ยุคก่อนมีพระพุทธรูป

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 6 ธันวาคม 2012.

  1. โปรเซดอน

    โปรเซดอน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2011
    โพสต์:
    376
    ค่าพลัง:
    +171

    ว่าแล้ว...ที่แท้คนนินทาอยู่นี่เอง 555
     
  2. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ----
    พระคุณเจ้า "คนมี 4 ประเภท"
    ผมยกพระสูตร "เปรียบบุคคลด้วยดอกบัว ๓ เหล่า"
    พระคุณเจ้า "บัว 3 เหล่า ตามพระสูตร บัว 4 เหล่า หรือ คน 4 ประเภท ตามอรรถกถา"
    ผมยกพระสูตร "ทรงพิจารณาสัตวโลกเปรียบด้วยดอกบัว ๔ เหล่า"
    ผมยกพระสูตร "เปรียบบุคคลด้วยดอกบัว ๓ เหล่า"
    พระคุณเจ้า "สาธุ ถูกต้องตามพระพุทธพจน์นั้นแล"
    พระคุณเจ้าถามว่า "แล้วไปเอามาจากไหน พระพุทธเจ้าห้ามพระสงฆ์แสดงธรรมด้วยภาษาอื่น"
    ผมยกพระสูตร "ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระสูตรเหล่านั้น ที่ตถาคตกล่าวแล้วอันลึก มีอรรถอันลึก
    เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม จักอันตรธานฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุ
    ดังนี้นั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึก
    มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม อยู่ พวกเราจักฟังด้วยดี จักเงี่ยโสต
    ลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำคัญธรรมเหล่านั้นว่า ควรเรียน ควรศึกษา ดังนี้
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ ฯ"
    พระคุณเจ้า "แล้วไปเอามาจากไหน พระพุทธเจ้าห้ามพระสงฆ์แสดงธรรมด้วยภาษาอื่น
    กรุณาตอบด้วย ไปเอามาจากไหน
    และที่สวดกันตามวัดนั้น ก็ไม่ใช่อ่านจากภาษาบาลีโดยตรงนะ เป็นภาษาไทยที่แปลมาจากภาษาบาลีอีกที
    คือ สวดภาษาไทย ให้เป็นสำนวนภาษาบาลี สำเนียงแบบไทยๆ นั่นแหละ แล้วก็แปลความหมายเป็นภาษาไทย ด้วยอักษรไทย
    ถ้าเป็นภาษาบาลีล้วนๆ รับรองว่า คนที่ไม่ได้ศึกษาในภาษาบาลี อักษรบาลี ลำบากแน่
    เช่น ภาษาอังกฤษ เขียนว่า A B C ภาษาไทยเขียนว่า เอ บี ซี
    พระไตรปิฎกฉบับของไทยเรา ก็ใช้ภาษาไทยที่แปลมาจากภาษาบาลี ไม่ใช่เป็นอักษรในภาษาบาลีแท้ๆ แบบดั้งเดิม (อาตมายังไม่รู้เลยว่า ภาษาบาลีแท้ๆ เป็นยังไง เขียนยังไง)
    หาที่มาได้หรือยัง หรือ ยอมรับแล้วว่า ตีความผิดไป"
    ผมยกพระสูตร "พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
    เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ตะโพน
    ชื่ออานกะของพวกกษัตริย์ผู้มีพระนามว่าทสารหะได้มีแล้ว เมื่อตะโพนแตก พวกทสารหะได้
    ตอกลิ่มอื่นลงไป สมัยต่อมาโครงเก่าของตะโพนชื่ออานกะก็หายไป ยังเหลือแต่โครงลิ่ม แม้ฉัน
    ใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุในอนาคตกาล เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อัน
    ลึกมีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม อยู่ จักไม่ปรารถนาฟังจักไม่เข้าไปตั้ง
    จิตเพื่อรู้ และจักไม่สำคัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเล่าเรียน ควรศึกษาแต่ว่าเมื่อเขากล่าวพระสูตร
    อันนักปราชญ์รจนาไว้ อันนักปราชญ์ร้อยกรองไว้ มีอักษรอันวิจิตร เป็นของภายนอก เป็นสาวก
    ภาษิต อยู่ จักปรารถนาฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำคัญ
    ธรรมเหล่านั้น ว่าควรเรียน ควรศึกษา ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระสูตรเหล่านั้น ที่ตถาคตกล่าวแล้วอันลึก
    มีอรรถอันลึกเป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม จักอันตรธานฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุ
    ดังนี้นั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึก
    มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม อยู่ พวกเราจักฟังด้วยดี จักเงี่ยโสต
    ลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำคัญธรรมเหล่านั้นว่า ควรเรียน ควรศึกษา ดังนี้
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ ฯ"

    จบการสนทนา ผมตัดมาลงย่อๆ อ่านเต็มๆ ได้ที่
    http://palungjit.org/threads/ปัญหาเ...ะบรมสารีริกธาตุ-โดย-หลวงพ่อฤาษี.362558/page-1

    ผมสนทนาธรรมกับพระคุณเจ้า ผมยกพระสูตรให้พระคุณเจ้าพิจารณา
    พระคุณเจ้าเห็นด้วยกับพุทธพจน์ของพระพุทธเจ้า ผมไม่ได้เถึยงพระอย่างที่คุณเข้าใจ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 ธันวาคม 2012
  3. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ภาพพุทธประวัติจากหินสลัก
    ยุคก่อนมีพระพุทธรูปในประเทศอินเดีย พ.ศ. ๓๐๐–๗๐๐
    ถ่ายจากภาพปั้นที่จำลองขึ้นใหม่ เพื่อกิจการแห่งโรงมหรสพทางวิญญาณ ณ สวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี
    -
    พุทธทาสภิกขุ รวบรวมและอธิบาย
    --> ภาพพุทธประวัติจากหินสลัก

    คำนำ

    นประเทศอินเดีย มีภาพพุทธประวัติในหินสลักอยู่ประเภทหนึ่งซึ่งกล่าวได้ว่า เป็นพุทธประวัติยุคแรกที่สุดในโลก และน่าสนใจที่สุด หรือมีค่าที่สุดในโลกด้วย, คือชุดที่ได้จำลองเอามาพิมพ์ไว้ในสมุดเล่มนี้จำนวนหนึ่งนั่นเอง, และเป็นภาพพุทธประวัติที่ยังไม่เคยมีในประเทศไทยเรา.

    ที่ว่าเป็นครั้งแรกในโลกนั้น หมายความว่า ก่อนหน้าพุทธประวัติชุดนี้ ยังไม่เคยมีใครที่ไหนได้ทำภาพพุทธประวัติขึ้น ไม่ว่าในประเทศไหนในโลก. พุทธประวัติชุดที่กล่าวนี้ เริ่มทำขึ้นในประเทศอินเดีย ระหว่าง พ.ศ. ๓๐๐ เศษ ถึง พ.ศ. ๖๐๐ เศษ เป็นระยะเวลาสามร้อยปีเท่านั้น โดยเป็นภาพพุทธประวัติที่ไม่ยอมทำรูปพระพุทธองค์อยู่ยุคหนึ่ง, หลังจาก พ.ศ. ๖๐๐ เศษเป็นต้นมาก็มีการทำภาพพุทธประวัติในยุคที่สอง คือมีพระพุทธรูปและมีเรื่อยมาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ ก่อนหน้า พ.ศ.๓๐๐ เศษขึ้นไปทางหลัง ก็ยังค้นไม่พบว่าได้มีการสลักภาพพุทธประวัติไว้ ณ ที่ใดเลย.

    [​IMG]

    ที่ว่าน่าสนใจที่สุดหรือมีค่าที่สุดนั้น ก็เพราะมุ่งแสดงพระพุทธองค์ในทางนามธรรมยิ่งกว่าทางรูปธรรม, แสดงความสูงในทางจิตใจของพุทธบริษัทแห่งยุคนั้น ยิ่งกว่าในยุคนี้, จึงไม่ทำรูปของพระพุทธองค์ในลักษณะที่เป็นรูปมนุษย์ ซึ่งเป็นการแสดงความเขลาและความขลาดออกมาในที่สุด, แต่ได้แสดงด้วยสัญลักษณ์ที่ทำขึ้นเฉพาะเหตุการณ์นั้น ๆ ในพระชนม์ชีพของพระองค์ อย่างมีความหมายลึก ชนิดที่รูปภาพคนแสดงเช่นนั้นไม่ได้ ซึ่งจะได้วิจารณ์กันต่อไปตามสมควร.

    คัดลอกมาบางส่วนจาก
    http://www.buddhadasa.org/html/life-work/theatre/sculpture/sculpture-pre.html
     
  4. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ทีนี้ ก็มาถึงปัญหาเกี่ยวกับสัญลักษณ์

    พวกที่ทำพระพุทธรูปขึ้นมา ก็จะหาทางออกว่า แม้ที่ทำเป็นองค์พระพุทธรูปขึ้นมานั้น ก็มุ่งให้เป็นเพียงสัญลักษณ์ (Symbol) ไม่ใช่ประสงค์จะทำเป็นรูปเหมือน (idol); ดังนั้นแม้จะมีอารมณ์ (mood) อะไรแสดงอยู่ในหน้าตานั้นบ้าง ก็ให้ถือเป็นเพียงสัญลักษณ์พอให้รู้ประวัติของพระพุทธองค์ได้ก็แล้วกัน ข้อนี้ยิ่งพูดไปก็จะยิ่งเห็นว่าเป็นการหาทางออกอย่างข้าง ๆ คู ๆ ยิ่งขึ้น, เพราะว่า ผู้ที่หลุดพ้นแล้วโดยแท้จริงนั้น ย่อมพ้นจากการกระตุ้นหรือการปรุงแต่งโดยประการทั้งปวง จึงไม่มีแบบหรือรูปของอารมณ์ (mood) ใด ๆ ที่เป็นของจริงสำหรับท่าน มีแต่ที่เปลือกนอกดังที่กล่าวแล้ว; การไปแสดงสัญลักษณ์ของสิ่งชั้นเปลือกนอกที่มิใช่พระองค์จริงนั้น จะมีประโยชน์อะไร, มิกลายเป็นการบ้าบอยิ่งขึ้นไปอีกหรือ

    พวกที่ทำภาพพุทธประวัติในหินสลักที่สาญจี ภารหุต และอมราวดีนั่นแหละ เป็นพวกที่ทำภาพพระพุทธองค์ในลักษณะที่เป็นสัญลักษณ์อย่างแท้จริง, และเป็นสัญลักษณ์ที่ถูกต้องถึงที่สุดจริง ๆ ด้วย พวกนี้มีความเห็นว่าไม่มีสัญลักษณ์ใด ๆ ที่เหมาะสมสำหรับพระองค์นอกจากสัญลักษณ์แห่งความว่าง, ดังนั้น เราจึงได้เห็นบัลลังก์ที่ว่างเต็มไปหมดในภาพเหล่านั้น โดยไม่มีใครอยู่บนบัลลังก์ กระทั่งบนหลังม้าที่ออกผนวช ก็มิได้มีใครนั่งอยู่บนนั้น (ดูตัวอย่างภาพ ๒๗, ๓๔, ๓๖, ๓๗, ๓๘, ๓๙, ๔๐, ๔๒, ๔๓, ๔๔, ๔๕, ๔๖) ผู้ดูจะต้องเข้าใจให้ถูกต้องเสียด้วยว่า ไม่ใช่ตัวบัลลังก์นั้นเป็นสัญลักษณ์ หากแต่ว่า ความว่างจากตัวคนบนบัลลังก์นั่นแหละเป็นตัวสัญลักษณ์ เราอาจรู้หรือทายได้ทุกคนว่า บนบัลลังก์นั้นมีพระพุทธองค์ประทับอยู่ แต่องค์แท้ของพระพุทธองค์นั้น คือความว่างจากบุคคลอันอยู่ในลักษณะซึ่งเราไม่สามารถจะแสดงด้วยภาพ หรือแบบหรือรูปใดได้ นอกจากความว่างนั้นเอง ส่วนองค์ไม่แท้หรือเปลือกนอก จนกระทั่งองค์ปลอมนั้น เราอาจจะแสดงด้วยภาพอะไรก็ได้ตามใจผู้ทำนั่นเอง

    เราต้องระลึกไว้เสมอว่า หัวใจของธรรมะหรือตัวแท้ของพระพุทธศาสนานั้น อยู่ตรงที่ไม่ยึดมั่นถือมั่นให้มีอะไรเป็นบุคคลขึ้นมา, ให้ว่างจากบุคคล คือให้เป็นเพียงขันธ์ อายตนะหรือธาตุทั้งหลายตามธรรมชาติ จนกระทั่งว่างไปในที่สุด จนอาจจะกล่าวได้ว่า ฆ่า "คน" เสียให้หมดแล้วก็จะเป็นพระอรหันต์ ดังนี้ ข้อนี้หมายความว่าให้ทำลายความรู้สึกที่มั่นหมายว่าเป็นบุคคลนั้นเสียโดยสิ้นเชิง จนรู้สึกว่างจากคน ว่างจากตัวตน ว่างจากของตน โดยทุก ๆ ประการ, เรียกโดยภาษาธรรมขั้นสูงสุดว่า หมดอัสมิมานะ หมดอหังการมมังการ โดยทุก ๆ ประการนั่นเอง พระพุทธองค์ทรงเป็นเช่นนี้ก่อนใครทั้งหมด และทรงสอนความเป็นเช่นนี้ ดังนั้นสัญลักษณ์ที่ควรคู่ของพระองค์ ก็คือความว่างนี้เอง ผู้ให้ทำภาพหินสลักที่ภารหุตและสาญจี ยังมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้ดีอยู่ จึงให้ทำสัญลักษณ์ของพระองค์เป็นภาพบัลลังก์ว่างเปล่าเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไป ยิ่งกว่านั้น ส่วนมากยังแถมมีต้นโพธิ์ หรือต้นไม้อย่างอื่นที่เกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นของพระองค์ เช่นต้นไทร เป็นต้น มุงหรือปกอยู่เหนือพระแท่นอีกด้วย ซึ่งหมายความว่าบนพระแท่นนั้นภายใต้ร่มไม้นั้น พระองค์ประทับอยู่ เป็นการแสดงทั้งสัญลักษณ์และเรื่องราวของพระองค์พร้อมกันไปในคราวเดียวกัน

    ทีนี้ยังมีสัญลักษณ์พิเศษอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งบางทีก็ทำวางไว้บนพระแท่นนั้น (ดูภาพที่ ๔๑) คือรูปตรีรตนะ มีลักษณะเป็นดอกบัวบานอยู่ในวงกลมคือความว่าง และมีเปลวแสงสว่างออกมาจากวงกลมนั้น อันเป็นสัญลักษณ์ที่มีความหมายดีเป็นพิเศษจนกลายเป็นเครื่องหมายศักดิ์สิทธิ์ไปในที่สุด (มีคำอธิบายอย่างละเอียดที่ภาพที่ ๗, ๘, ๔๑, ๕๓) เมื่อพระแท่นและต้นโพธิ์เป็นสัญลักษณ์แสดงความหมายทางร่างกายเนื้อตัว ตรีรตนะนี้ก็แสดงความหมายทางคุณธรรมหรือจิตใจโดยตรง อย่างสูงสุดหรือถึงที่สุดด้วยกันทั้งนั้น ทั้งหมดนี้เป็นลักษณะเฉพาะของแบบสาญจีและภารหุต

    สำหรับแบบอมราวดีนั้น ยังก้าวไกลออกไปอีกก้าวหนึ่ง คือทำสัญลักษณ์ของพระพุทธองค์เพิ่มขึ้นอีกแบบหนึ่ง คือ ทำเป็นเสาสูง มีไฟลุกรอบตัว ที่ยอดเสามีเครื่องหมายตรีรตนะ ที่โคนเสามีรอยพระบาทคู่หนึ่ง นี้นับว่าเป็นความคิดก้าวหน้าต่อมาของยุคอมราวดีเอง, ดูก็แยบคายดีมาก และใคร ๆ ที่เป็นพุทธบริษัทก็พอจะอธิบายได้เองแล้วว่า สิ่งเหล่านี้ที่เอามาประกอบกันเข้าเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธองค์นั้น แต่ละสิ่งมีความหมายว่าอย่างไร ทั้งหมดนั้นมุ่งแสดงคุณธรรมทางนามธรรม มิได้มุ่งแสดงทางวัตถุร่างกาย, ดูแล้วทั้งสวยทั้งศักดิ์สิทธิ์ ดูแล้วเพิ่มความรัก ความเชื่อ ความเลื่อมใสในพระพุทธองค์ ยิ่งกว่าดูพระพุทธรูปหลายแบบทีเดียว เพราะทำให้ซาบซึ้งในคุณธรรมของพระองค์ลึกกว่ากันนั่นเอง

    เพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้น ในเรื่องราวอันเกี่ยวกับการไม่ยอมทำรูปเหมือน เช่นพระพุทธรูป แต่ทำสัญลักษณ์แห่งความว่างและอื่น ๆ แทนนี้ เราจะนึกได้ด้วยสามัญสำนึกว่า แม้ในบุคคลธรรมดา ที่เป็นบุคคลสำคัญของชาติ เช่นสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เป็นต้นนี้ ในสมัยที่เราได้ฟังแต่พระเดชพระคุณของท่าน เรารู้สึกจับใจซาบซึ้งด้วยความรัก ความเลื่อมใส นับถือบูชาอย่างไร, ทั้ง ๆ ที่เราทายไม่ถูกว่าพระพักตร์ของท่านเป็นอย่างไร, ครั้นเราทำรูปของท่านขึ้นในลักษณะรูปเหมือน ความประทับใจที่เคยมีอย่างซาบซึ้งนั้น มันชืดลงอย่างไรและเพียงไร, และยิ่งชินตาหนักเข้า มันจะเปลี่ยนไปอย่างไร, หรือว่าเมื่ออนุสาวรีย์นั้นกร่อนไปตามกาลเวลา (เช่นพระพุทธรูปหักเกลื่อนไปตามที่ต่าง ๆ) เราจะมีความรู้สึกอย่างไร เพราะยากที่ใครจะยอมเชื่อได้ว่าอนุสาวรีย์ของบุคคลนั้นทำได้เหมือนตัวจริง เพราะไม่มีใครเคยเห็นท่าน ในบรรดาคนที่มีชีวิตอยู่ ต้องเดาต้องสันนิษฐาน ดังนั้นจึงเกิดความลังเลขึ้นในใจของผู้เห็นทุกคราวที่เห็น ความลังเลนั้นเอง ย่อมจะบั่นทอนความรู้สึกประทับใจอย่างซาบซึ้งในตอนที่เรายังไม่ได้ทำรูปเหมือนของท่านขึ้นมา ทีนี้เราขยับใกล้เข้ามาถึงรูปถ่ายที่เหมือนจริง ๆ ของคนจริง ๆ ของใครคนหนึ่ง ที่เราเคยประทับใจในคุณธรรมของเขา ในขณะที่เรายังไม่เคยเห็นรูปถ่ายของเขา, รูปถ่ายที่เราได้รับมานั้น จะทำลายความรู้สึกบางอย่างแทบสิ้นเชิง ในทางความสูงหรือศักดิ์สิทธิ์ชนิดที่บรรยายเป็นตัวหนังสือหรือคำพูดไม่ได้, แม้ว่าจะได้ทำให้เกิดความรู้สึกอย่างอื่นขึ้นมา แทนอีกทางหนึ่ง มันก็ไม่มีค่าเท่ากับรู้สึกอันแรกโน้น ทีนี้ขยับใกล้เข้ามาอีกถึงตัวคนจริง ๆ, นักการเมือง หรือนักพูดบางคน ตลอดถึงครูอาจารย์ เมื่อเรายังไม่เคยเห็นตัวท่านหรือนั่งใกล้ท่าน เรารู้สึกอย่างหนึ่งในทางความนิยมชมชอบ จนบรรยายไม่ได้, ครั้นเห็นตัวจริงเข้า กระทั่งเสพคบกันเข้า ความรู้สึกอันนั้นจะเปลี่ยนไปทันที ทั้งที่ท่านไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเลย เพียงแต่เราไปเห็นหนวดที่น่าเกลียดของท่านเข้า หรือกลิ่นตัวที่ท่านไม่ค่อยจะอาบน้ำบ่อยเหมือนพวกเราบ้าง, ฯลฯ เราก็จะสูญเสียความรู้สึกอันแรกไปทันที ในลักษณะที่ขาดทุน ไม่ใช่เป็นกำไร, ทั้งนี้เพราะว่าเมื่อเรายังไม่เคยเห็นท่านนั้น เราได้รับ "หัวใจ" ของท่าน พอเราเห็นท่าน เราก็ติดที่ "เปลือก" ของท่าน, และเรายังไม่มีจิตใจสูงพอที่จะแทงทะลุเปลือกนั้นเข้าไป เราจึงสูญเสียกลิ่นหอม (essence) ในหัวใจของท่าน และได้ "กลิ่นเหม็น" ที่ร่างกายอันปฏิกูลของท่านเข้ามาแทน ความหมายอันลึกซึ้งที่พึงได้จากสัญลักษณ์อันลึกซึ้งนั้นเป็นเหมือน "กลิ่นหอม"; ส่วนลักษณะของคนธรรมดาสามัญทั่วไปอันจะได้จากภาพเหมือนของท่านนั้น คือ "กลิ่นเหม็น" ดังนั้นบุคคลในยุคที่มีปัญญาอย่างยุคอุปนิษัทของอินเดีย จึงไม่ยอมทำรูปเคารพหรือรูปเหมือน

    เราจะดูกันต่อไปอีกนิดหนึ่ง คือเมื่อรูปเคารพเช่นพระพุทธรูป เป็นต้น บุบสลายลงไป มีคอหัก แขนขาด หูแหว่ง จมูกวิ่น เป็นต้น เราเห็นแล้วจะรู้สึกอย่างไร นี้อย่างหนึ่ง, กับเมื่อรูปสัญลักษณ์เช่น แท่นว่าง รูปธรรมจักร หรือรอยพระบาทเป็นต้น แตกหักแหว่งวิ่นหรือกระจัดกระจายไป เราจะรู้สึกเหมือนกันกับที่เห็นพระพุทธรูปบุบสลายนั้นหรือไม่ โดยที่แท้นั้นย่อมต่างกันลิบลับ คือ สัญลักษณ์ที่แตกหักนั้น ยังมีความศักดิ์สิทธิ์และความหมายอันให้ความรู้สึกแก่จิตใจอยู่เท่าเดิม ส่วนรูปเคารพนั้นให้ความทุเรศ ให้ความปั่นป่วนรวนเรแก่จิตใจ ถ้าหักออกในส่วนที่ทำให้ดูน่าเกลียด เราก็จะรู้สึกเกลียดดังนี้เป็นต้น, ดังนั้น คนที่ฉลาดในด้านจิตใจ จึงพากันไม่นิยมทำรูปเคารพ และห้ามการทำรูปเคารพมาแล้วตั้ง ๓,๐๐๐ กว่าปี เพิ่งจะมาถอยหลังเข้าคลองกันอีกเมื่อยุคหลังนี้

    ทีนี้ ในระดับสูงสุด คือการทำสัญลักษณ์นั้น ถ้าทำเป็นภาพอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นรูปหรือแบบขึ้นมา ก็ต้องเผชิญกันกับความชำรุดเป็นธรรมดา ดังนั้นคนที่ฉลาดที่สุดจึงใช้ "ความว่าง" เป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธองค์ เป็นสัญลักษณ์ที่ไม่รู้จักชำรุดทรุดโทรมหรือเปลี่ยนแปลงได้แม้แต่นิดเดียว นับว่าเป็นสัญลักษณ์ที่ยอดสุดของสัญลักษณ์ทั้งหลาย เมื่อไม่มีอะไรจะกระทบกระทั่งต่อ "ความว่าง" ได้ฉันใด ก็ย่อมไม่มีอะไรที่จะกระทบกระทั่งพระภควันพระองค์จริง อันเป็นอนันตกาลได้ฉันนั้น ดังนั้นพุทธบริษัทในอินเดีย สมัย พ.ศ. ๓๐๐–๖๐๐ จึงไม่ยอมทำรูปเคารพแก่พระพุทธองค์, แต่ได้ทำสัญลักษณ์ในขั้นที่ฉลาดที่สุด คือความว่างแทน

    เมื่อพูดกันถึงความเคารพหรือไม่เคารพ เราก็ทราบกันอยู่ทั่วไปแล้วว่า เมื่อเราเคารพผู้ใด เราไม่บังอาจแม้แต่จะเรียกชื่อท่าน เราต้องเลี่ยงไปหาคำอย่างอื่นแทน ซึ่งไม่ใช่ชื่อตัวของท่าน, ในทำนองเดียวกันนี้ การที่เราจะไปปั้นหรือแกะสลักหน้าตาหัวหูของท่าน หรือใช้คนงานผู้หญิงขึ้นเหยียบเพื่อตะบุ้งตะไบหรือเหล็กสกัดตกแต่งรูปปั้นของท่าน ย่อมจะมีความหมายยิ่งไปกว่าการเรียกชื่อตัวของท่าน เราควรจะเลี่ยงไปหาสัญลักษณ์หรือการทำอย่างอื่นแทน หรือไม่ทำอะไรเสียเลย ย่อมจะเป็นความเคารพกว่า, ด้วยเหตุนี้ชนชาติฮิบรู เมื่อสามพันปีมาแล้ว ก็ไม่ยอมทำรูปเคารพ, กระทั่งยุคอุปนิษัทในอินเดียก็ไม่ยอมทำรูปเคารพที่เป็นภาพเหมือนหรือรูปคน ยิ่งไปแกะสลักให้สวยเข้าเท่าไร ก็จะยิ่งเป็นองค์ปลอมเข้าเท่านั้น, ยิ่งทำให้เหมือนเข้าเท่าไร ก็ยิ่งต้องเดามากเข้าเท่านั้น, ยิ่งเดามากก็ยิ่งเป็นองค์ปลอมมากเข้าเท่านั้น, จึงสู้ให้เป็นองค์จริงอยู่ที่ตัวคุณธรรมของท่านไม่ได้ จะไม่ถูกเปลือก และได้รับ "กลิ่นเหม็น". ศาสนาคริสตังและศาสนาอิสลาม รับช่วงลัทธิไม่ยอมทำรูปเคารพมาจากศาสนายิวของชาวฮิบรู มาถือกันอย่างเคร่งครัด แต่ไม่เท่าไรศาสนาคริสเตียนก็ละทิ้งอุดมคติอันนี้เสีย ไปนิยมทำภาพพระเจ้า ภาพพระเยซู และแม่พระขึ้นมาใหม่ กลายเป็นมีรูปเคารพไป แทนที่จะมีแต่กางเขนอันเป็นสัญลักษณ์ที่ประเสริฐอยู่แล้ว; คงอยู่แต่ศาสนาอิสลามเท่านั้นในโลกนี้ ซึ่งยังคงซื่อตรงต่ออุดมคติข้อนี้อยู่ได้ โดยไม่ยอมทำหรือมีรูปเคารพชนิดไหนหมด, สมมติว่าถ้าพระพุทธองค์ได้เสด็จมาเห็นในเวลานี้ ก็คงจะทรงชมเชยอิสลามมิกชนในข้อนี้ พร้อมกับทรงสั่นพระเศียรต่อพุทธศาสนิกชน พวกที่ทำรูปของพระองค์ขึ้นมาวางขายตามทางเท้าริมถนนมีปริมาณปีบ ๆ ถัง ๆ ลัง ๆ นั้นทีเดียว. ด้วยเหตุที่การทำรูปเหมือน ไม่เป็นการแสดงความเคารพต่อท่านเจ้าของรูปนั้นเอง พุทธบริษัทในยุค พ.ศ. ๓๐๐–๖๐๐ จึงไม่ยอมทำโดยประการทั้งปวง, แล้วมาดกดื่นกันในสมัยทำพระพิมพ์และพระเครื่อง ซึ่งเป็นการแสดงความเขลาและความขลาดออกมาจนกระทั่งถึงที่สุดก็ไม่รู้จะไปทางไหนกัน จึงจะเข้าถึงพระพุทธเจ้าพระองค์จริง ซึ่งเรียกว่าพระภควันตลอดมาในที่นี้.

    แม้พระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่ทำยากในเวลานี้เท่าที่มีอยู่ในโลกนี้ ในประเทศอัฟกานิสถาน อินเดียทุกภาคและทุกยุค ลังกา ธิเบต มองโกเลีย จีน ญี่ปุ่น เขมร ลาว ไทย กระทั่งอินโดนีเซียเป็นที่สุดนั้น มีกันประเทศละหลาย ๆ แบบ เพราะหลาย ๆ ยุค และยังมีฝีมือดี ฝีมือปานกลาง และฝีมือเลว เป็นเหตุให้มีสารพัดอย่าง แสดงอารมณ์หรือ mood ต่าง ๆ กัน จนกระทั่งที่น่าเกลียดน่ากลัวก็มี ถ้าจะนำมารวมได้ในที่เดียว แล้วบอกให้ใครเลือกไหว้ที่ถูกที่เหมือนพระองค์จริง ๆ แล้ว เขาก็จะเวียนหัวและเป็นลมตายไม่ได้ไหว้กันเท่านั้นเอง, และถ้าสมมติว่าพระพุทธองค์ได้เสด็จมาเห็นชุมนุมพระพุทธรูปในลักษณะเช่นนี้ด้วยพระองค์เอง ใคร ๆ ก็ต้องเชื่อว่าพระองค์จะทรงส่ายพระเศียร ตรัสอะไรไม่ได้ แม้แต่จะทรงระบุว่าชิ้นไหนเป็นที่พอพระทัยของพระองค์เป็นต้น. นี่แหละคือผลสะท้อนที่เกิดขึ้นอย่างแตกต่างกัน ในระหว่างการทำรูปเคารพและการไม่ยอมทำรูปเคารพ ของพุทธบริษัทสมัยปัจจุบันกับพุทธบริษัทแห่ง พ.ศ. ๓๐๐–๖๐๐.

    สรุปความที่กล่าวมาแล้วอย่างยืดยาวนี้แล้ว ก็พอจะทำให้ผู้อ่านเรื่องนี้หยั่งทราบได้เองว่า พุทธบริษัทแห่งยุคที่ไม่ยอมทำพระพุทธรูปนั้น เขามีความรู้สึกกันอย่างไรในเรื่องนี้, และไม่มีขนบธรรมเนียมประเพณีที่จะทำพระพุทธรูปขึ้น มิใช่ว่าเขาจะจนปัญญาหรือไร้ฝีมือในการทำพระพุทธรูปนั้น ดังเราจะเห็นได้ว่าเขาสามารถทำหินสลักอันงดงามนั้น ซึ่งยากกว่าการทำพระพุทธรูปโดยตรงเป็นไหน ๆ, หากแต่เขาต้องการจะแสดงความรู้สึกที่สูงกว่า เป็นอุดมคติกว่า เข้าถึงพระภควันองค์จริงได้ง่ายกว่า เพราะไม่ผูกพันกับวัตถุนิยม (Materialism) แต่ประการใดนั่นเอง.

    ทั้งหมดนี้เป็นการตอบปัญหาที่ว่า ทำไมจึงไม่ยอมทำพระพุทธรูปหินสลักเหล่านี้ ทั้งที่เป็นเรื่องพุทธประวัติโดยตลอด, ก่อนแต่จะจบคำนำนี้ ขอทำความเข้าใจกันบางอย่างคือ :–

    พ.ศ. ที่อ้างถึงในคำอธิบายใต้ภาพเหล่านี้ กำหนดเอาตามที่เห็นว่าเหมาะสำหรับคนทั่วไป ที่มิใช่นักโบราณคดี เช่นกำหนดสมัยสาญจีไว้เป็น พ.ศ. ๔๐๐-๕๐๐ นั้น เล็งถึงส่วนใหญ่หรือที่เป็นจุดกลาง อาจจะขยายออกไปได้ทั้งข้างหน้าและข้างหลัง เพราะสถูปสาญจีนั้นสร้างครั้งแรกตั้งแต่สมัยอโศก พ.ศ. ๒๐๐ เศษ, แล้วเสริมสร้างให้ใหญ่โตขึ้นในสมัยสุงคะ ใน พ.ศ. ๓๐๐–๔๐๐ และยืดเยื้อมาจนถึง พ.ศ. ๕๐๐ เศษ, ดังนั้นจึงถือเอาจุดศูนย์กลางที่ พ.ศ. ๔๐๐–๕๐๐, ภาพบางภาพเป็นของรุ่น พ.ศ. ๕๐๐ หรือ ๕๐๐ เศษก็มี. สำหรับภาพภารหุตนั้น มีส่วนที่จะกล่าวได้ว่า เป็นของในระยะ พ.ศ. ๓๐๐–๔๐๐ แท้ จะมีเศษจาก ๔๐๐ ก็ไม่มากนัก ส่วนภาพแบบอมราวดีนั้น กำหนดให้ง่าย ๆ ว่า ๔๐๐–๗๐๐ โดยประมาณที่เห็นว่าเหมาะสมที่สุดแล้ว, เพราะในตอนหลังคือ พ.ศ. ๖๐๐–๗๐๐ นั้น มีทำทั้งที่มีพระพุทธรูป และไม่มีพระพุทธรูปปนเปกันไป, แต่ก็ต้องนับรวมไว้ในประเภทที่ไม่มีพระพุทธรูปนี้ด้วย.

    สำหรับคำที่เรียกของบางอย่างที่มีชื่อเรียกหลายคำก็เอาแต่คำเดียว ดังเช่นหม้อปูรณฆฏะนั้น บางทีเรียกภัทรฆฏะบ้าง อย่างอื่นบ้าง ในที่นี้เรียกปูรณฆฏะอย่างเดียว, จะเรียกให้ผิดกันตามรูปร่างก็เกินความจำเป็นในที่นี้, เพราะเป็นเรื่องปลีกย่อยเกินไป, จะทำให้กินเนื้อที่การอธิบายมากออกไปโดยไม่คุ้มค่า

    จำนวนจุดหรือจำนวนกลีบของดอกบัว เป็นต้น ที่เข้าใจว่าเล็งถึงอะไรบางอย่างนั้น ถ้ายึดถือไปในทำนองขลังหรือศักดิ์สิทธิ์ก็กลายเป็นมิใช่พุทธศาสนาไปทันที, แต่ถ้ามีความมุ่งหมายจะใช้ประโยชน์ในทางสอนธรรมะ หรือเพื่อแพร่หลายอุดมคติบางอย่างแล้ว เรื่องก็จะกลายจากลัทธิเชื่อโชคลางมาเป็นสัญลักษณ์ทางวิทยาศาสตร์ไป ในฐานะที่ธรรมะที่ดับทุกข์ได้โดยตรงนั้น ก็เป็นวิทยาศาสตร์อย่างหนึ่งด้วยเหมือนกัน, เราอาจจะดัดแปลงไสยศาสตร์หรือ superstitous ให้กลายมาเป็นวิทยาศาสตร์ได้ด้วยเหตุนี้. ทั้งนี้เพราะว่าจำนวนเลขศักดิ์สิทธิ์หรืออะไรทำนองนี้ เป็นคติโบราณในทำนองของขลังหรือศักดิ์สิทธิ์ เพราะเชื่อและทำกันไปโดยไม่รู้ความหมายหรือความมุ่งหมายของสิ่งเหล่านั้น, แต่อย่าลืมว่าหินสลักเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ทำโดยพุทธบริษัทที่กำลังรุ่งเรืองด้วยพุทธธรรมที่ยังใหม่หรือบริสุทธิ์อยู่ จึงไม่มีทางที่จะเป็นเรื่องการถือของขลังหรือศักดิ์สิทธิ์ไปได้ อย่างน้อยที่สุดก็ต้องเป็นการดัดความหมายของจำนวนเลขศักดิ์สิทธิ์นั้น ๆ เสียใหม่ ให้กลายมาเป็นหลักธรรมที่จำเป็นแก่มนุษย์จริง ๆ ไปเสีย, เพราะประชาชนชอบใช้หรือยึดถือจำนวนเลขศักดิ์สิทธิ์อยู่ก่อนแล้ว.

    การแสดงธรรมหรือแสดงประวัติด้วยภาพนี้ มีผลลึกซึ้งกว่าการแสดงด้วยตัวหนังสือ หรือด้วยคำพูด ตรงที่จะทำให้เกิดการประทับใจลึกซึ้งกว่า, เพลิดเพลินกว่า และโดยไม่รู้สึกตัวยิ่งกว่า, มีการถ่ายทอดทางจิตใจได้ง่ายกว่า ถ้าหากว่าการกระทำนั้น กระทำโดยศิลปินที่ถึงขนาดจริง ๆ, ดังนั้นเราจึงควรสนใจที่จะศึกษาธรรมะด้วยภาพกันเสียบ้าง และสมุดเล่มน้อยนี้ก็เกิดขึ้นเพื่อความมุ่งหมายอันนี้.

    ในที่สุดนี้ ขอแสดงความขอบคุณแด่มิตรสหายหลายท่าน ที่ให้ความช่วยเหลือในการจำลองภาพชุดนี้ที่สวนโมกขพลาราม และการถ่ายทำทุกระยะและทุกตอน จนประสบความสำเร็จตามลำดับ ๆ ตลอดถึงท่านที่ให้หยิบยืมหนังสือและรูปภาพที่หาได้โดยยากบางอย่าง, ไว้ ณ ที่นี้ด้วย

    [​IMG]
    คัดลอกมาบางส่วนจาก
    http://www.buddhadasa.org/html/life-work/theatre/sculpture/sculpture-pre.html
     
  5. มหาวัด

    มหาวัด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +1,892

    [​IMG]

    ถามไปตั้งเยอะ ตอบแค่นี้ ถามจะสิบเรื่อง แล้ว คุณจะแถไปยกข้อความซ้ำซากมาทำไมครับคุณสับสนหรือมึนอะไรหรือเปล่า
    ผมเห็นแล้ว ผมไม่ได้สนใจเรื่องคุณเถียงพระไม่เถียงพระ คุณอ่านหนังสือออกไหมครับ ผมสงสัยว่าเขียนอย่างพูดอย่างทำไมคุณแปลอีกอย่างประจำเลย ผมไม่ได้สนใจเรื่องนี้ครับ
    นี่ ที่ผมถามนะ ที่ว่าพระพุทธเจ้าห้ามไม่ให้แสดงธรรมเป็นภาษาอื่นนอกจากภาษาบาลีนะคุณไปเอามาจากไหน? นี่คำถามสุดท้ายของผมในกระทู้นั้นมีคำถามตั้งเยอะแต่อันนี้คำถามสุดท้าย ไม่ได้ถามว่าคุณไปเถียงพระวันนั้นหรือเปล่าครับ
    อย่าเบี่ยงประเด็น
    ,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,
    ไอ้สูตรที่คุณไปยกมามันคนละเรื่องเลย นี่ต่างหากที่ผมถาม
    แล้วเรื่องอื่น เรื่องพระพุทธรูปใครสร้างเป็นการทุศีล คุณไปเอามาจากไหน
    เรื่องพญานาค
    เรื่องพระเกษม โอ๊ยเป็นสิบเรื่อง ที่ถามแต่ดันมาแถเรื่องผมไม่ได้เถียงพระ
    ครังสุดท้ายที่ผมถามคุณ
    ผมถามหรือว่าวันนั้นคุณไปเถียงพระหรือเปล่าครับ
    เปล่าเลย ผมไม่ได้ถามอย่างงี้ เถียงไม่เถียงไม่ใช่เรื่องที่ผมสนใจมันนานมาแล้ว
    ย้ำ ผมถามว่า ไอ้สูตรที่คุณเอามาลงนะหมายความว่าอะไร? ผมไม่เห็นว่ามันจะเกี่ยวกับ
    พระพุทธเจ้าห้ามสอนธรรมะเป็น ภาษาอื่นนอกจากบาลีเลย ต่างหาก
    ดียกสูตรมากก็ดีครับ ผมจะได้ขอความรู้จากคุณเสียเลยอย่าอมภูมิเลยครับ ผมรู้คุณมีดี

    "พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
    เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ตะโพน
    ชื่ออานกะของพวกกษัตริย์ผู้มีพระนามว่าทสารหะได้มีแล้ว เมื่อตะโพนแตก พวกทสารหะได้
    ตอกลิ่มอื่นลงไป สมัยต่อมาโครงเก่าของตะโพนชื่ออานกะก็หายไป ยังเหลือแต่โครงลิ่ม แม้ฉัน
    ใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุในอนาคตกาล เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อัน
    ลึกมีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม อยู่ จักไม่ปรารถนาฟังจักไม่เข้าไปตั้ง
    จิตเพื่อรู้ และจักไม่สำคัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเล่าเรียน ควรศึกษาแต่ว่าเมื่อเขากล่าวพระสูตร
    อันนักปราชญ์รจนาไว้ อันนักปราชญ์ร้อยกรองไว้ มีอักษรอันวิจิตร เป็นของภายนอก เป็นสาวก
    ภาษิต อยู่ จักปรารถนาฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำคัญ
    ธรรมเหล่านั้น ว่าควรเรียน ควรศึกษา ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระสูตรเหล่านั้น ที่ตถาคตกล่าวแล้วอันลึก
    มีอรรถอันลึกเป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม จักอันตรธานฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุ
    ดังนี้นั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึก
    มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม อยู่ พวกเราจักฟังด้วยดี จักเงี่ยโสต
    ลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำคัญธรรมเหล่านั้นว่า ควรเรียน ควรศึกษา ดังนี้
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ ฯ"


    ถามว่าสูตรนี้ ท่านสอนว่าอะไร?
    แล้วมีข้อความไหนในสูตรนี้ที่เกี่ยวกับเรื่องพระพุทธเจ้าท่านห้ามสอนธรรมะเป็นภาษาอื่นนอกจากบาลี?
    หรือคุณไม่ได้หมายถึงสูตรนี้ล่ะ งั้นขอให้ยกสูตรที่พูดถึงนี้มาด้วย?
    เพื่อศึกษาร่วมกัน นี่ต่างหากต้องให้แปลไทยเป็นไทยอีกไหม?ครับ หรือต้องให้แปลภาษาคนเป็นภาษาปลาไหลคุรถึงจะเข้าใจครับ พ่อปลาไหล


    อย่าหนีอย่าแถ อย่าบอกสูตรชัดเจนอยู่แล้วคุณไม่จำเป็นต้องมาพูดอีกให้ไปตีความเอาเอง
    อย่าไปลอกข้อความคนอื่นมาตอบ อย่า ถามอย่างตอบอย่าง หรือเงียบหายโว้ยวายว่าผมมาหาเรื่องคุณ
    ปิดกระทู้หนีไม่ก็หายหัวไปเลยดื้อๆๆทำนองนี้ นะครับ
    อ่านคำถามออกไหม?เนี่ย คุณ นี่วันนั้นผมถามเยอะกว่านี้
    แต่เอาแค่นี้ก่อนกันคุณสับสน ว่าถามอะไรผมเยอะจัง
    แล้วอีกอย่าง โทษที ถ้าคุณยังคงทำแบบนี้ ที่ผมดักทางไว้ ผมจะถือว่า
    เพราะคำถามมันตอบโดยไปก็อปปี้คำตอบชาวบ้านเอามาลงไม่ได้
    เพราะคำถามมันทำให้คุณต้องคิดเองไม่ใช่ไปลอกชาวบ้านชาวช่อง
    คุณเลยเบี่ยงประเด็นไปนู้นเหมือนผมถามทางไปลาดพร้าวคุณบอกทางไปอยุธยา
    โอ๊ย คนล่ะเรื่องนั้นเอง


    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    [​IMG]

    วันนี้เชฟบุญธรรมจะมาปรุงเมนู ปลาไหลแถ ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ธันวาคม 2012
  6. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    จิตใจคุณขุ่นมัว มีแต่ความโกรธ ความทุกข์เพราะคุณยึดมั่นถือมั่นในรูป เห็นพระเกษม
    ทำลายรูป คุณเก็บมาทุกข์อยู่จนถึงวันนี้ พระเกษมท่านสั่งห้ามทำลายรูปตั้งนานแล้ว
    แต่คุณยังทุกข์กับเรื่องเก่าๆ คุณเห็นพระเกษมไม่สำรวม คุณก็ทุกข์ ตอนที่ท่านสำรวมคุณไม่พูดถึง
    คุณทุกข์กับเรื่องเก่าๆ

    เรื่องพญานาค คุณเคารพก็เคารพไปครับ มันก็เหมือนคุณกราบไหว้เจ้าพ่อเจ้าแม่
    นับถือผีนั่นแหละ แต่คุณจะให้ผมเคารพตามคุณ คุณบ้าเปล่าครับ

    พระพุทธเจ้ายกพระธรมอยู่สูงกว่าพระองค์ พระคุณเจ้าก็เคารพธรรม
    คุณไม่เคารพธรรม ไม่เห็นด้วยกับพระธรรม

    คุณใช้คำว่าไอ้... ได้เต็มปากเต็มคำถึงสองครั้ง คุณมันคนเปล่า...
     
  7. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    "เรายินดีในพระพุทธรูป จึงได้ตรัสสอนเราว่า
    อย่าเลยวักกลิ ประโยชน์อะไรในรูปที่น่าเกลียดซึ่งชนพาลชอบเล่า
    ก็บัณฑิตใดเห็นสัทธรรม บัณฑิตนั้นชื่อว่าเห็นเรา ผู้ไม่เห็นสัทธรรม
    ถึงจะเห็นเราก็ชื่อว่าไม่เห็น"
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๓๓ หน้าที่ ๑๒๔/๔๐๘

    เรื่อง ว่าด้วยบุพจริยาของพระวักกลิเถระ พระสูตรนี้ผมโพสต์มาเป็นสิบๆ รอบแล้ว
    ผมตัดมาย่อๆ คุณไปหาอ่านพระสูตรเต็มเอาเอง ความหมายตรงตามตัวอักษรไม่ต้องแปล
    ใครอ่านก็เข้าใจได้ง่าย มีแต่คนพาลที่อ่านแล้วไม่เข้าใจ
     
  8. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    [๑๐๓] ดูกรมหาบพิตร อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล.
    ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศาตรา
    มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ข้อนี้เป็นศีลของ
    เธอประการหนึ่ง.
    ๒. เธอละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่
    เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
    ๓. เธอละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล
    เว้นขาดจากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้าน แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
    ๔. เธอละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่คำจริง ดำรงคำสัตย์ มีถ้อยคำ
    เป็นหลักฐาน ควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอ ประการหนึ่ง.
    ๕. เธอละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น
    เพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน หรือฟังจากข้างโน้นแล้วไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อให้คนหมู่โน้นแตก
    ร้าวกัน สมานคนที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ชอบคนผู้พร้อม
    เพรียงกัน เพลิดเพลินในคนผู้พร้อมเพรียงกัน กล่าวแต่คำที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน แม้ข้อนี้
    ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
    ๖. เธอละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ เพราะหู ชวนให้รัก
    จับใจ เป็นของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่ พอใจ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
    ๗. เธอละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่เป็นจริง พูดอิง
    อรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้าง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์
    โดยกาลอันควร แม้ข้อนี้เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
    ๘. เธอเว้นจากการพรากพืชคามและภูตคาม.
    ๙. เธอฉันหนเดียว เว้นการฉันในราตรี งดจากการฉันในเวลาวิกาล.
    ๑๐. เธอเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรีและดูการเล่น อันเป็นข้าศึกแก่กุศล
    ๑๑. เธอเว้นขาดจากการทัดทรงประดับ และตบแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ ของหอมและ
    เครื่องประเทืองผิว อันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว.
    ๑๒. เธอเว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่.
    ๑๓. เธอเว้นขาดจากการรับทองและเงิน.
    ๑๔. เธอเว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ.
    ๑๕. เธอเว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ.
    ๑๖. เธอเว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี.
    ๑๗. เธอเว้นขาดจากการรับทาสีและทาส.
    ๑๘. เธอเว้นขาดจากการรับแพะและแกะ.
    ๑๙. เธอเว้นขาดจากการรับไก่และสุกร.
    ๒๐. เธอเว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา.
    ๒๑. เธอเว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน.
    ๒๒. เธอเว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้.
    ๒๓. เธอเว้นขาดจากการซื้อการขาย.
    ๒๔. เธอเว้นขาดจากการโกงด้วยตราชั่ง การโกงด้วยของปลอม และการโกงด้วยเครื่อง
    ตวงวัด.
    ๒๕. เธอเว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง.
    ๒๖. เธอเว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้น และกรรโชก
    แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
    จบจุลศีล.
    มัชฌิมศีล
    [๑๐๔] ๑. ภิกษุเว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์
    ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังประกอบการพรากพืชคามและภูตคาม
    เห็นปานนี้ คือ พืชเกิดแต่เง่า พืชเกิดแต่ลำต้น พืชเกิดแต่ผล พืชเกิดแต่ยอด พืชเกิดแต่เมล็ด
    เป็นที่ครบห้า แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
    [๑๐๕] ๒. ภิกษุเว้นขาดจากการบริโภคของที่ทำการสะสมไว้ เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์
    ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังประกอบการบริโภคของที่ทำการสะสมไว้
    เห็นปานนี้ คือ สะสมข้าว สะสมน้ำ สะสมผ้า สะสมยาน สะสมที่นอน สะสมเครื่อง
    ประเทืองผิว สะสมของหอม สะสมอามิส แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
    [๑๐๖] ๓. ภิกษุเว้นขาดจากการดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล เช่น อย่างที่สมณ
    พราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายดูการเล่นอันเป็น
    ข้าศึกแก่กุศล เห็นปานนี้คือ การฟ้อน การขับร้อง การประโคมมหรสพ มีการรำเป็นต้น การเล่า
    นิยาย การเล่นปรบมือ การเล่นปลุกผี การเล่นตีกลอง ฉากภาพบ้านเมืองที่สวยงาม การเล่น
    ของคนจัณฑาล การเล่นไม้สูง การเล่นหน้าศพ ชนช้าง ชนม้า ชนกระบือ ชนโค ชนแพะ
    ชนแกะ ชนไก่ รบนกกระทา รำกระบี่กระบอง มวยชก มวยปล้ำ การรบ การตรวจพล
    การจัดกระบวนทัพ กองทัพ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
    [๑๐๗] ๔. ภิกษุเว้นขาดจากการขวนขวายเล่นการพนันอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
    เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวาย
    เล่นการพนันอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเห็นปานนี้ คือ เล่นหมากรุกแถวละแปดตา แถวละ
    สิบตา เล่นหมากเก็บ เล่นดวด เล่นหมากไหว เล่นโยนบ่วง เล่นไม้หึ่ง เล่นกำทาย เล่นสะกา
    เล่นเป่าใบไม้ เล่นไถน้อยๆ เล่นหกคะเมน เล่นกังหัน เล่นตวงทราย เล่นรถน้อยๆ เล่น
    ธนูน้อยๆ เล่นเขียนทายกัน เล่นทายใจ เล่นเลียนคนพิการ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอ
    ประการหนึ่ง.
    [๑๐๘] ๕. ภิกษุเว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ เช่น อย่างที่
    สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังนั่งนอนบนที่นั่งที่นอน
    อันสูงใหญ่เห็นปานนี้ คือ เตียงมีเท้าเกินประมาณ เตียงมีเท้าทำเป็นรูปสัตว์ร้าย ผ้าโกเชาว์ขนยาว
    เครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะวิจิตรด้วยลวดลาย เครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะสีขาว เครื่องลาดที่มี
    สัณฐานเป็นช่อดอกไม้ เครื่องลาดที่ยัดนุ่น เครื่องลาดขนแกะวิจิตรด้วยรูปสัตว์ร้ายมีสีหะและ
    เสือเป็นต้น เครื่องลาดขนแกะมีขนตั้ง เครื่องลาดขนแกะมีขนข้างเดียว เครื่องลาดทองและ
    เงินแกมไหม เครื่องลาดไหมขลิบทองและเงิน เครื่องลาดขนแกะจุนางฟ้อน ๑๖ คน เครื่องลาด
    หลังช้าง เครื่องลาดหลังม้า เครื่องลาดในรถ เครื่องลาดที่ทำด้วยหนังสัตว์ชื่ออชินะอันมีขน
    อ่อนนุ่ม เครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด เครื่องลาดมีเพดาน เครื่องลาดมีหมอนข้าง
    แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
    [๑๐๙] ๖. ภิกษุเว้นขาดจากการประกอบการประดับตกแต่งร่างกายอันเป็นฐานแห่งการ
    แต่งตัว เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยัง
    ขวนขวายประกอบการประดับตบแต่งร่างกายอันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว เห็นปานนี้ คือ อบตัว
    ไคลอวัยวะ อาบน้ำหอม นวด ส่องกระจก แต้มตา ทัดดอกไม้ ประเทืองผิว ผัดหน้า
    ทาปาก ประดับข้อมือ สวมเกี้ยว ใช้ไม้เท้า ใช้กลักยา ใช้ดาบ ใช้ขรรค์ ใช้ร่ม สวมรองเท้า
    ประดับวิจิตร ติดกรอบหน้า ปักปิ่น ใช้พัดวาลวิชนี นุ่งห่มผ้าขาว นุ่งห่มผ้ามีชาย แม้ข้อนี้
    ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
    [๑๑๐] ๗. ภิกษุเว้นขาดจากติรัจฉานกถา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก
    ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังประกอบติรัจฉานกถา เห็นปานนี้ คือ พูดเรื่องพระราชา
    เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า
    เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร
    เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับ
    ไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อมด้วยประการนั้นๆ
    แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
    [๑๑๑] ๘. ภิกษุเว้นขาดจากการกล่าวถ้อยคำแก่งแย่งกัน เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์
    ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายกล่าวถ้อยคำแก่งแย่งกันเห็น
    ปานนี้ เช่น ว่าท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึง ท่านรู้จักทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร
    ท่านปฏิบัติผิด ข้าพเจ้าปฏิบัติถูกถ้อยคำของข้าพเจ้าเป็นประโยชน์ ของท่านไม่เป็นประโยชน์
    คำที่ควรจะกล่าวก่อน ท่านกลับกล่าวภายหลัง คำที่ควรจะกล่าวภายหลัง ท่านกลับกล่าวก่อน
    ข้อที่ท่านเคยช่ำชองมาผันแปรไปแล้ว ข้าพเจ้าจับผิดวาทะของท่านได้แล้ว ข้าพเจ้าข่มท่านได้แล้ว
    ท่านจงถอนวาทะเสีย มิฉะนั้นจงแก้ไขเสีย ถ้าสามารถ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
    [๑๑๒] ๙. ภิกษุเว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้ เช่นอย่างที่สมณ
    พราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายประกอบทูตกรรมและ
    การรับใช้เห็นปานนี้ คือ รับเป็นทูตของพระราชา ราชมหาอำมาตย์ กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี
    และกุมารว่า ท่านจงไปในที่นี้ ท่านจงไปในที่โน้น ท่านจงนำเอาสิ่งนี้ไป ท่านจงนำเอาสิ่งนี้
    ในที่โน้นมา ดังนี้ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
    [๑๑๓] ๑๐. ภิกษุเว้นขาดจากการพูดหลอกลวง และการพูดเลียบเคียง เช่นอย่างที่
    สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังพูดหลอกลวง พูด
    เลียบเคียง พูดหว่านล้อม พูดและเล็ม แสวงหาลาภด้วยลาภ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอ
    ประการหนึ่ง.
    จบมัชฌิมศีล.
    มหาศีล
    [๑๑๔] ๑. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่าง
    สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย
    ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ทายอวัยวะ ทายนิมิต ทายอุปบาต ทำนายฝัน ทำนายลักษณะ
    ทำนายหนูกัดผ้า ทำพิธีบูชาไฟ ทำพิธีเบิกแว่นเวียนเทียน ทำพิธีซัดแกลบบูชาไฟ ทำพิธีซัด
    รำบูชาไฟ ทำพิธีซัดข้าวสารบูชาไฟ ทำพิธีเติมเนยบูชาไฟ ทำพิธีเติมน้ำมันบูชาไฟ ทำพิธีเสกเป่า
    บูชาไฟ ทำพลีกรรมด้วยโลหิต เป็นหมอดูอวัยวะ ดูลักษณะที่บ้าน ดูลักษณะที่นา เป็นหมอ
    ปลุกเสก เป็นหมอผี เป็นหมอลงเลขยันต์คุ้มกันบ้านเรือน เป็นหมองู เป็นหมอยาพิษ
    เป็นหมอแมลงป่อง เป็นหมอรักษาแผลหนูกัด เป็นหมอทายเสียงนก เป็นหมอทายเสียงกา
    เป็นหมอทายอายุ เป็นหมอเสกกันลูกศร เป็นหมอทายเสียงสัตว์ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอ
    ประการหนึ่ง.
    [๑๑๕] ๒. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่
    สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว เลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย
    ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ทายลักษณะแก้วมณี ทายลักษณะผ้า ทายลักษณะไม้พลอง
    ทายลักษณะศาตรา ทายลักษณะดาบ ทายลักษณะศร ทายลักษณะธนู ทายลักษณะอาวุธ
    ทายลักษณะสตรี ทายลักษณะบุรุษ ทายลักษณะกุมาร ทายลักษณะกุมารี ทายลักษณะทาส
    ทายลักษณะทาสี ทายลักษณะช้าง ทายลักษณะม้า ทายลักษณะกระบือ ทายลักษณะโคอุสภะ
    ทายลักษณะโค ทายลักษณะแพะ ทายลักษณะแกะ ทายลักษณะไก่ ทายลักษณะนกกระทา
    ทายลักษณะเหี้ย ทายลักษณะตุ่น ทายลักษณะเต่า ทายลักษณะมฤค แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอ
    ประการหนึ่ง.
    [๑๑๖] ๓. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่
    สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย
    ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ดูฤกษ์ยาตราทัพว่า พระราชาจักยกออก พระราชาจักไม่ยกออก
    พระราชาภายในจักยกเข้าประชิด พระราชาภายนอกจักถอย พระราชาภายนอกจักยกเข้าประชิด
    พระราชาภายในจักถอย พระราชาภายในจักมีชัย พระราชาภายนอกจักปราชัย พระราชาภายนอก
    จักมีชัย พระราชาภายในจักปราชัย พระราชาองค์นี้จักมีชัย พระราชาองค์นี้จักปราชัย เพราะเหตุ
    นี้ๆ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
    [๑๑๗] ๔. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่
    สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย
    ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ พยากรณ์ว่า จักมีจันทรคราส จักมีสุริยคราส จักมีนักษัตรคราส
    ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักเดินถูกทาง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักเดินผิดทาง ดาวนักษัตรจักเดินถูกทาง
    ดาวนักษัตรจักเดินผิดทาง จักมีอุกกาบาต จักมีดาวหาง จักมีแผ่นดินไหว จักมีฟ้าร้อง ดวงจันทร์
    ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักขึ้น ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักตก ดวงจันทร์
    ดวงอาทิตย์ และดาวนักษัตรจักมัวหมอง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ และดาวนักษัตรจักกระจ่าง
    จันทรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ สุริยคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ นักษัตรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้
    ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เดินถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เดินผิดทางจักมีผลเป็น
    อย่างนี้ ดาวนักษัตรเดินถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดาวนักษัตรเดินผิดทางจักมีผลเป็นอย่างนี้
    มีอุกกาบาตจักมีผลเป็นอย่างนี้ มีดาวหางจักมีผลเป็นอย่างนี้ แผ่นดินไหวจักมีผลเป็นอย่างนี้
    ฟ้าร้องจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรขึ้นจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์
    ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรตกจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรมัวหมอง
    จักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรกระจ่างจักมีผลเป็นอย่างนี้ แม้ข้อนี้
    ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
    [๑๑๘] ๕. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่
    สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย
    ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ พยากรณ์ว่า จักมีฝนดี จักมีฝนแล้ง จักมีภิกษาหาได้ง่าย จักมีภิกษา
    หาได้ยาก จักมีความเกษม จักมีภัย จักเกิดโรค จักมีความสำราญหาโรคมิได้ หรือนับคะแนน
    คำนวณ นับประมวลแต่งกาพย์ โลกายศาสตร์ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
    [๑๑๙] ๖. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่
    สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย
    ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ให้ฤกษ์อาวาหมงคล ให้ฤกษ์วิวาหมงคล ดูฤกษ์เรียงหมอน ดูฤกษ์
    หย่าร้าง ดูฤกษ์เก็บทรัพย์ ดูฤกษ์จ่ายทรัพย์ ดูโชคดี ดูเคราะห์ร้าย ให้ยาผดุงครรภ์ ร่ายมนต์
    ให้ลิ้นกระด้าง ร่ายมนต์ให้คางแข็ง ร่ายมนต์ให้มือสั่น ร่ายมนต์ไม่ให้หูได้ยินเสียง เป็นหมอ
    ทรงกระจก เป็นหมอทรงหญิงสาว เป็นหมอทรงเจ้า บวงสรวงพระอาทิตย์ บวงสรวงท้าวมหาพรหม
    ร่ายมนต์พ่นไฟ ทำพิธีเชิญขวัญ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
    [๑๒๐] ๗. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่
    สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย
    ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ทำพิธีบนบาน ทำพิธีแก้บน ร่ายมนต์ขับผี สอนมนต์ป้องกัน
    บ้านเรือน ทำกะเทยให้กลับเป็นชาย ทำชายให้กลายเป็นกะเทย ทำพิธีปลูกเรือน ทำพิธี
    บวงสรวงพื้นที่ พ่นน้ำมนต์ รดน้ำมนต์ ทำพิธีบูชาไฟ ปรุงยาสำรอก ปรุงยาถ่าย ปรุงยา
    ถ่ายโทษเบื้องบน ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องล่าง ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ หุงน้ำมันหยอดหู ปรุงยาตา
    ปรุงยานัตถุ์ ปรุงยาทากัด ปรุงยาทาสมาน ป้ายยาตา ทำการผ่าตัด รักษาเด็ก ใส่ยา ชะแผล
    แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
    [๑๒๑] ดูกรมหาบพิตร ภิกษุสมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้ ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เลย
    เพราะศีลสังวรนั้นเปรียบเหมือนกษัตริย์ผู้ได้มุรธาภิเษก กำจัดราชศัตรูได้แล้ว ย่อมไม่ประสบภัย
    แต่ไหนๆ เพราะราชศัตรูนั้น ดูกรมหาบพิตร ภิกษุก็ฉันนั้น สมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้แล้ว
    ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เพราะศีลสังวรนั้น ภิกษุสมบูรณ์ด้วยอริยศีลขันธ์นี้ ย่อมได้เสวยสุข
    อันปราศจากโทษในภายใน ดูกรมหาบพิตร ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถึง
    พร้อมด้วยศีล.

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๙
     
  9. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระพุทธเจ้าห้ามพระสงฆ์ทำดิรัจฉานวิชา แต่พระสมัยนี้ทำเต็มบ้านเมือง
    เหมือนกลองตะโพนแตก เหลือแต่โครงลิ่มที่ตอกเข้าไปใหม่ แล้วคนอย่างคุณก็นับถือ
    คนอย่างผมยกคำของพระพุทธเจ้ามาแสดง คุณก็ไม่ฟัง ไม่เห็นด้วย
    นี่ครับ คำตอบว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร ผมใช่คำว่า พระพุทธเจ้าสอนอะไร
    ไม่ใช่คำว่า ท่านสอนว่าอะไร แบบที่คุณใช้
    คุณใช้คำว่าท่านกับพระพุทธเจ้า กับพระธรรม
    คุณไม่เคารพพระพุทธเจ้า ไม่เคาพรพพระธรรม
    คุณมันคนเปล่า...
     
  10. มหาวัด

    มหาวัด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +1,892
    แถไปนู้นเลย เฮ้ย คุณอ่านหนังสือไม่ออกหรือครับ ผมถามคุณว่า

    "พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
    เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ตะโพน
    ชื่ออานกะของพวกกษัตริย์ผู้มีพระนามว่าทสารหะได้มีแล้ว เมื่อตะโพนแตก พวกทสารหะได้
    ตอกลิ่มอื่นลงไป สมัยต่อมาโครงเก่าของตะโพนชื่ออานกะก็หายไป ยังเหลือแต่โครงลิ่ม แม้ฉัน
    ใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุในอนาคตกาล เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อัน
    ลึกมีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม อยู่ จักไม่ปรารถนาฟังจักไม่เข้าไปตั้ง
    จิตเพื่อรู้ และจักไม่สำคัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเล่าเรียน ควรศึกษาแต่ว่าเมื่อเขากล่าวพระสูตร
    อันนักปราชญ์รจนาไว้ อันนักปราชญ์ร้อยกรองไว้ มีอักษรอันวิจิตร เป็นของภายนอก เป็นสาวก
    ภาษิต อยู่ จักปรารถนาฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำคัญ
    ธรรมเหล่านั้น ว่าควรเรียน ควรศึกษา ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระสูตรเหล่านั้น ที่ตถาคตกล่าวแล้วอันลึก
    มีอรรถอันลึกเป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม จักอันตรธานฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุ
    ดังนี้นั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึก
    มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม อยู่ พวกเราจักฟังด้วยดี จักเงี่ยโสต
    ลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำคัญธรรมเหล่านั้นว่า ควรเรียน ควรศึกษา ดังนี้
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ ฯ"


    ถามว่าสูตรนี้ ท่านสอนว่าอะไร? ไม่ได้ยากอะไรเลยก็คุณเอามาลงเองทั้งนั้นนี่ต้องอ่านมาแล้วซี่
    แล้วมีข้อความไหนในสูตรนี้ที่เกี่ยวกับเรื่องพระพุทธเจ้าท่านห้ามสอนธรรมะเป็นภาษาอื่นนอกจากบาลี?
    หรือคุณไม่ได้หมายถึงสูตรนี้ล่ะ งั้นขอให้ยกสูตรที่พูดถึงนี้มาด้วย?

    อ่านหนังสือไม่ออกหรือครับ ขนาดผมถามอะไรคุณยังอ่านไม่เข้าใจเลย
    แล้วไอ้ที่คุณไปเอามาลงๆๆ นี่ผมสงสัยว่าคุณก็คงอ่านไม่ออกไม่เข้าใจความหมายอีกเหมือนเดิมนะสิ
    เห็นแถไปเรื่องพระเกษม ไปเรื่องพญานาค อะไรอีกผมไม่ได้ถามคุณสองข้อเรื่องนี้เมื่อวานนี้
    อะไรของคุณเนี่ย
    คุณเป็นต่างด้าวหนีเข้าเมืองหรือเปล่าครับ ถึงอ่านไม่ออกว่าผมถามอะไร
    มิน่าคุณถึงชอบก็อปปี้คำตอบชาวบ้านมาลง
    นี่ขนาดผมเขียนดักทางเอาไว้ว่า อย่าหนีอย่าแถ อย่าบอกสูตรชัดเจนอยู่แล้วคุณไม่จำเป็นต้องมาพูดอีกให้ไปตีความเอาเอง
    อย่าไปลอกข้อความคนอื่นมาตอบ อย่า ถามอย่างตอบอย่าง หรือเงียบหายโว้ยวายว่าผมมาหาเรื่องคุณ
    ปิดกระทู้หนีไม่ก็หายหัวไปเลยดื้อๆๆทำนองนี้ นะครับ
    อ่านคำถามออกไหม?เนี่ย คุณ นี่วันนั้นผมถามเยอะกว่านี้
    แต่เอาแค่นี้ก่อนกันคุณสับสน ว่าถามอะไรผมเยอะจัง
    แล้วอีกอย่าง โทษที ถ้าคุณยังคงทำแบบนี้ ที่ผมดักทางไว้ ผมจะถือว่า
    เพราะคำถามมันตอบโดยไปก็อปปี้คำตอบชาวบ้านเอามาลงไม่ได้
    เพราะคำถามมันทำให้คุณต้องคิดเองไม่ใช่ไปลอกชาวบ้านชาวช่อง
    คุณเลยเบี่ยงประเด็นไปนู้นเหมือนผมถามทางไปลาดพร้าวคุณบอกทางไปอยุธยา

    แล้วนะเนี่ย ไปนู้นอีก โอ๊ยคุณจะกราบนั้นนี่หรือไม่แล้วมันมาเกี่ยวอะไรกับผมครับ
    ผมบอกพระพุทธรูปอะไรทำนี้คุณยังไม่กราบเลย เพราะสำหรับคุณคงคงคิดว่าเป็นทองเหลืองมั้ง
    คุณก็เลยพยายามพูดแบบคนละเมอ ให้คนอื่นเลิกกราบเหมือนคุณ
    ผมไม่เคยพูดว่า เฮ้ยปลาไหลอุรุเวลา คุณต้องกราบพระพุทธรูปนะครับ มาอะไรไม่พึงยึดติดด้วยรูปอะไรของคุณอีก
    แถไปนู้นเลย คุณอาการหนักหรือเปล่า
    ถามอย่าแถอย่าง
    อบย่าเบี่ยงประเด็นสิครับ
    ผมถามคุณว่า อะไรคุณอย่าแถไปอีกเรื่อง
    สิคุณใช้คำว่าไอ้... ได้เต็มปากเต็มคำถึงสองครั้ง คุณมันคนเปล่า... คุณอ่านความหมายไม่ออกล่ะสิ
    ผมไม่ได้เรียกในเชิงด่าแบบบุคคลสักหน่อย ก็เหมือนคำว่ามันใช้ได้ทั้งคนสัตว์สิ่งของ ความหมายก็จะต่างออกไปด้วย ผมบอกไอ้พระสูตรที่คุณไปลอกของเขามาลงนะหมายความว่าไงครับ
    คุณไปเข้าใจว่าผมใช้คำว่าไอ้ในการด่า ผมก็สงสัยว่าพระสูตรนี่เป็นคนหรือครับ ถึงเรียกแล้วเป็นการด่าไม่ให้ความเคารพ
    ผมจะได้เรียกคุณพระสูตร พระองค์ท่านพระสูตร จะจับผิดก็ให้มันมีสาระหน่อยสิปลาไหล
    อย่าโชว์ความอ่อนหัด


    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ธันวาคม 2012
  11. มหาวัด

    มหาวัด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +1,892
    โอ๊ย อาการหนัก อ่านหนังสือไม่ออก ผมเชื่อวิทยาศาสตร์ครับ
    เคยบอกไปแล้วนี่
    ถุยเสลด พ่นน้ำหมากผมไม่สนใจ ปัญญาอ่อนครับ
    ไร้สาระ นี่มันยุคเขาไปดาวอังคารกันแล้ว
    **************************************
    โอ๊ยคุณอ่านหนังสือยังไม่ออกเลย
    ผมพูดไปแล้วว่านี่ ว่าผมไม่สนใจ คุรบอกคุณเลิกเล่นเรื่องพวกนี้แล้วผมยังบอกว่าคุณฉลาดขึ้นนะเนี่ย
    ก็ยุคนี้แล้ว จะมาเดรัจฉานวิชาอะไรอีก
    เขาไปสามจีสี่จีกันแล้ว
    คุณละเมออะไรของคุณไปยกพระสูตรมาซะยาว ยกมาทำซากอะไรครับผมหาในกูเกิ้ลเองได้ ไมมีปัญญาตอบ ไม่มีอะไรจะพูดก็ยอมรับมาตรงๆๆเหอะ
    อย่ากลัวเสียฟร์อมเลยมันไม่มีอะไรให้เสียแล้ว อุรุ
    ผมสนใจแค่พระพุทธรูป ผมก็กราบผมกราบคุณความดีของพระพุทธเจ้า
    แล้วแบบนี้เรียกว่าไม่เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรมได้ไง
    คุณเมาปะ
    ใครจะเหมือนคุณล่ะครับ
    เอาพระธรรมมาทำให้วิปริต
    ยกมาทั้งที่ตัวเองอ่านไม่ออก ไม่เข้าใจความหมาย
    แล้วยังอวดดี เที่ยวโต้วาทีวาทะ ลองภูมิคนอื่นไปเรื่อยๆๆ
    แบบคนบ้า ทั้งๆๆที่ตัวเองไม่รู้อะไรเลย
    เห็นอะไรไม่มีในพระไตรปิฏก คุณก็ไปด่าเขาบิดเบือนมั่ว
    ทำอย่างพระพุทธศาสนามีแต่ในพระไตรปิฏกเพียงอย่างเดียว
    ทั้งๆๆที่พระพุทธเจ้าก็บอกอย่าเชื่อตำราคิด ก่อน
    แล้ว ไอ้่ที่คุณยกมานะหมายความว่าอะไร ที่ไปที่มามายังไง
    บาลีว่าไง คุณยังไม่รู้เลย
    ถามที่ไรแถทุกที
    โถ่แล้วมาทำเป็นรู้ พาคนไม่รู้เหมือนกันเข้ารกเข้าพงไปนะสิ
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ธันวาคม 2012
  12. มหาวัด

    มหาวัด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +1,892
    อย่างสูตรนี้ พอเห็นเขาแปลว่าพระพุทธรูป ก็เลยไปเข้าใจว่าหน้าตาเป็นแบบนี้ล่ะสิ
    [​IMG]

    นี่ อ่านยังอ่านไม่เข้าใจอ่านยังอ่านไม่ออกเลย แล้วมาพูด
    ยุคนั้นมีพระพุทธรูปแบบนี้แล้วหรือครับ
    คิดหน่อยสิ ยุคนั้นพวกกรีกเข้าไปในอินเดียแล้วหรือครับ
    ถึงมีพระพุทธรูปแล้ว
    ********************************
    เข้าใจสูตรแบบ เด็กสามขวบ ไม่คิดไม่อะไรทั้งนั้น
    โอ๊ย ผมจะบอกให้ พระพุทธรูปในที่นี้ท่านหมายถึงมหาปุริสลักษณะ
    ของพระพุทธเจ้าองค์ที่ท่านมีตัวตนในอินเดียเมื่อสองพันห้าร้อยปีก่อน
    พระวักกลิท่านไปมองอย่างหลงใหล พระธรรมไม่เรียน
    จนพระพุทธเจ้าต้องไล่ท่านไป ไม่ให้มอง ท่านก็เสียใจว่าพระพุทธเจ้าไม่รักท่าน
    *********************************
    พระพุทธเจ้าก็เลยไปสอนว่า อย่ายินดีในพระพุทธรูป หรือรูปของเราที่มีมหาปุริสลักษณะนี้ รูปที่เรียกว่าพระพุทธเจ้านี้
    แต่ให้ยึดเราที่ธรรม เพราะผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา
    อ่านพระไตรปิฏก แบบวิปริตแบบคุณนี่สิ
    ถึงทำให้เรียกว่ากล่าวตรู่พระธรรม ทำร้ายพระธรรม
    *********************************
    อย่ามาเถียงนะว่า คุณก็เข้าใจแบบที่ผมพูด
    ไม่ใช่เข้าใจว่าพระพุทธเจ้าสอนไม่ให้กราบพระพุทธรูปแบบในภาพ
    ปวดตับจริงๆๆ นี่หรออ่านมาเยอะ ฟังเทศน์มาเยอะ
    แค่เขาพูดว่าอะไรยังจับใจความไม่ออกเลย


    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ธันวาคม 2012
  13. มหาวัด

    มหาวัด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +1,892
    อย่าลืมสองคำถามของผมนะครับตอบไหน
    อย่าแถอีก ตอบให้ตรงประเด็นหน่อย อย่าง่าวให้มันมากนัก
    คุณปลาไหล เดี๋ยวจับส่งรายการเชฟกระทะเหล็กทำเมนูใหม่เลย เมนูนี้ชื่อว่าปลาไหลละเมอเฟ้อเจ้อ ปลาไหลแถ ปลาไหลเกรียน ปลาไหลอวดฉลาดตายเพราะปาก สี่เมนูเลยแหละ

    [​IMG]

    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ธันวาคม 2012
  14. ซงแทฮา

    ซงแทฮา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +386
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ธันวาคม 2012
  15. ลมสุริยะ

    ลมสุริยะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    365
    ค่าพลัง:
    +215
    [​IMG]

    พระประธาน โบสถ์เขาพุทธทอง สวนโมกขพลาราม
     
  16. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ........................ผมมองอย่างนี้นะ...สาวกทุกคนย่อมปวารณาตัวเป็นผู้ศึกษา...(ผู้ศึกษาย่อมศึกษาด้วยภาษาตนได้)ไม่รู้ผมทรงจำคลาดเคลื่อนอย่างไร ถ้า คุณ จขกท หามาได้กรุณานำมาลงแสดงหนอยครับ จะเป็นประโยชน์ต่อ วงกว้าง ถูก ผิด จะได้ ชึ้แจง......:cool:
     
  17. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ภาษาบาลี "ยงฺกิจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมมํ"
    ภาษาบาลีไทย "ยังกิญจิ สมุททะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมัง"
    คำแปล "สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นลวนมีความดับเป็นธรรมดา"
    ภาษาของตน "#@$%^*&"

    ถูกแล้วครับ ผู้มีศรัทธาย่อมทำตัวเป็นผู้ศึกษา ศึกษาจากภาษาตน ภาษาพ่อแม่ ภาษแปล ภาษาธรรม
    ผู้ที่เริ่มศึกษา ย่อมรับทั้งผิดและถูก เมื่อศึกษาไปความเห็นผิดย่อมน้อยลงไปตามลำดับขั้นของการศึกษา
    จากที่ถือทั้งผิดและถูกจะวางความเห็นผิดได้ทั้งหมดยึดแต่สิ่งถูก แต่สิ่งที่ถูกก็ยึดไม่ได้สุดท้ายต้องวางหมดครับ
     
  18. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ...........เมื่อกี้ ผมลองไปดู กระทู้ที่ จขกท สนทนากับพระท่านในกระทู้อื่น ของห้องอภิญญาสมาธิ....เคยคุยเรื่องภาษากันไปแล้ว..ทีนี้ถ้าเราปรุงแต่งกันต่อ(คิด ใช้หัวคิด ถูกผิด ไม่ถือสาเพราะไม่ได้สอนใคร)...คือ พระไตรปิฎก การสังคายนาพระไตรปิฎกเกิดหลังพระปรินิพพาน...ในชั้นนี้คือมีลายลักษณ์อักษร ซึ่งในสมัยพุทธกาล มีการบันทึกคำสอนเป็นลายลักษณ์อักษร หรือการทรงจำอย่างเดียวไม่อาจจะทราบได้(ถ้า จขกท มีข้อมูลเอามาคุยกันหน่อย ผมอยากรู้)....ส่วน อรรถกถาที่ห้ามยกพระวจนะด้วยภาษา สันสกฤติ ให้ ยกตามภาษาเดิม คือ บาลี .....จขกท คิดว่า ตอนนี้เรายกภาษาไทยที่แปลจากบาลี โดยมี บาลีเป็นแม่บท...เปรียบเทียบ แปลความหมาย...เราผิดหรือไม่?(อยากรู้ความเห็น จขกท).......ทีนี้ในบริบทของยุคปัจจุบัน กับ สมัยพุทธกาล มีความต่างเรื่อง....การถ่ายทอดด้วยปากเปล่า...กับการบันทึกเปนลายลักษณ์อักษร เยอะทีเดียว...จขกท มองว่า...เราควรวางตัววางใจต่อการศึกษาด้วยหลักใด?:cool:
     
  19. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    .......จะมองอย่างนี้ได้ใหม?...พระพุทธวจนะ ที่ยกด้วยภาษาไทย ต้องออกตัวว่า นี่คือ คำแปล จากภาษาเดิมคือบาลี เป็นภาษาไทย(แปลความหมาย)...แท้จริงภาษาไทยให้ค่าแค่คำแปลความหมายเท่านั้น...ไม่ได้ยกเป็นพระวจนะดั้งเดิม..พอเข้าใจอย่างนี้ จึงวางท่าทีได้ เหมาะสมขึ้น?....จึงยังสามารถรักษาภาษาเดิม(บาลี)ไว้ได้...ด้วยการโยนิโสมนสิการอย่างนี้ โดยวางเจตนาในการ รักษาภาษาเดิมเป็นอันดับหนึ่ง...:cool:
     
  20. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    การสังคยานาสามครั้งแรกยังเป็นแบบมุขบาฐ มีการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรในการสังคยานาครั้งที่สี่ การยกพุทธวจนยกบาลีก่อน แล้วยกบาลีไทย(สวดแปล) ผมว่าไม่ผิด ยกสลับกันก็ได้ไม่ผิดครับ ขอให้สวดแล้วรู้ความหมาย ได้ประโยชน์ทั้งผู้สวดและผู้ฟังธรรม รักษาทั้งภาษาเขียนและภาษาเดิมไว้

    เราบอกว่าแบบนี้เรียกนั่ง แบบนี้เรียกเดิน บัญญัติเดินว่านั่ง นั่งว่าเดินก็ได้ อยู่กับว่าใครบัญญัติคนแรก พุทธวจนหมายถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า คำสอนแบบพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าห้ามสงฆ์บัญญัติสิ่งที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว พระสงฆ์มีหน้าที่ศึกษาคำสอนที่ทรงบัญญิต ประพฤติตามธรรมและวินัยที่ทรงบัญญัติ

    การถ่ายทอดด้วยปากย่อมดีกว่าการบันทึกเป็นตัวอักษร สมัยก่อนเบอร์โทรศัพท์เรากี่เบอร์กี่สิบเบอร์เราจำได้ แต่เมื่อเราใช้การบันทึก เบอร์ตัวเองยังจำไม่ค่อยได้เลยครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...