติทั้งปวง คือ สุคติ ทุคติ หรือพ้นจากคติ หรือปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่อรรถประโยชน์ทั้งปวง กล่าวคือ ทิฏฐธัมมิกัตถะ สัมปรายิกัตถะ หรือ ปรมัตถะ คือรู้ว่าเมื่อปรารถนาจะเข้าถึงคติหรือประโยชน์ใด จะต้องทำอะไรบ้าง มีรายละเอียดวิธีปฏิบัติอย่างไร — knowledge of the way that leads anywhere; knowledge of the practice leading to all destinies and all goals)
    4. นานาธาตุญาณ (ปรีชาหยั่งรู้สภาวะของโลกอันประกอบด้วยธาตุต่างๆ เป็นเอนก คือ รู้สภาวะของธรรมชาติ ทั้งฝ่ายอุปาทินนกสังขารและฝ่ายอนุปาทินนกสังขาร เช่น รู้จักส่วนประกอบต่างๆ ของชีวิต สภาวะของส่วนประกอบเหล่านั้น พร้อมทั้งลักษณะและหน้าที่ของมันแต่ละอย่าง อาทิการปฏิบัติหน้าที่ของขันธ์ อายตนะ และธาตุต่างๆ ในกระบวนการรับรู้ เป็นต้น และรู้เหตุแห่งความแตกต่างกันของสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น — knowledge of the world with its many and different elements)
    5. นานาธิมุตติกญาณ (ปรีชาหยั่งรู้อธิมุติ คือ รู้อัธยาศัย ความโน้มเอียง ความเชื่อถือ แนวความสนใจ เป็นต้น ของสัตว์ทั้งหลายที่เป็นไปต่างๆ กัน — knowledge of the different dispositions of beings)
    6. อินทริยปโรปริยัตตญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย คือ รู้ว่าสัตว์นั้นๆ มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แค่ไหน เพียงใด มีกิเลสมาก กิเลสน้อย มีอินทรีย์อ่อน หรือแก่กล้า สอนง่ายหรือสอนยาก มีความพร้อมที่จะตรัสรู้หรือไม่ — knowledge of the state of faculties of beings; knowledge of the inferiority and superiority of the controlling faculties of various beings; knowledge as regards maturity of persons)
    7. ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ่ว การออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิและสมาบัติทั้งหลาย — knowledge of defilement, cleansing and emergence in the cases of the meditations, liberations, concentrations and attainments)
    8. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ปรีชาหยั่งรู้อันทำให้ระลึกภพที่เคยอยู่ในหนหลังได้ — knowledge of the remembrance of former existences)
    9. จุตูปปาตญาณ (ปรีชาหยั่งรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายอันเป็นไปตามกรรม -- knowledge of the decease and rebirth of beings)
    10. อาสวักขยญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย — knowledge of the exhaustion of mental intoxicants)
     
  4. poochai

    poochai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +115
    เป็นพระคาถาที่น่าท่อง แต่ผมเจอแต่ละตำราไม่ตรงกัน ไม่รู้จะท่องอันไหนดี
     
  5. kunsan

    kunsan สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +27
    ผมสวดทุกวันมิเคยขาดมาได้๒ปีกว่าแล้วดีมากๆเลยครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...