นิ่ง ชั่ง วาง เฉย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย jintanakarn, 13 กันยายน 2012.

  1. jintanakarn

    jintanakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    128
    ค่าพลัง:
    +236
    ตามกะทู้นี้ ใครสามารถอธิบายความหมายได้บ้าง
     
  2. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    จะเอาคำตอบที่ถูกต้อง หรือคำตอบที่ถูกใจล่ะ
     
  3. 12345*

    12345* เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +332
    นิ่ง ชั่ง วาง เฉย
    ตามกะทู้นี้ ใครสามารถอธิบายความหมายได้บ้าง

    ^
    จะตอบให้ก็ได้นะ








    .

































    จะ     เ ข้   า  ใ   จ   ใ   ห    ม   ห  นอ






































    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 14 กันยายน 2012
  4. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ...ในเมื่อ นิ่งชั่ง วาง เฉย ไม่ใช่ สนทนาธรรมแท้แท้ คือ เปิดโอกาสให้ตอบได้ ทุกทาง ผมจะลองอธิบายดู....นิ่งชั่งวางเฉย..คือ มีสติเป็นผู้รู้ผู้ดู...รู้ กาย ใจ...รู้เท่าทัน อารมณ์ ที่มากระทบ จะรู้ ทัน(คำว่าทันต้องเป้นอารมณ์ปัจจุบัน จึงพอเรียกว่า เท่าทัน)...ทีนี้ อารมณ์จะดับ ไม่ดับ ไม่สำคัญแค่รู้ไปเท่านั้น เพราะ การดับไป เป็นผลที่เราไม่ได้หวัง ถ้าไม่ดับก็รู้ รู้ไป...สำคัญที่สติต้องรู้จริง...สภาวะ อุเบกขา นิ่ง ชั่ง วาง เฉย นั้นเป็นเวทนา ชนิดหนึ่ง...มีหลายชนิดเช่น อุเบกขาที่ประกอบด้วยอามิส อุเบกขาที่ไม่ประกอบด้วยอามิส และอุเบกขาที่ยิ่งกว่าไม่ประกอบด้วยอามิส.....ฉนั้น นิ่ง ชั่ง วาง เฉย สำหรับผม คือ เวทนาไม่ใช่ ลักษณะของอาการทางกายภายนอก แต่เป็นเวทนา ภายใน...ที่ยังรู้ รู้...สำคัญอีกอย่าง นิ่ง ชั่ง วาง เฉย ก้ไม่เที่ยงเหมือนกัน จะ ช้า จะเร็ว ก็ แหล่ว แต็:cool:
     
  5. อภิราม

    อภิราม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    532
    ค่าพลัง:
    +9,005
    นิ่ง = มีสติ

    ช่าง = มีขันติ

    วาง = มีปัญญา

    เฉย = มีอุเบกขาธรรม
     
  6. Bull_psi

    Bull_psi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +1,445
    เรียกว่า ไม่ใช่ของเราทั้งสิ้น
     
  7. jintanakarn

    jintanakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    128
    ค่าพลัง:
    +236
    อืม..ก็พอมีผู้ที่ใส่ใจในที่จะให้คำตอบอยู่บ้าง แต่ก็มีหลากหลายที่จงใจใช้โวหารตน ก็ไม่ว่าอะไร คงจะเห็นกะทู้มีน้อยข้อความ ก็เลยไม่เห็นความสำคัญ แต่ก็ไม่เป็นไร รอผู้มีปัญญาบารมีที่แท้จริง และมีเมตตา ที่พอจะให้ความกระจ่างแจ้ง พอดีว่ามีผู้ให้ปริศนาข้อความสั้นๆนี้มา ก็เลยจะหาผู้รู้ที่พอจะอธิบายให้เข้าใจในทางธรรมบ้างเท่านั้นเอง ไม่คิดที่จะเล่นแง่หรือทดสอบผู้ใด ส่วนถ้าจะเอาคำตอบที่ถูกใจเหมือนบางท่านว่ามานั้น คงไม่ต้องตั้งกะทู้ถามให้เหนื่อยเปล่า แต่ก็ขอขอบพระคุณ สำหรับผู้ที่เห็นค่าของธรรมะในความเต็มใจ ที่จะให้คำตอบตามความเข้าใจของแต่ละท่าน ขออนุโมทนา
     
  8. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    นิ่ง ชั่ง วาง เฉย ทั้งหมดนี้ทำได้แค่เพียงไม่สนใจในสิ่งเหล่านั้น เท่านั้นเอง

    เพราะหากมีความสนใจแล้ว จะให้ นิ่ง ชั่ง วาง เฉย ย่อมเป็นไปได้ยาก

    ดั่งคำว่า "ตัดไฟตั้งแต่ต้นลม" รู้เห็นตัวตนของตนเองอย่างชัดเจน ย่อมทำได้

    หาไม่แล้ว ย่อมเป็นเรื่องที่ยาก นี่คือ ผลจากการฝึกสมถะครับ

    สาธุครับ
     
  9. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    สำหรับผมได้พิจารณาคำว่า นิ่ง ชั่ง วาง เฉย
    เป็นสี่คำที่มีความหมายลึกซึ้งต่อความรู้สึกของผมมาก

    ผมรู้สึกถึงคำว่า...

    นิ่ง คือ ความอดทน ต่อสิ่งกระทบ
    ที่ทำให้เราไม่ชอบไม่พอใจ ขัดเขืองใจ...จึงข่มใจ ให้ นิ่ง ให้สงบจากอารมณ์นั้นก่อน เรียกว่า นิ่ง

    ชั่ง คือ ตรองดู คิดพิจารณาว่า เราจำเป็นไหม เหมาะกับกาล เวลา สถานที่ บุคคล
    ที่เราควรจะกระทำ หรือพูดกล่าวออกไป สมควรแก่เหตุและผลหรือไม่
    เกิดประโยชน์หรือโทษต่อตนและผู้อื่นประการใดบ้าง...จึงชั่ง ว่าเป็นบุญหรือเป็นบาป
    เป็นคุณเป็นประโยชน์หรือเป็นโทษ ประการใด เรียกว่า ชั่ง

    วาง คือ เมื่อเราคิดพิจารณาใคร่ควรในเหตุการกระทำดีแล้ว และได้กระทำลงไปแล้ว ไม่กังวลว่าอนาคตจะให้ผลเป็นอย่างไร เพราะทำด้วยคิด ด้วยใคร่ครวญในเหตุ และผลที่จะเกิดดีแล้ว ...จึงวาง ความกลัว ความวิตกกังวลต่อผลที่จะเกิด ไม่ให้เกิดเป็นเครื่องรบกวนจิตใจ ยอมรับได้ในผลของกรรมคือการกระทำ เพราะใคร่ครวญแล้วจึงกระทำและพูดไป เรียกว่า วาง

    เฉย คือ เมื่อได้รับผลอันเกิดจากเหตุต่างๆนั้น เช่น ลาภยศเกิดขึ้นและเสื่อมไป
    จนถึงคำสรรญเสริญและนินทา และความสุขทุกข์ที่เกิดขึ้นที่จิตใจ...จึงเป็นผู้สงบ จากอารมณ์ เรียกว่า เฉย


    แต่ส่วนใหญ่ผม จะทำได้เป็นบางครั้งเท่านั้นเอง ส่วนใหญ่ก็กระทบอารมณ์
    แล้วก็จะ คิด พูดและกระทำ ไปตามอารมณ์ ชอบ ไม่ชอบ พอใจ ไม่พอใจ เป็นไปตามอารมณ์
    เพราะขาดความรู้ตัว รู้อารมณ์ และการใคร่ควรก่อนในเหตุในผล ประโยชน์และโทษของการพูดและกระทำ

    เพราะว่าผมมีร่างกาย ยังมีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ยังต้องอยู่กับโลก อยู่ในโลก
    ยังต้องสร้างประโยชน์ให้กับตนและอาจจะพอสร้างประโยชน์ให้กับผู้อื่นอยู่ได้บ้างเล็กน้อย
    จึงยังต้องรับรู้ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และมีอารมณ์ชอบไม่ชอบ พอใจไม่พอใจ สุขทุกข์เกิดที่ใจ
    รู้สึกว่าเราต้อง ฝึกตนให้เป็น คนรู้จัก นิ่ง ชั่ง วาง เฉย...สำหรับผมเรียกว่าเป็นการปฏิบัติธรรมอย่างยิ่ง เลยที่เดียวครับ สี่คำนี้

    (เพราะผมไม่ใช่หัวตอ ไม่ได้เป็นผู้ไม่มีอายตนะที่จะตัดความรับรู้ หรืออยู่ในพรหมโลก และยังเป็นผู้ที่ยังไม่หมดเชื้อแห่งการเกิด ยังมีความทุกข์อยู่มากมาย จึงต้องฝึกหัดผู้ปฏิบัติ ให้เป็นผู้รู้จักอารณ์และไม่เป็นไปตามอารมณ์ เป็นผู้ไม่ประกอบโทษมุ่งประกอบประโยชน์ให้ยิ่งขึ้น และเป็นผู้ฝึกหัดขัดเกลาให้เป็นผู้มีปัญญาแจ้งโลก ดับเชื้อแห่งการเวียนว่ายตายเกิดอยู่)



    พูดจากความรู้สึกส่วนตัว อาจจะไม่ตรงกับความรู้สึกคนอื่นและคงไม่ตรงกับธรรมนะขอรับ ถือว่าแบ่งปันความเห็นและความรู้สึกกันครับ
    ขอบคุณที่นำคำสี่คำนี้มาให้พิจารณาครับ นิ่ง ชั่ง วาง เฉย....สาธุ :D



    (smile)(smile)(smile)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 17 กันยายน 2012
  10. jintanakarn

    jintanakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    128
    ค่าพลัง:
    +236
    ต้องขอขอบพระคุณในคำตอบที่ท่านเพียรพยายามคัดกรองสิ่งที่หลายคนคิดว่าไม่สำคัญ มันทำให้ผมเข้าใจอะไรได้มากมาย นี่คือประโยชน์ที่เกิดขึ้นได้จริง ถ้าเราตั้งใจในสิ่งที่มีประโยชน์แล้วไซร้ ผลตอบแทนล้วนมีค่ามาก คำตอบที่หลายท่านแสดงมานับว่ามีค่ามากมายจริงๆ สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ก็คือผู้มีปัญญาย่อมมีหลายยุคหลายสมัย ไม่ไช่ไร้สาระด้่งที่หลายท่านคิดไว้ มีความหมายดีมาก ต้องขออนุโมทนา และขอให้เจริญในธรรม สาธุคร้บ
     
  11. jintanakarn

    jintanakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    128
    ค่าพลัง:
    +236
    ขอบพระคุณทุกท่านที่ได้แสดงคำตอบ มีประโยชน์มากมายจริงๆ ต้องขออนุโมทนาต่อทุกๆท่าน ส่วนจะมีผู้ใดพอจะแสดงความหมายได้อีก ก็สามารถแสดงได้อีกนะคร้บ ขออนุโมทนา
     
  12. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    ผู้ไม่เข้าไปหา ย่อมหลุดพ้น

    ผู้ไม่เข้าไปหา ย่อมหลุดพ้น

    ภิกษุ ท. !ผู้เข้าไปหา เป็นผู้ไม่หลุดพ้น;
    ผู้ไม่เข้าไปหา เป็นผู้หลุดพ้น.

    ภิกษุ ท. ! วิญญาณซึ่งเข้าถือเอารูปตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้,
    เป็นวิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้งอาศัย
    มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงามไพบูลย์ได้;

    ภิกษุ ท. ! วิญญาณซึ่งเข้าถือเอาเวทนาตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ได้,
    เป็นวิญญาณที่มีเวทนาเป็นอารมณ์ มีเวทนาเป็นที่ตั้งอาศัย
    มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ได้;

    ภิกษุ ท. ! วิญญาณซึ่งเข้าถือเอาสัญญาตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ได้,
    เป็นวิญญาณที่มีสัญญาเป็นอารมณ์ มีสัญญาป็นที่ตั้งอาศัย
    มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้;

    ภิกษุ ท. ! วิญญาณซึ่งเข้าถือเอาสังขารตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ได้,
    เป็นวิญญาณที่มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้งอาศัย
    มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึง ความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ได้.

    ภิกษุ ท. ! ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
    “เราจักบัญญัติ ซึ่งการมา การไป การจุติ การอุบัติ ความเจริญ ความงอกงาม
    และความไพบูลย์ของวิญญาณ โดยเว้นจากรูป เว้นจากเวทนา
    เว้นจากสัญญา และเว้นจากสังขาร” ดังนี้นั้น, นี่ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย.

    ภิกษุ ท. ! ถ้าราคะในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุ ในสังขารธาตุ
    ในวิญญาณธาตุ เป็นสิ่งที่ภิกษุละได้แล้ว;
    เพราะละราคะได้อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลงที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี,
    วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้นก็ไม่งอกงาม หลุดพ้นไปเพราะไม่ถูกปรุงแต่ง,

    เพราะหลุดพ้นไปก็ตั้งมั่น,
    เพราะตั้งมั่นก็ยินดีในตนเอง,
    เพราะยินดีในตนเองก็ไม่หวั่นไหว,
    เมื่อไม่หวั่นไหว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน. ย่อมรู้ชัดว่า
    “ชาตินี้สิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว,กิจที่ควรทำ ได้ทำสำเร็จแล้ว,
    กิจอื่นที่จะต้องทำ เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก” ดังนี้.

    ขนฺธ. ส°. ๑๗/๖๖/๑๐๕.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 กันยายน 2012
  13. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496

    TA Kukrit 3 (in Thai)

    <IFRAME height=349 src="http://www.youtube.com/embed/tn3UFrIpuzg" frameBorder=0 width=425 allowfullscreen=""></IFRAME>
     
  14. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496

    TA Kukrit 12 (in Thai)

    <IFRAME height=349 src="http://www.youtube.com/embed/gIqgjdt1lkU" frameBorder=0 width=425 allowfullscreen=""></IFRAME>
     
  15. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    นิ่ง...สงบ กับทุกสิ่งที่เกิดขึ้น คือไม่กระเทือนกับทุกสิ่งที่เข้ามากระทบไม่ว่าสิ่งนั้นเป็นอะไร ยอมรับได้ทั้งหมด

    ชั่ง...คือการยอมรับได้แล้วกับสิ่งที่เกิดที่เป็น ยอมรับด้วยใจที่ไม่หลงตามกับทุกสิ่ง คือมีสติอยู่กับตนเอง ใครจะเป็นอย่างไรก็ไม่สน ยอมรับในความเป็นคนอื่นแล้วอภัยให้ได้ทั้งหมด

    วาง...มาหลังจากใจที่ยอมรับในสิ่งที่เกิด ที่เป็น คือทำดีที่สุดแล้วเท่าที่ทำได้ ไม่มีอะไรที่จะทำได้ดีไปกว่านี้อีกแล้วในปัจจุบัน จึงวางไว้ก่อน หรือไม่ก็ทำเสร็จสิ้นแล้ว ก็วางได้

    เฉย...เฉยๆ คือไม่มีอะไร มันก็แค่สิ่งที่เกิด ที่เป็น เป็นเรื่องธรรมดา เพราะเข้าใจแล้ว ไม่มีอะไรที่แปลก แตกต่าง คือยอมรับได้แล้วจริงๆ อะไรก็ได้


    ผิดถูกประการใดเชิญท่านเจ้าของกระทู้สอนต่อค่ะ
     
  16. jintanakarn

    jintanakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    128
    ค่าพลัง:
    +236
    เยี่ยมมากสำหรับการอธิบายความหมายนี้ สั้นๆง่ายต่อความเข้าใจ ขออนุโมทนา
     
  17. jintanakarn

    jintanakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    128
    ค่าพลัง:
    +236
    อืม..หลายท่านแสดงความหมายได้ดีทีเดียว ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจ พอจะเข้าใจในความหมายได้บ้างแล้ว สิ่งนี้เอง ที่มีผู้ต้องการให้เราปฏิบัติ เพื่อความเจริญก้าวหน้าในทางธรรม ขออนุโมทนา
     
  18. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    ขออนุญาติ จขกท.ครับ พอดีอ่านหลายรอบแล้วมาระลึกในบทสวดธรรมจักร
    ที่ว่า
    ...
    อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง
    ( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อนี้แลเป็นความดับทุกข์ )
    โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ
    ( ความดับโดยสิ้นกำหนัด โดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นนั่นแหละใด )
    จาโค ( ความสละตัณหานั้น ) ปะฏินิสสัคโค ( ความวางตัณหานั้น )
    มุตติ ( การปล่อยตัณหานั้น ) อะนาละโย ( ความไม่พัวพันแห่งตัณหานั้น )...จำได้บ้างไม่ได้บ้าง อาศัย อากูเกิ้ล นำมาวางครับ
     
  19. พระคุณากร

    พระคุณากร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กันยายน 2012
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +72
    จิตที่ปล่อย จิตที่วาง จิตที่หลุด จิตที่พ้น
     
  20. ชอนทงอี

    ชอนทงอี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +31
    นิ่งอยู่ในความเคลือนไหว เช่น จิตนิ่งแต่สิ่งที่เคลือนไหวคือร่างกาย ความนิ่งแฝงอยู่ในความเคลือนไหว

    ส่วนชั่ง วาง เฉย
    น่าจะคล้ายๆกัน
     

แชร์หน้านี้

Loading...