พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    นกศักดิ์สิทธิ์ ในพิธีศพดึกดำบรรพ์
    -http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1351762484&grpid=03&catid=&subcatid=-


    [​IMG]
    นกศักดิ์สิทธิ์ เป็นลายเส้นบนขอบวงกลมหน้ากลองทองสัมฤทธิ์(มโหระทึก) อายุราว 3,000 ปีมาแล้ว ในวัฒนธรรมดงเซิน พบที่เวียดนาม

    คนในอุษาคเนย์ราว 3,000 ปีมาแล้ว นับถือนกชนิดหนึ่งเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ ดังมีหลักฐานสำคัญเป็นลายเส้นอยู่บนวงกลมหน้ากลองทองสัมฤทธิ์(มโหระทึก) พบในวัฒนธรรมดงเซิน ที่เวียดนาม

    นักมานุษยวิทยาโบราณคดีมักอธิบายว่าลายเส้นรูปนกศักดิ์สิทธิ์ คล้ายนกกระเรียน ลำตัวใหญ่ ปากยาว คอยาว ขายาว หากินตามหนองบึงโดยใช้ปากยาวจิกจับสัตว์ในน้ำ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา ฯลฯ

    แต่เป็นรูปนกกระเรียนจริงหรือเปล่า? ยังถือเป็นยุติไม่ได้

    ที่เห็นพ้องต้องกันได้เพราะมีลายเส้นรูปนกเป็นพยานเห็นแก่ตา คือ คนดึกดำบรรพ์ยกย่องนกเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ใช้ในพิธีกรรมสำคัญ เช่น ขอฝนเพื่อความอุดมสมบูรณ์, ฯลฯ แล้วใช้ในพิธีศพด้วย แต่ใช้เพื่ออะไร? อย่างไร? ยังไม่มีใครศึกษาวิจัยจริงจัง

    ผู้ดีไทยสมัยก่อนเมื่อมีงานศพต้องให้มีปี่พาทย์นางหงส์ประโคม

    ปี่พาทย์นางหงส์ เป็นชื่อสมมติเพื่อเรียกวงประโคมงานศพ ตามประเพณีให้หงส์ส่งวิญญาณขึ้นสู่สรวงสวรรค์ เพราะหงส์เป็นสัตว์มีปีก บินสู่สวรรค์ได้ แล้วเรียกเป็นนางตามประเพณียกย่องเพศหญิงเป็นใหญ่ในพิธีกรรม

    นางหงส์ เป็นชื่อเรียกจังหวะหน้าทับกลองที่ตีกำกับทำนองเพลงประโคมตอนเผาศพ ต่อมาเลยเรียกปี่พาทย์ที่ใช้ประโคมงานศพว่า ปี่พาทย์นางหงส์

    คำว่า "นางหงส์" หมายถึง (นาง)นก(ตัวเมีย) เช่น (อี)แร้ง, (อี)กา, ฯลฯ ตามประเพณีดึกดำบรรพ์ว่า "ปลงด้วยนก" หมายถึงให้แร้งกากินศพแล้วขึ้นฟ้า(สวรรค์) ดังหลักฐานลายเส้นรูปนกบนหน้ากลองทอง(มโหระทึก) ราว 3,000 ปีมาแล้ว

    แต่เมื่อเปลี่ยนคติทำพิธีเผาศพตามอินเดียก็ยังรักษาร่องรอยดั้งเดิม คือให้นางนกแร้ง-กา พาขวัญและวิญญาณสู่ฟ้า กลายเป็น"ผีฟ้า" จึงเรียกนางนกแร้ง-กาอย่างยกย่องว่า "นางหงส์"

    หงส์ตัวเมียให้หงส์ตัวผู้เกาะหลังเมื่อยืนบนพื้นที่จำกัด เป็นสัญลักษณ์ของเมือง หงสาวดีในพม่า จะเกี่ยวข้องอย่างไรกับชื่อปี่พาทย์นางหงส์ ยังไม่พบร่องรอยเชื่อมโยง จึงยังหาข้อยุติไม่ได้

    หากใครอธิบายได้ กรุณาบอกด้วย จะเป็นพระคุณสูงยิ่ง
    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948

    ท่านประธานชมรมพระวังหน้า พึ่งถึงวัดเมื่อกี้นี้เองครับ

    โมทนาบุญกับท่านประธานชมรมพระวังหน้าด้วยครับ

    .
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    วันที่ 04 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ปีที่ 22 ฉบับที่ 8011 ข่าวสดรายวัน


    พระพุทธรูปปางทรงเครื่อง (ปางโปรดพญาชมพูบดี)
    -http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROb1lYQXdOREEwTVRFMU5RPT0=&sectionid=TURNeE53PT0=&day=TWpBeE1pMHhNUzB3TkE9PQ==-

    คอลัมน์ คติ-สัญลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย
    ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์

    [​IMG]

    พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระประธานอยู่ในพระอุโบสถวัดหน้าพระเมรุราชิการาม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นพระพุทธรูปหล่อสัมฤทธิ์ ภายนอกฉาบปูนลงรักปิดทองทรงเครื่องอย่างกษัตริย์หรือจักรพรรดิ

    ลักษณะของการทรงเครื่องจักรพรรดินี้เกิดในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ นับเนื่องหรือหมายเอาว่าพระเจ้าแผ่นดินเป็นหน่อพุทธางกูร หรือพระโพธิสัตว์ผู้จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า



    การสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องจึงหมายถึง พระเจ้าแผ่นดินผู้ปรารถนาจะบรรลุพระนิพพาน

    ในคติมหายานพระพุทธรูปทรงเครื่องจักรพรรดิ มีฐานะเป็นพระไวโรจนพุทธ หรือพระชินพุทธ หรือพระพุทธเจ้าในรูปสัมโภคกายหรือกายทิพย์ ซึ่งมีความหมายว่า ผู้สามารถเอาชนะกิเลสได้อย่างสิ้นเชิง และหมายถึงจุดเริ่มต้นมีธรรมกายหรือกฎสากลสมบูรณ์



    พระพุทธรูปองค์นี้ในพระอุโบสถวัดหน้าพระเมรุฯ มีคำอธิบายว่ามาจากคติของฝ่ายมหายานจากมหาชมพูบดีสูตรปรับแต่งเข้ากับนิทานพื้นบ้านทางภาคเหนือ เป็นปางโปรดพญาชมพูบดีซึ่งเป็นกษัตริย์ผู้มีอำนาจมากในชมพูทวีป ผู้มีความประสงค์ที่จะเป็นผู้ยิ่งใหญ่สูงสุดแต่ผู้เดียว พระพุทธเจ้าเนรมิตกายของพระองค์ให้พญาชมพูบดีเห็นว่ายังมีสิ่งอื่นที่ยิ่งใหญ่กว่า และตรัสเทศนาในมหาชมพูบดีสูตรแก่พญาชมพูบดี



    ในความหมายการแสดงพระธรรมในพระพุทธรูปปางนี้ก็คือคำสอน 3 ประการคือ

    การเห็นสิ่งที่เป็นสาระและมิใช่สาระ

    โทษแห่งการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสังสารหรือคุณแห่งพระนิพพาน



    ความลุ่มหลงในเบญจขันธ์หรืออุปาทานขันธ์ คือความยึดมั่นถือมั่นในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และอารมณ์ ว่าเป็นตัวตนเป็นตัวกูของกู ยึดมั่นในความเชื่อถือตามความคิดของตนแต่ฝ่ายเดียว การยึดมั่นถือมั่นในข้อปฏิบัติในวิถีชีวิตของตนแต่ฝ่ายเดียว และการยึดมั่นถือมั่นในความผูกพันติดใจ ข้องใจ ในความนึกความคิดของตนแต่ฝ่ายเดียว ซึ่งทั้งหมดล้วนไม่เป็นสาระทั้งสิ้น



    นอกจากพระพุทธรูปปางนี้จะแสดงธรรมดังกล่าวข้างต้น รูปลักษณะหรือพุทธศิลป์ของพระพุทธรูปปางนี้เป็นท่านั่งที่เหมือนกับปางมารวิชัย อันมีความหมายถึงการบอกกล่าวแก่ พุทธบริษัท ถึงการพ้นไปจากสังสารวัฏของพระพุทธเจ้า

    แสดงด้วยการชี้พระหัตถ์ลงสู่พื้น เพื่อแสดงว่าพระพุทธเจ้าได้อยู่เหนือโลกหรือเหนือสังสารวัฏแล้ว

    .
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    งานกฐินที่จะนำไปทอดที่วัดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

    ผมรอรายละเอียดจากพี่แอ๊วอยู่

    กำหนดการทอดกฐิน ในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2555

    ส่วนบัญชีที่ใช้โอนเงินร่วมทำบุญ ผมไปเปิดบัญชีมาแล้ว

    บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 878-0-14368-7
    ชื่อบัญชีนายสิทธิพงศ์ สงวนศักดิ์
    บมจ.ธนาคารกรุงไทย สาขาเดอะมอลล์ ท่าพระ

    กติกาในการร่วมทำบุญและขอรับใบอนุโมทนาบัตร

    1.เมื่อโอนเงินเข้าบัญชี ขอให้ท่านแจ้งชื่อ - นามสกุล และที่อยู่มาให้ผมทาง PM (ข้อความส่วนตัว)

    2.แจ้งจำนวนเงินที่ร่วมทำบุญ

    เมื่องานบุญมหากฐินในครั้งนี้เรียบร้อยแล้ว พี่แอ๊วจะเป็นผู้ที่จัดส่งใบอนุโมทนาบัตรให้ทุกๆท่านที่ร่วมทำบุญมหากฐินในครั้งนี้

    หากท่านไม่แจ้งชื่อ - นามสกุล และที่อยู่มาให้ผมทาง PM ผมขอสงวนสิทธิ์ในการจัดส่งใบอนุโมทนาบัตรให้กับท่าน

    3.การร่วมทำบุญ จะมีการร่วมทำบุญกับวัด และหรือ สำนักสงฆ์ และหรือ ที่พักสงฆ์ ซึ่งใบอนุโมทนาบัตรที่ท่านขอไว้ ทางคณะผู้ดำเนินการอาจจะนำไปให้กับทางสำนักสงฆ์ และหรือ ที่พักสงฆ์เป็นผู้ออกใบอนุโมทนาบัตรให้ จะทำให้ท่านไม่สามารถนำใบอนุโมทนาบัตรที่ทางสำนักสงฆ์ และหรือ ที่พักสงฆ์เป็นผู้ออกใบอนุโมทนาบัตรให้นั้น นำไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้ประจำปี แต่หากใบอนุโมทนาบัตรที่ออกโดยวัด ท่านสามารถที่จะนำไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้ประจำปีได้

    ในการดำเนินการไปขอใบอนุโมทนาบัตรนั้น ทางหน่วยทหารในพื้นที่จะเป็นผู้ที่นำรายชื่อไปให้กับทางวัด และหรือ สำนักสงฆ์ และหรือ ที่พักสงฆ์ เป็นผู้ที่ออกใบอนุโมทนาบัตร

    เงินที่ทุกๆท่านร่วมทำบุญ พี่แอ๊วแจ้งว่า จะนำเงินที่ทุกๆท่านที่ร่วมทำบุญเฉลี่ยทำบุญในทุกๆวัด แต่การขอใบอนุโมทนาบัตร จะออกเป็นยอดเงินที่ท่านร่วมทำบุญ (ในการดำเนินการไปขอใบอนุโมทนาบัตรนั้น ทางหน่วยทหารในพื้นที่จะเป็นผู้ที่นำรายชื่อไปให้กับทางวัด และหรือ สำนักสงฆ์ และหรือ ที่พักสงฆ์ เป็นผู้ที่ออกใบอนุโมทนาบัตร ซึ่งท่านจะได้ใบอนุโมทนาบัตรเพียงวัดเดียว และหรือ สำนักสงฆ์แห่งเดียว และหรือ ที่พักสงฆ์แห่งเดียว)

    เมื่องานบุญมหากฐินนี้เสร็จสิ้นลง ผมจะปิดบัญชีนี้ครับ

    ระยะเวลาในการร่วมทำบุญ ตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน 2555 สิ้นสุดวันที่ 19 พฤศจิกายน 2555

    ขอให้ท่านอ่านรายละเอียดด้วยครับ

    รายชื่อผู้ร่วมทำบุญในครั้งนี้
    1.คุณสิทธิพงศ์ สงวนศักดิ์และครอบครัว 500 บาท
    2.คุณปฐม สุขใส และครอบครัว 350 บาท
    3.คุณเฉลิมพล อินทพัฒน์ และครอบครัว 350 บาท
    4.คุณธวัช ดุลย์พิจารย์ และครอบครัว 150 บาท

    โมทนา
    sithiphong
    4/11/2555

    .

    -http://www.tairomdham.net/index.php/topic,4172.msg31656.html#msg31656-
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    กฐินตกค้าง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี 2554

    ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong
    เรียน ท่านประธานชมรมพระวังหน้า , ท่านรองประธานชมรมพระวังหน้า ,ท่านสมาชิกชมรมพระวังหน้า , ท่านผู้สนับสนุนชมรมพระวังหน้า และท่านผู้ที่เคยร่วมทำบุญกับผมทุกๆท่าน

    ผมขอแจ้งวาระงานบุญ กฐินตกค้าง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี 2554

    จากจดหมายของพี่แอ๊วส่งมาให้ผมและคุณPinkcivil

    เรียนคุณหนุ่ม และ คุณPinkcivilค่ะ


    พี่ ส่งรายละเอียดงานบุญใหญ่มาให้ค่ะ ต้องขอโทษด้วยที่ล่าช้า ตามสภาพค่ะตอนนี้ ต้องคอยเช็คสถานการณ์น้ำเป็นระยะๆ เพราะบ้านอยู่ในเขตเสี่ยงเช่นกัน

    ปี นี้ผู้คนลำบากกันมาก พระสงฆ์ก็ยิ่งลำบากใหญ่ แต่ถึงฤดูกาลกฐิน จะมากจะน้อยอย่างไรก็คงต้องดำรงคงไว้ในฐานะที่เป็นพุทธศาสนิกชนนะคะ เราก็เลือกทำบุญที่มีอานิสงส์มากก็แล้วกันค่ะ


    ปี นี้มีมหากฐินโดยเสด็จพระราชกุศลมาให้พวกเราได้ร่วมบุญกันเหมือนปีที่แล้วค่ะ คือกฐินที่ไม่มีเจ้าภาพจองใน 3 จว.ชต. และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถท่านได้เป็นองค์อุปถัมภ์อยู่


    ถือ ว่าเราได้ทำบุญอันยิ่งใหญ่กันนะคะ ปีนี้มีวัดตกค้างอยู่ 84 วัด ( เท่าพระชนมายุของในหลวงพอดีเลยนะคะ ) วัดทั้งหมดมีพระจำพรรษาครบ 5 รูป และพระสงฆ์อยู่ครบไตรมาส ถือว่าถวายกฐิน


    เป็น การสืบต่องานพระพุทธศาสนาตามพระธรรมวินัยนะคะ พระที่ท่านจำพรรษาอยู่ใน 3 จว.ชต. นี้ถือว่าท่านต้องมีกำลังใจสูงมาก เพราะเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อชีวิต และขาดแคลนไปทุกสิ่งทุกอย่าง


    เพราะ คนเข้าไปทำบุญได้ยาก ปีหนึ่งก็คงมีโอกาสที่จะได้รับปัจจัยไทยธรรมสักครั้งให้สมบูรณ์แบบ เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์เป็นค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าภัตตาหารตลอดทั้งปี รวมทั้งค่ายารักษาโรคด้วย


    พี่ ขอรบกวนคุณหนุ่ม ในการบอกกล่าวข่าวบุญนี้ไปยังพี่ๆ น้องๆ เพื่อนๆ ทั้งหลายนะคะ เหลือเวลาร่วมบุญแค่ประมาณ 10 วันเท่านั้นเองค่ะ !!!!


    กราบอนุโมทนา สาธุนะคะ

    ------------------------------------------------------------

    ขอเชิญร่วมมหากุศลเป็นเจ้าภาพร่วมโดยเสด็จพระราชกุศลทอดกฐินตกค้างจำนวน ๘๔ วัด ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้

    ด้วย ในกาลกฐินประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๔ นี้ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้ทรงมอบหมายให้กรมราชองครักษ์ดำเนินการสำรวจวัดที่ยังไม่มีเจ้าภาพจองทอด กฐิน ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ซึ่งพบว่ามีวัดจำนวนทั้งสิ้น ๘๔ วัดยังไม่มีเจ้าภาพจองทอดกฐินในปีนี้ อันเป็นผลกระทบจากการก่อความไม่สงบในพื้นที่ดังกล่าว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าพระกฐิน จำนวน ๘๔ ไตร พร้อมพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวนหนึ่ง ให้กรมราชองครักษ์ คณะทำงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธาในบวรพุทธศาสนา อัญเชิญไปถวายวัดทั้ง ๘๔ วัด ซึ่งมีพระสงฆ์จำพรรษาครบจำนวน ๕ รูป และอยู่ครบถ้วนไตรมาส


    ใน การนี้พระครูปภัสสรวรพินิจ เจ้าอาวาสวัดห้วยมงคล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และพระธวัชชัย ชาครธัมโม ( พระอาจารย์นิล ) ได้รับเป็นเจ้าภาพร่วมในการอัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทาน และการจัดจตุปัจจัยไทยธรรมถวายแด่วัดทั้ง ๘๔ วัด เพื่อร่วมโดยเสด็จพระราชกุศลในครั้งนี้ด้วย


    จึง ขอเรียนเชิญท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลายร่วมเป็นเจ้าภาพมหากุศลครั้งนี้ โดยผู้รับเป็นเจ้าภาพสามารถรับเป็นเจ้าภาพได้ทั้ง ๘๔ วัด โดยร่วมบุญตามกำลังศรัทธา หรือ รับเป็นเจ้าภาพกองกฐินกองละ ๓,๐๐๐ บาท จำนวน ๕๐๐ กอง โดยในเบื้องต้น ทางวัดห้วยมงคลจะได้จัดปัจจัยถวายแต่ละวัด วัดละ ๑๐,๐๐๐ บาท พร้อมผ้าไตรจีวร หากมีผู้ทำบุญมาเกินกว่าจำนวนที่ได้ตั้งไว้ ทางวัดจะจัดปัจจัยเฉลี่ยเท่าๆกันถวายแด่วัดทั้งหมดจำนวน ๘๔ วัด ทั้งนี้เจ้าภาพสามารถร่วมทำบุญโดยเสด็จพระราชกุศลในการร่วมถวายผ้าพระกฐิน พระราชทาน และถวายผ้ากฐินสำหรับทุกวัดด้วย


    สำหรับรายละเอียดและกำหนดการทอดกฐินมหากุศลในครั้งนี้ มีดังนี้


    1. วันอาทิตย์ที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๔
    เวลา ๐๙.๓๐ น. ถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดวังโต้ อ. นาทวี จ. สงขลา จำนวน ๒๐ วัด
    เวลา ๑๓.๐๐ น. ถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดมุจลินทร์ จ. ปัตตานี จำนวน ๓๐ วัด


    2. วันจันทร์ที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๔
    เวลา ๐๙.๓๐ น. ถวายผ้าพระกฐินที่วัดเขากง จ. นราธิวาส จำนวน ๓๔ วัด


    รายชื่อวัด (ตามไฟล์แนบ ผมได้มาเพียง 80 วัดครับ)

    -http://palungjit.org/threads/%E0%B8%81%E0%B8%90%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87-3-%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89-%E0%B8%9B%E0%B8%B5-2554-a.311583/-

    -http://palungjit.org/threads/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2-%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%81-%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89.22445/page-2347#post5260322-
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤศจิกายน 2012
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ความหมายของกฐินและทอดกฐิน


    ตำนานกฐิน


    โดย หลวงวิจิตรวาทการ
    ที่มา http://wangnoi.net/krathin/thamnankrathin.htm
    **********
    ๑. ความหมายของคำต่าง ๆ ที่ใช้ในเรื่องกฐิน

    คำว่า “กฐิน” แปลตามศัพท์ว่ากรอบไม้สำหรับขึงผ้าเย็บจีวรของพระภิกษุ กรอบไม้ชนิดนี้ไทยเราเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “สะดึง” การเย็บจีวรต้องตัดผ้าออกเป็นชิ้น ๆ แล้วเอามาเย็บประสานกันเข้า ให้มีรูปเหมือนเนื้อที่ในนาปลูกข้าว ในการเย็บประสานเช่นนั้น ในครั้งกระโน้นเมื่อช่างเย็บยังไม่ชำนาญพอ และไม่มีเครื่องจักรจะใช้ได้อย่างเวลานี้ ก็ต้องขึงผ้าลงบนกรอบไม้ก่อนแล้วจึงเย็บ กรอบไม้หรือสะดึงนี้ คำบาลีเรียกว่า “กฐิน”

    การที่ผู้มีศรัทธาเอาผ้าไปถวายพระภิกษุในภายหลังวันออกพรรษา ซึ่งเรียกกันว่า “ทอดกฐิน” นั้น ตามหลักการ พระภิกษุจะต้องเอาผ้านั้นมาตัดเย็บย้อมให้เสร็จภายในวันเดียวกัน การที่ต้องเย็บย้อมจีวรผืนใหญ่ให้เสร็จในวันเดียวนั้น เป็นงานหนักมาก และในครั้งกระโน้นเป็นการจำเป็นที่สุด ที่ต้องใช้ไม้สะดึงขึงผ้าในเวลาเย็บ ฉะนั้นพิธีการถวายผ้าอย่างนี้จึงเรียกว่า “กฐิน”

    พิธีการของกฐินมี ๒ ขั้น
    ขั้นที่ ๑ ผู้มีศรัทธานำเอาผ้าไปถวายพระภิกษุ ในระหว่างวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ คือภายหลังวันออกพรรษา จนถึงวันเพ็ญเดือน ๑๒ เรียกว่า “ทอดกฐิน”

    ขั้นที่ ๒ ในวันเดียวกันนั้น พระภิกษุนำเอาผ้า ซึ่งมีผู้ถวายนั้นไปตัดเป็นจีวร หรือเครื่องนุ่งห่มอย่างใดอย่างหนึ่ง เย็บย้อมให้เสร็จภายในวันเดียว แล้วทำพิธีอนุโมทนาเรียกว่า “กรานกฐิน”

    ในการทอด “กฐิน” นั้น ผู้หนึ่งผู้ใดจะทอดในวัดใด ตามธรรมดาต้องบอกกล่าวให้พระภิกษุในวัดนั้นทราบล่วงหน้าเพื่อมิให้คนอื่นมาทอดซ้ำ พิธีบอกล่วงหน้าเช่นนี้ เรียกว่า “จองกฐิน” ถ้าไม่มีการบอกกล่าวล่วงหน้า ไปทอดเฉยๆ เรียก “กฐินจร” หรือ “กฐินโจร”


    การทอดกฐินมี ๒ อย่าง คือ
    ๑. การทำอย่างง่าย คือเอาผ้าที่สำเร็จแล้วไปถวายพระ อย่างที่ทำกันอยู่ในบัดนี้ เรียกว่า “มหากฐิน”

    ๒. การทำอย่างยาก คือเก็บฝ้ายมา ปั่น กรอ สาง ทำเป็นเส้นด้าย ทอเป็นผ้า ตัด เย็บ ย้อม ให้เสร็จภายในวันเดียว เรียกว่า “จุลกฐิน”

    พิธีทอดกฐิน ตามหลักการให้ถวายผ้าแก่ภิกษุรูปเดียว ฉะนั้นเมื่อเวลาเอาไปถวายภิกษุรูปหนึ่งต้องเสนอนามภิกษุผู้ใหญ่ ที่คณะสงฆ์จะเลือกให้เป็นผู้รับผ้านั้นเพื่อทำพิธีกรานกฐินต่อไป การเสนอนามเช่นนี้เรียกว่า “อปโลกนกรรม”

    เมื่อเสนอนามแล้ว และไม่มีผู้คัดค้าน พระภิกษุสงฆ์ ๒ รูป ต้องมาสวดประกาศออกนามภิกษุที่จะให้เป็นผู้รับ เพื่อเสนอขออนุมัติที่ประชุมสงฆ์ให้เป็นผู้รับ และกรานกฐิน พิธีสวดประกาศเช่นนี้เรียกว่า “ญัตติกรรม” คือการเสนอญัตติให้พิจารณาเป็นวาระที่ ๑

    เมื่อได้เสนอญัตติให้พิจารณาเป็นวาระที่ ๑ แล้ว ไม่มีผู้คัดค้าน พระภิกษุ ๒ รูป ก็สวดประกาศซ้ำ มีข้อความคล้ายคลึงกันกับที่สวดในวาระแรก การสวดประกาศซ้ำนี้เรียกว่า “ญัตติทุติยกรรม” คือ เสนอญัตติให้พิจารณาเป็นวาระที่ ๒ และเมื่อไม่มีผู้ใดคัดค้านก็เป็นอันให้พระภิกษุรูปที่ได้รับเสนอนามนั้นเป็นผู้รับผ้าไป และพิธีทอดกฐินก็หมดลงเพียงนั้น ต่อไปเป็นพิธีกรานกฐิน

    พิธีกรานกฐิน เป็น “สังฆกรรม” คือเป็นกิจของสงฆ์โดยเฉพาะ คฤหัสถ์ไม่เกี่ยวข้อง พิธีกรานกฐินต้องทำอย่างไร จะกล่าวโดยพิสดารต่อไปข้างหน้า

    เมื่อได้ทำพิธีกรานกฐินโดยถูกต้องแล้ว ก็ถือว่าเป็นความดีความชอบอันหนึ่งในทางศาสนา และเป็นความดีความชอบของพระสงฆ์เอง (เหตุไรจึงถือเป็นความดีความชอบจะได้อธิบายภายหลัง) เพื่อตอบแทนความดีความชอบอันนี้ พระพุทธเจ้าจึงได้ทรงบัญญัติว่า พระสงฆ์หมู่ใดได้กรานกฐินแล้ว ทำผิดวินัยบางข้อไม่มีโทษ การที่พระภิกษุสงฆ์ได้รับความยกเว้นพิเศษในทางวินัย เพราะเหตุที่ได้กรานกฐินแล้วเช่นนี้ เรียกว่า “อานิสงส์กฐิน”

    อานิสงส์กฐิน คือการที่ได้รับยกเว้นความผิดวินัยบางข้อดังกล่าวมาข้างต้นนั้น มีกำหนดให้เพียง ๔ เดือน พัน ๔ เดือนไปแล้วก็หมดเขตอานิสงส์ คือไม่ได้รับความยกเว้นต่อไปอีก

    แต่ภายในเวลา ๔ เดือนนั้นอาจมีเหตุบางอย่าง (ซึ่งจะกล่าวโดยพิศดารในภายหลัง) มาทำให้หมดเขตอานิสงส์ คือ หมดเขตที่จะได้รับความยกเว้นในความผิดวินัยก่อนครบกำหนด ๔ เดือนได้ การที่มีเหตุใดเหตุหนึ่งมากระทำให้เขตอานิสงส์หมดอายุลงเช่นนี้ เรียกว่า “กฐินเดาะ”

    ๒. ประวัติของกฐิน
    ประวัติของกฐินนั้นมีอยู่ว่า ครั้งหนึ่งภิกษุชาวเมืองปาฐา ประมาณ ๓๐ รูป มีความประสงค์จะไปเฝ้าพระพุทะเจ้า ณ เมืองสาวัตถี จึงพากันเดินทางจากเมืองปาฐาไปสาวัตถี แต่พอไปถึงเมืองสาเกต ซึ่งอยู่ในระยะทางอีก ๖ โยชน์จะถึงสาวัตถี ก็เผอิญถึงวันเข้าพรรษาภิกษุเหล่านั้นจะเดินทางต่อไปไม่ได้ จึงจำพรรษาอยู่ในเมืองสาเกต ในระหว่างจำพรรษามีความร้อนรนอยากเฝ้าพระพุทธเจ้าโดยเร็ว พอออกพรรษาก็ออกเดินทางจากเมืองสาเกต ในเวลานั้นฝนยังตกมากอยู่ ทางเดินก็เป็นโคลนตมเปรอะเปื้อน เมื่อมาถึงเมืองสาวัตถีได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงทราบความลำบากของพระภิกษุเหล่านั้น จึงทรงอนุญาตให้พระภิกษุทำพิธีกรานกฐิน ในระยะเวลาภายหลังวันออกพรรษาแล้วไป ๑ เดือน ภิกษุที่ได้ทำพิธีกรานกฐินแล้ว ย่อมได้รับอานิสงส์ คือความยกเว้นในการผิดวินัย ๕ ประการ เป็นเวลา ๔ เดือน (หมดเขตในวันเพ็ญเดือนสี่) อานิสงส์หรือความยกเว้นทั้ง ๕ ประการนั้น คือ

    ๑. เข้าบ้านได้โดยไม่ต้องลาภิกษุด้วยกัน
    ๒. เดินทางโดยไม่ต้องเอาไตรจีวรไปด้วย
    ๓. ฉันอาหารโดยล้อมวงกันได้
    ๔. เก็บอาหารที่ยังไม่ต้องการใช้ ไว้ได้
    ๕. ลาภที่เกิดขึ้น ให้เป็นของภิกษุผู้จำพรรษาในวัดนั้น ซึ่งได้กรานกฐินแล้ว

    ที่กล่าวนี้เป็นประวัติของกฐิน ซึ่งเก็บความจากพระบาลี แต่ข้อความที่กล่าวข้างต้นนี้ยังเข้าใจยาก และไม่แลเห็นว่าเหตุผลเนื่องถึงกันอย่างไร ฉะนั้นจึงต้องอธิบายขยายความสักเล็กน้อย

    ตามหลักวินัย ภิกษุจะเข้าบ้านต้องบอกลากัน จะเดินทางต้องเอาไตรจีวรไปให้ครบชุดเวลาฉันอาหารต้องนั่งเรียงกัน จะล้อมวงกันไม่ได้ จึงที่เหลือใช้เก็บไว้ได้เพียง ๑๐ วัน ลาภที่เกิดขึ้นต้องให้แก่ภิกษุผู้มีอาวุโส คือที่บวชนานที่สุด ข้อบังคับเหล่านี้ ย่อมเป็นความลำบากแก่ภิกษุทั้งหลายเป็นอันมาก เช่นการเข้าบ้านต้องบอกลากันเสมอไปนั้น ถ้าเผอิญอยู่คนเดียว ไม่มีใครจะรับลา ก็เข้าบ้านไม่ได้ การเดินทางต้องเอาไตรจีวรไปให้ครบ หมายความว่าต้องเอาผ้านุ่งห่มไปให้ครบชุด คือ สบง (ผ้านุ่ง) จีวร (ผ้าห่ม) สังฆาฏิ (ผ้าซ้อนผ้าห่ม) ในครั้งก่อน ภิกษุไม่มีโอกาสได้ผ้าบางเนื้อละเอียดอย่างสมัยนี้เสมอไป ถ้าไปได้ผ้าเปลือกไม้หรือผ้าอะไรชนิดหนา การที่จะนำเอาไปด้วยนั้นไม่เป็นการง่าย ภิกษุ ๓๐ รูปที่เดินทางมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ก็ได้รับความลำบากในเรื่องนี้มาแล้ว การห้ามฉันอาหารล้อมวง และบังคับให้นั่งเรียงกันฉันอาหารนั้น ถ้ามีอาหารน้อยก็ทำความลำบาก เราทราบอยู่แล้วว่าการรับประทานแยกกันย่อมปลีกอาหารมากกว่าการรับประทานรวมกัน เรื่องนี้ภิกษุ ๓๐ รูป ที่เดินทางมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ก็คงได้รับประสบความลำบากเรื่องนี้มา ในระหว่างทางเหมือนกัน เรื่องจีวรที่ไม่ต้องการใช้นั้น ในชั้นเดิมเป็นความมุ่งหมายของพระพุทธเจ้า ที่จะไม่ให้พระภิกษุเก็บสะสมทรัพย์สมบัติ ถ้ามีอะไรเหลือใช้ จะเก็บไว้ไม่ได้ ต้องให้คนอื่นเสีย โดยเฉพาะเรื่องจีวรนี้มีบัญญัติว่า ถ้ามีจีวรเหลือใช้เก็บไว้ได้เพียง ๑๐ วัน พัน ๑๐ วันไปแล้วต้องสละให้คนอื่นไป ถ้าจะไม่สละต้องทำพิธี ๒ อย่าง อย่างหนึ่งเรียกว่า “วิกัป” คือไปทำความตกลงกับภิกษุอีกรูปหนึ่งให้เป็นเจ้าของจีวรด้วยกัน แล้วมอบให้ตนเก็บไว้ อีกอย่างหนึ่งเรียกว่า “อธิษฐาน” คือถ้าจีวรที่เหลือใช้นั้นใหม่กว่าของที่ใช้อยู่ ก็เอามาใช้เสีย แล้วสละของเก่าให้คนอื่นไป การห้ามกวดขันไม่ให้เก็บผ้าจีวรไว้เกินต้องการเช่นนี้ ในบางครั้งก็เกิดความลำบากเช่น ถูกขโมยลักจีวร ซึ่งเคยถูกกันมามากในครั้งพุทธกาล หรือมีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งที่ทำให้จีวรนั้นใช้ไม่ได้ ก็ไม่มีสำรองเสียเลย ในเรื่องลาภที่เกิดขึ้นในวัดนั้น มีข้อบังคับกวดขันว่าให้ได้แก่ภิกษุที่มีพรรษายุกาลมากที่สุด คือที่บวชก่อนคนอื่น ในเรื่องนี้ทำความเดือดร้อนหลายครั้ง เช่นภิกษุอยู่ในวัดเดียวกัน อดอยากมาด้วยกัน มีผู้เอาของมาถวาย และในวันที่มีผู้เอาของมาถวายนั้น เผอิญมีภิกษุจรมาพักอยู่ในวัดนั้นด้วย และภิกษุจรมีพรรษายุกาลมากกว่าภิกษุที่อยู่ในวัด ลาภนั้นก็ต้องตกเป็นของภิกษุที่จรมา ส่วนภิกษุที่อยู่ในวัดก็ไม่มีส่วนได้

    ความขัดข้องลำบากเกิดจากทางวินัยอย่างนี้ พระพุทธเจ้าได้ทรงเห็นมานานแล้ว แต่วินัยของพระพุทธเจ้าไม่เหมือนกฎหมาย คือกฎหมายที่บัญญัติไว้แล้ว ถ้ารู้สึกว่าไม่ดีก็ประกาศเลิก และบัญญัติใหม่ ส่วนวินัยของพระพุทธเจ้าประกาศเลิกไม่ได้ ได้แต่งดชั่วคราว หรือมีข้อยกเว้นพิเศษให้ เมื่อได้ทรงเห็นความลำบากของภิกษุที่มาเฝ้า ทรงเห็นชัดว่าควรให้ความยกเว้นในเรื่องหอบหิ้วเอาไตรจีวรมา และทรงยกเว้นในข้อนี้ ก็เลยทรงประทานข้อยกเว้นอื่น ๆ ที่ทรงดำริมาแล้วแต่ก่อนด้วย จึงเกิดมีข้อยกเว้นขึ้น ๕ ข้อดังกล่าวมาข้างต้น

    แต่การที่งดใช้วินัยชั่วคราว หรือให้ความยกเว้นเป็นพิเศษนั้น จะให้กันเฉยๆ ไม่ได้ พระภิกษุต้องได้ทำความดีอันใดอันหนึ่ง จึงจะได้รับความยกเว้น ฉะนั้นการที่จะให้ภิกษุได้รับความยกเว้นในข้อนี้ พระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติให้มีพิธีกรานกฐิน พิธีกรานกฐินต้องถือเป็นความดีความชอบอย่างหนึ่ง เพราะการทำจีวรในสมัยนั้นไม่ใช่ของง่าย ๆ ตามปกติเวลามีการทำจีวร ภิกษุย่อมได้รับความยกเว้นในวินัยหลายข้ออยู่แล้ว เมื่อต้องมาทำจีวรโดยรีบร้อนให้เสร็จในวันเดียว และตกเป็นสมบัติของคณะสงฆ์อีกเช่นนี้ ก็ควรเป็นความชอบที่พึงได้รับความยกเว้นในวินัย

    ประเพณีทอดกฐิน : ตำนาน ความหมาย และอานิสงส์
    หลังจากวันออกพรรษาเป็นเวลา ๑ เดือน คือ ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ จนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ หรือจำง่ายๆ ว่า ตั้งแต่วันตักบาตรเทโวจนถึงวันลอยกระทง เป็นช่วงเวลาที่เรียกว่า "เทศกาลกฐิน" . . .

    ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันที่ ๑๙ ตุลาคม -๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ เมื่อพูดถึง “กฐิน” คนส่วนใหญ่คงคุ้นเคยกับซองทำบุญที่ได้รับในช่วงนี้ แต่เรื่องราวเกี่ยวกับ กฐิน ว่ามีตำนาน ความหมาย อย่างไร เชื่อว่าคงรู้กันไม่มากนัก ดังนั้น กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จึงขอนำมาเสนอให้ได้ทราบ ดังต่อไปนี้


    ตำนานความเป็นมา
    มีตำนานเล่าว่าในครั้งพุทธกาล ครั้งหนึ่งภิกษุชาวเมืองปาฐา ประมาณ ๓๐ รูป ถือธุงดงควัตรอย่างยิ่งยวด มีความประสงค์จะเฝ้าพระพุทธเจ้าซึ่งขณะนั้นประทับอยู่กรุงสาวัตถี จึงพากันเดินทางไป พอไปถึงเมืองสาเกตก็เป็นวันเข้าพรรษาพอดี จึงต้องจำพรรษาอยู่ที่นั่นตามพระวินัย ครั้นออกพรรษาปวารณาแล้วก็รีบเดินทางไปเฝ้า ระหว่างทางฝนตก หนทางเป็นโคลนตม ต้องบุกลุยไปจนถึงกรุงสาวัตถี ได้รับความลำบากมาก ครั้งได้เฝ้าฯ พระพุทธองค์ทรงมีปฏิสันถารถึงเรื่องจำพรรษาและการเดินทาง ภิกษุเหล่านั้นก็ได้ทูลถึงความตั้งใจที่จะมาเฝ้า และความยากลำบากในการเดินทางให้ทรงทราบ พระพุทธเจ้าจึงทรงมีพระพุทธานุญาตให้พระภิกษุผู้จำพรรษาครบถ้วนแล้วกรานกฐินได้ และจะได้รับอานิสงส์จากพระวินัยบางข้อ (กรานกฐิน เป็นพิธีฝ่ายภิกษุที่ได้รับมอบผ้ากฐิน แล้วนำผ้าที่ได้ไปตัดเย็บย้อมทำเป็นจีวรผืนใดผืนหนึ่ง)

    ความหมาย
    คำว่า "กฐิน" มีความหมายเกี่ยวเนื่องถึง ๔ ประการ คือ
    ๑. เป็นชื่อของกรอบไม้ อันเป็นแม่แบบสำหรับทำจีวร ที่อาจเรียกว่า "สะดึง" เนื่องจากสมัยพุทธกาล การทำจีวรให้มีลักษณะตามกำหนดกระทำได้โดยยาก จึงต้องทำกรอบไม้สำเร็จรูปไว้ให้เป็นอุปกรณ์ในการทำผ้านุ่ง/ผ้าห่ม/ผ้าห่มซ้อนที่รวมเรียกว่า จีวร ผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ (ผ้านุ่งพระ เรียกสบง /ผ้าห่ม เรียกจีวร /ผ้าห่มซ้อน เรียกสังฆาฎิ) โดยพระสงฆ์จะช่วยกันทำโดยอาศัยแม่แบบนี้ เมื่อทำเสร็จและพ้นกำหนดกาลแล้วก็จะรื้อไม้แม่แบบเก็บไว้ใช้ในปีต่อๆ ไป การรื้อไม้แม่แบบเพื่อเก็บไว้ใช้ในโอกาสหน้านี้เรียกว่า "เดาะ" หรือ "กฐินเดาะ" (เดาะกฐินก็เรียก)
    ๒. เป็นชื่อของผ้า ที่ถวายแก่สงฆ์เพื่อทำจีวรตามแบบหรือกรอบไม้นั้น และต้องถวายตามกำหนดเวลา ๑ เดือนดังกล่าว ซึ่งผ้านี้จะเป็นผ้าใหม่ ผ้าเก่าฟอกสะอาดหรือผ้าบังสุกุล (ผ้าที่เขาทิ้งแล้ว) ก็ได้ ผู้ถวายจะเป็นคฤหัสถ์หรือภิกษุ สามเณรก็ได้ ถวายแก่สงฆ์แล้วเป็นอันใช้ได้
    ๓. เป็นชื่อของบุญกิริยา คือ การทำบุญถวายผ้ากฐินเพื่อให้สงฆ์ทำเป็นจีวร ซึ่งต้องเป็นพระสงฆ์ผู้จำพรรษาอยู่ในวัดใดวัดหนึ่งครบ ๓ เดือน ทั้งนี้ เพื่อสงเคราะห์ผู้ประพฤติชอบให้มีผ้านุ่งหรือผ้าใหม่ผลัดเปลี่ยนของเก่าที่จะขาดหรือชำรุด การทำบุญถวายผ้ากฐินหรือที่เรียกกันติดปากว่า "ทอดกฐิน" ก็คือการทอดหรือวางผ้าลงไป แล้วกล่าวคำถวายในท่ามกลางสงฆ์ และต้องทำในเวลาที่กำหนด ๑ เดือนที่ว่า ถ้าทำก่อนหรือหลังไม่ถือว่าเป็นกฐิน
    ๔. เป็นชื่อของสังฆกรรม คือ กิจกรรมของสงฆ์ที่จะต้องมีการสวดประกาศขอรับความเห็นชอบจากที่ประชุมสงฆ์ในการมอบผ้ากฐินให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง


    ประเภทของกฐิน
    แยกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ คือ ๑. กฐินหลวง ๒. กฐินราษฎร์
    ๑. กฐินหลวง มีประวัติว่าเมื่อพระพุทธศาสนาได้แพร่หลายมาประดิษฐานในประเทศไทย และประชาชนชาวไทยได้นับถือพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ การทอดกฐินก็ได้กลายเป็นประเพณีของบ้านเมืองมาโดยลำดับ และพระเจ้าแผ่นดินผู้ปกครองบ้านเมืองก็ได้ทรงรับเรื่องกฐินเป็นพระราชพิธี อย่างหนึ่ง การที่พระเจ้าแผ่นดินทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเกี่ยวกับกฐินเป็นพระราชพิธีดังกล่าว เป็นเหตุให้เรียกกันว่า กฐินหลวง ดังนั้น วัดใดก็ตามไม่ว่าวัดหลวงหรือวัดราษฎร์ที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปทรงถวายผ้าพระกฐินแล้ว ก็เรียกว่า กฐินหลวงทั้งสิ้น แต่สมัยต่อมากฐินหลวงได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามภาวะการณ์ของบ้านเมือง เช่น ประชาชนมีศรัทธา เจริญรอยตามพระราชศรัทธาของพระเจ้าแผ่นดินและได้รับพระกรุณาให้ถวายผ้าพระกฐินตามควรแก่ฐานะ กฐินหลวงปัจจุบันจึงได้แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
    ๑.๑ กฐินที่กำหนดเป็นพระราชพิธี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินด้วยพระองค์เอง หรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ หรือองคมนตรีเป็นผู้แทนพระองค์ไปถวายเป็นประจำ ณ วัดสำคัญๆ ปัจจุบันมี ๑๖ วัด เช่น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ วัดสุทัศน์เทพวราราม วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นต้น
    ๑.๒ กฐินต้น หมายถึง กฐินที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดที่มิใช่วัดหลวงและมิได้เสด็จไปอย่างเป็นทางการหรืออย่างเป็นพระราชพิธีแต่เป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลส่วนพระองค์
    ๑.๓ กฐินพระราชทาน เป็นกฐินที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานผ้าของหลวงแก่ผู้ที่กราบบังคมทูลขอพระราชทานไปถวายยังวัดหลวง ที่นอกเหนือไปจากวัดสำคัญ ๑๖ วัดที่กำหนดไว้ เหตุที่มีกฐินพระราชทาน ก็เพราะปัจจุบันวัดหลวงมีจำนวนมาก จึงเปิดโอกาสให้กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ตลอดจนคณะบุคคลต่างๆ ที่สมควรขอพระราชทานผ้าพระกฐินไปถวายได้ ซึ่งกฐินดังกล่าวส่วนใหญ่ก็คือกฐินที่หน่วยงานราชการต่างๆ นำไปถวายนั่นเอง ทั้งนี้ ผู้ที่จะรับพระราชทานผ้ากฐินไปถวาย ณ วัดหลวงวัดใดต้องติดต่อไปยังกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ตามระเบียบเพื่อเป็นการจองไว้ก่อนด้วย

    ๒. กฐินราษฎร์ หมายถึง กฐินที่ราษฎรหรือประชาชนผู้มีศรัทธานำผ้ากฐินของตนไปถวายตามวัดต่างๆ ยกเว้นวัดหลวง ๑๖ วัดที่กล่าวไว้แล้ว ซึ่งจะมีชื่อเรียกต่างๆ ตามลักษณะของการทอด คือ
    ๒.๑ กฐินหรือมหากฐิน เป็นกฐินที่ราษฎรนำไปทอด ณ วัดใดวัดหนึ่งที่ตนศรัทธาเป็นการเฉพาะ ผ้าที่เป็นองค์กฐินจะเป็นผืนเดียวหรือหลายผืนก็ได้ จะเย็บแล้วหรือไม่ก็ได้ แต่ปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็นผ้าสำเร็จรูปแล้ว และนิยมถวายของอื่นๆ ที่เรียกว่า บริวารกฐิน ไปพร้อมกับองค์กฐินด้วย เช่น เครื่องอุปโภค บริโภคของพระภิกษุสงฆ์ อย่างหมอน โอ่งน้ำ เตา ไม้กวาด จอบ เสียบ อาหาร ยาต่างๆ เป็นต้น
    ๒.๒ จุลกฐิน เป็นกฐินที่ต้องทำด้วยความรีบเร่ง เดิมเรียกแบบไทยๆ ว่า กฐินแล่น เจ้าภาพที่จะทอดกฐินเช่นนี้ได้ต้องมีพวกและกำลังมาก เพราะต้องเริ่มตั้งแต่ปั่นฝ้ายเป็นด้าย ทอด้ายให้เป็นผ้า ตัดผ้าและเย็บผ้าเป็นจีวร ย้อมสี และต้องทอดภายในวันนั้น และพระสงฆ์ก็ต้องกรานและอนุโมทนาในวันนั้นๆ ด้วย เรียกว่าเป็นกฐินที่ต้องทำทุกอย่างให้เสร็จภายในวันเดียว
    ๒.๓ กฐินสามัคคี เป็นกฐินที่มีเจ้าภาพหลายคนร่วมกัน ไม่จำเป็นว่าใครบริจาคมากน้อย แต่มักตั้งเป็นคณะทำงานขึ้นมาดำเนินการและมีหนังสือบอกบุญไปยังผู้อื่น เมื่อได้ปัจจัยมาเท่าไรก็จัดผ้าอันเป็นองค์กฐิน รวมทั้งบริวารไปทอด ณ วัดใดวัดหนึ่งที่จองไว้ ซึ่งกฐินชนิดนี้เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เพราะนอกจากทำบุญกฐินแล้ว ยังนำปัจจัยที่เหลือไปช่วยทำนุบำรุงวัด เช่น ก่อสร้างศาสนสถาน บูรณะปฎิสังขรณ์โบสถ์ เจดีย์ เป็นต้น
    ๒.๔ กฐินตกค้าง หรือ กฐินโจร กล่าวคือในท้องถิ่นที่มีวัดมากๆ อาจจะมีวัดตกค้างไม่มีใครไปทอด จึงมีผู้มีจิตศรัทธาเสาะหาวัดอย่างนี้ แล้วนำกฐินไปทอด ซึ่งมักจะเป็นวันใกล้สิ้นเทศกาลกฐินหรือวันสุดท้าย จึงเรียกว่า กฐินตกค้าง หรืออาจเรียกว่า กฐินโจร เพราะกิริยาอาการที่ไปทอดอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัว จู่ๆ ก็ไปทอด ไม่บอกกล่าวล่วงหน้าให้วัดรู้เพื่อเตรียมตัวคล้ายโจรบุก ซึ่งกฐินแบบนี้ต่างกับกฐินอื่นคือ ไม่มีการจองล่วงหน้า และจะทอดเฉพาะวัดที่ยังไม่มีใครทอด จะทอดหลายวัดก็ได้ และสามารถเอาของไทยธรรมที่เหลือจากวัดที่ไม่ได้ทอด (กรณีไปหลายวัด) ไปจัดเป็นผ้าป่า เรียกว่า "ผ้าป่าแถมกฐิน" ก็ได้


    อานิสงส์หรือผลดีของการทอดกฐิน
    การทอดกฐิน ถือเป็นการทำบุญพิเศษที่ทำได้เพียงปีละครั้ง และต้องอยู่ภายในกำหนดเวลาหนึ่งเดือนตามพุทธบัญญัติ ดังนั้น อานิสงส์หรือผลดีจึงมีหลายประการ กล่าวคือ ได้สงเคราะห์พระสงฆ์ผู้จำพรรษาให้ได้ผ้านุ่งห่มใหม่ ได้ชื่อว่าทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา สร้างกุศลจิตแก่ผู้ทำบุญเพราะทำด้วยความเลื่อมใสศรัทธา อีกทั้งการทอดกฐินยังก่อให้เกิดความสามัคคี เป็นการร่วมมือกันทำคุณงามความดี และหากการถวายกฐินนั้น มีส่วนในการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม ก็จะได้ชื่อว่ามีส่วนช่วยรักษาศาสนสถานและศาสนวัตถุให้ยั่งยืนต่อไป



    -ความหมายของกฐินที่เกี่ยวข้องกันดังนี้@:-


    -กฐินที่เป็นชื่อของกรอบไม้กรอบไม้แม่แบบสำหรับทำจีวร ซึ่งอาจเรียกว่าสะดึงก็ได้เนื่องจากในครั้งพุทธกาลการทำจีวรให้มีรูปลักษณะตามที่กำหนดกระทำได้โดยยากจึงต้องทำกรอบไม้สำเร็จรูปไว้เพื่อเป็นอุปกรณ์สำคัญในการทำเป็นผ้านุ่งหรือผ้าห่มหรือผ้าห่มซ้อนที่เรียกว่าจีวรเป็นส่วนรวม ผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ในภาษาไทยนิยมเรียก ผ้านุ่ง ว่า สบง, ผ้าห่ม ว่า จีวร และ ผ้าห่มซ้อน ว่าสังฆาฏิ

    -กฐินที่เป็นชื่อของผ้าหมายถึงผ้าที่ถวายให้เป็นกฐินภายในกำหนดกาล 1 เดือน นับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ผ้าที่จะถวายนั้นจะเป็นผ้าใหม่หรือผ้าเทียมใหม่ เช่น ผ้าฟอกสะอาด หรือผ้าเก่า หรือผ้าบังสุกุลคือผ้าที่เขาทิ้งแล้วและเป็นผ้าเปื้อนฝุ่นหรือผ้าที่มีผู้ถวายจะเป็นคฤหัสถ์ก็ได้เป็นภิกษุหรือสามเณรก็ได้ ถวายแก่สงฆ์แล้วก็เป็นอันใช้ได้

    -กฐินที่เป็นชื่อของบุญกิริยาคือการทำบุญคือการถวายผ้ากฐินเป็นทานแก่พระสงฆ์ผู้จำพรรษาอยู่ในวัดใดวัดหนึ่งครบไตรมาสเพื่อสงเคราะห์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบให้มีผ้านุ่งหรือผ้าห่มใหม่จะได้ใช้ผลัดเปลี่ยนของเก่าที่จะขาดหรือชำรุด การทำบุญถวายผ้ากฐินหรือที่เรียกว่า ทอดกฐินคือทอดหรือวางผ้าลงไปแล้วกล่าวคำว่าถวายในท่ามกลางสงฆ์ เรียกได้ว่าเป็นกาลทาน คือการถวายก่อนหน้านั้น หรือหลังจากนั้นไม่เป็นกฐินท่านจึงถือโอกาสทำได้ยาก

    -กฐินที่เป็นชื่อของสังฆกรรมคือกิจกรรมของสงฆ์ก็จะต้องมีการสวดประกาศขอรับความเห็นชอบจากที่ประชุมสงฆ์ในการมอบผ้ากฐินให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเมื่อทำจีวรสำเร็จแล้วด้วยความร่วมมือของภิกษุทั้งหลายก็จะได้เป็นโอกาสให้ได้ช่วยกันทำจีวรของภิกษุรูปอื่น ขยายเวลาทำจีวรได้อีก 4 เดือนทั้งนี้เพราะในสมัยพุทธกาลการหาผ้า การทำจีวรทำได้โดยยากไม่ทรงอนุญาตให้เก็บสะสมผ้าไว้เกิน ๑๐ วันแต่เมื่อได้ช่วยกันทำสังฆกรรมเรื่องกฐินแล้วอนุญาตให้แสวงหาผ้าและเก็บไว้ทำเป็นจีวรได้จนตลอดฤดูหนาว คือจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 4


    - ที่มาของประเพณีทอดกฐิน @:-


    ในสมัยพุทธกาล ภิกษุชาวเมืองปาไฐยรัฐจำนวน ๓๐ รูป เดินทางมาเฝ้าพระศาสดา แต่ไม่ทันวันเข้าพรรษา จึงจำพรรษา ณ เมืองสาเกตุในระหว่างทาง พอออกพรรษาฝนยังตกชุกอยู่ ภิกษุเหล่านั้นก็เดินทางมาเข้าเฝ้าพระศาสดาด้วยความลำบาก
    ระยะนั้นมีฝนตกชุก หนทางที่เดินชุ่มไปด้วยน้ำ เป็นโคลนเป็นตม ต้องบุกต้องลุยมาจนกระทั่งถึงกรุงสาวัตถีพระศาสดาตรัสถามถึงความเป็นอยู่และการเดินทางภิกษุเหล่านั้นจึงกราบทูลให้ทรงทราบจากนั้นพระพุทธองค์ทรงมีพุทธานุญาตให้มีการถวายผ้ากฐินแก่ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาครบถ้วนไตรมาสโดยกำหนดระยะเวลา คือ นับจากวันออกพรรษาตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เป็นระยะเวลา 1 ดือน กฐินจึงได้ชื่อว่าเป็นกาลทาน





    - ความพิเศษของกฐินทาน @:-



    ในปีหนึ่ง แต่ละวัดสามารถรับกฐินได้เพียงครั้งเดียว นอกจานั้นแล้วกฐินทานก็มีความพิเศษแตกต่างจากทานอย่างอื่น ได้แก่


    1. จำกัดประเภททาน คือ ต้องถวายเป็นสังฆทานเท่านั้น จะถวายเฉพาะเจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเหมือนทานอย่างอื่นไม่ได้
    2. จำกัดเวลา คือ ต้องถวายภายในระยะเวลา 1 เดือน นับแต่วันออกพรรษาเป็นต้นไป
    3. จำกัดงาน คือ พระภิกษุที่กรานกฐินต้องตัด เย็บ ย้อม และครองให้เสร็จภายในวันที่กรานกฐิน
    4. จำกัดไทยธรรม คือ ผ้าที่ถวายต้องถูกต้องตามลักษณะที่สงฆ์กำหนดไว้
    5. จำกัดผู้รับ คือ พระภิกษุผู้รับกฐิน ต้องเป็นผู้ที่จำพรรษาในวัดนั้นโดยไม่ขาดพรรษา และมีจำนวนไม่น้อยกว่า 5 รูป
    6. จำกัดคราว คือ วัดๆ หนึ่งรับกฐินได้เพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น
    7. เป็นพระบรมพุทธานุญาตทานอย่างอื่นทายกทูลขอให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาตเช่นมหาอุบาสิกาวิสาขาทูลขออนุญาตถวายผ้าอาบน้ำฝนแต่ผ้ากฐินนี้พระองค์ทรงอนุญาตเอง นับเป็นพระพุทธประสงค์โดยตรง






    - อานิสงส์จากการทำบุญทอดกฐิน @:-


    1. ทำให้เกิดมาในตระกูลที่ดี มีสัมมาทิฐิ
    2. ทำให้ได้ลักษณะที่งดงามสมส่วน
    3. ทำให้มีผิวพรรณงดงาม
    4. ทำให้มีทรัพย์สมบัติมาก ไม่ลำบากในการแสวงหาทรัพย์
    5. เมื่อละโลกแล้วย่อมไปบังเกิดในสวรรค์


    -http://www.suttivari.8k.com/katin.htm-

    .
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๘
    ปริวาร
    กฐินเภท

    ว่าด้วยกฐินไม่เป็นอันกรานเป็นต้น

    [๑๑๒๔] กฐินใครไม่ได้กราน? กฐินใครได้กราน? กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการอย่างไร? กฐินเป็นอันกรานด้วยอาการอย่างไร?



    กฐินไม่เป็นอันกราน

    [๑๑๒๕] คำว่า กฐินใครไม่ได้กราน นั้น ความว่า กฐิน บุคคล ๒ พวก คือภิกษุผู้ไม่ได้กราน ๑ ภิกษุผู้ไม่อนุโมทนา ๑ ไม่เป็นอันกรานกฐิน บุคคล ๒ พวกนี้ ไม่เป็น อันกราน.



    กฐินเป็นอันกราน

    [๑๑๒๖] คำว่า กฐินใครได้กราน นั้น ความว่า กฐิน บุคคล ๒ พวกนี้ คือภิกษุผู้กราน ๑ ภิกษุผู้อนุโมทนา ๑ เป็นอันกราน กฐิน บุคคล ๒ พวกนี้ เป็นอันกราน.



    เหตุที่กฐินไม่เป็นอันกราน

    [๑๑๒๗] คำว่า กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการอย่างไร นั้น คือ กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการ ๒๔ คือ:-
    ๑. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงขีดรอย
    ๒. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงซักผ้า
    ๓. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงกะผ้า
    ๔. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงตัดผ้า
    ๕. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงเนาผ้า
    ๖. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงเย็บด้น
    ๗. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงทำลูกดุม
    ๘. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงทำรังดุมให้มั่น
    ๙. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงประกอบผ้าอนุวาต
    ๑๐. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงประกอบผ้าอนุวาตด้านหน้า
    ๑๑. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงดามผ้า
    ๑๒. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงย้อมเป็นสีหม่น
    ๑๓. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงผ้าที่ทำนิมิตได้มา
    ๑๔. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่พูดเลียบเคียงได้มา
    ๑๕. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ยืมเขามา
    ๑๖. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่เก็บไว้ค้างคืน
    ๑๗. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่เป็นนิสสัคคิยะ
    ๑๘. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่มิได้ทำกัปปะพินทุ
    ๑๙. กฐินไม่เป็นอันกราน เว้นผ้าสังฆาฏิ
    ๒๐. กฐินไม่เป็นอันกราน เว้นผ้าอุตราสงค์
    ๒๑. กฐินไม่เป็นอันกราน เว้นผ้าอันตรวาสก
    ๒๒. กฐินไม่เป็นอันกราน เว้นจีวรมีขันธ์ ๕ หรือเกินกว่า ๕ ซึ่งตัดดีแล้ว ทำให้มีมณฑล เสร็จในวันนั้น
    ๒๓. กฐินไม่เป็นอันกราน นอกจากบุคคลกราน
    ๒๔. กฐินไม่เป็นอันกรานโดยชอบ ถ้าภิกษุผู้อยู่นอกสีมา อนุโมทนากฐินนั้นกฐินไม่เป็นอันกราน แม้ด้วยอาการอย่างนี้.



    อธิบายเหตุที่ไม่ได้กรานบางข้อ

    [๑๑๒๘] ที่ชื่อว่า ทำนิมิต คือ ภิกษุทำนิมิตว่า เราจักกรานกฐินด้วยผ้าผืนนี้.ที่ชื่อว่า พูดเลียบเคียง คือ ภิกษุพูดเลียบเคียงด้วยคิดว่า จักยังผ้ากฐินให้เกิดด้วย การพูดเลียบเคียงนี้.
    ผ้าที่ทายกไม่ได้หยิบยกให้ เรียกว่าผ้ายืมเขามา.
    ที่ชื่อว่า ผ้าเก็บไว้ค้างคืน มี ๒ อย่าง คือ ผ้าทำค้างคืน ๑ ผ้าเก็บไว้ค้างคืน ๑.
    ที่ชื่อว่า ผ้าเป็นนิสสัคคิยะ คือ ภิกษุกำลังทำอยู่ อรุณขึ้นมา.
    กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการ ๒๔ อย่างนี้.



    เหตุที่กฐินเป็นอันกราน

    [๑๑๒๙] คำว่า กฐินเป็นอันกราน ด้วยอาการอย่างไร นั้น ความว่า กฐินย่อมเป็นอันกรานด้วยอาการ ๑๗ อย่าง ดังต่อไปนี้
    ๑. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าใหม่
    ๒. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าเทียมใหม่
    ๓. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าเก่า
    ๔. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าบังสุกุล
    ๕. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าตกตามร้าน
    ๖. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ไม่ได้ทำนิมิตได้มา
    ๗. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ไม่ได้พูดเลียบเคียงได้มา
    ๘. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ไม่ได้ยืมเขามา
    ๙. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่มิได้เก็บไว้ค้างคืน
    ๑๐. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่มิได้เป็นนิสสัคคิยะ
    ๑๑. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าทำกัปปะพินทุแล้ว
    ๑๒. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าสังฆาฏิ
    ๑๓. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าอุตราสงค์
    ๑๔. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าอันตรวาสก
    ๑๕. กฐินเป็นอันกราน ด้วยจีวรมีขันธ์ ๕ หรือเกินกว่า ซึ่งตัดดีแล้วทำให้มีมณฑลเสร็จในวันนั้น
    ๑๖. กฐินเป็นอันกราน เพราะบุคคลกราน
    ๑๗. กฐินเป็นอันกรานโดยชอบ ถ้าภิกษุผู้อยู่ในสีมา อนุโมทนากฐินนั้น
    กฐินเป็นอันกราน แม้ด้วยอาการอย่างนี้ กฐินเป็นอันกราน ด้วยอาการ ๑๗ อย่างนี้.



    ธรรมที่เกิดพร้อมกัน

    [๑๑๓๐] ถามว่า ธรรมเท่าไร ย่อมเกิดพร้อมกับการกรานกฐิน?
    ตอบว่า ธรรม ๑๕ อย่าง ย่อมเกิดพร้อมกับการกรานกฐิน คือ มาติกา ๘ ปลิโพธ ๒ อานิสงส์ ๕ ธรรม ๑๕ อย่างนี้ ย่อมเกิดพร้อมกับการกรานกฐิน.


    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๘ บรรทัดที่ ๑๐๑๐๐ - ๑๐๑๗๓. หน้าที่ ๓๘๗ - ๓๙๐.
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=8&A=10100&Z=10173&pagebreak=0
    สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘
    http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๘
    http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_8



    -http://watkaokrailas.igetweb.com/index.php?mo=3&art=41907064-

    .
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    บุญกฐิน
    รวบรวมและเรียบเรียงโดย :
    พระมหา ดร.วรัญญู วรญฺญู
    ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ กทม.
    คำว่า “กฐิน” เป็นคำที่คุ้นหูในสังคมไทย เป็นชื่อของประเพณีบุญที่นิยมกันในระยะเวลา ๑ เดือน โดยเริ่มต้นที่วันถัดจากวันออกพรรษาไปถึงวันลอยกระทง ถือเป็นประเพณีบุญที่สำคัญของสังคมไทยมาแต่โบราณ
    แต่อย่างไรก็ตาม ชีวิตและสังคมที่เร่งรีบในปัจจุบัน ได้ส่งผลกระทบมาถึงประเพณีการทอดกฐิน ให้กลายเป็นประเพณีที่เร่งรีบ และทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปจากความประสงค์ที่แท้จริงของประเพณีดังกล่าว ทั้งอาจจะทำให้ไม่ได้บุญจากการทอดกฐินเลยก็ได้ แล้วทำอย่างไรให้ได้บุญจากการทอดกฐิน นั่นคือประเด็นที่มุ่งหมายของบทความนี้

    ความหมาย
    คำว่า กฐิน คำนี้ มาจากภาษาบาลีแปลว่า "ไม้สะดึง" หรือ "กรอบไม้ที่ใช้สำหรับขึงผ้าให้ตึง เพื่อประโยชน์ในการตัดเย็บ"

    ในทางพระพุทธศาสนา คำว่า กฐิน ใช้ใน ๒ ความหมาย คือ
    ๑. เป็นชื่อผ้า และสังฆกรรม หรือ พิธีกรรมของสงฆ์
    ๒. เป็นชื่อการทำบุญของชาวพุทธ โดยมีผ้าเป็นสื่อกลาง

    มีอรรถาธิบายเพื่อความเข้าใจเพิ่มเติม ในทั้งสองกรณี ดังนี้
    กรณีแรก กฐิน เป็นชื่อของผ้าที่ถวายพระสงฆ์ให้เป็นกฐิน ภายในกำหนดกาล ๑ เดือน นับตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒
    ผ้าที่จะถวายนั้นจะเป็นผ้าใหม่ ผ้าฟอกสะอาด ผ้าเก่า ผ้าบังสุกุล (ผ้าที่เขาทิ้งแล้ว) หรือผ้าที่ขายตามท้องตลาดก็ได้ ผู้ถวายจะเป็นคฤหัสถ์หรือเป็นพระภิกษุสามเณรก็ได้ ถวายแก่พระสงฆ์แล้วก็เป็นอันใช้ได้ จากนั้น พระสงฆ์จะต้องทำสังฆกรรม หรือขั้นตอนพิธีทางสงฆ์ มีการสวดประกาศขอรับความเห็นชอบจากที่ประชุมสงฆ์ ในการมอบผ้ากฐินให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง และอนุโมทนากฐินเป็นขั้นตอนสุดท้าย
    กรณีที่สอง กฐิน เป็นชื่อของบุญกิริยา หรือ การทำบุญ ด้วยการถวายผ้ากฐินเป็นทานแก่พระสงฆ์ผู้จำพรรษาอยู่ในวัดใดวัดหนึ่งครบ ๓ เดือน เพื่อสงเคราะห์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบให้มีผ้านุ่งหรือผ้าห่มใหม่ จะได้ใช้ผลัดเปลี่ยนของเก่าที่ขาดหรือจะขาด
    การทำบุญถวายผ้ากฐิน นิยมเรียกกันว่า ทอดกฐิน หมายถึง ทอดหรือวางผ้าลงไปแล้วกล่าวคำถวายในท่ามกลางสงฆ์
    เมื่อกล่าวคำถวายจบแล้ว พระสงฆ์ก็รับว่า "สาธุ" พร้อมกัน เจ้าภาพจะต้องนำผ้ากฐินไปวางไว้ต่อหน้าพระสงฆ์เฉยๆ ไม่ประเคนด้วยมืออีก ดังนั้น กิริยาที่นำผ้าไปวางไว้นั้น จึงนิยมเรียกกันสืบๆ มาว่า ทอดกฐิน
    การทอดกฐิน เป็น กาลทาน มีเวลาจำกัด คือ การถวายก่อนหน้านั้น หรือหลังจากนั้นไม่เป็นกฐิน มีเงื่อนไขที่ต้องให้ความสำคัญทุกขั้นตอน จึงถือว่าหาโอกาสทำได้ยาก

    ความเป็นมา
    ในคัมภีร์พระวินัยปิฎก มหาวรรค กฐินขันธกะได้ กล่าวถึงความเป็นมาว่า ในสมัยที่พระบรมศาสดายังทรงพระชนม์ชีพอยู่นั้น ครั้งหนึ่งพระภิกษุชาวเมืองปาฐา ประมาณ ๓๐ รูป ซึ่งถือธุดงควัตรอย่างยิ่งยวด มีความประสงค์จะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าซึ่งขณะนั้นประทับอยู่กรุงสาวัตถี แคว้นโกศล
    จึงพากันเดินทางมุ่งหน้าไปยังเมืองนั้น พอถึงเมืองสาเกต ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงสาวัตถีประมาณ ๖ โยชน์ ก็เป็นวันเข้าพรรษาพอดี เดินทางต่อไปมิได้ ต้องจำพรรษาอยู่ที่เมืองสาเกตตามพระวินัยบัญญัติ ขณะที่จำพรรษาอยู่ ณ เมืองสาเกต เกิดความกระวนกระวายใจ อยากเฝ้าพระพุทธเจ้าเป็นกำลัง ดังนั้น พอถึงวันออกพรรษาปวารณาแล้ว จึงรีบเดินทาง แต่ระยะนั้นมีฝนตกมากหนทางที่เดินชุ่มไปด้วยน้ำ เป็นโคลนเป็นตม พื้นดินเต็มไปด้วยหล่มเลน ต้องบุกต้องฝ่าหล่มฝ่าเลนมาจนกระทั่งถึงกรุงสาวัตถีได้เข้าเฝ้าสมความประสงค์
    พระพุทธองค์ทรงมีปฏิสันถารกับพระภิกษุเหล่านั้นเรื่องการจำพรรษาอยู่ ณ เมืองสาเกตและการเดินทาง พระภิกษุเหล่านั้นจึงกราบทูลถึงความตั้งใจ ความร้อนรนกระวนกระวายใจและการเดินทางที่ลำบากให้ทรงทราบทุกประการ
    พระพุทธองค์ทรงทราบและเห็นความลำบากของพระภิกษุ จึงทรงยกเป็นเหตุและมีพระพุทธานุญาตให้พระภิกษุผู้จำพรรษาครบถ้วนแล้ว กรานกฐิน“ขึง” หรือ “ทำให้ตึง”
    กฐิน เป็นภาษาบาลี แปลว่า “ไม้สะดึง” กรานกฐิน ก็คือ “ขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าที่ไม้สะดึง โดยมีกำหนด ๑ เดือน ดังกล่าวคือ ให้เอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึงที่ไม้สะดึง เย็บเสร็จแล้วบอกแก่พระภิกษุทั้งหลายผู้ร่วมใจกันทำจีวรนั้น ยกผ้าให้พระภิกษุผู้ฉลาดรูปหนึ่งในนามของสงฆ์ เพื่อจะได้อนุโมทนาร่วมกัน ภิกษุผู้เย็บจีวรเช่นนั้นเรียกว่า "ผู้กรานกฐิน" (กราน เป็นภาษาเขมร แปลว่า หลักการ)
    การที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์ผู้อยู่จำพรรษาแล้ว ได้กรานกฐินนี้ ทำให้ภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำอาวาสอย่างน้อยเป็นเวลา ๑ เดือนหลังจากออกพรรษา ซึ่งเป็นช่วงปลายฤดูฝน ยังมีฝนตกอยู่ และทางสัญจรเต็มไปด้วยหล่มเลน หลังจาก ๑ เดือนผ่านไปแล้ว ถ้าภิกษุสงฆ์ประสงค์ ก็สามารถจะหลีกจาริกไปได้โดยสะดวก ในเวลาไม่มีฝนตก และพื้นดินไม่เป็นหล่มเลน

    พระพุทธองค์ทรงมีพระพุทธานุญาตผ้ากฐิน ด้วยมีพุทธประสงค์

    จะผ่อนผัน ให้ความสะดวกในพระธรรมวินัยแก่พระสงฆ์ผู้จำพรรษาอยู่ในวัดใดวัดหนึ่งครบ ๓ เดือน

    เพื่อสงเคราะห์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบให้มีผ้านุ่งหรือผ้าห่มใหม่ จะได้ใช้ผลัดเปลี่ยนของเก่าที่จะขาดหรือชำรุด

    โดยในเบื้องต้นทรงมีพระพุทธานุญาตพร้อมกับทรงแสดงอานิสงส์ไว้ ๕ ประการ ดังนี้
    “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาแล้ว กรานกฐิน ภิกษุทั้งหลายผู้กรานกฐินแล้วจะได้อานิสงส์ ๕ อย่าง คือ
    ๑. เที่ยวไปไม่ต้องบอกลา
    ๒. ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับ
    ๓. ฉันคณะโภชนะได้
    ๔. ทรงอติเรกจีวรไว้ได้ตามความต้องการ
    ๕. พวกเธอจะได้จีวรที่เกิดขึ้นในที่นั้น
    ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอผู้กรานกฐินแล้วย่อมได้อานิสงส์ ๕ อย่างนี้แล”
    จากนั้น ได้ทรงชี้แจง วิธีกรานกฐินและขั้นตอนการขอความเห็นชอบจากคณะสงฆ์ ที่เรียกว่า "ญัตติทุติย" กรรมวาจา คือ การตั้งเรื่องหรือญัตติขึ้น จากนั้นก็ลงความเห็นรับรู้ร่วมกัน โดยมีพระเถระที่ฉลาดเป็นผู้ดำเนินการประชุม หรือ ภาษาพระเรียกว่า "สวดกรรมวาจา" ๑ ครั้ง หากไม่มีภิกษุรูปใดทักท้วงก็เป็นการลงมติเห็นชอบร่วมกัน เป็นอำนาจของสงฆ์ ที่พระทุกรูปต้องถือปฏิบัติ
    ต่อไปนี้เป็นคำประกาศที่พระพุทธเจ้าทรงประทานแนวทางไว้
    “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผ้ากฐินนี้เกิดแล้วแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึงให้กรานกฐินแก่ภิกษุชื่อนี้เพื่อกรานกฐินนี่เป็นญัตติ
    นี้เพื่อกรานกฐิน ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้ผ้ากฐินนี้แก่ภิกษุชื่อนี้ เพื่อกรานกฐิน ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
    ผ้ากฐินนี้อันสงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุนี้เพื่อกรานกฐิน สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
    ลำดับเหตุการณ์หรือขั้นตอนต่อจากนั้น ในพระไตรปิฎกได้กล่าวถึงพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงลักษณะต่างๆ ที่จัดเป็นกฐิน แล้วได้รับอานิสงส์ข้างต้น และลักษณะใด ที่ทำให้กฐินเดาะหรือไม่สำเร็จประโยชน์ คือ ไม่ได้อานิสงส์ ในหนังสือนี้จะขอไม่กล่าวถึงเรื่องดังกล่าว เพราะมีข้อปลีกย่อยมาก

    คุณสมบัติของพระที่จะรับกฐิน
    คุณสมบัติของพระภิกษุรูปที่สมควรจะรับผ้ากฐินได้ มี ๘ ประการ คือ
    ๑. รู้จักบุพพกรณ์ คือ หน้าที่ๆ จะต้องทำในเบื้องต้นแห่งการกรานกฐิน ๗ อย่าง คือ
    ๑) ซักผ้า ๒) กะผ้า
    ๓) ตัดผ้า ๔) เนาหรือด้นผ้าที่ตัดแล้ว
    ๕) เย็บเป็นจีวร ๖) ย้อมจีวรที่เย็บแล้ว
    ๗) ทำกัปปะ คือ พินทุ (แต้มให้เปื้อน)
    ๒. รู้จักถอนไตรจีวร
    ๓. รู้จักอธิษฐานไตรจีวร
    ๔. รู้จักการกราน
    ๕. รู้จักมาติกา หรือ หัวข้อแห่งการเดาะกฐิน
    ๖. รู้จักปลิโพธกังวลเป็นเหตุยังไม่เดาะกฐิน
    ๗. รู้จักการเดาะกฐิน
    ๘. รู้จักอานิสงส์กฐิน
    ในบุพพกรณ์ ๗ ประการนั้น ข้อแรกต้องทำให้เสร็จในวันนั้น แต่ในปัจจุบัน นิยมใช้ผ้าสำเร็จรูป จึงไม่ต้องทำการซัก, กะ, ตัด, เนา, เย็บ, ย้อม เพียงแต่ทำ "กัปปะ" คือ พินทุ เท่านั้น
    พระภิกษุผู้ได้รับผ้ากฐิน ต้องถอนจีวรสำรับเดิม อธิษฐานจีวรสำรับใหม่ แล้วกล่าวคำกรานกฐิน ด้วยผ้าผืนใดผืนหนึ่ง จะเป็นจีวร, สังฆาฏิ, หรือสบง ก็ได้เพียงผืนเดียว ด้วยคำว่า
    “ข้าพเจ้ากรานกฐินด้วยผ้าสังฆาฏิ (หรือ จีวร หรือ สบง)นี้”

    จากนั้นท่านจะออกไปครองผ้า แล้วกลับเข้ามาในมณฑลพิธีสงฆ์ แล้วกล่าวคำอาราธนาให้สงฆ์อนุโมทนากฐินว่า

    “อตฺถตํ ภนฺเต สงฺฆสฺส กฐินํ, ธมฺมิโก กฐินตฺถาโร อนุโมทถ”
    แปลว่า “ท่านเจ้าข้า กฐินของสงฆ์กรานแล้ว การกรานกฐินชอบธรรม ขอท่านทั้งหลายอนุโมทนาเถิด”
    ขั้นตอนสุดท้าย พระสงฆ์จะกล่าวคำอนุโมทนากฐิน โดยให้ผู้มีอายุพรรษาแก่กว่าพระภิกษุรูปที่ครองผ้ากฐิน กล่าวก่อนว่า

    “อตฺถตํ อาวุโส สงฺฆสฺส กฐินํ, ธมฺมิโก กฐินตฺถาโร อนุโมทาม”
    แปลว่า “ผู้มีอายุ กฐินของสงฆ์กรานแล้ว การกรานกฐินชอบธรรม เราทั้งหลายขออนุโมทนา”

    จากนั้นจึงให้พระภิกษุที่มีอายุพรรษาน้อยกว่ากล่าวคำอนุโมทนาว่า

    “อตฺถตํ ภนฺเต สงฺฆสฺส กฐินํ, ธมฺมิโก กฐินตฺถาโร อนุโมทาม”
    แปลว่า “ท่านผู้เจริญ กฐินของสงฆ์กรานแล้ว การกรานกฐินชอบธรรม เราทั้งหลายขออนุโมทนา”

    เป็นอันเสร็จพิธีกฐินของพระสงฆ์ และด้วยอาศัยพระพุทธบัญญัติมีมาฉะนี้ จึงได้ถือเป็นประเพณีทำกันมาจนกระทั่งทุกวันนี้

    กฐินมีอานิสงส์ทั้งแก่ผู้รับและผู้ให้สำหรับผู้รับ หรือ พระสงฆ์
    หากพระสงฆ์ ได้ปฏิบัติตามพระพุทธานุญาตทุกประการ ก็ย่อมได้รับอานิสงส์ ดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ทุกประการ ขอขยายความเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นนี้ การที่พระภิกษุจะรับกฐินได้นั้น มิใช่รูปใดจะรับกันได้ ดังที่กล่าวว่ากฐินมีเงื่อนไข ทุกขั้นตอน และทำได้ยาก กฐินจะเป็นกฐินหรือไม่ มีองค์ประกอบที่พึงให้ความสนใจ ๖ ประการ คือที่ต้องให้ความสำคัญ
    ๑.พระสงฆ์อยู่จำพรรษาในวัดนั้นครบ ๓ เดือน ไม่พรรษาขาด
    ๒.ในวัดนั้นต้องมีพระที่มีคุณสมบัติตามข้อ ๑ อย่างน้อย ๕ รูป จำนวนพระที่ต่ำกว่านี้รับกฐินไม่ได้ แม้ไปนิมนต์พระวัดอื่นมาให้ครบจำนวน ๕ รูปก็ไม่จัดเป็นกฐินตามพระพุทธานุญาต
    ๓.พระในวัดนั้น จะไปชักชวนให้เขามาถวายผ้ากฐินในวัดของตนเองไม่ได้
    ๔.ต้องดำเนินการเรื่องผ้ากฐินให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดเท่านั้น
    ๕.พระภิกษุรูปที่ครองกฐินต้องรู้จักและเข้าใจขั้นตอนและวิธีปฏิบัติต่อผ้ากฐิน
    ๖.พระสงฆ์ในวัดนั้น ต้องพร้อมเพรียงกัน

    อานิสงส์ จากการรับผ้ากฐิน และการปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระบรมพุทธานุญาต ทำให้ได้รับการผ่อนปรนหรือไม่ต้องอาบัติ หรือโทษ ใน ๕ เรื่อง คือ :
    ๑. อนามันตะจาโร เที่ยวสัญจรไปโดยไม่ต้องบอกลาภิกษุที่มีอยู่ในที่นั้น ไม่ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ไม่ถือว่าล่วงละเมิดจาริตตสิกขาบทที่ ๖ แห่งอเจลกวรรค
    ๒. สมาทานะจาโร จะเดินทางไปที่ไหน ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับ จะฝากหรือเก็บไว้ในที่เหมาะสมแห่งใดแห่งหนึ่งก็ได้ ไม่ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ไม่ถือว่าล่วงละเมิดอุทโทสิตสิกขาบที่ ๒ แห่งจีวรวรรค
    ๓. คณะโภชนัง ฉันคณะโภชนะได้ คือ แม้จะมี ๔ รูป หรือมากกว่า ก็สามารถรับนิมนต์ไปรับประเคนฉันพร้อมกันได้ หรือออกปากขอภัตตาหารมาฉันพร้อมกันได้ ไม่ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันคณะโภชนะ คือเพราะฉันโภชนะที่เป็นของคณะ ซึ่งคณะได้มา ไม่ถือว่าล่วงละเมิดคณะโภชนสิกขาบทที่ ๒ แห่งโภชนวรรค
    ๔. ยาวะทัตถะจีวะรัง เก็บอดิเรกจีวรไว้ได้ตามต้องการ คือ สามารถเก็บผ้านอกเหนือจากผ้าที่ตนอธิษฐานและวิกัปไว้ได้ แม้จะเกินกำหนด ๑๐ วัน ก็ไม่ต้องอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์เพราะเก็บอติเรกจีวร ไม่ถือว่าล่วงละเมิดกฐินสิกขาบทที่ ๑ แห่งจีวรวรรค
    ๕. โย จะ ตัตถะ จีวะรุปปาโท โส เนสัง ภวิสสะติ จีวรลาภอันใด ที่เกิดขึ้นมีขึ้นในสีมาที่กรานกฐินนั้น จีวรลาภนั้น จักเป็นสิทธิ์ของภิกษุทั้งหลายผู้ได้กรานกฐินแล้วนั้น
    อานิสงส์ ทั้ง ๕ ประการนี้ พระภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว จะได้รับตลอดเขตอานิสงส์กฐิน ๕ เดือน คือ ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ของปีถัดไป

    สำหรับผู้ให้ หรือผู้ถวาย
    ก่อนอื่นพึงทราบว่า กฐินเป็นพระบรมพุทธานุญาตโดยตรง การถวายทานอย่างอื่นมีทายกเป็นผู้ทูลขอให้พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต เช่น มหาอุบาสิกาวิสาขาทูลขออนุญาตถวายผ้าอาบน้ำฝน แต่ผ้ากฐินนี้พระพุทธองค์ทรงอนุญาตเอง นับเป็นพระพุทธประสงค์โดยตรง
    เกี่ยวกับอานิสงส์ของการถวายผ้ากฐินนั้น ในปัจจุบันมีปรากฏในคัมภีร์และตำราหลายเล่ม บางตำรา กล่าวว่า มีอานิสงส์ถึง ๖๓ ประการ ขอยกตัวอย่างสัก ๔ ประการ ดังนี้
    ๑. ชื่อว่า : ได้ช่วยกันจรรโลงพระพุทธศาสนาให้เจริญวัฒนาดำรงเสถียรภาพอยู่ตลอดกาลนาน
    ๒. ชื่อว่า : ได้เพิ่มกำลังกาย กำลังใจ ให้แก่พระภิกษุสงฆ์ผู้เป็นศาสนทายาท สืบอายุพระพุทธศาสนาต่อๆ ไป
    ๓. ชื่อว่า : ได้ถวายอุปการะ อุปถัมภ์พระภิกษุสามเณร เป็นมหากุศลอันสำคัญ อย่างยิ่ง
    ๔. ชื่อว่า : เป็นผู้ไม่ประมาทต่อมหากุศลของตน ฯลฯ
    แต่ในวรรณกรรมโบราณทางพระพุทธศาสนา ก็ได้ปรากฏการยกย่องกฐินทาน และพรรณนาอานิสงส์ของกฐินทานไว้เป็นพิเศษ ดังนี้

    อานิสงส์ของผู้ถวายกฐินเอง
    ในชาดก ซึ่งเป็นเรื่องเล่า ถึงการบำเพ็ญบารมีของพระพุทธเจ้าในอดีตชาติ ทำให้เราเห็นภาพความสำคัญของบุญกฐินอย่างน่าอัศจรรย์
    โดยกล่าวว่า อำนาจบุญกุศลที่ได้ถวายผ้ากฐิน เป็นกุศลผลบุญที่ใหญ่หลวง ผู้ถวายจะปรารถนาความสำเร็จใด ๆ ในภพชาติใหม่ ก็จะให้สำเร็จได้ดังมโนรถความปรารถนา หรือถ้าจะปรารถนาพุทธภูมิก็ดี ปัจเจกภูมิก็ดี สาวกภูมิก็ดี สาวิกาภูมิก็ดี เมื่อมีวาสนาบารมีแก่กล้าแล้วก็จะได้สำเร็จดังมโนปณิธาน หรือความปรารถนาที่ตั้งไว้
    ในอติเทวราชชาดก ได้เล่าเรื่องพระเจ้าจิตรราชบรมโพธิสัตว์เจ้า ทรงถวายคู่แห่งผ้าเพื่อกฐินแก่พระภิกษุสงฆ์ มีองค์พระโกณฑัญญพุทธเจ้าเป็นประธาน แล้วทรงเปล่งพระดำรัสว่า “ข้าพเจ้าขอถวายผ้ากฐินแด่พระภิกษุสงฆ์”
    ดังนี้ เมื่อเสร็จจากพิธีถวายผ้ากฐินแล้ว ก็ทรงประทับอยู่ ณ บนราชอาสน์อันสมควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วจึงทรงประเคนอาหารถวายพระภิกษุสงฆ์ มีองค์พระโกณฑัญญพุทธเจ้าเป็นประธาน ด้วยภัตตาหารมีรสเลิศต่าง ๆ มีข้าวยาคู เป็นต้น
    ในลำดับนั้น สมเด็จพระโกณฑัญญสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เสด็จประทับ ณ ท่ามกลางแห่งพระภิกษุสงฆ์ ฝ่ายพระเถรเจ้าผู้เป็นธรรมเสนาบดีชื่อว่า พระภัททานิกรรมก็ได้กรานกฐินนั้น ครั้นเสร็จจากการกรานกฐินแล้ว พระโกณฑัญญพุทธเจ้าก็เสด็จประทับในท่ามกลางพุทธบริษัท ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
    ส่วนสมเด็จพระเจ้าจิตรราชบรมจักรพรรดินั้น ก็ได้เสด็จเข้าไปสู่ที่ใกล้พระโกณฑัญญพุทธเจ้า ถวายบังคมด้วยพระเบญจางคประดิษฐ์ แล้วได้ทรงตั้งพระราชปณิธานความปรารถนาขึ้นว่า

    อิมินา กฐินทาเนน พุทฺโธ โหมิ อนาคเต
    ยทา สพฺพญฺญุตปตฺโต ตารยิสฺสามิ ปาณินํ
    แปลว่า “ด้วย อำนาจกฐินทานนี้ ขอให้ข้าพเจ้าได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ในอนาคตกาลโน้นเถิด ข้าพเจ้าได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูญุตญาณเจ้าแล้วในกาลใด ก็จะรื้อขนสัตว์ให้พ้นจากสังสารวัฏฎ์ในกาลนั้น”
    ครั้นจบคำอธิษฐานลง พระโกณฑัญญพุทธเจ้า จึงทรงพิจารณาดูไปในอนาคตกาล ก็ได้ทรงทราบด้วยพุทธจักษุญาณว่า ความปรารถนาของบรมกษัตริย์องค์นี้จักสำเร็จสมพระประสงค์ จึงได้ทรงพยากรณ์ว่า ในที่สุดแห่ง ๓ อสงไขยแสนกัลป์ นับแต่กัลป์นั้น พระเจ้าจิตรราชบรมจักรพรรดินี้ จักได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า “โคดม” ได้แก่ พระพุทธเจ้าของเราทั้งหลายในบัดนี้
    ขณะเดียวกัน ผู้ที่ถวายผ้ากฐินแล้วบังเกิดความปีติ ความสุขใจ แม้มิได้อธิษฐานคุมวงบุญไว้ ก็ได้รับอานิสงส์ไปเกิดเป็นเทวดาและอานิสงส์ที่จะต่อเนื่องไปในภพหน้า ดังคำประกาศบุพพกุศลของท้าวสักก เทวราช ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ว่า
    “คราวหนึ่ง เราเกิดเป็นกุฎุมพีผู้มีทรัพย์อยู่ ณ เมืองพาราณสี ได้ถวายผ้าพระกฐินจีวร (แก่พระปทุมุตรสัมพุทธเจ้า) เราจุติจากอัตตภาพเป็นมนุษย์แล้ว ได้เกิดเป็นภูมิเทวดามีศักดาเดชอยู่ ณ ภูเขาคันธมาทน์ เสวยทิพยสมบัติอยู่นาน ครั้นจุติจากอัตตภาพเป็นภูมิเทวดาแล้ว ได้เกิดเป็นสักกเทวราช ผู้มเหศราธิบดีแห่งเทวดาทั้งหลาย ครั้นจุติจากอัตตภาพแห่งสักกเทวราชแล้ว จักเกิดเป็นจักรพรรดิ มีกำลังเดชานุภาพมากในทวีปทั้งสี่ และจักเสวยมนุษย์และเทวสมบัติสิ้นแสนกัลป์ ด้วยอำนาจผลแห่งกฐินทาน ด้วยประการฉะนี้”

    ผู้มีส่วนร่วมในกฐินย่อมได้อานิสงส์
    ในสมัยพระศาสนาของพระกัสสปสัมพุทธเจ้า บุรุษชาวเมืองพาราณสีคนหนึ่ง เป็นคนเข็ญใจไร้ที่พึ่ง ไปอาศัยเศรษฐีสิริธรรมผู้มั่งคั่งด้วยทรัพย์ โดยยอมตนเป็นคนรับใช้ มีหน้าที่ดูแลรักษาหญ้า จึงได้ชื่อว่า "ติณบาล" แปลว่า ผู้ดูแลรักษาหญ้า ตั้งแต่บัดนั้น
    วันหนึ่งเขาคิดว่า “ตัวเรานี้เป็นคนยากจนเช่นนี้ เพราะไม่เคยทำบุญอันใดไว้ในชาติก่อนเลย มาชาตินี้จึงตกอยู่ในฐานะผู้รับใช้คนอื่น ไร้ญาติขาดมิตร ไม่มีสมบัติติดตัวแม้แต่น้อย” เมื่อคิดดังนี้แล้วเขาได้แบ่งอาหารที่ท่านเศรษฐีให้ ออกเป็น ๒ ส่วน
    ส่วนหนึ่งถวายแก่พระสงฆ์ที่มาบิณฑบาต อีกส่วนหนึ่งเอาไว้สำหรับตนเองรับประทาน ด้วยเดชกุศลผลบุญอันนั้น ทำให้ท่านเศรษฐีเกิดสงสารเขา แล้วให้อาหารเพิ่มอีกเป็น ๒ ส่วน เขาได้แบ่งอาหารเป็น ๓ ส่วน ถวายแก่พระสงฆ์ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งให้แก่คนจนทั้งหลาย ส่วนที่สามเอาไว้บริโภคสำหรับตนเอง เขาทำอยู่อย่างนี้เป็นเวลาช้านาน
    ต่อมาเป็นวันออกพรรษา เหล่าชนผู้มีศรัทธาต่างพากันทำบุญกฐินเป็นการใหญ่ แม้ท่านเศรษฐีสิริธรรมก็เตรียมจะถวายกฐิน จึงประกาศให้ประชาชนทั้งหลายทราบโดยทั่วกัน เมื่อนายติณบาลได้ยินก็เกิดความเลื่อมใสขึ้นในใจทันที จึงเข้าไปหาท่านเศรษฐีถามอานิสงส์ของกฐิน เศรษฐีตอบว่า “มีอานิสงส์มากมายหนักหนา สมเด็จพระบรมศาสดาทรงตรัสยกย่องสรรเสริญว่าเป็นทานอันประเสริฐ”
    เมื่อเขาได้ทราบดังนี้แล้ว ก็มีความโสมนัสปลาบปลื้มเป็นอันมาก แสดงความประสงค์ที่จะร่วมอนุโมทนาในการบำเพ็ญทานครั้งนี้ด้วย จึงได้กลับไปที่อยู่ของตน แล้วเกิคความคิดขึ้นว่า “เรา ไม่มีอะไรเลย แม้แต่ผ้าดีๆ สักผืน เราจะทำบุญร่วมกับท่านเศรษฐีได้อย่างไร” เขาครุ่นคิดอยู่เป็นเวลานาน หาสิ่งที่จะร่วมอนุโมทนากฐินกับท่านเศรษฐีไม่ได้ ในที่สุดเขาได้เปลื้องผ้านุ่งของตนออกพับให้ดี แล้วเย็บใบไม้นุ่งแทน เอาผ้านั้นไปเร่ขายในตลาด

    ชาวตลาดทั้งหลายเห็นอาการเช่นนั้น ก็พากันหัวเราะกันลั่น เขาชูมือขึ้นแถลงว่า "ท่านทั้งหลายหยุดก่อน อย่าหัวเราะข้าพเจ้าเลย ข้าพเจ้ายากจนไม่มีผ้าจะนุ่ง จะขอนุ่งใบไม้แต่ในชาตินี้เท่านั้น ชาติหน้าจะนุ่งผ้าทิพย์"
    ครั้นพูดชี้แจงแก่ประชาชนชาวตลาดดังนี้แล้ว เขาได้ออกเดินเร่ขายเรื่อยไป ในที่สุดเขาได้ขายผ้านั้นในราคา ๕ มาสก (๑ บาท) แล้วนำไปมอบให้ท่านเศรษฐี เศรษฐีได้ใช้เงินนั้นซื้อด้ายสำหรับเย็บไตรจีวร
    ในกาลครั้งนั้น ได้เกิดโกลาหลทั่วไปในหมู่ชน ตลอดถึงเทวดาในสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้นฟ้า และล่วงรู้ไปถึงพระกรรณของพระเจ้าพาราณสี จึงรับสั่งให้นำนายติณบาลเข้าเฝ้า แต่เขาไม่ยอมเข้าเฝ้าเพราะละอาย จึงได้ตรัสถามความเป็นไปของเขาโดยตลอดแล้ว ทรงให้ราชบุรุษนำผ้าสาฎกราคาแสนตำลึงไปพระราชทานแก่เขา
    นอกจากนั้นได้พระราชทาน บ้านเรือนและทรัพย์สมบัติ เป็นอันมาก แล้วโปรดให้ดำรงตำแหน่งเศรษฐีในเมืองพาราณสี มีชื่อว่า "ท่านติณบาลเศรษฐี" เมื่อเขาดำรงชีวิตอยู่พอสมควรแก่อายุขัยแล้ว ก็ตายไปเกิดเป็นเทพบุตรในดาวดึงส์พิภพ เสวยสมบัติทิพย์อยู่ในวิมานแก้ว สูงได้ ๕ โยชน์ มีนางเทพอัปสรหนึ่งหมื่นเป็นบริวาร ส่วนเศรษฐีสิริธรรม ครั้นตายจากโลกมนุษย์แล้วได้ไปเกิดในดาวดึงส์สวรรค์ มีนางฟ้าเป็นบริวาร เช่นเดียวกันกับท่านติณบาลเศรษฐี

    ผู้ชักชวนให้ทอดกฐินก็ได้อานิสงส์
    กฐิน มิได้มีอานิสงส์เฉพาะเจ้าของกฐินเท่านั้น แม้ผู้ชักชวนให้ผู้อื่นทอดกฐิน ถ้ารู้จักวิธีในการอธิษฐานบุญ ก็ย่อมได้รับอานิสงส์เหมือนกัน
    ดังในนรชีวกฐินทานชาดก ซึ่งเป็นหนึ่งในปัญญาสชาดก ได้เล่าเรื่องที่พระพุทธองค์เมื่อครั้งเสวยพระชาติเกิดเป็นนายนรชีวะ อยู่ในครอบครัวยากจน แต่เป็นลูกกตัญญูเลี้ยงดูมารดา ได้ชักชวนเศรษฐีที่มีความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าพระนามว่า "ปทุมุตตร" ชวนให้เศรษฐีมีศรัทธาถวายผ้ากฐินแก่พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน เศรษฐีมีความยินดีได้จัดกฐินไปถวายพระภิกษุสงฆ์ จึงได้ทูลถามพระพุทธเจ้าถึงผลหรืออานิสงส์แห่งการถวายผ้ากฐิน พระปทุมุตตรสัมพุทธเจ้าได้ตรัสว่า

    เย ชนา สุขมิจฺฉนฺตา ทตฺวาน กฐินจีวรํ
    เตปิ ทุกฺขา ปมุญฺจเร เทวมนุสฺเสสุ ปตฺวา
    นรกาทิมฺหิ น ชายนฺติ กฐินทานสฺสิทํ ผลํ
    แปลว่า “บุคคลเหล่าใด ปรารถนาหาความสุขนั้น ได้ถวายผ้ากฐินจีวรไว้ บุคคลเหล่านั้นจะพ้นจากความทุกข์ เมื่อละโลกนี้ไปแล้ว ก็ย่อมจะถึงความสุขในหมู่เทวดาและมนุษย์ และจะไม่ไปเกิดในอบายภูมิมีนรกเป็นต้น นี้เป็นผลแห่งกฐินทาน”
    เมื่อเศรษฐี ได้ฟังอานิสงส์กฐินทานเช่นนั้น ก็มีใจชื่นบานยิ่งนัก ส่วนนายนรชีวะ ผู้เป็นพระโพธิสัตว์ได้หมอบกราบแทบพระบาทของพระพุทธเจ้า ได้กราบทูลถึงเหตุที่ตนเป็นผู้ชักชวนให้เศรษฐีมาทำบุญสำเร็จด้วยกายวาจาใจ จึงขอตั้งวาจาธิษฐานว่า

    อิมินา ภนฺเต ปุญฺเญน ปโพธิโต กฐินํ เทมิ
    อนาคเต พุทฺโธ โหมิ ยาว พุทฺธตํ นานุปตฺโต
    มา ทลิทฺโท ภวามหํ
    แปลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยกุศลผลบุญที่ข้าพระองค์ได้ชักนำกุฎุมพี (เศรษฐี) ให้ถวายผ้ากฐินนี้ ขอให้ข้าพระองค์เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งในกาลภายหน้า แม้ข้าพระองค์ยังไม่ไปถึงความเป็นพระพุทธเจ้าตราบใด ชื่อว่าความเข็ญใจอย่าได้มีแก่ข้าพระองค์เลย พระเจ้าข้า”
    พระปทุมุตตรสัมพุทธเจ้า ได้ทรงพยากรณ์ว่า ด้วยผลแห่งกฐินทานนั้น นายนรชีวะจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าศากยมุนีในอนาคตกาล ก็คือพระพุทธเจ้าของเราทั้งหลายในบัดนี้

    ขั้นตอนทำบุญกฐิน

    การทำบุญทอดกฐินในประเทศไทยเรา ซึ่งนิยมปฏิบัติกันอยู่ในขณะนี้ มีอยู่ ๒ ประเภท คือ
    ๑. กฐินหลวง หมายถึง กฐินที่มีพระราชพิธีเป็นทางการในพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินด้วยพระองค์เอง ที่เรียกว่า “พระกฐินหลวง”
    แต่ในกรณีที่เสด็จฯ ไปถวายผ้าพระกฐินเป็นการส่วนพระองค์ ในวัดต่างจังหวัด จะเรียกว่า “พระกฐินต้น”
    ส่วนกฐินที่พระราชทานให้พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์กระทรวง ทบวง กรม กองต่าง ๆ ไปถวายผ้าพระกฐินแทนพระองค์ เรียกว่า “พระกฐินพระราชทาน”
    ๒. กฐินราษฎร์ หมายถึง กฐินที่จัดขึ้นในวัดราษฎร์โดยชาวบ้านจัดการทอดกันเอง หรือบางทีก็ร่วมกันทอด ซึ่งเรียกว่า “กฐินสามัคคี”

    ในบทความนี้จะไม่กล่าวถึงกฐินประเภทที่ ๑ จะกล่าวเฉพาะกฐินประเภทที่ ๒ เท่านั้น

    ใครควรจะถวายผ้ากฐิน
    ทายกผู้ทอดกฐินนั้น จะเป็นเทวดาหรือมนุษย์ คฤหัสถ์หรือบรรพชิต เป็นพระภิกษุหรือสามเณร ก็เป็นเจ้าภาพถวายผ้ากฐิน หรือทอดกฐินได้ทั้งนั้น จะทอดคนเดียว หรือรวมกันหลายคนเป็น “กฐินสามัคคี” ก็ได้ มีพระพุทธานุญาตไว้
    แต่มีข้อพึงระวัง ในกรณีที่ผู้ทอดกฐินเป็นพระภิกษุ เมื่อถวายผ้ากฐินในอุโบสถแล้ว พระสงฆ์ในวัดนั้นจะเริ่มสวดญัตติทุติยกรรมวาจา ต้องอาราธนาให้พระภิกษุที่เป็นเจ้าภาพนั้น ออกไปอยู่นอกเขตสีมาก่อน หรือ มิฉะนั้นก็นิมนต์ให้เข้าไปนั่งร่วมภายในหัตถบาสกับพระสงฆ์ที่จะสวดนั้น ก็เป็นอันใช้ได้ ไม่เสียพิธี

    ต้องจองกฐินก่อน
    เมื่อสาธุชนผู้มีกุศลจิต ประสงค์จะนำกฐินไปทอด ณ วัดใดวัดหนึ่ง ซึ่งตนมีศรัทธาเป็นการเฉพาะ ต้องจองกฐินที่วัดนั้นล่วงหน้าเสียก่อน การจองมี ๒ วิธี คือ
    ๑. จองด้วยปาก ได้แก่ แจ้งด้วยวาจาแก่เจ้าอาวาส หรือ ประกาศในที่ประชุมสงฆ์ของวัด ให้ทราบว่า ตนจะนำกฐินมาทอดที่วัดนั้น
    ๒. จองด้วยหนังสือ ได้แก่ เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร ชื่อที่อยู่ของตนและความ จำนงที่จะนำกฐินมาทอดในวันนั้นวันนี้ แล้วนำไปติดประกาศในที่เห็นได้ง่าย เช่นศาลาการเปรียญ ศาลาหน้าวัด หรือมอบให้กับเจ้าอาวาส ไว้
    และก่อนที่จะทอดกฐินนั้น ก็ควรปิดป้ายไว้หน้าวัด หรือที่ศาลาการเปรียญ ซึ่งป้ายปิดประกาศนี้ นิยมปิดไว้ตั้งแต่ในพรรษา เพื่อจะให้ผู้ที่ผ่านไปมาได้พบเห็น แล้วจะได้มาเข้าร่วมทำบุญด้วย

    องค์กฐิน
    เมื่อถึงเวลากำหนดก็นำผ้ากฐิน บางครั้งเรียกว่า "ผ้าที่เป็นองค์กฐิน" ซึ่งจะเป็นผืนเดียวก็ได้ หลายผืนก็ได้ ถ้าเป็นผ้าขาวซึ่งยังมิได้ตัด ก็ตัดออกเป็นชิ้นๆ พอที่จะเย็บประกอบเข้าเป็นจีวรผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ ทำเสร็จแล้วยังมิได้ย้อมหรือย้อมแล้วก็ได้ อย่างใดอย่างหนึ่ง จัดเป็นองค์กฐิน นำไปทอด ณ วัดที่ได้จองไว้นั้น
    แต่ในปัจจุบันเจ้าภาพนิยมซื้อผ้าไตรจีวรสำเร็จรูปมาจากร้านจำหน่ายเครื่องสังฆภัณฑ์ เนื่องจากสะดวกและประหยัดเวลา ก็เป็นอันใช้ได้เหมือนกัน
    นอกจากองค์กฐินแล้ว เจ้าภาพบางรายอาจศรัทธาถวายของอื่นๆ ไปพร้อมกับองค์กฐินเรียกว่า "บริวารกฐิน"
    ตามที่นิยมกัน ประกอบด้วยปัจจัย ๔ คือ เครื่องอาศัยของพระภิกษุสามเณร มีไตรจีวร บริขารอื่นๆ ที่จำเป็น เครื่องใช้ประจำปี มีมุ้ง หมอน กลด เตียง ตั่ง โต๊ะ เก้าอี้ โอ่งน้ำ กระถาง กระทะ กระโถน เตา ภาชนะสำหรับใส่อาหารคาวหวาน
    เครื่องซ่อมเสนาสนะ มีมีด ขวาน สิ่ว เลื่อย ไม้กวาด จอบ เสียม เครื่องคิลานเภสัช มียารักษาโรค ยาสีฟัน แปรงสีฟัน อุปกรณ์ซักล้าง เป็นต้น หรือจะมีสิ่งอื่นนอกจากที่กล่าวมานี้ก็ได้ ขอให้เป็นของที่สมควรแก่ พระภิกษุ สามเณร จะใช้อุปโภคบริโภคเท่านั้น หากจะมีของที่ระลึกสำหรับแจกจ่ายแก่คนที่อยู่ในวัดหรือคนที่มาร่วมงานกฐิน ด้วยก็ได้สุดแต่กำลังศรัทธาและอัธยาศัยไมตรีของเจ้าภาพ
    นอกจากนั้น ยังมีธรรมเนียมที่เจ้าภาพผู้ทอดกฐิน จะต้องมีผ้าห่มพระประธานอีกหนึ่งผืน เทียนสำหรับจุด ในเวลาที่พระภิกษุสวดปาติโมกข์ ที่เรียกสั้นๆ ว่า "เทียนปาติโมกข์" จำนวน ๒๔ เล่ม และมีธงผ้ารูปจระเข้ หรือสัตว์น้ำอย่างอื่น เช่น ปลา นางเงือก สำหรับปักหน้าวัด เมื่อทอดกฐินเสร็จแล้ว การปักธงนี้เป็นเครื่องหมายให้ทราบว่าวัดนั้นๆ ได้รับกฐินแล้ว และให้อนุโมทนากฐินร่วมกัน

    การถวายผ้ากฐิน
    เมื่อเจ้าภาพมาถึงวัดที่จะทอดกฐิน ต้องกำหนดดูว่า วัดนั้นๆ จะให้ทำพิธีทอดกฐิน ณ สถานที่ใด โดยมากนิยมทำในอุโบสถ เพราะพระสงฆ์สามารถจะสวดญัตติทุติยกรรมวาจา ให้เสร็จในคราวเดียวไปเลย แต่บางวัดอาจให้ทำพิธีถวายที่ศาลาการเปรียญในเบื้องต้นก่อน แล้วพระสงฆ์จะพากันไปสวดญัตติทุติยกรรมวาจาในอุโบสถในภายหลัง
    หากเป็นสมัยโบราณ เมื่อภิกษุซึ่งจำพรรษาครบสามเดือนในวัดเดียวกัน (ต้องมีจำนวน ๕ รูปขึ้นไป) ประชุมกันในอุโบสถ พร้อมใจกันยกผ้ากฐินให้แก่ภิกษุรูปหนึ่งในหมู่พวกเธอ ภิกษุรูปนั้นทำกิจ ตั้งแต่ ซัก กะ ตัด เย็บ ย้อมให้เสร็จในวันนั้น ทำพินทุกัปปะอธิษฐานเป็นจีวรครองผืนใดผืนหนึ่งในไตรจีวร แล้วบอกแก่ภิกษุสงฆ์ผู้ยกผ้าให้เพื่ออนุโมทนา และภิกษุนั้นอนุโมทนาแล้ว ที่เรียกว่า "กรานกฐิน" ก็เป็นการสำเร็จประโยชน์
    แต่ถ้าผ้ากฐินเป็นจีวรสำเร็จรูป กิจที่จะต้อง ซัก กะ ตัด เย็บ ย้อม ก็ไม่มี ให้ภิกษุรูปนั้นทำพินทุกัปปะอธิษฐานเป็นจีวรครองผืนใดผืนหนึ่งในไตรจีวร แล้วบอกแก่ภิกษุสงฆ์ผู้ยกผ้าให้เพื่ออนุโมทนา เมื่อภิกษุสงฆ์พาอนุโมทนาแล้ว ก็เป็นการสำเร็จประโยชน์เหมือนกัน
    ในปัจจุบัน เมื่อเจ้าภาพได้ตระเตรียมพร้อมแล้ว พระสงฆ์พร้อมแล้ว ก่อนถวายกฐิน ให้อาราธนาศีล รับศีล เมื่อรับแล้ว ทายกประกาศให้รู้พร้อมกัน ประธานผู้ทอดกฐินหันหน้าไปทางพระพุทธรูป ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วหันหน้ามาทางพระสงฆ์ กล่าวถวายเป็นภาษาบาลี ภาษาไทย หรือทั้งสองภาษาก็ได้ ว่าคนเดียวหรือว่านำแล้วคนทั้งหลายว่าตามพร้อมกันก็ได้ การกล่าวคำถวายจะกล่าวเป็นคำๆ หรือจะกล่าวรวมกันเป็นวรรคๆ แล้วแต่ความสะดวกของผู้กล่าวนำและผู้กล่าวตาม คำถวายมีดังนี้
    “อิ มัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง สังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต สังโฆ อิมัง สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง ปะฏิคคัณหาตุ ปะฏิคคะเหตตะวา จะ อิมินา ทุสเสนะ กะฐินัง อัตถะระตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ”
    แปลว่า “ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ซึ่งผ้ากฐินกับทั้งผ้าบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แก่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับ ซึ่งผ้ากฐินกับทั้งผ้าบริวารทั้งหลายเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย ครั้นรับแล้ว จงกรานกฐินด้วยผ้านี้ เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ ฯ”
    เมื่อจบคำถวายแล้ว พระสงฆ์รับสาธุพร้อมกัน องค์กฐินพร้อมทั้งบริวารนั้น ถ้าเจ้าภาพปรารถนาถวายเป็นของสงฆ์ทั้งหมด ก็ไม่ต้องประเคน แต่ถ้าจะประเคน ก็อย่าประเคนแก่สมภาร หรือองค์ที่รู้ว่าจะต้องครอง ให้ประเคนองค์อื่น องค์ที่เหมาะสม ก็คือองค์รองลงมา เฉพาะองค์กฐินนั้นไม่จำเป็นต้องประเคน จากนั้นประธานผู้ทอดกฐินกลับเข้าประจำที่นั่งของตน
    ขั้นตอนจากนี้พระสงฆ์จะทำพิธีอปโลกน์ คือ การแจ้งให้ทราบ หรือ การขอความเห็นชอบ มีลำดับขั้นตอนดังนี้

    พระรูปที่ ๑ จะกล่าวว่า
    “ผ้ากฐินทานกับทั้งผ้าอานิสังสบริวารทั้งปวงนี้ เป็นของ ....(ระบุชื่อเจ้าภาพ)...พร้อมด้วยญาติมิตรและสัมพันธชน ผู้ประกอบด้วยศรัทธา อุตสาหะพร้อมเพรียงกันนำมาถวาย แด่พระภิกษุสงฆ์ผู้อยู่จำพรรษาถ้วนไตรมาสในอาวาสนี้
    ก็แลผ้ากฐินทานนี้ เป็นของบริสุทธิ์ ดุจเลื่อนลอยมาโดยนภากาศแล้ว แลตกลงในที่ประชุมสงฆ์ จะได้จำเพาะเจาจงลงว่าเป็นของพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งก็หามิได้ มีพระบรมพุทธานุญาตไว้ว่า ให้พระสงฆ์ทั้งปวงยอมอนุญาตให้แก่ภิกษุรูปหนึ่ง เพื่อจะทำซึ่งกฐินนัตถารกิจ ตามพระบรมพุทธานุญาต และมีคำพระอรรถกถาจารย์ ผู้รู้พระบรมพุทธาธิบายสังวรรณนาไว้ว่า ภิกษุรูปใดประกอบด้วยศีลสุตาธิคุณ มีสติปัญญาสามารถ รู้ธรรม ๘ ประการ มีบุพพกิจ เป็นต้น ภิกษุรูปนั้นจึงสมควร เพื่อจะกระทำกฐินนัตถารกิจ ตามพระบรมพุทธานุญาตได้
    บัดนี้ พระสงฆ์ทั้งปวง จะเห็นสมควรแก่ภิกษรูปใด จงพร้อมกันยอมอนุญาตให้แก่ภิกษุรูปนั้น เทอญฯ”

    ในลำดับนี้ พระสงฆ์ทั้งหมดนิ่งอยู่ครู่หนึ่ง พระรูปที่ ๒ จะกล่าวต่อไปว่า
    “ผ้ากฐินทาน กับทั้งผ้าอานิสังสบริวารทั้งปวงนี้ ข้าพเจ้าพิจารณาเห็นสมควรแก่...(ระบุชื่อผู้ที่จะเป็นองค์ครองกฐิน)... เป็นผู้มีสติปัญญาสามารถ เพื่อกระทำกฐินัตถารกิจให้ถูกต้องตามพระบรมพุทธานุญาตได้ ถ้าพระภิกษุรูปใดเห็นไม่สมควร จงทักท้วงขึ้นในท่ามกลางระหว่างสงฆ์ (หยุดนิดหนึ่ง) ถ้าเห็นสมควรแล้วไซร้ จงให้สัททสัญญาสาธุการขึ้นให้พร้อมกัน เทอญฯ”
    พระสงฆ์ทั้งหมดรับว่า สาธุ พร้อมกัน
    เมื่อพระสงฆ์ทำพิธีเบื้องต้นของท่านเสร็จ ในตอนนี้เจ้าภาพจะประเคนบริวารกฐินก็ได้ จากนั้นพระสงฆ์อนุโมทนา เจ้าภาพทั้งหมดตั้งใจฟังคำอนุโมทนา และกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล
    เพียงเท่านั้น ก็เสร็จพิธีถวายกฐินสำหรับทายกผู้มีศรัทธา ต่อจากนั้นเป็นหน้าที่ของพระสงฆ์จะได้ดำเนินการในเรื่องกรานกฐินต่อไป
    ประเพณีการทอดกฐินนี้ ยังมีอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งเราเรียกว่า “จุลกฐิน” และได้นิยมกันมาแต่โบราณกาล ถือกันว่า ถ้าผู้ใดมีความสามารถทอด “จุลกฐิน” นี้ได้ จะเป็นผู้ได้รับอานิสงส์มาก
    วิธีทอด “จุลกฐิน” นี้ ต้องทำอย่างนี้ คือ ต้องไปเก็บเอาฝ้ายมาปั่นเป็นด้ายแล้วทอให้เป็นผืนผ้ากฐินให้เสร็จในวันเดียว แต่การทอด “จุลกฐิน” นี้ ต้องช่วยหลายคนจึงจะเสร็จในวันเดียวได้ จะต้องให้ทันกับเวลาอีกด้วย คือต้องช่วยกันหลายๆ แรง แบ่งหน้าที่กันทำอย่างชุลมุนวุ่นวาย เมื่อทำเสร็จ พอที่จะทำเป็นผ้ากฐินได้ ก็รีบนำไปทอด คงจะเป็นเพราะเหตุนี้เอง จึงได้เรียกว่า “จุลกฐิน”
    "จุลกฐิน" คือ เป็นผ้าที่สำเร็จขึ้นได้ด้วยการช่วยเหลือกันคนละไม้คนละมือ เช่น เมื่อเก็บฝ้ายแล้วก็เอาฝ้ายนั้นมาปั่น มากรอ มาสาง เมื่อเสร็จเป็นเส้นด้ายแล้ว ก็เอามาทอเป็นผ้า แล้วเอามาตัด มาเย็บ มาย้อม ให้เสร็จเรียบร้อยวันเดียวกันนั้น ทุกสิ่งทุกอย่าง

    -http://watkaokrailas.igetweb.com/index.php?mo=3&art=41907064-

    .
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    กฐินตกค้าง
    กฐินประเภทนี้ มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "กฐินตก" " กฐินโจร" ศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธน ได้กล่าวถึงเหตุผลที่เกิดกฐินชนิดนี้ ตลอดจนชื่อเรียกที่ต่างกันออกไปว่า (จากเรื่องเทศกาลออกพรรษา)
    “..... แต่ที่ทำกันเช่นนี้ ทำกันอยู่ในท้องถิ่นที่มีวัดตกค้าง ไม่มีใครทอดก็ได้ จึงมักมีผู้ศรัทธาไปสืบเสาะหาวัดอย่างนี้ เพื่อทอดกฐินตามปกติในวันใกล้ๆ จะสิ้นหน้าทอดกฐิน หรือในวันสุดท้ายของกาลกฐิน (คือวันก่อนวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒)
    การทอดกฐินอย่างนี้เรียกว่า "กฐินตกค้าง" หรือเรียกว่า "กฐินตก" บางถิ่นก็เรียก "กฐินโจร" เพราะกิริยาอาการที่ไปทอดอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัว จู่ๆ ก็ไปทอด ไม่บอกกล่าวเล่าสิบล่วงหน้าให้วัดรู้ เพื่อเตรียมตัวกันได้พร้อมและเรียบร้อย
    การทอดกฐินตก ถือว่าได้บุญอานิสงส์แรงกว่าทอดกฐินตามธรรมดา บางคนเตรียมข้าวของไปทอดกฐินหลายๆ วัด แต่ได้ทอดน้อยวัด เครื่องไทยธรรมที่ตระเตรียมเอาไปทอดยังมีเหลืออยู่ หรือบางวัดทอดไม่ได้ (อาจเป็นที่ไม่ครบองค์สงฆ์) ก็เอาเครื่องไทยธรรมเหล่านั้นจัดทำเป็นผ้าป่า เรียกกันว่า ผ้าป่าแถมกฐิน”
    กฐินประเภทนี้ เรื่ององค์กฐิน บริวารกฐิน ยังคงเป็นเช่นเดียวกับกฐินอื่นๆ ที่กล่าวมาแล้ว ส่วนข้อแตกต่างที่ชัดเจนคือ ไม่มีการจองวัดล่วงหน้า การทอดก็ทอดได้เฉพาะวัดที่ยังไม่มีใครทอด และเจ้าภาพเดียวอาจจะทอดหลายวัดก็ได้ ตลอดจนสามารถนำเอาของไทยธรรมที่เหลือทำเป็นการบุญชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ผ้าป่าแถมกฐินหรือบางท่านเรียกว่า “ผ้าป่าหางกฐิน” นั่นเอง

    ปริศนาธรรม
    ในประเพณีทอดกฐิน บรรพบุรุษไทยได้แฝงภูมิปัญญาและปริศนาธรรมไว้กับธงรูปจระเข้และธงรูปนาง มัจฉา ที่มองเห็นกันดาษดื่นในเทศกาลกฐิน เบื้องหลังธง ๒ ผืนนี้ มีวิสัชนา ๓ นัย คือ :
    ๑.วิสัชนาตามแนวนิทานพื้นบ้าน
    ๒. วิสัชนาตามแนวหลักธรรม
    ๓. วิสัชนาตามแนวภูมิปัญญาไทย
    ตามแนวแรก มีนิทานพื้นบ้านที่เล่าต่อๆ กันมาว่า กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีเศรษฐีคนหนึ่ง เป็นคนตระหนี่อย่างเหนียวแน่น ไม่เคยทำบุญกุศลใด เมื่อเวลาที่มีชีวิตอยู่เลย มุ่งแต่เก็บสะสมทรัพย์สินเงินทองซ่อนไว้มิให้ใครรู้ สถานที่ซ่อนทรัพย์สินดังกล่าวอยู่ที่หัวสะพานท่าน้ำหน้าบ้านตน
    ครั้นต่อมาเศรษฐีได้สิ้นชีวิตลง ขณะที่จิตใจเป็นห่วงถึงทรัพย์ที่ซ่อนไว้ ทำให้ไปเกิดเป็นจระเข้เฝ้าสมบัติ จระเข้อดีตเศรษฐีระลึกชาติเก่าของตนได้ รู้สึกทรมานกับชีวิตที่ไปเกิดเป็น สัตว์เดรัจฉาน ได้ไปเข้าฝันภรรยาและลูกให้ไปขุดสมบัติเอาไปทำบุญ ภรรยาและลูกได้ไปขุดสมบัติ จัดเป็นองค์กฐินเพื่อจะนำไปถวายวัดในฤดูทอดกฐิน
    ฝ่ายจระเข้อดีตเศรษฐีก็ดีใจ ว่ายน้ำตามขบวนเรือแห่กฐิน แต่เนื่องจากวัดอยู่ไกล จระเข้หมดแรงว่ายน้ำต่อไปไม่ไหว ภรรยาและลูกจึงให้ช่างวาดรูปจระเข้ใส่ธงไปแทน เมื่อทอดกฐินเสร็จ ภรรยาก็อุทิศส่วนกุศลให้ว่า "บัดนี้เศรษฐีผู้ล่วงลับได้เอาทรัพย์มาทอดกฐินถวายพระแล้ว"
    ขณะนั้นจระเข้ก็จะโผล่หัวขึ้นมาจากน้ำ พอทอดกฐินเสร็จ พระอนุโมทนาให้พรจบ จระเข้นั้นก็มุดน้ำหายไปเลย ทุกวันนี้ก็เลยมีธรรมเนียมอันนั้นขึ้นมา จระเข้คาบดอกบัวได้กลายเป็นสัญลักษณ์ในการทอดกฐิน ส่วนรูปนางสุวรรณมัจฉา พบแต่เพียงเล่าว่า ใช้ประดับเพื่อนำทางเบิกทางในทางน้ำ และเรียกผู้คนให้มาร่วมงานกัน
    ตามแนวที่สอง มีผู้อธิบายโดยอิงหลักธรรมว่า เป็นปริศนาจากธรรมของพระพุทธเจ้าที่ท่านกล่าวถึง ภัยของภิกษุใหม่ โดยยกอุปมากับสิ่ง ๔ ชนิด คือ :
    ๑. วังวน ๒. คลื่นลม
    ๓. จระเข้ ๔. ปลาร้าย
    ที่จะทำให้ภิกษุทั้งหลายไม่สามารถตั้งอยู่ในพรหมจรรย์ได้
    วังวน คือ กามคุณ ๕ ความยินดีในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
    คลื่นลม คือ คำสั่งสอนของครูบาอาจารย์ ถ้าทนคำสั่งสอนไม่ได้ก็เหมือนกับเรือที่ล่มลงกลางทะเล วัฏสงสาร
    จระเข้ คือ ความเห็นแก่กิน เห็นแก่นอน ไม่ปฏิบัติธรรม
    ปลาร้าย หมายถึง เพศตรงข้าม ที่จะมาเอาไปกินเสียก่อนที่จะบรรลุมรรคผล เขาก็เลยสร้างรูปนางมัจฉาขึ้น
    นางมัจฉา เป็นตัวแทนของปลาร้าย ในขณะเดียวกัน บางทีก็มีรูปคลื่นอยู่ข้างล่าง บางทีก็มีน้ำวนอยู่ด้วย เมื่อรวม ๆ กันแล้วให้มันตรงกับภัยของภิกษุใหม่ หากพูดกันตามความเป็นจริง ภัย ๔ อย่างนี้ ไม่ว่าพระใหม่หรือพระเก่าเจอเข้าก็เดี้ยงเหมือนกัน สำคัญตรงที่ว่า มีสติสัมปชัญญะที่จะต่อสู้สักแค่ไหน
    หากกล่าวถึง ตามแนวภูมิปัญญาไทย อาจกล่าวได้ว่า ในโบราณสมัย การจะเดินทางต้องอาศัยดาว ช่วยประกอบ เหมือนเช่นการยกทัพเคลื่อนขบวนในตอนจวนจะสว่าง จะต้องอาศัยดาวจระเข้ เพราะดาวจระเข้นี้ ขึ้นในตอนจวนจะสว่าง การทอดกฐินมีภาระมาก บางทีต้องไปทอด ณ วัดซึ่งอยู่ไกลบ้าน
    ฉะนั้น การดูเวลาจึงต้องอาศัยดาว พอดาวจระเข้ขึ้น ก็เคลื่อนองค์กฐินไปสว่างเอาที่วัดพอดี และต่อมาก็คงมีผู้คิดทำธงในงานกฐิน ในชั้นต้นก็คงทำธงทิวประดับประดาให้สวยงามทั้งที่องค์กฐิน ทั้งที่บริเวณวัด
    และภายหลังคงหวังจะให้เป็นเครื่องหมายเนื่องด้วยการกฐิน ดังนั้น จึงคิดทำธงรูปจระเข้ เสมือนประกาศให้รู้ว่าวัดนั้นวัดนี้ทอดกฐินแล้ว ผู้ที่ประสงค์จะทอดกฐินตกค้างจะได้ไปหาวัดอื่นๆ
    แต่ว่าพอมารุ่นหลัง เนื้อหามันเปลี่ยน เรื่องของธงกฐินตอนแรก เกิดจากเรื่องเศรษฐีตระหนี่ พอตอนหลัง เนื้อหามันเปลี่ยนไป คนตีความไปอีกอย่าง ก็เลยมีธงนางมัจฉาเพิ่ม
    มาระยะหลัง ๆ นี้ ก็มีครูบาอาจารย์เอาธงมาลงอักขระ เลขยันต์คาถาอาคม เอาไว้สำหรับการค้าขาย เพราะฉะนั้นสมัยหลัง ๆ ธงกฐินไม่ค่อยได้อยู่ติดวัดแล้ว พอทอดกฐินเสร็จชาวบ้านก็ล้มเสาที่ประดับธง เอาธงไปให้หลวงปู่หลวงพ่อท่านเจิม เจิมเสร็จก็เอาไปติดบ้านเป็นสิริมงคล ให้ค้าขายดี เป็นอนุสรณ์ไว้ตรึก ระลึกนึกถึงบุญกฐินที่ได้ไปบำเพ็ญมา

    ส่งท้าย
    บุญกฐินมีความพิเศษแตกต่างจากทานอย่างอื่นตรงที่มีข้อจำกัดมาก พอสรุปได้ ๗ ประการ คือ :
    ๑. จำกัดประเภททาน คือ ต้องถวายเป็นสังฆทานเท่านั้น จะถวายเฉพาะเจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
    เหมือนทานอย่างอื่นไม่ได้
    ๒. จำกัดเวลา คือ ต้องถวายภายในระยะเวลา ๑ เดือน นับแต่วันออกพรรษาเป็นต้นไป
    ๓. จำกัดงาน คือ พระภิกษุที่กรานกฐินต้องตัด เย็บ ย้อม และครองให้เสร็จภายในวันที่กรานกฐิน
    ๔. จำกัดไทยธรรม คือ ผ้าที่ถวายต้องถูกต้องตามลักษณะที่สงฆ์กำหนดไว้
    ๕. จำกัดผู้รับ คือ พระภิกษุผู้รับกฐิน ต้องเป็นผู้ที่จำพรรษาในวัดนั้นโดยไม่ขาดพรรษา
    และจำนวนไม่น้อยกว่า ๕ รูป
    ๖. จำกัดคราว คือ วัด ๆ หนึ่งรับกฐินได้เพียงปีละ ๑ ครั้งเท่านั้น
    ๗. จำกัดสถานที่ คือ เมื่อเวลาพระสงฆ์จะสวดญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าด้วยเรื่องกฐิน จะต้องทำในเขตสีมาเท่านั้นด้วยเหตุจำกัดทั้งหมดนี้ บุญกฐิน จึงมีอานิสงส์มาก



    แหล่งข้อมูลอ้างอิง
    มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
    กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
    มหามกุฏราชวิทยาลัย, พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์
    มหามกุฎราชวิทยาลัย, ๒๕๓๔.
    กรมศิลปากร, ปัญญาสชาดก ฉบับ หอสมุดแห่งชาติ. พระนคร : โรงพิมพ์อักษรบริการ,
    ๒๔๙๙.
    พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ.๙), กฐิน ผ้าป่า อานิสงส์. พิมพ์ครั้งที่ ๒,
    กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๖.
    สำนักพระราชวัง, รวมเรื่องและข้อปฏิบัติเกี่ยวกับราชสำนัก. พิมพ์ครั้งที่ ๑๔, กรุงเทพฯ :
    ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์, ๒๕๔๗.

    BUDSIR-VI: พระไตรปิฎก ประมวลคัมภีร์และแหล่งค้นพุทธศาสตร์ ฉบับคอมพิวเตอร์
    http://www.mahachula.com/main.php?url=news_view&id=6
    พลังจิต เว็บ พระพุทธศาสนา ธรรมะ พระไตรปิฎก ลึกลับ อภิญญา วิทยาศาสตร์ทางจิต Buddhism Buddhist
    พลังจิต เว็บ พระพุทธศาสนา ธรรมะ พระไตรปิฎก ลึกลับ อภิญญา วิทยาศาสตร์ทางจิต Buddhism Buddhist
    กฐินราษฎร์ : IsanGate ประตูสู่อีสานบ้านเฮา



    (แก้ไขแล้ว รดา)



    -http://watkaokrailas.igetweb.com/index.php?mo=3&art=41907064-
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    มหากฐิน ตกค้างของวัดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี 2553

    พระวังหน้า,ชมรมรักษ์พระวังหน้า และกองทุนหาพระถวายวัด - ใต้ร่มธรรม
    -http://www.tairomdham.net/index.php/topic,646.195.html-
    อ้างอิง:
    ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong อ่านข้อความ
    มาแจ้งข่าวบุญด่วนมาก

    เมื่อสักพักนี้ พี่แอ๊วได้โทร.มาแจ้งผมเรื่อง "กฐินตกค้าง วัดที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้"

    มาแจ้งเรื่อง คร่าวๆก่อน พรุ่งนี้พี่แอ๊วจะส่งรายละเอียดมาแจ้งให้ผมทราบอีกครั้ง

    วัดที่สามจังหวัดชายแดนภาคใ้ต้ จำนวน 119 วัด ยังไม่มีเจ้าภาพกฐิน สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระองค์ท่านดูแลเรื่องนี้อยู่ ได้มีรับสั่งกับท่านเจ้าอาวาสวัดห้วยมงคล ในเรื่องนี้

    ท่านเ้จ้าอาวาสวัดห้วยมงคล ท่านรับเรื่องกฐินมาจำนวน 64 วัด แต่มีวัดจำนวน 34 วัด ซึ่งได้มีเ้จ้าภาพแล้ว ยังคงเหลืออีก 30 วัด

    การทอดกฐินในครั้งนี้ จะทอดกฐินในวันที่ 31 ตุลาคม 2553 ที่พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์

    ผมเองได้จองผ้าไตรไว้ 5 ชุด โดย 3 ชุดมีเจ้าภาพก็คือ

    1.ชมรมรักษ์พระวังหน้า
    2.คณะกองทุนหาพระถวายวัด
    3.ผม,ผบทบ.และครอบครัว

    ส่วนผ้าไตรชุดที่ 4 และ ที่ 5 ยังไม่มีเจ้าภาพ (หากไม่มีเจ้าภาพ ผมจะแยกโดย ชุดที่ 4 จะเป็นครอบครัวผม และชุดที่ 5 จะเป็นครอบครัวผบทบ.ผม)

    ผ้าไตรครบชุด ประมาณ 2,000 - 2,500 บาท

    กฐินอีก 30 วัด พี่แอ๊วได้โทร.มาบอกว่า อยากได้จำนวนเงินกฐินกองละ 3,000 บาท หรือมากกว่านั้น โดยเงินที่ร่วมทำบุญจะกระจายไปในกองกฐินทุกๆกอง

    ผมให้ร่วมทำบุญเฉพาะสมาชิกชมรมรักษ์พระวังหน้า , คณะพระวังหน้า , คณะกองทุนหาพระถวายวัด เท่านั้น เนื่องจากเงินที่ร่วมทำบุญ จะโอนเข้าบัญชีส่วนตัวผม รายละเอียดบัญชีที่ผมจะให้โอนเงิน ผมจะแจ้งให้ทราบทาง Email เท่านั้นครับ

    ซึ่งสมาชิกชมรมรักษ์พระวังหน้า , สมาชิกคณะพระวังหน้า และ สมาชิกกองทุนหาพระถวายวัด ผมได้แจ้งรายชื่อแล้วว่า ท่านอยู่ในส่วนไหนครับ

    การทอดกฐินในครั้งนี้ จะทอดกฐินในวันที่ 31 ตุลาคม 2553 ที่พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ ดังนั้น การโอนเงินร่วมทำบุญ ต้องโอนเงินภายในวันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม 2553 นี้เท่านั้น

    ผมรอรายละเอียดทั้งหมดจากพี่แอ๊ว ในวันพรุ่งนี้ครับ

    โมทนาบุญทุกประการ

    -----------------------------------------------

    .
    อ้างอิง:
    ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ Pinkcivil อ่านข้อความ
    ผมกับแฟนร่วมทำถวายผ้าไตร 1 ชุดครับ

    ส่วนเรื่องกฐินทราบจากลุงต้อย(สถาพร) เหมือนกัน แต่ยังไม่ทราบรายละเอียดอ่ะครับ

    -----------------------------------------------

    อ้างอิง:
    ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong อ่านข้อความ
    สำหรับชุดผ้าไตร และ เงินร่วมทำบุญ

    เรื่องนี้ ผมขออนุญาต ถอนเงินของชมรมรักษ์พระวังหน้า มาจำนวน 10,000 บาท เพื่อมาร่วมในงานบุญนี้ และผมจะแจ้งและขอโทษท่านสมาชิกชมรมรักษ์พระัวังหน้าทุกๆท่านทราบทาง Email ในการที่ผมตัดสินใจโดยพละการครับ

    .
    สำหรับชุดผ้าไตร ยังเหลืออีก 1 ชุด ครับ


    .
    ส่วนคุณธวัช และ คุณปฐม ที่ได้โอนเงินมาให้ผม และบอกผมว่า แล้วแต่ผมจะนำไปทำบุญอะไรสุดแล้วแต่ผม ผมจะนำเงินของคุณธวัช และ คุณปฐม ทั้งหมด ทำบุญในงานมหากฐินในงานนี้นะครับ

    บุญใหญ่มากครับงานนี้

    เป็นงานกฐินตกค้าง และ วัดก็อยู่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยครับ


    อ้างอิง:
    ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong
    เรียนคุณหนุ่มค่ะ

    พี่ขอแก้ไขรายละเอียดเรื่องตัวเลขตามที่ได้โทร.เรียนคุณหนุ่มไว้นะคะ
    พี่พิมพ์รีบๆ เลยผิดพลาดไป ต้องขออภัยด้วยค่ะ ตัวเลขที่ถูกต้องคือ กฐินกองละ
    3,000 บาท จำนวน 100 กอง ก็จะได้ยอดเงิน 300,000 บาท
    สำหรับจัดสรรให้วัดละ10,000 บาท จำนวน 30 วัด
    แต่ถ้ามีผู้ร่วมทำบุญเกินกว่าที่ตั้งไว้ ก็จะได้ร่วมทำบุญไปกับทุกวัด
    ถือเป็นมหาสังฆทานเลยนะคะ ที่มีโอกาสได้ร่วมถวายกฐินพร้อมกันทีเดียว 119 วัด
    มีพระภิกษุสงฆ์มาชุมนุมร่วมกันถึง 595 รูป ( วัดละ 5 รูป )

    กำหนดการคร่าวๆ คือทางในวังจะจัดเลี้ยงภัตตาหารเพลพระที่นิมนต์มาทั้งหมด
    หลังจากนั้นจะเป็นการถวายผ้าพระกฐินและผ้ากฐินพร้อมกันทุกวัด
    ให้แล้วเสร็จภายในเวลาบ่ายโมง เพราะหน่วยทหารจะต้องส่งพระกลับวัดก่อนค่ำ
    แล้วผู้ที่เดินทางไปทำบุญก็ต้องรีบเดินทางออกจากพื้นที่พร้อมๆกัน
    เพื่อความปลอดภัย ซึ่งพี่จะร่วมเดินทางไปกับคณะของท่านเจ้าอาวาสวัดห้วยมงคลด้วยค่ะ

    การได้ร่วมทำบุญในมหากฐินครั้งนี้
    พี่คิดว่ามีอานิสงส์มากเพราะนอกจากจะได้อานิสงส์ของกฐินแล้ว
    ถือว่าได้ร่วมทำบุญโดยเสด็จพระราชกุศล
    และได้ช่วยงานของพระศาสนาให้ยั่งยืนด้วย เพราะพระภิกษุสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อยู่อย่างยากลำบาก และเสียสละเพื่อเจริญศรัทธาของชาวพุทธ ณ ที่นั้น
    ปัจจัยที่ทำบุญเมื่อเทียบกับว่าแต่ละวัดต้องใช้ซ่อมแซมเสนาสนะภายในวัดและ เป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่นค่าอาหารพระ ค่าน้ำ ค่าไฟ ฯลฯ ยังคิดว่าน้อยไปที่จะต้องใช้ประโยชน์ภายใน 1 ปี เพราะไม่มีใครกล้าเข้าไปทำบุญ ขนาดถึงกาลกฐินแล้วยังไม่มีเจ้าภาพ แม้แต่ชาวบ้านในท้องถิ่นเลย สงสารพระที่ท่านจำพรรษามาจนครบไตรมาสด้วย ท่านจะได้มีกำลังใจในการที่จะเจริญศรัทธาญาติโยมต่อไป

    พี่ขอกราบอนุโมทนาบุญกับคุณหนุ่มด้วยนะคะ
    ที่เป็นกำลังของพระศาสนาอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง ปีนี้
    สนส.ผาผึ้งไม่ได้รับกฐิน เพราะมีพระจำพรรษาเพียง 3 รูป คือ พระอาจารย์นิล
    พระอาจารย์ตุ้ย และพระอีก 1 รูป
    จึงถือเป็นโอกาสที่ดีที่คุณหนุ่มได้นำหมู่คณะร่วมเป็นเจ้าภาพมหากฐินครั้งนี้
    เมื่อแล้วเสร็จจากงานกฐินก็คงต้องจัดผ้าป่าปิดงานพระเจดีย์อีกครั้ง
    รวมทั้งผ้าป่าระบบประปาและห้องน้ำของ สนส.ผาผึ้ง แต่ค่อยว่ากันอีกทีนะคะ

    พี่ขอรบกวนคุณหนุ่มช่วยรวบรวมปัจจัย และรายชื่อเจ้าภาพทั้งหมด ในนามชมรมทั้ง
    2 ชมรมด้วยนะคะเพื่อจะได้ออกใบอนุโมทนาบัตรให้สำหรับผู้ที่ต้องการ
    และหากมีผู้ประสงค์จะร่วมทำบุญโดยที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของชมรมเลย

    **พี่ขอแจ้งบัญชีธนาคารไว้เป็นสาธารณะได้
    โดยขอให้แจ้งหน้าเว็บว่าร่วมทำบุญจำนวนเท่าไหร่ พี่จะได้จัดการได้ถูกต้อง
    บัญชีของพี่นะคะ : ธนาคารกรุงไทย สาขาถนนเพชรบุรีตัดใหม่ เลขที่บัญชี
    .................ชื่อบัญชี ..................ค่ะ**

    จากพี่แอ๊ว แจ้งมาให้ผมทราบทาง Email ครับ

    ---------------------------------------------

    เรื่อง เลขที่บัญชีของพี่แอ๊ว สำหรับท่านใดที่ไม่ได้เป็นสมาชิกชมรมรักษ์พระวังหน้า , สมาชิกกองทุนหาพระถวายวัด และ สมาชิกคณะพระวังหน้า ที่ผมได้แจ้งให้ทราบทาง Email แล้วนั้น มีความประสงค์ทึ่จะร่วมทำบุญ ผมจะ pm หมายเลขบัญชีให้ท่านทราบครับ

    sithiphong

    -http://www.tairomdham.net/index.php/topic,4172.285.html-
    .
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    วันที่ 4 พฤศจิกายน 2555
    03:34 PM #51320
    sithiphong
    สมาชิก


    งานกฐินที่จะนำไปทอดที่วัดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

    ผมรอรายละเอียดจากพี่แอ๊วอยู่

    กำหนดการทอดกฐิน ในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2555

    ส่วนบัญชีที่ใช้โอนเงินร่วมทำบุญ ผมไปเปิดบัญชีมาแล้ว

    บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 878-0-14368-7
    ชื่อบัญชีนายสิทธิพงศ์ สงวนศักดิ์
    บมจ.ธนาคารกรุงไทย สาขาเดอะมอลล์ ท่าพระ

    กติกาในการร่วมทำบุญและขอรับใบอนุโมทนาบัตร

    1.เมื่อโอนเงินเข้าบัญชี ขอให้ท่านแจ้งชื่อ - นามสกุล และที่อยู่มาให้ผมทาง PM (ข้อความส่วนตัว)

    2.แจ้งจำนวนเงินที่ร่วมทำบุญ

    เมื่องานบุญมหากฐินในครั้งนี้เรียบร้อยแล้ว พี่แอ๊วจะเป็นผู้ที่จัดส่งใบอนุโมทนาบัตรให้ทุกๆท่านที่ร่วมทำบุญมหากฐินในครั้งนี้

    หากท่านไม่แจ้งชื่อ - นามสกุล และที่อยู่มาให้ผมทาง PM ผมขอสงวนสิทธิ์ในการจัดส่งใบอนุโมทนาบัตรให้กับท่าน

    3.การร่วมทำบุญ จะมีการร่วมทำบุญกับวัด และหรือ สำนักสงฆ์ และหรือ ที่พักสงฆ์ ซึ่งใบอนุโมทนาบัตรที่ท่านขอไว้ ทางคณะผู้ดำเนินการอาจจะนำไปให้กับทางสำนักสงฆ์ และหรือ ที่พักสงฆ์เป็นผู้ออกใบอนุโมทนาบัตรให้ จะทำให้ท่านไม่สามารถนำใบอนุโมทนาบัตรที่ทางสำนักสงฆ์ และหรือ ที่พักสงฆ์เป็นผู้ออกใบอนุโมทนาบัตรให้นั้น นำไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้ประจำปี แต่หากใบอนุโมทนาบัตรที่ออกโดยวัด ท่านสามารถที่จะนำไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้ประจำปีได้

    ในการดำเนินการไปขอใบอนุโมทนาบัตรนั้น ทางหน่วยทหารในพื้นที่จะเป็นผู้ที่นำรายชื่อไปให้กับทางวัด และหรือ สำนักสงฆ์ และหรือ ที่พักสงฆ์ เป็นผู้ที่ออกใบอนุโมทนาบัตร

    เงินที่ทุกๆท่านร่วมทำบุญ พี่แอ๊วแจ้งว่า จะนำเงินที่ทุกๆท่านที่ร่วมทำบุญเฉลี่ยทำบุญในทุกๆวัด แต่การขอใบอนุโมทนาบัตร จะออกเป็นยอดเงินที่ท่านร่วมทำบุญ (ในการดำเนินการไปขอใบอนุโมทนาบัตรนั้น ทางหน่วยทหารในพื้นที่จะเป็นผู้ที่นำรายชื่อไปให้กับทางวัด และหรือ สำนักสงฆ์ และหรือ ที่พักสงฆ์ เป็นผู้ที่ออกใบอนุโมทนาบัตร ซึ่งท่านจะได้ใบอนุโมทนาบัตรเพียงวัดเดียว และหรือ สำนักสงฆ์แห่งเดียว และหรือ ที่พักสงฆ์แห่งเดียว)

    เมื่องานบุญมหากฐินนี้เสร็จสิ้นลง ผมจะปิดบัญชีนี้ครับ

    ระยะเวลาในการร่วมทำบุญ ตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน 2555 สิ้นสุดวันที่ 19 พฤศจิกายน 2555

    ขอให้ท่านอ่านรายละเอียดด้วยครับ

    รายชื่อผู้ร่วมทำบุญในครั้งนี้
    1.คุณสิทธิพงศ์ สงวนศักดิ์และครอบครัว 500 บาท
    2.คุณปฐม สุขใส และครอบครัว 350 บาท
    3.คุณเฉลิมพล อินทพัฒน์ และครอบครัว 350 บาท
    4.คุณธวัช ดุลย์พิจารย์ และครอบครัว 150 บาท

    โมทนา
    sithiphong
    4/11/2555

    .

    -http://www.tairomdham.net/index.php/topic,4172.msg31656.html#msg31656-
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    งานบุญมหากฐิน ของวัดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
    -http://www.tairomdham.net/index.php/topic,8073.0.html-

    งานกฐินที่จะนำไปทอดที่วัดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี 2555

    ผมรอรายละเอียดจากพี่แอ๊วอยู่

    กำหนดการทอดกฐิน ในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2555

    ส่วนบัญชีที่ใช้โอนเงินร่วมทำบุญ ผมไปเปิดบัญชีมาแล้ว

    บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 878-0-14368-7
    ชื่อบัญชีนายสิทธิพงศ์ สงวนศักดิ์
    บมจ.ธนาคารกรุงไทย สาขาเดอะมอลล์ ท่าพระ

    กติกาในการร่วมทำบุญและขอรับใบอนุโมทนาบัตร

    1.เมื่อโอนเงินเข้าบัญชี ขอให้ท่านแจ้งชื่อ - นามสกุล และที่อยู่มาให้ผมทาง PM (ข้อความส่วนตัว)

    2.แจ้งจำนวนเงินที่ร่วมทำบุญ

    เมื่องานบุญมหากฐินในครั้งนี้เรียบร้อยแล้ว พี่แอ๊วจะเป็นผู้ที่จัดส่งใบอนุโมทนาบัตรให้ทุกๆท่านที่ร่วมทำบุญมหากฐินในครั้งนี้

    หากท่านไม่แจ้งชื่อ - นามสกุล และที่อยู่มาให้ผมทาง PM ผมขอสงวนสิทธิ์ในการจัดส่งใบอนุโมทนาบัตรให้กับท่าน

    3.การร่วมทำบุญ จะมีการร่วมทำบุญกับวัด และหรือ สำนักสงฆ์ และหรือ ที่พักสงฆ์ ซึ่งใบอนุโมทนาบัตรที่ท่านขอไว้ ทางคณะผู้ดำเนินการอาจจะนำไปให้กับทางสำนักสงฆ์ และหรือ ที่พักสงฆ์เป็นผู้ออกใบอนุโมทนาบัตรให้ จะทำให้ท่านไม่สามารถนำใบอนุโมทนาบัตรที่ทางสำนักสงฆ์ และหรือ ที่พักสงฆ์เป็นผู้ออกใบอนุโมทนาบัตรให้นั้น นำไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้ประจำปี แต่หากใบอนุโมทนาบัตรที่ออกโดยวัด ท่านสามารถที่จะนำไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้ประจำปีได้

    ในการดำเนินการไปขอใบอนุโมทนาบัตรนั้น ทางหน่วยทหารในพื้นที่จะเป็นผู้ที่นำรายชื่อไปให้กับทางวัด และหรือ สำนักสงฆ์ และหรือ ที่พักสงฆ์ เป็นผู้ที่ออกใบอนุโมทนาบัตร

    เงินที่ทุกๆท่านร่วมทำบุญ พี่แอ๊วแจ้งว่า จะนำเงินที่ทุกๆท่านที่ร่วมทำบุญเฉลี่ยทำบุญในทุกๆวัด แต่การขอใบอนุโมทนาบัตร จะออกเป็นยอดเงินที่ท่านร่วมทำบุญ (ในการดำเนินการไปขอใบอนุโมทนาบัตรนั้น ทางหน่วยทหารในพื้นที่จะเป็นผู้ที่นำรายชื่อไปให้กับทางวัด และหรือ สำนักสงฆ์ และหรือ ที่พักสงฆ์ เป็นผู้ที่ออกใบอนุโมทนาบัตร ซึ่งท่านจะได้ใบอนุโมทนาบัตรเพียงวัดเดียว และหรือ สำนักสงฆ์แห่งเดียว และหรือ ที่พักสงฆ์แห่งเดียว)

    เมื่องานบุญมหากฐินนี้เสร็จสิ้นลง ผมจะปิดบัญชีนี้ครับ

    ระยะเวลาในการร่วมทำบุญ ตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน 2555 สิ้นสุดวันที่ 19 พฤศจิกายน 2555

    ขอให้ท่านอ่านรายละเอียดด้วยครับ

    รายชื่อผู้ร่วมทำบุญในครั้งนี้
    1.คุณสิทธิพงศ์ สงวนศักดิ์และครอบครัว 500 บาท
    2.คุณปฐม สุขใส และครอบครัว 350 บาท
    3.คุณเฉลิมพล อินทพัฒน์ และครอบครัว 350 บาท
    4.คุณธวัช ดุลย์พิจารย์ และครอบครัว 150 บาท

    โมทนา
    sithiphong
    4/11/2555

    .

    -http://www.tairomdham.net/index.php/topic,4172.msg31656.html#msg31656-

    -http://palungjit.org/threads/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2-%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%81-%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89.22445/page-2566-
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ในช่วงนี้ เนื่องในวาระวันคล้ายวันเกิดท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร ,คุณแด่น และพี่แอ๊ว ขออาราธนาพระบารมีคณะหลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร (คณะโสณะ-อุตระ) , สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ขอพระบารมีอวยพรแด่ท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร ,คุณแด่น และพี่แอ๊ว ขอให้มีสุขภาพที่แข็งแรง ครับ

    sithiphong
    .
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ขอลงรูป "บุกไหว้หลวงพ่อคง เที่ยวอัมพวา รุกไปต่อที่บางคนที"

    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_6515.JPG
      IMG_6515.JPG
      ขนาดไฟล์:
      39.1 KB
      เปิดดู:
      479
    • IMG_6516.JPG
      IMG_6516.JPG
      ขนาดไฟล์:
      106.5 KB
      เปิดดู:
      468
    • IMG_6517.JPG
      IMG_6517.JPG
      ขนาดไฟล์:
      145.4 KB
      เปิดดู:
      460
    • IMG_6520.JPG
      IMG_6520.JPG
      ขนาดไฟล์:
      57.8 KB
      เปิดดู:
      457
    • IMG_6518.JPG
      IMG_6518.JPG
      ขนาดไฟล์:
      61.2 KB
      เปิดดู:
      859
    • IMG_6521.JPG
      IMG_6521.JPG
      ขนาดไฟล์:
      60.4 KB
      เปิดดู:
      451
    • IMG_6523.JPG
      IMG_6523.JPG
      ขนาดไฟล์:
      32.3 KB
      เปิดดู:
      422
    • IMG_6524.JPG
      IMG_6524.JPG
      ขนาดไฟล์:
      125.9 KB
      เปิดดู:
      520
    • IMG_6525.JPG
      IMG_6525.JPG
      ขนาดไฟล์:
      210.9 KB
      เปิดดู:
      458
    • IMG_6526.JPG
      IMG_6526.JPG
      ขนาดไฟล์:
      87.6 KB
      เปิดดู:
      443
    • IMG_6527.JPG
      IMG_6527.JPG
      ขนาดไฟล์:
      160.5 KB
      เปิดดู:
      431
    • IMG_6528.JPG
      IMG_6528.JPG
      ขนาดไฟล์:
      68 KB
      เปิดดู:
      424
    • IMG_6529.JPG
      IMG_6529.JPG
      ขนาดไฟล์:
      65.2 KB
      เปิดดู:
      404
    • IMG_6530.JPG
      IMG_6530.JPG
      ขนาดไฟล์:
      140.8 KB
      เปิดดู:
      440
    • IMG_6531.JPG
      IMG_6531.JPG
      ขนาดไฟล์:
      67.6 KB
      เปิดดู:
      402
    • IMG_6532.JPG
      IMG_6532.JPG
      ขนาดไฟล์:
      307 KB
      เปิดดู:
      407
    • IMG_6533.JPG
      IMG_6533.JPG
      ขนาดไฟล์:
      129.2 KB
      เปิดดู:
      417
    • IMG_6534.JPG
      IMG_6534.JPG
      ขนาดไฟล์:
      156.7 KB
      เปิดดู:
      423
    • IMG_6535.JPG
      IMG_6535.JPG
      ขนาดไฟล์:
      212.5 KB
      เปิดดู:
      406
    • IMG_6536.JPG
      IMG_6536.JPG
      ขนาดไฟล์:
      213.5 KB
      เปิดดู:
      420
    • IMG_6537.JPG
      IMG_6537.JPG
      ขนาดไฟล์:
      53.6 KB
      เปิดดู:
      390
    • IMG_6538.JPG
      IMG_6538.JPG
      ขนาดไฟล์:
      152.3 KB
      เปิดดู:
      409
    • IMG_6539.JPG
      IMG_6539.JPG
      ขนาดไฟล์:
      185.6 KB
      เปิดดู:
      454
    • IMG_6540.JPG
      IMG_6540.JPG
      ขนาดไฟล์:
      160.8 KB
      เปิดดู:
      455
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ขอลงรูป "บุกไหว้หลวงพ่อคง เที่ยวอัมพวา รุกไปต่อที่บางคนที"


    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_6541.JPG
      IMG_6541.JPG
      ขนาดไฟล์:
      78.5 KB
      เปิดดู:
      396
    • IMG_6543.JPG
      IMG_6543.JPG
      ขนาดไฟล์:
      11.6 KB
      เปิดดู:
      380
    • IMG_6544.JPG
      IMG_6544.JPG
      ขนาดไฟล์:
      184.9 KB
      เปิดดู:
      402
    • IMG_6545.JPG
      IMG_6545.JPG
      ขนาดไฟล์:
      213.8 KB
      เปิดดู:
      410
    • IMG_6546.JPG
      IMG_6546.JPG
      ขนาดไฟล์:
      110.2 KB
      เปิดดู:
      408
    • IMG_6547.JPG
      IMG_6547.JPG
      ขนาดไฟล์:
      75 KB
      เปิดดู:
      406
    • IMG_6549.JPG
      IMG_6549.JPG
      ขนาดไฟล์:
      156.6 KB
      เปิดดู:
      394
    • IMG_6550.JPG
      IMG_6550.JPG
      ขนาดไฟล์:
      160.2 KB
      เปิดดู:
      392
    • IMG_6551.JPG
      IMG_6551.JPG
      ขนาดไฟล์:
      73.2 KB
      เปิดดู:
      397
    • IMG_6552.JPG
      IMG_6552.JPG
      ขนาดไฟล์:
      149.8 KB
      เปิดดู:
      384
    • IMG_6553.JPG
      IMG_6553.JPG
      ขนาดไฟล์:
      170.3 KB
      เปิดดู:
      391
    • IMG_6554.JPG
      IMG_6554.JPG
      ขนาดไฟล์:
      151.7 KB
      เปิดดู:
      392
    • IMG_6555.JPG
      IMG_6555.JPG
      ขนาดไฟล์:
      172.4 KB
      เปิดดู:
      393
    • IMG_6580.JPG
      IMG_6580.JPG
      ขนาดไฟล์:
      101.8 KB
      เปิดดู:
      392
    • IMG_6556.JPG
      IMG_6556.JPG
      ขนาดไฟล์:
      79.2 KB
      เปิดดู:
      375
    • IMG_6557.JPG
      IMG_6557.JPG
      ขนาดไฟล์:
      238.1 KB
      เปิดดู:
      385
    • IMG_6558.JPG
      IMG_6558.JPG
      ขนาดไฟล์:
      236 KB
      เปิดดู:
      383
    • IMG_6559.JPG
      IMG_6559.JPG
      ขนาดไฟล์:
      118.3 KB
      เปิดดู:
      372
    • IMG_6560.JPG
      IMG_6560.JPG
      ขนาดไฟล์:
      126.8 KB
      เปิดดู:
      393
    • IMG_6561.JPG
      IMG_6561.JPG
      ขนาดไฟล์:
      125.4 KB
      เปิดดู:
      375
    • IMG_6562.JPG
      IMG_6562.JPG
      ขนาดไฟล์:
      37 KB
      เปิดดู:
      361
    • IMG_6563.JPG
      IMG_6563.JPG
      ขนาดไฟล์:
      72.2 KB
      เปิดดู:
      389
    • IMG_6564.JPG
      IMG_6564.JPG
      ขนาดไฟล์:
      91.2 KB
      เปิดดู:
      391
    • IMG_6565.JPG
      IMG_6565.JPG
      ขนาดไฟล์:
      53.7 KB
      เปิดดู:
      379
    • IMG_6566.JPG
      IMG_6566.JPG
      ขนาดไฟล์:
      176.9 KB
      เปิดดู:
      22
    • IMG_6567.JPG
      IMG_6567.JPG
      ขนาดไฟล์:
      159.1 KB
      เปิดดู:
      370
    • IMG_6568.JPG
      IMG_6568.JPG
      ขนาดไฟล์:
      169.8 KB
      เปิดดู:
      376
    • IMG_6569.JPG
      IMG_6569.JPG
      ขนาดไฟล์:
      183.3 KB
      เปิดดู:
      399
    • IMG_6570.JPG
      IMG_6570.JPG
      ขนาดไฟล์:
      196.3 KB
      เปิดดู:
      361
    • IMG_6571.JPG
      IMG_6571.JPG
      ขนาดไฟล์:
      200.7 KB
      เปิดดู:
      370
    • IMG_6572.JPG
      IMG_6572.JPG
      ขนาดไฟล์:
      58.6 KB
      เปิดดู:
      377
    • IMG_6573.JPG
      IMG_6573.JPG
      ขนาดไฟล์:
      229.8 KB
      เปิดดู:
      373
    • IMG_6574.JPG
      IMG_6574.JPG
      ขนาดไฟล์:
      191.4 KB
      เปิดดู:
      380
    • IMG_6575.JPG
      IMG_6575.JPG
      ขนาดไฟล์:
      229.2 KB
      เปิดดู:
      381
    • IMG_6576.JPG
      IMG_6576.JPG
      ขนาดไฟล์:
      91.4 KB
      เปิดดู:
      399
    • IMG_6578.JPG
      IMG_6578.JPG
      ขนาดไฟล์:
      127.9 KB
      เปิดดู:
      362
    • IMG_6579.JPG
      IMG_6579.JPG
      ขนาดไฟล์:
      131.2 KB
      เปิดดู:
      361
    • IMG_6581.JPG
      IMG_6581.JPG
      ขนาดไฟล์:
      176.5 KB
      เปิดดู:
      355
    • IMG_6582.JPG
      IMG_6582.JPG
      ขนาดไฟล์:
      142.4 KB
      เปิดดู:
      369
    • IMG_6583.JPG
      IMG_6583.JPG
      ขนาดไฟล์:
      138.2 KB
      เปิดดู:
      358
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ขอลงรูป "บุกไหว้หลวงพ่อคง เที่ยวอัมพวา รุกไปต่อที่บางคนที"


    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_6584.JPG
      IMG_6584.JPG
      ขนาดไฟล์:
      143.3 KB
      เปิดดู:
      351
    • IMG_6585.JPG
      IMG_6585.JPG
      ขนาดไฟล์:
      143.7 KB
      เปิดดู:
      361
    • IMG_6586.JPG
      IMG_6586.JPG
      ขนาดไฟล์:
      134.5 KB
      เปิดดู:
      353
    • IMG_6587.JPG
      IMG_6587.JPG
      ขนาดไฟล์:
      116.1 KB
      เปิดดู:
      359
    • IMG_6588.JPG
      IMG_6588.JPG
      ขนาดไฟล์:
      109.4 KB
      เปิดดู:
      359
    • IMG_6589.JPG
      IMG_6589.JPG
      ขนาดไฟล์:
      285.6 KB
      เปิดดู:
      367
    • IMG_6590.JPG
      IMG_6590.JPG
      ขนาดไฟล์:
      297.6 KB
      เปิดดู:
      353
    • IMG_6591.JPG
      IMG_6591.JPG
      ขนาดไฟล์:
      321 KB
      เปิดดู:
      355
    • IMG_6592.JPG
      IMG_6592.JPG
      ขนาดไฟล์:
      144.5 KB
      เปิดดู:
      346
    • IMG_6593.JPG
      IMG_6593.JPG
      ขนาดไฟล์:
      175.3 KB
      เปิดดู:
      350
    • IMG_6594.JPG
      IMG_6594.JPG
      ขนาดไฟล์:
      164.9 KB
      เปิดดู:
      360
    • IMG_6595.JPG
      IMG_6595.JPG
      ขนาดไฟล์:
      178 KB
      เปิดดู:
      364
    • IMG_6596.JPG
      IMG_6596.JPG
      ขนาดไฟล์:
      177.2 KB
      เปิดดู:
      349
    • IMG_6597.JPG
      IMG_6597.JPG
      ขนาดไฟล์:
      75.8 KB
      เปิดดู:
      334
    • IMG_6598.JPG
      IMG_6598.JPG
      ขนาดไฟล์:
      279.8 KB
      เปิดดู:
      342
    • IMG_6599.JPG
      IMG_6599.JPG
      ขนาดไฟล์:
      171 KB
      เปิดดู:
      353
    • IMG_6600.JPG
      IMG_6600.JPG
      ขนาดไฟล์:
      270.8 KB
      เปิดดู:
      344
    • IMG_6601.JPG
      IMG_6601.JPG
      ขนาดไฟล์:
      77.6 KB
      เปิดดู:
      571
    • IMG_6602.JPG
      IMG_6602.JPG
      ขนาดไฟล์:
      72.7 KB
      เปิดดู:
      604
    • IMG_6603.JPG
      IMG_6603.JPG
      ขนาดไฟล์:
      154.5 KB
      เปิดดู:
      336
    • IMG_6604.JPG
      IMG_6604.JPG
      ขนาดไฟล์:
      166.7 KB
      เปิดดู:
      343
    • IMG_6605.JPG
      IMG_6605.JPG
      ขนาดไฟล์:
      157.6 KB
      เปิดดู:
      342
    • IMG_6606.JPG
      IMG_6606.JPG
      ขนาดไฟล์:
      154.1 KB
      เปิดดู:
      22
    • IMG_6607.JPG
      IMG_6607.JPG
      ขนาดไฟล์:
      166.7 KB
      เปิดดู:
      355
    • IMG_6608.JPG
      IMG_6608.JPG
      ขนาดไฟล์:
      169.5 KB
      เปิดดู:
      342
    • IMG_6609.JPG
      IMG_6609.JPG
      ขนาดไฟล์:
      169.3 KB
      เปิดดู:
      330
    • IMG_6610.JPG
      IMG_6610.JPG
      ขนาดไฟล์:
      175.3 KB
      เปิดดู:
      371
    • IMG_6611.JPG
      IMG_6611.JPG
      ขนาดไฟล์:
      93.2 KB
      เปิดดู:
      326
    • IMG_6612.JPG
      IMG_6612.JPG
      ขนาดไฟล์:
      107.1 KB
      เปิดดู:
      327
    • IMG_6613.JPG
      IMG_6613.JPG
      ขนาดไฟล์:
      115.3 KB
      เปิดดู:
      321
    • IMG_6614.JPG
      IMG_6614.JPG
      ขนาดไฟล์:
      158.1 KB
      เปิดดู:
      351
    • IMG_6615.JPG
      IMG_6615.JPG
      ขนาดไฟล์:
      193.5 KB
      เปิดดู:
      360
    • IMG_6616.JPG
      IMG_6616.JPG
      ขนาดไฟล์:
      164.7 KB
      เปิดดู:
      407
    • IMG_6617.JPG
      IMG_6617.JPG
      ขนาดไฟล์:
      152.1 KB
      เปิดดู:
      403
    • IMG_6618.JPG
      IMG_6618.JPG
      ขนาดไฟล์:
      166.6 KB
      เปิดดู:
      388
    • IMG_6619.JPG
      IMG_6619.JPG
      ขนาดไฟล์:
      180.6 KB
      เปิดดู:
      395
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ขอลงรูป "บุกไหว้หลวงพ่อคง เที่ยวอัมพวา รุกไปต่อที่บางคนที"


    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_6620.JPG
      IMG_6620.JPG
      ขนาดไฟล์:
      108.3 KB
      เปิดดู:
      304
    • IMG_6621.JPG
      IMG_6621.JPG
      ขนาดไฟล์:
      106.1 KB
      เปิดดู:
      276
    • IMG_6622.JPG
      IMG_6622.JPG
      ขนาดไฟล์:
      133.6 KB
      เปิดดู:
      306
    • IMG_6623.JPG
      IMG_6623.JPG
      ขนาดไฟล์:
      148.8 KB
      เปิดดู:
      280
    • IMG_6624.JPG
      IMG_6624.JPG
      ขนาดไฟล์:
      55.8 KB
      เปิดดู:
      257
    • IMG_6625.JPG
      IMG_6625.JPG
      ขนาดไฟล์:
      150.3 KB
      เปิดดู:
      261
    • IMG_6627.JPG
      IMG_6627.JPG
      ขนาดไฟล์:
      63.8 KB
      เปิดดู:
      276
    • IMG_6628.JPG
      IMG_6628.JPG
      ขนาดไฟล์:
      169.5 KB
      เปิดดู:
      278
    • IMG_6629.JPG
      IMG_6629.JPG
      ขนาดไฟล์:
      136.6 KB
      เปิดดู:
      273
    • IMG_6630.JPG
      IMG_6630.JPG
      ขนาดไฟล์:
      53.9 KB
      เปิดดู:
      280
    • IMG_6631.JPG
      IMG_6631.JPG
      ขนาดไฟล์:
      50.7 KB
      เปิดดู:
      259
    • IMG_6645.JPG
      IMG_6645.JPG
      ขนาดไฟล์:
      55.9 KB
      เปิดดู:
      258
    • IMG_6647.JPG
      IMG_6647.JPG
      ขนาดไฟล์:
      124.7 KB
      เปิดดู:
      255
    • IMG_6648.JPG
      IMG_6648.JPG
      ขนาดไฟล์:
      112.2 KB
      เปิดดู:
      259
    • IMG_6632.JPG
      IMG_6632.JPG
      ขนาดไฟล์:
      167.1 KB
      เปิดดู:
      279
    • IMG_6633.JPG
      IMG_6633.JPG
      ขนาดไฟล์:
      222.5 KB
      เปิดดู:
      274
    • IMG_6634.JPG
      IMG_6634.JPG
      ขนาดไฟล์:
      46.5 KB
      เปิดดู:
      252
    • IMG_6635.JPG
      IMG_6635.JPG
      ขนาดไฟล์:
      150.3 KB
      เปิดดู:
      252
    • IMG_6636.JPG
      IMG_6636.JPG
      ขนาดไฟล์:
      67.2 KB
      เปิดดู:
      259
    • IMG_6637.JPG
      IMG_6637.JPG
      ขนาดไฟล์:
      180 KB
      เปิดดู:
      245
    • IMG_6638.JPG
      IMG_6638.JPG
      ขนาดไฟล์:
      170.6 KB
      เปิดดู:
      246
    • IMG_6639.JPG
      IMG_6639.JPG
      ขนาดไฟล์:
      173 KB
      เปิดดู:
      242
    • IMG_6640.JPG
      IMG_6640.JPG
      ขนาดไฟล์:
      179.5 KB
      เปิดดู:
      249
    • IMG_6641.JPG
      IMG_6641.JPG
      ขนาดไฟล์:
      176.3 KB
      เปิดดู:
      251
    • IMG_6642.JPG
      IMG_6642.JPG
      ขนาดไฟล์:
      65.9 KB
      เปิดดู:
      247
    • IMG_6643.JPG
      IMG_6643.JPG
      ขนาดไฟล์:
      67 KB
      เปิดดู:
      247
    • IMG_6649.JPG
      IMG_6649.JPG
      ขนาดไฟล์:
      158.1 KB
      เปิดดู:
      266
    • IMG_6674.JPG
      IMG_6674.JPG
      ขนาดไฟล์:
      141.2 KB
      เปิดดู:
      245
    • IMG_6650.JPG
      IMG_6650.JPG
      ขนาดไฟล์:
      160.6 KB
      เปิดดู:
      245
    • IMG_6654.JPG
      IMG_6654.JPG
      ขนาดไฟล์:
      159.4 KB
      เปิดดู:
      243
    • IMG_6653.JPG
      IMG_6653.JPG
      ขนาดไฟล์:
      218.8 KB
      เปิดดู:
      255
    • IMG_6655.JPG
      IMG_6655.JPG
      ขนาดไฟล์:
      55.6 KB
      เปิดดู:
      234
    • IMG_6656.JPG
      IMG_6656.JPG
      ขนาดไฟล์:
      145.2 KB
      เปิดดู:
      240
    • IMG_6657.JPG
      IMG_6657.JPG
      ขนาดไฟล์:
      51.7 KB
      เปิดดู:
      233
    • IMG_6658.JPG
      IMG_6658.JPG
      ขนาดไฟล์:
      148.7 KB
      เปิดดู:
      241
    • IMG_6659.JPG
      IMG_6659.JPG
      ขนาดไฟล์:
      52 KB
      เปิดดู:
      232
    • IMG_6660.JPG
      IMG_6660.JPG
      ขนาดไฟล์:
      155.7 KB
      เปิดดู:
      235
    • IMG_6661.JPG
      IMG_6661.JPG
      ขนาดไฟล์:
      54.2 KB
      เปิดดู:
      230
    • IMG_6662.JPG
      IMG_6662.JPG
      ขนาดไฟล์:
      144 KB
      เปิดดู:
      237
    • IMG_6663.JPG
      IMG_6663.JPG
      ขนาดไฟล์:
      145.4 KB
      เปิดดู:
      241
    • IMG_6664.JPG
      IMG_6664.JPG
      ขนาดไฟล์:
      132.5 KB
      เปิดดู:
      237
    • IMG_6665.JPG
      IMG_6665.JPG
      ขนาดไฟล์:
      121.4 KB
      เปิดดู:
      234
    • IMG_6666.JPG
      IMG_6666.JPG
      ขนาดไฟล์:
      145.2 KB
      เปิดดู:
      236
    • IMG_6667.JPG
      IMG_6667.JPG
      ขนาดไฟล์:
      168.7 KB
      เปิดดู:
      233
    • IMG_6668.JPG
      IMG_6668.JPG
      ขนาดไฟล์:
      152.5 KB
      เปิดดู:
      244
    • IMG_6669.JPG
      IMG_6669.JPG
      ขนาดไฟล์:
      138.2 KB
      เปิดดู:
      249
    • IMG_6670.JPG
      IMG_6670.JPG
      ขนาดไฟล์:
      148.1 KB
      เปิดดู:
      238
    • IMG_6671.JPG
      IMG_6671.JPG
      ขนาดไฟล์:
      132.7 KB
      เปิดดู:
      242
    • IMG_6672.JPG
      IMG_6672.JPG
      ขนาดไฟล์:
      110.3 KB
      เปิดดู:
      237
    • IMG_6673.JPG
      IMG_6673.JPG
      ขนาดไฟล์:
      118.3 KB
      เปิดดู:
      212
    • IMG_6644.JPG
      IMG_6644.JPG
      ขนาดไฟล์:
      50.7 KB
      เปิดดู:
      264
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 พฤศจิกายน 2012
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ขอลงรูป "บุกไหว้หลวงพ่อคง เที่ยวอัมพวา รุกไปต่อที่บางคนที"

    สุดท้ายแล้วครับ
    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_6720.JPG
      IMG_6720.JPG
      ขนาดไฟล์:
      116.7 KB
      เปิดดู:
      217
    • IMG_6721.JPG
      IMG_6721.JPG
      ขนาดไฟล์:
      93.3 KB
      เปิดดู:
      216
    • IMG_6684.JPG
      IMG_6684.JPG
      ขนาดไฟล์:
      150.9 KB
      เปิดดู:
      211
    • IMG_6688.JPG
      IMG_6688.JPG
      ขนาดไฟล์:
      147.7 KB
      เปิดดู:
      211
    • IMG_6717.JPG
      IMG_6717.JPG
      ขนาดไฟล์:
      139 KB
      เปิดดู:
      212
    • IMG_6685.JPG
      IMG_6685.JPG
      ขนาดไฟล์:
      74.1 KB
      เปิดดู:
      218
    • IMG_6686.JPG
      IMG_6686.JPG
      ขนาดไฟล์:
      76.8 KB
      เปิดดู:
      212
    • IMG_6690.JPG
      IMG_6690.JPG
      ขนาดไฟล์:
      108.9 KB
      เปิดดู:
      223
    • IMG_6691.JPG
      IMG_6691.JPG
      ขนาดไฟล์:
      146.4 KB
      เปิดดู:
      216
    • IMG_6692.JPG
      IMG_6692.JPG
      ขนาดไฟล์:
      136.5 KB
      เปิดดู:
      209
    • IMG_6693.JPG
      IMG_6693.JPG
      ขนาดไฟล์:
      137 KB
      เปิดดู:
      211
    • IMG_6694.JPG
      IMG_6694.JPG
      ขนาดไฟล์:
      144.5 KB
      เปิดดู:
      205
    • IMG_6695.JPG
      IMG_6695.JPG
      ขนาดไฟล์:
      52.9 KB
      เปิดดู:
      213
    • IMG_6697.JPG
      IMG_6697.JPG
      ขนาดไฟล์:
      40.3 KB
      เปิดดู:
      214
    • IMG_6696.JPG
      IMG_6696.JPG
      ขนาดไฟล์:
      94.1 KB
      เปิดดู:
      221
    • IMG_6699.JPG
      IMG_6699.JPG
      ขนาดไฟล์:
      34.7 KB
      เปิดดู:
      211
    • IMG_6698.JPG
      IMG_6698.JPG
      ขนาดไฟล์:
      110.3 KB
      เปิดดู:
      205
    • IMG_6700.JPG
      IMG_6700.JPG
      ขนาดไฟล์:
      255.8 KB
      เปิดดู:
      217
    • IMG_6701.JPG
      IMG_6701.JPG
      ขนาดไฟล์:
      124.3 KB
      เปิดดู:
      208
    • IMG_6703.JPG
      IMG_6703.JPG
      ขนาดไฟล์:
      141 KB
      เปิดดู:
      215
    • IMG_6706.JPG
      IMG_6706.JPG
      ขนาดไฟล์:
      150.8 KB
      เปิดดู:
      211
    • IMG_6707.JPG
      IMG_6707.JPG
      ขนาดไฟล์:
      37.1 KB
      เปิดดู:
      218
    • IMG_6704.JPG
      IMG_6704.JPG
      ขนาดไฟล์:
      156.4 KB
      เปิดดู:
      213
    • IMG_6705.JPG
      IMG_6705.JPG
      ขนาดไฟล์:
      103.6 KB
      เปิดดู:
      217
    • IMG_6708.JPG
      IMG_6708.JPG
      ขนาดไฟล์:
      132.5 KB
      เปิดดู:
      213
    • IMG_6709.JPG
      IMG_6709.JPG
      ขนาดไฟล์:
      102.7 KB
      เปิดดู:
      220
    • IMG_6710.JPG
      IMG_6710.JPG
      ขนาดไฟล์:
      334.4 KB
      เปิดดู:
      213
    • IMG_6711.JPG
      IMG_6711.JPG
      ขนาดไฟล์:
      93.5 KB
      เปิดดู:
      215
    • IMG_6712.JPG
      IMG_6712.JPG
      ขนาดไฟล์:
      29.7 KB
      เปิดดู:
      205
    • IMG_6713.JPG
      IMG_6713.JPG
      ขนาดไฟล์:
      34.3 KB
      เปิดดู:
      216
    • IMG_6714.JPG
      IMG_6714.JPG
      ขนาดไฟล์:
      68.8 KB
      เปิดดู:
      207
    • IMG_6715.JPG
      IMG_6715.JPG
      ขนาดไฟล์:
      140 KB
      เปิดดู:
      220
    • IMG_6719.JPG
      IMG_6719.JPG
      ขนาดไฟล์:
      88.7 KB
      เปิดดู:
      208
    • IMG_6718.JPG
      IMG_6718.JPG
      ขนาดไฟล์:
      116.7 KB
      เปิดดู:
      209
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ติดตามรายละเอียดได้ในกระทู้ บุกไหว้หลวงพ่อคง เที่ยวอัมพวา รุกไปต่อที่บางคนที


    ใต้ร่มธรรม »
    Forum »
    ริมระเบียงรับลมโชย »
    รับสายลมเย็นหน้าระเบียง »
    ล้างรูป

    -http://www.tairomdham.net/index.php/topic,8085.new.html#new-

    บุกไหว้หลวงพ่อคง เที่ยวอัมพวา รุกไปต่อที่บางคนที

    หรือ

    PaLungJit.com > ทั่วไป > ท่องเที่ยว - อาหารการกิน

    -http://palungjit.org/posts/6948960[/url]
    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...