สอบถามท่านผู้รู้เกี่ยวกับการพิจารณาข้อที่ว่าด้วย...สัญญาคะ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย รัตนหงษ์, 7 ธันวาคม 2012.

  1. รัตนหงษ์

    รัตนหงษ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +48
    สอบถามท่านผู้รู้หน่อยคะว่า เมื่อท่านพิจารณาขันธ์5 ในข้อสัญญา เห็นการเกิดเป็นสายของขันธ์5 คือ เมื่อรูปปรากฏ เวทนาเกิด สัญญาเกิด สังขารเกิด และวิญญาณเกิด เกิด-ดับเป็นสาย เห็นชัดในขันธ์5 แต่มีสัญญาบางอย่างที่อัดแน่นอยู่ในจิต ซึ่งเป็นผลมาจากความจำได้หมายรู้ตั้งแต่อดีต บางครั้งจากปัจจุบันที่พบเจอ ท่านพิจารณาอย่างไรหรือคะ ครูบาอาจารย์กล่าวว่า ตัดสัญญาให้ขาด เคยสังเกตว่า แม้กระทั่งการดูทีวี ยังเก็บเป็นสัญญาได้ ทั้งๆที่บางครั้งจิตบอกมาอย่างขัดแย้งว่า ไม่ใช่เรื่องที่เราใส่ใจหรือกระทบจิตอย่างรุณแรงเลย แต่ก็เกิดการจำได้หมายรู้และปรุงแต่งเป็นเรื่องราวได้ บางเรื่องลืมไปแล้วด้วยซ้ำว่าเคยผ่านการรับรู้มาแล้ว สัญญาเลยขวางธรรมไปทั้งๆที่ไม่รู้เลยว่า เมื่อเกิดการจำได้หมายรู้เมื่อรูปนั้นมากระทบ สังขารการปรุงแต่งจะทำงานทันที...
    เจ้าของกระทู้โดนสัญญาเก่าๆเล่นงานทุกทีเลย...(^_^)
    พิจารณาผิดพลาดหรือเรียบเรียงผิดไปประการใดขออภัยทุกท่านด้วยนะคะ
     
  2. mailgolf

    mailgolf เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    153
    ค่าพลัง:
    +306
    ฉันทะเป็นมูลเหตุ

    แล้วสัญญาเก่าของใคร สังขารของใคร วิญญาณของใคร

    แล้วใครเล่นงานเจ้าของกระทู้ อิ อิ
     
  3. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ตัวสัญญา นั่นแหละ คือ ธรรม

    เราวิปัสสนา เพื่อให้เห็นตามจริง

    เพื่อให้เห็นว่า ขันธ์ 5 ของเรานี้ ทำงานอย่างไร ตามความเป็นจริง
    มีสติ รู้ตลอดการเกิดดับไปเรื่อยๆ ตามธรรมชาติของมัน

    อะไรจะเกิด อะไรจะดับ ก็เป็นเรื่องธรรมชาติ ตามเหตุปัจจัยที่สะสมมา
    ก็ให้รู้ตามความเป็นจริงไปเท่านั้น อย่าไปแทรกแซงมัน อย่าไปบังคับ ให้สภาวะใดเกิด สภาวะใดดับ เพราะหากบังคับอย่างนั้น เราก็ไม่ได้กำลังตามดูขันธ์ 5 ตามความเป็นจริง แต่กำลังบังคับขันธ์ 5 เมื่อไม่ได้ตามดูตามความเป็นจริง ก็จะไม่เห็นความจริงของขันธ์ 5

    อุปมาอีกอย่าง เหมือนจิตผู้รู้ของเรา เป็นสถานีรถไฟ
    สภาวะทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาให้จิตรับรู้ เป็นขบวนรถไฟ
    ก็ให้เรารู้เห็น ตามความเป็นจริง ว่ารถไฟ ตู้ไหน ขบวนไหน กำลังเล่นผ่านสถานีรถไฟ
    รู้ แต่ไม่ต้องยึดมัน ปล่อยมันไหลผ่านไปเรื่อยๆ ตามสภาพจริงที่เกิด

    เมื่ออุปมาดังนี้ ตัณหา ความอยาก ก็คือการพยายามหยุด ฉุด รั้ง ยึด ให้ตู้รถไฟที่มันต้องแล่นผ่านไป กลับมาหยุดค้างไว้
    และ วิภวตัณหา ก็คือ การพยายามเลือก ขัดขวาง ไม่ให้รถไฟบางขบวน บางตู้ มันมาแล่นผ่านสถานีเรา
    ซึ่งแท้จริงแล้ว สัพเพ ธรรมา อนัตตา ติ
    ธรรมทั้งหลาย ไม่ใช่ตัวตน ไม่อยู่ในบังคับของเรา เราไม่สามารถบังคับสภาวะธรรมเหล่านี้ได้ เมื่อจะไปบังคับมัน ย่อมจะต้องเกิดทุกข์ และ ก่อชาติภพ ตามมา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ธันวาคม 2012
  4. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    ให้สนใจในทุกข์ของสัญญา
    ให้สนใจตรงนี้
    สัญญาเที่ยงมั้ย ไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์มั้ย ถ้าทุกข์เพราะอะไร
    จริงๆแล้วถ้าเราเข้าใจรูปหรือร่างกายเราอย่างเดียวว่ามันเที่ยงมันทุกข์อย่างไร
    และเข้าใจว่าไม่ควรยึดมั่นถือมั่นอย่างไร
    เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็พิจารณาแบบเดียวกัน

    พระอริยเจ้าทุกองค์ก็มีสัญญาความจำ แต่ท่านไม่กลุ้มเรื่องความจำ
     
  5. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    น่าดู อริยสัจสี่....ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค...................ปัญจุปาทานักขันธิ์ หรือขันธิ์5ที่มีอุปาทานเป็นตัวทุกข์.....ตัณหาราคะนันทินั่นเป้นสมุทัยแห่งทุกข์เหตุของทุกข์....ต้องถามว่าทำไมรรคมีองค์แปดถึงคือทางแห่งความดับทุกข์?:cool:............ทำไมทุกขืควรกำหนดรู้...สมุทัยควรละ...นิโรธควรทำให้แจ้ง...และ มรรคควรเจริญ..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 ธันวาคม 2012
  6. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ"ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่าใหนเล่า ควรกำหนดรอบรู้ ด้วยปัญญาอันยิ่ง คำตอบคือ อุปาทานขันธิ์5 ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ รูปเป็นอุปาทานขันธิ์ เวทนาเป็นอุปาทานขันธิื สัญญาเป็นอุปาทานขันธิ์ สังข่ารเป้นอุปาทานขันธิ์ และ วิญญานเป็นอุปาทานขันธิื ภิกษุทั้งหลาย...ธรรมเหล่าใหนเล่าควรละ ด้วยปัญญาอันยิ่ง คำตอบคือ คำตอบคือ อวิชชาและ ภวตัณหา...ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่าใหนเล่า ควรทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่ง คำตอบคือ วิชชาและวิมุติ ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่าใหนเล่า ควรทำให้เจริญ ด้วยปัญญาอันยิ่ง คำตอบคือ สมถะ และ วิปัสนา---อุปริ.ม.14/524/829---มหาวาร.สํ.19/78/291-294....:cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...