เชิญร่วมอนุรักษ์พระกรุครับ

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย Amuletism, 10 พฤศจิกายน 2011.

  1. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    เพิ่มเติมครับ.. พระถ้ำเสือกรุใหม่วัดเขาดีสลักในปี 2538 ที่กรรมการ
    ไม่พิจารณาแม้แต่องค์เดียวเป็นพิมพ์เป็นพิมพ์เล็กตุ๊กตาทั้งสิ้น
     
  2. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    ขอบพระคุณมากครับ อาจารย์ Stoes
    สำหรับความรู้ดีๆ กับพระกรุยอดนิยม สุพรรณบุรี
    พระถ้ำเสือนั้นมีประสบการณ์ชัดเจนมาก
    ขนาดโดนฟ้าผ่ายังรอดตายมาแล้ว
    ที่พึงระวังก็ที่อาจารย์ Stoes เตือนกันครับ
    พระกรุใหม่ เขาดีสลัก ที่นายตำรวจเป็นผู้พบ
    ไม่เป็นที่เล่นหากันในวงการ เหตุผลคงไม่ต้องอธิบายครับ
     
  3. โอ๋สะพาน

    โอ๋สะพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    2,494
    ค่าพลัง:
    +3,973
    คู่นี้สวยครับ
     
  4. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    พระถ้ำเสือ พิมพ์เล็กหน้าแก่ กรุเก่า เนื้อจัดอีกองค์หนึ่ง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. โอ๋สะพาน

    โอ๋สะพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    2,494
    ค่าพลัง:
    +3,973
    พระในฝันเลยครับ
     
  6. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    อนุรักษ์พรกรุ อีกกรุหนึ่ง พระนางพญากรุ พระธาตุพนม

    พระธาตุพนม เป็นพุทธเจดีย์ที่บรรจุพระอุรังคธาต ุ(กระดูกส่วนพระอุระ) ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีรูปทรงสี่เหลี่ยม ประดับตกแต่งด้วยศิลปลวดลายอันวิจิตรปราณีตทั้งองค์ มีความหมายทางพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง นับเป็นปูชนียสถานที่สำคัญยิ่งแห่งลุ่มแม่น้ำโขง ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ตำบลธาตุพนม อำเภอนครพนม จังหวัดนครพนม
    ในตำนานพระธาตุพนมกล่าวไว้ว่า องค์พระธาตุพนมสร้างครั้งแรกในราว พ.ศ. 8 ในสมัย อาณาจักรศรีโคตบูร กำลังรุ่งเรืองอยู่ โดยท้าวพญาทั้ง 5 อันมี พญาจุลณีพรหมทัต ครองแคว้นจุลณี ก่อด้านตะวันออก, พญาอินทปัตถนคร ครองเมืองอินทปัตถนคร ก่อด้านใต้, พญาคำแดง ครองเมืองหนองหานน้อย ก่อด้านตะวันตก, พญานันทเสน ครองเมืองศรีโคตบูร ก่อด้านเหนือ, พญาสุวรรณภิงคาร ครองเมืองหนองหารหลวง ท้าวพญาทั้งหมดได้ร่วมกันก่อพุทธเจดีย์ขึ้นรวมยอดเข้าเป็นฝาละมี เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุ ของพระพุทธเจ้า ที่ พระมหากัสสปเถระ นำมาจากประเทศอินเดีย ประดิษฐานไว้ภายใน
    องค์พระธาตุพนม ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ ในยุคต่อมาโดยลำดับ เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2518 เวลา 19.38 น. องค์พระธาตุพนมได้หักล้มลง ทั้งนี้เนื่องมาจากฐานขององค์พระธาตุชั้นที่ 1 ซึ่งสร้างในสมัยแรกนั้นเก่าแก่มาก ไม่สามารถทานน้ำหนักส่วนบนได้ จึงได้พังทลายลงมา
    ในการรื้อถอนและขนย้ายซากปรักหักพังขององค์พระธาตุพนม ได้มีการค้นพบพระบูชา-พระเครื่อง และวัตถุโบราณมากมาย โดยสิ่งที่ค้นพบนั้นจะมีอายุที่แตกต่างกันหลายยุคหลายสมัย และในจำนวนนี้ก็มีพระเครื่องเนื้อชินเงินรูปสามเหลี่ยม องค์พระประทับนั่งมารวิชัย บนฐานบัวขีด ซึ่งภายหลังได้มีการเรียกขานกันว่า พระนางพญากรุพระธาตุพนม นับเป็นพระเครื่องเนื้อชินเงินชนิดเดียวที่ถือว่าเป็นพิมพ์ที่มาตรฐานที่สุด พบเห็นที่ไหนก็รู้ได้ว่าเป็นของกรุพระธาตุพนม ไม่เหมือนกับพระเครื่องหรือพระบูชาเนื้ออื่นๆ โดยเฉพาะเนื้อทองคำที่มีศิลปออกทางเชียงรุ้ง (ล้านช้าง) ก็มักจะเหมากันว่า เป็นของกรุพระธาตุพนม เพราะได้ราคาดีกว่า แต่แท้ที่จริงแล้ว มิใช่ว่าจะหามาได้โดยง่ายอย่างที่คิด
    [​IMG]
    เจ้าของพระ คุณสมชาย นันทิเกียรติกุล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนม (องค์ปิดทอง)

    [​IMG]
    พระนางพญา กรุพระธาตุพนม ที่ท่านเห็นอยู่นี้มิใช่ของหาง่าย พบเห็นที่ใด โปรดใช้วิจารณญาณให้ถ่องแท้ เพราะในภายหลังทางวัดพระธาตุพนมได้มีการสร้างขึ้นมาใหม่ โดยใช้เนื้อโลหะของเดิมที่ชำรุด ความแตกต่างจึงเปรียบเสมือนพระกรุกับพระเกจิฯ พิจารณากันที่พิมพ์และธรรมชาติความเก่าก็พอแยกแยะได้ ถ้าโชคดีมีของแท้ไว้บูชา โปรดจงรู้ไว้เถิดว่า นั่นคือสุดยอดสิ่งที่ปรารถนาของชาวธาตุพนม ค่านิยม ชมแล้วไม่อยากเชื่อเลยว่า หลักหมื่นกลางๆ นะจะบอกให้…..โดย เป๋ นครพนม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ธันวาคม 2012
  7. hemicuda

    hemicuda เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,357
    ค่าพลัง:
    +2,246
    กลับมาเป็นกระทู้คุณภาพอีกครั้งครับ ขอบคุณสำหรับข้อมูล
     
  8. kik-kok

    kik-kok Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +40
    ขอนำพระถูกๆสำหรับมือใหม่อย่างผมมาร่วมโชว์สักองค์นะครับ

    [​IMG]
     
  9. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    พระมเหศวร วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี

    [​IMG]
    พิมพ์ของพระมเหศวรนับว่าเป็นพิมพ์ที่แปลกกว่าพระพิมพ์อื่น ๆ มีองค์พระปฏิมากรทั้งสองหน้า พระเศียรหันกลับตรงกันข้ามเพราะเหตุว่าพระเศียรกลับสวนตรงกันข้ามนี่เอง จึงเรียกว่าพระสวนต่อมาชื่อนั้นค่อย ๆ กลายมาเป็น "มเหศวร" (แปลว่าพระอิศวร) เป็นชื่อที่เรียกกันมานานในจังหวัดสุพรรณบุรี ไม่น้อยกว่า 40-50 ปี คำว่าพระสวนนั้นเป็นการเรียกชื่อที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงขององค์พระปฏิมากรอย่างที่สุด เมื่อจับพลิกไปมาจะเห็นองค์พระสวนสลับกลับกัน ต่อมาอาจมีบางท่านต้องการเรียกชื่อให้โก้เก๋ขึ้น ได้เติมคำ "มเห" เข้า จึงกลายเป็นชื่อมเหศวรไป ซึ่งไม่เป็นความหมายที่ถูกต้องตรงกับความเป็นจริงขององค์ประปฏิมากรที่สวนสลับกันไปมานัก แต่ก็เป็นชื่อที่เหมาะสม และสมกับอานุภาพแล้ว
    มีบางท่านพูดว่า ชื่อพระมเหศวรเพิ่งตั้งไม่นานมานี้ เพื่อให้พ้องกับชื่อของขุนโจรผู้ยิ่งใหญ่ คนหนึ่งในสมัยเสือฝ้ายเรืองอำนาจ ที่อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี คือ เสือมเหศวร นั่นเป็นความเข้าใจผิดอย่างช่วยไม่ได้ ตั้งแต่ข้าพเจ้ายังเด็กอยู่อายุในราว 10 ขวบ (พ.ศ. 2467) จำความได้แม่นยำว่าเขาเรียกชื่อพระมเหศวรกันแล้วในสมัยนั้น ไม่เพียงแต่รู้จักชื่อยังได้ใช้คล้องคอมาตั้งแต่เด็ก ๆ อีกด้วย แต่ชื่อเสียงของขุนโจรมเหศวรเพิ่งปรากฏขึ้นตอนปลายของสงครามโลกครั้งที่สอง ในราว พ.ศ. 2487 ซึ่งห่างกันตั้ง 20 ปี หรือกว่านั้นขึ้นไปอีก ย่อมเป็นไปไม่ได้ว่าชื่อพระมเหศวรนั้นสืบเนื่องมาจากชื่อของเสือมเหศวร
    [​IMG]
    มีผู้กล่าวว่าถ้าใครมีพระมเหศวรอยู่ในบ้าน เวลาภรรยาคลอดบุตรให้เอาออกไปนอกบ้าน มิฉะนั้นจะคลอดบุตรยาก เรื่องนี้อย่าได้เชื่อถือเป็นอันขาด ไม่มีความจริงเลย ข้าพเจ้ามีพระมเหศวรองค์หนึ่งอยู่ในบ้านเรื่อยมาตั้ง 30 กว่าปี ปรากฏว่าภรรยาคลอดบุตรทีไรสะดวกทุกครั้งไป ไม่เคยมีอุปสรรคเลยสักนิดเดียว ดังนั้นจึงควรเชื่อว่ามีพระมเหศวรอยู่ในบ้านแล้วช่วยให้การคลอดบุตรสะดวกดีจะถูกต้องกว่า
    มีตำราบางเล่มกล่าวถึงสถานที่พบพระมเหศวรอีกว่า นอกจากที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุแล้ว ยังพบที่วัดมเหยงคณ์ ต. ท่าระหัด อ.เมือง สุพรรณบุรี อีกด้วย พยายามสืบและสอบสวนข้อเท็จจริงแล้วได้ความว่าไม่เป็นจริง ถ้ามีจริงอาจะเป็นไปได้ว่าพระมเหศวรของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ซึ่งเปิดกรุเมื่อ พ.ศ. 2456 นั้น มีผู้นำไปบรรจุยังวัดมเหยงคณ์อีกครั้งหนึ่ง ต่อมาภายหลังมีผู้ไปขุดพบเข้าก็เข้าใจว่าเป็นพระของวัดมเหยงคณ์ เพื่อให้เกิดความมั่นใจยิ่งขึ้น ข้าพเจ้าจึงสอบถามนักนิยมพระรุ่นเก่า ๆ ก็บอกเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่เคยได้ยินใครพูด หรือบางทีชื่อของวัดมเหยงคณ์ กับชื่อของพระมเหศวรใกล้เคียงก็เหมาเอาดื้อ ๆ จึงว่าขอให้ปัดความเข้าใจเช่นนั้นออกไปเสียและได้โปรดเข้าใจด้วยว่า พระมเหศวรเนื้อชินมีสถานกำเนิดที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ต.รั้วใหญ่ อ.เมือง สุพรรณบุรี แต่เพียงแห่งเดียวเท่านั้น ส่วนของต่างจังหวัดและพระเกจิอาจารย์นั้นไม่ขอกล่าว
    ในทางโบราณคดี
    พุทธลักษณะของพระมเหศวร เป็นศิลปะอู่ทองปนลพบุรี เหตุทีกล่าวเช่นนี้เพราะพบพระมเหศวรองค์หนึ่งพระศกเป็นขนนก เมื่อเป็นเช่นนี้จึงทำให้ข้าพเจ้าไม่กล้าที่จะกำหนดศิลปะว่าเป็นศิลปะอู่ทอง แต่จะอย่างไรก็ดี จารึกในลานทองกล่าวไว้ว่า สร้างเมื่อมหาศักราช 1265 เท่ากับ
    พ.ศ. 1890 (อ่านคำจารึกในลานทองเรื่องพระผงสุพรรณประกอบด้วย) ก็ไม่ควรกำหนดสูงถึงสมัยลพบุรี อย่างสูงก็เพียงอู่ทองปลายเท่านั้น
    ความงามในพุทธลักษณะของพระมเหศวร เปรียบเทียบแล้วความงามสู้พระสุพรรณหลังผาน ไม่ได้ แต่ความเคร่งขรึมทำให้เกิดศรัทธาในพุทธอำนาจยิ่งนัก
    [​IMG]
    ในทางทฤษฎี
    1. เนื้อ
    ตามลานทองกล่าวไว้ว่า พระเนื้อชินของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ของจังหวัดสุพรรณบุรี นั้น ทำด้วยแร่สังฆวานร และตามความรู้สึกของนักนิยมพระ ต่างเข้าใจว่าแร่สังฆวานรนั้นมีความอ่อนนุ่มถึงกับม้วนได้ ความจริงหาได้เป็นดั่งที่เข้าใจนั้นไม่ เป็นเพียงบางองค์เท่านั้นที่โค้งไปมาได้ แต่ไม่ถึงกับม้วน องค็ที่โค้งงอไปมาได้นี้มีส่วนผสมของเนื้อตะกั่วมากทั้งต้องบางจึงจะโค้งงอได้ หากหนาจะงอไม่ได้ ถ้ามีแร่ธาตุอย่างอื่นที่มีความแข็งเช่น เงิน ดีบุก อะลูมิเนียม ผสมอยู่พอประมาณก็ไม่สามารถจับจับโค้งงอไปมาได้
    ลักษณะเนื้อพระเหมือนอย่างเดียวกับพระสุพรรณหลังผาน ดังนั้น จึงขอให้ท่านหวนไปดูข้อความในบทที่เรื่องเนื้อชินของพระเครื่องวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (หากเป็นเนื้อชินเขียว) เชื่อว่าเป็นของต่างจังหวัด)
    2. กรอบพิมพ์
    คล้ายรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เว้ากลางทั้งสองข้างตรงช่วงพระพาหา (แขนท่อนบนตั้งแต่ไหล่ลงมาถึงข้อศอก) กว้างประมาณ 2 ซม. สูงประมาณ 3.5-4 ซม. เป็นแบบของกรอบพิมพ์ที่ค่อนข้างจะพิศดารกว่ากรอบพิมพ์บรรดาพระเครื่องทั่วไป นับว่าเป็นความคิดที่ฉลาดของศิลปินผู้ออกแบบ โดยเอาพระสององค์มาประกบเข้าด้วยกันหันเศียรสวนกันไปคนละทาง ผนัง (ปีก) ของด้านนี้คือฐานของด้านโน้น และฐานของด้านโน้นคือผนัง (ปีก) ของด้านนี้ เป็นความคิดที่ควรได้รับการยกย่อง
    3. พุทธลักษณะ
    องค์พระปฏิมากรประทับนั่ง ปางมารวิชัย ฐานสองชั้น ลักษณะเคร่งขรึม พระศกแทบทุกองค์ที่เห็นเลี่ยน (แต่เคยเห็นอยู่องค์หนึ่งพิมพ์หน้าเล็ก พระศกด้านหน้าเป็นแบบขนนก) ทั้งสองด้านนี้ เป็นความคิดที่ควรได้รับการยกย่อง
    [​IMG]
    4. พิมพ์
    แบ่งออกเป็น 4 พิมพ์ คือพิมพ์ หน้าเล็ก หน้ากลาง หน้าใหญ่และพิมพ์พิเศษ
    ก. พิมพ์เล็ก
    ขนาดและส่วนสัดขององค์พระปฏิมากร กรอบพิมพ์ค่อนข้างจะเล็กกว่ากรอบพิมพ์ของพิมพ์หน้ากลาง และหน้าใหญ่นิดหน่อย ขนาดของพระพักตร์กว้างเกือบครึ่งเซนติเมตร ต้นพระพาหา (ท่อนแขนบน) ซ้าย และพระกัปประ (ข้อศอก) โค้งมน ผนัง (ปีก) ข้าง ๆ พระเศียรทั้งซ้ายและขวามีขีดสองขีด ฐานเรียบเหมือนเส้นลวดสองเส้นไม่มีลวดลายใด ๆ ทั้งสิ้น ผิดกับพิมพ์หน้าใหญ่ สูงประมาณ 3 ซม. กว้างประมาณเกือบ 2 ซม.
    ข. หน้ากลาง
    ขนาดกลางของกรอบพิมพ์และองค์พระปฏิมากรค่อนข้างจะเขื่องกว่าพิมพ์หน้าเล็กนิดหน่อย ถ้านำไปเทียบกับพิมพ์หน้าเล็กจะเห็นได้ว่าพระพักตร์ใหญ่กว่ากันนิดเดียวเท่านั้น พระพาหา (ท่อนแขนตอนบน) ซ้ายและพระกัปประ (ข้อศอก) โค้งมนเหมือนกับพิมพ์หน้าเล็ก ผนัง (ปีก) ข้าง ๆ พระเศียรทั้งซ้ายขวามีขีดสองถึงสามขีด แต่ส่วนมากมีสองขีด ฐานเส้นลวดสองเส้นไม่มีลวดลายใด ๆ เหมือนกับพิมพ์หน้าเล็ก บางองค์ใต้ฐานมีปุ่มเล็กหนึ่งปุ่ม คล้ายปุ่มของพระยอดธง สูงประมาณ 3.5 ซม กว้างประมาณ 2 ซม.
    ค. หน้าใหญ่
    ขนาดและส่วนสัดของกรอบพิมพ์เท่ากับพิมพ์หน้ากลางถ้าเอาไปเปรียบเทียบกับพิมพ์หน้าเล็กจะเห็นได้ชัดกว่าขนาดเล็กใหญ่ผิดกัน แต่กับพิมพ์หน้ากลางกรอบพิมพ์ใกล้เคียงแทบจะเป็นขนาดเดียวกัน หากแต่พระพักตร์เท่านั้นที่ใหญ่กว่าพิมพ์หน้ากลาง ขนาดของพระพักตร์วัดแล้วประมาณ 1/2 ซม. พระพาหา (ท่อนแขนตอนบน) ซ้ายถ่างออก จึงทำให้พระกัปประ (ข้อศอก) กางและหักเป็นมุมไม่มนเหมือนพิมพ์หน้าเล็กและหน้ากลาง เพราะพระเศียรใหญ่จึงทำให้ดูขึงขัง ฐานผิดกับสองพิมพ์ที่กล่าวมาแล้ว ไม่เป็นเส้นลวด เห็นชัดว่าเป็นฐานหน้ากระดานแอ่นสองชั้น ที่ฐานมีบัวเป็นเส้นขีดลงมาตรง ๆ คล้ายบัวก้างปลาของพระปรุหนัง อยุธยา ผนัง (ปีก) ข้างพระเศียรซ้ายและขวามีขีด 2 และ 3 ขีด สูงประมาณ 3 3/4 ซม. กว้างประมาณ 2 ซม.
    ง. พิมพ์พิเศษ
    ปรกติพิมพ์พิเศษนี้หาได้ยาก นาน ๆ จึงจะพบสักองค์หนึ่งพอเห็นกรอบพิมพ์และองค์พระเท่านั้น จะบอกได้ทันทีว่ามีขนาดใหญ่กว่าพิมพ์ทั้งสามดังกล่าว ใหญ่ทุกส่วนตั้งแต่กรอบพิมพ์และองค์พระปฏิมากร ความกว้างของพระพักตร์ประมาณ 3/4 ซม. กรอบพิมพ์กว้าง 2.5 ซม. สูงถึง 4 ซม. ก้มพระพักตร์มากพระนาสิกเด่นชัด พระเศียรโต พระหนุเล็ก การวางพระหัตถ์เหมือนกับพิมพ์หน้าใหญ่ ผิดกับพิมพ์หน้าเล็กและหน้ากลาง พระอุระ พระเพลากว้าง ผนังทั้งสองด้านข้างพระเศียรมีขีดสามขีด
    ความจริงของพระมหศวรใช่ว่าจะมีพิมพ์ดังกล่าวแล้วเท่านั้นก็หาไม่ยังมีอีก 2 พิมพ์ที่นักนิยมพระเมืองสุพรรณไม่รู้จักในนามของพระมเหศวร หากแต่รู้จักในนามของพระชื่อ "หลวงพ่อโต" พระที่จะกล่าวถึง 2 พิมพ์นี้มีจำนวนน้อย ผู้เขียนเคยเห็นเพียงไม่กี่องค์ และไม่นึกว่าจะเป็นพระมเหศวรเสียด้วยซ้ำไป เพราะไม่มีลักษณะของความเป็นพระมเหศวรเลย แม้แต่กรอบพิมพ์ก็ไม่เหมือนกัน ผนังหรือปีกทั้งสองข้างที่พระเศียรไม่มียิ่งกว่านั้นองค์พระทั้งสองด้านก็ไม่สวนสลับกลับกัน มองดูเป็นพระสองหน้าธรรมดา แต่เมื่อชาวจังหวัดพระนครเรียกเช่นนั้นก็อนุโลมเรียกตามไป เพราะทั้งความนิยมและอานุภาพเท่ากับพิมพ์สวนกลับเหมือนกัน ดังจะได้กล่าวถึงพุทธลักษณะต่อไปนี้
    1. พิมพ์สวนตรง
    องค์พระพุทธปฏิมากรใหญ่กว่าชนิดสวนกลับไปมาทุกพิมพ์ พระเศียรใหญ่กว่าพิมพ์หน้าใหญ่ พระศกผมหวี ปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบไม่มีผนังหรือปีกที่พระเศียรทั้งสองข้าง องค์พระพุทธปฏิมากรลอยตัวเพราะถูกตัดชิดองค์ ทั้งสองด้านองค์พระพุทธปฏิมากรเหมือนกัน ถ้าจะเรียกกันง่าย ๆ ว่า พระสองหน้าก็ไม่ผิด เมื่อสากลนิยมเรียกกันว่าสวนตรง ก็ควรอนุโลมเรียกตามความนิยม
    2. พิมพ์สวนเดี่ยว
    พุทธลักษณะเหมือนกับพิมพ์สวนตรงทุกอย่าง แต่ด้านหลังราบเป็นลายผ้าไม่มีองค์พระปฏิมากร เท่ากับพระหน้าเดียวนั่นเอง เมื่อสากลนิยมเรียกกันว่าสวนเดี่ยวก็ควรอนุโลมเรียกตามไป
    [​IMG]
    5. ผิว
    องค์ที่ไม่ใช้จะปรากฏผิวปรอทแวววาวน้อย ๆ อยู่ทั่วทั้งองค์ สีของผิวปรอทไม่สดใส แห้งผาก ขาวอมสีน้ำตาลอ่อนแสดงออกถึงความเก่าคร่ำคร่า ความจริงที่เรียกว่าผิวปรอท ก็คือผิวเดิมของเนื้อโลหะ เมื่อหลอมเหลวเทลงบนแม่พิมพ์ปล่อยทิ้งไว้พอแข็งตัวจะปรากฏผิวขาวผ่องให้เห็นทุก ๆ ครั้ง ไม่ว่าจะเป็นตะกั่วล้วนก็ตามที พอเย็นจะเกิดผิวสีขาวคล้ายสีเงินยวงทุกชนิด เมื่อผ่านการเก็บในกรุนับเวลาร้อย ๆ ปี ถูกอบอยู่ในที่ร้อนระอุเดี๋ยวเย็นเดี๋ยวร้อนสลับกันไปมา ความเก่าจะเข้าจับผิวของโลหะจนค่อย ๆ เปลี่ยนแปรความขาวผ่องกลายเป็นเก่าไป ถ้าที่เก็บดีก็เก่าช้า ที่เก็บไม่ดีก็เก่าเร็ว หากฝังอยู่ในดินที่มีน้ำท่วมทุก ๆ ปี ไม่เพียงแต่จะเก่าเร็วยังผุกร่อนได้ง่ายด้วย กรุของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี เป็นกรุดี พระทุกชนิดไม่ได้ฝังจมอยู่ในดินเหมือนกรุทั่ว ๆไป กรุที่ฝังมีสภาพเหมือนห้อง ๆ หนึ่งในองค์พระปรางค์ จึงทำให้ผิวขาวผ่องของโลหะเก่าช้าไม่หมดไปได้ง่าย จึงปรากฏให้เห็นผิวปรอทแต่เพียงราง ๆ อมสีน้ำตาลอ่อนเหมือนถูกรนด้วยไฟ ต่อเมื่อใช้ไปนาน ๆ ผิวปรอทนั้นจะจางหายกลายเป็นดำไป อย่างที่เรียกกันว่า สนิมดำ (สนิมตีนกา) เมื่อเอาแว่นขยายจะเห็นความฉ่ำบนผิวสนิมดำนั้น และเมื่อใช้เสียดสีกับเนื้อไปมา จะปรากฏเป็นสีขาวผ่องดุจสีขาวเงินยวงขึ้นมาแทน หากสีที่ปรากฏออกมานั้นคล้ายตะกั่ว ขอให้สงสัยไว้ก่อนว่าเป็นของปลอม
    [​IMG]
    6. สนิม
    พระกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี ไม่มีสนิมแดง และสนิมไขขาวมีแต่สนิมดำอย่างเดียว ทั้งนี้ อาจมีมาแต่ในกรุหรือเกิดจาการใช้ องค์ที่มีปรอทขาว เมื่อใช้นานถูกเหงื่อไคลหรือจับถูไปมา ผิวปรอทจะหายไปกลายเป็นผิวสนิมดำ ของปลอมก็ทำสนิมดำได้ โดยใช้น้ำกรดทาให้ทั่วองค์พระหรือเพียงประปราย จะปรากฏผิวดำคล้ายสนิมให้เห็น แต่ความดำของน้ำกรดที่กัดโลหะนั้นไม่ดำสนิทจริง ๆ เป็นเพียงดำหม่นเซียว ๆ แลดูกระด้างซีดเซียว ของจริงดำและชุ่มฉ่ำกับหนึกนุ่ม ขอได้โปรดระมัดระวังไว้ด้วย
    [​IMG]
    พระพุทธคุณ
    โด่งดังเด่นนักเท่ากับพระหูยานของจังหวัดลพบุรี พูดกันทำไมมีด้านอยู่ยงคงกระพันนั้นเป็นยอดละ วงการพระคุยกันว่า เซียนพระผู้หนึ่งเคยโดนรุมล้อมถูกจามด้วยขวานจนเนื้อน่วมไปหมด มิได้มีบาดแผลให้ปรากฏเลยแม้แต่น้อย ของดีที่ขึ้นคอเขาคราวนี้มีเพียง "พระมเหศวร" องค์เดียวเท่านั้น
    อีกรายหนึ่งที่มหาชัย สมุทรสาคร มีนักเลงใหญ่ 2 คน เป็นนายท้ายเรือแดง และเรือเขียว ขัดใจกันด้วยเรื่องเส้นทางแย่งคนโดยสารกันจนเป็นนิจสิน วันหนึ่งถึงจุดเดือดต่างก็เทียบท้ายเรือเข้าหากัน ตัวนายท้ายโต้โผเรือใหญ่ทั้งสอง ซัดกันด้วยมีดและไม้อย่างอุตลุด ฝ่ายหนึ่งมีของดีแทงไม่เข้า ฝ่ายหนึ่งมีพระมเหศวรอมไว้ในปาก ต่างก็หนังเหนียวไม่น่าเชื่อ สู้กันไปได้หลายเพลง ฝ่ายหลังพระหลุดจากปากตกน้ำ จึงขอสงบศึกชั่วคราว แล้วนัดตีกันใหม่วันหลัง นายท้ายเจ้าของพระมเหศวรที่ทำตกน้ำ จ้างคนงมไม่ทราบว่าจะได้หรือไม่
    เจ้าของร้านสุพรรณหรรษา อ.เมือง สุพรรณบุรี เล่าให้ฟังว่า พ่อตาของเขาเมื่อเป็นหนุ่มเป็นนักบู๊มือฉกาจคนหนึ่ง บ้านอยู่ตลาดบางหลวง อ.บางเลน จ.นครปฐม ครั้งหนึ่งยิงต่อสู้กับพวกปล้นเป็นวัน-คืน กระสุนที่ยิงมาถูกตัวแล้วตกลงแทบเท้า ไม่ได้ระคายผิวหนังเลยแม้แต่น้อย เพราะพุทธคุณของพระมเหศวรองค์เดียวเท่านั้น ไม่ว่าจะไปไหน ๆ พ่อตาของเขาพกแต่พระมเหศวรติดตัวไปองค์เดียวเท่านั้น
    นายอู๋ บ้านอยู่ท่าโบสถ์ อ.หันคา จ.ชัยนาท ไม่ถูกับใครคนหนึ่ง ขณะเดินทางกลับบ้านเวลากลางคืนที่บ้านหนองสำโรง พอคล้อยพุ่มไม้ถูกคนร้ายลอบฟันฉึกเข้ากลางหลัง นายอู๋เองก็แปลกใจในความอยู่ยงคงกระพันของตัวเองจึงทดลองเอาพระใส่ปากปลาช่องฟันฉับ ๆ เข้าหลายที ปลาดิ้นพลาด ๆ แต่ไม่ยอมเข้าพอเอาพระออกจากปาก ฟันฉับเดียวขาดเป็นสองท่อนทันที แปลกไหมท่านอภินิหารลึกลับอย่างนี้ท่านจะเชื่อหรือไม่ก็ตามใจ
    ดังนั้น จึงขอสรุปพระพุทธคุณของพระมเหศวรว่า เป็นพระอยู่ยงคงกระพันชาตรีและแคล้วคลาด อันเป็นพระของนักบู๊โดยตรง ท่านมีไว้ก็ไม่เสียหลาย เผลอ ๆ ใครอยากลองดีให้เขาซัดสักฉึกก็ยังพอทน โดย...อาจารย์มนัส โอภากุล
     
  10. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    ภาพเพิ่มเติม

    [​IMG][​IMG]
    [​IMG][​IMG]
    [​IMG][​IMG]
    [​IMG][​IMG]
    [​IMG][​IMG]
     
  11. โอ๋สะพาน

    โอ๋สะพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    2,494
    ค่าพลัง:
    +3,973
    ข้อมูลแน่นดีครับ
     
  12. hemicuda

    hemicuda เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,357
    ค่าพลัง:
    +2,246
    คาราวะพี่ stoes หลายจอกเลยครับ ข้อมูลสุดยอดมากครับ พระมเหศวรหาดูยากจริงๆ
     
  13. โอ๋สะพาน

    โอ๋สะพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    2,494
    ค่าพลัง:
    +3,973
    สายนี้ไม่ค่อยถนัดเลยครับ แต่เห็นแล้วชอบเลย
     
  14. ครูชายแดน

    ครูชายแดน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2011
    โพสต์:
    3,053
    ค่าพลัง:
    +2,787
    เข่าบ่วงครับดูเป็นไงบ้างครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_1947.jpg
      IMG_1947.jpg
      ขนาดไฟล์:
      386 KB
      เปิดดู:
      425
    • IMG_1951.jpg
      IMG_1951.jpg
      ขนาดไฟล์:
      339.1 KB
      เปิดดู:
      389
  15. น้า ต๋อย

    น้า ต๋อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,077
    ค่าพลัง:
    +661
    สุดยอดครับคุณ stoe ใส่กันมาเต็มๆปอดเลยนะครับ ทั้งรูปที่ชัดเจนดูง่าย บวก กับข้อมูล ที่เป็นประโยชน์ ต้องแบบนี้สิครับถึงจะสมกับชือของกระทู้ ที่เจ้าของเขาอุส่าห์ตั้งขึ้นมาเพื่ออนุรักษ์เอาไว้ แด่ชนรุ่นหลัง


    อ่อ! ลืมไปของคุณkikkok ก็ไม่น้อยหน้ากันเลยนะครับ ถึงจะเป็นพระพื้นๆ แต่ความสวยระดับนี้ก็ไม่ใช่จะหาชมกันได้ง่ายๆแล้วในปัจจุบัน ตอนนีราคาก็ไม่ธรรมดาแล้วนะครับ สมัยก่อน พระคู้สลอดเขาเรียกพระน้ำจิ้ม แต่เดี๋ยวนี้ใครลองมาจิ้มของผมสิครับ จะตีให้มือหักเลย 5555555555
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ธันวาคม 2012
  16. น้า ต๋อย

    น้า ต๋อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,077
    ค่าพลัง:
    +661
    จัมโบ้เอ

    [​IMG]
    [​IMG]
     
  17. โอ๋สะพาน

    โอ๋สะพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    2,494
    ค่าพลัง:
    +3,973
    ไม่ถนัดครับ แต่ดูแล้วสบายตาดี
     
  18. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    พระกรุ พระคง จ.ลำพูน

    พระคงจัดเป็นพระมหาชนเลยแหละครับ มีราคาตั้งแต่พันกว่า จนไปหลักหลายๆแสน ช่วงนี้เห็นมีพระคงเข้าสู่สนามเยอะแยะไปหมด ด้วยเป็นเพราะมีขึ้นกรุมาหลายหมื่นองค์ ถ้าอยากจะหามาไว้ใช้สักองค์ หาสีพิกุลสภาพสึกๆหน่อยมาใช้ก็ได้ ราคาพันกว่าถึงพันต้นๆ พุทธคุณเหมือนองค์เงินแสน พระขุดขุดพบครั้งแรกที่วัดพระคง ที่วัดมหาวันและวัดอื่นๆก็มีพระคงปะปนขึ้นมาด้วยเช่นกัน เมื่อไม่นานนี้ก็ยังขุดพบกันอยู่อีกเลย จนมีคนเอาไปล้อกันว่า ถ้าอยากจะมีพระคงเมื่อไร เดินเข้าเซเว่นไปเช่าซื้อยังได้เลย แน่ะ!! พี่ก็ว่าไปนั่น ถึงแม้จะยังไม่ได้ข้อสรุปจริงๆว่าพระคงสร้างเมื่อสมัยพระนางจามเทวี หรือกว่า1300 ปีก่อนโน่นจริงหรือเปล่า แต่พระคงก็ยังครองใจมหาชนอยู่ไม่เสื่อมคลาย
    ขอขอบพระคุณ คุณนิพล เฮงเส็ง ที่เอื้อเฟื้อภาพ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 00552.jpg
      00552.jpg
      ขนาดไฟล์:
      173.6 KB
      เปิดดู:
      1,165
  19. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    พระหินสี เมืองฮอด เชียงใหม่

    [​IMG]
    พระพุทธรูปและพระเครื่องเนื้อแก้วผลึก ที่ขุดค้นพบจากกรุตามเมืองในภาคเหนือและภาคกลางมีแหล่งที่พบมากที่สุดคือ เมืองเชียงใหม่ เชียงราย และอยุธยา
    พระแก้วไม่ได้หล่อหรือทำขึ้นจากแก้วธรรมดาตามที่เข้าใจกัน แต่เป็นแร่รัตนชาติแท้ๆมีสีเขียว สีขาว และสีเหลือง แร่หินที่คนทั่วไปเรียกว่าแก้วผลึกนี้คือพลอยหินเนื้ออ่อนประเภทเปลือกหยกหินเขี้ยวหนุมาน หินเนื้ออ่อนสีเหลืองนี้จัดอยู่ในตระกุลหินบุษราคัมมี สีเหลืองใสวาวและสีเหลืองน้ำผึ้ง
    ในสมัยเชียงแสนและเชียงใหม่นิยมสร้างพระแก้วสีเหลืองนี้เรียกว่า บุศน้ำทองพระแก้วสีขาวเรียกว่า เพชรน้ำต้ม หรือเพชรน้ำค้าง สันนิษฐานว่า พระแก้วมีการสร้างทำและสืบทอดมาจากเขตล้านนาตอนบนลงมาจนถึงเมืองเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2502-2503 กรมศิลปากร ได้ค้นพบพระเจดีย์ทุกวัดในเมืองฮอดเพื่อนำพระพุทธรูปและโบราณวัตถุทั้งหมดที่ขุดพบมาเก็บไว้ เนื่องจากการสร้างเขื่อนภูมิพล เสร็จน้ำจะท่วมเมืองฮอดทั้งหมด ในครั้งนั้นทางการได้ขุดพบพระแก้วมากที่สุด และเป็นการขุดค้นพบพระแก้วครั้งใหญ่ที่สุด แร่หินสีเหลืองที่นำมาสร้างพระ แก้วนี้เข้าใจว่าจะนำมาจากประเทศลังกาและจีน หินเขี้ยวหนุมานที่เนื้อดีน้ำงามที่สุดที่เรียกกันว่า จุ๊ยเจียประกายแห่งพลัง คนจีนโบราณถือกันว่าแก้วขาวจุ๊ยเจียสามารถป้องกันสิ่งชั่วร้ายต่อต้านอาถรรพณ์ต่างๆ ได้ด้วยใยพระแก้วของกรุเมืองฮอดที่ขุดได้จากกรุเจดีย์ตามวัดหลายแห่งในเขตอำเภอฮอด ที่พบมากจะมีพระแก้วเนื้อสีขาวและเนื้อสีเหลืองที่ทางการได้ขุดค้นรวบรวมไว้รวมทั้งชาวบ้านได้ขุดค้นกันในระยะต่อมามีจำนวนมากพอสมควรมีขนาดใหญ่มีขนาดหน้าตัก 3 นิ้วเศษ ขนาดเล็ดสุด 0.5 นิ้ว พระแก้วของกรุเมืองฮอดที่ยังพอมี เป็นงานสร้างศิลปด้วยวัตถุที่มีค่าที่น่าศึกษาและควรเก็บอนุรักษ์ไว้เพราะเป็นงานแกะที่ทำด้วยฝีมือของสกุลช่างเมืองฮอดแท้ๆการสร้างพระแก้วต้องใช้ทักษะและความสามารถในการวางรูปแบบที่สูงมากเป็นการสร้างที่ทำยากกว่าการหล่อพระพุทธรูปหรือทำพระเครื่องด้วยดินเผามาก พระแก้วของกรุเมืองฮอดเข้าใจว่าช่างแกะด้วกันหลายคนเพราะแต่ละองค์มีฝีมือทำได้งดงามมากมีปางสมาธิ และปางมารวิชัย ปางยืนก็มีบ้าง แต่ละองค์มีรูปแบบในศิลปะเชียงแสนมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 21-22 อันเป็นยุคทองของเชียงใหม่ที่พุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์กำลังเจริญรุ่งเรืองในเมืองเชียงใหม่นอกจากพระแก้วที่ขุดพบแล้วยังพบพระเจดีย์แก้วบรรจุพระบรมมธาตุอีกหลายองค์รวมทั้งรูปสัตว์ เช่น ช้าง กวางหมอบ นกคุ้ม และภาชนะเครื่องใช้สอยจำลองขนาดเล็กอีกจำนวนมาก

    สันนิษฐานว่าขณะนั้นนิยมสร้างแต่พระแก้วรวมทั้งเครื่องใช้สอยจำลองอันเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาด้วยความศรัทธาต่อสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยที่เมืองโบราณแห่งอื่นจะพบกรุพระแก้วเพียงแห่งละองค์เท่านั้นเข้าใจว่าจะเป็นพระแก้วของเจ้านายหรือบุคคลชั้นสูงสร้างขึ้นเข้าใจว่าเป็นพระชัยวัฒน์ประจำตัว หรือสร้างทำขึ้นในพิธีบวงสรวงศาสนา
    [​IMG]
    พระแก้วกรุเมืองฮอดจะพบในหลายวัดด้วยกันเช่น วัดหลวงฮอด วัดศรีโขง วัดเจดีย์สูง วัดดอกเงิน และวัดสันหนองฯลฯ แต่กล่าวโดยรวมได้ว่าที่กรุวัดศรีโขงเป็นกรุที่พบพระแก้วมากที่สุด เพราะเป็นกรุใหญ่มาก เมืองฮอดเป็นเมืองโบราณของอาณาจักรล้านนา(ปัจจุบันเป็นอำเภอฮอด) ตัวเมืองเก่าตั้งอยู่ที่บ้านวังลุง พงศาวดารโยนกชี้ว่า เมืองนี้คือ ท่าเชียงทอง ศูนย์กลางของเมืองคงอยู่ที่วัดหลวงฮอด ในอดีตพระนางจามเทวีได้นำไพร่พลขึ้นมาสร้างเมืองลำพูนได้แวะพักที่ริมแม่น้ำปิงก่อน ได้สถานที่แห่งนี้เป็นทำเลดี จึงได้สร้างเมืองขึ้นชื่อเมืองฮอดในปี พ.ศ. 1203 ได้สร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุไว้บนยอดเขาลุกหนึ่งชื่อว่าดอยเกิ้ง (ดอยฉัตร) และได้สร้างวัดรวม 99 วัด วัดพระเจ้าโท้ วัดเก่าสร้างในสมัยจามเทวีนอกจากนั้นเมื่อปี พ.ศ. 2513 มีผู้ขุดพบพระรอดบังภัยมีศิลปะแบบปาละ เทียบได้กับพระบางวัดดอนแก้ว ลำพูนมีอายุราวพุทธศตวรรษที่17 บ่งชี้ถึงศิลปะเมืองฮอดก็เก่าถึงสมัยหริภุญไชย
    จากหลักฐานในเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์เหม็งหลายชิ้นที่ขุดพบในวัดเจดีย์สูงบอกชื่อจักพรรดิสี่จงตรงกับ พ.ศ. 2065-2110 เครื่องถ้วยจีนชิ้นที่เก่าที่สุดพบที่วัดศรีโขงมีอายุตรงกับสมัยจักพรรดิสี่จง ปีศักราชซ้วนเต็ก ตรงกับปี พ.ศ. 1919-1978 การได้พบสิ่งของอื่นๆ อีกจำนวนมากบอกอายุตรงกับสมัยพระเจ้าสามฝั่งแกนเป็นช่วงที่สมัยเชียงใหม่กำลังรุ่งเรืองทำให้รู้ว่าเมืองฮอดยังคงเป็นเมืองท่าค้าขายหรือผ่านพักของกลุ่มพ่อค้าก่อนที่จะนำสินค้าไปเมืองเชียงใหม่ เชียงราย และพะเยา เมืองฮอดดำรงฐานะเป็นเมืองต่อมาอีกเป็นเวลายาวนาน

    เมื่อสี่สิบปีก่อน ข้าพเจ้าได้ทันเห็นการขุดค้นโบราณสถานและขุดค้นรวบรวมศิลปะวัตถุของทางการครั้งนั้นด้วย เมื่อสายน้ำจากเขื่อนใหญ่ท่วมเข้ามาทำให้ชุมชนเมืองฮอดรวมทั้งศาสนสถานอันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ต้องล่มสลาย ทำให้ศิลปะและงานฝีมือของเมืองฮอดถูกลืมเลือนไปจากผู้คนในยุคนี้ เมื่อลมหายใจยังมีอยู่ศิลปะของเมืองฮอดยังคงได้รับการสืบทอดสานต่อ ณ ที่นี่ไปอีกนาน

    ข้อมูลจากหนังสือพุทธศิลป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ธันวาคม 2012
  20. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    พระท่ากระดาน จังหวัดกาญจนบุรี

    [​IMG]
    พระท่ากระดานนั้นเป็นที่ไขว่หาของนักเลงพระเป็นอันมาก เพราะได้ชื่อว่าเป็นยอดขุนศึกแห่งลุ่มน้ำแม่กลอง เป็นพระดีเด่นของ จังหวัดกาญจนบุรี และหนักไปในทางคงกระพันและมหาอุด อันมีประสบการณ์มามากมายจนเป็นที่รู้กันทั่วประเทศไทย แต่เนื่องจากพระแท้มีน้อย แต่ของปลอมมีมาก ฉะนั้นหากจะไขว่คว้าหาเอาไว้ป้องกันตัว ได้โปรดพิจารณาให้ถ่องแท้เพราะราคาค่านิยมพระแท้เป็นเรือนแสน
    ท่ากระดานเป็นเมืองท่า แต่ต่อมาถูกยุบเป็นกิ่งอำเภอเมื่อ พ.ศ. 2438 จากนั้นเป็นหมู่บ้านและตำบลตั้งอยู่ในเขตอำเภอศรีสวัสดิ์จังหวัดกาญจนบุรี เมืองกาญจนบุรีเป็นแหล่งพำนักของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์และเป็นเมืองในยุคทราวดี ลพบุรี และอู่ทองโดยลำดับ จนกระทั่วเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย ในปัจจุบันนี้การที่ทราบว่าเมืองกาญจนบุรีเป็นถิ่นของมนุษย์สมัยหินก็เนื่องจากได้พบเครื่องมือยุคหิน ตลอดจนลูกปัด ขนาดเล็ก ๆ สีต่าง ๆ ของมนุษย์สมัยหินมานานแล้ว ในสมัยก่อน ไม่มีผู้ใดทราบว่าเมืองกาญจนบุรีเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2485 สงครามโลกเกิดขึ้น ญี่ปุ่นได้เกณฑ์เชลยศึกมาสร้างทางรถไฟ จากสถานีหนองปลาดุกถึง เมืองมะละแหม่งประเทศพม่า เชลยศึกชาววิลันดาคนหนึ่ง ชื่อ " ฟอนฮีคีเร็น " นักโบราณคดีชาววิลันดา ถูกเกณฑ์มาสร้างทางรถไฟสายมรณะ เขาได้พบเครื่องมือของมนุษย์หินตามแนวทาง ที่ญี่ปุ่นตัดทางรถไฟ และได้เก็บชิ้นงาม ๆ ติดตัวไว้และบันทึกเรื่องราวไว้ละเอียด เมื่อสงครามสงบ
    " ฟอน ฮีคีเร็น " ได้ส่งเครื่องมือสมัยหินไปยังมหาวิทยาลัยเคมบริช ผู้เชี่ยวชาญทางคณะโบราณคดีวิเคราะห์แล้วบอกว่า เป็นเครื่องมือมนุษย์สมัยหิน พร้อมทั้งได้นำเรื่องราวลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์แพร่ข่าวไปทั่วโลก นักโบราณคดีรู้ข่าวต่างพากันมาที่เมืองกาญจนบุรี ขอสำรวจตรวจขุดค้น ได้พบเครื่องมือมนุษย์ยุคหินหลายอย่าง และยังพบลูกปัดสีต่าง ๆ และของอีกหลายอย่าง ฯลฯ
    กาญจนบุรีตั้งอยู่แถบเทือกเขาตะนาวศรีและเทือกเขาถนนธงชัย เป็นภูเขาหินปูนซึ่งกั้นอาณาเขตระหว่างประเทศไทยกับสหภาพพม่า เป็นแหล่งต้นน้ำสำคัญ 2 สาย คือ แม่น้ำแควน้อยไหลจากอำเภอสังขละบุรี ลงมาบรรจบกับแม่น้ำแควใหญ่ ที่อำเภอเมืองกาญจนบุรี กลายเป็นแม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำแควน้อยยาวทั้งสิ้น 315 กิโลเมตร แม่น้ำแควใหญ่มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาถนนธงชัยเหนืออำเภอ อุ้มผาง (จ.ตาก) ไหลผ่านอำเภอศรีสวัสดิ์(จ.กาญจนบุรี) และไหลมารวมกับแม่น้ำแควน้อยที่อำเภอเมืองกาญจนบุรี มีความยาวทั้งสิ้น 480 กิโลเมตร
    นอกจากนี้ยังมีแม่น้ำแม่กลองที่ไหลผ่านอำเภอเมือง อำเภอท่าม่วง อำเภอท่ามะกา ไปยังจังหวัดราชบุรี และไหลลงอ่าวไทยที่จังหวัดสมุทรปราการ และยังมีแม่น้ำตะเพินที่ไหลผ่านบริเวณที่ราบลุ่มทางตะวันออกของจังหวัดไปทางใต้ บรรจบกับแม่น้ำแควใหญ่ ที่ ตำบลท่าเสา อ.เมือง.จ.กาญจนบุรี
    สภาพธรรมชาติของกาญจนบุรีเต็มไปด้วยทิวเขาน้อยใหญ่ และแม่น้ำลำธารมากมาย นี่เองทำให้เกิดแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ที่แสนงดงามมากมายกลายเป็นจังหวัดท่องเที่ยวที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่งของเมืองไทย
    ปัจจุบันกาญจนบุรี มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 14,4486 ตารางกิโลเมตร ประชากรส่วนใหญ่ ปลูกอ้อย ทำนา และทำสวนผลไม้ โดยทั่วๆไปกาญจนบุรี แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 10 อำเภอได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอท่ามะกา อำเภอท่าม่วง อำเภอบ่อพลอย อำเภอพนมทวน อำเภอเลาขวัญ อำเภอศรีสวัสดิ์ อำเภอไทรโยค อำเภอทองผาภูมิ อำเภอสังขละบุรี
    มีเขื่อนกั้นน้ำมากที่สุดในประเทศไทย ได้แก่ เขื่อนวชิราลงกรณ์ เขื่อนท่าทุ่งนา เขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนเขาแหลม นับเป็นจังหวัดที่มีเขื่อนมากที่สุด นอกจากนั้นยังมีอุทยานแห่งชาติศรีนครินทร์ (อ.ศรีสวัสดิ์) อุทยานแห่งชาติรันตโกสินทร์ (ธารลอด) อ.บ่อพลอย อุทยานแห่งชาติไทรโยค (อ.ไทรโยค) มีเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 2 แห่งคือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ และเขตรักษาพันสัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร มีแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติมากกว่า 30 แห่ง มีนักท่องเที่ยวไปท่องเที่ยวกันเป็นจำนวนมากในขณะนี้
    [​IMG]
    ใครสร้างพระท่ากระดาน
    จากหลักฐานในลานเงินลานทองของการค้นพบพระเครื่องกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี และพระเครื่องกรุวัดพระบรมธาตุ จังหวัดกำแพงเพชร กล่าวถึงการสร้างมงคลวัตถุของพระฤาษีชุดเดียวกันเป็นส่วนใหญ่ พระฤาษีเหล่านี้ได้จาริกไปทั่วแคว้นอู่ทองและสุโขทัย เจริญสมถกัมมัฎฐาน รวมทั้งกฤตยาคมต่าง ๆ อาศัยป่าถ้ำเป็นที่พำนัก เมื่อพระราชาแคว้นใดจะสร้างพระเครื่องถวายไว้ในพระศาสนาก็จะอาราธนาพระฤาษีเหล่านี้มาจากป่า เพื่อประกอบกรรมวิธีดังกล่าว ทำนองเดียวกันกับการสร้างพระเครื่องในทุกวันนี้ คือมีการนิมนต์พระเกจิอาจารย์จากสำนักต่าง ๆ เข้ามาร่วมพิธีสร้างและปลุกเสก
    คำของคนกาญจนบุรีรุ่นเก่าที่เรียกพระท่ากระดานว่าพระเกศบิดตาแดง นั้นมีความหมายลึกซึ้งมากบ่งถึงเอกลักษณ์สำคัญของพระเครื่องชนิดนี้โดยตรง ชี้เบาะแสให้พิจารณาถึงตัวพระเกจิอาจารย์ผู้สร้างด้วยคำว่า เกศบิด ตรงกับลักษณะพระเกศของพระที่มีลักษณะยาวและบิดม้วน พระพักตร์ลักษณะเป็นหน้าพระฤาษีอย่างเห็นได้ชัดอีกทั้งการก้มง้ำของพระพักตร์แฝงไว้ด้วยความเข้มขลังของอำนาจสมาบัติ แววพระพักตร์ฉายพลังอันลึกลับออกมาดุจดังได้รับการถ่ายทอดพลังแห่งพฤติภาพอันแท้จริงของพระฤาษีผู้สร้าง ส่วนคำว่า ตาแดง นั้นดูเหมือนจะทวีความลึกลับยิ่งขึ้นไปอีก เพราะมิได้หมายถึง ว่าพระเนตรขององค์พระมีวรรณะแดงของสนิมแดงแต่เพียงส่วนเดียว แต่ส่วนอื่น ๆ ขององค์พระก็ปรากฏวรรณะของสนิมแดงปกคลุมอยู่ทั่วไป หากหมายถึงว่าพระท่ากระดานเป็นพระเครื่องชนิดเดียวที่มีเอกลักษณ์ พิเศษต่างกว่าพระเครื่องทั้งหลาย จากลักษณะพิเศษดังกล่าวทำให้เกิดแนวโน้มขึ้นว่า พระเกจิอาจารย์ผู้สร้างพระท่ากระดานอันวิเศษนี่ น่าจะได้แก่พระฤาษีตาไฟ ซึ่งเป็น 1 ใน 4 ของพระฤาษีผู้เป็นใหญ่เป็นประธานแก่บรรดาพระฤาษี 11 ตน ที่มาประชุมร่วมกันสร้างพระผงสุพรรณ ฯลฯ และพระกำแพงทุ่งเศรษฐีนั้นในจารึกแผ่นลานเงินลานทอง ตอนที่กล่าว่าพระฤาษีผู้ใหญ่ตนหนึ่งในจำนวน 4 ตน นั้นอยู่ในพันธุมบุรี คงจะได้แก่พระฤาษีตาไฟเป็นแน่ ท่านคงจาริกอยู่ในป่าเขาเขตกาญจนบุรี ( ทางผ่านอู่ทอง ) คงจะมีอาศรมอยู่ในป่าแถบนี้และบางโอกาสก็จำศีลภาวนาอยู่ในถ้ำต่าง ๆ ดังเช่นที่ ถ้ำลั่นทม เขตอำเภอศรีสวัสดิ์ ซึ่งมีหลักฐานว่าเป็นแหล่งกำเนิดการสร้างพระท่ากระดาน ในระหว่างที่พระฤาษีตาไฟสร้างพระท่ากระดาน คงจะพำนักอยู่ในถ้ำลั่นทมนี้เอง
    อายุพระท่ากระดาน
    โดยอาศัยการพิจารณาอายุของการสร้างพระผงสุพรรณ ในปี พ.ศ. 1886 และการสร้างพระกำแพงทุ่งเศรษฐีในปี พ.ศ. 1900 ในช่วง 14 ปีนี้ พระฤาษีตาไฟยังมีชีวิตอยู่และเป็นประธานร่วมในการสร้างพระเครื่องทั้ง 2 กรุ ดังกล่าว อีกทั้งจารึกที่ระบุไว้ในลานทองยังได้แฝงปริศนาอันน่าขบคิดไว้ว่า "ได้มีการสร้างพระเครื่องจากผงเกสรดอกไม้นับพันชนิดและว่านร้อยแปด อีกทั้งยังได้สร้างพระเครื่องที่ทำด้วยเนื้อชินไว้อีกด้วย" พระเครื่องที่ทำจากผงเกสรนั้นได้มีการพบพร้อมกับลานทองที่ระบุ พิธีการสร้างและอุปเท่ห์การใช้ ซึ่งต่อมาเราเรียกกันว่า พระกำแพง ทุ่งเศรษฐี จากกรุลานทุ่งเศรษฐี กำแพงเพชร และพระผงสุพรรณ จากกรุวัดพระศรีมหาธาตุ สุพรรณบุรี เมื่อมาพิจารณาถึงเนื้อหากันแล้ว พระทั้งสองกรุก็มีเนื่องหามวลสารคล้าย ๆ กัน ทั้ง ๆ ที่อยู่กันคนละเมือง และเป็นที่น่าสังเกตว่าพระกรุเนื้อดินที่พบในเมืองสุพรรณ ส่วนมากจะมีเนื้อหยาบ เห็นแต่พระผงสุพรรณเท่านั้นที่มีเนื้อละเอียดเป็นไปได้หรือไม่ว่า พระผงสุพรรณนั้นทำมาจากที่อื่น โดยคำอาราธนาของผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน เมื่อสร้างเสร็จแล้วจึงนำมาบรรจุไว้ที่เจดีย์วัดพระศรีฯ ซึ่งถ้าเป็นดังที่ว่านี้แล้วพระเนื้อชินที่พระฤาษีชุดดังกล่าว ได้สร้างข้อความที่ระบุไว้ในลานทองนั้นคือ " พระท่ากระดาน " นั่นเอง เหตุผลที่ชัดเจนก็คือ พุทธศิลป์ ท่านลองพินิจพิจารณาศิลปะของพระผงสุพรรณกับพระท่ากระดานดูอีกสักครั้งท่านจะพบว่ามีส่วนละม้ายคล้ายกันมากที่สุดจนเกือบจะพูดได้ว่าผู้สร้างคือคน ๆ เดียวกัน และเมื่อมาดูด้านกฤษดาอภินิหารของพระท่ากระดานนั้นล่ำลือกันมาแต่โบราณกาลแล้ว โดยเฉพาะเรื่องอยู่ยงคงกระพันนั้น ไม่เป็นรองใครเลย
    พระท่ากระดานได้สร้างขึ้นที่ถ้ำลั่นทม เขตอำเภอศรีสวัสดิ์ โดยพระฤาษีตาไฟเป็นประธานในการสร้าง และเป็นไปได้ว่า พระท่ากระดานจะมีอายุประมาณหกร้อยกว่าปี นับเป็นพระเครื่องโบราณที่เก่าแก่มาก ทั้งทรงพุทธคุณอันยิ่งใหญ่ ควรแก่การทนุถนอม เก็บไว้สักการะบูชาและเก็บรักษาไว้เป็นมรดกสืบทอดต่อไปแต่หายากในอนาคต

    กรุพระท่ากระดาน
    จากนี้ไปจะกล่าวถึงภูมิสถานและลักษณะของกรุตลอดจนการขุดพบพระท่ากระดาน ตามกรุต่าง ๆ ของอำเภอศรีสวัสดิ์จากกรุใต้สุดจนถึงกรุเหนือสุด คือ กรุถ้ำลั่นทม กรุวัดล่าง กรุวัดกลาง กรุวัดบน และกรุวัดบ้านนาสวน จากนั้นจะกล่าวถึงกรุต่าง ๆ ที่อยู่ภายในตัวเมืองกาญจนบุรีอีก 4 กรุ ได้แก่ กรุวัดหนองบัว กรุวัดเหนือ กรุวัดท่าเสา กรุวัดเขาชนไก่ และกรุถ้ำเขาฤาษีแห่งทุ่งใหญ่นเรศวร อันเป็นกรุสุดท้ายแห่งการค้นพบพระท่ากระดาน
    [​IMG]
    1. กรุถ้ำลั่นทม ตั้งอยู่บนฝั่งทิศเหนือของแม่น้ำแควใหญ่เขตอำเภอศรีสวัสดิ์ ห่างจากตัวจังหวัดกาญจนบุรีประมาณ 70 กิโลเมตร ตามแนวลำแม่น้ำ ซึ่งกรุนี้มิได้อยู่ในเขตตำบลท่ากระดานเช่นอีก 3 กรุ กรุวัดล่าง กรุวัดกลาง และกรุวัดบน ตัวถ้ำลั่นทมตั้งอยู่ริมฝั่งน้ำแควใหญ่ บางส่วนได้พังลงสู่แม่น้ำพร้อมกับตลิ่งเนื่องจากถูกกระแสน้ำกัดเซาะบริเวณหน้าถ้ำมีซากพระเจดีย์โบราณอยู่หลายองค์ และมีพระพุทธรูปประทับยืนแลประทับนั่งรวม 3 องค์ มีบาตรชำรุดขนาดเขื่อง เตาดินเก่าหลายเตา ถังน้ำและรางน้ำทำด้วยไม้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้พบ แม่พิมพ์พระท่ากระดานทุกพิมพ์ และเศษตะกั่วที่เกิดสนิมแดงจัด ๆ เช่นเดียวกับสนิมของพระท่ากระดาน ตกเรี่ยราดอยู่ใกล้บริเวณเตาดิน ซึ่งแสดงว่าถ้ำลั่นทมนี้เป็นแหล่งสร้างพระท่ากระดานและเป็นนิวาสถานของพระฤาษีตาไฟ สมัยที่ท่านสร้างพระท่ากระดานโดยแท้จริง
    การขุดพระท่ากระดาน ปี พ.ศ. 2497 ภายหลังจากการขุดหาพระท่ากระดานที่กรุวัดบน วัดกลาง และวัดล่าง ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ ครั้งใหญ่ปี พ.ศ. 2495 และ 2496 แล้ว ได้มีครูประชาบาลผู้หนึ่งขุดได้พระท่ากระดานกรุลั่นทมภายในบริเวณหน้าวัด พระที่ขุดได้มีปริมาณค่อนบาตรเขื่อง ๆ บาตรหนึ่งจำนวนหลายร้อยองค์ เป็นพระท่ากระดานที่มีด้านหลังเป็นลักษณะเป็นแอ่งหรือรางทั้งสิ้นองค์พระปิดทองในกรุทุกองค์ เล่ากันว่าครูประชาบาลผู้พบพระกรุนี้ฝันไปว่า มีวิญญาณของสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาเข้าฝันบอกให้ไปขุดแล้วทำให้ทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้บ้าง พระท่ากระดานกรุนี้สนิมแดงจัดงดงามมาก นอกจากนั้นยังพบพระสกุล ท่ากระดานแบบต่าง ๆ อีกเป็นอันมาก
    2. กรุวัดล่าง เป็นพระอารามโบราณแห่งหนึ่งของเมืองท่ากระดานเก่าในตำบาลท่ากระดาน อ.ศรีสวัสดิ์ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแควใหญ่ฝั่งทิศใต้ เหนือถ้ำลั่นทมขึ้นไปตามลำน้ำประมาณ 5 กิโลเมตร ตัวพระอารามตั้งอยู่ติดริมฝั่งแม่น้ำมากคือ ห่างจากลำน้ำแควใหญ่เพียง 10 เมตร เท่านั้น เนื่องจากลำน้ำเปลี่ยนทิศทาง จังกัดเซาะตลิ่งพังลงไปทุกที การขุดพบพระท่ากระดานในพระอารามโบราณนี้มีพอสมควร เป็นพระท่ากระดานเกศค่อนข้างยาวหลังเรียบหรือเรียบนูน
    3. กรุวัดกลาง ( วัดท่ากระดาน อ.ศรีสวัสดิ์ ) เป็นซากพระอารามโบราณสำคัญของเมืองท่ากระดานเป็นกรุที่มีชื่อเสียงที่สุด เพราะพระท่ากระดานรุ่นที่ขุดได้แต่ครั้งเก่าแก่นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นพระจากกรุนี้ จึงทำให้มีผู้เรียกวัดนี้ว่า วัดท่ากระดาน การที่เรียกเช่นนั้นก็เหมาะสมมาก เพราะตัวอารามของวัดนี้ตั้งอยู่ในย่านกลางเมืองของเมืองท่ากระดานเก่าพอดี แสดงว่าเป็นพระอารามหลักที่สำคัญของเมืองนี้ ในยุคอู่ทอง อีกประการหนึ่ง พระท่ากระดานของกรุนี้ถือว่าเป็นพระหลักและกรุนี้ถือเป็นกรุหลักด้วย พระอารามตั้งอยู่ริมฝั่งลำแม่น้ำแควใหญ่ ฝั่งทิศใต้ เหนือวัดล่างขึ้นไปประมาณ 220 เมตร พระอารามอยู่ห่างจากแม่น้ำประมาณ 100 เมตร โบราณสถานต่าง ๆ จึงไม่หักพังลงมา เช่นเกรุอื่น ๆ ดังนั้นพระท่ากระดานส่วนใหญ่จึงขุดได้จากกรุหลักนี้ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แหล่ง ด้วยกัน
    3.1 แหล่งที่ 1 เป็นกรุที่อยู่ใต้องค์พระประธานในอุโบสถ แหล่งนี้ขุดพบพระท่ากระดานเป็นจำนวนมาก คณะผู้ขุดได้กำหนดตำแหน่งที่ประดิษฐานพระประธานเป็นจุดศูนย์กลาง แล้ววัดทะ แยงออกไปในทิศทั้ง 4 แล้วขุดหาพระในแนวทิศทั้ง 4 นั้น ปรากฏว่าได้พบพระท่ากระดานเป็นระยะ คือในช่วง 1 ศอก จะพบพระท่ากระดาน 1 องค์เสมอ จนสุดขอบพระอุโบสถ ทั้ง 4 มุม และแต่ละมุมทั้ง 4 จะมีโพรงอยู่ใต้ระดับพื้นพระอุโบสถ และในแต่ละโพรงจะมีพระกริ่งบาเก็ง บรรจุไว้โพรงละ 1 องค์ บริเวณย่านกลางพระอุโบสถจะมีพระท่ากระดานบรรจุไว้ใต้พื้นอีกหลายองค์ และพระกริ่งบาเก็งอีก 3 องค์ นอกจากนั้นตามแนวผนังพระอุโบสถก็จะปรากฏพระท่ากระดานเป็นช่วง ๆ ช่วงละ 1 องค์ ต่อ 1 ศอก ส่วนตามพื้นอุโบสถโดยทั่วไปจะมีพระท่ากระดานฝังอยู่อย่างกระจัดกระจายอย่างไม่เป็นระเบียบ
    3.2 แหล่งที่ 2 คือบริเวณตรงซากพระเจดีย์องค์ประธาน ของพระอาราม ซึ่งพระเจดีย์องค์นี้ประดิษฐานอยู่ท่ามกลางเขตอุปจาร เป็นกรุที่ขุดพระท่ากระดานได้มากที่สุด เมื่อเทียบกับแหล่งทั้ง 3 แห่ง
    3.3 แหล่งที่ 3 คือ ซากพระเจดีย์ที่อยู่ทางทิศเหนือ ของพระเจดีย์องค์ประธาน ณ บริเวณนี้มีต้นลั่นทมใหญ่ขึ้นอยู่ต้นหนึ่ง ฉะนั้นพระท่ากระดานในกรุนี้จึงมีผู้เรียกว่า พระท่ากระดานกรุต้นลั่นทม
    นอกจากนี้ทั้ง 3 แหล่งดังกล่าวแล้ว ดังปรากฎว่ามีพระท่ากระดานกระจัดกระจายอยู่โดยทั่วไปในเขตอุปจารของพระอาราม แต่ไม่เป็นกลุ่มเป็นก้อนดังเช่นทั้ง 3 แหล่ง อนึ่งนอกจากพระท่ากระดานและพระกริ่งบาเก็งแล้ว ยังได้พบพระสกุลท่ากระทานอีกมากมายหลายแบบ ฝีมือช่างคล้ายพระสกุลปรกโพธิ์เชียงแสน สำหรับพระเนื้อชินมีเป็นส่วนน้อย นอกจากนั้นเป็นพระภควัมบดี พระมหาอุตม์ รูปกระต่ายสีขาว ( ไม่ทราบว่าสร้างด้วยโลหะชนิดใด ) รูปเต่าเนื้อตะกั่วสนิมแดง ฯลฯ สำหรับ พระกริ่งบาเก็งเมื่อขุดได้ขึ้นมา 3 องค์ ผู้ขุดพบได้นำมาให้ผู้บูชาในกรุงเทพฯ ในราคาองค์ละ 1,200 บาท ( ราคาค่านิยมในสมัยนั้น ) เป็นพระที่เนื้ออกสนิมเขียว ก้นกลวงไม่มีลูกกริ่ง
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    4. กรุวัดบน เดิมทีเดียวเมื่อมีการขุดหาพระท่ากระดานครั้งแรก ๆ ในต้นปี พ.ศ. 2495 นั้น ไม่ปรากฏว่าได้ขุดพบพระท่ากระดานที่นี่เลย เคยพบแต่ซากกระดูกมนุษย์มากมาย หลังจากได้มีการขุดกรุ 3 กรุดังกล่าว ข้างต้น ในลักษณะฟอนเฟ้นแทบหมดสิ้นแล้ว จึงจะได้มีผู้หวนกลับมาขุดกรุวัดบนอีกวาระหนึ่ง ราวปลายปี พ.ศ.2495 - 96 การขุดหาคราวนั้นปรากฏว่าได้พบพระท่ากระดานเป็นอันมาก ประมาณว่าได้มากกกว่ากรุวัดล่างและวัดกลางเสียอีก พระอารามนี้ตั้งอยู่ริมลำน้ำแควใหญ่ฝั่งเดียวกับวัดกลาง แต่อยู่เหนือขึ้นไปประมาณ 200 เมตร และห่างจากฝั่งแม่น้ำประมาณ 120 เมตร
    5. กรุวัดนาสวน ( วัดต้นโพธิ์ ) เป็นพระอารามร้างเช่นเดียวกับ 4 กรุ ข้างต้นอยู่เหนืออำเภอศรีสวัสดิ์ ขึ้นไปเล็กน้อยในท้องที่บ้านนาสวน ตำบลศรีสวัสดิ์ อำเภอศรีสวัสดิ์ บริเวณหน้าพระอารามมีต้นโพธิ์ใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง ฉะนั้นบางครั้งจึงเรียกกันว่า วัดต้นโพธิ์ นายลิ ชายวัยกลางคน เป้ฯผุ้เดินทางไปขุดพระท่ากระดานที่กรุนี้ เมื่อประมาณวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2506 คือในปีเดียวกันกับการขุดครั้งแรก เขาได้เดินทางขึ้นไปขุดหาพระท่ากระดานอีก และคงขุดได้พระท่ากระดานและพระชนิดอื่นอีกจำนวนหนึ่ง
    ในปัจจุบันโครงการชลประทานเขื่อนศรีนครินทร์ ( เขื่อนเจ้าเณร ) ได้กักน้ำบริเวณรอบ ๆ พื้นที่อำเภอศรีสวัสดิ์ จึงทำให้ภูมิประเทศในย่านเหล่านี้แปรสภาพเป็นอ่างน้ำขนาดมหึมา บริเวณกรุวัดท่ากระดานต่าง ๆ จึงจมอยู่ใต้น้ำโดยสิ้นเชิง
    6. กรุวัดหนองบัว ( วัดศรีอุปราราม ) ตั้งอยู่ในตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ในปี พ.ศ. 2497 สมัยหลวงพ่อเหรียญ ( พระโสภณสมาจาร ) เป็นเจ้าอาวาสได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์พระอารามขึ้น เนื่องจากมีสภาพชำรุดทรุดโทรมขณะที่รื้อซ่อมพระอุโบสถเก่า ได้พบพระท่ากระดานจำนวน 93 องค์ ( ที่งดงามสมบูรณ์ 7 องค์ ) และพระสกุลท่ากระดานแบบต่าง ๆ อีก 21 องค์ รวมทั้งได้พบพระปิดตาของหลวงปู่ยิ้มอดีตเจ้าอาวาสหนองบัวอีกหลายสิบองค์ พระเครื่องเหล่านี้บรรจุรวมกันอยู่ในโถโบราณลูกหนึ่งซึ่งตั้งอยู่บนเพดานพระอุโบสถตรงกับทับหลังของประตูด้านหลังพระประธาน
    7. กรุวัดเหนือ ( วัดเทวสังฆาราม ) ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรีในปี พ.ศ. 2506 สมัยหลวงพ่อดี ( พระเทพมงคลรังษี ) เป็นเจ้าอาวาส ทางวัดได้ทำการเจาะพระเจดีย์องค์ประธานเพื่อบรรจุพระ 25 พุทธศตวรรษ ซึ่งทางราชการได้มอบมาให้เช่นเดียวกับพระอารามอื่น ๆ ขณะขุดเจาะลึกเข้าไปประมาณ 1 เมตร ได้มีทรายไหลทะลักออกมาเป็นจำนวนมาก เมื่อโกยทรายออกหมดแล้ว จึงได้พบไหเคลือบโบราณสีดำลูกหนึ่งภายในบรรจุพระท่ากระดานและพระเครื่องไว้เต็ม ใต้พื้นกรุใต้ไหขุดพบ พระศิลาแลง 4 องค์ ฝังอยู่รอบไห ตอนกลางมีพระเครื่องต่าง ๆ กระจัดกระจายจำนวนมาก พระเครื่องที่บรรจุในไหมีดังนี้ พระท่ากระดาน 25 องค์ พระหูช้าง 800 องค์ พระขุนแผนเรือนแก้ว มีทั้งปางสมาธิ และมารวิชัยเนื้อตะกั่วสนิมเหลือง 200 องค์ พระโคนสมอ 100 องค์ พระปรุหนัง 20 องค์ พระหลวงพ่อโต 5 องค์ พระอู่ทองพิมพ์เขื่องกลางและเล็ก 200 องค์ พระมารวิชัยสะดุ้งกลับ 20 องค์ พระพิมพ์เปลวรัศมี 10 องค์ และรูปท้าวชมภูบดี 2 องค์
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    8. กรุลาดหญ้า ในปี พ.ศ. 2507 พบพระท่ากระดานอยู่ในเขตตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งแต่เดิมเป็นที่ตั้งเมืองกาญจนบุรี การค้นพบมีด้วยกัน 2 แห่ง คือ
    แห่งที่ 1 ที่วัดท่าเสา ได้มีการขุดฐานพระเจดีย์องค์หนึ่ง ได้พระท่ากระดานออกมาจำนวนหนึ่ง และ " พระท่ากระดานน้อย " มีลักษณะคล้ายพระวัดศาลเจ้า อ.เมือง จังหวัดราชบุรี เป็นพระทำด้วยตะกั่ว มีสนิมแดงเรื่อ ๆ แต่งดงามกว่าพระวัดศาลเจ้ามาก พระท่ากระดานน้อยจะเป็นพระสร้างในยุคหลัง
    แห่งที่ 2 ที่กรุวัดเขาชนไก่ ตั้งอยู่ในตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ไม่มีหลักฐานเด่นชัดว่ามีพระท่ากระดานแตกกรุมาจำนวนเท่าใด เพียงแต่กล่าวว่าพระท่ากระดานของกรุวัดเขาชนไก่นี้ เป็นพิมพ์หน้าลักยิ้ม พระเกศาแบบเมาฬี หลังเรียบหรือเรียบนูน

    9. พระท่ากระดานกรุใหม่ หรือกรุเขาฤาษี ทุ่งใหญ่นเรศวร เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย และในเอเชียอาคเนย์ มีเนื้อที่ประมาณ 3,200 ตารางกิโลเมตร ใหญ่กว่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 1,600 ตารางกิโลเมตร เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเมื่อปี 2519 พระท่ากระดานกรุใหม่มีที่ไปที่มาดังนี้ คือ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 1 มิถุนายน 2540 พรานชาวกระเหรี่ยงนอก ชื่อนายโซ่ ออกเดินทางเพื่อหาของป่ามาขาย โดยเดินทางจากบ้านบ่องาม ต.สหกรณ์นิคม อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี เข้าป่าหาของป่าตามนิสัยของชอบ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4 วันกว่า ๆ เข้าเขตเทือกเขาฤาษี ด้านตะวันตกเฉียงใต้ของเขตทุ่งใหญ่นเรศวรซึ่งเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์บังเอิญวันนั้นเกิดฝนตกอย่างหนัก นายโซ่จึงได้เดินลัดสันเขา เพื่อหาที่หลบฝน จึงได้พบถ้ำด้านล่างของถ้ำเป็นทุ่งหญ้ามีลำธารน้ำไหลและสิ่งที่ปรากฏในถ้ำ พบพระพุทธรูป 2 องค์ สมบูรณ์ 1 องค์ ไม่มีเศียร 1 องค์ และพบพระท่ากระดานหลายสิบองค์วางเรียงอยู่บนแท่นบูชาส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งวางเรียงอยู่บนหินในถ้ำ นายโซ่ได้แซะพระที่ติดอยู่กับพื้นผิวถ้ำ โดยมิได้สนใจเท่าไรนัก ทำให้พระเสียหายชำรุดแทบทั้งหมด มีอยู่ไม่กี่องค์ที่สมบูรณ์เรียบร้อยดี นายโซ่ได้นำพระเครื่องใส่ถุง ( ถุงปุ๋ย ) จำนวนที่ได้ประมาณ 40 กว่าองค์ จึงนำกลับมาที่ทองผาภูมิ โดยมิได้สนใจอะไรมากนัก อยู่มาวันหนึ่ง นายโซ่ได้นำพระมาแลกเหล้าซึ่งตัวเองก็ไม่รู้ว่าพระนั้นมีคุณค่าอย่างไร แม้แต่ร้านขายเหล้าก็ยังไม่ยอมแลก ต่อมาอีกไม่นานนายโซ่ได้นำพระท่ากระดานมาให้พวกขับรถสิบล้อ ที่วิ่งอยู่ในเหมืองแร่บ่องาม พวกขับรถสิบล้อส่วนมากจะอยู่แถวตลาดลาดหญ้า อ.เมืองกาญจนบุรี ได้นำพระออกมาขายในตัวเมือง จึงเป็นที่ฮือฮาขึ้นมา
    จากการศึกษาตำนานการเดินทัพพบว่าถ้ำดังกล่าวมีพระเจดีย์อยู่ใกล้ ๆ ริมทุ่งใหญ่ 2 แห่ง ถ้ำดังกล่าวอยู่บริเวณต้นกำเนิดแม่น้ำแม่กลอง ผ่าน อ.ทองผาภูมิ อ.ศรีสวัสดิ์ อ.บ่อพลอย ผ่านอำเภอเมืองจังหวัดกาญจนบุรี ข่าวพระท่ากระดานแตกกรุกระจายออกไป เซียนน้อยเซียนใหญ่ต่างเสาะแสวงหาเช่าไว้เป็นของตัวเอง เป็นที่ชุลมุนวุ่นวายไประยะหนึ่ง ต่อมาได้มีทหาร ตำรวจ ข้าราชการ และประชาชนในจังหวัดกาญจนบุรี เริ่มจับทิศทางขุดค้นหาโดยเริ่มเดินทางค้นหาใช้เวลาเดินทางด้วยเท้าถึง 4 วัน จึงพบถ้ำดังกล่าว แต่ก็พบสิ่งมหัศจรรย์ เมื่อกลุ่มค้นหาทั้งหมด ใช้เวลาค้นหาถ้ำที่จะเข้าไปขุดพระท่ากระดานอยู่นานหลายชั่วโมง จนกระทั่งพบเต่าติดอยู่กับก้อนหิน เมื่อก้มลงจะช่วยเต่า ก็พบว่าในพงหญ้าด้านหน้ามีโพรงเล็ก ๆ พอตัวคนมุดเข้าไปได้ เมื่อถางบริเวณนั้นดูจึงพบว่าข้างในเป็นบริเวณกว้าง สามารถบรรจุคนได้ประมาณ 20 กว่าคน ลักษณะของถ้ำดังกล่าวมีช่องลมพัดผ่านได้ เวลาฝนตกน้ำฝนจะไหลเข้าทางทิศตะวันตก ออกปากถ้ำทางทิศตะวันออก และคณะผู้ค้นก็ทำการบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จึงขุดพระท่ากระดานได้อีกจำนวนหนึ่งประมาณ 30 องค์ นี่คือที่มาที่ไปของพระท่ากระดานกรุใหม่ทุ่งใหญ่นเรศวร กาญจนบุรี
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    พุทธศิลป์
    พระท่ากระดาน จัดว่าเป็นปฏิมา กรรม ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวอยู่หลายประการ ซึ่งทำให้มีความแตกต่างไปจากพระเครื่องชนิดอื่น ๆ เป็นอันมาก เป็นพระเครื่องที่อยู่ในรูปแบบ ปฏิมากรรมแบบแบน - นูนสูง ( High relief ) หมายถึง การแสดงภาพแต่เพียงด้านเดียว คือทางด้านหน้าแต่ด้านหลังเรียบ ด้านหน้าเป็นภาพพระองค์ที่เน้นส่วนพระเพลา ( หน้าตัก ) และพระอาสนะจะยื่นล้ำออกมาทางมิติส่วนหนามากที่สุด ยิ่งกว่าพระเครื่องชนิดอื่น ๆ เป็นปฏิมากรรมประเภทพระพิมพ์หล่อ โดยการใช้ เนื้อตะกั่วหรือตะกั่วผสม หลอมแล้วเทลงในแม่พิมพ์ และจัดเป็น พระปฏิมากรรมล้วน คือเป็นการปรากฏเฉพาะองค์พระล้วน ๆ โดยตัดกรอบเจียนไปตามเส้นกรอบนอก หรือขององค์พระ ซึ่งเรียกว่า ตัดกรอบเฉพาะองค์ ( Perimeter Cut ) ปราศจากจากพื้นผนัง ( ปีกหรือชายกรอบ ) และลวดลายอลังการหรือองค์ประกอบย่อยใด ๆ
    จากการจำแนกพุทธศิลปพระท่ากระดานข้างต้น จึงเป็นเครื่องชี้ชัดว่า พระท่ากระดานเป็นพระเครื่องในสกุลอู่ทอง แบบบริสุทธิ์ กลุ่มคลาสสิค ประเภทหน้าฤาษีโดยแท้
    รายละเอียดขององค์พระและส่วนประกอบของพระท่ากระดานมีดังนี้
    1. พระเกศ แสดงออกมาหลายแบบ บางแบบแสดงสัณฐานเป็นหย่อมพระเมาฬีซ้อนกันเป็น 3 ชั้น บิดม้วนมีลักษณะอ่อนไหวดุจมุ่นมวยของพระฤาษีและบางแบบปลีพระเกศจะยาวเรียวและบิดพลิ้ว ประหนึ่งชฎาของพระฤาษี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระเกศแบบที่มีช่วงยาวมาก ๆ ( ประมาณ 1.30 ซม. ) นั้น ได้แสดงให้เห็นถึงความจงใจของผู้สร้างที่ประสงค์จะให้มีลักษณะเช่นนั้นเป็นการแฝงลักษณะบ่งบอกให้รู้ถึงตัวผู้สร้างคือฤาษีนั่นเอง
    2. พระพักตร์ ( หน้า ) เข้าลักษณะพุทธศิลปอู่ทองแบบหน้าฤาษี ต้นพระหนุ ( ขากรรไกร ) และพระหนุ ( คาง ) มีลักษณะการยื่นล้ำออกมาข้างหน้าอย่างคมสัน เข้าลักษณะผสมด้วยแบบ อู่ทองคางคน เปลือกพระเนตรปิดสนิท ประกอบด้วยลีลาอันก้มงุ้มของพระพักตร์ และการเอียงพระศอเล็กน้อย จึงแฝงไว้ซึ่งความเป็นเอกแห่งอำนาจพุทธาคมอันน่าพรั่นพรึง ส่วมมุมพระโอษฐ์ ( ปาก ) ทั้ง 2 ข้าง เน้นเป็นร่องลึก ทำให้ปรากฏแววยิ้มในพระพักตร์ขึ้น ดังนั้นแววพระพักตร์ของพระปฏิมาจึงมีลักษณะเคร่งแต่แฝงไว้ด้วยรอยยิ้ม ผสมผสานกันอย่างน่าพิศวง
    3. พระอุระ ( อก ) ผายกว้างตอนส่วนบนปาดเป็นเต้าสูงขึ้นมาอย่างงามผงาด และสอบคอดลงทางเบื้องล่าง ในแนวพระอุทร ( ท้อง ) แลดูผิวเผินมีลักษณะคล้ายรูปหัวช้างกอรปด้วยพระสังฆาฏิทรงสี่เหลี่ยมแผ่นใหญ่หนา พาดพระอังสา ( ไหล่ ) เบื้องซ้าย
    4. การทอดพระพาหา ( แขน ) แสดงลีลาค่อนข้างแข็งกร้าว อาการหักข้อพระกัปประ ( ข้อศอก ) เป็นมุมแข็งกัน ทำให้มองเห็นว่าลีลาของพระพาหาถูกแบ่งออกเป็นท่อน ๆ อย่างชัดเจน ปราศจากการวาดโค้งสวย เช่นพระเครื่องชนิดอื่น ๆ พุทธลักษณะอันนี้ช่วยให้เกิดความรู้สึกในด้านความแกร่งกล้าแห่งกฤตยาคม
    5. พระหัตถ์ ( มือ ) มีสัณฐานเขื่องหนาเทอะทะ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของพุทธศิลปอู่ทอง ซึ่งช่วยให้เกิดความรู้สึกมีน้ำหนักหรือความหนักแน่นในอิทธิอำนาจ
    6. พระเพลา ( หน้าตัก ) มีส่วนหนาและแน่นทึบ ลักษณะซ้อนกันอย่างแข็งทื่อและแน่นหนามั่นคงอย่างที่สุด ส่วนที่เป็นพระชงฆ์ ( แข้ง ) มีลักษณะปาดเป็นสันอกไก่เล็กน้อย ในแบบอู่ทองแข้งสันเจือปนอยู่ด้วย
    7. พระอาสนะ เป็นแบบฐานเขียงชั้นเดียว แสดงลักษณะแง่สันแท่งเหลี่ยมเมื่อพิจารณาทางด้านข้างจะเห็นว่ามีอาการเฉียงลาด คือข้างบนเล็กและข้างล่างบางใหญ่ เป็นฐานเกลี้ยงปราศจากบัวหรือสิ่งอื่นใดประกอบ
    8. การตัดกรอบ เป็นการตัดกรอบไปตามแนวเส้นรอบนอกขององค์พระและอาสนะไม่มีผนังหรือเนื้อชายที่ปีกเลย ( ยกเว้นบางองค์มีปีกแต่ปรากฏน้อยมาก )
    พุทธลักษณะของพระท่ากระดานในแบบพุทธศิลป์อู่ทองดังกล่าว ย่อมมีลีลาลักษณะแตกต่างไปจากพระเครื่องชนิดอื่นทุกชนิด โดยแสดงพุทธลักษณะอันเคร่งขรึมและแววยิ้มแบบฤาษีรวมกัน และลักษณะดังกล่าวเป็นการแสดงออกทางลีลาจากองค์พระปฏิมาล้วน ๆ โดยโดดเด่น ปราศจากการใช้เครื่องประดับอลังการใด ๆ มาเสริมแต่งด้วยเหตุนี้จึงก่อให้เกิดความบันดาลใจแก่ผู้ที่ได้พบเห็นและสักการะบูชา ว่าเป็นพระพุทธปฏิมาที่ทรงอำนาจกฤตยามหาอุตม์ที่ลึกล้ำยิ่ง


    U]เห็นถามกันมามาก... สำหรับพระท่ากระดาน กาญจนบุรี วันนี้ผมจึงนำ
    ความรู้ที่มีอยู่ในเครื่องคอมนำมาถ่ายทอดตามเจตนาเจ้าของเดิมและเอกสารจำนวนหนึ่งซึ่งไม่ทราบชื่อผู้เขียนและที่มา
    ซึ่งไม่ใช่ความรู้ที่ผมเขียนขึ้นเอง แต่มองแล้วเป็นความรู้ที่เชื่อถือได้
    จึงนำมาลงในกระทู้พระกรุ อ. Amuletism[/U]
     

แชร์หน้านี้

Loading...