เชิญร่วมอนุรักษ์พระกรุครับ

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย Amuletism, 10 พฤศจิกายน 2011.

  1. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    พระบาง กรุวัดดอนแก้ว สีเขียวครก

    [​IMG]

    ภาพนี้นำมาจากหนังสือครับ พระองค์นี้ดูคุ้นๆ ตาจริงๆ
    จำได้ว่าเมื่อก่อน เคยถามผู้ใหญ่ว่า หน้าตาพระ เขากรอแต่งขึ้นมาใหม่ได้ไหม
    เพราะก็เคยได้ยินเรื่องสะกิดตกแต่งเพื่อเรียกราคาเพิ่ม
    ท่านก็บอกว่า หากเป็นพระเนื้ออ่อนก็ทำได้ไม่ยาก แต่หากเป็นเนื้อแข็งก็ยากครับ
    อย่างพระเนื้อดิน ถ้าเป็นสีพิกุล เนื้อก็จะอ่อนกว่า เนื้อเขียวคาบเหลือง
    หากเป็นพระเนื้อสีเขียวครก หรือสีดำ เนื้อจะแกร่งจัด เพราะได้รับความร้อนจากการเผามาก
    การกรอหรือตกแต่งจึงทำได้ยาก เพราะมีโอกาสทำให้พระแตกเสียหายได้สูง
    ได้ฟังอย่างนี้ค่อยสบายใจหน่อยครับ
     
  2. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    วันก่อนไปเดินซื้อหนังสือพระที่ร้านประจำที่พันธ์ุทิพย์
    ไปได้หนังสือพระสกุลลำพูน ของ โจ๊ก ลำพูน มาเล่มหนึ่ง
    เป็นหนังสือที่ผมต้องแนะนำสำหรับท่านที่อยากศึกษาพระสกุลลำพูน
    สุดยอดทั้งเนื้อหาและภาพพระมากมายหลายสภาพให้พิจารณา
    เสียดายตอนที่เขาเปิดจองผมก็ยุ่งๆ เลยไม่ได้จอง
    ตอนนี้ กลายเป็นหนังสือที่เป็นเล่มหลักหายากขึ้นแล้ว
    แถมแพงขึ้นเยอะเลย แต่ผมการยังเชื่อว่าคุ้มค่า
    พระราคาหลักหมื่นหลักแสน ความรู้แค่หลักพัน ไม่แพงหรอกครับ

    บังเอิญไปเจอภาพพระบาง สีเขียวครก องค์ที่เพิ่งเช่ามาอยู่ในหนังสือด้วย
    เลยยิ่งดีใจใหญ่ครับ ผมก็เลยจะนำภาพพระลำพูนบางองค์มาลงในกระทู้เพื่อเป็นความรู้
    อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับข้อมูลและปริมาณภาพในหนังสือแล้วเป็นส่วนน้อยนิด
    จึงแนะนำให้เพื่อนที่สนใจสะสมพระสกุลลำพูน หาซื้อหนังสือเล่มนี้เก็บไว้ ของเขาดีจริงครับ


    [​IMG]

    [​IMG]
     
  3. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
     
  4. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    นานๆ แวะมาที ขอนำภาพพระแท้ดูง่่ายๆ
    มาแบ่งปันให้ชมกันครับ


    พระบาง กรุวัดดอนแก้ว

    [​IMG]
     
  5. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    [​IMG]
     
  6. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    [​IMG]
     
  7. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    [​IMG]
     
  8. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    พระบาง กรุครูขาว (กรุเทศบาล)

    มีภาพลงให้ชมสามองค์ครับ
    อยากให้สังเกตุว่าเนื้อพระจะมีเม็ดกรวดทราย
    สีเหลืองในเนื้อพระอย่างชัดเจน ต่างจากของกรุอื่นๆ


    [​IMG]
     
  9. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    พระบาง กรุครูขาว (กรุเทศบาล)
    พระบางกรุนี้แรกทีเดียวไม่ได้รับความนิยม
    เพราะเนื้อพระ แตกต่างไปจากกรุวัดดอนแก้วและกรุวัดพระคง
    อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม หลังๆมานี้ก็เป็นที่ยอมรับและราคาสูงขึ้นมาก


    [​IMG]
     
  10. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    [​IMG]
     
  11. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    พระบาง กรุวัดพระคงฤาษี
    สังเกตุว่าลำองค์พระจะล่ำและต้อกว่าของกรุวัดดอนแก้ว
    มีลักษณะลำองค์คล้ายพระคงมากกว่า


    [​IMG]
     
  12. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    [​IMG]
     
  13. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    พระบาง กรุวัดพระคงฤาษี
    องค์นี้มองผาดๆ คิดว่าเป็นพระคงเลยนะครับ


    [​IMG]
     
  14. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    [​IMG]
     
  15. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    พระรอด พิมพ์ใหญ่ กรุวัดมหาวัน

    [​IMG]
     
  16. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    พระรอด พิมพ์ใหญ่ กรุวัดมหาวัน

    [​IMG]

    พระรอดวัดมหาวัน พิมพ์ใหญ่ 
             พระรอดพิมพ์นี้ต้องเรียกว่าพิมพ์ใหญ่ ก็เพราะว่า ลักษณะขององค์พระจะมีฐาน 4 ชั้น ซึ่งมีมากกว่าพระรอดพิมพ์อื่นๆ (ที่มีเพียง 3 ชั้นเท่านั้น) ดั้งนั้นถ้าพระรอดมีฐาน 4 ชั้นก็จะต้องเป็นพระรอดพิมพ์ใหญ่เท่านั้น ซึ่งฐาน 4 ชั้น ของพระรอดพิมพ์ใหญ่จะต้องประกอบด้วย ฐานชั้นที่ 1, ชั้นที่ 2, ชั้นที่ 3, และชั้นที่ 4 โดยฐานชั้นที่ 3 และชั้นที 4 จะติดกัน ส่วนด้านล่างสุด เป็นเนื้อเกินที่ล้นพิมพ์ และจะกดพับขึ้นมาชนกับฐานชั้นที่ 4
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 พฤศจิกายน 2012
  17. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    พระรอด พิมพ์ใหญ่ กรุวัดมหาวัน

    [​IMG]
     
  18. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    บทความทั้งหลายที่ คุณ captainzire
    ได้กรุณานำมาลงในกระทู้ของผม
    ผมได้ขออนุญาตนำมาลงกระทู้
    เพื่อประโยชน์ของสมาชิกครับ

    บทความนี้ เป็นมุมมองของฝ่ายที่เห็นต่างครับ
    นำเสนอแนวคิดว่าพระรอด พระคง พระบาง
    น่าจะสร้างคนละยุคกัน

    พระลำพูน พุทธศิลป์ล้านนา

    พระลำพูน ได้รับความนิยมแพร่หลายมาก โดยเฉพาะพระรอด พระคง พระบาง พระเปิม พระลือ พระเลียง หรือพระขนาดใหญ่ เช่น พระสาม พระสิบสอง พระสิบแปด พระกล้วย พระกวาง พระกาบปลี ฯลฯ
    สมัยก่อน ประมาณ พ.ศ.2500 พระรอด และ พระลำพูนพิมพ์อื่นๆ มีความเชื่อจากตำนานว่า พระนางจามเทวี สร้างประมาณ พ.ศ.1223 อายุความเก่าประมาณ 1,300 ปี
    แต่ในทุกวันนี้ มีทฤษฎีใหม่ๆ จากนักวิชาการหลายท่าน ได้กำหนด อายุสมัยการสร้าง ของ พระสกุลลำพูน จากลักษณะของศิลปะ และฝีมืองานช่าง ซึ่งได้รับการยอมรับกันอย่างกว้างขวาง
    อาทิจากข้อเขียนเรื่อง พระลำพูน พระพิมพ์สกุลช่างหริภุญชัย ฉบับพิมพ์ พ.ศ.2538 โดย ณัฏฐภัทร จันทวิช ผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดีของกรมศิลปากร ทำให้นักสะสมพระเครื่องคนรุ่นใหม่ เข้าใจอายุสมัย การสร้างของ พระลำพูน แต่ละพิมพ์ว่า ไม่ได้สร้างพร้อมกัน
    พระลำพูน เช่น พระคง พระบาง พระเปิม เป็นพระพิมพ์ที่แสดงลักษณะศิลปะอินเดีย แบบคุปตะและปาละ น่าจะมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 ส่วน พระรอด พระเลี่ยง พระลือ แสดงลักษณะศิลปะพุกาม ที่ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย ผ่านเข้ามายังหริภุญชัย น่าจะมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 15-16
    ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ความนิยมในพระลำพูน พระคง พระบาง พระเปิม ได้รับความนิยมมากขึ้น และมีราคาสูงขึ้นด้วย เพราะมีอายุความเก่ามากกว่า พระรอด พระเลี่ยง พระลือ
    การพิจารณาพระพิมพ์จากพระองค์จริง พระลำพูนทุกสภาพนับร้อยองค์ คือ พระคง พระคงทรงพระบาง พระขนาดใหญ่ พระสาม พระสิบสอง พระสิบแปด พระกล้วย พระกวาง พระกาบปลี พระกลีบบัว ฯลฯ
    พระบาง กรุวัดดอนแก้ว กรุครูขาว กรุวัดพระคง พระเปิม กรุวัดดอนแก้ว กรุวัดพระธาตุหริภุญชัย กรุวัดจามเทวี พระเลี่ยง กรุวัดประตูลี้ กรุวัดดอนแก้ว กรุวัดมหาวัน

    อ้างอิง ลำพูนพระเครื่อง
     
  19. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    วิธีพิจารณาพระรอด กรุวัดมหาวัน พิมพ์ใหญ่

    1.พระเกศ และพระเมาลีคล้ายฝาชี
    2.พระพักตร์สอบเสี้ยม องค์ติดชัดๆพระเนตรโปนโต พระนาสิกสั้นโต พระโอษฐ์เจ่อ
    3.มีเส้นแตกพาดเฉียงจากพระเนตร มาชนใบโพธิ์
    4.ปลายพระกรรณ ซ้ายมือองค์พระ จะแหลมเป็นตัววี
    5.พระพิมพ์ใหญ่โดยมากจะมีขอบปีกพระ
    6.นิ้วหัวแม่มือขวา องค์พระจะขาด ส่วนปลายนิ้ว 4 นิ้วที่เหลือมักติดชัด
    7.แขนซ้ายองค์พระแบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนกลางมักเห็นเป็นกล้าม
    8.เส้นน้ำตกใต้แขนซ้ายองค์พระ มาโผล่ที่ใต้เข่าอีกจุด และในร่องใต้ฐานอาสนะชั้นบนสุด อาจมีเส้นน้ำตกแผ่วๆ ในแนวเดียวกัน
    9. ร่องใต้ฐานอาสนะชั้นบนสุดจะมีเส้นแซมบางๆหนึ่งเส้น
    10. ฐานอาสนะชั้นล่างสุด มี 3 ชั้น ชั้น 2 และ 3 บางทีติดกันโดยมีร่องตื้นๆ คั่นกลาง
    11. ก้นฐานพระมีรอยบี้และมีรอยนิ้วมือติดอยู่ เกิดจากตอนดันพระออกจากพิมพ์ เป็นแบบนี้ทุกองค์
    12. ต้นแขนขวาองค์พระค่อกเล็กน้อย คล้ายพระคง แต่อาการน้อยกว่า
    13. พระพิมพ์ใหญ่ ส่วนใหญ่จะเห็นปลายพระบาทซ้ายองค์พระคล้ายหัวงูมีร่องปากเล็กๆ ปรากฏ

    ด้านหลัง
    จะปรากฏ รอยกดคลึง และ รอยมือ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 พฤศจิกายน 2012
  20. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    ประวัติการสร้างพระรอด
    พระรอด เป็นพระพิมพ์ขนาดเล็กที่สุดในบรรดาพระเครื่องสกุลลำพูน เป็นพระพิมพ์ที่ทำขึ้นในสมัยพระนางจามเทวี ในสมัยก่อนจะทำพระรอดขึ้นเพื่อแจกจ่ายให้แก่ประชาชนและทหารไว้คุ้มครองรักษา ในยามศึกสงครามและเก็บไว้ที่สูงเพื่อสักการะบูชา พระรอดยังจัดเป็นพระพิมพ์เนื้อดินเผาที่มีอายุเก่าแก่มากที่สุดในประเทศไทย
    ในอดีตกาล เมื่อประมาณพันสามร้อยปีล่วงมาแล้ว คือราว พ.ศ. ๑๒๐๐ เศษ ครั้งกระนั้น เมืองลำพูน หรือที่เรียกกันว่า นครหริภุญไชย มีสภาพเป็นป่าดงพงไพร เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ร้ายนานาชนิดเจ้าของถิ่นเดิมผู้ตั้งรกรากถิ่นฐานอยู่ในแถวนี้ได้แก่ พวกเม็ง (บางแห่งว่าขอมหรือละว้า) ซึ่งอาศัยอยู่กันประปรายทั่วไปในบริเวณรอบๆ เวียงหริภุญไชยปัจจุบันหลักฐานทางตำนานได้กล่าวไว้ว่า สมัยนั้นยังมีฤาษีสองตน นามว่า วาสุเทพฤาษี และสุกกทันตฤาษี ซึ่งทั้งสองเป็นสหายกันได้ปรึกษาหารือตกลงกันที่จะช่วยสร้างเมืองใหม่ โดยเลือกสถานที่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำกวง (สมัยนั้นคงเป็นสาขาหนึ่งของแม่น้ำปิง) เมื่อช่วยกันสร้างเมืองเสร็จเรียบร้อยแล้ว ยังไม่มีผู้จะครอบครองเมือง ฤาษีทั้งสองจึง ตกลงกันให้ไปอัญเชิญพระนางเจ้าจามเทวีราชธิดาของพระเจ้าลพราช เมืองรามะปุระขึ้นมาปกครองเมือง จึงได้ให้ควิยะบุรุษเป็นทูตไปอัญเชิญพระนางจามเทวี ด้วยความเห็นชอบของพระราชบิดา พระนางจามเทวีจึงได้เสด็จมาตามคำอัญเชิญก่อนที่จะเสด็จมาได้ทูลขอสิ่งต่างๆ จากพระราชบิดา เป็นต้นว่า พระสงฆ์ ผู้ทรงไตรปิฏก ๕๐๐ รูป พราหมณาจารย์ โหราราชบัณฑิต แพทย์และช่างต่างๆ อย่างละ ๕๐๐ คน เศรษฐี คหบดีก็ ๕๐๐ คน ทั้งนี้เพื่อให้สำเร็จประโยชน์ และสะดวกสบายใจในการขึ้นครองเมืองใหม่
    เมื่อ พระเจ้าลพราชพระราชทานอนุญาตให้ตามประสงค์ พระนางจามเทวีพร้อมด้วยข้าราชบริพารก็ทูล ลาพระราชบิดา และพระราชสวามี ซึ่งภายหลังทรงออกผนวช (ขณะนั้นพระนางจามเทวีทรงครรภ์ได้ ๓ เดือน จากจามเทวีวงศ์พงศาวดาร เมืองหริภุญไชย) แล้วเสด็จขึ้นมาทางชลมารค (ทางแพ) จนเวลาล่วงไป ๗ เดือนก็บรรลุถึงนครหริภุญไชย หรือนครลำพูน (จากหนังสือจามเทวีวงศ์บอกว่า เมื่อถึงนครหริภุญไชยได้ ๗ วัน ก็ประสูติพระโอรสฝาแฝดทั้งสองพระองค์ นามว่าอนันตยศ และมหันตยศ) หลังจากนั้น พระวาสุเทพฤาษี และสุกกทันตฤาษีพร้อมด้วยประชาชนพลเมืองจึงได้พร้อมใจกันจัดพิธีราชาภิเษก พระนางจามเทวีขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์ เสวยราชสมบัติในเมืองหริภุญไชยนครบนแท่งทองสุวรรณอาสน์ นับตั้งแต่นั้นมาเมืองลำพูนจึงได้สมญานามว่า เมืองนครหริภุญไชย
    เมื่อ พระนางจามเทวีได้เสวยราชสมบัติขึ้นเป็นกษัตริย์ครองเมืองแล้ว จึงได้โปรดชักชวนอาณาประชาราษฏร์ให้สร้างพระอารามใหญ่น้อย ถวายแต่พระรัตนตรัยเพื่อไว้พำนักอาศัยของบรรดาพระภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป ที่ได้อาราธนามาจากเมืองละโว้ แล้วก็อุปถัมภ์บำรุงเอาใจใส่ด้วยจตุปัจจัย มิได้ขาดตลอดมา บรรดาวัดทั้งหลาย ที่สร้างขึ้นนั้นนับเป็นมหาวิหาร มี ๕ วัดด้วยกัน คือ
    ๑.      วัดอรัญญิกรัมมาราม อยู่ด้านตะวันออก ปัจจุบันเรียกว่า วัดดอนแก้ว รวมกับวัดต้นแก้ว
    ๒.      วันมูลการาม อยู่ทางทิศใต้ได้แก่ วันกู่ละมัก (ลมักกัฏฐะ) ปัจจุบันเรียกว่า วัดรมณียาราม
    ๓.      วัดอาพัทธาราม อยู่ด้านทิศเหนือ ปัจจุบันเรียกว่า วัดพระคงฤาษี
    ๔.      มหาลดาราม (โยนก ว่ามหาสฐานราม) อยู่ด้านทิศใต้ ปัจจุบันเรียกว่า วัดสังฆาราม หรือ วัดประตู่ลี้
    ๕.      วัดมหาวนาราม อยู่ด้านทิศตะวันตก ปัจจุบันเรียกว่า วัดมหาวัน
    เมื่อได้สร้างวัดทั้ง ๕ แล้ว พระนางจามเทวีได้สร้างพระพุทธรูปน้อยใหญ่ไว้เป็นจำนวนมาก วัดทั้ง ๕ แห่งจึงเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างดี ทั้งนี้เพราะพระนางเจ้าทรงเอาใจใส่ และมีศรัทธาเลื่อมใส่ในพระบวรพุทธศาสนายิ่งนัก เป็นเอกอัครศาสนูปถัมภกนครหริภุญไชยครั้งกระนั้น จึงมีความเจริญรุ่งเรือง บ้านเมืองก็อยู่ร่มเย็นเป็นสุข อุดมสมบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหารมีความเบิกบานทั่วหน้า
    วาสุเทพ ฤาษี และสุภกทันตฤาษี จึงได้ปรารภกันว่า เมืองลำพูน หรือนครหริภุญไชยนี้มีสตรีเป็นเจ้าผู้ครองนครในอนาคตข้างหน้า อาจมีผู้คิดเบียดเบียนแย่งชิงราชสมบัติไป ฤาษีทั้ง ๒ จึงได้ปรึกษาหารือที่จะจัดสร้างเครื่องรางของขลังไว้เพื่อเป็นที่สักการบูชา ป้องกันรักษาบ้านเมือง และเพื่อเป็นพุทธบูชา จะได้เป็นขวัญและกำลังใจแก่เหล่าเสนาอำมาตย์ และอาณาประชาราษฎร์ สุกกทันตฤาษีและวาสุเทพฤาษีจึงได้ประชุมฤาษี ๑๐๘ ตน แล้วประกอบพิธีสร้างพระสกุลลำพูนขึ้นมาโดยให้ไปจัดหาดินลำพูนทั้ง ๔ ทิศ เอาดินจากใจกลางทวีปทั้ง 5 เอาไม้และรากไม้ที่ทำเป็นยาได้ ๑,๐๐๐ ชนิด พร้อมด้วยว่านยา ๑,๐๐๐ ชนิด และเกสรดอกไม้ ๑,๐๐๐ ชนิด เอามาบดผสมกันให้ละเอียดแล้วปลุกเสกด้วยเวทย์มนต์คาถาอันศักดิ์สิทธิ์ของฤาษีทั้ง ๑๐๘ ตนนั้น แล้วจึงผูกอาถรรพ์ไว้ตรงใจกลางเมือง สร้างพระพิมพ์ขึ้น ๒ ชนิด ชนิดหนึ่งเรียกว่า พระคง เพื่อความมั่นคงของนครหริภุญไชยอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า พระรอด เพื่อความอยู่รอดปลอดภัย เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็สุมไฟด้วยไม้มะฮกฟ้าหรือป่ารกฟ้า เป็นเวลานาน ๗ วัน ๗ คืน แล้วจึงนำพระคงที่เผาแล้วไปบรรจุไว้ที่วัดพระคงฤาษี นำพระรอดบรรจุไว้ใจกลางเมือง คือ วัดมหาวนาราม หรือวัดมหาวันในปัจจุบัน ส่วนพระอื่นๆ บรรจุไว้ในเจดีย์ของวัดต่างๆ ทั้ง ๔ ทิศเพื่อเป็นการผูกอาถรรพ์ และส่วนหนึ่งแจกจ่ายประชาชนและทหารไว้คุ้มครองรักษาตนในยามศึกสงคราม และเก็บไว้ที่สูงเพื่อสักการะบูชา เป็นที่น่าสังเกตว่าเมืองนครหริภุญไชย หรือเมืองลำพูน ไม่เคยมีการถูกรุกรานจากข้าศึก ไพร่ฟ้าประชาชนก็ไม่ต้องหอบเสื่อหมอนพเนจรไปไหนเหมือนกับชาวเมืองอื่นๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...